เพื่อการกุศล นิ่มป่าแดง...ตามอ่านประสบการณ์จริง

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย numthip, 14 มิถุนายน 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. 5000

    5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,491
    ค่าพลัง:
    +7,121
    สวัสดีครับพี่หนุ่มทิพย์
    ได้รับพัสดุแล้วครับ
    รายการครบถ้วนถูกต้อง แล้วก็อยู่ในสภาพสมบูรณ์ทุกองค์ครับ
    ขอบคุณครับ
     
  2. วรัท

    วรัท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    505
    ค่าพลัง:
    +2,387
    แจ้งคุณหนุ่มทิพย์ค่ะ
    ได้โอนเงินร่วมบุญห้องเรียนตามที่ได้แจ้งไว้แล้วค่ะ

    ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. numthip

    numthip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    7,094
    ค่าพลัง:
    +65,143
    คุณหมอมดดำน้อยก็โอนมาช่วยอีก 10,000 บาทเช่นกัน ฝากคุณfunfun27 บันทึกด้วยครับ... (ถ้าซ่อมคอมพ์ฯเสร็จแล้วนะ)
     
  4. numthip

    numthip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    7,094
    ค่าพลัง:
    +65,143
    เงินส่วนนี้เป็นทุนให้พระอาจารย์พิจารณ์นำไปเป็นค่าใช้จ่ายเดินทางกับค่าพิธีฯครับ ของที่ได้จึงจะนำมาจำหน่ายหาทุนสร้างห้องเรียน ถือเป็นทุนตั้งต้นให้งานอื่นๆสะดวกราบรื่น ขอแจ้งไว้ก่อน จะได้ไม่ผิดวัตถุประสงค์

    เรื่องกำหนดการณ์ ก็ตามสะดวกคุณครับ ไว้รอถึงสิ้นเดือนก็ได้ ผมมีค่าพระปิดตาฯเป็นทุนสำรองจ่ายพอสมควรอยู่ครับ
     
  5. sayank

    sayank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +2,368
    ได้รับพัสดุแล้วครับ รายการครบถ้วนถูกต้อง ขอบคุณครับ
     
  6. เจินโจ้

    เจินโจ้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +566
    สวัสดีครับ

    ได้รับวัตถุมงคลเรียบร้อยแล้ว พร้อมจีวรหลวงปู่ห้วยที่เพิ่มมาให้ ขอบคุณครับ
     
  7. numthip

    numthip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    7,094
    ค่าพลัง:
    +65,143
    [​IMG]

    เพื่อนสมาชิกอาจจะท่องคาถานี้ได้ แต่ถ้าจะเขียนบาลีให้ถูกต้อง ให้ยึดตามของพี่ศนิวารนะครับ

    ถ้าไปเจอใครยกครูใครมาอ้าง อย่าไปเถียงเขาเชียว แต่ให้นึกในใจไว้ว่า สรรพวิชาล้วนมีมาจากรากเดียวกัน

    ซาย กับ ทราย ออกเสียงเหมือนกัน แต่ถ้าเขียน ต้องเขียนให้ถูก เพราะความหมายต่างกัน
    หรือออกเสียง เพ-ลา กับเพลา เขียนเหมือนกัน ออกเสียงต่างกัน เพราะความหมายต่างกัน

    เวลาเขียนตะกรุด ปากภาวนา ตามองจ้อง มือเขียน เป็นการฝึกทำสมาธิอย่างหนึ่ง เขียนมากๆเข้าจนติดตา เป็นอุคหนิมิต เป็นบุญ

    ใครว่างก็ลองเขียนดูในกระดาษเปล่า ไหว้พระฯซะก่อน ให้ท่านฯเป็นครู หากสนใจจริงจัง ก็ไปไหว้ครูให้เป็นเรื่องเป็นราว

    อัขระทุกตัวที่ภาวนาที่เขียน ล้วนมีความหมายซ่อนอยู่

    คาถาบทนี้ ฝอยท่วมหลังช้าง ไว้รอพี่ศนิวารเข้ามาแปลให้ จะนึกอยากเรียนขึ้นมาเชียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2014
  8. sayank

    sayank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +2,368
    แจ้งคุณหนุ่มทิพย์ครับ
    ได้โอนเงินร่วมบุญห้องเรียนแล้ว จำนวน 2000.50 บาท เวลา 14.56 น. ครับ
    และขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ
     
  9. numthip

    numthip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    7,094
    ค่าพลัง:
    +65,143
    สมาชิกท่านใดที่ผมยังไม่เคยผูกดวงให้เลย ผมขอ1ดวงครับ
    จะฝึกอ่านพื้นดวงแบบละเอียด
     
  10. crane

    crane เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +780
    สวัสดีครับพี่ทิพย์
    รบกวนฝากผูกดวง&อ่านดวงด้วยครับ
    วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2520 เวลา 09.45 ครับ
    ขอบคุณครับ
     
  11. numthip

    numthip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    7,094
    ค่าพลัง:
    +65,143
    ช่วงนี้ระวังสุขภาพไว้บ้างก็ดี การเงินถ้าดีนักก็ต้องรู้จักใช้รู้จักเก็บ ลาภยศชื่อเสียงไม่จีรัง เรื่องดาวจร จะฝากให้คุณghostlinuxดูให้

    ผมขอทบทวนพื้นดวง...
    ไว้คืนนี้พรุ่งนี้จะให้รายละเอียดนะครับ (ติดประชุมหมู่บ้าน)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • crane.JPG
      crane.JPG
      ขนาดไฟล์:
      16.2 KB
      เปิดดู:
      1,230
  12. rung847

    rung847 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    831
    ค่าพลัง:
    +3,436
    ได้รับวัตถุมงคลเรียบร้อยแล้วครับ
    ( พระสมเด็จอรหังหักส่วนล่าง แต่เชื่อมด้วยกาวลาเท็กซ์เรียบร้อยแล้ว)

    ผมท่องคาถาไก่เถื่อน(ของสมเด็จพระสังฆราช สุก)ทุกวัน คิดไม่ถึงจะได้สมเด็จอรหังกับเขาด้วย
    ขอบคุณมากครับ
     
  13. มรรคเวทย์

    มรรคเวทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    598
    ค่าพลัง:
    +1,357
    สวัสดีครับ คุณทิพย์
    ได้รับพระปิดตามหาบูรพาครบถ้วน ขอบคุณมากครับจีวรหลวงปู่ห้วยที่มอบมาให้ด้วย
    มรรคเวทย์
     
  14. พฤศจิกา

    พฤศจิกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    660
    ค่าพลัง:
    +3,046
    สวัสดีครับ คุณทิพย์ได้รับพัสดุแล้วครับ รายการครบถ้วน ขอบคุณครับ
     
  15. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,635
    พระคาถาโสฬส

    โสฬสมงฺคลญฺเจว นวโลกุตฺตรธมฺมตา

    จตฺตาโร จ มหาทีปา ปญฺจพุทฺธามหามุนี

    ตรีปิฏก ธมฺมกฺขนฺธา ฉกามาวจราตถา

    ปญฺจทสภเวสจฺจํ ทสมํ สีลเมว จ

    เตรสธุตงฺคา จ ปาฏิหารญฺ จ ทวาทส

    เอกเมรุ จ สุราอัฏฐ ทเวจนฺทงฺสุริยํ สคฺคา

    สตฺตสมฺโพชฺฌงฺคาเจว จุทฺทสจกฺกวตฺติ จ

    เอกาทสวิสฺสณุราชา สัพเพเทวานํ ปลายนฺตุ สพฺพทา

    เอเตน มงฺคลเตเชน สพฺพโสตฺถี ภวนฺตุเม

    ......................................

