ห้องแมวยิ้ม สัพเพ เหระ อะไรก็เอามาลงกระทู้นี้ได้ครับ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย zalievan, 9 ธันวาคม 2018.

  1. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    นางแก้วเริ่มทำงาน
    ตามหาเธอคนนั้น ณะทางช้างเผือก..อิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2018
  2. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,995
    ๘. นิสสยปัจจัย

    การช่วยอุดหนุนโดยเป็นที่อาศัยนี้ มีอยู่ ๒ อย่างคือ

    ๑. เป็นที่อาศัยโดยอาการตั้งมั่น เรียกว่า อธิฏฺฐานาการ อย่างหนึ่ง หมายความว่า
    ปัจจัยธรรมนั้น ช่วยอุดหนุนให้ปัจจยุปบันธรรมเข้าไปอาศัยเกิดขึ้นเพื่อกระทำหน้าที่ของตนๆได้
    อุปมาเหมือน พื้นแผ่นดินย่อมเป็นที่อาศัยของต้นไม้ทั้งปวงให้เกิดขึ้น

    ๒. เป็นที่อาศัยโดยอาการอิงอาศัย เรียกว่า นิสฺสยาการ อย่างหนึ่ง
    หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้น ช่วยอุดหนุนให้เป็นที่อาศัยปัจจยุปบันธรรมโดยอาการอิงอาศัย
    อุปมาเหมือน ผืนผ้าเป็นที่อาศัยของภาพวาดเขียนฉันใด ธรรมที่เป็นนิสสยการนี้ ได้แก่
    นามขันธ์ ๔ และอาโป. เตโช. วาโย. คือนามขันธ์ทั้ง ๔ นั้น ต่างก็ที่อาศัยซึ่งกันและกัน
    เช่นนามขันธ์ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งเป็นที่อาศัย นามขันธ์ ๓ ที่เหลือก็เป็นผู้อาศัย
    หรือเมื่อนามขันธ์ ๓ เป็นที่อาศัย นามขันธ์ ๑ ที่เหลือก็เป็นผู้อาศัย ดังนี้เป็นต้น
    ผลัดกันเป็นที่อาศัยและผู้อาศัยซึ่งกันและกันเช่นนี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยโดยการอิงอาศัยกัน
    เรียกว่า นิสสยาการ

    นิสสยปัจจัย
    ธรรมอันเป็นที่พึ่ง


    ปัจจยธรรม ได้แก่ รูปวัตถุหรือรูปกายอันเป็นส่วนสำคัญและเห็นที่อาศัยของจิตวิญญาณ นั่นก็คือ วัตถุรูป ๖ ซึ่งประกอบด้วย จักขุ, โสตะ, ฆานะ, ชิวหา, กายะ และหทัยวัตถุ

    ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ การรับรู้สิ่งที่มาสัมผัส(อารมณ์) ๖ ประการ คือ การเห็น, การได้ยิน, การได้กลิ่น, การรู้รส, การรับรู้ทางกายสัมผัส และการเข้าใจ(การรับรู้ทางใจ)

    ลักษณะการเกิดขึ้นของการรับรู้ทั้ง ๖ ประการที่ได้กล่าวมานี้ เป็นไปในลักษณะของการอาศัยอวัยวะรูปส่วนที่เป็นฐานรองรับ(วัตถุ) ซึ่งเป็นเสมือนบ้านที่ตั้งที่อาศัยของตนนั่นเอง

    การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ เช่น การเห็น เป็นต้น โดยอาศัยวัตถุรูปของใครของมัน เช่น การเห็น(จักขุวิญญาณ) เกิดได้ เพราะอาศัยจักขุ(จักขุปสาทรูป) การได้ยิน เกิดได้เพราะอาศัยโสตปสาท ดังนี้ เป็นต้น ก็การเกิดปรากฏการณ์แห่งสภาวธรรมเช่นนี้แล ท่านเรียกว่า "การเกื้อกูลในรูปแบบของความเป็นนิสสยปัจจัย"

    ประสาทตาดี จึงทำให้มองเห็นชัด ก็ตานี้แหละ แม้จะเป็นกัมมชรูปที่เป็นผลมาจากกรรมเก่าในอดีตชาติ แต่ก็ยังต้องมีความเกี่ยวดองกับจิตตชรูปกล่าวคือ รูปที่เกิดขึ้นโดยเนื่องมาจากจิตใจอยู่ เช่น หากคนเราเกิดความโกรธ จิตใจก็จะขุ่นมัว ส่งผลให้วัตถุรูป เช่น จักขุปสาท มีลักษณะขุ่นมัว แดงก่ำ ไม่ใสสะอาด ซึ่งสามารถเป็นเหตุให้เรามองสิ่งต่างๆ ได้ไม่ชัด ตรงกันข้าม หากจิตใจเรามีเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง อำนาจแห่งเมตตาธาตุอันเป็นธาตุแห่งความเย็นนี้ ก็จะแผ่กระจายไปสู่รูปธาตุทั้งปวง เป็นเหตุให้ธาตุคือ จักขุปสาทเย็นและใสสะอาดปราศจากมลทินธุลีในดวงตา เป็นเหตุนำมาซึ่งการเห็นรูปารมณ์ชัดเจน และส่งพลังความสงบร่มเย็นนั้นไปสู่วิถีจิตอื่นๆ อันเป็นเหตุแห่งความสงบสุขร่มเย็นทั้งตนเองและผู้อื่นได้ในที่สุด

    แม้ในกรณีของการได้ยินเสียง เป็นต้น ก็พึงทราบโดยทำนองเดียวกันนี้แล

    ในส่วนของหทัยวัตถุนั้น พึงทราบว่า ในพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ท่านอธิบายว่า คือ เลือดจากส่วนในของหัวใจ แต่ตามหลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เขาบอกว่า หทัยวัตถุ ก็คือสมอง

