ภาพวาดพระเจ้าตากทรงผนวช...ตามคำบอกเล่าจากความเชื่อของชาวบ้าน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ง้วนดิน, 1 เมษายน 2007.

  1. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    [​IMG]

    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    ภาพเขียนตามคำบอกเล่า : ภาพเขียนจากจินตนาการตามความเชื่อของชาวบ้านหลายท้องที่
    ที่ว่าพระเจ้าตากองค์จริงมิได้ถูกประหาร และทรงหนีไปผนวชที่นครศรีธรรมราช



    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยกรุงธนบุรี
    เสด็จพระราช สมภพ ณ วันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๒๗๗

    [b-wai][b-wai][b-wai]



    "ง้วนดิน" ได้ภาพนี้มานานแล้ว
    จากหนังสือ "ผู้อยู่เหนือเงื่อนไข"
    ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ โดยสำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน
    เป็นภาพโปสการ์ดแจกพิเศษในเล่ม

    "ผู้อยู่เหนือเงื่อนไข" เขียนโดย "สุภา ศิริมานนท์" ปรมาจารย์แห่งวงการหนังสือพิมพ์
    ซึ่งพยายามนำเสนอว่า พระเจ้าตากองค์จริงไม่ได้ถูกประหาร
    จากเอกสารลับชิ้นสำคัญ สู่นิยายการเมืองอิงประวัติศาสตร์

    ภาพนี้ "ง้วนดิน" เอากล้องดิ๊ฯ ถ่ายจากโปสการ์ด
    แต่ถ่ายไม่ค่อยเป็น เลยไม่ค่อยชัด
    เดี๋ยวไว้ "ง้วนดิน" ให้น้องถ่ายให้ใหม่
    แล้วค่อยเอามาเปลี่ยนแล้วกันนะคะ


    พอดีเห็นว่า
    เดือนนี้เป็นเดือนที่มีวันสำคัญของพระองค์ท่าน

    เลยนำมาให้ดูกัน
    เพื่อรฦกถึงพระองค์ท่าน



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2007
  2. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width=680 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=168 height=147><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​




    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​









    </TD><TD class=brown_16_bold_italic vAlign=top align=left width=518 height=147>พระราชประวัติ

    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยกรุงธนบุรี เสด็จพระราช สมภพ ณ วันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศพระองค์ทรงเป็นสามัญชน กำเนิดในตระกูลแต้ มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นจีนชื่อ ไหฮอง เดินทางจากประเทศจีนมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย แล้วได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นางนกเอี้ยง มีหลักฐาน บันทึกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเคยเป็นพ่อค้าเกวียนผู้ทรงปัญญาเฉลียวฉลาด และมีความสามารถด้าน กฎหมายเป็นพิเศษ ได้ช่วยกรมการเมืองชำระถ้อยความของราษฎรทางภาคเหนืออยู่เนืองๆ เนื่องจากได้ทำ ความดีมีความชอบต่อแผ่นดิน จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองตากในเวลาต่อมา

    ในปีพุทธศักราช 2308 - 2309 พระยาตากได้นำไพร่พลลงมาสมทบเพื่อป้องกันกรุงศรีอยุธยาระหว่าง ที่พม่าล้อมกรุงอยู่ ได้ทำการต่อสู้จนเป็นที่เลื่องลือว่า เป็นแม่ทัพที่เข้มแข็งมากที่สุดคนหนึ่ง และได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ในวันที่ 4 มกราคม พุทธศักราช 2310 (ก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยา ให้แก่พม่าประมาณ3 เดือน) พระยาตากได้รวบรวมกำลังตีฝ่าวงล้อม ของพม่าไปตั้งมั่น เพื่อที่จะกลับ มากู้เอกราชต่อไป

    จากหลักฐานตามพระราชพงศาวดาร พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลประมาณ 500 คน มุ่งไปทาง ฝั่งทะเลทางทิศตะวันออก ระหว่างเส้นทางที่ผ่านไปนั้นได้ปะทะกับกองกำลังของพม่าหลายครั้ง แต่ก็สามารถ ตีฝ่าไปได้ทุกครั้ง และสามารถรวบรวมไพร่พลตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ได้มากขึ้นเรื่อยๆ ในวันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช 2310 พม่ายึดกรุงศรีอยุธยาได้ เจ้าเมืองใหญ่ๆพากันตั้งตัวเป็นเจ้าและควบคุมหัวเมืองใกล้เคียง ไว้ในอำนาจ หลังจากพระยาตากยึดเมืองจันทบุรีได้ ก็ได้ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ และจัดตั้งกองทัพขึ้นที่นี่ โดยมีผู้คนสมัครใจเข้ามาร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งนายสุดจินดาซึ่งต่อมาได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่หนึ่ง

    หลังฤดูมรสุมในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2310 พระยาตากได้ยกกองทัพเรือออกจากจันทบุรีล่องมา ตามฝั่งทะเลในอ่าวไทย จนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา และได้ต่อสู้จนยึดกรุงธนบุรีคืนจากพม่าได้ ต่อจากนั้น ได้ยกกองทัพเรือต่อไปถึงกรุงศรีอยุธยา เข้าโจมตีค่ายโพธิ์สามต้น เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2310 และสามารถกอบกู้เอกราชให้ชาติไทยได้เป็นผลสำเร็จ โดยใช้เวลาเพียง 7 เดือนนับตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยา ให้กับพม่า หลังจากนั้น ได้ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เนื่องจากทรงเห็นว่ามีชัยภูมิดี ประกอบกับ กรุงศรีอยุธยาเสียหายหนัก จนยากแก่การบูรณะ ให้เหมือนเดิม ต่อมาในปีพุทธศักราช 2311 ได้ทรงปราบดา ภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระบรมราชาที่ 4" แต่ประชาชนนิยมเรียกว่า "พระเจ้าตากสิน" ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการทำศึกสงครามอยู่เกือบตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อรวบรวมแผ่นดิน ให้เป็นปึกแผ่น และขับไล่พม่าออกจากราชอาณาจักร ถึงแม้ว่าบ้านเมืองจะอยู่ในภาวะสงครามเป็นส่วนใหญ่ แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม ได้มีการติดต่อค้าขายกับประเทศต่างๆ เช่น จีน อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ได้โปรดให้มีการ สร้างถนนและขุดคลอง เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคม นอกจากนั้นยังทรงส่งเสริมทางด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและวรรณกรรม รวมทั้งการศึกษาในด้านต่างๆ ของประชาชนอีกด้วย

    หลังจากครองราชย์ได้ประมาณ 15 ปี ได้มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นเหตุให้รัชสมัยของพระองค์ต้อง สิ้นสุดลง สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2325 ขณะที่มีพระชนมายุได้ 48 ปี ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์จักรี และได้ทรงย้ายราชธานีมาฝั่งกรุงเทพมหานคร

    เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อแผ่นดินไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะได้ ทรงกอบกู้เอกราชให้ชาติไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปี (ซึ่งตรงกับวันที่ทรงปราบ ดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์) เป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรียังมีมติให้ถวายพระราชสมัญญานามว่า
    "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"






    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ที่มา : http://www.wangdermpalace.com/kingtaksin/thai_thegreat.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2007
  3. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    สรุปเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    <TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=650 border=1><TBODY><TR vAlign=top align=middle bgColor=#000000><TD class=black_14_bold colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR vAlign=top align=middle bgColor=#ffffcc><TD class=black_14_bold colSpan=2>ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งแต่ พุทธศักราช 2310 ไปจนถึง พุทธศักราช 2325
    ได้มีการทำศึกสงครามเกือบตลอดเพื่อรวบรวม ป้องกัน และขยายพระราชอาณาเขต
    สำหรับเหตุการณ์ที่สำคัญๆ อาจจะสรุปได้ดังนี้
    </TD></TR><TR bgColor=#ccffff><TD class=black_14_bold width=175>
    พุทธศักราช 2310


    </TD><TD vAlign=top align=left width=499>การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2
    การประกาศอิสรภาพหลังจากที่รบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น
    การสถาปนากรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรเป็นเมืองหลวง
    พม่ายกกองทัพมาตีไทยที่บางกุ้ง

    </TD></TR><TR bgColor=#cccccc><TD class=black_14_bold width=175>พุทธศักราช 2311

    </TD><TD class=black_14_normal width=499>การเถลิงถวัลยราชสมบัติของสมเด็จพระเจ้าตากสิน
    การยกกองทัพขึ้นไปตีกลุ่มเมืองพิษณุโลก
    กลุ่มพระฝางยกกองทัพลงมาตีกลุ่มเมืองพิษณุโลก
    การยกกองทัพขึ้นไปตีกลุ่มเมืองพิมาย

    </TD></TR><TR bgColor=#ffffcc><TD class=black_14_bold width=175>พุทธศักราช 2312

    </TD><TD class=black_14_normal width=499>กรุงศรีสัตนาคนหุตแต่งเจ้าหน่อเมืองนำเครื่องราชบรรณาการมาขอเป็นเมืองขึ้น
    การยกกองทัพขึ้นไปตีเขมร
    การยกกองทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราช
    </TD></TR><TR bgColor=#ccff99><TD class=black_14_bold width=175>
    พุทธศักราช 2313


    </TD><TD class=black_14_normal vAlign=top align=left width=499>การยกกองทัพขึ้นไปตีกลุ่มเมืองสวางคบุรี
    พม่ายกกองทัพลงมาตีเมืองสวรรคโลก
    การยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 1
    </TD></TR><TR bgColor=#cccccc><TD class=black_14_bold width=175>
    พุทธศักราช 2314


    </TD><TD class=black_14_normal width=499>การสร้างกำแพงเมืองกรุงธนบุรี
    การยกกองทัพไปตีเขมร
    </TD></TR><TR bgColor=#ccffff><TD class=black_14_bold width=175>
    พุทธศักราช 2315


    </TD><TD class=black_14_normal width=499>พม่ายกกองทัพมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 1</TD></TR><TR bgColor=#ffffcc><TD class=black_14_bold width=175>
    พุทธศักราช 2316


    </TD><TD class=black_14_normal width=499>การสักเลก (ไพร่หลวง ไพร่สม และเลกหัวเมือง)
    พม่ายกกองทัพมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 2
    </TD></TR><TR bgColor=#ccff99><TD class=black_14_bold width=175>
    พุทธศักราช 2317


    </TD><TD class=black_14_normal width=499>การยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 2
    พม่ายกกองทัพมาตีบางแก้ว (แขวงเมืองราชบุรี)
    </TD></TR><TR bgColor=#cccccc><TD class=black_14_bold width=175>
    พุทธศักราช 2318


    </TD><TD class=black_14_normal width=499>พม่ายกกองทัพมาตีเมืองพิษณุโลก</TD></TR><TR bgColor=#ccffff><TD class=black_14_bold width=175>
    พุทธศักราช 2319


    </TD><TD class=black_14_normal width=499>กบฎเมืองนางรอง และการยกกองทัพไปปราบหัวเมืองลุ่มแม่น้ำโขง
    พระเจ้าตากทรงเริ่มการเจริญวิปัสสนากัมมัฎฐาน
    </TD></TR><TR bgColor=#ffffcc><TD class=black_14_bold width=175>
    พุทธศักราช 2320


    </TD><TD class=black_14_normal vAlign=top align=left width=499>การสถาปนาเจ้าพระยาจักรีขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก</TD></TR><TR bgColor=#ccff99><TD class=black_14_bold width=175>
    พุทธศักราช 2321


    </TD><TD class=black_14_normal width=499>กรุงศรีสัตนาคนหุตแต่งทัพมารบกับพระวอที่หนองบัวลำภูและที่ดอนมดแดง</TD></TR><TR bgColor=#cccccc><TD class=black_14_bold width=175>
    พุทธศักราช 2322


    </TD><TD class=black_14_normal width=499>การยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเวียงจันทน์
    การอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร พระแก้วมรกตและพระบางมาสู่กรุงธนบุรี
    </TD></TR><TR bgColor=#ccffff><TD class=black_14_bold width=175>
    พุทธศักราช 2323


    </TD><TD class=black_14_normal width=499>การจลาจลวุ่นวายในเขมร
    กบฎวุ่นวายในกรุงธนบุรี
    </TD></TR><TR bgColor=#ffffcc><TD class=black_14_bold width=175>
    พุทธศักราช 2324


    </TD><TD class=black_14_normal width=499>การยกกองทัพขึ้นไปตีเขมร
    ความวุ่นวายภายในกรุงธนบุรี
    กบฎพระยาสรรค์
    สงครามกลางเมืองระหว่างพระยาสรรค์และพระยาสุริยอภัย
    </TD></TR><TR bgColor=#ccff99><TD class=black_14_bold width=175>
    พุทธศักราช 2325


    </TD><TD class=black_14_normal width=499>การพิจารณาปัญหาเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสิน
    การสิ้นสุดของสมัยกรุงธนบุรี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มา : http://www.wangdermpalace.com/kingtaksin/thai_thegreat.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2007
  4. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    โหรพระเจ้าตาก "กบฏ" ลอบทายดวงกษัตริย์รัชกาลที่ ๑

    โหรพระเจ้าตาก "กบฏ" ลอบทายดวงกษัตริย์รัชกาลที่ ๑

    โดย...ปรามินทร์ เครือทอง

    ...........................................................




    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทั้งสองพระองค์มีดวงพระชะตาสอดคล้องสมพงศ์กันมาตลอด เริ่มจากเป็นสามัญชน เข้ารับราชการไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งสูงๆ ขึ้นตามลำดับ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในแผ่นดินก่อน โดยมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รับราชการเป็นขุนนางในแผ่นดินพระองค์ เวลานี้เองเป็นเวลาที่ดวงพระชะตาของทั้งสองพระองค์ก็ขัดข่มกันเองจนถึงขั้นที่ฝ่ายหนึ่ง "แพ้ดวง" จนชะตาขาด

    ดวงพระชะตาของพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองพระองค์สมพงศ์กันนับแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังไม่เสียแก่พม่า ดังที่ปรากฏในตำนานเรื่อง "อภินิหารบรรพบุรุษ"

    ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียังเป็นเพียง "นายสิน" มหาดเล็กวังหลวง ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ต่อมา "นายสิน" ได้บวชกับพระอาจารย์ทองดีมหาเถระ เจ้าอธิการวัดโกษาวาศน์ หรือวัดเชิงท่าในปัจจุบัน ส่วนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ยังเป็นมหาดเล็กอยู่เช่นกัน ต่อมาบวชอยู่ที่วัดมหาทลาย แต่อ่อนพรรษากว่า "พระสิน" อยู่ ๓ พรรษา เวลานั้นได้มีตำนานเรื่องดวงพระชะตาของทั้งสองพระองค์ที่เล่าสืบกันมาว่า

    "ครั้นวันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าเสด็จไปบิณฑบาตร พบพระเจ้าตากก็เสด็จมาบิณฑบาตร ท่านก็หยุดยืนสนทนากันด้วยสมณวัตกถาฯ ขณะนั้นมีจีนชะราเดินมาถึงที่ตรงประทับอยู่นั้น จีนชะราก็หยุดยืนแลดูพระภักตรท่านทั้งสองพระองค์เปนช้านานแล้วก็หัวร่อ แล้วก็เดินไปห่างพระองค์ประมาณ ๑๐ ศอก แล้วก็เหลียวหน้ามาหัวร่ออีก แล้วจึ่งกลับเหลียวหน้าเดินไป ทำอาการกิริยาอย่างนั้นเปนหลายครั้งจนเดินห่างไปประมาณ ๘ วาเศษ

    ขณะนั้นพระเจ้าตากจึงกวักพระหัตถ์เรียกจีนชะรานั้นให้กลับมาถึงแล้วจึ่งตรัสถามว่า ท่านแลดูหน้าเราแล้วก็หัวร่อด้วยเหตุไร จีนชะราตอบว่า ข้าพเจ้าเห็นราษีแลลักษณท่านทั้งสองนี้แปลกประหลาดกว่ามนุษทั้งปวง พระเจ้าตากจึ่งถามว่าท่านเปนหมอดูฤา จีนรับว่าเปนหมอดู พระเจ้าตากตรัสว่า ถ้ากระนั้นท่านช่วยดูเราสักหน่อยเถิด จีนนั้นจึ่งจับพระหัตถ์ดู แล้วจึ่งถามถึงปีเดือนวันพระชนม์พรรษาทราบแล้ว ก็ทักทำนายว่าท่านจะได้เปนกระษัตริย์ พระเจ้าตากก็ทรงพระสรวลเปนทีไม่เชื่อ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจึ่งตรัสกับจีนชะรานั้นว่า ท่านจงช่วยดูให้เราบ้าง จีนนั้นจึ่งจับพระหัตถ์แล้วถามถึงปีเดือนวันพระชนม์พรรษาทราบแล้วจึ่งทำนายว่า ท่านก็จะได้เปนกระษัตริย์เหมือนกัน ขณะนั้นท่านทั้งสองพระองค์ก็ทรงพระสรวลแล้วจึ่งตรัสตอบจีนนั้นว่า เรามีอายุศม์อ่อนกว่าพระเจ้าตากสองปีเศษเท่านั้น จะเปนกระษัตริย์พร้อมกันอย่างไรได้ ไม่เคยได้ยิน สัดตวงเข้าดอกกระมัง ตรัสเท่านั้นก็เสด็จเลยไปบิณฑบาททั้งสององค์..." (อภินิหารบรรพบุรุษและปฐมวงศ์. ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ ๒๕๔๕, หน้า ๒๔)

    ภายหลังเมื่อกองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีชนะทัพพม่าเด็ดขาด ก็ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี และปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม ส่วนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ก็ทรงเข้ารับราชการในแผ่นดินนี้ จนเป็นขุนนางที่มีอำนาจสูงสุดของประเทศ

    ดวงพระชะตาของทั้งสองพระองค์นำพาให้ฝ่ายหนึ่งนั่งอยู่บนบัลลังก์ทอง อีกฝ่ายหนึ่งถือกำลังหนุนค้ำราชบัลลังก์ แต่ดวงพระชะตานั้นไม่ได้เกื้อหนุนพึ่งพิงกัน แต่กลับขัดแย้งกันในเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองถึงขั้นอยู่คนละฝั่งความคิด

