ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    4-20.jpg

    เลือกตั้ง 62 : “ไทยรักษาชาติ” ร่อนแถลง “ทูลกระหม่อมฯ” ไม่ขัดคุณสมบัติแคนดิเดตนายกฯ
    08 ก.พ. 2019 - 17:03 น.

    S__3432666-783x1024.jpg

    คำแถลงพรรคไทยรักษาชาติ กรณีคุณสมบัติบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรี

    จากกรณีที่กรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติมีมติเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล ในบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรีของพรรคฯ ขอชี้แจงว่าพรรคไทยรักษาชาติได้ตรวจสอบคุณสมบัติผู้ถูกเสนอชื่อตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องพบว่าทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน

    1.ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล ได้ลาออกจากการดำรงฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ในฐานะสมเด็จเจ้าฟ้า ตามประกาศราชกิจจานุเบกษาฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2515 ทำให้สถานะทางกฎหมายของท่านเป็นสามัญชนตั้งแต่บัดนั้น

    2.คุณสมบัติของผู้ที่จะอยู่ในบัญชีรายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 88 และ 89 กำหนดให้ต้องมีหนังสือยินยอมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อโดยมีรายละเอียดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ซึ่งทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล ได้มีหนังสือตอบรับมายังพรรคไทยรักษาชาติตามเอกสารแนบ ซึ่งได้ยื่นต่อกกต. ไปแล้ว

    3.กรณีผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ไม่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ฝ่ายกฎหมายของพรรคฯ ทำการตรวจสอบและยืนยันว่าทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล ไม่ได้ขาดคุณสมบัติจากกรณีดังกล่าวตามคำให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการกกต. เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 ระบุว่าการไม่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นข้อห้ามของรัฐธรรมนูญในอดีต แต่รัฐธรรมนูญปัจจุบันได้ยกเลิก ห้ามเพียงต้องไม่เคยเป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเท่านั้น

    จึงเรียนมาเพื่อทราบ

    พรรคไทยรักษาชาติ
    8 กุมภาพันธ์ 2562

    https://www.springnews.co.th/politics/439017
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Brenes

    ตั๊กแตนสีแดงมากกว่า 30 ล้าน # บุก # อิสราเอลจาก # อียิปต์

    # Vipoloa # ทำลาย # พืชผลใน # อียิปต์

    IMG_8984.JPG IMG_8985.JPG
    Más de 30 millones de # langostas # rojas invaden # Israel procedente de # Egipto

    # Vipoloa # destruyó # cultivos en # Egipto


     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jeerachart Jongsomchai


    ... “อดีตกษัตริย์บ๋าวดั่ย ของเวียตนาม ถูกมองเป็นหุ่นเชิดของฝรั่งเศส”


    ... จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย Bảo Đại, ของ “เวียตนาม” , แปลว่า “ผู้เก็บรักษาความยิ่งใหญ่” ประสูติเมื่อ 22 ตุลาคม 1913 สวรรคตเมื่อ 30 กรกฎาคม 1997 พระนามเดิมว่า เหงียน ฟุก หวิญ ถวิ ทรงเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 13 และพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เหงียน ทรงครองราชย์ ตั้งแต่ 1926 - 1945 ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอันนัม ในช่วงนี้พระองค์ทรงได้รับความคุ้มครองจาก “ฝรั่งเศส” โดยอินโดจีนฝรั่งเศส ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 2 ใน 3 ของเวียดนามในปัจจุบัน


    ... “เวียดนาม” ถูกปกครองจากเว้โดยราชวงศ์เหงียนมาตั้งแต่ปี 1802 รัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งได้ควบคุมภูมิภาคนี้ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ได้แบ่งเวียดนามออกเป็น 3 ส่วน คือ รัฐอารักขาตังเกี๋ย, รัฐอารักขาอันนัม และอาณานิคมโคชินไชนา ราชวงศ์เหงียน ยังได้ปกครองอันนัมตามปกติ ตอนนั้นฝรั่งเศสมีนโยบายสร้างให้กษัตริย์เวียตนามเป็นเพียง “หุ่นเชิด” ผู้ปกครองเพียงในนามเท่านั้น แม้พวกเขาจะไม่ล้มระบอบกษัตริย์ลงก็ตาม


    ...เมื่อพระชนมายุ 9 พรรษา เจ้าชายเหงียน ฟุก หวิญ ถวิ ถูกส่งไปยังฝรั่งเศส เพื่อศึกษาที่โรงเรียนมัธยมปลายกงดอร์แซ และหลังจากนั้นเข้าศึกษาในสถาบันรัฐศึกษาปารีส ในปี 1923 ต่อมาในปี 1926 พระองค์ทรงครองราชสมบัติหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระบิดา ในพระนาม “บ๋าว ดั่ย (Bảo Đại หรือ "ร่องรอยแห่งความยิ่งใหญ่" หรือ "ผู้เก็บรักษาความยิ่งใหญ่") แต่พระองค์ทรงไม่ได้ขึ้นครองราชย์อย่างเต็มรูปแบบ ทรงต้องกลับไปศึกษาที่ฝรั่งเศส


    ... ในวันที่ 20 มีนาคม 1934 ณ พระราชวังหลวงแห่งเว้ สมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงอภิเษกสมรสกับมารี-เตแรซ เหงียน หืว ถิ ลาน สามัญชน “คาทอลิก” ชาวเวียดนามในตระกูลผู้มั่งมี พระนางทรงเปลี่ยนพระนามใหม่ว่า "นาม เฟือง" หรือ "น้ำหอมแห่งแดนใต้" ทั้งสองพระองค์มีพระโอรส-ธิดารวม 5 พระองค์ แต่ชีวิตคู่พระองค์ไม่สมบูรณ์นัก เพราะพระองค์มีพระมเหสีอีก 4 พระองค์ และองค์สุดท้ายนั้นคือ เจ้าหญิงทาย เฟือง หรือ “มอนิก โบโด” (Monique Baudot) พลเมือง “ชาวฝรั่งเศส” อภิเษกสมรสในปี 1972


    ... ในปี 1945 “ญี่ปุ่น” ได้ขับไล่ “ฝรั่งเศส” ออกจากดินแดนนี้ และใช้อำนาจการปกครองผ่านจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ในช่วงนี้พระองค์ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "เวียดนาม" อีกครั้ง พระองค์ทรงสละราชบัลลังก์ในเดือนสิงหาคมเมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม พระองค์ยังทรงเป็นประมุขรัฐเวียดนามตั้งแต่ 1949 จนกระทั่ง 1955 จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงถูกวิพากษ์วิจารณ์ “เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับ ฝรั่งเศส มากเกินไป” และประทับอยู่นอกเวียดนามเป็นเวลานานโดยเฉพาะในประเทศ “ฝรั่งเศส” ในรัชสมัยของพระองค์ โง ดิ่ญ เสี่ยม ( สำเนียงเวียตนนามเหนือ ถ้าเวียตนามใต้จะออกเสียง โง ดิญ เยียม )


    ... ในปี 1955 “โง ดิ่ญ เสี่ยม” หุ่นเชิดของ “อเมริกา” ( คล้ายฮวน กว่ายโด ของเวเนซุเอล่า ในปี 2019 นี้ ) ได้จัดการลงประชามติแบบโกงๆ เพื่อขับไล่พระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ออกจากราชบัลลังก์ ทั้งที่ในสนธิสัญญาเจนี 1954 นั้น ระบุให้พระเจ้าบ๋าวดั่ยเป็นประมุขของ “เวียตนามใต้” อย่างชัดเจน แต่อเมริการู้ว่าพระองค์สนิทสนมกับฝรั่งเศสมากเกินไป จึงต้องการตั้งหุ่นเชิดเด็กตัวเองที่อยากเป็นใหญ่ขึ้นมาแทน ) และเปลี่ยนมาใช้ระบอบสาธารณรัฐโดยเขาเป็นประธานาธิบดี การรณรงค์ครั้งนี้นำไปสู่การลงประชามติที่ถูกคั่นด้วยการโจมตีเรื่องส่วนพระองค์กับอดีตจักรพรรดิ


