ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ยกที่ 1 เป๊ง…‼️
    17:13 ศุกร์13กย
    CA
    IMG_4393.JPG
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เพื่อให้เพื่อนๆที่ไม่เข้าใจว่าทำไมอุบลจึงน้ำท่วมหนักกว่าที่อื่น..เหตุจากตรงนี้นะคะ....!!
    IMG_4394.JPG
    ..อีสานจะมีลุ่มแม่น้ำอยู่ 2 สาย คือ ลุ่มน้ำชี ต้นน้ำอยู่ที่ จ.ชัยภูมิ ส่วนลุ่มน้ำมูลต้นน้ำอยู่ จ.นครราชสีมา วันที่พายุโพดุล และพายุคาจิกิ ผ่านอีสานตอนบน จนทำให้ฝนตกหนัก มวลน้ำก็จะมาตามลำน้ำสาขาทั้ง 2 นี้โดยจะไหลมาบรรจบกันที่ จ.อุบลราชธานี แล้วออกแม่น้ำโขง แต่พอแม่น้ำโขงหนุนสูงขึ้น เลยทำให้น้ำจากสาขาทั้ง2ไม่สามารถระบายออกได้ ...#SaveUbon

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ขั้วโลกเหนือแม่เหล็กเปลี่ยนตำแหน่ง 22-02-2019


    magnetic01.jpg
    (ภาพจาก https://www.nature.com/articles/d41586-019-00007-1)

    นักวิทยาศาสตร์พบว่าตำแหน่งของขั้วโลกเหนือแม่เหล็กเปลี่ยนไปมากจนทำให้ต้องมีการอัปเดตแบบจำลองแม่เหล็กโลก (World Magnetic Model) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระบบนำทางที่ใช้ระบุทิศแผนที่บนในสมาร์ทโฟน

    เราต้องเข้าใจก่อนว่าขั้วโลกเหนือทางภูมิศาสตร์หรือขั้วโลกเหนือจริง (Geographical North Pole) ตั้งอยู่จุดเหนือสุดที่แกนการหมุนของโลกตั้งฉากกับพื้นผิว จุดนี้ไม่ได้ขยับไปไหนและไม่สามารถขยับได้ ส่วนที่เรากำลังพูดถึงกันนี้คือขั้วโลกเหนือแม่เหล็ก (Magnetic North Pole) ซึ่งเป็นจุดที่สามารถเปลี่ยนตำแหน่งบนผิวโลกได้ ณ จุดนี้สนามแม่เหล็กของโลกจะชี้ลงไปที่ผิวโลกเป็นเส้นตรง

    ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 ขั้วโลกเหนือแม่เหล็กเคลื่อนที่มุ่งหน้าไปสู่ไซบีเรีย ด้วยความเร็ว 48 กิโมเลมตรต่อปี ในต้นปี ค.ศ. 2019 นักวิทยาศาสตร์จึงต้องประกาศการปรับปรุง แบบจำลองแม่เหล็กโลก (World Magnetic Model) การเคลื่อนที่ของขั้วโลกเหนือแม่เหล็กคือการเปลี่ยนแปลงที่เล็กน้อยมาก แต่จะสังเกตได้สำหรับผู้ที่ใช้ระบุทิศทางที่ต้องการความแม่นยำสูงและอยู่ใกล้บริเวณขั้วโลกเหนือ

    จริงๆแล้วการปรับปรุงฐานข้อมูลแบบจำลองแม่เหล็กโลกนี้ไม่กระทบกับตัวรับสัญญาณจีพีเอส (Global Positioning System : GPS) เพราะมันไม่ได้พึ่งพาขั้วโลกเหนือแม่เหล็ก แต่รับสัญญาณจากดาวเทียมหลายๆดวงที่เรารู้ตำแหน่งการโคจรรอบโลกของมันอย่างแม่นยำและใช้วิธี trilateration หรือการอินเตอร์เซกชันของสัญญาณเพื่อที่จะหาตำแหน่งที่เราอยู่ อย่างไรก็ตามในสมาร์ทโฟนของเรานั้นบรรจุแบบจำลองแม่เหล็กโลก ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยใช้นำทางและระบุทิศทาง

    แบบจำลองแม่เหล็กโลก (World Magnetic Model) เป็นแบบจำลองแม่เหล็กโลกมาตรฐานที่ใช้ในระบบนำทางโดยองค์กรต่างๆเช่น องค์การนาโต (NATO) กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่สมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการเช่นแอนดรอยด์และไอโอเอส เมื่อเราใช้แอพพลิเคชั่นแผนที่ในสมาร์ทโฟนเราจะเห็นลูกศรชี้ไปยังทิศทางที่เราหันไป ในสมาร์ทโฟนของเรานั้นมีเครื่องวัดความเข้มข้นของสนามแม่เหล็ก (magnetometer) ที่ใช้วัดสนามแม่เหล็กโลก เพื่อที่จะให้ข้อมูลนั้นถูกต้องชี้ไปยังขั้วโลกเหนือจริงเราจำเป็นจะต้องใช้แบบจำลองแม่เหล็กโลกเป็นฐานข้อมูล

