ถึงเวลาที่สยบข่าวภัยพิบัติ  ทางสายเอก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย คมสันต์usa, 14 ธันวาคม 2012.

  1. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    <iframe width="360" height="215" src="http://www.youtube.com/embed/6MA5qs03-qU" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    <iframe width="360" height="215" src="http://www.youtube.com/embed/SZ1T5_2Ev1U" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    <iframe width="360" height="215" src="http://www.youtube.com/embed/HJBR76tVilc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>​
     
  2. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    ทาน ศีล และภาวนา


    "แต่พระสูตรนี้จะเป็นการอธิบายถึงสิ่งที่จะได้รับจาก การทำทาน และการถือศีล เพียง 2 ประเภทแบบตั้งแต่


    นิดหน่อยจนถึงระดับ มีประมาณยิ่ง ว่าเป็นอย่างไร...(ไม่รวมถึงการภาวนา)


    ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
    [๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ
    บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน ๑ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล ๑บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานนิดหน่อย ทำบุญ
    กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลนิดหน่อย ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป
    เขาเข้าถึงความเป็นผู้มีส่วนชั่วในมนุษย์ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานพอประมาณ
    ทำบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีลพอประมาณ ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตาย
    ไป เขาเข้าถึงความเป็นผู้มีส่วนดีในมนุษย์ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง
    ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อ
    ตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาราชทั้ง ๔
    ในชั้นนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก
    ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นจาตุมมหาราชโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์
    ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง
    ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อ
    ตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ
    ในชั้นดาวดึงส์นั้น กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จ
    ด้วยศีลเป็นอดิเรกย่อมก้าวล่วงพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯ
    โผฏฐัพพทิพย์ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง
    ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อ
    ตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสยามเทพบุตรใน
    ชั้นยามานั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็น
    อดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นยามาโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพทิพย์ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง
    ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อ
    ตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสันดุสิตเทพบุตร
    ในชั้นดุสิตนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็น
    อดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นดุสิตโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพทิพย์ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก
    ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตาย
    ไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสุนิมมิตเทพบุตร
    ในชั้นนิมมานรดีนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล
    เป็นอดิเรกย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นนิมมานรดีโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯโผฏฐัพพ
    ทิพย์ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง
    ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อ
    ตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวปรนิม
    มิตวสวัตตีเทพบุตรในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำ
    บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีโดยฐานะ ๑๐
    ประการ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์
    กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้แล ฯ"

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    ข้อที่ ๑๒๗
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2013
  3. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

    "[88] บุญกิริยาวัตถุ 3 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำความดี, หลักการทำความดี, ทางทำความดี — bass of meritorious action; grounds for accomplishing merit)
    1. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ — meritorious action consisting in giving or generosity)
    2. สีลมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีมีระเบียบวินัย — meritorious action consisting in observing the precepts or moral behaviour)
    3. ภาวนามัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจ — meritorious action consisting in mental development)

    D.III.218;
    A.IV.239;
    It.51. ที.ปา. 11/228/230;
    องฺ.อฏฺฐก. 23/126/245;
    ขุ.อิติ. 25/238/270. "


    "[89] บุญกิริยาวัตถุ 10 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี — bases of meritorious action)
    1. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ — meritorious action consisting in generosity; merit acquired by giving)
    2. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี — by observing the precepts or moral behavior)
    3. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ — by mental development)
    4. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม — by humility or reverence)

    5. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ — by rendering services)

    6. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น — by sharing or giving out merit)
    7. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น — by rejoicing in others’ merit)
    8. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ — by listening to the Doctrine or right teaching)
    9. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ — by teaching the Doctrine or showing truth)
    10. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง — by straightening one’s views or forming correct views)

    ข้อ 4 และข้อ 5 จัดเข้าในสีลมัย; 6 และ 7 ในทานมัย; 8 และ 9 ในภาวนามัย; ข้อ 10 ได้ทั้งทาน ศีล และภาวนาD.A.III.999;
    Comp.146. ที.อ. 3/246;
    สังคหะ 29."
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2013
  4. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    พระคติธรรม
    พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าใจในกรรมนั้น ไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม เป็นทาสกรรม หรืออยู่ใต้อำนาจกรรม แต่สอนให้รู้จักกรรม ให้ควบคุมกรรมของตนในปัจจุบัน

    คนมีอำนาจเหนือกรรม อาจควบคุมกรรมของตนได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า จะต้องควบคุมจิตเจตนาของตนได้ด้วย โดยตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในธรรม เช่น เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น อันเป็นส่วนจิต และศีลอันหมายถึงตั้งเจตนาเว้นการที่ควรเว้น ทำการที่ควรทำให้ขอบเขตอันควร