    จะอย่างไรก็ตาม ในเวลาที่คนเราเกิดอาการเหนื่อยใจ อ่อนเพลียทางจิตใจ จะเห็นได้ว่าทั้งการไหลเวียนของเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจและอาการปวดสมอง ต่างก็พากันแสดงออกมาให้เห็นเมื่อเลือดหัวใจผ่องใสหรือสมองปลอดโปร่ง ก็จะส่งผลให้เกิดความนึกคิดที่ปลอดโปร่งโล่งสบายเช่นกัน

    เนื่องจากว่าจักขุปสาทรูป เป็นต้น ล้วนเป็นรูปที่มีความบอบบางละเอียดมาก จึงทำให้ได้รับการกระทบกระเทือนง่าย ชำรุดเสียหายง่าย เหมือนกับคำพังเพยที่เผยให้เห็นถึงความสำคัญของดวงตาและหูไว้ว่า "ตาคือดวงใจ ความปราชัยคือการเสียหู"

    ด้วยเหตุนี้ จึงขอให้ท่านทั้งหลาย จงตระหนักถึงความสำคัญของอวัยวะเหล่านี้มิให้ได้รับกระทบกระเทือนเกิดความชำรุดเสียหายอย่างเด็ดขาด แม้ในปสาทรูปที่เหลือ ก็พึงทราบว่า มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะถ้าหากเกิดความผิดปกติบกพร่องทางร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนไม่สมประกอบ อาจกลายเป็นคนที่ไม่ได้มาตราฐานของความเป็นมนุษย์ได้

    หากเราทั้งหลายสูญเสียเลือดในหัวใจนั้นไซร้ ก็จะกลายเป็นคนบ้า แต่ถ้าหากสมองไม่ทำงาน ก็ไม่ต่างอะไรจากคนตาย

    สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลาย จงตระหนักถึงความสำคัญของวัตถุรูปอันเป็นนิสสยปัจจัยทั้งหลายเหล่านั้น โดยการให้ความรักความทะนุถนอมบำรุงรักษาอย่าให้เจ็บไข้ได้ป่วยหรือได้รับบาดเจ็บใดๆ เลย
     
  3. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,995
    นาง พลอย ย่ะ
     
  4. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,995
    คือ มันก็เป็นนะ
    อะไรมากระทบอารมณ์ เจตสิก อาตยนะ 6
    มันหวั่นไหวนะอ้ายนะ 55555
    ระลึกชาติได้ มันก็เป็นอะไรที่น่าจดจำดี แต่อย่าไปหลงมันเลยนะ จะเศร้าเปล่าๆ


     
  5. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    อ่านได้ความรู้ดีครับต่อเลย
     
  6. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,995
    ยังอยู่ ฉกามพาวจร

    ขออภัย ....
     
  7. Fallenz

    Fallenz ○~พบแล้ว เจอแล้ว เสวนาแล้ว ที่เหลือแล้วแต่วาสนา~●

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +733
    ก็ให้ดำเนินไปอย่างนั้นแหละหนา

    เอิ้กๆ
     
  8. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ไม่รู้ใครตั้งชื่อนะ กามาวจร นี้

    น่าจะตั้งชื่อว่า กามพาจม มากกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2018
  9. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,995
    ๙. อุปนิสสยปัจจัย

    อุปมาเหมือน ข้าวสุกที่เราได้อาศัยกินอยู่ทุกวันนี้
    ต้องอาศัยประกอบด้วยเหตุ ๗ อย่าง คือ เมล็ดข้าว, ที่นา, น้ำฝน,
    พ่อครัว, หม้อข้าว, ฟืน, ไฟ, ทั้ง ๗ อย่างนี้ เป็นที่อาศัย(นิสสย)
    ให้เกิดเป็นข้าวสุกขึ้นได้ แต่ในบรรดาที่อาศัยทั้ง ๗ อย่างนี้ที่อาศัยอันเป็นที่สำคัญนั้น
    ได้แก่ เมล็ดข้าว, ที่นา, น้ำฝน, ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่าอุปนิสสยะ คือที่อาศัยที่มีกำลังมาก
    เพราะถ้าไม่มี เมล็ดข้าว, ที่นา, และน้ำฝน, ทั้ง ๓ อย่างนี้แล้ว พ่อครัว,
    หม้อข้าว, ฟืน, และไฟ, เหล่านี้ ก็ไม่สามารถที่จะทำให้เกิดข้าวสุกขึ้นได้ ฉะนั้น
    จึงได้ชื่อว่าเป็นเพียงนิสสยะ คือเป็นที่อาศัยธรรมดาเท่านั้น

    อุทเทส อุปนิสฺสยปจฺจโย ธรรมเป็นที่อาศัยมีกำลังมากเป็นปัจจัย หรือ ธรรมเป็นเหตุมีกำลังยิ่งเป็นปัจจัยให้เกิดผลธรรม เพราะนิสสย แปลว่า ที่อาศัย หรือเหตุ อุป แปลว่า ยิ่ง อุปนิสสยปัจจัยเป็นปัจจัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า หรือเป็นที่อาศัยมีกำลังมาก หรือเป็นเหตุมีกำลังยิ่งให้เกิดผล คือ ปัจจยุบบันธรรม

