เจตสิก ๕๒ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 14 กรกฎาคม 2012.

  1. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ข้อนี้ เอาปฏิบัติ นำ ปริยัติ

    หมายถึงเพียรๆ จะถูกผิดไม่รู้ ค่อยเอาปริยัติเทียบอีกที

    จะดีกว่าไหม หากปริยัตินำปฏิบัติ เพราะถูกก็รู้ ผิดก็รู้ ไม่เสียเวลา ไม่เกิดมิจฉาทิฏฐิเกินเยียวยา

    รู้หรือเขาสอนอะไรกัน ^^

    ใจจริงก็อยากไปเรียนอยู่เหมียนกัน
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เอ็งถามตัวเองก่อนที่จะไปถามคนอื่นดีกว่ามั้ง ว่าตนเองรู้จักสิ่งที่กล่าวมาแค่ไหน
     
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ก็ไม่รู้ไง ถึงมาถามลุง ^^
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ดูด้วยว่า พระสูตรที่ยกมานั้น เหมาะแก่ผู้ใด
    ยกปฏิสัมภิทามรรคมา นั้นเหมาะแก่ พระโสดาปัตติมรรคบุคคล ขึ้นไป
    และใช่ว่าพระโสดาบันและพระอริยทุกคนจะมีวาสนา ในทางปฏิสัมภิทา
    เรียนกันส่งเดชไม่รู้เรื่อง

    ผู้ที่เหมาะไปทางปฏิสัมภิทาได้จึงจะเหมาะสมที่จะเรียน จะศึกษาด้วยการฟัง อ่าน แล้วจึงทวนกลับเข้าตนในทางปฏิบัติ

    พวกเลอะๆเทอะๆ จะไปตาม พระอริย สายปฏิสัมภิทา พอดีกัน พวกนี้แบกของหนักโดยไม่รู้ตัว
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ตราบใดที่ยังไม่วกกลับเข้าที่ตัวเอง จะไม่มีทางเห็นธรรม

    การวกเข้าตัวเองคือ สังเกตุตัวเอง เหมือนคนดูชีวิตตนว่า ไอ้หมอนี่ วันนี้มันตื่นมา มันคิดอะไร มันทำอะไร
    ตั้งแต่เช้าจรดเย็น มันเป็นตัวร้ายหรือพระเอก เราต้องดูมันออก
    ถ้าวันไหนมันคิดทำอะไรตัดสินใจอะไร เราก็ต้องดูมันด้วยว่า มันคิดถูกคิดผิด
    คอยสังเกตุให้ดีเถอะ ไอ้หมอนี่ นี่แหละมันจะพาเราไปสู่นิพพาน
    แต่ที่พวกเอ็งเป็นกันคือ ไม่รู้จักไอ้หมอนี่ แต่เอ็งไปแสดงเป็นไอ้หมอนี่ซะเอง เอ็งก็ไปเรื่อยเปื่อย

    ดูตัวเองให้ตลอดเถอะ ดูแล้วต้องวิจารณ์ให้ได้ ว่าคิด อ่าน ทำอะไร นี่ดีหรือไม่ ฉลาดหรือไม่

    ขอตัว
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เอานะทิฏฐิมาอย่างนี้ ก็ไม่พูดมากไปกว่านี้แล้วล่ะ

    คงไม่ได้เอามาแปะส่งเดช

    พวกนี้เป็นวิปัสสนภูมิทั้งนั้น

    ในพระสูตร ทรงตรัสแต่ ขันธ์๋ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยะสัจ ปฏิจสมุปบาท

    ขันธ์ แตกได้อย่างไร พิจารณาอย่างไร

    ธาตุ แตกอย่างไร พิจารณาอย่างไร

    ไตรลักษณ์เกิดอย่างไร พิจารณาอย่างไร

    ก็อยู่ในที่ยกมาทั้งนั้น

    อนึ่ง ลุงเข้าใจว่านั่งเฉยๆปัญญามันเกิดเอง หรือว่าต้องอาศัย สติ สัมปชัญยะ พิจารณา
     
  7. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    คล้ายลุงนั่งหลับตาแล้วเจอสภาวะแต่ไม่รู้ว่ามันถูกหรือผิด แล้วไปต่อไม่ได้ เข้าใจเอาว่านี้เป็นที่สุด

    ต่อมารู้ความหมายของปิติ เมื่อเจอสภาวะนี้ก็รู้แล้วว่าปิติเกิด มันก็ไม่ติดข้องอะไร

    ถ้าลุงจะเอาดีทางนี้ ลุงต้องฟังพระพุทธองค์

    ไม่ใช่เห็นเขานั่งหลับตา พูดไปเรื่อง ก็สำคัญว่าทำตามเขาไป นี้คือทางที่ถูก ที่ควรแล้ว

