เจตสิก ๕๒ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 14 กรกฎาคม 2012.

  1. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    [SIZE=-1]นิตยสารสารคดี[/SIZE][SIZE=-1] :[/SIZE][SIZE=-1] ฉบับที่ 266 :: เมษายน ๕๐ ปีที่ ๒๓
    [/SIZE][SIZE=-1]คอลัมน์รับอรุณ[/SIZE][SIZE=-1] :[/SIZE][SIZE=-1] [/SIZE]เปลี่ยนมารเป็นมิตร
    [SIZE=-1]พระไพศาล วิสาโล[/SIZE]
    [SIZE=+2] [/SIZE]
    [SIZE=+2]
    [/SIZE]

    [SIZE=+2]มารนั้นเป็นตัวชั่วร้ายที่คนดีมิอยากข้องเกี่ยว อีกทั้งเป็นศัตรูของผู้ใฝ่ธรรม แต่ถ้าพิจารณาจากความหมายที่แท้จริงของมาร ตามที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)ได้ แจกแจงไว้ อันได้แก่ “สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือผลที่หมายอันประเสริฐ...ตัวการที่ กำจัดหรือขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุผลสำเร็จอันดีงาม” เราทุกคนย่อมไม่อาจหนีมารพ้น เพราะอย่างน้อยความแก่ ความเจ็บป่วย และความตายก็ถือว่าเป็นมารตัวใหญ่ที่คอยขัดขวางมิให้เราทำความดีงามได้อย่าง ยั่งยืนและอย่างถึงที่สุด ดังพระอรรถกถาจารย์เรียกว่าขันธมาร และ มัจจุมาร มารทั้งสองประการนี้แหละที่ตามรังควานพระพุทธองค์ในช่วงสุดท้ายของพระชนม์ ชีพจวบจนปรินิพพาน [/SIZE]
    [SIZE=+2] แน่นอนว่าเรา ๆ ท่าน ๆ ที่เป็นปุถุชน ยังต้องเจอมารตัวอื่นอีก โดยเฉพาะกิเลสมาร ซึ่งทำให้เราหมุนวนอยู่ในวัฏฏะแห่งความโลภ โกรธ หลง จนอาจไม่คิดหาทางหลุดพ้นหรือเชื่อว่ามีความหลุดพ้นด้วยซ้ำ มารชนิดนี้แหละที่สามารถ “ฆ่า” บุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือผลที่หมายอันประเสริฐได้อย่างแท้จริง จัดว่าน่ากลัวที่สุด และตราบใดที่ยังไม่มีปัญญาพาให้พ้นจากความหลง เราก็ยังต้องเจอมารชนิดนี้อยู่เรื่อยไปและพลัดติดกับดักของมันอยู่เสมอ [/SIZE]
    [SIZE=+2] ในเมื่อเรามารหนีมารไม่พ้น เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันชนิดที่ไม่เผลอตกอยู่ในอำนาจของมันจนคลาดเคลื่อนจากทางแห่งความดี ในทัศนะของพุทธศาสนาเครื่องมืออย่างแรกในการต่อต้านอำนาจของมาร ได้แก่ ศีล คือการควบคุมกายและวาจาไม่ให้ทำตามบัญชาของมัน เปรียบเสมือนการสร้างรั้วเพื่อควบคุมตนเองให้อยู่ในขอบเขต แต่ศีลในแง่นี้ยังมีความหมายเชิงลบคือ “ไม่ทำอะไรบางอย่าง” ที่จริงศีลยังมีความหมายเชิงบวก คือ “ทำอะไรบางอย่าง” ได้แก่การทำความดีชนิดที่ทวนกระแสกิเลสหรือสวนทางกับความปรารถนาของมาร เช่น แบ่งปันหรือเผื่อแผ่แก่ผู้อื่นแทนที่จะเอาเข้าตัว ช่วยเหลือแทนที่จะเอาเปรียบ ชื่นชมแทนที่จะหาช่องตำหนิ[/SIZE]
    [SIZE=+2] วิธีนี้จะช่วยให้จิตใจเรามีภูมิต้านทานต่อกิเลสมาร ทำให้มันครอบงำจิตใจของเราลำบาก จะว่าไปวิธีนี้ก็ไม่ต่างจากการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย เชื้อโรคนั้นมีอยู่ในตัวเราตลอดเวลา แต่ที่เราไม่ล้มป่วย ก็เพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราเข้มแข็ง สามารถควบคุมให้เชื้อโรคอยู่ในขอบเขต ไม่สามารถแพร่ระบาดจนทำให้ร่างกายปั่นป่วนได้[/SIZE]
    [SIZE=+2] อย่างไรก็ตาม การที่จิตใจของเราจะมีภูมิต้านทานดีขึ้น นอกจากการฝึกกายวาจาแล้ว จำต้องมีการฝึกฝนจิตใจโดยตรง เช่น ฝึกใจให้ลดความเห็นแก่ตัว นึกถึงผู้อื่นอยู่เสมอ ด้วยการแผ่เมตตาและความปรารถนาดี หากทำเช่นนี้แม้กระทั่งกับคนที่มีเรื่องกระทบกระทั่งกับเรา ก็จะช่วยลดความเกลียดชังไปได้ การฝึกใจให้มีสมาธิ ยังช่วยให้จิตใจสงบเย็น ความโลภ ความโกรธ ความว้าวุ่นใจ ก็จะบรรเทาลง [/SIZE]
