ถึงเวลาที่สยบข่าวภัยพิบัติ  ทางสายเอก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย คมสันต์usa, 14 ธันวาคม 2012.

  1. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    เรี่องนี้เราก็จะต้องทำหน้าที่ของลูกที่ดีอย่าให้ขาดตกบกพร่อง เช่นช่วยงานท่าน
    แล้วก็หมั่นศึกษาในข้อธรรมและปฏิบัติให้มากและช่วงใหนที่ท่านทั้งสองอารมฌ์ดีก็ค่อยคุยกับท่าน และบอกกับท่านว่าลูกรักพ่อและแม่อยากจะให้ทั้งสองมีความสูข   ไม่อยากเห็นพ่อแม่ต้องมาเป็นทุกข์และเป็นภาระกับหนี้สินที่เกิดจากการดื่มเหล้าและเล่นการพนัน  ซึ่งล้วนแต่นำความทุกข์มาให้ครอบครัวของเรา
    พูดกับท่านดีฯ แต่ถ้ายังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงก็ต้องทำใจของเรา
    เมื่อไรทั้งสองคิดรักลูกและสงสารลูกท่านก็จะเลิกไปเอง  ครับ
    และยิ่งถ้าเราหมั่นสวดมนต์นั่งสมาธิทุกฯวัน เมื่อท่านได้พบเห็นบ่อยฯเข้า
    และเมื่อท่านนึกกลัวบาปขึ้นมาเมื่อไรท่านก็จะเลิกไปเองครับ เอาใจช่วยคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC06288.JPG
      DSC06288.JPG
      ขนาดไฟล์:
      550.6 KB
      เปิดดู:
      41
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2013
  2. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    ท่าน ก เกียรติแต่งโคลงสี่สุภาพได้..ประณีตเนื้อหากินใจ..ข้าน้อยจึงขอโอกาส..ร้อยกรองโคลงของท่าน..เป็น"กาพย์ห่อโคลง"..โดยแต่งกาพย์ยานีสิบเอ็ดเลียนโคลงบทต่อบท(แต่งล้อคำกัน ทุกบาท=ทุกบรรทัด)
    โดยมีเนื้อหาคงเดิม....ขอรับ

    ...อันกงกรรมนำก่อเกื้อ....กันมา
    จวบจนค่อนชีวา.............ถึงได้
    พอนับหนึ่งศึกษา............หนัืงสือ ไตรปิฎก
    ศาสดาท่านว่าไว้.............แน่แท้ แก่นธรรม

    กงกรรมคือกงเกวียน............อันนำเวียนก่อเกื้อมา
    ข้าเองค่อนชีวา....................จึงได้มายืนหยัดตน
    นับเริ่มหนึ่งศึกษา...............เริ่มวิชาไตรปิฎกผล
    ตามที่พระทศพล..............พระศาสดาท่านตรัสธรรม.

    .......

    ขอเิอาคำที่อ้าง...............นำไป
    ก็เพื่อทำใ้ห้จิตใจ.............ผ่องแผ้ว
    กุศลที่ทำใน...................ทุกที่ ทั้งหมด
    ขอช่วยนำส่งแล้ว............หลุดพ้น ห้วงกรรม

    ขอท่านได้นำเอา..........คำอ้างเราที่กล่าวไป
    ชูช่วยทำจิตใจ............ให้ผ่องแผ้วสถาพร
    ขอกุศลในทุกที่................ที่ข้าฯทำในกาลก่อน
    ช่วยท่านให้ผันผ่อน.......หลุดบ่วงร้อนห้วงแห่งกรรม.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2013
  3. ก เกียรติ

    ก เกียรติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +1,001


    ชั่งแต่งได้กลมกลืนยื่งนัก เลื่อมใส เลื่อมใส
     
  4. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271


    ที่แต่งได้กลมกลืน.......ด้วยท่านยืนอยู่ข้างธรรม
    ยกเป็นกระแสนำ........ด้วยท่านค้ำคูณผองชน
    ชมชื่นไม่ลืมดอก.......อาจารย์บอกไม่ลืมผล
    ดูลมหายใจปน........ด้วยท่านสั่งเดี๋ยว..ตกตาล...จ้า
     
  5. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    ท่าน ก.เกียรติขอรับ...ยังจำได้ไหม..


    เคยบอกกับท่านก่อน...ว่ากลอนเรานั้นเดินหน
    ตะลุมบอนสาระวน........ถูกว่าล้นกวนพารา
    มองออกมาก็แต่งได้.....ไม่ต้องใช้ซึ่งเวลา
    เมื่อได้ข้อมูลมา..........ก็ลุยท้าประจันบาน
    เคยบอกที่ชำนาญ........และเชี่ยวชาญกาพย์สังหาร
    ยานีสิบเอ็ดสำเร็จงาน.....ประกอบการสวัสดี.....จ้า

