พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>นิทานเซน :พื้นที่อันตราย</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>16 พฤศจิกายน 2554 08:06 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>



    《悟无生忍》

    ไป๋จีว์อี้ เป็นกวีเอกนามกระเดื่องในสมัยราชวงศ์ถัง โดยในบันทึกของเขาระบุว่าตนเองประพันธ์บทกวีไว้ทั้งสิ้น 3,840 บท ซึ่งหากนับกวีในยุคเดียวกัน ถือว่าเขาประพันธ์บทกวีไว้มากเป็นอันดับหนึ่งของแผ่นดิน

    ไป๋จีว์อี้ มีอีกนามหนึ่งว่า เล่อเทียน ในวัยหนุ่มผ่านชีวิตลำบากยากแค้น จึงมีความเข้าอกเข้าใจความทุกข์ทรมานจากความยากจนของคนในสังคม เมื่ออายุได้ 28 ปี เขาสอบจองหงวนได้ในตำแหน่งจิ้นซื่อจึงได้เข้ารับราชการ ต่อมาถูกข้อหากระทำผิดต่อราชสำนักถูกลดยศไปรับตำแหน่งขุนนางดูแลเมืองเจียงโจว สุดท้ายสังกัดกระทรวงยุติธรรม

    เล่ากันว่า ครั้งหนึ่ง ไป๋จิว์อี้ เดินทางไปกราบอาจารย์เซนผู้หนึ่ง เมื่อไปถึงพบว่าที่พำนักของอาจารย์เซนคือยอดต้นสนสูงชัน ซึ่งมองดูแล้วไม่ปลอดภัยอย่างยิ่ง

    ไป๋จีว์อี้ จึงปรารภกับอาจารย์เซนว่า "ตำแหน่งที่ท่านอาจารย์อยู่ ดูไปอันตรายยิ่งนัก"

    อาจารย์เซนจึงกล่าวตอบมาว่า "ตำแหน่งของเจ้าตอนนี้ ยิ่งอันตรายมากกว่ามาก"

    ไปจีว์อี้จึงถามกลับด้วยความงุนงงว่า "กระผมมีตำแหน่งทางราชการมั่นคง ทำงานเพื่อบ้านเมือง จะมีอันตรายได้อย่างไร?"

    "สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปรตลอดเวลา ดั่งฟืนสุมกองไฟไม่มีหยุด หากใจไม่นิ่ง กระสับกระส่ายวุ่นวายไปตามสิ่งเร้ารอบด้าน ย่อมทำให้เจ้าตกอยู่ในอันตรายอย่างที่สุด" อาจารย์เซนกล่าวตักเตือน


    ปัญญาเซน : ดำรงสติอยู่กับปัจจุบันขณะในทุกการกระทำ ไม่ว่าอยู่ที่ใดล้วนรอดปลอยภัย หากไร้สติอยู่กับตัว ทุกๆ แห่งกลับเป็นที่อันตราย

    ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4



    -http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000145586-

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    คู่มือการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 5,000 บาท



    คู่มือการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 5,000 บาท

    คู่มือการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท สำหรับอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 จัดทำโดย ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ กรุงเทพมหานคร วันที่ 9 พฤศจิกายน 2554

    1. เหตุผลความจำเป็นการช่วยเหลือครัวเรือนละ 5,000 บาท

    เนื่องมาจากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ได้ก่อให้เกิดปริมาณน้ำก้อนใหญ่ไหลบ่าเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครและแผ่ขยายไปตามพื้นที่เขตต่าง ๆ ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ กรุงเทพมหานคร พิจารณาแล้วเห็นว่า สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2554 จนถึงปัจจุบันเป็นเหตุให้เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำเหนือไหลบ่าเข้าในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร โดยเหตุภัยพิบัติในครั้งนี้เป็นสถานการณ์ค่อนข้างรุนแรง มีปริมาณน้ำเหนือสะสมมาก ทำให้ประชาชนในพื้นเขตต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครได้รับผลกระทบและทรัพย์สินได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก บ้านเรือนที่อยู่อาศัยประจำของราษฎรและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

    ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้ประสบภัยและเป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุขในเบื้องต้นจึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความช่วยเหลือครัวเรือนผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท เงินช่วยเหลือจำนวนนี้จะเป็นเงินที่ผู้ประสบภัยนำมาใช้จ่ายในการดำรงชีวิตระหว่างที่กำลังฟื้นฟูสภาพความเสียหาย ยังไม่สามารถประกอบอาชีพเพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความช่วยเหลือโดยเร็ว

    2. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือ

    2.1 หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัยประจำใน ๒ กรณี ดังนี้

    2.1.1 น้ำท่วมถึงบ้านพักอาศัยโดยฉับพลันและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

    2.1.2 บ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

    คำอธิบาย หลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือให้ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยที่มีที่อยู่อาศัยประสบภัยจะต้องเป็น ไปตามกรณี ดังนี้

    กรณีตามข้อ 2.1.1 บ้านพักอาศัยจะต้อง...

    - ถูกน้ำท่วมถึงบ้านโดยฉับพลัน
    - ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และ
    - อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ

    กรณีตามข้อ 2.1.2 บ้านพักอาศัยจะต้อง

    - ถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน
    - ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และ
    - อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ

    2.2 เงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัยประจำ

    2.2.1 ทั้ง 2 กรณีต้องเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินและมี
    หนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่สำนักงานเขตออกให้เท่านั้น

    2.2.2 กรณีที่มีผู้ประสบภัยซ้ำซ้อนทั้ง 2 กรณี ให้ได้รับความช่วยเหลือเพียงกรณีเดียว ทั้งนี้การดำเนินการช่วยเหลือทุกขั้นตอนครั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 14 วัน

    3. ลักษณะครัวเรือนที่อยู่อาศัยที่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์

    3.1 บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้าน

    3.2 บ้านเช่า ผู้เช่าเป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือในกรณีบ้านพักอาศัย/บ้านเช่ามีหลายชั้นให้ได้รับเงินช่วยเหลือ
    เฉพาะชั้นที่มีน้ำท่วมถึงเท่านั้น

    คำอธิบายลักษณะที่อยู่อาศัยของครัวเรือนที่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจะต้องเป็น

    1. บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านและถูกน้ำท่วมถึง หรือ

    2. เช่าบ้านอยู่อาศัยและอยู่อาศัยในชั้นที่ถูกน้ำท่วมถึง โดยบ้านเช่านั้นอาจจะแบ่งเช่าเป็นห้อง
    หรือเช่าทั้งหลังมีทะเบียนบ้านหรือไม่มีทะเบียนบ้านก็ได้

    4. หลักฐานการแสดงสิทธิขอรับการช่วยเหลือ

    4.1 กรณีบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านให้เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบอำนาจขอหนังสือรับรองจาก
    สำนักงานเขตเพื่อเป็นหลักฐานการใช้สิทธิ

    4.2 กรณีบ้านเช่าให้ใช้สัญญาเช่าหรือหนังสือรับรองจากเจ้าของบ้านเพื่อขอหนังสือรับรองจาก
    สำนักงานเขต

    คำอธิบาย หลักฐานการแจ้งสิทธิ ได้แก่ หนังสือรับรองจากสำนักงานเขตโดยการรับรองการเช่าบ้านตามข้อ 4.2 ให้พิจารณาตามหลักฐานที่มีอยู่หรือตามข้อเท็จจริง โดยจัดทำเป็นหนังสือและมีผู้รับรองตามที่กำหนดจัดเก็บไว้ที่สำนักงานเขตเพื่อเป็นหลักฐานพร้อมรับการตรวจสอบ

    5. การตรวจสอบที่อยู่อาศัยที่ต้องตามหลักเกณฑ์ตามหลักวิทยาศาสตร์และตามหลักความเป็นจริง

    ให้สำนักงานเขตแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย 5 คน ตรวจสอบคำร้องเพื่ออกหนังสือรับรองว่าเป็นผู้มีสิทธิขอรับการช่วยเหลือจริงในพื้นที่ประสบอุทกภัยและเร่งรัดการจ่ายเงินให้เป็นไปอย่างรวดเร็วเป็นธรรมและทั่วถึง ตลอดจนสร้างความเข้าใจในหลักเกณฑ์และแนวทางการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้กับผู้ปฏิบัติในระดับ
    พื้นที่ได้อย่างถูกต้อง

    คำอธิบาย ในการตรวจสอบผู้ประสบอุทกภัย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน-Gristda) ได้ถ่ายภาพและจัดทำรายละเอียดของพื้นที่ที่ประสบภัยไว้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่นำมาตรวจสอบความถูกต้องและการตรวจสอบสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ที่ขอรับความช่วยเหลือ เพื่อนำมาประกอบหลักฐานการตรวจสอบต่อไป

    6. ขั้นตอนการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    6.1 ศปภ.กทม. จัดให้มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้อำนวยการเขตและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ
    แนวทางการดำเนินการ

    6.2 ศปภ.กทม. ทำรายละเอียดเป็นคู่มือการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกพื้นที่เขต

    6.3 ให้คณะกรรมการตามข้อ 5 สำรวจข้อมูลรายละเอียดของผู้ประสบภัยพิบัติ (อุทกภัย) ที่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อออกหนังสือรับรองของสำนักงานเขต

    6.4 ให้สำ นักงานเขตจัดพิมพ์รายชื่อผู้มีสิทธิตามหนังสือรับรองที่สำ นักงานเขตออกให้ลงในแบบ ข.1 และ ข.2 และให้ผู้อำนวยการเขตลงนามรับรองในแบบฟอร์มข้อมูลก่อนนำส่งให้ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลจะจัดทำรายละเอียดแบบฟอร์มและชี้แจงขั้นตอนการดำเนินการในภายหลัง

    6.5 ศปภ.กทม. ตรวจสอบความถูกต้องแล้วนำเสนอต่อปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อลงนามรับรองว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือตามมติ ครม. นำส่งถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมกับส่งข้อมูล รายละเอียดจำนวนหลังคาเรือนที่ขอรับการช่วยเหลือทาง E-mail Address : bkk5000@hotmail.comทั้งนี้ ให้ ศปภ.กทม. ทยอยส่งข้อมูลและเอกสารตัวจริงส่งถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยด่วนที่สุด โดยสำนักงานเขตต้องเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไว้เพื่อให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบต่อไป

    6.6 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตรวจสอบข้อมูลรายชื่อที่ได้รับจากกรุงเทพมหานครแล้วส่งให้ธนาคารออมสินเพื่อจ่ายเงินโดยด่วนที่สุด หลังจากที่ได้รับรายชื่อจากกรุงเทพมหานครและให้ธนาคารออมสินดำเนินการจ่ายเงินให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

    6.7 ในระหว่างที่มีการอนุมัติเพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือนั้น ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) จะมอบหมายให้คณะกรรมการอำ นวยการและกำ กับดูแลการจัดทำ ข้อมูลผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท ร่วมด้วยข้าราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงความถูกต้องของการเสนอรายชื่อครัวเรือนและกระบวนการจ่ายเงินช่วยเหลือต่าง ๆ หากพบความผิดปกติประการใด จะดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายต่อไป

    7. การจ่ายเงินของธนาคารออมสิน

    เมื่อมีการโอนเงินให้ธนาคารออมสินสาขาใดแล้ว ให้ ศปภ.กทม. ประสานงานและดำเนินการจัดทำแผนการจ่ายเงินแก่ผู้ประสบภัยในแต่ละเขตให้แล้วเสร็จโดยด่วนที่สุด หลังจากได้รับการโอนเงินขอให้สำนักงานเขตประสานธนาคารออมสินกำหนดรายละเอียดการจ่ายเงินตามที่ กรุงเทพมหานครจะได้แจ้งแนวทางวิธีการจ่ายเงินให้ทราบต่อไป โดยผู้รับเงินจะต้องนำหลักฐานไปแสดง ดังนี้

    7.1 หนังสือที่สำนักงานเขตออกให้

    7.2 บัตรประจำตัวประชาชน

    กรณีมารับด้วยตนเอง

    - ให้นำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่จ่ายเงิน และให้ลงลายมือชื่อรับเงินต่อหน้าเจ้าหน้าที่และให้เจ้าหน้าที่จ่ายเงินลงลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน

    กรณีไม่สามารถมารับได้ด้วยตนเอง

    - หนังสือมอบฉันทะ (ผู้รับมอบฉันทะสามารถรับมอบได้เพียงรายเดียวและครั้งเดียวเท่านั้น
    ไม่สามารถมอบฉันทะต่อได้)

    - บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของผู้มอบและผู้รับมอบฉันทะ

    คำอธิบาย ในการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ ให้ธนาคารออมสินดำเนินการตามแผนการจ่ายเงินที่กรุงเทพมหานครได้ประชุมหารือร่วมกับธนาคารออมสิน และให้ธนาคารออมสินจัดทำรายงานการจ่ายเงินที่ได้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือไปแล้วในแต่ละวันส่งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อรายงานต่อไป

    8. แนวทางการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร

    8.1 เร่งรัดการสำรวจ ตรวจสอบ ส่งรายชื่อให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อตรวจสอบส่งให้ธนาคารออมสิน โดยด่วนที่สุด โดยให้ทยอยส่งเป็นรายแขวงและเขตที่มีจำนวนครบถ้วนสมบูรณ์พร้อมที่จะจ่ายเงินได้

    8.2 หลังจากส่งรายชื่อให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแล้ว กรุงเทพมหานครประชุมหารือร่วมกับธนาคารออมสินและกองบัญชาการตำรวจนครบาล ในการกำหนดแผนการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยให้รวดเร็วทั่วถึง โดยเน้นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนมากที่สุด

    ภาคผนวก

    ขั้นตอนการดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินจากอุทกภัย (หลังคาเรือนละ 5,000.- บาท) ศปภ.กทม.