    มันไม่ดีหรอก

    ก่อนพุทธกาลก็นั่งหลับตามามาก ไม่ต้องฟังธรรม ไม่เคยรู้พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร

    พวกนี้มีมาก


    ฟังมาบ้าง แต่เข้าใจผิด นำไปเพียรผิดนั้นก็มีมาก

    เข้าใจว่าสภาวะสมาธินั้นเป็นสรนะ นายหลงก็นำสัลเลขสูตรมาให้พิจารณากันแล้ว ว่าสมาธิมีไว้ทำอะไร สนใจบ้างไหม
     
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ตัวอย่างฟังธรรมมาผิด เข้าใจผิด พูดผิด ศึกษามาผิด


    ผลคือ.....

     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=680><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=55>พวกที่ ๒ เข้าปรุงแต่งจิตใจในคนบางคน (ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง)</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>แต่ละดวงมีลักษณะดังนี้</TD></TR><TR><TD>๑) วิตกเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ยกจิตขึ้นสู่ความคิดนึก หรือตรึกไปในเรื่องราวต่าง ๆ เป็นเรื่องราวที่ผ่านมาแล้วบ้าง เรื่องราวที่ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง เช่น ไปดูภาพยนตร์ เรื่องที่สนุกสนานแล้ว นำมาเล่าสู่กันฟัง ผู้เล่าก็ยกจิตเล่าไปตาม เรื่องราว ผู้ฟังก็ยกจิต ฟังตามเรื่องราวที่เล่า ทำให้เกิดความสนุก สนานไปด้วยไม่ง่วงเหงาหาวนอน </TD></TR><TR><TD height=132><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="78%">อุปมาเหมือนกับบุรุษไปรษณีย์ ที่นำจดหมายเรื่องโน้นเรื่องนี้ มาส่งทำให้จิต ได้นึกคิดต่อ วิตกเจตสิก นี้เมื่อยกจิต ขึ้นสู่เรื่องราวบ่อย ๆ จะไม่เกิดอาการง่วง คนที่นอนไม่หลับก็คือคนที่หยุดคิดไม่ได้ จิตจึงไม่ง่วงไม่หลับ ถ้าจะให้หลับ ก็คือเลิกคิด หยุดคิดให้เป็นแล้ว จะหลับง่ายตามตั้งใจ</TD><TD width="22%">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๒) วิจารเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ประคับประคองจิต ไว้ในเรื่องราวหรืออารมณ์ต่างๆ ตามที่ต้องการมิให้ไปที่อื่น การทำงานของวิตกเจตสิก และวิจารเจตสิกนี้ ใกล้ชิดกันมาก เหมือนกับนกที่บินถลาอยู่กลางอากาศ เมื่อกระพือปีกแล้วจะร่อนถลาไป วิตกเจตสิกเหมือนกับ การกระพือปีกของนก วิจารเจตสิกเหมือนกับการร่อนถลาไปของนก ซึ่งจะเห็นว่าการร่อนถลาไปของนก คือวิจารเจตสิกนั้น มีความสุขุมกว่าการกระพือปีก คือวิตกเจตสิก ทั้งสองนี้จะทำงานร่วมกันเสมอสำหรับบุคคลที่ยังไม่ถึงฌาน ถ้าเป็นจิตของผู้ถึงฌานที่ ๑ และฌานที่ ๒ แล้ว เจตสิกทั้งสองนี้ จะแยกออกจากกัน นอกจากนี้ วิจารเจตสิก ยังเป็นปรปักษธรรมกับวิจิกิจฉาเจตสิกที่อยู่ ในนิวรณธรรม</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๓) อธิโมกขเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ช่วยในการตัดสินใจ ไม่เกิดการลังเลสามารถตัดสินใจได้ เด็ดขาดไม่ว่าการตัดสินใจนั้น จะถูกหรือผิดก็ตาม </TD></TR><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>เหมือนกับการขับรถไปถึงทางแยก ที่ไม่มีเครื่องหมายบอกไว้ ข้างหน้าว่าจะไปไหน คนขับก็จะต้องตัดสินใจทันทีว่า จะไปทางซ้ายหรือทางขวา คนที่มีอธิโมกขเจตสิกอยู่ในใจ จะเป็นคนที่กล้าได้กล้าเสีย ตัดสินใจได้เด็ดขาด จึงเป็นคนที่ตรงกันข้ามกับคนขี้ขลาด ที่ไม่กล้าตัดสินใจ (วิจิกิจฉา) จะทำอะไรสักอย่างหนึ่งก็คิดแล้วคิดอีกตัดสินใจไม่ได้</TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๔) วิริยเจตสิก เป็นธรรมชาติที่เพียรพยายาม เมื่อเกิดขึ้นกับคนใด ก็จะทำให้จิตใจของคนนั้น มีความอดทนต่อสู้กับความยากลำบาก มีความอุตสาหะพากเพียร ไม่รู้สึกท้อถอยในการงาน ขยันหมั่นเพียร ในการทำบุญตักบาตร รักษาศีล เจริญภาวนา ถ้าเป็นคนพื้นเพที่มีจิตใจต่ำ ก็จะขยันไปในทางความชั่วทำบาปอกุศล สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นร่ำไป</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ในบางครั้งจิตของคนเรา ก็เกิดความเบื่อหน่ายท้อถอย ในการที่จะทำความดี เพราะเข้าใจว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี วิธีที่จะปลุกใจขึ้นมา ให้ทำความดีต่อไปนั้น เขาให้พิจารณาถึง สังเวควัตถุ ๘ประการ ให้นึกถึงความทุกข์ ที่รออยู่ข้างหน้ามากมาย ถ้าเราไม่ทำความดี ก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้เลย คือ ทุกข์ที่เกิดจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกข์ที่จะต้องไปอยู่ในอบายภูมิทั้งสี่ </TD></TR><TR><TD height=42><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="66%">คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน เมื่อเราเห็นทุกข์โทษของสิ่งเหล่านี้ เราก็จะเกิดวิริยะ เพียรพยายามขึ้นมาเอง ในเรื่องที่เกี่ยวกับการงาน การเดินทาง และเรื่องอาหารการรับประทาน ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี</TD><TD width="34%">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๕) ปีติเจตสิก คือความปลาบปลื้ม หรือความอิ่มใจในอารมณ์ จะเกิดขึ้นในขณะที่ เราทำบุญทำกุศล นั่งสมาธิเจริญฌาน หรือแม้แต่ในขณะที่ เรายินดีพอใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาก ๆ ปีตินี้ก็เกิดขึ้นได้ </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=3 cellSpacing=5 cellPadding=2 width=500 bgColor=#ffd9b3><TBODY><TR><TD width=487>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=380 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 width=580>ลักษณะของปีติเจตสิก มี ๕ ประการ คือ</TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffffff><TBODY><TR><TD width=30 align=right>(๑)</TD><TD width=506>ปลาบปลื้มใจเล็กน้อยพอรู้สึกขนลุก</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=right>(๒)</TD><TD>ปลาบปลื้มใจเป็นขณะๆ ซึ่งเกิดขึ้นบ่อย ๆ</TD></TR><TR><TD align=right>(๓)</TD><TD>ปลาบปลื้มใจจนตัวโยกตัวโคลง</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=right>(๔)</TD><TD>ปลาบปลื้มใจจนถึงกับตัวลอย</TD></TR><TR><TD align=right>(๕)</TD><TD>ปลาบปลื้มใจจนอิ่มเอิบซาบซ่านไปทั่วกายและใจ</TD></TR></TBODY></TABLE>​





