นั่งสมาธิแล้วท้องร้อง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย pitra, 30 พฤษภาคม 2017.

  1. pitra

    pitra สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2017
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +31
    มีใครเคยเป็นบ้าง 1. พอนั่งสมาธิ นิ่ง ๆ สงบๆ ได้ยินเสียง ดังเป็นจังหวะ เหมือนอะไรเคาะกัน เป็นมาสองสามวันแล้ว ถ้าไม่นั่งสมาธิไม่เป็น พอนั่งจะเริ่มได้ยินเสียงท้อง คิดว่าเสียงในท้อง บางทีก็เหมือนนอกท้อง เพราะเราไม่ได้รู้สึกหิว
    บางทีเป็นจัฃหวะ บางทีก็ไม่เป็น
    2. นอกจากท้องแล้ว นั่งไปพอภาวนาหาย ลมหายใจเบาลง แขนมือขยับไม่ได้(มันหนักมันติด) บางทีก็ไม่ได้รู้สึกอะไรที่จมูก แต่จะมียุบพองที่เหนือสะดือ พอมาถึงประมาณนี้มันไม่รู้คิดอะไร คิดมั่ว เหมือนฟุ้งซ่าน ทั้ง ๆที่ตอนเริ่มนั่งไม่เคยฟุ้งซ่านเลย พออธิฐานเสร็จ หายใจเข้าออก ยาวๆ สามครั้ง จิตก็นิ่ง ลงไปตามปกติ ไม่มีขั้นตอนฟุ้งซ่าน ทำไมถึงไปฟุ้งซ่านตอนนิ่ง คิดอะไรก็ไม่รู้ ต้องกลับมาที่พุทธโธใหม่ ออกจากสมาธอแล้วก็จำไม่เคยได้ว่าคิดอะไร
    อาการนี้เป็นมาระยะหนึ่งแล้ว
    แก้ไขยังงัยคะ ท่านผู้รู้
    เรื่องความง่วง ความปวด เราไม่เคยมี หรือความหิวตอนนั่งไม่มี
    แต่ตอนนี้ มีแต่ความฟุ้งซ่าน
    กรุณาช่วยชี้ทางเป็นธรรมทานหน่อยค่ะ
    อนุโมทนาค่ะ. สาธุ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การภาวนา จะต้องหาทางโน้มไปสู่ โพชฌงค์

    การวางจิตให้น้อมไปโพชฌงค์ จะต้อง ชำเลือง

    เน้นว่า ชำเลือง คืออย่าไปควานหาตรงๆ

    สิ่งที่ควรใส่ใจชำเลืองให้แยบคาย คือ ปิติ

    ความฝุ้งทางความคิดเกิด แล้ว ปิติ อันเกิดจาก
    จิตสงัด สละ ห่างออกจาก ความคิด มาอยู่
    อึกฝาก มีไหม

    ถ้าจิตมันแยกรูป แยกนาม ปิติจะปรากฏ

    ปิติ ปรากฏที่ไหน จะมี นามกาย สัมผัสรับ
    รู้อยู่

    จิตที่สัมผัสรับรู้ปิติอยู่ จะเหมือนมันห่างออก
    จากสาสสวะ(เหนความคิด) ความคิดจึงเกิด
    แบ้วก้ดับไปจากจิต ไม่ฉวยขึ้นมา จึงสลัด
    ออก เหมือนจำไม่ได้

    ถ้าเปนเจโตวิมุตติ จะเหนเปนภาพ จำนวนมาก
    ผ่านหน้าบ้านไป ไม่เชิญเข้ามาประทับจิต

    ถ้าเหนปิติ แล้วไม่จงใจจ้อง หรือ ดำริหา
    ด้วยความอยากมี อยากภาวนาเปน ปิตินั้น
    จะเกิดดับด้วย ร่อนออกด้วย เรียกว่าแยก
    จิตออกจากเวทนา ถ้าจงใจเกินไปจะเกิดสุข