    • ตรวจสอบข้อมูลและจัดทำแบบ จ.1 (กรุงเทพมหานคร) เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนาม

    • ศปภ.กทม. จัดส่งข้อมูลให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมส่งข้อมูลรายละเอียดทาง e-mail address: bkk5000@hotmail.comโดยเก็บสำเนาคู่ฉบับ เพื่อให้สำนักงานตรวจสอบแผ่นดินตรวจสอบ

    • ศปภ.กทม.ประสานงานและดำเนินการจัดทำแผนการจ่ายเงินแก่ผู้ประสบภัยในแต่ละเขต เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อได้รับเงินโอนจากธนาคารออมสิน

    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    จัดส่งข้อมูลที่ได้รับจากกรุงเทพมหานครให้ธนาคารออมสิน เพื่อดำเนินการโอนเงินให้กรุงเทพมหานคร ตามที่ทำการสาขาที่ได้แจ้งไว้

    สำนักงานเขต

    • ตั้งคณะกรรมการ (ไม่น้อยกว่า 5 คน) เพื่อตรวจสอบและกลั่นกรองผู้มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือ

    • ดำเนินการสำรวจข้อมูลบ้านเรือนที่มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

    • จัดทำข้อมูลตามแบบ ท.1 (แขวง) และแบบ อ.1 (เขต) โดยให้ ผู้อำนวยการเขตรับรองแบบ อ.1 (เขต) ส่ง ศปภ.กทม. (ทางเอกสาร และ ทาง e-mail address: bma_flood@hotmail.com) *** ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับมอบหมาย ***

    • ให้สำนักงานเขตแจ้งชื่อสาขาธนาคารออมสินในพื้นที่ เพื่อธนาคารอำนวยความสะดวก ในการจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย

    แนวทางการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ครัวเรือนละ 5,000 บาท

    1. เหตุผลความจำเป็นเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม และเป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุข

    ในเบื้องต้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 พิจารณาให้ความช่วยเหลือครัวเรือนผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท ซึ่งผู้ประสบภัยจะได้นำมาใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ระหว่างที่กำลังฟื้นฟูสภาพความเสียหาย ไม่สามารถประกอบอาชีพหารายได้เลี้ยงครอบครัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือโดยเร็ว จำนวน 30 เขต คือ เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตราษฎร์บูรณะ เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตหนองจอก เขตลาดกระบัง เขตดอนเมือง เขตคันนายาว เขตจตุจักร เขตตลิ่งชัน เขตบางเขน เขตบางแค เขตภาษีเจริญ เขตลาดพร้าว เขตวังทองหลาง เขตสายไหม เขตหนองแขม เขตหลักสี่ และเขตทวีวัฒนา โดยให้ผู้อำนวยการเขตสำรวจ ตรวจสอบข้อมูล และออกหนังสือรับรองจัดทำแบบ ข 1 ,ข 2 ส่งให้ ศปภ.กทม. เพื่อให้ธนาคารออมสินเป็น ผู้จ่ายเงินให้กับผู้ประสบภัย

    2. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือ

    2.1 หลักเกณฑ์

    กรณีที่ (1) น้ำท่วมถึงบ้านโดยฉับพลัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย คือ ถูกน้ำท่วมบ้านโดยฉับพลัน ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และอยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ

    กรณีที่ (2) บ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๗ วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย คือ ถูกน้ำท่วมขังไม่น้อยกว่า ๗ วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และอยู่ในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ

    2.2 เงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยพิบัติที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัยประจำ ทั้ง ๒ กรณี ต้องมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่ผู้อำนวยการเขตออกให้ และให้รับความช่วยเหลือได้เพียงกรณีเดียว

    3. ลักษณะครัวเรือนที่อยู่อาศัยที่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์

    3.1 บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านและน้ำท่วมถึง

    3.2 บ้านเช่า ผู้เช่าเป็นผู้ได้รับความช่วยเหลือในกรณีบ้านพักอาศัย/บ้านเช่า/คอนโด/อพาร์ทเม้นต์ มีหลายชั้นให้ได้รับเงินช่วยเหลือเฉพาะชั้นที่น้ำท่วมถึงและทรัพย์สินเสียหาย คือ ครัวเรือนนั้นเช่าบ้านอยู่อาศัย และอยู่ในชั้นที่น้ำท่วมถึง โดยบ้านเช่านั้นอาจแบ่งเช่าเป็นห้อง หรือเช่าทั้งหลังมีทะเบียนบ้าน

    3.3 กรณีอื่น ๆ นอกเหนือจาก ข้อ 3.1 และ 3.2 เช่น สิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัยมีลักษณะถาวร หรือชั่วคราวที่ครัวเรือนอาศัยอยู่เป็นประจำโดยไม่มีทะเบียนบ้าน เช่น บ้านพักคนงาน

    4. หลักฐานการแสดงสิทธิขอรับการช่วยเหลือ

    4.1 กรณีบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านให้เจ้าบ้าน/หัวหน้าครอบครัว/ผู้ได้รับมอบอำนาจ ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านที่ประสบภัย (กรณีไม่สามารถนำทะเบียนบ้านมาแสดงได้ ให้ตรวจสอบจากสำนักทะเบียนของสำนักงานเขตเอง) เพื่อขอหนังสือรับรองจากสำนักงานเขต (กรณีมอบอำนาจให้มีหนังสือมอบอำนาจและแนบบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ)

    4.2 กรณีบ้านเช่าให้ใช้สัญญาเช่า/หนังสือรับรองการเช่าจากเจ้าของบ้านเช่า พร้อมหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัว ประชาชนผู้ร้อง และทะเบียนบ้านที่ประสบภัย(กรณีไม่สามารถนำทะเบียนบ้านมาแสดงได้ให้ตรวจสอบจากสำนักทะเบียนของสำนักงานเขตเอง) เพื่อขอหนังสือรับรองจากสำนักงานเขต

    4.3 หลักฐานอื่น ๆ ตามข้อ 3.3 ให้ใช้พยานบุคคล หรือที่ผู้อำนวยการเขตเห็นสมควร กรณีมีข้อสงสัย/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศปภ.กทม. หมายเลขโทรศัพท์ 0 2223 1835

    หนังสือรับรองผู้ประสบภัย

    หากมีข้อสงสัย/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศปภ.กทม. โทร. ๐ ๒๒๒๓ ๑๘๓๕
    เลขที่......................./๒๕๕๔ สำนักงานเขต..............................

    หนังสือรับรองผู้ประสบภัยประเภทบุคคลธรรมดา

    หนังสือฉบับนี้ให้ไว้เพื่อรับรองว่า..........................................เกิดวันที่..........เดือน....................พ.ศ...............
    เลขประจำตัวประชาชน / หนังสือเดินทางเลขที่ / อื่น ๆ (ถ้ามี)...................................................................................................
    ที่อยู่ที่ประสบสาธารณภัย บ้านเลขที่..................หมู่ที่/หมู่บ้าน................................ตรอก/ซอย...................................................
    ถนน................................แขวง......................................เขต......................................กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์..................
    โทรศัพท์.......................................ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านหรือที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่...............หมู่ที่/หมู่บ้าน.........................
    ตรอก/ซอย...................................................ถนน................................แขวง......................................เขต.....................................
    กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์............................โทรศัพท์..............................................
    เป็นผู้ประสบภัยหรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ อุทกภัย.........................(ระบุประเภทของสาธารณภัยและสถานที่เกิดภัย)
    เมื่อ.............................................................................(วัน เดือน ปี เวลา ที่เกิดภัย)

    ความเสียหายของผู้ประสบภัย ตามบัญชีความเสียหายแนบท้ายหนังสือรับรองของผู้ประสบภัยประเภทบุคคลธรรมดาฉบับนี้ผู้ประสบภัยมีสิทธิ์ที่จะได้รับการสงเคราะห์และการฟื้นฟูจากหน่วยงานของทางราชการ ด้านใดด้านหนึ่ง
    หรือหลายด้านตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และแนวทางที่หน่วยงานนั้นกำหนด รายละเอียดตารางแสดงสิทธิที่จะได้รับ
    จากทางราชการปรากฎตามแนบท้าย

    ให้ไว้ ณ วันที่...................เดือน.....................................................พ.ศ..........................................
    ลงชื่อ ...........................................................................
    (.........................................................................)
    ตำแหน่ง .......................................................................
    ผู้อำนวยการ..................................................................
    (พิมพ์ชื่อเต็ม และตำแหน่ง / ประทับตราส่วนราชการ)

    หมายเหตุ หากมีการขูด ลบ หรือแก้ไขข้อความในหนังสือรับรองและบัญชีแนบท้าย จะต้องลงชื่อผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองและประทับตรากำกับไว้ทุกแห่ง

    คำร้องขอรับการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย (น้ำท่วม)

    1. ชื่อผู้ยื่นคำร้อง นาย/นาง/นางสาว..........................................ชื่อสกุล..............................................................
    เลขประจำตัวประชาชน
    อยู่บ้านที่ประสบอุทกภัยเลขที่.................................. เลขหมายประจำบ้าน
    หมู่ที่/หมู่บ้าน................................ ตรอก/ซอย................................ถนน...............................แขวง....................................
    เขต........................................... กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์.....................
    หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ.................................................
    อยู่ในชุมชน........................................................ ประสบภัยเมื่อ ........................................................................................
    2. กรณีอุทกภัยที่เกิด
    น้ำท่วมฉับพลันและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
    น้ำท่วมขังเป็นเวลา 7 วันขึ้นไปและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
    3. ประกอบอาชีพ
    รับราชการ รับจ้าง ค้าขาย อื่นๆ.................................
    4. สภาพที่ประสบอุทกภัย (น้ำท่วม)
    ท่วมทั้งหลัง
    ท่วมบางส่วน (ระบุความเสียหาย) ....................................................................................................
    ...................................................................................................................................................................................................................
    .....................................................................................................................................................................................................
    .....................................................................................................................................................................................................
    .....................................................................................................................................................................................................
    5. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ที่ประสบอุทกภัยหรือไม่
    มี ไม่มี
    6. อยู่ในบ้านเลขที่ที่ประสบอุทกภัยในฐานะ
    เจ้าบ้าน ผู้อาศัย ผู้เช่า อื่นๆ (ระบุ)................................................................
    7. บ้านที่ประสบอุทกภัยปลูกสร้างในที่ดิน
    ของตนเอง ที่เช่า ที่สาธารณะ อื่นๆ (ระบุ) ...............................
    8. ลักษณะของบ้านที่ประสบอุทกภัย
    บ้านไม้ บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ ตึกแถว คอนโด/อพาร์ทเมนท์ อื่นๆ (ระบุ)...............................
    ขอรับรองว่าเป็นความจริงทุกประการ
    ลงชื่อ....................................................................ผู้ยื่นคำร้อง
    (...................................................................)

    หลักฐานประกอบ

    รูปถ่าย หนังสือรับรองของผู้ให้เช่า/หนังสือรับรองของประธานชุมชน
    สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้มีสิทธิไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเอง
    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบ
    หนังสือสัญญาเช่า อื่นๆ (ระบุ) ...........................................................
    แขวง............................................
    เขต...............................................
    คำรับรอง
    เขียนที่............................................................
    .......................................................................
    ข้าพเจ้า นาย/นาง/นางสาว............................................................................................อายุ......................ปี
    ที่อยู่บ้านเลขที่.............หมู่ที่/หมู่บ้าน.............................ตรอก/ซอย...........................ถนน.......................แขวง
    ............................เขต.........................กรุงเทพมหานคร ขอให้คำรับรองต่อสำนักงานเขต.................... ว่า ข้าพเจ้าประธาน
    ชุมชน/เจ้าของบ้านเช่า
    .......................................................................ขอรับรองว่า นาย/นาง/นางสาว.............................................................................
    อายุ..........................ปี ที่อยู่บ้านเลขที่.............หมู่ที่/หมู่บ้าน.............................ตรอก/ซอย...........................ถนน
    .......................แขวง............................เขต.........................กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ประสบอุทกภัย และได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง
    รับรองไว้ ณ วันที่.................เดือน...................................พ.ศ...................................
    ลงชื่อ..................................................................ประธานชุมชน/เจ้าของบ้านเช่า
    (................................................................)
    ลงชื่อ..................................................................พยาน
    (................................................................)
    ลงชื่อ..................................................................พยาน
    (................................................................)