    ... โฮจิมินห์ได้โน้มน้าวให้พระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย สละราชบัลลังก์ในวันที่ 25 สิงหาคม 1945 เพื่อเพิ่มพลังอำนาจให้ “เวียดมินห์” พระองค์ได้เป็น "ที่ปรึกษาสูงสุด" ให้กับเวียดนามเหนือของโฮจิมินห์ในฮานอย ที่ซึ่งเรียกร้องอิสรภาพในวันที่ 2 กันยายน 1945 แต่โดนเพิกถอนจากฝรั่งเศสในเดือนพฤศจิกายน 1946


    ...ขณะที่เวียดนามได้เข้าสู่ “สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง” พระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย เสด็จออกจากเวียดนามหลังจากหนึ่งปีในบทบาทเป็นที่ปรึกษา พระองค์พำนักอยู่ทั้งฮ่องกงและจีน แต่ “ฝรั่งเศส” ได้ชักชวนให้พระองค์กลับประเทศในปี 1949 เพื่อให้เป็น “ประมุขแห่งเวียดนาม” (quốc trưởng โกว๊กเจื๋อง) ไม่ใช่ยศพระจักรพรรดิ (Hoàng Đế ฮหว่างเด๊) พระองค์กลับฝรั่งเศสในไม่ช้า


    ... อย่างไรก็ตาม พระองค์ไม่ได้สนพระทัยในกิจการการต่าง ๆ ของประเทศมากนัก


    ... ชัยชนะของลัทธิคอมมิวนิสต์ในจีนในปี 1949 ได้ปลุกกระแสศรัทธาต่อคอมมิวนิสต์ในเวียดมินห์ อเมริกาได้เสนอการยอมรับแผนทางการทูตให้รัฐบาลของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ในเดือนมีนาคม 1950 หลังจากที่ชาติคอมมิวนิสต์ให้การยอมรับรัฐบาลของโฮจิมินห์ การปะทุขึ้นของ “สงครามเกาหลี” ในเดือนมิถุนายน ทำให้กองทัพอเมริกาสนับสนุนฝรั่งเศสในสงครามที่อินโดจีน ทำให้ “พวกต่อต้านคอมมิวนิสต์มีมากกว่าการต่อต้านอาณานิคม” แต่การต่อสู้ระหว่าง “กองทัพฝรั่งเศส” และ “กองทัพเวียดมินห์” ยังคงดำเนินต่อไปและสิ้นสุดลงในปี 1954 สั้นๆหลังจากชัยชนะของเวียดมินห์ใน “ เกิดการเจรจาสันติภาพในปี 1954 ระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดมินห์ใน “การประชุมที่เจนีวา” ทำให้มีการแบ่งแยกเวียดนามออกเป็นสองส่วนตามแบบเกาหลีคือ รัฐบาลคอมมิวนิสต์บริหารเวียดนาม "ตอนเหนือ" และรัฐบาลรัฐเวียดนามบริหารเวียดนาม "ตอนใต้" พระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย เดินทางไปพำนักที่ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีพระยศใหม่คือประมุขแห่งรัฐเวียดนาม ทรงแต่งตั้งนักชาตินิยมคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก คือ โง ดิ่ญ เสี่ยมเป็นนายกรัฐมนตรี


    ... ตลอดชีวิตของพระองค์ในทั้งเวียดนามและในฝรั่งเศส พระองค์ยังคงไม่เป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนชาวเวียดนามในขณะที่พระองค์ถูกมองว่าเป็น “หุ่นเชิดทางการเมืองของลัทธิล่าอาณานิคมฝรั่งเศส” จากการที่พระองค์ไร้อำนาจทางการเมืองใด ๆ และให้ความร่วมมือกับฝรั่งเศสและเพื่อแนวคิดการสนับสนุนฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม พระจักรพรรดิได้ทรงชี้แจงไว้ว่า รัชกาลของพระองค์นั้นประสบกับการต่อสู้ระหว่างผู้จงรักภักดีต่อพระองค์และผู้รักชาติกับผู้ที่จงรักภักดีต่อผู้มีอำนาจฝรั่งเศสอยู่เสมอ ท้ายที่สุดแล้วพระราชอำนาจและพระราชทรัพย์ของพระองค์ก็ถูกริบ และพระองค์ก็จำเป็นต้องร่วมมือกับกองกำลังคอมมิวนิสต์ และก็ต้องเผชิญหน้ากับการประเมินอิทธิพลของประธานาธิบดีโง ดิ่ญ เสี่ยม


    ... ( ตลอดชีวิตของพระองค์ที่เติบโตและคุ้นชินกับวิถีในต่างประเทศมากกว่าเวียตนาม จึงมักจะใช้ชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือยใช้ชีวิตสนุกสนาน เที่ยวเตร่ยามราตรีกับสุรานารี ใช้เสื้อผ้าราคาแพงแต่งตัวดี ประกอบกับทรงมีรูปงามจึงทรงใช้เวลากับความงามหล่อเหลามากกว่าการบริหารหรือสนใจกิจการของประเทศ ที่ต่างกันมากกับการแต่งตัวและสภาพการกินอยู่ของชาวเวียตนามในขณะนั้น ที่มีแต่สงครามและการเอาตัวรอดจากเจ้าอาณานิคมเดิมอย่างฝรั่งเศสและเจ้าอาณานิคมใหม่อย่าง “อเมริกา” จึงไม่มีประชาชนชาวเวียตนามประทับใจในกริยาวัตรของพระองค์มากนัก )


    .


    .

    https://th.wikipedia.org/wiki/จักรพรรดิบ๋าว_ดั่ย


     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สถานการณ์โลก ด้านความมั่นคง

    ฝรั่งเศส&อิตาลี่ปีนเกลียวกันเพื่อแย่งเกาอี้สมาชิกสภายุโรป: ฝรั่งเศสเรียกทูตประจำอิตาลี่กลับด่วน หลังจากที่ทางการฝรั่งเศสอ้างว่ารัฐบาลอิตาลี่แถลงการณ์โจมตีรัฐบาลฝรั่งเศสอย่างไม่มีหลักฐานหลายต่อหลายครั้ง เพื่อเป้าหมายให้อิตาลี่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งสมาชิกสภายุโรปในเดือนพฤษภาคมนี้../การเมืองก็แบบนี้แหละอย่าคิดอะไรกันมากสหาย ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวรณ์ ยิ่งเฉพาะการชิงบ้านชิงเมือง แคว้นเว้ยรบกับแคว้นฉินแต่พอสักพักก็ทำสัญญาเป็นมิตรกับแคว้นฉิน แต่พอสักพักก็รบกับแคว้นฉิน พอสักพักสถานการณ์เปลี่ยนก็จับมือกับแคว้นฉินรบกับแคว้นฉู่สักพักก็จับมือกับแคว้นฉู่รบกับแคว้นฉิน...


     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    “สมเด็จพระนโรดม สีหนุ” สละราชสมบัติมาเป็นนายกฯ เกิดอะไรในกัมพูชาบ้าง?
    1
    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ มาเยี่ยมทหารที่ค่ายบริเวณชายแดนไทย-เขมร เมื่อ 29 มกราคม พ.ศ. 2527 (Photo by FRANCIS DERON / AFP)
    เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562
    ราชวงศ์กัมพูชาเป็นที่รู้จักกันดีว่ามีกษัตริย์ทรงสละราชสมบัติและมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ

    พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (Preah Bat Samdech Preah Norodom Sihanouk) ประสูติเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2465 สวรรคตวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต

    พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา ประมุขแห่งรัฐกัมพูชา และนายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา โดยเป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2484-2498 และครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2536-2547

    พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสให้ครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. 2484 ต่อมาทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2498 ให้แก่พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤตพระราชบิดา เพื่อทรงดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา

    กระโดดลงเล่นการเมืองด้วยตนเอง
    พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงสละราชสมบัติให้แก่พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต พระราชบิดา โดยพระองค์อธิบายเหตุผลว่าการสละราชย์ครั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาอันยุ่งยากซับซ้อนที่เกิดขึ้นในวัง และทรงต้องการเข้าถึงประชาชนทั่วไปในฐานะ “สามัญชน”

    สีหนุจัดตั้งพรรคการเมืองของเขาเองชื่อว่าพรรคสังคม (Sangkum) และมุ่งมั่นอย่างมากในการเลือกตั้งที่จะมาถึงในเดือนกันยายน พ.ศ. 2498 ซึ่งสีหนุหมายมั่นว่าพรรคของเขาจะทำให้ผู้คนที่เห็นต่างทางการเมืองปรองดองกันภายใต้การสวามิภักดิ์จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