    ถ้าชำเลืองถูกต้อง จะเปน ปัสสัทธิ

    ถ้าเปนปัสสัทธิ ปล่อยจิต ไปเลย มันจะมี
    อะไรผ่านยิบๆ แย้บๆ สว่าง มืด จ้า หรือ
    ครอก มันจะเกิดจิตแยก เกิดธรรมวิจัยยะ

    พอรู้รส ธรรมสิจัยยะ ก้ทำการรู้

    ความสงบมีสองอย่าง

    การน้อมจิตไปในอารมณ์เดียว เรียก สมถะ
    หรือ อารัมณูปณิชฌาณ

    กับ

    จิตน้อมไปในโพชฌงค์ มีการเหน กาย เวทนา
    จิต ธรรม จำนวนมากไหลผ่านหน้าบ้าน ไม่ฉวย
    ขึ้นมา เรียก จิตตั้งมั่น เรียกวิปัสสนา เรียก
    ลักขณูปณิชฌาณ

    หมั่นบริหาร สมถะ และ วิปัสสนา ให้ถูกสมัย

    สมถะนำบ้าง

    วิปัสสนานำบ้าง

    ควบกันไปบ้าง

    ถูกขวางด้วยความฝุ้ง(แต่ไม่ฉวยขึ้นมา)เพราะ
    กำลังในการแหวก ภวสวะ สาสวะ อนาสวะ
    ยังอบรมไม่ถึงฐานแห่งการงานบ้าง

    ตามเหนจิต มันมีปฏิปทาหลากหลาย เหล่านี้
    ให้เกิดความห่างออกมา อีกชั้นนึง

    ก้จะทราบเองว่า จิตนี้ หมั่นสดับ สิ่งไรอยู่

    ถ้าซื่อจนเซ่อ จะไม่เหน โยนิโสมนสิการ
    มีแต่ อโยนิโสมนาการ ตามเหนธรรมแม้น
    นี้เกิดดับอีก

    ที่เหลือแล้วแต่จะ พยากรณ์ตน ไม่ต้องถามใครอีก
     
  3. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ความหมาย
    และความเป็นไปของมติของครูบาอาจารย์ที่กล่าวมาแล้วนี้
    จุดมุ่งหมาย อยู่ที่จุดเดียว คือ ความเป็นตรงกัน
    แต่เมื่อท่านพูด ท่านใช้ โวหาร คนละอย่าง

    หลวงปู่เสาร์ว่า จิตข้าไม่สงบมีแต่ความคิด
    หลวงปู่มั่น ฐีติภูตัง
    หลวงปู่ฝั่้น อย่าปล่อยให้จิตว่าง
    หลวงปู่เทศก์ สมาธิในฌานมันโง่ สมาธิในอริยะมรรคมันฉลาด
    หลวงปู่มหาบัว ปัญญาอบรมสมาธิ

    ความหมาย มันก็คือ อันเดียวกันนั้นเอง แต่ท่านใช้ภาษาคนละภาษา

    อันนี้ โอวาท ของครูบาอาจารย์ ดังที่กล่าวมานี่

    นักปฏิบัติ ควรจะได้นำไปพิจารณา ได้จดจำดำเนิน ตามปฏิปทาของท่าน


    อ่านต่อที่นี่ http://palungjit.org/threads/การปฏิบัติภาวนาจิต-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.522295/
     
