เพื่อการกุศล " พระลีลาแพร่บุญ " โครงการสร้างพระเนื้อตะกั่วเพื่อบรรจุกรุ ฯ ครั้งที่ ๖ ......หมดเขตร่วมบุญแล้ว

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย ผาแดง, 18 เมษายน 2012.

  1. ผาแดง

    ผาแดง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,640
    ค่าพลัง:
    +10,719
    คุณณัฐชา ศิรินันท์ ร่วมสร้างพระบรรจุกรุ ครั้งที่ ๓ จำนวน ๒ ชุด ๓๐๐ บาท
     
  2. ผาแดง

    ผาแดง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,640
    ค่าพลัง:
    +10,719
    ๑๙๐. 2/11/55 พระครูสิริธรรมรัต ( ล.พ.หล่ำ สิริธัมโม ) วัดสามัคคีธรรม ลาดพร้าว ซ. 64 กรุงเทพฯ อายุ ๘๔ ปี พรรษา- น.69 # 1369 ( ขุนทัพ ๓ แผ่น )

    ๑๙๑. 11/11/55 พระครูปลัดบุญเลิศ (ลป.เลิศ อคฺคปฺณฺโณ) วัดโพธาวาส อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี อายุ ๙๔ ปี พรรษา - น.69 # 1370 ( ขุนทัพ ๑ แผ่น )

    ๑๙๒. 8/1/56 ครูบาอินสม สุทธจิตโต วัดเทพกุญชร(หนองช้าง)ต.หนองตอง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ อายุ ๖๐ ปี พรรษา - น.69 # 1372 (ยันต์ครู ๑ แผ่น )

    ๑๙๓. 8/1/56 พระครูสถิตภัทรธรรม (หลวงปู่ครูบาบุญยืน พทฺธธมฺโม) วัดบุปผาราม (วัดล้องปู่หม่น) อ.สารภี จ.เชียงใหม่ อายุ ๘๓ ปี พรรษา ๖๓ น.69 # 1376 (ยันต์ครู ๑ แผ่น )

    ๑๙๔. 8/1/56 พระครูสุทธิญาณรังษี (ครูบาใจ๋ สุจิตฺโต) วัดรังษีสุทธาราม (วัดเหล่าป่าฝาง)อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ อายุ ๖๗ ปี พรรษา ๔๗ น.69 # 1379 (ยันต์ครู ๑ แผ่น )

    ๑๙๕. 8/1/56 พระครูสุมงคลประยุตย์ (ครูบาอินสม สุมงฺคโล) วัดฉางข้าวน้อยใต้ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน อายุ ๘๐ ปี พรรษา ๖๐ น.69 # 1380 (ยันต์ครู ๑ แผ่น )

    ๑๙๖. 8/1/56 พระครูวรปัญโญภาส (ครูบาสองเมือง ปญฺญาวโร) วัดม่วงโตน อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน อายุ ๘๐ ปี พรรษา ๖๐ น.70 # 1381 (ยันต์ครู ๑ แผ่น )

    ๑๙๗. 8/1/56 พระครูโสภณจันทคุณ (หลวงปู่ครูบาจิต) วัดป่ายาง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน อายุ ๘๐ ปี พรรษา ๖๐ น.70 # 1385 (ยันต์ครู ๑ แผ่น )

    ๑๙๘. 8/1/56 พระครูโสภิตศีลสังวร (ครูบาสิงห์คำ) วัดสันมะโก อ.เมือง จ.ลำพูน อายุ ๘๐ ปี พรรษา ๖๐ น.70 # 1397 (ยันต์ครู ๑ แผ่น )

    ๑๙๙. 10/1/56 หลวงปู่ครูบาประเสริฐ ปวโร วัดหนองปลามัน ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว อ.เชียงใหม่ อายุ ๗๗ ปี พรรษา ๕๗ น.70 # 1398 (ยันต์ครู ๑ แผ่น )

    ๒๐๐. 10/1/56 พระครูสิริวัตรวิมล (หลวงปู่ครูบาศรีมรรย์ ยโสธโร) วัดบ่อเต่า ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ อายุ ๘๐ ปี พรรษา ๕๔ น.70 # 1399 (ยันต์ครู ๒ แผ่น )

    ๒๐๑. 12/1/56 พระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอุ่น วิสารโท) วัดดงขี้เหล็ก ต.แช่ช้าง อ.สันกำแพง จ.เขียงใหม่ อายุ ๗๖ ปี พรรษา ๕๖ น.75 # 1491 (ยันต์ครู ๒ แผ่น )

    ๒๐๒. 17/1/56 พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์ ( ลพ.สมบูรณ์ รตนญาโณ) คณะ ๔ วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กทม. อายุ - ปี พรรษา - น.76 # 1501 (น้าต๋อย เซมเบ้ ๑ แผ่น )

    ๒๐๓. 19/1/56 พระครูโชติกัลญาณวัฒน์ ( ลป.ครูบาดวงจันทร์ กัลยาโณ ) วัดศรีชุม ต.บ้านเรือน อ.ป่าซาง จ.ลำพูน อายุ ๘๑ ปี พรรษา ๖๐ น.88 # 1754 (ยันต์ครู ๑ แผ่น )

    ๒๐๔. 19/1/56 พระอาจารย์เสถียร ฐิตเมโธ สำนักปฏิบัติธรรมบ้านบ่อกลาง จ.ลำพูน อายุ ๓๘ ปี พรรษา - น.88 # 1758 (ยันต์ครู ๑ แผ่น )

    ๒๐๕. 19/1/56 พระอาจารย์ราชันย์ ปัญญาวชิโร วัดหนองป่าเหมือด อ.เมือง จ.ลำพูน อายุ ๔๔ ปี พรรษา - น.88 # 1759 (ยันต์ครู ๑ แผ่น )

    ๒๐๖. 19/1/56 พระอาจารย์พีระ คัมภีระธัมโม สำนักสงฆ์กู่สันป่าตาล ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน อายุ ๔๕ ปี พรรษา – น.89 # 1761 (ยันต์ครู ๑ แผ่น )

    ๒๐๗. 19/1/56 พระราชเจติยาจารย์ (หลวงปู่ชูเกียรติ อภโย) วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่ อายุ - ปี พรรษา - น.89 # 1762 (ยันต์ครู ๑ แผ่น )

    ๒๐๘. 23/1/56 พระครูสุทธาสมาธิวัตร (ท่านพ่ออาด พุทธญาโณ) วัดตะพุนทอง ต.กะเฉด อ.เมือง จ.ระยอง อายุ ๗๔ ปี พรรษา - น.89 # 1763 ( อ.เทียนชัย ทรงบัณฑิต ๒ แผ่น )

    ๒๐๙. 23/1/56 พระปลัดสราวุธ ปัญญาวุโธ (พอจ.ปืน ) วัดลาดชะโด ต.หนองน้ำใหญ่ อ.ผักไห่ จ.อยุธยา อายุ - ปี พรรษา - น.89 # 1764 ( lavar181 ๑ แผ่น )


    หมดรายนาม...พระคณาจารย์ที่เมตตาจารแผ่นชนวน เพื่อเป็นชนวนมวลสารการจัดสร้างพระบรรจุกรุ ครั้งที่ ๒ ( ภาคเหนือ ) รวมทั้งสิ้น ๒๐๙ องค์
     
  3. ผาแดง

    ผาแดง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,640
    ค่าพลัง:
    +10,719
    คำพูดจากพระคณาจารย์ที่กล่าวถึงโครงการฯ นี้ เมื่อไปขอความเมตตาท่านจารลงแผ่นชนวนเป็นมวลสารสร้างพระเนื้อตะกั่วเพื่อบรรจุกรุฯ



    - พระครูสิริศีลสังวร (ครูบาน้อย เตชปฺญโญ ) วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ อายุ๖๑ ปี พรรษา ๔๐ ,น.2 # 25

    “ดีก่ะ ดีก่ะ ทำเลย ทำเลย”


    - พระครูศีลสังวรวิสุทธิ์ (ลพ.พิเชษฐ์ สีลสุทโธ ) วัดโคกหม้อ อ.เมือง จ.ลพบุรี , น.2 # 36

    “ โมทนาด้วยนะ ฉันทำบุญสร้างพระด้วย ”


