ดูจิตให้ดูความพอดีเพื่อปรารภความเพียรละกิเลส (มัฌชิมาปฏิปทา)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 22 กรกฎาคม 2013.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เฮ้อ!!!...เสี้ยมชัดๆ ชอบจังนะตัวแค่นี้
    ไม่แปลกใจเลยจริงๆ ทำไมถีงมีต้องเดือดร้อนเสียหาย
    เพราัะมักง่าย ไร้ความซื่อสัตย์ต่อตนเองเป็นที่ตั้ง
    เป็นนักฉกฉวยโอกาส ที่ดีแต่สร้างภาพ หลอกได้เฉพาะแต่...(คิดเอง)

    คำว่าอนุโลมปฏิบัติโลม ที่มีให้ใช้ แต่มักง่ายยึดเอาเป็นของๆตน
    คนที่มีศรัทธานับถือในพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาตำรา ฟัง เขียน อ่าน จำจดได้
    ที่ถูกต้องตามความเป็นจริงแล้ว ต้องเรียกพวกนี้ว่า มี"ศรัทธาทิฐิ"
    แต่ก็อนุโลมให้เรียกว่าพวกนี้ว่ามี "สัมมาทิฐิ"ในศาสนาพุทธ ให้กำลังใจ

    เหมื่อนผู้ที่เริ่มฝึกฝนอรบมปฎฏิบัติ "สมาธิ" โดยมีองค์ภาวนาใน"สติปัฏฐาน"
    ทั้งที่ยังเป็นเพียง "สมาธิ"ธรรมดา ก็มีการอนุโลมว่า"สัมมาสมาธิ"เพื่อเป็นกำลังใจ
    ถนัดจริงนะเรื่อง"ฉกฉวย" โอกาสเอามาเป็นของตน
    สิ่งที่เป็นเพียงการให้กำลังใจกันเท่านั้น เพื่ออะไร
    ก็เพื่ออย่าให้ละความเพียร"เพ่ง"ในการ"ภาวนามยปัญญา"
    กลับยักยอกเอาเป็นของๆตนหน้าตาเฉย(โง่)เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
    จึงได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง มีพระพุทธพจน์เตือนไว้แล้ว ไม่รู้จักจำ เฮ้อ!!!

    เหมือนพระบาลีที่ยกมาก็ชัดเจนว่า ศีล สมาธิ ปัญญานั้น
    เป็นอัญญะ-มัญญะปัจจัยได้ ก็ต่อเมื่อจิตมีสติ มีกำลังสมาธิตั้งมั่นเท่านั้น

    ชอบแอบอ้างจัง "สัมมาทิฐิที่ยังมีสาสวะ" กับ"สัมมาทิฐิที่เป็นอานสวะ"แล้ว
    พระอีริยเจ้าชั้นต่างๆที่ยังไม่เป็นอนาสวะ ล้วนยังมีสาสวะอยู่ทั้งนั้น ใช่หรือไม?

    เรื่อง"สัมมาทิฐิที่เป็สาสวะ" ในพระสูตรชัดเจนไม่ต้องตีความใดๆเลย
    แต่ที่พวกชอบแอบอ้างว่าตนมีอยู่แล้ว"สัมมาทิฐิ"นั้น ล้วนโกหกทั้งเพ
    เป็นเพียงพวกที่มีความคิดเห็น"ที่คิดว่าถูกต้อง"เท่านั้น ยัง"เห็นชอบ"ไม่ได้
    เพราะยังขาดการพิสูจน์ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง(เห็นชอบ)

    ลีลามากๆว่าดี เชื่อเถอะ เชื่อก็ได้ไม่เชื่อก็ได้ ไม่ได้บังคับนะ
    อย่าทำให้พระพุทธพจน์ต้องเสียหายไปมากกว่านี้เลย
    การที่ลีลาฯชอบคิดเองเออเองว่า "พระพุทธพจน์กิเลส"อ้าง
    เพราะลีลาว่าดี เป็นคนเช่นนั้นเอง เป็นแบบฝั่งแน่น
    แก้อยาก เก้อ-ยาก เหมื่อน"นิวรณ์" คู่ดูโอ

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  2. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    ทาน ศีล ภาวนา ก็เข้าถึงอริยสัจได้เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องพิศดารอะไรมากมาย

    แค่ลูบผ้าขาวจนขุ่นดำ เห็นความไม่เที่ยง ก็ยังบรรลุได้เลยครับ
     
  3. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ผมว่าทั้งสองอย่างนะครับต้องสะสมให้มาก เพราะพระองค์ก็็บอกว่าการสะสมสุตตะนั้นเปรียบเหมือนการสะสมอาวุธยามออกรบ แต่พระองค์เน้นการปฎิบัติสัดส่วนน่าจะสัก 80-20ก็น่าจะโอเคนะครับ สาธุๆ
     