    ความขัดแย้งเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองได้ก่อตัวขึ้นด้วยสาเหตุหลายประการ เหตุหนึ่งคือการที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรง "ละเลย" ต่อความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นหลัก และหัวใจสำคัญในการปกครองควบคุมไพร่ฟ้า และขุนนาง การละเลยต่อความสำคัญในการรักษาระเบียบแบบแผนที่สืบเนื่องมาแต่โบราณ โดยเฉพาะเรื่อง "ข้างใน" ได้ถูกกรมหลวงนรินทรเทวีทรงวิจารณ์ไว้อย่างชัดเจนหลายเรื่องดังเช่น "ลูกขุนนางไม่ใช้ ให้เก็บลูกพลเรือนชาวตลาด ญวนงานกลางยกขึ้นเปนนางอยู่งาน"

    นอกจากนี้ธรรมเนียมในการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการใกล้ชิด สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรง "ละเลย" ธรรมเนียมที่เคยยึดถือกันมาเนิ่นนานอีกเช่นกัน คือไม่อุ้มชูเลี้ยงดูบุตรหลานตระกูลขุนนาง ซึ่งถือเป็นสายผู้ดีเก่าแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเท่าที่ควร กลุ่มคนเหล่านี้ล้วนแต่เป็นบุคคลระดับสูงของสังคม ที่มีพลังขับดันสังคมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร ในทางตรงข้ามทรงแต่งตั้ง "มิตรร่วมรบ" ขึ้นอยู่ในตำแหน่งสูงๆ ตามที่ตุรแปง ได้เขียนวิจารณ์ในเรื่องนี้เอาไว้คือ

    "พระยาตากได้ยกย่องบุคคล ซึ่งเป็นพรรคพวกของพระองค์ทั้งหมดขึ้นอยู่ในตำแหน่งสูงๆ ของประเทศ"

    ด้วยเหตุนี้เหล่าขุนนางที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองในแบบ "อนุรักษนิยม" จึงรวมตัวกันขึ้น โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนขุนนางสายผู้ดีเก่าอย่างเจ้าพระยาจักรี

    กระบวนการจัดตั้งของขุนนางสายอนุรักษนิยมนี้ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและเข้มแข็ง ภายใต้การนำของเจ้าพระยาจักรี

    "ในขณะเดียวกันพระราชอำนาจของพระเจ้ากรุงธนบุรซึ่งวางอยู่บนรากฐานของการคุมกำลังไพร่ในหัวเมืองขึ้นมหาดไทยก็สลายลงหลังศึกอะแซหวุ่นกี้ สมุหนายกจึงมีอำนาจเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ทั้งในฐานะแม่ทัพประจำและในฐานะหัวหน้าเสนาบดีฝ่ายพลเรือน (หัวหน้าเสนาบดีฝ่ายทหารคือ สมุหพระกลาโหม ถูกลิดรอนอำนาจมาแต่ปลายอยุธยา) เพราะฉะนั้นจึงไม่ประหลาดอะไรที่เจ้าพระยาจักรีจะกลายเป็นหัวหน้าของกลุ่มเชื้อสายผู้ดีที่โค่นล้มพระเจ้ากรุงธนบุรีลงในต้น พ.ศ. ๒๓๒๕ เพราะในปลายรัชกาลนั้นเจ้าพระยาจักรีเป็นขุนนางกลุ่มเชื้อสายผู้ดีอยุธยาที่สูงเด่นที่สุด..." (นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. ศิลปวัฒนธรรมพิเศษ ๒๕๔๗, หน้า ๔๐๓)

    ใช่ว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะไม่รู้ไม่เห็นกับความเคลื่อนไหวนี้ ทรงดำเนินการหลายอย่างเพื่อยุติศึกภายในนี้ทั้งอย่างเปิดเผยและในทางลับ สิ่งที่รับรู้กันอย่างเปิดเผยคือ ทรงรับเอา "คุณฉิม" พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ มาเป็นพระมเหสี ซึ่งภายหลังคือเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ ให้พระราชโอรสพระองค์สำคัญคือ "เจ้าฟ้าเหม็น" เท่ากับทรงเป็นลูกเขยเจ้าพระยาจักรีผสานเป็นทองแผ่นเดียวกัน

    แต่ในทางลับนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีแผนเชิงรุก "พิฆาต" เจ้าพระยาจักรีอยู่เหมือนกัน เรื่องร่ำลือนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือ ๓๓๑ ปีสกุลอมาตย์ และ ๗๓ ปีแห่งการพระราชทานนามสกุลอมาตยกุล ปี ๒๕๒๙

    "ในแผ่นดินเจ้าตากความนอกจากพงศาวดาร ได้ยินคุณอิ่มพี่พระยาเกษตรเป็นต้น ต่อมาคนอื่นเล่าให้ฟังกันหลายปาก ว่าเจ้าตากคิดจะฆ่าพระพุทธยอดฟ้ามาก่อนแต่ยังไม่คลั่ง คิดอุบายให้พระพุทธยอดฟ้าขึ้นไปขัดทัพที่เพ็ชรบูรณ์หน้าฝน เวลานั้นความไข้ชุกนัก การทัพนั้นไม่สำคัญ ท่านจึงรู้พระองค์ว่าจะแกล้งท่าน จะทำท่านอย่างไรไม่ได้ท่านไม่มีผิด จึงแกล้งจะให้ไปตายด้วยความไข้ ครั้นท่านขึ้นไปท่านก็ประกาศสั่งลูกทัพนายกอง ให้ปลูกทับกระท่อมพื้นสูงตั้งแต่สี่ศอกขึ้นไป ถ้าต่ำกว่า ๔ ศอก หรือนอนกับดินจะฆ่าเสีย ท่านรักษาลูกทัพนายกองและพระองค์ท่านดังนี้ก็ไม่มีผู้ใดเจ็บไข้เป็นอันตรายสิ่งใดจนกลับมา ปัญญาเกิดขึ้นดังนี้ก็ไม่รู้เคมมิสตรีอย่างไร ก็เพราะบุญของท่านจะเป็นเจ้าแผ่นดิน"

    สิ่งนี้เองเมื่อเกิดกบฏพระยาสรรค์ จึงปรากฏว่ามีการต่อต้านจากทหารฝ่ายรัฐบาลน้อยมากจนผิดสังเกต นอกจากนี้ขุมกำลังที่นำมาปราบกบฏ ก็มีความพร้อมสมบูรณ์ที่จะทำการ "รัฐประหาร" ได้ในทันที

    ขุนนางฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจำนวนไม่น้อยที่หันคมดาบเข้าหาฝ่ายรัฐบาลได้รับการปูนบำเหน็จโดยถ้วนหน้าเมื่อมีการเปลี่ยนแผ่นดิน ในขณะที่ขุนนางฝ่ายตรงข้ามนั้นถูก "ปิดบัญชี" ไปจำนวนไม่น้อย

    หลักฐานชิ้นสำคัญที่ชี้ว่าใครเป็นใครในการ "ยกสำรับ" ขุนนางใหม่เมื่อต้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ นั้น ปรากฏอยู่ในเอกสารที่ชื่อว่า "คำปฤกษาตั้งข้าราชการในแผ่นดินพระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑" พิมพ์อยู่ในหนังสือวชิรญาณวิเสศ รายงานคำปฤกษาฯ นี้ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ได้นำมาเรียบเรียงใหม่ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ แล้ว แต่มีข้อความผิดเพี้ยนกันอยู่บ้าง

    ในคำปฤกษาฯ นี้ "ข้าหลวงเดิม" หรือขุนนางที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงใช้สอยใกล้ชิดมาแต่แผ่นดินกรุงธนบุรี ได้รับแต่งตั้งตามความดีความชอบกันถ้วนทุกคน รวมไปถึงผู้ที่เอื้อประโยชน์จนเป็นผลให้การเปลี่ยนแผ่นดินประสบผลสำเร็จ แต่หนึ่งในจำนวนนี้ได้สร้างความประหลาดใจ และคาดไม่ถึงคือ เจ้ากรมโหรหลังของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งแสดงว่าฝักใฝ่ในฝ่ายเจ้าพระยาจักรีเมื่อครั้งก่อนด้วยเช่นกัน

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงปูนบำเหน็จขุนโลกทีป เจ้ากรมโหรหลัง ขึ้นเป็นพระโหราธิบดี เจ้ากรมโหรหน้า หรือเป็นหัวหน้าโหรทั้งปวง ตามที่ปรากฏในคำปฤกษาฯ ดังนี้

    "อนึ่งขุนโลกทีป กาไชโยค ๒ คน จงรักษภักดี ชำระพระชันษาทูลเกล้าฯ ถวายทำนายถูกต้องแต่เดิมจนเสดจ : ขึ้นปราบฎาภิเศกมีความชอบ ขอพระราชทานตั้งขุนโลกทีปเปนพระโหราธิบดี กาไชโยคเปนขุนโลกทีป ให้พระราชทานเครื่องยศโดยถานาศักดิ"

    อย่างไรก็ดีเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ได้ทรงนิพนธ์ไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ (ฉบับตัวเขียน) ได้ขยายความให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น คือ

    "ตรัสเอาขุนโลกยทีป ซึ่งได้ถวายพระยากรณ์ไว้แต่เดิม ว่าจะได้ราชสมบัตินั้น มีความชอบเปนพระโหราธิบดี ตรัสเอากาไชยโยคเป็นขุนโลกทีป" (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ (ฉบับตัวเขียน), อมรินทร์พริ้นติ้งฯ, ๒๕๓๙)

    โหรในราชสำนักจะใช้พราหมณ์จากหัวเมืองปักษ์ใต้ คือนครศรีธรรมราช มีกำหนดไว้ตายตัวในกฎมนเทียรบาล ดังนี้

    "เดีมดำแหน่งโหราหน้าหลังเปนคนแลฝ่ายไต้ขึ้นดั่งนี้ โหราหน้าคือ พระโหราธิบดี พขุนโชติสาตราจาริย ราชบหลัด โหราหลัง พระโลกทีปโหราธิบดี พขุนเทพากร ราชบหลัด..."

    หน้าที่โดยรวมของโหรฝ่ายหน้าคือกำกับพระราชพิธี ๑๒ เดือน เว้นพระราชพิธีตรียัมปวายเป็นหน้าที่โหรหลัง

    นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ดูแลพระราชพิธีพยุหยาตราพิไชยสงคราม และอาจจะรวมไปถึงการคุมทัพไปทำราชการศึกสงครามอีกด้วย เนื่องจากปรากฏว่าพระโหราธิบดีของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ต้องออกศึกสงครามหลายครั้ง เช่น "ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๔ สั่งให้หากองพระโหราธิบดี กองหลวงรักษ์มนเทียร ลงไปตั้งโคกสลุด..."

    แต่ภายหลังชื่อของพระโหราธิบดีท่านนี้ก็หายไปจากพงศาวดาร คงเหลือแต่ขุนโลกทีปโหรหลัง ซึ่งมาปรากฏชื่อในคำปฤกษาฯ หลังผลัดแผ่นดินนั่นเอง ซึ่งโหรหลังนี้มีหน้าที่สำคัญคือเป็นผู้กำกับพระราชพิธีตรียัมปวาย

    พราหมณ์หรือโหรประจำราชสำนักนั้นเป็นชนชั้นพิเศษคือ พระมหากษัตริย์จะไม่สั่งประหารชีวิต "ถ้าโทษตาย ให้เดดสังวาร เดดสายธุรำเสียนิฤเทศไปต่างเมือง"

    และหากในงานหลักคือหากทำนายผิด หรืออ่านโองการผิด ก็ต้องรับโทษเช่นกัน กฎมนเทียรบาลกำหนดโทษไว้ เช่น

    "อนึ่งโหรพราหมณทายเคราะห์ทายศึกทายฤกษผิด ลงอาชญา ลูกประคำใหญ่แขวนคอ"

    ในการที่ขุนโลกทีปซึ่งเป็นโหรของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทำนายเจ้าพระยาจักรีถึงขั้นจะได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์นั้น มีความผิดชัดแจ้งอยู่ในข่ายกบฏ ในขณะที่เจ้าพระยาจักรีมีสิทธิ์ถูกลงพระราชอาญาประหารชีวิตเช่นกัน ดังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชนิพนธ์ถึงโทษของคำ "หมอดู" ไว้ว่า

    "เมื่อหมอดูทายว่าในกำหนดปีเดือนนั้นๆ จะได้ดีฤาจะสมประสงค์นั้นๆ ซึ่งปรากฎว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเปนที่กีดขวางอยู่แล้ว คนผู้ที่หมอดูทายนั้นคงต้องรับพระราชอาญาประหารชีวิตรเสียจงได้โดยเร็ว จะให้พ้นตายไม่ได้ แลจะรอรั้งไว้ให้ช้าใกล้กำหนดที่หมอว่าก็ไม่ได้เลย..."

    แต่การที่ขุนโลกทีป "ดูดวง" ให้เจ้าพระยาจักรีนั้น เห็นจะเป็นการลับ มิฉะนั้นคงเป็นเหตุใหญ่ทั้งโหร และเจ้าพระยาจักรีเอง แต่อย่างไรก็ดีสิ่งนี้เป็นการกระทำในข่ายกบฏ มีบุคคลในชั้นหลังที่เห็นควรว่าสิ่งนึ้ควรจะเป็นความลับอยู่ต่อไป

    เพราะสิ่งนี้อาจสร้างความไม่ชอบธรรม หรือความไม่สง่างามในการ "ปราบยุคเข็ญ" ของเจ้าพระยาจักรีได้ ดังนั้นพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับ "ชำระแล้ว" โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงปรากฏข้อความการแต่งตั้งข้าราชการประจำรัชกาลใหม่ในตอนขุนโลกทีปดังนี้ "ให้ขุนโลกทีปเปนพระโหราธิบดี ให้กาไชยโยคเปนขุนโลกทีป" โดยตัดความดีความชอบ "ซึ่งได้ถวายพระยากรณ์ไว้แต่เดิม ว่าจะได้ราชสมบัตินั้น" ออกไป

    หลักฐานสำคัญชิ้นนี้ ย่อมเป็นร่องรอยสำคัญที่อธิบาย "ความไม่บังเอิญ" ของเหตุการณ์กบฏพระยาสรรค์ได้เป็นอย่างดี



    ที่มา : http://www.matichon.co.th/art/art.php?srctag=0601010447&srcday=2004/04/01&search=no
    มติชน : <TABLE><TBODY><TR><TD>วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2547 ปีที่ 25 ฉบับที่ 06</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2007
  5. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    สาระน่ารู้กรุงธนบุรี

    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width=680 border=0><TBODY><TR><TD class=brown_text_normal colSpan=2>เมืองธนบุรี

    ในปัจจุบัน เมืองธนบุรีอาจมีฐานะเป็นเพียงเขตเล็กๆ เขตหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แต่ในอดีตพบว่าเมืองธนบุรีมีความสำคัญในฐานะราชธานีของไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2310 - 2315 แม้ว่าจะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ เพียง 15 ปี แต่ก็นับว่ามีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของชาติไทยเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังปรากฏโบราณสถานที่สำคัญในสมัยธนบุรี คือ พระราชวังเดิม (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพเรือ) รวมทั้งวัดวาอารามต่างๆ เป็นจำนวนมาก ดังนั้นในปัจจุบันเมืองธนบุรีจึงได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาควบคู่กันไป


    </TD></TR><TR><TD class=brown_text_normal colSpan=2></TD></TR><TR><TD class=brown_text_normal colSpan=2><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="50%">ความเป็นมา

    เมืองธนบุรี หรือ บางกอกในอดีต คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรีในปัจจุบัน ซึ่งเคยเป็นแผ่นดินเดียวกันมาก่อน ๆ เป็นที่ราบสามเหลี่ยมปากน้ำเจ้าพระยาที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำเจ้าพระยา และลำคลองต่างๆ ที่กระจายอยู่ทั่วบริเวณ ดังนั้นจึงมีข้อสันนิษฐานว่าคำว่า "บางกอก" นั้นอาจจะเพี้ยนมาจากเดิมว่า "บางเกาะ" ด้วยความที่พื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเกาะเล็กเกาะน้อยจากแม่น้ำลำคลองต่างๆ

    เดิมแม่น้ำเจ้าพระยาไหลคดเคี้ยวมากตั้งแต่นนทบุรี ลงมายังพระนคร กล่าวคือ แม่น้ำเจ้าพระยาจะไหลจากทางเหนือ ผ่านเขตเมืองนนทบุรีลงมาถึงสะพานปิ่นเกล้า แล้วไหลวกไปทางตะวันตกเข้ามาทางคลองบางกอกน้อย อ้อมผ่านตลิ่งชัน บางระมาดแล้ววกกลับเข้าคลองบางกอกใหญ่ (หรือคลองบางหลวง) แล้วไหลลงทางใต้ไปออกทะเลอ่าวไทย เป็นลักษณะรูปเกือกม้า ซึ่งความคดเคี้ยวของแม่น้ำนี้ ทำให้สองฟากฝั่งของแม่น้ำกลายเป็นที่ดอนซึ่งเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือน และกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกกันภายหลังว่า "ย่านบางกอก" แต่ในเวลาเดียวกัน ก็ทำให้เสียเวลาในการเดินทางไปมา ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับหัวเมืองชายทะเลตะวันออก


    ดังนั้นในสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. 2077 - 2089 ) จึงโปรดให้ขุดคลองลัดบางกอกขึ้น เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ที่ไหลอ้อมเข้าไปทางคลองบางกอกน้อย ออกคลองบางกอกใหญ่ (คือขุดตั้งแต่หน้าสถานีรถไฟบางกอกน้อย จนถึงหน้าวัดอรุณราชวรารามในปัจจุบัน) การขุดคลองลัดดังกล่าวทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทางเดิน น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาส่วนใหญ่ จึงไหลไปทางคลองขุดใหม่ และเซาะตลิ่งสองข้างจนกว้างขึ้น กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ (บริเวณที่ผ่านหน้าโรงพยาบาลศิริราช และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทุกวันนี้) ส่วนลำน้ำเดิมก็ค่อยๆ ตื้นเขินขึ้นลดขนาดลงเป็นลำคลอง ได้แก่ คลองบางกอกน้อย คลองชักพระ (คลองตลิ่งชัน) คลองบางขุนศรี คลองบางเชือกหนัง คลองวัดประดู่ และคลองบางกอกใหญ่ ดังที่เห็นในปัจจุบัน