    นิสสยปัจจัยกับอุปนิสสยปัจจัย ทั้ง ๒ ปัจจัยนี้ ต่างก็เป็นปัจจัยที่อาศัยให้เกิดผลด้วยกัน แต่กำลังและความสามารถไม่เหมือนกัน คือ นิสสยปัจจัยมีความสามารถและกำลังน้อยกว่า เป็นปัจจัยได้แต่ในปัจจุบันกาลเท่านั้น ส่วนอุปนิสสยปัจจัยเป็นธรรมเครื่องอาศัยที่มีกำลังมากกว่า เพราะมีอำนาจที่จะคุ้มครองและส่งเสริมให้ผลนั้นเป็นไปได้ทั้ง ๓ กาล และกาลวิมุตติด้วย ปัจจัยนี้ท่านจึงเรียกว่า ปัจจัยมหาประเทศ เพราะเนื้อความและองค์ธรรมของอุปนิสสยปัจจัยนี้ มีเนื่องอยู่ในปัจจัยทั้งปวง คือเป็นที่อาศัยของปัจจัยทั้งหลาย ความสำคัญที่จะต้องอาศัยอุปนิสสยปัจจัยนั้น

    ท่านอุปมาว่าเหมือนแผ่นดินกับน้ำฝน และอุตุ ทั้ง ๓ อย่างนี้ ย่อมเป็นที่อาศัยอันสำคัญของสัตว์โลกที่ต้องอาศัยแผ่นดินอยู่ ถ้าสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน ๓ อย่างนี้ไม่มี สัตว์ทั้งหลายก็ไม่สามารถจะอยู่ได้ แม้ปัจจัยทั้งหลายก็เช่นกัน ถ้าไม่มีอุปนิสสยปัจจัยเกิดขึ้นก่อน ปัจจัยทั้งหลายก็ไม่มี เช่น อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย ถ้าอวิชชาไม่มีแล้ว สังขารก็ไม่เกิด ปัจจัยทั้งหลายก็ไม่มี เพราะไม่มีอุปนิสสยปัจจัย

    หรืออีกนัยหนึ่งท่านอุปมาว่า เหมือนกับคนขึ้นบันไดไปสู่ชั้นบนก็ต้องใช้ไม้เท้ายันกายขึ้นไป แต่ความสำคัญที่ทำให้ขึ้นไปได้เพราะมีขั้นบันได ขั้นบันไดจึงเปรียบเหมือนเป็นอุปนิสสยปัจจัย คือเป็นเครื่องอาศัยที่สำคัญที่จะนำคนแก่ให้ขึ้นไปสู่ขั้นบันได ส่วนไม้เท้าที่ช่วยยันกายนั้นเป็นนิสสยปัจจัยมีความสำคัญน้อยกว่า

    หรืออีกนัยหนึ่งท่านอุปมาว่า เหมือนกับคนขึ้นบันไดไปสู่ชั้นบนก็ต้องใช้ไม้เท้ายันกายขึ้นไป แต่ความสำคัญที่ทำให้ขึ้นไปได้เพราะมีขั้นบันได ขั้นบันไดจึงเปรียบเหมือนเป็นอุปนิสสยปัจจัย คือเป็นเครื่องอาศัยที่สำคัญที่จะนำคนแก่ให้ขึ้นไปสู่ขั้นบันได ส่วนไม้เท้าที่ช่วยยันกายนั้นเป็นนิสสยปัจจัยมีความสำคัญน้อยกว่า

    วจนัตถะของอุปนิสสยปัจจัย

    ภุโส นิสฺสโย = อุปนิสฺสโย (ธรรมอันเป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้า ชื่อว่า อุปนิสสย) หรือ

    พลวตโร นิสฺสโยติ = อุปนิสฺสโย (ธรรมอันเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมาก ชื่อว่า อุปนิสสย) หรือ

    อุปนิสฺสยภาเวน อุปการโก ธมฺโม = อุปนิสฺสยปจฺจโย (ธรรมที่เป็นผู้อุปการะโดยความเป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้า ชื่อว่า อุปนิสสยปัจจัย) หรือ

    พลวตรภาเวน อุปการโก ธมฺโม = อุปนิสฺสยปจฺจโย (ธรรมที่เป็นผู้อุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมาก ชื่อว่า อุปนิสสยปัจจัย)

    อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยประเภทนามรูป บัญญัติ เป็นปัจจัยแก่นามรูป เกิดได้ทั้ง ๓ กาลและกาลวิมุตติ

    มีกิจ ๒ อย่างคือ ชนกกิจ และอุปถัมภกกิจ ทำให้เกิดขึ้นด้วย และอุปถัมภ์ผลธรรมนั้นให้ตั้งอยู่หรือให้เป็นไปด้วยดีอีกด้วย

    อุปนิสสยปัจจัยแจกได้ ๓ ปัจจัย คือ อารัมมณูปนิสสยปัจจัย อนันตรูปนิสสยปัจจัย และปกตูปนิสสยปัจจัย

    ๑.) อารัมมณูปนิสสยปัจจัย คือ อารมณ์เป็นที่อาศัยมีกำลังมาก ให้เกิดปัจจยุบบันธรรม หมายความว่า อารมณ์นั้นแรงมาก ชัดเจนมาก หรือหนักหน่วงมาก เป็นปัจจัยให้เกิดจิต เจตสิก เช่น พระนิพพานเป็นอารมณ์แรงกล้าให้เกิดโลกุตตรจิต เป็นต้น องค์ธรรมของอารัมมณูปนิสสยปัจจัยก็เหมือนกับอารัมมณาธิปติปัจจัย ต่างกันที่อารัมมณาธิปติปัจจัยหมายเอาอารมณ์ที่ดีที่พอใจมากเป็นอติอิฏฐารมณ์ จัดว่าเป็นอธิบดีอารมณ์ เหตุนี้องค์ธรรมของปัจจัยทั้ง ๒ จึงไม่ต่างกัน ส่วนที่ต่างกันก็ที่กำลังและความสามารถที่เป็นประธานของปัจจัยนั้น ๆ เท่านั้น