    - พระอาจารย์นพดล วรธัมโม สำนักสงฆ์มะอึกแรด ต.หนองบอน อ.บ่อไร่ จ.ตราด อายุ ๕๕ ปี พรรษา ๒๕ ,น.4 # 63

    “ โมทนาด้วยนะ ขอให้โครงการนี้ สำเร็จ สำเร็จ”


    - พระครูสังฆรักษ์นพวรรณ คุณสาโร วัดเสนานิมิต ต.บ้านหีบ อ.อุทัย จ.อยุธยาน.4 # 77

    “มีคนมาขอให้จารแผ่นชนวนบ่อยๆเหมือนกัน แต่ไม่ค่อยจารให้เยอะเหมือนแผ่นนี้นะ”


    - ลพ.สวัสดิ์ โอภาโส วัดโพธิ์เทพประสิทธิ์ ต.โพธิ์เก้าต้น อ.เมือง จ.ลพบุรี อายุ ๖๙ ปี พรรษา ๔๔ ,น.5 # 89

    “ ฉันลงนะมหาอุด เสริมให้นะ”


    - พระครูมนูญธรรมวัตร (หลวงพ่อสาคร มนุญโญ) วัดหนองกรับ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง อายุ ๗๔ ปี พรรษา ๕๔ , น.5 # 99

    “ ดีแล้วล่ะ ให้ทำต่อไปนะ”


    - ลป.ผ่าน ฉันทโก วัดป่าโพธิ์แก้ว 2 ต.หัวหว้า อ.ศรีโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี น.7 # 123

    “ ของที่เค้าฝากมาอยู่ไหนรอนานแล้ว” รุ่นพี่ผมก็งงซิครับ เจอหน้าปุ๊บทวงของเลยนึกขึ้นมาได้ว่าผมฝากแผ่นชนวนไปขอบารมีท่าน เลยเอาแผ่นชนวนที่ผมฝากไปออกมาให้หลวงปู่ พอท่านรับแผ่นชนวนท่านก็พูดอีกว่า “เอาไปทำสร้างพระใช่มั้ยบอกเค้าด้วยนะว่าให้ทำเนื้อตะกั่วล้วนๆ อย่าผสมโลหะอื่นนะ”


    - พระครูฌานวัชราภรณ์(หลวงพ่อห่วย จกฺกวโร)วัดห้วยทรายใต้ ต.ชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี อายุ ๗๖ ปี พรรษา ๕๖ ,น.7 # 125

    “พวกเธอทำบุญใหญ่กันเลยนะ ขอโมทนาด้วย”


    - พระครูสุทธิวราภรณ์(หลวงปู่สรวง วรสุทโธ) วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี อายุ ๗๙ ปี พรรษา ๕๕ ,น.9 # 161

    “ดีแล้ว”


    - หลวงปู่ครูบาบุญยืน ถาวโร(พระครูถาวรธรรมวัตร) วัดสบล้อง ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน อายุ ๘๕ ปี พรรษา ๖๕ ,น.9 # 170

    "เออดีๆ ทำไปเถอะ"


    - พระครูโพธิโสภณ (หลวงปู่ครูบาศรีวัย โพธิวํโส) วัดหนองเงือก ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน อายุ ๗๙ ปี พรรษา ๕๙ , น.9 # 172

    "ถ้าตั้งใจแล้วยังไงก็สำเร็จ"


    - พระครูอุปกิตสารคุณ (ลพ.เสน่ห์ )วัดพันสี ต.ท่าโพ อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี อายุ ๘๑ ปี พรรษา ๖๑ ,น.10 # 212

    “ทำดีแล้ว จะได้เป็นประโยชน์ในวันข้างหน้า”



    - หลวงปู่ครูบาอินตา กตปุญฺโญ (พระครูพิพิธปุญญาพิรัตน์)) วัดศาลา
    ต.น้ำแพร่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ อายุ ๗๙ ปี , น.11 # 216

    " บุญใหญ่แบบนี้ต้องค่อย ๆ ทำ และใช้เวลาหน่อยนะ แต่ถ้าเรามีความอดทนหน่อย สุดท้ายก็สำเร็จ "


    - พระครูโสภณสารคุณ (หลวงปู่ครูบาบุญมา ตโมนุโท ) วัดกิ่วแลป่าเป้า ต.บ้านกาด อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ อายุ ๘๖ ปี พรรษา ๖๕ , น.13 # 246

    " อืม..สำเร็จก่ะ "


    - ครูบาคำปัน ญาณเถระ วัดพระธาตุม่อนเปี๊ยะ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ อายุ ๘๐ ปี ,น.13 # 249

    " ใช้เงินเยอะเลยนะ ต้องค่อยๆทำไปเรื่อยๆ "


    - พระครูมงคลนวการ (หลวงพ่อฉาบ มงฺคโล) วัดศรีสาคร ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี อายุ ๘๔ ปี พรรษา ๕๔ ,น.14 # 262

    “สร้างพระบรรจุกรุครั้งนี้ดี เป็นการสืบทอดพระศาสนา”


    - หลวงปู่น่วม นาถสีโล วัดโพธิ์ศรีเจริญ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี อายุ ๙๑ ปี , น.19 # 378

    “ เอ้า..ทำให้แล้ว ข้าเขียนปากกาให้ดู เดี๋ยวจะลงน้อย

    อืม..อนุโมทนาด้วยน่ะ ”




    - หลวงปู่สิริ อคคสิริ วัดละหาร อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี อายุ ๙๔ ปี , น.19 # 378

    "เอ้า ดีดี รวย ๆ เงินไม่มีก็มา เงินไม่มาก็มี ดีดี รวย ๆ"

    “ บอกเจ้าภาพด้วยนะ ฉันอนุโมทนาด้วย”


    - พระครูพินิจสารธรรม( หลวงปู่ครูบาพรรณ) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน ,น.23 # 446

    " ดีแล้วโยม ทำไปเถอะ ฉันขออนุโมทนาด้วย"


    - หลวงปู่กวง โกสโล วัดป่านาบุญ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ น.30 #583

    "ฉันจารธาตุทั้งสี่ให้นะ"


    - ครูบาเสน่ห์ จนฺสโร วัดเชียงขาง ต.ไชยสถาน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ อายุ ๖๕ ปี พรรษา ๔๕ ,น.30 #593

    “ ตุ๊ป้อแป๋งหื้ออย่างดีแล้วเน้อ ดีละ ตั้งใจ๋ทำต่อไปเน้อ”


    - พระธรรมโกศล (หลวงปู่ครูบาอินเหลา สุจิตฺโต อุทธยอด) วัดร้องวัวแดง ต.ร้องวัวแดง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ อายุ ๘๘ ปี พรรษา ๖๘ ,น.31 #612

    " ขอให้การสร้างพระในครั้งนี้ จงสำเร็จลุล่วงสมดังที่ตั้งใจไว้ อย่าได้มีอุปสรรคใดๆ จงสำเร็จ จงสำเร็จ "


    - พระครูรัตนานุวัตร(หลวงปู่ครูบาแก้ว รตฺวณฺโน) วัดบ่อสร้าง ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ อายุ ๘๕ พรรษา ๖๕ , น.32 #625

    “ ดี ดีละ อนุโมทนาตวยเน้อ ”


    - หลวงครูบาอินถา ปัญญาวชิโร วัดศรีลังกา(ต้นโชค) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ อายุ ๘๐ ปี พรรษา ๖๐ ,น.35 #685

    "ขอให้การสร้างพระบรรจุกรุในครั้งนี้จงสำเร็จลุล่วงด้วยดี สมดังใจปรารถนา"


    - พระครูเขมาภิราม (ถวิลทอง)วัดยางทอง (พระสิงห์แก้ว) ต.สันปูเลย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ อายุ ๘๐ ปี พรรษา ๖๐ , น.35 #691

    " ขอหื้อสำเร็จเน้อ ”


    - พระครูโสภณรัตนสาร (ครูบาอูปแก้ว ฐิตสาโร) วัดป่าลาน อ.บ้านธิ จ.ลำพูน อายุ ๗๕ ปี พรรษา ๕๕ , น.35 #692

    “เดี๋ยวนี้หาคนที่ตั้งใจทำเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างพวกโยม ได้น้อยลงทุกที วัยรุ่น คนหนุ่มสาวสมัยนี้ก็ไม่ค่อยจะเข้าวัดกันเท่าไหร่ อีกหน่อยอนาคตไปข้างหน้า วัดวาอารามทั้งหลาย จะหาปัจจัยมาซ่อมแซมเสนาสนะในวัดก็คงจะยากอยู่เหมือนกัน ดีแล้วนะโยม โยมคิดดี ทำดีแล้ว”


    - พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (หลวงปู่ครูบาปวง ธมฺมปญฺญมหาเถร) วัดศรีโคมคำ พระอารามหลวง (วัดพระเจ้าตนหลวง) ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา อายุ ๙๖ ปี พรรษา ๗๔ , น.37 #736

    " ขอหื้อการสร้างพระในครั้งนี้จงสำเร็จและศักดิ์สิทธิ์เน้อ "

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2013
  4. ผาแดง

    ผาแดง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,640
    ค่าพลัง:
    +10,719
    โพสต่อๆ ไปนี้ คงจะได้เริ่มนำภาพการจารแผ่นชนวน จากพระคณาจารย์อีกเกือบ ๓๐ องค์ ที่ได้มาแล้วในขุณะนี้ เพื่อสำหรับเป็นชนวนที่เพิ่มขึ้น ของการสร้างพระบรรจุกรุ ครั้งที่ ๓ ( ภาคใต้ ) ที่น้องยันต์ครูและผมไปได้ตะเวนกันมา

    ซึ่งก็คงเหมือนกับการสร้างทั้ง ๒ ครั้งที่ผ่านมาคือนำเสนอกันไปตามลำดับนะครับ...โปรดติดตาม
     
  5. ยันต์ครู

    ยันต์ครู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2012
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +2,048
    เพื่อความเป็นศิริมงคล จึงขออัญเชิญภาพของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่ได้เมตตตาจารแผ่นชนวนให้แก่โครงการสร้างพระบรรจุกรุ ครั้งที่ ๓ (ภาคใต้) จำนวน ๘,๔๐๐ องค์ มาให้ชมเป็นปฐมฤกษ์ หลังจากนั้นจึงจะนำภาพของพระเถระรูปอื่นที่ได้จารแผ่นชนวนมาลงให้ชมกันตามลำดับครับ

    ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖

    เจ้าประคุณ สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร
    แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อายุ ๗๗ ปี พรรษา ๕๗


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ประวัติโดยสังเขป
    เจ้าประคุณ สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.๙) แม่กองธรรมสนามหลวง วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

    ชื่อ : สมเด็จพระวันรัต ฉายา พฺรหฺมคุตฺโต
    วิทยาฐานะ : ป.ธ. ๙
    วัด : วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    นามเดิม : นามเดิม จุนท์ นามสกุล พราหมณ์พิทักษ์
    เกิด : วันพฤหัสบดี ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๙ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ณ บ้านเกาะเกตุ ตำบลชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด
    นามบิดา : นามบิดา นายจันทร์ พราหมณ์พิทักษ์
    นามมารดา : นามมารดา นางเหล็ย พราหมณ์พิทักษ์

    บรรพชา : วันจันทร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปี ฉลู วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๑
    ณ วัดคิรีวิหาร ตำบลชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด
    มี พระวินัยบัณฑิต (ถาวร ฐานุตฺตโร ป.ธ.๗) เจ้าอาวาสวัดคิรีวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์
    (ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวินัยเวที)


    อุปสมบท : วันอาทิตย์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๙
    ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    พระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต)
    ต่อมาทรงได้รับพระราชทานสถาปนาพระอิศริยยศและพระฐานันดรศักดิ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    พระกรรมวาจาจารย์ พระวินัยบัณฑิต (ถาวร ฐานุตฺตโร ) วัดคิรีวิหาร จังหวัดตราด
    พระอนุสาวนาจารย์ พระครูวิสุทธิธรรมภาณ (แจ่ม ธมฺมสาโร ป.ธ.๔)
    (ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่พระมหานายก และพระราชบัณฑิต ตามลำดับ)


    วิทยฐานะ : พ.ศ. ๒๔๙๑ สำเร็จวิชาสามัญศึกษา (ป.๔) จากโรงเรียนวัดคิริวิหาร ตำบลชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด
    พ.ศ. ๒๔๙๕ สอบประโยค น.ธ. เอก ได้ในสนามหลวงสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
    พ.ศ. ๒๕๑๖ สอบได้ประโยค ป.ธ.๙ ได้ในสนามหลวงสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร


    หน้าที่ :
    - เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
    - เป็นกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร
    - เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
    - เป็นผู้อำนวยการศึกษา สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
    - เป็นเจ้าคณะขาบบวร-เขียวบวร
    - เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.)
    - เป็นกรรมการเถรสมาคมธรรมยุต
    - เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ (ธรรมยุต)
    - เป็นอนุกรรมการฝ่ายการปกครอง ของมหาเถรสมาคม
    - เป็นพระอุปัชฌาย์
    - เป็นกรรมการสนามหลวง แผนกบาลี
    - เป็นแม่กองธรรมสนามหลวง
    - เป็นกรรมการฝ่ายศาสนศึกษา ของมหาเถรสมาคม
    - เป็นรองประธานกรรมการฝ่ายศาสนศึกษา ของมหาเถรสมาคม
    - เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย
    - เป็นผู้รักษาการ เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
    - เป็นผู้รักษาการ เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร


    หน้าที่ :
    - เป็นกรรมการชำระพระไตรปิฎก ฉบับเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๖๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    - เป็นกรรมการชำระอรรถกถา ฉบับเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    - เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
    - เป็นผู้แสดงพระธรรมเทศนา ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล, งานพระราชพิธีฯ ในบางโอกาส
    - เป็นผู้ถวายการสอนพระธรรมวินัยแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ในคราวทรงทรงผนวช เสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
    - เป็นกรรมการกองตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย
    - เป็นหัวหน้ากองตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย
    - เป็นกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
    - เป็นประธานคณะกรรมการตำราและวิชาการ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
    - สนองงานถวายเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ ที่ได้รับพระบัญชาในบางโอกาส
    - ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิง พระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส- ราชนครินทร์ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ พระพรหมมุนี ได้ปฏิบัติหน้าที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ นั่งพระเสลี่ยงกลีบบัว (พระยานมาศพระนำ) และราชรถน้อย (รถพระนำ) อ่านพระอภิธรรมนำขบวนพระอิสริยยศ ในการเคลื่อนพระศพ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สู่พระเมรุ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง


    งานพิเศษ :
    - พ.ศ. ๒๕๔๑ ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๓ (ธรรมยุต) ในจังหวัดสิงห์บุรี, อุทัยธานี,ลพบุรี
    - พ.ศ. ๒๕๔๑ ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๗ (ธรรมยุต) ในจังหวัดเชียงใหม่
    - พ.ศ. ๒๕๔๓ ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๑๒ (ธรรมยุต) ในจังหวัดจันทบุรี
    - ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๑๓ (ธรรมยุต) ในจังหวัดปราจีนบุรี
    - พ.ศ. ๒๕๔๕ ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๘ (ธรรมยุต)
    - รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี (ธรรมยุต)


    สมณศักดิ์ :
    - พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอมรโมลี
    - พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่
    พระราชสุมนต์มุนี ศรีปริยัติบวรวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
    - พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่
    พระเทพกวี ศรีปริยัติวิภูษิต ตรีปิฎกบัณฑิต ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
    - พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่
    พระธรรมกวี ศรีธรรมประยุต วิสุทธิญาณนายก ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
    - พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับพระราชทานสถาปนา สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัณยบัฏ ที่
    พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณนายก ธรรมสาธกวิจิตรปฏิภาณ ปริยัติวิธานกิจจการี ตรีปิฎกบัณฑิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
    - พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับพระราชทานสถาปนา สมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นหิรัณยบัฏ ที่
    สมเด็จพระวันรัต ศรีวชิรญาณวงศวิวัฒ ปริยัติพิพัฒนพงศ์ วิสุทธิสงฆปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      193.3 KB
      เปิดดู:
      552
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      198.8 KB
      เปิดดู:
      515
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      197 KB
      เปิดดู:
      509
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      198.9 KB
      เปิดดู:
      562
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      199.9 KB
      เปิดดู:
      488
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2013
  6. ยันต์ครู

    ยันต์ครู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2012
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +2,048
    คุณจอย ดวงแค้น ร่วมบุญสร้างพระบรรจุกรุ ครั้งที่ ๓ (ภาคใต้) จำนวน 10 ชุด 1,500 บาท
    ขอโมทนาบุญด้วยครับ
     