    [SIZE=+2] ที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่ง คือการฝึกสติให้ระลึกได้ไวและรู้เท่าทันอย่างรวดเร็วเวลามารเข้ามาก่อกวน มารนั้นเป็นเจ้าแห่งกลอุบาย อุบายนั้นจะได้ผลต่อเมื่อ “เหยื่อ”หลงกล แต่หากเหยื่อรู้เท่าทันในกลอุบายนั้น มารก็ทำอะไรไม่ได้อีกต่อไป ในพระไตรปิฎกเต็มไปด้วยเรื่องเล่าเกี่ยวกับมารที่ออกอุบายสารพัดเพื่อขัดขวางพระพุทธเจ้า ภิกษุ และภิกษุณีที่ใฝ่ธรรม เช่น ปลอมตัวเป็นพญาช้าง งูใหญ่ เสือร้าย หรือแกล้งทำแผ่นดินไหว เพื่อหลอกให้กลัว หรือปลอมตัวเป็นมนุษย์ เพื่อยั่วยวนให้สึก หรือหว่านล้อมให้กลับไปหากามสุข บางครั้งก็มาชวนพระพุทธองค์ให้เสด็จกลับไปครองราชย์ หรือแม้แต่เข้าไปสิงในท้องของพระโมคคัลลานะ แต่ทุกครั้งมารก็พ่ายแพ้ และที่พ่ายแพ้ก็เพราะถูกรู้ทัน ไม่ว่าพระพุทธองค์ พระอัครสาวก ภิกษุ หรือภิกษุณี ที่ถูกมารมารังควาน ล้วนใช้วิธีเดียวกันนั่นคือ บอกกับมารว่า “มารผู้มีใจบาป เรารู้จักท่าน อย่าคิดว่าเราไม่รู้จักท่าน” เพียงเท่านี้ มารก็ล่าถอยด้วยความเสียใจที่มันถูกรู้เท่าทัน[/SIZE]
    [SIZE=+2] เชื้อโรคนั้นไม่ต้องกำจัดมันให้สิ้นซากไปจากร่างกาย (ถึงจะพยายามทำเช่นนั้น ก็ไม่มีวันสำเร็จ) เพียงแต่สร้างภูมิคุ้มกันให้เข้มแข็ง โดยที่บางครั้งก็ต้องช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ทำงานดีขึ้น ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งก็คือเชื้อโรคอย่างอ่อน เพื่อให้เซลล์คุ้มกันจำเชื้อโรคได้ และเมื่อจำได้แล้ว ไม่ว่าเชื้อโรคนั้น ๆ จะเข้าร่างกายทางไหน ก็จะถูกภูมิคุ้มกันบุกไปทำลาย เคล็ดลับของระบบภูมิคุ้มกันคือจำเชื้อโรคได้ ฉันใดก็ฉันนั้น เคล็ดลับในการสู้กับมารก็คือ ระลึกได้ไวหรือรู้เท่าทันอย่างรวดเร็วเมื่อกิเลสมารเข้ามารังควาน ไม่ว่ามันจะปลอมตัวมาอย่างไร ทันทีที่มันย่างเท้าเข้าประตูใจ สติก็ระลึกได้ทันที เพียงเท่านี้มันก็ต้องล่าถอยไป เปรียบเสมือนหัวขโมยที่ถูกไฟส่องทันทีที่ย่างเท้าเข้าบ้าน ย่อมไม่อาจทนอยู่ต่อไปได้[/SIZE]
    [SIZE=+2] การพยายามกำจัดมารด้วยการกดข่มอารมณ์อกุศล เช่น ตัณหา ราคะ โทสะ นั้นอาจดูเหมือนได้ผล แต่ก็เพียงชั่วคราว เพราะมันไม่ได้ไปไหน หากซุกซ่อนอยู่ในส่วนลึกของจิต และคอยโผล่มารังควานเวลาเราเผลอ หาไม่ก็คอยปั่นป่วนอยู่ลึก ๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว สังเกตได้เวลาเราโกรธใครสักคน และพยายามกดความรู้สึกนั้นเอาไว้ มันจะโผล่มาอยู่เรื่อย ๆ ยิ่งกดเท่าไร ก็ยิ่งโผล่มาบ่อยเท่านั้น และหากกดข่มมันอย่างหนัก (หรือพยายาม “กระทืบ”มันให้แดดิ้น) มันก็จะยิ่งหลบลึกขึ้นจนอาจไปฝังตัวอยู่ในจิตไร้สำนึก และแสดงตัวออกมาในอาการที่ผิดเพี้ยนหรือแปลงโฉม เช่น บางคนโกรธและเกลียดพ่อแม่มาก แต่พยายามปฏิเสธและกดข่มความรู้สึกนี้เอาไว้ เพราะรู้ว่ามันไม่ดี เป็นสิ่งที่ลูกไม่ควรทำ แต่ผลก็คือมันไปแสดงออกในรูปอื่น เช่น เกลียดโกรธศาลพระภูมิแทน เห็นศาลพระภูมิที่ไหนเป็นไม่ได้ อยากเข้าไปทำลาย [/SIZE]
