เจตสิก ๕๒ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 14 กรกฎาคม 2012.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=680><TBODY><TR><TD vAlign=top width=165>รูปปวัตติกมนัย </TD><TD width=503><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=500><TBODY><TR><TD width=499>เป็นการแสดงการเกิด-ดับของรูป ๒๘ ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งธรรมดาของรูปนามขันธ์ ๕ ย่อมตกอยู่ความไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่ใช่ตัวตน ที่จะบังคับบัญชา ให้คงสภาพเดิมอยู่ได้ คือตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ ดังนั้น รูปร่างกายของคนเรานั้น(รูป ๒๘) ย่อมจะต้องมีการเกิด-ดับ จึงได้แสดงให้เห็นความเกิด-ดับ ตามหัวข้อข้างต้น ซึ่งแสดงไวั ๓ ลักษณะด้วยกัน คือ</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=480><TBODY><TR><TD vAlign=top width=17>๑.</TD><TD width=451>การเกิด-ดับของรูป ที่เกิดขึ้นในภูมิต่าง ๆ (นัยแห่งภูมิ)</TD></TR><TR><TD vAlign=top>๒.</TD><TD>การเกิด-ดับของรูป ที่เกิดขึ้นในกาลเวลาต่าง ๆ (นัยแห่งกาล)</TD></TR><TR><TD vAlign=top>๓.</TD><TD>การเกิด-ดับของรูป ตามประเภทแห่งการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย (นัยแห่งกำเนิด)</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=60>
    ๑. ตามนัยแห่งภูมิ
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ภูมิอันเป็นที่เกิดของสรรพสัตว์ทั้งหลาย มี ๓๑ ภูมิ (แห่ง) เป็นภูมิที่มีทั้งรูปนามขันธ์ ๕ มี ๒๗ ภูมิ คือ อบายภูมิ ๔ มนุษย์ ๑ เทวดา ๖ รูปพรหม ๑๕ อสัญญสัตตพรหม ๑ ส่วนอรูปภูมิ ๔ ไม่มีรูป มีนามขันธ์อย่าง เดียว</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ใน อบายภูมิ มนุษย์ เทวดา รูปเกิดได้ทั้งหมด ๒๘ รูป (๒๗ รูป ถ้าเป็นชาย ก็เว้นรูปที่เป็นหญิง ถ้าเป็นหญิงก็เว้นรูปที่เป็นชาย) หรืออาจขาดตกบกพร่องไปบ้าง ในกรณีที่เป็นผู้ตาบอด หรือหูหนวกเป็นต้น</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ใน รูปภูมิ รูปเกิดได้ ๒๓ รูป ขาดไป ๕ รูป คือ ฆานปสาทรูป(ประสาทจมูก) ชิวหาปสาทรูป (ประสาทลิ้น) กายปสาทรูป (ประสาทกาย) อิตถีภาวรูป(ความเป็นหญิง) และปุริสภาวรูป(ความเป็นชาย) เพราะเห็นว่ารูปทั้ง ๕ ไม่เกื้อกูลแก่การทำฌาน</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ใน อสัญญสัตตพรหม หรือชาวบ้านเรียกกันว่า พรหมลูกฟัก มีแต่รูปเพียง ๑๗ รูปเท่านั้น ไม่มีนาม จึงเคลื่อนไหวไม่ได้ไม่มีความรู้สึก เหมือนพระพุทธรูป หรือหุ่น เมื่อหมดอายุ ๕๐๐ มหากัป นามก็จะเกิดขึ้นมาเอง แล้วนำเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ต่อไป ๑๗ รูปคือ
    อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ วิการรูป ๓ และลักขณรูป ๔
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ใน อรูปภูมิ มีแต่นามอย่างเดียว ไม่มีรูปเลย ตรงข้ามกับอสัญญสัตตพรหม ซึ่งมีแต่รูปอย่างเดียวไม่มีนาม ด้วยอำนาจของการเจริญปัญจมฌาน แล้วไม่ปรารถนาจะมีรูป เพราะเบื่อหน่ายในรูปขันธ์ ที่ต้องบำรุงดูแลรักษายุ่งยากมาก </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    ดูแผนภูมิประกอบ
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=680><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=60>
    ๑. แสดงการเกิด-ดับของรูปในภูมิต่าง ๆ ๓๑ ภูมิ
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=680><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD></TD><TD> </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>เป็นการแสดงความเป็นไปของรูป ๒๘ ว่า รูปใดเกิดได้และเกิดไม่ได้ ในกาลต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ ๓ กาลด้วยกัน คือ </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD height=150>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=60>
    รูป ๒๘ รูปอะไรที่เกิดได้และเกิดไม่ได้ในกาลทั้งสาม
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD height=120>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD height=120>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD height=120>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD height=150>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในภูมิต่าง ๆ จะมีลักษณะ การเกิดได้ ๔ อย่างด้วยกัน คือ </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD height=150>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=660><TBODY><TR><TD vAlign=top width=190>๑. การเกิดจากไข่
    หรือ อัณฑชะกำเนิด
    </TD><TD width=458>ได้แก่ การเกิดขึ้นจากครรภ์มารดาโดยเป็นฟองไข่ก่อนแล้ว คลอดมาทีหลัง เช่น ไก่ นก จิ้งจก ตุ๊กแก และงู เป็นต้น </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=660><TBODY><TR><TD vAlign=top width=190>๒. การเกิดจากครรภ์
    หรือ ชลาพุชะกำเนิด
    </TD><TD>ได้แก่ พวกที่อาศัยเกิดจากครรภ์มารดา โดยไม่ต้องมีไข่ห่อหุ้ม และคลอดออกมาเป็นตัว หรือทารกเล็ก ๆ แล้วค่อยเจริญเติบโตมาตามลำดับ ได้แก่ มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน เทวดาชั้นต่ำบางพวก เป็นต้น </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=660><TBODY><TR><TD vAlign=top width=190>๓. การเกิดจากเถ้าไคล
    หรือ สังเสทชะกำเนิด
    </TD><TD>การเกิดชนิดนี้ไม่ต้องอาศัยบิดามารดา อาศัยเถ้าไคลที่ชุ่มชื้น มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ก็เป็นที่อาศัยเกิดของสัตว์ชนิดนี้ได้ เช่น เชื้อโรคบางประเภท และได้กล่าวว่ามนุษย์ในสมัยก่อน เกิดจากดอกไม้ ต้นไม้ ผลไม้ ก็มี เช่น นางจิญจมานวิกา เกิดจากต้นมะขาม นางเวฬุวดี เกิดจากต้นไผ่ นางปทุมวดี เกิดจากดอกบัว เป็นต้น</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=660><TBODY><TR><TD vAlign=top width=190>๔. การเกิดขึ้นมาโตทันที
    หรือ โอปปาติกกำเนิด
    </TD><TD>เกิดมาโดยไม่ต้องอาศัยครรภ์มารดา ต้นไม้ ดอกไม้ หรือที่ชื้นแฉะแต่อย่างใด แต่อาศัยอดีตกรรมอย่างเดียว โดยการผุดเกิดขึ้นมีรูปร่างใหญ่ โตทันที ได้แก่ ผี เทวดา เปรต อสุรกาย มนุษย์ต้นกัป เป็นต้น</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> อัณฑชะกำเนิด และ ชลาพุชะกำเนิด นี้ต่างก็เกิดจากครรภ์เหมือนกัน จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คัพภเสยยกะกำเนิด </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=65>
    การเกิดของรูปในกำเนิด ๔
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD height=100>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=680><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=660><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 height=60>