    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​



    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ปีติเจตสิกนี้ เป็นองค์ประกอบของฌานที่ ๑ ถึงฌานที่ ๓ ด้วย คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา รายละเอียดจะได้ศึกษากันต่อไป</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๖) ฉันทเจตสิก มีความพอใจในขณะที่เห็นของสวย ๆ เสียงเพราะ ๆ กลิ่นหอม ๆ รสอาหาร ที่อร่อย ๆ เป็นต้น เมื่อสิ่งเหล่านี้หมดไป ย่อมจะเสาะแสวงหามาอีก บางทีก็ได้มาในทางที่ไม่ถูกต้องเป็นทุจริตคือ ทำบาปอกุศลกรรมบ้าง บางทีก็ได้มาด้วยวิธีที่ถูกต้องเป็นสุจริต จะเห็นได้ว่าความต้องการของ ฉันทเจตสิก กับ โลภเจตสิก นั้นใกล้เคียงกันมาก แต่ความต้องการที่เป็นฉันทเจตสิก กับ ความต้องการของโลภเจตสิก ไม่เหมือนกัน คือ
    ความต้องการของโลภเจตสิกนั้น ย่อมยึดและติดใจอยู่ในอารมณ์นั้นๆ
    ส่วนความต้องการของฉันทเจตสิก ไม่ยึดและติดใจในอารมณ์ เหมือนการรับประทานขนม กับ การรับประทานยา เมื่อหายจากโรคแล้ว ก็คงไม่ติดใจในรสของยาอีก ที่ต้องการยา เพื่อรักษาให้หายจากโรคเท่านั้น เปรียบได้กับฉันทเจตสิกนั่นเอง
    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD><TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="70%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]




