เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การ"บรรลุนิพพาน" แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว...

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ิ์Fist of the North Star, 31 มกราคม 2015.

  1. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385

    ผมเริ่มเหมือนคนอื่นๆนี่ล่ะครับ
    เริ่มสนใจธรรมะด้วยกิเลส อยากดี อยากสวรรค์ อยากสุข
    คิดว่าธรรมะคงบันดาลให้ได้
    คิดว่าธรรมะคือ การอยู่กับฝ่ายกุศล
    เรียกง่ายๆ ว่า "ติดดี"
    ต้องทำบุญบ่อย ต้องนั่งสมาธิมากๆ ฟังธรรมะเยอะๆ
    คิดไปเองว่านี่คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้า บอกไว้ให้ทำ
    แต่ผมบ้าเห่อเป็นพักๆ ศรัทธาเกิดมาก ก็เกาะฝ่ายดีไว้แน่น
    แต่กระทำด้วยตัณหา อยากเอา อยากดี อยากเป็น
    เมื่อไหร่ตัณหาไม่ผลักดัน ก็ห่างธรรม ห่างนั่งสมาธิ
    หันไปเอาดีทางโลก เบนทิศตัณหาไปอีกทาง

    พอมุ่งไปทางโลก
    เหมือนจะดี แต่ก็เจอปัญหา เกิดทุกข์หนักๆ
    หันหาที่พึ่งทางใจ ไม่รู้ทางไหน กลับมาทางธรรม
    แต่อาศัยเส้นทางไฟเบอร์ออฟติกส์ กับ อ.ยูทูป
    พาไปหาคำปลอบใจดีๆ
    ได้ปลอบใจชั่วคราว ทำใจได้ระดับนึง
    พ้นจากการฟังธรรม ความคิดประเคนมา ทำให้ทุกข์อีก
    คิดว่าจะพ้นทุกข์ได้ ฟังอย่างเดียวคงไม่พอ
    หาแนวทาง
    ทางเดิมที่ "นั่งนิ่ง หนีโลก" คงไม่ได้
    จะเข้าหาพระก็เป็นคนขี้อาย ที่จะเข้าถาม หาแนวทางปฏิบัติ
    เลยไปพึ่ง อ.กูเกิ้ล อ.ยูทุป
    ค้นไปค้นมาเจอ อานาปานสติ รู้ลม
    รู้จักธรรมะวันแรก อาศัยตัณหาที่"อยากดี อยากเป็น"
    คราวนี้ตัณหาเปลี่ยนไป เป็น"อยากพ้น"
    ฟังครูบาอาจารย์ท่านว่า จะหมดทุกข์ได้ ลองเชื่อดู

    ลืมตาอยู่ จิตผมเกาะลม อาศัยที่ระลึกของสติมาตรงนี้
    ทั้งวันจะมารู้ซักครั้ง แบบเช้าครั้ง เย็นครั้ง
    อาศัยปักใจ จะเอาจริง อาศัยตัณหาที่อยากจะพ้น
    จนเดินก็เกาะลม นั่งก็เกาะลม หยิบจับอะไรก็กลับมาเกาะลม
    จิตที่จดจ่ออยู่สิ่งหนึ่งบ่อยๆเป็นปัจจัยให้เกิดความตั้งมั่่นภายใน
    พอตั้งมั่นแม้จะเดิน จะทำงานอยู่ ก็เริ่มเห็นความจริงของขันธ์ห้า

