หลวงปู่หล้า สนทนาธรรม กับหลวงปู่บุญฤทธิ์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 13 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เวลาสวดมนต์ ก็ใช้สติกำกับไปด้วย หละ จะเป็นการฝึกสติให้มากขึ้น
     
  2. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    อาวหรอ

    ขีวิตนี้จำหนังจีนได้อยู่ฉองเรื่อง มังกรหยก กับ ไซอิ๋ว ^^
     
  3. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    เทศน์เช้า วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๔
    พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
    ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

    ฟังธรรมเนาะ เขาว่า “ธรรมะเป็นธรรมชาตินะ”
    เราต้องพูดก่อนว่าเราขอแสดงความเสียใจ เห็นใจ กับผู้ที่ประสบอุทกภัย แต่นี่เขาพูดถึงธรรมะไง
    ถ้าธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาตินะ
    เวลาภัยพิบัติมันมานั่นธรรมชาติหรือเปล่า ถ้าธรรมชาติมันทำลายคนขนาดไหน

    ธรรมะเป็นธรรมชาติ.. ธรรมะเป็นธรรมชาติ..

    สภาวธรรมก็เหมือนกัน สภาวธรรม ก็คือธรรมชาติ
    สภาวธรรม คือ อารมณ์ความรู้สึก การเปลี่ยนแปลง นั่น คือ สภาวธรรม
    แต่ธรรมะไม่ใช่สภาวะ ธรรมะจริงๆ เป็นธรรมะ
    เพราะเป็นอกุปปธรรม

    มันเหนือไง ถ้าธรรมะมันเหนือโลก นี่โลกกับธรรม
    ธรรมมันเหนือโลก เหนือธรรมชาติ ถ้าเหนือธรรมชาติมันเหนืออย่างไร

    ถ้าธรรมะเป็นธรรมชาติ สภาวธรรมเป็นธรรมชาติ
    เด็กๆ เวลามันไม่พอใจมันดิ้นรนของมันนั่นก็สภาวธรรมนะ
    เวลามันดิ้นรนของมัน มันต่อต้านพ่อแม่มัน นั่นคืออะไร

    นั่นคือสภาวะอันหนึ่งเพราะมันโกรธ มันไม่พอใจ มันไม่ได้สมหวังมัน นั่นก็เป็นสภาวะ
    เวลาเป็นสมาธิก็เป็นสภาวะ เวลามันเกิดปัญญามันก็เป็นสภาวะ สภาวะนี้มันมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอนัตตา


    สัพเพ ธัมมา อนัตตา
    สภาวะ ที่เป็นอนัตตา สภาวะ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงนี้ มันเป็นสภาวะ
    แต่ธรรมะไม่ใช่สภาวะ มันคงที่ของมัน เพราะมันเป็นกุปปธรรม

    กุปปธรรม คือสภาวะ แต่อกุปปธรรม เห็นไหม
    ถ้า อกุปปธรรมถึงตอนนั้น มันถึงเป็นธรรมะจริง

    นี่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนตรงนั้น

    นี่เขาว่า “ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ”
    เวลาคุยกันมันคุยกันได้สภาวะเป็นธรรมชาติ ความเป็นธรรมชาติคือสภาวะที่มันเปลี่ยนแปลง
    ความเกิดก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง ความตายก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง
    การเกิดการตาย มันก็เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว มันก็เป็นธรรมะอยู่แล้ว
    แล้วอะไรที่มันเหนือการเกิดการตายล่ะ สิ่งที่เหนือการเกิดการตายมันมาจากไหน
    อะไรมันเหนือการเกิดการตายล่ะ มันเหนือการเกิดการตาย
    เพราะมันทิ้งสัจธรรม ทิ้งธรรมชาติทั้งหมดเอาไว้ข้างหลังแล้วมันพ้นไปจากธรรมชาตินั้น มันพ้นจากวัฏฏะไง