  4. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    การเข้าถึงธรรมในครั้งพุทธกาลนั้น มีข้อสังเกตุว่า
    ผู้ฟังธรรมแล้วบรรลุทันทีนั้นส่วนมากมีอินทรีย์พร้อม และเจริญสมาธิจิตกันมาอย่างเข้มข้น เช่น พระปัญจวัคคีย์ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ฤาษี และนักบวชนักพรตต่างศาสนา ผู้เหล่านี้มีบุญญาบารมีที่ได้เกิดมาทันในยุคเดียวกับพระพุทธเจ้า

    ข้อต่อมา ผู้กล่าวธรรม เป็นถึงบรมครู ผู้มีปาฏิหารย์ในการเทศนาสั่งสอน ทรงสัพพัญญูรู้วาระจิตและวาสนาของคนต่างๆ ว่า ธรรมบทใด การกระทำแบบใดที่แทงใจให้คนเหล่านั้นเห็นธรรมได้ง่าย

    สองข้อนี้จึงเป็นข้อแตกต่างที่ ไม่สามารถหยิบยกสถานการณ์ในปัจจุบันไปเปรียบเทียบได้ว่า เราอาศัยเพียงฟังธรรมก็บรรลุได้

    การฟังธรรมนั้น เป็นความรู้ที่ทำให้ผู้ฟังตรึกเอานึกเอา ในหลักเหตุและผลของธรรมนั้น หากตนเคยพบเจอมาอย่างไรก็เข้าใจได้แค่ประสบการณ์ของตนที่ผ่านมา เป็นธรรมดาว่าจิตเคยอยู่ในวังวนของกิเลสมาเป็นอนันตชาติ ก็ย่อมรู้ย่อมเห็นและตรึกตามได้แค่เพียงกำลังในวังวนกิเลสนั้น จะรู้พ้นจากกิเลสนั้นได้ยาก เพราะตนเวียนว่ายตายเกิดมาแต่ในวังวนนี้
    การทำจิตให้อยู่เหนือวังวนนี้จึงต้อง พาตนเองให้รู้ให้เห็นสภาวะเหนือกิเลสในระดับแรกคือ ปฐมฌาณเป็นต้น แล้วเจริญสติให้แจ่มชัดยิ่งๆขึ้นไป จึงจะรู้จะเห็นธรรมได้ละเอียดกว้างขวาง สตินี้จะเป็นตัวแยกแยะอารมณ์ละเอียดได้อย่างชัดเจน ละตัวหยาบ จิตจะเกาะตัวละเอียด ละตัวละเอียด จิตจะเกาะรู้ตัวละเอียดยิ่งขึ้นไปจน จิตรู้จักทั้งหมด แล้วปล่อยไปตามธรรมชาติของจิต จิตจะไม่ติดไม่ข้อง นั้นแหละจึงเรียกว่าจิตหลุดพ้น แล้วอายตนะที่ครองจะเบากายเบาใจ มีอยู่เหมือนไม่มี รู้แต่ไม่ติด นี่เรียกว่านิพพานย่อมๆ ทำตัวนี้ให้แจ้ง ด้วยการเจริญอริยมรรคขัดเกลาตนเอง จิตจะแจ้งไปเรื่อยๆ แล้วจะหมดสงสัย นี่จะต้องมาจากภาคปฏิบัติ เจริญมหาสติและสมาธิ และปัญญา เท่านั้น ลำพังฟังธรรมก็เข้าใจแต่ไม่รู้ไม่เห็น สุดท้ายไปนึกเอา เดาเอา กิเลสยังอยู่ครบ แต่ไม่รู้ตัวนะครับ
     
  5. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    มีคำถามที่น่าสนใจ อย่างหนึ่งคือ ควรเจริญสติก่อน หรือ ทำสมาธิก่อน ดี
    ข้อนี้ ควรเจริญตามลำดับอริยมรรค คือ หมั่นเจริญสติก่อน เพื่อว่า สตินั้นจะได้ตามทัน อธิจิต ที่จะมีกำลังมากขึ้นอันเป็นผลเนื่องจากการเจริญสมาธิ
    พระ หรือ ฆราวาส ที่เจริญสมาธิแต่อย่างเดียวโดยไม่เจริญสติก่อน จะเกิดวิปลาสได้ เพราะเมื่อจิตได้กำลังจากสมาธิแล้วจิตจะพุ่งไปรู้ในสิ่งต่างๆ ทั้งปรุงแต่ง ทั้งผี ทั้งมาร บางคนจิตพุ่งออกไปรู้ไปเห็นนรก สวรรค์ รวมถึงบางคนจะเกิดกำลังของเวทนาจะกล้าขึ้น ทำให้ทุกข์มากขึ้น
    เมื่อสติตามกำลังของจิตไม่ทันแล้ว จะเป็นสมาธิที่ไม่ประกอบด้วยสติปัญญา นักปฏิบัติบางคน กลัว บางคนคิดไปว่ายิ่งนั่งยิ่งทุกข์ จึงหยุดเจริญความเพียรในส่วนของสมาธิ เพราะไม่รู้เหตุปัจจัยที่ถูกต้อง
    การเจริญสติ คือ การเดินจงกรม เป็นต้น นั้นควรฝึกให้ดีให้ จิตนิ่งได้แล้วจึงเจริญสมาธิควบคู่กันไป จึงจะเกิดผลทางสมาธิดีขึ้น
     