  4. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +165
    ก็เป็นไปได้ว่าในระหว่างที่อยู่ในสมาธิ เนื่องจากมันสงบขึ้น อะไรๆมันก็จะชัดเจนขึ้น เช่น ได้ยินเสียงของลมหายใจคุณ ทั้งๆที่ตอนไม่ได้ทำสมาธิไม่ได้ยิน ... รู้สึกได้ถึงอาการคันเล็กๆน้อยๆที่โน่นที่นี่ ทั้งที่ตอนไม่ได้ทำสมาธิ ไม่รู้สึก (ไม่ได้สังเกตุเห็น) .. อย่างในกรณีของคุณ เสียงท้องร้องก็อาจเป็นเรื่องปกติ .. แต่ปัญหามันมาติดตรงที่ว่า พอจิตคุณเริ่มสังเกตุเห็ เสียงท้องร้อง จิตคุณก็ไปติดอยู่ตรงนั้น อาจจะเนื่องมาจากความสงสัยนั่นเอง... พอไปเรื่อยๆ มันก็กลายเป็นความเคยชิน.. เอ๊ะวันนี้เราทำจะได้ยินเสียงท้องร้องไหม ตอนนี้มีเสียงหรือยัง จังหวะเหมือนเมื่อวานไหม.... สรุปจิตก็จะติดอยู่ตรงนี้ ทำให้ทำสมาธิไม่ก้าวหน้า...

    ถอยออกมาครับ.. ตัวสงสัยนี้น่ากลัวมาก... อย่าปล่อยไปมากกว่านี้ ไม่งั้นไปไม่ถึงไหน...

    เหมือนกับที่หลวงปู่มั่นสอนพวกมีความรู้มากว่า ให้เก็บตำราไปก่อน... สาเหตุก็มาจากตรงนี้แหละ รู้มากก็สงสัยมาก เอ๊ะจิตมีอาการแบบนี้ตามตำราหรือยัง จิตเป็นอย่างนั้นอย่างที่ตำราบอกหรือยัง..สรุปมันก็ไปไม่ถึงไหน เพราะมัวแต่สงสัย..

    ปล่อยวางครับ.. เสียงไม่ทำให้จิตรวมเป็นสมาธิได้ ดังนั้นไม่มีความจำเป็นต้องสนใจมัน
     
  5. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +165
    อย่างข้อ 2..ลมหายใจละเอียดขึ้นก็เป็นเรื่องปกติครับ และความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นกับร่างกายก็เกิดขึ้นได้ตามปกติ...

    แม้แต่ความฟุ้งซ่านของจิตก็ยังเป็นปกติ ... ที่จำไม่ได้ว่าคิดอะไรไปบ้างก็ปกติอีก สาเหตุของจิตฟุ้งซ่านกับจำสิ่งที่ตัวเองคิดไม่ได้นั่นเพราะคุณยังมีกำลัง สติไม่พอ..

    ผมเคยเขียนกระทู้เกี่ยวกับการทำสมาธิ ถ้าสนใจก็อ่านดูครับ ถ้าไม่สนก็ปล่อยผ่านครับ..
    http://palungjit.org/threads/วิธีทำสมถสมาธิแบบเรียบง่าย.611243/
     
  6. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อ
    เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อ
    เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่
    ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะ
    ดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่นลง
    ในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับกองไฟกองใหญ่นั้นได้หรือหนอ?
    “ได้พระเจ้าข้า ! ”
    ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นเป็ น
    กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็น
    กาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่าน
    จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุ ท.! เรากล่าว
    “สติ” แลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด
    เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงบใจมีอยู่ การ
    กระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในความสงบใจนั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด
    เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
     
  7. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,424
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ไม่ว่าเสียง แสง สี ภาพ สัมผัสทางกายอะไรต่างๆก็ตามนะครับ
    เมื่อจิตเราเริ่มสงบ การรับรู้ย่อมดีกว่าปกติครับ
    เช่น เสียงนาฬิกาเดิน ปกติเราไม่ค่อยได้ยิน
    แต่พอเราจะนอน มีสมาธิหน่อย เราได้ยินชัดเป็นต้น...