    [SIZE=+2]บางคนทะเลาะกับพ่อ ถูกพ่อด่าอย่างสาดเสียเทเสีย จึงโกรธมาก ถึงกับเงื้อมือจะไปตบพ่อ แต่ยั้งมือได้ทัน กระนั้นก็มีความรู้สึกผิดอย่างแรงที่คิดทำร้ายพ่อ จึงพยายามกดข่มทั้งความรู้สึกไม่ดีกับพ่อและความรู้สึกผิดในตัวเอง แต่ความรู้สึกเหล่านั้นไม่ได้หายไปไหน หากหลบลึกและออกมาก่อกวนด้วยการทำให้แขนข้างที่จะตบพ่อนั้นยกไม่ขึ้น รักษาเท่าไรก็ไม่หาย ตรวจเท่าไรก็ไม่พบความผิดปกติทางกาย อาการเหล่านี้จะไม่หายจนกว่าจะดึงความรู้สึกอกุศลดังกล่าวให้โผล่มายังจิตสำนึก สู่การรับรู้ด้วยใจที่เป็นกลาง คือเห็นมันตามที่เป็นจริง ไม่คิดจะเข้าไปทำลายมัน หรือทำตามอำนาจของมัน แม้มันจะโถมถั่งทะลักทะลายออกมาเพียงใดก็ตาม[/SIZE]
    [SIZE=+2] การเรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับมารอย่างรู้เท่าทัน หรืออยู่กับมันชนิดที่มันทำอะไรเราไม่ได้ เป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตอย่างดีงามและเป็นสุข แต่จะดีกว่านั้นหากเราสามารถใช้มันให้เกิดประโยชน์ด้วย นี้ใช่ไหมเป็นวิธีกำจัดมารอย่างได้ผล เพราะการกำจัดศัตรูที่ดีที่สุดก็คือการทำให้เขามาเป็นมิตร ทันทีที่เราทำให้มารเป็นประโยชน์ในทางส่งเสริมความดีงาม มารก็สิ้นสภาพความเป็นมาร และกลายเป็นมิตรแทน[/SIZE]
    [SIZE=+2] ความเจ็บป่วยนั้นเป็นมารก็จริง แต่ถ้าใช้ให้เป็น ก็สามารถทำให้เราเห็นธรรมได้ หลายคนที่เป็นโรคร้าย เช่น มะเร็ง เอดส์ โรคหัวใจ เมื่อรู้ว่าความตายใกล้เข้ามา ก็ได้คิดว่าเงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ ช่วยให้หายทุกข์ใจไม่ได้ จึงหันเข้าหาธรรมะและค้นพบความสุขที่แท้จริง ชีวิตและความรู้สึกนึกคิดเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง มีบางคนที่อาศัยความเจ็บปวดสอนใจให้เห็นถึงความไม่เที่ยงและความไม่น่ายึดถือของสังขาร เกิดการปล่อยวาง จิตใจเป็นอิสระ สงบเย็น แม้กายจะทุกข์ก็ตาม [/SIZE]
    [SIZE=+2] อันที่จริง ไม่ต้องถึงกับเป็นโรคร้าย แค่ล้มหมอนนอนเสื่อหรือทุกข์ทรมานด้วยโรคสามัญ ก็จะตระหนักได้ว่าคนเราเพียงแค่มีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ก็สุขแล้ว แต่เรามักไม่เห็นความจริงข้อนี้เวลามีสุขภาพดี กลับไปคิดว่าถ้ามีรถเบนซ์ บ้านหลังใหญ่ หรือเป็นผู้จัดการ รัฐมนตรี จึงจะมีความสุข ความเจ็บป่วยทำให้เรามองเห็นความจริงที่ถูกมองข้าม และตระหนักถึงความสุขที่ถูกละเลย ในยามนั้นแหละที่ความโลภและความหลงจะลดลง เพราะเราไม่ต้องการอะไรอีกนอกจากความสุขอย่างธรรมดาสามัญอันได้แก่การมีสุขภาพดีเท่านั้น[/SIZE]
    [SIZE=+2] ในทำนองเดียวกัน ความตายก็ไม่ใช่มาร หากเราใช้ความตายเป็นเครื่องกระตุ้นใจให้ตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท หรือหลงเพลิดเพลินในความสุข ในความเป็นหนุ่มสาว หรือในทรัพย์สินเงินทอง การระลึกถึงความตายอยู่เป็นนิจทำให้เราขวนขวายหมั่นเพียรในสิ่งที่เราชอบผัดผ่อน เช่น การปฏิบัติตัวอย่างดีที่สุดต่อคนที่เรารักและรักเรา ไม่ผัดผ่อนโดยอ้างว่าวันนี้ขอเที่ยวก่อนหรือหาเงินก่อน อีกสิบปีถึงค่อยหาเวลาอยู่กับลูก หรือปีหน้าค่อยไปเยี่ยมพ่อแม่ก็ได้ เมื่อระลึกถึงความตายอยู่เสมอ เราย่อมตระหนักว่าวันนั้นอาจมาไม่ถึงก็ได้ เพราะไม่เราหรือเขาอาจจะไปก่อน จึงควรรีบทำสิ่งดี ๆ กับเขาเสียแต่วันนี้[/SIZE]