    </TD><TD vAlign=top align=middle width="50%">
    <TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=brown_text_normal colSpan=2></TD></TR><TR><TD class=brown_text_normal colSpan=2><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle width="50%"><TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD><TD width="50%">เมื่อขุดคลองลัดสำเร็จ เมืองบางกอกหรือเมืองธนบุรีจึงถือกำเนิดขึ้น ทางฝั่งตะวันตก หัวมุมคลองบางกอกใหญ่ กลายเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และได้รับการยกฐานะขึ้น เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล ทำหน้าที่ป้องกันศัตรูที่จะเข้ามาทางใต้ของกรุงศรีอยุธยา พร้อมทั้งตรวจตราจัดเก็บภาษีสินค้าที่ผ่านเข้าออก โดยปรากฏชื่อครั้งแรกในพระราชพงศาวดาร ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (พ.ศ. 2091 - 2111) ว่า "เมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร" แต่โดยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ เพียง "ธนบุรี" ส่วนชื่อ "เมืองบางกอก" นั้นคงเป็นชื่อสามัญ ที่ชาวบ้านและชาวต่างประเทศนิยมเรียก ดังปรากฏชื่อบางกอกในแผนที่และเอกสารของชาวต่างชาติ

    เมืองธนบุรีมีความสำคัญเพิ่มขึ้นในฐานะเมืองหน้าด่านทางทะเล โดยเฉพาะเมื่อการค้ากับต่างประเทศ เจริญรุ่งเรืองขึ้นถึงขีดสุด ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 - 2231) เนื่องจากเป็นเมืองท่าพักเรือต่างชาติ ที่เดินทางขึ้นล่องระหว่างกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงโปรดให้กองทหารฝรั่งเศส ขึ้นมาสร้างป้อมขึ้นทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเพื่อป้องกันข้าศึกซึ่งมาทางทะเล โดยเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เป็นผู้กำกับการสร้าง เมื่อสร้างป้อมเสร็จจึงพระราชทานนามว่า "ป้อมวิไชยเยนทร์" และโปรดเกล้าฯ ให้ทหารต่างชาติทั้งโปรตุเกส และฝรั่งเศสมาประจำที่ป้อม ภายหลังที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ สวรรคต ป้อมทั้งสองของเมืองธนบุรี (ป้อมฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก) กลายเป็นสมรภูมิรบระหว่างฝ่ายไทย กับกองทหารฝรั่งเศสที่ประจำป้อม ซึ่งในท้ายที่สุดฝรั่งเศสเป็นฝ่ายที่ต้องยอมแพ้ และถอนกำลังออกจากราชอาณาจักรไทย จากนั้นสมเด็จพระเพทราชาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อป้อมบางกอกทางฝั่งตะวันออก โดยให้คงเหลือแต่ป้อมทางฝั่งตะวันตก (ป้อมวิไชยเยนทร์) ไว้เท่านั้น ในคราวกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 พม่าได้ยึดเมืองบางกอกและแต่งตั้งให้นายทองอิน (คนไทยที่ไปเข้ากับฝ่ายพม่า) รักษาป้อมและเมืองบางกอก และหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าทรงกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ จึงโปรดฯ ให้บูรณะเมืองธนบุรีเพื่อใช้เป็นราชธานี




    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=brown_text_normal colSpan=2></TD></TR><TR><TD class=brown_text_normal vAlign=top width="50%">การสถาปนากรุงธนบุรี

    การสถาปนากรุงธนบุรี หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกอบกู้เอกราชสำเร็จในปี พ.ศ. 2310 ทรงมีพระราชดำริว่ากรุง ศรีอยุธยามีสภาพทรุดโทรมมาก ไม่สามารถซ่อมแซมฟื้นฟูให้กลับคืนสภาพเดิมได้ จึงทรงตัดสินพระทัยสร้าง ราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี เนื่องจากเมืองธนบุรีมีชัยภูมิที่ดี เป็นเมืองหน้าด่านชายทะเล ควบคุมเส้นทางเดินเรือเข้าออก ประกอบกับเป็นเมืองที่มีป้อมปราการ และวัดวาอารามอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาก่อสร้างขึ้นมาใหม่ เป็นเมืองขนาดย่อมซึ่งพอเหมาะกับกำลังที่จะรักษาไว้ได้ และอยู่ปากแม่น้ำ หากเพลี่ยงพล้ำไม่สามารถรักษาเมืองไว้ได้จริงๆ ก็สามารถหลบหลีกศัตรูออกสู่ทะเล กลับไปตั้งมั่นที่จันทบุรีได้โดยสะดวก อีกทั้งตั้งอยู่บริเวณที่มีลำน้ำลึกใกล้ทะเล ถ้าข้าศึกไม่มีทัพเรือที่เข้มแข็งแล้วก็ยากที่จะตีเมืองธนบุรีได้

    การสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีจำเป็นต้องขยายพื้นที่เพื่อรองรับประชาชนที่หนีภัยสงครามมา และปรับปรุงให้เหมาะสมทางยุทธศาสตร์มากขึ้น ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายเมืองไปทางทิศเหนือจนจรดคลองบางกอกน้อย พร้อมกับสร้างกำแพงเมืองตามแนวคลองขุดใหม่มีชื่อเรียกเป็นตอนๆ ว่า คลองบ้านขมิ้น คลองบ้านช่างหล่อ คลองบ้านหม้อ คลองวัดท้ายตลาด ส่วนทางทิศตะวันออกขยายไปจรดคลองคูเมืองที่ขุดขึ้นใหม่ (ปัจจุบันเรียกว่า"คลองหลอด") ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางเมืองแล้วสร้างกำแพงเมืองขึ้นตามแนวคลองคูเมือง (กำแพงเมืองนี้ต่อมาได้ถูกรื้อลง โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงขยายแนวกำแพงเมืองออกไปตามแนวคลองโอ่งอ่าง และคลองบางลำภู) ส่วนป้อมวิไชยเยนทร์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ป้อมวิไชยประสิทธิ์" พร้อมทั้งให้ขุดที่สวนเดิมเปลี่ยนเป็นท้องนานอกคูเมืองทั้ง 2 ฟากซึ่งเรียกว่า "ทะเลตม" ไว้สำหรับเป็นที่นาใกล้พระนคร




    </TD><TD class=brown_text_normal align=middle width="50%"><TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD class=brown_text_normal colSpan=2></TD></TR><TR><TD class=brown_text_normal vAlign=top align=middle width="50%"><TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD class=brown_text_normal vAlign=center width="50%">สำหรับขอบเขตของราชธานีแห่งใหม่นี้ ครอบคลุมสองฝั่งน้ำ โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาตัดผ่านกลางเมือง พื้นที่ในกำแพงเมือง ฝั่งตะวันตกเริ่มตั้งแต่เขตเมืองธนบุรี เดิมริมคลองบางกอกใหญ่ ไปจนถึงบริเวณหลังวัดบางหว้าน้อย (วัดอินทาราม) ริมคลองบางกอกน้อย ส่วนฝั่งตะวันออกเริ่มตั้งแต่ศาลเทพารักษ์หัวโชค (เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร) เลียบตามแนวคูเมือง (คลองคูเมืองบริเวณหลังกระทรวงมหาดไทย) ไปจรดแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองตลาด โดยภายในกำแพงเมืองธนบุรีเดิม เป็นที่ตั้งของพระราชวังกรุงธนบุรี

    </TD></TR><TR><TD class=brown_text_normal vAlign=top align=middle colSpan=2></TD></TR><TR><TD class=brown_text_normal vAlign=top align=middle colSpan=2>
    กรุงธนบุรีเป็นราชธานีเพียง 15 ปี หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษก ขึ้นเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งตะวันตก มายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้พระราชวังกรุงธนบุรีว่างลง กรุงธนบุรีจึงถูกลดความสำคัญ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับพระราชวังกรุงธนบุรี ได้กลายเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ จนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กองทัพเรือ ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ และภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพเรือจนถึงปัจจุบัน






    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2007
  6. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    พระราชวังเดิม

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 border=0 name="k_taksin"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle height=47>[​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle height=300><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=1><TBODY><TR><TD class=paragraph1 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    <TABLE borderColor=#663300 height=86 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=1><TBODY><TR><TD class=paragraph1 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​




    </TD><TD vAlign=top align=left width=440 height=300>ประวัติพระราชวังเดิม

    ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2310 พระองค์ได้ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ แทนกรุงศรีอยุธยา ที่อยู่ในสภาพทรุดโทรมจนไม่สามารถบูรณะให้กลับมาสู่สภาพเดิมได้ การที่ทรงเลือก กรุงธนบุรีเป็นราชธานีนั้น สันนิษฐานว่าเนื่องจากเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังไพร่พล ที่พระองค์มีอยู่ในขณะนั้น ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ อยู่ใกล้ทะเลทำให้สามารถควบคุม เส้นทางเดินเรือเข้าออก มีป้อมปราการเป็นชัยภูมิที่ดี และตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำ หากเพลี่ยง พล้ำ ก็สามารถหลบหลีกศัตรูออกสู่ทะเลได้สะดวก

    หลังจากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังหลวง ขึ้นทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ เจ้าพระยา ในพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยเยนทร์เดิม (ซึ่งภายหลังได้รับการเปลี่ยนชื่อ เป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์) อาณาเขตของพระราชวังเดิมในสมัยนั้นมีพื้นที่ตั้งแต่ป้อมวิไชย ประสิทธิ์ขึ้นมาจนถึงคลองเหนือวัดอรุณราชวราราม (คลองนครบาล) โดยรวมวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) เข้าไปในเขตพระราชวัง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และได้ทรงสร้างพระบรม มหาราชวังขึ้นเป็นที่ประทับ พระราชวังกรุงธนบุรีจึงได้รับการเรียกขานว่า "พระราชวังเดิม" นับแต่นั้นมา

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงกำหนดเขตของพระราชวัง กรุงธนบุรีให้แคบกว่าเดิม โดยให้วัดทั้งสองอยู่ภายนอกพระราชวัง รวมทั้งให้รื้อตำหนักแดง ซึ่งเคยเป็น ที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในพระราชวังเดิม ไปปลูกสร้างให้ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ที่วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์ชั้นสูง ที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย มาประทับที่ พระราชวังเดิม เนื่องจากพระราชวังเดิมและกรุงธนบุรีมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลรักษา

    พระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้โปรดเกล้าฯ ให้มาประทับที่พระราชวังเดิมมีดังนี้คือ



    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=1 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR><TD class=black_14_bold width=264 bgColor=#ebe8a5>สมัยรัชกาลที่ 1
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


    </TD><TD class=black_14_bold width=292 bgColor=#ebe8a5>เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศร์บดินทร์
    สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร



    </TD><TD class=black_14_bold align=middle width=152 bgColor=#ebe8a5>พ.ศ. 2325-2328
    พ.ศ. 2328-2352


    </TD></TR><TR bgColor=#d5e0be><TD class=black_14_bold width=264>สมัยรัชกาลที่ 2
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


    </TD><TD class=black_14_bold width=292>สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี
    สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฏ



    </TD><TD class=black_14_bold align=middle width=152>พ.ศ. 2354-2365
    พ.ศ. 2366-2367


    </TD></TR><TR bgColor=#ebe8a5><TD class=black_14_bold width=264>สมัยรัชกาลที่ 3
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


    </TD><TD class=black_14_bold width=292>สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศเรศรังสรรค์</TD><TD class=black_14_bold align=middle width=152>พ.ศ. 2367-2394</TD></TR><TR bgColor=#d5e0be><TD class=black_14_bold width=264>สมัยรัชกาลที่ 4
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


    </TD><TD class=black_14_bold width=292>สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท</TD><TD class=black_14_bold align=middle width=152>พ.ศ. 2394-2413</TD></TR><TR bgColor=#ebe8a5><TD class=black_14_bold width=264>สมัยรัชกาลที่ 5
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


    </TD><TD class=black_14_bold width=292>สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี
    กรมพระจักรพรรดิพงศ์


    </TD><TD class=black_14_bold align=middle width=152>พ.ศ. 2424-2443</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=paragraph1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 border=0><TBODY><TR vAlign=top align=middle><TD class=paragraph1 width=175 height=135><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD class=paragraph1 width=175 height=135><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD class=paragraph1 width=175 height=135><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD class=paragraph1 width=175 height=135><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top align=middle><TD class=brown_text_bold width=202>
    พระบาทสมเด็จ
    พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช



    </TD><TD class=brown_text_bold width=191>
    พระบาทสมเด็จ
    พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    ( สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
    เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร )




    </TD><TD class=brown_text_bold width=166>
    พระบาทสมเด็จ
    พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว




    </TD><TD class=brown_text_bold width=141>
    พระบาทสมเด็จ
    พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
    เจ้าฟ้ามงกุฏ )


    </TD></TR><TR vAlign=top align=middle><TD class=paragraph1 width=202><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD class=paragraph1 width=191><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD class=paragraph1 width=166><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD class=paragraph1 width=141><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top align=middle><TD class=brown_text_bold width=202>
    พระบาทสมเด็จ
    พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
    (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
    เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศเรศรังสรรค์)




    </TD><TD class=brown_text_bold width=191>
    พระบาทสมเด็จ
    พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


    </TD><TD class=brown_text_bold width=166>
    สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
    กรมหลวงวงศาธิราชสนิท


    </TD><TD class=brown_text_bold width=141>
    สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
    เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี
    กรมพระจักรพรรดิพงศ์



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 border=0><TBODY><TR><TD class=brown_text_normal>นอกจากนี้ พระราชวังเดิมยังเป็นสถานที่ที่พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี 3 พระองค์ ทรงมีพระราชสมภพ ซึ่งทุกพระองค์เป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ขณะยังทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#660000 cellSpacing=1 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR vAlign=top align=middle><TD width=120>
    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD><TD width=120>
    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=104 border=1><TBODY><TR><TD width=100>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD><TD width=120>
    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD><TD vAlign=center align=left>พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ
    เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ
    เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347

    พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ
    เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2351


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=730 border=0><TBODY><TR><TD>ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์สิ้นพระชนม์ พลเรือโทพระชลยุทธโยธินทร์ ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ในขณะนั้น ได้กราบบังคมทูลขอพระราชวังเดิมเพื่อให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 โดยทรงมีพระราชกระแสให้รักษาซ่อมแซมสิ่งที่ปลูกสร้างที่มีมาแต่เดิม ได้แก่ ท้องพระโรง, ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระตำหนักของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และศาลศีรษะปลาวาฬ

    โรงเรียนนายเรือตั้งอยู่ที่พระราชวังเดิมเรื่อยมาจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2487 จึงได้ย้ายไปอยู่ที่สัตหีบชั่วคราวในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และในปี พ.ศ. 2489 ได้ย้ายไปอยู่ที่เกล็ดแก้วก่อนจะย้ายมาตั้งที่สมุทรปราการ ในปี พ.ศ. 2495 จนถึงปัจจุบัน ส่วนอาคารเดิมของโรงเรียนนายเรือที่พระราชวังเดิมนั้น กองทัพเรือได้ดัดแปลงเป็นอาคารแบบทรงไทย แล้วใช้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพเรือจนถึงปัจจุบัน สำหรับโบราณสถานที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ได้แก่ ท้องพระโรง พระตำหนักเก๋งคู่ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระตำหนักสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และป้อมวิไชยประสิทธิ์ ซึ่งได้รับการบูรณะ ครั้งล่าสุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 และเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2545 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2545




    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=710 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE borderColor=#663300 height=74 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 align=center border=1 name="R.N.Head"><TBODY><TR align=middle><TD class=paragraph1 vAlign=top width=150 height=64>[​IMG]</TD><TD class=paragraph1 vAlign=top width=98 height=64>[​IMG]</TD><TD class=paragraph1 vAlign=top width=99 height=64>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มา : http://www.wangdermpalace.com/wangderm/thai_history.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2007
  7. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    โบราณสถานในพระราชวังเดิม

    [​IMG]


    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>
    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD><TD width=435>อาคารท้องพระโรงสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2311 พร้อมกับการสถาปนากรุงธนบุรี เป็นราชธานี อาคารนี้มีรูปทรงแบบไทยประกอบด้วยพระที่นั่งสององค์เชื่อมต่อกัน ได้แก่ พระที่นั่งองค์ทิศเหนือ เรียกว่าท้องพระโรง หรือ วินิจฉัย อยู่ทางทิศเหนือใช้เป็นที่เสด็จ ออกขุนนาง และประกอบพระราชพิธีที่สำคัญมาแต่ครั้งกรุงธนบุรี และพระที่นั่งองค์ทิศใต้ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งองค์แรก เรียกกันว่า พระที่นั่งขวาง เป็นส่วนพระราชมณเฑียร อันเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบัน กองทัพเรือได้ใช้โถงท้องพระโรงภายในพระที่นั่งองค์ทิศเหนือ เป็นสถานที่ที่จัดงาน และประกอบพิธีสำคัญเป็นประจำ ส่วนพระที่นั่งขวาง ได้ใช้เป็นห้องรับรองบุคคลสำคัญ และเป็นห้องประชุมในบางโอกาส