    กามภพ รูปภพ อรูปภพ.. มันเป็นผลของวัฏฏะ คือผลของการเกิดและการตาย
    แต่ผลของการเกิดและการตายมันเกิดมาจากไหนล่ะ
    มันเกิดมาจากการกระทำ นี่กรรมคือการกระทำ สภาวะก็เกิดเป็นการกระทำขึ้นมา ถ้าไม่มีการกระทำมันเกิดเป็นสภาวะได้อย่างไร

    ดูสิ สึนามิมันเกิดเพราะอะไร? เพราะแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวมันเกิดเพราะอะไร?
    เกิดเพราะพลังงานในแผ่นดิน พลังงานในแผ่นดินมันเกิดมาจากไหน?
    มันเกิดมาจากการสะสมของพลังงานของมันดันตัวของมันออกมา พอดันตัวออกมามันเกิดอะไรล่ะ มันเกิดอะไรขึ้นมา? นี่สภาวะไง

    นี่ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติไง ถ้าธรรมะเป็นธรรมชาติเวลาเกิดสึนามิก็ไปนั่งขวางไว้เลย
    เพราะว่าธรรมจะเข้ามาหาเราแล้ว จะมีธรรมะเข้าสู่ตัวเรา
    เราจะได้เป็นธรรม วิ่งหนีทำไม วิ่งหนีธรรมะทำไม ทำไมถึงวิ่งหนีธรรมะล่ะ นี่ก็เหมือนกัน


    เวลาเกิดปัญญาขึ้นมานี้ เกิดขึ้นมาเพื่ออะไร
    เกิดขึ้นมา เห็นไหม ดูสิ
    ปัญญาที่เกิดขึ้นมา คือ ปัญญาที่เกิดจากกิเลส คือ เป็นโลกียปัญญา
    ปัญญาที่เกิดจากเรา

    เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงว่าศีล สมาธิ ปัญญา..
    ถ้าไม่มีสมาธิ ปัญญาที่เกิดนั้นคือปัญญากิเลสทั้งหมด
    ปัญญากิเลสเกิดเพราะอะไร?
    เกิดเพราะภวาสวะ เกิดจากภพ เกิดจากปฏิสนธิจิต
    เกิดจากฐานที่ตั้งนี้ด้วยการครอบงำของอวิชชา
    ทีนี้อวิชชาคือความไม่รู้ ไปตรึกในธรรมะของพระพุทธเจ้าก็ตรึกด้วยความไม่รู้

    ธรรมะของพระพุทธเจ้านี่สุดยอดมาก
    แต่สภาวธรรมนั้นหลวงตาบอกว่า
    “ในพระไตรปิฎกนี้เป็นกิริยาของธรรม ไม่ใช่ตัวธรรม!”
    เป็นกิริยาของธรรม กิริยาเพราะอะไร?
    เพราะว่าใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา
    แล้วอธิบายออกมาเป็นกิริยา คำว่ากิริยานี้ ก็ต้องเคลื่อนเข้าไปสู่ใจ
    เพราะกิริยานี้เพื่อส่งเข้ามาสู่ใจ ธรรมะทุกข้อ ชี้เข้าไปสู่ใจผู้ประพฤติปฏิบัติ
    ไม่ได้ชี้ออก ถ้าชี้ออกนี่มันชี้ออกเพราะอะไร?
    เพราะมันไม่เห็นใจของมัน พอไม่เห็นใจของมันมันก็ชี้ออก
    ถ้าชี้ออกนี่ตรึกไง ตรึกเอาวิเคราะห์วิจัยธรรมะของพระพุทธเจ้า
    แต่ไม่ได้วิเคราะห์วิจัยธรรมะของตัวเพราะอะไร?
    เพราะไม่มีสมาธิ ไม่มีสมาธิเพราะอะไร? เพราะใจมันไม่สงบ
    ถ้าใจมันสงบที่ตั้งมันอยู่ที่ไหน นี่ฐานที่ตั้งมันอยู่ที่ไหน?