    การเคลื่อนที่ของขั้วโลกเหนือแม่เหล็กบอกเราว่าบางสิ่งกำลังเกิดขึ้นภายใต้ผิวโลก สนามแม่เหล็กโลกเกิดขึ้น 3 200 กิโลเมตรใต้ผิวโลก มันเกิดจากโลหะหนักที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อยู่ในแกนโลกหมุนวน ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กเอียงทำมุมประมาณ 4 องศาจากแกนหมุนของโลก จริงๆแล้วนักวิทยาศาสตร์รู้กันมานานแล้วว่าขั้วโลกเหนือแม่เหล็กมีการเคลื่อนที่ บันทึกสนามแม่เหล็กโบราณจากหินที่เก่ามากๆ ยังแสดงให้เห็นถึงการสลับขั้วแม่เหล็กโลก ซึ่งเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเฉลี่ยประมาณ 3 ครั้งในทุกๆ 1 ล้านปี การสำรวจหาขั้วโลกเหนือแม่เหล็กเกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1831 ณ ตอนนั้นมันตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของแคนาดา ต่อมาประมาณในปี ค.ศ. 1947 - ค.ศ. 1949 มันเคลื่อนที่ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือไปเป็นระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 มันเคลื่อนที่ไปประมาณ 970 กิโลเมตร แต่ที่น่าแปลกใจคือนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 ตำแหน่งขั้วโลกใต้แม่เหล็กค่อนข้างที่จะคงที่ ขยับไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

    นักวิทยาศาสตร์ทราบอยู่แล้วว่าขั้วโลกเหนือแม่เหล็กมีการเคลื่อนที่ แต่ปัญหาก็คือในปัจจุบัน มันเคลื่อนที่เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ แบบจำลองแม่เหล็กโลกและตำแหน่งขั้วโลกเหนือแม่เหล็กจริงๆต่างกันจนเกือบจะเกินค่าจำกัดที่จะส่งผลต่อความแม่นยำในการระบุทิศทาง ทำให้องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) ต้องออกประกาศการปรับปรุงแบบจำลองแม่เหล็กโลกขึ้นมาใหม่ ช่วงต้นปี ค.ศ. 2019 เพื่อให้ระบบการนำทางยังคงแม่นยำถูกต้อง

    magnetic02.jpg
    ภาพแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์แสดงเส้นสนามแม่เหล็กระหว่างการการสลับขั้วแม่เหล็กโลก
    (ภาพจาก https://www.extremetech.com/extreme...n-our-lifetime-but-dont-worry-we-should-be-ok)

    นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เกี่ยวข้องกับการสลับขั้วแม่เหล็กโลก แต่นักวิทยาศาสตร์หลายคนก็ไม่คิดเช่นนั้น ขั้วโลกเหนือแม่เหล็กมีการเคลื่อนที่เป็นเรื่องปรกติที่รู้กันมานานแล้ว แต่ทำไมมันถึงเคลื่อนที่เร็วขึ้นยังคงเป็นปริศนา

    เรียบเรียงโดย

    ณัฐพล โชติศรีศุภรัตน์
    ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



    อ้างอิง

    [​IMG]http://www.thaiphysoc.org/article/82/
    [​IMG]
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2019
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จากที่อ่านจากผู้ทรงความรู้จากต่างประเทศที่ติดตาม zeta talk เกี่ยวกับการกลับขั้วสนามแม่เหล็กโลก และการเคลื่อนที่ที่สำคัญของขั้วเหนือสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งจะมีผลกับสภาพแวดล้อมของโลก ตามที่ผมเข้าใจ เป้าหมายของพวกเขาคือ ขั้วเหนือสนามแม่เหล็กโลก ไปอยู่ที่ เส้นเมริเดียนที่ 40 องศาตะวันตกของกรีนิช ไม่น่าจะเกี่ยวกับการเอียงตัวของแกนโลกน่ะครับ

    เส้นเมริเดียนที่ 40 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติกทวีปอเมริกาใต้ มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกาเข้าสู่ขั้วโลกใต้
    เส้นเมริเดียนที่ 40 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 140 องศาตะวันออก

    จากขั้วโลกสู่ขั้วโลก
    แก้ไข
    เริ่มจากขั้วโลกเหนือ มุ่งหน้าลงไปทางใต้สู่ขั้วโลกใต้ โดยเส้นเมริเดียนที่ 40 องศาตะวันตกลากผ่านพื้นที่ดังนี้:

    801B56C1-F595-4098-B70A-816D9C014616-317-0000001B27E4011C.png 1C41E382-75FC-4D0B-9A53-15A21D829885-317-00000021BFB47B45.jpg 17CE11C0-3413-4021-8194-78824FA94B3E.jpeg 899D6FC6-7784-4FA0-BAFA-A9B21194363F-317-00000028C0920769.jpg B299FAC0-17D9-463B-8CA4-E2E260E4884F-317-00000028C83AD6B8.jpg C308BAFD-7CC8-4907-83F8-3A01B9E61A78-317-00000028CAD94CAC.jpg EC405244-ED89-4E3B-A944-35C61DC51020-317-00000028DE0BFF7B.jpg

    http://thaiastro.nectec.or.th/library/article/223/

    http://warningdisasters.blogspot.com/2014/06/esa.html?m=1

    https://th.m.wikipedia.org/wiki/เส้นเมริเดียนที่_40_องศาตะวันตก
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ยิ่งขั้วเหนือสนามแม่เหล็กโลกเคลื่อนที่มากเท่าไหร่ สภาพภูมิอากาศโลกก็จะยิ่งผันผวนมากขึ้นเรื่อยๆ และขั้วเหนือที่อยู่ที่แคนนาดาก็จะสิ่งอ่อนลง และขั้วเหนือที่อยู่รัสเซียก็จะยิ่งแข็งแรงขึ้น