    ทางพระพุทธศาสนา สอนให้ทุก ๆ คนพิจารณาหลักกรรมเนือง ๆ เพื่อเป็นผู้ไม่ประมาท พยายามละกรรมชั่ว ประกอบแต่กรรมดี การที่ยังปฏิบัติดังกล่าวไม่ได้ ก็เพราะยังประมาท มิได้พิจารณาในหลักกรรม และไม่เชื่อกรรม ไม่เชื่อในผลของกรรม ต่อเมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท และมีศรัทธาเชื่อดังกล่าว จึงจะละกรรมชั่ว ทำกรรมดีได้ตามสมควร

    สมเด็จพระญาณสังวร

    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     
  5. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    พรหมวิหาร ๔ ย่อมเป็นกำลังของฌาน เป็นอาหารของศีล เป็นอาหารของฌาน และเป็นอาหารของวิปัสสนาญาน ทั้งนี้ก็เพราะว่า พรหมวิหาร ๔ เป็นกรรมฐานเย็น คือ ต้นเหตุของพรหมวิหาร ๔ ก็คือ
    ๑. ความรัก เมื่อเรามีความรักที่ไหน ต่างคนต่างรักกัน ใจก็เย็น
    และข้อที่ ๒. พรหมวิหาร ๔ ที่เรียกกันว่า กรุณา มีความสงสาร ถ้าทุกคนต่างสงสารเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สงเคราะห์ซึ่งกันและกันก็เป็น อารมณ์เย็น ความเร่าร้อนมันก็ไม่มี
    ประการที่ ๓. มุทิตา พรหมวิหาร ๔ มีปัจจัยให้เกิดความไม่อิจฉาริษยาซึ่งกันและกัน มีการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน และก็มีใจดี คือ ยินดีในบุคคลอื่นได้ดี เมื่อเห็นใครเขาได้ดีแล้วเราก็ยินดีด้วย ดีใจด้วย พร้อมรับเอาความดีของผู้ที่ทรงความดีแล้วมาปฏิบัติเพื่อผลของความดีของตน อันนี้อีกประการหนึ่งเป็นปัจจัยให้มีความเยือกเย็น
    และก็ประการที่ ๔. พรหมวิหาร ๔ มีอุเบกขา คำว่าอุเบกขาในที่นี้แบ่งเป็นหลายชั้น แต่จะขอพูดสั้นๆ ไว้ก่อน นั่นก็คือ มีอาหารวางเฉยต่ออารมณ์ ที่เข้ามากระทบใจ หมายความว่า ใครเขาจะด่า เขาจะว่า เขาจะนินทา เราก็เฉย จิตสบาย ใครจะชม ใครจะสรรเสริญ เราก็เฉย ไม่รู้สึก คำว่าไม่รู้สึกลอยไป ตามถ้อยคำของบุคคลนั้น จิตใจมีความเป็นปกติไม่ขึ้นไม่ลง ไม่หวั่นไหว อย่างนี้มันเป็นอาหารของความสุข
    รวมคำว่าพรหมวิหาร ๔ นี้เป็นอารมณ์เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข นี่การบำเพ็ญบุญในพุทธศาสนา เราทำกันเพื่อความสุข คือ มีสุขทั้งที่มีชีวิตอยู่ ตายไปเกิดที่ไหนก็ตามมันก็มีความสุข ฉะนั้น พรหมวิหาร ๔ นี้จึงชื่อว่า เป็นอาหารใหญ่สำหรับใจในด้านของความดี
    คนที่มีพรหมวิหาร ๔ สมบูรณ์ย่อมมีศีลบริสุทธิ์
    คนที่มีพรหมวิหาร ๔ สมบูรณ์ย่อมมีฌานสมาบัติตั้งมั่น
    คนที่มีพรหมวิหาร ๔ สมบูรณ์เพราะอาศัยใจเยือกเย็น ปัญญาก็เกิด
    (ศูนย์พุทธศรัทธา)
     
  6. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู

    ค ว า ม ก ตั ญ ญู คื อ อ ะ ไ ร ?