  7. ยันต์ครู

    ยันต์ครู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2012
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +2,048
    มาชมภาพการจารแผ่นชนวนเพื่อนำไปจัดสร้างพระบรรจุกรุ ครั้งที่ ๓ (ภาคใต้) กันครับ

    ๒๔ มกราคม ๒๕๕๖

    พระครูอดุลปุญญาภิรัต (หลวงปู่ครูบาบุญ) วัดท่าหลุก
    ต.สันผีเสื้อ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ อายุ ๘๐ ปี พรรษา ๖๐

    ผมได้มีโอกาสกราบนมัสการหลวงปุ๋ครูบาบุญ เมื่อคราวพิธีพุทธาภิเษกท้าวเวสสุวรรณที่วัดดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดยในวันนั้นทางวัดได้นิมนต์พระเถราจารย์มานั่งปรกหลายรูปด้วยกัน ซึ่งหลวงปู่ได้เดินทางมาถึงยังมณฑลพิธีก่อนเวลาพอสมควร เมื่อท่านนั่งพักผ่อนสักครู่ ผมก็เข้าไปกราบท่านและขอให้ท่านจารแผ่นชนวนให้ครับ หลังจากนั้นผมก็นำแผ่นชนวนเข้าพิธีพุทธาภิเษกด้วยครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      198.1 KB
      เปิดดู:
      1,352
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      196.2 KB
      เปิดดู:
      1,555
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      195.3 KB
      เปิดดู:
      1,264
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      196.9 KB
      เปิดดู:
      1,273
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      197.8 KB
      เปิดดู:
      1,385
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2013
  8. ยันต์ครู

    ยันต์ครู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2012
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +2,048
    มาชมภาพการจารแผ่นชนวนเพื่อนำไปจัดสร้างพระบรรจุกรุ ครั้งที่ ๓ (ภาคใต้) กันต่อครับ

    ๒๔ มกราคม ๒๕๕๖

    พระครูพิพัฒน์สมาจาร วัดชมพู ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    อายุ ๗๖ ปี พรรษา ๕๕


    สำหรับพิธีพุทธาภิเษกท้าวเวสสุวรรณที่วัดดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ในวันนั้นได้มีพระเถราจารย์มานั่งปรกหลายรูปด้วยกัน หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ พระครูพิพัฒน์สมาจาร วัดชมพู ซึงผมก็ได้กราบนมัสการขอให้ท่านจารแผ่นชนวนและอธิษฐานจิตให้ครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      199.3 KB
      เปิดดู:
      3,551
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      196.2 KB
      เปิดดู:
      2,781
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      198.9 KB
      เปิดดู:
      2,911
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      190.6 KB
      เปิดดู:
      2,590
  9. ผาแดง

    ผาแดง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,640
    ค่าพลัง:
    +10,719
    การหลอมชนวนมวลสาร สำหรับการสร้างพระบรรจุกรุ ครั้งที่ ๓ ( ภาคใต้ )

    ก็ได้ฤกษ์งามยามดีมาเรียบร้อยแล้วครับ ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ ๒๑ ก.ค.๕๖ นี้ เวลา ๑๓.๓๔ - ๑๓.๔๘ น. เป็นเทวีฤกษ์

    หากมีท่านใดประสงค์จะร่วมบริจาคแผ่นชนวนจารโดยพระเถราจารย์ที่ท่านเคารพนับถือ หรือวัตถุมงคลเนื้อตะกั่ว เช่น เหรียญรูปเหมือนพระสงฆ์ หรือตะกรุด

    ส่งมาเป็นมวลสารในการสร้างพระบรรจุกรุ ครั้งที่ ๓ นี้ด้วยกัน ก็เรียนเชิญนะครับ


    จัดส่งมาให้ถึงภายในวันที่ ๑๙ ก.ค.๕๖ นี้ ตามที่อยู่นี้ครับ

    จ.ส.อ.ราเชนทร์ โต๊ะกลม
    ผ.๒ คส.สพ.ทบ.
    ต.เขาพระงาม อ.เมือง
    จ.ลพบุรี ๑๕๑๖๐

    ขอโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2013
  10. ผาแดง

    ผาแดง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,640
    ค่าพลัง:
    +10,719
    ช่วงนี้ผมงานจะเยอะมากนะครับ เพราะต้องเตรียมเอกสารและเตรียมงานเพื่อรับตรวจในสัปดาห์หน้า อาจจะแลดูว่าห่างๆ กระทู้ไปบ้างต้องขออภัยด้วยครับผม
     
  11. ยันต์ครู

    ยันต์ครู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2012
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +2,048
    มาชมภาพการจารแผ่นชนวนเพื่อนำไปจัดสร้างพระบรรจุกรุ ครั้งที่ ๓ (ภาคใต้) กันต่อครับ

    ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

    พระราชมงคลสุธี (หลวงปู่แขก ปภาโส) วัดสุนทรประดิษฐ์
    อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก อายุ ๙๐ ปี พรรษา ๖๙

    ผมได้มีโอกาสกราบนมัสการหลวงปู่แขก ในพิธีพุทธาภิเ้ษกวัตถุมงคลของหลวงปู่ครูบาตั๋น แห่งสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ซึ่งหลวงปู่แขกได้เดินทางมาถึงที่วัดก่อนเริ่มพิธีราวสองชั่วโมง ซึ่งทำให้ผมมีเวลามากพอที่จะเข้าไปกราบและนั่งพูดคุยกับท่านนานพอสมควรเลยครับ โดยระหว่างนั้นผมก็เล่าเรื่องโครงการสร้างพระบรรจุกรุให้ท่านฟังและขอให้ท่านจารแผ่นชนวนให้ ท่านก็ซักถามเยอะเหมือนกันครับ จนแน่ใจถึงเจตนารมย์จึงรับแผ่นตะกั่วไปจารให้ เมื่อท่านจารเสร็จท่านก็อธิษฐานจิตให้ก่อนจากนั้นก็ม้วนแผ่นตะกั่วแล้วก็เป่าอัดพลังตามเคล็ดวิชาของท่าน โดยท่านเป่าให้นานมากครับเรียกว่าเป่าจนสุดเลย ก่อนที่จะปล่อยแผ่นให้ลอยขึ้นบนอากาศซึ่งผมก็คว้าแผ่นไว้ได้พอดิบพอดี เมื่อเห็นยันต์ที่ท่านเมตตาจารให้แล้วต้องยอมรับว่าสวยงามจริงๆ โดยผมก็ได้นำแผ่นที่ท่านจารเข้าพิธีพุทธาภิเษกในวันนั้นด้วยครับ


    อัตชีวประวัติโดยย่อ
    นามเดิมชื่อ ลำยอง นามสกุล นาทีทองพิทักษ์ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ.2467 ตรงกับแรม 7 ค่ำ เดือน 10 ปีชวด ณ บ้านกรุงกรัก ต.บางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก บิดาชื่อ นายเฮง มารดาชื่อ นางพัน อาชีพทำนา มีพี่น้องรวม 7 คน

    ท่านเป็นพระอาจารย์ที่ชาวจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือท่านเป็นอย่างมาก เพราะท่านเป็นพระที่ถือสันโดษ บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริงในด้านการปฏิบัติของท่านนั้น ถือเอาปฏิบัติสัจจะเป็นที่ตั้ง ท่านจึงมีสานุศิษย์ใกล้ชิดที่มีความเคารพมาก เพราะได้ประจักษ์แก่สายตาของตนเองมาแล้วทั้งนั้น

    หลวงปู่แขก ปภาโส เกจิดังแห่งเมืองพิษณุโลก(สองแคว) ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่ปุย วัดปากลัด , หลวงปู่ทรัพย์ วัดปลักแรด , หลวงปู่หรุ่นและหลวงปู่มาก ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดพระคณาจารย์เมืองพิษณุโลก(สองแคว)