    ,"สนามแม่เหล็กโลกขั้วเหนือตอนนี้ถูกแยกออกจากกันเป็น 2 ขั้ว เริ่มแยกออกมาตั้งแต่เมื่อปี 2010 ที่แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ความเย็นจากขั้วโลกเหนือแผ่ลงมาอย่างผิดปกติบวกกับเป็นช่วงฤดูกาลที่ขั้วเหนือหันหน้าออกจากแสงอาทิตย์ จึงทำให้ความเย็นกักตัวนาน พอความเย็นหนักตัวมาก ขั้วทั้งสองที่แยกจากกันก็ดันความเย็นแผ่ลงมามากและเป็นบริเวณกว้างกว่าเดิม"

    ฝูงดาวเทียม ESA เผย สนามแม่เหล็กโลกเริ่มอ่อนกำลังลงอย่างมีนัยสำคัญ

    21 มิถุนายน พ.ศ. 2557


    d4.jpg

    ฝูงดาวเทียม ESA เผย สนามแม่เหล็กโลกเริ่มอ่อนกำลังลงอย่างมีนัยสำคัญ

    ภารกิจ Swarm ของฝูงดาวเทียมทั้ง 3 ดวง จากนอกโลก โดยองค์การอวกาศยุโรป หรือ อีซา (ESA : European Space Agency) เพื่อมีจุดประสงค์ในการศึกษากระบวนการที่เกิดขึ้นภายในสนามแม่เหล็กของโลก เพื่อให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเห็นได้ชัดว่าทำไมสนามแม่เหล็กโลกถึงอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลาหลายปีมานี้

    ข้อมูลชุดแรกของผลการตรวจสอบด้วยความละเอียดสูงจากฝูงดาวเทียม ESA ที่ถูกส่งมาห้องวิจัยได้เผยให้เห็นทั้งหมดของดาวเคราะห์สีฟ้าดวงนี้ ซึ่งมีสนามแม่เหล็กโลก เป็นเหมือนฟองขนาดใหญ่ที่ปกป้องเราจากรังสีจักรวาลและอนุภาคประจุต่างๆ จากดวงอาทิตย์ที่ส่งมาถล่มโลกผ่านพายุสุริยะ


    คลิป

    - ภาพที่ 1 เป็นข้อมูลจากฝูงดาวเทียม ESA โดยภาพนี้ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลนานถึง 6 เดือน คือตั้งแต่ มกราคม-มิถุนายน ซึ่งภาพนี้ได้แสดงแนวโน้มให้เห็นว่าทางซีกโลกตะวันตก , ตะวันออกกลาง และ แถวตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติกกับมีกำลังของสนามแม่เหล็กอ่อนแอหรือลดลงเป็นอย่างมาก เมื่อนำสนามแม่เหล็กซีกโลกตะวันตกไปเทียบกับสนามแม่เหล็กทางตอนใต้มหาสมุทรอินเดียซึ่งมีกำลังความเข้มข้นสูงมากกว่า ปรกติเหตุการณ์นี้จะเกี่ยวข้องกับการที่เมื่อสนามแม่เหล็กโลกมีความเข้มข้นลดลง ตามด้วยความเข้มข้นกลับคืนมาอย่างรวดเร็วหลังจากการสลับขั้วเสร็จสิ้น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเป็นช่วงระยะเวลาตั้งแต่หลายหมื่นปีไปจนหลายล้านปี
    21-6-2557+7-04-13.jpg
    21-6-2557+7-05-16.jpg
    21-6-2557+7-05-46.jpg


    - ภาพที่ 2 แสดงให้เห็นถึง สนามแม่เหล็กโลกทางทิศเหนือกำลังเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วไปยังด้านไซบีเรียของประเทศรัสเซียด้วยความเร็วประมาณ 64 กิโลเมตรต่อปี
    21-6-2557+7-06-27.jpg


    - สนามแม่เหล็กโลกขั้วเหนือตอนนี้ถูกแยกออกจากกันเป็น 2 ขั้ว เริ่มแยกออกมาตั้งแต่เมื่อปี 2010 ที่แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ความเย็นจากขั้วโลกเหนือแผ่ลงมาอย่างผิดปกติบวกกับเป็นช่วงฤดูกาลที่ขั้วเหนือหันหน้าออกจากแสงอาทิตย์ จึงทำให้ความเย็นกักตัวนาน พอความเย็นหนักตัวมาก ขั้วทั้งสองที่แยกจากกันก็ดันความเย็นแผ่ลงมามากและเป็นบริเวณกว้างกว่าเดิม


    d6.jpg

    ตำแหน่งขั้วแม่เหล็กใต้ในปัจจุบัน
    d62.jpg



    - ภาพที่ 3 เป็นภาพรวมของสนามแม่เหล็กหลักที่พื้นผิวโลก ในเดือนมิถุนายน 2014 บนฐานข้อมูลของ Swarm ที่สามารถวัดได้ครอบคลุมประมาณ 95 % จากแกนแม่เหล็กของโลก ส่วนที่เหลือในภาพ แถบสีแดงแสดงถึงบริเวณที่สนามแม่เหล็กมีความเข้มข้นสูงในขณะนี้ , แถบสีน้ำเงินแสดงพื้นที่สนามแม่เหล็กที่มีกำลังอ่อนแอลงมาก
    June_2014_magnetic_field_node_full_image_2.jpg



    - ภาพที่ 4 แสดงหน้าตาของฝูงดาวเทียมทั้ง 3 ดวง จากนอกโลกของ ESA
    Swarm_constellation_over_Earth_node_full_image_2.jpg