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>
    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD><TD width=435>ป้อมนี้เดิมชื่อ "ป้อมวิไชยเยนทร์ " หรือ "ป้อมบางกอก" สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช โดยเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ กราบบังคมทูลแนะนำให้สร้างขึ้น พร้อม ป้อมทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีได้ทรงสร้างพระราชวังในบริเวณป้อมแห่งนี้พร้อมกับปรับปรุงป้อม และพระราชทานนามใหม่ว่า "ป้อมวิไชยประสิทธิ์" ปัจจุบันป้อมวิไชยประสิทธิ์ใช้เป็นที่ ยิงสลุตในพิธีสำคัญต่างๆ และติดตั้งเสาธงเพื่อประดับธงราชนาวี และธงผู้บัญชาการทหารเรือ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>
    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD><TD width=435>อาคารหลังนี้รูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง โดย เฉพาะประตูหน้าต่าง เพื่อให้เข้ากับสภาพอากาศ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ดำรงพระ อิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ ให้ซ่อมแซมและดัดแปลงในช่วง พ.ศ. 2367 - 2394 พร้อมกับให้สร้างพระตำหนักเก๋งคู่หลังใหญ่ ในรูปแบบที่สอดคล้องกับอาคารหลังนี้ ปัจจุบัน อาคารนี้ใช้เป็นที่จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจทางด้านการรบของสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>
    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD><TD width=435>อาคารหลังนี้มีรูปแบบสถาปัตยกรรม ที่ผสมผสานระหว่างไทยและจีน สันนิษฐานว่าสร้าง ขึ้นระหว่างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว โดยสร้างขนานกับอาคารเก๋งคู่หลังเล็กที่อยู่ทางทิศเหนือ ส่วนหลังคาของอาคาร มีการเขียนสีตกแต่งเป็นลวดลายแบบจีน แต่กรอบหน้าต่างมีการจำหลักลายประดับแบบไทย ปัจจุบันอาคารหลังนี้ใช้เป็นที่จัดแสดงภาพนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจในด้านการ ทำนุบำรุงบ้านเมืองในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>
    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD><TD width=435>ตำหนักหลังนี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งยังทรงดำรง พระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และประทับที่พระราชวังเดิม ในระหว่างปี พ.ศ. 2367 - 2394 แต่หลังจากที่พระองค์ทรงได้รับพระราชทานบวรราชาภิเษก ได้ทรงย้ายไปประทับ ณ พระบวรราชวัง อาคารหลังนี้จึงได้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ตัวอาคารมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตก หรือเรียกว่า "ตึกแบบอเมริกัน" และถือได้ว่าเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงค์ชั้นสูง ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตกหลังแรกๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>
    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD><TD width=435>ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ศาลเจ้าตาก) หลังปัจจุบันนี้ สร้างขึ้น เมื่อครั้งสมเด็จ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ เสด็จมาประทับที่พระราชวัง เดิมในระหว่างปี พ.ศ. 2424 - 2443 ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ของอาคารเก๋งคู่ ตั้งประชิดกำแพง ด้านทิศตะวันออกของพระราชวัง ภายในศาลหลังนี้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช ในท่าประทับยืนและทรงพระแสงดาบ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>
    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD><TD width=435>ในระหว่างการขุดสำรวจครั้งล่าสุดได้พบฐานอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า บริเวณพื้นที่ที่ อยู่ระหว่างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและตำหนักเก๋งคู่หลังเล็ก ซึ่งเมื่อพิจารณาจาก หลักฐานทางเอกสารประกอบแล้ว สันนิษฐานว่าเป็นซากของอาคารศาลศีรษะปลาวาฬเดิม ที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวและได้พังลงในคืนวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2443 ซึ่งเป็นคืนที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ สิ้นพระชนม์ รูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคาร หลังเดิมตามที่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นอาคารโถงแบบจีน ส่วนศาลศีรษะปลา วาฬ หลังปัจจุบันทางมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิมได้ปรึกษากับกรมศิลปากร และเห็นชอบให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2542 บนฐานของศาลหลังเดิมที่ได้ขุดพบ เพื่อใช้เป็นที่ จัดแสดงกระดูกศีรษะปลาวาฬ (ที่ได้พบอยู่ใต้ถุนศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในคราว สำรวจพื้นที่ทางโบราณคดี ในช่วงการบูรณะครั้งล่าสุด) รูปแบบของอาคารหลังปัจจุบันได้ ประยุกต์ให้เหมาะสมกับอาคารโบราณสถานโดยรอบ โดยยังคงรูปแบบเป็นเก๋งจีน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>
    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD><TD width=435>อาคารเรือนเขียวคืออาคารโรงพยาบาลเดิม เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ยกพื้นสูงจำนวน 2 หลัง ตั้งอยู่บริเวณ "เขาดิน" ซึ่งเป็นเนินดินตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ ภายในเขตกำแพงชั้น ในของพระราชวังเดิม อาคารเรือนเขียวสร้างขึ้นในช่วงเวลาที่มีการปรับปรุงพระราชวังเดิม ให้เป็นโรงเรียนนายเรือและได้ใช้เป็นสถานพยาบาลของโรงเรียนนายเรือ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>





    ที่มา : http://www.wangdermpalace.com/wangderm/thai_ancient.html
     
  8. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    พระราชกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชด้านการรบ

    [​IMG]

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=750 align=center border=1><TBODY><TR vAlign=top align=middle><TD bgColor=#000000 colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=240>
    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=154 border=1><TBODY><TR><TD width=150>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD><TD vAlign=top align=left width=500>เมื่อปี พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่า ส่งทัพพม่ามากระหนาบกรุงศรีอยุธยา 2 ทาง ทัพที่มา จากทางเหนือตั้งที่ปากน้ำประสบ ส่วนที่มาจากทางใต้ตั้งที่ทุ่งภูเขาทอง ในระยะแรกที่พม่าเข้าล้อมกรุงศรี อยุธยา เสบียงอาหารยังบริบูรณ์ แต่พม่าได้วางแผนตัดเส้นทางส่งเสบียงจากภายนอก เพื่อให้กรุงศรีอยุธยา อ่อนกำลังจนไม่สามารถเป็นที่พึ่งแก่หัวเมืองขึ้นของพม่าได้อีกต่อไป

    สมเด็จพระเจ้าตากสิน ซึ่งขณะนั้นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองตาก เมื่อได้ข่าวพม่าล้อมกรุงได้นำ ทัพลงมาสมทบ เสริมกำลังป้องกันกรุงศรีอยุธยา คุมไพร่พลอยู่ใกล้วัดป่าแก้วหรือวัดใหญ่เพื่อป้องกันไม่ให้ พม่ายกทัพเข้าเมือง แต่สถานการณ์ภายในกองทัพเลวร้ายลงเรื่อยๆ ข้าราชการ ทหาร ทั้งแม่ทัพนายกอง และไพร่พล ต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีเอาตัวรอดกันโกลาหลทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายขึ้น

    กองทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ประมาณ 2 ปี พระยาตากคาดการณ์ว่ากรุงศรีอยุธยาคงจะต้อง แตกแน่ เพราะกำลังหนุนของพม่านั้น ใหญ่หลวงนัก ประกอบกับทัพพระยาตากขาดแคลนเสบียงอย่าง หนัก ถ้าสู้รบต่อไปก็เท่ากับพาทหารไปตายโดยไร้ประโยชน์ จึงได้วางแผนตีฝ่าวงล้อมพม่า เพื่อไปสะสม เสบียงอาหารกำลังคน และอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อกลับมากอบกู้กรุงศรีอยุธยา

    ในวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 4 ค่ำ จ.ศ. 1128 ตรงกับวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2310 พระยาตากรวบรวม ไพร่พลทั้งไทยจีนได้ ประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมพม่า มุ่งไปยังหัวเมืองชายทะเลตะวันออกที่ยังปลอดภัย จากอิทธิพลพม่า และเป็นศูนย์กลางการติดต่อกับหัวเมืองสำคัญอื่นๆ ของราชอาณาจักร รวมทั้งเหมาะสม ที่จะใช้เป็นฐานยุทธศาสตร์ เพื่อนำกำลังทัพกลับมากอบกู้กรุงศรีอยุธยา



    </TD></TR></TBODY></TABLE>




    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=750 align=center border=1><TBODY><TR vAlign=top align=middle><TD bgColor=#000000 colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=240><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=154 border=1><TBODY><TR><TD width=150>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>





    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​





    </TD><TD vAlign=top align=left width=500>หลังจากที่พระยาตากพาไพร่พลตีฝ่าวงล้อมพม่า มุ่งไปยังหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออก ประมาณ 3 เดือน พม่าก็เข้ายึดกรุงศรีอยุธยาได้ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2310 พม่าจุดไฟเผาเมืองจนวอดวาย พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่ามีพระบรมราชโองการให้ทำลายทุกอย่างให้ย่อยยับ แล้วให้จับพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ และรวบรวมสมบัติทั้งหมดของอยุธยาส่งกลับไปพม่า ข่าวกรุงแตกได้แพร่กระจาย ขณะที่พระยาตากอยู่ที่เมืองระยอง พระยาตากจึงได้ประกาศตนเป็นผุ้นำในการที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนา และกอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิม บรรดาแม่ทัพนายกองที่สวามิภักดิ์ต่างพร้อมใจกันยกพระยา ตากขึ้นเป็นผู้นำขบวนการกอบกู้แผ่นดิน และเรียกพระยาตากว่า เจ้าตาก นับตั้งแต่นั้นมา เจ้าตากได้นำ ไพร่พลทั้งไทยและจีนเดินทางต่อไปยังฝั่งทะเลด้านตะวันออก รอเวลาที่จะกอบกู้แผ่นดินจากพม่า ทุกขั้น ตอนของแผนกอบกู้เอกราช ล้วนแสดงถึงพระอัจฉริยภาพในด้านยุทธวิธีทางทหาร ทั้งทางบกและทางน้ำ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช



    เส้นทางเดินทัพของพระยาตาก

    พระยาตากพาไพร่พลตีฝ่าวงล้อมของทัพพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยามุ่งตรงไปยังบ้านโพธิ์สังหาญ หรือ โพธิ์สาวหาญ รุ่งเช้าได้ต่อสู้กับกองทหารพม่า ทหารไทยฆ่าฟันทหารพม่าล้มตายแตกหนีไปพระยาตาก จึงนำทหารเดินทางต่อ และไปตั้งค่ายพักอยู่บ้านพรานนก ให้พวกทหารไปเที่ยวหาอาหาร มาเลี้ยงกัน ขณะนั้นมีทหารพม่ากองหนึ่ง ซึ่งมีทหารม้าประมาณ 30 คน ทหารเดินเท้าประมาณ 200 คน เดินทาง มาจากแขวงเมืองปราจีนบุรี สวนทางมาพบทหารพระยาตากที่เที่ยวหาเสบียงอาหาร ทหารพม่าก็ไล่จับและ ติดตามมายังบ้านพรานนก พระยาตากจึงให้ทหารแยกออกซุ่มสองทาง ตนเองขึ้นขี่ม้าพร้อมกับทหารอีก 4 คน ควบตรงไปไล่ฟันทหารม้าพม่า ทหารพม่าไม่ทันรู้ตัวตกใจถอยกลับ ไปปะทะกับทหารเดินเท้าของตนเอง เกิดการอลหม่าน ทหารไทยที่ซุ่มอยู่สองข้างจึงแยกเป็นปีกกาตีโอบทหารพม่าไว้สองข้าง แล้วไล่ฟันทหารพม่า ล้มตายและแตกหนีไป พวกราษฎรที่หลบซ่อนพม่าอยู่ ครั้นเห็นพระยาตากรบชนะพม่า ก็ดีใจพากัน เข้ามาสมัครเป็นพรรคพวก พระยาตากจึงให้ราษฎรเหล่านั้น ไปเกลี้ยกล่อมหัวหน้านายซ่องมาสวามิภักดิ์ นำช้าง ม้าพาหนะและเสบียงอาหารมามอบให้ นายซ่องใหญ่ที่ไม่ยอมอ่อนน้อม ก็ถูกปราบปรามจนราบคาบ ริบพาหนะ ผู้คน ช้างม้า และศาสตราวุธ ได้เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นพระยาตากจึงยกกองทหารไปทาง นาเริง เมืองนครนายก ผ่านด่านกบแจะ ข้ามลำน้ำปราจีนบุรี ไปตั้งพักอยู่ชายดงศรีมหาโพธิ์ ข้างฝั่งตะวันออก พม่าที่ตั้งทัพอยู่ปากน้ำเจ้าโล้ใต้เมืองปราจีนบุรียกพลตามมา พระยาตากก็นำทหารไล่ติดตามฆ่าฟันทหารพม่า ล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ที่เหลือก็หนีแตกกระจัดกระจายไป นับแต่นั้นมา พม่าก็มิได้ติดตามกองทัพพระยา ตากอีกต่อไป พระยาตากได้ยกกองทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทรา ชลบุรี แล้วจึงเดินทางต่อไปยังบ้านนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง เมื่อถึงเมืองระยอง เจ้าเมืองระยองซึ่งได้ยินกิติศัพท์ของพระยาตากก็ยอมอ่อนน้อมเชิญให้ เข้าเมือง พระยาตากใช้เวลาไม่ถึงเดือนนับจากตีหักออกจากกรุงศรีอยุธยาก็ยึดเมืองระยองเป็นที่มั่นได้ ความ สามารถของพระยาตากในการรวบรวม คนไทยได้เป็นจำนวนมากเช่นนี้ แสดงถึงศักยภาพของพระยาตากที่มี เหนือกลุ่มอื่น ๆ ในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา




    </TD></TR></TBODY></TABLE>




    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=740 align=center border=1><TBODY><TR vAlign=top align=middle><TD bgColor=#000000 colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=240>


    <TABLE borderColor=#663300 height=219 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=152 border=1><TBODY><TR><TD width=180 height=217>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    </TD><TD class=brown_text_normal vAlign=top align=left width=500>พระยาตากเดินทัพจากระยองผ่านแกลงเข้าบางกระจะ มุ่งยึดจันทบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่ เพื่อใช้เป็นฐาน กำลังฟื้นฟูขวัญของไพร่พล เจ้าเมืองจันทบุรีไม่ยอมสวามิภักดิ์ พระยาตากจึงต้องใช้จิตวิทยาในด้านการรบ มาใช้กับแม่ทัพนายกอง เพื่อต้องการรบให้ชนะ โดยสั่งให้ทุบหม้อข้าวหม้อแกงหมายไปกินอาหารมื้อเช้า ในเมือง ถ้าตีเมืองไม่ได้ก็ต้องอดตาย ครั้นถึงเวลาค่ำ พระยาตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยจีนลอบเข้าไปอยู่ ตามสถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้ว ให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเมืองพร้อมกัน มิให้ส่งเสียงจนกว่าจะเข้าเมือง ได้จึงให้โห่ขึ้นให้พวกอื่นรู้ พอได้ฤกษ์เวลา 3 นาฬิกา เจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิงปืนสัญญาณ บอกพวกทหารเข้าตีเมืองพร้อมกัน ส่วนพระยาตากก็ไสช้างเข้าพังประตูเมือง ชาวเมืองที่ประจำการอยู่ก็ยิง ปืนใหญ่เข้าใส่ นายท้ายช้างเกรงว่าพระยาตากจะถูกยิงจึงเกี่ยวช้างให้ถอยออกมา พระยาตากชักดาบออกมา จะฟัน นายท้ายช้างจึงได้ขอชีวิตไว้ แล้วไสช้างเข้าชนทำให้บานประตูเมืองพังลง ทหารพระยาตากจึงกรูกัน เข้าเมืองได้ พวกชาวเมืองต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีไป ส่วนพระยาจันทบุรีก็พาครอบครัวลงเรือหนีไปยัง เมืองบันทายมาศ พระยาตากตีเมืองจันทบุรีได้ ณ วันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ ตรงกับวันที่ 15 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310 หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน

    เมื่อยึดเมืองจันทบุรีได้แล้ว พระยาตากได้เคลื่อนทัพไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรเกิดความ เกรงกลัวต่างพากันมาอ่อนน้อมโดยดี ที่ปากน้ำเมืองตราดมีเรือสำเภาจีนมาทอดทุ่นอยู่หลายลำ พระยาตาก ได้เรียกนายเรือมาพบ แต่พวกจีนนายเรือขัดขืนต่อสู้ พระยาตากจึงลงเรือรบ คุมกองเรือไปล้อมสำเภาจีน เหล่านั้น ได้ทำการต่อสู้กันอยู่ประมาณครึ่งวัน พระยาตากก็ยึดสำเภาจีนไว้ได้หมด ได้ทรัพย์สินสิ่งของมา เป็นจำนวนมาก เป็นที่น่าสังเกตว่าเรือรบไทยสมัยนั้น มีขนาดพอ ๆ กับเรือยาวที่ใช้แข่งตามแม่น้ำ เมื่อสามารถเข้าตียึดเรือสำเภาขนาดใหญ่ที่ใช้เดินทะเลและมีปืนใหญ่ประจำเรือด้วยได้นั้น แสดงว่าแม่ทัพ เรือและทหารเรือ จะต้องมีความสามารถมาก



    </TD></TR></TBODY></TABLE>




    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=740 align=center border=1><TBODY><TR vAlign=top align=middle><TD bgColor=#000000 colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=240>
    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    </TD><TD class=brown_text_normal vAlign=top align=left width=500>หลังจากนั้นพระยาตากได้เดินทางจากตราด กลับมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบุรี เพื่อวางแผน ปฏิบัติการรบเพื่อยึดกรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึก พร้อมกับสั่งให้ต่อเรือรบและรวบรวมเครื่องศัตราวุธ ยุทธภัณฑ์ ได้ใช้เวลา 3 เดือนในการฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการ เมื่อสิ้นฤดูมรสุม ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก ที่กรุงศรีอยุธยา ได้เคลื่อนทัพโดยเลือกเส้นทางน้ำ เนื่องจากการยกกองทัพโดยใช้เส้นทางบกจะล่าช้า ทหาร จะเหนื่อยล้า และพม่าอาจทราบข่าวการเคลื่อนทัพก่อนที่กองทัพไทยจะถึงอยุธยา ทำให้พม่ารู้ตัวและอาจ รวบรวมกำลังต่อสู้ได้ทันท่วงที อีกประการหนึ่งทหารพม่าชำนาญแต่การรบบนบกและที่สำคัญคือพม่าไม่ มีเรือรบ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2310 พระยาตากได้ยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี (เมื่อพม่ายกทัพมาถึงชานกรุงศรีอยุธยา ได้ยึดเมืองธนบุรีไว้ก่อนที่จะเข้าล้อม กรุงศรีอยุธยา พม่าให้คนไทยชื่อ นายทองอิน รักษาเมืองไว้เป็นเมืองหน้าด่าน) เมื่อพระยาตากยึดเมือง ธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว จึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยา เข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น ปราบพม่าจน ราบคาบโดยที่พม่าไม่ทันรู้ตัวและไม่ทันวางแผนต่อสู้ จึงสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา เมื่อวันศุกร์ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 ใช้เวลาเพียง 7 เดือนหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา




    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=740 align=center border=1><TBODY><TR vAlign=top align=middle><TD bgColor=#000000 colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=240><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=1><TBODY><TR><TD class=brown_text_normal>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=left width=500>หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาซึ่งเจริญรุ่งเรืองมากว่า 400 ปี ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับ เจ้าเมืองใหญ่ๆ ต่างพา กันตั้งตัวเป็นเจ้าและควบคุมหัวเมืองใกล้เคียงไว้ในอำนาจ ที่สำคัญได้แก่ เจ้าพระยาพิษณุโลก เจ้าพิมาย เจ้าพระยา นครศรีธรรมราช และเจ้าพระฝาง ในการฟื้นฟูพระราชอาณาจักร สมเด็จพระเจ้าตากสินจำเป็น ต้องทำการปราบปรามนายชุมนุมเหล่านี้ เพื่อขยายอำนาจ ปกครอง ให้ไปถึงยังดินแดนที่เคยเป็นของพระราช อาณาจักรมาก่อน เพื่อ "มีพระราชอาณาเขต ปกแผ่ไปเป็นแผ่นดินเดียว" การทำสงครามเพื่อปราบ ชุมนุมเหล่านี้เริ่มขึ้นหลังพระราชพิธีปราบดาภิเษก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2311 จนถึง พ.ศ. 2314



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​





    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=740 align=center border=1><TBODY><TR vAlign=top align=middle><TD bgColor=#000000 colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=240>





