เพียง๙๙บาทร่วมสร้างสมเด็จองค์ปฐม ถวายวัดถ้ำพระ แม่ฮ่องสอน

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 23 ธันวาคม 2013.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444

    [​IMG]
    พระอุบาลีเถระ เป็นพระธรรมทูตในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่ง กรุงศรีอยุธยา ทีเดินทางไปยังประเทศศรีลังกาตามคำร้องของฝ่ายศรีลังกาในการเป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทแก่สามเณรชาวสิงหล เพื่อสืบทอดพุทธศาสนาในศรีลังกาขณะนั้น อีกทั้งท่านยังเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดเทศกาลแห่พระเขี้ยวแก้ว (เอสาละ เปราเหรา) ในเมืองกัณฏี ซึ่งเป็นประเพณีที่มีชื่อเสียงและถือเป็นสัญลักษณ์ของศรีลังกา
    ได้รับการจดจำในเรื่องความกล้าหาญของท่านที่ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังศรีลังกา และได้มรณภาพที่นั่นนับเป็นพระธรรมทูตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย
    เหตุที่สมณวงศ์ขาดหายในศรีลังกา

    …..ในวันที่ ๒๗ สิงหาคมซึ่งเป็นวันที่ ๓ ในศรีลังกา คณะของเราได้ออกเดินทางแต่เช้าออกจากกรุงโคลัมโบเพื่อไปเมืองแคนดี(Kandy) ระยะทางเพียง ๑๒๐ กิโลเมตร แต่ใช้เวลาเดินทางกว่าสองชั่วโมงเพราะรถต้องแล่นขึ้นเขาไปเรื่อยๆ เมืองแคนดีตั้งอยู่ใจกลางเกาะลังกาและมีภูเขาล้อมรอบจึงเป็นชัยภูมิที่ดีที่ใช้เป็นที่ตั้งเมืองหลวงของราชอาณาจักรสุดท้ายก่อนที่ศรีลังกาจะตกเป็นมืองขึ้นของอังกฤษ เมืองแคนดีสมัยโบราณมีชื่อว่าศรีวัฒนบุรี ในสมัยที่ศรีวัฒนบุรีเป็นเมืองหลวงนี้แหละที่พระอุบาลีจากกรุงศรีอยุธยาเดินทางมาฟื้นฟูสมณวงศ์ที่ศรีลังกา
    …..ถึงตรงนี้คงต้องเล่าประวัติศาสตร์ศรีลังกากันนิดหน่อยว่าทำไมพระพุทธศาสนาในศรีลังกายุคนั้นจึงเสื่อมโทรมมากจนต้องหันมาพึ่งฝีมือพระธรรมทูตไทยจากกรุงศรีอยุธยาโปรตุเกสเป็นประเทศแรกที่แล่นเรือมาถึงเกาะลังกาเมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๘ ในช่วงแรกก็เพียงแต่ตั้งสถานีการค้าอยู่ที่โคลัมโบ ต่อมาในสมัยที่พระเจ้าภูวเนกพาหุที่ ๗ เป็นกษัตริย์ศรีลังกาตั้งเมืองหลวงอยู่ที่เมืองไชยวัฒนบุรีใกล้กรุงโคลัมโบ พระอนุชาทั้ง ๒ ของพระองค์ได้แยกตัวเป็นอิสระปกครองเมืองอีก ๒ แห่งโดยไม่ขึ้นต่อกันทำให้ศรีลังกาสมัยนั้นแตกออกเป็น ๓ ก๊กทั้งๆที่มีโปรตุเกสจ้องตะครุบอยู่
    …..พระเจ้าภูวเนกพาหุที่ ๗ เปิดฉากสงครามกับพระอนุชาของพระองค์ที่ชื่อว่ามายาทุนไนย เมื่อฝ่ายตนเพลี่ยงพล้ำ พระเจ้าภูวเนกพาหุที่ ๗ ได้ชวนโปรตุเกสมาช่วยรบซึ่งเป็นการชักศึกเข้าบ้านโดยแท้ เมื่อพระเจ้าภูวเนกพาหุที่ ๗ สวรรคต กษัตริย์องค์ต่อมาพระนามว่า พระเจ้าธรรมปาละ ครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๐๘๕ ยิ่งตกอยู่ใต้อิทธิพลของโปรตุเกส และในที่สุดพระองค์ก็เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ อาณาจักรไชยวัฒนบุรีก็ตกเป็นของโปรตุเกส
    …..เมื่อดินแดนรอบนอกของเกาะลังกาตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสหมดแล้ว พระเจ้าวิมลธรรมสุริยะที่ ๑ ได้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ศรีลังกาครองเมืองศรีวัฒนบุรีหรือเมืองแคนดีเมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๕ โปรตุเกสไม่สามารถตีเมืองแคนดีได้เพราะมีภูเขาเป็นกำแพงล้อมรอบอย่างดี