    [SIZE=+2] ในอีกด้านหนึ่งความตายก็สามารถช่วยให้เราปล่อยวางในสิ่งที่เราชอบยึดถือ เช่น ความโลภ ความโกรธ ความกลุ้มกังวล ความเศร้าโศกเสียใจ โดยไม่ต้องรอให้ความตายมาเคาะประตู เพียงแค่นึกถึงความตายของตนเองอย่างจริงจัง ความอยากรวย อยากดัง ก็จะฝ่อลงไปทันที เพราะตายแล้วก็เอาไปไม่ได้ ในขณะเดียวกัน ความโกรธเกลียดก็จะบรรเทาลง เพราะได้คิดว่าอีกไม่นานก็ต้องตายจากกัน จะโกรธกันไปทำไม ความกลุ้มกังวลเรื่องงานการ หรือเสียใจที่สูญเงิน จะมลายไปเช่นกัน เพราะมันกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยไปทันทีเมื่อเทียบกับความตายของตัวเอง[/SIZE]
    [SIZE=+2] มิใช่แต่ขันธมาร และมัจจุมารเท่านั้น กิเลสมารก็สามารถเป็นประโยชน์แก่เราได้ หากรู้จักใช้ พระนันทะซึ่งเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า ยอมทิ้งคนรักและออกบวช มาบำเพ็ญสมาธิภาวนาก็เพราะปรารถนาเทพธิดาในสวรรค์ แต่เมื่อบำเพ็ญสมาธิภาวนาไปถึงจุดหนึ่งก็พบว่าความสุขที่ยิ่งกว่านั้นมีอยู่แล้วในใจตน จึงเกิดความเพียรในการปฏิบัติธรรมจนหลุดพ้นจากกิเลส เช่นเดียวกับลูกชายของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ยอมเข้าวัดฟังธรรมจากพระพุทธองค์ เพราะอยากได้ค่าจ้างจากพ่อ แต่ในที่สุดก็บรรลุธรรมเพราะการฟังธรรมนั้นเอง ทั้งสองกรณีเป็นตัวอย่างของวิธีการที่เรียกว่าใช้ตัณหาละตัณหา [/SIZE]
    [SIZE=+2] ถึงจะละตัณหาได้ไม่หมด แต่พลังในการทำความดีก็สามารถเกิดขึ้นได้จากตัณหา หากใช้ให้เป็น มีเรื่องเล่าว่า ยายพาหลานชายวัย ๓ ขวบไปถวายอาหารเช้าให้หลวงปู่ขาว เด็กน้อยเห็นเงาะเต็มฝาบาตรข้างหลวงปู่ เกิดอยากกินขึ้นมา หลวงปู่จึงพูดว่า มาแลกกัน ถ้าหนูนั่งสมาธิ หลวงปู่ก็จะให้กินเงาะทั้งฝาบาตร ด้วยความอยากกินมาก เด็กน้อยจึงตกลง หลวงพ่อแนะให้เด็กน้อยนั่งขัดสมาธิ หลับตา และนึกคำว่า “หมากเงาะ หมากเงาะ” ทุกลมหายใจเข้าออก เด็กน้อยก็ทำตาม ใจก็นึกเห็นภาพเงาะชัดเจนจนน้ำลายไหล แต่ทำไปสักพัก ใจก็เริ่มสงบ มารู้สึกตัวอีกทีก็เมื่อได้ยินเสียงระฆัง เมื่อลืมตาขึ้นมา ก็พบว่าศาลาทั้งหมดว่างเปล่า มีแต่หลวงปู่ขาวนั่งสมาธิอยู่ข้างหน้าผู้เดียว เด็กน้อยไม่รู้ว่าตอนนั้นเป็นเวลาบ่ายสามแล้ว เด็กน้อยนั่งสมาธินานถึง ๘ ชั่วโมงโดยไม่ขยับเขยื้อนเพียงเพราะความอยากกินเงาะเป็นปฐมเหตุ[/SIZE]
    [SIZE=+2] คนฉลาดย่อมไม่ปล่อยให้มารเข้ามาก่อกวนอย่างเดียว แต่ยังรู้จักใช้มารให้เป็นประโยชน์ หรือเปลี่ยนมารให้เป็นมิตร อุปสรรคใด ๆ ก็ตาม มิใช่เป็นสิ่งขัดขวางหรือบั่นทอนเราเท่านั้น หากยังสามารถเป็นเครื่องส่งเสริมให้เราเข้าถึงความดีหรือบรรลุความสำเร็จที่ พึงประสงค์ ในการทำสมาธิภาวนา ความฟุ้งซ่าน ความขุ่นเคือง ความเครียด มิใช่ตัวอุปสรรคหรือปัญหา หากมีสติเห็นมันด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่พยายามกดข่มหรือผลักไสมัน ในที่สุดมันก็จะเผยความจริงออกมา ทำให้เราเกิดปัญญาแลเห็นไตรลักษณ์ คือความไม่เที่ยง ไม่คงตัว และไม่ใช่ตัวตน ที่ไม่น่ายึดถือและยึดถือไม่ได้ ถึงตรงนี้เราจะเห็นว่า เพราะความยึดถือเป็น “ตัวกู ของกู” นี้แหละที่ทำให้เราทุกข์ สาเหตุแห่งทุกข์ที่ปรากฏแก่เรา ย่อมแสดงให้เราเห็นถึงทางพ้นทุกข์ นั่นคือการปล่อยวางจากความยึดถือ ถ้าความฟุ้งซ่าน ความขุ่นเคือง ความเครียด ความเศร้าโศก เป็นความทุกข์ มันก็เผยแสดงให้เห็นความดับทุกข์ในเวลาเดียวกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งสิ่งที่เป็นปัญหาก็สามารถแปรเป็นปัญญาได้เช่นกัน