    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=124 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>







    </TD><TD vAlign=top align=left width=500>
    ศึกพม่าที่บางกุ้ง เขตเมืองสมุทรสงคราม
    ในปี พ.ศ. 2310


    นับเป็นการศึกครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี เนื่องมาจากทางพม่าทราบข่าวว่ามีคนไทยตั้งตัวเป็นใหญ่ จึงสั่งให้เจ้าเมืองทวายเข้าสืบข่าวเพื่อที่จะกำจัดเสีย สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรู้ข่าวจึงโปรดให้จัด กองทัพไปขับไล่กองทัพพม่า - มอญ ทหารพม่าเป็นฝ่ายแพ้ต้องถอยทัพกลับทางเมืองทวาย โดยทหาร ไทยสามารถยึดเรือรบอาวุธและเสบียงอาหารของพม่าไว้ได้

    ศึกพม่าที่บางแก้ว
    ในปี พ.ศ. 2317

    เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรู้ข่าวว่าพม่ายกพลตามพวกมอญที่หนีเข้ามาในเขตไทย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพมุ่งตรงไปยังราชบุรี โดยทรงบัญชาการทัพด้วยพระองค์เอง ทรงตั้งค่ายล้อมค่ายพม่าและลอบตี ตัดทางลำเลียงเสบียงอาหาร โดยได้กำลังสนับสนุนจากพระยายมราช ในที่สุดพม่าจึงต้องยอมแพ้ ชัยชนะ ในครั้งนี้ส่งผลให้ผู้คนที่หลบซ่อนตามที่ต่าง ๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากหมดความกลัว เกรงพม่า นับเป็นสงครามแบบจิตวิทยาโดยแท้

    ศึกตีเวียงจันทน์
    ในปี พ.ศ. 2321

    พระวอ เสนาบดีเมืองเวียงจันทน์ มีเรื่องขัดแย้งกับเจ้าสิริบุญสารซึ่งเป็นเจ้าเมือง จึงเข้ามาพึ่งเจ้าเมือง จำปาศักดิ์ ซึ่งขึ้นต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน แต่เมื่อไทยยกทัพกลับไป เจ้าสิริบุญสารได้ให้คนมาฆ่าพระวอ สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกและพระยาสุรสีห์ยกกองทัพไปตีเมือง เวียงจันทน์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าเมืองหลวงพระบาง ทัพไทยล้อมอยู่นาน 4 เดือน พระเจ้า กรุงศรีสันตนาคนหุตจึงหลบหนีไป ทัพกรุงธนบุรีจึงตีได้เวียงจันทน์ หลวงพระบาง และล้านช้าง ทั้งหมด พร้อมกับได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาประดิษฐานที่กรุงธนบุรีในคราวนี้ด้วย



    </TD></TR></TBODY></TABLE>




    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=740 align=center border=1><TBODY><TR vAlign=top align=middle><TD bgColor=#000000 colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=240>


    <TABLE borderColor=#663300 height=184 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>






    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD><TD class=brown_text_normal vAlign=top align=left width=500>การปกป้องแผ่นดินเป็นพระราชกรณียกิจที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้กระทำตลอดพระชนม์ชีพ ซึ่งนอก จากการต่อสู้เพื่อรวมแผ่นดินแล้ว ยังต้องป้องกันหัวเมืองชายแดนอีกด้วย



    การป้องกันหัวเมืองชายแดน

    ตลอดรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าตากสินต้องทรงทำสงครามกับพม่าถึง 8 ครั้ง แต่ด้วยพระอัจฉริยะภาพ ทางยุทธวิธีและความเชี่ยวชาญในการรบของทหาร จึงทำให้ทัพไทยรบชนะพม่าทุกครั้ง เช่น

    พ.ศ. 2310 ทรงตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น สามารถยึดกรุงศรีอยุธยาคืนได้ ทำให้ไทยเป็นเอกราช ในปีเดียวกันนั้นไทยรบกับพม่าที่บางกุ้ง สมุทรสงคราม พม่าแพ้ต้องถอยทัพกลับมาเมืองทวาย ไทยยึดเรือรบ ของพม่า ตลอดจนอาวุธและ เสบียงอาหาร ได้เป็นจำนวนมาก

    พ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงยกทัพไปตีพม่าที่เชียงใหม่เป็นครั้งที่ 2 สามารถขจัดอิทธิพล ของพม่าจากแผ่นดินล้านนา ยกเว้นเชียงแสน

    การขยายอาณาเขต

    พระราชอาณาจักรไทยในสมัยกรุงธนบุรี ขยายออกกว้างขวางกว่าสมัยอยุธยามาก ทั้งนี้ เพราะได้เมืองพุทไธมาศ และกัมพูชาเข้ามาไว้ในราชอาณาเขตด้วย

    พ.ศ. 2319 ไทยได้อาณาเขตลาวใต้ มีนครจำปาศักดิ์ สีทันดร ดินแดนเขมรป่าดงแถบเมืองสุรินทร์ เมืองสังขะและเมืองขุขันธ์

    พ.ศ. 2321 ทัพไทยตีหัวเมืองรายทางไปจนถึงเวียงจันทน์ ได้เมืองเวียงจันทน์ หลวงพระบาง ครั้นเสร็จ ศึกก็ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกตกลับมาไว้ที่กรุงธนบุรีในปีนั้นด้วย

    การศึกสงครามดังกล่าวนี้ ส่งผลให้พระราชอาณาจักรไทยเป็นเอกราชและมีความมั่นคงสืบต่อมาจนถึง ปัจจุบัน

    อาณาเขตประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    ในสมัยกรุงธนบุรีได้มีการรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้ามาในพระราชอาณาจักร ได้แก่ ธนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครชัยศรี นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์
    สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ทรงต่อสู้เพื่อขยายพระราชอาณาจักรเกือบตลอดรัชกาล อาณาเขตของ ประเทศไทยในสมัยนั้น มีดังนี้
    <TABLE cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD width="30%">ทิศเหนือ
    ทิศใต้
    ทิศตะวันออก
    ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
    ทิศตะวันออกเฉียงใต ้
    ทิศตะวันตก


    </TD><TD class=brown_text_normal width="70%">ตลอดอาณาจักรล้านนา
    ตลอดเมืองไทรบุรีและตรังกานู
    ตลอดกัมพูชาจดญวนใต้
    ตลอดเวียงจันทน์ หัวเมืองพาน และหลวงพระบาง หัวพันห้าทั้งหก
    ตลอดเมืองพุทไธมาศ จดเมืองมะริด และตะนาวศรี
    จดเมืองมะริด และตะนาวศรี ออกมหาสมุทรอินเดีย


    </TD></TR></TBODY></TABLE>




    </TD></TR></TBODY></TABLE>






    ที่มา : http://www.wangdermpalace.com/kingtaksin/thai_militaryact.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2007
  9. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    พระราชกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชด้านกฎหมายและศาล

    <TABLE borderColor=#000000 height=232 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=740 align=center border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD class=header1 vAlign=top colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=240 height=245>





    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​







    </TD><TD vAlign=top width=500 height=245>เนื่องจากตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นช่วงเวลาที่มีการทำศึกสงครามเกือบ ตลอดเวลา จึงทำให้ไม่มีเวลาที่จะชำระพระราชกำหนดกฎหมายต่างๆ ทำให้ต้องใช้กฏหมายที่มีมาตั้งแต่ ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยให้กรมวัง หรือกระทรวงวังเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาว่าคดีใดควรขึ้นศาลใด แล้วส่งคดีไปยังศาลกรมนั้นๆ โดยได้แบ่งงานศาลออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

    - ฝ่ายรับฟ้อง มีหน้าที่ในการเขียนคำฟ้องและพิจารณารูปคดีว่าควรจะฟ้องหรือไม่ ก่อนจะส่งขึ้นศาลเพื่อพิจารณา เรื่องปรับไหมและลงโทษผู้กระทำผิด

    - ฝ่ายตรวจสำนวนและพิพากษา
    ฝ่ายนี้เดิมเป็นหน้าที่ของพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายแขนงต่างๆ จำนวน 12 คน โดยเรียกว่า "ลูกขุน ณ ศาลหลวง" ต่อมาได้มีคนไทยที่เชี่ยวชาญกฎหมายเข้ามาทำหน้าที่นี้ด้วย คณะลูกขุน ณ ศาลหลวงนี้จะไม่มีอำนาจในการปรับหรือลงโทษแต่อย่างใด

    อย่างไรก็ตาม ในรัชกาลของพระเจ้าตากสิน พระองค์จะทรงใช้ "ศาลทหาร" เป็นส่วนใหญ่โดยใน การตัดสินคดีทุกครั้ง แม้พระองค์จะตัดสินให้ลงโทษสูงสุดแล้ว แต่ก็จะมีรับสั่งให้ทยอยการลงโทษจาก ขั้นต่ำสุดก่อน ซึ่งหลายครั้งจะปรากฏว่านักโทษที่มีความผิดร้ายแรงก็มักจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษ หนักโดยให้ไปกระทำการอย่างอื่นเป็นการไถ่โทษแทน




    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มา : http://www.wangdermpalace.com/kingtaksin/thai_multifarious.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2007
  10. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    พระราชกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชด้านการต่างประเทศ

    <TABLE borderColor=#000000 height=232 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=740 align=center border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD class=header1 vAlign=top colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=240 height=245>
    <TABLE borderColor=#663300 height=107 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=152 border=1><TBODY><TR><TD width=179 height=105>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​






    <TABLE borderColor=#663300 height=215 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=152 border=1><TBODY><TR><TD width=180 height=213>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​










    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=152 border=1><TBODY><TR><TD width=180>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​











    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=152 border=1><TBODY><TR><TD width=180>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​



    </TD><TD vAlign=top width=500 height=245>กัมพูชา
    เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในปีพุทธศักราช 2310 กัมพูชาซึ่งถือเป็นเมืองขึ้นของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ส่งผลให้ไทยต้องจัดทัพไปตีเมืองเขมรหลายครั้งหลายคราว จนกระทั่งพุทธศักราช 2324 สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระราชประสงค์จะผนวกดินแดนเขมรเข้ามารวมอยู่ในพระราชอาณาจักรไทย โดยเด็ดขาด แต่ยังมิทันสำเร็จสมดังพระราชประสงค์ก็สิ้นสมัยธนบุรีลงเสียก่อน

    จีน
    สัมพันธภาพระหว่างสมเด็จพระเจ้าตากสินและราชวงศ์ชิง อาจจำแนกได้เป็น 3 ระยะ ตามกาลเวลาและ พัฒนาการของเหตุการณ์
    1. พุทธศักราช 2310 - 2313
    ราชวงศ์ชิงปฏิเสธการรับรอง เนื่องจากในระยะนั้นจีนได้รับรายงานที่ไม่เป็นความจริงจาก ม่อซื่อหลิน แห่งพุทไธมาศ จึงไม่ยอมรับรองกรุงธนบุรี
    2. พุทธศักราช 2313 - 2314
    ราชสำนักชิงเริ่มรู้สึกถึงเบื้องหลังรายงานที่ไม่เป็นความจริงของม่อซื่อหลิน และไม่ให้ความเชื่อถือ ดังนั้น ราชสำนักชิงจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงและมีท่าทีเป็นมิตรต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน
    3. พุทธศักราช 2314 - 2325
    ราชสำนักชิงให้การรับรองอย่างเป็นทางการต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน รวมทั้งให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ

    ญวน
    ในสมัยกรุงธนบุรีความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวน แบ่งได้เป็น 2 ระยะคือ
    ระยะแรก ญวนเป็นมิตรกับไทยเพราะญวนหวังพึ่งไทยในการขจัดความยุ่งยากที่เกิดขึ้นภายในประเทศ
    ระยะต่อมา ไทยมีเรื่องบาดหมางกับญวนในกรณีกัมพูชา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวน ในตอนปลายรัชกาลตึงเครียด จนเกือบต้องทำสงครามกัน

    นครศรีธรรมราช
    หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินยกทัพไปตีได้เมืองนครศรีธรรมราชในพุทธศักราช 2312 ได้คืนอำนาจ ให้แก่กลุ่มท้องถิ่น โดยโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะของเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นเป็นเมืองประเทศราชอีกเมือง หนึ่งให้เจ้าเมืองมีฐานะเป็น "พระเจ้านครศรีธรรมราช" ซึ่งเปรียบได้กับพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง และมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันตลอดรัชกาล

    พม่า
    ในช่วงระยะเวลา 10 ปีแรกของการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ไทยกับพม่าต้องทำสงครามขับเคี่ยว กันถึง 8 ครั้ง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าเป็นไปอย่างศัตรูคู่อาฆาตตลอดสมัย กรุงธนบุรี

    มลายู
    หัวเมืองมลายูซึ่งมีแคว้นที่สำคัญได้แก่ ปัตตานี ไทรบุรี เประ กลันตัน และตรังกานู เป็นประเทศราช ของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก แคว้นเหล่านี้ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ และเนื่องจากเป็นช่วงเวลา เดียวกับที่พระเจ้าตากสินทรงติดพันศึกกับพม่าและการฟื้นฟูประเทศ หัวเมืองมลายูจึงเป็นอิสระจากไทยจน กระทั่งสิ้นรัชกาล

    ล้านนา
    หัวเมืองล้านนาที่สำคัญ ได้แก่เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ และน่าน ซึ่งเป็นแคว้นอิสระที่ปกครองตนเอง โดยเจ้าผู้ครองนคร มีความสำคัญในแง่ยุทธศาสตร์ทั้งแก่ไทยและพม่า ทำให้ทั้งไทยและพม่าได้ต่อสู้กันเพื่อที่ จะเข้าไปปกครองดินแดนแห่งนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา

    ลาว
    ลาวในขณะนั้นแบ่งแยกเป็น 3 แคว้น คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ขยายอำนาจไปยังดินแดนลาว 2 ครั้ง ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2319 กองทัพไทยตีได้เมืองจำปาศักดิ์ เมืองโขง อัตปือ ทั้งยังเกลี้ยกล่อมได้เขมรป่าดง คือเมืองตะลุง สุรินทร์ สังขะ และขุขันธ์ จึงทำให้ดินแดนลาว ทางใต้อยู่ใต้อิทธิพลของไทยทั้งหมด ส่วนครั้งที่ 2 ในปี พุทธศักราช 2321 ไทยยกทัพไปตีเวียงจันทน์ พร้อมทั้งอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมายังกรุงธนบุรี ฝ่ายแคว้นหลวงพระบาง ซึ่งเป็นศัตรูกับแคว้น เวียงจันทน์ได้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อไทย ลาวจึงมีฐานะเป็นประเทศราชของไทยจนสิ้นรัชกาล


    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ที่มา : http://www.wangdermpalace.com/kingtaksin/thai_multifarious.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2007
  11. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    พระราชกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชด้านการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ

    <TABLE borderColor=#000000 height=232 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=740 align=center border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD class=header1 vAlign=top colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=240 height=245>


    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​






    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=154 border=1><TBODY><TR><TD width=150>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​



    </TD><TD vAlign=top width=500 height=245>การค้าขายกับจีน
    ในสมัยธนบุรี มีสำเภาของพ่อค้าจีนเข้ามาติดต่อค้าขายด้วยตลอดรัชกาล สมเด็จพระเจ้าตากสินได้โปรด เกล้าฯ ให้ส่งสำเภาหลวงบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายกับจีนอยู่เสมอ จึงนับได้ว่าจีนเป็นชาติสำคัญที่สุดที่ไทย ค้าขายด้วย
    ความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างไทยกับจีนเริ่มต้นจากการค้าข้าวเป็นสำคัญ ต่อมาได้ขยายเพิ่มขึ้น โดยประเทศจีนได้ส่งสินค้าพื้นเมืองจากแต้จิ๋วมาขาย ที่สำคัญ คือ เครื่องลายคราม ผ้าไหม ผักดอง และเสื่อ เป็นต้น เที่ยวกลับก็จะซื้อสินค้าจากไทย อาทิ ข้าว เครื่องเทศ ไม้สัก ดีบุก ตะกั่ว กลับไปยังเมืองจีนด้วย เช่นกัน
    นอกจากนั้น ในปีพุทธศักราช 2320 ได้มีหนังสือจีน ฉบับหนึ่งในสมัยราชวงศ์ ไต้เชงแห่งแผ่นดิน เฉียงหลง ปีที่ 42 ได้บันทึกไว้ว่า "สินค้าของไทยมี อำพัน ทอง ไม้หอม งาช้าง กระวาน พริกไทย ทองคำ หินสีต่าง ๆ ทองคำก้อน ทองคำทราย พลอยหินต่างๆ และตะกั่วแข็ง เป็นต้น"

    การค้าขายกับโปรตุเกส
    ในสมัยกรุงธนบุรีได้มีการติดต่อค้าขายกับชาวโปรตุเกสอยู่บ้าง โดยทางไทยเคยส่งสำเภาหลวงออก ไปค้าขายยังประเทศอินเดียจนถึงเขตเมืองกัว เมืองสุรัต ซึ่งเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสในครั้งนั้น แต่ยัง ไม่มีการเจริญทางพระราชไมตรีเป็นทางการต่อกัน
    การค้าขายกับอังกฤษ ประเทศที่ไทยติดต่อซื้ออาวุธที่สำคัญที่สุดคือ ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่อินเดีย ในปี พุทธศักราช 2319 ชาวอังกฤษชื่อฟรานซีส ไลท์ หรือ กัปตันเหล็ก ซึ่งอยู่ที่ปีนัง ได้ส่งปืนนกสับเข้ามาถวาย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นจำนวนพันสี่ร้อยกระบอก พร้อมกับสิ่งของเครื่องราชบรรณาการต่างๆ ต่อมาไทยจึงสั่งซื้ออาวุธปืน จากอังกฤษโดยฟรานซีส ไลท์เป็นผู้ติดต่อ มีการแลกเปลี่ยนพระราชสาส์นกัน และเมื่อพุทธศักราช 2320 นายยอร์จ สแตรตัน ผู้สำเร็จราชการแห่งมัทราสในขณะนั้นได้ส่งสาส์นพร้อม กับดาบทองคำประดับพลอย มาถวายสมเด็จพระเจ้าตากสิน

    ความสัมพันธ์กับฮอลันดา
    ในปีพุทธศักราช 2313 แขกเมืองตรังกานู และแขกเมืองยักตรา (จาการ์ตา) ได้นำปืนคาบศิลามาถวาย 2,200 กระบอก สมัยนั้นฮอลันดามีอำนาจปกครองเกาะชวาอยู่