    สำหรับวัตถุมงคลหลวงปู่แขก ปภาโส เรื่องประสบการณ์มากจริงๆ แต่ล่ะรุ่นสร้างน้อยมาก และเป็นที่ต้องการของเหล่าบรรดาศิษย์และคนทั่วไปเป็นจำนวนมาก ทำให้วัตถุมงคลของท่านหายากและใครมีต่างหวงแหนกันมาก เพราะรู้ถึงพุทธคุณดีว่าสุดยอดแค่ไหน เรื่องมหาอุด แคล้วคลาด คุ้มครอง สุดยอดไม่เป็นรองใครครับหลวงปู่แขกท่านมีชื่อเสียงมากทางด้านปลุกเสกวัตถุมงคล ทั้งเหนือ กลาง อีสาน ใต้เมื่อมีการสร้างวัตถุมงคลที่ไหนก็มักจะมีรายชื่อหลวงปู่แขกร่วมอธิษฐานจิตอยู่ด้วยเสมอ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      195.2 KB
      เปิดดู:
      1,206
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      196.2 KB
      เปิดดู:
      1,185
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      188.5 KB
      เปิดดู:
      1,151
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      199.6 KB
      เปิดดู:
      1,249
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      196.7 KB
      เปิดดู:
      1,450
  12. ชาวประมง

    ชาวประมง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    4,657
    ค่าพลัง:
    +22,538
    พี่ผาแดงจะไปหล่อที่ไหนครับ
     
  13. สิ้นภพ

    สิ้นภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +150
    ร่วมบุญด้วย 3 ชุดครับ
     
  14. ผาแดง

    ผาแดง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,640
    ค่าพลัง:
    +10,719

    ที่บ้านครับ
     
  15. ผาแดง

    ผาแดง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,640
    ค่าพลัง:
    +10,719
    รับทราบครับ

    ร่วมสร้างพระบรรจุกรุ ครั้งที่ ๓ จำนวน ๓ ชุด

    ขอโมทนากับคุณสิ้นภพ ด้วยครับผม
     
  16. ชาวประมง

    ชาวประมง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    4,657
    ค่าพลัง:
    +22,538
    ได้ครับเดี๋ยวพรุ่งนี้จะส่งแผ่นตะกั่วไปให้ครับพี่
     
  17. ยันต์ครู

    ยันต์ครู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2012
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +2,048
    มาชมภาพการจารแผ่นชนวนเพื่อนำไปจัดสร้างพระบรรจุกรุ ครั้งที่ ๓ (ภาคใต้) กันต่อครับ

    ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

    พระครูพิพิธธรรมาธร (หลวงพ่อหวั่น กุสลจิตฺโต) วัดคลองคูณ
    ต.คลองคูณ อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร อายุ ๗๘ ปี พรรษา ๕๗

    ในงานพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น หลวงพ่อหวั่น แห่งวัดคลองคูณ เป็นพระคณาจารย์อีกรูปหนึ่งที่ได้รับนิมนต์ให้มานั่งปรกในวันนั้น หลวงพ่อท่านได้เดินทางมาถึงยังมณฑลพิธีก่อนล่วงหน้าประมาณสองชั่วโมง เมื่อท่านมาถึงก็เข้าไปพักผ่อนอิริยาบถภายในวิหาร ผมจึงได้เข้าไปกราบนมัสการท่านและขอให้ท่านจารแผ่นชนวนให้ โดยท่านได้เมตตาจารและอธิษฐานจิตให้จำนวน ๒ แผ่นด้วยกัน จากนั้นผมก็นำแผ่นชนวนเข้าพิธีพุทธาภิเษกในวันนั้นด้วยครับ

    หลวงพ่อหวั่น เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีกาลพรรษาสูงรูปหนึ่ง ท่านสร้างวัตถุมงคลออกมาในแบบเนื้อผงผสมมวลสารมากกว่า เนื้อโลหะโดยเฉพาะพระนางพญาผงใบลานนั้นเด่นในทางเมตตามหานิยมเยี่ยมมากทีเดียว ส่วนตะกรุดสาลิกาคู่เยี่ยมในทางมหานิยม ผู้คนชาวบ้านเขาโจษขานกันมานานแล้วว่า หลวงพ่อหวั่นนั้นท่านเป็นพระที่เมตตาสูง ท่านปล่อยวางจากลาภสักการะ อดิเรกลาภต่างๆหลวงพ่อหวั่น ท่านไม่ได้ยินดีปัจจัยไทยทานต่างๆท่านวางไว้เหมือนไม่สนใจใยดี นอกจากเป็นพระเถระที่ยึดสันโดษเป็นที่ตั้งแล้วในเรื่องกฤดาอภินิหารต่างๆ ชาวบ้านเล่าว่าท่านนั้นเก่งมากทั้งในด้านเมตตาคงกระพันชาตรี โดยเฉพาะวัยรุ่นในย่านตะพานหินที่หัวนิยมชื่นชอบหนักในทางต่อสู้ตีรันฟันแทงแล้วจะต้องพกตะกรุดโทน หลวงพ่อหวั่น ติดตัวเพื่อช่วยใน ยามคับขัน

    ประวัติโดยย่อ
    พระครูพิพิธธรรมาทร มีนามเดิมว่า หวั่น นามสกุล แพนนท์ เกิดเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๔๗๘ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๑๑ คํ่าเดือน ๙ ปีกุน ที่บ้านคลองคูณ หมู่ที่ ๒ ตำบลคลองคูณ อำเภอ ตะพานหิน เมืองพิจิตร โยมบิดามีนามว่า นายหมึก เป็นหมอกลางบ้านหรือแพทย์แผนโบราณ โยมมารดาชื่อ นางขอด แพนนท์มีพี่น้องรวมทั้งหมด ๑๑ คน ผู้ชาย ๕ คนผู้หญิง ๖ คน ส่วนหลวงพ่อหวั่น ท่านเป็นลูกคนที่ ๔ ของครอบครัว

    อุปสมบท
    เมื่ออายุย่างเข้าปีที่ ๒๑ พ่อแม่จึงจัดการนำไปฝากเป็นศิษย์วัดเพื่อเรียนท่องคำขานนาคแล้ววันมงคลแห่งชีวิตก็มาถึงวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๔๙๙ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๘ คํ่า เดือน ๖ ปีวอก ท่านจึงได้เข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในพัทธสีมาของวัดคลองคูณ โดยมี พระครูพิเศษ ธรรมรัตน์ วัดหาดแตงโม อำเภอ ตะพานหิน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระใบฎีกานนท์ วัดไผ่หลวง เป็นพระกรรมวาจาจารย์และ พระธรรมธร สง่า วัดไซลงโขน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับนามฉายาว่า “กุสลจิตโต” เมื่อบวชในพระศาสนาแล้วท่านตั้งใจแน่วแน่ในการสวดร้องท่องบ่นเจ็ดตำนานสิบสองตำนาน จนญาติโยมต่างร่วมอนุโมทนาบุญกับท่าน และญาติโยมชาวบ้านคลองคูณ ต้องการให้ท่านครองผ้ากาสาวพัตรอันเป็นหลักชัยในทางพระพุทธศาสนาไปนานๆประกอบกับท่านนั้นเป็นลูกหลานชาวบ้านนี้ ซึ่งก็ไม่ทำให้ญาติโยมผิดหวังเนื่องจากหลวงพ่อหวั่นแม้จะเป็นสัทธิวิหาริกคือหมายความว่า หลวงพ่อหวั่น ท่านเป็นผู้ก้าวเข้ามาใหม่ในอารามแห่งนี้ก็จริงอยู่แต่ท่านเป็นพระหนุ่มผู้ เคร่งครัด ในพระธรรมวินัยเป็นยิ่งนัก เร่งเรียนทำวัตรสวดมนต์และศึกษาข้อวัตรปฏิบัติทาง พระศาสนาอันเป็นคำสอนของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ละความเพียรพยายามที่จะเรียนรู้จนญาติโยมศรัทธาทั้งหมู่บ้านเมื่อบวชได้ ๓ พรรษาจึงได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ดูแลพระบวชใหม่ภายในวัดหรือเรียกว่า แต่งตั้งเป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสนั้นเอง