  6. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..การฝึกสติ ก่อนสมาธิ มีพระสูตรไหนยืนยันไหมครับ
    ช่วยยกมาให้ดูหน่อย การปฏิบัติตนตามมรรคมีองค์8..สมาธิ-สติ จะเกิดเองโดยไม่ต้องใช้อะไรนำก่อนเลย นอกจาก ปัญญา..คือ สัมมาทิฏฐิ
    ..ดังนั้นที่ท่านอ้างมา ผมไม่เห็นด้วยครับ สติทุกคนมีอยู่แล้ว เช่นเดียวกับสมาธิ ในชีวิตประจำวัน การทำให้สติต่อเนื่องน่าจะเป็นการฝึก สมาธิ มากกว่าสติจึงจะต่อเนื่อง สันตติ..ได้ครับ ขอเห็นแย้งนะครับ:cool:
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ครับ...ไม่เคยปฏิเสธไว้ที่ไหนเลยว่า"ไม่ได้"

    เพราะ..มี"ภาวนามยปัญญา"กำกับอยู่

    ส่วนท่านพระอาจารย์ที่ท่านลูบผ้าขาวจนสำเส็จนั้น ไม่ใช่แค่ตรงนั้น

    ในยุคนั้น ล้วนมีผู้ที่บำเพ็ญเพียรที่ติดอยู่ในฌานสมาบัติอยู่เป็นจำนวนมาก

    บุคคลเหล่านั้น ล้วนมีความชำนาญคล่องแคล่วในฌานที่ตน"ภาวนา"

    ติดอยู่ในอารมณ์อันละเอียดที่เป็นสุขอยู่(เจือทุกข์) มีกิเลสเบาบาง

    เมื่อมารู้เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดจากกายสังขาร ที่กำลังลูบคลำผ้าขาวที่เปลี่ยนไป

    เป็นเหตุปัจจัยให้รู้เห็นตามความเป็นจริงในอารมณืทั้งหลายว่า

    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ นั่นไม่ใช่ตนของเรา เป็นที่พึ่งที่อาศัยได้

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    การฟังพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่เป็นของแท้ มีแต่ได้ไม่มีเสีย

    เหมือนมีอาวุธติดตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าไปที่ไหน

    เมื่อคราว"ภาวนา" ติดปัญญา ตนเองก็สามารถนำความรู้จากที่ฟังมา แก้ไขได้

    ไม่ใช่ฟังๆมา เสร็จแล้วเก็บมานึกคิดเอา จนหลงเข้าใจว่ารู้เห็นตามความเป็นจริง

    อันนั้นมัน"สัญญาอารมณ์"ชัดๆ ต่างจาก"ภาวนามยปัญญา"คนละเรื่องเลย

    เมื่อ"ภาวนา" แล้วเกิดปัญหา เมื่อแก้ไขได้ ก็ได้ชื่อว่า"รู้เห็นตามความเป็นจริง"

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เดี๋ยวๆ...เย็นไว้

    ธรรมะพ่อแม่ครูบาอาจารย์นั้น ในบางครั้งต้องดูบริบทรอบข้างด้วย

    ว่าท่านนั้นต้องการสื่อถึงอะไร ในบางครั้งการนั่ง"ภาวนา" สู้เวทนาไม่ไหว

    ต้องอาศัยธรรมที่เป็นเครื่องแก้ โดยการเดินจงกรมเอา

    ถึงจะเข้าสมาธิได้ยาก ในขณะ้ดินนั้นจิตสงบตั้งมั่น(สมาธิ)ได้เช่นกัน

    แต่ถ้าจิตรวมลงได้ บอกได้เลยว่า จะ"รวมลงได้นานกว่าการนั่งมาก"

