สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ส่วนในกายานุปัสสนานี้ ภิกษุผู้บรรลุจตุตถฌานแล้วอย่างนั้น มีความประสงค์ที่จะเจริญกรรมฐาน ด้วยอำนาจการกำหนดและการเปลี่ยนแปลง แล้วบรรลุความหมดจด กระทำฌานนั้นนั่นแล ให้ถึงความชำนิชำนาญ (วสี) ด้วยอาการ ๕ อย่าง กล่าวคือ อาวัชชนะ การรำพึง สมาปัชชนะ การเข้า อธิฏฐานะ การตั้งใจ วุฏฐานะ การออก และ ปัจจเวกขณะ การพิจารณา แล้ว กำหนด รูปและอรูปว่า รูป มีอรูปเป็นหัวหน้า หรืออรูป มีรูปเป็นหัวหน้าแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา.

    ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
    แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป.

    อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้นครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ในบรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุและทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป.

    อีกอย่างหนึ่ง เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลมย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้นของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัยกายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล. ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกและกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป.

    ครั้น เธอกำหนดนามรูปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น. และเธอเมื่อแสวงหาอยู่ ก็ได้เห็นปัจจัยมีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นนั้นแล้ว ย่อมข้ามความสงสัยปรารภความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลทั้ง ๓ เสียได้.

    เธอนั้น ข้ามความสงสัยได้แล้ว ยกไตรลักษณ์ขึ้นด้วยอำนาจพิจารณากลาป ละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในส่วนเบื้องต้น ด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ) กำหนดปฏิปทาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสว่า เป็นมรรค ละความเกิดเสีย ถึงภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) เบื่อหน่ายคลายกำหนัดพ้นไปในสรรพสังขาร ซึ่งปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ด้วยพิจารณาเห็นความดับติดต่อกันไป ได้บรรลุอริยมรรคทั้ง ๔ ตามลำดับ แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตผล ถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง เป็นอัครทักขิไณยแห่งโลก พร้อมทั้ง
    เทวดา. ก็การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ ของภิกษุผู้ประกอบในอานาปานกรรมฐานนั้น ตั้งต้นแต่การนับ จนถึงมรรคผลเป็นที่สุด จบบริบูรณ์เพียงเท่านี้แล.
    ................
    สมันตปาสาทิกา มหาวิภังคอรรถกถา
    วิ.มหา.อ. (ไทย) ๒/๓๗๐-๓๗๑ มหามกุฏ ฯ

    vuSxu4ZnmP7WKaS-_vZngQbOSw6u3LqFTO7_Ahph5x2q&_nc_ohc=Q_POl7fBxcsAX-GzWb3&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    เป็นไปได้ไหมที่ผู้ปฏิบัติธรรมติดฌาน โดยผู้ปฏิบัติไม่รู้ตัว ?
    เป็นไปได้ไหมที่ผู้ปฏิบัติธรรมติดฌาน โดยผู้ปฏิบัติไม่รู้ตัว คือไม่เคยเห็นดวงเห็นกายเลย นั่งทีไรพบแต่ความว่าง เผลอสติได้ง่าย ทั้งๆ ที่พยายามกำหนดจุดเล็กใสแล้ว จะแก้ไขอย่างไร ?

    ตอบ:

    เรื่องติด ก็คือหลงติดสุขในฌาน แต่ถ้าเราปฏิบัติ หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆ กำหนดศูนย์กลางไปเรื่อย เห็นดวง หยุดนิ่งกลางดวงให้ใสสว่าง ละเอียดไปสุดละเอียด เห็นกายในกาย ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ให้ใสละเอียด ทีละกายๆ ไปจนสุดละเอียด อย่างนี้แล้วก็ถูกวิธี อย่างนี้ไม่ติดสุข

    เพราะฉะนั้น เรื่องติดสุขในฌาน ไม่ต้องไปคิดละครับ ให้มีฌานจริงๆ ก่อนแล้วค่อยคิด แล้วถ้าปฏิบัติในวิชชาธรรมกายแลัวง่ายครับ ไม่ต้องคิดละครับ เพราะอะไร ผมจะเรียนเพิ่มเติมนิดหน่อยในเรื่องฌานนี้ ตัวเองไม่ได้เก่งกาจละครับ ครูบาอาจารย์สั่งสอนมานะครับ มีประสบการณ์นิดนึง ไม่มาก ทีนี้จะเรียนให้ทราบ

    ในวิชชาธรรมกายนั้น เราเจริญฌานสมาบัติให้ละเอียดสุดละเอียด มุ่งหมายที่การกำจัดกิเลสนิวรณ์ บางท่านที่จะปฏิบัติให้ละเอียดไปถึงอรูปฌาน แต่ต้องอธิษฐานจิตก่อนว่า ให้ถอยกลับมาเป็นปฏิโลม ถึงเวลาแล้ว ภายในเขาจะบอกเอง เราจะรู้สึกเองว่า ถอยกลับได้แล้ว เมื่อถอยกลับเป็นอนุโลมปฏิโลมแล้ว ไม่ติดอยู่ทีไหน แล้วเที่ยวสุดท้ายโดยอนุโลมแค่จตุตถฌาน ถ้าใครทำได้นะครับ รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางธรรมกายอรหัต ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด จะอยู่ตรงกลางธรรมกาย ก็เห็น พอเห็นแล้วจิตหยาบลงมาเลย จากจตุตถฌานโดยอัตโนมัติ เมื่อหยาบลงมาแล้ว เราเอาใจธรรมกายเป็นหลักอีกครั้งหนึ่ง ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัต ซึ่งจะผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด กายหยาบกายละเอียดทั้งหมด 18 กาย จนถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต เรียกว่าสุดละเอียดของกายเถา 18 กาย รวมเรียกว่ากายเถา

    เพราะฉะนั้น เรามุ่งอย่างเดียวจะเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต คือให้ผ่องใสสุดละเอียดของธรรมกายอรหัตจากกายเถา กายที่หยาบรองลงมาชื่อว่ากายชุด เพราะแต่ละกายก็มีชุด 18 กายของเขา พิสดารไปสุดละเอียด เป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ชุดเหล่านั้นล้วนแต่มีกิเลสอนุสัยกิเลสของเรา มันเกาะอยู่นับภพนับชาติไม่ถ้วน ไม่รู้เกิดมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นสัตว์โลกมานี่แหละ

    นั้นแหละ มีกายเถา กายชุด กายชุดสุดละเอียดไปแล้วเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ที่หยาบรองลงมาอีกก็เป็นกายชั้น กายตอน กายภาค ภายพืด ซึ่งจะมีกายในกายที่ยังไม่บริสุทธิ์อีกมาก แต่ก็ละเอียดไป ละเอียดไปจนสุดละเอียดหมด เป็นแต่ธรรมกายล้วนๆ นั่นแหละที่ว่าปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ เพราะไม่พิจารณาลบฌาน แต่ระดับสมาธิที่ละเอียดๆ สมาธิยิ่งหยุดยิ่งนิ่ง สมาธิก็สูงขึ้นไปเองโดยธรรมชาติ แต่ไม่ต้องคำนึงว่าสูงแค่ไหน ถึงอย่างไรเมื่อสุดละเอียดจนถึงละเอียดหนัก ปล่อยอุปาทานในเบญจขันธ์ได้แม้ชั่วคราว ปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ นั่นเขาทะลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ภพชาติติดอยู่ในศูนย์กลางธรรมในธรรมของเรา ธรรมในธรรมนั้นแหละ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ นั่นแหละ ธาตุละเอียดมันอยู่ตรงนั้น ธาตุละเอียดนั้นแหละครับ มันมีทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เปลี่ยนแปลงไปตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรมตลอดเวลา

    เมื่อพิสดารกาย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือทำนิโรธ สุดละเอียดเข้าไปอย่างนั้นแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ในส่วนละเอียดคือธรรมในธรรมที่เป็นกุสลาธัมมา มันจะเต็มเปี่ยม เป็นมรรคมีองค์ 8 ถ้ายังไม่ถึงอริยมรรค ก็เป็นมรรคในโคตรภูญาณ นั่นมรรคเขารวมกันเป็นเอกสมังคี แต่ในระดับโคตรภูญาณแล้ว เตรียมพร้อม ถ้าบุญบารมีเต็ม ก็พร้อมที่จะ... ประเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่า จิตของธรรมกายที่สุดละเอียดนั้นจะพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งเป็นภพสุดท้ายที่สุดละเอียด ธรรมกายหยาบจึงตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจึงพ้นโลก ไปปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ถึงอายตนะนิพพานใหม่ๆ ที่ไม่เคยชิน รู้สึกมันหวิวนิดๆ นั้นแหละ ธรรมกายที่หยาบตกศูนย์ หยาบในขณะนั้นคือสุดละเอียดแล้วนะ แล้วที่สุดละเอียดก็ยังจะปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะความบริสุทธิ์ของธรรมกาย บริสุทธิ์พอที่จะสัมผัสรู้เห็นอายตนะนิพพานและความเป็นไปในอายตนะนิพพาน กล่าวคือ พระนิพพานธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั้งพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้า และของพระอรหันต์ขีณาสพที่ดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สัมผัสได้ เห็นได้ รู้ได้ ด้วยอาการอย่างนี้นะครับ พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานไปโดยอัตโนมัติครับ เมื่อจิตละเอียด สุดละเอียด เหมือนกับยิงจรวดนะครับ ยิงไปด้วยกำลังที่สูง แล้วพ้นแรงดึงดูดของโลก ตัวจรวดที่พ้นคือตัวดาวเทียมที่เขาส่งไป แต่ว่าตัวที่เป็นโลกๆ ก็ยังอยู่ทางโลกนี้แหละ หล่นอยู่ทางโลก แต่ตัวที่เขาต้องการให้พ้น มันก็พ้นออกไป พ้นแนวดึงดูดของโลก พ้นโลกแต่ยังอยู่ในโลกๆ เลยเล่าให้ฟัง

    เพราะฉะนั้น การติดฌาน ในแนววิชชาธรรมกายไม่ต้องพูดถึง ถ้าปฏิบัติถูกจะเป็นอย่างนี้ หรือจะเจริญแม้ถึงอรูปฌานเป็นสมาบัติ 8 ทบไปทวนมา เมื่อจะทวนขึ้นถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานไปได้โดยอัตโนมัติก็หลุดไปได้เหมือนกัน เพราะธรรมกายที่หยาบ เมื่อละเอียดไปสุดละเอียด ตกศูนย์ พ้นจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ธรรมกายที่สุดละเอียดก็ไปปรากฏได้เหมือนกัน นั้นเขามักเรียกว่า เจโตวิมุตติ แต่ว่าจริงๆ ปัญญาวิมุตติด้วย กระผมก็เลยกราบเรียนเพื่อทราบว่าอย่างนี้

    การอบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นที่ 29 6 พ.ค. 2538 โดย หลวงพ่อพระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    "จิตใต้สำนึก" กับ "วิชชาธรรมกาย"

    q4zzyrjpvrG0q1GFbA3-o.jpg

    "วิชชาธรรมกาย" นี้ ถูกต้องตามหลักสติปัฎฐาน ๔ ที่ว่าไว้ว่า "กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม"

    สอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ยกตัวอย่างทฤษฎีของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ที่ว่าไว้ว่า จิตมนุษย์เราเหมือนก้อนน้ำแข็งส่วนที่ลอยน้ำที่มีอยู่เพียง ๗% คือ "จิตสำนึก" หรือ "Conscious" และน้ำแข็งส่วนที่จมซ่อนอยู่ใต้น้ำที่มีมากถึง ๙๓% นั้น เรียกว่า "จิตใต้สำนึก" หรือ "Subconscious" ซึ่งเป็นแหล่งของปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ โดยจิตใต้สำนึกนี้แหละ คือ "กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม" หรือ "๑๘ กาย"

    q500507z2oYZbMQcptEi-o.png

    วิชชาธรรมกายสามารถอธิบายได้ว่า "ปัญญามาจากไหน และจะเข้าถึงได้อย่างไร ?"