    ถ้าเกี่ยวกับเรื่องเสียงนะครับ ให้จำเอาไว้ว่า
    ถ้าเราอยากจะพัฒนานะครับ

    ไม่ว่าจะได้ยินเสียงอะไร เช่น เสียงเป็นเส้นตรงที่หูขวา
    เสียงเคาะวัตถุไกลๆแต่เราได้ยินเหมือนอยู่ใกล้ๆ
    เสียงเรียก เสียงคุย ไกลๆ แต่เราได้ยินและไม่รู้พิกัด
    เสียงที่ผุดกลางแกนกระโหลกศรีษะ เสียงที่ผุดตรงลิ้นปี่
    เสียงที่ผุดกลางแกนกระโหลกศรีษะเยื้องขวาเล็กน้อย
    เสียงเรียกด้านหลังศรีษะ เสียงเรียกมุมสูงด้านขวา
    เสียงเรียกไม่ค่อยมีแรงด้านซ้าย เสียงคล้ายมนุษย์ด้านขวา
    ระดับเดียวกับหูห่างเรา ๑ ถึง ๒ เมตร เสียงเหมือนฝ่าฟ้าดังมาก
    เสียงสวดมนต์ที่ไม่ใช่ภาษามนุษย์
    เสียงสัตว์เอาอวัยวะกระทบกันแล้วดันรู้ว่ามันคุยว่าอะไร
    เสียงหัวใจเต้น เสียงปอด เสียงน้ำย่อย หรือเสียงอะไร
    ก็ตามในร่างกาย รวมทั้งเสียงกรนตัวเอง...........
    เสียงดังครั้งเดียวแล้วเงียบไม่มีเอฟเฟก
    หรือดังหลายๆครั้งแล้วนิ่งๆ เสียงสัตว์ต่างๆ





    ถ้าอยากจะพัฒนาให้จำเอาไว้ให้มั่นว่า
    ถ้ามีกิริยาอย่างหนึ่งอย่างใด
    ข้างบนที่กล่าวมา ให้เลิกสนใจทุกๆกรณีครับ
    เพราะที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนเป็นตัวขวาง
    การพัฒนาสมาธิเราได้หมดครับ
    ยิ่งไคร่ไปอยากรู้ หลังจากที่ไม่รู้ ณ เวลาที่สัมผัส
    จะยิ่งทำให้เราพัฒนาต่อช้าครับ
    เพราะจะกลายเป็นกิเลสในการใคร่รู้คำตอบอย่างหนึ่งครับ

    และนอกจากให้เฉยๆเลิกสนใจ(ทำเหมือนไม่มีเหตุ
    การณ์นี้บนดาวโลกของเรา)
    เราก็มาเจริญสติเจริญสมาธิเราต่อไป.....
    เด่วในตัวหนังสือสีน้ำเงินที่กล่าวมา
    ตัวจิตมันจะมีเครื่องย้อนรู้ได้เองอัตโนมัติ
    ของมันเองโดยที่ไม่ต้องไปถามใครครับ...


    ปล.การใช้งานของจิตได้เรื่องเสียง คือเราต้องได้ยิน
    เสียงผีหรือวิญญานคุยกัน
    ชัดเหมือนเราคุยกับคนนี่หละครับ
    เพราะฉนั้น ถ้าเกี่ยวกับเรื่องเสียง
    ถ้ายังไม่ถึงระดับนี้ ให้ช่างหัวมันไว้ก่อนอย่างเดียวครับ
    ไม่งั้นจะทำใ้ห้เราแป๊ก และไม่พัฒนาได้อย่างคาดไม่ถึงครับ
    และการใช้งานได้เรื่องเสียง มันมักจะมาพร้อม
    กับความสามารถใช้งานได้ทางตาเสมอครับ

    ทิ้งตาได้เท่าไร เสียงดีเท่านั้น
    ทิ้งเสียงได้เท่าไร ตาดีเท่านั้น
    เข้าใจที่สื่อนะครับ...
     