    สายอาคม
    หลวงพ่อหวั่น ท่านนับได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์เป็นที่เคารพกราบไหว้ของคนในอำเภอ ตะพานหินและถิ่นย่านใกล้เคียงในภาคเหนือตอนล่าง นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังมากๆในเรื่องตะกรุดสาลิกา และตะกรุดมหาอุด ท่านได้เมตตาบอกกับผู้เสนอบทความว่า ท่านทำตะกรุดตั้งแต่พรรษายังไม่มากนักคือท่านได้ตำรามาจากของเก่าแก่ในวัดซึ่งเป็น ยันต์ที่หลวงปู่จันทร์ท่านได้เขียนเอาไว้และบอกสรรพคุณของตะกรุดแต่ละชนิดประกอบกับหลวงพ่อหวั่นท่านพอเข้าใจภาษาขอมได้อยู่ในระดับหนึ่ง จึงไม่ใช่สิ่งแปลกสำหรบท่านที่จะเขียนยันต์ลงในตะกรุด เมื่อลงตะกรุดแรกๆก็แจกให้กับญาติพี่น้องกันก่อนเพราะถือว่าในขณะนั้นท่านเป็นพระที่บวชใหม่ เมื่อญาติพี่น้องเอาไปใช้เกิดอภินิหารต่างๆในด้านเมตตาโชคลาภตลอดจนคงกระพันชาตรีตะกรุดพระหวั่นในยามนั้นจึงขยายวงกว้างแห่งความศรัทธาสู่ญาติโยมไปทั่ว ทำให้สมภารหนุ่มในขณะนั้นต้องสงเคราะห์ญาติโยมที่มาขอตะกรุดท่านตลอด


    ครูบาอาจารย์ในสายอาคมของท่านที่ไม่กล่าวถึงเลยไม่ได้ บิดาของหลวงพ่อหวั่น เป็นนักเล่นอาคม นับได้ว่าเป็นผู้ขมังเวทย์อีกคนหนึ่งในย่านคลองคูณ เพราะหมอหมึก โยมบิดาของท่านเป็นหมอแผนโบราณที่ชอบและฝักใฝ่ในเรื่องคาถาอาคมจนถือกันว่าขึ้นชั้นระดับแถวหน้าของชาวบ้านย่านคลองคูณเพราะเมื่อ ๕-๖๐ปี ก่อนยังถือว่าบ้านคลองคูณ อยู่ในถิ่นกันดารที่การเดินทางยังยากเข็ญอยู่นอกจากเกวียนหรือม้าแล้วก็ทางเรือเท่านั้นที่สะดวก ใครถูกผีเข้าเจ้าสิงก็ต้องวิ่งโร่ไปที่บ้านหมอหมึกและส่วนมากจะหายเสียด้วยจึงทำให้ชื่อเสียงลือกระฉ่อนออกไปในรัศมีกว้างในละแวกนั้น และย่านใกล้เคียงจึงมอบความไว้วางใจให้หมอหมึกเป็นผู้รักษาจะกินนํ้าหมาก ราดนํ้ามนต์ก็ไม่ขัดข้องเพราะ หมอหมึกถือว่าช่วยสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ร่วมโลกหายทุกข์คลายโศกกันคนแล้วคนเล่า หรือเจ็บไข้ได้ทุกข์ทางร่างกายและจิตใจก็วิ่งหาหมอหมึกให้ช่วยเจียดยา บรรเทาทุกข์เวทนา ด้วยที่หลวงพ่อหวั่นพบเห็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ของหมอหมึก ผู้เป็นโยมพ่อหรือสมัยนี้เขาจะเรียกเสียโก้หรูว่าแพทย์แผนโบราณมาตั้งแต่เด็กๆจึงทำให้จิตใจ ของหลวงพ่อหวั่น มีแต่ความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ผู้เกิดมาร่วมโลกเสมอด้วยญาติกันทุกคน


    นอกจากหมอหมึกบิดาของท่านแล้ว หลวงพ่อหวั่นได้เรียนวิชาจากตำราของหลวงพ่อโพธิ์ วัดคลองหมาเน่า ซึ่งหลวงพ่อโพธิ์ท่านเป็นพระมอญที่ไปจากจังหวัดปทุมธานี มีความเชี่ยวชาญในการลงตะกรุดคงกระพัน ไปอยู่ที่วัดคลองหมาเน่า จนกระทั่ง มรณะภาพ ลงญาติพี่น้องของท่านที่อยู่ในจังหวัดปทุมธานี ได้เดินทางไปรับศพท่านกลับมาประกอบพิธีทางพระศาสนาและ ปลงศพที่บ้านเกิดหลังที่ทางคณะกรรมการวัดคลองหมาเน่าตลอดจนผู้ศรัทธาได้ประกอบพิธีทางศาสนาได้ระยะหนึ่ง เล่ากันว่าหลวงพ่อโพธิ์ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ ที่เข้มขลังวิชาเป็นที่เคารพศรัทธาของญาติโยมใน ละแวกนั้น นอกจากหลวงพ่อโพธิ์วัดคลองหมาเน่าแล้ว หลวงพ่อหวั่น ท่านได้ไปเรียนคาถาด้านเมตตามหานิยมกับท่านพระอาจารย์รอด ที่สำคัญและไม่กล่าวถึงไม่ได้คือหลวงพ่อจันทร์ วัดคลองคูณพระเกจิอาจารย์นามอุโฆษในอดีต หลวงพ่อหวั่นได้เรียนรู้วิชาอาคมของหลวงพ่อจันทร์ท่านได้วิธีการลงอักขระยันต์ต่างๆ ในตะกรุดตลอดจนขั้นตอนการปลุกเสกและการนั่งสมาธิ เพื่อให้วัตถุมงคลที่ได้ปลุกเสกไปเกิดมีฤทธิ์อำนาจทางพุทธคุณในด้านต่างๆ เมื่อได้ศึกษามาก็ได้ฝึกปรือจนแน่ใจว่าใช้ได้ในเรื่องพุทธคุณไม่ขาดไม่เกินความสามารถที่หลวงพ่อหวั่นท่านได้เรียนมาก็มอบให้ญาติโยมซึ่งเดินทางมาจากที่ต่างๆทั้งใกล้และไกลเมื่อมีประสบการณ์ต่างบอกกล่าวเล่าต่อๆ กันไปกระทั่งท่านนั่งต้อนรับญาติที่ต่างดั้นด้นมาหาท่าน แม้ในขณะนั้นบางคนต้องเดินเท้ามานานนับชั่วโมงโดยมิย่อท้อ เดินทางมาเพื่อให้พบกับพระอาจารย์หนุ่มท่านนี้ให้จงได้ และหลวงพ่อหวั่น ท่านเป็นผู้มีเมตตาสูงใครไปใครมาขอเมตตาอะไรจากท่านก็ล้วนแต่สำเร็จจากปากสู่หูที่บอกเล่ากล่าวต่อกันไป ชื่อเสียงของท่านหอมกระจายไปในทุกสารทิศเหมือนกลิ่นดอกแก้วที่หอมรวยรินไปกับสายลมในยามรุ่งอรุณ เกียรติคุณความดีของท่านนั้นหาได้ผิดแผกไปจากความหอมแห่งบุปผาชาติในยามรุ่งสางไม่ ปัจจุบันแม้สังขารจะล่วงเลยเข้าร่วมศตวรรษแล้วก็ตาม แต่หากมีพิธีพุทธาภิเษก ในเขตจังหวัดพิจิตรตลอดจนย่านใกล้เคียงในละแวกนี้ จะต้องมีนามของท่านพระครูพิพิธธรรมาทรร่วมในพิธีฯ อยู่ด้วยเสมอทุกครั้งไป


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      198.7 KB
      เปิดดู:
      1,318
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      194.9 KB
      เปิดดู:
      1,284
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      195 KB
      เปิดดู:
      1,223
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      195.1 KB
      เปิดดู:
      1,271
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      196 KB
      เปิดดู:
      1,200
    • 6.jpg
      6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      199.4 KB
      เปิดดู:
      1,205
  18. ยันต์ครู

    ยันต์ครู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2012
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +2,048
    มาชมภาพการจารแผ่นชนวนเพื่อนำไปจัดสร้างพระบรรจุกรุ ครั้งที่ ๓ (ภาคใต้) กันต่อครับ

    ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

    หลวงพ่อเอิบ ฐิตธมฺโม วัดหนองหม้อแกง (ซุ้มกระต่าย)
    ต.โพนางดำตก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท อายุ ๖๖ ปี พรรษา ๔๔

