ประวัติ วัดไชโย-วัดระฆัง (ฉบับวัดระฆังถวายในหลวง พ.ศ.๒๕๐๔)....

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย pmorn3339, 26 เมษายน 2016.

  1. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    วันนี้ประชุมทั้งวันเลยครับ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  2. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    เรื่องของ "มหาเกตุ"
    มีบันทึกไว้ใน จดหมายเหตุประพาสต้นครั้งที่ 2 ของ รัชกาลที่ 5

    [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 กรกฎาคม 2016
  3. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    และเมื่อคราวรัชกาลที่ 5
    ทรงเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา พ.ศ.2421
    ท่านได้ทรงแวะไหว้พระที่วัดไชโย
    และได้ทรงพระราชนิพนธ์ ไว้ดังนี้

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 กรกฎาคม 2016
  4. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    และ

    พระราชหัตถเลขา
    เมื่อคราวรัชกาลที่ 5 เสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ.2444
    มีบันทึกเกี่ยวกับพระรูปปั้น "สมเด็จโต" ไว้ดังนี้

    [​IMG] [​IMG]
     
  5. thachapol

    thachapol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,138
    ค่าพลัง:
    +1,903
    ขออนุญาติเอามาเขียนใหม่น่ะครับ ปี พ.ศ ๒๔๐๙--๑๐ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ได้รับโปรดเกล้าสถาปนาให้เฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ..ในวาระนี้สันนิฐานว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔ ได้โปรดเกล้าสถาปนายก พระธรรมกิตติ(โต พรหมรังสี) ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฎที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี...และในวาระอันเป็นมหามงคลสมัยนี้วัดไชโยฯได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ(รัชกาลที่๕).โดยมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เป็นองค์อุปถัมภ์.ในการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ วัดไชโยฯได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ก่ออิฐสอดินนั่งกลางแจ้ง ชาวบ้านเรียกหลวงพ่อโต. ต่อมาไม่นานองค์หลวงพ่อโตแตกหักพังทลายลงมา จึงได้ปั้นพระพุทธรูปองค์ใหม่ขึ้น มีขนาดเล็กกว่าองค์เดิม ชาวบ้านก็ยังเรียกหลวงพ่อโตนามเดิม..จนต่อมาถึงปี ๒๔๒๑ ล้นเกล้ารัชกาลที่๕ เสด็จประพาสต้นหัวเมืองกรุงเก่า ทรงแวะวัดไชโยฯ มีตอนหนึ่งในพระราชหัตเลขาว่า ได้ทอดพระเนตรองค์หลวงพ่อโตเห็นว่ารูปทรงไม่สู้จะงามนัก. ต่อมาถึงปี พ.ศ ๒๔๓๐-๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ โปรดเกล้าให้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดไชโยฯขึ้นใหม่ทั้งหมด โปรดเกล้าแต่งตั้งให้เจ้าพระยารัตนบดินทร(บุญรอด กัลยณมิตร)ที่สมุหนายกเป็นแม่กองงานบูรณะฯ ระหว่างทำการบูรณะฯองค์หลวงพ่อโตได้พังทลายลงมาเป็นครั้งที่สาม ล้นเกล้ารัชกาลที่๕ จึงรับสั่งให้รื้อองค์หลวงพ่อโตลงทั้งหมด แล้วโปรดให้พระองค์เจ้าประดิษฐวรการช่างปั้นฝีมือดี ให้มาช่วยปั้นพระพุทธรูปองค์ใหม่แบบฝีมือช่างหลวง จำลองแบบมาจากพระประธานวัดกัลยณมิตรกรุงเทพฯ การบูรณะปฏิสังขรณ์วัดไชโยฯเสร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ ๒๔๓๗--๓๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่๕ โปรดให้ยกวัดไชโยฯขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นโท พระราชทานนามพระพุทธรูปองค์ใหม่นามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ โปรดเกล้าสถาปนาพระมหาเกตุ(ป.ธ.๓) ขึ้นเป็นพระครูมหาพุทธพิมพาภิบาล โปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดไชโยวรวิหาร แต่บัดนั้น...โปรดให้มีงานเฉลิมฉลองขึ้นวัดใหม่๓ วัน ๓ คืน พระราชทานหนัง ๑ โรง ละคร ๑ โรง และอื่นๆช่วยงานสมโภช..สันนิฐานว่าในวาระนี้ทางวัดไชโยฯได้จัดสร้างรูปปั้นหล่อรูปเหมือนของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒจารย์ โต พรหมรังสี ขึ้นเป็นองค์แรกด้วย และได้จัดสร้างพระพิมพ์เนื้อผงแจกชาวบ้านไว้เป็นที่ระลึก โดยวัดไชโยฯได้ลงมาขอยืมบล็อคแม่พิมพ์แบบเจ็ดชั้นฯจากวัดระฆังโฆสิตารามฯขึ้นไปใช้สร้าง และได้แกะบล็อคแม่พิมพ์แบบหกชั้นฯและแบบพิมพ์ทรงอื่นๆขึ้นเพิ่มเติม...ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีมาแต่โบราณนานนม ชาวบ้านหรือราชการก็เรียกขาน หรือเขียนเป็นเพียงชื่อวัดไชโยฯมาตลอด ไม่มีใครเรียกเป็นวัดเกศ เกษ เกตุไชโยฯกันดอก มีแต่พวกเสี้ยนพระสมเด็จยุคหลังๆนี่แหล่ะ ที่มันยัดเยียดให้เรียกให้เขียนเป็นวัดเกศไชโยฯตามนิยาย นิทาน ตำนานของพวกมัน...ประวัติของวัดไชโยวรวิหารก็คงประติดประต่อเรียบเรียงได้ประมาณนี้มั้งครับ ขอบคุณท่านpmorn มากๆๆครับที่อุสาห์ไปหาข้อมูลดีๆมีประโยชน์มาลงให้เพื่อนสมาชิกได้อ่านได้ศึกษาหาข้อเท็จจิงกัน หวังว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะทำให้ใครหลายๆคนหูตาสว่างขึ้นมาบ้างน่ะครัับ..............เขียนผิดพลาดต้องขออภัยไว้ด้วย..............
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 กรกฎาคม 2016
  6. thachapol