    ความกตัญญู คือความรู้คุณ หมายถึงความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ผู้ใดก็ตามที่ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตามน้อยก็ตาม เช่น เลี้ยงดู สั่งสอน ให้ที่พัก ให้งานทำ ฯลฯ ย่อมระลึกถึงด้วยความซาบซึ้งอยู่เสมอ ไม่ลืมอุปการคุณนั้นเลย

    อีกนัยหนึ่ง ความกตัญญู หมายถึงความรู้บุญหรือรู้อุปการะของบุญ ที่ตนทำไว้แล้ว รู้ว่าที่ตนเองพ้นจากภัยอันตรายทั้งหลาย ได้ดีมีสุขอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะบุญทั้งหลายที่เคยทำไว้ในอดีตส่งผลให้ จึงไม่ลืมอุปการะของบุญนั้นเลย และตั้งใจสร้างสมบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

    รวมความแล้ว กตัญญูจึงหมายถึงการรู้จักบุญคุณ อะไรก็ตามที่เป็นบุญหรือมีคุณต่อตนแล้ว ก็ตามระลึกนึกถึงด้วยความซาบซึ้งไม่ลืมเลย คนมีกตัญญูถึงแม้จะนัยน์ตาบอดมืดทั้งสองข้าง แต่ใจของเขาใสกระจ่างยิ่งกว่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์รวมกันเสียอีก

    สิ่ ง ที่ ค ว ร ก ตั ญ ญู

    สิ่งที่ควรแก่ความกตัญญู คือทุกสิ่งที่มีคุณแก่เรา ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น ๕ ประการ ได้แก่

    ๑. กตัญญูต่อบุคคล คือใครก็ตามที่เคยมีพระคุณต่อเรา ไม่ว่าจะมาก น้อยเพียงไร จะต้องกตัญญูรู้คุณท่าน ติดตามระลึกถึงเสมอด้วยความซาบซึ้ง พยายามหาโอกาสตอบแทนคุณท่านให้ได้ โดยเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ บิดามารดา ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ พระมหากษัตริย์หรือผู้ปกครอง ที่ทรงทศพิธราชธรรม จะต้องตามระลึกนึกถึงพระคุณของท่านให้จงหนัก

    ให้ปฏิบัติตัวให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และเป็นพุทธมามกะสมชื่อ

    ๒. กตัญญูต่อสัตว์ คือสัตว์ที่มีคุณต่อเรา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ที่ใช้งาน จะต้องใช้ด้วยความกรุณาปรานี ไม่เฆี่ยนตีมันจนเหลือเกิน อย่าใช้งานหนักจนเป็นการทรมาน ขณะเดียวกันต้องเลี้ยงดูให้อาหารอย่าให้อดอยาก ให้ได้กินได้นอนได้พักผ่อนตามเวลา ตัวอย่างในเรื่องกตัญญูต่อสัตว์นี้มีอยู่ว่า

    ในสมัยก่อนพุทธกาล วันหนึ่งพระเจ้ากรุงราชคฤห์เสด็จประพาสอุทยาน และได้บรรทมหลับในอุทยานนั้น ขณะนั้นมีงูเห่าตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามาและกำลังจะฉกกัดพระองค์ เผอิญมีกระแตตัวหนึ่งเห็นเข้าแล้วร้องขึ้น พระองค์จึงสะดุ้งตื่นและไล่งูให้พ้นไป ทรงระลึกถึงคุณของกระแตว่าเป็นผู้ช่วยชีวิตพระองค์ไว้ จึงรับสั่งให้พระราชทานเหยื่อแก่กระแตในอุทยานนั้นทุกวัน และห้ามไม่ให้ใครทำอันตรายแก่กระแตในอุทยานนั้น คนทั้งหลายจึงเรียกอุทยานนั้นว่า เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน แปลว่า ป่าไผ่อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต ซึ่งต่อมาก็คือ เวฬุวันมหาวิหาร วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนานั่นเอง

    ๓. กตัญญูต่อสิ่งของ คือของสิ่งใดก็ตามที่มีคุณต่อเรา เช่นหนังสือธรรมะ หนังสือเรียน สถานศึกษา วัด ต้นไม้ ป่าไม้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาเลี้ยงชีพ ฯลฯ จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ให้ดี ไม่ลบหลู่ดูแคลน ไม่ทำลาย

    ตัวอย่างเช่น ไม้คานที่ใช้หาบของขาย เมื่อเจ้าของตั้งตัวได้ ร่ำรวย ขึ้นก็ไม่ทิ้ง ยังคิดถึงคุณของไม้คานอยู่ ถือเป็นของคู่ชีวิตช่วยเหลือตนสร้างฐานะมา จึงเลี่ยมทองเก็บไว้เป็นที่ระลึก ไว้เป็นเครื่องเตือนใจ อย่างนี้ก็มี

    มีกล่าวไว้ในเตมียชาดกว่า

    “อย่าว่าถึงคนที่เราได้พึ่งพาอาศัยกันเลย แม้แต่ต้นไม้ที่ได้อาศัยร่มเงา ก็หาควรจะหักกิ่งริดก้านรานใบของมันไม่ ผู้ใดพำนักอาศัยนั่งนอนใต้ร่มเงาของต้นไม้ใดแล้ว ยังขืนหักกิ่งริดก้านรานใบ เด็ดยอด ขุดรากถาก เปลือก ผู้นั้นชื่อว่าทำร้ายมิตร เป็นคนชั่วช้าเลวทราม จะมีแต่อัปมงคล เป็นเบื้องหน้า”