    หลวงพ่อสดได้อธิบายไว้ว่า กายของเรานี้มีซ้อนลงไปมากถึง ๑๘ กาย เป็นกายหลัก และแต่ละกายหลักยังมีกายละเอียดซ้อนลงไปอีกมากมายนับไม่ถ้วน เป็นกายในกาย แล้วในแต่ละกายของกายในกายต่างมีจิต มีเวทนา มีธรรม ซ้อนลงไปเป็นชั้นๆๆ เข้าหลักที่ว่า "จิตมนุษย์นี้ยากแท้หยั่งถึง" เพราะอะไร เพราะมันซับซ้อนอย่างนี้

    q500d9goylcTLvSoB6T-o.jpg

    ถ้าพูดอย่างนักจิตวิทยาก็คือการขุดลึกลงไปในจิตใต้สำนึกนั่นเอง โดยความรู้ทางวิทยาศาสตร์รู้เพียงแค่ว่า มีจิตใต้สำนึกเท่านั้น แต่ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่า ในจิตใต้สำนึกนี้ มีลักษณะเป็นอย่างไร ทำงานอย่างไร เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างไร ฯลฯ

    และ "วิชชาธรรมกาย" นั้น ไม่มีถอดกายไปเที่ยว นอกจากกรณี "ตาย" หรือเข้าพระนิพพานถอดกายด้วย "พระธรรมกาย" เท่านั้น

    เวลาผู้เข้าถึง "ธรรมกาย" จะไปตรวจดูภพภูมิต่างๆ เราดำเนินตามคล้ายๆ กับ "วิสุทธิมรรค" คือ พระธรรมกายเข้าฌาณเป็นพื้นฐาน น้อมเอาภพภูมิต่างๆ มาเป็นกสิณที่ศูนย์กลางกาย แล้วก็เข้าไปตรวจภพภูมินั้นๆ ได้

    เราจะใช้ "ญาณทัศนะ" ในภูมิของกายในระดับต่างๆ ไปตรวจดูภพภูมิต่างๆ ให้สมภูมิ เช่น ตรวจดูภพสาม ก็ใช้ญาณของกายในภพสามเป็นพื้นไปตรวจดู หากใช้ภูมิของ "ญาณพระธรรมกาย" มากไป อาจจะเห็นใสสว่างไปหมด เพราะญาณพระธรรมกายนั้นละเอียดเกินไปที่จะตรวจดูของที่หยาบๆ กว่าได้

    หรือจะใช้ญาณพระธรรมกายเป็นหลักในการตรวจดูภพภูมิก็ได้ เช่น เวลาไปนรก เพราะพระธรรมกายมีอานุภาพมากถึงขนาดทำให้ไฟนรกดับได้ชั่วคราวในช่วงบริเวณนั้น ยิ่งเวลาไปตรวจดู "อเวจีมหานรก" หรือ "โลกันตนรก" ต้องใช้ญาณทัศนะ "ระดับธรรมกาย" เท่านั้น

    พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เทศนาไว้ว่า ผู้ที่เข้าถึงธรรมกายแล้ว สามารถฝันได้ทั้งตื่น ยืน เดิน นั่ง นอน ฝันไปได้ทั่วโลก ทุกๆ ที่ ไปนิพพานก็ได้ แต่การไปที่ถูก "ต้องหยุด" ไม่ใช่การจินตนาการไป หลวงพ่อสดท่านเรียกว่า "ฝันในฝัน"

    ดังนั้น ถ้าใครอยากเที่ยวทั่วโลกหรือทั่วจักรวาลแบบไม่ต้องเสียเงินเลย ก็ต้อง "นั่งสมาธิ"

    q501orwco0aDgXPilJS-o.jpg

    กายในกาย ที่ซ้อนลงไปนี้ ต่างก็มีจิตใจเป็นของตัวเอง อาทิ วิชชาธรรมกายของหลวงพ่อสดอธิบายไว้ว่า ในกายมนุษย์ซ้อนลงไปก็คือ กายมนุษย์ละเอียด (กายฝัน) ซึ่งกายฝันนี้ก็คือ "จิตใต้สำนึก" โดยกายฝันนี้ รูปร่างหน้าตาก็เหมือนคนคนนั้น แต่มีจิตใจ เวทนา และธรรม เป็นเอกเทศเป็นของตนเอง พูดง่ายๆ ก็คือ มีความคิดเป็นของตนเอง

    ท่านเคยเป็นไหมว่า เวลาท่านนอนหลับและฝัน ท่านฝันว่าท่านกำลังนอนและฝันลึกลงไปอีก ท่านเคยสังเกตบ้างไหม นี่คือ "ความเป็นเอกเทศที่เป็นเอกภาพ" ของกายและใจของเรา แล้วในกายฝันก็ยังมีกายซ้อนลงไปอีกมากมาย

    โดยหลังจากที่กายมนุษย์ได้หลับแล้ว กายมนุษย์ละเอียด (กายฝัน) จะทำหน้าที่ ให้เราตรึกระลึกอย่างนี้ คือ ระหว่างที่เรามีอาการเคลิ้มกำลังจะหลับนั้น เราจะรู้สึกว่าตัวเราเริ่มเบาและสบาย นั่นหมายความว่าเริ่มปล่อยวางใจ เราจะสังเกตได้ว่าการที่เราปล่อยวางใจ กายจะเบาและตัวก็เบา กายและตัวเราเบาตอนไหน มันเบาตอนที่เรามีอาการเคลิ้มและกำลังจะหลับ พอเคลิ้มหนักเข้าๆ เราก็แทบจะไม่รู้ตัว มือ เท้า ก็แทบจะจำไม่ได้ แทบจำไม่ได้ว่าเรานอนตะแคง นอนหงาย หรือนอนคว่ำ จนในที่สุดแล้วเราก็หลับไป ช่วงที่เรากำลังจะหลับนั้น เหมือนวูบเดียว ความจดความจำทั้งหมดจะหายไปในวูบหนึ่งที่เรียกว่าการเข้าไปสู่การหลับ เมื่อหลับแล้วกายมนุษย์นี้ก็จะขาดความรู้สึก อายตนะ ๖ ภายนอก ก็จะถูกหยุด เช่นยุงมากัดเราก็จะไม่รู้ตัว เสียงทีวี เสียงวิทยุที่เราเปิดไว้เราก็ไม่ได้ยิน ตาก็มองไม่เห็น และอายตนะ ๖ ภายในก็เกิดขึ้นคือ กายฝัน (กายมนุษย์ละเอียด) เพราะฉะนั้นกายฝันทำหน้าที่ฝัน และถ้าเกิดคนเคยฝันก็จะรู้ว่าความฝันนั้นบางครั้งเรากลัว บางครั้งเราดีใจ บางครั้งเราเศร้าใจ เสียใจถึงขนาดร้องไห้ซะจนตื่นก็ยังมี หรือกลัวตกใจสุดก็มี นั่นคือกายฝันที่ทำหน้าที่ เมื่อเรานอนพอแล้วเราจะค่อยๆ รู้สึกตัวกลับมา ครั้งแรกที่เรารู้สึกตัวนั้น เราจะรู้สึกตัวไม่ทั้งตัว แล้วเราจะรู้สึกตัวมากขึ้นเป็นลำดับ จนในที่สุดเราจะลืมตาได้

    และใน "เวลาฝัน" กายมนุษย์ละเอียดจะออกไปในที่ต่างๆ อันนี้บางทีอาจทำให้สงสัยได้ว่า ถ้ากายออกไปเสียแล้ว มิเป็นการถอดกายหรือ ? และเหตุใดกายมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของจึงยังไม่ตาย ? ข้อนี้เป็นเพราะอายตนะที่ละเอียดระหว่างกายมนุษย์หยาบกับกายมนุษย์ละเอียดยังเนื่องกันอยู่ มิได้ขาดออกจากกัน ฉะนั้นไม่ว่ากายมนุษย์ละเอียดจะไปยังที่ใด ก็สามารถกลับคืนมาสู่กายมนุษย์หยาบได้รวดเร็วเช่นเดียวกับการที่เราส่งใจคิดไปในที่ต่างๆ นั่นเอง


    โปรดตรองดูว่า ที่ท่านฝึกและเรียนรู้ขณะนี้ เป็นการเรียนรู้แค่กายมนุษย์เท่านั้นหรือไม่ ? กายฝัน และกายละเอียดลึกๆ ลงไปอีกมากมายภายในตัวท่าน ท่านเคยฝึกให้หรือเปล่า ? ท่านฝึกเจริญสติให้กับกายของท่าน แล้วกายละเอียดของท่าน ท่านเคยฝึกให้หรือเปล่า นี่ ! มันละเอียดปราณีตอย่างนี้

    **************************

    ความสุขที่แท้จริงของเราคือการหาความสงบสุข โดยการเข้าหาตัวเองจากภายในเพียงเท่านั้น หากได้พบเจอเข้าแล้ว เราจะไม่อยากแสวงหาสิ่งที่เป็นปัจจัยภายนอก เพราะมันไม่มีแต่แรก หากเราสะสมจากภายนอกมาตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน กว่าจะเข้าใจภายในตัวเรา เราก็ต้องผจญภัยกันมามาก

    หากอยากหยุดวงจรที่เจอมา ก็กลับมาอยู่ภายในจิตเรา ซึ่งภายในนั้นจะมี "ห้องสมุดจักรวาล" ที่มีองค์ความรู้ต่างๆ มากมาย ที่จะนำพาเราไปสู่ความหลุดพ้น ในสิ่งที่เราแสวงหามาทั้งชีวิต

    "คำตอบทั้งหลายรอเราอยู่"
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    วิชชาธรรมกายเน้นอาการแทงตลอดสัจจะ๔


    ในสัจจลักษณะ ๖ คือแบ่งเป็น ๒ สังขตธรรม ปรากฏความเกิด ๑ ปรากฏความเสื่อมสลาย ๑ ปรากฏความแปรปรวน ๑ กับส่วนของ อสังขตธรรม ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความเสื่อมสลาย ๑ ไม่ปรากฏความแปรปรวน ๑
    หรือแบ่งเป็นสัจจลักษณะ ๑๒ คือแบ่งเป็น ๔ ทุกข์ สมุทัย มรรค เป็นฝ่ายสังขตธรรม
    ส่วนนิโรธ เป็นอสังขตธรรม พิจารณาแยบยลอย่างนี้ๆ

    แม้ในอาการแทงตลอด ก็ยังถือว่ายังมิใช่นิโรธแท้ เป็นการถือนิโรธเป็นอารมณ์ เพื่อการพิจารณาธรรม เป็นกิริยาอยู่ เป็นอาการของมรรค ซึ่งนิโรธแท้ๆ เป็นอกิริยา

    วิชชาธรรมกายโดยมากจะเน้นที่อริยสัจจ์ ๔ โดยงานหลักๆจะเป็นโสฬสกิจ
    ที่พูดกันว่า เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้ นั้นแหละ
    กิจจญาณในอริยสัจ โสดาบันประชุม ๔ ชั้น สกิทาคามีประชุม ๔ ชั้น อนาคามีประชุม ๔ ชั้น อรหัตตาประชุม ๔ ชั้น รวมเป็น ๑๖ เป็นองค์อริยมรรคเป็นขั้นๆไป (ลองไปหาอ่าน โสฬสกิจ ที่บรรยายโดยหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

    ส่วนสติปัฏฐาน ๔ งานนี้ไม่มีขาด คนที่กล่าวอ้างส่วนมาก มักจะหาว่าไม่มีสติปัฏฐาน เพราะไม่รู้จริง จริงๆแล้ว พิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม จนถึงวิปัสสนาภูมิ ๖ ตั้งแต่ขันธ์๕ อายตนะ๑๒ ธาตุ๑๖ อินทรีย์๒๒ อริยสัจจ์(เน้นหนักตรงนี้) ปฏิจจสมุปบาท หลวงปู่ก็เมตตาสอนไว้ละเอียดยิบ แล้วมาหาว่าไม่เป็นวิปัสสนา อย่างนี้มันกล่าวตู่กันชัดๆ ระวังนรกไว้ด้วยล่ะ พวกที่กล่าวหาเลื่อนลอย ตามๆเขามา