    พอนั่งสมาธิ
    เมื่อก่อนเข้าไปคลุกกับ ความนิ่ง สุข ตกภวังค์ จะหลับไม่หลับแหล่
    แต่เริ่มใหม่คราวนี้ไม่
    ไม่ลงไปคลุก ออกมาเป็นผู้รู้ลม ดูลม
    นั่งสมาธิผมไม่หลับตา อาศัยทอดตาให้ต่ำ
    เพราะเมื่อไหร่ หลับตาลง จะรู้สึกว่าจิตจะปรุงแต่งกว่าปกติ
    ความตั้งมั่นของจิตช้า ความคิดฟุ้ง
    พอนั่ง ทอดตาต่ำ ทำความรู้สึกที่ลมไหลเข้าไหลออก
    ไม่ได้ตั้งใจ จดจ้อง ทำความรู้สึกแบบหลวมๆ
    คอยดูว่า จะเข้าไปจดจ้องเมื่อไหร่ ถอยความรู้สึกออกมา
    เหมือนการปักใจว่า ที่คือที่อยู่หลักของเรา
    ไม่บังคับต้องอยู่แค่ตรงนี้ "แต่ต้องกลับมาที่นี่"
    อุปมาเหมือนออกไปทำงาน ไปเที่ยว ไปทำธุระได้
    แต่สุดท้ายต้องกลับมาบ้าน ปักใจลงอย่างนี้
    ไม่ต้องไปใจในลม ว่ามันจะขาดหรือหาย
    ตรงนั้นไม่ใช่สาระสำคัญของอานาปานสติ
    วางจิตไม่ไหลไปตามลม ตั้งจิตที่เกาะลมไว้เฉพาะหน้า
    การเอาจิต เอาสติ เกาะลมตั้งแต่สติ รู้หยาบๆ
    ความตั้งมั่นของจิตจะมีมากขึ้นตามลำดับ
    การเห็นภายใน"จะเริ่มชัดขึ้น"
    ระหว่างที่เอาลมเป็นที่ระลึกเป็นหลักของจิต
    เมื่อมีตั้งมั่นระดับหนึ่งจะเห็นของหยาบก่อน
    จิตน้อมไปสังเกตุกายก็จะเห็นกายเบา ผ่อนคลาย
    แต่ต้องไม่ลืมว่า "เสาหลัก" เราอยู่ที่ลม
    สติจะกลับมาเฉพาะหน้า สแตนบายเป็นผู้ดูที่ลม
    พอจิตตั้งมั่นขึ้นอีกระดับ น้อมไปสังเกตุสุขที่โชยมาจากสมาธิได้
    และพอความตั้งมั่นมีมากขึ้นอีก จะน้อมไปเห็นความคิดปรุงแต่งได้ชัด

    ที่บอกว่าเห็นได้ชัด มีข้อสังเกตุอย่างนี้ ข้อนี้ขีดเส้นใต้ไว้เลย
    ระหว่างที่จิตเกาะลมนั้น
    เดี๋ยวมีความคิดปรุงแต่ง เดี๋ยวไปรู้กาย เดี๋ยวรู้สุข เดี๋ยวเป็นโน้นเป็นนี่
    ระหว่างนี้เรารู้ได้ แต่รู้ได้ไม่ชัด แต่มันจะเห็นชัดขึ้นไปตามกำลัง
    แม้ว่าเราจะเพิ่งนั่งก็ตาม ก็รู้ได้ว่า ขณะนี้มีความคิดปรุงแต่ง แต่ไม่ชัด
    ความตั้งมั่นของจิต จะพาให้เห็นสิ่งที่ละะเอียดขึ้นไปเรื่อย

    พิสูจน์เองด้วยการปฏิบัติ เริ่มนั่งก้นติดพื้น แม้กายที่ยังไม่สงบ
    ก็น้อมไปสังเกตุความคิดปรุงแต่งได้ สังเกตุอะไรก็ได้ แต่การเห็นนั้นลางๆ
    การเอาจิต เอาสติ มาอยู่กับลม เป็นเหมือนหลักให้จิตได้มีที่ "กลับมาอยู่"
    ตรงนี้จะได้ความตั้งมั่น แล้วจะเห็นสิ่งที่อยู่ภายใน
    เห็นธรรมชาติแสดงตัว แสดงลักษณะของมันเอง
    เราน้อมไปเห็นได้ทุกอย่างระหว่างนี้ ไม่ว่าความตั้งมั่นของจิตอยู่ระดับไหน
    แต่ถ้าฝืนไปดู ก็เห็นได้ เพราะธรรมทั้งหลายมันแสดงลักษณะให้เห็นอยู่แล้ว
    แต่จะชัดที่มันขนาดจะทำให้ประจักษ์ข้างใน อันนี้อาศัยความตั้งมั่นล้วนๆ
    คีย์เวริด์ที่สำคัญ ไม่ว่าจะ วิธีการ มรรควิธีไหน ไม่พ้นทำให้จิตตั้งมั่น
    จนเห็นความจริง รวมลงกันตรงนี้