    นี่ไงสภาวะๆ สภาวะก็เป็นอย่างนี้ นี่คือสภาวะ แต่ความจริงไม่ใช่สภาวะ
    แต่ต้องอาศัยสภาวะเข้าไป.. อาศัยสภาวะแต่ไม่ใช่สภาวะ
    อาศัยสภาวะเพราะอะไร เพราะสมาธิเกิดจากอะไร อารมณ์เกิดจากอะไร
    ถ้าอารมณ์ฟุ้งซ่านเกิดจากจิต แล้วอารมณ์สงบแล้วไปสู่ที่ไหน? ก็ไปสู่จิต
    แล้วจิตมันคืออะไร สมาธิที่มันตั้งมั่นเป็นอย่างไร

    เพราะไม่รู้จักสมาธิ ไม่รู้จักตัวเอง
    ไม่รู้จักสิ่งต่างๆ ทั้งหมดเลยแล้วก็ศึกษากันไป

    ศึกษาธรรมะเป็นธรรมชาติๆ ถ้าธรรมะเป็นธรรมชาติสึนามิก็วิ่งเข้าไปมันสิ แผ่นดินไหวบอก
    แหม.. ธรรมะมาแล้ว นี่ด้วยความเสียใจ ไม่ได้พูดด้วยความสะใจนะ
    ด้วยความเสียใจกับผู้ที่ประสบอุทกภัย ไม่ใช่ด้วยความดีใจนะ ด้วยความเสียใจ
    แต่เพื่อเอามาเป็นคติ เอามาเป็นบททดสอบใจเรา ว่า
    สิ่งนั้นนี่ธรรมะเป็นธรรมชาติๆ ธรรมชาติเกิดขึ้นมาแล้ว ธรรมชาติภัยพิบัติเกิดแล้ว เป็นธรรมไหม?
    เป็นธรรม.. เป็นธรรมเพราะอะไร? เพราะการเปลี่ยนแปลง

    การเปลี่ยนแปลงแล้วมันได้สิ่งใดขึ้นมา? ได้ความเสียใจ ได้ความช่วยเหลือเจือจานกันด้วยน้ำใจ
    ด้วยการเจือจานกัน นี้ก็เป็นธรรมนะ
    แต่ธรรมมันมีหยาบมีละเอียดขึ้นไป ความหยาบๆ ของมัน
    เราศึกษาขึ้นมาเราก็สะเทือนใจแล้วเพื่อยับยั้งใจของเรา

    ฉะนั้นในปัจจุบันนี้ เมื่อก่อนถ้าไม่เชื่อ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ที่เป็นหลักเป็นชัยขึ้นมาเราก็ไม่เชื่อว่านิพพานมันจะมีอยู่จริง
    นี่มันหมดกาล หมดสมัย หมดทุกอย่าง
    มันหมดไปไม่ได้หรอก เพราะมันมาจากจิตไง
    มันมีการเกิดและการตาย มีทุกข์อยู่ นิพพานไม่มีจบหรอก เพราะอะไร
    เพราะนิพพานก็แก้ตรงนั้นล่ะ ในเมื่อมีเหตุ ผลมันก็ต้องมี
    ในเมื่อมีจิต ธรรมะก็ต้องมี นี่มันมีของมันอยู่แล้ว
    เพียงแต่พวกเราไม่มีความสามารถ บารมีธรรมมันไม่พอ
    พอบารมีธรรมไม่พอมันก็หลักลอย พอหลักลอยมันก็เคลื่อนไปตามกิเลสของตัวเอง

    แม้แต่ทั้งๆ ที่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก เห็นไหม
    นี่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี ๕,๐๐๐ ปี ต่อไปนี่ธรรมะไม่เคยเปลี่ยนแปลง
    แต่คนมันไม่เชื่อของมันเอง พอไม่เชื่อก็ตะครุบเงากัน
    ตะครุบแต่อาการของใจ สภาวะๆ นั่นแหละ สภาวธรรมเป็นอย่างนั้นๆ สภาวะเป็นอย่างนั้นสภาวะอะไรของมัน