    และในท้ายที่สุดสีหนุก็ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเข้าสู่ตำแหน่ง สีหนุได้แก้ไขรัฐธรรมนูญหลายประการรวมถึงการเพิ่มสิทธิการเลือกตั้งให้ผู้หญิง ประกาศใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการของประเทศ และทำให้กัมพูชาเป็นประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ

    ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2499 สีหนุเริ่มส่งเสริม “ลัทธิสังคมนิยมพุทธศาสนา” โดยมุ่นเน้นไปที่การเผยแพร่ลัทธิสังคมนิยมแต่ก็ยังคงรักษาประเพณีนิยมทางศาสนาในระบอบกษัตริย์เอาไว้ ในระหว่าง พ.ศ. 2498-2501 สีหนุลาออกและกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลายต่อหลายครั้ง โดยอ้างความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการทำงานหนัก

    การเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2501 พรรคสังคมก็ได้รับชัยชนะอีกครั้ง และสีหนุก็ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป แม้เขาจะสามารถปราบปรามความพยายามการก่อรัฐประหารของฝ่ายตรงข้ามที่ต้องการโค่นล้มเขาได้ แต่ก็ทำให้อำนาจของสีหนุเริ่มสั่นคลอน

    ประมุขแห่งรัฐผู้ชักใยการเมือง
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต สวรรคตใน พ.ศ. 2503 สภาผู้สำเร็จราชการมีมติให้ สมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ เป็นผู้สำเร็จราชการ จากนั้นไม่กี่เดือนต่อมา สีหนุเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างตำแหน่งใหม่ของประมุขแห่งกัมพูชา โดยมีอำนาจเทียบเท่ากษัตริย์ เมื่อผ่านการเห็นชอบแล้ว สีหนุก็ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในฐานะ “ประมุขแห่งรัฐ” เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2503 ขณะที่เขาลาออกจากตำแหน่งนายกตั้งแต่เดือนเมษายนในปีนั้น

    การเลือกตั้ง พ.ศ. 2505 และ 2509 พรรคสังคมยังได้ชัยชนะอยู่ตลอด และสีหนุก็มีบทบาทสำคัญในฐานะประมุขแห่งรัฐและมีอิทธิพลต่อนายกรัฐมนตรีอยู่เสมอ แม้สีหนุจะไม่ได้ดำรงตำแหน่งโดยตรงก็ตาม ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2513 สีหนุไปรักษาตัวที่ประเทศฝรั่งเศส ขณะที่สีหนุอยู่ที่ฝรั่งเศสได้เกิดความวุ่นวายในประเทศ จนเมื่อถึงเดือนมีนาคม สมัชชาแห่งชาติจึงมีมติขับไล่สีหนุออกจากประเทศ เขาถูกตั้งข้อหาเป็นกบฏและมีคำพิพากษาตัดสินประหารชีวิต

    กัมพูชายุคเขมรแดง
    ช่วง พ.ศ. 2513-2518 สีหนุพยายามที่จะกลับเข้าประเทศกัมพูชาอย่างแข็งขัน ระหว่างนี้เขาพักอยู่ที่บ้านพักในกรุงปักกิ่งและเปียงยาง ช่วง พ.ศ. 2516 ก็เดินทางไปเวียดนามแต่ไม่อาจกลับเข้ากัมพูชาได้

    หลังรัฐบาลเขมรแดงเข้ายึดอำนาจใน พ.ศ. 2518 สีหนุกลับเข้ามากัมพูชาได้สำเร็จและได้รับแต่งตั้งเป็นประมุขแห่งรัฐแต่ไม่ได้มีอำนาจเหมือนดังเดิม ในปีถัดมา “เขียว สัมพัน” ผู้นำเขมรแดงพาสีหนุไปเยี่ยมชมชนบท สีหนุตกใจที่พบว่าประชาชนถูกบังคับใช้แรงงาน และรัฐบาลเขมรแดงก็ปฏิบัติต่อประชาชนจนเหมือนเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ปี พ.ศ. 2519 สีหนุจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งประมุขแห่งรัฐและถูกกักตัวอยู่ในที่พัก

    สีหนุพยายามทำเรื่องขอออกนอกประเทศมาตลอดหลายปี จนกระทั่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2522 สีหนุเดินทางไปปักกิ่ง อีกสามวันต่อมาบินไปนิวยอร์กเพื่อเข้าร่วมประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเขาประณามเขมรแดงในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเขมร สีหนุพยายามยื่นเรื่องขอลี้ภัยในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสแต่ไม่สำเร็จผล สุดท้ายขอลี้ภัยในจีนได้สำเร็จ

    000_ARP1854767.jpg
    สมเด็จพระนโรดมสีหนุ หน้าปราสาทนครวัด เมื่อวันที่ 14 เมษายน 1973 (พ.ศ. 2516) (AFP PHOTO / XINHUA / STR)
    สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา
    ภายหลังการล่มสลายของรัฐบาลเขมรแดง กัมพูชาปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ หรือ สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา(People’s Republic of Kampuchea – PRK) สีหนุได้รับแรงกดดันจากเติ้ง เสี่ยวผิง ให้ดำเนินการต่อต้าน PRK ที่ร่วมมือกับรัฐบาลเวียดนาม ดังนั้น สีหนุจึงก่อตั้งขบวนการต่อต้านรัฐบาลที่เรียกว่า FUNCINPEC ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2524


    สีหนุไม่เต็มใจที่จะร่วมกับฝ่ายเขมรแดงที่ยังหลงเหลืออยู่เท่าใดนัก แต่สุดท้ายก็จัดตั้ง Khmer People’s National Liberation Front (KPNLF) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีนในการต่อต้านรัฐบาล PRK

    พ.ศ. 2525 เขมรแดง KPNLF และ FUNCINPEC ร่วมกันก่อตั้ง Democratic Kampuchea (CGDK) โดยมีสีหนุเป็นผู้นำและจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น ในช่วงต่อมา ระหว่าง พ.ศ. 2528-2532 มีความพยายามจะเจรจากับผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาที่นำโดยฮุน เซน อยู่เสมอเพื่อยุติสงครามกลางเมือง การแทรกแซงจากเวียดนาม และความขัดแย้งต่าง ๆ ในประเทศ

    สหประชาชาติได้พยายามจัดประชุมสันติภาพที่กรุงปารีสเมื่อ พ.ศ. 2532 ในปีต่อมาสหประชาชาติจึงได้จัดตั้ง ศาลสูงสุดแห่งชาติกัมพูชา Supreme National Council of Cambodia (SNC) เพื่อดูแลกิจการของกัมพูชาและรักษาความสงบภายในประเทศ

    กัมพูชาในความดูแลของสหประชาชาติ
    เดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ฝ่ายการเมืองทุกฝ่ายของกัมพูชาจึงร่วมกันลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในการยอมรับอำนาจของ SNC ที่สหประชาชาติจัดตั้งขึ้นในฐานะ “ผู้รับมอบอำนาจที่ถูกต้องของอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา” และจะนำไปสู่การก่อตั้ง United Nations Transitional Authority in Cambodia (UNTAC) เพื่อเป็นรัฐบาลชั่วคราวในระหว่าง พ.ศ. 2535-2536 โดยสีหนุกลับมากัมพูชาอีกครั้งในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534

    การเลือกตั้งทั่วไปจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 พรรค FUNCINPEC นำโดยนโรดม รณฤทธิ์ลูกชายของสีหนุ ได้รับชัยชนะ ในขณะที่พรรค Cambodian People’s Party (CPP) นำโดยฮุน เซน เข้ามาเป็นอันดับสอง พรรค CPP ไม่พอใจกับผลการเลือกตั้งและได้เรียกร้องให้สีหนุเป็นผู้นำรัฐบาล สีหนุจึงประกาศการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งชาติ (Provisional National Government – PRG) ซึ่งมีสีหนุเป็นผู้นำในฐานะประมุขแห่งรัฐ