    หมายเหตุ สิ่งที่ต้องแนบมาพร้อมคำรับรองนี้
    บัตรประจำตัวประธานชุมชนหรือบัตรประชาชนของผู้รับรองพร้อมเซ็นชื่อรับรอง ๑ ชุด




    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานคร

    -http://hilight.kapook.com/view/64791-


    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ธปท. คาดค่าซ่อมบ้านคนกรุงทะลุแสนล้านบาท



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ธปท. คาด หลังน้ำลดยอดซ่อมบ้านคนกรุงสูงถึง 1 แสนล้านบาท เฉลี่ยจ่ายครัวเรือนละ 5 หมื่นถึง 1 แสนบาท ส่งผลให้ยอดสินเชื่อซ่อมบ้านสูงขึ้น

    วันนี้ (16 พฤศจิกายน) มีรายงานว่า นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า มีการประเมินความต้องการซ่อมบ้านหลังจากน้ำลด ที่คาดว่าน่าจะสูงถึง 1 แสนล้านบาท โดยแต่ละครัวเรือนจะซ่อมแซมบ้านหลังละ 5 หมื่นถึง 1 แสนบาท ซึ่งทำให้ความต้องการสินเชื่อด้านการซ่อมแซมบ้านจะสูงขึ้นนับจากนี้ โดยมีการคาดการณ์อีกว่า ขณะนี้ น่าจะมีประมาณ 1 ล้านจาก 2.4 ล้าน ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ คิดเป็น 40% ของครัวเรือนในกรุงเทพฯ ทั้งหมด

    นอกจากนี้ นายสมบูรณ์ยังกล่าวอีกว่า ได้มีการอนมุติขยายเวลาบังคับใช้หลักเกณฑ์อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV) ออกไป 1 ปี ต่อสินเชื่อที่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท และความเสี่ยงสำหรับซ่อมแซมที่อยู่อาศัยเป็น 35% มีระยะผ่อนปรนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2555

    ด้าน น.ส. นวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายการเงิน ธปท.ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยมียอดการขยายตัวของสินเชื่อสูงถึง 17.3 % ในช่วงไตรมาสที่ 3 ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจเติบโตค่อนข้างดี ส่วนไตรมาสที่ 4 น่าจะมีแนวโน้มอ่อนตัวลงเนื่องจากปัญหาภัยพิบัติ

    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก คมชัดลึก
    [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/64811-

    .
     
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เอ่อ..ขอแซวหน่อย แบบขำๆ...

    ผมเห็นแต่พี่ post ของพี่ แล้วพี่ก็บ่นของพี่คนเดียวนะ..หุ..หุ..

    มนุษย์ทุกผู้ไม่อาจหลุดรอดสายตาของกรรมไปได้ จะช้าจะเร็ว ผลกรรมย่อมต้องสนองอย่างแน่นอน ไม่ต้องไปนั่ง"ลุ้นกรรม"ชาวบ้านเขา แต่มุ่งกรรมดีของเรา ย่อมมีหนทางดีเป็นที่ไป...
     
  5. sittiporn.s

    sittiporn.s เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +748
    ผมไม่ขำด้วย แต่ถูกใจและตรงประเด็นที่สุดครับ
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    ศูนย์ปกปิดภัยพิับัติแห่งชาติ

    ไม่ได้สนใจ กลุ่มประชาชนที่รังสิต และ ปทุมธานีเลย

    ทำอะไรกันอยู่

    ว่าแต่ว่า ในเมื่อเลือกมาเอง ก็อย่าบ่น


    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    เอ่อ..ขอแซวหน่อย แบบขำๆ...

    ผมเห็นแต่พี่ post ของพี่ แล้วพี่ก็บ่นของพี่คนเดียวนะ..หุ..หุ..

    มนุษย์ทุกผู้ไม่อาจหลุดรอดสายตาของกรรมไปได้ จะช้าจะเร็ว ผลกรรมย่อมต้องสนองอย่างแน่นอน ไม่ต้องไปนั่ง"ลุ้นกรรม"ชาวบ้านเขา แต่มุ่งกรรมดีของเรา ย่อมมีหนทางดีเป็นที่ไป...
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sittiporn.s [​IMG]
    ผมไม่ขำด้วย แต่ถูกใจและตรงประเด็นที่สุดครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผมรู้สึกเหนื่อยใจแทนผู้ประสบภัย

    เพียงแค่คนไม่กี่คน

    แต่เดือนร้อนกันมโหฬารครับ



    .<!-- google_ad_section_end -->
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    หวั่นปารีสจ่อวังวนวิกฤตหนี้ ข้อมูลบ่งชี้ยุโรปถดถอยแล้ว <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">16 พฤศจิกายน 2554 18:07 น.</td></tr></tbody></table>

    เอเจนซีส์ - แม้จีดีพีเบอร์ลินและปารีสยังพอเป็นความหวังให้ยูโรโซน แต่สถานการณ์ของฝรั่งเศสถือว่าล่อแหลมอย่างยิ่ง นอกจากนั้น ยังมีสัญญาณชัดเจนขึ้นว่ายุโรปกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่อิตาลีและกรีซกำลังแข่งกับเวลาเร่งจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่
    ยูโรสแตท หรือหน่วยงานด้านสถิติของสหภาพยุโรป(อียู) รายงานเมื่อวันอังคาร (15) ว่า ไตรมาสที่ผ่านมา (ก.ค.-ก.ย.2011) เศรษฐกิจทั่วทั้งยูโรโซนขยายตัว 0.2% อันเป็นผลจากการที่ผู้บริโภคเมืองเบียร์กลับมาใช้จ่ายอีกครั้ง ขณะที่เศรษฐกิจเยอรมนีเองและเศรษฐกิจฝรั่งเศสเติบโต 0.5% และ 0.4% ตามลำดับ
    อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่า ยูโรโซนที่ประกอบด้วยสมาชิก 17 ชาติอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว พร้อมตั้งข้อสังเกตว่ามาตรการรัดเข็มขัดเพื่อจัดการกับปัญหาวิกฤตหนี้ สาธารณะ กำลังบ่อนทำลายการเติบโต และการเติบโตที่ลดลงก็ฉุดให้รายได้จากการจัดเก็บภาษีขาดหายไปด้วย
    โฮเวิร์ด อาร์เชอร์ นักวิเคราะห์จากไอเอชเอส โกลบัล อินไซต์ในลอนดอน ระบุว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนในไตรมาสปัจจุบัน รวมทั้งช่วง 3 เดือนแรกของปีหน้า จะอยู่ในสภาพหดตัวราว 0.25% โดยที่เศรษฐกิจตลอดปี 2012 ก็จะแทบหยุดนิ่ง
    ย้อนกลับไปเมื่อวันจันทร์ (13) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (โออีซีดี) หน่วยงานคลังสมองของพวกชาติพัฒนาแล้วของโลก ได้ออกมาเตือนว่าขณะนี้มีสัญญาณชัดเจนขึ้นว่าเศรษฐกิจของชาติสมาชิกส่วนใหญ่ ตลอดจนประเทศชั้นนำทั่วโลกกำลังชะลอตัว
    ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน คณะกรรมาธิการอียูระบุว่า ยุโรปอาจกลับสู่ภาวะถดถอยในปีหน้าเนื่องจาก ‘วงจรอุบาทว์’ จากหนี้ภาคสาธารณะสูงลิ่ว ภาคธนาคารมีฐานะอ่อนแอ และการใช้จ่ายก็ทรุด ขณะที่ มาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) คนใหม่ คาดว่ายูโรโซนจะเข้าสู่ภาวะถดถอยอ่อนๆ ตั้งแต่ปลายปีนี้
    อีกหนึ่งสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงคือ รายงานการวิเคราะห์ระบบการเงินของจีนที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เผยแพร่ออกมาเมื่อวันอังคาร ซึ่งเตือนว่าประเทศเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลกกำลังเผชิญความเสี่ยงจากหนี้เสีย การปล่อยกู้ภาคเอกชนที่ไม่สามารถควบคุมได้ และราคาอสังหาริมทรัพย์ตกฮวบ
    ทอม โรเจอร์ส ที่ปรึกษาอาวุโสด้านเศรษฐกิจของเอิร์นสต์ แอนด์ ยัง ยูโรโซน ฟอร์แคสต์ (อีอีเอฟ) ชี้ว่าข้อมูลล่าสุดตอกย้ำมุมมองที่ว่า ยูโรโซนกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยและต้องการการดำเนินการที่เด็ดขาดเพื่อฟื้น ความเชื่อมั่นและป้องกันการชะลอตัวรุนแรงในปีหน้า
    คริส วิลเลียมสัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ มาร์กิต ในลอนดอน ฟันธงว่าอิตาลีจะเป็นชาติใหญ่สุดในยูโรโซนรายแรกที่ได้ลิ้มรสภาวะถดถอยอีก ครั้ง
    ล่าสุด ฝรั่งเศสกลายเป็นสมาชิกยูโรโซนที่ตกอยู่ภายใต้ความกดดัน หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ 10 ปีขยับไปอยู่ที่ 3.683% เมื่อวันอังคาร สูงกว่าต้นทุนการกู้ยืมของเบอร์ลินกว่า 2 เท่า แม้ทั้งสองประเทศมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ AAA เท่ากันก็ตาม กระตุ้นความกังวลว่า ชาติเศรษฐกิจอันดับ 2 ของยูโรโซนอาจถูกดูดเข้าสู่วังวนวิกฤตหนี้
    แม้มีกลุ่มคลังสมองในบรัสเซลส์เตือนว่า สถานการณ์เศรษฐกิจแดนน้ำหอมกำลังส่งสัญญาณเตือนภัย แต่ขุนคลังฟรังซัวส์ บาโรแอง ยืนยันว่างบประมาณของฝรั่งเศสยังสอดคล้องกับเป้าหมายการขาดดุลปี 2012 แม้เศรษฐกิจอาจชะลอตัวเกินคาด พร้อมยืนยันว่าปารีสไม่ได้จัดทำมาตรการรัดเข็มขัดรอบ 3 หลังจากประกาศแผนสองสำหรับระยะเวลา 3 เดือนไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
    ที่โรม เมื่อวันอังคาร อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 10 ปีของอิตาลีไต่ทะลุ 7% ซึ่งเป็นระดับที่เคยทำให้กรีซและโปรตุเกสถูกบังคับให้รับความช่วยเหลือจาก ต่างชาติ โดยอิตาลีนั้นมีกำหนดไถ่ถอนพันธบัตรราว 200,000 ล้านยูโร (273,000 ล้านดอลลาร์) ภายในปลายเดือนเมษายนปีหน้า
    คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่นำโดยนายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติ และคาดว่าจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และนักการเมืองนั้น มีภารกิจเร่งด่วนในการเร่งแผนปฏิรูประบบบำนาญ ตลาดแรงงาน และกฎระเบียบด้านธุรกิจ เพื่อฟื้นสถานะการคลังที่ยั่งยืน
    ส่วนสถานการณ์ของกรีซ ยูโรสแตทรายงานว่าอัตราเติบโตไตรมาส 3 ติดลบถึง 5.2% ตอกย้ำภารกิจยากเย็นแสนเข็ญสำหรับลูคัส ปาปาเดมอส นายกรัฐมนตรีใหม่ถอดด้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่รัฐบาลแห่งชาติเสียงแตกเป็นที่เรียบร้อยเกี่ยว กับมาตรการหั่นงบประมาณครั้งใหญ่เพื่อรับเงินกู้ก้อนใหม่ 8,000 ล้านยูโร ก่อนจะต้องล้มละลายและน่าจะทำให้กรีซต้องถอนตัวจากยูโรโซน
    ทั้งนี้ ความอยู่รอดของยูโรโซนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง และสหภาพยุโรป (อียู) มีเวลาจนถึงซัมมิตวันที่ 9 เดือนหน้าในการเสนอกลยุทธ์ที่เด็ดขาดและน่าเชื่อถือกว่าที่มีอยู่ ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนทางการเงินก้อนใหญ่ในบางรูปแบบ



    -http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000146400-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    ปลาวาฬ-กทม.-ศปภ.ใครเก่งที่สุด?

    15 พฤศจิกายน 2554 เวลา 11:01 น.


    โดย...ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์ ศูนย์บริการวิชาการธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม doctorwe@gmail.com / www.thaigoodgovernance.org

    สัปดาห์ก่อน หัวสมองผมแทบจะระเบิดออกมา มีอาการวิงเวียนศีรษะ แต่ไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง ค่ำวันหนึ่งผมก็ดูโทรทัศน์เพื่อติดตามเหตุการณ์น้ำท่วมตามปกติ และก็ได้ดูหนังการ์ตูนเรื่อง “รู้สู้ Flood” (ดูในยูทูบได้) ที่สะท้อนให้เห็นถึง..ตัวผมเอง ผมสะใจกับประโยคที่ว่า “ทีนี้..ยังไม่ทันที่น้ำจะท่วม.. ก็โดนข้อมูลท่วมเสียก่อน” หลังจากดูหนังการ์ตูนเรื่องนี้ก็ทำให้อาการต่างๆ ดูจะดีขึ้น และค้นพบว่า..ก่อนหน้านี้ตัวเองก็ตกอยู่ในภาวะที่ “ขาดสติ” เพราะมัวแต่หมกมุ่นหาข้อมูลว่า “บ้านตัวเอง..จะท่วมเมื่อไร” ในการ์ตูนเรื่องนี้ได้เล่าว่าจะมีมวลน้ำที่ต้องไหลผ่านลงมาสู่ทะเลสูงถึง 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเทียบเท่าได้กับปลาวาฬสีน้ำเงิน 50 ล้านตัว ผมจึงขออนุญาตเรียกหนังการ์ตูนเรื่องนี้ว่า “ปลาวาฬ” ซึ่งหากจะเปรียบเทียบหนังการ์ตูน “ปลาวาฬ” กับการทำงานของ กทม. และ ศปภ. (ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม) แล้ว เรามาดูกันหน่อยว่า...ใครเก่งที่สุด ?