    …..ในยุคที่แคนดีเป็นเมืองหลวงของศรีลังกานี่แหละที่คณะสงฆ์สูญสิ้นไปจากศรีลังกาจนกษัตริย์ศรีลังกาต้องส่งราชทูตไปกรุงศรีอยุธยาเพื่ออาราธนาพระอุบาลีไปฟื้นฟูสมณวงศ์ที่ศรีลังกา
    …..เหตุที่พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็วในศรีลังกายุคนั้นก็เพราะโปรตุเกสยึดถือนโยบายเผยแผ่ศาสนาคริสต์อย่างจริงจัง ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันอังกฤษและสเปนไม่ให้เข้ามาแข่งขันกับโปรตุเกสในเอเชียใต้ โดยโปรตุเกสได้รับอนุญาตจากพระสันตปาปาที่กรุงโรมให้มีสิทธิในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเอเชียใต้แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้นโปรตุเกสจึงต้องเร่งแสดงผลงานให้พระสันตปาปาเห็นด้วยการชักชวนพระเจ้าธรรมปาละไปเข้ารีตศาสนาคริสต์ดังกล่าวมาแล้ว หลังจากนั้นโปรตุเกสก็โหมเผยแผ่ศาสนาคริสต์แก่ชาวศรีลังกาในดินแดนที่ตนยึดครองเป็นเหตุให้คณะสงฆ์ในเขตนี้สูญสิ้นไป
    ……ในอาณาจักรแคนดีนั้นเล่าสถานการณ์ก็ย่ำแย่สำหรับพระพุทธศาสนา สงครามที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับโปรตุเกสทำให้มีคนบวชพระน้อยลงประกอบกับพระเจ้าราชสิงหะแห่งแคนดีหันไปนับถือศาสนาฮินดูแล้วทำลายพระพุทธศาสนาจนกระทั่งต่อมาในสมัยที่พระเจ้าวิมลธรรมสุริยะที่ ๒ ขึ้นครองราชย์ในพ.ศ. ๒๒๒๘ พระพุทธศาสนาได้เสื่อมโทรมหนักจนกระทั่งไม่มีพระสงฆ์เหลืออยู่ในศรีลังกา แม้กษัตริย์ศรีลังกาองค์ต่อมาจะได้ส่งราชทูตไปนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองยะไข่มาฟื้นฟูสมณวงศ์ที่ศรีลังกา สถานการณ์พระพุทธศาสนาก็ไม่กระเตื้องขึ้นแต่อย่างใด จนกระทั่งสมัยที่พระเจ้าศรีวิชัยราชสิงหะขึ้นครองราชย์ในพ.ศ. ๒๒๘๒ ทั้งเกาะลังกาหาพระสงฆ์ไม่ได้คงมีแต่คณะสามเณรมที่มีหัวหน้าชื่อสามเณรสรณังกร
    …..สามเณรสรณังกรรูปนี้แหละที่เป็นผู้ถวายพระพรพระเจ้าศรีวิชัยราชสิงหะให้ส่งราชทูตไปนิมนต์พระสงฆ์ไทยไปฟื้นฟูสมณวงศ์ในศรีลังกา เราจะกลับมาพูดถึงสามเณรรูปนี้เมื่อคณะของเราเดินทางถึงวัดสุริยโกฎที่สามเณรเคยอยู่พำนักเป็นเวลานาน …..เมื่อ พ.ศ. ๒๒๔๒ เด็กชายกุลตุงคะ พันดร(Kulatunga Bandara) ถือกำเนิดขึ้นมาในหมู่บ้านเวฬิวิตะ เขาเริ่มเรียนหนังสือเมื่ออายุได้ ๕ ขวบ ชอบอ่านหนังสือทั้งกลางวันและกลางคืนจนเป็นผู้คงแก่เรียน เมื่อเขามีอายุได้ ๑๖ ปี เจ้าอาวาสวัดสุริยโกฎในขณะนั้นได้ทำพิธีบรรพชาเด็กหนุ่มคนนี้เป็นสามเณรมีฉายาว่า เวฬิวิตะ สรณังกร
    …..ตั้งแต่ได้บรรพชาแล้ว สามเณรสรณังกรได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนมีความรู้ภาษาบาลีเป็นอย่างดี แม้ท่านจะชอบเที่ยวจาริกสอนธรรมไปในที่ต่างๆจนมีศิษย์มากมาย วัดสุริยโกฎยังคงเป็นต้นสังกัดของท่านนานถึง ๓๖ ปี สามเณรสรณังกรไม่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเพราะหาพระอุปัชฌาย์ไม่ได้เนื่องจากในปลายรัชกาลพระเจ้านเรนทรสิงหะซึ่งครองราชย์ระหว่างพ.ศ. ๒๒๕๐-๒๒๘๒ ศรีลังกาไม่มีพระภิกษุเหลืออยู่เลย
    …..หนังสือเรื่องสยามูปสัมปทา เรียบเรียงโดยพระสิทธารถ พุทธรักขิตเถระเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๙ เล่าว่า สามเณรสรณังกรเป็นนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ศรัทธาของพระเจ้าศรีวิชัยราชสิงหะผู้ครองราชย์ใน พ.ศ.๒๒๘๒ กษัตริย์พระองค์นี้ทรงให้สร้างกุฏิสงฆ์ขึ้นที่วัด บุปผารามถวายสามเณรสรณังกรผู้เป็นประธานคณะสามเณรในวัด