    ๔. กตัญญูต่อบุญ คือรู้ว่าคนเราเกิดมามีอายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณดี สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสุขความเจริญ มีความก้าวหน้า มีทรัพย์สมบัติมาก ก็เนื่องมาจากผลของบุญ จะไปสวรรค์กระทั่งไปนิพพานได้ก็ด้วยบุญ กล่าวได้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยบุญ ทั้งบุญเก่าที่ได้สั่งสมมาดีแล้ว และบุญใหม่ที่เพียรสร้างขึ้นประกอบกัน จึงมีความรู้คุณของบุญ มีความอ่อนน้อม ในตัว ไม่ดูถูกบุญ ตามระลึกถึงบุญเก่าให้จิตใจชุ่มชื่น และไม่ประมาทในการสร้างบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

    ๕. กตัญญูต่อตนเอง คือรู้ว่าร่างกายของเรานี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่เราจะใช้อาศัยในการทำความดี ใช้ในการสร้างบุญกุศลนานาประการ เพื่อความสุขความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเอง จึงทะนุถนอมดูแลร่างกาย รักษาสุขภาพให้ดี ไม่ ทำลายด้วยการกินเหล้า เสพสิ่งเสพย์ติด เที่ยวเตร่ดึกๆ ดื่นๆ และไม่นำร่างกาย นี้ไปประกอบความชั่ว เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เจ้าชู้ อันเป็นการทำลายตนเอง

    ค ว า ม ก ตั ญ ญู จ ำ เ ป็ น อ ย่ า ง ไ ร ใ น ก า ร ส ร้ า ง ค ว า ม ดี ?

    การที่คนเราจะมีความคิดใฝ่ดี ตั้งใจทำความดีสร้างสมคุณธรรมให้เกิดขึ้นในตัว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ที่ยากยิ่งกว่านั้นก็คือ ทำอย่างไรจึงจะรักษาความตั้งใจที่ดีนั้นไว้ โดยไม่ท้อถอยไม่เลิกกลางคัน เพราะในการทำความดีย่อมมีอุปสรรค มีปัญหาขัดขวางมากมาย ไหนจะปัญหาภายนอกจากคนรอบข้าง จากสิ่งแวดล้อม ไหนจะปัญหาภายในจากกิเลสรุมล้อมประดังกันเข้ามา เราจะเอาตัวรอด ยืนหยัดสู้ปัญหาทั้งหลายที่เข้ามาผจญได้โดยไม่ท้อถอย ก็ต้องมีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวใจไว้ นั่นคือความกตัญญู
     
  7. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    ความกตัญญูจึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง ที่จะประคองใจของเราให้ดำรงมั่นอยู่ในคุณธรรมอันยิ่งๆ ขึ้นไป

    อ า นิ ส ง ส์ ก า ร มี ค ว า ม ก ตั ญ ญู

    ๑. ทำให้รักษาคุณความดีเดิมไว้ได้

    ๒. ทำให้สร้างคุณความดีใหม่เพิ่มได้อีก

    ๓. ทำให้เกิดสติ ไม่ประมาท

    ๔. ทำให้เกิดหิริโอตตัปปะ

    ๕. ทำให้เกิดขันติ

    ๖. ทำให้จิตใจผ่องใส มองโลกในแง่ดี

    ๗. ทำให้เป็นที่สรรเสริญของคนดี

    ๘. ทำให้มีคนอยากคบหาสมาคม

    ๙. ทำให้ทั้งมนุษย์และเทวดาอยากช่วยเหลือ

    ๑๐. ทำให้ไม่มีเวรไม่มีภัย

    ๑๑. ทำให้ลาภผลทั้งหลายเกิดขึ้นโดยง่าย

    ๑๒. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย

    ฯลฯ

    “บุคคลผู้อกตัญญู ย่อมถึงอนิฏฐผล มีนินทาเป็นต้น ส่วนบุคคลผู้กตัญญู แม้พระ ศาสดา ก็ทรงสรรเสริญ” มังคลัตถทีปนี ภาค ๒ ข้อ ๓๗๘ หน้า ๒๙๓
     
  8. ก เกียรติ

    ก เกียรติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +1,001
    (แล้วก็เป็นที่เข้าใจว่า ใครเอาต้นได้นั้นออกจากทางให้นะ จะมีคนตอบให้เลยว่า มีผู้เดียวที่ทำเช่นนี้)