    thachapol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,138
    ค่าพลัง:
    +1,903
    ทางวัดไชโยวรวิหารได้จัดให้มีงานนมัสการไหว้พระมหาพุทธพิมพ์ หรือหลวงพ่อโต ถือเป็นเทศกาลประจำปีของอำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง มีประชาชนทุกทั่วสาระทิศหลั่งไหลกันมากราบไหว้บูชาขอพึ่งพาบารมีองค์หลวงพ่อโต หรือเพื่อการถวายแก้บน..เรื่องราวประวัติการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดไชโยฯในยุคที่ยังเป็นวัดราษฎร์ธรรมดาๆ ได้อาศัยบารมีของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามฯ อมตะเถระแห่งแผ่นดินสยามประเทศ ได้มานำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดไชโยฯให้เจริญมั่นคงแข็งแรงสืบมา จะด้วยเหตุอันนี้ชาวบ้านย่านตลาดในเมืองไชโยฯต่างก็อยากจะรู้เรื่องราวประวัติปูมหลังของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านฯนี้ให้มากยิ่งขึ้นไป จึงได้มาสอบถามกับนายพร้อม สุดดีพงษ์ ผู้ที่มีความรู้เรื่องราวประวัติปูมหลังของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯอยูู่บ้าง เพราะนายพร้อมน่าจะเคยได้เข้ามาบวชเรียนหนังสือในกรุงเทพฯ น่าจะเคยบวชเรียนที่วัดสระเกศ แต่โดยส่วนมากแล้วชาวบ้านก็ต่างคนต่างเล่า เข้าใจกันไปแตกต่างกันไปคนล่ะทาง ดังนั้นในราวปี พ.ศ ๒๔๗๓ นายพร้อม สุดดีพงษ์ จึงเดินทางลมากรุงเทพฯไปหา ม.ล พระมหาสว่าง เสนีวงศ์ วัดสระเกศ เล่าเรื่องราวความประสงค์ให้ทราบ จากนั้นพระมหาสว่างได้พาข้ามฝากขึ้นมากราบนมัสการท่านเจ้าคุณพระธรรมถาวร(ช้าง)วัดระฆังฯอายุ๘๘ ปี ผู้ที่เกิดทันเห็นองค์ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเจ้าคุณพระธรรมถาวรได้แนะนำให้พระมหาสว่างและนายพร้อม ไปดูภาพเขียนประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯที่ฝาผนังในโบสถ์วัดอินทร์ บางขุนพรหม พระมหาสว่างและนายพร้อมจึงได้มาขอดูภาพเขียนที่วัดอินทร์ ได้ช่วยกันคัดลอกจดบันทึกภาพเขียนทั้ง๑๒ ฉาก แล้วนำไปพิจารณาตีความภาพเขียน รวบรวมแต่งเป็นอัตชีวประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ อ้างอิงยกเอาพระราชพงศวดาร พระราชประวัติมูลเหตุเค้าคดีต่างๆมาเทียบเคียง สอบถามจากปากชาวบ้านเอามาประกอบในบันทึก. ถึงปี พ.ศ ๒๔๗๕ ม.ล พระมหาสว่าง เสนีวงศ์ จึงได้นำเอาบันทึกอัตชีวประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่ตีความจากภาพเขียนฝาผนังโบสถ์วัดอินทร์ ไปมอบให้มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา สอน โลหนันทน์ ช่วยเรียบเรียงและตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม พระยาทิพโกษา สอน โลหนันทน์ จึงได้ตีพิมพ์เป็นบันทึกอัตชีวประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เป็นเล่มแรกของสยามประเทศ เป็นบันทึกอัตชีวประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่น่าเชื่อถือมากที่สุดในสยามประเทศครับ น่าจะพิมพ์ที่โรงพิมพ์ของกระทรวงธรรมการ ตึกข้างๆป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ บางลำพู ครับ........เขียนผิดพลาดขออภัยไว้ด้วยครับ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กรกฎาคม 2016
  7. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    ด้วยความเคารพนะครับ