    เมื่อพระอุบาลีไปศรีลังกา

    …..พระเจ้าศรีวิชัยราชสิงหะทรงประสงค์จะอาราธนาคณะสงฆ์จากกรุงศรีอยุธยาไปทำพิธีให้การอุปสมบทแก่สามเณรสรณังกรจึงได้ส่งราชทูตพร้อมด้วยพระราชสาส์นไปยังกรุงศรีอยุธยา พวกราชทูตอาศัยเรือสำเภาของฮอลันดาหรือเนเธอร์แลนด์ไปแวะที่เมืองปัตตาเวีย เกาะชวา
    …..ก่อนหน้านี้ กษัตริย์ศรีลังกาแห่งเมืองแคนดีได้ร่วมมือกับฝรั่งฮอลันดาขับไล่โปรตุเกสออกไปจากเกาะลังกาเมื่อพ.ศ.๒๒๐๓ โดยฮอลันดาได้เข้าครอบครองพื้นที่ในเกาะที่เคยเป็นของโปรตุเกส ราชอาณาจักรแคนดียังคงมีอิสรภาพ ฮอลันดาไม่มีนโยบายในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์จึงยินดีรับราชทูตศรีลังกาลงเรือสำเภาไปกรุงศรีอยุธยา
    …..พวกราชทูตศรีลังกาฝากพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไว้ที่เกาะชวาแล้วเดินทางต่อไปยังกรุงศรีอยุธยาเพื่อดูลู่ทางความเป็นไปได้ในการขอสมณทูตจากสยาม พวกราชทูตได้เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินสยามและได้ความมั่นใจว่าทางสยามพร้อมที่จะส่งสมณทูตไปศรีลังกา แต่เนื่องจากพวกราชทูตไม่ได้นำพระราชสาส์นจากศรีลังกาติดตัวไปเข้าเฝ้า พวกเขาจึงต้องเดินทางกลับเกาะชวาเพื่อนำพระราชสาส์นไปถวายพระเจ้าแผ่นดินสยาม ในระหว่างที่เดินทางกลับไปเกาะชวานั้นเอง พวกราชทูตก็ได้ข่าวการสวรรคตของพระเจ้าศรีวิชัยราชสิงหะจึงพากันเปลี่ยนใจเดินทางกลับศรีลังกา
    …..พระเจ้ากีรติศรีราชสิงหะขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลต่อมาเมื่อพ.ศ.๒๒๙๐ หลังจากครองราชย์ได้ ๓ ปี พระองค์ได้ส่งราชทูตอีกคณะหนึ่งไปอาราธนาพระสมณทูตจากกรุงศรีอยุธยา พวกราชทูตเดินทางโดยเรือสำเภาของฮอลันดาถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อพ.ศ.๒๔๙๔ เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศซึ่งทรงส่งคณะสมณทูตไปศรีลังกา
    …..คณะสมณทูตนี้ประกอบด้วยพระราชาคณะ ๒ รูปคือพระอุบาลีและพระอริยมุนี มีพระมหาเปรียญเป็นกรรมวาจาจารย์ ๕ รูปและพระอันดับอีก ๑๑ รูป รวมพระสงฆ์ทั้งสิ้นจำนวน ๑๘ รูป มีสามเณรติดตามไปด้วยจำนวนหนึ่ง
    …..สมณทูตคณะนี้ซึ่งมีพระอุบาลีเป็นหัวหน้าเดินทางโดยเรือสำเภาถึงเมืองแคนดีในพ.ศ.๒๒๙๖ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารสมัยนั้นคือภาษาบาลี แม้แต่พระราชสาส์นที่ส่งถึงกันก็ใช้ภาษาบาลี พระราชสาส์นภาษาบาลีฉบับหนึ่งถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีจนถึงปัจจุบันโดยพระมหานายกแห่งมัลวัต
    …..ท่านมหานายกเคยนำพระราชสาส์นออกมาให้พระธรรมโกศาจารย์ได้ชมเป็นขวัญตา กล่องใส่พระราชสาส์นยาวประมาณ ๑ ศอกทำด้วยเงิน มีจารึกภาษาบาลีอยู่ด้านนอก ภายในกล่องเป็นงาช้างมีช่องตรงกลางสำหรับบรรจุพระราชสาส์นซึ่งจารึกด้วยสีดำลงบนผ้าไหมสีขาว เราต้องชมว่าของล้ำค่าทางประวัติศาสตร์อย่างนี้หาไม่ได้ในประเทศไทย แต่วัดในศรีลังกาเก็บรักษาได้ดีเหลือเกิน
    …..ในพระราชสาส์นภาษาบาลี ฝ่ายศรีลังกาเรียกพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศว่า ธมฺมิกราชา (พระเจ้าธรรมิกราช) ฝ่ายไทยเรียกศรีลังกาว่า สิริลงฺกาทีป (เกาะศรีลังกา) และเรียกเมืองแคนดีว่า สิริวฑฺฒนปุร (ศรีวัฒนบุรี)