    </TD><TD>
    [​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD><TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 height=55 width=694>
    สรุป ปกิณณกเจตสิก ๖




    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD width=209>เจตสิก</TD><TD width=39 align=middle>วิตก</TD><TD bgColor=#f6f6f6 width=52 align=middle>วิจาร </TD><TD width=74 align=middle>อธิโมกข์</TD><TD bgColor=#f6f6f6 width=53 align=middle>วิริยะ</TD><TD width=42 align=middle>ปีติ</TD><TD bgColor=#f6f6f6 width=57 align=middle>ฉันทะ</TD></TR><TR><TD>จำนวนจิตที่เจตสิกเข้าประกอบได้ </TD><TD align=middle>๕๕</TD><TD bgColor=#f6f6f6 align=middle>๖๖</TD><TD align=middle>๑๑๐</TD><TD bgColor=#f6f6f6 align=middle>๑๐๕</TD><TD align=middle>๕๑</TD><TD bgColor=#f6f6f6 align=middle>๑๐๑</TD></TR></TBODY></TABLE>​



    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ภาพแสดงอัญญสมานาเจตสิก ๑๓ </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]



    http://www.buddhism-online.org/Section04A_03.htm
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กรกฎาคม 2012
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ก่อนเดินทางก็ต้องศึกษาเส้นทาง
    เมื่อจะเดินทางให้ถึงที่หมายก็ต้องศึกษาเส้นทาง
    เพราะเส้นทางมีมากมายทั้งเส้นทางที่ผิดเส้นทางที่ถูก
    พระพุทธองค์บอกทางไว้ให้แล้วโดยการเขียนป้ายบอกทางว่า
    ทางนี้เท่านั้นเป็นทางที่ถึงที่สุดแห่งทุกข์
    และก็เขียนป้ายบอกทางว่าเส้นทางนี้ไม่ควรไปเพราะมีแต่ทุกข์
    เราท่านทั้งหลายก็ต้องเดินกันเองโดยอาศัยป้ายบอกทาง
    จะอาศัยคนข้างทางก็ไม่แน่ใจว่าคนข้างทางจะรู้เส้นทางได้จริงไหม
    บอกเราได้จริงไหม อาจบอกทางผิดหรือบอกให้หลงทางก็ได้
    เราจึงจำเป็นจะต้องศึกษาเส้นทางเพื่อการเดินที่ถูกต้องให้ถึงที่หมายอย่างที่ตั้งใจไว้
    จะมีป้ายบอกทางไว้ตลอดเส้นทางไม่ต้องกลัวหลงทาง
    ถ้าเราไม่ได้มีการศึกษาเส้นทางไม่แน่ว่าเส้นนั้นจะเดินไปถูกหรือผิด ต้องนึก เดาเอา เสี่ยงเอา
    ถ้าพลาดก็หลงถ้าตรงก็บุญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กรกฎาคม 2012
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=55>๒. เจตสิกฝ่ายไม่ดี (อกุศลเจตสิก ๑๔)
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>อกุศลเจตสิก เป็นเจตสิกที่ชั่ว ที่บาป ที่หยาบ ที่ไม่งาม ที่ไม่ฉลาด อกุศลเจตสิกนี้เมื่อเข้าประกอบกับจิตแล้ว ก็ทำให้จิตเศร้าหมอง เร่าร้อน และทำให้เสียศีลธรรม</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD height=108>อกุศลเจตสิก ประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ ดวงเท่านั้น ไม่ประกอบกับจิตอย่างอื่นเลย ขณะที่อกุศลเจตสิกเข้าปรุงแต่งจิตใจ จะทำให้จิตใจผู้นั้นเป็นคนใจบาปหยาบช้า ทำแต่ความชั่วความทุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายแก่ตนเองและสังคม เมื่อตายลงย่อมไปสู่ทุคติ คืออบายภูมิ ๔ ได้แก่นรก เปรต อสุรกายและเดรัจฉาน</TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]




    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>อกุศลเจตสิก แบ่งออกเป็น ๕ กลุ่ม คือ
    กลุ่มของความมัวเมาลุ่มหลง (ไม่รู้ความจริง)
    กลุ่มของความโลภ
    กลุ่มของความโกรธ
    กลุ่มของความหดหู่ท้อถอย และ
    กลุ่มของความลังเลสงสัย

    www.buddhism-online.org
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กรกฎาคม 2012
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=55>๑. กลุ่มของความมัวเมาลุ่มหลง โมจตุกเจตสิก(ไม่รู้ความจริง)</TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]