    ขอโทษที่ข้อความของผมมันสี้นไป เลยอาจจะเข้าใจเป็นอย่างอื่นได้

    คือผมหมายความว่าถ้าเป็นแถวๆในหมู่บ้านผม ถ้าเป็นต้นไม้ทับทาง หรือเอาหินคลุกไปถมหลุมบนถนน ก็ต้องน่าจะเป็น น้องเกียรติ บ่าวเกียรติ หลวงเกียรติ แล้วแต่คนในวัยใดจะเรียก

    มันเป็นนิสัยประจำตัวมาแต่เด็กๆ ถ้ามีน้ำขังบนถนนดูแลัวพอจะขุดออกได้ ผมจะเอาจอบไปขุดระบายน้ำออกจากถนน มันเป็นของเล่น ทำเล่นๆ ชอบดูน้ำมันไหลออกจนแห้งหมด

    มันมีแววที่ชอบทำเช่นนั้น ตอนนี้ทางไปสวนยางของผมเสร็จเรียบร้อย ใ้ช้เวลาทำ 17วัน ใครก็ยอมรับกันว่ามันทำคนเดียวได้ไง มาหลังๆต้องเอารถกะบะไปบรรทุกเศษอิฐ เศษปูน ทั้งขนขึ้น ขนลง

    ถึงนะเหนื่อยมากแต่มันมีความสุขใจอย่างมากที่ เห็นสิ่งที่ทำมันใกล้จะเสร็จเข้ามาทุกวัน บอกตัวเองว่าเหลือไม่มากแล้ว มันก็เสร็จจนได้

    ขอขอบใจทุกๆข้อความที่เป็นกำลังใจให้ พอทำไปก็วิเคราะห์ไป ได้เห็นสภาพของคนที่แล้งน้ำใจ ไม่มีน้ำใจเสียเป็นส่วนมาก ที่จะใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์นั้นไม่มีเลย ผมลากหินไปถมทาง แต่เพื่อนๆเอานกไปสนามแ่ข่ง คนใต้มนบ้าแข่งนกกันครับ แต่ผมไม่เอาด้วยกลัวบาปที่เอาสัตว์มากักขัง
     
  9. ก เกียรติ

    ก เกียรติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +1,001
    ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิก◎ ในทุกๆคลิปที่นำมาลงให้ได้ดู

    ประทับใจคลิปคนเก็บขยะที่เทอดทูลสถาบันขนาดมากถึงขนาดนั้น แล้วพวกนั้นละ

    วิถีีชีวิต ของเขียวบางส่วนคล้ายผมมาก ผมก็ออกจากบ้านไป 17ปีนะ กว่าจะกลับมาอยู่บ้านได้5 ปีเอง ทิ้งลูกเมียไปตอนนั้นลูกผมก็ 3ปี เช่นกัน ได้กลับมาบ้าน ลูกก็เกือบเกณฑ์ทหาร ไปอย่างเร่ร่อนเหมือนกัน และจะลำบากเท่าไหร่ก็ไม่ยอมทำในสิ่่งที่ชั่วเช่นกัน บางครั้งไม่มีเงินซื่อข้าวกินจนต้องกินน้ำแทนข้าวก็มี และบางครั้งต้องเข้าวัดไปรอกินข้าวที่พระฉันเสร็จก็มีอยู่ครั้งหนึ่ง แต่ไม่ยอมทำในสิ่งที่ชั่วที่ผิดกฏหมาย

    สุดท้ายเวลากลับบ้านมีแค่ค่ารถพอถึงบ้าน หลายคนสงสาร หลายคนดูถูก ตอนผมกลับมาอยู่บ้านใหม่ๆ พออยู่ไปอยู่มา ก็ได้มาพึ่งพาผมกันเยอะมากเลย คือผมจะเป็นช่างแบบสารพัดช่างเลยล่ะ ช่วยเหลือคนได้เยอะมาก และจะไม่เรียกร้องค่าจ้าง ค่าแรงใดๆ บางคนให้แค่ขอบใจนะก็ไม่เป็นไร

    จากคนที่หมดตัวกลับบ้าน มาอยู่จนทุกวันนี้ ผมกลับเป็นบุคคลตัวอย่าง เป็นที่ต้องการของนักการเมืองท้องถิ่น จะให้ลงเลือกตั้งลงอะไรก็ได้ คือว่าได้แน่ๆว่างั้นเถอะ แต่ผมปฏิเสธหมด จะไม่ขอเป็นอะไรทั้งนั้น ผมจะเป็นคนที่ถือสัจจะมากและหยิ่งมากๆที่ไม่ขอร้องใครง่ายๆ