  8. ศิษย์โง๋

    ศิษย์โง๋ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +66
    เมื่อจิตสงบลงเป็นสมาธิ อาการที่ประสาทสัมผัสจากทางหูได้ยินชัดขึ้น เป็นเรื่องปกติ บางครั้งได้ยินจริง บางครั้งเป็นแค่นิมิตร เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาหยุดสนใจในตรงนั้น จึงเป็นตัวถ่วงภาวนา ครูบาอาจารย์ท่านจึงเรียกว่า "มาร" เพราะเป็นมารมาขวางความก้าวหน้า หลอกนักปฏิบัติมานักต่อนัก

    - ได้เพ่งบริกรรมไปที่บริเวณท้องหรือไม่? ถ้าใช่ ก็กำหนดไปว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง กลับมาที่พุทโธ หรือ อานาปานสติ อย่าไปสนใจ หากแก้ไปหาย ให้เปลี่ยนจุดเพ่งบริกรรม ไปอยู่ที่ปลายจมูก

    เมื่อจิตสงบจนเป็นอุปจาระสมาธิ จะมีปิติต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ต่างกันไปแล้วแต่นักภาวนา อาการปิติ ตัวหนัก มือหนัก ตัวยืด ตัวพอง ถ้านักภาวนามัวแต่สนใจตรงนี้ จะเกิดความฟุั้งซ๋าน และขวางความก้าวหน้าอย่างมาก วิธีแก้เหมือนในข้อแรก ถ้านักภาวนาแก้อาการตรงปิติตรงนี้ได้ ประคองฐานจิตเข้าสู่ความสงบต่อไป อาการปิติตัวหนัก มือหนัก ตัวพอง เมื่อนักภาวนาผ่านไปได้ จะมีจุดที่สุดยอดกว่านี้ บอกได้เลยว่า"เกือบแล้ว"
    อย่าให้มารมาผจญ ประคองฐานจิตให้สงบต่อไป

    ถ้าทำตามคำแนะนำ 2 ข้อแรกได้ แล้วคำที่ว่า "เกือบแล้ว" ผ่านจุดนี้ไปแล้ว อาการ ง่วง ฟุ้งซ๋าน ๆลๆ จะหายไปเองโดยอัศจรรย์ ไม่แต่เฉพาะในสมาธิ แม้แต่ในชีวิตประจำวันก็จะสดชื่นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน นอนน้อยตื่นเร็ว แต่ร่างกายจะรู้สึกว่าเหมือนได้นอนมาทั้งวัน ตรงจุดนี้ถ้านักภาวนาผ่านมาถึงแล้วจะรับรู้ได้เอง

    ประเด็นสำคัญคือ "วางจิตภาวนา" ให้เป็น และอาการต่างๆที่ถามมาจะหายไปเอง เมื่อถึงตอนนั้น นักภาวนาก็ไม่จำเป็นต้องมาถามใครอีก

    หัวใจการวางจิตภาวนาคือ จะเป็นอย่างไรอย่าสนใจ จะเป็นจะตาย "ช่างแมร่งมัน"

    ^^
     
  9. pitra

    pitra สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2017
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +31
    อนุโมทนาสาธุกับทุกความกรุณาค่ะ
    ดิฉันจะนำไปพิจารณาและปฏิบัติต่อไปค่ะ
    เป็นบุญที่เจอเว็บพลังจิต สาธุ
     
  10. pitra

    pitra สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2017
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +31
    มิน่าหละ ดิฉันถึงแป๊ก ตั้งแต่เสียงบน อ๊อด ๆ แอ๊ดๆ ที่เพดานบ้าน ทุกครั้งนั่งสมาธิ เมื่อก่อนสะดุ้ง แต่สมาธิไม่หลุด ตอนนี้ไม่สะดุ้ง แค่สงสัย เพราะเหตุนี้ถึงแป๊ก อย่างว่า
    อนุโมทนาค่ะ
     
  11. pitra

    pitra สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2017
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +31
    สาธุ อนุโมทนาค่ะ
    ต้องกราบขอบพระคุณท่านปราบเทวดาค่ะ ที่ไม่เคยทอดทิ้งเลย ทุกครั้งที่มีปัญหาติดขัด เข้ามาชี้แนะตลอด สาธุ อนุโมทนาในธรรมทานของท่านปราบเทวดาด้วยนะคะ
     