    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>เจตสิกกลุ่มนี้ เมื่อได้ประกอบ หรือสิงสู่จิตใจของผู้ใด จะทำให้ผู้นั้นขาดสติสัมปชัญญะ ทำอะไรผิดพลาดไปหมด เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นชั่วกลายเป็นดี คิด ทำ พูดในสิ่งที่ชั่วร้าย มองโลกในแง่ร้าย หาความสุขไม่ได้ เมื่อตายลงย่อมเข้าถึงอบายภูมิทั้ง ๔ หรือเข้าถึงความเป็นเดรัจฉาน ได้แก่ความหลงผิดไม่รู้ความจริง ความไม่ละอายต่อบาป ความไม่เกรงกลัวต่อบาป และฟุ้งซ่านรำคาญใจ ในความชั่วที่ได้กระทำไปแล้ว และความดีที่ไม่ได้ทำ ได้แก่</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๑) โมหเจตสิก คือ ความหลง ทำให้ไม่รู้ความจริงของสภาวธรรม ไม่รู้เรื่องทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ การดับทุกข์ หนทางที่จะดับทุกข์ เป็นต้น</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๒) อหิริกเจตสิก คือ ความไม่ละอายต่อบาป ไม่ละอายต่อการทำอกุศล เนื่องจากไม่เคารพในตนเอง ในวัย ในเพศ หรือในตระกูลของตน เป็นต้น จึงเกิดการทำชั่วโดยไม่ละอายต่อบาป</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๓) อโนตตัปปเจตสิก คือ ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป ไม่สะดุ้งกลัวต่อการทำอกุศลกรรม ไม่มีความเกลียดต่อบาป อันเนื่องมาจากในจิตใจนั้น ขาดความเคารพต่อผู้อื่น ไม่มีความเกรงใจผู้อื่น จึงสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นโดยง่าย</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๔) อุทธัจจเจตสิก คือ ความฟุ้งซ่าน ไม่มีความสงบใจ คิดนึกไปในเรื่องราวต่าง ๆ มากมายจนทำให้นอนไม่หลับ เนื่องจากขาดความฉลาด ที่จะผูกจิตใจของตนไว้กับท่าทางการนอน หรือลมหายใจ หรือผูกไว้กับการภาวนา พุท หายใจเข้า โธ หายใจออก</TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.buddhism-online.org/Section04A_05.htm
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=55>๒. กลุ่มของความโลภ (ความอยากได้)</TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]






    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>เป็นเรื่องของความอยากได้ เมื่อเจตสิกกลุ่มนี้ ประกอบอยู่ในจิตของผู้ใด จะทำให้ผู้นั้นเต็มไปด้วย ความโลภ มีความอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้นิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ จะต้องกระเสือกกระสน หาสิ่งที่มาสนองความต้องการ ทางตาในสิ่งที่สวยงาม สนองความต้องการทางหู คือเสียงที่มีความไพเราะเสนาะหู กลิ่นที่หอม ๆ แม้จะต้องหามา ด้วยราคาแพงก็ไม่รู้สึกเสียดาย สนองความต้องการทางลิ้น คือรสอาหารที่เลอเลิศ แม้จะต้องเสียเวลาและเงินทอง ก็ลงทุนเดินทางไป เพื่อความอร่อยเพียงมื้อเดียว หรือแสวงหาสัมผัสอันอ่อนนุ่มถูกใจ ถ้าสังเกตดูจะพบว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นเครื่องทำให้จิตใจ มีความกระวนกระวาย ความสงบเยือกเย็น ก็จะไม่เกิดขึ้นในจิตใจเลย เมื่อผู้นั้นสะสม ความต้องการไว้มาก ๆ ตายไปย่อมเป็นเปรตหิวโหย มีความอยากไม่มีที่สิ้นสุด เจตสิกกลุ่มนี้มี ๓ คือ</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๑) โลภเจตสิก คือ ภาวะของจิตใจที่เกิดความรัก ความอยากได้ ความติดใจในของสวย ๆ งาม ๆ </TD></TR><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="85%">เช่น ความรักของชายหนุ่มหญิงสาว มีความรัก ความพอใจในความสวยงาม ของเรือนร่าง ในน้ำเสียง เป็นต้น โดยทั่วไปก็ได้แก่ความยินดีพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นเอง
    บางทีเราก็เรียกว่าตัณหา (ความต้องการ) ราคะ (ความกำหนัด) กามะ (ความใคร่) นันทะ (ความเพลิดเพลิน) เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นกิเลส ทำให้จิตใจและร่างกาย กระวนกระวายกระสับกระส่าย หาความสงบไม่ได้
    เมื่อตายลงในขณะที่มีความรู้สึกเช่นนี้ ก็ต้องไปเกิดเป็นเปรต ตกอยู่ในภาวะอดอยากหิวโหย