    <ins>1.ทางด้านความ “มีสติ”</ins>

    ดูเหมือนว่า ศปภ.จะไม่ค่อยสามารถควบคุมสติได้ซักเท่าไร นับตั้งแต่รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ออกมาให้ประชาชนอพยพโดยด่วนเมื่อวัน ที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา จนทำให้ชาวบ้านแตกตื่นไปทั่ว แต่หลังจากนั้นเพียง 10 นาที..เพื่อนๆ ใน ศปภ. ก็ต้องออกมาช่วยกันแก้เกี้ยวว่าเหตุการณ์ยังควบคุมได้อยู่ นอกจากนั้นการให้มีโฆษกจำนวนมาก..นักวิชาการอีกเป็นโขยงมาออกทีวีเพื่อ อธิบายเหตุการณ์น้ำท่วม จนชาวบ้านฟังแล้ว..ต้องบ่นกับตัวเองว่า “สรุปแล้ว..เอ็งจะให้กูทำอะไร?” ด้วยอาการเหมือน “สติแตก” ดังกล่าว ในข้อนี้ ศปภ. จึงได้ที่โหล่ไป

    กทม. พยายามฉายภาพ “คุณชาย” ในฐานะผู้ว่าฯ ซึ่งก็ดีในแง่ทำให้คนไม่สับสน พร้อมกับรองผู้ว่าฯ ดร.ธีระชน ก็ให้ข้อมูลในแง่วิชาการ แต่ทั้งสองคนก็ดูเหมือนมีอาการ “น็อตหลุด” หลายครั้ง โดยทั้งสองมักจะเอาหลักฐานมาฟ้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นถุงกระดาษที่รัฐบาลให้เพื่อมาใส่ทราย หรือการที่รองผู้ว่าฯ พูดถึงปัญหาบานประตูระบายน้ำ และพูดต่อว่า “ผมว่าประชาชนคงทราบครับว่า..ใครมีอำนาจวาสนาขนาดนั้น?” คนฟังก็เลยงงว่า..รองผู้ว่าฯ กำลังด่าใครอยู่หรือเปล่า สรุปว่าบางครั้ง กทม. ก็ควบคุม “สติ”ไม่ได้เช่นกัน แต่อาจจะแสดงออกมาน้อยกว่า ศปภ. จึงควรได้ที่ 2 ไป


    [​IMG]

    “ปลาวาฬ” ในหนังการ์ตูนเรื่องนี้ ตัวเอกจะเป็นตัวการ์ตูนรูปคนที่มีใบหน้าเขียนว่า “สติ” ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของหนังการ์ตูนเรื่องนี้ ด้วยเหตุนี้..ผมเองจึงขอยกตำแหน่งที่ 1 ให้กับ “ปลาวาฬ”ไปครับ

    <ins>2.ความสามารถในการรวบรวมทรัพยากร</ins>

    “ปลาวาฬ” นั้นมีคนช่วยกันสร้างหนังการ์ตูนเรื่องนี้เพียง 6-7 คน โดยประกอบไปด้วย คุณปิง-เกรียงไกร นิรธรรมพร และคุณอู๋-ธวัชชัย แสงธรรมชัย กับเพื่อนก๊วนนิเทศศาสตร์ จึงนับได้ว่าทรัพยากรน้อยมาก จึงควรจะเป็นที่โหล่ในเรื่องนี้
    กทม. มีเจ้าหน้าที่ กทม. เป็นจำนวนมากและยังได้สร้างสิ่งมหัศจรรย์หลายอย่าง เช่น การก่อกำแพงกระสอบทรายตามแนวคลองหกวาที่ยาวถึง 6 กิโลเมตร ภายในไม่กี่วัน จึงนับได้ว่าสมควรได้ตำแหน่งที่ 2

    ในเรื่องการรวบรวมทรัพยากร
    ศปภ. ได้ขอบริจาคข้าวของมาไว้ที่สนามบินดอนเมืองเป็นจำนวนมาก ประกาศหาคนมาช่วยแพ็คของอีกมโหฬาร..แต่ก็ยังแพ็คของไม่หมด ปรากฏว่าหลังจาก ศปภ. ย้ายไป มีของบริจาคจมน้ำเป็นจำนวนมาก แต่คนใน ศปภ. กลับออกมาชี้แจงว่า “เป็นเสื้อผ้าเก่าที่อาจไม่เหมาะกับการนำไปมอบให้กับผู้ประสบภัย” จึงนับได้ว่า ศปภ. เก่งมาก เพราะประชาชนจำนวนมากช่วยกันแพ็คของแทบตาย..ก็ยังไม่เสร็จเลย แต่ ศปภ. กลับมีคนมาตรวจคุณภาพของเสื้อผ้าว่าเหมาะสมหรือไม่ ราวกับปาฏิหาริย์ภายในชั่วข้ามคืน..ศปภ. ก็แยกแยะได้ว่าเสื้อผ้าตัวไหนดี และตัวไหนไม่ดีก็ปล่อยให้จมน้ำไป ศปภ. จึงควรได้ที่ 1 ในเรื่องนี้

    <ins>3.ความสามารถในการ “เตือนภัย”</ins>

    “ปลาวาฬ” เท่าที่เห็นจนถึงขณะนี้มีเพียง 3 ตอน และทุกตอนก็ให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำท่วมและการสู้กับน้ำท่วม แต่ไม่มีตอนใดที่พูดถึงการเตือนภัยเลย “ปลาวาฬ” จึงมาที่โหล่อีกครั้งหนึ่ง

    ศปภ. หลังจากที่ออกสัญญาณ “เตือนภัย” ให้คนแตกตื่นเป็นพิธีตามที่กล่าวแล้วในข้อ 1 ศปภ.ก็ระมัดระวังตัวเป็นอย่างยิ่งในการให้สัญญาณเตือนภัย จึงถือได้ว่ามีผลงานไม่มากนัก จึงได้ตำแหน่งที่ 2 ไป

    กทม. ออกสัญญาณ “เตือนภัย” เป็นประจำ คุณชายเองก็ออกมาให้สัญญาณด้วยตัวเองอยู่บ่อยครั้ง คุณชายมักใช้คำว่า “ขอให้อพยพ” แต่สีหน้าและน้ำเสียงของคุณชายก็แปรเปลี่ยนอยู่บ่อยๆ วันไหนอารมณ์ดี..สีหน้าและน้ำเสียงก็เฉยๆ วันไหนซีเรียส..สีหน้าและน้ำเสียงก็คล้ายๆ จะบอกว่า “ถ้าเอ็งไม่ย้ายออกมา..เอ็งตายแน่” ชาวบ้านเลยงง..ทำตัวไม่ถูก กทม.จึงคว้าที่ 1 ไปในเรื่องนี้

    <ins>4.โครงการฟื้นฟู..หลังน้ำท่วม</ins>

    “ปลาวาฬ” นั้นเกิดจากอาสาสมัครที่อยากจะช่วยเพื่อนร่วมชาติให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ถึงปัญหาน้ำท่วมและวิธีสู้กับมัน อาสาสมัครเหล่านี้มีบางส่วนยังเป็น “ผู้ประสบภัย”เสียเองอีกด้วย ดังนั้น “ปลาวาฬ” คงจะไม่มีเงินมาช่วยอะไรในการฟื้นฟู..หลังน้ำท่วมได้ “ปลาวาฬ” จึงได้ที่โหล่ไปอีกตามเคย

    กทม. ยังไม่ค่อยได้มีการพูดถึงแผนการฟื้นฟูมากนัก แต่ด้วยงบประมาณที่ กทม. ได้รับในแต่ละปี ก็ไม่ต้องห่วงว่า..กทม. จะมีโครงการอีกเป็นจำนวนมากในการฟื้นฟูกรุงเทพฯ ดังนั้น กทม. จึงคว้าตำแหน่งที่ 2 ไป

    ศปภ. และรัฐบาลในเวลานี้ มีโครงการช่วยเหลือนักลงทุนนับแสนล้านบาท ช่วยเหลือผู้ประสบภัยอีกเป็นจำนวนมาก และโครงการ “นิวไทยแลนด์” อีก 6-8 แสนล้านบาท ด้วยตัวเลขของโครงการต่างๆ ถ้าบวกกันไปมาแล้ว..จะต้องทะลุล้านล้านบาทแน่ คนไทยทุกคน..จึงควรจะสบายใจได้ เพราะรัฐบาลไม่ได้ทอดทิ้งพวกเรา และพวกเราจะต้องมีฐานะดีขึ้นแน่ๆ เลย แต่ที่กลัวคือ พวกเรายังจนอยู่..แต่มีบางคนรวยโคตรๆ ไปแล้ว ดังนั้น ศปภ. จึงคว้าชัยชนะอย่างถล่มทลายเข้าป้ายที่ 1 ในข้อนี้

    การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้ สำคัญอยู่ที่ทุกคนจะต้อง “มีสติ” ในการแก้ปัญหา ทำให้นึกถึงคำพูดของ Carl Jung นักจิตวิทยาชาวสวิสที่พูดไว้ว่า “When an inner situation is not made conscious, it appears outside as fate.” แปลตามความได้ว่า “หากคนขาด-สติ เสียแล้ว ทุกอย่างก็คงจะต้องถูกปล่อยให้เป็นตามชะตากรรม”

    ดังนั้นผู้ที่มีอำนาจในขณะนี้ จึงควรดูหนังการ์ตูน “ปลาวาฬ”ให้บ่อยๆ เพื่อที่จะได้ให้ตนสามารถประคอง “สติ” ไว้ได้ และสามารถตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เป็นอยู่ในขณะนี้..ในขณะที่ตน ยังมี “สติ”อยู่


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9/121704/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1-%E0%B8%A8%E0%B8%9B%E0%B8%A0-%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94--

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ระวัง! ฉี่หนู...(มัก) มาหลังน้ำท่วม


    ฉี่อะไรเอ่ย? น่ากลัวที่สุดในช่วงน้ำท่วม... “ฉี่หนู” ค่ะ ถูกต้องครับ...ฉี่หนู

    โดย..วรธาร ทัดแก้ว

    ฉี่อะไรเอ่ย? น่ากลัวที่สุดในช่วงน้ำท่วม... “ฉี่หนู” ค่ะ ถูกต้องครับ...ฉี่หนู ในที่นี้หมายถึงโรคชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า “เลปโตสไปโรซิส” (Leptospirosis) ที่มักพบการระบาดในช่วงหลังน้ำลด แล้วตอนนี้ที่น่าเป็นห่วงคือจังหวัดในภาคเหนือตอนล่างที่น้ำเริ่มลดแล้ว เช่น จ.นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พบผู้ป่วยโรคฉี่หนูประมาณ 14 ราย เป็นสัญญาณเตือนว่า หากไม่รีบหาทางป้องกันแต่เนิ่นๆ โรคนี้อาจกลายเป็นปัญหาหลังน้ำลดอย่างแน่นอน โดยเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีหนูท่อจำนวนมาก

    <ins>เจ้าตัวร้าย...เลปโตสไปโรซิส</ins>

    โรคเลปโตสไปโรซิส เกิดจากเชื้อเลปโตสไปรา ใน Order Spirochaetales Genus Leptospira เชื้อก่อโรค คือ เลปโตสไปรา อินเทอโรแกนส์ (Leptospira Interrogans) ลักษณะของเชื้อเป็นแบคทีเรียรูปเกลียวสว่านซึ่งมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นแต่จะเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ขนาดของเชื้อมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1 ไมครอน ความยาวประมาณ 620 ไมครอน เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว

    อาการแสดงของผู้ป่วยมีหลากหลายตั้งแต่ไม่แสดงอาการ จนกระทั่งอาการรุนแรงถึงเสียชีวิต โดยมีอาการคล้ายโรคติดเชื้ออื่นๆ หลายโรค เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้สมองอักเสบ ไทฟอยด์ ริกเกตเซีย เมลิออยโดสิส โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่นำโดยสัตว์ หรือกลุ่มอาการไข้ไม่ทราบสาเหตุ

    [​IMG]

    ระยะฟักตัวของเชื้อประมาณ 220 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการแตกต่างกัน ขึ้นกับชนิดและปริมาณของเชื้อ อาการที่พบบ่อยได้แก่ ไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง มักปวดที่น่องและโคนขา อาจมีไข้ติดต่อกันหลายวัน สลับกับระยะไข้ลด

    ในรายที่มีอาการรุนแรงเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการดีซ่าน มีเลือดออกตามอวัยวะภายในและตา เยื่อหุ้มสมองอักเสบ นอกจากนี้ยังมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ มีอาการไอ หายใจขัด ไอเป็นเลือด ตับและไตวาย ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

    <ins>กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ</ins>

    การติดต่อของเชื้อเลปโตสไปรา อินเทอโรแกนส์ มาสู่คน มีสัตว์หลายชนิดเป็นรังโรค (Reservoir) เช่น หนู หมู วัว ควาย สุนัข แมว เป็นต้น เชื้อจะถูกขับออกมากับปัสสาวะสัตว์ แล้วปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น แหล่งน้ำขัง เชื้อโรคนี้เข้าสู่ร่างกายคนโดยการไชเข้าทางผิวหนังที่มีรอยถลอก หรือไชผ่านผิวหนังที่เปียกชุ่มจนยุ่ย เยื่อเมือก มีอุบัติการณ์สูงในผู้ที่สัมผัสดินและน้ำเป็นเวลานานๆ เช่น ชาวไร่ ชาวนา กรรมกร คนจับปลา

    นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคฉี่หนูมักมีประวัติเสี่ยงสัมผัสกับสัตว์หรือสิ่งปนเปื้อนกับ ปัสสาวะของสัตว์ เช่น หนู วัว ควาย และปนเปื้อนในพื้นที่ที่มีน้ำขังหรือพื้นที่ชื้นแฉะ เช่น แอ่งน้ำ โคลน ท่อระบายน้ำทิ้ง แต่ในระยะหลังพบว่าบางพื้นที่เมื่อเกิดอุทกภัยจะมีรายงานผู้ป่วยเพิ่มสูง ขึ้น