    มารกับมิตร ปัญหากับปัญญา อุปสรรคและตัวช่วย ตลอดจนทุกข์และสุข มิใช่เป็นสิ่งที่แยกจากกันหรืออยู่คนละขั้ว หากอยู่ด้วยกันเหมือนสองด้านของเหรียญเดียวกัน ถ้ามองให้เป็นก็จะเห็นได้ไม่ยาก
    [/SIZE]



    [SIZE=+2]http://www.visalo.org/article/sarakadee255004.htm
    [/SIZE]
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เมื่อมั่งมี มากมาร มิตรเหมือนมอง
    เมื่อมัวหมอง ไม่มอง เหมือนหมูหมา
    เมื่อไม่มี(กิเลส) มารเมิน ไม่มองมา
    เมื่อมอดม้วย แม้นหมู่มาร มองไม่มี


    pity_pig
     
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    นี่คุยกันนานแล้วนี่น้าปราบ จะข้ามปีแล้ว

    เห็นสัญญาเป็นตน เห็นตนในสัญญาอยู่รึป่าว
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    มันเป็นที่มาของฟังธรรมมาผิดก็เลยผิดแต่แรกไง

    สัญญาตนผมยังเป็นตน ตามฐานะที่เป็นได้

    น้องโหน่งไม่เห็นสัญญาเป็นตนแล้วก็อนุโมทนาด้วย
     
  5. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แล้วแต่สติระลึกได้
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    วิปัสนาธุระสอนให้บรรลุธรรมไม่ได้ เกี่ยวยังไงหว่า

    ข้ามไปเลยนะ มันเข้าใจกันคนละอย่าง คุยซ้ำๆก้เท่านั้น ^^
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    มันทำให้ไปศึกษาผิดที่ไง มันเลยผิดตั้งแต่แรก
    ไปศึกษาเอาแต่ส่วนผล แต่ไม่ไปยอมศึกษาวิธีเข้าถึงผล

    เรียกว่า ได้แต่ไปรอซื้อขนมชั้นที่เขาทำไว้แล้ว
    แต่ตัวเองทำไม่เป็นซักที รู้แต่ว่า นี่คือ ขนมฉั๊น
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    หนึ่งมารชิดใกล้
    วะสั่นต์ โซติดกุศลา


    ชื่นชีวันเมื่อมารและเธอชิดใกล้
    แต่ไฉนเธอห่างมารไปทุกที
    ช่างไม่ยึดน้ำใจใยดี
    เพลินไมตรีสัมพัง ...​

    เริ่มแต่วันที่เราคบกันคล้ายเพื่อน
    แต่ดูเหมือนมีสิ่งกวนใจ ไหวหวั่น
    ปล่อยให้รุมสุมขอนนานวัน
    เปลี่ยนเป็นมารมิตรเธอ ...​

    *ไม่เคยหงายคว่ำดวงใจ
    หากวันใดผ่องใสมารเก้อ
    เฝ้าคอยแต่ชงละเมอ
    ยามเมื่อเธอห่างไกล(กิเลส) ...​