    กำเนิดสยามนิกายในศรีลังกา

    …..พระอุบาลีได้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้การอุปสมบทสามเณรสรณังกรพร้อมกับสามเณรระดับเจ้าอาวาสอื่นๆ อีก ๕ รูปที่วัดบุปผาราม ขณะได้รับการอุปสมบท สามเณรสรณังกรมีอายุได้ ๕๔ ปี พระเจ้ากีรติศรีราชสิงหะเสด็จไปทอดพระเนตรพิธีอุปสมบทครั้งประวัติศาสตร์นี้ด้วย
    …..สมณทูตคณะนี้อยู่ที่ศรีลังกา ๓ ปีให้การบรรพชาอุปสมบทแก่ชาวศรีลังกาเป็นพระภิกษุ ๗๐๐ รูป เป็นสามเณร ๓,๐๐๐ รูป จากนั้นได้มีสมณทูตคณะที่สองจำนวน ๔๒ รูปซึ่งมีพระวิสุทธาจารย์เป็นหัวหน้าเดินทางไปทำหน้าที่ต่อจากคณะของพระอุบาลีเมื่อ พ.ศ.๒๒๙๘
    …..เมื่ออยู่ศรีลังกาได้เกือบ ๓ ปี พระอุบาลีได้ถึงมรณภาพ ควรบันทึกไว้ว่าสมณทูตคณะที่หนึ่งซึ่งมีพระอุบาลีเป็นหัวหน้าได้เอาชีวิตไปทิ้งไว้ที่ศรีลังกาเสียเป็นส่วนมาก ภายในเวลา ๓ ปีนั้นอาหารและอากาศที่แปลกไปของศรีลังกาสมัยนั้นได้คร่าชีวิตพระภิกษุจากสยาม ๑๐ รูป สามเณรจากสยามถึงมรณภาพ ๒ รูป สมณทูตเหลือรอดชีวิตกลับกรุงศรีอยุธยาเพียง ๗ รูป หนึ่งในนั้นคือพระอริยมุนี
    …..พระอุบาลีเป็นพระธรรมทูตที่ยิ่งใหญ่เพราะได้ปฏิบัติหน้าที่แบบมอบกายถวายชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนา มรดกที่ท่านฝากไว้ล้ำค่าเหลือคณนานับ การปฏิบัติหน้าที่ของท่านได้ช่วยฟื้นฟูสมณวงศ์และต่อชีวิตพระพุทธศาสนาในศรีลังกามาจนถึงปัจจุบัน เมื่อพระอุบาลีถึงมรณภาพลง พระเจ้ากีรติศรีราชสิงหะได้สถาปนาศิษย์เอกของท่านคือพระสรณังกรเป็นพระสังฆราชแห่งศรีลังกา นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ศรีลังกาที่มีตำแหน่งพระสังฆราช นี่คงเอาแบบอย่างไปจากสยาม
    …..ต่อมาเมื่อพระสรณังกรบวชเป็นพระภิกษุได้ ๑๒ พรรษาท่านก็ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้การบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรศรีลังกาสืบมา ระยะนี้ท่านพำนักอยู่ที่วัดบุปผาราม คณะสงฆ์ที่สืบทอดมาจากสายของพระสังฆราชสรณังกรนั้นได้กลายเป็นนิกายใหญ่ที่สุดในศรีลังกาปัจจุบันเรียกว่าสยามนิกาย มีชื่อเต็มว่า สยาโมปาลีมหานิกาย หมายถึงนิกายใหญ่ของพระอุบาลีจากประเทศสยาม ไม่มีพระธรรมทูตไทยอื่นใดอีกแล้วที่สามารถฝากชื่อตัวและชื่อประเทศให้เป็นชื่อนิกายสงฆ์ในต่างแดนได้เหมือนพระอุบาลี เพราะเหตุนี้แหละพระอุบาลีจึงเป็นพระธรรมทูตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งสยาม
    พระอุบาลีมรณภาพด้วยโรคหูอักเสบ ภายในกุฏิวัดบุปผาราม (มัลวัตตวิหาร) เมื่อปี พ.ศ. 2299 พระเจ้าแผ่นดินศรีลังกาให้จัดพิธีถวายเพลิงศพอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ โดยจัดขึ้นที่สุสานหลวงนามว่าอาดาหะนะมะลุวะ ปัจจุบันคือวัดอัศคิริยะเคดิเควิหาร เมืองกัณฏี ซึ่งปัจจุบันได้ก่ออิฐล้อมสถานที่เผาศพท่านไว้ หลังเสร็จสิ้นพิธีถวายเพลิงศพแล้ว ทรงรับสั่งให้สร้างเจดีย์บนยอดเขาใกล้วัดอัสคีริยะบรรจุอัฏฐิเพื่อสักการบูชาซึ่งมีปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน กุฏิท่านพระอุบาลีและห้องพักของท่านได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีแม้จะเป็นเพียงห้องเล็กๆมีเพียงเตียงเก่าๆและโต๊ะเก้าอี้อีกหนึ่งชุดเท่านั้น บริขารและสิ่งของที่ท่านเคยใช้สอยที่ยังเหลืออยู่ ชาวศรีลังกาก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรเคารพเช่นกันและได้เก็บรักษาไว้จนทุกวันนี้
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก พิพิธภัณฑ์ พระอุบาลีเถระ วัดธรรมาราม อยุธยา
    ใครสนใจไปชมพิพิธภัณฑ์ แบบอลังการของท่านหลวงปุ่พระอุบาลีเถระได้ที่ วัดธรรมารามทุกวัน
    ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่https://www.facebook.com/phuchit.surarattana/media_set?set=a.10202897092698018.1523576343&type=3 - See more at: http://www.พุทธคุณ.net/#sthash.ubSV9fII.dpuf
     