    สีหนุพยายามประนีประนอมระหว่างฝ่ายฮุน เซน กับฝ่ายนโรดม รณฤทธิ์ โดยขณะที่มีการร่างรัฐธรรมนูญนั้น มีข้อเสนอต่อสีหนุว่าจะให้กัมพูชาเป็นรัฐในระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญหรือเป็นสาธารณรัฐ ซึ่งสุดท้ายแล้วสีหนุเลือกแบบแรก และได้มีการให้สัตยาบันรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2536

    Ranariddh_Sihanouk.jpg
    พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ และนโรดม รณฤทธิ์ (ภาพจาก wikipedia)
    ราชอาณาจักรกัมพูชา
    ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2536-2537 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุในฐานะกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาพยายามดึงให้ฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองและต้องการให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้เขมรแดงมีบทบาททางการเมืองแต่ก็ไม่สำเร็จผล นายกรัฐมนตรีขณะนั้นคือฮุน เซน กับนโรดม รณฤทธิ์ที่ครองตำแหน่งร่วมกันปฏิเสธแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทำให้อำนาจและบทบาททางการเมืองของพระองค์เริ่มลดลงไปเรื่อย ๆ

    พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุพยายามเป็นกาวประสานความขัดแย้งระหว่างพรรค FUNCINPEC และ CPP อยู่เสมอ แต่พระองค์เองก็มักขัดแย้งกับฮุน เซน ในเรื่องพระราชอำนาจและข้อกฎหมายในรัฐธรรมนูญ แม้พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุจะถูกลดบทบาททางการเมืองไปแต่ก็ยังได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างสูง ซึ่งทำให้พระองค์คิดจะกลับมาลงเล่นการเมืองอีกครั้ง แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่ได้กลับมาเล่นการเมืองแต่อย่างใด

    ในท้ายที่สุดรัฐสภาจัดการประชุมเพื่อผ่านกฎหมายที่จะอนุญาตให้พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุสละราชบัลลังก์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และลงมติเป็นเอกฉันท์ให้เลือกนโรดมสีหมุนีเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ในฐานะกษัตริย์แห่งกัมพูชา เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2547

    บั้นปลายชีวิต
    ระหว่างปี พ.ศ. 2552-2554 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุใช้เวลาส่วนใหญ่ในกรุงปักกิ่งเพื่อรับการรักษาอาการป่วย พระองค์ปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งสุดท้ายในกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ตรงกับวันเกิดครบรอบ 89 ปี และครบรอบ 20 ปีของข้อตกลงสันติภาพปารีส ก่อนจะกลับไปรักษาตัวที่ประเทศจีนในปี พ.ศ. 2555

    ต่อมาในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุสวรรคตด้วยอาการหัวใจวาย รัฐบาลกัมพูชาประกาศช่วงเวลาการไว้ทุกข์อย่างเป็นทางการเป็นเวลา 7 วัน ระหว่างวันที่ 17 ถึง 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

    พระบรมศพอัญเชิญจากกรุงปักกิ่งมาถึงกรุงพนมเปญ โดยมีประชาชนราว 1.2 ล้านคน รอรับขบวนพระบรมศพตลอดทางตั้งแต่สนามบินไปถึงพระราชวังและได้จัดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพในวันที่ 1-4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

    000_1A102Y-1.jpg
    อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ในกรุงพนมเปญ (Photo by TANG CHHIN Sothy / AFP)

    Encyclopedia Britannica. (2019). Norodom Sihanouk, from www.britannica.com/biography/Norodom-Sihanouk

    Wikipedia. (2019). Norodom Sihanouk, from en.wikipedia.org/wiki/Norodom_Sihanouk

    Wikipedia. (2019). List of heads of state of Cambodia, from en.wikipedia.org/wiki/List_of_heads_of_state_of_Cambodia

    https://www.silpa-mag.com/history/article_27388
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2019
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The MATTER


    BRIEF: พบ USB ที่ยังใช้งานได้ ในอุจจาระแช่แข็ง ของแมวน้ำเสือดาวแอนตาร์กติก

    ซึ่งทางการกำลังตามหาเจ้าของ USB นี้

    .

    ของหาย อยากได้คืน บางครั้งของที่เราทำหายไป ก็ไม่ได้ถูกเจอง่ายๆ ไม่รู้ลืม หรือทิ้งไว้ที่ไหน หรือไม่รู้แม้แต่จะไปเริ่มหาที่ไหนก็มี แต่ตอนนี้ มีการประกาศหาเจ้าของ USB ที่ทำหายไป และไปถูกพบในอุจจาระของแมวน้ำเสือดาวแอนตาร์กติก ซึ่ง USB นั้นยังใช้งานได้ปกติ และมีข้อมูลอยู่ภายในด้วย

    .

    แท่ง USB ที่ยังใช้งานได้ ถูกพบในอุจจาระของแมวน้ำเสือดาวแอนตาร์กติก ในประเทศนิวซีแลนด์ โดยอาสาสมัครที่สถาบันวิจัยทางน้ำและบรรยากาศแห่งชาติ (Niwa) ได้กู้คืออุปกรณ์ชิ้นนี้ ขณะตรวจสอบอุจจาระแช่แข็ง ซึ่งถูกแช่ในช่องฟรีซ เพื่อทำการศึกษามากว่า 1 ปีแล้ว และตอนนี้ได้มีการพยายามตามหาเจ้าของ USB นี้ด้วย

    .

    แมวน้ำเสือดาวมีความสำคัญต่อนักวิทยาศาสตร์มาก ในการค้นหาข้อมูลต่างๆ จากตัวมัน ไม่ว่าจะเป็น สิ่งที่นักล่าแอนตาร์กติกกิน สุขภาพโดยทั่วไป และระยะเวลาที่พวกมันอยู่ในน่านน้ำนิวซีแลนด์ ซึ่งอุจจาระของมันถูกระบุว่ามีค่าเทียบเท่ากับทองเลยทีเดียว และทั้งทั่วนิวซีแลนด์ยังอาสาสมัครแนวชายฝั่งที่รวบรวมด้านชีววิทยาทางทะเล เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสัตว์หายากซึ่งมักอาศัย และล่าสัตว์เป็นฝูงในน่านน้ำแอนตาร์กติก แต่กลับเพิ่มความสงสัยให้ผู้เชี่ยวชาญ เมื่อมันมุ่งหน้ามาทางเหนือของนิวซีแลนด์

    .

    ก่อนหน้านี้ เคยมีการเปิดเผยวิดีโอที่นักพายเรือคายัคใน Caitlins ทางตอนใต้ของเกาะในนิวซีแลนด์ ที่พบแมวน้ำเสือดาว 2 ตัว เล่นน้ำในชายฝั่ง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้เรียกร้องให้ผู้พบเห็นรายงานถึงสัตว์เหล่านี้ ด้วยการถ่ายภาพ วิดีโอ และสถานที่ที่พบ และยังมีสายด่วนในการแจ้งเตือนการพบแมวน้ำเสือดาวโดยเฉพาะด้วย

    .

    การพบ USB ในครั้งนี้ ยังสร้างความกังวลถึงอันตรายในการกินอาหารของแมวน้ำเสือดาว ที่อาจจะกินขยะพลาสติกที่มากมายโดยไม่รู้ตัว Jodie Warren อาสาสมัครที่ค้นพบ USB กล่าวว่า “มันเป็นเรื่องที่น่ากังวลมากที่สัตว์แอนตาร์กติกที่น่าทึ่งเหล่านี้มีพลาสติกอยู่ข้างในพวกมัน” ซึ่งมันไม่ใช่หนึ่งในห่วงโซ่อาหารของแมวน้ำอย่างแน่นอน ซึ่งหลังจากเธอพบ USB เธอได้ปล่อยทิ้งให้แห้งหลายสัปดาห์ เพื่อดูว่าสามารถกู้ข้อมูลภายในได้หรือไม่

    .

    .