    ในส่วนอื่น ก็เป็นกิจของพุทธภูมิ หลวงปู่ก็เมตตาสอนไว้ ตรงนี้ไม่ขอพูด

    มังคลเทวมุนิปัตติทานคาถา

    (๑) โย โส จันทะสะโร เถโร สัปปัญโญ กะรุณายะโก
    ราชะทินนาภิธาเนนะ มังคะละเทวะมุนิว์หะโย
    (๒) ชะนานัง อิธะ สัพเพสัง อิสสะโร ปะริหาระโก
    วินะยัสสะ จะ ธัมมัสสะ ธัมมะกายัสสะ โกวิโท
    (๓) ธัมเมสุ คะรุโก ธีโร สีเลสุ สุสะมาหิโต
    สิสสานัง ภิกขุอาทีนัง ปิตุฏฐาเน ปะติฏฐิโต
    (๔) อาหาราทีหิ วัตถูหิ เอเตสังอะนุกัมปะโก
    พะหุนนัง กุละปุตตานัง อุปัชณาโย วิจักขะโณ,
    (๕) โสทานิ กาละมากาสิ กัล์ ยาณะกิตติ ติฏฐะติ.
    (๖) ตัมมะยัง ยะติกา เถรา มัชณิมา นะวะกา จิธะ
    นิจจัง อะนุสสะรันตาวะ ตัสสะ คุเณนะ โจทิตา
    ปุญญันตัสสะ กะริต์วานะ เทมะ ปัตติง อะเสสะโต
    (๗) ยัง ยัง เตนะ กะตัง ปุญญัง, ยัง ยัง อัมเหหิ สัญจิตัง
    ตัสสะ ตัสสานุภาเวนะ ตัสสะ ตัสเสวะ เตชะสา
    สัทธัมมัฏฐิติกาโม โส สุขิโต โหตุ สัพพะทา.
    (๘) สะเจ ยัตถะ ปะติฏฐายะ นะ ละเภยยะ อิมัง วะรัง,
    ตัตถะ สัพเพ มะเหสักขา เทวา คันต์วา นิเวทะยุง.
    อะนุโนทะตุ โส ปุญญัง ปัตติง ละเภตุ สัพพะติ.
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ทำใจหยุดได้ เป็นมงคล

    "...ตั้งใจดีจะตั้งตรงไหน ต้องตั้งที่ตั้งของเขา ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึง ขวาทะลุซ้าย ขึงด้าย กลุ่มเส้นหนึ่งตึงแค่กัน ตึงด้วยกันทั้ง 2 เส้นตรงกลางจรดกัน ตรงกลางที่จรดกันของกลาง นั่นแหละ ตรงนั้นเรียกว่ากลางกั๊ก

    ใจหยุดที่กลางกั๊กนั่นแหละ ถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ หมั่นเอาใจจรดอยู่ตรงนั้นแหละ เริ่มต้นก็หมั่นเอา ใจจรดอยู่ตรงนั้นแหละเสมอ จะนั่ง จะนอน จะเดิน จะกิน จะดื่ม จะมี จะทำ จะพูด จะอุจจาระ ปัสสาวะ ก็หยุดตรงนั้นเสมอ

    แล้วก็ไม่ค่อยจะอยู่ จรดไปเถอะ จรดหนักเข้าๆ พอชินหนักเข้าก็ ชำนาญ หนักเข้าๆ ก็อยู่ พออยู่เท่านั้น ยิ้มแล้วละเรา พอใจหยุดตรงนั้นเท่านั้น ยิ้มแล้วละ

    พอใจหยุดเสียได้เท่านั้นแหละ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติเตียน ทุกข์ ไม่กระทบกระเทือนแล้ว เฉยเสียแล้วละ ไม่อาดูรเดือดร้อนด้วยอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ แล้ว ต้องทำใจให้หยุด พอหยุดเสียเท่านั้น ทั้งอิฏฐารมณ์อนิฏฐารมณ์ทำอะไรไม่ได้

    ตรงนั้นนั่นแหละ ถ้าทำใจให้หยุดตรงนั้นแล้วก็ได้ละ ถูกส่วนละ ถูกส่วนเช่นนั้นละก้อ สิ่งที่เป็นอิฏฐารมณ์ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เกิด ส่วนที่เป็นอนิฏฐารมณ์ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติเตียน ทุกข์ ไม่ กระทบกระเทือน ทำให้จิตกระทบกระเทือนไม่ได้

    ถ้าจิตเป็นขนาดนี้แล้ว บุคคลนั้นถึงซึ่งความสูงสุดแล้ว ถึงซึ่งมงคลแล้ว เข้าถึงซึ่งเนื้อหนัง มงคลแล้ว เป็นตัวมงคลขึ้นแล้ว บุคคลนั้นเป็นตัวมงคลขึ้นแล้ว นี้อยากได้มงคล ต้องทำอย่างนี้ นะ ถ้าทำไม่ถูกอย่างนี้ละก็ ไม่ได้มงคลทีเดียว

    ถ้าว่าอาดูรเดือดร้อนไปตามอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ เป็นอัปมงคลแท้ๆ อัปมงคลไม่ใช่เป็นแต่เฉพาะฆราวาสหญิงชายนะ ภิกษุ สามเณรเหมือนกัน พอสงบไม่ลง ทำใจหยุดไม่ได้ก็เป็นอัปมงคลแท้ๆ เมื่อรู้เช่นนั้น รู้จักละ มงคลอัปมงคลเช่นนี้

    นี้ต้องเพียรทำใจให้หยุดเข้าซี หยุดได้เวลาใดก็เป็นมงคลเวลานั้น ถ้าหยุด ไม่ได้เวลาใดก็เป็นอัปมงคลเวลานั้น รู้จักชัดดังนี้นะ เมื่อรู้จักชัดดังนี้ละก็ นี่เป็นข้อที่หนึ่ง..."

    ✍คัดลอกบางส่วนจาก✍
    พระธรรมเทศนา เรื่อง มงคลสูตร (2)
    เทศน์เมื่อ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๗
    โดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

    y2xqx61efSyo5H8eFPeq8lh9pjLnN-RufhNPFhrLxRDi&_nc_ohc=41ltiVVWFUkAX-XlQkj&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    #พระพุทธเจ้าในพระพุทธเจ้า

    วัดตะจาโปงพะยาหรือพระอินทร์ซ่อน แห่งเมืองพุกาม
    ***คนพม่าเรียกพระอินทร์ว่า ตะจา มีน เพี้ยนมาจากคำว่า สักกะ

    มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า พระอินทร์ได้ซ่อนพระพุทธรูปองค์เล็กที่พระองค์ได้สร้างไว้ในพระนาภี(ท้อง)ของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ เลยเป็นที่มาของชื่อวัดว่า...
    วัดพระอินทร์ซ่อน

    แต่ดูแล้วจากเศียรพระพุทธรูปองค์ในพระนาภี(ท้อง)เป็นศิลปะพุกามยุคต้นน่าจะสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่(ศิลปะพุกามตอนปลาย)ครอบในภายหลัง

    ပုဂံၿမိဳ႕ေဟာင္း သိၾကားပုန္းဘုရား

    เครดิต Manus Min Aung

    jVFh_dP7w57b-lTq-MUp75bR7o3lSVZBvTMw8SsVO6gE&_nc_ohc=zG5Ab3NlMEAAX_VbPaM&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    NUnzf3ipaAf3Dah_-pb_4s6eSP510GZU6V8dtQCwQt7T&_nc_ohc=X0ukYQJ-kcoAX9dc3am&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    หัวข้อสำรวจตนเอง
    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว



    เป็นเพียง หัวข้อ เบื้องต้น และ เบื้องกลาง คือ คือมหาสติปัฏฐาน 4 ตามแนววิชชาธรรมกายเท่านั้น

    ยังมีข้อมูลสำรวจอีกมาก จะแจกแก่ผู้ไปต่อวิชชาขั้นสูงกับ พระราชพรหมเถระ ( วีระ คณุตตโม ) ผู้สืบทอดวิชชาธรรมกายตรงจากหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ ) และ
    เป็น อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ฯ หรือ ต่อวิชชาฯกับท่านเจ้าอาวาส วัดหลวงพ่อสดฯ ราชบุรี
    หรือ โครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ(ภูเขาทอง) โดยตรง


    เบื้องต้น

    1. ปั่จจุบันนี้ ท่านเห็นธรรมกายใสและชัดเจนเพียงใด?
    ( ) ใสชัดดีมาก ( ) ใสชัดพอประมาณ
    ( ) ใสชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ( ) ไม่ชัดเลย

    2. เคยได้รับการต่อ 18 กาย เมื่อใด

    ( ) วันที่........................ ( ) ไม่เคย

    3. เคยรับการฝึกพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวี แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วทำตามทันได้หมด ( ) เคยแล้ว แต่ทำตามไม่คล่อง

    ( ) ยังไม่เคย หรือเคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    4. เคยฝึก พิสดารกายสุดหยาบสุดละเอียด เป็น เถา ชุด ชั้น
    ตอน ภาค พืด แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้ว ทำตามได้หมด ( ) เคยแล้ว ทำตามได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    5. เคยฝึกพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา

    เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เป็นณ ภายในและภายนอกโดยส่วนรวม โดยน้อมเข้าสู่ " อตีตังสญาณ" ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นในอดีต และ น้อมเข้าสู่ อนาคตังสญาณ ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นไปจนถึงวันตาย เพื่อให้เห็น " อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา "
    และเป็น มรณัสสติ เครื่องเตือนใจหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามทันหมด ( ) เคยแล้วเห็นตามทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ยังตามไม่ทัน


    7. เคยฝึกพิจารณาเห็นธรรมในธรรมต่อไปนี้หรือไม่ ( กาตรงที่เคย)


    ( ) ขันธ์ 5 ( ) อายตนะ 12 ( ) ธาตุ 18 ( ) อินทรีย์ 22

    ( ) อริยสัจจ์ 4 ( ) ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12


    8. เคยฝึก " เจริญฌาณสมาบัติพิจารณาอริยสัจจ์ 4 " แล้วหรือยัง?
    ( ) เคยแล้ว ทำตามทันหมด ( ) เคยแล้วทำตามทันบ้างไม่ทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ทำไม่ได้


    9. ท่านทราบพระประสงค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ให้เจริญภาวนา อบรมมหาสติปัฏฐาน 4 แล้วหรือยัง ?

    ( ) ทราบ คือ.......................................................

    ( ) พอทราบ คือ.....................................................

    ( ) ไม่ทราบ






    ************จบการสำรวจเบื้องต้น*******
    <!-- / message -->


    เบื้องกลาง




    1 . เคยฝึก เห็นจิตในจิต ( ว่ามีสมาธิหรือไม่มี ) และ

    เห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ 5 แล้วเจริญ
    ภาวนาสมาธิเพื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิตก วิจาร ปิติ
    สุข และ เอกกัคคตารมณ์ เพื่อกำจัดนิวรณ์อันเป็นเบื้องต้น
    ของรูปฌาณ หรือยัง?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้หมด
    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคยหรือเคยแต่ยังตามไม่ทัน

    2. เคยฝึกพิจารณาเห็น " ธาตุ " ละเอียดทั้ง 6
    และ " ธรรม " ( กลาง ขาว ดำ ) และ ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด
    ดวง รู้

    และฝึกพิจารณาเห็นกิเลส ( ธรรมภาคขาว และภาคดำ )

    ที่เข้ามาผสมให้สีน้ำเลี้ยงของจิตขุ่นมัวอย่างไรหรือยัง?