  2. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
  3. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
  4. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    เชิญร่วมบุญกันนะครับ
     
  5. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ผู้ร่วมบุญที่แจ้งทางอีเมล์
    ศิริวรรณ กู้เจริญประสิทธิ์

    27/12/56 (5 วันที่แล้ว)

    สวัสดีค่ะ


    วันนี้ได้โอนเงินร่วมทำบุญสร้างสมเด็จองค์ปฐม เพื่อถวายวัดถ้ำพระ

    ที่แม่ฮ่องสอน จำนวนเงิน 20 บาทค่ะ



    จึงแจ้งมาให้ทราบค่ะ และขออนุโมทนาบุญกับคุณJoni ที่เป็น

    สะพานบุญในครั้งนี้ด้วยค่ะ สาธุ




    K.P. <


    26/12/56 (6 วันที่แล้ว)

    ถึง ฉัน


    ร่วมถวายปัจจัยจำนวน 20 บาท
    เพื่อร่วมองค์ปฐม
    โอนแล้วในวันที่ 26 ธ.ค. 56 เวลา 14:21:21
    ขอกราบอนุโมทนาบุญและขอบพระคุณท่านผู้เป็นสะพานบุญมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ
     
  6. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
  7. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ทำไมคนที่ทำบาปกรรมอย่างเดียวกัน แต่รับวิบากกรรมต่างกัน
    [​IMG]
    ภิกษุทั้งหลาย !

    ใครพึงกล่าวว่า คนทำกรรมอย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้
    เมื่อเป็นอย่างนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ก็มีไม่ได้
    ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบ ก็ไม่ปรากฏ

    ส่วนใครกล่าวว่า คนทำกรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้
    เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้
    ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ

    ภิกษุทั้งหลาย !

    บาปกรรมแม้ประมาณน้อย ที่บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้

    บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น
    บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย
    ( ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม คือ กรรมที่รู้เห็นผลได้ทันที )

    บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดไร ทำแล้ว บาปกรรมนั้นจึงนำเขาไปนรกได้ ?

    บุคคลบางคนในโลกนี้
    เป็นผู้มีกายมิได้อบรม มีศีลมิได้อบรม มีจิตมิได้อบรม มีปัญญามิได้อบรม มีคุณความดีน้อย
    เป็นอัปปาตุมะ ( ผู้มีใจคับแคบ ใจหยาบ ใจต่ำทราม )
    เป็นอัปปทุกขวิหารี ( มีปกติอยู่เป็นทุกข์ด้วยเหตุเล็กน้อย คือเป็นคนเจ้าทุกข์ )

    บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดนี้ทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้

    บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกัน.
    บุคคลชนิดไร ทำแล้ว กรรมนั้นจึงเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย ?

    บุคคลบางคนในโลกนี้
    เป็นผู้มีกายได้อบรมแล้ว มีศีลได้อบรมแล้ว มีจิต…มีปัญญาได้อบรมแล้ว มีคุณความดีมาก
    เป็นมหาตมะ ( ผู้มีใจกว้างขวาง ใจบุญ ใจสูง )
    เป็นอัปปมาณวิหารี ( มีปกติอยู่ด้วยธรรมอันหาประมาณมิได้ )

    บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น
    บุคคลชนิดนี้ทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย.

