เรื่องเด่น อย่าตำหนิกรรมของผู้อื่น( โดยสมเด็จองค์ปฐมฯ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 17 มกราคม 2015.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    คนจร นอนหมอนหมิ่น
     
  2. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    อย่าศัทธาในตัวผมเพราะผมพ้นทุกข์ได้แล้ว
    แต่จงศัทธาในตัวเองให้มากๆว่า ตนเองกล้าที่จะเข้าหาผมเพื่อให้ผมช่วยคุณให้พ้นทุกข์ หรือไม่ เพราะคนที่ยังมีทุกข์อยู่คือตัวพวกคุณเอง หาไช่ตัวผมแต่อย่างใด

    ถ้าผมไม่เดือดร้อนกับพวกคุณ มันก็ไม่ไช่ความผิดของผม แต่ถ้าพวกคุณยังไม่เดือดร้อนในตัวเอง ใครเล่าจะไปช่วยอะไรพวกคุณได้
     
  3. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    พระพุทธเจ้า ท่านก็ช่วยได้เฉพาะคนที่ ยินดีให้ท่านช่วย ไม่มีใครเกินกว่านี้ไปได้หรอกครับ
     
  4. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ถ้าคลานเข่า เข้าหาน้าจรได้ จะพ้นทุกข์หราาคร้าาบบ :'(
     
  5. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    คิดได้เนาะ เรื่องแบบนี้ คุณเลยรับเองนะที่คิดได้น่ะ
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,432
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,473
    การมีสติสัมปชัญญะ เจริญขึ้นตามแนวสติปัฏฐานสี่ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

    ไม่ว่าจะตามแนวสายปฏิบัติไหน


    จะทำให้ คุณธรรมอื่นๆเจริญขึ้น ด้วย เช่น พรหมวิหารสี่ กุศลกรรมบถ อริยมรรคมีองค๋์แปด ฯลฯ มีผลต่อชีวิตประจำวันด้วย ถ้าทำถูกวิธี

    คือ อย่างน้อยจะเห็นว่า "ทุกชีวิต"ล้วนเสมอกัน ในฐานะสัตว์โลกที่ต้องเวียนเกิดเวียนตาย ถูกอวิชชา ตัณหา อุปาทาน กิเลส ฯลฯ บังคับ หลอกลวง บิดเบือน ปิดบัง ให้หลงผิดทั้งสิ้น มากน้อยต่างกัน

    ไม่มีใคร เลว ชั่ว แสดงกิริยาต่างๆของจิตแบบนั้นได้ตลอด เพียงแต่ ไม่รู้ว่าตนถูกธรรมละเอียดต่างๆ บงการใจ

    เห็นชัดเช่่นนี้บ่อยๆ เมตตา กรุณาอยากช่วยตนและชีวิตอื่นพ้นทุกข์ก็เกิดขึ้นอย่างธรรมชาติ ไม่ต้องเอาอะไรมาล่อ
    มีความยินดีที่ชีวิตอื่นได้ดี พ้นทุกข์แต่ละระดับ
    และวางเฉยไม่ซ้ำเติมใครเวลาเค้าพลาด รอคอย หาจังหวะเวลาช่วยเหลือเค้าได้


    แล้วชีวิตก็มีสุขยิ่งขึ้น

    โลกไม่ช้ำ ธรรมไม่ขุ่น
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,432
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,473
    [​IMG]
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,432
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,473
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,432
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,473
    คําสอนหลวงปู่ดู่ เรื่องการปรามาส เพราะเหลิง ไม่ระวัง

    "คนที่มาเมื่อกี้ หากไปเจอพระดีละก็ลงนรก ไม่ไปสวรรค์ นิพพานหรอก”
    ผู้เขียนจึงเรียนถามท่านว่า “เพราะเหตุไรครับ”
    ท่านตอบว่า “ก็จะไปปรามาสพระท่านน่ะซี ไม่ได้ไปเอาธรรมจากท่าน”
    หลวงพ่อเคยเตือนพวกเราไว้ว่า


    “การไปอยู่กับพระอรหันต์อย่าอยู่กับท่านนาน เพราะเมื่อเกิดความมักคุ้นแล้ว มักทำให้ลืมตัวเห็นท่านเป็นเพื่อนเล่น คุยเล่นหัวท่านบ้าง ให้ท่านเหาะให้ดูบ้างถึงกับบอกปากให้ท่านเลยก็มี การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการปรามาสพระ ลบหลู่ครูอาจารย์และเป็นบาปมาก ปิดกั้นทางมรรคผลนิพพานได้ จึงขอให้พวกเราสำรวมระวังให้ดี”




    [​IMG]
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,432
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,473
    อย่าตำหนิกรรมของผู้อื่น

    (โ ด ย ส ม เ ด็ จ อ ง ค์ ป ฐ ม)





    ทรงเมตตาสอนไว้เมื่อ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๕ พิจารณาแล้วเห็นว่ามีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่อ่าน แล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดผล มีความสำคัญโดยย่อดังนี้

    ในวันนี้ข้าพเจ้าและเพื่อนผู้ปฏิบัติธรรม มองเห็นชายคนหนึ่งที่แพเลี้ยงปลาของวัด จับปลาสวายตัวใหญ่ (ปลาของวัดเชื่องมาก) ขึ้นมาจากน้ำ ปลาก็ดิ้นจนหลุดจากมือตกน้ำไป เขาก็จับปลาขึ้นมาใหม่ด้วยความสนุกสนาน ในครั้งนี้ปลาดิ้นแล้วตกลงที่พื้นกระดานของแพปลา แล้วจึงตกลงไปในน้ำเมื่อพวกเราเห็นการกระทำ (กรรม) ของเขา ก็เกิดอารมณ์ปฏิฆะ (ไม่พอใจ) พูดขึ้นว่า ”บ้า” อีกท่านหนึ่งพูดว่า “ทะลึ่ง” ซึ่งเป็นการคิดชั่ว พูดชั่ว (สอบตกในมโนกรรมและวจีกรรมทั้งคู่)