    พูดถึงถ้าเป็นจริงขึ้นมา.. การกระทำของเรา ดูสิ เราเป็นนักปฏิบัตินะ
    เวลาเราทำใจให้สงบนี่เราใช้เวลาเท่าไหร่ เราจะบังคับตัวเราเองขนาดไหนกว่าจิตเราจะสงบซักทีหนึ่ง
    แล้วสภาวะมันจะเกิดทุกวินาทีเชียว มันเป็นไปไม่ได้หรอก! แต่เวลาคนมันเป็นแล้วสิ
    ดูหลวงตาท่านบอก “เวลาปัญญามันหมุนนะ เวลาปัญญามันถึงที่สุดของมัน มันหมุนของมันนี่รั้งไว้ไม่อยู่เลย”
    เวลาที่ภาวนาไม่เป็น ภาวนายังไม่ถึงที่สุดละล้าละลังนะ เริ่มต้นขยับผิดไปทุกเรื่องเลย

    พยายามทำของเรา ศึกษาของเรา แก้ไขของเรา ดัดแปลงของเรา แต่พอมันจุดติดนะ
    หลวงตาท่านบอกว่า “ถ้ามีเชื้ออยู่ที่ไหน ถ้าไฟมันติดแล้วมันจะไหม้ไปเรื่อยๆ ไหม้จนกว่าเชื้อนั้นจะหมด”
    นี่พอปัญญา เห็นไหม พอมรรคญาณมันเกิดขึ้นมามันเริ่มเผาอวิชชาขึ้นไป
    ทีนี้เอาไม่อยู่แล้วนะ มันหมุนไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา..
    ปัญญาที่เกิดจากสมาธิมันมีกำลังของมัน มันทำแล้วมันได้ผลของมันนะ
    มันเหมือนกับคนทำงานแล้วประสบความสำเร็จ โอ้โฮ.. มันอยากทำ อยากเป็น
    มันหมุนของมัน แล้วมันมีแรงส่งของมัน เพราะมันเป็นความจริงของมัน


    นี่ไงพอมันเป็นความจริงของมัน
    นี่โลกุตตรธรรม นี่ปัญญาเกิดจากมรรคญาณ ปัญญาเกิดจากจิต
    ไม่ใช่ปัญญาเกิดจากการจดจำ
    ปัญญาเกิดจากการใคร่ครวญ แต่มันก็เกิดจากการใคร่ครวญขึ้นไปก่อน ใคร่ครวญขึ้นไปก่อน ใคร่ครวญจนจิตมันสงบ

    การใคร่ครวญทั้งหมด วิธีปฏิบัติทุกวิธีการทั้งหมด ผลของมันคือสมถะ ผลของมันคือความสงบของใจ
    แต่เราไม่รู้จักผลของมันใช่ไหม เราก็บอกว่านี่นิพพานๆ กัน
    นี้เป็นธรรมๆ กัน แล้วก็เสื่อมหมด พอเสื่อมหมดแล้วก็เสียใจ
    เพราะอะไร เพราะพอเสื่อมนั้นไปแล้วแล้วมันเหลือสิ่งใด เหลือแต่สัญญาไง
    เหลือแต่ความจำอันนั้นได้ เคยจำสิ่งนี้ได้ก็ว่าเคยเป็นอย่างนั้นๆ
    แต่ไม่เป็น เพราะอะไร ไม่เป็นเพราะมันแสดงออกตามความเป็นจริงของมัน

    แต่ถ้ามันเป็นความจริงของมันนะ มันเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ
    คนที่ปฏิบัติแล้วทุกคนต้องผ่านวิกฤติอันนี้หมด คือไม่มีใครปฏิบัติแล้วไปได้
    เว้นไว้แต่อันเดียวเท่านั้น ขิปปาภิญญาที่ปฏิบัติเร็วรู้เร็วนี่มีอันเดียว นอกนั้นจะเจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วเสื่อม..