    สติ สมาธิ ปัญญา ล้วนเป็นอัญญะมัญญะปัจจัย หนุนเสริมกันตลอดเวลา

    ถ้าอันไหนน้อยอันอื่นก็ลดน้อยถอยลงตามไปด้วยโดยปริยาย

    องค์แห่งสมาธิในอริยมรรคมีองค์๘นั้น ชัดเจนไม่ต้องตีความเอง

    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จิตเป็นสมาธิ

    ส่วนสมาธิที่เป็นรูป-อรูปนั้น เป็นสติ สมาธ ปัญญา ที่ไม่เป็น"สัมมา"

    อย่างเก่งทำให้กิเลสเบาบางลงได้ แต่หลุดพ้นจากทุกข์ไม่ได้

    ส่วน"สัมมาสมาธิ"นั้น มีองค์ประกอบชัดเจน ต้องมีความ"เพียรระลึกรู้"อยู่ที่

    กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม

    เริ่มที่กายสังขาร ย่อมเข้าถึง เวทนา จิตและธรรมตามลำดับ

    ของที่แยกไม่ได้ก็อย่าพยายามแยกเลยครับ ต้องฟังพระพุทธพจน์ไว้ก่อน

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  10. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ก่อนอื่นขอไม่ยกพระสูตรมานะครับ เพราะธรรมควรจะมีเหตุผลชัดเจนในตัว เป็นจริงในธรรมนั้นเอง เราต้องใคร่ครวญและโยนิโสมนสิการด้วยตัวเราเอง เพราะในขั้นปฏิบัตินั้นไม่มีพระสูตรมาให้อ่าน

    สติที่ทุกคนมีอยู่แล้วนั้น บางคนมีมาก บางคนมีน้อย ต่างกันย่อมแสดงให้เห็นว่า
    ไม่ได้มีมาก่อนเท่ากัน และในเมื่อมีคนมีสติมากก็ย่อมมีทางที่จะทำให้สติมากด้วย
    การกล่าวว่า การปฏิบัติตนตามมรรคมีองค์ 8 สมาธิ สติ จะเกิดได้เองก็เท่ากับว่า
    สัมมาทิฎฐิก็เกิดได้เองด้วย แต่ความจริงต้องใช้ความเพียรในการฝึกตนทุกอย่าง
    เพราะการใช้ชีวิตนั้นมีกระแสของกิเลส ฉุดลงให้ชีวิตไม่เป็นไปตามอริยมรรค ตลอดเวลา

    ที่กล่าวว่า ฝึกสมาธิแล้วได้สติไปในตัว นั้นเป็นสติในการเพ่ง มีสติปัญญาเพียงการดึงจิตให้อยู่ในการเพ่งเท่านั้น ไม่ได้เป็นสติปัญญาในการรู้รอบในวิถีชีวิต เปรียบเหมือนคนทำงาน คอยดึงตัวเองให้อยู่กับงาน แต่หารู้เรื่องอย่างอื่นเมื่อเสร็จงานไม่. มหาสติมหาปัญญาจึงจำเป็นต้องเจริญในทุกๆด้าน ทั้งนอกสมาธิ และในสมาธิ โดยหมั่นเจริญสติให้กล้าก่อนที่จะเจริญสมาธิให้กล้า จึงจะรู้ควร หรือไม่ควร น้อย มาก ผิดถูก
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..........ก็คือ สมถะและวิปัสนา นั่นแหละครับ....สมถะอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสมาธิ...แต่สมาธิย่อมมีอะไร ที่ยิ่งกว่า สมถะ แน่นอนครับ...ปัญหาอาจอยู่ที่การสับสนบัญญัติ คำ ก็ได้...
     
  12. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    คุณ..รโชหรณัง

    ต้องแยกแยะให้ชัดเจนก่อนนะว่า
    "สติปัญญาในทางธรรม" กับ"สติปัญญาทางโลก"ต่างกันอย่างไร

    "สติปัญญาในทางธรรม"คือความสามารถระลึกรู้เพื่อปล่อยวางอารมณ์กิเลสความรู้สึกนึกคิดออกไป
    "สติปัญญาในทางโลก"คือความรอบรู้ในวิชาการศาสตร์ต่างๆ(รอบรู้) จดจำได้มากๆและแม่นยำ(ถิรสัญญา)

    เอาละต่อมาต้องรู้จักคำว่า"เพียรเพ่ง" คำว่า"เพ่ง"
    ผู้คนมักไพล่ไปนึกถึงการเพ่งมองที่จองอยู่กับอะไรสักอย่างหนึ่ง
    แต่ในทางพระพุทธศาสนานั้น"การเพ่ง"การระลึกรู้อยู่อย่างต่อเนื่อง เรียกว่า"เพ่ง"

    คำถามมีอยู่ว่า เมื่อไม่ระลึกรู้อยู่ที่"กรรมฐาน" จิตจะสงบตั้งมั่นเป็น"สมาธิ"ได้มั้ย?
    ในทางกลับกัน จิตที่สงบตั้งมั่นเพราะระลึกรู้อยู่ที่"กรรมฐาน"ได้ ใช่หรือไม่?
    แล้ว"กรรมฐาน" คืออะไร? ใช่ฐานที่ตั้งแห่งการงานหรือไม่?