    อ้างอิงจาก


    https://www.theguardian.com/world/2...opard-seals-year-old-frozen-faeces?CMP=twt_gu


    https://www.straitstimes.com/asia/a...ner-of-usb-drive-found-in-leopard-seals-waste


    #Brief #TheMATTER


     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Brenes


    #ญี่ปุ่น

    #Japon
    IMG_8999.JPG

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Chainarong Setthachua


    พบร่างผู้เสียชีวิตเขื่อนบราซิลแตกเพิ่มเป็น 157 ยังสูญหาย 182


    ซันเปาโลก- EWN รายงานว่า เจ้าหนัาที่บราซิลระบุว่ายอดผู้เสียชีวิตจากเขื่อนบราซิลแตกเพิ่มเป็น 157 ราย ขณะที่ยังสูญหายอีก 182 คน หลังจากเจ้าหน้าที่ค้นหานานถึง 2 สัปดาห์


    ผู้สูญหายคาดว่าเสียชีวิตทั้งหมดแล้ว แต่ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ ส่วนการค้นหาด้วยเฮลิคอปเตอร์ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาก็ประสบความยากลำบากเนื่องจากฝนตก


    ผู้เสียชีวิตเป็นคนงานของบริษัทเหมืองแร่ Vale SA โดยถูกฝังจากตะกอนที่ไหลมาทับถมเหนือโรงอาหารและสำนักงานหลังจากเขื่อนแตก


    ภาพทางอากาศสะพานใกล้เมืองบรูมาดิญโญ่ที่ขาดเนื่องจากเขื่อนแตก


    ภาพ AFP


     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เจ้าหน้าที่อุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นกล่าวว่าในวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ อาจมีหิมะตกหนักในกรุงโตเกียว และในภูมิภาคคันโตซึ่งอยู่โดยรอบ

    สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นกล่าวว่าในช่วงเช้าวันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ มีมวลอากาศอุณหภูมิต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ -24.4 องศาเซลเซียส อยู่ที่เหนือเมืองซัปโปโร ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ที่ระดับความสูงราว 1,500 เมตร

    เมื่อเวลา 11.00 น. อุณหภูมิที่เมืองซัปโปโรอยู่ที่ -11.7 องศาเซลเซียส ขณะที่เมืองอาซาฮิกาวามีอุณหภูมิ -13.7 องศาเซลเซียส ทั้งสองเมืองนี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น

    เจ้าหน้าที่อุตุนิยมวิทยาระบุว่ามวลอากาศนี้จะเคลื่อนลงใต้ครอบคลุมพื้นที่อื่นของญี่ปุ่น และทำให้ในวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์อาจมีหิมะตกสะสม 5-10 เซนติเมตรทางตอนใต้ของภูมิภาคคันโตที่รวมถึงกรุงโตเกียว และคาดว่าอาจมีหิมะตกสะสมสูงสุด 20 เซนติเมตรตามแนวภูเขาทางตอนเหนือของภูมิภาคคันโต

    ทางการเตือนให้ผู้คนขับรถอย่างระมัดระวัง

    รับชมวีดิทัศน์ประกอบข่าวได้จากลิงก์นี้
    https://www3.nhk.or.jp/nhkworld/en/news/20190208_38/

    ติดตามรายละเอียดของข่าวอื่น ๆ ได้ที่นี่
    https://www3.nhk.or.jp/nhkworld/th/news/

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Wudhichai Maitreesophone

    เวเนซุเอล่า น่าจะเลี่ยงสงครามไม่พ้นแล้ว สหรัฐอ้างว่า เวเนซุเอล่าได้นำเข้ากองกำลังเฮชบอเลาะห์ ซึ่งเป็นกองกำลังมุสลิมของเลบานอน ที่ช่วยรบอยู่ในซีเรีย เข้ามาช่วยรบในประเทศ สหรัฐจึงต้องไปปราบปราม แต่ทหารของเวเนซุเอล่า ก็ขน SAM S-300 ระบบต่อสู้อากาศยานออกมาเตรียมพร้อมรับมือกับเครื่องบินรบของสหรัฐ
    เขาอยู่ของเขาดีๆ ไม่ชอบเขาก็ไปแซงชั่นเศรษฐกิจเขา ถึงวันนี้จะไปโจมตีเขาอีก ถ้าจะเสียสติไปแล้ว.....

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แผ่นดินไหว ขนาด 6.0

    ภูมิภาค MINDANAO, PHILIPPINES

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 18:55:06.0 น. (ไทย)

    สถานที่ 9.82 N ; 126.46 E

    ความลึก 10 km

    ความรุนแรง Macroseismic

    เอฟเฟกต์ IV: ส่วนใหญ่สังเกตได้

    78886FA3-B8CC-437C-9264-D8A7BB1C2A8A-221-0000000AE9149B59.png A4505EB8-C975-45E8-A5CB-D4A38093329F-221-0000000AECFEAFBF.png 654ADAD8-4BB5-4AD4-A3A1-C5B5EED4C77B-221-0000000AF780F703.png IMG_9006.PNG

    Magnitude 6.0

    Region MINDANAO, PHILIPPINES

    Date time 2019-02-08 11:55:06.0 UTC

    Location 9.82 N ; 126.46 E

    Depth 10 km

    Macroseismic

    Intensity IV Effects: Largely Observed

    Distances

    318 km N of Davao, Philippines / pop: 1,213,000 / local time: 19:55:06.0 2019-02-08


    287 km E of Cebu City, Philippines / pop: 799,000 / local time: 19:55:06.0 2019-02-08


    39 km E of Union, Philippines / pop: 2,400 / local time: 19:55:06.0 2019-02-08


    https://m.emsc.eu/earthquake/earthquake.php?evid=743744
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ภาพสวยดีน่ะครับ
    IMG_9008.JPG IMG_9009.JPG IMG_9010.JPG
    IMG_9011.JPG
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แดง วงศ์ทวิชาติ

    IMG_9012.JPG
    แผ่นดินไหวซ้ำที่มินดาเนา ฟิลิปปินส์

    อีกครั้งคราวนี้มุดลึกลงไปอีก

    ติดตามดูจุดกระทบต่อไปว่า

    จะถึงตะวันตกของไทยหรือไม่...


     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ก่อนทะเลสาบเหือดแห้ง
    โดย NGThai 1 มี.ค. 2018

    coverdying.jpg

    ทะเลสาบโปโอโป, โบลิเวีย ภาพถ่ายโดย เมารีซีโอ ลิมา : ก้นทะเลสาบแห้งขอดปกคลุมด้วยชั้นเกลือทอดตัวยาวไกลสุดสายตาในโบลิเวีย เรือเกยตื้น ปลาและนกน้ำหายไปไป ชาวประมงที่พึ่งพาอาศัยทะเลสาบพากันโยกย้ายไปอยู่ที่อื่น เกิดการพลัดถิ่นสืบเนื่องจากภัยแล้ง

    ก่อนทะเลสาบเหือดแห้ง
    รอยล้อรถยนต์ทอดยาวไปตามพื้นก้นทะเลสาบแบนราบไปจนจดเส้นขอบฟ้า เราขับรถซูซูกิรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อตามรอยนั้นไปเพื่อมองหาเบาะแสว่า เกิดอะไรขึ้นกับโปโอโป ซึ่งเคยเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโบลิเวีย แล้วกลับอันตรธานไปในอากาศเบาบางของที่ราบสูงแอนดีส

    แม้จะขับกันอยู่บนพื้นก้นทะเลสาบ แต่เราอยู่สูงจากระดับทะเลมากกว่า 3,650 เมตร อากาศฤดูใบไม้ผลิแห้งจนปากแตก หมู่บ้านชาวประมงจำนวนมากที่เคยพึ่งพาทะเลสาบโปโอโปมาตลอดหลายพันปีก็อยู่ในสภาพว่างเปล่าเช่นกัน เราขับผ่านกลุ่มบ้านเรือนก่อด้วยอิฐที่ถูกทิ้งร้าง ลมบ้าหมูเริงระบำอยู่รายรอบ หมุนวนดูดกระแสลมร้อนเข้ามา ไกลออกไป เรามองเห็นเรืออะลูมิเนียมขนาดเล็กหลายลำที่ดูเหมือนลอยอยู่บนน้ำ จนเมื่อขับเข้าไปใกล้ภาพลวงตานั้นก็เลือนหายไป และพบว่าเป็นเรือที่ถูกทิ้งเกยตื้นอยู่บนทรายแป้ง ผมก้าวลงจากรถ รองเท้าเหยียบพื้นที่คราบเกลือเกาะหนาเป็นชั้นตะปุ่มตะป่ำส่งเสียงดังกรอบแกรบ