    สมเด็จองค์ปฐมทรงเมตตาตรัสสอนว่า (เพื่อสะดวกในการจดจำ แล้วนำไปปฏิบัติต่อ ขอเขียนเป็นข้อๆ) ดังนี้

    ๑. "เหตุที่จิตมีอุปาทาน ยึดเอากรรมของผู้อื่นมาใส่จิตของเรา จึงกล่าวเป็นวจีกรรมหลุดออกไป เพราะเหตุไม่รู้เท่าทันอารมณ์ของจิต ที่ยึดเอาอุปาทานนั้นๆ(บุรุษผู้สร้างกรรมกับปลา) ถ้าไม่ใช่อดีตกรรมส่งผลให้เขาทำกับปลา กล่าวคือ ถ้าไม่ใช่ปลาเคยเป็นคนมาแล้ว จับคนที่เป็นปลาอยู่อย่างนี้แล้ว กรรมนี้ก็เป็นกรรมปัจจุบัน คือ มีอารมณ์ฟุ้งซ่านเหลวไหล เห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ มีอารมณ์สนุกไปกับการเบียดเบียนปลา จึงสร้างกรรมนี้ให้เกิดขึ้น ซึ่งกรรมนี้เมื่อลุล่วงไปแล้ว ก็เป็นกายกรรมอันส่งผลให้เกิดกรรมในอนาคตได้ กล่าวคือจะต้องมีชาติหนึ่งในต่อไปข้างหน้า บุรุษนี้ก็จะเกิดมาเป็นปลาสวาย และปลานั้นกลับชาติมาเกิดเป็นคนจับเงี่ยงปลาชูให้ดิ้นรน จนกระทั่งตกลงกระแทกแพอีก นี่คือกรรมภายนอก แต่เจ้าทั้งสองเอามาเป็นกรรมภายใน สร้างวจีกรรมให้เกิด เท่ากับเห็นคนผิด เห็นปลาถูก จึงไปตำหนิกรรมอยู่อย่างนั้น วจีกรรมคือนินทากับสรรเสริญนั่นเอง”

    ๒. "ถ้าจิตยังละการตำหนิกรรมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นมโนกรรมหรือวจีกรรม ก็เท่ากับสร้างผลกรรมให้ต่อเนื่องกันไป ในการตำหนิกรรมไม่รู้จักสิ้นสุด ในเมื่อโลกนี้มันเป็นวัฏจักรอยู่อย่างนี้ ผิดถูกในโลกนี้ไม่มี มันมีแต่กรรมล้วนๆ”

    ๓. "ในเมื่อเจ้าทั้งสองตำหนิกรรมอย่างนี้แล้ว พอไปชาติหน้าก็ประสบมาเป็นคน จากคนที่เป็นปลาก็ต้องมาตำหนิกรรมอีก เมื่อมัวแต่ตำหนิธรรมหรือกรรมของผู้อื่น อันสืบเนื่องเป็นสันตติประดุจกงกำกงเกวียน หมุนเวียนต่อเนื่องกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แล้วพวกเจ้าจะเอาชาติไหนมาตัดสินว่าใครผิด-ใครถูก โลกทั้งโลกมันเป็นอยู่อย่างนี้ เพราะกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน-อกุศลกรรมเป็นเหตุ ทำให้จิตของคนกระทำกรรมให้เกิดแก่มโน-วจีและกายได้อยู่เป็นอาจิณ”

    ๔. "เจ้าต้องการพ้นกรรม ก็จงหมั่นปล่อยวาง มองเห็นเหตุแห่งกรรม อะไรจักเกิดก็ต้องคิดว่า กรรมใครกรรมมัน รู้สันตติของกฎแห่งกรรมว่ามันเป็นอย่างนี้ ถ้าเขาไม่ทำกรรมกันมาก่อน กรรมนี้ก็จักไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นมาได้ ตถาคตจึงได้ตรัสยืนยันว่า กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เมื่อเรารู้เหตุก็จงดับที่เหตุแห่งกรรมนั้น จงอย่ามองว่าใครผิดใครถูก กรรมถ้าไม่ใช่เขาก่อขึ้นเอง มันก็เกิดขึ้นไม่ได้เองหรอก”

    ๕. "เมื่อพวกเจ้าเข้าใจดีแล้ว ก็จงหมั่นทำจิตให้พ้นจากการตำหนิธรรมเถิด ค่อยๆวางค่อยๆทำ กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม ก็จะละเอียดขึ้นตามลำดับ กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในวิมุติธรรม ทำอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ ยอมรับนับถือกฎของกรรมให้เกิดขึ้นในจิต ทำบ่อยๆเข้ามรรคผลก็จะปรากฏขึ้นเอง อย่าละความเพียรเสีย กระทบเท่าไหร่-เมื่อไหร่-ที่ไหนก็ต้องรู้ อย่าตำหนิธรรมให้เกิดขึ้นกับจิต เห็นกรรมที่เป็นสภาวะอย่างนี้อยู่ให้ชัดเจนอยู่ตลอดเวลาอยู่กับจิต ผู้ไม่รู้ย่อมกอปรกรรมให้เกิดด้วยจิตอุปาทานในกรรมนั้น ๆ กรรมใครกรรมมัน พวกเจ้าอย่าไปเกาะยึดเอากรรมนั้นๆมาตำหนิดีเลว เพราะเท่ากับว่ามีอุปาทานเห็นกรรมนั้น ๆ ว่าดี-เลว เมื่อจิตมีอุปาทานตำหนิดี-เลวจนเป็นมโนกรรม แล้วยับยั้งไม่อยู่ ก็ออกปากตำหนิดี-เลว จนเป็นวจีกรรมอีก”