    พระพุทธพจน์ชัดเจน "เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว"

    จำไว้นะครับ ของที่ต้องมีควบคู่กันไป จึงจะเป็นจริงได้
    อย่าพยายามแยกออกจากกันให้เสียประโยชน์เลย

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    หลานรัก...

    คนที่สับสนน่าจะตัวหลานเองมากกว่า

    คำว่า"สมถะและวิปัสสนา"นั้น เป็นคำที่รจนาขึ้นมาใช้กันในภายหลัง

    ควรสังเกตุให้ดี คำทั้งสองนี้มักใช้ร่วมกัน จึงมีคำว่า"และ" เพราะแยกกันไม่ได้

    เพื่อใช้แทนคำว่า"สัมมาสมาธิ"นั้นเอง เพื่อให้ต่างจาก"สมาธิ"ที่มีมาก่อนหน้า

    เพราะ"สมาธิ"ที่มีมาก่อนนั้น มักถูกใช้แยกออกเป็นเพียงแค่"สมถะ"เท่านั้น ไม่สามารถยกขึ้นวิปัสสนาได้

    จึงเป็นต้นเหตุของความสับสนวุ่ยวาย ที่เกิดมีขึ้นมาในปัจจุบันแบบช่วยไม่ได้จริงๆ

    จำเอาไว้นะ คำที่ใช้แทนกันได้(ไวพจน์)นั้น ในบางครั้งความหมายที่แท้จริงต่างกันมาก

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  14. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    สติปัญญานั้นไม่แบ่งเป็นทางโลก ทางธรรมหรอกครับ
    รู้โลกจึงรู้ธรรม
    เมื่อรู้ธรรมแล้วยิ่งรู้โลกกว้างขวางขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ไปดูเรื่องของคนอื่นนะครับ

    ที่กล่าวว่ามีสติรู้ภายนอกสมาธินั้น ก็หมายถึงรู้ตัวเรานี้เองว่า เป็นอย่างไร คิดอย่่างไร อารมณ์อย่างไร แต่รู้ในวิถีชีวิตประจำวันนี้ หากสติดังกล่าวมานี้ยังไม่ดีพอ ก็ไม่สามารถรู้อารมณ์ละเอียดในฌาณได้ เมื่อไม่รู้อารมณ์ในฌาณได้ ก็ใช้การเพ่งเพื่อดับอารมณ์ มิใช่ปล่อยวางอารมณ์

    คำถามว่า หากจิตไม่ระลึกอยู่ในกรรมฐานนั้น จิตจะสงบได้ไหม ตอบว่า ได้ ด้วยการอบรมศีล
    และ การใช้ชีวิตที่ปกติ แล้วขัดเกลาจิตและวิถีชีวิตให้ดี ด้วยการเจริญสติ ส่วนของสมาธิคือ ส่วนสุดท้าย ในการพักจิต แต่หากไม่รู้จักอริยมรรคทั้ง 8 มาถึงจะมารวมสมาธิ ก็ให้คิดว่า จับสัตว์ป่ามาให้มานั่งนิ่งๆ ก็เป็นไปไม่ได้ สุดท้ายกลายเป็น วิปลาส ได้ เพราะทำไม่ถูกทาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 สิงหาคม 2013
  15. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    :cool:..หากสติไม่ดีพอ ก็ไม่สามารถรู้อารมณ์ละเอียดในฌานได้..:cool:
    ผมว่าคุณเข้าใจอะไรผิดใหญ่โตแล้วครับ ฌาน..นี่นะสมาธิล้วนๆครับ คุณเอาสติเข้าไปดูสมาธิในฌานรึครับ..สติ-สมาธิ เขาต้องอยู่คู่กันครับ จึงจะเป็นสัมมาสมาธิ:cool:
     
  16. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ถ้าคุณยังตรึกไม่ได้ คุณดูพระสูตรใน อานาปานสติก็ได้ครับ หรือไม่คุณก็ดูองค์ฌาณก็ได้ว่า
    มีองค์ประกอบอะไรบ้าง แต่ละองค์นั้นคุณรู้ชัดหรือยังครับว่ามีอาการอย่างไร คุณปล่อยได้หรือยังครับ หรือว่า เพ่งไปแล้วรอจนกว่าแต่ละองค์ดับไปเอง โดยไม่รู้ตัวครับ
     
