เสียงธรรม สู่สมรภูมิ

ในห้อง 'ธรรมเพื่อความหลุดพ้น' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 9 พฤศจิกายน 2010.

  1. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    จงพยายามพิจารณากำจัดมันด้วยความเพียร ทำสมาธิก็ให้มีความสงบได้ บังคับบัญชาจิตใจขณะนั้น ขณะที่ทำสมาธิภาวนา ขณะที่บังคับจิตฝึกทรมานจิต ด้วยการภาวนานั้น ไม่ใช่เป็นขณะที่จะปล่อยไปตามอำเภอใจ เรียกว่า “ความเพียร” เพียรเพื่อแก้ เพื่อถอดถอนสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อใจ จนใจได้รับความสงบขึ้นมา ใจได้รับความสงบนั้นเพราะ “ความเพียรบังคับใจ” ต่างหาก ไม่ใช่เพราะความปล่อยตามใจ เราคงจะเห็นผลหรือคุณค่าของความเพียรนี้บ้างแล้ว เพราะเรามีความสงบใจลงได้ด้วยความเพียร และสงบไปได้เรื่อย ๆ เพราะความเพียรเป็นลำดับ ๆ คุณค่าของความเพียรก็จะเด่นขึ้น ๆ ตามคุณค่าของจิตที่เป็นผลมาจากความเพียร

    เอ้า ! เมื่อพิจารณาทางด้านปัญญา ก็กำหนดพิจารณาให้เห็นชัดเจน ไตร่ตรองสิ่งทั้งหลายให้เห็นตามความสัตย์ความจริงของมันที่มีอยู่ในโลกทั้งหลายนี้ โลกนี้กว้างแสนกว้าง แต่สิ่งที่คับแคบที่สุดก็คือจิตใจที่ถูกปิดบังด้วยกิเลส มันแคบที่นี่ นั่งอยู่นอนอยู่ก็ไม่สบาย อยู่ที่ไหนก็ไม่สบาย เพราะมันคับแคบใจ มันทับตัวเอง แก้ตรงที่มันแคบ ๆ นี้ออกให้ใจได้รับความกว้างขวางเบิกบานยิ้มแย้มแจ่มใสขึ้นมา จิตใจก็โล่ง เย็นสบาย

    เอ้า ! ทีนี้จะพิจารณาเรื่องทุกข์ มันก็มีกำลังที่จะพิจารณา พอใจที่จะพิจารณา เพราะทุกข์เป็นหินลับปัญญาให้คมกล้าขึ้นเป็นลำดับได้ ฟาดฟันกิเลสอาสวะออกด้วยสมาธิปัญญา การถอดถอนกิเลสต้องถอดถอนด้วยปัญญา จับกิเลสมามัดได้ด้วยสมาธิ คือจิตสงบลง สมาธิก็รวมตัวเข้ามาในจิตดวงเดียว ไม่ซ่านออกไปในที่ต่าง ๆ จนจับตัวไม่ได้ ปัญญาคลี่คลายออกให้เห็นชัดเจนว่า จิตนี้มีความติดข้องอยู่กับสิ่งใด รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส หรือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แยกแยะดูให้เห็นละเอียดถี่ถ้วนตามหลักความจริงของมันที่มีอยู่

    ใคร่ครวญแล้วใคร่ครวญเล่า พิจารณาแล้วพิจารณาเล่า เป็นจุดที่ท่องเที่ยวของปัญญา เป็นหินลับปัญญา พิจารณาเท่าใดก็ยิ่งแตกฉานออกไปโดยลำดับ เข้าใจไปตามเป็นจริงแล้วปล่อยวางไปเรื่อย ๆ การปล่อยวางลงก็คือปล่อยวางภาระ ซึ่งกดถ่วงอยู่ภายในใจเราด้วยอำนาจแห่งอุปาทานนั้นแล
    จิตคิดเรื่องอะไรบ้าง เกิดผลเกิดประโยชน์อะไร คิดขึ้นในขณะก็ดับไปในขณะ คิดดีก็ดับ คิดชั่วก็ดับ คิดอะไรขึ้นมาก็ดับทั้งนั้น ท่านเรียกว่า “สังขาร ความปรุง” ความปรุงขึ้น ความเกิดขึ้น ความปรุงกับความดับไปนั้นเป็นของคู่กัน เกิดดับพร้อมอยู่ในเวลานั้น แล้วเราจะถือเอามาเป็นตัวเป็นตนอย่างไรได้กับความเกิด ๆ ดับ ๆ อย่างนั้น