  12. pitra

    pitra สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2017
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +31
    สาธุ อนุโมทนากับธรรมทานค่ะ หลายคนถามดิฉันว่า กลาางวันทำงาน เรียนหนังสือ กลางคืนนั่งสมาธิ นอนน้อย ไม่เพลียเหรอไง ตอนแรก ๆ เพลียค่ะ แต่ตอนนี้ มันสดชื่น เหมือนนอนอิ่ม สวดมนต์ชั่วโมงครึ่ง นั่งสมาธิสองสามชั่วโมง นอนอีกสามถึงสี่ชั่วโมง ไม่เหนื่อย กลางวันก็ยึดอิติปิโส บางทีก็สวดมหาจักพรรรดิ์ในใจ ก็อยู่ได้ไม่เหนื่อยไม่ง่วง
     
  13. pitra

    pitra สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2017
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +31
    สาธุ กราบขอบพระคุณในความกรุณา ที่ชี้ทางสว่างค่ะ ดิฉันจะนำไปปฏิบัติตาม
    ขออนุโมทนาธรรมทานด้วยนะคะ
     
  14. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762

    เป็นคำแนะแนว โดย หลวงปู่พุธ ฐานิโยครับ
    ฟังและอ่านบ่อยๆ เท่ากับให้อาหาร วิชชาและวิมุตติ



    อาหาร ของ วิชชา และ วิมุตติ คือ โพชฌงค์ 7
    อาหาร ของ โพชฌงค์ 7 คือ สติปัฏฐาน 4
    อาหาร ของ สติปัฏฐาน 4 คือ สุจริต 3
    อาหาร ของ สุจริต 3 คือ การสำรวมอินทรีย์
    อาหาร ของ การสำรวมอินทรีย์ คือ สติสัมปชัญญะ
    อาหาร ของ สติสัมปชัญญะ คือ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
    อาหาร ของ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย คือ ศรัทธา
    อาหาร ของ ศรัทธา คือ การฟังพระสัทธรรม
    อาหาร ของ การฟังพระสัทธรรม คือ การคบสัปบุรุษ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

    การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
    โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชา และวิมุตติให้บริบูรณ์
    วิชชา และ วิมุตติ นี้ มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้
    ฉันนั้น เหมือนกันแล ฯ




    แต่หากว่า เราให้อาหารในทางตรงกันข้าม

    อาหารของอวิชชา

    • อวิชชา มีอาหาร อาหารของอวิชชา คือ นิวรณ์ 5
    • นิวรณ์ 5 มีอาหาร คือ ทุจริต 3
    • ทุจริต 3 มีอาหาร คือ การไม่สำรวมอินทรีย์
    • การไม่สำรวมอินทรีย์ มีอาหาร คือ ความขาดสติสัมปชัญญะ
    • ความขาดสติสัมปชัญญะ มีอาหาร คือ ความขาดโยนิโสมนสิการ
    • ความขาดโยนิโสมนสิการ มีอาหาร คือ ความขาดศรัทธา
    • ความขาดศรัทธา มีอาหาร คือ การไม่ได้สดับสัทธรรม
    • ความไม่ได้สดับสัทธรรม มีอาหาร คือ การไม่ได้เสวนาสัปบุรุษ
    - การไม่ได้เสวนาสัปบุรุษ อย่างสมบูรณ์ ย่อมยังการไม่ได้ฟังสัทธรรมให้สมบูรณ์

    - การไม่ได้ฟังสัทธรรมให้สมบูรณ์ ย่อมทำความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์

    - นิวรณ์ 5 บริบูรณ์ ย่อมทำอวิชชาให้บริบูรณ์ อวิชชามีอาหาร และมีความบริบูรณ์อย่างนี้
     
  15. pitra

    pitra สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2017
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +31
    สาธุ
     
  16. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ทำไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดอิ่มตัวของตนเองครับ ถ้าเลิกทำเพราะเบื่อหรือขี้เกียจ พอครึ้มใจก็ค่อยทำใหม่ แต่ถ้าเลิกทำเพราะเข้าใจถือว่าสำเร็จจุดมุ่งหมายครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...