    กลับมาอานาปานสติ
    ปักจิตเฉพาะหน้า เกาะลมหายใจ
    เดี๋ยวจะวนไปรู้โน่นรู้นี่ เดี๋ยวรู้ลม เดี๋ยวรู้กายสงบ เดี๋ยวจิตเห็นการปรุงแต่ง
    อีกขณะมารู้ลม กลับไปรู้กายที่สงบ เดี๋ยวเห็นว่าของเหล่านั้นล้วนเกิดดับ
    อีกขณะกลับมาปรุงแต่ง วิจัยธรรม เดี๋ยวกลับมาที่ลม เดี๋ยวไปรู้กายที่สงบ
    เดี๋ยวเห็นความปรุงแต่งดับไป เดี๋ยวรู้ลม อยู่กับลมได้ซักพัก เดี๋ยวกลับไปรู้กายที่สงบ
    เดี๋ยวเห็นสุขที่เกิดขึ้น แล้วกลับไปรู้ลม เดี๋ยวสังเกตุเห็นจิตที่ตั้งมั่น น้อมกลับมาที่ลม
    เดี๋ยวเห็นว่าเราทำให้สลัดกิเลสออกจากจิต เดี๋ยวมารู้กายที่สงบ เดี๋ยวอยู่ที่ลม
    เดี๋ยวน้อมไปเห็น ความดับของการปรุงแต่ง เดี๋ยวรู้ลม

    วนเวียนไร้รูปแบบอยู่อย่างนี้
    ถ้าปฏิบัติต้องยอมรับความจริงก่อน ไม่ต้องอายกิเลส
    ระหว่างทำอานาปานสติ จิตจะปรุงแต่งไปอย่างไร เลวร้าย ลามก ต้องรับความจริงก่อน
    เราจะแค่ดู แค่รู้มัน ตามที่มันเกิดจริง
    อานาปานสติไม่ใช่ แค่การอยู่กับกุศล แล้วรังเกียจ ตั้งแง่ในใจในอกุศล
    เมื่อไหร่รับความจริงได้ นั่นล่ะ "เพิ่งได้ทาง เริ่มปฏิบัติ"
    เมื่อเราไม่เข้าไปยินดียินร้าย เป็นผู้ดูจริงๆ โดยอาศัยบ้าน เป็น ลม
    ให้จิตได้พัก เหมือนน้ำขุ่นที่ตกตะกอน

    ความตั้งมั่นที่มากพอจะเห็น ของที่เวียนมาในจิตเป็นของไม่เที่ยง
    แม้จะความไม่เที่ยงนี้จะตามเห็นได้ตั้งเริ่มปฏิบัติ แต่เพราะความไม่ตั้งมั่นพอ
    การเห็นที่ เห็นโน่นเห็นนี่ แล้วน้อมมาเห็นความไม่เที่ยง จิตมันไม่ฟันธง

    อุปมาเหมือน เหรียญบาทตกลงในโอ่ง แต่น้ำนั้นยังขุ่น
    จะเห็นแค่ลางๆ เป็นหัว หรือ ก้อย คนเห็นแม้จะเพ่งอยู่ก็ไม่อาจฟันธงได้
    แต่เมื่อไหร่ตะกอนนั้นลงไปนอนก้น น้ำที่ขุ่นใสขึ้น
    เหรียญที่อยู่ก้นโอ่ง ก็จะแสดงตัว ว่าพลิกอยู่ด้านใด
    คนที่เห็นจะประจักษ์กับใจ หมดสงสัยเอง แล้วบอกกับเพื่อนได้เต็มปากว่า
    เหรียญพลิกไปด้านใด

    คุณ jittinon ลองโยนิโส ใน อานาปานสติ ของพระพุทธองค์
    แม้จะไม่เห็นเส้นทางชัด แต่อย่างน้อยจะเห็นทางลางๆที่พอจะออกเดินได้
    ขณะเห็นธรรม ไม่ใช่จะต้องขณะนั่งตั้งใจเจริญอานาปานสติ
    ถ้ามีเครื่องอยู่ ที่ระลึก เป็นลมหายใจ จิตจะตั้งมั่น
    เมื่อไหร่จิตตั้งมั่นพอ ไม่มีเจตนาเข้าประกอบ น้อมไปเห็นความจริงของธรรม
    ก็บรรลุได้ทุกขณะ จะฟังธรรมอยู่ จะล้างจาน จะนั่งขี้ ก็บรรลุธรรมได้
    สำรวจดู ความตั้งมั่นของจิต ถ้าไม่มี ก็ทำให้มี
    สร้างเหตุไว้รอ เดี๋ยวผลเกิดเอง