    อัตโนประวัติ
    หลวงพ่อเอิบ มีนามเดิมว่า เอิบ อินทรประสิทธิ์ ท่านเกิดเมื่อเดือน มิถุนายน พศ. ๒๔๙๐ ส่วนจะเป็นวันที่เท่าไร ท่านจำไม่ได้เสียแล้ว โยมบิดาชื่อนายสีโย่ง อินทรประสิทธิ์ โยมมารดาชื่อนางฉะอ้อน อินทรประสิทธิ์ มีพี่น้องร่วมท้อง ๘ คน โดยท่านเป็นบุตรชายคนที่ ๔ โยมบิดาท่าน เข้าใจว่าเป็นคนกว้างขวางพอสมควร เพราะเป็นทั้งศิษย์คนสนิท และญาติหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ มีความเป็นนักสู้ และคาถาอาคมมากพอตัว ส่วนโยมมารดาท่าน ก็เป็นญาติกับหลวงพ่อเดิมด้วยเช่นกัน จึงนับว่า หลวงพ่อเอิบ ท่านเป็นหลานของหลวงพ่อเดิม เทพเจ้าของชาวหนองโพธิ์

    ชีวิตสมัยเด็ก บิดาท่านฝากให้ท่านมาเป็นลูกศิษย์ของท่านพระครูสังฆรักษ์วิชิต แห่งวัดเกาะสุวรรณาราม ทุ่งสายไหม ดอนเมือง ตั้งแต่เล็ก ๆ จึงได้เรียนหนังสือชั้นประถม ที่โรงเรียนวัดเกาะ ฯ และชั้นมัธยม ที่โรงเรียนฤทธิ์ยวรรณาลัย ดอนเมือง จากนั้นจึงเดินทางกลับนครสวรรค์ บ้านเกิด ท่านมีความสนใจในคาถาอาคม มาตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก แต่เป็นคนใจเย็น ยิ้มง่าย โกรธยาก ท่านใช้ชีวิตในเพศฆราวาสมาอยากโชกโชน สมัยหนุ่ม ๆ ก่อนบวช ท่านมีทรัพย์สมบัติมากเลยทีเดียว คือมีนาประมาณ ๑๐๐ กว่าไร่ มีช้าง ๑ เชือก มีม้า ๘ ตัว มีวัว ๓๐๐ ตัว และมีควาย ๑๐๐ ตัว ทั้งๆ ที่ท่านมีทรัพย์สมบัติมากเช่นนี้ แต่กลับไม่สนใจในเรื่องการมีครอบครัว เมื่อท่านมีทรัพย์สมบัติมาก โดยเฉพาะที่ดิน ที่อยู่ตามช่องแคบ้าง โกรกพระบ้าง ตาคลีบ้าง ท่านจึงต้องเดินทางเพื่อดูแลทรัพย์สินของท่านทำให้ท่านสนิทสนมกับพระเกจิ อาจารย์ในถิ่นแถวนครสวรรค์เป็นอย่างดี เช่น หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค หลวงพ่อโอน วัดโคกเดื่อ หลวงพ่อโอด วัดจันทเสน หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาก ซึ่งแต่ละรูปที่ท่านเข้าไปกราบ เพื่อขอเรียนพุทธาคมบ้าง ขอวัตถุมงคลคุ้มครองตนบ้าง ต่างบอกให้ท่านละสมบัติออกบวชทั้งสิ้น คล้ายกับว่าท่านจะมีนิสัยในทางกุศลมาแต่เดิม และเมื่อท่านตัดสินใจออกบวช ท่านก็กลับละทิ้งทรัพย์สมบัติเหล่านี้ไปอย่างไม่ใยดี ท่านขายทรัพย์สินที่มีอยู่จนเกือบหมด เพื่อนำเงินมาสร้างวัด มาพัฒนาวัด

    ท่านใช้ชีวิตในเพศฆราวาส มาจนถึงอายุ ๒๑ ปี จึงได้อุปสมบท ณ พัทสีมาวัดหางน้ำหนองแขม เมื่อเดือน กรกฏาคม พศ. ๒๕๑๒ โดยมีพระครูนิยุติธรรมกิจ วัดเขาไม้แก้ว เจ้าคณะอำเภอพยุหะคีรี ในสมัยนั้น เป็นพระอุปัชณาย์ พระครูปลัดฉุย วัดหางน้ำสาคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระอาจารย์เฉย วัดหางน้ำสาคร เป็นพระรรมวาจาจารย์

    เมื่อบวชแล้วท่านจึงได้ออกเดินทางไปกราบพระเกจิอาจารย์ตามถิ่นแถวนครสวรรค์ และได้ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาพุทธาคมหลายต่อหลายพระอาจารย์ เช่น หลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค ขอเรียนวิชารักษาโรค สูญฝี และการปลุกเสกวัตถุมงคล ,หลวงปู่สี ฉันทฺสิริ วัดเขาถ้ำบุญนาก ขอเรียนวิชาทางคงกระพัน ขึ้นกรรมฐาน และการปลุกเสกพระ , หลวงพ่อโอน วัดโคกเดื่อ , หลวงพ่อโอด วัดจันทเสน ขอเรียนวิชาทางเมตตา เสกเทียน นั่งเทียน , หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว ขอเรียนวิชาประจุมีดหมอ ทำของแก้คุณไสย , พระอาจารย์บุญมี วัดวาปีรัตนาราม ขอเรียนทางใน เรียกคน ค้าขาย , หลวงปู่คำ วัดสุวรรณาราม ขอเรียนวิชาผูกดวง แก้ดวง , หลวงพ่อเจ๊ก วัดระนาม ขอเรียนวิชามหาอำนาจ จังงัง ตวาดป่า และการปลุกเสกพระ หลวงพ่อเจ๊ก กับท่านชอบพอ สนิทกันดี จะเคยสอนวิชาฝัง และถอนอาถรรพ์ให้ท่าน แต่หลวงพ่อเจ๊กมรณภาพเสียก่อน จึงไม่ได้เรียน , หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน ท่านไปขอเรียนวิชาทำมีดหมอ และยังได้เคยสร้างมีดหมอไปให้หลวงพ่อบุญมีเสกเพื่อหาทุนสร้างวัดมาแล้ว จะเห็นได้ว่าหลวงพ่อเอิบท่านเป็นพระที่ขยันในการศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างมาก


    แต่ที่ท่านได้วิชาสำคัญไว้มากที่สุดคือ หลวงพ่อสด วัดหางน้ำสาคร นครสวรรค์ ซึ่งเป็นศิษย์สายในของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ หลวงพ่อสด ท่านมีวาจาสิทธิ์ มีอาคมขลัง ปากพระร่วง และมีพลังจิตแกร่งกล้ามาก เช่นครั้งหนึ่ง ท่านขึ้นไปก่อสร้างศาลา โดยขณะท่านกำลังตอกตะปูอยู่ ได้ทำลังตะปูตกลงไปในแม่น้ำ ท่านได้ตะโกนบอกพระเณร ด้านล่างว่าให้ช่วยกันเก็บตะปูที่ตกน้ำหน่อย พระเรียนท่านว่า ตะปูตกน้ำมันก็จมหมดแล้วซิหลวงพ่อ ท่านบอกว่า “มันไม่จมหรอกว๊ะ ไปช่วยกันเก็บหน่อย ช้าไปเดี๋ยวน้ำจะพัดไปไกลเสียหมด” พอพระเดินไปดูริมน้ำ ปรากฏว่า ตะปู ที่ทำด้วยเหล็ก กลับลอยน้ำได้อย่างน่าอัศจรรย์ พระเณร จึงช่วยกันเก็บใส่ลังได้อย่างครบถ้วน และเมื่อหลวงพ่อสด จะละสังขาร ท่านได้บอกวันเวลาที่จะละสังขารให้ญาติโยมทราบกันทั่ว และเมื่อถึงเวลานั้นจริง ๆ ท่านก็นั่งสมาธิถอดจิตละสังขารไปอย่างสงบ