    ๖. "ถ้าบุคคลไม่รู้อุปาทานนี้ ทำกรรมโดยลงแพไปต่อว่าต่อขานคนที่จับปลาเข้า ถ้ายังอารมณ์ปฏิฆะให้เกิด ก็จะทะเลาะกัน ดีไม่ดีก็จักทำร้ายร่างกายกัน จนเป็นกายกรรมสืบเนื่องต่อกันไปได้ ดังมีตัวอย่างมามากมาย คนอื่นเขาทะเลาะกัน สร้างกรรมกัน คนนอกเข้าไปสอดแทรก เป็นกรรมการห้ามปราม คู่กรณีไม่ยอมฟังเกิดอารมณ์โทสะขึ้นหน้า ลงมือทำร้ายกรรมการเสียจนตายไปด้วยความหมั่นไส้ เพราะฉะนั้น เมื่อพวกเจ้าปรารถนามรรคผลนิพพาน ก็ไม่ควรต่อกรรมกันไปอีก ยุติการตำหนิกรรมลงเสียให้ได้ ไม่ว่าจักเป็นกายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม ก็ต้องยุติลง ใช้ศีล-สมาธิ-ปัญญาอันเกิดแก่จิต พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงในสันตติวงล้อวัฏจักรกรรมว่ามันเป็นอยู่อย่างนี้เอง พยายามทำจิตให้ยอมรับกฎของกรรมโทษของกรรมไม่ว่าดีหรือเลวนั้นไม่มี เห็นแต่กงกำกงเกวียนหมุนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด จงยอมรับกฎของกรรมซึ่งยุติธรรมที่สุด ใครทำใครได้ อย่าไปมีหุ้นส่วนกรรมกับใครๆเขาโดยการตำหนิกรรมเป็นอันขาด จำไว้นะ ”

    ขอยกตัวอย่างอารมณ์ที่สอบตกสัก ๒ เรื่อง

    เรื่องแรก...มีความโดยย่อว่า มีคนมาเล่าให้ฟังว่า หญิงแก่คนหนึ่งว่าจ้างรถจากในเมืองให้มาส่งที่วัดท่าซุงในราคา ๕๐ บาท พอรถมาส่งที่วัด หญิงแก่กลับให้ค่ารถเพียง ๑๐ บาท บอกว่าฉันมีแค่นี้จะเอาหรือไม่เอา คนรถก็ตำหนิหญิงคนนั้นว่า อะไรกัน คนมาปฏิบัติธรรมที่วัดใหญ่โต แต่ไม่มีสัจจะ พอได้ยินเขาเล่าเพียงแค่นี้ จิตก็ปรุงแต่งตำหนิหญิงแก่นั้นเสียยืดยาว คือ ร่วมวงนินทาปสังสากับผู้เล่าเสียเพลิน กว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผิดทั้งมโนกรรมและวจีกรรม ก็ว่าไปครบสูตรแล้ว จึงต้องขอขมาพระรัตนตรัย

    เรื่องที่ ๒ คือ ตัวของข้าพเจ้าเอง พอขอขมาพระรัตนตรัยเรื่องการตำหนิกรรมของบุรุษผู้สร้างกรรมกับปลาแล้ว ตาก็เห็นหนังสือพิมพ์พาดหัวโต ๆ ว่า เมืองไทยมีคดีฆ่าคนตายมากเป็นอันดับ ๒ ของโลก จิตก็ตำหนิกรรมทันทีว่าไม่จริง เป็นอุปาทานของนักข่าวเอง เพราะประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศที่มีคดีฆ่าคนมากกว่าเรา แต่หนังสือพิมพ์เขาไม่ประโคมข่าวในหนังสือพิมพ์หน้าแรกเหมือนเมืองไทย เมืองไทยชอบประโคมข่าวชั่วร้ายข่าวไม่ดีในหน้าแรกตัวโตๆ ชอบขายข่าวบนความทุกข์ของชาวบ้าน ว่าเสียยาวกว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผลก็คือต้องขอขมาพระรัตนตรัยอีกครั้ง

    : หมายเหตุ

    นี่คือตัวอย่างเมื่อ ๑๕ ปีที่แล้ว ผู้อ่านพระธรรมบทนี้แล้วหากหวังก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม เมื่อรู้ตัวเองว่าผิดก็ควรจะละอายแก่ใจ (มีเทวธรรมหรือหิริ - โอตตัปปะ) ให้ขอขมาพระรัตนตรัยทุกครั้งจนเป็นนิสัย

    ผมขออาราธนาบารมีคุณพระศรีรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง ขอให้ผู้อ่านด้วยความศรัทธาทุกท่าน จงโชคดีในธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ ในชาติปัจจุบันนี้



    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อวชฺเช วชฺชมติโน
    วชฺเช อวชฺชทสฺสิโน
    มิจฺฉาทิฏฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคตึ ฯ

    วชฺชญฺจ วชฺชโต ญตฺวา
    อวชฺชญฺจ อวชฺชโต
    สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ ฯ


    สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษในธรรมที่หาโทษมิได้
    มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ในธรรมที่มีโทษ
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ”

    สัตว์ทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมมีโทษ
    รู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งสัมมาทิฏฐิ
    ย่อมไปสู่สุคติ.



    โจทนาสูตร
    ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส
    ทั้งหลาย ภิกษุผู้โจทก์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการไว้ภายใน
    ก่อนแล้วจึงโจทผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ธรรมว่า เราจักกล่าวโดย
    กาลควร จักไม่กล่าวโดยกาลไม่ควร ๑ จักกล่าวด้วยเรื่องจริง จักไม่กล่าวด้วย
    เรื่องไม่จริง ๑ จักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ ๑ จักกล่าว
    ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
    จักเป็นผู้มีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เป็นผู้เพ่งโทษกล่าว ๑ ดูกรอาวุโส
    ภิกษุผู้โจทก์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ภายในก่อนแล้วจึง
    โจทผู้อื่น ฯ


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ถูกผู้อื่นโจทโดย
    กาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลอันควร ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่
    ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำอ่อน
    หวาน ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วย
    เรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วย
    เมตตาจิต ก็โกรธ ฯ


    ดูกรอาวุโส ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดย
    ไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาล
    ควร ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่อง
    จริง ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำอ่อน
    หวาน ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูก
    โจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่
    เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ฯ


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์
    โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาล
    ควร ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง ท่าน
    จึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำอ่อนหวาน ท่านจึงควร
    เดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่
    ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเพ่งโทษ ไม่โจทด้วย
    เมตตาจิต ท่านจึงควรเดือดร้อน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึง
    ให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะว่า ภิกษุแม้รูปอื่นไม่พึงเข้าใจว่า พึงโจทด้วยเรื่องไม่จริง ฯ