    ...
    ..ดูลมอยู่..ขอรับท่านอาจารย์..ข้าน้อยดีขึ้นแล้ว..กราบขอบพระคุณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2013
  6. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    ถ้าเราจะทำบุญกุศลที่วัดใดนั้น จะใช้การตัดสินพระวินัยของสงฆ์ ๑๐ ข้อ เป็นข้อมาตราฐานวัดเสมอ ว่าสมควรที่จะทำทักษิณาทาน ซึ่งจะได้อานิสงฆ์ สูงสุด
    วัตถุทาน ๔ หรือ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหารบิณฑบาตร ยารักษาโรค และ
    เสนาสนะที่อยู่อาศัย มิไช่เงินและทอง
    ส่วน วัตถุทาน ๑๐ อย่างนั้น ลองไปค้นหาอ่านดู สิ่งที่จะถวายพระสงฆ์
    ได้นั้นมี ปัจจัย ๔ กับวัตถุทาน ๑๐ อย่าง ตามพระธรรมวินัย นอกเหนือจากนั้น
    ถ้าเราถวายแด่พระสงฆ์ ก็จะเป็นการ ไม่เอื้อเฟื้อต่อ พระธรรมวินัย ขององค์พระสัมมา
    สัมพระพุทธเจ้า ของเรา นอกจากไม่ได้บุญแล้วยังได้แต่บาป ทั้งผู้ให้ และผู้รับ เรียกว่า
    ช่วยกันแบ่งบาปทั้งคู่ ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04720.JPG
      DSC04720.JPG
      ขนาดไฟล์:
      547.5 KB
      เปิดดู:
      46
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2013
  7. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    ทั้งๆที่ทุกคนรู้จักการรับ และการให้มาตั้งแต่เด็กๆ เพราะต่างก็เคยรับและเคยให้กันมาแล้ว การรับนั้นไม่ยาก ขอให้รับด้วยความอ่อนน้อมเป็นพอ ส่วนการให้นั้นเชื่อว่าคงมีคนไม่มากนักที่จะให้ได้ถูกต้องให้เกิดประโยชน์ ทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับ เป็นการให้แบบสัตบุรุษ คือคนดีทั้งหลาย ตามที่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ ถ้าไม่ได้ศึกษาเรียนรู้มาก่อน น้อยคนนักที่จะประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง
    แม้แต่ทรัพย์ที่เราขวนขวายแสวงหามา เราก็ยังไม่ทราบว่าจะใช้ทรัพย์นั้นไปในทางใดจึงจะเกิดประโยชน์ ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงแสดง เรื่องการใช้ทรัพย์ ไว้ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาทิยสูตรที่ ๑
    (ข้อ ๔) ๕ ประการ คือ
    ๑. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยสุจริตชอบธรรม บำรุงเลี้ยงตนเอง บิดา มารดา บุตร ภรรยาและบ่าวไพร่ให้มีความสุข ไม่อดยาก
    ๒. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยสุจริตชอบธรรม เลี้ยงดูมิตรสหายให้อิ่มหนำสำราญ
    ๓. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยสุจริตชอบธรรม ป้องกันอันตรายอันเกิดจากไฟ จากน้ำ พระราชา โจร หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก เพื่อให้ตนปลอดภัยจากอันตรายนั้นๆ
    ๔. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยชอบธรรม ทำพลี คือบูชา หรือบำรุงในที่ ๕ สถาน คือ ญาติพลี บำรุงญาติ อติถิพลี ต้อนรับแขก ปุพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ราชพลี บำรุงราชการมีการเสียภาษีอากรเป็นต้น และเทวตาพลี ทำบุญแล้วอุทิศให้แก่เทวดา เพราะว่าเทวดาย่อมคุ้มครองรักษาผู้นั้นด้วยคิดว่า
    "คนเหล่านี้แม้ไม่ได้เป็นญาติของเราเขาก็ยังมีน้ำใจให้ส่วนบุญแก่เรา เราควรอนุเคราะห์เขาตามสมควร"
    ๕. ใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยชอบธรรม บำเพ็ญทักษิณาทานที่มีผลเลิศ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ไว้ในสมณะพราหมณ์ผู้เว้นจากความประมาท มัวเมา ตั้งอยู่ในขันติโสรัจจะเป็นผู้หมั่นฝึกฝนตนให้สงบระงับจากกิเลส ในข้อ ๕ นี้ตรัสสอนให้ใช้ทรัพย์ที่หามาได้ให้ทานแก่ผู้มีศีล ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเพื่อความหมดจดจากกิเลส ผู้เป็นทักขิเณยยบุคคล เพราะทานที่ให้แก่ผู้มีศีลมีผลมาก ทำให้เกิดในสวรรค์ ได้รับความสุขอันเป็นทิพย์ นอกจากนั้นผู้ถวายยังอาจบรรลุคุณวิเศษ เพราะธรรมที่ท่านผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเหล่านั้นยกมาแสดงให้ฟังได้อีกด้วย ผู้มีปัญญาย่อมไม่เสียดายทรัพย์ที่หมดเปลืองไปเพราะเหตุเหล่านี้ เพราะว่าท่านได้ใช้ทรัพย์นั้นถูกทางแล้วเกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นแล้ว โดยเฉพาะทรัพย์คือบุญที่ท่านถวายไว้ในผู้มีศีลเหล่านั้น ยังสามารถติดตามตนไปในโลกหน้าได้อีกด้วย ควรหรือไม่ที่เราจะใช้ทรัพย์ให้ถูกต้องตามที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ และควรหรือไม่ที่เราจะใช้ทรัพย์นั้นจำแนกแจกทาน
    ด้วยเหตุนี้ จึงควรที่จะรับรู้เรื่องของทาน ตลอดจนการให้ทานที่ถูกต้องไว้บ้าง เพื่อทานของเราจะ ได้เป็นทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    คำว่า ทาน ที่แปลว่า การให้ นั้น จัดเป็นบุญเป็นกุศล เป็นความดีอย่างหนึ่ง หมายถึง เจตนาที่ เป็นเหตุให้เกิดการให้ก็ได้ หมายถึงวัตถุ คือสิ่งของที่ให้ก็ได้ ทานจึงมีความหมายที่เป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรม ถ้าหมายถึงเจตนาที่ให้ก็เป็นนามธรรม ถ้าหมายถึงวัตถุที่ให้ก็เป็นรูปธรรม ในที่นี้จะขอกล่าวถึงทานในความหมายทั้งสองอย่างนี้รวมๆกันไป
    เจตนาที่เป็นเหตุให้เกิดการให้ทานนั้น แบ่งตามกาลเวลาได้ ๓ กาล คือ ปุพเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นก่อน คือเมื่อนึกจะให้ ก็แสวงหาตระเตรียมสิ่งที่จะให้นั้นให้พร้อม มุญจเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะกำลังให้ของเหล่านั้น อปรเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นหลังจากได้ให้เรียบร้อยแล้ว แล้วเกิดความปีติยินดีในการให้ของตน
    บุคคลใดที่ทำบุญหรือให้ทานด้วยจิตใจที่โสมนัสยินดี ทั้งประกอบด้วยปัญญา เชื่อกรรมและผลของกรรม ครบทั้ง ๓ กาลแล้ว บุญของผู้นั้นย่อมมีผลมาก
    เจตนาทั้ง ๓ กาลนี้ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องดับไปเช่นเดียวกับสังขารธรรมอื่นๆ และเมื่อดับไปแล้วสามารถจะส่งผลนำเกิดในสุคติภูมิเป็นมนุษย์และเทวดาได้ ใน พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน แสดงความบุพกรรม คือกรรมในชาติก่อนๆ ของผู้ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่เกี่ยวกับทานไว้มากมาย ตัวอย่าง