    แต่ผมกลับมองว่า เป็นประวัติที่ ไม่น่าเชื่อถือ
    เพราะลำพังพิจารณา "บันทึกตามภาพ" ซึ่งก็ไม่แน่ว่า เป็น ภาพประวัติของสมเด็จโตหรือเปล่า

    ขนาดพระทิพโกษา ผู้เผยแผ่ประวัติเองแท้ๆ ยังกล่าวไว้ใน "เรื่องประวัติขรัวโต" ว่า

    "เมื่อได้พิเคราะห์ดูภาพที่ผนังโบสถ์อินทรวิหารแล้ว ก็เหลือปัญญาที่จะตีปัญหาตามภาพนั้นได้ จึงสันนิษฐานว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้เขียนไว้ตามความที่ท่านได้พบเห็น และได้คุ้นเคยกับผู้ใด ก็ให้เขียนลงไว้ตามใจของท่าน "

    แม้ พระทิพโกษา เอง ก็ไม่ได้บอกว่า เป็นภาพประวัติสมเด็จโต

    [​IMG]

    นั่นอีกอย่างหนึ่ง
     
  8. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    และอีกอย่างหนึ่ง คือ

    จาก ภาพที่ 5 บันทึกไว้ ดังนี้

    [​IMG] [​IMG]

    แต่พอเอาเล่าประวัติ กับ พยายามเอาไปชักจูงถึงรัชกาลที่ 2

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    ภาพบันทึกไว้ แค่ มีพระภิกษุกวาดวัด
    และเด็กผู้ชาย ชื่อ "นายบุญเรืองบุตรนายผล"

    แต่กลับเอามาแต่งเป็น "ประวัติขรัวโต" โดนเอาไปผูกอิงกับประวัติศาสตร์ ถึงรัชการที่ 2 ได้

    ด้วยความเห็นส่วนตัว
    จึงเป็นประวัติที่ไม่น่าเชื่อถือ


    และมีความคิดเหมือน พระโกษา คือ
    ภาพทั้งหมด "ไม่ใช่ภาพประวัติของขรัวโต" เป็นเพียงภาพที่ "เจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้เขียนไว้ตามความที่ท่านได้พบเห็น และได้คุ้นเคยกับผู้ใด ก็ให้เขียนลงไว้ตามใจของท่าน "