    ปฏิสนธิวิญญาณจะเกิดในครรภ์มารดาได้นั้น ต้องประกอบด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=500><TBODY><TR><TD>๑. มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน</TD></TR><TR><TD>๒. มารดาอยู่ในวัยมีประจำเดือน</TD></TR><TR><TD>๓. มีปฏิสนธิวิญญาณมาเกิด</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> เมื่อวิญญาณปฏิสนธิเกิดขึ้นในครรภ์ของมารดาแล้ว รูปต่าง ๆ จะเกิดขึ้นเจริญตามลำดับ ดังนี้ </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=695 bgColor=#ffffff><TBODY><TR><TD width=142>สัปดาห์แรก</TD><TD width=60>
    มีลักษณะ
    </TD><TD width=139>เป็นหยาดน้ำใส </TD><TD width=69>
    เหมือน
    </TD><TD width=100>น้ำมันงา </TD><TD width=50>
    เรียกว่า
    </TD><TD width=96>กลละ</TD></TR><TR><TD width=142>สัปดาห์ที่ ๒</TD><TD>
    "
    </TD><TD>เป็นฟอง </TD><TD>
    "
    </TD><TD>น้ำล้างเนื้อ </TD><TD>
    "
    </TD><TD>อัพพุท </TD></TR><TR><TD width=142>สัปดาห์ที่ ๓</TD><TD>
    "
    </TD><TD colSpan=2>เป็นชิ้นเนื้อเหลว ๆ สีแดง</TD><TD> </TD><TD>
    "
    </TD><TD>เปสิ</TD></TR><TR><TD width=142>สัปดาห์ที่ ๔</TD><TD>
    "
    </TD><TD>เป็นก้อน</TD><TD>
    เหมือน
    </TD><TD>ไข่ไก่</TD><TD>
    "
    </TD><TD>ฆนะ</TD></TR><TR><TD width=142>สัปดาห์ที่ ๕</TD><TD>
    "
    </TD><TD colSpan=3>เป็นปุ่ม ๕ แห่ง จะเป็นศีรษะ มือ เท้า ต่อไป </TD><TD>
    "
    </TD><TD>ปัญจสาขา</TD></TR><TR><TD width=142>สัปดาห์ที่ ๑๒ – ๔๒</TD><TD colSpan=6>
    จะเกิด ผม ขน เล็บ (ตา หู จมูก ลิ้น จะเกิดในสัปดาห์ที่ ๑๑)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดา สายสะดือของทารก จะติดกับแผ่นท้องของมารดา เหมือนก้านบัว อาหารที่มารดาบริโภคเข้าไป จะไปเลี้ยงทารกทางสายสะดือ จนกระทั่งเจริญเติบโตครบ ๑๐ เดือน จึง คลอดออกมา</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=690><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 height=60>
    แสดงการเกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=685><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD vAlign=top width=101>กัมมชรูป</TD><TD width=572>เกิดขึ้นครั้งแรกที่อุปปาทักขณะของปฏิสนธิจิต, เกิดครั้งสุดท้ายที่อุปปาทักขณะของจิตดวงที่ ๑๗ ที่นับถอยหลังจากจุติจิตขึ้นไป</TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD vAlign=top>จิตตชรูป</TD><TD>เกิดขึ้นครั้งแรกที่อุปปาทักขณะของปฐมภวังค์ (หรือทุติยจิต คือจิตดวงที่สองในภพใหม่), เกิดขึ้นครั้งสุดท้ายที่อุปปาทักขณะของจุติจิต สำหรับพระอรหันต์, เกิดครั้งสุดท้ายที่ อุปปาทักขณะ ของจิตดวงที่ ๒ ที่นับถอยหลังจากจุติจิตขึ้นไป</TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD vAlign=top>อุตุชรูป</TD><TD>เกิดขึ้นครั้งแรก ที่ฐีติขณะของปฏิสนธิจิต และเกิดเรื่อยไปแม้ว่าสัตว์นั้นตายแล้ว เป็นซากศพเป็นกระดูก ขี้เถ้า หรือดินก็ตาม เกิดไปจนกระทั่งโลกถูกทำลาย</TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD vAlign=top>อาหารชรูป</TD><TD>เกิดขึ้นตั้งแต่โอชาที่ซึมซาบทั่วไป (ในสัปดาห์ที่ ๒ – ๓) และเกิดขึ้นครั้งสุดท้าย ที่ภังคักขณะของจุติจิต (สำหรับสัตว์ที่เกิดโดยคัพภเสยยกกำเนิดเท่านั้น) สำหรับสังเสทชะ และโอปปาติกะกำเนิด (เว้นพรหม) เกิดขึ้นครั้งแรกที่ปฐมมโนทวารวิถี ที่เกิดขึ้นหลังจากปฏิสนธิจิต และภวังคจิต และย่อมเกิดขึ้นต่อไปทุก ๆ ขณะของจิต</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD width="74%" align=right><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="98%"><TBODY><TR align=middle><TD colSpan=2>หัวข้อที่จะต้องศึกษาทำความเข้าใจกันในชุดที่ ๖ นี้ คือ </TD></TR><TR><TD width="41%" align=right>- </TD><TD width="59%">ชีวิตคืออะไร ?</TD></TR><TR><TD align=right>- </TD><TD>ชีวิตมาจากไหน ? </TD></TR><TR><TD align=right>- </TD><TD>ชีวิตจะไปไหน ? </TD></TR><TR><TD align=right>- </TD><TD>ชีวิตอยู่เพื่ออะไร ?</TD></TR><TR><TD colSpan=2>ตลอดจนเรื่องของภพภูมิต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่โคจรไปของชีวิตภายหลังการตาย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center width="26%">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจความหมาย คำว่า ชีวิต เสียก่อน เพื่อให้เข้าใจถูกต้อง ตามแนวทางของการศึกษาพระอภิธรรม </TD></TR><TR><TD> คำว่า ชีวิต มีอยู่ ๒ อย่าง คือ ชีวิตรูป และ ชีวิตนาม </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffffff><TBODY><TR><TD vAlign=top width="4%">[​IMG]</TD><TD width="96%">หรือ รูปชีวิต เป็นรูป ๆ หนึ่ง ในจำนวนรูปที่เกิดจากกรรม จะมีหน้าที่รักษารูปที่เกิดจาก กรรมนั้น ให้มีชีวิตอยู่ชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็จะดับสลายไปพร้อมกับรูปทั้งหมดที่เกิดจากกรรมนั้น และมีการเกิดขึ้นใหม่สืบต่อกันไปเรื่อย ๆ ไป ไม่ขาดสายตลอดชีวิต</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ชีวิตรูปนี้จะหล่อเลี้ยงรักษารูปอื่น ๆ ที่เกิดจากกรรม มิให้แตกสลายไปก่อนกำหนด เหมือนน้ำในแจกัน ที่หล่อเลี้ยงรักษาดอกไม้ในแจกัน ไม่ให้เหี่ยวแห้งไปก่อนกำหนด</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> รูปชีวิตนี้ เป็นกรรมชรูป คือ รูปที่เกิดขึ้นจากกรรม ได้แก่ กุศลกรรม และ อกุศลกรรม ที่บุคคลทั้งหลายได้กระทำไว้ในอดีตชาติ แล้วผลักดันให้เกิดเป็นชีวิตคน สัตว์ เทวดา พรหม ขึ้นมา เพื่อ เสวยความสุขบ้างทุกข์บ้าง ตามที่ตนได้ทำมา เหมือนกับการหว่านพืชผลลงไว้ในแปลงนา ถ้าหว่านพืชผลที่ให้ผลเป็นรสเปรี้ยว ก็จะได้รับผลที่มีรสเปรี้ยวตามที่ตนได้หว่านไว้ ถ้าหว่านพืชผลที่มีรสหวาน ก็จะได้รับพืชผลที่มีรสหวาน คนเราเกิดมาทำกรรม ทั้งที่เป็นบาปและเป็นบุญ มาแล้วด้วยกันทุกคน ผลที่ออกมา จึงมีทั้งความทุกข์บ้างสุขบ้างสลับกันไป </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> สำหรับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ โต๊ะ เก้าอี้ บ้านเรือน ฯลฯ เป็นรูปธรรม เป็นสิ่งที่ไม่มี ชีวิตจิตใจวิญญาณครอง (อนุปาทินกสังขาร) บางคนเข้าใจว่าต้นไม้มีชีวิต จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน จากความเป็นจริง ต้นไม้นั้นเกิดจากอุตุสมุฏฐาน มีเพียงอวินิพโภครูป ๘ เท่านั้น ส่วนคนสัตว์หรือสิ่งที่มีชีวิตนั้น มี ๒๘ รูป เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ คือ กรรม จิต อุตุ และ อาหาร ต้นไม้ไม่ใช่เกิดจากกรรม จึงไม่มีชีวิตรูป คอยอนุบาลรักษาเหมือนสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffffff><TBODY><TR><TD height=* vAlign=top width="10%">[​IMG]</TD><TD width="90%">หรือ นามชีวิต คือชีวิตินทรียเจตสิกนั่นเอง จะเกิดพร้อมกับนามธรรมอื่นๆ (ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ) และทำหน้าที่รักษานามธรรม