    เช่น พระอรหันต์รูปหนึ่งในอดีตชาติได้ถวายผลมะกอกผลหนึ่งแก่พระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ในป่าใหญ่ รูปหนึ่ง เคยถวายดอกบุนนาค รูปหนึ่งเคยถวายขนม รูปหนึ่งเคยถวายรองเท้า เป็นต้น นับแต่นั้นมาท่านเหล่านั้นไม่เคยเกิดในทุคติภูมิเลย เกิดอยู่แต่ในสุคติภูมิ เป็นมนุษย์และเทวดาเท่านั้น ตราบจนในชาติสุดท้ายได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    วัตถุทาน คือสิ่งของที่ให้นั้นก็มีหลายอย่าง กล่าวกว้างๆ ก็ได้แก่ปัจจัย ๔ คือ จีวร ซึ่งรวมทั้งเครื่องนุ่งห่มด้วย บิณฑบาต ซึ่งรวมทั้งอาหารเครื่องบริโภคทุกอย่าง เสนาสนะ ที่อยู่อาศัย คิลานเภสัช คือยารักษาโรค
    ในโภชนทานสูตร อัง. ปัญจก. ข้อ ๓๗ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ทายกผู้ให้โภชนะเป็นทาน ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ อย่าง แก่ปฏิคาหก คือ ผู้รับ ๕ อย่าง คือ ๑. ให้อายุ ๒. ให้วรรณะ คือผิวพรรณ ๓. ให้ความสุข คือ สุขกาย สุขใจ ๔. ให้กำลัง คือความแข็งแรงของร่างกาย ๕. ให้ปฏิภาณ คือฉลาดในการตั้งปัญหาและตอบปัญหา
    ถ้าจะพูดให้ละเอียดขึ้นไปอีก พระพุทธองค์ก็ทรงจำแนกวัตถุทานไว้ ๑๐ อย่างคือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน (พาหนะ) ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่อยู่ ที่อาศัย และประทีปดวงไฟ
    ใน กินททสูตร สัง. สคาถ. ข้อ ๑๓๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
    การให้ข้าวและน้ำ ชื่อว่า ให้กำลัง
    การให้ผ้า เครื่องนุ่งห่ม ชื่อว่า ให้ผิวพรรณ
    การให้ยานพาหนะ ชื่อว่า ให้ความสุขทั้งกายและใจ
    การให้ประทีบดวงไฟ ชื่อว่าให้ดวงตา
    การให้ที่อยู่อาศัย ชื่อว่า ให้ทุกอย่าง คือให้กำลัง ให้ผิวพรรณ ให้ความสุข และให้ดวงตา
    แต่การพร่ำสอนธรรม คือการให้ธรรมะ ชื่อว่าให้สิ่งที่ไม่ตาย เพราะบุคคลจะพ้นจากความตายไม่ต้องเกิดอีกได้ ก็เพราะอาศัยการได้สดับตรับฟังธรรม ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงตรัสว่าการให้ธรรมะชนะการให้ (สิ่งอื่น) ทั้งปวง แม้การจะทำทานให้ถูกต้องก็ต้องอาศัยการฟังธรรม ใน วนโรปสูตร สัง สคาถ. ข้อ ๑๔๖ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบเทวดาที่มาทูลถามว่า ชนพวกไหนมีบุญเจริญในกาลทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนพวกไหนตั้งอยู่ในธรรมสมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์ ด้วยข้อความว่าชนเหล่าใดสร้างอาราม (คือสวนดอกไม้ สวนผลไม้) ปลูกหมู่ไม้ (เพื่อให้ร่มเงา) สร้างสะพาน
    และชนเหล่าใดให้โรงน้ำดื่มเป็นทาน บ่อน้ำ บ้านเป็นที่พักอาศัย ชนเหล่านั้นย่อมมีบุญเจริญในกาลทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์ ซึ่งมีความหมายว่า ชนเหล่าใดทำกุศลมีการสร้างอารามเป็นต้น เหล่านี้ เมื่อระลึกถึงการทำกุศลนั้นในกาลใด ในกาลนั้นบุญย่อมเจริญ คือเพิ่มขึ้น และเมื่อชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม คือกุศลธรรม ๑๐ มีการไม่ฆ่าสัตว์ เป็นต้น ย่อมเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ ละโลกนี้ไปแล้วย่อมเกิดในสวรรค์
    นอกจากนั้น เจตนาที่เป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นต้น พระพุทธองค์ก็ตรัสว่าเป็นมหาทาน เป็นทานที่ยิ่งใหญ่ดังที่ตรัสไว้ในปุญญาภิสันทสูตร อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๙ ว่า
    การงดเว้นจากปาณาติบาต คือการไม่ฆ่าสัตว์ทั้งด้วยตนเองและใช้ผู้อื่น เป็นการให้ความไม่มีเวร ไม่มีภัยแก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตสัตว์
    การงดเว้นจากอทินนาทาน คือการถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้ทั้งโดยตนเอง และใช้ผู้อื่น เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น
    การงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร คือการประพฤติผิดในบุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น ชื่อว่า ให้ความบริสุทธิ์แก่บุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น
    การงดเว้นจากมุสาวาท คือการกล่าวเท็จ กล่าวไม่จริงชื่อว่าให้ความจริงแก่ผู้อื่น
    การงดเว้นจากสุรา เมรัย และของมึนเมา เสพติด อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ชื่อว่าให้ความปลอดภัยแก่ทุกสิ่ง คือให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตสัตว์ แก่ทรัพย์สินของผู้อื่น แก่บุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น และให้แต่คำพูดที่เป็นจริงแก่ผู้อื่น ทั้งนี้เพราะผู้ที่มึนเมาแล้วย่อมขาดสติ เป็นผู้ประมาท สามารถจะประพฤติล่วงศีลได้ทุกข้อ รวมทั้งประพฤติผิดอื่นๆด้วย ด้วยเหตุนี้ผู้ที่อัตคัตขาดแคลนทรัพย์สิ่งของที่จะนำออกให้เป็นทานก็ไม่ควรเดือดร้อนใจ เพราะเราสามารถจะบำเพ็ญทานที่ยิ่งใหญ่เป็นมหาทาน เป็นทานที่ไม่เจาะจง เป็นทานที่แผ่ไปยังสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ด้วยการรักษาศีล ๕ ยิ่งถ้าสามารถจะทำได้ทั้งสองอย่างก็ยิ่งประเสริฐ
    ขอกล่าวถึง ทาน ที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า ทานของอสัตบุรุษและทานของสัตบุรุษ ตามที่แสดงไว้ใน อสัปปุริสสูตร และ สัปปุริสสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ดังต่อไปนี้
    ทานของอสัตบุรุษ คือทานของคนไม่ดี มีอยู่ ๕ อย่าง คือ ให้โดยไม่เคารพ ๑ ให้โดยไม่ยำเกรง ๑ ไม่ให้ด้วยมือของตนเอง ๑ ให้โดยทิ้งขว้าง ๑ ไม่เห็นผลในอนาคตแล้วให้ ๑
    ส่วน สัตบุรุษ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ๑ ให้โดยยำเกรง ๑ ให้ด้วยมือของตนเอง ๑ ให้โดยไม่ทิ้งขว้าง ๑ เห็นผลในอนาคตจึงให้ ๑
    อีกนัยหนึ่ง แสดงว่า ทานของสัตบุรุษ มี ๕ อย่าง คือให้ทานโดยศรัทธา ๑ ให้ทานโดยเคารพ ๑ ให้ทานตามกาลอันควร ๑ เป็นผู้มีจิตคิดอนุเคราะห์ให้ทาน ๑ ให้ทานโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ๑ ถ้าตรงข้ามกับ ๕ ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นทานของอสัตบุรุษ