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มา : http://www.wangdermpalace.com/kingtaksin/thai_multifarious.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2007
  12. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    พระราชกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชด้านการศาสนา

    <TABLE borderColor=#000000 height=232 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=740 align=center border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD class=header1 vAlign=top colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=240>

    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=1><TBODY><TR><TD class=brown_text_normal>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​



    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=1><TBODY><TR><TD class=brown_text_normal>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​


    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=1><TBODY><TR><TD class=brown_text_normal>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​




    </TD><TD vAlign=top width=500 height=245>ถึงแม้ว่าในรัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองจะตกอยู่ในภาวะสงครามเกือบตลอดเวลาแต่สมเด็จพระเจ้า ตากสิน กลับมิได้ทรงละเลยงานด้านศาสนจักร ได้ทรงมุ่งมั่นทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เหมือนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา พระราชกรณียกิจด้านฟื้นฟูพระพุทธศาสนามีดังนี้


    การจัดระเบียบสังฆมณฑล

    โปรดเกล้าฯให้จัดระเบียบสังฆมณฑลทันทีภายหลังการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ครั้งที่ยกทัพไป ปราบชุมนุมเจ้าพระฝางเมื่อทรงเห็นว่าพระสงฆ์ทางฝ่ายหัวเมืองเหนือมัวหมอง ก็ได้อาราธนาพระราชาคณะ จากในกรุงไปสั่งสอน ทำให้พระสงฆ์กลับบริสุทธิ์และเป็นปกติสุขขึ้น


    การรวบรวมพระไตรปิฎก

    สมเด็จพระเจ้าตากสิน ยังได้ทรงมุ่งมั่นในการสืบเสาะค้นหาต้นฉบับพระไตรปิฎกที่ยังเหลืออยู่หลังจาก เสียกรุง เพื่อนำมาคัดลอกจำลองไว้สำหรับการสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงต่อไป ซึ่งจะเห็นได้จาก เมื่อคราวที่เสด็จไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชในปีพุทธศักราช 2312 ได้มีรับสั่งให้ขอยืมคัมภีร์ พระไตรปิฎกจากนครศรีธรรมราชบรรทุกเรือเข้ามาคัดลอกในกรุงธนบุรี และในปีถัดมาในคราวที่เสด็จ ไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝางที่เมืองอุตรดิตถ์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้นำพระไตรปิฎกลงมาเพื่อใช้สอบทานกับ ต้นฉบับที่ได้จากเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสังคายนาพระไตรปิฎก ในสมัยต่อมา


    การสมโภชพระแก้วมรกต

    ภายหลังจากที่รบชนะเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบางกลับมายังกรุงธนบุรีด้วย โดยให้จัดขบวนเรือพยุหยาตรามโหฬารถึง 246 ลำ และเสด็จ พระราชดำเนินขึ้นไปรับด้วยพระองค์เอง แล้วให้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม ซึ่งต่อมาถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของไทยมาจนทุกวันนี้


    การบูรณะปฏิสังขรณ์วัด

    สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ เป็นจำนวนมาก และโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เช่น วัดอินทาราม, วัดหงส์รัตนาราม และวัดอรุณราชวราราม


    พระราชกำหนดว่าด้วยศีลสิกขา

    สมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายว่าด้วยวัตรปฏิบัติในทางธรรมวินัยของพระสงฆ์ เมื่อปีพุทธศักราช 2316 โดยถือเป็นต้นฉบับ กฎหมาย พระสงฆ์ฉบับแรกของไทย และทรงนำแนวคิดทาง พุทธศาสนา มาใช้เป็นหลัก ในการจัดระเบียบสังคมในสมัยนั้นด้วย


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มา : http://www.wangdermpalace.com/kingtaksin/thai_multifarious.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2007
  13. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    พระราชกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชด้านเศรษฐกิจและสังคม

    <TABLE borderColor=#000000 height=232 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=740 align=center border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD class=header1 vAlign=top colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=240>


    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​




    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​


    </TD><TD vAlign=top width=500 height=245>ความฝืดเคืองยากเข็ญหลังกรุงแตก
    ในะระยะแรกที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี ประชาราษฎร์มีความ ยากจนข้นแค้น อาหารขาดแคลนอย่างหนัก นอกจากนั้นเสื้อผ้าก็อัตคัต พระองค์ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อน ของราษฎรเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงรีบเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเพื่อปากท้องของราษฎรเป็นอันดับแรก ด้วยการ จ่ายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวนมากเพื่อซื้อข้าวสาร พร้อมกับประกาศให้ราคาสูงเป็นพิเศษ เพื่อจูงใจให้พ่อค้าต่างชาตินำเครื่องอุปโภคบริโภคเข้ามาจำหน่าย ในปริมาณที่พอเพียงต่อความต้องการ ของประชาชน แล้วจึงทรงนำข้าวสารและเครื่องนุ่งห่มนั้น พระราชทานแจกจ่ายแก่บรรดาราษฎรที่ขาดแคลน โดยทั่วหน้ากัน ทำให้ความเดือดร้อนบรรเทาลงทันที บรรดาราษฎรที่แตกกระสานซ่านเซ็น ต่างก็พากันอพยพ คืนถิ่น เข้ามาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม ยังผลให้บ้านเมืองกลับคืนสู่ปกติสุข และเศรษฐกิจของชาติฟื้นคืนมา


    การขนส่งและการคมนาคม
    นอกเหนือจากการแก้ไขความอดอยากขาดแคลนของราษฎรจนสำเร็จได้ผลดีแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสิน ยังทรงริเริ่มการพัฒนาประเทศในแนวทันสมัยอีกด้วย โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนในฤดูหนาวเมื่อว่างจาก ศึกสงคราม ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคม เพื่อการค้าขายขนส่งสินค้าของราษฎร นอกจาก นั้นยังทรงพัฒนาการคมนาคมทางน้ำ ด้วยการเร่งให้ดำเนินการขุดคลองท่าขาม ให้ทะลุไปถึงฝั่งทะเล ตะวันตก เพื่ออำนวยความสะดวกให้เรือบรรทุกสินค้า และเพื่อเป็นการส่งกำลังบำรุงให้แก่กองทัพเรือ ซึ่งประจำอยู่ทางฝั่งตะวันตก ที่เรียกว่าทะเลหน้านอก


    การค้าทางทะเล
    เมื่อบ้านเมืองคืนกลับสู่ปกติสุขแล้ว พระองค์ได้ทรงฟื้นฟูด้านการค้าทางทะเลกับต่างประเทศ เพื่อหา รายได้จากการเก็บค่าปากเรือและภาษีขาเข้า - ขาออก เพื่อนำมาใช้จ่ายในการทำนุบำรุงบ้านเมือง ซึ่งได้ช่วย บรรเทาการเรียกเก็บภาษีจากราษฎรได้อีกเป็นจำนวนมาก


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มา : http://www.wangdermpalace.com/kingtaksin/thai_multifarious.html<!-- / message --><!-- sig -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2007
  14. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    พระราชกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชด้านวรรณกรรมและศิลปกรรม

    <TABLE borderColor=#000000 height=232 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=740 align=center border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD class=header1 vAlign=top colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=240>




    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=154 border=1><TBODY><TR><TD width=150>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​









    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=1><TBODY><TR><TD class=brown_text_normal>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​












    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=1><TBODY><TR><TD class=brown_text_normal>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​












    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=1><TBODY><TR><TD class=brown_text_normal height=61>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​



    </TD><TD vAlign=top width=500 height=245>วรรณกรรม
    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ทรงมีเวลามากนัก ในการที่จะฟื้นฟูวรรณกรรมที่สูญหายไป วรรณคดี สมัยธนบุรีจึงมีไม่มากนัก แต่ที่ยังพอมีปรากฏอยู่ก็ล้วนแล้วแต่มีคุณค่าแทบทั้งสิ้น เช่น

    บทละครเรื่องรามเกียรติ์ (บางตอน)
    เป็นบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปีพุทธศักราช 2313 โดยทรงใช้เค้าโครงเรื่อง จาก มหากาพย์รามายนะของอินเดีย เท่าที่พบมีจำนวน 4 ตอน

    ลิลิตเพชรมงกุฏ
    แต่งโดย เจ้าพระยาพระคลัง (หน) กวีเอกในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตั้งแต่ ครั้งยังดำรงตำแหน่งหลวงสรวิชิต (หน) ในรัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช โดยนำนิทานเรื่องเวตาลปกรณัมมา เป็นเค้าโครงเรื่อง ตอนที่เวตาลเล่านิทานปริศนา เรื่องเจ้าชายเพชรมงกุฏ

    อิเหนาคำฉันท์
    แต่งโดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) โดยเนื้อเรื่องแต่งตามเค้าโครงบทละครเรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ ของเจ้าฟ้ามงกุฎ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยเริ่มตั้งแต่ตอนอิเหนาเผาเมืองดาหาและปลอมเป็นจรกา ลักพาบุษบาไปซ่อนไว้ในถ้ำจนถึงอิเหนากลับไปแก้ความสงสัยที่กรุงดาหา

    โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี
    แต่งโดย นายสวน มหาดเล็ก เป็นหนังสือที่นับถือกันมาว่าแต่งดี ได้รับการยกย่องให้เป็นตำราโคลง เรื่องหนึ่ง และยังให้ความรู้ด้านโบราณคดีด้วย

    กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
    ฉบับกรุงธนบุรี เป็นฉบับที่ได้แต่งซ่อมขึ้นใหม่ โดยพระยาราชสุภาวดีสมัยที่ดำรงตำแหน่ง "เสนาบดีหลวง" เมืองนครศรีธรรมราช มีข้อสันนิษฐานว่าพระยาราชสุภาวดีอาจจะแต่งเรื่องนี้ขึ้นแทนฉบับสมัยกรุง ศรีอยุธยาที่ลบเลือนและสูญหายไป โดยได้อาราธนาพระภิกษุอินทร์มาช่วยแต่งต่อจนจบบริบูรณ์

    นิราศพระมหานุภาพไปเมืองจีน
    "นิราศเมืองกวางตุ้ง" แต่งโดยพระยามหานุภาพ เป็นกลอนนิราศที่แต่งขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี มีความ สำคัญยิ่งในทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นจดหมายเหตุฉบับเดียวที่ปรากฎเรื่องราวที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชทรงแต่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรี ณ กรุงปักกิ่ง ถือว่าเป็นวรรณกรรมล้ำค่าที่ให้อรรถรส ทางกวีนิพนธ์ประเภทกลอนเรื่องแรกที่กวีพรรณาการเดินทางทางทะเลจากประสบการณ์ของตนเอง

    นิทานเรื่องปาจิตกุมารกลอนอ่าน
    เป็นชาดกเรื่องหนึ่งจากหนังสือปัญญาสชาดก ต้นฉบับมีด้วยกัน 5 เล่มสมุดไทย 4 เล่มเป็นสำนวนของ วรรณกรรมสมัยกรุงธนบุรีเพราะมีหลักฐานชัดเจนระบุวันเดือนปีต่อท้ายเรื่อง แต่ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง ส่วนอีก 1 เล่ม แต่งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    นิทานสุภาษิตเรื่องพระโพธิสัตว์โกสามภิน
    เป็นนิทาน คำกาพย์อีกเรื่องหนึ่ง สันนิษฐานว่าอาจเป็นการแต่งของกวีคนเดียวกันกับที่แต่งเรื่องปาจิตกุมาร

    นาฏศิลปและการละคร
    เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชในพุทธศักราช 2312 ได้ทรงนำตัว ละครผู้หญิงของเจ้านครศรีธรรมราชเข้ามาเป็นครูฝึกหัดร่วมกับพวกละครที่ทรงรวบรวมได้จากที่อื่น แล้ว จัดตั้งเป็นละครหลวงของกรุงธนบุรี โดยยึดแบบฉบับการฝึกละครของกรุงศรีอยุธยา ส่งผลให้ศิลปะการ ละครของไทย ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองมากตอนปลายอยุธยากลับฟื้นตัวขึ้นใหม่ นอกจากนี้ยังได้ทรงพระราช นิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อให้คณะละครหลวงได้นำไปฝึกหัดออกแสดงด้วย

    ศิลปการช่าง
    ภาพเขียนที่งดงามประณีตในสมัยธนบุรีที่สำคัญยิ่ง คือ "สมุดภาพไตรภูมิ" เป็นภาพเขียนที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2319 ซึ่งนับได้ว่าเป็นสมุดภาพไตรภูมิขนาดใหญ่เล่มหนึ่งของเมืองไทย เมื่อคลี่ ออกจะมีความยาวถึง 34.72 เมตร เขียนด้วยสีลงในสมุดทั้ง 2 ด้าน โดยฝีมือช่างเขียน 4 คน ปัจจุบันได้เก็บ รักษาไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ

    งานฝีมือช่าง
    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเล็งเห็นว่า ช่างไทยสมัยธนบุรีมีเหลืออยู่น้อยมากจึงโปรดเกล้าฯ ให้ รวบรวมและฟื้นฟูการช่างทุกแขนงขึ้นใหม่ เช่น ช่างต่อเรือ ช่างก่อสร้าง ช่างรัก ช่างประดับ และช่างเขียน แต่เนื่องจากมีเวลาจำกัด บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงคราม สิ่งของที่เป็นฝีมือช่างชั้นดีประณีตงดงามจริง ๆ ในสมัยธนบุรีจึงหาได้ยาก ที่มีให้เห็นอยู่บ้าง ได้แก่
    พระแท่นบรรทม ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประดิษฐาน อยู่ที่วัดอินทาราม ฝั่งธนบุรี

    พระแท่นสำหรับทรงเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารเล็กหน้า
    พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ฝั่งธนบุรี

    ตู้ลายรดน้ำ ที่มีศักราชแจ้งชัดว่าสร้างในสมัยกรุงธนบุรี อยู่ในหอสมุดวชิรญาณ ภายในหอสมุด
    แห่งชาติท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ

    ท้องพระโรงพระราชวังเดิม ซึ่งเคยเป็นที่ประทับและเสด็จออกว่าราชการ ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของกองทัพเรือ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ที่มา : http://www.wangdermpalace.com/kingtaksin/thai_multifarious.html<!-- / message --><!-- sig -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2007
  15. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    บุคคลสำคัญสมัยกรุงธนบุรี

    [​IMG]


    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top width=435>สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นสามัญชนโดยกำเนิดในตระกูลแต้ ทรงพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นจีนชื่อ ไหฮอง ออกจากประเทศจีนมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อนางนกเอี้ยง ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นธิดาขุนนาง ครั้งแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือเป็นธิดาของเจ้าเมืองเพชรบุรี

    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระราชสมภพ ณ วันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ ปีขาล จุลศักราช 1096 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หลักฐานส่วนใหญ่เชื่อว่า ทรงเคยเป็นพ่อค้าเกวียนผู้ทรงปัญญาเฉลียวฉลาด และมีความสามารถพิเศษด้านกฎหมาย ช่วยกรมการเมืองชำระถ้อยความ ของราษฎรทางภาคเหนืออยู่เนือง ๆ มีความชอบในแผ่นดิน ต่อมาได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง ตำแหน่งพระยาตาก

    ระหว่างเวลา 15 ปีที่ทรงครองราชสมบัติ พระองค์ทรงรวบรวมชุมชนไทย ที่ตั้งตัวเป็นชุมนุมต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็นปึกแผ่น และรวมอาณาใกล้เคียงเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของพระราชอาณาจักรธนบุรีด้วย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 พระชนม์พรรษาได้ 48 ปี ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียว ในประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top width=435>
    กัปตันเหล็ก เป็นพ่อค้าชาวอังกฤษที่เข้ามามีบทบาทในกิจการค้าขายในแถบหัวเมือง มลายู ระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทำความดีความชอบ โดยการจัดหาอาวุธปืนมาถวายแก่พระมหากษัตริย์ไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "พระยาราชกปิตัน" บางครั้งจึงเรียกเป็นพระยาราชกปิตันเหล็ก


    กัปตันเหล็ก หรือ ฟรานซิส ไลท์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2283 ที่เมืองคัลลิงตัน ในซัฟฟอร์ค เคยเป็นนายทหารเรือแห่งราชนาวีอังกฤษ แต่ภายหลังหันมาทำการค้าขาย ได้มาตั้งบ้านเรือน ทำการค้าขายอยู่ที่เกาะถลาง เมื่อประมาณ พ.ศ. 2314 รู้จักสนิทสนมกับพระยาถลางภักดีภูธร และคุณหญิงจันทร์ ทั้งยังเป็นที่รู้จักนับถือของชาวเมืองทั่วไปด้วย ในปีถัดมาก็ได้สมรสกับ มาร์ติน่า โรเซลล์ สตรีเชื้อสายโปรตุเกสไทยและมาเลย์ มีบุตร 5 คน ชื่อ ซาร่าห์ วิลเลียม แมรี่ แอน และฟรานซิส

    ในปี พ.ศ. 2319 กัปตันเหล็กได้ส่งปืนนกสับ เข้ามาถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และภายหลังได้เป็นผู้ติดต่อซื้ออาวุธ ให้แก่ทางราชการ พร้อมๆ กับทำหน้าที่เป็นกำลังสำคัญให้อังกฤษ ได้เจรจากับสุลต่านแห่งไทรบุรี ขอเช่าเกาะปีนังเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2329 จึงได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลอังกฤษ ให้เป็นผู้ว่าราชการเกาะปีนัง และตั้งชื่อเกาะปีนังใหม่ว่า เกาะปริ้นซ์ ออฟ เวลส์ (Prince of Wales Islands) กัปตันเหล็กได้ถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2337


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top width=435>กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นนักรบที่สามารถและเป็นกำลังของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในการกอบกู้อิสรภาพ และยังทรงเป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในการปกป้องประเทศ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท

    กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท มีพระนามเดิมว่า บุญมา เป็นพระอนุชาร่วมพระราชชนกชนนี กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติใน พ.ศ. 2286 ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้รับราชการตำแหน่งนายสุจินดามหาดเล็กหุ้มแพร ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์ ภายหลังกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 แล้ว ได้ไปอยู่ที่เมืองชลบุรี ครั้นได้ทราบข่าวว่าพระยาตาก มาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบุรี จึงพาผู้คนไปเป็นพรรคพวก และได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระมหามนตรี

    เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระมหามนตรีได้ตามเสด็จ มารับราชการยังกรุงธนบุรี และได้แสดงความสามารถในราชการสงครามจนเป็นที่ประจักษ์ หลังจากศึกปราบชุมนุมเจ้าพิมายใน พ.ศ. 2311 จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอนุชิตราชา จางวางพระตำรวจฝ่ายซ้าย ต่อมาใน พ.ศ. 2313 ก่อนหน้าการปราบชุมนุมเจ้าพระฝางและหัวเมืองพิษณุโลก พระยายมราชในขณะนั้นได้ถึงแก่กรรม พระยาอนุชิตราชาจึงได้เลื่อนเป็นที่พระยายมราช จากนั้นเมื่อเสร็จศึกหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช อยู่ครองเมืองพิษณุโลก บังคับบัญชาการป้องกันพระราชอาณาจักรทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ ในช่วงหลังได้มีราชการสงครามครั้งสำคัญอีก 2 ครั้งคือ ที่เมืองเวียงจันทน์ ใน พ.ศ. 2321 และที่กัมพูชาอันเป็นศึกในช่วงสุดท้ายที่เกิดขึ้นเวลาเดียวกับที่กรุงธนบุรีเกิดการจลาจล เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปราบดาภิเษกแล้ว ได้ทรงดำรงตำแหน่งเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และได้ทิวงคต เมื่อ พ.ศ. 2346


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=435>
    เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงฉิม เจ้าจอมในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีฐานันดรศักดิ์เป็นเจ้าหญิง เนื่องจากเป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) หัวหน้าชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จยกทัพไปปราบชุมนุม เจ้านครศรีธรรมราชนั้น เจ้าพระยานครศรีธรรมราชหนีไปพึ่งเจ้าพระยาตานี แต่ถูกคุมตัวส่งมาจำขังไว้ที่ธนบุรี และได้ถวายพระธิดาเป็นข้าบาทบริจาริกา เจ้าหญิงฉิมได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ให้เป็นพระสนมเอกที่กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ ต่อมาได้เป็นเจ้าจอมมารดาในสมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภย สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร และสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงปัญจปาปี ซึ่งภายหลังในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชโอรสทั้งสามถูกลดพระยศเป็นที่พระพงษ์นรินทร์ พระอินทรอภัยและพระนเรนทราชา ตามลำดับ เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงฉิมสิ้นพระชนม์ปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน




    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=435>
    เจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นพระราชธิดาองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี สันนิษฐานว่า ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2304 ด้วยเหตุที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกผู้บิดา เป็นที่โปรดปราน และทำความชอบมาก ดังนั้นคุณฉิมจึงได้รับการยกย่องขึ้นเป็นพระสนมเอก หรือที่เรียกกันว่า เจ้าจอมฉิมใหญ่ เจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2322 พระชนมายุ 18 พรรษา หลังจากประสูติพระราชโอรส "เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์" ได้เพียง 12 วัน ครั้นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตรย์ศึกกลับจากราชการสงคราม จึงได้จัดงานศพอย่างสมเกียรติยศทุกประการ


    ภายหลังเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ในฐานะพระราชธิดา เป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฉิมใหญ่ ส่วนเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ โปรดฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center width=435>
    เมื่อกรุงศรีอยุธยาใกล้แตก เจ้าพระยาจักรี (แขก) ข้าราชการชาวมุสลิม ซึ่งขณะนั้นเป็นหลวงนายศักดิ์ ชื่อเดิม "หมุด" ไปราชการที่จันทบุรี หลังจากพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว จึงตกค้างอยู่ ณ เมืองจันทบุรี และได้มาเฝ้าถวายตัว กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รับราชการงานทั้งปวง ด้วยเป็นข้าราชการเก่า รู้ขนบธรรมเนียมอย่างดี นอกจากนั้น ยังเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นแม่ทัพไปตีเมืองต่างๆ ที่ไม่ยอมอ่อนน้อมในคราวปราบชุมนุมต่างๆ รวมทั้งเมืองนครศรีธรรมราชด้วย เจ้าพระยาจักรี (แขก) ถึงแก่อสัญกรรมในปีเถาะ พ.ศ. 2314




    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center width=435>
    เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช ประสูติแต่ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่ (เจ้าครอกหญิงใหญ่) พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ พ.ศ. 2322 หลังจากประสูติ ได้ 12 วัน พระราชมารดาก็สิ้นพระชนม์ ได้รับพระนามเมื่อประสูติว่า เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ แต่คนทั่วไปเรียกว่า เจ้าฟ้าเหม็น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอยู่ในฐานะพระราชนัดดา ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ พวกข้าราชการเรียกพระนามโดยย่อว่า "เจ้าฟ้าอภัย" รัชกาลที่ 1 ทรงเห็นว่าไปพ้องกับพระนามเจ้าฟ้า 2 พระองค์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงโปรด พระราชทานนามใหม่เป็น เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานพระยศเป็น เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต ทรงมีวังที่ประทับอยู่ที่ถนนหน้าพระลานด้านตะวันตกที่เรียกว่า "วังท่าพระ"


    เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชย์ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต คิดการกบฏ แต่ถูกจับได้ หลังจากไต่สวนได้ความเป็นจริงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้นภาลัย จึงโปรด ให้ชำระโทษถอดพระยศ แล้วนำไปประหารที่วัดปทุมคงคา ส่วนผู้ร่วมคิดการกบฏคนอื่น ๆ ได้ถูกประหารชีวิตที่สำเหร่ ในครั้งนั้น พระโอรสพระธิดา ในเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตถูกสำเร็จโทษด้วย จึงไม่มีผู้สืบสายสกุล


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=435>
    เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระนามเดิมว่า "จุ้ย" เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสมเด็จพระอัครมเหษี กรมหลวงบาทบริจา มีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จพระมหาอุปราช ดำรงตำแหน่งรัชทายาท ทรงช่วยราชการทำศึกสงครามอย่างหนัก มาตลอดพระชนม์ชีพ


    ในคราวที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงให้แต่งทัพขึ้นไปตีกัมพูชาในกลาง พ.ศ. 2324 เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ผนวชอยู่ ก็ได้ทรงลาผนวชและเสด็จเป็นทัพหนุนในศึกครั้งนั้นด้วย เนื่องจากสมเด็จพระบรมชนกได้มีพระราชดำริจะทรงสถาปนาให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินกัมพูชา แต่เกิดเหตุการณ์จลาจลในกรุงธนบุรี ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแผ่นดินเสียก่อน เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ยังคงประทับที่กัมพูชา เมื่อผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน จึงได้หนีไปยังเขาน้อย แต่ก็ถูกจับได้ และทรงถูกสำเร็จโทษตามพระราชบิดา พร้อมกับพระยากำแหงสงคราม นายทหารผู้ร่วมกรำศึกมาทุกสมรภูมิ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ทรงเป็นต้นราชสกุล สินสุข และ อินทรโยธิน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=435>
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ มีพระนามเดิมว่า ด้วง ประสูติในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพุธ แรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279


    ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้สถาปนาเมืองธนบุรี ขึ้นเป็นราชธานี จึงได้เข้ามารับราชการในกรุงธนบุรี โดยได้รับการชักชวนจากน้องชายคือ นายสุจินดา หรือ บุญมา (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) ซึ่งรับราชการใกล้ชิดอยู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาแต่ก่อนแล้ว ทำให้ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งที่สูงขึ้น คือ ได้เป็นพระราชวรินทร์ สังกัดในกรมพระตำรวจใน พ.ศ. 2311

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นแม่ทัพคู่พระทัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในราชการศึกสงครามหลายครั้งหลายคราว ตลอดสมัยกรุงธนบุรี ราชการทัพสำคัญของพระองค์ใน พ.ศ. 2323 เกิดจลาจลขึ้นในกัมพูชา เสด็จเป็นแม่ทัพไปปราบปรามแต่ยังไม่ทันสำเร็จเรียบร้อย ทางกรุงธนบุรีเกิดการจลาจล จึงต้องรีบยกทัพกลับมาปราบปรามระงับเหตุวุ่นวายในกรุงธนบุรี จนสงบราบคาบ ข้าราชการและราษฎรทั้งปวง พร้อมใจกันอัญเชิญเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชสมบัติ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center width=435>
    พระยาพิชัย มีชื่อเดิมว่า จ้อย ต่อมาได้ชื่อว่า "ทองดี" เป็นบุตรชาวนา อยู่บ้านห้วยคา เมืองพิชัย (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตด์) ได้ศึกษาวิชามวยกับครูที่มีชื่อหลายคน ออกชกมวย จนมีชื่อเสียง และได้หัดฟันดาบที่สวรรคโลกจนเก่งกล้า

    เมื่อมีโอกาสได้ไปเมืองตาก เป็นช่วงที่มีงานถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และมีมวยฉลองด้วยพอดี นายทองดี หรือที่ได้รับสมญาเรียกว่านายทองดีฟันขาว ก็เข้าเปรียบกับมวยชั้นครูและชกชนะสองคนรวด พระเจ้าตากเห็นฝีมือนายทองดีฟันขาวเช่นนั้น ก็ทรงชวนให้ไปอยู่ด้วย ต่อมาได้รับราชการเป็นหลวงพิชัยอาสา

    ในพระราชพงศาวดารได้กล่าวถึงช่วงก่อนสิ้นกรุงศรีอยุธยาว่า เมื่อครั้งพระยาตาก (สิน) ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมา หลวงพิชัยอาสาเป็นกำลังตีฝ่ากองทัพพม่าออกไปด้วย
    หลังจากที่ซ่องสุมผู้คน และเตรียมกำลังรบอยู่ที่เมืองจันทบุรี จนพอเหมาะแก่การรุกไล่ทัพพม่าแล้ว พระเจ้าตากจึงยกกองทัพเรือขึ้นมาตีเมืองธนบุรีได้ แล้วให้หลวงพิชัยอาสา เป็นทัพหน้ายกขึ้นไปตีค่ายโพธิ์สามต้นได้สำเร็จ ครั้นเมื่อพระเจ้าตากได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หลวงพิชัยอาสาเป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ทหารเอกราชองครักษ์

    ตลอดระยะเวลาที่ทำสงครามปราบชุมนุมต่าง ๆ เพื่อรวมไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น หลวงพิชัยอาสาหรือเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ได้ถือดาบออกหน้าทหารอย่างกล้าหาญสู้อย่างเต็มความ สามารถ จนได้เลื่อนเป็นพระยาสีหราชเดโช และเป็นพระยาพิชัยได้ครองเมืองพิชัยในที่สุด

    เมื่อพระยาพิชัยเป็นเจ้าเมืองพิชัยอยู่นั้น โปสุพลาได้ยกทัพลงมาตีเมืองพิชัย คราวนั้นพระยาพิชัย ได้ถือดาบสองมือ คุมทหารออกต่อสู้ป้องกันพม่าจนดาบหัก เป็นที่เลื่องลือจนได้นามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก" ชีวิตราชการของพระยาพิชัยดาบหักน่าจะรุ่งเรือง และเป็นกำลังป้องกันบ้านเมือง ได้เป็นอย่างดีในแผ่นดินต่อมา หากแต่พระยาพิชัยดาบหักเห็นว่าตัวท่าน เป็นข้าหลวงเดิมของพระเจ้าตาก เกรงว่านานไปจะเป็นที่ระแวงของพระเจ้าแผ่นดิน และจะหาความสุขได้ยาก ประกอบกับมีความเศร้าโศกอาลัย ในพระเจ้าตากอย่างมาก จึงได้กราบทูลว่าจะขอตายตามสมเด็จพระเจ้าตาก ดังนั้นจึงได้ถูกประหารชีวิต เมื่ออายุได้ 41 ปี พระยาพิชัยดาบหัก เป็นต้นตระกูล วิชัยขันธะ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR bgColor=#000000><TD align=middle colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​


    </TD><TD vAlign=top align=left width=435>เจ้าเมืองชลบุรี เดิมชื่อนายทองอยู่ นกเล็ก เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จไปถึงเมืองระยองได้ทรงทราบว่านายทองอยู่ นกเล็ก กับกรมการเมืองระยอง สมคบกันรวบรวมผู้คนจะยกมาประทุษร้ายพระองค์ จึงวางแผนซ้อนซุ่มโจมตีกองทหารของทั้งสองแตกกระจายไป ส่วนนายทองอยู่ นกเล็ก หนีไปอยู่เมืองชลบุรี ภายหลังได้ยอมเข้ามอบตัวมาสวามิภักดิ์ จึงโปรดตั้งให้เป็นพระยาอนุราชบุรีศรีมหาสมุทรครองเมืองชลบุรี แต่ต่อมาปรากฏว่าประพฤติมิชอบ ทำตัวเป็นโจรสลัดเข้าปล้นเรือสำเภา เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินเคลื่อนทัพมุ่งไปยังปากน้ำเจ้าพระยาได้ทราบความ จึงหยุดประทับไต่สวนที่เมืองชลบุรี ได้ความว่าพระยาอนุราชผิดจริง จึงถูกประหาร ชีวิต

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​


    </TD><TD class=brown_text_normal vAlign=top align=left width=435>หลวงพิชัยราชาเป็นนายทหารผู้หนึ่ง ที่ได้ติดตามพระเจ้าตาก ตีฝ่าวงล้อมของพม่าไปสะสมผู้คนที่เมืองระยอง และเป็นทูตนำอักษรสาร ไปเกลี้ยกล่อมพระยาราชาเศรษฐี ณ เมืองพุทไธมาศ ให้มาเข้าเป็นพวกได้สำเร็จ ภายหลังเมื่อพระเจ้าตากปราบเมืองจันทบุรีได้แล้ว หลวงพิชัยราชามีหน้าที่ควบคุมดูแลการต่อเรือรบ และเป็นกองหน้า ตีตะลุยขับไล่พม่าตั้งแต่เมืองธนบุรีไปจนถึงโพธิ์สามต้น

    หลวงพิชัยราชาได้เป็นทหารเอกของพระเจ้าตากตลอดมา จนเมื่อพระเจ้าตากปราบดาภิเษกขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระกรุณาสถาปนาหลวงพิชัยราชาขึ้นเป็นเจ้าพระยาพิชัยราชา ต่อมาเมื่อตีเมืองสวางคบุรีได้แล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพิชัยราชาเป็นเจ้าพระยาสวรรคโลก ครองเมืองสวรรคโลก ครั้นเมื่อคราวโปสุพลาและโปมะยุง่วน หนีออกจากเมืองเชียงใหม่ได้ ทางด้านค่ายเจ้าพระยาสวรรคโลก เจ้าพระยาสวรรคโลก จึงต้องโทษโบย 50 ที และเข้าใจว่าคงจะถูกย้ายเข้ามารับราชการในกรุงธนบุรีตั้งแต่นั้น จนกระทั่งถึงอสัญกรรมในราวปี พ.ศ. 2319

    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ที่มา : http://www.wangdermpalace.com/thonburi/impt_person_thai.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2007
  16. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    ศาสนสถานที่สำคัญสมัยกรุงธนบุรี

    [​IMG]


    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD><TD width=435>วัดอรุณราชวรารามหรือวัดแจ้ง เดิมชื่อวัดมะกอก เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏในแผนผังเมืองและป้อม ที่ชาวต่างชาติเขียนไว้ ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เล่ากันว่าเหตุที่วัดมะกอก ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดแจ้งนั้น สืบเนื่องมาจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงล่องเรือมาตามลำน้ำเจ้าพระยา เพื่อหาชัยภูมิที่ตั้งพระนครแห่งใหม่ และเมื่อถึงบริเวณวัดมะกอกนั้นเป็นเวลารุ่งแจ้งพอดี ซึ่งถือว่าเป็นมงคลฤกษ์ จึงหยุดนำไพร่พลขึ้นพัก และได้เลือกบริเวณนั้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ วัดแห่งนี้จึงกลายเป็นวัดในเขตพระราชฐาน จากนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาใหม่ทั้งพระอาราม มีพระประสงค์จะให้เป็นเขตพุทธาวาสแบบเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ของกรุงศรีอยุธยา แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดแจ้ง" เพื่อให้มีความหมายถึงการที่เสด็จถึงวัดนี้ในตอนรุ่งอรุณ

    วัดแจ้งจึงได้มีฐานะเป็นพระอารามหลวง สำคัญของแผ่นดินมาตลอดสมัยธนบุรี เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก อัญเชิญพระแก้วมรกตมาจากเวียงจันทน์ ใน พ.ศ. 2322 ก็ได้มีการ สมโภช และประดิษฐานไว้ ณ วัดแห่งนี้

    ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อพระยาสรรค์ก่อการกบฏขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงถูกคุมพระองค์มาผนวชที่วัดนี้ รวมทั้งถูกจับสึกที่วัดนี้เช่นกัน เพื่อนำไปสำเร็จโทษที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ในเวลาต่อมา

    เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ย้ายราชธานีมายังฝั่งตรงข้ามกับกรุงธนบุรีเดิม พร้อมทั้งอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และให้อาราธนาพระสงฆ์ผู้ใหญ่จากวัดบางว้าใหญ่ หรือวัดระฆังโฆษิตาราม มาครอง พร้อมกันนั้นก็โปรดให้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งเสด็จไปประทับ ณ พระราชวังเดิม เป็นองค์อุปถัมภ์วัดแจ้งด้วย ซึ่งพระองค์ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่หมดทั้งหมด (ขณะนั้นยังดำรงอิศริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) มีวิวัฒนาการเป็นแบบไทยอย่างสมบูรณ์ ประดับผิวภายนอกด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหมด มีความสูงถึง 67 เมตร จากเดิมที่สูงประมาณ 15 เมตร


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top width=435>
    วัดโมลีโลกยาราม หรือ วัดท้ายตลาด เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง และเหตุที่เรียกว่า วัดท้ายตลาด เนื่องจากอยู่ต่อจากตลาดเมืองธนบุรี ปัจจุบันชาวบ้านยังนิยมเรียกชื่อนี้อยู่


    ในสมัยธนบุรี วัดนี้เป็นวัดในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์อยู่ตลอดช่วงรัชกาล ส่วนพระวิหาร สันนิษฐานว่าได้ใช้เป็นฉางเกลือของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภายในพระวิหารกั้นเป็น 2 ตอน ปัจจุบัน ตอนหน้าที่หันออกคลองบางกอกให้ ประดิษฐานพระพุทธรูปเป็นหมู่บนฐานชุกชี ส่วนตอนหลังเป็นพื้นที่ค่อนข้างแคบ ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ในรัชกาลที่ 3 ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ทั่วทั้งพระอาราม และทรงเปลี่ยนนามใหม่ว่า "วัดโมลีโลกสุธาราม" ภายหลังมาเรียกกันว่า "วัดโมลีโลกยาราม"