    สาเหตุที่พระคาถาโสฬสมงคลมีคุณานุภาพมาก และโบราณาจารย์ยกย่อง
    ว่าเป็นเลิศในหมู่พระคาถาด้วยกันนั้น เป็นเพราะความหมายในตัวพระคาถา
    รวบรวมเอาสิ่งที่ดีที่สุดมาผูกรวมกันไว้ พิจารณาดูแล้วล้วนแต่เป็นสิ่งที่
    มีแต่สิริมงคลอันยอดเยี่ยมทั้งสิ้น ซึ่งพอที่จะใช้สติปัญญาอธิบายได้ดังนี้
    (บางหัวข้อยังไม่ทราบที่มาเหมือนกันไว้จะลองสืบค้นดูอีกที)

    พระคาถาโสฬส

    โสฬะสะมังคะลัญเจวะ (๑๖)

    เลข ๑๖ ใช้แทนพรหมโลกสิบหกชั้น(รูปพรหม)ซึ่งเป็นดินแดนมงคลอัญยอดยิ่ง
    ผู้ที่จะไปเกิดได้ต้องได้ฌานอย่างน้อยปฐมฌานขึ้นไปจนถึงจัตตุถฌาณ มีหลักการแบ่งชั้น
    คือ แบ่งตามระดับความแก่อ่อนของกำลังฌาน รูปพรหมที่มีกำลังฌานอ่อน จะอยู่ในชั้นล่างๆ ส่วนรูปพรหม ที่มีกำลังฌานแก่จะอยู่ในชั้นที่สูงขึ้นไป

    รูปพรหมทั้ง 16 ชั้น มีการจัดกลุ่มตามกำลังฌานที่เข้าถึง รูปฌาน
    โดยไล่ตามกำลังฌานอ่อนที่สุดไปถึงกำลังฌานแก่ที่สุด ดังนี้

    1. ปฐมฌานภูมิ 3 ประกอบด้วย
    ๑ พรหมปาริสัชชาภูมิ
    ๒ พรหมปุโรหิตาภูมิ
    ๓ มหาพรหมาภูมิ

    2. ทุติยฌานภูมิ 3 ประกอบด้วย
    ๔ ปริตตาภาภูมิ
    ๕ อัปปมาณาภาภูมิ
    ๖ อาภัสสราภูมิ

    3. ตติยฌานภูมิ 3 ประกอบด้วย
    ๗ ปริตตสุภาภูมิ
    ๘ อัปปมาณสุภาภูมิ
    ๙ สุภกิณหาภูมิ

    4. จตุตถฌานภูมิ 7 ประกอบด้วย
    ๑๐ เวหัปผลาภูมิ
    ๑๑ อสัญญีสัตตาภูมิ

    ชั้นที่ ๑ - ๑๑ เป็นฌานโลกีย์

    ส่วนพรหมสุทธาวาสภูมิชั้นที่ ๑๒ - ๑๖ เป็นโลกุตตรฌานผู้ที่จะมาเกิดในชั้นนี้ได้นั้น
    ต้องเป็นพระอนาคามี ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลละสังโยชน์ได้เกือบหมดมีอยู่ 5 ชั้น ดังนี้

    ๑๒ อวิหาภูมิ
    ๑๓ อตัปปาภูมิ
    ๑๔ สุทัสสาภูมิ
    ๑๕ สุทัสสีภูมิ
    ๑๖ อกนิฏฐาภูมิ

    อกนิฏฐาภูมิเป็นที่อยู่ของท้าวสหัมบดีพรหม มีปรากฏในพุทธประวัติ
    ว่าเป็นผู้อาราธนาให้พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาสอนเวไนยสัตว์เมื่อครั้งตรัสรู้ใหม่

    นะวะโลกุตตะระธัมมะตา (๙)

    เลข ๙ คือพระพุทธคุณเก้าประการในบทอิติปิโส ย่อเป็นหัวใจนวหรคุณ ๙ ดังนี้
    อะสังวิสุโลปุสะพุภะ

    พุทธคุณ ๙ คือ คุณความดีของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ ดังที่นักปราชญ์ได้ร้อยกรอง
    เพื่อให้เป็นบทสวดสรรเสริญพระคุณอันประเสริฐไว้ดังนี้

    ๑. อรหํ (อะ)
    เป็นพระอรหันต์ มีคำแปลและความหมายอย่างน้อย ๔ ประการ ดังนี้
    ๑.๑ เป็นผู้ควร คือ ผู้ทรงสั่งสอนสิ่งใดก็ทรงทำสิ่งนั้นได้ด้วย เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
    ๑.๒ เป็นผู้ไกล คือ ผู้ทรงไกลจากกิเลสและบาปกรรม เพราะทรงละได้เด็ดขาดแล้วทั้งโลภ โกรธ และหลง
    ๑.๓ เป็นผู้หักซี่กำแพงล้อสังสารวัฏ คือ ผู้ทรงตัดวงจรแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏได้แล้ว
    ๑.๔ เป็นผู้ไม่มีข้อลี้ลับ คือ ผู้ทรงไม่มีบาปธรรมทั้งที่ลับและที่แจ้ง เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น และเป็นผู้ควรได้รับความเคารพของผู้อื่น

    ๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ (สัง)

    เป็นผู้ทรงตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง คือ ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ อันได้แก่
    ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นการค้นพบด้วยพระองค์เอง ไม่มีครู อาจารย์เป็นผู้สอน

    ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน (วิ)
    เป็นผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คือ มีวิชชาความรู้ตั้งแต่ความรู้ระดับพื้นฐาน
    จนกระทั่งความรู้ระดับสูงสุด และมีจรณะความประพฤติดีประพฤติได้ตามที่ทรงรู้
    เช่น ความสำรวมในศีล เป็นต้น

    ๔. สุคโต (สุ) เป็นผู้เสด็จไปดี คำว่า “ไปดี” มีความหมายหลายนัยคือ
    ๑.เสด็จดำเนินตามอริยมรรคมีองค์แปด อันเป็นทางเดินที่ดี
    ๒.เสด็จไปสู่พระนิพพาน อันเป็นสภาวะที่ดียิ่ง
    ๓.เสด็จไปดีแล้ว เพราะทรงละกิเลสได้โดยสิ้นเชิง
    ๔.เสด็จไปปลอดภัยดี เพราะเสด็จไปบำเพ็ญประโยชน์แก่สัตว์โลก

    ๕. โลกวิทู (โล)
    เป็นผู้ทรงรู้แจ้งโลก คือทรงรอบรู้โลกทางกายภาพ เช่นโลกมนุษย์ สัตว์โลก สังขารโลก
    โอกาสโลก และทรงรู้โลกภายในคือ ทุกข์และการดับทุกข์

    ๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ (ปุ)
    เป็นสารถีผู้ทรงฝึกคนได้อย่างยอดเยี่ยม คือ พระองค์ทรงรู้นิสัย (ความเคยชิน)
    อุปนิสัย(มีแวว) อธิมุตติ(ความถนัด) อินทรีย์(ความพร้อม) ของบุคคลระดับต่าง ๆ
    และทรงฝึกสอนด้วยเทคนิควิธีการที่เหมาะแก่ความเคยชิน แววถนัด และความพร้อมของเขา
    ให้บรรลุมรรคผลเป็นจำนวนมาก

    ๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (สะ)
    เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย คือ พระองค์ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติที่ควรเป็นครู
    ของบุคคลในทุกระดับชั้น เพราะพระองค์ทรงรอบรู้และทรงสอนคนได้ทุกระดับ
    ทรงสอนด้วยความเมตตา มิใช่เพื่อลาภสักการะและคำสรรเสริญ แต่ทรงมุ่งความถูกต้องและ
    ประโยชน์สุขของผู้ฟังเป็นใหญ่ ทรงสอนให้เหมาะสมกับอัธยาศัยของผู้ฟัง
    และพระองค์ทรงทำได้ตามที่ทรงสอนนั้นด้วย