ที่เกิดพร้อมกันกับตน ให้ตั้งมั่นในอารมณ์แล้วดับไป </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ดังนั้น ก่อนที่จะเข้าใจเรื่องราวของชีวิตว่า ชีวิตมาจากไหน จึงต้องรู้ความหมายของคำว่า ชีวิต เสียก่อนดังได้กล่าวแล้ว </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD> ชีวิตในความหมายของพระอภิธรรม หมายถึง ชีวิตของ คน สัตว์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม อันเกิดมาจากกรรม คือ กุศลกรรม และอกุศลกรรม นั่นเอง</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD> มนุษย์ เทวดา รูปพรหม และอรูปพรหม เป็นชีวิตที่เกิดมาจาก ผลของการทำความดี คือ กุศลกรรม การกระทำความดี นั้น เราทำได้ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ เช่น การทำทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา การอ่อนน้อมถ่อมตน การช่วยเหลือการงานที่เป็นกุศล การทำบุญอุทิศส่วนกุศล การอนุโมทนากุศล การฟังธรรม การแสดงธรรม การตั้งตนไว้ในทางที่ชอบ การทำสมาธิจนได้ รูปฌาน อรูปฌาน กุศลกรรมเหล่านี้ เมื่อบุคคลได้สิ้นชีวิตไปแล้ว จะนำชีวิตให้ไปเกิดในสุคติภูมิ ได้แก่ มนุษย์ เทวดา รูปพรหม หรือ อรูปพรหม ตามที่ตนได้กระทำกุศลนั้น ๆ ไว้ ดูแผนภูมิที่ ๑</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=1 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="72%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>
    แผนภูมิที่ ๑
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=1 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="72%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>อกุศลกรรม คือ การกระทำบาปทางกาย กายทุจริต ๓ได้แก่ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การจี้ปล้นลักขโมย การประพฤติผิดทางเพศ การทำบาปทางวาจา วจีทุจริต ๔ ได้แก่ การพูดเท็จไม่ตรงกับความจริง การพูดส่อเสียดยุยง ทำให้เขาแตกแยกจากกัน การพูดคำหยาบด่าทอสาปแช่ง การพูดเพ้อเจ้อ เหลวไหลไร้สาระ ไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง การทำบาปทางใจ มโนทุจริต ๓ ได้แก่ การเพ่งเล็งในทรัพย์สินสิ่งของๆ คนอื่น เพื่อจะนำมาเป็นของตน การคิดพยาบาทอาฆาต มุ่งที่จะทำร้ายต่อบุคคลอื่น ตลอดจนมีความเห็นผิดจากความเป็นจริง เช่น คิดว่าบุญบาปไม่มีไม่ให้ผล เมื่อตายลง ไม่ต้องไปเสวยผลของบุญผลของบาป ที่ทำไว้ เห็นว่าชาติหน้า นรกสวรรค์ไม่มี เป็นต้น </TD></TR><TR><TD> เมื่อได้ทำบาปเหล่านี้แล้วตายลงย่อมส่งผลให้ไปเกิดในอบายภูมิ ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน ต้องได้รับความทุกข์ทรมาน เพื่อใช้ผลของบาปกรรมนั้น ดูแผนภูมิที่ ๒ ประกอบ</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=1 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="72%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>
    แผนภูมิที่ ๒
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> การทำบาปทุจริต ทั้งปวง จึงเป็นไปด้วยอำนาจของจิตฝ่ายบาป คือ อกุศลจิต ๑๒ ทำให้ชีวิตต้องไปรับทุกข์ทรมานในนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ดังกล่าว</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD> คนเราโดยทั่วไปไม่ค่อยจะคิดว่า เราเป็นใครมาจากไหน ทำไมเกิดมาจึงมีรูปร่างหน้าตาอุปนิสัยใจคอไม่เหมือนกัน เพราะอะไร ทั้ง ๆ ที่เกิดมาจากบิดามารดาเดียวกัน ลองหาคำตอบดูจาก แผนภูมิที่ ๓ </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=1 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="72%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>
    แผนภูมิที่ ๓
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> คนเรามีนิสัยใจคอต่างกัน เพราะมาจากที่ต่างกันนั่นเอง</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD> การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารทุกข์ ก็ด้วยอำนาจของ อวิชชา คือความไม่รู้ ไม่รู้ความ เป็นจริงของชีวิต จึงต้องทำกรรมลงไป ด้วยอำนาจของกิเลสที่อยู่ภายในจิตใจ เป็นตัวผลักดัน ให้มีการเสาะแสวงหา สิ่งที่ชอบสิ่งที่พอใจ ของสวย ๆ งาม ๆ รับประทานข้าวเคล้าเสียงเพลง เป็นต้น ซึ่งถือเป็นสื่อที่จะชักนำ ให้เกิดความเคลิบเคลิ้มหลงใหล กระทำในสิ่งที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนต่อไป </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> เมื่อทำบาปอกุศล ความเดือดร้อนก็ย่อมติดตามมา หาความสุขความสงบใจไม่ได้ มีความหวาดกลัววิตกกังวล ฝันร้าย เห็นภาพหลอนต่าง ๆ เมื่อตายลงย่อมจะต้องไปเกิดในทุคติภูมิ เป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือ เดรัจฉาน บ้าง ตามกรรมที่ตนได้กระทำไว้</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ถ้าทำในส่วนที่ดีเป็นบุญเป็นกุศล ก็จะได้รับ ความสุขความเจริญ ความดีนั้นไม่มีขายอยากได้ ต้องทำเอาเอง การทำบุญกุศลมีหลายอย่างด้วยกัน เช่น การทำทาน การทำบุญใส่บาตร การรักษาศีล การเจริญภาวนา การช่วยเหลือเกื้อกูลคนแก่คนชรา เป็นต้น ผลบุญที่ทำเมื่อตายแล้ว ย่อมนำไปสู่สุคติภูมิ เป็นมนุษย์หรือ เทวดา </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ถ้าทำสมาธิจนได้รูปฌาน เมื่อตายย่อมจะไปเกิดในพรหมโลก เป็นพรหมที่มีรูปร่างสวยงาม มีความสุขจากผลของฌาน มีถึง ๑๖ ชั้นด้วยกัน ส่วนผู้ที่ทำสมาธิได้ อรูปฌาน คือ ผ่านรูปฌานมาแล้ว ก็ย่อมจะไปบังเกิดในพรหมโลกเช่นเดียวกัน แต่เป็นพรหมที่ไม่มีรูปร่างกาย มีแต่นามคือ จิตและเจตสิกเท่านั้น มี ๔ ชั้นด้วยกัน รายละเอียดจะได้กล่าวต่อไปในเรื่องภูมิ ๓๑ </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> การทำบุญ ทำกุศล การทำทาน การรักษาศีล เจริญภาวนา หรือการทำบาปอกุศลก็ดี ย่อมจะส่งผลให้ต้อง เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป หาที่สิ้นสุดไม่ได้ ตราบเมื่อยังไม่ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> การปฏิบัติธรรมจนสำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงจะรู้ได้ว่าเราจะเกิดต่อไปอีกไม่เกิน ๗ ชาติ เวียนตายเวียนเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง จนกว่าจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ดูแผนภูมิที่ ๔ ประกอบ </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=1 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="70%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>
    แผนภูมิที่ ๔
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ชาติหน้ามีจริงหรือไม่นั้น คำตอบก็คือ</TD></TR><TR><TD> ตราบใดถ้ายังมีกิเลสและทำกรรม อยู่ คือ กรรมที่เป็นส่วนบุญ และกรรมที่เป็นส่วนบาป เมื่อยังทำกรรมเพราะอำนาจของกิเลส ก็ต้องเกิดอีกแน่นอน การเกิดใหม่นั่นแหละคือชาติหน้าของเรา ชาติหน้าที่จะไปเกิดมีทั้งหมดถึง ๓๑ ภูมิ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เฮ้อ!!!!