    ความต่างกันของอารมณ์ ๓ อย่าง คือ

    ก.) อารัมมณปัจจัย คือสักแต่ว่าเป็นอารมณ์ทั้งดีและไม่ดี
    ข.) อารัมมณาธิปติปัจจัย คือ เอาแต่เฉพาะอารมณ์ที่ดี ๆ ที่พอใจมากเป็นอติอิฏฐารมณ์
    ค.) การัมมณูปนิสสยปัจจัย คือ เอาอารมณ์ที่สำคัญด้วยและเป็นที่อาศัยมีกำลังมากด้วย


    อารัมมณูปนิสสยปัจจัย จึงไม่ต้องอธิบายซ้ำอีก เพราะเหมือนกับอารัมมณาธิปติปัจจัยทุกประการ ทั้งองค์ธรรม ปัญหาวาระ และสภาคะของปัจจัยซึ่งเป็นประเภทอารัมมณชาติ


    ๒.) อนันตรูปนิสสยปัจจัย คือ ความดับไปของจิตดวงก่อนเป็นปัจจัย มีกำลังมากให้เกิดจิตดวงใหม่ตามลำดับโดยไม่มีระหว่างคั่น องค์ธรรมของอนันตรูปนิสสยปัจจัยก็เหมือนกับอนันตรปัจจัย ส่วนที่ต่างกันคือ กำลังและความสามารถในกิจการงานของปัจจัยนั้น ๆ คือ อนันตรปัจจัยหมายเอาจิตดวงเก่าดับไปเป็นปัจจัยให้เกิดจิตดวงใหม่ตามลำดับโดยไม่มีระหว่างคั่น ส่วนอนันตรูปนิสสยปัจจัย หมายเอาจิตดวงเก่าที่ดับไปนั้นเป็นเหตุมีกำลังยิ่งเพราะสามารถสร้างจิตดวงใหม่ให้เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น อนันตรูปนิสสยปัจจัยก็คือ อนันตรปัจจัยที่มีกำลังนั่นเอง การที่ยกมากล่าวอีกในอุปนิสสยปัจจัย ก็เพื่อจะให้เห็นความสำคัญของอนันตรปัจจัยว่าเป็นปัจจัยที่อาศัยอันสำคัญของสัตว์โลก

    เพราะความเป็นไปของสัตว์โลกนั้นจะเป็นอยู่ได้ ต้องอาศัยสิ่งสำคัญ ๓ ประการ คือ อารมณ์ วิถีจิต กรรม เพราะจิตที่เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยอารมณ์เป็นปัจจัยสำคัญ อารมณ์จึงเป็นปัจจัยให้จิตขึ้นวิถีทำการงาน ทำให้เสพอารมณ์เป็นกุศล อกุศล เป็นกรรม เมื่อมีกรรมก็ต้องรับผลของกรรม


    องค์ธรรมอารัมมณูปนิสสยปัจจัย

    ปัจจัย : อิฏฐนิป. ๑๘ จิต ๘๔ (เว้นโทสะ ๒ โมหะ ๒ ทุกข์กาย ๑) เจ.๔๗ (เว้นโทจตุกะ ๔ วิจิ.๑) นิพพาน

    ปัจจยุบบัน : จิต ๒๘ คือ โลภะ ๘ กุ. ๘ กิ.สํ. ๔ โลกุตตระ ๘ เจ.๔๕ (เว้นโทจตุกะ ๔ วิจิ.๑ อัปป. ๒)

    ปัจจนิก : โลกิยจิต ๘๑ เจ.๕๒ (ขณะที่ไม่ได้ยึดอิฏฐารมณ์) และรูป ๗ หมวด

    ธรรม ๓ อย่าง จึงเป็นที่อาศัยให้สัตว์โลกทั้งหลายท่องเที่ยวไปในวัฏฏะไม่มีที่สิ้นสุด เพราะจิตดวงเก่าดับไปเป็นปัจจัยให้เกิดจิตดวงใหม่ โดยไม่มีระหว่างคั่น ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัยและอนันตรูปนิสสยปัจจัย ปัจจัยทั้งสองจึงเป็นปัจจัยสร้างสังสารวัฏฏ์ให้เกิดติดต่อกันไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าตราบใดยังไม่ถึงจุติจิตพระอรหันต์ ปัจจัยทั้งสองนี้ก็สร้างสังสารวัฏฏ์เรื่อยไป อนันตรูปนิสสยปัจจัยเหมือนกับอนันตรปัจจัย จึงไม่ต้องอธิบายซ้ำอีก

    ๓.) ปกตูปนิสสยปัจจัย คือ อุปนิสัยที่เป็นปกติตามสภาวะของตน หมายความว่า ปัจจัยเป็นที่อาศัยอันมั่นคงเป็นปกติให้เกิดผล คือปัจจยุบบันธรรม ปกตูปนิสสยปัจจัยเป็นปัจจัยที่กว้างขวางมาก เพราะไม่ว่าธรรมอะไร ๆ ที่มีอยู่ในโลก ล้วนนับเนื่องอยู่ในปกตูปนิสสยปัจจัยทั้งนั้น อำนาจของปกตูปนิสสยปัจจัย จึงทำให้อุปนิสสยปัจจัยได้ชื่อว่าเป็นปัจจัยมหาประเทศ

    คำว่า “เหตุธรรม” ให้เกิดอุปนิสสยปัจจัย ตามความหมายของวจนัตถะนั้นมี ๒ อย่าง คือ อุปปาทิตเหตุ กับ อุปเสวิตเหตุ

    อุปปาทิตเหตุ คือเหตุธรรมที่ตนได้กระทำแล้วด้วยตนเอง เช่น เคยทำบาป ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ หรือทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น เหตุที่ตนได้ทำแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้ทำเหตุนั้น ๆ อีกเพราะความชำนาญด้วยอำนาจปกตูปนิสสยปัจจัย