    ๘. พุทฺโธ (พุ)
    เป็นผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คือ พระองค์ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ยึดถือกัน
    มาผิด ๆ ด้วย ทรงรู้จักฐานะ คือ เหตุที่ควรเป็น เปรียบได้กับคนตื่นจากหลับแล้วทรงปลุกผู้อื่น
    ให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่งพระองค์ทรงตื่นแล้วเป็นอิสระจากอำนาจของโลภ โกรธ
    หลง แล้ว เมื่อทรงตื่นแล้วก็ทรงแจ่มใสเบิกบาน มีพระทัยบริสุทธิ์สะอาด

    ๙. ภควา (ภะ)
    เป็นผู้มีโชค ผู้ทรงแจกแบ่งธรรม คือพระองค์ทรงเพียบพร้อมได้ด้วยคุณธรรมทั้งหลาย
    อันเป็นผลสัมฤทธิ์แห่งพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญมา นับเป็นผู้มีโชคดีกว่าคนทั้งปวง
    เพราะพระองค์ทรงทำการใดก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ
    ส่วน “ภควา” แปลว่า “ทรงแจกแบ่งธรรม” หมายถึง มีพระปัญญาล้ำเลิศ จนสามารถ
    จำแนกธรรมที่ลึกซึ้งให้เป็นที่เข้าใจง่าย และมีพระกรุณาธิคุณจำแนกจ่ายคำสั่งสอนแก่
    เวไนยสัตว์ให้รู้ตาม

    อนึ่งพระพุทธคุณทั้ง ๙ ประการนี้ สรุปลงเป็น ๓ ประการคือ
    ๑. พระวิสุทธิคุณ คือ ความบริสุทธิ์ อันได้แก่ พระคุณข้อที่ ๑,๓ และ ๙
    ๒. พระปัญญาคุณ คือ ปัญญา อันได้แก่ พระคุณข้อที่ ๒,๕ และ๘
    ๓. พระมหากรุณาธิคุณ คือ พระมหากรุณา อันได้แก่ พระคุณข้อที่ ๔,๖ และ ๗

    จัตตาโร จะ มหาทีปา (๔)

    เลข ๔ คือมหาทวีปใหญ่ทั้งสี่ที่ปรากฏในไตรภูมิคือ จักรวาลหนึ่ง ๆ จะประดับด้วย
    ทวีปใหญ่ ๔ ทวีป และทวีปน้อย ๒ พันทวีป อย่างนี้ คือ

    ๑. ปุพพวิเทหทวีป ซึ่งมีปริมณฑลถึง ๗ พันโยชน์ ซึ่งประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.

    ๒. อุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๘ พันโยชน์ ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.

    ๓. อมรโคยานทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๗ พันโยชน์ ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.

    ๔. ชมพูทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๑ หมื่นโยชน์ ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.

    ทวีปใหญ่ในทิศทั้ง ๔ ของภูเขาสิเนรุ(เขาพระสุเมรุ) แต่ละทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ทิศนั้น แวดล้อมด้วยทวีปน้อยเป็นบริวาร อีกทวีปละ ๕๐๐ รวมทวีปน้อยมี ๒๐๐๐ ทวีป

    ทวีปใหญ่ หรือพื้นแผ่นดินทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์นั้น มีชื่อเรียกกันดังนี้คือ

    ๑. อุตตรกุรุทวีป อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้
    มีลักษณะใบหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ

    ๑) ไม่ยึดถือเอาทรัพย์สินเงินทองว่าเป็นของตน
    ๒) ไม่มีการยึดถือในบุตร, ภริยา, สามี ว่าเป็นของตน
    ๓) มีอายุยืนถึง ๑๐๐๐ ปี

    มนุษย์ในอุตตรกุรุทวีปนี้มีการรักษาศีล ๕ เป็นนิจ เมื่อตายไปแล้วย่อมเกิดในเทวโลก แน่นอน

    ๒. ปุพพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้
    มีลักษณะใบหน้าตอนบนตัดโค้งมนลงส่วนล่างคล้ายบาตร มีอายุยืนถึง ๗๐๐ ปี

    ๓. อปรโคยานทวีป อยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้
    มีลักษณะใบหน้ากลม คล้ายวงพระจันทร์ มีอายุยืนถึง ๕๐๐ ปี

    ๔. ชมพูทวีป อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้
    มีลักษณะใบหน้ารูปไข่ กำหนดอายุขัยไม่แน่นอน โดยความยิ่งหย่อนในคุณธรรม
    สมัยใดคนชมพูทวีปมีกาย วาจา ใจ เพียบพร้อมยิ่งด้วยคุณธรรมสมัยนั้นคนชมพูทวีปมีอายุยืน
    ถึงอสงไขยปี สมัยใด คนชมพูทวีป กาย วาจา ใจ ย่อหย่อนด้วยคุณธรรม สมัยนั้นมีอายุลดน้อย
    ถอยลงมาเพียง ๑๐ ปี เป็นอายุขัย

    ชมพูทวีปถือเป็นมหามงคลทวีปเพราะเป็นทวีปเดียวที่จะมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติตรัสรู้ซึ่งในทวีป
    อื่นอีก ๓ ทวีปไม่มีพระพุทธเจ้าไปเกิด

    ปัญจะพุทธามหามุนี (๕)

    เลข ๕ หมายถึง พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ในภัทรกัปนี้ ได้แก่

    - พระกกุสันธพุทธเจ้า
    - พระโกนาคมนพุทธเจ้า
    - พระกัสสปพุทธเจ้า
    - พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)
    - พระศรีอาริยเมตไตรย (พระอนาคตพุทธเจ้า)

    ย่อเป็นหัวใจพระเจ้าห้าพระองค์ได้ดังนี้ นะโมพุทธายะ

    ตรีปิฏะกะ ธัมมักขันธา (๓)

    เลข ๓ หมายถึงพระไตรปิฎก ๓ หมวดดังนี้

    ๑ พระวินัยปิฎก ว่าด้วยพระวินัยสิกขาบทต่าง ๆ ของภิกษุและภิกษุณี

    ๒ พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระสูตรซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาของพระโคตมพุทธเจ้า
    และพระอรหันตสาวก ที่แสดงแกบุคคลต่างชั้นวรรณะและการศึกษา ต่างกรรมต่างวาระกัน
    มีทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง

    ๓ พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยพระอภิธรรมหรือปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นธรรมะขั้นสูง
    อธิบายด้วยหลักวิชาล้วน ๆ โดยไม่อ้างอิงเหตุการณ์และบุคคล

    ฉะกามาวะจะราตะถา (๖)

    เลข ๖ หมายถึงกามาวจรภพทั้ง ๖ คือแดนที่ข้องเกี่ยวกับกามคุณยังไม่หลุดพ้นคือสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ดังนี้

    ๑.จตุมหาราชิกา (สวรรค์ ชั้นที่ ๑)
    เป็นที่อยู่ของเทพยดาชาวฟ้า มีท้าวมหาราช ๔ พระองค์ปกครอง คือ ท้าวธตรัฐมหาราช
    ท้าววิรุฬหกมหาราช ท้าววิรูปักษ์มหาราช ท้าวเวสสุวัณมหาราช (ท้าวกุเวร)
    อายุ ๕๐๐ ปีทิพย์ (๙ ล้านปีมนุษย์)

    บุรพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์ ชอบทำความดี สันโดษ ยินดีแต่ของๆ ตน
    ชักชวนให้ผู้อื่นประกอบการกุศล ชอบให้ทาน ในการให้ทานเป็นผู้มีความหวังให้ทาน
    มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยความคิดว่า
    “เราตายแล้วจักได้เสวยผลแห่งทานนี้” และเป็นผู้มีศีล ฯลฯ