    มัคคุเทศก์ของผม รามิโร พิลล์กู โซลา เดินย่ำเท้าไปบนแอ่งเกลือ มุ่งหน้าไปยังซากเรือผุพังลำหนึ่งที่จมทรายอยู่ครึ่งลำ ความทรงจำสมัยเป็นเด็กชายที่ออกมาพายเรือในทะเลสาบแห่งนี้ถาโถมเข้ามาในความคิด เนิ่นนานก่อนที่เขาจะทิ้งหมู่บ้านซานเปโดรเดคอนโดไปร่ำเรียนวิชาอุทกวิทยาจนได้รับปริญญาเอกสาขาอุทกวิทยาและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากมหาวิทยาลัยลุนด์ในประเทศสวีเดน “เราไม่ได้กำลังพูดถึงเรื่องเล็กๆนะครับ” พิลล์กู โซลาบอกผม “เมื่อสามทศวรรษก่อน ทะเลสาบนี้ปกคลุมพื้นที่ 3,000 ตารางกิโลเมตร การจะกู้ให้ฟื้นกลับมานี่ยากนะครับ”

    1-2-1024x768.jpg
    ทะเลสาบเออร์เมีย, อิหร่าน ภาพถ่ายโดย นูว์ชา ทาวาโกเลียน : อาคารร้างกับเรือที่จอดทิ้งคือสิ่งที่เหลืออยู่ของท่าเรือราห์มันลู เมื่อครั้งทะเลสาบยังมีน้ำเต็ม รถราจะมาต่อแถวกันบนท่าแห่งนี้เพื่อรอลงเรือข้ามฟากซึ่งช่วยประหยัดเวลาการขับรถรอบทะเลสาบจากเมืองตาบรีซไปยังเออร์เมียร์ที่อยู่ฟากตรงข้ามได้หลายชั่วโมง
    น้ำซึ่งเคยแผ่กว้างกินพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลพอๆ กับประเทศเล็กๆ หายไปแล้ว รองเท้าบูตยางคู่หนึ่งถูกทิ้งอยู่ข้างๆ เรือลำนั้น กะโหลกปลาตัวหนึ่งที่ถูกแดดกัดจนขาวโพลนสว่างวาบใต้ดวงอาทิตย์แผดจ้า แล้วอยู่ๆลมก็หยุดพัด ความเงียบเข้าปกคลุมฉากเหมือนหลังวันสิ้นโลกนั้น หากน้ำคือชีวิต ที่แห่งนี้ไม่มีทั้งสองอย่าง

    2-2-1024x768.jpg
    ทะเลสาบเออร์เมีย : ในฤดูร้อน นักท่องเที่ยวเดินลุยเล่นน้ำที่กลายเป็นสีแดงเพราะแบคทีเรียและสาหร่ายที่ชื่นชอบเกลือ ทะเลสาบเออร์เมียดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วอิหร่านมาหลายชั่วคน แต่จำนวนผู้มาเยือนลดน้อยลงเมื่อทะเลสาบหดเล็กลงถึงร้อยละ 80 นับตั้งแต่กลางทศวรรษ 1980 ซึ่งก่อให้เกิดความวิตกว่า นี่อาจเป็นคนรุ่นสุดท้ายที่จะได้ลงเล่นน้ำที่นี่
    หลายภูมิภาคทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังทำให้ทะเลสาบจำนวนมากร้อนขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่ามหาสมุทรและอากาศ ความร้อนที่สูงขึ้นนี้เร่งให้น้ำระเหยเร็วขึ้น และเมื่อผนวกกับการจัดการที่ผิดพลาดของมนุษย์ ก็ยิ่งส่งผลให้การขาดแคลนน้ำ มลภาวะ การสูญเสียถิ่นอาศัยของนกและปลา กลายเป็นปัญหารุนแรงขึ้น แต่ในขณะที่ “ลายนิ้วมือ [หรือหลักฐาน] ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปรากฏอยู่ทุกหนแห่ง แต่หน้าตาของมันไม่เหมือนกันในแต่ทะเลสาบ” แคเทอรีน โอไรลีย์ กล่าว เธอเป็นนักนิเวศวิทยาแหล่งน้ำสังกัดมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์สเตต และเป็นผู้นำร่วมของโครงการสำรวจทะเลสาบทั่วโลกโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ 64 คน

    ยกตัวอย่างเช่น ที่ทะเลสาบไท่ในภาคตะวันออกของจีน น้ำผิวดินจากเรือกสวนไร่นาและน้ำเสีย กระตุ้นให้เกิดการสะพรั่งของไซยาโนแบคทีเรีย ขณะที่น้ำซึ่งอุ่นขึ้นเป็นตัวช่วยเร่งการเจริญเติบโต จุลินทรีย์ชนิดนี้เป็นภัยคุกคามต่อแหล่งน้ำดื่มสำหรับประชาชนร่วมสองล้านคน ทะเลสาบแทนกันยีกาในแอฟริกาตะวันออกอุ่นขึ้นมากจนปริมาณปลาที่จับได้ซึ่งเลี้ยงชีพคนยากจนหลายล้านคนในสี่ประเทศโดยรอบ ลดลงถึงขั้นสุ่มเสี่ยง น้ำหลังเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำกูริอันใหญ่โตของเวเนซุเอลา มีระดับต่ำมากถึงขั้นวิกฤติในช่วงหลายปีมานี้ จนรัฐบาลต้องสั่งให้หยุดการเรียนการสอนตามโรงเรียน เพื่อแก้ปัญหาโดยการปันส่วนไฟฟ้า แม้แต่คลองปานามาที่เพิ่งผ่านการขยายช่องการจราจรให้กว้างขึ้น และขุดร่องน้ำให้ลึกขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เพื่อรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ก็ยังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสืบเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ส่งผลกระทบต่อทะเลสาบกาตูนที่มนุษย์ขุดขึ้น ซึ่งไม่เพียงเป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงช่องการจราจรของคลองดังกล่าวให้ใช้สัญจรได้เท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งน้ำดื่มสำหรับเกือบทั้งประเทศด้วย นอกจากนี้ ระดับน้ำที่ต่ำยังบังคับให้ต้องจำกัดขนาดการกินน้ำลึกของเรือต่างๆ ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เรือเกยตื้นน้ำในทะเลสาบ

    3-2-1024x768.jpg
    ทะเลสาบเออร์เมีย : เรซา มานัฟซาเดห์ ทำงานในสวนผลไม้ซึ่งตั้งอยู่ริมขอบทะเลสาบ พืชผลที่นี่ปลูกด้วยระบบชลประทานแบบใหม่ นั่นคือใช้น้ำรีไซเคิลจากโรงงานที่ขนมาโดยรถบรรทุก “ผมห่วงอนาคตของลูกชายผมมากครับ” เขาบอก “ถ้าน้ำเหือดแห้งไปจากอิหร่าน ลูกหลานของเราจะหมดความสนใจในประเทศตัวเอง”
    ในบรรดาปัญหาท้าทายทั้งหมดที่ทะเลสาบต่างๆ เผชิญอยู่ในโลกที่ร้อนขึ้น ตัวอย่างที่ชัดแจ้งที่สุดพบได้ตามพื้นที่รับน้ำแบบปิดที่ซึ่งน้ำไหลเข้ามาลงทะเลสาบต่างๆ แต่ไม่มีทางให้น้ำไหลออกสู่แม่น้ำหรือทะเล ในพื้นที่ปลายน้ำหรือลุ่มน้ำในแผ่นดินที่ไม่มีทางระบายน้ำออกสู่ทะเล (endorheic basin) เหล่านี้ ทะเลสาบมักจะตื้น เค็ม และอ่อนไหวเป็นพิเศษต่อปัจจัยหรือกิจกรรมรบกวนต่างๆ การอันตรธานไปของทะเลอารัลในเอเชียกลางคือตัวอย่างขั้นหายนะของปรากฏการณ์ที่อาจเกิดขึ้นกับน่านน้ำในแผ่นดินประเภทนี้ ในกรณีของทะเลอารัล ตัวการหลักได้แก่โครงการชลประทานอันทะเยอทะยานของโซเวียตที่ทำให้ทิศทางการไหลของแม่น้ำหลายสายซึ่งหล่อเลี้ยงทะเลอารัลเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