    ที่มา : http://thewatchers.adorraeli.com/20...field-showing-signs-of-significant-weakening/

    http://warningdisasters.blogspot.com/2014/06/esa.html?m=1
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2019
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    การเอียงของแกนหมุนของโลก ไม่น่าจะเป็นเรื่องสำคัญ เพราะแกนหมุนของโลกไม่ได้เอียงตัวเอง แต่เกิดจากการที่ขั้วสนามแม่เหล็กของ planet x มาทำให้วงโคจรผิดปกติ จำข่าวที่นำมาแชร์ได้ไหมครับที่สนามแม่เหล็กโลกถูกบีบอัดด้วยกระแสแมกนีตอนควาเร็วสูง คิดว่าลมความเร็วขนาดนั้น การโคจรของโลกจะยังปกติอยู่หรือครับ และการเอียงตัวของแกนโลก ตาม zeta talk ก็จะยอกเฉพาะตอน planet x เข่ามาใกล้วงโคตรโลกและเริ่มมีผลจับยึดสนามแม่เหล็กโลกที่เกิดจากโลหะแข็งปั่นตัวอยู่ในเปลือกโลก ก็คือการจับยึดกับโลหะแข็งนั่นแหละครับ จะทำให้ดูเหมือนแกนซึ่งเมื่อแกนโลกถูกจับยึด เปลือกโลกก็ต้องไปตาม ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ

    จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อความเอียงของแกนหมุนของโลกกำลังลดลง
    13 พฤษภาคม 2545 โดย: นิพนธ์ ทรายเพชร
    ปรับปรุงครั้งล่าสุด 7 ธันวาคม 2559

    บทคัดย่อ
    แกนหมุนรอบตัวเองของโลกเอียงจากแนวตั้งฉากของระนาบทางโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นมุม ε สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเพราะดาวขนาดใหญ่เท่าดาวอังคารชนโลกจนทำให้เกิดดวงจันทร์ ด้วย ε มีค่าไม่คงที เพราะแรงรบกวนจากภายนอก โดยเฉพาะจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ซึ่งทำให้แกนโลกส่ายรอบละ 25,800 ปี ทั้งนี้เพราะโลกโป่งออกบริเวณแถบศูนย์สูตร ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จึงช่วยกันดึงให้แกนโลกตั้งตรง นอกจากนี้ยุงมีแรงรบกวนจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ทำให้วงโคจรของโลกส่ายรอบละ 71,000 ปี การส่ายของแกนหมุนและการส่ายของวงโคจรของโลกคือสาเหตุที่ทำให้ ε มีคาบประมาณ 41,000 ปี โดยมีค่าเฉลี่ย 23.3 องศา ค่าต่ำสุด 22.6 องศา ค่าสูงสุด 24.2 องศา ปัจจุบัน ε มีค่า 23.4 องศา อยู่ในช่วงกำลังลดลงในอัตรา 0.475″ ต่อปี หากคิดเป็นระยะทางจะได้ 14.7 เมตรต่อปี หรือ 1.47 กิโลเมตรต่อศตวรรษ นั่นคือเส้นที่แบ่งเขตร้อนกำลังเคลื่อนที่เข้าหาเส้นศูนย์สูตรของโลกด้วยความเร็วสูงอย่างไม่น่าเชื่อ 14.7 เมตรต่อปี สูงกว่าอัตราการเลื่อนของเพลตเทคโทนิกซึ่งเลื่อนเพียงปีละ 13 เซนติเมตรเป็นอย่างมาก เมื่อเขตร้อนลดลงเขตหนาวก็ต้องเพิ่มขึ้น นั่นคือแกนโลกเอียงลดลงกำลังพาโลกไปสู่ยุคน้ำแข็ง และแกนโลกเอียงน้อยที่สุด 22.6 องศาในอีก 10,200 ปี

    บทนำ
    โลกไม่อยู่นิ่ง ๆ แต่มีการเคลื่อนที่สำคัญ 2 ประการ คือ หมุนรอบตัวเองรอบละ 1 วัน และเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 1 ปี โดยพาดวงจันทร์ซึ่งเคลื่อนรอบโลกรอบละ 1 เดือนไปด้วย แกนที่โลกหมุนรอบไม่ตั้งฉากกับระนาบทางโคจรขอบโลกรอบดวงอาทิตย์ แต่เอียงจากแนวตั้งฉากเป็นมุมประมาณ 23.5 องศา โลกจึงไม่อยู่โดดเดี่ยว เพราะมีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ใกล้ ๆ แม้ว่าระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์และระยะระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่เปลี่ยนแปลงไม่มาก นอกจากนี้ยังมีดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์กับโลกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงมีแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อโลกในสัดส่วนที่ค่อนข้างมากตลอดเวลาจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ และแรงที่กระทำต่อโลกในสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อยจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ แรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อโลกจากดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์จึงไม่คงที่ แรงเหล่านี้เองที่ทำให้ความเอียงของแกนหมุนของโลกเปลี่ยนแปลง โดยมีคาบของการเปลี่ยนแปลงประมาณ 41,000 ปี ปัจจุบันความเอียงของแกนหมุนของโลกเท่ากับ 23 องศา 26 ลิปดา 11 พิลิปดา มุมนี้มีค่าน้อยลงเรื่อย ๆ การลดลงหรือเพิ่มขึ้นของความเอียงของแกนหมุนของโลก ส่งผลกระทบมาถึงตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันที่อยู่เหนือสุด (21 มิถุนายน) และในวันที่อยู่ใต้สุด (22 ธันวาคม)