    ๒.ดาวดึงส์ (สวรรค์ ชั้นที่ ๒)
    ที่เรียกว่าไตรตรึงษ์หรือดาวดึงส์ เป็นเมืองใหญ่มี ๑,๐๐๐ประตู มีพระเกศจุฬามณีเจดีย์
    มีไม้ทิพย์ ชื่อ ปาริชาตกัลปพฤกษ์ สมเด็จพระอมรินทราธิราชเป็นผู้ปกครอง
    อายุ ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ (๓๖ ล้านปีมนุษย์)

    บุรพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์ มีจิตบริสุทธิ์ยินดีในการบริจาคทาน ในการให้ทาน
    เป็นผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ ไม่มีการสั่งสมให้ทาน
    ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า “ตายแล้วเราจักได้เสวยผลทานนี้”
    แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า “การให้ทานเป็นการกระทำดี” งดงามด้วยพยายามรักษาศีล
    ไม่ดูหมิ่นผู้ใหญ่ในตระกูล ฯลฯ

    ๓. ยามา (สวรรค์ ชั้นที่ ๓)
    เป็นที่อยู่ของเทพยดาผู้มีแต่ความสุขอันเป็นทิพย์ มีท้าวสุยามเทวราชเป็นผู้ปกครอง
    อายุ ๒,๐๐๐ ปีทิพย์ (๑๔๔ ล้านปีมนุษย์)

    บุรพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์มีจิตบริสุทธิ์ พยามสร้างเสบียง ไม่หวั่นไหวในการบำเพ็ญบุญกุศล
    ในการให้ทาน เป็นผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน
    ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า “การให้ทานเป็นการกระทำที่ดี”
    แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า “บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้ เคยทำมา
    เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี” รักษาศีล มีจิตขวนขวายในพระธรรม ทำความดีด้วยใจจริง

    ๔. ดุสิต (สวรรค์ ชั้นที่ ๔)
    เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าผู้มีความยินดีแช่มชื่นเป็นนิจ มีท้าวสันดุสิตเทวราชปกครอง
    อายุ ๔,๐๐๐ ปีทิพย์ (๕๗๖ ล้านปีมนุษย์)

    บุรพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์มีจิตบริสุทธิ์ ยินดีมากในการบริจาคทาน ในการให้ทาน
    เป็นผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน
    ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า “บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้
    เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี” แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า “เราหุงหากิน แต่สมณะ
    หรือพราหมณ์ทั้งหลายไม่ได้หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์
    ผู้ไม่หุงหากิน ย่อมเป็นการไม่สมควร” ทรงศีล ทรงธรรม ชอบฟังพระธรรมเทศนา หรือเป็นพระโพธิสัตว์รู้ธรรมมาก ฯลฯ

    ๕. นิมมานรตีภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ ๕)
    เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าผู้ยินดีในกามคุณอารมณ์ ซึ่งเนรมิตขึ้นมาตามความพอใจ
    มีท้าวสุนิมมิตเทวราชปกครอง อายุ ๘,๐๐๐ ปีทิพย์ (๒,๓๐๔ ล้านปีมนุษย์)

    บุรพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์มีจิตใจบริสุทธิ์ ยินดียิ่งในการบริจาคทาน ในการให้ทานเป็นผู้ไม่มี
    ความหวังให้ทาน ไม่มีจิตใจผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทาน
    ด้วยความคิดว่า “เราหุงหากินได้ แต่สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายไม่ได้หุงหากิน เราหุงหากิน
    ได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ไม่หุงหากิน ย่อมเป็นการไม่สมควร”
    แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า “เราจักจำแนกแจกท่านเช่นเดียวกับฤๅษีทั้งหลายในกาลก่อน”
    ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ พยามรักษาศีลไม่ให้ขาดได้ มีใจสมบูรณ์ด้วยศีล และมีวิริยะอุตสาหะ
    ในการบริจาคทานเป็นอันมาก เพราะผลวิบากแห่งทาน และศีลอันสูงเท่านั้น จึงอุบัติเกิดใน
    สวรรค์ชั้นนี้ได้

    ๖. ปรนิมมิตวสวัตตี (สวรรค์ ชั้นที่ ๖)
    เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าซึ่งเสวยกามคุณอารมณ์ แบ่งเป็น
    ฝ่ายเทพยดา มีท้าวปรนิมมิตเทวราชปกครอง กับ ฝ่ายมารมีท้าวปรนิมิตวสวัตตีมาราธิราช
    เป็นผู้ปกครอง อายุ ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์ (๙,๒๑๖ ล้านปีมนุษย์)

    บุรพกรรม เมื่อเป็นมนุษย์มีจิตบริสุทธิ์ อุตส่าห์ก่อสร้างกองการกุศลให้ยิ่งใหญ่เป็นอุกฤษฏ์
    อบรมจิตใจสูงส่งไปด้วยคุณธรรม เมื่อจะให้ทานรักษาศีลก็ต้องบำเพ็ญกันอย่างจริงๆ
    มากไปด้วยความศรัทธาปสาทะอย่างยิ่งยวดถูกต้อง ในการให้ทาน เป็นผู้ไม่มีความหวังให้ทาน
    ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไมได้ให้ทานด้วยความคิด
    ว่า “เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เช่นเดียวกับฤๅษีทั้งหลายแต่กาลก่อน” แต่ให้ทานด้วยความ
    คิดว่า “เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตของเราจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส” เพราะ
    วิบากแห่งทาน และศีลอันสูงส่งยิ่งเท่านั้น จึงอุบัติเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ได้

    ปัญจะทะสะภะเวสัจจัง (๑๕)

    เลข ๑๕ น่าจะหมายถึง จรณะ ๑๕ ประการที่เป็นพุทธจริยวัตรที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติอยู่เสมอ ๆ ดังนี้

    จรณะ หมายถึง ความประพฤติอันงดงาม มี 15 ประการ ได้แก่

    1.ศีลสังวร คือ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์
    2.อินทรีย์สังวร คือ ความสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    3.โภชเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณในการบริโภค
    4.ชาคริยานุโยค คือ การประกอบความเพียรที่ทำให้เป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ
    5.ศรัทธา คือ ความเชื่อมั่น
    6.สติ คือ ความระลึกได้
    7.หิริ คือ ความละอายบาป
    8.โอตตัปปะคือ ความกลัวบาป
    9.พาหุสัจจะ คือความเป็นผู้ได้สดับมาก ( พหูสูต )
    10.อุปักกะโม คือ เว้นจากพยายามเพื่อฆ่า และพยายามเพื่อลัก
    11.ปัญญา

    และ รวมรูปฌาน 4 ที่ทรงเข้า-ออกอยู่เสมอ ๆ อันมี
    - ปฐมฌาน
    - ทุติยฌาน
    - ตติยฌาน
    - จัตตุถฌาน

    รวมเป็น 15 สิ่ง

    ทะสะมัง สีละเมวะ จะ (๑๐)

    เลข ๑๐ หมายถึงศีล ๑๐ หรือ ทศศีล ดังนี้

    ๑ เว้นจากทำลายชีวิต
    ๒ เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
    ๓ เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
    ๔ เว้นจากพูดเท็จ
    ๕ เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    ๖ เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเวลาตั้งแต่เลยเที่ยงขึ้นไปจนถึงขึ้นเช้าวันใหม่
    ๗ เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ฯลฯ
    ๘ เว้นจากการทัดทรงดอกไม้ ฯลฯ
    ๙ เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ ฯลฯ
    ๑๐ เว้นจากการรับทองและเงิน