    3. เคยฝึกพิจารณา เห็นกายในกาย ในส่วนที่เป็น กายคตาสติ

    เพื่อพิจารณาเห็นส่วนต่างๆของรางกาย (ธาตุหยาบ) ทั้ง ณ ภายใน (ของตนเอง) และภายนอก(คนอื่น) ให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริงว่าเป็นสิ่งที่ไม่งาม ( อสุภะกรรมฐาน ) หรือยัง?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้หมด
    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้บ้างไม่ได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ยังตามไม่ทัน


    4. เคยฝึกพิจารณา เห็นจิตในจิต เป็นทั้ง ณ ภายในและภายนอก กล่าวคือ พิจารณาเห็น " อนุสัยกิเลส" ( ปฏิฆานุสัย ) ในเห็น จำ คิด รู้ ของแต่ละกายโลกียะ
    แล้วพิสดารกายสุดหยาบสุดละเอียด เพื่อดับ(อนุสัยกิเลส) สมุทัยแล้วหรือยัง?
    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้หมด
    ( ) เคยแล้วเห็น ตามได้บ้างไม่ได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือเคยแต่ยังตามไม่ทัน


    5. เคยฝึก ตรวจดูภพ ตรวจจักรวาล ( ดูอรูปพรหม รูปพรหม
    เทพยดา และเปรต สัตว์นรก อสุรกาย ถึงสัตว์ในโลกันตร์ ) เพื่อพิจารณาเห็น ................................ ความปรุงแต่งของสังขารชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร - อปุญญาภิสังขาร และ อเนญชาภิสังขาร...............

    ของสัตว์โลกทั้งหลายที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ทั้งหลาย

    แ ล้วพิจารณาเข้าสู่ " ไตรลักษณ์ " คือพิจารณาให้เห็นสภาวะของสังขารขันธ์ทั้งหลายในภพสามนี้ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างไร

    หรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วแต่เห็นตามไม่หมด
    ( ) เคยแล้วแต่เห็นตามทันบ้างไม่ทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคยหรือเคยแต่ยังตามไม่ทัน


    ฯล ฯ


    ข้อมูลสำรวจตน ฯ มากกว่านี้จะแจกเพื่อสำรวจสำหรับผู้ไปต่อวิชชาฯ

    ซึ่งยังไม่อาจเปิดเผยมากกว่านี้

    นำมาเปิดเผยบางส่วน เพื่อให้ทราบว่า การเจริญธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย มีเนื้อหาที่เป็นทั้งสมถ-วิปัสสนา

    ..................................เจริญธรรมทุกท่าน..............................







    เด็ก เข้าถึงง่าย แต่ก็เสื่อมง่าย

    เด็ก มีสติ สัมปชัญญะอ่อน ถูกจูงรู้จูงญาณง่าย
    เมื่อเด็กยังไม่ได้ผ่านการอบรมฝึกฝนสติ-สัมปชัญญะให้กล้าแข็ง
    ด้วยการอบรมสติปัฏฐาน 4
    ถ้าใช้เด็กดูนอกลู่ นอกทางบ่อยเข้า......จิตจะค่อยๆออกศูนย์


    ถูกอกุศล ค่อยๆปนเป็นเข้ามา และธรรมกายที่บริสุทธิ์จะดับไป

    จะเหลือแต่ที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมา.......พึงระวัง








    ......ในการถ่ายทอดวิชชาธรรมกายสมัยหลวงพ่อสด ฯ ท่านยังครองกายเนื้ออยู่นั้น ....

    บางท่านแม้นเป็น ธรรมกาย แล้ว หลวงพ่อสดฯ ท่านก็ไม่ถ่ายทอดวิชชาฯให้

    ท่านอาจทราบว่า บางคนถ่ายทอดให้ไปแล้ว แทนที่จะเป็นผลดี ก็อาจไม่ดี คือ

    ภายนอกอาจขาว แต่ภายในไม่ขาวใส (.......)สิ่งไม่ดี จำแลง หรือส่งสายของเขามา

    หรือไม่ก็ถูกหลอกให้เป็นฐานของภาคอกุศลไป

    ...............ลูกศิษย์แต่ละกันในสมัยนั้น บารมีระดับไม่ธรรมดา เก่งกันคนละด้าน

    การสืบทอดจะรับได้ต่างกันบางจุด...

    ดังนั้น จึงต้องเจริญมหาสติปัฏฐาน 4 ให้แก่กล้าก่อน จึงก้าวขึ้นสูงต่อไป

    ต้องรู้ทันกิเลสก่อน ดับกิเลสได้ก่อน


    จะได้ไม่ไปเป็นฐานให้ภาคอกุศล ในภายหลัง



    บางท่านเป็นผู้มุ่งโพธิญาณ.....วิชชาฯที่ทรง ยังเป็นโลกิยะ ยิ่งต้องระมัดระวัง

    ชำระจิตด้วยมหาสติปัฏฐาน 4 ให้มาก ....เพราะถ้าพลาดมา อาจนำพาผู้อื่น
    พลาดไปด้วย


    ..................................................เจริญธรรม.............................................
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ถาม // ในบทสังฆคุณของหลวงพ่อสด หน้า ๑๖-๑๗ กล่าวไว้ชัดถึงการอาศัยองค์ฌานตามลำดับตั้งแต่ ๑-๘ ถอยเข้าถอยออกแล้วพิจารณาอริยสัจแล้วเกิดปัญญาเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ เพียงแต่การทำฌานสมาบัติได้ถึง ๔ ชั้นก็เป็นของยากยิ่งกว่าจะได้ (เว้นบางท่าน) แล้วไฉนผู้เข้ารับการอบรมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และพระเณรบางรูป ดูกิริยาวาจาแล้ว ยังมีจิตหยาบอยู่มาก จึงสอบผ่าน ๑๘ กาย ไปได้ง่ายดายนัก ยิ่งเป็นพระแล้วน่ากลัวอาบัติมาก

    ตอบ // ท่านทำของท่านไปเถอะ ท่านอย่าไปคิดประเมินคนอื่นเลย ท่านลืมคำของพระพุทธเจ้าคำหนึ่งที่ตรัสไว้ว่า อย่าไปมัวพิจารณากิจของผู้อื่น แต่ให้พิจารณากิจของตัวเอง เด็กกับผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กหลุกหลิก แต่ทำได้ทุกคน
    ทั้งๆ ที่บางคนหลับโหงกเหงกๆ ตื่นมาทำได้อีก ทราบไหมเพราะอะไร ? เด็กเพิ่งเกิดมา ใจยังไม่ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกมากนัก กิเลสยังไม่หนาแน่น แต่ผู้ใหญ่กิเลสหนาตั้งแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสสิ่งภายนอกมาตลอดทุกนาทีทุกชั่วโมง เว้นแต่หลับ แล้วกิเลสสะสมเข้ามาเท่าไรตั้งแต่เกิดมากว่าจะมาปฏิบัติธรรมให้เห็นได้ จะต้องกระเทาะกิเลสเหล่านั้นให้หมดเป็นชั้นไป จึงจะถึงรู้เห็นและเป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ได้ ส่วนเด็กซึ่งจิตใจยังไม่ทันไปยึดไปเกาะอะไรมากนัก พอบอกให้แกนึกให้เห็น บางทีเพียงหนึ่งนาทีแกเห็นแล้ว ท่านจะไปคิดประมาณอะไรกับพวกเด็กที่เห็นเร็วเห็นช้า
    สามเณรบางรูปในสมัยพุทธกาล พอปลงผมแกร๊กก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย แค่มีดโกนสัมผัสศีรษะก็บรรลุแล้ว นี้เป็นเรื่องของบุญบารมีที่เขาสร้างสมไว้ดี เอาง่ายๆ คนเราที่เติบโตมากระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้วนี้ ตั้งแต่เกิดมา มีผู้ใหญ่หรือพ่อแม่พี่น้องครูบาอาจารย์ชักนำให้มาปฏิบัติกัมมัฏฐานสักกี่ราย แต่เด็กเหล่านี้มีผู้ชักนำมาปฏิบัติกัมมัฏฐานตั้งแต่ยังเด็ก ท่านดูแค่นี้ ใครมีบุญมากกว่ากัน ดูง่ายๆ เท่านี้แหละ
    เด็กมีจิตใจที่ยังไม่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสที่สะสมตกตะกอนนอนเนื่องมากเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อจะให้ใจหยุดจึงหยุดเข้าไปได้ง่าย บางทีหยุดนิดเดียวได้ดวงปฐมมรรคเห็นใสสว่างด้วย ผู้ใหญ่นั่งปฏิบัติภาวนาเกือบตายไม่เห็น เพราะใจมันไม่หยุด เด็กหยุดเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็หยุกหยิก เป็นธรรมชาติของเด็ก จนเขาบอกว่าใครจับเด็กให้นิ่งได้ คนนั้นเก่ง อย่านึกว่าผู้ใหญ่ต้องทำได้ง่ายกว่าเด็ก ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ทำได้ง่ายก็มี ทำได้ยากก็มี แต่ส่วนใหญ่จะยากกว่าเด็ก จะเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธรรมกายได้ช้ากว่าเด็กๆ
    หลวงพ่อสดเองก็ไม่ได้ทำได้ภายในหนึ่งปี ท่านเอาจริงเอาจังเกือบตาย ท่านปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนานกว่าจะได้ดวงปฐมมรรคและถึงธรรมกาย พวกเราเองแม้ได้แล้วหายไปก็มีหลายราย เพราะยังกำจัดกิเลสหรือสัญโญชน์ไม่ได้ ยังไม่เป็นอริยเจ้า เหมือนไปเชียงใหม่ ไปถึงแค่ไปดูไปเห็น กลับมาอีกแล้ว เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ แต่คนที่ทุนทรัพย์พอ ไปถึงก็สามารถฝังรกรากอยู่ได้ อยู่ที่การบำเพ็ญบารมีแก่กล้าถึงเวลาที่ธาตุธรรมแก่กล้าแล้วก็ถึงเองเป็นเอง
    เรื่องบุญบารมี ขอกล่าวสักนิดว่า เราจะพูดว่าใครบารมีมากกว่าใคร ก็พูดยาก เพราะอะไร ? เพราะผู้ที่อธิษฐานเป็นปกติสาวกบำเพ็ญบารมีเต็มเร็วกว่าผู้ที่อธิษฐานบารมีสูงกว่านั้น เช่นผู้บำเพ็ญบารมีในระดับอสีติมหาสาวกหรือพุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา หรือขึ้นไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าก็ยังมีการบำเพ็ญบารมีที่ต่างกัน เช่น พระปัญญาธิกพุทธเจ้าก็ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบัน ๘ อสงไขยแสนกัปป์ ๑๖ อสงไขยแสนกัปอย่างเช่น พระศรีอารยเมตไตรยก็มีการบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกันไม่เท่ากันอย่างนี้ ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันมากอีกด้วย
    เมื่อเป็นเช่นนั้น บางท่านในอดีตชาติเคยอธิษฐานบารมีมามาก บำเพ็ญบารมียังไม่เต็ม ก็ยังไม่เห็น เห็นช้ากว่าคนที่อธิษฐานบารมีมาน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเต็มเร็ว ก็เห็นเร็ว นี้อันหนึ่ง แต่เห็นแล้วก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมแก่กล้าพอแล้วหรือยัง อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เหมือนปลูกข้าวเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว ข้าวจะงอกงามขึ้นมาและจะออกรวงเอง จะบังคับให้ข้าวออกรวงในวันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้ ถึงเวลาก็จะออกรวงเอง
    เด็กน่ะที่เห็น เห็นชัดด้วย ที่เห็นชัดแจ้งก็เห็นได้ชัดแจ๋วมากๆ ด้วย ส่วนผู้ใหญ่หลายคนกว่าจะได้เห็นและเข้าถึง ก็ยากกว่า ช้ากว่ากันมาก ผมจึงมีนโยบายว่าให้เด็กปฏิบัติให้ได้ผลดีมากๆ เมื่อเด็กปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็ให้เรียนภาคปริยัติด้วยเต็มที่เลย ได้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เด็กถ้ามาเข้ารับการอบรม ๑๐ คนภายใน ๑๕ วันถ้าเขาตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ก็สามารถปฏิบัติถึงธรรมกายได้ไม่น้อยกว่า ๕-๖ คน นี้เป็นอัตราทั่วไป ถ้าเด็กวัยรุ่นอยู่ปฏิบัติ ๑๕ วัน นี้จะได้ผลดีไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ หรือ ๓๓% แต่ถ้าผู้ใหญ่ถ้าตั้งใจอยู่ปฏิบัติจริงจังจะได้ผลประมาณ ๑ ใน ๔ หรือ ๒๕% นี้เป็นอัตราธรรมดา
    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตใจไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง
    เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง
    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย
    ท่านถามมาก็เป็นประโยชน์อยู่ เพราะมีหลายคนมีข้อสงสัยอย่างนี้ คงจะพอเป็นข้อแนะนำชี้แจงให้เข้าใจได้พอสมควร
    a-jpg.jpg
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    หลักฐานคำว่าธรรมกายในพระไตรปิฎก บาลี-ไทย ฉบับสยามรัฐ และพระไตรปิฎกหินอ่อนที่พุทธมณฑล