    ท่าทางเจ้าของกระทู้คงเมาน้ำตาลอยู่มั๊ง?
    วางแล้วก็ไป พอคนไม่สนใจก็วางใหม่
    ที่ถามไปก็ไม่เคยคิดจะตอบ
    คิดอยากทำในสิ่งที่ตนเองอยากทำเท่านั้น

    สั้นๆ เจตสิกมาจากไหน?
    ทำไมต้องมีเจตสิก?
    ขอหลักฐานยืนยันที่มาที่ไปด้วย
    ที่เอามาแปะนั้น ยังไม่ใช่หลักฐาน

    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คือไม่ต้องตอบก็ได้มั้ง
    ก็คงจะมีอยู่คนเดียวนี่แหละที่ไม่รู้
    คนที่เป็น ปทปรมะ คงต้องถูกเขาทอดทิ้ง
    ถึงจะอธิบายให้เข้าใจได้อย่างถูกต้องก็ไม่เข้าใจ
    บางที่เข้าใจแต่ทำเป็นไม่เข้าใจซะงั้น
    เพราะเชื่อในทิฏฐิของตน รู้ๆเชิงกันอยู่นะ
    เพราะฉะนั้นที่ไม่ตอบเพราะเล็งเห็นประโยชน์ไม่ได้จึงนิ่งเฉยเสียไม่เหนื่อยเปล่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กรกฎาคม 2012
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD> คนเรามีชีวิตเพื่ออะไร ? เป็นคำถามที่หาคำตอบยาก มีตอบได้หลายแง่หลายมุม ผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรมเท่านั้นจึงหาคำตอบได้ เพราะเข้าใจในเรื่องราวของชีวิตได้ดี สามารถแก้ปัญหาได้ถูกต้อง ลองหาคำตอบจากภาพข้างล่างนี้ ว่าเรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=1 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="98%"><TBODY><TR><TD>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    สาธุค่ะ
    ขยันจังเลยค่ะลุง