    อยากให้เธอได้มองเห็นใจมารหน่อย
    แต่เพียงน้อยคือหนึ่งมิตรมารชิดใกล้
    จะคู่ควรเสมอเธอเพียงใด
    สุดแม้ธรรมไม่เพลิน

    สุดแม้ธรรมไม่เพลิ้น !!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2012
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    สามวันนี้นายหลงพูดแต่ปริยัติ เพราะเหตุนี้รึเปล่าถึงไปตัดสินว่าผู้นี้ ผู้นั้น

    ว่ารู้แต่ร่ำเรียน แต่ปฏิบัติไม่ได้

    ที่จริงในที่นี้นั่งหลับเป็นกันทุกคน สภาวะไหนๆก้มีประสพการณ์กันมาทุกคน

    คุยกันหลายปีก็วลอยู่แต่เรื่องเดิมๆ น่าจะก้าวข้ามสภาวะนี้ลงวิปัสสนากันได้แล้ว
     
  10. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    สอนแบบ ไม่เบื่อได้มั๊ย แบบ นั่งๆอยู่แล้ว มีไอพ่นบินผ่าน ยังงั้นนะ
    แบบนี้ไม่ไหว ตาลาย มากล่อมกัน ซัดๆ
    บอกเลย วิชานี้มา ขอโดดเรียนครับครู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2012
  11. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เป็นการบ่ม อินทรีย์ ๕ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และ ปัญญา

    เห็นแล้วไม่อยากศึกษา เกิดตัดสินว่าอรรถธรรมเป็นสิ่งไร้สาระ
    ขณะนั้น ทิฏฐิวิปยุต เป็นอโยนิโส เป็นเหตุให้สติไม่เกิด นั้นแลโลภะเกิดขึ้นแล้ว

    อ่านได้ฉองบรรทัด เกิดรู้สึกว่าต้องอ่านอีกเยอะ
    ขณะนั้นถีนะ ความท้อถอยเกิดแล้ว

    ถ้าศึกษาวันละไม่มากพอเป็น ปัญญา ให้ญาณสัมปยุตเนืองๆ
    ค่อยอ่านทีละคำ ทำความเข้าใจทีละประโยค คำต่อคำ บรรทัดต่อบรรทัด
    ขณะนั้น วิริยะ สติ สมาธิ เกิดแล้ว
    อ่านแล้วเข้าใจ พิจารณาตาแล้วเข้าใจ ขณะนั้นเป็น สุตมยปัญญา จิตมยปัญญา
    เมื่อเหตุเกิด ธรรมเกิด แล้วสติระลึกได้ ตามรู้สภาวะธรรมที่เกิด ขณะนั้นเป็น ภาวนาปัญญา
     
  12. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ครู คร๊าบ ด้วยความเครพ
    ผมไม่ได้บอกว่าไร้ประโยชน์ นะ มันมีประโยชน์มากกกกกกกกกก
    จน ตัวหนังสือ มันล้นจอ ออกมาเลยแหละ
    ครู คร๊าบ มันเยอะ จน จำไม่หวาดไม่ไหว คร๊าบครู
    เหมือนครู โดนบังคับ ให้กินยาขม เพื่อที่จะให้หายจากอาการป่วย ยังใงยังงั้นเลย คร๊าบครู
    จำเป็น คร๊าบ จำเป็นมาก ไม่งั้น ครูจะพูดซ้ำๆๆๆๆ ให้เมื่อยทำไม ผมเข้าใจ คร๊าบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2012
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    บ้าหรือ !?

    ภาวนามัยปัญญา เขา หมายถึง ผลจิตเกิด ซึ่งก็คือ บรรลุธรรม

    มิน่า มันนั่งแทะกระดาษทุกวัน คิดว่า ไหลได้ตามตัวหนังสือคือ
    ภาวนามัยยะปัญญา ขี้แล้วแบบนั้น ขี้ล้วน!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2012
  14. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    นิวรณ์ เป็นไรมากป่าว สงบสติอารมณ์หน่อย
    เพ้อเป็นกลอนเป็นเพลง เป็นห่วงนะ
    อะเราแผ่เมตตาให้นิวรณ์และคนที่ไม่สบอารมณ์ลุงหมานกับเราล่ะกัน
    <center>บทแผ่เมตตา</center> สัพเพ สัตตา
    สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