    คำว่าเจริญแล้วเสื่อม เหมือนกับการทำงานมันต้องมีความผิดพลาด
    มันต้องมีอุปสรรค มันต้องมีทุกอย่างขวางหน้าหมดเลย เพราะอะไร
    เพราะเวลาการเกิดการตายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า
    “จิตๆ หนึ่ง ถ้าเวลาการเกิดการตายแต่ละชาติหนึ่ง ศพของคนๆ นั้นเอามาสะสมไว้นี่ วัตถุนั้นมากกว่าโลกนี้อีก”

    เพราะมันเกิดตายมามหาศาลขนาดนั้น เพราะจิตมันเคยสะสมมาขนาดนั้น
    นี่พันธุกรรมทางจิตมันสะสมมาขนาดนั้น แล้วเวลาชำระล้างให้มันง่ายๆ มันเป็นไปไม่ได้หรอก
    ทั้งๆ ที่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่แหละ ทั้งๆ ที่รู้นี่แหละ แต่มันเป็นไปโดยยาก

    ดูสิ ในอภิธรรมเขาบอกว่าพระอรหันต์ต้องประพฤติปฏิบัติมา
    บำเพ็ญบารมีมาแสนกัป พระปัจเจกพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านี่ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย
    นี่มันหมุนของมันมา สิ่งนี้มันเป็นของมันมา เห็นไหม แล้วจะชำระกันง่ายๆ

    คำว่าง่ายๆ มันมีของมันนะ มันมีอำนาจวาสนาบารมีของมัน ถ้ามันมีของมันขึ้นมามันทำของมันขึ้นมาได้
    นี่มันถึงจะเหนือธรรมชาติ เราก็เกิดจากธรรมชาติ ดอกบัวเกิดจากโคลนตน
    ธัญญาหารทั้งหมดเกิดจากดิน เพราะมีสารอาหารต่างๆ มันก็เจริญงอกงามขึ้นมา
    จิตใจของเรานี่มันก็เกิดจากกิเลสนี่แหละ เกิดจากสิ่งนี้เพราะมันเป็นกุศล อกุศล
    ถ้าเป็นกุศลมันก็กิเลสนั่นล่ะแต่เป็นกิเลสฝ่ายดี กิเลสฝ่ายชั่วก็เป็นอกุศล

    ความอยาก เห็นไหม ความอยากคือตัณหาความทะยานอยาก
    แต่ฉันทะล่ะ ฉันทะคือความอยากหรือเปล่า ความพอใจมันเป็นความอยากหรือเปล่า
    นี่มันต้องมีพื้นฐานของมันแต่ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะรองรับ ต้องไม่มีตัณหาความทะยานอยาก
    ไม่มีอะไรแล้วมาปฏิบัติ ก็ขอนไม้ไง..
    นี่ก็ธรรมชาติไง มันก็ล่องลอยไปตามวัฏฏะนั่นล่ะ แต่ถ้ามันเป็นความจริงมันต้องเริ่มต้น

    ดอกบัวเกิดจากโคลนตม เราปฏิบัติขึ้นมามันก็ปฏิบัติขึ้นมาจากกิเลสนี่แหละ
    เพราะเรามีกิเลส แต่มันมีความดีความหวังดี ดูสิ เวลาไปวัดไปวาเขาบอก “ติดดี ติดดี”
    อ้าว.. ก็ติดดีก็จะติดน่ะทำไม ติดดีดีกว่าติดชั่ว ติดดีก็อาศัยความดีนี้ไป แต่ความดีอันนี้มันจะแก้ไขเราขึ้นมา


    นี่จะบอกว่าถ้าธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาตินี่
    เราบอกกันแค่ครึ่งทางไง เวลาเราจะเดินทางเราต้องเดินถึงปลายทาง
    ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติก็ครึ่งทาง
    ครึ่งทาง เพราะการเกิดและการตาย
    สัจธรรมนี้มันก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง
    แต่ผลของมันมันต้องผ่านอันนี้ไปมันถึงจะถึงปลายทางอันนู้น
    ถ้าเราบอกว่าเราไปเดินครึ่งทางว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ
    การเกิดการตาย บวชนี้ก็เป็นธรรมชาติ
    นี่บวชแล้วนี่ได้อะไรล่ะ บวชแล้วถ้าไม่ปฏิบัติ
    นี่ก็เหมือนกัน เกิดมาแล้วในพุทธศาสนา แล้วทำสิ่งใดต่อไปล่ะ..