    ศีล 10 นี้ เป็นข้อปฏิบัติของสามเณร สามเณรี และสิกขมานา (ผู้ที่ขอบวชเป็นภิกษุณี ซึ่งต้องบวชเป็นสามเณรี และไม่ผิดศีลข้อ 1 2 3 4 5 6 เป็นเวลาถึง 2 ปีโดยไม่ขาดศีลทั้ง 6 ข้อโดยไม่ขาดเลย แต่ข้อ 7 8 9 10 ขาดได้บ้าง) รวมทั้งเป็นข้อปฏิบัติของ สมณะนักบวชนอกพระศาสนา (หนึ่งในเทวทูต 4) ก็ถือศีล 10 มาก่อน เป็นศีลขั้นต่ำของพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายมีปกติไม่ผิดศีลข้อ 1 ถึงข้อ 9 ตลอดชีวิต และมีปกติรักษาศีลข้อ 10 เป็นธรรมชาติ

    เตระสะธุตังคา จะ (๑๓)

    เลข ๑๓ หมายถึง ธุดงค์ ๑๓ ข้อวัตรของพระกรรมฐานดังนี้

    ธุดงค์ ๑๓ องค์คุณเครื่องสลัดหรือกำจัดกิเลส, ข้อปฏิบัติประเภทวัตรที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส ช่วยส่งเสริมด้วยมักน้อยและสันโดษเป็นต้น

    หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุต เกี่ยวกับจีวร

    ๑. ปังสุกูลิกังคะ ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
    ๒. เตจีวริกังคะ ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร

    หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุต เกี่ยวกับบิณฑบาต

    ๓. ปิณฑปาติกังคะ ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
    ๔. สปทานจาริกังคะ ถือการเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร
    ๕. เอกาสนิกังคะ ถือการนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร คือฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีก
    ๖. ปัตตปิณฑิกังคะ ถือการฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือ ไม่ใช้ภาชนะใส่อาหารเกิน ๑ อย่างนอกจากบาตร
    ๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อได้ปลงใจกำหนดอาหารที่เป็นส่วนของตน ซึ่งเรียกว่าห้ามภัต ด้วยการลงมือฉัน เป็นต้นแล้ว ไม่รับอาหารที่เขานำมาถวายอีกภายหลัง แม้จะเป็นของประณีต

    หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุต เกี่ยวกับเสนาสนะ

    ๘. อารัญญิกังคะ ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ห่างบ้านคนอย่างน้อย ๕๐๐ ชั่วธนู คือ ๒๕ เส้น
    ๙. รุกขมูลิกังคะ ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ไม่เข้าที่มุงบังอื่น
    ๑๐. อัพโภกาลิกังคะ ถือการอยู่ที่แจ้งเป็นวัตร งดที่มุงบังและโคนไม้
    ๑๑. โสสานิกังคะ ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
    ๑๒. ยถาสันถติกังคะ ถือการอยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้

    หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุต เกี่ยวกับความเพียร

    ๑๓. เนสัชชิกังคะ ถือการนั่งเป็นวัตร คือเว้นนอน อยู่ด้วยเพียง ๓ อิริยาบถ

    ปาฏิหารัญ จะ ทะวาทะสะ (๑๒)

    เลข ๑๒ หมายถึงพุทธปาฏิหาริย์ที่พระองค์ทรงแสดงเมื่อครั้งปราบเดรถีย์นอกศาสนาที่เรียกว่า
    ยมกปาฏิหาริย์ในพุทธประวัติดังนี้

    "เมื่อต้นมะม่วงซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงให้นายคัณฑะ คนเฝ้าอุทยาน เมืองสาวัตถี ปลูกและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแล้วนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงเนรมิตจงกรมแก้วในอากาศเหนือต้นมะม่วง แล้วเสด็จขึ้นสู่ที่จงกรมนั้น เพื่อแสดงยมกปาฏิหาริย์ นั่นคือ การทำปาฏิหาริย์ให้บังเกิดเป็นคู่ ๆ โดยวิธีต่างๆ คือ มีท่อน้ำและท่อไฟพุ่งมาจากส่วนต่างๆ ของพระวรกายสลับกันไป ท่อไฟที่พุ่งออกมานั้นมีฉัพพรรณรังสี คือ มี ๖ สีสลับกัน ได้แก่ ๑.นีล-เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒.ปีต-เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓.โลหิต-แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔.โอทาต-ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕.มัญเชฐ-สีหงสบาท เหมือนดอกหงอนไก่ ๖.ประภัสสร -เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก เมื่อกระทบกับสายน้ำมีแสงสะท้อนงดงามมาก แล้วทรงเนรมิตพระองค์เองขึ้นมาอีกพระองค์หนึ่ง เป็น“พระพุทธเนรมิตร” อยู่ในพระอิริยาบถต่างๆ คือ นั่ง นอน ยืน เดิน เช่นเดียวกับพระองค์ และเมื่อทรงตั้งปุจฉา พระพุทธเนรมิตก็ตรัสวิสัชนาแก้ สลับกันไป พระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์สลับกับการแสดงพระธรรมเทศนา จนพุทธบริษัททั้งหลายเกิดความเลื่อมใสและได้บรรลุธรรมเป็น จำนวนมาก"

    เอกะเมรุ จะ (๑)

    เลข ๑ หมายถึงเขาพระสุเมรุ หรือเขาสิเนรุราช ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ดังนี้

    เขาพระสุเมรุ ตามคติในศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา คือภูเขาที่เป็นหลักของโลก ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของโลกหรือจักรวาล เป็นที่อยู่ของสิ่งมีวิญญาณในภพและภูมิต่างๆ นับแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน ไปถึงมนุษย์นาค ครุฑ ยักษ์มาร คนธรรพ์ ฤๅษี และเทวดา โดยมีปลาอานนท์หนุนอยู่ รอบๆ เขาพระสุเมรุ

    เขาพระสุเมรุตั้งอยู่เหนือน้ำ 84,000 โยชน์ มีภูเขารองรับ 3 ลูก โดยส่วนฐานคือ ตรีกูฏ (สามเส้าหรือสามยอด) มีภูเขาล้อมรอบ 7 ทิว เรียกว่า สัณบริภัณฑคีรี คือ ทิวเขา ยุคนธร กรวิก อิสินธร สุทัศ เนมินธร วินตกและอัสกัณ มีเทวดาจตุมหาราชิก และบริวารสถิตอยู่

    ภายในจักรวาลมีภูเขาชื่อ หิมวา (หิมาลัย) ของจักรวาลทั้งหมด เป็นเทือกเขายาวติดกัน เป็นพืด เรียกว่าเขาจักรวาล โดยแต่ละจักรวาลมีพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวดึงส์ ยังมีมหาทวีปทั้ง 4 คือ

    1 อุตรกุรุทวีป ตั้งอยู่เหนือของภูเขาพระสุเมรุ
    2 ปุพพวิเทหะ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเขาพระสุเมรุ
    3 ชมพูทวีป ตั้งอยู่ตอนใต้เขาพระสุเมรุ คือโลกของเรา
    4 อมรโคยาน ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเขาพระสุเมรุ
    ในมหาทวีปยังมีทวีปน้อย ๆ เป็นบริวารอีกรวม 2000 ทวีป

    ในทิศทั้ง 4 ของจักรวาล มีมหาสมุทรทั้ง 4 อันมีน้ำเต็มเป็นนิจ ประกอบด้วย

    1 ปิตสาคร ทางทิศเหนือ มีน้ำสีเหลือง
    2 ผลิกสาคร ทางทิศตะวันตก มีน้ำใสสะอาด เหมือนแก้วผลึก
    3 ขีรสาคร เกษียรสมุทร ทางทิศตะวันออก มีน้ำสีขาว
    4 นิลสาคร ทางทิศใต้ มีน้ำสีเขียว