    พสมช พิจารณากันนะครับ
    เพราะผมไม่มีพื้นความรู้เกี่ยวกับสมเด็จโตเลยจริงๆ
    ขอบคุณครับ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 กรกฎาคม 2016
  9. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    บันทึก ตามรูปภาพผนังโบสถ์ วันอินทราราม

    ที่พระโกษา พิจารณาแล้ว กล่าวไว้ใน "เรื่องประวัติขรัวโต" ว่า

    "เมื่อได้พิเคราะห์ดูภาพที่ผนังโบสถ์อินทรวิหารแล้ว ก็เหลือปัญญาที่จะตีปัญหาตามภาพนั้นได้ จึงสันนิษฐานว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้เขียนไว้ตามความที่ท่านได้พบเห็น และได้คุ้นเคยกับผู้ใด ก็ให้เขียนลงไว้ตามใจของท่าน "

    แม้ พระทิพโกษา เอง ก็กล่าวว่า ไม่ใช่เป็นภาพประวัติสมเด็จโต

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  10. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์) ท่านก็สันนิษฐานว่า
    ภาพในผนังโบสถ์วัดอินทร์ ไม่ใช่ภาพประวัติของ สมเด็จโต

    แล้วทำไมจึงมี
    ชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหฺมรงฺสี)
    จากบันทึกของ
    มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์)


    พิจารณาแล้ว
    เห็นได้ว่า ประวัติสมเด็จโต ถูก "สร้างสรรค์" ขึ้น โดย ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีวงศ์

    เพราะท่านเห็นว่า เมื่อมีคนอยากรู้ประวัติสมเด็จโต มาก ท่านก็ "สร้างประวัติสมเด็จโต" ให้
    โดยอาศัยรูปภาพในโบสถ์วัดอินทร์ + ประวัติศาสตร์ไทย และอื่นๆ โยงมาใส่กัน โดยไม่มีอะไรอ้างอิง
    (ดูไปก็คล้ายๆกับการ "สร้างประวัติ" การสร้างพระสมเด็จวังหน้า พระธาตุพนม)

    จึงเป็นประวัติที่ ไม่น่าเชื่อถือ

    (แต่ผมก็ไม่รู้ว่า ประวัติที่แท้จริงเป็นยังไง เดี๋ยวคงต้องได้ค้นหาต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กรกฎาคม 2016
  11. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    ชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหฺมรงฺสี)
    จากบันทึกของ
    มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์)


    แค่เกริ่นนำเริ่มต้นก็ผิดแล้ว

    [​IMG]

    ผิดที่
    1. เรียกชื่อวัดว่า เกตุไชโย
    2. พระพุทธรูปหน้าตัก 8 วาเศษนิ้ว คงหมายถึง พระมหาพระมหาพุทธพิมพ์ (ไม่ได้หมายถึงรูปหล่อสมเด็จโต) ซึ่งองค์นี้สมเด็จโตไม่ได้เป็นผู้สร้างไว้ แต่สร้างขึ้นภายหลังโดย พระยารัตนบดินทร (ซึ่ง ม.ล.พระมหาสว่างคงไม่ทราบเรื่องนี้ จึงได้เรียบเรียงขึ้นตามนั้น)

    [​IMG]
    [​IMG] [​IMG][​IMG] [​IMG]
     
  12. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    ผิดที่ 3


    ชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหฺมรงฺสี)
    จากบันทึกของ
    มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์)


    เจ้าคุณพระธรรมถาวร ท่านก็ไม่ได้บอกว่า
    เป็นภาพเขียนประวัติสมเด็จโต
    ท่านเพียงบอกว่า

    "ท่านได้ให้ช่างเขียนเขียนไว้ที่ผนังโบสถ์วัดอินทรวิหาร ล้วนแต่เป็นเค้าเงื่อนตามที่สมเด็จเจ้าโตได้ผ่านพบ "


    มาเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับข้อสันนิษฐาน ของ พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์) ซึ่งเป็นผู้เรียบเรียงเผยแพร่

    [​IMG] [​IMG]

    แต่ ม.ล.พระมหาสว่าง เอามา "เดา" แล้ว "สร้างสรรค์" ชีวประวัติสมเด็จโตขึ้นมาเอง

    [​IMG]

    จึงเป็นชีวประวัติสมเด็จโต ที่ ไม่น่าเชื่อถือ


    ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ
    สมช ท่านอื่น วิจารณ์ได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กรกฎาคม 2016
  13. thachapol

    thachapol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,138
    ค่าพลัง:
    +1,903
    ผมก็สงสัยว่าเอถ้าไม่ใช่ภาพเขียนบอกเล่าประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ แล้วจะเป็นประวัติของใคร ตัวท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านให้ช่างเขียนเรื่องราวชีวิตของท่านฯ ที่ท่านฯพบเห็นมาไว้บนฝาผนังโบสถ์วัดอินทร์ ถ้าไม่ใช่เรื่องราวของท่านฯแล้วเป็นเรื่องของใครครับ ถ้าท่านฯไม่ไปพบเห็นหรือมาเกี่ยวข้องกับท่านฯ ท่านฯจะให้ช่างเขียนรูปไว้ทำไม ภาพเขียนทั้ง๑๒ ฉากมีตัวท่านเจ้าประคุณสมเด็จเป็นตัวเดินเรื่อง มีผู้คนเหตุการณ์สถานที่ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง มีวัดบางลำพูบน มีพระอาจารย์แก้ว มีแม่งุดเป็นใคร มีตาผลเป็นใคร พระโหราธิบดี พระวิเชียร เสมียนตราด้วง พระอธิการวัดตะไกร พระอาจารย์เสม พระพิจิต สมเด็จพระสังฆราช ๒-๓ พระองค์ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จให้ช่างเขียนรูปบุลคลเหล่านี้บนฝาผังโบสถ์วัดอินทร์ทำไมถ้าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับท่านฯ หรือท่านฯเคยพบเจอมา พระยาทิพโกษาฯ มีความเห็นว่าภาพเขียนฝาผนังโบสถ์วัดอินทร์ ไม่ใช่ภาพประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ แต่เป็นเรื่องราวที่ท่านฯเคยพบเคยเห็นมาเท่านั้น ก็เป็นความเห็นเป็นข้อสันนิฐานของพระยาทิพโกษาฯที่น่าพิจารณาครับ.......:cool:
     