    ส่วนอุปเสวิตเหตุ คือเหตุธรรมที่ผู้อื่นได้กระทำแล้ว เป็นปัจจัยให้ตนกระทำตาม เช่น เห็นคนอื่นฉ้อโกงแล้วร่ำรวย ก็คิดว่าดีจึงทำตามบ้าง หรือเห็นผู้อื่นให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสจึงทำตามบ้าง อุปเสวิตเหตุ คือ เหตุที่เข้าไปคบกับคนอื่น ทำให้ถ่ายทอดนิสัยของคนนั้นมาสู่ตน ก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย

    ++++
     
  10. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,995

    เอาน่าๆๆๆ

    ฟังเพลง ล่อ เจตสิก กระดุ้กกระดิ้ก ขยิกหัวใจเล่นๆ

    ปล. ข้อธรรมข้าอ่านทุกข้อนะอ้ายนะ ที่ลงนี้ ไม่ใช่ ก้อปมาแปะและเลยผ่าน ข้าอ่านนะอ้ายนะ


     
  11. เพลงพรายพิญ

    เพลงพรายพิญ The Myth 2077

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +1,995
    ปกตูปนิสสยปัจจัย

    จึงมีธรรมกว้างขวางมากกว่าปัจจัยอื่น ๆ ทั้งปัจจัยและปัจจยุบบันธรรม คำว่ากว้างขวางในปัจจัยนี้ หมายถึงเป็นปัจจัยได้โดยประการต่าง ๆ มากมาย เช่น อุตุ ความเย็น ความร้อน โภชนะ อาหารต่าง ๆ เสนาสนะ ที่อยู่ ที่อาศัย เครื่องมือเครื่องใช้สอยต่าง ๆ บุคคล มีบิดามารดา ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ ญาติพี่น้อง ธรรมะ มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ ทิฏฐิ มานะ สุข ทุกข์และบัญญัติต่าง ๆ เป็นต้น (เว้นบัญญัติกัมมฐาน) เพราะสิ่งเหล่านี้ได้เคยเสพมาแล้วเป็นปกติ

    จึงเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด กุศล อกุศล อัพยากตะ ได้ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต จนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน เพราะปกตูปนิสสยปัจจัยนี้ เป็นเหตุที่ทำมาแล้วด้วยดีคือ สะสมมาจนเป็นที่อาศัยมีกำลังแรงกล้าเป็นปกติ

    ปกตูปนิสสยปัจจัย ที่เป็นปัจจัยกว้างขวางมากก็เพราะแสดงได้ทั้งอภิธรรมนัย และสุตตันตนัย โดยอภิธรรมนัยนั้น ธรรมที่เป็นปัจจัยสามารถเป็นอุการะให้แก่นามธรรมได้อย่างเดียว เช่น ศรัทธา เป็นปัจจัยให้เกิดทาน ศีล ภาวนา ซึ่งเป็นนามธรรม หรือความเย็น ความร้อน เป็นปัจจัยให้เกิดสุขกาย ทุกข์กาย เป็นปัจจัยโดยตรงตามเหตุผลของสภาวะ

    ถ้าโดยสุตตันตนัย (พระสูตร) ธรรมที่เป็นปัจจัยสามารถช่วยอุปการะได้ทั้งนามและรูป เป็นปัจจัยโดยอ้อม เช่นดิน น้ำ อากาศ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ต้นไม้ หรือเครื่องจักรเป็นอุปการะแก่ยานยนต์ หรือปากกา ดินสอ แท่นพิมพ์ เป็นอุปการะแก่ตัวหนังสือต่าง ๆ หรือไฟเป็นอุปการะให้เกิดแสงสว่างให้เกิดสุขกาย ทุกข์กาย ก็ได้ ด้วยอำนาจปกตูปนิสสยปัจจัย

    ปกตูปนิสสยปัจจัย เมื่อว่าโดยชาติเป็น
    สุทธปกตูปนิสสยชาติ และมิสสกปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมชาติ

    สุทธปกตูปนิสสยชาติ คือ จิต เจตสิก รูป บัญญัติต่าง ๆ (เว้นบัญญัติกัมมฐาน) ที่มีกำลังมากที่เกิดก่อน ๆ รวมทั้งมัคคเจตนาด้วยเป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดจิต เจตสิก ดวงหลัง ๆ หมายความว่ากรรมที่เคยทำไว้แล้วเป็นปัจจัยให้ทำกรรมใหม่ เช่น กุศลที่เกิดก่อน ๆ > กุศลที่เกิดหลัง ๆ เป็นต้น

    ส่วนมิสสกปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมชาติ คือ กุศล อกุศลที่มีกำลังมาก (เว้นมัคคเจตนา) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิบากนามขันธ์ เช่น มัคคจิต > ผลจิต โดยเป็นอนันตรูปนิสสยะ จึงต้องเว้นมัคคเจตนาเพราะปกตูปนิสสยปัจจัย ต้องไม่เกี่ยวข้องด้วยอารัมมณูปนิสสยะและอนันตรูปนิสสย ปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นประเภท นาม รูป บัญญัติ > นาม รูป เกิดได้ทั้ง ๓ กาล และกาลวิมุตติ มีกิจเดียวคือชนกกิจทำให้เกิดขึ้น

    องค์ธรรมปกตูปนิสสยปัจจัย

    ปัจจัย : จิต ๘๙ เจ.๕๒ รูป ๒๘ ที่เป็นไปในกาล ๓ คือ อดีต อนาคต ปัจจุบัน และการวิมุตติ บัญญัติต่าง ๆ มีอัตถบัญญัติ เป็นต้น (เว้นบัญญัติกัมมฐาน) หรือ จิต ๘๙ เจ.๕๒ ที่มีกำลังมากที่เกิดก่อน ๆ

    ปัจจยุบบัน : จิต ๘๙ เจ.๕๒ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันกาล หรือที่เกิดหลัง ๆ โดยอภิธรรมนัย ถ้าโดยสุตตันตนัยก็เพิ่มรูปตามสมควร