    เรามีชีวิตอยู่เพื่อทำบารมีค่ะ
    ไปก่อนนะคะ
     
  11. ก้อนหิน

    ก้อนหิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +238
    module จิตรึเปล่า เห็นมีทั้งกายหยาบกายทิพย์ผัสสะ อารม มโน ทั้งหมดเป็นขันธ์ อ่านแล้วปวดหัวตึบ
     
  12. ก้อนหิน

    ก้อนหิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +238
    ได้ยินว่าวิญาณรู้(ธาตุรู้) เ่ท่านั้น คายขันธ์หมด ที่เหลือมันเกิดทีหลังหรือมีอยู่แล้วรวมใหม่ ก็ทำหน้าที่ของมัน
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    รูปปรมัตถ์
    รูปปรมัตถ์เป็นสภาวะธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ [ธรรมสังคณีปกรณ์ รูปกัณฑ์ ข้อ ๕๐๓] มีปัจจัยปรุงแต่ง จึงเกิดขึ้นและดับไปเช่นเดียวกันกับจิตและเจตสิก
    รูปปรมัตถ์มี ๒๘ รูป หรือ ๒๘ ประเภท และมีความหมายไม่มีเหมือนที่เข้าใจกันว่า โต๊ะเป็นรูปหนึ่ง เก้าอี้เป็นรูปหนึ่ง หนังสือเป็นรูปหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น ในรูปปรมัตถ์ ๒๘ ประเภทนั้น มีรูปที่จิตรู้ได้ทางตา คือ มองเห็นได้เพียงรูปเดียว คือ สิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ส่วนอีก ๒๗ รูปนั้น จิตเห็นไม่ได้ แต่รู้ได้ทางอื่นตามประเภทของรูปนั้นๆ เช่น เสียงรู้ได้ทางหู เป็นต้น
    ถึงแม้ว่าจะเห็นจิตและเจตสิกด้วยตาไม่ได้ เช่นเดียวกับรูป ๒๗ รูปที่มองไม่เห็น แต่จิตและเจตสิกก็ไม่ใช่รูปปรมัตถ์ เพราะจิตและเจตสิกเป็นปรมัตถธรรมที่รู้อารมณ์ ส่วนรูปเป็นปรมัตถธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ รูปปรมัตถธรรมเป็นสังขารธรรม มีปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้น รูปๆ หนึ่งอาศัยรูปอื่นเกิดขึ้น ฉะนั้น จะมีรูปเกิดขึ้นเพียงรูปเดียวไม่ได้ ต้องมีรูปที่เกิดพร้อมกัน และอาศัยกันเกิดขึ้นหลายรูปรวมกันเป็น ๑ กลุ่มเล็กๆ ซึ่งแยกออกจากกันไม่ได้เลย ภาษาบาลีเรียกว่า ๑ กลาป
    รูปเป็นสภาพธรรมที่เล็กละเอียดมาก เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา รูปกลาปหนึ่งเกิดขึ้น จะดับไปเมื่อจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก เพราะจิตที่เห็น และจิตที่ได้ยินขณะนี้ ซึ่งปรากฏเสมือนว่าพร้อมกันนั้น ก็เกิดดับห่างไกลกันเกินกว่า ๑๗ ขณะจิต ฉะนั้น รูปที่เกิดพร้อมกับจิตที่เห็น ก็ดับไปก่อนที่จิตได้ยินจะเกิดขึ้น
    รูปแต่ละรูปเล็กละเอียดมาก ซึ่งเมื่อแตกย่อยรูปที่เกิดดับรวมกันอยู่ออกจนละเอียดยิบ จนแยกต่อไปไม่ได้อีกแล้วนั้น ในกลุ่มของรูป (กลาปหนึ่ง) ที่เล็กที่สุดที่แยกอีกไม่ได้เลยนั้น ก็มีรูปรวมกันอย่างน้อยที่สุด ๘ รูป เรียกว่า อวินิพโภครูป ๘ คือ
    มหาภูตรูป (รูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน) ๔ ได้แก่

    ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) เป็นรูปที่อ่อนหรือแข็ง ๑ รูป
    อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) เป็นรูปที่เอิบอาบ หรือเกาะกุม ๑ รูป
    เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) เป็นรูปที่ร้อน หรือเย็น ๑ รูป
    วาโยธาตุ (ธาตุลม) เป็นรูปที่ไหวหรือตึง ๑ รูป
    มหาภูตรูป ๔ นี้ต่างอาศัยกันเกิดขึ้น จึงแยกกันไม่ได้เลย และมหาภูตรูป ๔ นี้เป็นปัจจัย โดยเป็นที่อาศัยเกิดของรูปอีก ๔ รูปที่เกิดร่วมกับมหาภูตรูปในกลาปเดียวกัน คือ
    วัณโณ (แสงสี) เป็นรูปที่ปรากฏทางตา ๑ รูป
    คันโธ (กลิ่น) เป็นรูปที่ปรากฏทางจมูก ๑ รูป
    รโส (รส) เป็นรูปที่ปรากฏทางลิ้น ๑ รูป
    โอชา (อาหาร) เป็นรูปที่เป็นปัจจัยให้เกิดรูป ๑ รูป
    รูป ๘ รูปนี้แยกกันไม่ได้เลย เป็นกลุ่มของรูปที่เล็กที่สุด ที่เกิดพร้อมกันและดับพร้อมกันอย่างรวดเร็ว จะมีแต่มหาภูตรูป ๔ โดยไม่มี อุปาทายรูป (รูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด) ๔ รูปนี้ไม่ได้เลย