    สรุปทุกๆ คลิปโดนใจมากๆเลย และได้รู้เพิ่มที่ว่ามีคนนำภาพพระเจ้าอยู่หัวฯไปทิ้ง นี่เขาทำได้ไงนี่ โอย ไม่อยากจะเชื่อว่ามีคนกล้าทำเยี่ยงนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2013
  10. โฟร์o

    โฟร์o Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +85
    พูดถึงถนน หน้าบ้านผมจะทำถนน4เลน(ไม่มีเกาะกลางถนนนะ) ต้นไม้ที่ผมปลูกไว้ตรงข้ามหน้าบ้านห่างจากข้างถนน3-4เมตร(ตอนยัง2เลน ปลูกได้5เดือน)โดนรถเกดทิ้งหายหมดเเละยังมีแถวข้างถนนที่อื่นที่มีต้นไม้ใหญ่โดนโค่นอีกที่คนรุ่นก่อนปลูกไว้20-30ปี นึกในใจคนทำถนนก็ทำไปเน๊อะไม่ปลูกต้นไม้ทดแทนเลยเกดโค่นทิ้งขายอย่าเดียว เหลือแต่ซากรากข้างถนน4เลนไว้ให้ดู
     
  11. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    นั่นแหละครับ เป็นคลิปที่อยากให้สมาชิกดูจนจบ จะได้อะไรอีกเยอะเลย กับมุมมองวิถีชีวิตของคนในโลก เพียงสี่สิบกว่านาที

    เชื่อว่าคุณ ก เกียรติ ก็เช่นกัน คนค้นฅน ^^

    ส่วน คุณเขียว ศิริธร โยธิน ผู้รักในหลวงลับหลัง
    แกได้คติธรรมสอนใจจากกองขยะ ได้ฝึกใจให้เป็นเหมือนกระจก แต่จะอย่างไรนั้น

    <iframe width="360" height="215" src="http://www.youtube.com/embed/HJBR76tVilc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>​

    ขอฝากลิ้งเสียงธรรมเทศนาจากพระท่านหนึ่ง เทศน์เรื่อง "คนเก็บขยะ" ลงฟังดูครับ
    http://www.sa-ngob.com/media.php?id=273&con=1

    http://www.sa-ngob.com/content_show.php?content=273
     
  12. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    ภัยพิบัติ ดูให้ดี  ความเน่ามี   ก่อนทำลาย
    รอเน่า  เมื่อตอนตาย  ไม่มองเห็น เน่าทุกวัน

    รูปเน่า  เหมือนกันหมด  จึงคิดงด  อวดดีกัน
    เน่าใหน  ไม่สำคัญ เน่าดีนั้น  ที่ตรงใหน

    ตามดู รู้ลมไป  อย่าเน่าใน เป็นอาจิณ
    ไม่ช้า  ถูกฝังดิน หมดสูญสิ้น  ดินกลบไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • maha jadee3.jpg
      maha jadee3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      99.7 KB
      เปิดดู:
      33
    • DSC05583.JPG
      DSC05583.JPG
      ขนาดไฟล์:
      496.8 KB
      เปิดดู:
      30
  13. โฟร์o