    ดังนั้น ผู้ที่มีประวัติเสี่ยงต่อการเป็นโรคจึงได้แก่ผู้ที่ลุยน้ำหรือแช่น้ำนานๆ เช่น หาปลาขณะน้ำท่วม เล่นน้ำ โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายได้โดยการไชเข้าทางบาดแผล รอยขีดข่วนที่ผิวหนัง ทางจมูก ปาก หรือเข้าทางเยื่อบุตาขณะที่แช่น้ำ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิต
    อธิบดีกรมควบคุมโรค แนะนำว่าผู้ที่มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่องและโคนขา ให้รีบไปพบแพทย์หรือหน่วยแพทย์ที่ออกมาให้บริการในพื้นที่โดยด่วน เพราะหากไม่รีบรักษาอาจมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้

    <ins>กำจัดขยะหลังน้ำลดป้องกันฉี่หนู</ins>

    อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวต่อว่า พาหะแพร่เชื้อโรคฉี่หนูในช่วงน้ำท่วมที่อันตรายที่สุดก็คือหนู ไม่ว่าหนูนาหรือหนูอยู่ตามท่อ ร่องน้ำ โดยเฉพาะหนูท่อในเขตเมืองอย่างกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีจำนวนมาก เวลาน้ำลดมักจะออกไปหากินเศษอาหารตามกองขยะแล้วฉี่ทิ้งตามทางเดิน ถ้าเดินไปย่ำน้ำตรงที่หนูฉี่โดยไม่สวมรองเท้าอาจได้รับเชื้อได้หากที่เท้า ของเรามีแผล

    “ถ้าไม่จัดการขยะ หนูท่อก็จะออกมากินเศษอาหารที่อยู่ในกองขยะและตามพื้น เพราะฉะนั้นการลดปริมาณหนูที่ต้องทำคือการกำจัดขยะ ไม่ว่าขยะเปียก เศษอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ ที่อยู่อาศัยของหนู และลดอาหารของหนู ทุกคนต้องช่วยกัน ในช่วงสัปดาห์แรกของน้ำลงต้องจัดการขยะให้หมดภายใน 3 วัน 5 วัน ไม่อย่างนั้นจะป่วยเป็นโรคฉี่หนูกันเยอะ ประมาณว่าถ้าไม่ทำอะไรจะมีคนป่วยด้วยโรคนี้ประมาณ 1 หมื่นคน”

    [​IMG]

    นพ.พรเทพ กล่าวว่า ขอให้ช่วยกันจัดการขยะให้ดี แยกขยะให้เป็นประเภท เช่น ขยะแห้ง ขยะเปียก ขยะรีไซเคิล เพื่อง่ายต่อการกำจัด ขยะรีไซเคิลเก็บให้เรียบร้อยไม่ให้เป็นที่อยู่ของหนู ขยะเปียก เศษอาหาร เก็บกวาดขยะใส่ถุงพลาสติกมัดปากถุงให้แน่น พร้อมดูแลที่อยู่อาศัยของตัวเองให้สะอาดเพื่อป้องกันหนูไม่เข้ามาอาศัย

    นอกจากนี้ หลังน้ำลดให้สำรวจพื้นที่และปรับสภาพแวดล้อมให้สะอาด สวมรองเท้า ถุงมือยางในการเก็บกวาดบ้านเรือน ถนน และสาธารณสถาน เมื่อเสร็จภารกิจต้องรีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด หลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ย่ำโคลนนานๆ เมื่อขึ้นจากน้ำต้องรีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ซับให้แห้งโดยเร็วที่สุด

    “เวลาออกไปนอกบ้าน หากต้องเดินลุยน้ำบนพื้นที่ชื้นแฉะควรสวมรองเท้าบู๊ต หรือหุ้มเท้าด้วยถุงพลาสติกที่ป้องกันน้ำได้ ส่วนผู้ที่มีบาดแผลควรระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน ห้ามเดินลุยน้ำโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องน้ำ” อธิบดีกรมควบคุมโรค ย้ำเตือน



    -http://www.posttoday.com/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1/121698/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B9-%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ดูแลบ้านหลังน้ำท่วม (ตอนที่ 1)


    บัญญัติ 21 ประการ ดูแลบ้านหลังน้ำท่วม (ตอนที่ 1)

    โดย...ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ อดีตนายกสถาปนิกสยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์

    1. น้ำท่วมแล้ว น้ำลดแล้ว บ้านมีปัญหา เริ่มต้นที่ไหนดี


    [​IMG]

    ความทุกข์ยากลำบากฉากแรกเพิ่งกำลังจะผ่านไปหลังน้ำลด แต่ความทุกข์ใหม่กำลังเข้ามาแทนที่ เพราะสภาพของบ้าน อันถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ของเรา มีสภาพที่น่าอึดอัด น่าอันตรายและเป็นรอยแผลที่หลายคนอยากจะเมินหน้าหนี

    หากคิดจะแก้ปัญหา บ้านหลังน้ำท่วม เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่าปัจจุบัน (แม้ไม่สามารถจะเปรียบเทียบเท่ากับอดีต) แนะนำในฐานะลูกหลานพี่น้องว่าน่าจะเริ่มต้นดังนี้

    1.) อย่าซีเรียสว่า ทำไมน้ำถึงท่วม ราชการหรือรัฐบาลไปอยู่ที่ไหน เพื่อน ๆ ในถิ่นอื่นทำไมบ้านเขาน้ำไม่ท่วม ฯลฯ เพราะนั่นไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหา "บ้านหลังน้ำท่วม" ที่เรากำลังจะคุยกันในบันทึกนี้

    2.) ทำการตรวจสอบด้วยจิตอันนิ่งๆ ว่า บ้านเราเกิดปัญหาใดเพิ่มขึ้นบ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนน้ำท่วม เช่น รั้วเอียง ปาเกต์ร่อน แมลงสาบหายไปไหน ค่าไฟเพิ่ม ฯลฯ และทำบันทึกไว้เป็นข้อๆ ให้อ่านง่ายจดจำง่าย (ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่าทำ Check List)

    3.) ถามตนเองว่าสภาพการเงินเราเป็นอย่างไร มีเงินจะใช้สำหรับการซ่อมแซมเท่าไร (รวมถึงการกู้ยืม แหล่งอื่น แต่ไม่รวม การโกงบ้านกินเมือง) จะได้วางแนวทางการจ่ายเงินอย่างมีขีดจำกัด และมีความเป็นไปได้

    4.) เปิดบันทึกนี้อ่านให้จบ อย่าโกรธหากบางตอนของบันทึกนี้มีรูปตลกเกินไป หรือเขียนแบบสบาย ๆเกินไปบ้างในบางประโยคครับ


    2. น้ำไม่ท่วมบ้าน แต่ท่วมถนนซอยหน้าบ้าน ต้องทำอะไรไหมหนอ

    น้ำไม่ท่วมตัวบ้าน หรือแม้แต่บริเวณสนามหญ้าในบ้าน แต่ท่วมที่ถนนหน้าบ้านอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ก็ไม่น่าจะวางใจนัก เพราะส่วนที่บ้านเรากับทางสาธารณะ จะต้องเชื่อมประสานกันมากที่สุด และเรามักจะมองข้ามไปก็คือ "ท่อระบายน้ำ" ที่ถ่ายเทน้ำจากบ้านเรา ระบายออกสู่ท่อระบายน้ำของหลวง
    ในยามที่น้ำท่วมทางสาธารณะ แน่นอนน้ำจะต้องท่วม ท่อระบายน้ำของหลวงท่านด้วย น้ำในบ้านเราก็เลยไม่ระบายออก แถมในทางกลับกัน น้ำในท่อระบายน้ำสาธารณะ อาจจะไหลกลับเข้าสู่บ้านเราได้
    เมื่อมีการไหลกลับเช่นที่ว่า นอกจากจะพาเอาน้ำเข้ามาแล้ว ยังน่าจะพาเอาเศษดินโคลนต่างๆ เข้ามาด้วย เมื่อน้ำค่อยๆ ลดลง เศษดิน โคลน ก็จะกองติดอยู่ในท่อระบายน้ำบ้านเรา ท่อระบายน้ำบ้านเราที่เล็กอยู่แล้ว ก็จะเกิดอาการอุดตัน หรือมีพื้นที่ว่างเหลือน้อยกว่าปกติ แนวทางในการแก้ไขและข้อควรจะระวัง น่าจะมีดังต่อไปนี้

    -หากเป็นท่อระบายน้ำระบบมีฝาเปิดตลอดแนว ก็เปิดฝาแล้วตักไอ้เจ้าดินโคลนเศษขยะนั้นออก

    -หาก เป็นท่อระบบไม่มีฝาเปิดตลอด ก็เอาไม้ยาวๆ ควานดู (แบบที่เขาขุดลอกท่อระบายน้ำของกทม.นั่นแหละครับ) หากทำไม่ได้ ทำไม่เป็น ทำไม่ไหว ขี้เกียจทำ ก็ไปจ้างคนอื่นเขาทำ แต่ขอร้องเถอะครับ อย่าเอาตัวมุดลงไป ในท่อแล้วทำเอง เพราะอาจไม่ได้กลับออกมา

    -อย่าพยายาม ใช้น้ำฉีด เพราะจะเปลืองน้ำมากและยังคงทำความสะอาดท่อลำบาก แถมยังทำบาปกับคนอื่นเขา เพราะ เจ้าเศษโคลน ทั้งหลายจะระบายลงสู่ ท่อสาธารณะ ทำให้ท่อของหลวงท่าน อุดตันตื้นเขิน …อันเป็น สาเหตุ หนึ่ง ที่ทำให้น้ำท่วมบ้าน ท่วมเมือง เนื่องจากระบายน้ำไม่ได้ อย่างที่น่าจะเป็น

    -เมื่อ ทำการกวาดล้างเสร็จแล้ว ลองตรวจสอบอีกครั้งดูว่าระดับน้ำในท่อระบายน้ำเรานั้นไหลไปทางไหน ขอให้แน่ใจว่า จะไหลออกจากบ้านเรา สู่ท่อสาธารณะ หากยังไหลกลับทางกัน กรุณากลับไปอ่าน ข้อที่หนึ่งใหม่

    หากหน้าบ้านท่านไม่มีท่อระบายน้ำสาธารณะ ก็ให้ตรวจสอบว่าน้ำไหลไปทางไหน ระบายออกทางไหน และให้ถือว่า จุดที่น้ำระบายออก จากบ้านเรา เป็นทางสาธารณะไปก่อน (หวังว่าบ้านท่านคงจะ ไม่ระบายน้ำ สะเปะสะปะ ผิดกฎหมายนะครับ)

    (อ่านต่อตอนต่อไปครับ)


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94/119777/%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1--

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ดูแลบ้านหลังน้ำท่วม (ตอนที่ 2)


    โดย...ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ อดีตนายกสถาปนิกสยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์

    ในตอนแรกได้กล่าวถึงวิธีปฏิบัติในการดูแลบ้านหลังน้ำท่วมไปแล้ว 2 ข้อ คือ การเริ่มต้นในการแก้ปัญหาบ้านหลังน้ำลด มาต่อกันอีก 2 ข้อ ว่าด้วยเรื่องของรั้วบ้านและการกู้ชีพต้นไม้ที่ปลูกไว้ครับ

    [​IMG]

    3. รั้วคอนกรีตองตรวจดูอะไรหลังน้ำลด

    น้ำคือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของธรรมชาติ และธรรมชาติเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เกินกว่าที่มนุษย์จะไปท้าทายแข่งขัน รั้วคอนกรีตของท่าน คงจะไม่สามารถฝืนกฎนี้ได้

    ปัญหาที่อาจจะเกิดกับรั้วของท่านก็เป็นเรื่องจากยามน้ำท่วม ดินที่ฐานรั้วท่านอาจจะอ่อนตัวลง ความสามารถในการ รับน้ำหนัก อาจจะน้อยลง หรือระดับที่ดินในบ้านกับนอกบ้านท่านมีระดับแตกต่างกัน ยามเมื่อน้ำที่ท่วมลดลง อาจจะเกิดแรงดูด ทำให้รั้วของท่าน เอียงไปก็ได้ หรือในขณะที่น้ำท่วมรั้วของท่าน อาจต้องทำหน้าที่เป็น "เขื่อน" ที่ต้องรับน้ำหนักน้ำเป็นอย่างมาก ความสามารถในการรับน้ำหนักอาจ "คลาก" ความแข็งแรงลดลงไปได้ ดังนั้นเพื่อความมั่นใจกรุณาตรวจสอบ และหาแนวทางแก้ไขดังนี้

    -ใช้สายตาของท่านเล็งดูว่ารั้วของท่านยังตั้งฉากอยู่ดีหรือไม่ หากมีการเอียงเล็กน้อยก็เอาไม้ค้ำยันด้านที่เอียงออก เอาไว้ก่อน มีสตางค์เมื่อไรก็รีบซ่อมทันที

    -หากตรวจสอบแล้วปรากฏว่ารั้วของท่านเอียงมาก เอียงจนแนวออกหรือจะออกนอกแนวศูนย์ถ่วง (C.G.) ต้องรีบซ่อมแซมทันที (โดยช่างก่อสร้าง ที่พอจะมีความรอบรู้) หากยังไม่มีงบประมาณ ก็ต้องค้ำยันไว้ อย่างแน่นหนามากๆ เพราะน้ำหนักรั้วที่แข็งแรงของท่านนั้นหนักมาก (ไม่เชื่อลองไปนอนให้รั้วพังทับดูก็ได้ไม่ว่ากัน)