    ทำไมแกนโลกจึงเอียง
    แกนโลกเอียงเพราะในยุคต้น ๆ ของกำเนิดดาวเคราะห์ มีดาวขนาดดาวอังคารวิ่งเข้าชนโลก ทำให้ชิ้นส่วนของโลกที่หลุดออกมาและส่วนที่เหลือของดาวที่มาชนหลอมรวมกันกลายเป็นดวงจันทร์โคจรรอบโลก ส่วนโลกถูกชนจนแกนเอียงและหมุนรอบแกนด้วยความเร็วสูงรอบละ 1 วัน

    media-223-5847af5ab04a9.jpg

    กำเนิดของดาวเคราะห์ชั้นในได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร เกิดจากเนบิวลาเดียวกันกับที่ให้กำเนิดเป็นดวงอาทิตย์และดาวเคราะดวงอื่น แต่ในยุคต้น ๆ บริเวณดาวเคราะห์ชั้นในจะมีดาวขนาดเล็กจำนวนมากที่ถูกดวงใหญ่ดึงให้ตกลงสู่ดาวเคราะห์เหล่านั้น จนดาวเคราะห์นั้นในมีขนาดใหญ่ขึ้น ในขณะที่จำนวนวัตถุขนาดเล็กลดลง และพลังงานของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์จะพลักดันโมเลกุลหรือสารที่ระเหยได้ง่าย รวมทั้งก๊าซที่เบาให้หลุดลอยออกจากดาวเคราะห์ชั้นในไปอยู่ ณ ชั้นนอกของระบบสุริยะ ทำให้ดาวเคราะห์ชั้นในเป็นดาวเคราะห์ที่เป็นหินแข็ง มีความหนาแน่นสูง ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกเป็นดาวเคราะห์ก๊าซมีความหนาแน่นต่ำ

    ดาวเคราะห์ทุกดวงมีแกนเอียงต่าง ๆ กัน ดาวเคราะห์ที่มีแกนเอียงคล้ายโลกที่สุดคือ ดาวอังคาร ซึ่งมีแกนหมุนเอียงจากแนวดิ่งของระนาบทางโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นมุมประมาณ 25 องศา

    media-223-5847af6e17ace.jpg

    แกนโลกเอียงเท่าใด
    ความเอียงของแกนหมุนของโลกคือ มุมระหว่างแกนหมุนรอบตัวเองของโลก และแกนที่ผ่านขั้วทั้งสองของทรงกลมฟ้าที่มีเส้นสุริยวิถีเป็นเส้นแบ่งครึ่ง ซึ่งเท่ากับมุมระหว่างระนาบสุริยวิถีกับระนาบเส้นศูนย์สูตรของโลก ตรงกับภาษาอังกฤษว่า obliquity มีสัญลักษณ์ว่า ε

    media-223-5847af7fa7152.jpg

    ปัจจุบัน ε มีค่าประมาณ 23° 26′ และกำลังอยู่ในช่วงลดลงด้วยอัตราประมาณ 0.475″ ต่อปี มุมนี้จะลงไปต่ำสุดที่ 22.6° ในอีก 10,200 ปี หลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้นทีละน้อยอีกครั้งหนึ่งจนกระทั่งถึงค่าสูงสุด 24.2° ค่าสูงสุดนี้เกิดขึ้นมาแล้วก่อนหน้าปัจจุบันประมาณ 10,000 ปี

    การเปลี่ยนแปลงของ ε ในระยะเวลา 700,000 ปีที่ผ่านมา ปรากฏดังรูป

    media-223-5847af957a473.jpg

    ในเวลา 700,000 ปี ε เปลี่ยนแปลงไป 17 รอบ ดังนั้น 1 รอบของการเปลี่ยน ε จะยาวนานประมาณ 41,000 ปี ซึ่งเรียกว่า คาบของการเปลี่ยนแปลงของ ε

    ค่าเฉลี่ยของ ε คือ 23.3° ในปัจจุบันโลกจึงอยู่ในจังหวะที่ ε ลดลงเข้าใกล้ค่าเฉลี่ย

    สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของ ε
    ความเอียงของแกนหมุนของโลกคือ มุมระหว่างแกนหมุนรอบตัวเองของโลก และแกนที่ผ่านขั้วทั้งสองของทรงกลมฟ้าที่มีเส้นสุริยวิถีเป็นเส้นแบ่งครึ่ง ซึ่งเท่ากับมุมระหว่างระนาบสุริยวิถีกับระนาบเส้นศูนย์สูตรของโลก ตรงกับภาษาอังกฤษว่า obliquity มีสัญลักษณ์ว่า ε

    ε มีค่าไม่คงที่เพราะสาเหตุ 2 ประการ คือ

    (ก.) การส่ายของแกนหมุนของโลกอันเกิดจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ที่พยายามดึงแกนโลกให้ตั้งตรง ทำให้แกนโลกส่ายรอบละ 25,800 ปี ดาวเหนือในแต่ละยุคจึงไม่ใช่ดาวดวงเดียวกัน เช่น ในปัจจุบันดาวเหนือคือ ดาวแอลฟา-หมีเล็ก เมื่อ 4,000 ปีมาแล้ว ดาวเหนือคือ ดาวทูแบน ในอนาคตอีก 10,000 ปี ดาววีกา จะเป็นดาวเหนือที่สว่างโชติช่วง