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ถูกโจทโดย
    กาลควร ไม่ถูกโจทโดยกาลไม่ควร ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ถูกโจท
    ด้วยเรื่องไม่จริง ก็โกรธ ถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยคำหยาบ
    ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่
    ประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยเพ่งโทษ
    ก็โกรธ ฯ


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูก
    โจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ คือ ท่านถูกโจทโดยกาลควร ไม่ถูกโจทโดยกาล
    ไม่ควร ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่
    จริง ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยคำหยาบ
    ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจท
    ด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วย
    เมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควรเดือดร้อน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
    ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ นี้ ฯ


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจท
    โดยเป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านโจทโดยกาลควร ไม่โจทโดยกาลไม่ควร
    ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง ท่านจึง
    ไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่โจทด้วยคำหยาบ ท่านจึงไม่ควร
    เดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่ไม่
    ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเมตตาจิต ไม่โจท
    ด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน
    ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะว่าภิกษุแม้รูปอื่นพึงเข้าใจว่า พึงโจทด้วยเรื่องจริง ฯ
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อันบุคคลผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ
    ความจริง และความไม่โกรธ ฯ


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย (ถ้า) ผู้อื่นพึงโจท (เรา) ด้วยธรรม ๕ ประการ
    คือ พึงโจทโดยกาลควรหรือโดยกาลไม่ควร ๑ ด้วยเรื่องจริงหรือด้วยเรื่องไม่จริง ๑
    ด้วยคำอ่อนหวานหรือด้วยคำหยาบ ๑ ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ หรือ
    ด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ด้วยเมตตาจิตหรือด้วยเพ่งโทษ ๑ แม้
    เราก็พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริงและความไม่โกรธ ถ้าเราพึง
    ทราบว่าธรรมนั้นมีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรมนั้นว่า มีอยู่ ว่าธรรมนั้นมีอยู่
    พร้อมในเรา ถ้าเราพึงทราบว่าธรรมนั้นไม่มีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรมนั้นว่า
    ไม่มีอยู่ ว่าธรรมนั้นไม่มีอยู่พร้อมในเรา ฯ


    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เรื่องก็จะพึงเป็นเช่นนั้น แต่ว่า
    โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับโดยเคารพ ฯ
    สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยง
    ชีวิต มิใช่ออกบวชด้วยศรัทธา เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เกเร ฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่ง
    เหลาะแหละ ปากกล้า พูดพล่าม ไม่สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จัก
    ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เพ่งถึงความเป็นสมณะ ไม่มี
    ความเคารพกล้าในสิกขา มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด
    ทอดธุระในวิเวก เกียจคร้าน มีความเพียรทราม มีสติเลอะเลือน ไม่มี
    สัมปชัญญะ ไม่มีจิตมั่นคง มีจิตฟุ้งซ่าน มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย คน
    เหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ ย่อมไม่รับโดยเคารพ ส่วนกุลบุตร
    เหล่าใด มีศรัทธาออกบวช ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่
    เย่อหยิ่ง ไม่เหลาะแหละ ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม สำรวมทวารในอินทรีย์
    ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร เพ่งถึงความเป็นสมณะ มี
    ความเคารพกล้าในสิกขา ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการล่วงละเมิด
    เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียร อบรมตน มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ
    มีจิตมั่นคง มีจิตเป็นหนึ่ง มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย กุลบุตรเหล่านั้น
    เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ย่อมรับโดยเคารพ ฯ


    พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มี
    ปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย จงยกไว้ (ยกเว้น) ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มี
    ศรัทธาออกบวช มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย ดูกรสารีบุตร เธอพึงว่า
    กล่าวกุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจรรย์ จงพร่ำสอนเพื่อนพรหมจรรย์ ด้วยหวังว่าเราจักยกเพื่อนพรหมจรรย์จากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม
    เธอพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้แล สารีบุตร ฯ
    จบสูตรที่ ๗

    วิธีการสอนนี้เป็นการแสดงถึง การรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาของพระพุทธองค์ที่ใช้สอนบุคคลระดับต่างๆ ถ้าผู้สอนสอนอย่างไม่มีอัตตา ลดละตัณหา มานะ ทิฏฐิเสียให้น้อยที่สุด ก็จะมุ่งไปยังผลสำเร็จในการเรียนรู้เป็นสำคัญ เช่น กรณีที่พระพุทธเจ้าตรัสกับคนฝึกม้าที่มีวิธีการฝึกด้วยวิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง ทั้งวิธีแบบสุภาพและรุนแรง จนกระทั่งสุดท้ายเมื่อฝึกไม่ได้ก็ฆ่าทิ้งเสีย

    พระพุทธองค์ก็ใช้วิธีการที่คนฝึกม้ากล่าวไว้นั้น ย้อนกลับมาเป็นอุปกรณ์การสอนของพระองค์ ด้วยพระดำรัสว่า “เราย่อมฝึกคนด้วยวิธีละมุนละไมบ้าง ด้วยวิธีรุนแรงบ้าง ด้วยวิธีที่ทั้งละมุนละไมและทั้งรุนแรงปนกันไปบ้าง และถ้าฝึกไม่ได้ก็ฆ่าเสีย” แต่ในกรณีการฆ่าของพระองค์นั้น หมายถึงการไม่เอาใจใส่ต่อบุคคลที่ไม่มีความสนใจในธรรม จึงฆ่าเสียคือปล่อยให้หล่นไปสู่หนทางที่ไม่ดี เพราะสาเหตุจากการไม่สนใจของบุคคลนั้น การทำในลักษณะดังกล่าว ถือว่าเป็นการฆ่าในอริยวินัย