    ต่อมาหลวงพ่อเอิบ ท่านได้ยินชื่อเสียงของ หลวงพ่อผินะ วัดพระสนมลาว ว่าเป็นพระเคร่งครัดในด้านการพิจารณาอสุภกรรมฐาน ท่านจึงได้ไปขอเรียนวิชากรรมฐาน เสกของ และเสกผงอาถรรพ์ รวมทั้งการสร้างหัวชะมด และดาวยศ จากหลวงพ่อผินะ วัดพระสนมลาว ท่านเล่าให้ฟังว่า ครั้งแรกไปกราบเป็นเวลาใกล้เพลพอดี จึงเห็นหลวงพ่อผินะ ท่านฉันอาหารแบบเทรวม คือ อาหารคาว ผัด ทอด คั่ว แกงกะทิ หรือแกงอะไรก็แล้วแต่ ท่านจะตักมาผสมรวมกันในบาตร จากนั้นจึงตักขนมหวาน จะเป็นลอดช่องน้ำกะทิ หรือกล้วยบวชชี หรืออะไรก็แล้วแต่บรรดามี เทผสมลงไปด้วย แล้วจะเอาน้ำที่จะดื่มเทผสมลงไปเป็นอันดับสุดท้าย ทำการคนให้เข้ากัน แล้วจึงฉัน การฉันอาหารเช่นนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า หลวงพ่อผินะท่านหลุดพ้นจากเรื่องรูป รส กลิ่น และสำผัสอย่างแท้จริง เมื่อหลวงพ่อผินะฉันเสร็จแล้ว จึงได้เลื่อนบาตรที่ฉันส่งให้หลวงพ่อเอิบ แล้วพูดว่า “จะมาเรียนวิชาจากพ่อ ก็ต้องกิน ต้องนอนให้เหมือนพ่อนะ” หลวงพ่อเอิบจึงได้ฉันอาหารในบาตรของหลวงพ่อผินะ ตั้งแต่วันแรกที่มากราบแล้ว อันเป็นการปฎิบัติโดยปริยายว่า หลวงพ่อผินะ ได้รับหลวงพ่อเอิบเป็นศิษย์แล้ว หลวงพ่อเอิบเล่าให้ฟังถึงความแปลก และบารมีของหลวงพ่อผินะว่า หลวงพ่อผินะ ท่านเขียนธงไว้ ๓ ผืน เรียกว่า ธงสั่งฟ้า คือ ถ้าจะให้ฝนตก ก็ชักธงขึ้น ฝนก็จะตก หรือบางครั้งฝนตกมากไป พอชักธงขึ้น ฝนก็จะหยุด ,หรือบางทีท่านขลัง ๆ ขึ้นมา ก็ให้ชักธงขึ้นไป เพื่อล่อให้ฟ้าผ่าลงมาที่ธงเป็นแสงสว่างน่ากลัว แต่ไม่ทำความเสียหายให้สิ่งใด หรือถ้าท่านต้องการให้ใครมาหาท่าน บางทีต้องการหาทุนสร้างวัด ก็จะชักธงขึ้น ก็จะมีคนที่อยากให้มาพบ มาพบจริง ๆ และก็จะมีคนมาทำบุญเป็นจำนวนมากด้วย วิชานี้ ท่านบอกว่า ท่านไม่ได้เรียนไว้ เพราะเป็นวิชาเฉพาะตัว คู่บารมีของหลวงพ่อผินะ เพียงองค์เดียว หลวงพ่อเอิบ กล่าวทิ้งท้ายว่า สมัยก่อน ท่านมีหัวชะมด ของหลวงพ่อผินะ ตกสิบกว่าตัว มีทั้งที่ทำด้วยงา ลิ้นเป็นทองคำ ตาเป็นพลอยสวยงาม และที่เป็นไม้อาถรรพ์ เช่นไม้สัก ไม้มะดัน แต่ปัจจุบัน ไม่เหลือเลยสักตัวเดียว เพราะท่านออกให้เช่าหาทุนสร้างวัดจนหมด.


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      197.1 KB
      เปิดดู:
      1,404
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      192.9 KB
      เปิดดู:
      1,256
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      199.7 KB
      เปิดดู:
      1,501
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      196.3 KB
      เปิดดู:
      1,737
  19. ยันต์ครู

    ยันต์ครู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2012
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +2,048
    มาชมภาพการจารแผ่นชนวนเพื่อนำไปจัดสร้างพระบรรจุกรุ ครั้งที่ ๓ (ภาคใต้) กันต่อครับ

    ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

    พระครูสิริบุญเขต (หลวงพ่อมี จิตฺตธโม) วัดม่วงคัน
    ต.รำมะสัก อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง อายุ ๘๗ ปี พรรษา ๖๗

    ก่อนหน้านี้หลวงพ่อท่านได้เคยจารแผ่นชนวนให้กับโครงการสร้างพระมาแล้ว แต่ผมได้มีโอกาสพบท่านอีกครั้งเมื่อคราวที่ท่านได้รับนิมนต์ให้เดินทางมาเชียงใหม่ เพื่อมานั่งปรกในงานพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ซึ่งหลวงพ่อท่านเดินทางมาถึงที่วัดตั้งแต่ช่วงเช้ามืด ผมจึงมีโอกาสได้นั่งพูดคุยกับท่านเป็นเวลานานพอสมควรและได้ขอให้ท่านจารแผ่นชนวนเพิ่มเติมให้ครับ โดยผมได้นำแผ่นชนวนทั้งหมดเข้าพิธีพุทธาภิเษกในวันนั้นด้วยครับ


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      195.5 KB
      เปิดดู:
      1,433
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      198.6 KB
      เปิดดู:
      1,354
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      197 KB
      เปิดดู:
      1,315
  20. ยันต์ครู

    ยันต์ครู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2012
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +2,048
    มาชมภาพการจารแผ่นชนวนเพื่อนำไปจัดสร้างพระบรรจุกรุ ครั้งที่ ๓ (ภาคใต้) กันต่อครับ

    ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

    พระครูวิสิฐชัยคุณ (หลวงพ่อเกาะ) วัดท่าสมอ
    ต.บางขุด อ.สรรค์บุรี จ.ชัยนาท อายุ ๖๘ ปี พรรษา ๔๐

    พระดีอีกรูป แห่งสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ที่ได้เมตตาจารแผ่นชนวนให้กับโครงการสร้างพระบรรจุกรุฯ

    พระเกจิเมืองสรรค์ แดนคนจริง ถิ่นคนกล้า วัยรุ่นเมืองสรรค์ ตั้งฉายาว่า " หลวงพ่อตะกรุดปืนแตก " พระครูวิสิฐชัยคุณ ( หลวงพ่อ เกาะ อาภากโร ) เจ้าอาวาส วัดท่าสมอ เจ้าคณะตำบล บางขุด อ. สรรคบุรี จ. ชัยนาท อายุ ๖๘ ปี ๔๐ พรรษา หลวงพ่อ เกาะ ฯสมัยที่ท่านยังเป็นวัยรุ่นได้ช่วยบิดามารดาทำงานทุกอย่างด้วยความขยันขันแข็งเป็นที่รักใคร่ของทุกคน จนพ.ศ. ๒๕๐๘ ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านได้กราบ หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม จ. ชัยนาท เป็นอาจารย์ เรียนวิชาไสยเวทย์ คงกระพันชาตรี มหาอุด ตะกรุดปืนแตก วิชาหนุมาณผู้ที่ไม่มีวันตาย วิชาเมตตามหานิยม วิชาเสริมดวงชะตา จนแตกฉาน ต่อมา หลวงพ่อ เกาะ ฯ ท่านได้ลาสิขาบทมาดูแลโยมบิดาและโยมมารดา ต่อมาปี ๒๕๑๕ หลวงพ่อ เกาะ ฯท่านได้อุปสมบทอีกครั้งที่ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ จ. ชัยนาท โดยมี พระครูสรรคภาวิชิต เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อ เชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ เป็นกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อ เหลือ เป็นพระอนุศาสดาจารย์ และได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดท่าสมอเลย หลวงพ่อ เกาะฯท่านได้กราบ หลวงพ่อ เชื้อ เป็นอาจารย์ เรียนวิชาค่ายกลแต่งทัพ เรียนวิชาผูกหุ่นพยนต์และอีกหลายอย่าง อาจารย์อีกองค์หนึ่งของหลวงพ่อ เกาะ ฯคือหลวงพ่อ โก๊ะ วัดลาดสาลี่ ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๒๑ หลวงพ่อ เกาะ ฯ ท่านได้รับตราตั้งเป็น เจ้าอาวาส วัดท่าสมอ แต่ก็ยังเรียนวิชาครอบจักรวาล จาก หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ. ลพบุรี หลวงพ่อเกาะ ฯท่านติดตามปฏิบัติอาจารย์ท่านไปทั่ว หลวงพ่อ เกาะ ฯท่านพัฒนา วัดท่าสมอ เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบันนี้


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      197.5 KB
      เปิดดู:
      1,897
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      200 KB
      เปิดดู:
      1,479
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      195.2 KB
      เปิดดู:
      1,267
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      196.4 KB
      เปิดดู:
      1,228
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...