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=435>วัดอินทารามวรวิหาร เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ชาวบ้านเรียกว่า "วัดบางยี่เรือนอก" หรือ "บางยี่เรือไทย" หรือ "วัดสวนพลู" (ที่เรียกว่าวัดสวนพลู เนื่องจากแต่เดิม ที่ดินใกล้เคียงกับวัดเป็นสวนปลูกพลู) เพราะหากล่องเรือมาจากอยุธยา จะถึงวัดอินทารามหลังสุดในบรรดาวัดที่ตั้งเรียงกันอยู่ 3 วัด ขณะที่จะเรียกวัดราชคฤห์ว่า "บางยี่เรือใน" และวัดจันทารามว่า "บางยี่เรือกลาง"

    วัดอินทารามเป็นวัดหลวงสำคัญอันดับหนึ่ง ในแผ่นดินกรุงธนบุรี จัดว่าเป็นวัดประจำรัชกาล ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งได้ทรงบูรณะเป็นพระอารามหลวงชั้นหนึ่ง ทรงสร้างหมู่กุฏิและถวายที่ดิน ให้เป็นธรณีสงฆ์เป็นจำนวนมาก แล้วโปรดให้นิมนต์พระเถระ ฝ่ายวิปัสสนามาจำพรรษา เพราะมีพระราชประสงค์ จะให้เป็นศูนย์กลางฝึกสมาธิทางวิปัสสนากรรมฐานของประเทศ และใช้ประกอบงานพระราชพิธีสำคัญๆ ต่างๆ มีพระเจดีย์กู้ชาติคู่หนึ่ง ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถหลังเก่า ภายในเชื่อกันว่าบรรจุพระบรมอัฐิ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระอัครมเหสี ส่วนพระอุโบสถหลังเก่า มีพระพุทธรูปปางตรัสรู้เป็นพระประธานของพระอุโบสถ บรรจุพระบรมราชสรีรังคาร หรือ เถ้ากระดูกของพระองค์


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=435>วัดราชคฤห์ หรือ วัดบางยี่เรือใน มีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ฝ่ายมหานิกาย เป็นวัดที่สร้างโดยนายกองมอญในสมัยอยุธยาตอนปลาย ดังนั้นบางคราวจึงเรียก "วัดบางยี่เรือมอญ" หรือ "วัดมอญ" นอกเหนือไปจากชื่อ "บางยี่เรือใน" หรือ "บางยี่เรือเหนือ"

    ในสมัยกรุงธนบุรี เข้าใจว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้โปรดฯ ให้มีการบูรณะซ่อมแซม เพราะเชื่อกันว่าพระยาพิชัยดาบหัก ทหารเอกและแม่ทัพคนสำคัญในแผ่นดินกรุงธนบุรี เป็นผู้สร้างพระอุโบสถ ซึ่งปัจจุบันคือพระวิหารใหญ่ และพระเจดีย์ที่ตั้งอยู่ด้านหน้า ส่วนภูเขาจำลองสร้างขึ้นในรัชกาลที่ 1 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพระมณฑป ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง สำหรับให้ประชาชนได้สักการะเป็นงานประจำปีของวัด พระมณฑปนี้สร้างขึ้นภายหลังในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 โดยเริ่มที่วัดนี้เป็นแห่งแรก และได้เป็นที่นิยมสร้างกันต่อมา


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center width=435>
    วัดอมรินทรารามราชวรวิหาร หรือ วัดบางหว้าน้อย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดราชวรวิหาร ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ แล้วสถาปนาให้เป็นพระอารามหลวง ต่อมากรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) หรือพระยาสุริย-อภัยในช่วงกรุงธนบุรี ได้เป็นผู้สถาปนาขึ้นใหม่หมดทั้งพระอาราม และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้พระราชทานนามว่า "วัดอมรินทราราม" คู่กับวัดบางว้าใหญ่ ที่เปลี่ยนชื่อเป็นวัดระฆังโฆสิตาราม



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=435>วัดระฆังโฆสิตาราม หรือ วัดบางว้าใหญ่ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดให้อาราธนาพระอาจารย์ศรีขึ้นมาจากนครศรีธรรมราช ทรงสถาปนาให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช และประจำที่วัดนี้ รวมทั้งมีการเสาะหาพระไตรปิฎกจากภาคใต้ และที่อื่นๆ มากระทำสังคายนาตรวจทาน เพื่อใช้เป็นฉบับหลวงที่วัดนี้ แต่ยังไม่ทันได้สำเร็จก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน อย่างไรก็ตาม การครั้งนี้ก็ได้เป็นประโยชน์ต่อการสังคายนาพระไตรปิฎกในรัชกาลต่อมา

    เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชสวรรคตแล้ว พระตำหนักทอง ที่ประทับของพระองค์ในพระราชวังเดิม ได้ถูกรื้อมาปลูกเป็นพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ที่วัดแห่งนี้ ตามประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่ได้ถูกไฟไหม้ไปในรัชกาลที่ 3 พร้อมๆ กับพระอุโบสถหลังเดิมและหมู่กุฏิสงฆ์ ส่วนพระตำหนักแดงซึ่งเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศน์ พระโอรสในกรมพระยาเทพสุดาวดี ทรงถวายให้กับวัดนี้ แต่เดิมที่ฝาประจันของพระตำหนัก มีภาพซากศพและภิกษุเจริญกรรมฐานเขียนอยู่ ซึ่งขณะนี้ได้เลือนไปหมดแล้ว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้สันนิษฐานไว้ว่า น่าจะเคยเป็นที่ประทับทรงกรรมฐาน ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาก่อน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center width=435>
    วัดจันทารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ปากคลองบางยี่เรือ เขตธนบุรี เป็นวัดโบราณมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่าวัดบางยี่เรือกลาง พระยาสุรเสนา (ขุนเณร) บูรณะใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วได้รับพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดจันทาราม



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center width=435>
    วัดหงส์รัตนาราม เดิมเรียกกันว่าวัดเจ๊สัวหง สร้างโดยเศรษฐีชาวจีนในสมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทรงสถาปนาพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และกุฎิ ในคราวเดียวกับที่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอินทารามวรวิหาร(วัดบางยี่เรือนอก) เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสวรรคตไปแล้ว ประชาชนผู้เคารพนับถือพระองค์ได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น เรียกกันว่า ศาลเจ้าพ่อตากสินวัดหงส์ เป็นที่สักการะบูชาของประชาชนโดยทั่วไป ต่อมาสมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมจนสำเร็จบริบูรณ์



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=435>
    กุฎีฝรั่ง คือบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่ากุฎีจีน เดิมนั้น "กุฎีจีน" ใช้เรียกบริเวณด้านใต้ของปากคลองบางกอกใหญ่ ซึ่งเป็นชุมชนของชาวจีนจากอยุธยาที่กระจัดกระจายไปเมื่อเสียกรุง และอพยพมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งธนบุรีเป็นราชธานี ยังปรากฏศาลเจ้าเกียนอันเก๋งตั้งอยู่จนถึงเดี๋ยวนี้ และเป็นที่สักการะของคนทั่วไป


    ส่วนกุฎีฝรั่ง เป็นพื้นที่บริเวณต่อเนื่องจากทางใต้ของกุฎีจีน เป็นหมู่บ้านของพวกฝรั่งเชื้อสายโปรตุเกส ที่มาสร้างค่ายรักษาป้อมบางกอก ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และพระเจ้าตากสินมหาราช ได้พระราชทานปักปันที่ดินบริเวณนี้ให้ใน พ.ศ. 2312

    คนในชุมชนนี้มิได้มีลักษณะเป็นฝรั่งชัดเจนอีกแล้ว คงเพราะได้มีการสมรสกับชาวไทย นับเนื่องมาถึงปัจจุบันเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน แต่ยังคงเป็นชุมชนที่นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก อย่างเคร่งครัด โบสถ์ซางตาครูส ของชุมชน เป็นโบสถ์ซึ่งสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อทรุดโทรมลงได้สร้างขึ้นใหม่โดยสังฆราชปาเลอกัว ใน พ.ศ. 2377 และต่อมาใน พ.ศ. 2456 บาทหลวงกูเลียลโม กิ๊น ดาครู้ส ได้สร้างอาคารหลังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม

    พวกโปรตุเกสเมื่อเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาก็ได้นำวัฒนธรรมในเรื่องอาหาร โดยเฉพาะขนมเข้ามาด้วย เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และสังขยา เพราะขนมไทยแบบดั้งเดิมนั้น จะประกอบด้วย แป้ง น้ำตาล และมะพร้าวเป็นหลัก ส่วนพวกที่ผสมด้วยไข่และ นมเนยเป็นขนมของต่างชาติ ชุมชนนี้มีขนมที่มีชื่อเสียงคือ ขนมฝรั่ง ซึ่งคงเพราะเดิมฝรั่งเป็นผู้ทำ จึงเรียกกันมาจนเป็นชื่อขนม


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=435>
    กุฎีใหญ่ เป็นชื่อที่ย่อมาจาก "กุฎีบางกอกใหญ่" บางทีก็เรียกกันว่า "กุฎีต้นสน" เป็นชุมชนมุสลิมที่ปฏิบัติตามแนวทางนิกายสุหนี่ที่อพยพมาจากหัวแหลม หัวรอ หรือ คลองตะเคียน พระนครศรี อยุธยา ซึ่งมีอาชีพค้าขายสินค้าประเภทแป้งกระแจะ น้ำอบร่ำ น้ำมันหอม เสื้อผ้า และสินค้าที่มาจากต่างประเทศซึ่งเรียกว่า เครื่องเทศ รวมทั้งเครื่องใช้ประจำวันต่างๆ โดยออกเร่ขายทางเรือ จึงมีที่พักเป็นแบบเรือนแพปักหลักผูกลอยอยู่ในน้ำ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ได้อพยพล่องมาตามลำน้ำเจ้าพระยา และแวะเข้าจอดตามลำคลองบางกอกใหญ่ เต็มสองฟากฝั่งและลึกเข้าไปจนถึงตลาดพลู ต่อมาจึงได้มีมุสลิมจากภูมิลำเนาอื่นอพยพมาสมทบด้วย โดยส่วนใหญ่ก็ยังนิยมอยู่กันในเรือนแพ แต่ก็พอมีอยู่บ้างที่ปลูกสร้างบ้านเรือนรอบๆ บริเวณนั้น จึงเรียกผู้คนในชุมชนนี้ว่า "แขกแพ" ครั้นภายหลังมีอิสลามิกชนมารวมตัวอยู่จำนวนมากไม่สามารถขยับขยายได้ จึงได้มีการสร้าง มัสยิดบางหลวง หรือ กุฎีขาว ขึ้นที่ฟากตรงข้ามบริเวณซอยบางหลวงในปัจจุบัน



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=700 border=1><TBODY><TR align=middle bgColor=#000000><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>

    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#663300 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD><TD width=435>
    ภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตกในปี 2310 ชาวมุสลิมที่ถือนิกายชีอะห์ หรือสังคมไทยเรียกว่า "เจ้าเซ็น" ได้อพยพหนีพม่าลงมาทางใต้ โดยล่องลงตามแม่น้ำเจ้าพระยา และได้มาพักพิงบริเวณคลองบางกอกใหญ่ โดยอาศัยอยู่ในเรือนแพและเมื่อรัชกาลที่ 1 ขึ้นครองราชย์ ได้พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งบริเวณปากคลองมอญ ระหว่างคลองมอญกับคลองวัดอรุณราชวราราม ให้แก่ ท่านก้อนแก้ว ซึ่งได้รับพระราชทานตำแหน่ง เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี เพื่อสร้างศาสนสถานและเป็นที่อยู่อาศัย โดยชาวบ้านทั่วไป เรียกว่า กุฎีเจ้าเซ็น หรือ กุฎีหลวง มุสลิมที่ปฏิบัติตามแนวทางชีอะห์จึงมีที่อยู่ใหม่ อย่างไรก็ตาม มุสลิมชีอะห์ บางส่วนมิได้เคลื่อนย้ายตามไปด้วย ยังคงอยู่ที่เดิม


    ท่านอากาหยี่ น้องชายของท่านก้อนแก้ว เป็นบุคคลหนึ่งที่มิได้ย้ายไปอยู่ในที่ดินพระราชทาน เนื่องจากได้จับจองที่ดินไว้ผืนหนึ่ง ในบริเวณที่เรียกว่า เจริญพาศน์ ในปัจจุบัน เมื่อท่านก้อนแก้วได้ถึงแก่กรรม ท่านอากาหยี่จึงได้รับพระราชทาน ให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีแทน และได้สร้างศาสนาสถาน สำหรับชีอะห์อีกแห่งหนึ่งในที่ดินดังกล่าว ชาวบ้านเรียกกุฎีเจ้าเซ็นของท่านก้อนแก้วว่า กุฎีบน และเรียกกุฎีเจ้าเซ็นของท่านอากาหยี่ว่า กุฎีล่าง

    ที่เรียกว่ากุฎีบน กุฎีล่าง สันนิษฐานว่าคงใช้พระราชวังเดิมเป็นเกณฑ์ ถ้าอยู่ด้านเหนือของพระราชวังเดิมเรียกว่า กุฎีบน ถ้าอยู่ใต้พระราชวังเดิมลงมาเรียกว่า กุฎีล่าง ทุกวันนี้ชุมชนกุฎีบน ได้ย้ายไปอยู่ที่พรานนก บางกอกน้อย เนื่องจากมีการเวนคืนที่ดิน เพื่อใช้ในราชการกองทัพเรือ ซึ่งต่อมาเป็นที่ตั้งของกรมสารวัตรทหารเรือจนถึงทุกวันนี้

    ปัจจุบันทั้งกุฎีบน และกุฎีล่าง ยังเป็นศูนย์รวมของการประกอบศาสนกิจของมุสลิมชีอะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อรำลึกถึงมรณะกรรมของท่านอิมามฮุเซน (หลานของท่านศาสดามุฮัมหมัด) ซึ่งจัดขึ้นในช่วง 10 วันแรกของเดือนมุอัรรอม (เดือนแรกของปีตามปฎิทินอิสลาม) การประกอบพิธีดังกล่าว จะมีการกล่าวบทกลอนซึ่งพรรณาด้วยความเศร้าโศก รันทด สะท้อนเหตุการณ์ครั้งที่ท่านอิมามฮุเซน ได้รับวิบากกรรมจนต้องเสียชีวิตในที่สุด มุสลิมชีอะห์ทั่วโลกจะจัดให้มีพิธีดังกล่าวพร้อมกัน แต่มีรูปแบบของพิธีกรรม แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ๆ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ที่มา : http://www.wangdermpalace.com/thonburi/impt_temple_thai.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2007
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมขอเพิ่มเติมเรื่องบทสวดเพื่อพระองค์ท่านผู้ซึ่งมีพระคุณต่อประเทศชาติอย่างเหลือคณาครับ

    คำบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช<O:p</O:p
    นโม ๓ จบ<O:p</O:p


    อาราธนาดวงพระวิญญาณ<O:p</O:p

    โอม สิโน ราชาเทวะ ชะยะตุภะวัง สัพพะศัตรู วินาสสันติ<O:p</O:p

    ถวายเครื่องสักการะ<O:p</O:p

    โอม สิโน ราชาเทวะ นะมามิหัง<O:p</O:p



    พระคาถาให้โชคลาภ ( นโม ๓ จบ )<O:p</O:p

    นะชาลิติ มะหาลาโภ ลาโภ มหาโชค มหาลาภ<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    การถวายเครื่องสักการะบูชา<O:p</O:p

    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นดวงพระวิญญาณที่สถิตย์เป็นหนึ่งในสมเด็จพระสยามเทวาธิราชเจ้า คอยปกป้องรักษาแผ่นดินไทยให้มีความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์และมีชัยชนะเหนืออริราชศัตรู ทรงโปรดสิ่งเหล่านี้……………………………<O:p</O:p
    .ผู้มีความซื่อสัตย์ต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และราชบัลลังก์ ตลอดจนผู้ที่เป็นนักรบรั้วของชาติ<O:p</O:p
    .พระกระยาหารที่ทรงเสวยนั้น ส่วนใหญ่เป็นแบบไทยง่ายๆ และอาหารแบบเดินทัพทั้งหลาย เช่น เครื่องของแห้งต่างๆ<O:p</O:p
    .แต่บางแห่งเช่น ที่วัดหนองนกไข่ ทรงนิมิตรแก่ท่านเจ้าอาวาส ว่า ทรงโปรดข้าวต้มผัดและไข่ต้ม อันเป็นอาหารสำหรับเดินทัพ<O:p</O:p
    .ผลไม้ไทยและจีน เครื่องเซ่นไหว้แบบจีนเต็มชุด เช่น เป็ด ไก่ หัวหมูบายศรี และซาแซ เป็นอาทิ <O:p</O:p
    .น้ำเปล่า น้ำผลไม้ และน้ำหวานอื่นๆ ไม่ทรงโปรดเสวยน้ำจัณฑ์<O:p</O:p
    .ดอกไม้ที่ใช้บูชา โปรดสีแดง อันเป็นสีแห่งวันพระราชสมภพของพระองค์<O:p</O:p
    .เครื่องถวายแก้บนโปรดดาบไทย ครั้งละ ๒ เล่ม และปืนใหญ่จำลอง<O:p</O:p
    .โปรดเสียงประทัด และเสียงปืน<O:p</O:p
    เมื่อจะขอพระบารมี ต้องจุดธูป ๑๖ ดอก กลางแจ้ง แล้วกราบขอพระราชทานพระบารมี ตามที่ต้องการ<O:p</O:p

    กราบแทบพระบาทองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    กราบ กราบ กราบ

    โมทนาสาธุครับ
     
  18. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,081
    ขออนุโมทนากับป้าง้วน
    กำลังติดตามเรื่องราวของพระองค์ท่าน
    จากช่อง 3 ศุกร์-อาทิตย์ หลังข่าว
    รักพระองค์มากๆ
     
  19. adissp

    adissp Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2007
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +59
    ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ มีประโยชน์จริง ๆ บางเรื่องไม่เคยได้รู้มาก่อน ขออนุโมทนาด้วยคน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 เมษายน 2007
  20. NAMO5000

    NAMO5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +6,980
    ภาพนี้หลวงพ่อเล็กวัดพุทธชินวงศ์คลองห้าปทุมธานี ให้วาดขึ้นครับ
    ผมเห็นหลายที่แล้วเอาไปพิมพ์แจกแต่ไม่บอกว่ามาจากไหนครับ
    พอดีผมเห็นมาตั้งแต่ตอนท่านจ้างวาดแล้ว เอาข้อมูลมาเพิ่มให้เท่านี่ครับเผื่อจะได้เข้าใจกันมากขึ้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...