    </TD><TD width="15%">[​IMG]




    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๒) ทิฏฐิเจตสิก คือ ภาวะของจิตใจที่เห็นผิดไปจากความจริง เห็นว่าบุญบาปไม่มี ทำบุญทำบาป ไม่มีผลไม่ต้องรับผล ไม่อยากพบเห็น แม้ท่านจะเป็นพระอริยบุคคล ทิฏฐิเจตสิกนี้ มีความละเอียดละออมาก ปุถุชนทั่วไป มีความเห็นผิดจากความเป็นจริงทุกคน โดยเข้าใจว่ า เป็นตัวเป็นตนมีเรามีเขา เรียกว่า ทิฏฐิสามัญ นอกจาก นี้ยังมีความเห็นผิดพิเศษอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ เมื่อใครเห็นผิด และปฏิบัติตนเผยแผ่ความเห็นผิดของตนแล้ว เมื่อตายไปต้องตกนรกแน่นอน รายละเอียดเรื่องทิฏฐิมีมาก จะได้ศึกษากันในโอกาสต่อไป</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๓) มานเจตสิก คือ ความถือตน ความทะนงตน มักจะเอาตนเอง เข้าไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เสมอว่า ตนมีชาติ โคตร สกุล ทรัพย์ สมบัติ ศิลปวิทยา การงานหรือความฉลาด ที่เหนือกว่าคนอื่นบ้าง เสมอกับคนอื่นบ้าง หรือต่ำกว่าคนอื่นบ้าง ทำให้จิตใจว้าวุ่นขาดความสงบ ไม่เป็นที่ตั้งของกุศล เมื่อเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ จะเกิดในตระกูลที่ต่ำต้อย เช่น ขอทาน จงรู้ได้เลยว่าในอดีตนั้น เขาเป็นคนเหย่อหยิ่งทะนงตน ลบหลู่ดูถูกเหยียดหยามคนอื่นไว้ ไม่นึกถึงบุญคุณคนที่เคยช่วยเหลือมา จึงตกอยู่ในสภาพเช่นนี้</TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]