     
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    วิญญาณ คือ จิต
    ถ้าว่าโดยขันธ์เขาเป็นวิญญาณขันธ์
    ถ้าว่าโดยอายตนะเขาเป็นมนายตนะ
    ถ้าว่าโดยธาตุเขาเป็นธาตุรู้ หรือ มโนวิญญาณธาตุ
    ถ้าว่าโดยสัจจะ โลกียะจิต ๘๑ เป็นทุกขสัจจ์ โลกุตตรจิต ๘ เป็นสัจจวิมุติ
    ถ้าว่าโดยอินทรีย์เขาเป็นมนินนทรีย์
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    น่าเวทนา หมาน เหลือเกิน ยังหาที่เกาะที่ยึดไม่ได้
    คิดได้เมื่อไร มาถามข้าดีๆ จะชี้ทางให้
     
  16. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    เก่งกันจริงๆ เก่งกันมาก ผมก็ไม่อยากจะบอกอะไรหรอกนะ เเค่จะอธิบายความหมายของผม ที่เคยได้ค้านมา ให้เครียก่อน อาจจะไม่เครียเพราะ พระสูตรหลักผมไม่มีเเบบพระอาจารย์ด้วย เพราะท่านนำมาจากบาลี ทุกวันนี้เพียงเเค่คำอถกาถา ก็หากันยาก ผมคงบอกให้เท่านี้ละ พอที่จะอธิบายได้
    ความหมายของอภิธรรมที่ท่านอาจารย์ได้ไปดู เป็นพระไตรปิกฏฉบับต่างประเทศ(เป็นภาษาอังกฤษ) ความหมายของเค้าคือการใช้ พุทธวัจนะอย่างเป็นระบบ ความหมายของเค้าจะไปสอดรับกับคำตถาคตที่กล่าวว่า คำของพระองค์จะสอดรับกันไม่มีขัดเเย้ง เเละตรงจุดนี้ก็ต้องไปดูอีก2พระสูตรนะที่ผมมี จริงๆมีเยอะ จากพระโอษฐ์ ตรัสถึงอริยสาวก 3จำพวก
    อย่างเช่นอริยสาวก
    ข้อที่1 รู้เพียงเเค่อริยสัจ4(ทุกข์ เหตุเกิด ความดับ ปฏิปทาความดับ) ไม่รู้อภิธรรม ไม่รู้อภิวินัย ก็เป็นถึงพระอนาคามีได้ เเต่ไม่รวยลาภ ก็หลุดพ้นได้..
    ส่วนข้อ2 รู้ 2 เรื่อง คือ อริยสัจ4 กับ อภิธรรม ไม่รู้ อภิวินัย เป็นอนาคามีเหมือนกัน
    ส่วนข้อ3 รู้ ทั่ง 3 เรื่อง เลย ก็ยังเป็นพระอนาคามีเหมือนกัน

    ทรงแสดงบุคคลประเภทด้อย กับประเภทดี เทียบด้วยม้าด้อย กับม้าดี อย่างละ ๓ ประเภท
    คือประเภทด้อย
    ๑. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้า แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยสีกาย ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูง และความสมส่วนได้แก่ภิกษุที่รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง แต่เมื่อถูกถามปัญหาใน อภิธรรม อภิวินัย ก็พูดตะกุกตะกักตอบไม่ได้และเป็นผู้ไม่มีลาภปัจจัย ๔
    ๒. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้า, สมบูรณ์ด้วยสีกาย แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูง และความสมส่วน ได้แก่ภิกษุที่รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง เมื่อถูกถามปัญหาดังกล่าวก็ตอบได้ ไม่พูดตะกุกตะกัก, แต่ไม่มีลาภปัจจัย ๔
    ๓. สมบูรณ์ทั้งสามอย่าง ได้แก่ภิกษุผู้รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง, ตอบปัญหาได้, ทั้งมีลาภปัจจัย ๔. ส่วนประเภทดี

    . สมบูรณ์ด้วยฝีเท้า แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยฝีกาย ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูง และความสมส่วน ได้แก่ภิกษุผู้เป็น พระอนาคามี แต่ตอบปัญหาไม่ได้ ทั้งไม่มีลาภปัจจัย ๔ .
    ๒. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้า, สมบูรณ์ด้วยสีกาย แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูง และความสมส่วน ได้แก่ภิกษุผู้เป็นพระอนาคามีตอบปัญหาได้ แต่ไม่มีลาภปัจจัย ๔.
    ๓. สมบูรณ์ทั้งสามอย่าง ได้แก่ภิกษุผู้เป็นพระอนาคามีตอบปัญหาได้ และมีลาภปัจจัย ๔.
    -------------------------------------
    ภิกษุ ท. ! เมื่อพระสุคตก็ดี ระเบียบวินัยของพระสุคตก็ดี ยังคงมีอยู่ ในโลกเพียงใด
    อันนั้นก็ยังเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก
    เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก, เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล
    เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, อยู่เพียงนั้น.
    -------------------------------------------------------
    A.มาดูอีกเรื่องคือระเบียบวินัยของพระสุคต ที่มีคนบอกกันว่า พระองค์อธิบายถึง หลักวินัย
    กลายไปเป็นว่าพระองค์พูดถึงเเต่เรื่องหลักวินัย เเต่ที่จริงความหมายของพระองค์ คือ ระเบียบวินัย หรือจะบอกว่า หลักธรรมที่เป็นระเบียบของตถาคต
    -------------------------------------------------------
    ภิกษุ ท. ! พระสุคตนั้นคือใครเล่า ?
    คือตถาคต บังเกิดขึ้นในโลกนี้
    เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปดี รู้แจ้งโลก
    เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว
    จำแนกธรรมออกสอนสัตว์. นี้คือ พระสุคต.
    ภิกษุ ท. ! ระเบียบวินัยของพระสุคตนั้นคืออะไรเล่า ?
    คือตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์
    พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
    . ธรรมที่ตถาคตแสดง
    พรหมจรรย์ที่ตถาคตประกาศ นี้แล คือ ระเบียบวินัยของตถาคต.