    ธรรมชาตินี่เป็นครึ่งทางอันหนึ่งของชีวิต
    แต่ถ้าถึงที่สุดแล้ว มันจะพ้นจากธรรมชาติไปทั้งหมด
    แล้วจะรู้ว่าธรรมชาติเป็นอย่างไร
    เหมือนกับตัวดักแด้เลย เวลามันจะเป็นผีเสื้อมันต้องลอกคราบมันออกมา
    นี่ก็เหมือนกัน เวลามันจะลอกคราบจากธรรมชาติออกมา
    มันจะลอกคราบจนถึงที่สุดของมัน
    จิตใจมันจะเป็นอย่างใด มันจะมีเหตุมีผลของมัน
    แล้วจะรู้ตามความเป็นจริงของมันนะ


    นี่เวลาเห็นแล้วมันสลดใจไง สิ่งต่างๆ มันพิสูจน์ได้ มันเทียบเคียงได้กับอารมณ์ความรู้สึก
    กับภัยพิบัติที่มันเกิดขึ้น ว่าเป็นธรรมชาติๆ ก็เห็นๆ กันอยู่นี่แหละ แล้วถ้ามันพ้นไปมันเป็นอย่างใด
    ถ้าพ้นไปมันถึงเป็นความจริงขึ้นมานะ นี้คือสัจธรรม นี้คือความจริง
    แล้วเราต้องพิสูจน์ขึ้นมาในหัวใจเรานี่แหละ
    อย่าเชื่อ! เราพูดนี่ก็อย่าเชื่อ กาลามสูตร พระพุทธเจ้าไม่ให้เชื่ออะไรทั้งสิ้น
    ให้เชื่อประสบการณ์ของตัว ให้เชื่อการปฏิบัติ ไม่ให้เชื่ออะไรเลย แล้วเราปฏิบัติของเราขึ้นมาให้เป็นความจริงขึ้นมา

    เวลาไม่เชื่อนะ เวลาครูบาอาจารย์เราไม่มีหลักมีเกณฑ์ก็ไม่เชื่อกันว่ามีมรรคมีผลนะ
    เวลาเชื่อขึ้นมาก็เชื่อกันจนงมงาย เชื่อกันไปกันตามประสาเขาหมด
    แต่ไม่เชื่อถึงหัวใจของเรา ไม่เชื่อถึงหลักเกณฑ์ของเรา ไม่เชื่อถึงการแก้กิเลสของเรา ไม่เชื่อถึงชีวิตของเราเพื่อประโยชน์กับเรา เอวัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2012
  4. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    อกุปปธรรม
    ผู้มีธรรมที่ไม่กำเริบ คือผู้ที่เมื่อได้สมาบัติแล้ว สมาบัตินั้นจะไม่เสื่อมไปเลย ได้แก่พระอริยบุคคลทั้งหมด
    เทียบ กุปปธรรม



    ๕. อกุปปสูตร

    [๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
    แทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ต่อกาลไม่นานนัก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา ๑ เป็นผู้ได้บรรลุธรรม
    ปฏิสัมภิทา ๑ เป็นผู้ได้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ๑ เป็นผู้ได้บรรลุปฏิภาณปฏิสัม-
    *ภิทา ๑ ย่อมพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ
    ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบต่อกาลไม่นานนัก ฯ
    จบสูตรที่ ๕

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๒๗๕๔ - ๒๗๖๑. หน้าที่ ๑๑๙.