    อะเวรา (โหนตุ)
    จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

    อัพยาปัชฌา
    จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

    อะนีฆา (โหนตุ)
    จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

    สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
    จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เถิดฯ
     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=55>๓. เจตสิกฝ่ายดี (ชื่อว่า โสภณเจตสิก)</TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> โสภณเจตสิก มี ๒๕ ดวง เป็นเจตสิกฝ่ายดีงาม จะเข้าประกอบจิตปรุงแต่งจิตเฉพาะจิตที่เป็นกุศล เท่านั้น หรือเกิดขึ้นในขณะที่จิตใจของคนที่ทำดี พูดดี คิดดี มีการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น เป็นผลทำให้ชีวิตของผู้นั้นเจริญก้าวหน้า มีความสุขความสมหวังติดตามมา แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=443><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 height=55 width=429>
    โสภณเจตสิก แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=211>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=374><TBODY><TR><TD width=44 align=right>๑.</TD><TD width=192>โสภณสาธารณเจตสิก </TD><TD width=41 align=right>๑๙</TD><TD width=71 align=middle>ดวง</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=right>๒.</TD><TD>วิรตีเจตสิก </TD><TD align=right></TD><TD align=middle>ดวง</TD></TR><TR><TD align=right>๓.</TD><TD>อัปปมัญญาเจตสิก </TD><TD align=right></TD><TD align=middle>ดวง</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=right>๔.</TD><TD>ปัญญินทรียเจตสิก </TD><TD align=right></TD><TD align=middle>ดวง</TD></TR><TR><TD colSpan=4 align=right>รวมเป็น ๒๕ ดวง (ดูภาพข้างบนประกอบ)</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=55>๑. โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> โสภณสาธารณเจตสิกทั้ง ๑๙ ดวงนี้ จะเข้าประกอบจิตใจ ในการทำความดีทุกประเภท เกิดขึ้นได้ในจิตใจของคนทั่วไป ขณะที่ทำคุณงามความดี เช่น ขณะที่ทำทาน รักษาศีล เจริญสมถวิปัสสนาหรือพูดง่าย ๆ ว่า เกิดขึ้นกับโสภณจิต ๕๙ ดวง หรือ ๙๑ ดวง ซึ่งเราได้ศึกษามาแล้ว คือกามาวจรโสภณจิต ๒๔ ดวง (การทำบุญทั่วไป) มหัคคตจิต ๒๗ ดวง (การทำรูปฌานและอรูปฌาน) โลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือ ๔๐ ดวง (การตัดกิเลสได้โดยเด็ดขาด) ถ้ายังจำไม่ได้ต้องไปทบทวนดูอีกครั้ง เพื่อความเข้าใจ</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=539><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 width=519>
    โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง มีชื่อและความหมาย ดังนี้
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="96%"><TBODY><TR bgColor=#ffd9b3><TD colSpan=2> ชื่อ</TD><TD height=55 colSpan=2>ความหมาย</TD></TR><TR><TD width=39 align=right>๑.</TD><TD width=162>สัทธา</TD><TD colSpan=2>ความเลื่อมใสต่อกุศล</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=right>๒.</TD><TD>สติ</TD><TD colSpan=2>การระลึกได้ในอารมณ์ที่เป็นกุศล</TD></TR><TR><TD align=right>๓.</TD><TD>หิริ</TD><TD colSpan=2>ความละอายต่อบาป</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=right>๔.</TD><TD>โอตตัปปะ </TD><TD colSpan=2>การสะดุ้งกลัวต่อบาป</TD></TR><TR><TD align=right>๕.</TD><TD>อโลภะ </TD><TD colSpan=2>ความไม่อยากได้</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=right>๖.</TD><TD>อโทสะ</TD><TD colSpan=2>ความไม่โกรธ</TD></TR><TR><TD align=right>๗.</TD><TD>ตัตตรมัชฌัตตตา</TD><TD colSpan=2>ความเป็นกลางในกุศล</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=right>๘.</TD><TD>กายปัสสัทธิ</TD><TD width=184>เจตสิกสงบ</TD><TD width=161>
    ขณะทำกุศล
    </TD></TR><TR><TD align=right>๙.</TD><TD>จิตตปัสสัทธิ</TD><TD>จิตสงบ</TD><TD>
    "
    </TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=right>๑๐.</TD><TD>กายลหุตา </TD><TD>เจตสิกเบา</TD><TD>
    "
    </TD></TR><TR><TD align=right>๑๑.</TD><TD>จิตตลหุตา</TD><TD>จิตเบา</TD><TD>
    "
    </TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=right>๑๒.</TD><TD>กายมุทุตา </TD><TD>เจตสิกอ่อนโยน</TD><TD>
    "
    </TD></TR><TR><TD align=right>๑๓.</TD><TD>จิตตมุทุตา </TD><TD>จิตอ่อนโยน</TD><TD>
    "
    </TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=right>๑๔.</TD><TD>กายกัมมัญญตา</TD><TD>เจตสิกเหมาะสม</TD><TD>
    "
    </TD></TR><TR><TD align=right>๑๕.</TD><TD>จิตตกัมมัญญตา</TD><TD>จิตเหมาะสม</TD><TD>
    "
    </TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=right>๑๖.</TD><TD>กายปาคุญญตา</TD><TD>เจตสิกคล่องแคล่ว</TD><TD>
    "
    </TD></TR><TR><TD align=right>๑๗.</TD><TD>จิตตปาคุญญตา</TD><TD>จิตคล่องแคล่ว</TD><TD>
    "
    </TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=right>๑๘.</TD><TD>กายุชุกตา</TD><TD>เจตสิกซื่อตรง</TD><TD>
    "
    </TD></TR><TR><TD align=right>๑๙.</TD><TD>จิตตุชุกตา </TD><TD>จิตซื่อตรง</TD><TD>
    "
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    งั้นครูก็ ต่อไปเลยละกัน เดี๋ยวผมมาตามแกะทีละตัว เพื่อผลประโยชน์ที่ ควรได้! ควรมี! ควรเป็น!
    ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2012
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=55>๒. เจตสิกฝ่ายดีใช้ในการรักษาศีล </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> เรียกว่า วิรตีเจตสิก จะประกอบกับจิตของคน ในขณะรักษาศีล เป็นสภาวธรรมที่ปรุงแต่งจิตให้ งดเว้นจากการทำบาปมี ๓ ลักษณะด้วยกัน บางคนเว้นจากการทำบาป โดยอัธยาศัย มีจิตเมตตาต่อสัตว์ ทั้งหลายเป็นนิสัยประจำตน บางคนเว้นจากการทำบาปเป็นวัน ๆ เช่น การสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ในวันพระ เป็นต้น และลักษณะที่ ๓ เป็นการเว้นจากการทำบาปโดยเด็ดขาด ไม่ทำทุจริตทางกายวาจาเลย ได้แก่ จิตของพระอริยบุคคล </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=5 cellPadding=5 width="90%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3>วิรตีเจตสิก มี ๓ ดวง คือ</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE border=0 cellSpacing=3 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD>๑) สัมมาวาจาเจตสิก ได้แก่ การตั้งใจงดเว้นจากการทำบาปทางวาจา คือไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อ เรียกว่า วจีทุจริต ๔ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD>๒) สัมมากัมมันตเจตสิก ได้แก่ การตั้งใจงดเว้นจากการทำบาปทางกาย คือการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม เรียกว่า กายทุจริต ๓ ที่ไม่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD>๓) สัมมาอาชีวเจตสิก ได้แก่ การงดเว้นจากกายทุจริต ๓ และวจีทุจริต ๔ ที่เกี่ยวกับอาชีพ ในการรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือ ศีล ๒๒๗ จะต้องมีเจตสิก ๓ ดวงนี้เข้าปรุงแต่งจิตใจเสมอ ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา (โลกียบุคคล) จะเข้าประกอบกับจิตไม่พร้อมกันและไม่แน่นอน แต่ถ้าประกอบกับจิตของพระอริยบุคคล (โลกุตตรบุคคล) แล้ว จะเข้าประกอบพร้อมกันเรียกว่า เป็นองค์ของมรรค</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> การงดเว้นจากการทำบาปนี้ ชื่อว่าเป็นการเจริญกุศล ย่อมจะทำให้ผู้ปฏิบัติได้เกิดเป็นมนุษย์หรือ เกิดเป็นเทวดา หรือเป็นเหตุให้เข้าถึงนิพพานในที่สุด ย่อมเป็นที่รักที่พอใจของบุคคลทั่วไป จะมีความสุขสวัสดี ทั้งยามหลับและยามตื่น</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เอางี้สิ ไม่ต้องเยอะ