    A.ซึ่งพระอาจารย์ท่านได้นำคำว่าระเบียบวินัยของพระสุคต ไปแปลเป็นภาษาบาลี ก็จะเป็นความหมายว่า ระเบียบแห่งถ้อยคำ เเล้วถึงไปเช็คดูในต้นฉบับบาลีอีกที ก็จะเป็นพระสูตรที่ตรัสไว้
    ท่านว่าที่เป็นพุทธวัจนะมี10กว่าพระสูตร ที่ดูเยอะ ที่เรียนกันทุกวันนี้คือเเต่งกันขึ้น
    ท่านว่าพบพระสูตรที่พระองค์ตรัสเชิงอธิบายไว้ให้ ที่เป็นความหมายของพระพุทธเจ้า
    ท่านถึงเริ่มอธิบายที่ท่านเข้าใจมา บอกถึงพระสูตรที่ตรัสไว้ อย่างเป็นคู่ๆ 10กว่าพระสูตร บอกถึง อภิธรรม อภิวินัย เป็นคู่ๆ คือการคิดอย่างเป็นระบบ ตรัสยกตัวอย่างให้ เเละท่านก็ยกตัวอย่างให้ฟังอีกว่า เช่น พระฉันข้าว1มื้อก็จะมีพระสูตรในเรื่องๆนี้มารองรับไว้ มาเชื่อมกันไว้ หลายพระสูตรเลย เเละจะสอดรับกันหมด คือหาเเต่เรื่องนั่นไป เเละมาอธิบายได้อย่างเป็นระบบเป็นเหตุเป็นผล นี้เเละเรียกว่าอภิธรรมของพระพุทธเจ้า
    เเต่ต้องมาดูเรื่องนี้อีก พระอาจารย์ท่านว่าเห็นพระสูตรอยู่1บท ท่านว่า เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เพียงอภิธรรมเชยๆ เเต่พระองค์ไม่ได้ตรัส อภิวินัย ไว้ด้วยกันกับอภิธรรมอย่างที่อธิบายไว้ เลยเป็นข้อสงสัยของท่าน หมวดธรรมชื่อว่า โพธิปักขิยธรรม 37
    ตรงนี้คนส่วนใหญ่จะนำไปเถี่ยงกับพวกนักอภิธรรมปิฏกว่า โพธิปักขิยธรรม 37 เเละคืออภิธรรม ก็ถูกอยู่เเต่ไม่หมด เเล้วอะไรหรือที่ถูกต้องหมด? พระอาจารย์เลยนำคำว่า โพธิปักขิยธรรม 37 ไปเช็คในบาลีฉบับ พอช่วยกันตรวจหาเเล้ว ปรากฏว่า ไม่มีคำว่า โพธิปักขิยธรรม 37
    ในต้นฉบับบาลี ท่านก็เลยเข้าใจเลยว่า สาวกเเต่งให้เเน่ เลยทำให้สับสนกันไปเอง เเท้ที่จริงนั้นเรื่องนี้ พระองค์เพียงอธิบายนิยามไว้ให้ ถึงการเป็นระบบของหมวดๆนี้ อย่างที่อธิบายไว้ก่อนเเล้ว อย่าง เช่น อินทรีย์5 พละ5 ประมาณนั้น ไม่ได้เจาะจงว่านี้เป็นเพียงอภิธรรมอย่างเดียว ก็จะเข้าใจได้ว่าอภิธรรม อภิวินัย ก็คือความคิดที่สอดรับกันใน พระธรรม เเละ พระวินัย ของพระองค์ที่ทรงสอนไว้ทั่งหมด ตรัสไว้ดีเเล้ว ก็จะไปสอดรับหลายๆเรื่องที่ผมได้บอกไป
    ส่วนเรื่องเจตสิด ท่านก็ว่า13 พระสูตร พระองค์ตรัสไว้ดีเเล้ว ก็ไม่ได้เจาะจงเหมือนกัน เเต่สาวกนำมาขยายให้เอง เเละไม่ได้สั่งให้ทำ เเล้วก็ทรงห้ามไว้อย่าบัญญัติสิ่งที่ไม่เคยเจอมาก่อน
    เรื่องนี้ก็จะสรุปได้ว่า ก็คือการเรียนรู้พุทธวัจนะ ที่เรียงร้อยกัน เชื่อมเข้าหากันได้ ท่านว่าเป็นลักษณะที่เรียกว่าอภิธรรม
     
  17. ลูกบัวผัน

    ลูกบัวผัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +295
    คุณแมวน้อย ขอที่อ้างอิงด้วย ซิ จะตามไปอ่านได้ป่ะ
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เห็นพยายามเหลือเกินจะแยกอภิธรรมออกมาจากพระไตรปิฏก ว่าไม่ใช่ธรรม ว่าขัดกับหลับคำสอน
    ที่ล้ำไปกว่านั้น จะแยกอรรถกถาออกจากพระไตรปิฏกอีก ทั้งที่จริงอรรถกถาก็มาคู่กับพระไตรปิกฏ
    ไม่พอ ในพระสูตรยังจะแยกอีกนี้พุทธพจน์นี้แต่งขึ้น นี้คำอรหันตสาวก โกยทิ้งไป เปรี้ยวเหลือเกิน

    ทั้งที่จริงก็ทราบกันดี ว่าเนื้อในในพระไตรปิฏกเกิดจากความทรงจำ พระอานนท์มหาเถระถวายวิสัจฉนา พระมหากัสสปะเป็นผู้ถาม
    ส่วนสายพระวินัยเป็นพระอุบาลีเป็นผู้ถวายวิสัจฉนา พระพระอรหันตสาวกอื่นๆ ถ้าเข้าใจดังนี้ ก็ควรเข้าใจให้สุดว่า