    โฟร์o Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +85
    อยากจะถามผู้รู้กะทู้นี้ เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตครับ คือ...พ่อของผมทำงานราชการ แต่ติดเหล้าเช้ามาพอมีแรงก็ดื่มแล้วเมา พอมีแรงอีกก็ดื่มอีก พอเลิกติดเหล้าได้สัก2 3อาทิต 1 2 3เดือนบ้าง ก็กลับมาดื่มอีก ง่ายๆ 1 ปีต้องติดเหล้าไม่1ก็2 3 ครั้ง เป็นยังงี้มา10-20ปีแล้ว(แต่ท่านไม่เคยฆ่าสัตว์) แต่ช่วงที่ไม่ติดเหล้าก็จะตั้งใจทำทานไปวัดตักบาตรอุทิศบุญสวดมนต์ทุกวัน ง่ายๆก็ตอนติดเหล้าเหมือนพยามารเข้าสิงคือการงานทำบ้างบางวันบางวันไปหาเพื่อนสุรากลับมาเมาทำความเดือดร้อนลูกเมียเสียงดัง(แต่ผมไม่เคยโกรธท่านนะวางอย่างเดียว)หลับไปผมค่อยสบายใจ ตอนไม่ติดเหมือนเทวาทำทานสวดมนต์ทุกวัน(ศีล5เลยครบ)ลูกเมียก็สบายใจ *ส่วนแม่ผมบางวันค้าขายของอาหาร บางวันเล่นไพการพนันเป็นอาจิณตกเย็นกลับมาทำอาหารให้ลูก( T Tจนผมตอนนี้ไม่กินข้าวเย็นสงสารท่าน )บางวันได้บางวันเสียเงิน ติดหนี้ต้องกูนี้ยืมสินสหายพนันเงินรายวันรายเดือนทั้งหลายเขามาใช้หนี้ พอมีเงินก็ไปเล่นอีกพอหมดก็ทำอาหารขายที่ตลาด(ศีล5เลยครบ) เดือดร้อนเงินลูกผัว เป็นอยู่อย่างงี้มา20ปี ผมถามพ่อว่า"ทำไมถึงกินเหล้า" พ่อตอบ"ก็แม่เ่ล่นแต่ไพ่เสียเงินกูหนี้ยืมสินส่งเขา มาเอาเงินพ่อไป"(คงทุกใจกับแม่เลยกินเหล้า) ผมถามแม่"แม่ทำไมถึงเล่นไพ" แม่ตอบ "ก็พ่อมืงกินแต่เหล้ากลับมาบ้านมาด่าตีแม่ว่าเล่นแต่ไพ่ติดหนี้มาเอาเงินพ่อไป" *ผมเลยอยากถามผู้รู้กรุณาตอบด้วยครับว่า "ผมควรทำอย่างไรให้พ่อแม่ผมหันมาตั้งใจศึกษาปฏิบัติธรรม มีสติระวังการกระทำในปัจจุบัน ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เลิกครบคนพาลครบคนดี" *ถึงเรื่องนี้จะเป็นเรื่องภายในครอบครัวผมที่ไม่ควรกล่าวแก่สาธรณชน บุคคลภาพนอก(คนพาล) แต่ถ้าเป็นไปเพื่อความดีและแก้ไขสิ่งไม่ดีให้ดี ก็จะขอกล่าวเพืื่่อความสุขของข้าพเจ้าและผู้คนทั้งหลาย สาธุครับ
     
  14. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271



    สาธุ..สาธุ..สาธุ
     
  15. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271


    สาธุ ขออนุโมทนากับท่านอาจารย์..ขอรับ
     
  16. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271

    การที่นำเรื่อง"กรรม"ของตนมาแสดงต่อสาธุชนได้..ถือเป็นกุศลกรรม..และเป็นบุญอีกด้วย..ถือว่าท่านได้สร้างสมบารมีแล้ว..เมื่อลูกปฏิบัติดีด้วยความตั้งใจจริง..ในระยะเวลาหนึ่งผ่านไป..ถ้ากรรมไม่หนาแน่นมากเกินไป..พ่อแม่จะคลายกรรมลง..และจะถึงจุดเปลี่ยนที่กลายเป็นสัมมาทิฐิได้..มี"ลูก"จำนวนมากที่ทำได้สำเร็จ..จงอย่าท้อถอย...ขออนุโมทนากับท่านด้วย..จ้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2013
  17. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    สมเด็จพระสังฆราชฯ ประทานพระโอวาทวันมาฆบูชา ปี 56
    ให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยน้อมนำคำสอนของพุทธองค์มาบริหารจัดการชีวิตให้งดงามตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา

    นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) แจ้งมาว่า
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระโอวาท เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี 2556

    ความว่า พระพุทธศาสนา แสดงว่า พระสุคต คือพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
    และแสดงว่า บุคคลย่อมงามในเบื้องต้นด้วยศีล งามในท่ามกลางด้วยสมาธิ งามในที่สุดด้วยปัญญา

    เพราะว่าศีลทำให้กาย วาจา หรือพฤติกรรมเรียบร้อยงดงาม สมาธิทำให้ความรู้สึกนึกคิดและจิตใจสงบเยือกเย็นและมั่นคง
    ปัญญาทำให้ความรู้ความสามารถสะอาดบริสุทธิ์เป็นไปในทางสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามแก่ชีวิต
    เมื่อประมวลเข้าด้วยกัน ศีล สมาธิ ปัญญา ก็คือคุณเครื่องทำให้ชีวิตงดงาม

    วันมาฆบูชา คือ วันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนา โดยย่นย่อ
    ส่วนหนึ่งของหลักการสำคัญดังกล่าวก็คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตของตนให้บริสุทธิ์
    ซึ่งก็คือ หลักศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง


    ฉะนั้น วันมาฆบูชา จึงถือได้ว่าเป็นวันแห่งความงามของชีวิต จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
    น้อมจิตรำลึกถึงพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งน้อมนำเอาพระธรรมคำสอนของพระองค์มาบริหารจัดการชีวิตของตนให้งดงาม
    ด้วยการปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา ทั่วกัน