    ปัจจนิก : รูป ๗ หมวด


    พระบาลีนิทเทสอุปนิสสยปัจจัย

    ๑.) ปุริมา ปุริมา กุสลา ธมฺมา ปจฺฉิมานํ ปจฺฉิมานํ กุสลานํ ธมฺมานํ อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย (กุศลธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอุปนิสสยปัจจัย)

    กุ. ๒๐ เจ.๓๘ (เว้นอรหัตตมัค) > กุ. ๒๑ เจ.๓๘

    ๒.) ปุริมา ปุริมา กุสลา ธมฺมา ปจฺฉิมานํ ปจฺฉิมานํ อกุสลานํ ธมฺมานํ เกสญฺจิ อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย (กุศลธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอุปนิสสยปัจจัย ได้บางปัจจัย)

    โลกิยกุ. ๑๗ เจ.๓๘ > อกุ. ๑๒ เจ.๒๗

    ๓.) ปุริมา ปุริมา กุสลา ธมฺมา ปจฺฉิมานํ ปจฺฉิมานํ อพฺยากตานํ ธมฺมานํ อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย (กุศลธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอุปนิสสยปัจจัย)
    กุ. ๒๑ เจ.๓๘ > อัพ. ๕๖ เจ.๓๘

    ๔.) ปุริมา ปุริมา อกุสลา ธมฺมา ปจฺฉิมานํ ปจฺฉิมานํ อกุสลานํ ธมฺมานํ อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย (อกุศลธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอุปนิสสยปัจจัย)
    อกุ. ๑๒ เจ.๒๗ > อกุ. ๑๒ เจ.๒๗

    ๕.) ปุริมา ปุริมา อกุสลา ธมฺมา ปจฺฉิมานํ ปจฺฉิมานํ กุสลานํ ธมฺมานํ เกสญฺจิ อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย (อกุศลธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอุปนิสสยปัจจัย ได้บางปัจจัย)

    อกุ. ๑๒ เจ.๒๗ > กุ. ๒๑ เจ.๓๘

    ๖.) ปุริมา ปุริมา อกุสลา ธมฺมา ปจฺฉิมานํ ปจฺฉิมานํ อพฺยากตานํ ธมฺมานํ เกสญฺจิ อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย (อกุศลธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอุปนิสสยปัจจัย ได้บางปัจจัย)

    อกุ. ๑๒ เจ.๒๗ > อัพ. ๕๖ เจ.๓๘

    ๗.) ปุริมา ปุริมา อพฺยากตา ธมฺมา ปจฺฉิมานํ ปจฺฉิมานํ อพฺยากตานํ ธมฺมานํ อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย (อัพยากตธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอุปนิสสยปัจจัย)

    อัพ. ๕๖ เจ.๓๘ รูป ๒๘ นิพ. > อัพ. ๕๖ เจ.๓๘

    ๘.) ปุริมา ปุริมา อพฺยากตา ธมฺมา ปจฺฉิมานํ ปจฺฉิมานํ กุสลานํ ธมฺมานํ อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย (อัพยากตธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอุปนิสสยปัจจัย)

    อัพ. ๕๕ (เว้นอรหัตตผล) เจ.๓๘ รูป ๒๘ นิพ. > กุ. ๒๑ เจ.๓๘

    ๙.) ปุริมา ปุริมา อพฺยากตา ธมฺมา ปจฺฉิมานํ ปจฺฉิมานํ อกุสลานํ ธมฺมานํ อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย (อัพยากตธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอุปนิสสยปัจจัย)

    อัพ. ๕๒ (เว้นผลจิต ๔) เจ.๓๕ รูป ๒๘ > อกุ. ๑๒ เจ.๒๗

    ๑๐.) อุตุโภชนมฺปิ อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย
    ๑๑.) ปุคฺคโลปิ อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย
    ๑๒.) เสนาสนํปิ อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย

    ข้อ ๑๐ – ๑๑ – ๑๒ แปลว่า แม้อุตุ แม้โภชนะ แม้บุคคล แม้เสนาสนะ ก็เป็นปัจจัยแก่จิต เจตสิกได้ โดยอุปนิสสยปัจจัย

    พระบาลีนิทเทสในข้อ ๒ ข้อ ๕ และข้อ ๖ ที่มีคำว่า เกสญฺจิ หมายความว่า องค์ธรรมที่เป็นปัจจัยและปัจจยุบบันใน ๓ ข้อนั้น เป็นไม่ได้ครบทั้ง ๓ ปัจจัย คือ

    ข้อ ๒ เป็นได้เฉพาะอารัมมณูปนิสสย และปกตูปนิสสยปัจจัย

    ส่วนข้อ ๕ เป็นได้เฉพาะปกตูปนิสสยปัจจัยเท่านั้น
    และข้อ ๖ เป็นได้ทั้งอนันตรูปนิสสยปัจจัย และปกตูปนิสสยปัจจัย

    อารัมมณูปนิสสยปัจจัย เช่น ให้ทาน รักษาศีล รักษาอุโบสถ แล้วนึกถึงกุศลเหล่านั้นเกิดโสมนัสอย่างแรงกล้า

    อนันตรูปนิสสยปัจจัย เช่น กุศลชวนะดวงที่ ๑ ที่ดับไปแล้วเป็นที่อาศัยมีกำลังมากให้เกิดกุศลชวนะดวงที่ ๒ เป็นต้น

    ปกตูปนิสสยปัจจัย เช่น อาศัยศรัทธาของตนเองก็ได้ หรืออาศัยศรัทธาของคนอื่นเป็นปัจจัยให้ทำกุศลเพิ่มขึ้น เป็นต้น