    เหตุการณ์คล้ายคลึงกันนี้กำลังดำเนินอยู่ตามทะเลสาบปลายน้ำในเกือบทุกทวีป ซึ่งก็คือการใช้ประโยชน์มากเกินไป ผนวกกับภัยแล้งที่รุนแรงขึ้น ภาพถ่ายดาวเทียมที่นำมาเทียบเคียงกันเผยให้เห็นความสูญเสียที่น่าตกใจยิ่ง ทะเลสาบชาดในแอฟริกาหดเล็กลงจนเหลือเพียงเสี้ยวหนึ่งของผืนน้ำกว้างใหญ่ไพศาลนับจากทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา ส่งผลให้การขาดแคลนปลาและน้ำชลประทานรุนแรงขึ้น ขณะที่ผู้โยกย้ายถิ่นฐานและผู้อพยพที่ต้องพึ่งพาทะเลสาบดังกล่าวในปัจจุบันยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อทรัพยากร การขาดแคลนด้านต่างๆ รวมทั้งความตึงเครียดในภูมิภาคซาเฮลอันแห้งแล้งและร้อนระอุ กำลังก่อให้เกิดความขัดแย้งและการอพยพย้ายถิ่นขนานใหญ่

    เรื่อง เคนเน็ท อาร์. ไวส์

    4-2-1024x686.jpg
    ทะเลสาบแทนกันยีกา, แทนซาเนีย ภาพถ่ายโดย ไมเคิล คริสโตเฟอร์ บราวน์ : ปลาที่ลากอวนมาได้เช้านี้ที่หมู่บ้านคีบีริซีคือปลาซาร์ดีน ปริมาณปลาที่จับได้ลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีเรือจำนวนมากเกินไปแย่งกันจับปลาที่มีอยู่น้อยเกินไปในทะเลสาบของแอฟริกาแห่งนี้ ซึ่งทอดตัวคร่อมพรมแดนประเทศแทนซาเนีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก บุรุนดี และแซมเบีย
    5-1-1024x686.jpg
    ทะเลสาบแทนกันยีกา : นอกชายฝั่งหมู่บ้านคาซินกา พวกผู้ชายลากอวนจับปลาซาร์ดีน อุณหภูมิน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นแม้เพียงครึ่งหรือหนึ่งองศาเซลเซียส ก็อาจกระทบต่อปริมาณปลาที่จะจับได้ และหมายถึงหายนะสำหรับคนนับล้านที่ต้องพึ่งพาแหล่งโปรตีนเหล่านี้



    https://ngthai.com/environment/8371/dying-lakes/
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รับแจ้งจะมีแถลงการณ์เวลาประมาณ 21.50 น.
    ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย #ข่าวช่องวัน

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    AP19039092233758-1-728x410.jpg
    (AP Photo/Kin Cheung, File)

    “ทูลกระหม่อมฯ” เผยชีวิตสามัญชนในอเมริกา “เห็นโลกเยอะขณะเดียวกันก็ได้ความทุกข์” วันที่ 8 February 2019 - 15:48 น.

    ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเผยชีวิตส่วนพระองค์ ภายหลังจากที่ทรงลาออกจาฐานันดรศักดิ์ (25 กรกฎาคม 2515) และประทับอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในฐานะสามัญชนว่า

    “เรียกว่าเป็นการเลือกวิถีชีวิตผิดไปตรงที่ไปแต่งงาน เป็นเวรเป็นกรรมไง ในเมื่อเราเลือกแต่งงานกับเขาก็ต้องอยู่อย่างนั้น ใครจะรู้บ้างว่า กวาดบ้าน ล้างห้องน้ำ เราก็ต้องทำ สามีถามว่า…ทำไมยูกวาดบ้านไม่ได้…ชีวิตเราผ่านอะไรมาเยอะ อาจลำบากกว่าอีกหลายคน คนอื่นอาจมองว่าชีวิตทูลกระหม่อมนี้ดี แต่ไม่เคยมีใครรู้ชีวิตจริงๆ ของเราที่เมืองนอก…ในตอนที่ลำบากก็ไม่นึกว่าอยากจะกลับไทย คิดว่าสู้ได้ อยู่ได้อย่างไรล่ะ เมื่อมีสามีเราก็ไม่อยากต้องหย่าร้าง ยิ่งมีลูกเราก็ต้องพยายามประคับประคองให้ถึงที่สุด แต่เมื่อถึงเวลาต้องแตกร้าว อย่างน้อยก็รู้ว่าเราประคองจนถึงที่สุดแล้ว”

    ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ตรัสไว้ตอนหนึ่งว่า

    “อย่างเราเลือกออกไปแต่งงาน ออกไปเมืองนอก ก็เป็นความผิดเหมือนกันที่ไม่ได้อยู่ในเมืองไทย แต่การที่เราเลือกออกไปเมืองนอก ทำให้ได้เห็นโลกเยอะแยะ ขณะเดียวกันก็ได้ความทุกข์กลับมาบ้าง แต่ถ้าอยู่ที่นี่ เราก็มีความสุขในการทำงาน แต่คล้ายๆ ว่าเหมือนเป็นหญิงต้องห้าม เป็นหุ่น เป็นตุ๊กตาสวยๆ ให้คนเก็บไว้มองดูเท่านั้น”

    ***ข้อมูลบางตอนจาก บทความ “บันทึกรักท่านหญิง : ความรักและการแต่งงานของเจ้านายสตรี หลัง พ.ศ.2475 เขียนโดย วีระยุทธ ปีสาลี นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ 8 มิถุนายน 2559 อ้างจาก “บทประทานสัมภาษณ์ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี แพรว ฉบับที่ 535 ประจำปักษ์ที่ 10 ธันวาคม 2544”


    https://www.prachachat.net/prachach...6rAjd0VJ0DwGrU2IiPUoaCNsGZwWKH8N-icP5u9Z1gPUc
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปัญหาการเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯในจารีตประเพณี ทาง รธน.ที่ไม่สามารถกระทำได้
    เขียนวันที่ วันศุกร์ ที่ 08 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 21:37 น. เขียนโดย ผศ.กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์

    "...บรรดาเหตุผลที่พรรคไทยรักษาชาติกล่าวอ้างมานั้น เป็นเพียงการพิจารณาแต่ถ้อยคำตัวอักษรของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 เท่านั้น โดยไม่ได้พิจารณาถึงหลักการพื้นฐานที่ถือได้ว่าเป็น “จารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” ที่ยึดถือมาโดยตลอดนับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ซึ่งได้เคยบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 ที่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก ในมาตรา 11 ว่า “พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป โดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง”..."

    pickiiiiiiii8.jpg

    ตามที่มีการเสนอชื่อ ทูลกระม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ โดยพรรคไทยรักษาชาติตามมาตรา 88 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี หรือ ที่เรียกว่าบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรี เมื่อเช้าวันที่ 8 กพ. 2562นั้น ได้ให้เกิดการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสังคมไทย ซึ่งก่อให้เกิดความสงสัยในหมู่ประชาชนทั่วไป ด้วยคำถามใหญ่ที่ว่า “การเสนอชื่อทูลกระหม่อมฯ” สามารถทำได้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือไม่ ซึ่งทางพรรคไทยรักษาชาติยืนยันว่าทำได้และถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกประการเนื่องจากไม่มีบทกฎหมายใดห้ามไว้ และถูกต้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 89 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การเสนอชื่อบุคคลไว้2ประการ คือ

    (1) ต้องมีหนังสือยินยอมของบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อ โดยมีรายละเอียดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

    (2) ผู้ได้รับการเสนอชื่อต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นรัฐมนตรีตามมาตรา 160 และไม่เคยทำหนังสือยินยอมตาม (1) ให้พรรคการเมืองอื่นในการเลือกตั้งคราวนั้น

    นอกจากนี้พรรคไทยรักษาชาติยังยืนยันอีกครั้งในแถลงการณ์กรณีคุณสมบัติบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรีจากกรณีที่กรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติมีมติเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล ในบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรีของพรรคฯ โดยขอชี้แจงว่าพรรคไทยรักษาชาติได้ตรวจสอบคุณสมบัติผู้ถูกเสนอชื่อตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องพบว่าทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน ดังนี้

    1.ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล ได้ลาออกจากการดำรงฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ในฐานะสมเด็จเจ้าฟ้า ตามประกาศราชกิจจานุเบกษาฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2515 ทำให้สถานะทางกฎหมายของท่านเป็นสามัญชนตั้งแต่บัดนั้น