    จากwww84000.org/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2013
  8. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    ใน ทักขิณาวิภังคสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำแนกอานิสงส์
    ของทานที่ให้โดยเจาะจงและไม่เจาะจงไว้ตามลำดับขั้น ถึง ๒๑ ประเภท คือ
    ๑. ให้ทานแก่ดิรัจฉาน มีอานิสงส์ร้อยชาติ คือ ให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ ถึง ๑๐๐ ชาติ
    ๒. ให้ทานแก่ปุถุชนทุศีล มีอานิสงส์พันชาติ
    ๓. ให้ทานแก่ปุถุชนผู้มีศีล มีอานิสงส์แสนชาติ
    ๔. ให้ทานแก่ปุถุชนผู้ปราศจากความยินดีในกาม นอกพุทธศาสนา อย่างพวกนักบวชหรือฤาษีที่ได้ฌานเป็นต้น แม้ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา ก็ยังมีอานิสงส์ถึงแสนโกฏิชาติ
    สี่ประเภทนี้เป็นปาฏิปุคคลิกทาน เป็นทานที่ให้โดยเจาะจง คือให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ และมีผลจำกัด ยังมีปาฏิปุคคลิกทานที่มีผลไม่จำกัด คือให้ผลนับประมาณชาติไม่ได้ มากน้อยตามลำดับขึ้นอีก ๑๐ ประเภท ดังต่อไปนี้
    ๑. ให้ทานแก่บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล
    ๒. ให้ทานแก่พระโสดาบันบุคคล คือผู้ที่บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว
    ๓. ให้ทานแก่บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล
    ๔. ให้ทานแก่พระสกทาคามีบุคคล
    ๕. ให้ทานแก่บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล
    ๖. ให้ทานแก่พระอนาคามีบุคคล
    ๗. ให้ทานแก่บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล
    ๘. ให้ทานแก่พระอรหันต์
    ๙. ให้ทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
    ๑๐. ให้ทานแก่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    รวมเป็นปาฏิปุคคลิกทาน คือทานที่ให้โดยเจาะจง ๑๔ ประเภท ใน ๑๔ ประเภทนี้ ประเภทที่ ๑ มีผลน้อยที่สุด ประเภทที่ ๑๔ มีผลมากที่สุด
    ทานที่ให้โดยไม่เจาะจงผู้ใดผู้หนึ่งที่เรียกว่า สังฆทาน มี ๗ อย่าง
    ๑. ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (คือภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
    ๒. ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานไปแล้ว
    ๓. ให้ทานในภิกษุสงฆ์
    ๔. ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์
    ๕. ให้ทานในบุคคลที่ขอมาจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย ด้วยคำว่าขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า
    ๖. ให้ทานในบุคคลที่ขอมาจากภิกษุสงฆ์ ด้วยคำว่าขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า
    ๗. ให้ทานในบุคคลที่ขอมาจากภิกษุณีสงฆ์ ด้วยคำว่าขอได้โปรดจัดภิกษุณีสงฆ์จำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า
    สังฆทานทั้ง ๗ อย่างนี้ ปัจจุบันเราทำได้เพียง ๒ อย่าง คือให้ทานในภิกษุสงฆ์ และให้ทานในบุคคลที่ขอมาจากภิกษุสงฆ์เท่านั้นเพราะพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว ภิกษุณีสงฆ์ก็สูญวงศ์แล้ว
    ขึ้นชื่อว่าสังฆทานย่อมมีผลมาก มากจนประมาณไม่ได้ว่าเท่านั้นเท่านี้ชาติ แม้ในอนาคตกาล จักมีแต่ โคตรภูภิกษุ มีผ้ากาสาวะพันที่คอ หรือผูกข้อมือ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก พระพุทธองค์ ก็ยังตรัสว่า คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้นก็มีผลนับประมาณไม่ได้ ปาฏิปุคคลิกทานจะมีผลมากกว่าสังฆทาน คือทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้โคตรภูสงฆ์ หาเป็นไปได้ไม่
    แต่ว่าสังฆทาน จะเป็นสังฆทานได้ก็ต่อเมื่อผู้ถวายมีความเคารพยำเกรงต่อสงฆ์เท่านั้น วางใจในสงฆ์เสมอเหมือนกันหมด ไม่ยินดีเมื่อได้พระหรือสามเณรที่ชอบใจ หรือไม่ยินร้ายเมื่อได้พระหรือสามเณรที่ไม่ชอบใจ หรือต้องการผู้แทนของสงฆ์ที่เป็นพระเถระ แต่ได้พระนวกะหรือสามเณรก็เสียใจ หรือได้พระเถระผู้ใหญ่ก็ดีใจอย่างนี้ ทานของผู้นั้นก็ไม่เป็นสังฆทานเพราะขาดความเคารพในสงฆ์ หรือผู้แทนที่สงฆ์ส่งไปในนามของสงฆ์ ด้วยเหตุนี้การถวายสังฆทานที่ถูกต้องจึงทำได้ไม่ง่ายนัก ในทางพระวินัย ภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป จึงเรียกว่า สงฆ์แต่การถวายไทยธรรมแก่ภิกษุแม้รูปเดียวที่สงฆ์จัดให้เป็นองค์แทนของสงฆ์ ก็จัดเป็นสังฆทานเหมือนกัน ดังมีเรื่องเล่าไว้ใน อรรถกถาปปัญจสูทนี ภาค ๓ (หน้า ๗๑๗) อรรถกถาทักขิณาวิภังคสูตร ว่า
    กุฎุมพี คือ เศรษฐีคนหนึ่งเป็นเจ้าของวัดวัดหนึ่ง ได้ไปขอภิกษุรูปหนึ่งมาจากสงฆ์ ด้วยคำว่า ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงให้ภิกษุรูปหนึ่งจากสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แม้เขาจะได้ภิกษุทุศีลรูปหนึ่งเขาก็ปฏิบัติต่อภิกษุรูปนั้นด้วยความเคารพนอบน้อม ตกแต่งเสนาสนะและเครื่องบูชาสักการะพร้อม ล้างเท้าให้ภิกษุนั้นเอาน้ำมันทาเท้าให้ แล้วถวายไทยธรรมด้วยความเคารพยำเกรงต่อสงฆ์เหมือนกับบุคคลเคารพยำเกรงต่อพระพุทธเจ้า ภิกษุรูปนั้นฉันภัตตาหารแล้วก็กลับวัด หลังจากนั้นได้กลับมาขอยืมจอบที่บ้านของกุฎุมพีนั้น
    อีกครั้งหนึ่ง คราวนี้กุฎุมพีเอาเท้าเขี่ยจอบให้ คนที่เห็นกิริยาของกุฎุมพีนั้นก็ถามว่า เมื่อเช้านี้ท่านถวายทานแก่ภิกษุรูปนี้ด้วยความเคารพนบนอบอย่างยิ่ง แต่บัดนี้แม้สักว่ากิริยาที่เคารพก็ไม่มี กุฎุมพีตอบว่า เมื่อเช้านี้เราเคารพยำเกรงต่อสงฆ์ เราหาได้เคารพยำเกรงต่อภิกษุรูปนี้เป็นส่วนตัวไม่