    อารัมมณูปนิสสยปัจจัย เช่น ให้ทาน รักษาศีล แล้วเกิดโสมนัสอย่างแรงกล้าเป็นปัจจัยให้เกิดราคะ ยินดีพอใจในความสุข ให้เกิดมานะคิดว่าตนทำมากกว่าคนอื่น ให้เกิดทิฏฐิคิดว่าจะได้ไปเกิดในสวรรค์มีความสุข แต่ความจริงการไปเกิดอีกเป็นทุกข์

    ปกตูปนิสสยปัจจัย เช่น ทำบุญแล้วได้ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เป็นปัจจัยให้เกิดราคะ มานะ ทิฏฐิ ทำบุญแล้วเหนื่อยหรือไม่พอใจ เป็นปัจจัยให้เกิดโทสะ ทำบุญแล้วคิดฟุ้งซ่านว่าเขาจะเอาไปทำจริงหรือเปล่า เป็นปัจจัยให้เกิดโมหะ

    อารัมมณูปนิสสยปัจจัย เช่น พระอรหันต์ออกจากมัคแล้วพิจารณามัคอย่างหนักหน่วงด้วยมหากิริยา

    อนันตรูปนิสสยปัจจัย เช่น มัคคจิตเป็นปัจจัยแก่ผลจิตในชวนะเดียวกัน

    ปกตูปนิสสยปัจจัย เช่น อาศัยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยให้เกิดสุขกาย ทุกข์กาย หรือ กุศลกรรมเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลวิบากก็ได้

    อารัมมณูปนิสสยปัจจัย เช่น พอใจในของสวย ๆ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความพอใจยิ่งขึ้น คือ โลภะที่มีกำลังแรงเป็นปัจจัยให้เกิดโลภะ (แต่เป็นคนละวิถี)

    อนันตรูปนิสสยปัจจัย เช่น อกุศลชวนะดวงที่ ๑ ที่ดับไปแล้ว เป็นที่อาศัยมีกำลังมาก เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลชวนะดวงที่ ๒ เป็นต้น

    ปกตูปนิสสยปัจจัย เช่น อาศัยราคะ ความยินดี ความสนุกสนาน ทำให้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ล่วงกาม มุสา เสพสุราของมึนเมา เป็นต้น

    ปกตูปนิสสยปัจจัย เช่น ฆ่าสัตว์แล้วก็เอาไปทำบุญ หรือทำบาปแล้วกลัวจะต้องไปอบายก็เป็นปัจจัยให้ทำบุญ มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิ เจริญปัญญา ให้เกิดฌาน เกิดมัคได้ แต่ถ้าทำอนันตริยกรรมก็เป็นปัจจัยให้เกิดฌาน มัคไม่ได้

    ที่เป็นอารัมมณูปนิสสยไม่ได้ เพราะกุศล ย่อมไม่รับเอาอกุศลเป็นอารมณ์อย่างแรง และเป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัยไม่ได้ เพราะเป็นชวนะต่างชาติกัน

    อนันตรูปนิสสยปัจจัย เช่น อกุศลชวนะที่ดับไปแล้วเป็นที่อาศัยที่มีกำลังแรงให้เกิดตทาลัมพนะ ให้เกิดวิบากคือภวังค์ได้

    ปกตูปนิสสยปัจจัย เช่น อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลวิบากโดยตรง หรือราคะ โทสะ โมหะ เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์กาย สุขกายก็ได้
    ที่เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัยไม่ได้ เพราะมหากิริยาจะเอาโลภะเป็นอารมณ์อย่างแรงไม่ได้

    อารัมมณูปนิสสยปัจจัย เช่น พระอรหันต์พิจารณาอรหัตตผล และพระนิพพานเป็นอารมณ์อย่างหนักหน่วงด้วยมหากิริยา
    ปกตูปนิสสยปัจจัย เช่น สุขกาย ทุกข์กาย ความเย็น ความร้อน อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ที่อาศัย เป็นปัจจัยให้เกิดสุขกาย ทุกข์กาย และผลสมาบัติ

    อารัมมณูปนิสสยปัจจัย เช่น พระเสกขบุคคล พิจารณาผลจิตและพระนิพพานเป็นอารมณ์อย่างหนักหน่วง ด้วยมหากุศล

    อนันตรูปนิสสยปัจจัย เช่น โวฏฐัพพนะหรือมโนทวาราวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่กุศลชวนะดวงที่ ๑

    ปกตูปนิสสยปัจจัย เช่น อาศัยสุขกาย ทุกข์กาย แล้วเจริญกุศล มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา (ที่เว้นอรหัตตผล เพราะเป็นปัจจัยแก่กุศลไม่ได้)

    อารัมมณูปนิสสยปัจจัย เช่น อาศัยความพอใจในจักขุปสาท ฯลฯ กายปสาท หทยวัตถุ และรูปารมณ์ ฯลฯ โผฏฐัพพารมณ์ เป็นอารมณ์อย่างหนักหน่วง เป็นปัจจัยให้เกิดราคะ ทิฏฐิ เป็นต้น

    อนันตรูปนิสสยปัจจัย เช่น อาวัชชนะเป็นปัจจัยแก่อกุศลชวนะดวงที่ ๑

    ปกตูปนิสสยปัจจัย เช่น อาศัย สุขกาย ทุกข์กาย อุตุ อาหาร เสนาสนะ บุคคล เป็นปัจจัยให้ทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ หรือเป็นปัจจัยให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ (ที่เว้นผลจิต เพราะเป็นจิตที่ประเสริฐเหนือโลก อกุศลไม่สามารถรับเอาผลจิตเป็นอารมณ์ได้)