    1. ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปี พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ
    “ดูก่อนวาเสฏฐะ อันว่า คำว่า “ธรรมกาย” ก็ดี “พรหมกาย” ก็ดี “ธรรมภูต” ก็ดี ผู้ที่เป็นธรรมก็ดี หรือ “พรหมภูตะ” ผู้ที่เป็นพรหมก็ดี นี้แหละเป็นชื่อของเราตถาคต”
    ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค อัคคัญญสูตร
    พระไตรปิฎกสยามรัฐ เล่ม 11 ข้อ 55 หน้า 91-92
    (พระไตรปิฎกหินอ่อนแผ่นที่ 27)
    อ่านเพิ่มเติม http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=11&siri=4
    .....
    2. สํวทฺธิโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สํวทฺธิโต ตยาฯ
    “ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันยังให้เติบโตแล้ว แต่ “ธรรมกาย” อันน่ารื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้ว”
    พระสูตรขุททกนิกาย อปทาน มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน
    พระไตรปิฎกสยามรัฐ เล่ม 33 ข้อ 157 หน้า 287
    (พระไตรปิฎกหินอ่อนแผ่นที่ 814)
    อ่านเพิ่มเติม http://www.84000.org/tipitaka/read/?33.1/157
    .....
    3. ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภูฯ มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา
    “พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมอันใหญ่ มี “ธรรมกาย” มาก”
    ขุททกนิกาย อปทาน ปัจเจกพุทธาปทาน
    พระไตรปิฎกสยามรัฐ เล่มที่ 32 ข้อ 2 หน้า 20
    (พระไตรปิฎกหินอ่อนแผ่นที่ 756)
    อ่านเพิ่มเติม http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=32&A=147&Z=289
    .......
    4. ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺติ โก ทิสฺวา นปฺปสีทติฯ
    “บุคคลใดยัง “ธรรมกาย”ให้สว่างแล้วทั้งสิ้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้น ไม่มี”
    ขุททกนิกาย อปทาน อัตถสันทัสสกเถราปทาน
    พระไตรปิฎกสยามรัฐ เล่มที่ 32 ข้อ 139 หน้า 243
    (พระไตรปิฎกหินอ่อนแผ่นที่ 772)
    อ่านเพิ่มเติม http://84000.org/tipitaka//pitaka2/v.php?B=32&A=4023&Z=4041
    ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่า คำว่าธรรมกาย เป็นคำที่มีอยู่แล้วในพระไตรปิฎก และเป็นพระนามของพระพุทธเจ้าโดยตรง

    ดังนั้นใครจะเอาเวลาไปเถียงกัน สู้เอาเวลาไปปฏิบัติเถอะครับ ได้เจอพระธรรมกายภายในก็ถือเป็นบุญกุศลอันมหาศาลที่ได้เกิดมา
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    การเจริญภาวนาตามแนว "วิชชาธรรมกาย" นี้
    มีลักษณะเป็นแบบที่ใช้ “เจโตสมาธิ” เป็นบาท
    คือ สมาธิที่ประดับด้วย “อภิญญา” หรือ “วิชชาสาม”
    ถ้าบรรลุ "มรรคผล" โดยวิธีนี้
    เรียกว่าหลุดพ้นโดย “เจโตวิมุตติ”

    ในระหว่างที่ปฏิบัติ แต่ยังไม่ถึงขั้นบรรลุมรรคผล
    ก็จะยังได้ความสามารถในทาง "สมาธิ"
    ยังประโยชน์ทั้งทางโลก และทางธรรม
    ให้เกิดแก่ผู้ปฏิบัติเป็นอันมาก

    นอกจากนี้ผู้ประสงค์จะเจริญภาวนาแบบ “ไตรลักษณ์”
    ก็จะสามารถเจริญได้โดยสะดวก
    เพราะการเจริญภาวนาตามแนว "วิชชาธรรมกาย" นี้
    มี “สติปัฏฐาน ๔” อยู่ในตัวพร้อมเสร็จ
    สามารถจะยกเอา
    - กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน
    - เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน
    - จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน
    - ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน
    ทั้ง ณ ภายใน และภายนอก
    ขึ้นพิจารณาได้เสมอ
    เป็นทางให้ได้บรรลุมรรคผลทางปัญญา
    เป็นผลพลอยได้อีกด้วย

    จึงมิต้องวิตกกังวลว่า ...
    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนี้
    จะเป็นแค่ขั้น “สมถะ”
    โดยไม่มี “วิปัสสนา” แต่อย่างใด
    เพราะฉะนั้นขอท่านทั้งหลาย
    อย่าได้ลังเลสงสัยเลย

    * พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    คัดลอกข้อความ คุณสุรินทร์ เต็มอุดม

    -aqnr_ogrxilbkpmai_gevrtsy9mzqzwabmio9k-g9omz7u3lt1zeqk4v43xjq_xtod8-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    oTxgvQYUVmkLUnU6zAj-KRxXjjNtchq2AXFp6Ayk6FKF&_nc_ohc=W5OzYKskaCgAX-SMnIP&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    วิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม 12


    พระพุทธดำรัสว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท [​IMG] วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม


    พระพุทธดำรัสว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
    สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี พระนครสาวัตถี ได้ตรัส "ปฏิจจสมุปบาทธรรม" คือ ธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น 12 ประการ ดังต่อไปนี้ (ม.มู.12/448, 450/482-483, 485)


    ตรัสนัยอันเป็นปัจจัยเกิด และ ดับ

    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น
    เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ
    เพราะ อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
    เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
    เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
    เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
    เพราะ สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
    เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
    เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
    เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
    เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
    เพราะ ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
    เพราะ ชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงมี
    ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

    เพราะ อวิชชาดับหมดมิได้เหลือ สังขารก็ดับ
    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ
    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

    ตรัสนัยแห่งความดับ

    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น
    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ

    เพราะ อวิชชาดับ สังขารจึงดับ
    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ
    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

    วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม
    วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านสอนไว้ มีความว่าดังนี้

    "ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้น หมายถึงธรรมที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ เป็นปัจจัยติดต่อกันไม่ขาดสาย คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส" (พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ 1: หจก.พริ้นติ้ง (ไทยแลนด์), พ.ศ.2528, หน้า 37-38.)

    มีวิธีเจริญภาวนาพิจารณาเห็นได้ดังต่อไปนี้

    ขณะเมื่อพระโยคาวจรเจริญฌานสมาบัติ พิจารณาอริยสัจ 4 ซึ่งเป็นไปในญาณทัสสนะ มีรอบ 3 มีอาการ 12 อยู่นั้น ย่อมจะสามารถพัฒนาไปเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ได้ กล่าวคือ ในขณะที่พิจารณาเห็นทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ในกายมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดอยู่นั้น หากเพ่งพิจารณาด้วย "ตา" หรือ "ญาณ" พระธรรมกาย ลงไปที่กลางทุกขสมุทัยอริยสัจ ก็จะเห็นว่า

    "อวิชชา มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำขุ่นมัว ไม่ผ่องใส เล็กประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
    สังขาร มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
    วิญญาณ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป
    นามรูป มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ
    สฬายตนะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของนามรูป เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ
    ผัสสะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
    เวทนา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
    ตัณหา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของเวทนา เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน
    อุปาทาน มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิดภพ
    ภพ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ
    ชาติ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของภพ เป็นปัจจัยให้เกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส

    ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกัน ประสานติดต่อกันเป็นปัจจัย อุดหนุนกันไม่ขาดสาย เหมือนลูกโซ่ จึงเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท เกิดขึ้นเพราะเป็นปัจจัยติดต่ออาศัยซึ่งกันและกันเกิด เมื่อจะดับธรรมเหล่านี้ ก็ต้องดับเบื้องต้น คือ อวิชชาดับมาก่อน แล้วธรรมอื่นๆ ก็ดับมาเป็นลำดับจนถึงเบื้องปลาย คือ ชาติดับ แต่นั่นธรรมเหล่านี้จึงจะดับขาดสายไปทุกประการ" (อ้างแล้ว. หน้า 38-39)

    อนึ่ง ในปฏิจจสมุปบาทธรรมแต่ละดวงนี้ ก็มีเห็น จำ คิด รู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวง และดังที่จะได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต โดยละเอียดในลำดับต่อๆ ไปว่า ใน เห็น จำ คิด รู้ ก็มี "อนุสัย" ได้แก่ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และ อวิชชานุสัย หุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวิชชานุสัยนั้น หุ้มซ้อนดวงรู้ของกายโลกิยะทั้ง 8 อยู่ แต่หยาบละเอียดกว่ากันไปตามความหยาบละเอียดของกายเข้าไป เห็น จำ คิด รู้ ของกายโลกิยะทั้ง 8 จึงไม่ขยายโตเต็มส่วนเหมือนธรรมกาย

    ต่อเมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกายแล้ว อนุสัยกิเลสทั้งหลาย จึงถูกถอดออกเป็นชั้นๆ จนกระทั่งหมดไปเมื่อถึงธรรมกาย อวิชชาเครื่องหุ้มรู้ เมื่อถูกถอดมาถึงกายธรรม จึงกลับเป็นวิชชา ให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจจธรรมขึ้นมาทันที วิชชาเครื่องหุ้มนั้นก็ใสละเอียดสะอาดบริสุทธิ์ และดวงรู้ก็เบิกบานขยายโตเต็มส่วน มีขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหน้าตักและความสูงของพระธรรมกาย และ กลับเป็นญาณรัตนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นอาสวักขยญาณคือความหยั่งรู้วิธีทำอาสวะให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามคุณธรรมที่ปฏิบัติได้ต่อไป

    จึงเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกายว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้นคงมีอยู่แต่เฉพาะในกายโลกิยะทั้ง 8 เท่านั้น หาได้มีในพระธรรมกายด้วยไม่ และรู้แจ้งแทงตลอดในพระไตรลักษณ์ส่วนละเอียดด้วยญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง 8 นั้นเอง ที่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา เพราะมีอวิชชาเป็นรากเหง้าแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ถ้าดับอวิชชาได้ ทุกข์ก็ดับหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดดับหรือขาดลง ทุกข์ก็ดับ เพราะความเป็นเหตุและผลของทุกข์ ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรม" นั้นขาดหมดตลอดทั้งสาย

    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้ง ด้วยตา และ ญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง 8 นั้น ตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์อย่างไรแล้ว ก็ย่อมเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย และ รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกาย ว่า พระธรรมกายมรรค ผล นิพพาน ชื่อว่า "พระนิพพานธาตุ" อันพระอริยเจ้า พระอรหันตเจ้าท่านได้บรรลุแล้ว ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งนี้เอง ที่กลับเป็นกาย นิจฺจํ สุขํ และ อตฺตา (แท้) ที่วิมุตติหลุดพ้น หรือ ว่าง (สูญ) จากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่ว่างจากอัตตาโลกิยะและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาโลกิยะนั้น หรือที่ว่างจากสังขาร จึงชื่อว่า "ว่างอย่างยิ่ง-ปรมํ สุญฺญํ" ด้วยประการฉะนี้