    เนื่องจากโลกโป่งออกบริเวณเส้นศูนย์สูตร แรงลัพธ์ที่ดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์กระทำต่อโลกจึงไม่ผ่านจุดศูนย์กลางโลก แต่ผ่านใต้จุดนี้ ผลที่เกิดขึ้นคือ มีแรงที่พยายามดึงแกนโลกให้ตั้งตรงดังกล่าวแล้ว แกนโลกจึงส่ายในทิศทางตรงข้ามกับทิศทางของการหมุนแทนที่จะส่ายในทิศทางเดียวกันกับทิศทางการหมุนของลูกข่าง

    media-223-5847afac333fb.jpg
    เปรียบเทียบการส่ายของแกนหมุนของโลกและของลูกข่าง

    (ข.) การส่ายของทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์อันเนื่องมาจากแรงรบกวนจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ในระบบสุริยะ คาบของการส่ายของทางโคจรของโลกยาวนานประมาณ 71,000 ปี การส่ายของแกนหมุนและการส่ายของทางโคจรของโลก ทำให้ ε มีคาบประมาณ 41,000 ปี

    แกนโลกเอียงคือสาเหตุของการเกิดฤดูกาลของโลก
    ในปัจจุบันขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ในเดือนมิถุนายน ทำให้ซีกโลกเหนือเป็นฤดูร้อน แต่ในเดือนธันวาคมขั้วโลกเหนือหันออกจากดวงอาทิตย์ซีกโลกเหนือได้รับความร้อนลดลงจึงเป็นฤดูหนาว

    ในระยะยาวอีกประมาณ 12,000 ปีจากปัจจุบัน ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ในเดือนธันวาคมและหันออกในเดือนมิถุนายน ดังนั้นฤดูกาลจึงกลับกันกับในปัจจุบัน คือซีกโลกเหนือเป็นฤดูร้อนในเดือนธันวาคมและเป็นฤดูหนาวในเดือนมิถุนายน ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเพราะการส่ายของแกนหมุนของโลกรอบละ 25,800 ปี

    ทิศทางที่แสงแดดตกกระทบผิวโลกจะช่วยบอกให้ทราบว่าโลกบริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำ หากแสงอาทิตย์ส่องมาตรง ๆ หรือตั้งฉากกับผิวโลกจะทำให้ผิวโลกบริเวณนั้นร้อนกว่า เมื่อแสงอาทิตย์ส่องมาเฉียง ๆ ทั้งนี้เพราะเมื่อแสงส่องมาเฉียงความร้อนจะแผ่กระจายเป็นบริเวณกว้าง อุณหภูมิเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่จึงน้อยกว่าเมื่อแสงส่องมาตรง ๆ ซึ่งความร้อนแผ่กระจายเป็นบริเวณแคบ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่มีค่าสูง

    ปัจจุบันโลกมีบริเวณต่าง ๆ ที่แบ่งตามภูมิอากาศคือ เขตร้อน เขตอบอุ่น และเขตหนาว
    - เขตร้อนอยู่ระหว่างละติจูด 23.5° ใต้ ถึง 23.5° เหนือ
    - เขตอบอุ่นเหนืออยู่ระหว่างละติจูด 23.5° เหนือ ถึง 66.5° เหนือ
    - เขตอบอุ่นใต้อยู่ระหว่างละติจูด 23.5° ใต้ ถึง 66.5° ใต้
    - เขตหนาวเหนืออยู่ระหว่างละติจูด 66.5° เหนือ ถึงขั้วโลกเหนือ
    - เขตหนาวใต้อยู่ระหว่างละติจูด 66.5° ใต้ ถึงขั้วโลกใต้

    แกนโลกเอียงน้อยลงทำให้เขตร้อนเคลื่อนที่เข้าหาเส้นศูนย์สูตรโลก
    ละติจูด 23.5 องศา คือขอบของเขตร้อนที่อยู่ระหว่างละติจูด 23.5 องศาใต้กับละติจูด 23.5 องศาเหนือ มุม 23.5 องศาคือ ความเอียงของแกนหมุนของโลกจากแนวตั้งฉากกับระนาบทางโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งแทนด้วย ε ถ้า ε ลดลง เขตร้อนของโลกก็ต้องลดลงด้วย ปัจจุบัน ε ลดลงในอัตราประมาณ 0.475″ ต่อปี หรือ 47.5″ ต่อศตวรรษ หากคิดเป็นระยะทางจะได้ 14.7 เมตรต่อปี หรือ 1.47 กิโลเมตรต่อศตวรรษ นั่นคือ เส้นที่แบ่งเขตร้อนซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่าเส้นทรอปิก (tropics) กำลังเคลื่อนเข้าหาเส้นศูนย์สูตรของโลกด้วยความเร็วสูงอย่างไม่น่าเชื่อ 14.7 เมตรต่อปี สูงกว่าอัตราการเลื่อนของเพลตเทกโทนิก ซึ่งเลื่อนเพียงปีละ 13 เซนติเมตรเป็นอย่างมาก

    หากคิดเป็นพื้นที่เขตร้อนจะลดลงปีละประมาณ 1,080 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณที่เป็นทะเลเป็นมหาสมุทร บริเวณที่เป็นพื้นดินประมาณ 330 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น และทวีปแอฟริกาเป็นผืนแผ่นดินผืนใหญ่ที่เส้นแบ่งเขตร้อนทั้งสองผ่าน