    ทำความเข้าใจ เจตสิกวันละชนิดก็ได้

    ศึกษามันก่อนว่า มันมีความหมายอย่างไร มีลักษณะอย่างไร

    แล้วพิจารณาของที่มีอยู่ ของที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า

    ดูว่าลักษณะที่เกิดนี้ มันตรงกับที่ศึกษามาไหม

    ใหม่ๆเหมือนจิ๊กซอลที่กระจัดกระจาย ระลึกได้บ้าง ไม่ได้บ้าง

    ถ้าเห็นตรงสภาวะ ก็จะเห็นลักษณะอกาการหย่อนตัวของรูปนาม

    เมื่อคล่อง ก็คล้ายๆต่อจิ๊กซอลเป็นแผนที่ ทุกอย่างมันเกิดพร้อมกันหมด แต่ปัญญาเห็นได้ รู้ชัดในธรรม



    ประโยชน์ คือ รู้จักพิจารณาธรรมในธรรม รู้จักจิตในจิต

    รู้จักรูปนาม รู้ และ สิ่งที่ถูกรู้ แยกออกจากกันชัดเจน

    เป็นปัจจัยบ่มอินทรีย์ดับความเห็นผิด เห็นสังขารเป็นเรา เห็นสัญญาเป็นเรา ฯลฯ

    ได้ชื่อว่า รู้จักกุศล ละอกุศล

    ได้ชื่อว่า ไม่หลงโลก บั่นสังสารวัฏฏะให้สั้นลง
     
  19. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ติดขัดอะไร คุณถามลุงหมานได้เลย
     
  20. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ภาวนามยปัญญา

     

แชร์หน้านี้

Loading...