    -หากรั้วของท่านมีคานคอดิน (คานตัวล่างสุดที่อยู่ใกล้ระดับดิน) รับน้ำหนักรั้วอยู่ พอน้ำลดลง น้ำอาจพาดิน ใต้คานคอดินของท่าน ออกไปด้วย ก็จะเกิดรูโพรงใต้คานรั้วของท่าน อันอาจเป็นเหตุให้สัตว์ต่างๆ เดิน-วิ่ง-มุด-เลื้อย เข้าไปในบ้าน ของท่านได้ หรือไม่ก็ทำให้ดินของท่านไหลออกจากบ้านสู่ทางสาธารณะไปเรื่อยๆ ภายหลัง (อันทำให้ดินของท่าน หมดสนาม และถนนสาธารณะต้องสกปรก) ก็ขอให้เติมดินอัดกลับเข้าไป ให้คงเดิม

    -นอกจากจะตรวจดูที่รั้วบ้านแล้ว ท่านน่าจะต้องตรวจดูที่ประตูรั้วท่านด้วย เพราะประตูส่วนใหญ่ จะทำด้วยเหล็ก หรือไม้ (พวกอัลลอยด์ไม่ค่อยเป็นอะไร ยกเว้นบริเวณบานพับหรือกลอนที่อาจจะทำด้วยเหล็ก) อาจมีอาการผุกร่อนได้ ทำให้บานประตูไม่สามารถปิดได้เหมือนเดิม หรืออาจจะหลุดออกมาทั้งบาน !!! ทำการผูกรัดให้แข็งแรงเสีย มีเงินเมื่อไร อย่าลืมควักออกมาซ่อมแซมก็แล้วกัน

    4. ช่วยด้วย ต้นไม้ที่บ้าน เขากำลังจะตายกันหมด

    น้ำท่วมคราวนี้คร่าชีวิตต้นไม้ไปมากมาย ทั้งพืชทางเศรษฐกิจและพืชที่เราปลูกกันไว้ในบ้าน หากบ้านใดน้ำท่วมเป็นเวลานาน ต้นไม้ต้นหญ้าขนาดเล็ก จะต้องตายหมดแน่นอน แนวทางการแก้ไขก็คือ ต้องเริ่มต้นปลูกกันใหม่ (ต้นไม้เขาตายไปแล้ว เรามิใช่เทวดาที่จะเรียก ให้เขาฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้) แต่ต้นไม้บางต้นที่ยังไม่ถึงที่แต่ก็กำลังจะถึงที่ตาย มีแนวทางที่เราจะช่วยเหลือเยียวยาเขาได้ ลองทำดังนี้ดูนะครับ

    -อย่าให้ปุ๋ยเด็ดขาด (ทั้งปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยธรรมชาติ หรือปุ๋ยนางงามจักรวาล) เพราะน้ำท่วมทำให้รากต้นไม้ อ่อนแอ เขาต้องการ เวลาพักฟื้นตัว ไม่ใช่ต้องการปุ๋ย (อย่างคนอาการโคม่า ย่อมไม่ต้องการรับประทาน สเต๊ก เนื้อสันฉันนั้น)

    -ขุดหลุมเล็กขนาดลึกสัก 50 ซม. ถึง 1 เมตร ไว้ข้าง ๆ ต้นไม้นั้น เพื่อให้น้ำที่ขังอยู่บริเวณรากไม้ไหลลงสู่หลุมที่เราขุด เป็นการช่วยอาการรากสำลักน้ำได้ แล้วก็คอยเอาเครื่องดูดน้ำเล็ก ๆ (ภาษาชาวบ้านเรียกเจ้าเครื่องนี้ว่า ไดรโว่ ราคาประมาณ สองถึงสามพันบาท) คอยสูบน้ำออก แต่หากไม่มีกะตัง จะซื้อเครื่องสูบน้ำนี้ ก็ต้องออกแรงขุดหลุม กว้างหน่อย (อย่ากว้างมาก จนต้นไม้เขาล้ม) แล้วใช้ขันหรือถังค่อยๆ เอื้อมมือตักน้ำออก

    -หากเห็นว่า รากต้นไม้ไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะยึดลำต้นเอาไว้ กรุณาอย่าอัดดินลงไปให้แน่นเป็นอันขาด ต้นไม้เขาจะรีบ ๆ ตาย ทันที ให้ใช้วิธีดามหรือค้ำยันลำต้นเอาไว้แทน รอจนรากเขาแข็งแรงเหมือนเดิม แล้วจึงเอาไม้ดามไม้ค้ำยันออก

    -ขอให้โชคดีในการรักษาต้นไม้เอาไว้ หากโชคร้ายเขาต้องตายจากไป กรุณาปลูกขึ้นมาใหม่ เพราะต้นไม้หนึ่งต้น ขนาดต้นมะม่วงบ้านเรา จะถ่ายเทความร้อนได้เท่ากับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน แถมยังมีร่มเงาให้เราอีก ผลิตอากาศบริสุทธิ์ ให้เราใช้ กรองเสียงและกรองฝุ่นออกจากตัวบ้านเรา เราจะได้ใช้ไฟฟ้าให้น้อยลง ประเทศเราจะได้ไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่าสร้างเขื่อน และน้ำก็จะท่วมประเทศไทยน้อยลง เราก็จะลำบากน้อยลง

    (อ่านต่อตอนต่อไปครับ)


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94/121725/%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2--

    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ปลูกบ้าน...หนีน้ำท่วม



    พาไปชมบ้าน "รศ.ดร.ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์" ที่ปลูกบ้านตามแบบโบราณทำให้รอดพ้นจากน้ำเข้าท่วมภายในตัวบ้าน

    เรื่อง : วราภรณ์/ภาพ : ณัฏฐ์ฐิติ อำไพพรรณ

    [​IMG]

    การปลูกบ้านในยุคนี้แล้วน้ำไม่ท่วม นับเป็นลาภอันประเสริฐ เพราะมหาอุทกภัยปี 2554 ทำเอาบ้านจัดสรรหรูๆ น้ำท่วมกันถ้วนหน้าแบบตั้งรับไม่ทัน แต่บ้านในซอยแจ้งวัฒนะ 14 หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ 1 หมู่บ้านเก่านับ 50 ปี อยู่เขตหลักสี่ มีเพียงบ้านไม่กี่หลังเท่านั้นที่รอดพ้นจากน้ำท่วมสูง หนึ่งในนั้นคือ บ้านของ รศ.ดร.ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์ อาจารย์ประจำภาควิชาวาทวิทยา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่นับว่าโชคดีเพราะน้ำท่วมไม่สูงนัก แค่ประมาณ 1 เมตร อีกทั้งบ้านที่ออกแบบปลูกสร้างตามแบบโบราณ ยกพื้นสูง และคำนึงถึงปัญหาโลกร้อน จึงยกพื้นสูงกว่าถนนถึง 2 เมตร ทำให้รอดพ้นจากปัญหาอุทกภัยปีนี้ไปได้โดยไม่ได้มีการป้องกัน เช่น เตรียมกระสอบทราย หรือก่อปูนขึ้นมาปิดบริเวณหน้าบ้านเลย เพราะคาดไม่ถึง

    รศ.ดร.ศักดา เล่าถึงสาเหตุที่บ้านรอดพ้นจากปัญหาน้ำท่วม แม้ระดับน้ำไม่เข้ามาถึงพื้นบ้านชั้นที่ 1 แต่น้ำได้ไหลเข้าสู่ห้องเก็บของด้านล่าง ก็เริ่มตั้งแต่การเลือกซื้อที่ดิน ที่คิดเอาไว้ดีแล้วว่า ที่ดินประมาณ 100 ตารางวา แห่งนี้เหมาะสมและสะดวกสบายเพราะใกล้กับสนามบินดอนเมือง และรถไฟไปมาต่างจังหวัดและต่างประเทศสะดวก แต่ผ่านไป 50 ปี ใครที่ปลูกบ้านก่อนถนนปรับปรุงใหม่มักปลูกสร้างต่ำกว่าพื้นถนนจึงไม่รอดจาก น้ำท่วม แต่ รศ.ดร.ศักดา เพิ่งปลูกบ้านเสร็จเมื่อ 7 ปีที่แล้ว จึงถมดินยกระดับพื้นบ้านให้เหมาะสม โดยมีสถาปนิกและวิศวกร คือ เดชา สุริยกมลจินดา ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการก่อสร้างบ้านนับ 50 ปี เป็นผู้ออกแบบ

    <ins>ปลูกบ้านคำนึงถึง 5 ปัจจัยหลัก</ins>

    1.การเลือกซื้อที่ดิน : “หลักการเลือกซื้อที่ดินของอาจารย์ ปัจจัยที่เลือกคือพื้นที่สูง โดยหลักสี่อยู่ใกล้ดอนเมือง คือเป็นพื้นที่สูงในกรุงเทพฯ ถ้าน้ำท่วมจากแม่น้ำเจ้าพระยา หรือริมทะเลที่น้ำจะขึ้นมาทีหลัง แต่น้ำที่ท่วมคราวนี้เป็นน้ำที่หลากมาจากทางเหนือ แม้เขาใหญ่เป็นพื้นที่สูงก็ยังท่วม อีกข้อหนึ่งคือ ไม่ซื้อที่ดินชายน้ำ เพราะเสี่ยงกับการถูกน้ำท่วม”

    2.โครงสร้างบ้าน : “เมื่อซื้อที่ดินทิ้งไว้ 40 ปี อาจารย์ได้ฤกษ์ปลูกบ้าน สิ่งแรกที่คิดคือ กลัวปลวก เพราะภาวะโลกร้อนปลวกเจริญเติบโตเร็วมาก ประกอบกับประเทศไทยเป็นพื้นที่ร้อนและชื้น ยิ่งปลูกสร้างบ้านใกล้พื้นดินจะพบกับปัญหาปลวก แมลงสาบ และมด

    อาจารย์จึงนำแนวคิดจากการปลูกสร้างพระราชวังมฤคทายวัน จ.เพชรบุรี ที่รัชกาลที่ 6 โปรดให้ปลูกพระราชวังยกพื้นสูง เสาแต่ละต้นมีรางหล่อน้ำไม่ให้มดขึ้น “ถ้าเราสร้างบ้านพื้นสูงหน่อยก็จะช่วยลดปัญหาแมลงและสัตว์ได้ ประกอบกับมีคุณแม่วัย 90 ปี มาอยู่ด้วย ซึ่งข้อเข่าก็ไม่ดี หมอแนะนำว่าคุณแม่ไม่ควรอยู่บ้านที่มีความชื้น ดังนั้นบ้านจึงควรยกใต้ถุนสูงและทำห้องใต้ดินเพื่อช่วยระบายอากาศ โดยไม่เคยคิดเลยว่าจะมาเจอปัญหาน้ำท่วม”

    อาจารย์ศักดา วาดแปลนบ้านคร่าวๆ เสนอสถาปนิกและวิศวกรว่า ต้องการบ้านพื้นสูง 1.20 เมตร จากระดับพื้นดิน และถมดินเพิ่มสูงจากพื้นถนนอีก 30 เซนติเมตร รวมระดับพื้นบ้านหนาอีกประมาณ 40 เซนติเมตร รวมเบ็ดเสร็จบ้านจึงสูงกว่าพื้นถนนราว 2 เมตร หากน้ำไม่ท่วมสูงกว่า 2 เมตร อาจารย์ศักดาจะอยู่ได้สบาย

    [​IMG]

    “บ้านใหม่ไม่ควรถมดินสูงกว่าระดับถนนมากเกิน 30 เซนติเมตร เพื่อแสดงความเห็นใจแก่เพื่อนบ้านที่ปลูกบ้านมานาน หากเกิดน้ำท่วมเพื่อนบ้านจะกลายเป็นแอ่งรับน้ำไปโดยปริยาย ทำให้เพื่อนบ้านเดือดร้อน” อาจารย์แนะนำ

    ภูมิปัญญาชาวบ้านนี่ดีหนักหนา บ้านที่มีใต้ถุนสูง เพราะเมืองไทยอยู่ในเขตมรสุม มีหน้าฝนและเป็นเมืองน้ำที่ระดับพื้นดินไม่สูงกว่าระดับน้ำ การที่บ้านมีใต้ถุนระดับ 1.20-1.50 เมตร ดีกว่า เพราะใต้ถุนจะกลายเป็นที่เก็บของได้อีกด้วย โดยดึงสไตล์ข้อดีของบ้านของไทยแบบล้านนาและอเมริกันมาผนวกเข้าไว้ด้วยกัน

    บ้านหลังนี้ปลูกสูง 2 ชั้น โดยมีเพดานชั้นล่างสูงถึง 3 เมตร เพื่อความโปร่งโล่งของบ้านคล้ายบ้านฝรั่ง ส่วนชั้น 2 เพดานยังยกสูงขึ้นไป 2.40 เมตรอีก เพื่อให้มีช่องลมระบายความร้อนของบ้าน ทำให้บ้านไม่ร้อนจนเกินไป จึงไม่ต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศ

    “บ้านหลังคาสูงเพราะต้องการให้ลมพัดผ่าน เพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อน ไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ” อีกทั้งระเบียงบ้านสไตล์อเมริกันเป็นกึ่งโอเพนแอร์ รับลมได้ดี

    3.คำนึงถึงทิศทางลม : ทิศทางลม ประเทศไทย ลมมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ ด้านหลังบ้านอาจารย์จึงหันออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ หน้าต่างบ้านด้านหลังทั้งหมดเลือกแบบเฟรนช์วินโดว์ คือกรอบหน้าต่างต่ำอยู่ติดพื้น เพื่อเปิดรับลมได้เต็มที่ ส่วนด้านข้างบ้านปิดค่อนข้างมิดชิด เพื่อป้องกันลมหนาวในหน้าหนาว ทำให้มีลมพัดเย็นตลอดทั้งวัน ช่วยลดปัญหาโลกร้อน ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหรือเปิดเครื่องปรับอากาศ