    ภิกษุทั้งหลาย !

    ต่างว่า คนใส่เกลือลงไปในถ้วยน้ำเล็กๆ หนึ่งก้อน ท่านทั้งหลายจะสำคัญว่ากระไร ?
    น้ำอันน้อยในถ้วยน้ำนั้น จะกลายเป็นน้ำเค็มไม่น่าดื่มไป เพราะเกลือก้อนนั้นใช่ไหม ?
    “เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า !”

    เพราะเหตุไร ?
    เพราะเหตุว่า น้ำในถ้วยน้ำนั้นมีน้อย มันจึงเค็มได้…เพราะเกลือก้อนนั้น.

    ต่างว่า คนใส่เกลือก้อนขนาดเดียวกันนั้นลงไปในแม่น้ำคงคา ท่านทั้งหลายจะสำคัญว่ากระไร?
    น้ำในแม่น้ำคงคานั้นจะกลายเป็นน้ำเค็ม ดื่มไม่ได้ เพราะเกลือก้อนนั้นหรือ ?
    “หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า !”

    เพราะเหตุไร ?
    เพราะเหตุว่า น้ำในแม่น้ำคงคามีมาก น้ำนั้นจึงไม่เค็ม…เพราะเกลือก้อนนั้น.

    ฉันนั้นนั่นแหละ.

    ภิกษุทั้งหลาย !

    บาปกรรมแม้ประมาณน้อย
    บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำไปนรกได้

    ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น
    บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย…

    ภิกษุทั้งหลาย !
    คนบางคนย่อมผูกพันเพราะทรัพย์ แม้กึ่งกหาปณะ… แม้ 1 กหาปณะ… แม้ 100 กหาปณะ
    ส่วนบางคนไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น

    คนอย่างไร จึงผูกพันเพราะทรัพย์แม้กึ่งกหาปณะ ฯลฯ
    คนบางคนในโลกนี้เป็นคนจน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย
    คนอย่างนี้ย่อมผูกพันเพราะทรัพย์แม้กึ่งกหาปณะ. ฯลฯ

    คนอย่างไร ไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น ?
    คนบางคนในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
    คนอย่างนี้ย่อมไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น

    ฉันนั้นนั่นแหละ.

    ภิกษุทั้งหลาย !

    บาปกรรมแม้ประมาณน้อย
    บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำไปนรกได้

    ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น
    บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย…

    ภิกษุทั้งหลาย !

    พรานแกะหรือคนฆ่าแกะบางคน อาจฆ่า มัด ย่าง หรือทำตามประสงค์ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้
    บางคนไม่อาจทำอย่างนั้น

    พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร จึงอาจฆ่า มัด ย่าง หรือทำตามประสงค์ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้ ?
    บางคนเป็นคนยากจน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย
    พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ อาจฆ่า ฯลฯ ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้.

    พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร ไม่อาจทำอย่างนั้น ?
    บางคนเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เป็นพระราชาหรือราชมหาอำมาตย์
    พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ ไม่อาจทำอย่างนั้น

    มีแต่ว่าคนอื่นจะประณมมือขอกับเขาว่า
    “ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านโปรดให้แกะหรือทรัพย์ค่าซื้อแกะแก่ข้าพเจ้าบ้าง” ดังนี้ ฉันใด

    ฉันนั้นเหมือนกัน.

    ภิกษุทั้งหลาย !

    บาปกรรมแม้ประมาณน้อย
    บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำไปนรกได้

    ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น
    บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย…

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ใครกล่าวว่า คนทำกรรมอย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้
    เมื่อเป็นอย่างนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ก็มีไม่ได้
    ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบ ก็ไม่ปรากฏ

    ส่วนใครกล่าวว่า คนทำกรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้
    เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้
    ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ

    - ติก. อํ. 20/320/540
    - See more at: http://www.พุทธคุณ.net/#sthash.mk8hCEE6.dpuf
     
  8. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
  9. อิฟ

    อิฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    310
    ค่าพลัง:
    +1,044
  10. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    พระสูตร เกสปุตตสูตร (กาลามสูตร)
    ว่าด้วย ข้อห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง
    [​IMG]
    [๕๐๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของพวกกาลามะ ชื่อว่าเกสปุตตะ พวกชนกาลามโคตรชาวเกสปุตตนิคม ได้สดับข่าวมาว่า พระสมณโคดมศากยบุตรทรงผนวชจากศากยสกุลแล้ว เสด็จมาถึงเกสปุตตนิคม โดยลำดับ