    บนยอดเขาพระสุเมรุ คือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนครแห่งเทพที่ชื่อนครไตรตรึงษ์อยู่ มีพระอินทร์เทวราชเป็นผู้ปกครองทำหน้าที่เป็นเทวราชผู้อภิบาลโลก และพิทักษ์คุณธรรมให้แก่มนุษย์ ที่อยู่ของพระอินทร์เรียกว่าไพชยนต์มหาปราสาท ตรงกลางเป็นที่ประดิษฐานแท่นบัณฑุกัมพลอันเป็นทิพยอาสน์

    สุราอัฏฐะ (๘)

    เลข ๘ หมายถึง เทวดาผู้รักษาทิศทั้ง ๘ อันมี ๔ ทิศใหญ่ และ ๔ ทิศย่อยดังนี้

    จัตตุโลกบาล หรือโลกบาล ๔ ซึ่งก็คือผู้รักษาทิศทั้งสี่ อันได้แก่

    ๑. ท้าวธตรฐ เป็นเจ้าแห่งทิศบูรพา หรือทิศตะวันออก
    ๒. ท้าววิรุฬหก เป็นเจ้าแห่งทิศทักษิณ หรือทิศใต้
    ๓. ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสวัน เป็นเจ้าแห่งทิศอุดร หรือทิศเหนือ
    ๔. ท้าววิรูปักษ์ เป็นเจ้าแห่งทิศประจิมหรือปรัศจิม หรือทิศตะวันตก

    สำหรับทิศเฉียงอีกสี่ทิศ มีเจ้าผู้ครองทิศต่างหาก แต่ไม่ได้รวมอยู่ในจตุโลกบาล คือ

    ๕. พระอัคคี (พระเพลิง) เป็นเจ้าแห่งทิศอาคเณย์ หรือทิศตะวีนออกเฉียงใต้
    ๖. พระนิรฤดี เป็นเจ้าแห่งทิศเนรดีหรือหรดี หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้
    ๗. พระพายุ (พระพาย) เป็นเจ้าแห่งทิศพายัพ หรือทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
    ๘. พระอีศาน เป็นเจ้าแห่งทิศเอศาน หรือ อิศาน หรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

    หมายเหตุ
    จะเห็นว่าทิศเฉียงจะตั้งตามนามเทพผู้ครอง คือ อาคเณย์ (มูลจากอัคคี)
    แปลว่า ทิศของพระอัคคี พายัพ (มูลจากพายุ)แปลว่าทิศของพระพายุ
    หรือพระพายเนรดี (มูลจากนิรฤดี) แปลว่าทิศของพระนิรฤดี
    เอศาน (มูลจากอีศาน) แปลว่าทิศของพระอีศาน
    ................................

    อีกตำราหนึงบอกไว้ดังนี้

    1.พระไพศรพณ์(พระ-ไพ-สบ)
    พระวรกายสีทอง พระภูษาแดง พระหัตถ์ขวาถือกระบอง พระหัตถ์ซ้ายให้อภัย ทรงมนุษย์เป็นบริวาร เป็นเทพยดาประจำทิศ อุดร(ทิศเหนือ)มีหน้าที่รักษาความเรียบร้อยยุติธรรมในสวรรค์
    เป็นเทวดา สัญญลักษณ์ของอัยการ พระไพศรพณ์มีลักษณะคล้ายกับท้าวกุเวร(หรือ ท้าวเวสสุวรรณ) ซึ่งบางตำนานมีการบอกเล่ากันมาว่าเป็นเทพองค์เดียวกัน

    2.พระยม(ท้าวพญายมราช)
    พระวรกายสีดำ ภูษาแดง พระหัตถ์ขวาทรง คฑา เชือกหรือบ่างบาศ
    บางตำราบอกว่าพระหัตถ์ซ้ายทรงพระขรรค์ ทรงควายเป็นพาหนะ
    เป็นเทวดาประจำทิศ ทักษิณ(ทิศใต้)

    3.พระอินทร์
    ทรงช้างเป็นพาหนะ พระวรกายผิวคล้ำ ภูษาแดง พระหัตถ์ขวาทรงถือวัชระ(ตรี)
    บางตำราบอกว่าพระหุตถ์ซ้ายทรงขอช้าง
    เป็นเทวดาประจำทิศบูรพา(ทิศตะวันออก)

    4.พระวรุณ(พระพิรุณ)
    เทพห่ งฝนพระวรกายสีขาว พระภูษาสีเหลือง พระหัตถ์ขวาทรงถือเชือกบ่วงบาศ
    เมื่อมีผู้ทำบาปพระพิรุณจักใช้บ่วงคล้องผู้นั้นไปหาพญายมราชเพื่อนำไปลงทัณฑ์
    พระหัต์ซ้ายทรงประทานพร ทรงม้าเป็นพาหนะบาง ตำราบอกว่าทรงจระเข้
    เป็นเทวดาประจำทิศประจิม(ทิศตะวันตก)
    พระวรุณในความเชื่อของคนไทยว่าเป็นผู้ให้ฝน ให้น้ำ ถือพระขรรค์
    ทรงพญานาค หรือมกร เป็นพาหนะ จึงเป็นสัญลักษ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตร
    อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    5.พระอิศาณ
    พระวรกายสีขาว พระภูษาสีขาว พระหัตถ์ขวงทรงถือตรีศูล
    บางตำราบอกว่าพระหัตถ์ซ้ายทรงถือสังวาลย์นาค
    ทรงวัวเป็นพาหนะ เป็นเทวดาประจำทิศอีสาน(ตะวันออกเฉียงเหนือ)

    6.พระอัคนี
    พระวรกายสีแดง ภูษาสีแดง บางตำราบอกว่าพรหัตถ์ขวาทรงช้อน พระหัตถ์ขวาทรงหอก
    บ้างก็มี ขวาน คบไฟ สายประคำ พาหนะคือแกะ
    เป็นเทวดาประจำทิศอาคเนย์(ทิศตะวันออกเฉียงใต้)

    7.พระไนรฤติ(พระนิรฤติ)
    พระวรกายสีขาว ภูษาสีเหลือง
    พระหัตถ์ขวาทรงถือดาบ บ้างก็ว่าพระหัต์ซ้ายทรงโล่
    พาหนะคือม้า เป็นเทวดาประจำทิศ หรดี(ทิศตะวันตกเฉียงใต้)

    8.พระพายุ
    พระวรกายสีดำ พระภูษาสีขาว
    พระหัตถ์ขวาทรงถือธง บ้างก้ว่าพระหัตถ์ซ้ายทรงพระขรรค์
    มีกวางเป็นพาหนะเป็นเทวดาประจำทิศ พายัพ(ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)

    ทะเวจันทังสุริยัง สัคคา (๒)

    เลข ๒ หมายถึง พระอาทิตย์ผู้เป็นดวงตาของโลกยามกลางวัน
    และพระจันทร์ผู้เป็นดวงตาของโลกยามกลางคืน

    สัตตะสัมโพชฺฌังคาเจวะ (๗)

    เลข ๗ หมายถึง โพชฌังคธรรม ๗ ประการ ในโพชฌงคปริตที่ใช้สวดรักษาความเจ็บไข้

    โพชฌงค์ ๗ ประการ ประกอบไปด้วย

    ๑. สติ ความระลึกได้
    ๒. ธัมมวิจยะ การเลือกเฟ้นพิจารณาธรรม
    ๓. วิริยะ ความเพียร
    ๔. ปีติ ความอิ่มใจ
    ๕. ปัสสัทธิ ความสงบ
    ๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น
    ๗. อุเบกขา ความวางเฉย

    จุททะสะจักกะวัตติ จะ (๑๔)