    จากwww84000.org
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2013
  9. โฟร์o

    โฟร์o Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +85
    ขอบคุณครับ ขอบคุณทุกท่านครับ จะหาเวลาโอกาศพูดคุยกับท่านครับ
     
  10. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    เพราะฉะนั้น เมื่อใครเขาทำบุญ หรือใครเขาชักชวนใครๆ ทำบุญ ถ้าทำด้วยสัมมาทิฐิแล้ว ก็อย่างได้ขัดขวางห้ามปรามเขาเพราะการกระทำเช่นนี้เป็นบาป เป็นการทำลายประโยชน์ของบุคคลทั้ง ๓ฝ่าย คือ ตนเองเกิดอกุศลจิตก่อน ๑ ทำลายลาภของผู้รับ ๑ ทำลายบุญของผู้ให้ ๑


    จากwww84000.org
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2013
  11. ก เกียรติ

    ก เกียรติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +1,001

    ทำบุญกับพระทุศีลโยมไปนรก

    ถ้าพระตกนรก 100 ปื โยม ตกนรก 2ปื
     
  12. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271


    อะ..จึ๊ย..มาตราส่วนอะไรขอรับ...ช่วยอรรถาธิบาย..ชักกะติ๊ด...
     
  13. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    วัตถุ หมายถึงของที่ให้ บางทีเรียกเต็มศัพท์ว่า ทานวัตถุ แปลว่า ของสำหรับทาน ในบาลีแสดงทานวัตถุไว้ ๑๐ อย่าง คือ :

    ๑. อนฺนํ ข้าว หมายถึงอาหาร

    ๒. ปานํ น้ำดื่ม เช่น น้ำหวาน บ่อน้ำ ถังน้ำ

    ๓. วตฺถํ ผ้า เช่น ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว

    ๔. ยานํ ยานพาหนะ เครื่องอุปกรณ์การไป เช่น ร่ม รองเท้า ถนน สะพาน

    ๕. มาลา ดอกไม้ ต้นไม้ดอก ต้นไม้ใบ

    ๖. คนฺธํ ของหอม เครื่องกำจัดกลิ่นชั่ว

    ๗. วิเลปนํ เครื่องตบแต่ง เช่น ธงทิวและเครื่องย้อมเครื่องทา

    ๘. เสยฺยา ที่นอน ที่อยู่ เช่น เสื่อ หมอน มุ้ง

    ๙. วสถํ ที่พัก เครื่องรับรอง ศาลา ม้านั่ง

    ๑๐. ปทีเปยฺยํ ประทีป ธูป เครื่องแสงสว่าง

    ทานวัตถุ ๑๐ อย่างนี้ เป็นเกณฑ์พิจารณาในขั้นแรกว่าของที่ควรให้ มีสิ่งใดบ้าง


    ที่มา:ทานวัตถุ
     
  14. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    แค่เรื่องพื้นฐานขั้นต้น ยังเข้าใจไปอย่างนั้นอีกเนาะ

    เรื่องนี้สำคัญที่ใจต่างหาก เป็นอุปมาอุปไมย หากเคยอ่านเรื่องราว เกี่ยวกับ โยคี กับหญิงโสเภณี

    แต่หากจะให้ชัดขึ้นมา ก็ต้องพิจารณา เสือผู้มีความหิวกระหาย
    มีมโนกรรมผิดศีล คิดจะกินลูก หรือเหยี่ยวที่กำลังโฉบบินหมายจะกินนกพิราบเป็นเหยื่อ
    พระโพธิสัตว์จึงสละชีวิต และเลือดเนื้อให้เป็นทาน ให้อิ่มหนำ

    เอ้อ...ก็แสดงว่า "โยคี เสือ และเหยี่ยว" เหล่านี้ ในขณะนั้นไม่ได้มีศีลอะไรเลย
    เพราะมีมโนกรรมไปทางล่วงละเมิด และเบียดเบียน

    แต่ทำไมหญิงโสเภณี จิตใจจึงเป็นธรรมขึ้นมาได้ อีกทั้งเป็นบารมีกับพระโพธิสัตว์

    เรื่องนี้มันจึงสำคัญที่ใจ ไม่ได้มีเจตนาสนับสนุนให้ใครทำความชั่ว
    อันเป็น "สะจิตตะปะริโยะทะปะนัง" ในระดับของคนๆนั้น ต่างหาก

    แต่สำคัญอย่างไรนั้น ก็ต้องทำใจให้เป็น "จิตเต อะสัง กิลิฏฺเฐ สุคะติ ปาฏิกังขา"
    แล้วลองอ่านนิทานพิจารณาตาม

    สำคัญที่ใจ

    เมตตาบารมีของพระโพธิสัตว์


    ลองพิจารณาดู ควรที่จะ ว.52 ในความเข้าใจผิด

    ว.2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2013
  15. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271


    สาธุ สาธุ สาธุกระจ่างแล้ว.......ท่านคือแก้วคอยส่องทาง
    แม้เพียงจุดลางลาง..............ของลูกศิษย์ผิดทางไป
    ท่านรีบมาเข้าช่วย...............ไม่ให้ม้วยไม่สงสัย
    ศิษย์ห่างอาจารย์ไกล............คงตกหลุมโดนทุ่มแบน...ขอรับ
     
  16. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271

    จิตเต สังกิลิฎเฐ ทุกคติ ปำฎิกังขา “ก่อนจะตายถ้าจิตเศร้าหมองก็ไปสู่อบายภูมิได้

    จิตเต อสังกิลิฎเฐ สุคติปาฏิกังขา “ก่อนจะตายถ้ามีอารมณ์ใจผ่องใสก็ไปสู่สวรรค์ได้
    เป็นหัวใจสำคัญในทางพระพุทธศาสนาทีเดียว องค์สมเด็จพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องการทำจิตเป็นสำคัญ การละชั่ว ให้ทำแต่ความดีก็เพื่อการทำใจให้ผ่องใสเป็นสุขนั่นเอง จิตเต สังกิลิฏเฐ หมายถึงจิตที่ประกอบไปด้วยกิเลส ไม่ว่าจะเป็นด้วยความโลภอยากได้ของๆ ผู้อื่น ความโกรธ ขุ่นแค้น อาฆาต หรือความหลงไม่รู้ผิด ถูก ดี ชั่ว ล้วนก่อให้ใจเศร้าหมองทั้งสิ้น ท่านจึงแปลคำว่ากิเลสว่าความเศร้าหมอง