    ส่วนข้อ ๑๐ – ๑๑ – ๑๒ มีอุตุ อาหาร บุคคล เสนาสนะ เป็นปัจจัยให้เกิด กุศล อกุศล อัพยากตะได้โดยปกตูปนิสสยปัจจัยเดียว เช่นอาศัยกัลยาณมิตร ก็เป็นปัจจัยให้เกิดกุศล อาศัยปาปมิตร ก็เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศล อาศัยอาหารก็เป็นปัจจัยให้รูปร่างกายแข็งแรงเป็นต้น



     
  12. อณูธาตุ

    อณูธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +195
    ขอบคุณเนื้อหาธรรมะ ไม่ทราบเป็นธรรมแต่งเพิ่มหรือเปล่าครับ มีข้อแย้งหลายจุดครับ
     
  13. ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ

    ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    6,005
    ค่าพลัง:
    +8,391
    ท่านเหล่านี้เป็นอาจารย์เราเอง..ท่านอณูธาตุ..ร้ายกาจทั้งนั้นเรื่องข้ออรรถข้อธรรม...แถมถอดกายใน...มีอภิญญากันแทบทุกคนเลย...
     
  14. คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ

    คนชอบใส่ร้ายโดนธรณีสูบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +908


    นี้เป็นลิ้งวีดีโอสำหรับผู้ปราถนาพระโพธิญาณทุกท่านนะคะ ในการนำกังลังใจต่อสู้กับอุปสรรค ไม่ว่าจะคน สัตว์ สิ่งของ วีดีโอนี้เป็นแบบอย่างการปฏิบัติธรรมแบบแนวพระโพธิสัตว์ได้ดี

    และสำหรับคนที่ต้องการลาพระโพธิญาณ หลวงพ่อก็แนะนำไว้ในวีดีโอนี้ทั้งหมด ว่าต้องทำอย่างไร หลวงพ่อเล่าถึงประสบการณ์ที่ต้องหักใจลาพระโพธิญาณ เพราะต้องเจอกับคนประเภทไหนบ้าง
    ใครที่สนใจอยากลดกำลังใจเหลือแค่สาวกภูมิลองฟังดูนะคะ

    เป็นกำลังใจให้พุทธภูมิทุกท่านค่ะ ^___^
     
  15. zalievan

    zalievan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    3,264
    ค่าพลัง:
    +5,219
    images457.jpeg
    เมื่อแมวอ่านคำบาลีจัด ๆ..... คร่อกกกกกกกก

    ถ้าอยากเข้าใจพระไตรปิฎกมากกว่านี้คงต้องศึกษาบาลี กับข้อธรรมยิบย่อยเยอะแยะแน่เลย
     
  16. อณูธาตุ

    อณูธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +195
    อย่ากล่าวว่าเป็นอาจารย์เลยท่านสงบ เดี๋ยวเป็นเป้าคุณไสย 555 เอาเป็นว่าแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็แล้วกัน ครับ
    --------------
    ขออนุญาติแสดงความเห็นครับ
    อนันตระ แปลว่า ไม่มีช่องว่างในระหว่าง ไม่มีอะไรมาคั่น
    พจนานุกรมแปลว่า ไม่มีระหว่าง, ติดต่อกันเรื่อยไป, ไม่จบสิ้น.
    อนันตรปัจจัย หมายความว่า จิตเจตสิกที่เกิดขึ้นก่อน เป็นปัจจัยให้จิตเจตสิกที่เกิดหลังๆ เกิดขึ้น
    สืบต่อกับจิตดวงก่อนโดยไม่มีอะไรมาคั่น

    ตอบสิ่งที่มีการเกิดดับ ย่อมมีช่องว่างคั่นอยู่ จิตสังขารเกิดดับได้ทีละดวงเหลื่อมเวลากันไม่ได้ จิตดวงแรกต้องดับก่อนจิตดวงสองถึงจะเกิดได้
    --------------
    ๖.สหชาตปัจจัย

    อุปมาเหมือน ดวงไฟกับแสงไฟ ซึ่งเมื่อมีดวงไฟเกิดขึ้นแล้ว
    แสงไฟก็ย่อมเกิดขึ้นด้วย จะว่าดวงไฟเกิดก่อน แสงไฟเกิดทีหลังก็ไม่ใช่
    เพราะดวงไฟกับแสงไฟนั้นย่อมเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ในที่นี้ดวงไฟเป็นปัจจัย
    ช่วยอุดหนุนแก่แสงไฟซึ่งเกิดพร้อมกับดวงไฟนั้น
    ตอบ แสงก็ใช้เวลาในการเดินทาง จะเกิดพร้อมกันย่อมมิได้ สเปชฟิลล์ย่อมมิ

    การที่บอกจิตแรกเป็นปัจจัยแก่จิตดวงสองก็ได้อยู่ แต่ไม่ใช่พลังงานหล่อเลี้ยงแน่ เปรียบดังหลอดไฟ ใส้หลอดเป็นปัจจัยให้เกิดแสงสว่าง ก็จริงแต่ไม่ใช่พลังงานที่ทำให้เกิดแสงสว่าง ต้องมีแหล่งจ่ายไฟถึงจะสว่างต่อเนื่องได้
     
  17. ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ

    ผู้ไม่มีตัวตนรู้เราสงบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2018
    โพสต์:
    6,005
    ค่าพลัง:
    +8,391
    ขอบคุณมาก...สักวันเราต้องได้พบเจอกัน...แน่นอน..
     
  18. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    แสดงความเห็นมัง

    ดวงจิตเหมือนดวงอาทิตย์
    เปล่งแสงได้โดยตัวมันเอง
     
  19. อณูธาตุ

    อณูธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +195
    ครับจิตมีสองลักษณะ ปรุงกับไม่ปรุง ไม่ปรุงอยู่ในรูปมโธาตุ ปรุงอยู่ในรูปจิตสังขาร เป็นดวงๆแบบในอภิธรรมแหละ
     
  20. 00000

    00000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +1,434
     

แชร์หน้านี้

Loading...