    นี่แค่ทรงสอนทรงตำหนิกรรมนั้นๆ ก็ถึงตายด้วยธาตุทัณฑ์
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว และเมื่อกำลังตรัส
    ไวยากรณภาษิตนี้อยู่ โลหิตร้อนพุ่งออกจากปากของภิกษุ ๖๐ รูป (พวกต้น)
    ภิกษุ ๖๐ รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ด้วยกราบทูลพระผู้มี
    พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้
    แสนยาก อีก ๖๐ รูป จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ฯ
    อัคคิขันธูปมสูตร

    https://youtu.be/IJf5hFi25kk
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2016
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,432
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,473
    อย่าตำหนิกรรมของผู้อื่น

    (โ ด ย ส ม เ ด็ จ อ ง ค์ ป ฐ ม)





    ทรงเมตตาสอนไว้เมื่อ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๕ พิจารณาแล้วเห็นว่ามีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่อ่าน แล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดผล มีความสำคัญโดยย่อดังนี้

    ในวันนี้ข้าพเจ้าและเพื่อนผู้ปฏิบัติธรรม มองเห็นชายคนหนึ่งที่แพเลี้ยงปลาของวัด จับปลาสวายตัวใหญ่ (ปลาของวัดเชื่องมาก) ขึ้นมาจากน้ำ ปลาก็ดิ้นจนหลุดจากมือตกน้ำไป เขาก็จับปลาขึ้นมาใหม่ด้วยความสนุกสนาน ในครั้งนี้ปลาดิ้นแล้วตกลงที่พื้นกระดานของแพปลา แล้วจึงตกลงไปในน้ำเมื่อพวกเราเห็นการกระทำ (กรรม) ของเขา ก็เกิดอารมณ์ปฏิฆะ (ไม่พอใจ) พูดขึ้นว่า ”บ้า” อีกท่านหนึ่งพูดว่า “ทะลึ่ง” ซึ่งเป็นการคิดชั่ว พูดชั่ว (สอบตกในมโนกรรมและวจีกรรมทั้งคู่)

    สมเด็จองค์ปฐมทรงเมตตาตรัสสอนว่า (เพื่อสะดวกในการจดจำ แล้วนำไปปฏิบัติต่อ ขอเขียนเป็นข้อๆ) ดังนี้

    ๑. "เหตุที่จิตมีอุปาทาน ยึดเอากรรมของผู้อื่นมาใส่จิตของเรา จึงกล่าวเป็นวจีกรรมหลุดออกไป เพราะเหตุไม่รู้เท่าทันอารมณ์ของจิต ที่ยึดเอาอุปาทานนั้นๆ(บุรุษผู้สร้างกรรมกับปลา) ถ้าไม่ใช่อดีตกรรมส่งผลให้เขาทำกับปลา กล่าวคือ ถ้าไม่ใช่ปลาเคยเป็นคนมาแล้ว จับคนที่เป็นปลาอยู่อย่างนี้แล้ว กรรมนี้ก็เป็นกรรมปัจจุบัน คือ มีอารมณ์ฟุ้งซ่านเหลวไหล เห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ มีอารมณ์สนุกไปกับการเบียดเบียนปลา จึงสร้างกรรมนี้ให้เกิดขึ้น ซึ่งกรรมนี้เมื่อลุล่วงไปแล้ว ก็เป็นกายกรรมอันส่งผลให้เกิดกรรมในอนาคตได้ กล่าวคือจะต้องมีชาติหนึ่งในต่อไปข้างหน้า บุรุษนี้ก็จะเกิดมาเป็นปลาสวาย และปลานั้นกลับชาติมาเกิดเป็นคนจับเงี่ยงปลาชูให้ดิ้นรน จนกระทั่งตกลงกระแทกแพอีก นี่คือกรรมภายนอก แต่เจ้าทั้งสองเอามาเป็นกรรมภายใน สร้างวจีกรรมให้เกิด เท่ากับเห็นคนผิด เห็นปลาถูก จึงไปตำหนิกรรมอยู่อย่างนั้น วจีกรรมคือนินทากับสรรเสริญนั่นเอง”

    ๒. "ถ้าจิตยังละการตำหนิกรรมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นมโนกรรมหรือวจีกรรม ก็เท่ากับสร้างผลกรรมให้ต่อเนื่องกันไป ในการตำหนิกรรมไม่รู้จักสิ้นสุด ในเมื่อโลกนี้มันเป็นวัฏจักรอยู่อย่างนี้ ผิดถูกในโลกนี้ไม่มี มันมีแต่กรรมล้วนๆ”

    ๓. "ในเมื่อเจ้าทั้งสองตำหนิกรรมอย่างนี้แล้ว พอไปชาติหน้าก็ประสบมาเป็นคน จากคนที่เป็นปลาก็ต้องมาตำหนิกรรมอีก เมื่อมัวแต่ตำหนิธรรมหรือกรรมของผู้อื่น อันสืบเนื่องเป็นสันตติประดุจกงกำกงเกวียน หมุนเวียนต่อเนื่องกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แล้วพวกเจ้าจะเอาชาติไหนมาตัดสินว่าใครผิด-ใครถูก โลกทั้งโลกมันเป็นอยู่อย่างนี้ เพราะกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน-อกุศลกรรมเป็นเหตุ ทำให้จิตของคนกระทำกรรมให้เกิดแก่มโน-วจีและกายได้อยู่เป็นอาจิณ”

    ๔. "เจ้าต้องการพ้นกรรม ก็จงหมั่นปล่อยวาง มองเห็นเหตุแห่งกรรม อะไรจักเกิดก็ต้องคิดว่า กรรมใครกรรมมัน รู้สันตติของกฎแห่งกรรมว่ามันเป็นอย่างนี้ ถ้าเขาไม่ทำกรรมกันมาก่อน กรรมนี้ก็จักไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นมาได้ ตถาคตจึงได้ตรัสยืนยันว่า กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เมื่อเรารู้เหตุก็จงดับที่เหตุแห่งกรรมนั้น จงอย่ามองว่าใครผิดใครถูก กรรมถ้าไม่ใช่เขาก่อขึ้นเอง มันก็เกิดขึ้นไม่ได้เองหรอก”