    ก็กิตติศัพท์อันงามของพระสมณโคดมพระองค์นั้นแล ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์… ทรงเบิกบานแล้ว ทรงจำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เห็นปานนั้น ย่อมเป็นความดีแล

    ครั้งนั้น ชนกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคมได้เข้าไปเฝ้าผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งเฉยๆ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    เมื่อต่างก็นั่งลงเรียบร้อยแล้ว จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม สมณพราหมณ์พวกนั้น พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตัวเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม ถึงพราหมณ์พวกนั้น ก็พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตนเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ยังมีความเคลือบแคลงสงสัย ในสมณพราหมณ์เหล่านั้นอยู่ทีเดียวว่า ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็ควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลงสงสัย และท่านทั้งหลายเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในฐานะที่ควรแล้ว มาเถิดท่านทั้งหลาย
    ท่านทั้งหลายอย่าได้เชื่อถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้เชื่อถือ ตามถ้อยคำสืบๆ กันมา อย่าได้เชื่อถือโดยตื่นข่าวว่าได้ยินอย่างนี้ อย่าได้เชื่อถือ โดยอ้างตำรา อย่าได้เชื่อถือโดยเดาเอาเอง อย่าได้เชื่อถือโดยคาดคะเน อย่าได้เชื่อถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้เชื่อถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฏฐิของตัว อย่าได้เชื่อถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้เชื่อถือ โดย ความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา

    เมื่อใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่ เป็นประโยชน์

    พวกชนกาลามโคตร ต่างกราบทูลว่า เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ มีจิตอันความโลภ กลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่ง ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
    กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า

    พ. ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ความโกรธเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่ใช่ประโยชน์

    กา. เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำ มีจิตอันความ โกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อ สิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โกรธย่อม ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
    กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า

    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ความหลงเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์

    กา. เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ มีจิตอันความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูด เท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคล ผู้หลงย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
    กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า

    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล

    กา. เป็นอกุศล พระเจ้าข้า
    พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ
    กา. มีโทษ พระเจ้าข้า
    พ. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ
    กา. ท่านผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า
    พ. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์หรือหาไม่ ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร
    กา.ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ ในข้อนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้

    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย
    ท่านทั้งหลาย อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟัง…..อย่าได้ยึดถือโดยนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ สมบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย
    เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย
    ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา…..อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ความไม่โลภเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่ เป็นประโยชน์

    กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่ถูกความโลภครอบงำ มีจิตไม่ถูกความโลภกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูด เท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
    กา. จริงอย่างนั้นพระเจ้าข้า

    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ความไม่โกรธเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์

    กา. เพื่อเป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ มีจิตไม่ถูกความโกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่ พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น
    กา. จริงอย่างนั้นพระเจ้าข้า

    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ความไม่หลงเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์

    กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า
    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่หลง ไม่ถูกความหลงครอบงำ มีจิตไม่ถูกความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูด เท็จ สิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่หลง ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น
    กา. จริงอย่างนั้นพระเจ้าข้า

    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล

    กา. เป็นกุศล พระเจ้าข้า
    พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ
    กา. ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า
    พ. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ
    กา. ท่านผู้รู้สรรเสริญ พระเจ้าข้า
    พ. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขหรือหาไม่ ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร
    กา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ในข้อนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้

    พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย
    ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่สืบๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่าได้ยินว่าอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดยตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบ ใจว่าต้องกันกับทิฏฐิของตน อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทาน ให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่
    เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้นปราศจากความโลภ ปราศจากความพยาบาท ไม่หลงแล้วอย่างนี้ มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจ อันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา… มีใจประกอบด้วยมุทิตา… มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิต ไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการ ในปัจจุบันว่า

    ก็ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง เหตุนี้เป็น เครื่องให้เราเมื่อแตกกายตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจ ข้อที่ ๑ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว
    ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วไม่มี เราไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์เป็นสุข บริหารตนอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๒ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว
    ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ชื่อว่าทำบาป เราไม่ได้คิดความชั่วให้แก่ใคร ๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเรา ผู้ไม่ได้ทำบาปกรรมเล่า ดังนี้ ความอุ่นใจในข้อที่ ๓ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว
    ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ไม่ชื่อว่าทำบาป เราก็ได้พิจารณาเห็นตนว่า เป็นคนบริสุทธิ์แล้วทั้งสองส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจในข้อที่ ๔ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตใจไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่าง นี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แลในปัจจุบัน

    กา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้ เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระอริยสาวกนั้น มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มี จิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ท่านย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในปัจจุบัน…

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระองค์โปรดทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป
    สรุป
    เกสปุตตสูตร (กาลามสูตร) ว่าด้วย ข้อห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง
    พระไตรปีฎกภาษาไทย ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๕๒๕ เล่ม ๒๐ ข้อ ๕๐๕ หน้า ๑๗๙ – ๑๘๔
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (th.wikipedia.org/wiki/กาลามสูตร)