    เลข ๑๔ หมายถึงพระคาถาจุททัสสะ ๑๔ บท มาจากประเทศลังกา สำหรับลงเครื่องสูง
    ของพระมหากษัตริย์มีอิทธิคุณมาก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จักรพรรดิราชน้อย อยู่ในหมวดคาถา
    ปัชโชตาของทางเหนือและทางภาคกลาง มีดังนี้

    จุทัสสะคาถา คาถาครอบจักรวาล


    บทที่ ๑
    ปะโชตา ธัมมะภาโหตุ โชติวะโร สะตาวะโห ตาวะริโย สุวะตาภา ธะโรโยโค จะสุสัมมะ ฯ

    บทที่ ๒
    โคโนชิโย โยชิโนโค โนทาตุโส โสตุทาโน ชิตุโนมะ มะโนตุชิ โยโสมะติ ติมะโสโย ฯ

    บทที่ ๓
    นะมามิตัง นะระวะรัง นะเยหิสะ นะรามะรัง เนตวามะตัง ปะระติรัง นิพพุโต สัพพิโยปะรัง ฯ

    บทที่ ๔
    โนธิโรมุนิโนมะโน โนมะโนธะมะโนธิโน โนธิโนถะกะมาเตโน โนเตมาโรวิโรธิโน ฯ

    บทที่ ๕
    กรุณาธิกะจิตตัตโถ กะตัตโถสะกะ ธัมมะโต กะตะนะเมกะพุทธัสสะ กะตัญชุลิง กะโรมะหัง ฯ

    บทที่ ๖
    มะโนชิโต มะโตชิโน มะโนภิโต มะโตภิโน มะโนธิโร มะโรธิโน มะโนตะโร มะโรตะโน ฯ

    บทที่ ๗
    นะมามินาถัง วะระทังวะรานัง อะโนมะเกหา ภินะตังภะวัคคัง กุมาระนาถัง วะระทังวะรานัง อะกะมะเทหา ภินะตังภะวัคคัง ฯ

    บทที่ ๘
    โยโพติปัตโต วะระโทมะรานัง เทวาติเทโว ภิตะมาระนาโส โยโพธิปัตโต สะระโสมะรานัง โอวาทะเทตัง ภินะมามินาถัง ฯ

    บทที่ ๙
    โยเทติเทวะเทโวคัง มัคคังโนคคัง ผะลังคะโต นะมามิตังระหะมัคคัง โนโสปาเล ติทายะโก ฯ

    บทที่ ๑๐
    นะมามิพุทธัง ตะมะหังธิโย ธิโย นะมามิธัมมัง ตะมะหังขิโยชิโย นะมามิสังฆัง ตะมะหังริโยริ นะมามิติตตัง ตะมะหังภิโยภิโย ฯ

    บทที่ ๑๑
    นะยะสะนายะ ปะชามพุเชภา นะรามะภะมะหาติ พุทธาปะโพมะ นะยะสายะโก ชิโนวิชะโย นะยะสะนายะโก วิมะโลวิโมมะโก ฯ

    บทที่ ๑๒
    มุนิโนวะฒะนาตายะ ปะโพเธตุประชาปะชัง มุนิโนวะฒะนาตายะ ปะโพเธตุประชาปะชัง ฯ

    บทที่ ๑๓
    สิริกิระณะ กิระโนภา สะปาทังทะ วะยัคคัง สิริกิระณะ กิมานังมาระมันตังวิธังสังสิริกิระณะ นิเกตังเกตุเมกังติโลเก สิริกิระณะกะรัตตังโลกะนาถังนะมามิ ฯ

    บทที่ ๑๔
    ติโลกะมัคคาหะนะโกมะตังนะโย สัพพะทะโยมะหะสะมะปะทังสะยิ ติโลกะมัคคาหะนะโกมะตังนะโย ปัตเตวะนิพพานะปุรังปะเวสะโย ฯ

    สิทธิการิยะ พระคาถาทั้ง ๑๔ บทนี้บังเกิดในเมืองลังกาทวีป นักปราชญ์และผู้วิเศษทั้งหลาย มีความปรารถนาจักให้บังเกิดความเจริญแก่พระมหากษัตริย์ คือพระเจ้าเทวานัมปิยะดิษจึงเลือกเอาพุทธคุณที่วิเศษ ประกอบขึ้นเป็นคาถา ๑๔ บทนี้ ถวายแก่พระเจ้าเทวานัมปิยะดิษ พร้อมทั้งอุปเทห์ด้วยพระเจ้าเทวานัมปิยะดิษ เธอก็ทรงเล่าเรียนเอาพระคาถานี้ไว้แล้วทรงสวดมนต์ภาวนาเป็นเนืองนิจ ก็ได้บังเกิดพระยศ พระเกียริติตะบะเดชะปรากฎไปทั่วทิศานุทิศ เสวยราช สมบัติ ยืนนานจิรังกาล อยู่ ในเมือง อนุราธ บุรี ลังกานั้น

    จึงมีพระมหาเถรเจ้าองค์หนึ่ง ชื่อพระมหาชัยมงคลเถรเจ้า เธอมีศีลบริสุทธิ์ ได้ไปไหว้พระทันตธาตุถึงเมืองลังกาเธอมีความปรารถนาที่จะให้เป็นผลประโยชน์แก่พระมหากษัตริย์ในชมพูทวีป เธอจึงเรียนจึงเรียนเอาพระคาถาทั้ง ๑๔ บทนี้ มาถวายแก่สมเด็จพระพรหมไตรโลกเจ้า สมเด็จพระพรหมไตรโลกเจ้าจึงถวายแก่พระมหากษัตริย์ในชมพูทวีปและพระมหากษัตริย์ก็ได้เล่าเรียนทรงเอาไว้ สวดมนต์ภาวนาเป็นนิจกาล ก็ได้จำเริญพระยศพระเกียรติปรากฎไปทั่วต่างประเทศ ต่างก็อ่อนน้อมมาสู่พระราชสมภาร มิอาจจะขัดแข็งอยู่ได้เลยด้วยเดชานุภาพพระพุทธมนต์ทั้ง ๑๔ บทนี้แล

    อธิบายว่า ท้าวพระยามหากษัตราธิราช และสมณะพราหมณ์ เศรษฐี คหบดี กฎมภี ทั้งหลาย ผู้ใดปรารถนาซึ่งประโยชน์และสุขในโลกทั้งสามนี้ไซร้ ให้เรียนซึ่งพระคาถานี้ โดยอุเทศกระทำให้ชำนาญ แลสังวัทธยายไว้ทุกวันเป็นเนืองนิจมิได้ประมาท และกษัตริย์พราหมณ์ เศรษฐีกฎมภีทั้งหลายนั้น ก็จะมาถึงซึ่งความศิริสวัสดิภาพ หาโรคาพาธมิได้แล อาจกระทำให้เป็นที่เกรงขามแก่ข้าศึกศัตรู มีอายุยืนยาววัฒนาถาวร มีชัยชำนะแก่ข้าศึก ปรากฏไปในทิศานุทิศต่าง ๆ บรรดาคนทั้งปวงมาอยู่ในอำนาจแห่งตน ด้วยเดชะพระคาถานี้ คนทั้งหลายต่างก็น้อมนำเอาบรรณาการมาให้ ได้รับความสุขตราบเท่าถึงกาลกำหนดสิ้นชนมายุ ด้วยอำนาจ พระคาถา ๑๔ บทนี้แล ฯ