    ที่กล่าวข้างต้นนี้ เป็นวิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ในส่วนที่เป็นธาตุละเอียด ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กัน เข้าไปข้างใน ถัดจากธาตุละเอียดของอริยสัจ 4 ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนาที่ได้ถึงธรรมกายแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และ ธรรมในธรรม ทั้งของตนเองและของผู้อื่น และทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) จากสุดหยาบ (กายมนุษย์) ไปถึงสุดกายละเอียด

    โดยความเป็นธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12) และ ดับไป เป็นปัจจุบันธรรม ได้ ดังเช่นต่อไปนี้

    สำหรับผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายที่เจริญฌานสมาบัติให้จิตสงัดจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา และทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัยคือปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 มีสติสัมปชัญญะ มีศีลสังวรและอินทรีย์สังวรอยู่เสมอ ย่อมสามารถพิจารณาเห็นเป็นปัจจุบันธรรม ทั้งที่ยังเป็นๆ อยู่ ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม ดังต่อไปนี้

    1. กายมนุษย์ละเอียด ซึ่ง เป็นกาย ณ ภายใน ของผู้ที่ปฏิบัติกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต ซอมซ่อ เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส พลอยให้กายมนุษย์หยาบ อันเป็นกาย ณ ภายนอก เศร้าหมองด้วย
      ย่อมเห็น เวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก และ ทั้ง ณ ภายใน คือ ดวงเห็น-จำ-คิด-รู้ ของกายมนุษย์หยาบ และ ของกายมนุษย์ละเอียด เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส และ
      ย่อมเห็น ธรรมในธรรม อันมี "ดวงธรรม" ที่ทำให้เป็นกาย 1 "ดวงศีล" 1 ธาตุละเอียดของ "ทุกขสัจ" 1 "สมุทัย" (ตัณหา) 1 และ ภพภูมิ (ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม) 1 อันมี เห็น-จำ-คิด-รู้ คือ "ใจ" ซ้อนอยู่ตรงกลางของกลางดวงธรรมในธรรมดังกล่าวทุกดวง มัวหมอง ไม่ผ่องใส เป็น "ทุคคติภพ" พลอยให้การดำเนินชีวิตของผู้นั้นเป็นไปไม่ดี คือ เป็น "ทุกข์" ไม่เป็น "สันติสุข" และ
    2. ย่อมสามารถพิจารณาเห็น กายมนุษย์ละเอียด ซึ่งเป็นกายในกาย ณ ภายใน ของผู้งดเว้น คือ ไม่ประกอบกายทุจจริต วจีทุจจริต และ มโนทุจจริต เป็นผู้มีศีลมีธรรม ประกอบด้วยทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น ผ่องใส ตามระดับภูมิธรรม เช่น
    • ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "มนุษยธรรม" กายมนุษย์ละเอียดก็ปรากฏผ่องใส
    • ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "เทวธรรม" คือประกอบด้วยหิริ โอตตัปปะ กายทิพย์ก็ปรากฏผ่องใส
    • ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "พรหมธรรม" คือประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม และรูปฌาน/อรูปฌาน กายรูปพรหม/อรูปพรหม ก็ปรากฏผ่องใส
    • ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "พุทธธรรม" ตั้งแต่โคตรภูจิตขึ้นไป "ธรรมกาย" ก็ปรากฏผ่องใสตามระดับภูมิจิต
      ธรรมในธรรมของผู้นั้น รวมทั้งเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) ของผู้นั้น ย่อมบริสุทธิ์ผ่องใส และ มีรัศมีปรากฏ เป็นสุคติภพ (ภูมิจิต) และสูงขึ้นไปเป็นโลกุตตรภูมิ ตามระดับภูมิธรรมและบุญบารมีของแต่ละท่าน
      พลอยให้การดำเนินชีวิตของท่านผู้นั้นเป็นไปด้วยดี มี "สันติสุข"
    แต่มีข้อพึงสังเกตว่า ผู้มีภูมิจิตสูงกว่า ย่อมสามารถเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ของผู้มีภูมิจิตต่ำกว่าได้ชัดเจน

    โดยนัยนี้ จึงกล่าวได้ว่า การเจริญสมถวิปัสสนาภาวนาถึงธรรมกาย ที่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านปฏิบัติ และได้สั่งสอนไว้ จึงมีสติปัฏฐาน 4 คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) อย่างครบถ้วน อยู่ในตัวพร้อมเสร็จ ด้วยประการฉะนี้
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    พระพุทธองค์ทรงเปล่งพระอุทานเย้ยตัณหา ในคืนวันเพ็ญวิสาขมาส

    "...อวิชชาเท่านั้นเป็นตัวการสำคัญ ถ้าดับอวิชชาได้อย่างเดียว อื่นๆ ดับเรียบหมด

    เพราะอวิชชาเหมือนต้นไฟ แต่ถ้ายังดับอวิชชาไม่ได้แล้ว ก็ไม่มีหวังว่าอย่างอื่นจะดับได้ ที่หมายสำคัญในคำสอนของพระองค์จึงอยู่ที่ว่า ให้ผู้ปฏิบัติเพียรหาทางกำจัดอวิชชาเสีย จึงจะพ้นจากห้วงลึก คือวัฏฏสงสารได้

    อเนกชาติสํสารํ ฯเปฯ ในขณะเมื่อแสงทองเรื่อเรืองแข่งแสงเงินขึ้นมายังขอบฟ้าเบื้องบูรพา อันเป็นสัญญาณว่าดวงอาทิตย์เตรียมทำหน้าที่จะส่องโลกอยู่แล้ว เป็นเวลาที่อากาศยะเยือกเย็นสดชื่น ส่งให้เราหวนไประลึกถึงเวลารุ่งอรุณแห่งวันเพ็ญวิสาขมาส

    อันเป็นวันที่พระบรมโลกนาถอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น เราจะแลเห็นโอภาสรัศมีอันรุ่งโรจน์ยิ่งกว่าแสงทองนั้นร้อยเท่าพันทวี ช่วงโชติอยู่ภายใต้โพธิพฤกษ์อันมหาศาล ใบเขียวชอุ่มรับกับรัศมีอันเหลืองอร่ามอยู่ภายใต้นั้น ในใจกลางแห่งรัศมีอันช่วงโชติชัชวาลอยู่นั้น

    มิใช่อื่นไกล คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ประทับพริ้มอยู่ด้วยพระอาการชื่นบานพระหฤทัยที่ได้เสวยวิมุตติสุข อันเป็นผลแห่งการที่พระองค์ได้ทรงประกอบพระมหาปธานวิริยะมาเป็นเวลาช้านาน จึงได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ สมดังพระหฤทัยประสงค์

    พระองค์จึงทรงเปล่งพระอุทานเย้ยตัณหาว่า อเนกชาติ สํสารํ ดังที่ได้ยกขึ้นกล่าวไว้ข้างต้นนั้น ซึ่งแปลใจความเป็นสยามภาษาว่า “เราสืบเสาะหาตัวช่างไม้ผู้สร้างปราสาทมานานแล้ว เมื่อเรายังหาไม่พบ เราต้องท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร เวียนว่ายตายเกิดอยู่แทบจะนับชาติไม่ถ้วน

    การเกิดนำความทุกข์มาให้เราแล้วๆ เล่าๆ ไม่รู้จักจบสิ้น นี่แน่ะท่านนายช่างไม้กล่าวคือตัณหา บัดนี้เราเจอะตัวท่านแล้วละ ท่านหมดโอกาสที่จะมาสร้างปราสาทคืออัตภาพร่างกายเราต่อไปได้อีกแล้ว กระดูกซี่โครงท่านกล่าวคือกิเลส เราหักเสียกรอบหมดแล้ว มิหนำซ้ำยอดปราสาทกล่าวคืออวิชชา เราก็รื้อทำลายหมดสิ้นแล้ว

    จิตของเราปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว เราถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหาแล้ว” พระอุทานนั้นมีข้อความเป็นบุคคลาธิษฐานสั้นๆ แต่มีอรรถรสลึกซึ้งน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ที่แปล คหกูฏํ ว่ายอดปราสาท ก็เพื่อความเหมาะสมที่พระองค์เป็นกษัตริย์ เพราะบ้านเรือนของพระมหากษัตริย์ เรียกกันว่า ปราสาทราชฐาน พระอุทานนั้นมีข้อความชัดเจนแล้ว มิจำต้องอธิบาย..."

    คัดลอกบางส่วนจาก
    พระธรรมเทศนา เรื่อง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
    เทศน์เมื่อ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๘ – ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
    โดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

    owoihiwpqvg59dmld7iduprnoum9nmucfvmbyihfmfudtw-gek-6lbv5sfzzpdiata2x-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ในมนุษยโลก เราผ่านไปผ่านมาเท่านั้นเอง ไม่ใช่เป็นบ้านเมืองของเรา ไม่เป็นถิ่นทำเลที่เราอยู่ เป็นทำเลที่ สร้างบารมีเท่านั้น อย่าไปยึดติด

    "...สมบัติเงินทองข้าวของที่เป็นสวิญญาณกทรัพย์ และ อวิญญาณกทรัพย์ที่เราหาได้มา เก็บหอมรอบริบไว้หรือได้มรดกมาก็ดี สิ่งทั้งหลายนั้นเมื่อเรา รักษาอยู่ เมื่อเรายังมีชีวิตเป็นอยู่ ก็เป็นของเราอยู่

    แต่พอแตกกายทำลายขันธ์เท่านั้น สมบัติ เหล่านั้นไม่ใช่ของเราเสียแล้ว กลายเป็นของคนอื่นเสียแล้ว ไม่ใช่ของเราจริงๆ

    ในมนุษยโลก เราผ่านไปผ่านมาเท่านั้นเอง ไม่ใช่เป็นบ้านเมืองของเรา ไม่เป็นถิ่นทำเลที่เราอยู่ เป็นทำเลที่ สร้างบารมี มาบำเพ็ญทาน ศีล เนกขัมม์ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา เท่านั้น นี่ข้อสำคัญรู้จักหลักนี้แล้ว ให้ละสุขอันน้อยเสีย

    สุขอันน้อยนั่นคืออะไร รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เราใช้สอยอยู่นี้ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ ชอบใจ ติดอยู่ในกามภพ ที่ให้เราซบอยู่ในกามภพนี้โงศีรษะไม่ขึ้น ไอ้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละเป็นสุขนิดเดียว

    สุขเล็กน้อยไม่ใช่เป็นสุขมาก สุขชั่วปรบมือกระพือปีกไก่เท่านั้น มันสุขน้อยจริงๆ ให้ละสุขน้อยนั้นเสีย ให้ละ 5 อย่างนี้ คือ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่น ที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ชอบใจ เมื่อละได้แล้วเรียกว่า จาคะ สละสุขที่ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั้นได้

    ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั้นเป็นไฉน เงินทองข้าวของ สวิญญาณกทรัพย์ อวิญญาณกทรัพย์ เหล่านี้เรียกว่า รูปสมบัติ ที่เรายินดีในรูปสมบัตินั้นแหละ เรียกว่า ยินดีในรูป

    เสียงยกย่องสรรเสริญ ยกยอสรรเสริญ ชมเชยต่างๆ เหล่านี้ ที่เป็น โลกธรรมเหล่านี้นั่นแหละ ยินดีในเสียง ถ้าเราไปยินดีติดอยู่ในเสียงสรรเสริญอันนั้นละก้อ ทำให้เพลินซบเซาอยู่ในโลกเป็นทุกข์ เป็นสุขกับเขาไม่ได้

    กลิ่นหอมเครื่องปรุงต่างๆ อันเป็น ที่ชื่นเนื้อเจริญใจนั่นแหละ ยินดีในกลิ่น มัวยินดีในกลิ่นอยู่เถิดจะซบเซาอยู่ในมนุษยโลก ใน กามภพ ดุจคนสลบโงศีรษะไม่ขึ้น ติดรสเปรี้ยวหวานมันเค็มอยู่นี่แหละ ยินดีในรส ถ้าว่า ติดอยู่ในรสเช่นนั้นแล้วละก็ หรือติดรสอันใดก็ช่าง ความติดรสอันนั้นแหละ ทำให้โงหัว ไม่ขึ้น

    ยินดีในความสัมผัส ถูกเนื้อต้องตัว ถ้าเอาใจไปยินดีในสัมผัสถูกเนื้อต้องตัวเข้าแล้ว เข้าไปอยู่ในเปือกตมทีเดียว โงศีรษะไม่ขึ้นอีกเหมือนกัน 5 อย่างนี้ให้สัตว์โลกจมอยู่ในวัฏฏสงสาร

    ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ออกจาก วัฏฏะไม่ได้ กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ ออกไม่ได้ ออกจากภพ 3 ไม่ได้ ออกจาก กามไม่ได้

    เพราะสละสิ่งทั้ง 5 ไม่ได้ ถ้าสละสิ่งทั้ง 5 อันเป็นสุขน้อยนี้เสียได้แล้ว เมื่อสละสิ่งทั้ง 5 เสียได้แล้ว จะได้ประสบสุขอันไพบูลย์ ต้องประสบสุขอันไพบูลย์แท้ๆ สุขอันไพบูลย์ ยิ่งๆ ขึ้นไป..."