    โดยนัย ใช้ กับ พระอรหันต์
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    อนุโมทนา กาลมสูตร

    ธรรมชาติของคน หมุนวนไปในทางกิเลส มาแต่ไหนแต่ไร
    เป็นทางลึก ต้านได้ยาก
     
  6. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    ทำไม ผมถึงไม่เอาจากพระไตรปิฎก เพราะค้นใน กูเกิ้ล หาได้ง่ายๆ

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=2754&Z=2761&pagebreak=0


    เพราะหลวงพ่อสงบ เป็นผู้ถึงอกุปปธรรม ย่อมอธิบายได้ชัดเจน
     
  7. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    สัพเพ ธัมมา อนัตตา ไม่ได้หมายถึง ธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลง หรือไม่มีอะไร ว่างเปล่า

    แต่หมายถึง ธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่คนสัตว์ ไม่มีอะไรให้ยึดมั่น หรือเป็นเรา ของเราขึ้นมา

    ถ้าจะกล่าวธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง เขาไม่กล่าว อนัตตา

    แต่เขากล่าว สัพเพ ธัมมา อนิจจัง

    ผมเข้าใจถูกรึเปล่าครับ เซียนโศ
     
  8. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 กุมภาพันธ์ 2012
  9. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    เพราะ อนัตตา เป็นสภาพทุกข์ ยึดถือไม่ได้

    ท่านจึงสอนให้ ไม่ให้ยึดมั่น ถือมั่น

    หากยังยึดถือเป็นเรา หรือของเราขึ้นมา

    เท่ากับ ยังไม่เข้าใจทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ วางทุกข์ไม่เป็น
     
  10. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ฉนั้นแล้ว อกุปปกรรม ก็เป็นสภาวะ อนัตตาอยู่ในตัวแล้ว

    เพราะเป็นธรรมเช่นกัน โดยเป็นสภาพธรรมที่ไม่กำเริบ ซึ่งเป็นคำขยายบรรยายสภาพธรรมของพระอรหันธ์

    ก็สภาพธรรมนั้นมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มีอยู่ แต่การมีอยู่นั้นเป็นการมีอยู่โดยสภาวะ ความเป็นปัจจัยให้เกิด

    ก้ปัจจัยให้เกิดนี้ก็เป็นสภาพธรรม สภาพธรรมที่พระอริยะวางได้แล้ว ด้วยประจักษ์ความเป็นอนัตตา


    ผมให้เหตุผลอย่างนี้ ถ้าผิดช่วยแก้ด้วยครับ
     
  11. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    เข้าใจหน่อยสิลุง

    มันเป็นคำใหม่ที่ควรทำความเข้าใจให้ถูก
     
  12. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เป็นเครื่องมือในการชำระกิเลส ของพระอริยะเจ้า

    เปรียบพระอริยะเจ้า พายเรือแพข้ามฝั่งโอฆะสงสาร ถึงที่สุดแห่งทุกข์

    ท่านก็ไม่ได้แบกหามทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ที่เป็นเรือแพเข้าสู่พระนิพพาน


    ดังนั้น อกุปปกรรม ไม่ได้เป็นสภาวะอนัตตา แต่เป็นธรรมเหนือโลก

    เมื่อ อกุปปกรรม เป็นธรรมที่ไม่กำเริบ

    ทำไมต้องกลับไปเอา อนัตตา ที่เครื่องมือในการชำระกิเลส มาชำระกิเลสอีก

    ดังนั้น อกุปปกรรม เป็นธรรมไม่กำเริบ ถึงที่สุดแห่งทุกข์

    ไม่จำเป็นต้องใช้ อนัตตา เป็นเครื่องมือในการชำระกิเลส อีกต่อไป
     
  13. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ที่จริงพิมพ์ไปเยอะมาก แต่ตัดสินใจ ใช้คำว่า กิริยาจิตดีกว่า

    เพราะอกุปปกรรม ธรรมที่ไม่กำเริบ ใช้เฉพาะในพระอรหันต์

    ส่วนอนัตตา เป็นเรื่องที่ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นแล้ว ที้งไว้สั้นๆ ขยายไปมามันวล
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    กำลัง กุปกัปกุปกัป อยู่ ไปเจอ เรื่อง บุคคลเที่ยง ( นิยตะ ) ก็เลย
    เอามา แปะไว้ให้ดูเสียหน่อย