    จิตเต สังกิลิฎเฐ ทุกคติ ปาฏิกังขา พระท่านได้ให้ความหมายว่าก่อนตายถ้าจิตเศร้าหมองหนทางที่จะไปก็คืออบายภูมิ อบายภูมิท่านสอนว่ามี ๔ ภูมิด้วยกัน คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน เป็นภูมิที่มีแต่ความทุกข์ จึงเรียกว่าทุคติภูมิ แต่ถ้าจิตไม่ประกอบไปด้วยกิเลส คือจิตเต อสังกิลิฎเฐ สุขคติ ปาฏิกังขา เมื่อจิตที่เศร้าหมองเพราะถูกกิเลสครอบงำก่อให้เกิดทุกข์ จิตที่ปราศจากกิเลสเป็นจิตที่สะอาด ไม่รกรุงรัง ย่อมเป็นจิตที่มีความผ่องใส ความทุกข์จึงครอบงำไม่ได้ หนทางที่ไปย่อมมีความสุข คือสุคติ ปาฏิกังขา คือไม่ต้องสงสัยหรอกทางไปของเขามีความสุขแน่นอน

    ในทางพุทธศาสนาองค์สมเด็จพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปิดเผยให้เห็นภพภูมิที่ซ่อนอยู่ เป็นภพภูมิที่อยู่นอกเหนือสภาวะธรรมดาจะสามารถสัมผัสได้ ถึง ๓๑ ภูมิ เป็นกามภูมิ ๑๑ ภูมิ เป็นรูปภูมิ คือภูมิของพรหมที่มีรูป ๑๖ ภูมิ และอรูปภูมิ คือพรหมที่ไม่มีรูป ๔ ภูมิ ทั้ง ๓๑ ภูมิ ภูมิที่เป็นทุกข์ล้วนๆ อยู่ ๔ ภูมิเท่านั้น คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน นอกนั้นถือว่าเป็นภูมิที่อยู่ในส่วนของสุคติภูมิ ยกเว้นภูมิมนุษย์เท่านั้นที่ถือว่าเป็นภพกลางๆ มีทั้งดี มีทั้งชั่ว และสามารถเลือกจะเป็นหรือจะทำได้ทั้งดีและชั่ว พร้อมกับรับผลทั้งบุญและบาป ขณะไหนที่ผลของบาปเข้ามาให้ผลขณะนั้นก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ขณะไหนที่ผลของกรรมดีหรือบุญเข้ามาให้ผลก็มีความสุข

    จิตเต สังกิลิฎเฐ ทุคติ ปฎิกังขา แปลว่า จิตที่ถูกกิเลสครอบงำอยู่แน่นอนว่าคือไม่ต้องสงสัยสุดท้ายจิตนั้นย่อมมีทุคติเป็นที่ไป และจิตเต อสังกิลิฎเฐ สุคติ ปาฏิกังขา คือจิตที่ไม่ถูกกิเลสครอบงำย่อมมีสุคติเป็นที่ไปแน่นอน ธรรมบทนี้ท่านหมายเอานาทีสุดท้ายของชีวิตคือนาทีแห่งความตายที่จะมาถึงนั่นเอง ในนาทีนั้นสำหรับผู้ที่ไม่เคยเข้ามาเรียนรู้ในเรื่องของจิตตามหลักพุทธศาสนาแล้วความตายเป็นสิ่งที่น่ากลัว ไม่อยากให้เป็น ไม่อยากจะรับรู้ ทั้งของตนเองและคนที่ใกล้ชิด ทรงเรียกว่าเป็นความหลงผิดและเห็นผิด เพราะในความเป็นจริงทุกคนต้องตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่มีใครที่เกิดมาแล้วไม่ตาย ท่านว่าคนเราเกิดมาเท่าไรตายเท่านั้น นี่เป็นหลักของความเป็นจริงเรียกว่าสัจธรรม แม้พระพุทธเจ้าไม่สอนความเป็นจริงอันนี้ต่างก็เห็นกันอยู่ และพยามยามจะหนีกันจนสุดความสามารถ เราจึงเห็นคนใกล้ตายมักจะมีอาการดิ้นรนไขว่คว้าเพื่อจะมีชีวิตรอด นี่เป็นอาการของการรักชีวิตไม่อยากตาย ที่เป็นอย่างนี้เพราะความไม่รู้ ไม่รู้ว่าตายแล้วจะยังมีอยู่หรือสูญสิ้นเป็นดินเป็นหญ้าไป นี่สำหรับพวกที่ไม่เชื่อเรื่องบุญ เรื่องบาปเชื่อว่าตายแล้วหมดกัน แต่สำหรับผู้ที่เชื่อว่าตายแล้วไม่สูญก็จะกลัวว่าตายแล้วจะไปสู่ที่ไม่ดี กลัวตายจากคนรัก จากทรัพย์สมบัติ ทุกอย่างดูเป็นเรื่องน่า กลัวไปหมด ทรงสอนว่าเป็นเพราะความไม่รู้ปิดบังชาติภพ คนเราจึงกลัว ความกลัวก็เป็นความเศร้าหมองของจิตเหมือนกัน ในอาการที่จิตจะออกจากร่างนั้นแน่นอนว่าไม่ใช่แค่ความกลัวอย่างเดียว แต่ทุกขเวทนาของร่างกายที่ได้รับอยู่ก็เป็นตัวที่ทำให้จิตไม่ผ่องใสไปด้วย แม้ผู้ศึกษาทางจิตมาแล้วด้วยดีแต่หากการฝึกปฏิบัติยังไม่ถึงขั้นเมื่อเวทนาทางกายครอบงำอยู่ก็ยากจะทำใจให้เป็นปกติอยู่ได้ เหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิตทั้งสิ้น พระคุณเจ้าหลวงพ่อฤษีที่คนทั่วไปเรียกท่านว่าหลวงพ่อฤาษีลิงดำนั้น ท่านเล่าว่า เมื่อคนเราจะตายในนาทีนั้นจิตจะเข้าภวังค์ ในภวังค์นั้นจิตจะฉายภาพการกระทำต่างๆ ของตัวเอง เป็นเรื่องๆไป ธรรมดาคนเราย่อมมีทั้งความดีและความร้าย เรียกว่าทำทั้งบุญและบาปมาแล้วทั้งสิ้น ดังนั้นจึงไม่แน่ว่าจิตจะหลุดออกจากร่างไปในจังหวะใด ถ้าเป็นเรื่องความดีมีกุศลก็เข้าถึงโลกสวรรค์ แต่ถ้าเรื่องนั้นเป็นความชั่วเป็นอกุศลละก้อต่อให้ทำบุญไว้มากหลายก็ยากจะหนีอบายภูมิได้ ท่านจึงสอนให้หมั่นทำความดีไว้ให้มากๆ เพื่อว่าแต่ละเรื่องที่ฉายภาพเข้ามานั้นจะได้เป็นแต่เรื่องที่ดี ไม่ว่าจะเรื่องไหนใจก็ไม่เศร้าหมองให้เป็นเหตุของทุกคติภูมิเป็นที่ไป