    คัดลอกบางส่วนจาก
    พระธรรมเทศนา หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ
    พระมงคลเทพมุนี ( สด จนฺทสโร )

    nqy9pys0hrjqu3zk59t61j8es7o4ymdw5-gc01rpxggbf3xx2o1luhce-2f1gkz6mhgr-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +70,497
    temp_hash-1eb338ad163d74c25f663f37204a5ad2-jpg.jpg









    สมาธิเบื้องต่ำและสมาธิเบื้องสูง

    28 กุมภาพันธ์ 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา.
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อิธ อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตนฺติ. เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา.
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชมฺปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธิชมฺปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ. สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพ ว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรตีติ. เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตาติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในเรื่องสมาธิ ซึ่งเป็นลำดับอนุสนธิมาจากศีล ศีลแสดงแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ และโดยปริยายเบื้องสูง ส่วนสมาธิเล่าก็จักแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำ โดยปริยายเบื้องสูงดุจเดียวกัน ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นนั้น จะแปลความเป็นสยามภาษา พอเป็นเครื่องประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่าน ผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า เริ่มต้นแห่งพระธรรมเทศนาในเรื่องสมาธิ เป็นลำดับต่อไป

    มีคำปุจฉาวิสัชชนาว่า กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงบ้าง

    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำนั้นเป็นไฉนเล่า

    อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำสละอารมณ์เสียแล้ว ลภติ สมาธึ ย่อมได้ซึ่งสมาธิ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ย่อมได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง เอวํ โข เหฏฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ

    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉนเล่า

    อิธ ภิกฺขุ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่ 1 เป็นไปด้วยกับวิตก วิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก

    วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบเสียซึ่งวิตกวิจาร ความตรึกตรองนั่นสงบเสียได้ อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส จิตผ่องใสในภายใน เอโกทิภาวํ ถึงซึ่งความเป็นเอกอุทัย เข้าถึงซึ่ง ทุติยฌาน ความเพ่งที่ 2 ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติสุขเกิดแต่วิเวก วิเวกชํ มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกดังนี้ อย่างนี้แหละเป็นฌานที่ 2

    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ปราศจากความปีติ อุเปกฺขโก จ วิหรติ มีอุเบกขาอยู่ 1, สโต จ สมฺปชาโน มีสัมปชัญญะ 1, สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ เสวยความสุขด้วยนามกาย 1, อริยา อาจิกฺขนฺติ อันพระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่าเข้าถึงซึ่ง ตติยฌาน ความเพ่งที่ 3 อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ เสวยสุขอยู่ มีสติอยู่เป็นอุเบกขา ชื่อว่าเข้าถึงซึ่งตติยฌาน เป็นความเพ่งที่ 3 อย่างนี้แหละ

    สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขละทุกข์เสียได้แล้ว ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา สงบสุขทุกข์อันมี ในก่อนเสีย สงบความดีใจเสียใจอันมีในก่อนเสียได้ อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทธึ เข้าถึงซึ่ง จตุตถฌาน ความเพ่งที่ 4 ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีสติเป็นอุเบกขาวางเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์เป็นอุเบกขาอยู่อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง นี้เนื้อความ ของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงเท่านี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบาย ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ในสมาธิสืบต่อไป เป็นข้อที่ลึกล้ำคัมภีรภาพนัก แต่สมาธิจะแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำก่อน

    สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ถือเอาความตามพระบาลีนี้ ว่า อิธ อริยสาวโก แปลว่า พระอริยสาวกในพระธรรมวินัย โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำให้ปราศจากอารมณ์ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ อารมณ์ทั้ง 6 ไม่ได้เกี่ยวแก่ ใจเลย เรียกว่าปราศจากอารมณ์ ลภติ สมาธึ นั่นแหละสมาธิล่ะ ได้สมาธิในความตั้งมั่น ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง หรือได้ความที่แห่งจิตเป็นธรรมชาติหนึ่ง ไม่มี สองต่อไป นี่ส่วนสมาธิโดยเบื้องต่ำ

    สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง บาลีว่า อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัย ของพระตถาคตเจ้านี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่หนึ่ง เป็นไปด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา “วิตก” ความตรึกถึงฌาน “วิจาร” ความตรองในเรื่องฌาน เต็มส่วนของวิจารแล้วชอบใจอิ่มใจ “ปีติ” ชอบอกชอบใจ ปลื้มอกปลื้มใจ เรียกว่า ปีติ “สุข” มีความสบายกายสบายใจ เกิดแต่วิเวก วิเวกชํ ประกอบ ด้วยองค์ 5 ประการ วิตก วิจาร ปีติ สุข เกิดจากวิเวก ก็เข้าเป็นองค์ 5 ประการ นี้ปฐมฌาน

    ทุติยฌานเล่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบวิตกวิจารเสียได้ ความตรึกความตรอง ตรวจตราไม่มี สงบวิตกวิจารเสียได้ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เข้าถึงซึ่งทุติยฌาน ความเพ่งที่สอง ระคนด้วยองค์ 3 ประการ คือ ปีติ สุข เกิดแต่สมาธิเหมือนกัน นี่เข้าถึงทุติยฌาน

    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ ปราศไปจากความปีติ ไม่มีปีติ เข้าถึงซึ่งตติยฌาน ความเพ่งที่สาม ระคนด้วยองค์ 2 ประการ คือ สุข เกิดแต่สมาธิ หรือ “สุข” “เอกัคคตา” อย่างนี้ ก็ได้ เพราะเกิดแต่สมาธิ

    ระงับสุข สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขละทุกข์เสียได้ หรือดับความดีใจ เสียใจอันมีในก่อนเสียได้ เข้าถึงจตุตถฌาน ความเพ่งที่สี่ ระคนด้วยองค์ 2 ประการ มีสติ บริสุทธิ์ วางเฉย อยู่สองประการเท่านั้น ที่จับตามวาระพระบาลี ได้ความอย่างนี้ นี่เป็นปริยัติ แท้ๆ ยังไม่เข้าถึงทางปฏิบัติ

    ส่วนสมาธิในทางปฏิบัติเป็นไฉน ในทางปฏิบัติละก้อ มีรสมีชาติดีนัก สมาธิในทาง ปฏิบัติ ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงแบบเดียวกัน

    อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ นี่สมาธิในทางปฏิบัติ กระทำอารมณ์ทั้ง 6 รูปารมณ์ สัททารมณ์ รสารมณ์ คันธารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ ไม่ให้ติดกับจิต หลุดจากจิตทีเดียว เหลือแต่จิตล้วนๆ ไม่มีอารมณ์เข้าไปแตะทีเดียว เหมือนอะไร เหมือนคนที่เวลานอนจะใกล้หลับ เมื่อยังไม่หลับ มีอารมณ์เข้าไปติดอยู่ รูปารมณ์บ้าง นึกถึงอดีตบ้าง ปัจจุบันบ้าง อนาคตบ้าง สัททารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต คันธารมณ์บ้าง ที่เป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต รสารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต โผฏฐัพพารมณ์บ้าง ที่เป็น ของเก่าของใหม่ ของปัจจุบัน หรือธรรมารมณ์บ้างที่เกิดอยู่ในเดี๋ยวนั้น ที่ล่วงไปแล้ว และ ที่จะเกิดต่อไป อารมณ์เหล่านี้แหละวุ่นอยู่กับใจ ติดอยู่กับใจ เปลื้องจากกันไม่ได้ ไม่หลับนอน ตลอดคืนยังรุ่งก็ไม่หลับ เพราะอารมณ์มันเข้าไปติดกับใจ มันไปเกี่ยวข้องกับใจ มันไปบังคับใจเสียนอนไม่หลับ มันไม่หลุด เมื่อไม่หลุดเช่นนี้ละก็ เรียกว่าสละอารมณ์ไม่ได้

    เมื่อสละอารมณ์ได้ในทางปฏิบัติ ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์เลย ใจหลุดจากอารมณ์เหมือนอะไร เหมือนไข่แดงกับไข่ขาวอยู่ด้วยกันจริงๆ แต่ว่าไม่เกี่ยวกัน ไข่แดงมีเยื่อหุ้มอยู่นิดหนึ่ง บางๆ ไม่เกี่ยวกับไข่ขาวด้วย ไข่ขาวหุ้มอยู่ข้างนอกไม่ติดกัน รสชาติของไข่แดงก็รสหนึ่ง รสชาติของไข่ขาวก็รสหนึ่ง ไม่เข้ากัน อยู่คนละทาง เห็นปรากฏทีเดียว เห็นที่ไหน อยู่ที่ไหน จึงเป็นทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัดอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางกายมนุษย์นี่ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ใสบริสุทธิ์เท่า ฟองไข่แดงของไก่นั่นแหละ แต่ส่วนจิตที่เป็นสมาธิก็อยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ไม่ใช่จิตดวงเดียว ในกลางดวงจิตมีวิญญาณ แต่ดวงจิตอยู่ในกลางดวงจำ ดวงจำอยู่ในกลางดวงเห็น แต่ว่าพูดถึงจิตดวงเดียวแล้วก็ จิตไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทีเดียว อารมณ์ไม่เข้าไปแตะทีเดียว นิ่งหยุด ดิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ แล้วผู้ปฏิบัติของตัวก็เห็น ใครเห็น นี้เป็นทางปฏิบัติ กายมนุษย์ละเอียดมันเห็น ไม่ใช่กายมนุษย์คนหยาบนี่ กายมนุษย์ละเอียดที่มันฝันออกไป กายมนุษย์คนนั้นแหละมันเห็น มันอยู่ในกลางดวงนั่นแหละ มันเห็นดวงจิตบริสุทธิ์สนิทหลุดจากอารมณ์ดังนี้ ไม่มีอารมณ์เข้าไปเกี่ยวข้องเลยทีเดียว เป็นดวงจิตใสเหน่งอยู่นั่นแหละ เหมือนไข่แดง แต่ว่ามันไม่ใสอย่างไข่แดงหรอก ใสเหมือนกระจกส่องเงาหน้า ใสเหน่งทีเดียว ตากายมนุษย์ละเอียดมันเห็น เพราะว่ามันก็รู้ว่าดวงจิตของมนุษย์ เวลานี้ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทั้ง 6 เลย อารมณ์ทั้ง 6 ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวเลย หลุดจากกันหมด เห็นอย่างนี้เรียกว่า โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ มันก็นิ่ง นิ่งแน่นอนอยู่กับดวงจิต มั่นไม่คลาดเคลื่อน ดวงจิตนั่นก็ซ้อนอยู่กับดวงจำ ดวงเห็น ดวงวิญญาณก็ซ้อนอยู่ในกลาง ดวงจิตนั่นแหละ ทั้ง 4 อย่างนี้ซ้อนไม่คลาดเคลื่อนกันเป็นจุดเดียวกันนั่นแหละ ไม่ลั่นลอดจากกัน เป็นก้อนเดียวชิ้นเดียวอันเดียวทีเดียว เห็นชัดๆ อย่างนี้เรียกว่าสมาธิในทางปฏิบัติแท้ๆ อย่างนี้เรียกว่าได้สมาธิ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ถึง เอกคฺคตา ได้ถึงซึ่งความเป็นหนึ่ง จิตดวงนั้นแหละ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว ไม่มีสอง ไม่มีเขยื้อน แน่นแน่ว เหมือนอย่างกับน้ำที่ใส่ไว้ในแก้วตั้งไว้ ในที่มั่น ไม่มีลมพัดมาถูกต้องเลย ไม่เขยื้อนเลยทีเดียว อยู่ทีดียว หยุดอยู่กับที่ทีเดียว นั้นได้ชื่อว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว จิตถึงซึ่งความเป็นหนึ่งขนาดนั้น นั่นได้สมาธิอย่างนี้ เรียกว่าได้สมาธิแล้ว แต่ว่าสมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ อย่างนี้สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ไม่ใช่สมาธิ โดยปริยายเบื้องสูง