    กาลามสูตร แปลว่า พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล (เรียกว่า เกสปุตตสูตร ก็มี) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการคือ
    อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
    อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
    อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
    อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
    อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
    อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
    อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน
    เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
    ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ
    ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว
    เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
    เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่
    ปัจจุบันแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ 2500 ปีก่อนได้รับการบรรจุเป็นวิชาบังคับว่าด้วยการสร้างทักษะการคิดหรือที่เรียกว่า “การคิดเชิงวิจารณ์” (Critical thinking) ไว้ในกระบวนการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้ว

    นำเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการบริโภคข้อมูลข่าวสาร ที่กำลังเชี่ยวกรากในปัจจุบัน
    - See more at: http://www.พุทธคุณ.net/#sthash.EAafD1MD.dpuf
     
  11. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    เชิญร่วมบุญครับ
     
  12. toyhonda

    toyhonda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    542
    ค่าพลัง:
    +1,782
    วันนี้ผม นายตันชัย เฉิดเกียรติ์ไกรและครอบครัว ร่วมทำบุญสร้างสมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิ์หน้าตัก 60นิ้ว 100บาท ถวายถำ้พระ จ.แม่ฮ่องสอนเรียบร้อยแล้วครับ ขออนุโมทนาทั้งหมดทั้งมวลกับผู้มีส่วนร่วมบุญกุศลนี้ให้สำเร็จตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคต สาธุๆๆๆ
     
  13. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ขออนุโมทนาบุญครับ
     
  14. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    เนื้อแท้ที่ไม่อันตรธาน
    [​IMG]
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้,
    สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
    เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
    มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
    เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก,

    เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่;
    เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
    และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

    ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำของตถาคต
    เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง
    เป็นชั้นโลกุตตระว่าเฉพาะเรื่องสุญญตา,

    เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่;
    เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
    และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน

    จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและ
    กันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ?” ดังนี้.

    ด้วยการทำดังนี้
    เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้,
    ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็จะทำให้ปรากฏได้,
    ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย
    เธอก็บรรเทาลงได้.

    ภิกษุ ท. ! ภิกษุบริษัทเหล่านี้ เราเรียกว่า
    บริษัทที่มีการลุล่วงไปได้
    ด้วยการสอบถามแก่กันและกันเอาเอง,
    หาใช่ด้วยการชี้แจงโดยกระจ่าง
    ของบุคคลภายนอกเหล่าอื่นไม่;
    จัดเป็นบริษัทที่เลิศ แล.

    ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒.
    - See more at: http://www.พุทธคุณ.net/#sthash.DrXorv2i.dpuf
     
  15. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,401
    วันนี้ 5 มกราคม 2557
    โอนเงินร่วมสร้างสมเด็จองค์ปฐม หน้าตัก 60 นิ้ว
    100 บาท ครับ
     
  16. jotaro4s

    jotaro4s เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2012
    โพสต์:
    2,121
    ค่าพลัง:
    +5,431
    เวลา 11.03 ผมได้โอนร่วมบุญร่วมสร้างสมเด็จองค์ปฐม ถวายวัดถ้ำพระ แม่ฮ่องสอน 200 บาทแล้วนะครับ อนุโมทนาบุญครับ สาธุ
     
  17. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    อริยสัจสี่โดยสังเขป (ทรงแสดงด้วยความยึดในขันธ์ห้า)
    [​IMG]
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ความจริงอันประเสริฐ มีสี่อย่างเหล่านี้,
    สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ
    คือทุกข์,
    ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์,
    ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์,
    และความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-
    ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง.
    ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? คือ :-
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
    คือตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก
    อันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจความเพลิน
    มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
    ตัณหาในกาม,
    ตัณหาในความมีความเป็น,
    ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
    คือความดับสนิท เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้น
    ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง
    ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด.
    ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์.

    ภิกษุ ทั้งหลาย.
    ! ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
    คือหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนั่นเอง,
    ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
    ความเห็นชอบ,
    ความดำริชอบ,
    การพูดจาชอบ,
    การงานชอบ,
    การเลี้ยงชีพชอบ,
    ความเพียรชอบ,
    ความระลึกชอบ,
    ความตั้งใจมั่นชอบ.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
    คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล คือความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอ
    พึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า
    “นี้เป็นทุกข์,
    นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์,
    นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์,
    นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์,” ดังนี้เถิด.
    มหาวาร. ส°. ๑๙/๕๓๔-๕/๑๖๗๘-๑๖๘๓.
     
  18. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ขอเชิญร่วมบุญครับ
     
  19. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
  20. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444

แชร์หน้านี้

Loading...