  14. thachapol

    thachapol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,138
    ค่าพลัง:
    +1,903
    อัตชีวประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯตอนท่านฯยังแบเบาะแม่งุดเอาท่านฯไปถวายให้เป็นบุตรบุญธรรมของพระอาจารย์แก้ว วัดบางลำพูบน. ต่อมาครอบครัวได้ย้ายขึ้นไปอยู่เมืองพิจิตร ท่านฯบวชเรียนหนังสือที่เมืองพิจิตร และไปเรียนกับพระครูเมืองไชยนาทบุรี ต่อมาลงมาเรียนกับพระอาจารย์แก้ว วัดบางลำพูบน และเรียนในสำนักพระโหราธิบดี พระวิเชียร กรมราชบัณฑิต ต่อมาพระโหราฯพระวิเชียรพาเข้าเฝ้า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร กรมพระราชวงบวรสถานมงคล (รัชกาลที่๒) ทรงโปรดสามเณรโตมาก ทรงรับสามเณรโตไว้ในอุปถัมภ์ รับสั่งให้ย้ายสามเณรโตลงมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุฯ รับสั่งมอบภาระให้พระโหราธิบดี พระวิเชียร เเละเสมียนตราด้วงให้เป็นโยมอุปัฎฐากอบรมสั่งสอนสามเณรโต ถึงปี พ.ศ ๒๓๕๑ สามเณรโตอายุครบอุปสมบท สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร รับสั่งให้พระโหราธิบดี พระวิเชียร เสมียนตราด้วงนำสามเณรโตขึ้นไปบวชนาคที่วัดตะไกร เมืองพิษณุโลก ทรงมอบเงิน๔๐๐ บาทให้พระโหราฯไว้ใช้จ่ายในงานบวชนาค รับสั่งให้เสมียนตราด้วงแต่งท้องตราบัวแก้วขึ้นไปวางแจ้งเจ้าเมืองพิษณุโลกทราบ ให้ไปแจ้งญาติโยมสามเณรโตที่เมืองพิจิตรให้ทราบวันบวชนาค รับสั่งให้สังฆการีในกรมพระราชวังฯวางฎีกาอาราธนาสมเด็จพระพนรัตน (นาค) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ขึ้นไปเป็นพระอุปัชฌาย์บวชนาค นิมนต์พระอาจารย์แก้ว วัดบางลำพูบน เป็นพระคู่สวด นิมนต์พระอธิการวัดตะไกรเป็นพระคู่สวด โปรดให้ทำขวัญนาคเวียนเทียนแต่งตัวนาคอย่างแบบนาคหลวง ทำพิธีบวชนาควันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก ได้รับยาฉายาว่า พรหมรังสี...ต่อจากนั้นลงมาอยู่วัดมหาธาตุ และข้ามไปเรียนพระปริยัติธรรม พระธรรมวินัย และพระไตรปิฎก กับพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระพนรัตน (นาค) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม...ผมก็ยังนึกไม่ออกจิงๆครับว่าถ้าไม่ใช่ภาพเขียนเรื่องราวประวัติของตัวท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯแล้ว แล้วจะเป็นภาพเขียนเรื่องราวของบุลคลใดได้บ้างน่ะ..เขียนผิดพลาดต้องขออภัยไว้ด้วยครับ.......:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กรกฎาคม 2016
  15. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    ผมมองว่า

    ม.ล.พระมหาสว่าง "นั่งทางใน แต่งนิยายชีวประวัติสมเด็จโต"
    ขึ้นมาตามความคิดของตัวเอง เพียงเพื่อให้มหาชนพอใจ ตามที่ได้เกริ่นไว้ในตอนต้นครับ

    ไม่มีมูลความจริง หรือ เอกสารอะไรมาอ้างอิงได้เลย

    แม่ทัพไทยแวะจากกองทัพ ไปหลับนอนกับหญิงชาวบ้าน
    ไม่มีทางเป็นไปได้เลยครับ ผมไม่เข้าใจทำไมถึงพากันเชื่อนิยายที่ไม่หลักเหตุผลแบบนี้
    คนแต่งนิยายก็ช่างเพ้อฝันแต่งออกมาได้

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    มุมมองของผมคือ
    นิยายหลอกขายพระสมเด็จวังหน้า กะ สมเด็จพระธาตุพนม
    ยังมีความน่าเชื่อถือกว่า นิยายเรื่อง ชีวประวัติสมเด็จโต เรื่องนี้ซะอีก ครับ

    ม.ล. พระมหาสว่าง แต่งนิยายแบบล่วงรู้กิจกรรมของตัวละครในเรื่องทุกอริยบท
    ล่วงรู้แม้แต่เวลาที่ตัวละครแต่ละตัวทำกิจกรรมอะไร ทั้งหมดเลย
    มันเหลือเชื่อเกินไปครับ

    นี่แค่เพียงจากการอ่านรูปภาพฝาผนังที่คนอื่นอ่านหรือดูไม่รู้เรื่องเลยนะครับ
    และมันผ่านมากี่ปีแล้วครับ แล้วยังมีใครที่ไปเห็นกิจกรรมเหล่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่

    นิยายแต่งได้ เหลือเชื่อเกินไป ครับ

    "นั่งทางใน แล้ว แต่งนิยาย" แน่นอนครับ

    ด้วยความเคารพนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กรกฎาคม 2016
  16. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    ที่พากันหลงเชื่อว่า สมเด็จโต ท่านเป็นลูกเจ้า คงเพราะมาจาก ข้อมูลตามบัญชีน้ำฝน
    ที่ท่าน กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ใช้คำว่า "สิ้นชีพตักษัย"

    [​IMG] [​IMG]