    จงพิจารณา ทุกขเวทนา อันเป็นสิ่งที่น่ากลัวอยู่แล้ว ใคร ๆ ก็กลัวคำว่า “ทุกข์” เราจะมาถือว่าเป็นเราเป็นของเราได้อย่างไร ทุกข์ทั้งกองยังจะถือว่าเป็นเราอยู่อีกหรือ? ถือเป็นเราก็ถือเอาไฟมาเผาใจเรานั่นแล ทุกข์ให้ทราบว่าเป็น “ทุกข์” ผู้ที่ทราบว่าเป็นทุกข์ไม่ใช่ทุกข์นั้นคือใจ ใจเป็นผู้รู้เรื่องทุกข์ทั้งหลาย ทุกข์เกิดขึ้นใจก็รู้ ทุกข์ตั้งอยู่ใจก็รู้ ทุกข์ดับไปใจก็รู้ รู้ด้วยปัญญา

    ปัญญาเห็นแจ่มแจ้งชัดเจนแล้วว่า ทุกข์เป็นทุกข์ เราเป็นเรา ผู้รู้เป็นผู้รู้ นี้ประการหนึ่ง สัญญา จำได้เท่าไรมันก็ลืมไปหมด ถ้าต้องการจะจำก็มาตั้งใจจำกันใหม่ จำไปพร้อมดับลงไปพร้อม ๆ ขณะเดียวเช่นกัน เหล่านี้หรือเป็นตน ? ความจำได้หมายรู้แล้วดับไป ๆ เกิดดับ ๆ เช่นเดียวกับสิ่งอื่น ๆ นั้นน่ะหรือเป็นเราเป็นของเรา ? ถ้าว่านั้นเป็นเราเป็นของเรา เราก็ดิ้นอยู่ตลอดเวลาซิ เพราะทุกข์ เพราะสัญญาจำได้แล้วดับไป ความทุกข์เกิด ๆ ดับ ๆ ให้ได้รับความเดือดร้อนวุ่นวายอยู่ไม่หยุดไม่ถอย เพราะฉะนั้นจึงต้องพิจารณาให้เห็นสภาพที่เกิดที่ดับ มีอยู่รอบใจเรา อยู่รอบตัวคือขันธ์ วิญญาณ เราเคยได้ยินมาตั้งแต่เมื่อไร เห็นมาตั้งแต่เมื่อไร ตั้งแต่เกิดนี่ แล้วเราได้สาระอะไรจากมัน พอรับทราบ พับในทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มันก็ดับไปพร้อม ๆ แน่ะ เอาอะไรมาเป็นสาระ ? ไม่เห็นมีอะไรเป็นสาระเลย

    รูปนั้นหรือเป็นตน เสียงนั้นหรือเป็นตน กลิ่น รส เครื่องสัมผัสนั้นหรือเป็นตน วิญญาณ ความรับทราบสิ่งที่มาสัมผัสหรือเป็นตน มันรับทราบพับ ๆ แล้วดับไปพร้อม ๆ อันนั้นหรือเป็นตน เป็นตนเมื่อไร ความเกิดความดับพร้อมมาถือว่าเป็นตนได้หรือ เราจะนอนใจกับมันได้อย่างไร มันเกิดแล้วมันดับ ๆ เรายังจะถือความเกิดความดับนั้นว่าเป็นตน เราก็ยุ่งไปวันยังค่ำซิ เพราะสิ่งทั้งหลายมันมีเกิดมีดับตลอดเวลา ไม่ว่ารูป เวทนา สุข ทุกข์ เฉย ๆ ไม่ว่าสัญญา สังขาร วิญญาณ มันมีเกิดมีดับของมันเป็นประจำอยู่ทุกอย่างทุกอาการ แล้วเราจะไปคว้าเอาว่านั่นเป็นเรานี่เป็นของเราได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่มันเกิดดับก็ทราบอย่างประจักษ์ จึงต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นชัดเจนตามเป็นจริง แล้วปล่อยวางไว้ตามความจริงของมัน

    ผู้รู้ไม่ดับ ใจแท้ ๆ คือผู้รู้ ผู้นี้ไม่ดับ อะไรเกิดก็รู้อะไรดับก็รู้ ผู้ที่รู้นี้ไม่ดับ ดับแต่สิ่งที่ปรากฏขึ้นดับไปตามเรื่องของเขา เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้เป็นสภาวธรรม ท่านว่า “เป็นไตรลักษณ์”
    ไตรลักษณ์ คือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา จะมาถือเป็นเราเป็นของเราได้อย่างไร ถ้าพิจารณาให้ถึงเหตุถึงผลด้วยสติปัญญาแล้วก็ไม่อาจไปยึดถือได้ เวลากิเลสหนา ๆ ใจไม่ได้พิจารณา ทั้งไม่ทราบว่าอะไรเป็นอะไรจึงหลงยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นตามเป็นจริงแล้วมันปล่อยวางของมันเอง