    พระคาถาทั้ง ๑๔ บทนี้ ชื่อจุทัสสะคาถา ไหว้นมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แก้วทั้งสามประการเป็นมหาวิเศษนักแล สำหรับองค์พระมหากษัตริย์เจ้าได้ทรงสาธยายสวดมนต์ภาวนาทุกวันทุกค่ำเช้าเป็นนิจไปจะได้บังเกิดกุศลผลบุญยิ่งนัก ด้วยเดชาพระคาถา ๑๔ บทนี้ ให้จำเริญเกียรติยศ รักษาศิริสมบัติ บังเกิดธนลาภประสิทธิ ชัยชำนิ ตะบะเดชา สวัสดิมงคล ศัตรูพินาศ และเทพยดา ทั้งหลายย่อมคุ้มครองรักษาครั้นเมื่อถึงกาลดับขันธ์ จะได้ผ่านสวรรค์เทวโลก แล้วจะได้มาผ่านพิภพในมนุษย์โลกนี้ และแม้จะไปเกิดในที่ใด ๆ ก็จะได้เป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลายแล ฯ

    เอกาทะสะวิสสะณุราชา (๑๑)

    ตัวคาถาพูดถึงพระวิษณุกรรมเทวา หัวข้อนี้นึกหาที่มาที่ไปไม่ได้ ว่าเกี่ยวข้องกับเลข ๑๑ ได้อย่างไร จนปัญญาจริง ๆ

    สัพเพเทวานัง ปะลายันตุ สัพพะทา

    ด้วยอานุภาพของเทวดาทั้งหมด ขอภัยทั้งหลายจงหมดไป

    เอเตนะ มังคะละเตเชนะ

    ขอชัยมงคลทั้งหลาย

    สัพพะโสตฺถี ภะวันตุเม

    ขอความสุขสวัสดิทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้านี้เถิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2014
  16. RGD

    RGD เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +468
    สวัสดีครับ คุณหนุ่มทิพย์
    ผมได้รับพระและพระสมเด็จ+จีวร เรียบร้อยแล้วครับ
    ขอบคุณมากครับ
     
  17. มันไม่แน่

    มันไม่แน่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2013
    โพสต์:
    1,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +7,956
    ขอบพระคุณครับ คุณหนุ่มทิพย์

    ได้รับพระปิดตา + สมเด็จอรหัง + จีวร

    เรียบร้อยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      867.3 KB
      เปิดดู:
      196
  18. numthip

    numthip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    7,094
    ค่าพลัง:
    +65,143
    [​IMG]

    ท่วงท่าสุขุมเยือกเย็น สงบสำรวมแต่คล่องตัว ดูเป็นผู้ใหญ่เกินอายุ สุภาพ เป็นมิตร ปรับตัวปรับสภาพเก่ง
    เป็นคนคิดมาก จริงจังเกินไป เข้มงวด เปลี่ยนใจยาก
    ช่วงที่ผ่านมาภาวะชีวิตจะขาดความมั่นคง หรือตั้งมั่นได้ยาก ชีวิตผันผวนเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย วูบขึ้นวูบลง
    ช่วงแรกเกิดก็ยังพอทำเนา แต่พออายุย่างเข้า7ขวบ ชิวิตก็เริ่มมีปัญหา
    เรียนจบแล้วก็เรื่มเหนื่อยยาก เข้าช่วง30ไปแล้วก็พอจะยืนหยัดได้บ้าง
    ชีวิตรักถ้าไม่มีเรื่องปิดบังซ่อนเร้นก็ต้องจากไกล อาจเพราะโดยผู้ใหญ่ควบคุม หรือต้องแยกกันอยู่
    ถ้าแต่งงานแล้ว ก็แต่งแบบเงียบๆจะเข้าเค้ากว่า หรือการร่วมอยู่กินกันโดยไม่มีพิธีรีตอง การเลิกล้มการแต่งงานหรือไม่มีคู่ ความผิดหวังในชีวิตสมรส ได้คู่เป็นคนที่ไม่ยอมเปิดเผยตนหรือเป็นคนที่ไม่ยอมรับว่าตนเป็นคู่ของเขา หย่าร้างได้ง่าย
    มีบุตรยากหรือมีแล้วก็มีเหตุให้ต้องไม่ได้อยู่ด้วยกัน ถ้ามีบุตรให้ระวังอุบัติเหตุให้มาก
    การเงินสิ้นเปลืองไปกับงานสังคมหรือพี่ๆน้องๆ ระวังจะเป็นหนี้เพราะพี่น้องหรือคู่มิตร รวมทั้งคู่ครองหรือคู่มิตรจะทำให้เจ้าชะตาเดือดร้อนด้วยเหตุบังเอิญหรือคาดไม่ถึง **หรือผมอาจจะอ่านผิด ที่ถูกคือ การเงินจะราบรื่นได้เพราะญาติพี่น้องเข้าช่วยเหลือ (อันนี้ขอเฉลยด้วยครับ)
    คุณพ่อยากจนมาก่อน แล้วจึงตั้งเนื้อตั้งตัวได้ภายหลัง
    คุณแม่ใจดี แต่ดูเหมือนไม่ได้อยู่ด้วยกัน
    ส่วนใหญ่อาศัยเค้าอยู่มากกว่าจะมีบ้านเป็นของตัวเอง หรือต้องอยู่ร่วมกับคนอื่น คอนโด อพาร์ทเม้นท์ ฯลฯ
    ทำอะไรสำเร็จได้ยาก ต้องมีอุปสรรคตลอด
    งานการต้องติดต่อบุคคล รับเรื่อง ให้บริการ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ประสานงาน ผู้ช่วย การติดต่อสมาคมกับสาธารณชน สมาคมแรงงาน การติดต่อกันทางหน้าที่การงาน การเจรจาด้วยเรื่องเกี่ยวกับการขยายกิจการ การติดต่อกันเพื่อทำการใหญ่ มีสมาคมอยู่ในหมู่ผู้มีเกียรติหรือผู้มีอำนาจ ทำงานเกี่ยวกับบุคคลที่ถูกสกัดกั้นจากโลกภายนอกหรือไม่มีโอกาสออกมาสู่โลกภายนอก ทำงานเกี่ยวกับคนที่มีความทุกข์ อาจจะทำงานพร้อมกันมากกว่า1อย่าง (ทนาย)
    สุขภาพ ช่องท้องน้อยอาจไม่ค่อยดี อย่างน้อยท้องก็อืดง่าย ชีวิตน่าจะเคยเฉียดเป็นเฉียดตายอยู่บ่อยๆ และอาจมีปัญหาเรื่องสายตาและระบบเลือดอยู่บ้าง (ระวังเนื้องอก)
    เดินทางเก่ง มีเหตุให้ต้องเดินทางเสมอ รักการเดินทาง หรือเดินทางแต่ละครั้งใช้เวลานาน
    มีผู้ช่วยเหลืออยู่บ้าง แต่ไม่มากและช่วยได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ช่วยแล้วมักสำคัญตัว แต่ชีวิตมีโอกาสประสพความสำเร็จแบบพลิกขั้วปุ๊บปั๊บ
    ดวงนี้เล่นการพนันไม่ได้เลย หรืออย่าไปคาดหวังกับทรัพย์สินที่ไม่ใช่ของเราเด็ดขาด
    เพื่อนชายน้อยก็ยังโอเค เพื่อหญิงเยอะมักวุ่นวาย
    ***ดวงใครครับ?
     
  19. numthip

    numthip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    7,094
    ค่าพลัง:
    +65,143
    ใช่หมายถึงการแบ่งภาคอวตารหรือเปล่าครับ
    คืออวตารไปได้อีก10ภาคตามรูป รวมองค์เองอีกเป็น๑๑
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. numthip

    numthip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    7,094
    ค่าพลัง:
    +65,143
    ผมติดขัดปัญหาใหญ่ แต่จะพยายามจัดส่งพัสดุให้แล้วเสร็จภายในวันนี้-พรุ่งนี้
    จะหาทางชดเชยค่าเสียเวลาให้

    โปรดอภัย....
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...