    เคยได้ยินผู้ศึกษาธรรมหลายท่านกล่าวว่าไม่เป็นไรเมื่อจะตายเมื่อไร ในนาทีสุดท้ายจะตั้งใจไว้ให้นึกถึงแต่เรื่องดีๆ ต้องขอบอกว่าถ้าคิดได้แค่นั้นก็ขอแสดงความเสียใจด้วย เพราะในนาทีนั้นไม่มีใครสามารถบังคับภวังคจิตของตัวได้ นอกจากผู้ฝึกหัดปฏิบัติจิตจนเข้มแข็งเข้าถึงฌานได้แล้วเท่านั้นจึงจะสามารถผ่านภวังคจิตได้ คำว่าภวังคจิตหรือจิตเข้าภวังค์นั้นคือภาวะหนึ่งของจิต ท่านกล่าวว่าคนเรานั้นถ้าเข้าไม่ถึงภวังค์ก็หลับไม่ได้ และถ้าไม่ถึงภวังค์ก็ตายไม่ได้เหมือนกัน หมายความว่าคนเราจะหลับหรือตายไม่ได้ถ้าจิตยังไม่เข้าภวังค์ แล้วภวังค์คืออะไร ภวังค์คือภาวะพักของจิตมีอาการเคลิ้มไหลไปในความรู้สึกที่เลื่อนลอย จับเค้าความอะไรไม่ได้ โดดจากเรื่องนั้นไปเรื่องนี้ จากเรื่องนี้ไปเรื่องโน้น ไม่สามารถบังคับจับต้องได้ ดังนั้นถ้าใครคิดว่าในนาทีสุดท้ายของชีวิตจะบังคับจิตตัวเองได้ก็ถือว่าประมาทเกินไปแล้ว จึงทรงสอนว่า อัปปะมาเทนะ สัมปาเถถะ จึงยังความไม่ประมาทถึงพร้อมเถิด จิตเต สังกิลิฎิเฐ ทุกคติ ปาฎิกังขา หรือจิตเต อสังกิลิฎเฐ สุคติ ปาฏิกังขา ท่านเลือกได้ อยู่ที่พร้อมจะเข้ามาฝึกหัดปฏิบัติหรือไม่เท่านั้น


    :เชียงรายนิวส์



    โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่าง

    ๑.สัพพปาปัสสะ อกรณัง หมายถึง การงดเว้นจากทุจริต จากบาปกรรมทุกอย่าง ทั้งทายกาย วาจา ใจ พยายามลดละที่จะทำซ้ำ และป้องกันไม่ให้เกิดมีขึ้นในจิตสันดาน

    ๒.กุสลัสสูปสัมปทา หมายถึง การทำสุจริต เป็นการทำความดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ ให้มีในตนอยู่เสมอ ตั้งใจทำความดีใหม่เพิ่มขึ้น และรักษาความดีเดิมที่มีอยู่

    .สจิตตปริโยทปนัง หมายถึง การทำใจให้หมดจด ให้ปลอดจากกิเลส ที่ทำให้เศร้าหมอง มีโลก โกรธ หลง เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2013
  17. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    [​IMG]บดี _/\_
     
  18. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ใจเป็นผู้ครองร่างและครองโลก

    ความหนักที่สุดก็คือ “ใจ” ความเบาที่สุดก็คือ “ใจ” ความหยาบที่สุดก็คือ“ใจ”ความละเอียดหรืออัศจรรย์อย่างยิ่งก็คือ “ใจ” อยู่ที่ใจนี้ทั้งนั้น!

    โลกจะมีความสงบร่มเย็น หรือเกิดความเดือดร้อนวุ่นวายมากน้อย ก็ขึ้นอยู่กับใจ เพราะ ใจเป็นผู้ครองร่างและครองโลก ใจจึงควรได้รับการอบรมศึกษาไปตามเหตุตามผลซึ่งเป็นแนวทางที่ชอบ เพื่อจะได้ผู้นำที่ดี แสดงออกเป็นกิจการงานที่ชอบธรรม

    การแสดงออกทุกอาการ เมื่อใจได้รับการอบรมโดยเหตุผลอันเป็นแนวทางที่ดีที่เรียกว่า “ธรรม” แล้ว กิจการงานตลอดความประพฤติย่อมเป็นไปด้วยความราบรื่นดีงาม ไม่แสลงตาแทงใจระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่ว่าส่วนย่อยส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับใจเป็นสำคัญ ใจนี้จะว่าหนักก็หนักจนเจ้าของยกไม่ขึ้น ถ้ายกขึ้นสู่ความดีงามได้ดังท่านผู้ดีทั้งหลาย ก็ควรจะผ่านพ้นความทุกข์ความไม่ดีทั้งหลายไปได้แล้ว นี่ใครก็นอนจมอยู่ในกองทุกข์และความสกปรกโสมมเรื่อยมา ทำไมจึงไม่ยกใจของตนขึ้นให้พ้นไปเสีย ทั้งที่รู้อยู่ด้วยกันว่า ทุกข์อันเกิดจากเหตุชั่วนั้นเป็นของไม่ดี ก็เพราะมันยกไม่ขึ้นนั่นเอง ใจมันชอบอยู่ในทุกข์โดยไม่รู้สึกตัว



    เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด
    เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๙
    สู้แค่ตาย -หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน


    ใจเป็นผู้ครองร่างและครองโลก

    [​IMG]
     
  19. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154

    <IMG src='http://palungjit.org/attachments/a.2289376/' width=550>

    <IMG src='http://palungjit.org/attachments/a.819274/' width=550>

    <IMG src='http://palungjit.org/attachments/a.819269/' width=550>

    เครดิตสมาชิก J.Sayamol
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2013
  20. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ผู้ชี้ทางสว่าง