  17. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    เบื่อฌานจัง อะไรๆก็ฌาน สมาธิอะไรก็เหมือนกันมีแล้วจะดูดีในสายตาใครหรือย่างไรก็ไม่รู้แต่ที่เห็นๆ คือ มันก็แย่ไม่แพ้ใครบางคนที่อาศัยพระสัทธรรมมาทำให้เรื่องมันวุ่นวายทั้งที่โดยปกติมันก็วุ่นวายมากมายอยู่แล้ว ปุถุชนควรฝึกตนให้อยู่ในกรอบของปุถุชนเมื่อพ้นแล้วเข้าใจดีแล้วก็ควรฝึกตนให้อยู่ในวิสัยที่สูงกว่า ละจาก กิเลสอันเศร้าหมองด้วยสรรพวิธีที่เกิดได้ด้วยปัญญาตนไม่ใช่เพราะคำพูดของใครๆ แม้จะเป็นพระศาสดาแต่ให้ระลึกว่าหากไม่เพราะพระศาสดาชี้บอกและมีพระขีณาสพบันทึกไว้ก็คงไม่รู้ว่าแบบนี้ก็มีด้วย แต่ก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นและเชื่อถือจนเกิดความสงสัยหรือไม่สงสัย ควรใช้ปัญญาพิจารณาหาเหตุที่พระศาสดาตรัสไว้ ฌานก็ดีไม่ฌานก้ดีล้วนไม่ใช่เหตุแห่งความหลุดพ้น สมาธิก็เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งซึ่งต้องอาศัยการฝึกการสร้างให้เกิดขึ้นถามว่าสร้างไปทำไม...เพราะบางทีการที่สิ่งทั้งหลายล้วนแตกต่างกันบางครั้งตกอยู่ในเหตุปัจจัยที่ต้องอาศัยสมาธิน้อยจึงไม่อาจจะเข้าใจในหลายๆสิ่งได้ตามความเป็นจริง จึงควรจะฝึกหรือสร้างให้มีความพร้อมเสียก่อน ทีนี้สติก็เป็นสิ่งที่มาคู่กันเพราะเนื่องจากมีปัจจัยเช่นเดียวกัน โดยมากเมื่อมีสติก็มีสมาธิและเมื่อมีสมาธิก็มีสติ มันคงยากที่จะบอกว่า มีแต่สติไม่มีสมาธิหรือมีแต่สมาธิไม่มีสติ เว้นเสียว่า ถือสิ่งปลอมๆของอย่างใดอย่างหนึ่ง ครั้นเมื่อพร้อมแล้วก็ใคร่ครวญดูว่าธรรมใดกันละที่เหมาะสมกับตนถ้าหากไม่ทราบก็ควร เป็นผู้ซึ่งมากด้วย สุตตะมยปัญญา จินตามยปัญญา รวมไปถึง อ่านให้มากๆ แต่ถ้ายังไม่รู้ก็หมั่นหาสัตตบุรุษ เพราะทางเดียวที่จะรู้ได้