    ๕. "เมื่อพวกเจ้าเข้าใจดีแล้ว ก็จงหมั่นทำจิตให้พ้นจากการตำหนิธรรมเถิด ค่อยๆวางค่อยๆทำ กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม ก็จะละเอียดขึ้นตามลำดับ กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในวิมุติธรรม ทำอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ ยอมรับนับถือกฎของกรรมให้เกิดขึ้นในจิต ทำบ่อยๆเข้ามรรคผลก็จะปรากฏขึ้นเอง อย่าละความเพียรเสีย กระทบเท่าไหร่-เมื่อไหร่-ที่ไหนก็ต้องรู้ อย่าตำหนิธรรมให้เกิดขึ้นกับจิต เห็นกรรมที่เป็นสภาวะอย่างนี้อยู่ให้ชัดเจนอยู่ตลอดเวลาอยู่กับจิต ผู้ไม่รู้ย่อมกอปรกรรมให้เกิดด้วยจิตอุปาทานในกรรมนั้น ๆ กรรมใครกรรมมัน พวกเจ้าอย่าไปเกาะยึดเอากรรมนั้นๆมาตำหนิดีเลว เพราะเท่ากับว่ามีอุปาทานเห็นกรรมนั้น ๆ ว่าดี-เลว เมื่อจิตมีอุปาทานตำหนิดี-เลวจนเป็นมโนกรรม แล้วยับยั้งไม่อยู่ ก็ออกปากตำหนิดี-เลว จนเป็นวจีกรรมอีก”

    ๖. "ถ้าบุคคลไม่รู้อุปาทานนี้ ทำกรรมโดยลงแพไปต่อว่าต่อขานคนที่จับปลาเข้า ถ้ายังอารมณ์ปฏิฆะให้เกิด ก็จะทะเลาะกัน ดีไม่ดีก็จักทำร้ายร่างกายกัน จนเป็นกายกรรมสืบเนื่องต่อกันไปได้ ดังมีตัวอย่างมามากมาย คนอื่นเขาทะเลาะกัน สร้างกรรมกัน คนนอกเข้าไปสอดแทรก เป็นกรรมการห้ามปราม คู่กรณีไม่ยอมฟังเกิดอารมณ์โทสะขึ้นหน้า ลงมือทำร้ายกรรมการเสียจนตายไปด้วยความหมั่นไส้ เพราะฉะนั้น เมื่อพวกเจ้าปรารถนามรรคผลนิพพาน ก็ไม่ควรต่อกรรมกันไปอีก ยุติการตำหนิกรรมลงเสียให้ได้ ไม่ว่าจักเป็นกายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม ก็ต้องยุติลง ใช้ศีล-สมาธิ-ปัญญาอันเกิดแก่จิต พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงในสันตติวงล้อวัฏจักรกรรมว่ามันเป็นอยู่อย่างนี้เอง พยายามทำจิตให้ยอมรับกฎของกรรมโทษของกรรมไม่ว่าดีหรือเลวนั้นไม่มี เห็นแต่กงกำกงเกวียนหมุนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด จงยอมรับกฎของกรรมซึ่งยุติธรรมที่สุด ใครทำใครได้ อย่าไปมีหุ้นส่วนกรรมกับใครๆเขาโดยการตำหนิกรรมเป็นอันขาด จำไว้นะ ”

    ขอยกตัวอย่างอารมณ์ที่สอบตกสัก ๒ เรื่อง

    เรื่องแรก...มีความโดยย่อว่า มีคนมาเล่าให้ฟังว่า หญิงแก่คนหนึ่งว่าจ้างรถจากในเมืองให้มาส่งที่วัดท่าซุงในราคา ๕๐ บาท พอรถมาส่งที่วัด หญิงแก่กลับให้ค่ารถเพียง ๑๐ บาท บอกว่าฉันมีแค่นี้จะเอาหรือไม่เอา คนรถก็ตำหนิหญิงคนนั้นว่า อะไรกัน คนมาปฏิบัติธรรมที่วัดใหญ่โต แต่ไม่มีสัจจะ พอได้ยินเขาเล่าเพียงแค่นี้ จิตก็ปรุงแต่งตำหนิหญิงแก่นั้นเสียยืดยาว คือ ร่วมวงนินทาปสังสากับผู้เล่าเสียเพลิน กว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผิดทั้งมโนกรรมและวจีกรรม ก็ว่าไปครบสูตรแล้ว จึงต้องขอขมาพระรัตนตรัย

    เรื่องที่ ๒ คือ ตัวของข้าพเจ้าเอง พอขอขมาพระรัตนตรัยเรื่องการตำหนิกรรมของบุรุษผู้สร้างกรรมกับปลาแล้ว ตาก็เห็นหนังสือพิมพ์พาดหัวโต ๆ ว่า เมืองไทยมีคดีฆ่าคนตายมากเป็นอันดับ ๒ ของโลก จิตก็ตำหนิกรรมทันทีว่าไม่จริง เป็นอุปาทานของนักข่าวเอง เพราะประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศที่มีคดีฆ่าคนมากกว่าเรา แต่หนังสือพิมพ์เขาไม่ประโคมข่าวในหนังสือพิมพ์หน้าแรกเหมือนเมืองไทย เมืองไทยชอบประโคมข่าวชั่วร้ายข่าวไม่ดีในหน้าแรกตัวโตๆ ชอบขายข่าวบนความทุกข์ของชาวบ้าน ว่าเสียยาวกว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผลก็คือต้องขอขมาพระรัตนตรัยอีกครั้ง

    : หมายเหตุ

    นี่คือตัวอย่างเมื่อ ๑๕ ปีที่แล้ว ผู้อ่านพระธรรมบทนี้แล้วหากหวังก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม เมื่อรู้ตัวเองว่าผิดก็ควรจะละอายแก่ใจ (มีเทวธรรมหรือหิริ - โอตตัปปะ) ให้ขอขมาพระรัตนตรัยทุกครั้งจนเป็นนิสัย

    ผมขออาราธนาบารมีคุณพระศรีรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง ขอให้ผู้อ่านด้วยความศรัทธาทุกท่าน จงโชคดีในธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ ในชาติปัจจุบันนี้



    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,432
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,473
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. ปาปิปผลิ