    http://www.buddhism-online.org/Section04A_06.htm


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กรกฎาคม 2012
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=55>๓. กลุ่มของความโกรธ เจตสิกกลุ่มนี้มี ๔ คือ</TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๑) โทสเจตสิก คือ ความโกรธ ความไม่พอใจ ความคับแค้นใจ ที่อยู่ในจิตใจของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐีมีเงิน คนยากจนเข็ญใจ หรือว่าจะอยู่ในฐานะอย่างไร ก็ตามเมื่อถูกความโกรธเข้าครอบงำจิตใจแล้ว ย่อมจะกลายเป็นคนหยาบช้า กักขฬะขาดความเมตตาปรานี มีความดุร้ายเหมือนอสรพิษ มีความกระสับกระส่ายเหมือนคนที่ถูกยาพิษ</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>เหตุที่ทำให้เกิดความโกรธขึ้นได้นี้ มีหลายประการด้วยกัน เช่น นายดำและนายแดง เป็นพี่น้องกันแต่มาขัดใจกัน เพราะนายดำเป็นคนไม่ดี ชอบเล่นการพนัน และได้โกงมรดกส่วนแบ่งของนายแดง และน้อง ๆ ไปเป็นจำนวนมาก จนสุดท้ายก็หมดตัวเพราะการพนัน ญาติ ๆ กลับมาขอให้นายแดงช่วยเหลือเกื้อกูลนายดำ เพราะเห็นแก่ความเป็นพี่เป็นน้อง ทำให้นายแดงพลอยโกรธญาติ คนที่มาพูดขอให้ช่วยไปด้วย ชี้ให้เห็นว่าความโกรธความไม่พอใจนั้น เกิดจากมีคนมาทำความเสื่อมเสียให้ กำลังทำความเสื่อมเสียให้ หรือจะทำความเสื่อมเสียให้แก่เรา แก่คนที่รัก หรือเกื้อหนุนคนที่เราเกลียด หรือแม้แต่สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การเดินสะดุดขาเก้าอี้ก็เป็นเหตุให้เราโกรธได้เช่นกัน</TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>ความโกรธจึงเป็นความชั่วร้ายที่เกิดทางจิตใจ ถ้าละความโกรธได้ ก็จะมีชีวิตอยู่ด้วยความผาสุก ผู้ใดสะสมความโกรธบ่อย จะทำให้ขาดความสุขในชีวิต เกิดโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน เมื่อตายลงย่อมไปเสวยผลของความโกรธในนรก</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๒) อิสสาเจตสิก เป็นเจตสิกตัวที่ ๒ ในกลุ่มของความโกรธ เป็นเรื่องของจิตใจที่มีความริษยา ไม่ยินดีในการได้ลาภ ได้ยศของคนอื่น เห็นคนอื่นเขาได้ดียิ่งร้อนใจ ที่เรียกว่า ไฟริษยา นั่นแหละ ชีวิตจะขาดความสุข เป็นตัวผูกหรือเครื่องผูกสัตว์ที่เรียกว่า อิสสาสังโยชน์ ทำให้ต้องเวียนเกิดเวียนตาย ในภพน้อยภพใหญ่ในวัฏฏสงสารอันยาวนาน</TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๓) มัจฉริยเจตสิก คือ ความตระหนี่เหนียวแน่น หวงแหนในทรัพย์และความดีของตน ไม่ยอมเสียสละให้แก่ผู้อื่น ซึ่งมีหลายอย่างด้วยกันคือ การตระหนี่หวงแหนที่อยู่อาศัย ที่หลับนอน เช่น มีญาติเดินทาง มาจากต่างจังหวัด ขอพักอาศัยสัก ๒-๓ วัน ก็ไม่ให้อาศัย การหวงลาภที่ได้มาไม่ยอมแบ่งปัน เช่น วันปีใหม่ บางคนได้ของขวัญมาเยอะ แต่เก็บไว้คนเดียวแทนที่จะแบ่งปันให้คนอื่นบ้าง การตระหนี่ในตระกูล ไม่ยอมให้คนอื่นร่วมใช้ กลัวคนอื่นจะมาทำให้ตระกูลตกต่ำไป </TD></TR><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>การตระหนี่ในวรรณะคือความงาม ต้องการให้ตนงามเพียงคนเดียว ไม่ยินดีในความงามของคนอื่น รวมถึงการตระหนี่ในธรรมด้วย โดยไม่ต้องการให้คนอื่นรู้ตามที่ตนรู้ ซึ่งล้วนแต่ทำให้จิตใจเร่าร้อน เพราะกลัวคนอื่นจะมาเบียดเบียนในทรัพย์ และคุณความดีของตน แม้เป็นเศรษฐีร่ำรวยเงินทอง ต้องขึ้นไปหุงข้าวมธุปายาสบนยอดปราสาท เพราะกลัวคนอื่นเห็นเข้าจะมาขอกิน</TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๔) กุกกุจจเจตสิก คือ ความเดือดร้อนใจในบาปที่ตนได้ทำไว้ และความดีที่คิดว่า จะทำแต่ยังไม่ได้ทำ รวมทั้งการคิดที่ว่า สิ่งนี้ควรทำแต่ไม่ทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำแต่ได้ทำไปแล้ว เหมือนกันกับคนที่บนตัวเองว่าจะบวช แต่ก็ยังไม่มีโอกาสจะบวช จึงคิดเดือดร้อนใจกลัวภัยต่าง ๆ จะมาถึงตน เป็นต้น</TD></TR><TR><TD height=234>
    [​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=55>๔. กลุ่มของความหดหู่ท้อถอย (ถีทุกเจตสิก) เจตสิกกลุ่มนี้มี ๒ คือ</TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๑) ถีนเจตสิก เป็นเจตสิกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้จิตใจหดหู่ท้อถอย ไม่อยากจะทำคุณงามความดี หรือเพียรพยายามต่อไป เวลาอ่านหนังสือหรือปฏิบัติธรรมอยู่ จะเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมา บอกไม่ถูกว่าเพราะอะไร เช่นบางคนตั้งใจเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๑ สัปดาห์ แต่พอปฏิบัติได้เพียง ๓ วัน ก็เกิดความท้อแท้เบื่อหน่าย จนทนไม่ไหวต้องออกจากกรรมฐาน เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะถูก ถีนเจตสิก เข้าปรุงแต่งจิตใจ ทำให้เกิดความท้อแท้ขึ้นมานั่นเอง </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>๒) มิทธเจตสิก คือ เจตสิกที่ทำให้จิตใจง่วงซึม ท้อถอยจากความตั้งใจ อยากที่จะนอนหรือนั่งสัปหงก โงกง่วง สมองไม่ปลอดโปร่งคิดอะไรไม่ออก จึงเป็นสิ่งที่กางกั้นกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ให้เกิดขึ้นในจิตใจ เหมือนกับทำนบกั้นน้ำไว้ ทำให้พืชไร่ไม่ได้รับความชุ่มชื้นจากน้ำ</TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>เจตสิก ๒ ดวงนี้ เป็นเจตสิกที่ขัดขวางต่อความเจริญก้าวหน้า ในด้านความคิดและการกระทำทั้งปวง จะเกิดพร้อมกันเสมอ ในคนที่มีจิตใจไม่เข้มแข็ง (สังขาริกจิต) ถ้าไม่เกิดก็ไม่เกิดด้วยกัน เหมือนดวงไฟกับ แสงสว่าง เมื่อดวงไฟหรี่แสงสว่างก็จะลดน้อยลงไปพร้อม ๆ กัน</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=55>๕. กลุ่มของความลังเลสงสัย วิจิกิจฉาเจตสิก เจตสิกกลุ่มนี้มี ๑ ดวง คือ</TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>วิจิกิจฉาเจตสิก คือ ความสงสัย ความลังเลไม่แน่ใจ จนไม่กล้าตัดสินใจในสิ่งที่เผชิญหน้าอยู่ เป็นเจตสิกที่ไม่มีกลุ่มมีเพียงดวงเดียวเท่านั้น เมื่อเกิดขึ้นกับจิตใจของคนเราแล้ว สามารถจะทำให้จิตใจเกิดความลังเลสงสัยว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชาตินี้ ชาติหน้า จะมีจริงหรือ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการทำความดี ทั้งหลาย ทำให้ความดีที่กระทำอยู่ เกิดความชะงักงันไม่ก้าวหน้าต่อไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ เราควรจะได้มีความรู้ความเข้าใจ ในสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้นนี้ให้ดีว่า สิ่งนี้คือ มารของความดี มารของมรรคผลนิพพาน