    จิตกับตัณหา​
    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนา ต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ เราตถาคตจะแสดงใน ข้ออันเป็นที่สุดแต่โดยย่อ ๆ พอให้เข้าใจง่าย ที่สุดนั้นก็คือ จิตกับตัณหา จิตนั้นจำแนกออกไป เรียกว่ากองกุศลคือ กองสุข ตัณหานั้นจำแนกออกไป เรียกว่ากองอกุศลคือ กองทุกข์ ต้นเหง้าเค้ามูลแห่งทุกข์นั้น ก็คือจิตและตัณหา นี้เอง จิตเป็นผู้คิดให้ได้ดีมีสุขขึ้น ส่วนตัณหานั้นก็ให้ เกิดเห็นตาม จิตมีความสุขมากขึ้นเท่าใด ตัณหาก็ให้ เกิดทุกข์ตามมากขึ้นไปเท่านั้น ดูกรอานนท์ แต่เบื้องต้น เมื่อเราตถาคต ยังไม่รู้แจ้งว่าสุขและทุกข์อยู่ติดด้วยกัน เราก็ถือเอากุศลจิตอันเดียวหมายจักให้เป็นสุขอยู่ทุกเมื่อ ส่วนทุกข์จะไม่ให้มา ก็ตั้งหน้าบำเพ็ญกุศลจิตเรื่อยไป เมื่อ ได้สุขเท่าใด ทุกข์ก็พลอยเกิดมีเท่านั้น ครั้นภายหลัง เรา พิจารณาด้วยญาณจักษุปัญญา และเห็นแจ้งชัดว่าสุขและทุกข์ ติดอยู่ด้วยกัน ครั้นรู้แจ้งแล้วก็ตรึกตรองหาอุบาย ที่จะกำจัด สุขและทุกข์ให้พรากออกจากกัน มันแสนยากแสนลำบาก เหลือกำลัง จนสิ้นปัญญาหาทางไปทางมาไม่ได้เราตถาคต จึงวางเสียซึ่งสุข คืนให้แก่ทุกข์ คือวางใจให้แก่ตัณหา ครั้น เราวางใจไว้ให้แก่ตัณหาแล้ว ความสุขในพระนิพพานก็เลย เข้ามารับเราให้ถึงนิพพานดิบในขณะนั้น พร้อมกับวางใจ ไว้ให้แก่ตัณหา ดูกรอานนท์ เมื่อวางใจได้ จึงเป็นอัพยากฤต จึงเรียกชื่อว่าถือเอาอัพยากฤตเป็นอารมณ์ เป็นองค์พระ อรหันต์ คือได้เข้าตั้งอยู่ในพระนิพพานด้วยอาการดังนี้. ลำดับนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ สืบต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่าอรหันต์นั้น จะได้มีจำเพาะแต่เราตถาคตพระองค์เดียวก็หามิได้ ย่อมมี เป็นของสำหรับโลก สำหรับไว้โปรดสัตว์โลกทั่วไป ไม่ใช่ ของเราตถาคตและของผู้หนึ่งผู้ใดเลย ดูกรอานนท์ เรา ตถาคตเป็นผู้ไกลจากกิเลสแล้ว จึงได้มาซึ่งพระอรหันต์ บุคคลผู้ใดปราศจากกิเลสแล้ว บุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้ได้พระ อรหันต์เสมอกันทุกคน บุคคลผู้ใดที่ยังไม่ปราศจากกิเลส ถึงแม้จะอ้อนวอนเราตถาคตว่า อรหันต์ อรหันต์ ดังนี้ จนถึงวันตาย ก็ไม่อาจได้ซึ่งพระอรหันต์เลย เป็นแต่กล่าว ด้วยปากเปล่า ๆ เท่านั้น และมาเข้าใจว่า การละกิเลสได้ หรือไม่ได้นั้นไม่เป็นประมาณ เมื่อได้อ้อนวอนหาซึ่งองค์ พระอรหันต์เจ้าด้วยปากด้วยใจแล้ว พระอรหันต์เจ้าก็จะ นำเราให้เข้าสู่พระนิพพาน เข้าใจเสียอย่างนี้ได้ชื่อว่าเป็น คนหลงแท้ แม้เมื่อตนยังไม่พ้นลามกมลทินแห่งกิเลส แล้ว ไปอ้อนวอนพระอรหันต์ที่หมดมลทินกิเลส ให้มาตั้งอยู่ใน ตัวตนอันแปดเปื้อนด้วยลามกมลทินแห่งกิเลส จะมีทางได้ มาแต่ไหน
    เปรียบเหมือนดังมีสระอยู่สระหนึ่ง เต็มไปด้วย ของเน่าของเหม็นสารพัดทั้งปวง เป็นสระมีน้ำเน่าเหม็นสาบ เหม็นคาวน่าเกลียดยิ่งนัก และมีบุรุษคนหนึ่งตกอยู่ในสระ นั้น หากว่าบุรุษคนนั้นร้องเรียกให้อานนท์ลงไปอยู่ในสระ น้ำเน่ากับเขาด้วย อานนท์จะไปอยู่ด้วยกับเขาหรือ ดูกร อานนท์ เราจะบอกให้สิ้นเชิง ถ้าอานนท์ลงไปอยู่ในสระกับ บุรุษผู้แปดเปื้อนด้วยน้ำเน่าได้ ดังนั้นองค์พระอรหันตเจ้า ก็อาจไปตั้งอยู่กับบุคคลผู้แปดเปื้อนด้วยกิเลสได้เหมือนกัน ถ้าอานนท์ลงไปอยู่ด้วยกับบุรุษแปดเปื้อนไม่ได้ องค์พระ อรหันตเจ้าก็ไม่อาจตั้งอยู่กับบุคคลผู้แปดเปื้อนด้วยกิเลส ได้เหมือนกันเช่นนั้น ดูกรอานนท์ ท่านจะลงไปอยู่ด้วย กับบุรุษแปดเปื้อนได้หรือไม่ มีพุทธฎีกาตรัสถาม ฉะนี้ ข้าฯ อานนท์จึงกราบทูลว่าลงไปอยู่ด้วยไม่ได้ ถ้าท่าน ไม่ลงไป บุรุษผู้นั้นก็กล่าววิงวอนท่านอยู่ร่ำไปจะสำเร็จ หรือไม่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าข้าพระองค์ไม่ลงไปบุรุษ ผู้นั้นก็ทำอะไรแก่ข้าพระองค์ไม่ได้ ความปรารถนาก็ไม่สำเร็จ เป็นแต่วิงวอนอยู่เปล่า ๆ เท่านั้นเอง ดูกรอานนท์ ข้ออุปมา นี้ฉันใด บุรุษผู้จมอยู่ในน้ำนั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้ ไม่ปราศจากมลทินลามกแห่งกิเลส พระอรหันต์นั้นเปรียบ เหมือนตัวของอานนท์ อานนท์ไม่ลงไปอยู่ด้วยกับบุรุษ แปดเปื้อนฉันใด พระอรหันต์ท่านก็ไม่ไปอยู่กับบุคคลผู้ แปดเปื้อนด้วยกิเลสฉันนั้น แม้จะวิงวอนด้วยปากด้วยใจ สักเท่าไรก็ไม่สำเร็จ พระอรหันต์ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ เป็น ผู้พ้นทุกข์แล้ว ท่านไม่น้อมเข้าไปหาบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเลย ครั้นบุคคลผู้ใดปรารถนาความสุขแล้ว จงน้อมตัวเข้าไป หาท่าน ท่านก็โปรดให้ได้ความสุข ทุกคนจะเข้าใจว่า พระอรหันต์ท่านเลือกหน้าเลือกบุคคล จะติเตียนอย่างนั้น ไม่ควร ถ้าผู้ใดพ้นจากกิเลสกามและพัสดุกามได้แล้ว ชื่อว่า น้อมตัวเข้าไปหาท่านๆ ก็โปรดนำเข้าสู่พระนิพพาน เสวย สุขอยู่ด้วยท่าน ไม่เลือกหน้าบุคคลเลย แต่ผู้จมอยู่ด้วย กิเลสกาม ละกิเลสไม่ได้ ชื่อว่าไม่น้อมตัวเข้าไปหาท่านเอง ดูกรอานนท์ ถึงตัวเราตถาคต ก็ต้องน้อมตัวเข้าไปหาท่าน ท่านจึงโปรดให้ตถาคตนี้ ได้เป็นครูแก่โลก ดังนี้ เพราะว่า พระอรหันต์ท่านเป็นผู้ดี และจักให้ท่านเข้าไปคบหาคนชั่ว นั้นเป็นไปไม่ได้ และผิดธรรมเนียมด้วย สมควรแต่ผู้ เลวทรามต่ำช้า จะเข้าไปท่านผู้ดี ผู้สูงศักดิ์โดยส่วนเดียว ข้าแต่พระมหากัสสปะผู้มีอายุ พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาแก่ ข้าฯอานนท์ ดังนี้แล.
    เห็นว่าน่าจะดีมีประโยชน์เลยเอามาให้อ่านอีกครั้งคั๊บ
    สาธุคั๊บ
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    คุณ....กำลังสับสนอะไรอยู่หรือเปล่า?