    ตอนเห็นธรรม จะปฏิบัติมรรคแบบไหน แตกต่างกันสุดๆยังไง
    ตอนเห็นธรรม เห็นเหมือนกัน มีอาการอย่างเดียวกัน คล้ายกัน
    ที่ว่าเห็นธรรม ไม่ใช้เห็นนิพพาน เห็นสิ่งว่างเปล่า หรือน่าดู ตื่นตาตื่นใจ
    ลองคิดตามก็ได้ครับ คนที่เห็นความไม่เที่ยง แบบจังๆ จะเป็นอย่างไร
    มันมีเหตุของการถอนสังโยชน์อยู่ มีการเกิดญาณ
    แต่ญาณที่ว่า ไม่ใช่คำพูดที่ดูโก้ๆ ว่า เกิดญาณ
    แต่เป็นเพียงความรู้ที่มันรู้ขึ้นมาหลังจากเห็นความจริง
    รู้แบบหมดสงสงสัยในเรื่องนั้นๆ ไม่ได้วิเศษเหนือธรรมชาติ แต่อย่างใด
    แต่ความรู้นี้เป็นความรู้ที่เป็นความจริงของสรรพสิ่งทั้งหมด
    เหมือนเข้าใจกฏของมัน แล้วดีดตัวออกจากกฏนี้ ที่มันวนเวียนไม่เลิก
     
  2. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ยังไกลฝั่งนิพพานมากครับ
     
  3. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..............เออ เนาะ พิมพ์สั้น จิ้ดเดียวไม่ลงทุนเลย...ดาวเหนือ อุตสา่ห์พิมพืไปคิดไปตั้งแยะ:cool: ถ้าจั่วมาแบบนี้ ก้ ต้อง เสริมเขาหน่อย สิครับ ว่า มันใกลยังไง
     
  4. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    นิพพานไม่ใช่การเข้าใจ นิพพานเป็นสภาพของสภาวะของจิตประจักษ์แจ้งนิพพานในมโนทวารเกิดจากการแยกรูปนามหรือพูดง่ายๆว่ารูปนามดับไปนั้นเอง. เมื่อรูปนามดับจะปรากฎจิตวิญญานที่เป็นตัวรู้ที่ทำงานอยู่ขันต์เดียววิมุติจะปรากฎ จึงเกิดวิมุติญานทัศนะ ตรงนี้จะนานไม่นานแล้วแต่มรรคจิต เมื่อสภาวะนี้ดับไปผลจิตเกิดต่อทันที. ขั้นต่ำสุดเป็นโสดาบัน. สภาวะทั้งหมดจะต้องเป็นภาพปรากฎในมโนทวารทั้งการแยกรูปนาม. จะต้องเห็นกายแยกจากกันเมื่อกายแยกวิมุติจะปรากฎจิตก็จะเข้าใจเห็นทุกอย่างเมื่อทำกิจเสร็จก็จะกลับมาเป็นปรกติ. และสัญญาจะรับความรู้จากตัววิญญานที่ได้ญานความรู้ สืบมา และจะต้องเกิดแสงสว่างที่ท่านไม่เคยเห็นในโลกนี้มาก่อนปรากฎต่อในมโนทวาร. ตรงนี้จบ1รอบ. จักขุ. ยาน. ปัญญา. วิชชา. แสงสว่าง.
     
  5. pukub

    pukub เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2014
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +219
    อันนี้ก็ยังไกลฝั่งนิพพานเหมือนกัน
     
  6. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ใช่ครับยังอีกไกล
     
  7. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ขอโมทนาด้วยอย่างแรงสุด

    พบคีย์เวิร์ดสำคัญคือ ตัวตัณหา

    ต้องละตัวตัณหานี้ออก จึงจะสามารถ
    เดินเข้าไปในเส้นทางได้ เมื่อเดินถูกทาง
    แล้วโอกาสที่จะถึงคำว่า"วิมุติ"ก็คงไม่ไกล
    อนุโมทนายิ่งครับ
     
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    Unlike!!
     

แชร์หน้านี้

Loading...