    เมื่อเขตร้อนลดลง เขตหนาวก็ต้องเพิ่มขึ้น นั่นคือ แกนโลกเอียงลดลงกำลังพาโลกไปสู่ยุคน้ำแข็ง แกนโลกเอียงน้อยที่สุด 22.6 องศา ในอีก 10,200 ปีซึ่งเป็นช่วงที่เขตร้อนเหลือน้อยที่สุด หลังจากนั้นแกนโลกจะเริ่มเอียงมากขึ้นทีละน้อย เขตร้อนเพิ่มขึ้น ปรากฏการณ์โลกร้อนขึ้นเพราะแกนโลกเอียงมากขึ้นก็จะตามมา กลายเป็นโลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็งละลายเนื่องจากเขตหนาวลดลง

    การส่ายของแกนหมุนของโลกทำให้เส้นศูนย์สูตรฟ้าเลื่อนไปตัดกับสุริยวิถีทางทิศตะวันตกของจุดเดิมปีละ 50″
    เมื่อสังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนฟ้าจะพบว่า ดวงอาทิตย์เลื่อนไปทางทิศตะวันออกวันละประมาณเกือบ 1 องศา พอครบปีก็กลับมาที่เก่า ทั้งนี้เป็นเพราะโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เส้นทางที่ดวงอาทิตย์ผ่านไปเรียกว่า สุริยวิถี ซึ่งเอียงกับระนาบเส้นศูนย์สูตรเป็นมุม ε จุดตัดกันของสุริยวิถีและเส้นศูนย์สูตรฟ้ามี 2 จุดคือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ในวันที่ 21 มีนาคม และ 23 กันยายน ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวันที่ 21 มีนาคม เรียกว่า วสันตวิษุวัต ซึ่งควรเรียกว่า วิษุวัตในเดือนมีนาคม สุริยวิถีผ่านกลุ่มดาวจักรราศี 12 กลุ่มและกลุ่มดาวเหล่านี้อยู่คงที่บนฟ้า เป็นกลุ่มดาวที่ใช้อ้างอิงซึ่งไทยเรานำมาตั้งเป็นชื่อเดือนสุริยคติ เช่น กลุ่มดาวแมงป่อง เป็นที่มาของเดือนพฤศจิกายน พฤศจิก แปลว่า แมงป่อง อายน แปลว่า มาถึง หรือ มาแล้ว สิ่งที่มาถึงกลุ่มดาวแมงป่องก็คือดวงอาทิตย์ ในอดีตเมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแมงป่องตลอดเดือนพฤศจิกายน แต่ในปัจจุบันดวงอาทิตย์จะเข้าสู่กลุ่มดาวแมงป่องตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน โดยช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งซึ่งอยู่ถัดกลุ่มดาวแมงป่องในทิศตะวันตก สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะการส่ายของแกนหมุนของโลกทำให้จุดวสันตวิษุวัตเลื่อนไปทางทิศตะวันตกของจุดเดิมปีละ 50" ในเวลา 2,000 ปี จุดวสันตวิษุวัตเลื่อนไปทางทิศตะวันตกเกือบ 28 องศา จุดวสันตวิษุวัตคือจุดตั้งต้นของราศีเมษ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเดือนเมษายนและกลุ่มดาวแกะ ปัจจุบันนี้จุดนี้อยู่ในกลุ่มดาวปลา ต้องรอถึงปลายเดือนเมษายน ดวงอาทิตย์จึงจะเข้าไปสู่กลุ่มดาวแกะ เช่นเดียวกันกับต้องรอถึงปลายเดือนพฤศจิกายน ดวงอาทิตย์จึงจะเข้าสู่กลุ่มดาวแมงป่อง

    เส้นแบ่งเขตร้อนเหนือกับเขตอบอุ่นเหนือที่เรียกว่า Tropic of Cancer นั้นปัจจุบันไม่ได้อยู่ในกลุ่มดาวปู (Cancer) แต่อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ (Gemini) ดังนั้นจึงควรเรียกว่า Tropic of Gemini ในทำนองเดียวกัน เส้นแบ่งเขตร้อนใต้กับเขตอบอุ่นใต้ต้องเปลี่ยนจาก Tropic of Capricorn เป็น Tropic of Sagittarius (คนยิงธนู)

    บทสรุป
    ความเอียงของแกนหมุนของโลกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้นบนโลก ความเอียงนี้ไม่คงที่ แต่เปลี่ยนแปลงเป็นรอบ ๆ รอบละประมาณ 41,000 ปี สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเกิดจากการส่ายของแกนหมุนและการส่ายของวงโคจรของโลก ปัจจุบันมุมเอียงของแกนโลกลดลงทำให้เขตร้อนลดลง เส้นแบ่งเขตร้อนเคลื่อนที่เข้าหาเส้นศูนย์สูตรด้วยความเร็วสูงอย่างไม่น่าเชื่อ 14.7 เมตรต่อปี เขตต้อนลดลงเขตหนาวต้องเพิ่มขึ้น ดังนั้นแกนโลกเอียงลดลงกำลังพาโลกไปสู่ยุคน้ำแข็ง

    * บรรยายในการประชุมราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2544


    สมาคมดาราศาสตร์ไทย - thaiastro.nectec.or.th

    http://thaiastro.nectec.or.th/library/article/223/
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ล่วงคืนนี้ไป เข้า 14 กย ฝนมาตามแนวในภาพ แบบ
    มีเน้นหนักหลายพิกัด
    Ca13.9.19 19:47
    FB_IMG_1568383699362.jpg
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    สำหรับวันที่สองติดต่อกัน Alicante ประเทศสเปน ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและแม่น้ำที่น้ำล้นออก # 13 ก.ย.
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ผลพวงจากอุทกภัยในแอลจีเรีย # 13 ก.ย.
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    สเปน
    น่ากลัว! น้ำที่เกิดจากฝนตกหนักและน้ำท่วมทำให้เกิดน้ำตกหลายร้อยเมตรใน Sierra de Orihuela de La Aparecida, 12 ก.ย.
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    อินโดนีเซีย
    ไฟป่าที่แพร่กระจายในหลายภูมิภาคระหว่างสุมาตราและกาลิมันตัน
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    สหรัฐอเมริกา

    หิมะแรกของฤดูกาลได้เริ่มขึ้นแล้วและมาถึงเมือง Utah ในวันที่ 12 กันยายน

    หิมะเริ่มตกลงบนภูเขาหัวโล้นในภูเขา Uinta เมื่อเช้าวันอังคาร

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    สหรัฐอเมริกา
    หิมะที่ตกลงมาในเช้าวันพุธนี้ในไบรตัน, ยูทาห์ในเทือกเขา Wasatch ใกล้กับ Salt Lake City, วันที่ 12 กันยายน
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    สเปน
    น้ำท่วมฉับพลันในเช้าวันนี้ในMoixent Valencia วันที่ 12 ก.ย.
    การไหลล้นของ Rambla del Bosquet ใน Moixent ทำให้เกิดน้ำท่วมจำนวนมาก กับเหตุการณ์ที่ร้ายแรงมาก ยานพาหนะถูกลากโดยแรงของน้ำ
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    การเปลี่ยนแปลงของโลกในช่วงที่ผ่านมาจากอดีตถึงปัจจุบัน ทั้งปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น อุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้น โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่ปี2000เป็นต้นมา การเปลี่ยนแปลงมีแนวโน้มเร็วขึ้นอย่างมาก และยังรวมถึงน้ำแข็งขั้วโลกที่ละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
    เหลือเวลาอีกนานแค่ไหน ?
    เราห่างจากเส้นตายแค่นิดเดียวเท่านั้น
    ช่วยกันลดก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด ประหยัดพลังงาน ขับรถให้น้อยลง ก่อนจะบริโภคอุปโภคอะไรให้คิดเสมอว่า ทุกขั้นตอนการใช้ชีวิตของเราคือ carbon footprint ขยะที่เราสร้าง ทั้งการกำจัดและrecycle ก็ล้วนก่อให้เกิดคาร์บอน
    http://www.climate-lab-book.ac.uk/files/2018/12/spiral_2018_WMO_large.gif
    https://climate.nasa.gov/interactives/climate-time-machine
    เชิญร่วมเสวนาหาแนวทางร่วมกันได้ที่งาน Fridays for future
    เราเชื่อว่าพลังเล็กๆจะเป็นตัวจุดประกายให้เกิดแรงขับเคลื่อนต่อไป
    หากเราไม่ช่วยกัน ใครจะช่วยเรา
    #Fridaysforfuture
    #tooyoungtodie
    #Climatestrike
    #globalwarming
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    PSX_20190913_214834.jpg
    (Sep 13) เกิดเหตุแผ่นดินไหว 5.2 แมกนิจูดที่ฟิลิปปินส์ รับรู้แรงสั่นสะเทือนถึงกรุงมะนิลา : สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (USGS) รายงานว่า เกิดเหตุแผ่นดินไหว 5.2 แมกนิจูดทางตะวันออกของกรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์

    เหตุแผ่นดินไหวดังกล่าวทำให้อาคารหลายแห่งในกรุงมะนิลาสั่นไหว ส่งผลให้ชาวฟิลิปปินส์จำนวนมากพากันวิ่งหนีออกจากอาคาร และรวมตัวกันตามท้องถนน ขณะที่ยังคงเกิดอาฟเตอร์ช็อกอีกหลายครั้ง

    เหตุแผ่นดินไหวดังกล่าวมีจุดศูนย์กลางอยู่นอกชายฝั่งเกาะโปลิลโล ห่างจากกรุงมะนิลาราว 130 กิโลเมตร

    ขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหาย ผู้เสียชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว

    Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ

    - Philippine Earthquake Felt in Manila: https://www.bloomberg.com/news/arti...elt-in-manila-s-makati-city?srnd=premium-asia

    ttps://www.facebook.com/277100888976077/posts/2770625436290264/
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ยังอ่วม! ที่ ต.ไร่ใต้ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี น้ำท่วมแปลงเกษตรเกือบ 2 หมื่นไร่ น้ำลึก 1-3 เมตร บ้านเรือนจมมานานแล้วร่วมสัปดาห์ ไม่มีวี่แววน้ำจะลด #SaveUbon #น้ำท่วมอุบล #ข่าวช่องวัน
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ในช่วงวันที่ 14-17 ก.ย. บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 19 ก.ย. บริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนภาคอื่นๆมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตลอดช่วงข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 14 - 19 ก.ย. ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
    ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 14 - 17 ก.ย. ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 19 ก.ย.ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมียังคงกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนเพิ่มมากขึ้น และคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีและอ่าวไทย ยังคงมีกำลังแรง
    https://www.tmd.go.th/7-day_forecast.php
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    อุกกาบาตในท้องฟ้าของ Holstien ประเทศเยอรมนี # 13 ก.ย.
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เราพร้อมแล้วสู้ไปด้วยกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...