    ปาปิปผลิ พระอุโบสถเจดีย์7ชั้น

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    503
    ค่าพลัง:
    +1,801
    สาธุ บทความคำาอนดีมากๆเลยค่ะ
    ขออนถโมทนาบุญด้วยค่ะ
     
  15. ปาปิปผลิ

    ปาปิปผลิ พระอุโบสถเจดีย์7ชั้น

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    503
    ค่าพลัง:
    +1,801
    สาธุค่ะ พึ่งอ่านจนจบดีมากๆค่ะ......การหยุดกรรมไม่ต่อกรรม
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,432
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,473
    อย่าตำหนิกรรมของผู้อื่น



    (โ ด ย ส ม เ ด็ จ อ ง ค์ ป ฐ ม)









    ทรงเมตตาสอนไว้เมื่อ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๕ พิจารณาแล้วเห็นว่ามีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่อ่าน แล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดผล มีความสำคัญโดยย่อดังนี้



    ในวันนี้ข้าพเจ้าและเพื่อนผู้ปฏิบัติธรรม มองเห็นชายคนหนึ่งที่แพเลี้ยงปลาของวัด จับปลาสวายตัวใหญ่ (ปลาของวัดเชื่องมาก) ขึ้นมาจากน้ำ ปลาก็ดิ้นจนหลุดจากมือตกน้ำไป เขาก็จับปลาขึ้นมาใหม่ด้วยความสนุกสนาน ในครั้งนี้ปลาดิ้นแล้วตกลงที่พื้นกระดานของแพปลา แล้วจึงตกลงไปในน้ำเมื่อพวกเราเห็นการกระทำ (กรรม) ของเขา ก็เกิดอารมณ์ปฏิฆะ (ไม่พอใจ) พูดขึ้นว่า ”บ้า” อีกท่านหนึ่งพูดว่า “ทะลึ่ง” ซึ่งเป็นการคิดชั่ว พูดชั่ว (สอบตกในมโนกรรมและวจีกรรมทั้งคู่)



    สมเด็จองค์ปฐมทรงเมตตาตรัสสอนว่า (เพื่อสะดวกในการจดจำ แล้วนำไปปฏิบัติต่อ ขอเขียนเป็นข้อๆ) ดังนี้



    ๑. "เหตุที่จิตมีอุปาทาน ยึดเอากรรมของผู้อื่นมาใส่จิตของเรา จึงกล่าวเป็นวจีกรรมหลุดออกไป เพราะเหตุไม่รู้เท่าทันอารมณ์ของจิต ที่ยึดเอาอุปาทานนั้นๆ(บุรุษผู้สร้างกรรมกับปลา) ถ้าไม่ใช่อดีตกรรมส่งผลให้เขาทำกับปลา กล่าวคือ ถ้าไม่ใช่ปลาเคยเป็นคนมาแล้ว จับคนที่เป็นปลาอยู่อย่างนี้แล้ว กรรมนี้ก็เป็นกรรมปัจจุบัน คือ มีอารมณ์ฟุ้งซ่านเหลวไหล เห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ มีอารมณ์สนุกไปกับการเบียดเบียนปลา จึงสร้างกรรมนี้ให้เกิดขึ้น ซึ่งกรรมนี้เมื่อลุล่วงไปแล้ว ก็เป็นกายกรรมอันส่งผลให้เกิดกรรมในอนาคตได้ กล่าวคือจะต้องมีชาติหนึ่งในต่อไปข้างหน้า บุรุษนี้ก็จะเกิดมาเป็นปลาสวาย และปลานั้นกลับชาติมาเกิดเป็นคนจับเงี่ยงปลาชูให้ดิ้นรน จนกระทั่งตกลงกระแทกแพอีก นี่คือกรรมภายนอก แต่เจ้าทั้งสองเอามาเป็นกรรมภายใน สร้างวจีกรรมให้เกิด เท่ากับเห็นคนผิด เห็นปลาถูก จึงไปตำหนิกรรมอยู่อย่างนั้น วจีกรรมคือนินทากับสรรเสริญนั่นเอง”



    ๒. "ถ้าจิตยังละการตำหนิกรรมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นมโนกรรมหรือวจีกรรม ก็เท่ากับสร้างผลกรรมให้ต่อเนื่องกันไป ในการตำหนิกรรมไม่รู้จักสิ้นสุด ในเมื่อโลกนี้มันเป็นวัฏจักรอยู่อย่างนี้ ผิดถูกในโลกนี้ไม่มี มันมีแต่กรรมล้วนๆ”



    ๓. "ในเมื่อเจ้าทั้งสองตำหนิกรรมอย่างนี้แล้ว พอไปชาติหน้าก็ประสบมาเป็นคน จากคนที่เป็นปลาก็ต้องมาตำหนิกรรมอีก เมื่อมัวแต่ตำหนิธรรมหรือกรรมของผู้อื่น อันสืบเนื่องเป็นสันตติประดุจกงกำกงเกวียน หมุนเวียนต่อเนื่องกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แล้วพวกเจ้าจะเอาชาติไหนมาตัดสินว่าใครผิด-ใครถูก โลกทั้งโลกมันเป็นอยู่อย่างนี้ เพราะกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน-อกุศลกรรมเป็นเหตุ ทำให้จิตของคนกระทำกรรมให้เกิดแก่มโน-วจีและกายได้อยู่เป็นอาจิณ”



    ๔. "เจ้าต้องการพ้นกรรม ก็จงหมั่นปล่อยวาง มองเห็นเหตุแห่งกรรม อะไรจักเกิดก็ต้องคิดว่า กรรมใครกรรมมัน รู้สันตติของกฎแห่งกรรมว่ามันเป็นอย่างนี้ ถ้าเขาไม่ทำกรรมกันมาก่อน กรรมนี้ก็จักไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นมาได้ ตถาคตจึงได้ตรัสยืนยันว่า กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เมื่อเรารู้เหตุก็จงดับที่เหตุแห่งกรรมนั้น จงอย่ามองว่าใครผิดใครถูก กรรมถ้าไม่ใช่เขาก่อขึ้นเอง มันก็เกิดขึ้นไม่ได้เองหรอก”