    ครูบาอาจารย์เฒ่าได้ติดตามสืบหาจนได้พบหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ขณะนั้นท่านพำนักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ซึ่งแต่ก่อนเป็นป่าที่เหมาะในการภาวนามาก จึงได้ไปกราบท่านขอพักอยู่กับท่าน ๓-๔ วันเพื่อขอรับฟังโอวาทจากท่าน หลวงปู่มั่นได้เมตตาให้อุบายในการปฏิบัติ และไล่ให้ไปปฏิบัติเอง ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ได้กราบลาหลวงปู่มั่น ออกปฏิบัติตามคำแนะนำตามลำพัง ยิ่งปฏิบัติไปในความรู้สึกมีแต่ความหนักไปหมด นั่งก็หนัก ยืนก็หนัก นอนก็หนัก แก้ไม่ตก จึงคิดถึงหลวงปู่มั่นขึ้นมาและกลับไปกราบท่านอีกครั้งหนึ่ง เมื่อไปกราบหลวงปู่มั่น ท่านก็ถามว่า

    "เป็นจั่งได๋การปฏิบัติ"

    ครูบาอาจารย์เฒ่าบอกว่า ไม่รู้จะเอาอะไรมาบอกกับหลวงปู่มั่น เพราะไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้น มีแต่หนักอย่างเดียว เดินก็หนัก นอนก็หนัก นั่งก็หนัก

    หลวงปู่มั่นพูดเป็นเชิงดุว่า

    "การปฏิบัติอยากแต่ให้มันสงบ เอาแต่ตัณหาเข้าไปทำ มันจะเห็นอะไร"

    แล้วหลวงปู่มั่นท่านได้ไล่ให้ไปปฏิบัติอีก

    ด้วยวิสัยที่ดุดัน เอาจริงเอาจังเป็นทุนอยู่แล้ว เมื่อท่านได้ยินหลวงปู่มั่นท่านดุ เหมือนกับว่า ท่านให้กำลังใจ จึงได้สะพายบาตรแบกกลดมุ่งหน้าสู่ป่าหนาดงทึบ คราวนี้เอาจริงยิ่งกว่าเดิม ทั้งเดินจงกรมนั่งสมาธิทั้งคืนทั้งวัน ให้เวลาในการพักผ่อนน้อย ฉันก็ลดน้อยลง จนมีอยู่วันหนึ่งขณะเดินจงกรมอยู่อาการที่ว่า "หนัก" ไม่รู้หายไปไหน กลับมีแต่ความเบากายเบาใจ เดินไปทางไหนเหมือนกับจะปลิวไป ไม่สามารถจะเล่าให้ใครฟังถูก ปฏิบัติติดต่ออยู่นาน อาการเบานั่นก็ยังเหมือนเดิม จึงคิดว่า

    "นี่หรือ ที่ครูบาอาจารย์มั่นบอกว่าอาการของจิตสงบ"

    และได้กลับไปหาหลวงปู่มั่นอีกครั้ง

    เมื่อกลับไปกราบหลวงปู่มั่นคราวนี้ ท่านไม่ดุเหมือนเมื่อก่อนและกราบเรียนท่านว่า "ขะน้อยเห็นแล้วจิตสงบ"

    "มันเป็นจังได๋ จิตสงบ" หลวงปู่มั่นถาม

    "จิตสงบนั้นมันเบากายเบาใจ ในอิริยาบถได๋มันกะเบา บอกบ่ถืก"

    ครูบาอาจารย์เฒ่าเล่าให้หลวงปู่มั่นฟังถึงอาการต่างๆ ที่ได้ประสบจากการทำความเพียรจนหมดสิ้น

    คราวนี้หลวงปู่มั่นท่านได้แนะนำแนวทางปฏิบัติต่อ โดยท่านให้พิจารณาขันธ์ ๕ ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาให้เห็นแล้วให้ย่อเข้ามา คือ กายกับใจ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นของไม่มีตัวตน แยกมันให้ออก

    หลังจากได้คำอธิบายจากหลวงปู่มั่นแล้ว ก็กราบลาท่านอีก ได้ออกปฏิบัติเอง แล้วก็ได้นำอุบายที่หลวงปู่มั่นให้ มาพิจารณากลับไปกลับมา อยู่เป็นเวลานานหลายเดือน จนก่อนเข้าพรรษาที่ ๓ ก็ปรากฏสภาวะทุกอย่างลงตัว เกิดปีติขึ้นในจิตใจ สว่างโร่ทั้งกลางวันกลางคืน เห็นทุกสิ่งทุกอย่างไม่แตกต่างกันอย่างไร โลกทั้งโลกไม่สงสัยอะไร คิดอยู่ในใจว่า ถ้าจะมีปัญหาร้อยแปดพันปัญหา ก็ไม่สงสัย อาการของจิตใจในขณะนั้นนิ่งมาก ไม่มีอะไรทำให้หวั่นไหวได้อีกต่อไป ยิ่งในอาการดังกล่าวยากที่จะบรรยายถ่ายทอดให้คนอื่นรู้ได้ นอกจากตัวเอง ที่เรียกว่า "ปัจจัตตัง"

    ท่านได้ธุดงค์ไปรูปเดียว ไปตามป่าบ้าง ภูเขาบ้าง ไปถ้ำใดเข้าได้หมด ด้วยความอาจหาญ ไม่คิดกลัวสัตว์ร้าย หรือสิ่งต่างๆ จะมาทางไหนก็ไม่กลัว จะบอกว่าทั้งความกลัวและความสงสัยต่างๆ ไม่เป็นเรื่องหนักใจอีกต่อไปก็ไม่ผิด

    ลูกศิษย์รูปหนึ่งเคยได้ยินครูบาอาจารย์เฒ่าพูดอยู่เสมอว่า

    "คำสอนถึงจะมีมากมายสักเพียงไร ก็ไม่เท่าการปฏิบัติให้เห็นเอง"

    จึงได้ถามครูบาอาจารย์เฒ่าไปว่า

    "ที่ว่าคำสอนไม่เท่าการปฏิบัติ มันเป็นอย่างไร ครับ"

    ครูบาอาจารย์เฒ่าตอบว่า

    "การที่ฟังจากคนอื่นพูด เป็นได้แค่แนวทางเท่านั้น ผู้อื่นไม่สามารถบอกผลการปฏิบัติเป็นคำพูดได้ สิ่งที่เกิดนั้นมันจะเกิดขึ้นเอง หากมีการปฏิบัติด้วยการทำกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์ ศีล สมาธิ ปัญญา จึงจะเกิดเอง เรื่องอารมณ์เล็กๆ น้อยๆ อย่าข้าม ถ้าศีลบริสุทธิ์ สมาธิและปัญญาจะก้าวหน้า นั่งสมาธิบางทีก็มีคำถามและคำตอบขึ้นมาพร้อม ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ เข้าป่าเป็นพระกรรมฐานไม่ได้ ผีหักคอบ้าง เสือกินบ้าง พระที่ศีลไม่บริสุทธิ์ เสือกัดตาย ตามถ้ำตามเขาเห็นกระดูกกองถมไป"


    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ กนฺตสีโล

    จากหนังสือ "มณีรัตน์ อัญมณีแห่งไพรสณฑ์"
     

แชร์หน้านี้

Loading...