    เผื่อบางคนเวลามองสำรวจตนเองแล้ว พบว่า เห้ย กูเที่ยงแล้วนี่หว่า
    ไม่เห็นมีส่วนไหนจะแปรผัน ต้องกรรม หรือ จะมีการสั่นคลอนเปลี่ยน
    แปลงอีกแล้ว

    ก็พบว่า ไอ้คนเที่ยงแล้วเนี่ยะ มีอยู่ 3 ประเภทใหญ่

    เว้น อริยบุุคคลแล้ว ก็พบว่า ไอ้พวกที่สำรวจตนเมื่อไหร่ก็พบว่า เที่ยง เนี่ยะ

    พบว่า จิตตัวเองเที่ยงไม่เกิดไม่ดับ มี "จิตหนึ่ง" ไม่เกิดไม่ดับแล้ว เที่ยงแน่นอน
    ก็มีอีกสองประเภทคือ

    พวกทำอนันตริยกรรม 5 ประเภท ด่าสงฆ์เช้าเย็นนี่ก็ใช่

    และ

    พวกนิยตมิจฉาทิฏฐิ คือ อยู่วัดไหน ทำกรรมฐานแค่ไหน ห้อยพระมากแค่ไหน ก็
    ยังทำตัวเป็น ต้นแบบ simsimi อยู่ นี่ก็ใช่เลย
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ส่วนอันนี้คือเรื่อง บุคคลกุปปธรรม กับ บุคคลอกุปธรรม

    ที่ต้องเน้น ขีดเส้นใต้ ก็เพราะว่า

    บุคคลที่เป็นอกุปธรรมแล้วเนี่ยะ ยังสามารถถูกเห็นเป็น ปาปภิกษุ ได้อยู่
    หากไปเกี่ยวข้องกับ หญิง กับ กระเทย อยู่บ่อยๆ
     
  16. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830

    นี่คือสภาวะ แต่ความจริงไม่ใช่สภาวะ

    แต่ต้องอาศัยสภาวะเข้าไป.. อาศัยสภาวะแต่ไม่ใช่สภาวะ
     
  17. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830

    นิวรณ์ ชอบจังนะ สันดานเดิม แหว่งปากหาเสี๊ยน ด่าชาวบ้าน

    ใครจะเป็นต้นแบบ simsimi มันหนักกระบาลมึงหรือ

    มึงเป็นใคร เสือกเหลือเกิน ดิ้นพล่านไปทั่ว เหมือนหมาโดนน้ำร้อนลวก


    สันดานกระเทย ตบเด็ก ต่อยผู้หญิง หาเรื่องคนแก่


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2012
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ส่วนคำเทศนาหลวงพ่อสงบนั้น เราก็ทราบดีว่า หาก ท่านเทศน์ธรรมแบบขั้นต้น
    ท่านก็จะเทศนถึงจิตไม่เกิดไม่ดับ จิตเป็นธรรมธาตุ ธรรมธาตุไม่ใช่จิต ธรรมธาตุนั้น
    เลยไม่เกิดไม่ดับ

    แต่ถ้าเมื่อไหร่ ธรรมะของท่านถึงพริกถึงขิง ท่านก็จะเทศน์ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิต
    ให้ทำลายจิต เพราะ มีจิตคือมีภพ หากไม่ย้อนมาทำลายตัวมันเองแล้ว ไม่ย้อนมา
    ทำลายจิตแล้ว ก็ทำลายภพที่มันกินวนในตัวมันเองไม่ได้

    อันนี้ ก็เป็นข้อความสั้นๆ ที่ท่านพูดถึง "จิตหนึ่ง"

     
  19. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ขยายหน่อยสิ :cool:
     
  20. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    แหม่... โพส ๔๑ บนสุด ได้ตำแหน่งดีเลย

    รีเฟกทีไร กระแทกตา ทะลวงใจทุกที ^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...