    พอออกแนวรบ ถึงเวลาจะเป็นจะตาย ให้เอาอันนี้แหละเป็นสนามรบ เฉพาะอย่างยิ่ง “ทุกขเวทนา” นั่นแลจะออกหน้าออกตาที่สุดในขณะจะแตกดับ เอาทุกขเวทนากับจิตนี้แลเป็นสนามรบ พิจารณากันให้เห็นตามความจริงของมัน จะทุกข์มากมายขนาดไหนมันไม่เลยตาย ทุกข์นี้ถึงแค่ตาย ธาตุขันธ์นี้ถึงแค่ตาย ใจไม่ถึงแค่ตาย แต่เลยความตาย เพราะจิตไม่เคยตาย มันเหนือสิ่งเหล่านี้ ความทุกข์ก็ทุกข์ถึงแค่ตายเท่านั้น ไม่เลยจากนั่นไป เวทนาพวกไหนจะปรากฏขึ้นมาก็ถึงแค่ดับของมันเท่านั้น จะทุกข์มากทุกข์น้อยจิตรับทราบ รับทราบอยู่ตลอดเวลา
    เมื่อมีสติแล้วจะรับทราบทุกระยะของทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น ผู้รู้ไม่ได้ดับ เราจะไปวิตกวิจารณ์อะไรกับเวทนาซึ่งไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา มันเป็นสภาพที่เกิดขึ้น อาศัยจิตเกิดขึ้นแต่ไม่ใช่จิต อาศัยธาตุเกิดขึ้น อาศัยกายนี้เกิดขึ้นแต่ไม่ใช่กาย มันเป็นเวทนาของมัน เช่นทุกขเวทนา เป็นต้น มันเป็นคนละชิ้นละอันคนละอย่าง ความจริงล้วน ๆ เป็นอย่างนี้ !

    ถ้าเราไม่ปีนเกลียวกับความจริง ใจเราก็สงบเพราะการพิจารณาทุกขเวทนาทั้งหลาย เฉพาะอย่างยิ่งในวาระสุดท้ายจะแตกดับ เอาให้เต็มเหนี่ยวทีเดียว อะไรจะดับก่อนดับหลังให้มันรู้ เพราะผู้รู้นี้จะรู้ตลอด จนกระทั่งทุกสิ่งทุกอย่างดับไปหมด ผู้นี้ก็ยังไม่ดับ

    นี่แหละการพิจารณา ถ้าได้เห็นเหตุเห็นผลกันเสียครั้งหนึ่งเท่านั้น ความอาจหาญในเรื่องเหล่านี้จะเกิดขึ้นทันที ถึงคราวจำเป็นขึ้นมามันจะเตรียมท่าสู้กันเลย เตรียมท่าเป็นนักรบเข้าสู่สงครามระหว่างขันธ์กับจิต พิจารณาด้วยปัญญา เอาสติปัญญาเป็นเครื่องมือฟาดฟันหั่นแหลกลงให้ถึงความจริง เมื่อแหลกลงไปแล้วไปถึงไหน ? ก็ไปถึงความจริงนั้นแล

    จงใช้สติปัญญาฟาดฟันลงไปให้ถึงความจริงทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อถึงความจริงแล้วราบไปหมด สงบไปหมด ไม่มีอะไรอันใดที่จะมาก่อกวนจิตใจ อันใดที่ยังก่อกวนจิตใจได้อยู่ อันนั้นเรียกว่า “จิตยังพิจารณาไม่ถึงความจริงเต็มที่” ถ้าถึงความจริงเต็มที่ทุกสัดทุกส่วนแล้ว ไม่มีอะไรที่จะมาแหย่มายุมาแทงมากวนใจได้ เป็นสภาพที่จริงทั่วถึงกันหมด นั่นท่านเรียกว่า “ราบคาบลงแล้วด้วยความจริง” เพราะอำนาจแห่งสติปัญญาพิจารณาเห็นชัด

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2010
  2. เด็กน้อยๆ

    เด็กน้อยๆ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +56
    อนุโมทนา สาธุครับ
     
  3. wi-wilaipan

    wi-wilaipan Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +86
    อนุโมทนาด้วยทุกประการค่ะสาธุ
     
  4. มอสเมืองชล

    มอสเมืองชล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +836
    กราบนมัสการ พ่อแม่ครูอาจารย์
     
  5. อัสนี

    อัสนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,401
    ค่าพลัง:
    +3,566
    อนุโมทนาสาธุครับ
     
  6. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    ขออนุโมทนาสาธุครับ
     
  7. rueangsin

    rueangsin สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +4
    อนุโมทนาสาธุด้วยนะครับ
     
  8. ทดแทน

    ทดแทน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +116
    อนุโมทนา สาธุครับ
     
  9. cartoonsii

    cartoonsii สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +10
    อนุโมทนาสาธุคะ<!-- google_ad_section_end -->
     
  10. lnw7

    lnw7 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +0
    สาธุ อนุโมทนา ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...