    ขออำนวยพร

    เครดิตที่มาเรื่องและภาพ Quality of Life - Manager Online - สมเด็จพระสังฆราชฯ ประทานพระโอวาทวันมาฆบูชา น้อมนำคำสอนของพุทธองค์มาบริหารชีวิต
     
  18. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    [319] กุศลกรรมบถ 10๑ (ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติ — wholesome course of action) ว่าโดยหัวข้อย่อ ดังนี้
    ก. กายกรรม 3 (การกระทำทางกาย — bodily action)
    1. ปาณาติปาตา เวรมณี* (เว้นจากปลงชีวิต — abstention from killing)
    *เวรมณี แปลว่า เจตนาที่ทำให้เว้น หรือ เจตนาที่ตรงข้าม เมื่อจะแปลให้เต็มความ จึงควรแปลว่า การกระทำที่ว่างจากการคิดเบียดเบียน หรือ การทำดีที่ตรงข้ามกับการเบียดเบียนชีวิต ดังนี้เป็นต้น

    2. อทินนาทานา เวรมณี (เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้โดยอาการขโมย — abstention from taking what is not given)
    3. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี (เว้นจากประพฤติผิดในกาม — abstention from sexual misconduct)

    ข. วจีกรรม 4 (การกระทำทางวาจา — verbal action)
    4. มุสาวาทา เวรมณี (เว้นจากพูดเท็จ — abstention from false speech)
    5. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เว้นจากพูดส่อเสียด — abstention from tale-bearing)
    6. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เว้นจากพูดคำหยาบ — abstention from harsh speech)
    7. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ — abstention from vain talk or gossip)

    ค. มโนกรรม 3 (การกระทำทางใจ — mental action)
    8. อนภิชฌา (ความไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขา — non-covetousness)
    9. อพยาบาท (ความไม่คิดร้ายผู้อื่น — non-illwill)
    10. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ ถูกต้องตามคลองธรรม — right view)

    D.III.269, 290. ที.ปา. 11/360/284; 471/337.
     
  19. โฟร์o

    โฟร์o Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +85
    ก่อนที่ผมยังไม่ได้บอกเรื่องนี้กับใคร(เมื่อก่อน) ผมได้คิดพิจารณาถามตัวเองว่า"จะทำไงดีถึงจะตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ได้ อยากให้ท่านได้เห็นธรรมเหมือนที่เราเห็นจัง" จึงได้คำตอบจากตนเองว่า"ลองศึกษาธรรม ค่อยๆละชั่ว ช่วยงานบ้านท่าน และปฏิบัติสิ่งที่เจ้าทำอยู่ทุกวันให้ยิ่งๆดูสิ(นั่งสมาธิดูลม)" แต่ก็ถูๆไถๆอยู่ ตอนนี้ก็ตั้งใจปฏิบัติขึ้นคือสวดมนต์ แผ่เมตตาอุทิศบุญที่ทำให้เจ้ากรรมนายเวรพ่อแม่ครูเทวาผู้มีบุญคุณเพื่อนมนุษย์สัตว์ญาติมิตรวิญญาณทั้งหลาย(ทำมา2ปีแ้ล้ว) นั่งสาธิดูมาตั้งใจเอาใหม่ได้2อาทิตแล้ว 2 3ครั่งต่อวัน แต่ยังสงไสไม่แน่ใจก็มาหาอ่านถามผู้รู้กะทู้นี้ คำตอบของคุณชูบดีก็ตรงกับใจผมนะ เพราะเคยบวชเณรครั้งหนึ่งตอน ป.5 พ่อแม่ไปวัดตักบาตรให้เณรน้อยทั้งหลายทุกวัน ปิดเทอมนี้เลยคิดจะบวชเณรถือศีล10 หมั่นนั่งสาธิ พยายามฝึกสติทุกอิริยบทและเฝ้าดูจิตตนเอง สัก2เดือน แต่ยังไม่ได้ถามพ่อไม่รู้ท่านจะให้บวชไหม
     
  20. ก เกียรติ

    ก เกียรติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +1,001
    ...อันกงกรรมนำก่อเกื้อ....กันมา
    จวบจนค่อนชีวา.............ถึงได้
    พอนับหนึ่งศึกษา............หนัืงสือ ไตรปิฎก
    ศาสดาท่านว่าไว้.............แน่แท้ แก่นธรรม


    ขอเิอาคำที่อ้าง...............นำไป
    ก็เพื่อทำใ้ห้จิตใจ.............ผ่องแผ้ว
    กุศลที่ทำใน...................ทุกที่ ทั้งหมด
    ขอช่วยนำส่งแล้ว............หลุดพ้น ห้วงกรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2013

แชร์หน้านี้

Loading...