    แต่ผมมองว่า ท่านกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ใช้คำว่า "สิ้นชีพตักษัย"
    คงเพราะท่านมองพระยศของ สมเด็จโต ที่เป็น "สมเด็จพระพุฒาจารย์" มากกว่าครับ
    ถึงใช้คำว่า "สิ้นชีพตักษัย"

    เพราะท่านเป็นถึง "สมเด็จ"
     
  17. thachapol

    thachapol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,138
    ค่าพลัง:
    +1,903
    ผมคิดว่าก่อนหน้าที่ ม.ล พระมหาสว่างจะตีความภาพเขียนออกมาเป็นบันทึกในปี ๒๔๗๓--๗๕ คนในสมัยนั้นน่าจะพอรู้เค้าโคลงเรื่องราวของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯกันอยู่บ้างแล้ว แต่คงจะต่างคนต่างเล่า ต่างเชื่อกันไปต่างๆนาๆ ม.ล พระมหาสว่างจึงเขียนบอกไว้ในคำนำว่า ได้เอาคำบอกเล่าของชาวบ้านมาลงใส่ไว้บันทึกฉบับบของพระยาทิพโกษาฯไว้โดยไม่ตัดทอนเนื้อความออก เช่นเรื่องปีเกิดของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯในบันทึกนี้เป็นปี ๒๓๑๙ อันนี้ดูจะให้ไปตรงกับช่วงที่รัชกาลที่๑ ยังเป็นเจ้าพระยาจักรี ตามความเชื่อของชาวบ้านที่เล่าต่อๆกันว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯเป็นลูกของรัชกาลที่๑ การตีความจากภาพเขียนให้ออกมาเป็นเรื่องราวมันก็ต้องใช้วิธีเดาเอา หรือสันนิฐานเอา พิจารณาเอาว่าภาพนี้จะสื่อหมายถึงอะไร ภาพนี้จะบอกอะไร ก็อย่างเราดูภาพเขียนพุทธประวัติ ถ้าคนใหนไม่รู้เค้าโคลงพื้นฐานพุทธประวัติก็จะตีความอ่านภาพเขียนไม่ออกว่าหมายถึงอะไร หรืออย่างภาพเขียนเรื่องรามเกียรต์ถ้าคนไม่มีพื้นฐานเรื่องรามเกียรต์ก็จะดูไม่ออกว่าแต่ล่ะภาพหมายความว่าอะไร ในภาคอิสานมีผ้าพระเวส เป็นภาพเขียนพุทธประวัติชาดกของพระพุทธเจ้าปางบำเพ็ญทานบารมี ถ้าคนไม่รู้พื้นฐานเค้าโคลงนิทานชาดกชุดนี้อยู่บ้างก็จะดูภาพเขียนไม่รู้เรื่องเลย ภาพเขียนพุทธประวัติ ภาพเขียนชุดรามเกียรต์ และภาพเขียนบนผ้าพระเวส มีบันทึกเป็นคัมภีร์ เป็นหนังสือตำราแต่งผูกขึ้นเป็นเรื่องราวให้อ่านเข้าใจง่ายอยู่แล้ว แต่อัตชีวประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯไม่มีบันทึกเป็นตัวหนังสือมาก่อน มีแต่เรื่องเล่าแบบปากเปล่าเล่าต่อๆกันมารุ่นต่อรุ่นอย่างที่บอกไว้ตอนต้น ม.ล พระมหาสว่างตีความจากภาพเขียน แล้วเอาไปเทียบกับพงศวดาร พระราชประวัติ และเรื่องเล่าของชาวบ้าน จึงออกมาเป็นบันทึกฉบับของพระยาทิพโกษา สอน โลหนันทน์ เรียบเรียงตีพิมพ์เป็นเล่มปี ๒๔๗๕.......:cool:
     