    คุณว่าคนที่จบด๊อกเตอร์ มีปริญญาเอกไม่ใช่ใบเดียว มีหลายใบ

    คุณว่าคนแบบนี้ มีความรู้ หรือภูมิรู้ทางโลกหรือสติปัญญาทางโลก ดีขนาดไหนหละ?

    แต่ทำไมยัง มีความโลภ ความโกรธ ความหลงอยู่เต็มกระบาลหละ

    เคยได้ยิน ด๊อกเตอร์เอาใช้ไม้กอลฟ์ตีเมียตายมั้ย? ด๊อกเตอร์ติดคุกเยอะแยะไป

    ถ้ายัง"ภาวนา" ไม่เป็น ก็อย่าพยายามที่จะอธิบายเรื่อง"สติ สมาธิ"เลย

    ที่พูดมานั้น ก็แสดงว่า ยังไม่เคยสัมผัสจิตที่มีสติสบงตั้งมั่นสมาธิเลย

    จึงได้พยายามอธิบายมั่วๆไปอย่างที่เห็น ที่พูดมานั้นต้องถือว่า"ผิด"

    คุณตอบหน่อยสิว่า "คนที่จิตใจไม่สงบตั้งมั่น จะมีสติได้ด้วยหรือ?

    ถ้าลองจิตใจวุ่นวาย ไม่สงบ เอาสติมาจากไหน?

    ของแบบนี้คิดเองเออเองไม่ได้หรอก

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

     
  19. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ยกมาจากกระทู้ข้างๆนี้มา รู้สึกว่าจะเป็นของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ให้ลองทำความเข้าใจดูก่อนก็ได้ครับ อ่านข้อความนี้แล้ว ผมว่า หลวงตามหาบัว ท่านน่าจะมีภูมิธรรมพอตัวเลยทีเดียว
     
  20. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    -----------------..........................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...