    สมาธิท่านวางหลักมาก ไม่ใช่แต่จิตแน่นเท่านี้ ไม่ใช่แต่จิตปราศจากอารมณ์ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งเท่านี้ สมาธิท่านวางหลักไว้ถึง 40 แต่ว่า 40 ยกเป็นปริยายเบื้องสูงเสีย 8 เหลืออีก 32 นั้นก็เป็นที่ทำสมาธิเหมือนกัน แต่ว่าเป็นสมาธิฝ่ายนอกพระศาสนา ไม่ใช่ในนะ สมาธิข้างนอก แต่ว่าเห็นข้างนอกแล้วก็น้อมเข้าไปข้างในได้ ถ้าสมาธิตรงข้างในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เช่นนี้ละก็ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว

    สมาธินอกพุทธศาสนาออกไปน่ะ ที่พระพุทธเจ้ารับรองอนุโลมเข้ามาในพระพุทธศาสนา นั่น กสิณ 10, อสุภะ 10, อนุสสติ 10 เป็น 30 แล้ว อาหาเรปฏิกูลสัญญา, จตุธาตุววัตถาน เป็น 32 นี่สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำทั้งนั้น ไม่ใช่สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ถึงจะทางปริยัติก็ดี ทางปฏิบัติก็ดี ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำ สมาธิโดยทางปริยัติก็แบบเดียวกัน สมาธิโดยทางปฏิบัติ ก็แบบเดียวกัน แต่ว่าสมาธิโดยทางปริยัติไม่เห็น ผู้ทำสมาธิไม่เห็น นั่นสมาธิในทางปริยัติ

    ถ้าสมาธิในทางปฏิบัติ ผู้ได้ ผู้ถึง เห็นทีเดียว เห็นปรากฏชัดทีเดียว นั่นสมาธิในทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัด เห็นปรากฏชัดดังนั้น

    ส่วนสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ต้องพูดถึงฌาน จิตที่เป็นดวงใส ที่เห็นเป็นดวงใสอยู่นั่นแหละ ผู้ปฏิบัติจะเข้าถึงซึ่งสมาธิโดยปริยายเบื้องสูงต่อไปได้ ใจต้องหยุดนิ่งกลางดวงจิตที่ใสนั่น ต้องหยุดนิ่งทีเดียว พอหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ ก็เกิดเป็นฌานขึ้นกลางดวงจิตที่หยุดนั่น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กลางดวงจิตที่หยุดนั่น นิ่งหนักเข้าๆ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของหยุดนั้น เข้ากลางของหยุดพอถูกส่วนถึงขนาดถึงที่เข้า เป็นดวงผุดขึ้นมา เป็นดวงผุดขึ้นๆ กลางนั่นแหละ ดวงใหญ่ไม่ใช่ดวงย่อย วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา (8 ศอก) หนาคืบหนึ่ง กลมเป็นปริมณฑล กลมรอบตัว วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ถ้าดวงนั้นผุดขึ้นมา มีกายๆ หนึ่ง กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละขึ้น นั่งอยู่กลางดวงนั้น

    เมื่อกายมนุษย์ละเอียดขึ้นนั่งอยู่กลางดวงนั้นแล้ว นี่เนื่องมาจากดวงนั้นนะ ใจของกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นดวงจิตของตัวอีก นี่เป็นสมาธิทำไว้แล้วน่ะ แต่ว่าไม่ใช่ดวงจิตมนุษย์คนโน้น เป็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียด เห็นปรากฏทีเดียว มันก็นั่งนิ่งอยู่ กายมนุษย์ละเอียดก็เอาใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวนั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น นี่ขึ้นมาเสียชั้นหนึ่งแล้ว พ้นจากกายมนุษย์หยาบขึ้นมาแล้ว กายมนุษย์ละเอียดก็นั่งอยู่กลางดวงฌาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 8 ศอก (2 วา) กลมรอบตัวเป็นวงเวียนหนาคืบหนึ่ง จะไปไหนก็ไปได้แล้ว เข้าฌานแล้ว กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว เมื่อเข้าฌานเช่นนั้นแล้วก็คล่องแคล่ว จะไปไหนก็คล่องแคล่ว เมื่อเข้าฌานเข้ารูปนั้นแล้ว เกิดวิตกขึ้นแล้วว่านี่อะไร รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้ ไม่เคยพบเคยเห็น เกิดวิตกขึ้น ตรึกตรองทีเดียว ลอกคราบลอกคูดู วิจารก็เกิดขึ้นเต็มวิตกก็ตรวจตรา สีสันวรรณะ ดูรอบเนื้อรอบตัว ดูซ้ายขวาหน้าหลัง ดูรอบตัวอยู่ ตรวจตราแน่นอนแล้ว เป็นส่วนของความตรวจตราแล้ว เกิดปีติชอบอกชอบใจปลื้มอกปลื้มใจ เบิกบานสำราญใจ เต็มส่วนของปีติเข้ามีความสุขกายสบายใจ เมื่อสุขกายสบายใจแล้วก็นิ่งเฉยเกิดแต่วิเวก ใจวิเวกวังเวง นิ่งอยู่กลางดวงนั่น นี่เต็มส่วนขององค์ฌานอย่างนี้ กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้วอย่างนี้ เรียกกายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานอยู่กลางดวงนั่น นี่สมาธิในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้ แต่ว่าขั้นสูงขึ้นไป เมื่อตัวอยู่ในฌานนี้ ยังใกล้กับของหยาบนัก

    เราจะทำให้สูงขึ้นไปกว่านี้ ใจกายละเอียดก็ขยาย ใจขยายจากปฐมฌานของกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กลางกายนั่น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตที่เห็นใสนั่น นิ่งหนักเข้าๆๆๆ พอถูกส่วนเข้า เกิดขึ้นมาอีกดวงเท่ากัน นี่เรียกว่า ทุติยฌาน พอเกิดขึ้นอีกดวงหนึ่งแล้วละก็ กายทิพย์ทีเดียว กายทิพย์ละเอียดทีเดียวเข้าฌาน ไม่ใช่กายทิพย์หยาบล่ะ กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานอีก แบบเดียวกับกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียดก็เข้าฌาน อาศัยกายทิพย์หยาบเข้าฌานทีเดียว นั่งอยู่กลางดวงอีกแบบเดียวกัน ชนิดเดียวกัน นั่งอยู่กลางดวงอีก ทีนี้ ไม่มีวิตกวิจาร ละวิตกวิจารเสียแล้ว เหลือแต่ปีติ ชอบอกชอบใจ มันดีกว่าเก่า ใสสะอาดดีกว่าเก่ามาก ปลื้มอกปลื้มใจ เมื่อปลื้มอกปลื้มใจเช่นนั้น เต็มส่วนของความปีติก็เกิดความสุขขึ้น เต็มส่วนของความสุข เข้าใจก็นิ่งเฉย นิ่งเฉยอยู่ในอุราเรียกว่า อุเบกขา นิ่งเฉยอยู่กลางนั่น นี่กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว กายทิพย์ละเอียดก็นึกว่าใกล้ต่อกายมนุษย์ละเอียด ที่ละเอียดกว่านี้มีอีก

    ใจของกายทิพย์ละเอียดก็ขยายจากฌานที่ 2 ใจก็นิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวดังเก่า ต่อไปอีก ของกายทิพย์ละเอียดต่อไปอีก กลางดวงจิตนั่น พอถูกส่วนเข้า ฌานก็ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเท่ากัน ดวงเท่ากันแต่ใสกว่านั้น ดีกว่านั้น วิเศษกว่านั้น คราวนี้กายรูปพรหมขึ้นมาแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็เข้าฌานนั่น แต่ว่าอาศัยกายรูปพรหมหยาบนั่งนิ่งอยู่กลางดวงของตติยฌาน ในนี้ไม่มีปีติ เป็นสุข เอกคฺคตา ก็นิ่งเฉยอยู่กับสุขนั่น มีองค์ 2 เต็มส่วน รับความสุขของตติยฌานนั่นพอสมควรแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็นึกว่าละเอียดกว่านี้มีอีก

    ใจกายรูปพรหมละเอียดก็ขยายจิตจากตติยฌาน นิ่งอยู่ในกลางดวงจิตของตัวนั่น ใส อยู่นั่น กลางของกลางๆๆๆๆๆ ถูกส่วนเข้า ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเป็นดวงที่ 4 เข้าถึงจตุตถฌาน เข้าถึงจตุตถฌานอาศัยกายอรูปพรหมหยาบ และกายอรูปพรหมละเอียดเข้าจตุตถฌาน กายอรูปพรหมละเอียดก็เข้าจตุตถฌานไป เมื่อเข้าจตุตถฌานหนักเข้าเป็นอุเบกขา กายอรูปพรหม เมื่อเข้าฌานนี้มีแต่ใจวางเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์อยู่เท่านั้น มีสติวางเฉยบริสุทธิ์เป็น 2 ประการ พอถูกหลักฐานดีแล้ว เมื่อเข้าสู่รูปฌานแน่นอนดังนี้แล้ว ใจกายอรูปพรหมละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด อยู่ศูนย์กลางดวงจตุตถฌานนั้น จะเข้าอรูปฌานต่อไป เข้าอากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ต่อนี้ไปใช้กายรูปพรหมละเอียดไม่ได้ ใช้กายอรูปพรหม ใช้กายอรูปพรหมกายเดียวเข้าฌานเหล่านั้น นี้เป็นฌานในภพ ไม่ใช่ฌานนอกภพ ฌานทั้ง 4 ประการนี้แหละเป็นสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง โดยทางปฏิบัติดังกล่าวมานี้ ปฏิเวธ ที่ปรากฏชัด ตามส่วนของตนๆ มารู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น เป็นตัวปฏิเวธทั้งนั้น เมื่อเข้าถึงฌานที่ 1 ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้ว เข้าถึงฌานที่ 2 ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่อีก รู้เห็นปรากฏชัด เมื่อเข้าถึงฌานที่ 3 ก็เป็นปฏิเวธอีก ปรากฏชัดด้วยตาของตัว เข้าฌานที่ 4 ก็เป็นปฏิเวธอีก เป็นปฏิเวธทั้งกายมนุษย์ เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดก็เป็นปฏิเวธอยู่อีก เข้าถึงกายรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหม เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียดก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหมละเอียด ส่วนอรูปพรหมเป็นของละเอียด ส่วนจตุตฌานก็เป็นของละเอียดแต่ว่าเกี่ยวกัน ที่จะเข้าอรูปฌานต้องเริ่มต้นแต่รูปฌานนี้ พอเข้าอากาสานัญจายตนฌานก็ใช้กายอรูปพรหมอย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้แล สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง

    แสดงมาโดยปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านเจ้าภาพและสาธุชน จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้.
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...