    4.ระบบไฟ : มีการแยกแผงไฟ ควรมีการติดตั้งระบบไฟฟ้าแยกทั้งชั้นใต้ถุน ไฟชั้นล่าง และไฟชั้นบน การลาดเทของพื้นบ้านระหว่างหน้าบ้าน หลังบ้าน รวมทั้งทำระบบระบายน้ำให้ดี

    “ระดับการลาดเอียงของบ้านในการเทปูน สังเกตหน้าบ้านอยู่ต่ำกว่าระดับหลังบ้านอยู่ 10 เซนติเมตร ทำให้เวลาน้ำลด น้ำหลังบ้านจะแห้งก่อนหน้าบ้าน อีกทั้งมีการออกแบบรางระบายน้ำเป็นรูปตัวแอล จากหลังบ้านอ้อมไปหน้าบ้าน เพราะคนโบราณถือไม่ให้ทำรางระบายน้ำรอบบ้าน จึงทำเป็นรูปตัวแอล ทำให้บริเวณบ้านไม่มีน้ำขัง ซึ่งการลาดเทของบ้านสำคัญมาก อีกทั้งมีการระบายอากาศที่ดี ทำให้บ้านอยู่แล้วร่มเย็นสบาย ห้องน้ำควรมีท่อระบายอากาศเพื่อทำให้ชักโครกไหลระบายได้ดี เพราะไม่มีความกดอากาศภายใน”

    5.เลือกเฟอร์นิเจอร์ : ไม่ควรทำแบบบิวด์อิน ยิ่งเฟอร์นิเจอร์บิวด์อินเป็นไม้ยิ่งน่าเสียดาย หากเป็นเฟอร์นิเจอร์ยกลอยตัวจะสามารถเพื่อยกหนีน้ำไปอยู่ที่ชั้น 2 ของบ้านได้ ส่วนวัสดุพื้นควรเป็นกระเบื้องเพื่อป้องกันความชื้นจากพื้นดิน ไม่ควรปูด้วยพรม เพื่อป้องกันการเป็นมะเร็งที่ปอดเพราะความชื้น

    [​IMG]
    <ins>
    เตรียมรับมือปีหน้า</ins>


    นับเป็นความโชคดีที่ระดับน้ำขึ้นไม่ถึงตัวบ้าน แม้บริเวณโดยรอบน้ำจะท่วมสูงถึง 1 เมตร ปีหน้าเราเตรียมรับมือคือ หากน้ำปีหน้าท่วมสูงกว่า 2-3 เมตร คงเอาไม่อยู่ ถ้าน้ำสูงกว่า 3 เมตรปีหน้า ก็คงเตรียมรับมือคือ เตรียมยกเฟอร์นิเจอร์ขึ้นชั้นสอง เพราะมีบทเรียนปีนี้มาแล้ว

    “คิดว่าปีหน้าถ้าน้ำเยอะกว่านี้ สิ่งที่จะต้องเตรียมการคือก่ออิฐมาปิดเลย กระสอบทรายค่าใช้จ่ายประมาณกัน กระสอบทรายเป็นการป้องกันเฉพาะหน้า การก่อกำแพงดีกว่า คิดว่าจะต้องป้องกันจริงๆ ก่อพนังกั้นน้ำเลย นำกระสอบทรายมากั้นท่อระบายน้ำ และซื้อเครื่องสูบน้ำมาสูบน้ำที่ไหลผ่านกระสอบทรายมาสูบน้ำออก หรือไม่ก็ไปอยู่ที่อื่นเลย คือ มีบ้านอยู่ต่างจังหวัด ถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาจะลำบาก ที่เป็นกังวล คือ การตัดน้ำตัดไฟ ในอนาคตปีหน้า ถ้าหากมีระดับน้ำขนาดนี้ อยากจะขอแนะนำบ้านที่มีผู้สูงอายุ คนเจ็บป่วย หรือเด็กเล็ก ควรอพยพไปก่อนเลย เพราะหากเกิดอะไรขึ้นจะลำบาก ยิ่งมีการตัดน้ำตัดไฟจะลำบากมาก แต่เป็นคนหนุ่มคนสาวอาจจะก่อกั้นไว้เลย แข็งแรงกว่า กระสอบทรายแค่ใช้อุดท่อระบายน้ำ

    อาจารย์ไม่ได้เตรียมกระสอบทรายมากั้นไว้เลย เพราะไม่คิดว่าน้ำจะขึ้นมาสูง ด้วยคิดว่าบ้านเรายกสูงอยู่แล้ว ถ้ากั้นกระสอบทรายต้องสูบน้ำออกด้วย จะทำให้กระทบกับคนอื่น อาจจะด้วยความที่บ้านยกสูง แต่ถ้าไม่มีใต้ถุนอาจก่อกำแพงอิฐมาปิดสูงตรงประตูบ้านเลย ปีนี้จึงไม่เสียงบประมาณที่บ้านเนื่องจากทำท่อระบายน้ำไว้รอบบ้านเลย ถ้าจะกั้นท่อระบายน้ำต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกเยอะ และทำท่อเป็นรูปตัวแอล น้ำขึ้นตามท่อตามระดับของน้ำ จึงไม่ขึ้นถึงท่อ ไม่ท่วมถึงบ้าน พื้นบ้านสูงเนี่ยได้ประโยชน์มาก”


    -http://www.posttoday.com/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/121921/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-

    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    หลากหลายเคล็ด (ไม่) ลับ รับมือ"น้องน้ำ"


    งานนี้สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จะเริ่มเตรียมตัวจากที่ไหนดี ลองอ่านสารพัดวิธีเตรียมตัวที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากประสบการณ์ตรง

    โดย..พุสดี

    ในช่วงที่ทัพน้องน้ำ (เน่า) กำลังบุกฝ่าสารพัดวงล้อมกระสอบทราย กระชับพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในเข้ามาทุกขณะ สิ่งเดียวที่ชาวกรุง(ที่เคยมั่นอกมั่นใจว่าบ้านฉันจะน้ำไม่ท่วม) ทำได้ขนาดนี้ นอกจากเฝ้าดูทัพน้องน้ำและตั้งสติให้มั่นแล้ว คงหนีไม่พ้นการเตรียมความพร้อมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก่อนวันที่น้องน้ำจะมาเคาะประตูหน้าบ้าน

    งานนี้สำหรับชาวกรุงที่ยังชิลชิล และไม่รู้จะเริ่มเตรียมตัวจากที่ไหนดี ลองอ่านสารพัดวิธีเตรียมตัวที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากประสบการณ์ตรงของ ครีเอทีฟสาว น้ำปรียศรี พรหมจินดา สาวมั่นจากเมืองกรุงเก่า ที่ชีวิตนี้บอกว่า โตมากับน้ำท่วมเหมือนกับที่เด็กกรุงเทพฯ โตมากับปัญหารถติด

    [​IMG]

    ทั้งนี้ สาวน้ำได้ใช้โอกาสการเสวนา “ต้องรอด” ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดขึ้นควบคู่ไปกับการจัดแสดงนิทรรศการ “เมืองจมน้ำ” ระหว่างวันที่ 20 ต.ค.25 พ.ย. เผยหลายเคล็ด (ไม่) ลับรับมือน้ำท่วม จากการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ มาถ่ายทอดผ่านภาพวาดตัวการ์ตูนน่ารักที่เจ้าตัวถนัด

    <ins>‘5 ขั้นตอนง่ายๆ ในการรักษาใจตกน้ำ’</ins>

    1.รู้ตัวเองสังเกตตัวเอง ว่ามีอาการเครียด หงุดหงิด หรือซึมเศร้ากว่าปกติหรือไม่

    2.ดูแลกายใจ ผ่อนคลายบ้าง ด้วยการเดินเล่นชมนกชมไม้ หาของอร่อยๆ รับประทาน หัดมองโลกในแง่ดีและปล่อยวางบ้าง เป็นต้น

    3.หมั่นเช็กอารมณ์ (ระหว่าง) วัน ดูว่าวันนี้เราเหวี่ยงหรือวีนเกินลิมิตไปหรือไม่

    4.ตื่นตัวไม่ตื่นตระหนก ไม่หมกหมุ่นกับข้อมูลข่าวสารที่ไหลมาเร็ว และแรงไม่แพ้น้ำท่วม แต่ควรเปิดรับและกลั่นกรองข่าวสารด้วย

    5.ขอความช่วยเหลือบ้าง บางครั้งการหมกหมุ่นอยู่กับตัวเอง อาจทำให้ความเครียดพุ่งทะลุปรอท ทางที่ดีควร โทร.หาเพื่อน หรือคนสนิท ครอบครัว เพื่อระบายความรู้สึก หรือปรึกษาบ้าง

    <ins>วิธีผลิตน้ำสะอาดด้วยตัวเอง (แต่ใช้ดื่มไม่ได้นะจ๊ะ)</ins>

    ก่อนอื่นต้องเตรียมอุปกรณ์ดังนี้ : ถังน้ำ 2 ใบ สารส้มก้อน และ สารฆ่าเชื้อคลอรีนชนิดน้ำ 2 % (หยดทิพย์)

    ขั้นตอน

    1.เตรียมน้ำใส่ถัง (น้ำห่างไกลจากโรงงานหรือสุขา)

    2.แกว่งสารส้มในถัง โดยแกว่งในระดับความลึก 2 ใน 3 จากปากถัง

    3.ทิ้งให้ตกตะกอน 30 นาที

    4.ถ่ายน้ำใส่ลงถังอีก 1 ใบที่เตรียมไว้

    5.ฆ่าเชื้อโรคโดยใส่หยดทิพย์ 1 หยด ต่อน้ำ 1 ลิตร และทิ้งไว้ 30 นาที เป็นอันเรียบร้อย สำหรับขั้นตอนนี้ต้องระวังไม่ให้หยดทิพย์โดนร่างกาย หรือถ้าโดนต้องรีบล้างออกทันที


    [​IMG]

    <ins>
    Check List ดูแลสัตว์เลี้ยงช่วงอพยพน้ำท่วม</ins>


    สำหรับเคล็ดลับนี้ แบ่งเป็น

    แผน A กรณีพาน้องสัตว์เลี้ยงไปด้วย

    1.ติดป้ายชื่อ และเบอร์ติดต่อเจ้าของคล้ายบัตรประชาชนเจ้าตูบ

    2.ใส่ปลอกคอ กรง หรือสายจูง

    3.มีรูปติดตัวสัตว์เลี้ยงไปด้วย เผื่อหลง

    4.เตรียมประวัติสุขภาพของสัตว์เลี้ยง เช่น ประวัติการตรวจวัคซีน แพ้ โรคประจำตัว

    5.เตรียมอาหารและน้ำให้พออย่างน้อย 3 วัน

    แผน B กรณีต้องแยกจากกันกับสัตว์เลี้ยง

    1.พาไปไว้ที่ปลอดภัยที่สุดในบ้าน ห้ามล็อกห้อง ล่ามโซ่ หรือใส่กรง

    2.เตรียมอาหารหรือน้ำให้มากพอ

    3.ติดป้ายชื่อและเบอร์ติดต่อเจ้าของ ข้อความที่จำเป็นที่อ่านได้ชัดเจนฝากไว้

    4.มีรูปสัตว์เลี้ยงติดตัวไปด้วย

    5.ผูกผ้าสีสด เห็นได้ไกล ทีมช่วยเหลือจะได้เห็นและเข้ามาช่วยเหลือ

    <ins>ไม้ตายพาผู้ใหญ่ (ดื้อ) ในบ้านหนีน้ำ</ins>

    1.แอบวางแผน ดูอารมณ์ ห้ามดุหรือบังคับ

    2.จับประเด็นสาเหตุ แก้ปัญหาที่ต้นเหตุให้เห็น

    3.อธิบายเหตุและผลแย่ๆ ที่เกิดขึ้นได้ โดยไม่ใช่อารมณ์ เช่น น้ำประปาอาจจะไม่ไหล ไฟอาจจะดับ

    4.งัดไม้ตาย ใช้สารพัดเหตุผลเพื่อโน้มน้าว ชักแม่น้ำทั้งห้า โดยอาจจะเอาตัวช่วย อย่างหลานคนโปรด ของสุดห่วงมาเป็นตัวโน้มน้าวอีกแรง

    นอกจากนี้ ในการเสวนาดังกล่าว วิภาวี คณาวิชยานนท์ ผู้ก่อตั้ง Design for Disasters ยังร่วมแบ่งปันเคล็ดไม่ลับในการเอาตัวรอดน้ำท่วม จากการแปลงสิ่งของธรรมดาในชีวิตประจำวันใกล้ตัว เช่น ไม้กวาด ถังน้ำ ขวดพลาสติก ให้กลายเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตในยามคับขันแบบทันใจด้วย

    หนึ่งในไอเดียเก๋แถมประหยัดเวลาที่นำมาโชว์ คือ ไอเดียของฉัตรพงษ์ ชื่นฤดีมล สถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง Design for Disasters นั่นคือ การใช้ถุงผ้าใบขนาดใหญ่ที่ปกติใช้สำหรับขนของ มาบรรจุขวดน้ำพลาสติกด้านใน แล้วใช้เป็นชูชีพพยุงร่างกายในยามต้องฝ่ากระแสน้ำ หรือแพขวดน้ำ ที่เกิดจากการรวมตัวของตะแกรงที่ถูกมัดให้มีรูปร่างคล้ายกล่อง โดยบรรจุขวดพลาสติกไว้ด้านใน จากนั้นคลุมด้วยผ้ากระสอบ กลายเป็นแพโดยสาร ที่มีไม้พายดัดแปลงจากของใช้ใกล้ตัว อย่างตะหลิว ซึ่งจากการลงพื้นที่ไปทดสอบการใช้งานแล้ว วิภาวีการันตีคุณภาพการใช้งานว่าใช้ได้ดี

    งานนี้ สำหรับใครที่ไม่มีตะแกรงใกล้ตัว อาจเปลี่ยนจากตะแกรงมาเป็นไม้ไผ่ที่ขัดเป็นตาราง แล้วใช้กะละมังพลาสติกแทนขวดน้ำ ก่อนคลุมด้วยแห เพื่อทำเป็นแพก็ได้เหมือนกัน

    [​IMG]

    ******************
    ผู้ที่สนใจสามารถเข้ารับฟังการเสวนา “ต้องรอด” ได้ตลอดเดือน พ.ย. ที่ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยในวันเสาร์ที่ 12 พ.ย. ชุตยเวศ สินธุพันธุ์ สถาปนิกผู้ก่อตั้งบริษัท Site Pacific อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ร่วมก่อตั้ง Design for Disasters รวมทั้ง พงศธร พัฒผล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเดินป่าและการผจญภัยแห่ง Thailand Survival จะมาร่วมเสวนา
    ส่วนในวันที่ 19 พ.ย. ธนาเทพ หายทุกข์ เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย จะมาเป็นนักออกแบบรับเชิญในการเสวนา


    -http://www.posttoday.com/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/120716/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3-

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    อยู่ในกระทู้ -http://palungjit.org/threads/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%993%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3.313852/-


    .

    http://palungjit.org/threads/ปราโมทย์ดัน3ยุทธศาสตร์จัดการน้ำ.313852/

    .
     