    http://www.buddhism-online.org/Section04A_09.htm
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    เอ้า...ลุงขันธ์
    เค้าเรียนเพื่อให้เข้าใจ เกิดมาเนี่ยเข้าใจอะไรที่เกินตัวบ้างจะดีมั้ย
    ถึงสัมผัสด้วยตนเองไม่ได้ แต่ได้รู้ได้ฟัง เค้าถือเป็นกุศลนะ
    ได้พิจารณาตาม ไม่มีใครเค้าคิดว่าจะต้องทำได้หรอก เค้าประมาณตัวกันได้
    แต่ได้เข้าใจบ้างนิดหน่อยก็ยังดี ถึงปฏิบัติไม่ได้
    แต่มีบุญวาสนาได้เข้าใจได้พิจารณาตามด้วยปริยัติ
    มันไม่ได้เป็นความผิดนะ มันเป็นบุญวาสนาด้วยซ้ำ ไม่เสียทีที่เกิดเป็นคน
    มีหูตาสมองรองรับบัญญัติ

    ไม่งั้นชาตินี้เกิดมาทั้งทีก็ก้มหน้าก้มตามองแต่ดิน อย่าไปเงยหน้ามองฟ้า
    เพราะฟ้ามันเอื้อมไม่ถึง อย่าไปมองมันซี
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ตาขันธ์เอ้ย ! ปฏิสัมภิทาน่ะจะเกิดขึ้นกับพระอรหันตเท่านั้น พระอริยะเบื้องต่ำ ๓ ไม่มี พูดไปได้เดี๋ยวคนเข้าใจผิด
    ถ้าไม่ตามพระอริยะแล้วจะให้มาตามตาขันธ์เหรอ เลอะๆ เทอะๆ น่า ไม่รู้ก็อยากสอนจัง

    อ่านแล้วช่วยคลิ๊กดูด้วยครับ http://www.puthakun.org/puthakun/index.php?option=com_sectionex&view=category&id=28&Itemid=156
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กรกฎาคม 2012
  19. ลูกบัวผัน

    ลูกบัวผัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +295
    น่าจะทำห้องอภิธรรม อีกห้องนะ แยกออกไปจากอภิญญา-สมาธิ

    ห้องนี้น่าจะเป็นสภาวะของผู้ฝึกสมาธิ ทุกอย่างทุกทาง ทุกสายของตัวเอง

    ที่มีประสบการณ์ตามฐานะ มากกว่า และมีประโยชน์สูงสุด

    หากใครอยากเรียนอภิธรรม สอนอภิธรรมก็ควรแยกไปเลย ไม่ควรปะปนกัน

    หากคิดว่าสูงส่งขนาดนั้น ก็น่าจะเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจจริงๆ

    แบบนี้ไม่มีประโยชน์หรอก เพราะไม่ใช่ฐานะ และ กาลเทสะ
     
  20. ลูกบัวผัน

    ลูกบัวผัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +295
    หรือหาก ยังไม่มีห้องอภิธรรม ก็ควรจะไปลง ที่ห้องพระไตรปิกฏ

    หากเราเคารพในธรรม เราเองก็ควรทำให้ถูกกาลเทสะด้วย

    กฏของเขาก็มี กติกา ของเว็บพลังจิต
     

แชร์หน้านี้

Loading...