    2.คุณสมบัติของผู้ที่จะอยู่ในบัญชีรายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 88 และ 89 กำหนดให้ต้องมีหนังสือยินยอมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อโดยมีรายละเอียดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ซึ่งทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล ได้มีหนังสือตอบรับมายังพรรคไทยรักษาชาติตามเอกสารแนบ ซึ่งได้ยื่นต่อกกต. ไปแล้ว

    3.กรณีผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ไม่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ฝ่ายกฎหมายของพรรคฯ ทำการตรวจสอบและยืนยันว่าทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล ไม่ได้ขาดคุณสมบัติจากกรณีดังกล่าวตามคำให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการกกต. เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 ระบุว่าการไม่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นข้อห้ามของรัฐธรรมนูญในอดีต แต่รัฐธรรมนูญปัจจุบันได้ยกเลิก ห้ามเพียงต้องไม่เคยเป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเท่านั้น

    บรรดาเหตุผลที่พรรคไทยรักษาชาติกล่าวอ้างมานั้น เป็นเพียงการพิจารณาแต่ถ้อยคำตัวอักษรของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 เท่านั้น โดยไม่ได้พิจารณาถึงหลักการพื้นฐานที่ถือได้ว่าเป็น “จารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” ที่ยึดถือมาโดยตลอดนับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ซึ่งได้เคยบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 ที่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก ในมาตรา 11 ว่า

    “พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป โดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง”

    แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับต่อๆมา จะไม่ได้มีการบัญญัติเนื้อความดังกล่าวเอาไว้ก็ตาม แต่ในทางวิชาการกฎหมายสามารถตีความได้ว่าหลักการนี้ก็ยังคงอยู่ เพราะถูกยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องต่อๆกันมา ด้วยความรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและต้องปฏิบัติตาม เป็นจารีตประเพณีในทางรัฐธรรมนูญอย่างหนึ่ง ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ก็ได้รับรองไว้ในมาตรา 5 วรรคสองว่า “เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทำการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ”

    ปัญหาสำคัญที่ต้องพิจารณาต่อไป คือ การที่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ ได้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์ตั้งแต่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2515 จะถือว่าเป็นประชาชนธรรมดาที่สามารถยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้หรือไม่นั้น ในประเด็นนี้คำตอบอยู่บันทึกรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 36/2475 วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2475 (ตอนบ่าย) ณ พระที่นั่งอนันตสมาค ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ฉบับแรก ซึ่งเป็นการตอบข้อสงสัยของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในประเด็นพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดสละฐานันดรศักดิ์มาเป็นสามัญชนจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองได้หรือไม่ โดยกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นนักกฎหมายสำคัญสองท่าน คือ พระยามานวราชเสวี และพระยานิติศาสตร์ไพศาล ที่ขอคัดมาให้เห็นดังนี้

    พระยามานวราชเสวีได้กล่าวตอบไว้โดยบันทึกไว้ในรายงานประชุมสภาฯว่า “ ขอตอบนายมังกรที่ยอมให้เจ้าลดฐานะและเข้ามาอยู่ในวงการเมืองได้ ข้อนี้ถ้ากำเนิดเป็นเจ้า จะปฏิเสธว่าไม่ใช่เจ้าไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าจะยอมให้ลดตัวเป็นคนชั้นต่ำโดยไม่ห้ามว่าไม่ควรให้ลดฐานะมาอยู่ในวงการเมืองแล้ว ย่อมให้โทษ เพราะฉะนั้นควรให้ท่านคงอยู่ในฐานะเดิม”

    พระยานิติศาสตร์ไพศาลได้ชี้แจงเพิ่มเติมอีกว่า “ ทุกประเทศเขาไม่รับเจ้าเข้าสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนั้นถ้าไม่มีกฎหมายให้เจ้าลาออกจากเจ้าได้แล้ว เจ้าชายก็ลาออกไม่ได้ ปัญหาที่ว่าเจ้าไม่เป็นเจ้าคงไม่มี”

    สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าโดยกำเนิดนั้น ไม่มีปัญหา แต่ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นจากราษฎรสามัญแล้วผู้นั้นลาจากเจ้า ปัญหาจึงมีว่าผู้ที่ได้รับแต่งตั้งและลาออกแล้ว จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองอีกได้หรือไม่ และเห็นว่าถ้าลาออกแล้วเข้ามาได้ เพราพวกเหล่านี้เป็นคนไทย ชาวต่างประเทศที่แปลงชาติเป็นคนไทยแล้ว ยังมีสิทธิที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองได้ ฉะนั้นบุคคลประเภทนี้จึงควรอนุญาต”

    จากรายงานการประชุมข้างต้น จะเห็นได้ว่า การเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ที่เป็นเจ้าแต่กำเนิดจะไม่สามารถลาออกจากความเป็นเจ้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้ เว้นแต่บุคคลที่เป็นคนสามัญชนมาก่อนแล้วได้รับการแต่งตั้งมีฐานันดรศักดิ์ หากลาออกจากฐานันดรศักดิ์ ก็จะกลับเป็นคนธรรมดาที่สามารถยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้ ดังนั้นแล้ว ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯจึงเป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยขัดต่อจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ห้ามพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปมายุ่งเกี่ยวกับการเมืองนั่นเอง

    https://www.isranews.org/isranews/73651-open00-73651.html
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    MOREMOVE


    #มอร์มูฟเป็นข่าว #ลอว์สัน ปิดทันที 2 สาขา!!! หลังพบว่าพนักงานได้ทำการปลอมแปลงฉลากวันหมดอายุของอาหารบางรายการในสาขาเป็นเวลานานกว่า 2 ปี เร่งดำเนินการตรวจเข้มอีกกว่า 14,000 แห่งทั่วญี่ปุ่นเพื่อดูว่ามีสาขาใดอีกบ้างที่มีพฤติกรรมเช่นเดียวกัน ประกาศชัด บริษัทจะเพิ่มขีดความเข้มงวดในการควบคุมคุณภาพในการดำเนินงาน โดยจะมีการติดตั้งกล้องทีวีวงจรปิดในห้องปรุงอาหารและควบคุมการออกฉลากวันหมดอายุที่ติดบนอาหารในแต่ละสาขา


    Source : smartsme - https://bit.ly/2DjjVnb


    โดยเรื่องนี้ บริษัทลอว์สัน อิงค์ ซึ่งเป็นห้างสะดวกซื้อรายใหญ่ของญี่ปุ่น แถลงเพิ่มเติมว่า ทางบริษัทยังไม่ได้รับรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยจากการบริโภคอาหารที่หมดอายุดังกล่าว.


     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    40-6.jpg
    Breaking ข่าวในพระราชสำนัก
    BreakingNews : พระบรมราชโองการ ราชวงศ์อยู่เหนือการเมือง “ทูลกระหม่อมฯ” ....
    08 ก.พ. 2019 - 22:42 น.

    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า

    2A872C4E-F5F5-4FE8-92EB-B7A422E27E07-609-00000031A2D52C86.jpg 87E1EA62-0372-4236-B8F6-2D83AE088735-609-00000031A9367BEA.jpg 251CD7ED-2FE3-4959-953D-5222D3D98F39-609-00000031AE86A31F.jpg


    https://www.springnews.co.th/breaking-news/439169
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2019
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระราชโองการ โปรดเกล้าฯ ระบุทูลกระหม่อมหญิงฯ แม้จะกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์ไปแล้ว ยังดำรงพระองค์ในฐานะสมาชิกแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

    การนำสมาชิกชั้นสูงในพระบรมราชวงศ์มาเกี่ยวข้องกับระบบการเมือง ไม่ว่าจะทางใดก็ตาม จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อโบราณราชประเพณี ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมของชาติ ถือเป็นการกระทำที่มิบังควรไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง

    อนึ่ง ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญว่าด้วยหมวดพระมหากษัตริย์ ย่อมครอบคลุมถึงพระราชีนี พระรัชทายาท และพระบรมราชวงศ์ซึ่งมีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ จึงอยู่ในหลักการเกี่ยวกับการดำรงอยู่เหนือการเมืองและความเป็นกลางทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ด้วย และไม่สามารถดำรงตำแหน่งใดๆ ทางการเมืองได้ เพราะจะเป็นการขัดกับเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ และประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

    IMG_9040.JPG IMG_9041.JPG

     

แชร์หน้านี้

Loading...