  18. thachapol

    thachapol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,138
    ค่าพลัง:
    +1,903
    ในบันทึกฉบับพระยาทิพโกษาฯบันทึกไว้ว่าในปี ๒๓๙๕ สมเด็จพระพนรัตน (ฤกษ์)เจ้าอาวาสวัดระฆังฯได้ สิ้นพระชนม์ลง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔ จึงโปรดเกล้าสถาปนาพระครูโต วัดมหาธาตุฯขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพกวี (โต) และโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ สมเด็จพระพนรัตน (ฤกษ์)ไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์แต่ใช้คำว่า สิ้นพระชนม์ ผมก็คิดว่าคงจะใช้ตามสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จครับ ส่วนของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯใช้ สิ้นชีพตักษัย ส่วนผมจะเขียนเป็น สิ้นพระชนม์ล่ะสังขาร จะใช้เรียกตามสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จเท่านั้นครับ แต่มันยังมีคนที่เชื่อและเข้าใจว่าท่านฯเป็นเชื้อพระวงศ์จึงใช้คำราชาศัพย์ โดยเฉพาะพวกเสี้ยนใหญ่ๆเขาเชื่อแบบนั้นจิงๆ ส่วนตัวผมไม่เคยเชื่อเลยว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯเป็นลูกรัชกาลที่๑ ไม่เคยเชื่อว่าท่านฯเป็นเชื้อพระวงศ์ ไม่เคยคิดจะเชื่อแม้แต่นิดเดียวครับ.........:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กรกฎาคม 2016
  19. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    เนื้อหาหลายแห่ง ระบุว่า สมเด็จโต เกิดเมื่อปี พ.ศ.2331

    [​IMG]

    แต่ ม.ล.พระมหาสว่าง แต่งนิยายพยายาม ลากจูงเข้าไปอิงกับประวัติศาสตร์
    ทำให้ต้องแต่งเป็น สมเด็จโต เกิดเมื่อปี พ.ศ.2319 (เกิดแต่จากนางงุด)


    [​IMG]

    สมเด็จโต สิ้นชีพตักษัย พ.ศ.2415 อายุ 85 ปี

    [​IMG] [​IMG]

    หากนับอายุตามนิยายที่ พระมหาสว่าง แต่งขึ้น สมเด็จโต จะมีอายุถึง 96 ปี

    แต่ในบันทึกกลับบอกว่า อายุได้ 85 ปี
    (เกิดปี พ.ศ.2319 สิ้นชีพตักษัยปี พ.ศ.2415 แต่มีอายุ 85 ปี)

    [​IMG]

    ตรงนี้ก็ผิดอีกแล้ว


    รอฟังความคิดเห็นของ พสมช ทุกท่านนะครับ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กรกฎาคม 2016
  20. paper_white

    paper_white เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2011
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +4,804
    แค่สงสัยครับ
    พระหลัก 3 องค์ที่นิยมเล่นหาใคร ๆ ก็อยากมีอยาได้ไว้ในครอบครองทั้งนั้น
    1. พิมพ์พระพุทธ เช่น สมเด็จวัดระฆัง สมเด็จกรุวัดใหม่อมตรส (บางขุนพรหม) นั้น ทราบกันดีว่า สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี สร้าง คนเลยอยากทราบประวัติของท่านกัน ก็มีหลายตำรา หลายความเชื่อกันมาก แต่ที่แน่ ๆ ท่านมรณะภาพ (สิ้นชีพิตักษัย) ที่วัดอินทรวิหาร ปี 2415
    2. พิมพ์พระอรหันในสมัยพุทธกาล เช่น ปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ก็หลายตำราอีกเหมือนกันจนสรุปไม่ได้ว่าประวัติเป็นอย่างไร และมรณะภาพที่ไหนเมื่อไหร่ แต่เชื่อกันว่าเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อแสง วัดมณีชลขันธ์ เช่นเดียวกับสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
    3. พิมพ์พระสงฆ์ เช่น หลวงปูทวด วัดช้างให้ ที่สร้างโดย หลวงพ่อทิม วัดช้างให้ ก็อีกนั้นละครับ ก็ทราบจากทางสมาธิว่าเป็นพระสงฆ์ในสมัยอยุธยา เป็นถึงสมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ แต่ก็ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชัดเจน
    แล้วจะแต่จะเชื่อจะศรัทธากันดีกว่า เพราะยังไงก็ผ่านมานานกันแล้วทั้งนั้น หาคำตอบชัดเจนคงจะลำบากละครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...