    พระไตรปิกฏที่สังคยนาโดยพระอรหันต๕๐๐รูป ในถ้ำสตบรรตคูหานั้น เกิดจากความทรงจำของพระสาวกทั้งนั้น

    ท่านพระสารีบุตรได้วางรากฐานสังคยานาไว้ตั้งแต่ร่วมสมัยพุทธกาล โดยจำแนกธรรมเป็น หมวดหมู่ เป็นกอง
    หากพิจารณา รากฐานการวางของท่านพระสารีบุตร จะทราบว่าท่านก็ฟังพระอภิธรรมโดยตรงจากพระโอษฐ์ นำมาสอนต่อ
    ตรงนี้ ลองศึกษาสำนวนปฏิสัมภิทามรรคในพระไตรปิฏกดู
    สำนวนความเป็นคน สัตว์ สถานที่ อัตตบัญญัติจะไม่ค่อยมี แสดงแต่ปรมัตถ์เกือบทั้งนั้น

    ส่วนเรื่ออรรถกถานั้น เป็นคำขยายพระธรรมที่พระพุทธองค์แสดง
    ก็เกิดร่วมสมัยกัน พระบางรูปฟังธรรมไม่กระจ่าง หรือไม่ได้ฟังธรรมที่พระพุทธองค์แสดง
    ก็มีการสอบถามธรรม ไม่เข้าใจก็ต้องขยาย ตรงเป็นต้นกำเนิดอรรถกถา
    ท่านก็แยกพระธรรมเทศนาไว้ส่วนหนึ่ง อรรถกถาก็ส่วนหนึ่ง
    ซึ่งเป็นมติที่เข้าใจตรงกัน ว่าพระธรรมแสดงความหมายอย่างนี้ เพื่อกันทิฏฐิคลาดเคลื่อน

    ทีนี้ต่อมา ล่วงพุทธกาล ในลังกาส่งพระเถระไปอันเชิญพระไตรปิฏกมาแปลเป็นภาษาสิงหล อรรถกถาก็ตามมาด้วย

    ซึ่งก็อย่าไปคิดว่า เนื้อหาในพระไตรปิฏกจะถูกแต่งเติม ก็ทราบกันอยู่ว่ารักษาพระวจนะ จะไม่มีการเข้าไปแต่ต้องอะไร
    มีก็แต่อรรถกถา ที่แปลมา อาจมีเพิ่มเติมขยายความให้คนสิงหลเข้าใจบ้าง
    แต่ท่านก็อธิบายในรูปแบบ อรรถกถาชั้นรอง เป็นฏีกาจารย์บ้าง ความเห็นเกจิบ้าง นี่ก็แยกทัศนะออกชัดเจน

    ต่อมาอินเดียไม่มีอรรถกถาใช้ ก็ไปเอาภาษาสิงหลมาแปลกับอีกที ของไทยก็มาจากสายลังกาวงษ์
    ลังกาเสื่อม ก็มาเอาของไทยไปใช้ เรียก สาย สยามวงษ์
    ก็ยืมกันไปกันมา แต่พระไตรปิฏกก็สายตรงจากบาลี มีแต่อรรถกถาเท่านั้น ที่เพิ่มฏีกาจารย์
    หากศึกษาถูก รู้ต้นเค้าจะไม่ปฏิเสธอรรถากถาเลย
    นี่ก็ต้องแยก อะไรสำนวนวรรณคดี อะไรสำนวนที่อยู่ในความสนใจยุคสมัยนั้น

    ทีนี้คนมันไม่เข้าใจ เอะอะก็จะเอาอภิธรรมไม่ใช่ธรรมบ้าง พระไตรปิฏกแต่งเติมเชื่อไม่ได้บ้าง

    หารู้ไม่ว่าทีเอามาพูดนั้นก็อาศัยอรรถกถา ในการเข้าถึงอรรถธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กรกฎาคม 2012
  19. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    เรื่องนักอภิธรรมปิกฏ ที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ ก็จะสับสนอยู่เพราะไม่รู้ว่าจะเช็คว่าไหนคือคำของพระพุทธเจ้า เเต่เรื่องนี้ก็มีพระสูตรที่พระองค์ตรัสให้เช็คคำของพระองค์ที่ไหน เช็คยังไง ในพระไตรปิฏก หรือ พุทธวัจนะ ? กันเเน่ เเล้วใครคือศาสดาเมื่อพระตถาคตล่วงลับไปเเล้ว
    มีอยู่ว่า อีกจำพวก1 คือไม่รู้เรื่องอะไรเอาสะเลย เเต่มันจะดันไปให้ได้ไง ไม่พอมันยังอวดอ้างว่าไม่ศึกษาจะทำให้วิปัสสนาไม่ได้ทั่งที่ มาบัญญัติให้วิปลาส พระสูตรตรัสเต็มๆถึงสาวก3จำพวก ไม่รู้อภิธรรมก็ยังหลุดพ้นได้ ถ้าบอกมาอย่างก็ไม่พอ ที่จะมีใครจะเชื่อคำเเล้ว
    ยังไงก็คิดก่อนพูด ไม่ใช่ไม่รู้เเล้วมาพูด

    เธอทั้งหลายยังไม่พึงรับรอง ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าว
    ของผู้นั้น เธอพึงกำหนดเนื้อความเหล่านั้นให้ดี แล้วนำไป
    สอบสวนในสูตร นำไปเทียบเคียงในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะ
    เหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้
    พึงสันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาค
    พระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นจำมาผิด”
    เธอทั้งหลาย
    พึงทิ้งเหล่าคำนั้นเสีย ถ้าบทพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงใน
    สูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้พระ
    ดำรัส ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้น
    รับมาด้วยดี” เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทส...นี้ไว้.
    (มหาปเทส ๔ พระไตรปิฎกแปลไทย มจร. ๑๔/๕๓/๔๑,
    มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที่. ๑๐/๑๔๔/๑๑๒
     
  20. ลูกบัวผัน

    ลูกบัวผัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +295
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center>(พระสูตร ๖) ระวัง
    อปริหานิยธรรม (ข้อ ๓)
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่
    เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จักสมาทาน
    ศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด,
    ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อม
    เลย อยู่เพียงนั้น.
    (ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า ๓๐๖,
    พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ๒๓/ ๒๑/๒๑)


    <TBODY></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...