    ๕. "เมื่อพวกเจ้าเข้าใจดีแล้ว ก็จงหมั่นทำจิตให้พ้นจากการตำหนิธรรมเถิด ค่อยๆวางค่อยๆทำ กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม ก็จะละเอียดขึ้นตามลำดับ กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในวิมุติธรรม ทำอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ ยอมรับนับถือกฎของกรรมให้เกิดขึ้นในจิต ทำบ่อยๆเข้ามรรคผลก็จะปรากฏขึ้นเอง อย่าละความเพียรเสีย กระทบเท่าไหร่-เมื่อไหร่-ที่ไหนก็ต้องรู้ อย่าตำหนิธรรมให้เกิดขึ้นกับจิต เห็นกรรมที่เป็นสภาวะอย่างนี้อยู่ให้ชัดเจนอยู่ตลอดเวลาอยู่กับจิต ผู้ไม่รู้ย่อมกอปรกรรมให้เกิดด้วยจิตอุปาทานในกรรมนั้น ๆ กรรมใครกรรมมัน พวกเจ้าอย่าไปเกาะยึดเอากรรมนั้นๆมาตำหนิดีเลว เพราะเท่ากับว่ามีอุปาทานเห็นกรรมนั้น ๆ ว่าดี-เลว เมื่อจิตมีอุปาทานตำหนิดี-เลวจนเป็นมโนกรรม แล้วยับยั้งไม่อยู่ ก็ออกปากตำหนิดี-เลว จนเป็นวจีกรรมอีก”



    ๖. "ถ้าบุคคลไม่รู้อุปาทานนี้ ทำกรรมโดยลงแพไปต่อว่าต่อขานคนที่จับปลาเข้า ถ้ายังอารมณ์ปฏิฆะให้เกิด ก็จะทะเลาะกัน ดีไม่ดีก็จักทำร้ายร่างกายกัน จนเป็นกายกรรมสืบเนื่องต่อกันไปได้ ดังมีตัวอย่างมามากมาย คนอื่นเขาทะเลาะกัน สร้างกรรมกัน คนนอกเข้าไปสอดแทรก เป็นกรรมการห้ามปราม คู่กรณีไม่ยอมฟังเกิดอารมณ์โทสะขึ้นหน้า ลงมือทำร้ายกรรมการเสียจนตายไปด้วยความหมั่นไส้ เพราะฉะนั้น เมื่อพวกเจ้าปรารถนามรรคผลนิพพาน ก็ไม่ควรต่อกรรมกันไปอีก ยุติการตำหนิกรรมลงเสียให้ได้ ไม่ว่าจักเป็นกายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม ก็ต้องยุติลง ใช้ศีล-สมาธิ-ปัญญาอันเกิดแก่จิต พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงในสันตติวงล้อวัฏจักรกรรมว่ามันเป็นอยู่อย่างนี้เอง พยายามทำจิตให้ยอมรับกฎของกรรมโทษของกรรมไม่ว่าดีหรือเลวนั้นไม่มี เห็นแต่กงกำกงเกวียนหมุนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด จงยอมรับกฎของกรรมซึ่งยุติธรรมที่สุด ใครทำใครได้ อย่าไปมีหุ้นส่วนกรรมกับใครๆเขาโดยการตำหนิกรรมเป็นอันขาด จำไว้นะ ”



    ขอยกตัวอย่างอารมณ์ที่สอบตกสัก ๒ เรื่อง



    เรื่องแรก...มีความโดยย่อว่า มีคนมาเล่าให้ฟังว่า หญิงแก่คนหนึ่งว่าจ้างรถจากในเมืองให้มาส่งที่วัดท่าซุงในราคา ๕๐ บาท พอรถมาส่งที่วัด หญิงแก่กลับให้ค่ารถเพียง ๑๐ บาท บอกว่าฉันมีแค่นี้จะเอาหรือไม่เอา คนรถก็ตำหนิหญิงคนนั้นว่า อะไรกัน คนมาปฏิบัติธรรมที่วัดใหญ่โต แต่ไม่มีสัจจะ พอได้ยินเขาเล่าเพียงแค่นี้ จิตก็ปรุงแต่งตำหนิหญิงแก่นั้นเสียยืดยาว คือ ร่วมวงนินทาปสังสากับผู้เล่าเสียเพลิน กว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผิดทั้งมโนกรรมและวจีกรรม ก็ว่าไปครบสูตรแล้ว จึงต้องขอขมาพระรัตนตรัย



    เรื่องที่ ๒ คือ ตัวของข้าพเจ้าเอง พอขอขมาพระรัตนตรัยเรื่องการตำหนิกรรมของบุรุษผู้สร้างกรรมกับปลาแล้ว ตาก็เห็นหนังสือพิมพ์พาดหัวโต ๆ ว่า เมืองไทยมีคดีฆ่าคนตายมากเป็นอันดับ ๒ ของโลก จิตก็ตำหนิกรรมทันทีว่าไม่จริง เป็นอุปาทานของนักข่าวเอง เพราะประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศที่มีคดีฆ่าคนมากกว่าเรา แต่หนังสือพิมพ์เขาไม่ประโคมข่าวในหนังสือพิมพ์หน้าแรกเหมือนเมืองไทย เมืองไทยชอบประโคมข่าวชั่วร้ายข่าวไม่ดีในหน้าแรกตัวโตๆ ชอบขายข่าวบนความทุกข์ของชาวบ้าน ว่าเสียยาวกว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผลก็คือต้องขอขมาพระรัตนตรัยอีกครั้ง



    : หมายเหตุ



    นี่คือตัวอย่างเมื่อ ๑๕ ปีที่แล้ว ผู้อ่านพระธรรมบทนี้แล้วหากหวังก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม เมื่อรู้ตัวเองว่าผิดก็ควรจะละอายแก่ใจ (มีเทวธรรมหรือหิริ - โอตตัปปะ) ให้ขอขมาพระรัตนตรัยทุกครั้งจนเป็นนิสัย



    ผมขออาราธนาบารมีคุณพระศรีรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง ขอให้ผู้อ่านด้วยความศรัทธาทุกท่าน จงโชคดีในธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ ในชาติปัจจุบันนี้






    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...