  16. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
    คุณหนุ่มที่ทำงานน้ำท่วมไหมค่ะ
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    [FONT=Tahoma,]นอนไม่หลับ

    คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา
    นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต


    ในภาวะเช่นนี้หลายคนอาจมีอาการนอนไม่หลับ หลับยาก หรือหลับแล้วตื่นกลางดึก ฝันร้าย จนทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย

    สิ่งเหล่านี้อาจเกิดจากความเครียด ความวิตกกังวลที่เราประสบอยู่ สำหรับคนที่มีอาการนอนไม่หลับจึงควรที่จะหลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน อย่ากังวลว่าจะนอนไม่หลับ พยายามเข้านอนเป็นเวลา หากไม่ง่วงให้หากิจกรรมทำ เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ฟังเพลง เป็นต้น หากมีอาการวิตกกังวลสูง ควรหยุดพักการรับรู้ข่าวสารที่ไม่จำเป็น หาเพื่อนที่ไว้วางใจพูดคุยในเรื่องสนุกสนาน พยายามสร้างอารมณ์ขัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลินและผ่อนคลายที่สำคัญหางานที่ต้องออกแรง หรือออกกำลังกายเล่นกีฬา เพื่อให้ร่างกายได้ออกกำลังซึ่งจะช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น

    การนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจได้ พักเพื่อให้มีเรี่ยวแรง มีกำลังใจการคิดแก้ไขปัญหาและก้าวเดินต่อไปในวันใหม่
    [/FONT]


    -http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dPREUzTVRFMU5BPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1TMHhNUzB4Tnc9PQ==-

    .
     
  19. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    หลากกิจกรรมนันทนาการ ช่วยผ่อนคลาย...เติมความสุขผู้ประสบภัย

    วันพฤหัสบดี ที่ 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา 0:00 น
    [​IMG][​IMG] [​IMG] [​IMG]<SCRIPT src="http://s7.addthis.com/js/250/addthis_widget.js?pub=xa-4a38f0f6636e48fa" type=text/javascript></SCRIPT> ​


    <TABLE class=x-tabs-strip id=ext-gen5 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR id=ext-gen4><TD class=" on" id=ext-gen10 style="WIDTH: 72px">เนื้อหาข่าว</TD><TD id=ext-gen16 style="WIDTH: 57px">รูปภาพ</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]



    [​IMG]

    ถึงแม้ว่าจะเกิดวิกฤติมหาอุทกภัยกับชาวไทยอย่างหนักหนาสาหัส ส่งผลให้หลายคนไร้ที่อยู่อาศัย สูญเสียทรัพย์สินแทบสิ้นเนื้อประดาตัว พลัดพรากจากบุคคลที่รัก ตกงาน ทำให้เกิดความเครียดจนบางคนถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย สิ่งหนึ่งที่เราจะสามารถช่วยกันได้ในยามนี้ นอกจากการช่วยบริจาคเงินและสิ่งของ อีกมุมหนึ่งยังมีผู้ใจบุญอาสาจัดกิจกรรมหลากหลายเพื่อช่วยผ่อนคลายความทุกข์โศกให้ผู้ประสบภัยที่พักพิงอยู่ในศูนย์อพยพ

    แม่ชีปารมิตา บุญประเสริฐ แม่ชีจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำนักสีลจาริณี ซึ่งได้เดินทางมาช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้วยการ ขูดเส้นเพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียด ที่ศูนย์อพยพสนามราชมังคลากีฬาสถาน เล่าว่า ตัวเราเป็นแพทย์ทางเลือกอยู่แล้วและคิดว่าการรักษานี้เป็นวิธีที่จะช่วยผ่อนคลายได้เยอะ จึงมาช่วยบำบัดให้ผู้อพยพและอาสาสมัครเพื่อทุเลาอาการปวดเมื่อยและคลายเครียด การรักษาของเราเรียกว่า “การถอนพิษทางผิวหนัง” ด้วยการใช้อุปกรณ์ขูดเส้น นอกจากนี้ยังช่วยสอนโยคะท่าพื้นฐานให้ช่วยตัวเองได้โดยไม่ต้องรับประทานยา

    เมื่อเราสอนให้ดูแลรักษาร่างกายแล้ว สุขภาพใจก็ต้องดีด้วย ระหว่างขูดเส้นได้พูดคุยกับผู้ประสบภัยด้วยการสอดแทรกการสอนกรรมฐาน พูดธรรมะเพื่อค่อย ๆ สอนไป รวมทั้งหลอกถามถึงสาเหตุของความทุกข์เพื่อจะได้ช่วยผ่อนคลายให้ด้วยการพูดจาให้เข้าใจง่าย ๆ ถือเป็นการบำบัดร่างกายและจิตใจไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งไม่ได้ใช้แรงอะไรมากมายจึงไม่เหนื่อยมาก เพราะถ้าอยู่ ๆ เราไปพูดคุยกับผู้อพยพเฉย ๆ คงไม่มีใครมาคุยด้วย โดยแม่ชีในสำนักฯ จะแยกย้ายกันไปตามศูนย์อพยพต่าง ๆ เพื่อผ่อนคลายทุกข์แก่เพื่อนมนุษย์ไปจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ

    กาญจนา อัคติ อาสาสมัครสาววัย 30 ปี หนึ่งในผู้มาใช้บริการขูดเส้นจากแม่ชีปารมิตา เล่าว่า ตอนแรกรู้สึกเครียดนอนไม่หลับเพราะเป็นห่วงผู้สูงอายุในศูนย์ เพราะตอนกลางคืนเวลาลุกไปเข้าห้องน้ำจะลำบากมาก จึงต้องคอยตื่นมาดูแลพยุงพาไปเข้าห้องน้ำไม่เช่นนั้นอาจลื่นล้มได้ และในตอนกลางวันก็ช่วยยกของอีก ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย จึงมาใช้บริการการขูดเส้นของแม่ชี ตอนแรกก็กลัว ๆ เพราะเจ็บมาก แต่พอแม่ชีขูดไปได้สักระยะหนึ่งกลับรู้สึกเหมือนโล่งไปหมด ร่างกายและศีรษะเบาสบาย เพราะแม่ชีจะขูดไปด้วยสอนธรรมะไปด้วย ทำให้จิตใจเรารู้สึกผ่อนคลายขึ้นและความปวดเมื่อยก็หายไปด้วย

    “คุณตาคุณยายจะมานั่งอมทุกข์แบบนี้ไม่ได้นะคะ ต้องออกไปเดินสูดอากาศข้างนอกบ้างเพื่อผ่อนคลาย ถือซะว่าธรรมชาติให้รางวัลเรา เพราะเราทำงานมาเหนื่อยเกือบทั้งชีวิตแล้ว ถึงเวลาที่คุณตากับคุณยายจะได้มาใช้เวลาพักผ่อนอยู่ด้วยกันนอกบ้าน หรือเรียกว่าฮันนีมูนรอบสองก็ได้ เพราะถ้าเราคิดว่าเป็นอุทกภัยร้ายแรงสร้างความเสียหายก็จะยิ่งเครียด”เสียงเจื้อยแจ้วของ นฤภร สุวรรณจินดา พนักงานส่วนงานทั่วไปของตึกศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา ภายในสนามราชมังคลากีฬาสถาน กำลังพูดให้กำลังใจผู้อพยพที่นั่งซึมเหม่อลอยอยู่

    โดย นฤภร กล่าวว่า ตนมีหน้าที่คอยสอบถามเรื่องความสะดวกสบายภายในศูนย์เพื่อนำเก็บข้อมูลไปปรับปรุง แต่ก็อดไม่ได้ที่จะพูดคุยสอบถามสารทุกข์สุกดิบกับผู้อพยพด้วย เพราะแต่ละคนจะมีอาการซึม ๆ เครียด ๆ ถ้าปล่อยทิ้งไว้สภาพจิตใจจะยิ่งย่ำแย่ลง จึงพยายามพูดคุยให้กำลังใจแบบติดตลกเพื่อต้องการให้มีรอยยิ้มกันบ้างถือเป็นการผ่อนคลายอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังแนะนำให้ผู้อพยพลงไปรีแลกซ์กันบ้าง เพราะนั่งอยู่เฉยยิ่งจะทำให้เครียด โดยมีกิจกรรมเปิดเพลงให้เต้นแอโรบิกกันในช่วงเย็น แต่ถ้าเป็นผู้สูงอายุจะให้เดินเล่นในทุ่งสวนสุขภาพการกีฬา ส่วนเด็ก ๆ ก็จะมีครูมาสอนเล่นกีฬา เช่น บาสเกตบอล หากผู้ประสบภัยมีสภาพจิตใจดีร่างกายก็จะแข็งแรง

    ด้าน สุวเนตร ใจปานแก่น วัย 36 ปี เจ้าของร้านสปา ย่านรามอินทรา ได้รวมกลุ่มกับลูกจ้างมาช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยการนวดผ่อนคลาย เล่าว่า ทราบข่าวจากโทรทัศน์ว่าต้องการจิตอาสามาช่วยเหลือผู้ประสบภัยจึงเดินทางมา ในตอนแรกอยู่หน่วยพยาบาล แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก จึงกลับบ้านไปปรึกษากันกับน้อง ๆ ประมาณ 3-4 คน จนได้แนวคิดว่าเราจะช่วยเหลือทางด้านการนวดจะดีกว่าเพราะเรามีความรู้ทางด้านนี้กัน จากนั้นเดินทางกลับไปที่ศูนย์เพื่อช่วยเหลือด้วยการนวดผ่อนคลายให้ผู้ประสบภัยคนละประมาณ 15-20 นาที โดยจะนวดคลายเส้นให้ตรงจุดเลย ส่วนมากผู้ประสบภัยจะเมื่อยคอ บ่า ไหล่ เพราะต้องขนของ แบกกระสอบทราย ซึ่งก่อนนวดเราจะถามว่าเมื่อยตรงไหน จากนั้นจะนวดให้ตรงจุดเลย เพราะมีคนมารอต่อคิวเยอะต้องทำเวลา สำหรับใครที่ปวดหัว เนื่องจากเครียดจัดยังทำใจไม่ได้ก็จะนวดคลายเครียดให้ที่ศีรษะและสอบถามพูดคุย แต่ผู้ประสบภัยบางส่วนก็ทำใจได้บ้างแล้ว โดยเราคิดกันว่าจะไปช่วยนวดให้ผู้ประสบภัยที่จุดอื่นด้วย เพราะทราบว่ามีหลายจุด เราทำให้ตรงนี้ไม่เสียรายได้อะไรและไม่คิดถึงด้วย เพราะมีจิตอาสาเต็มร้อย ตั้งใจอยากจะมาช่วยมากกว่าที่จะนึกถึงรายได้ที่สูญเสียไป

    ดารุณี ยวงเงิน ผู้ประสบภัยวัย 27 ปี และลูก ๆ 3 คน นั่งซึมรอการนวดผ่อนคลายจากจิตอาสาอยู่ที่ศูนย์อพยพ เล่าว่า ตนเองติดอยู่ในบ้านที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยากับญาติและลูกรวมกว่า 10 ชีวิต หลายวันจนเริ่มเครียด เพราะอาหารการกินเริ่มร่อยหรอ จึงตัดสินใจพาลูกทั้ง 3 เดินทางออกมาอย่างทุลักทุเล จนกระทั่งมาถึงศูนย์อพยพที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน รู้สึกดีใจที่ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากจิตอาสา เพราะมีแต่คนอยากจะช่วยเหลือถึงแม้ไม่ใช่ญาติพี่น้อง แต่เพราะเดินทางมาหลายวันต่อรถต่อเรือมาหลายครั้งรวมทั้งอุ้มลูกที่ยังเล็ก ๆ อยู่และแบกของทำให้ปวดเมื่อยและก็เครียดด้วยจึงมาใช้บริการนวดเผื่อว่าจะคลายเครียดลงบ้าง

    “ถึงแม้จะช่วยอะไรไม่ได้มากแต่ก็รู้สึกดีที่มีเพื่อนมนุษย์มีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แค่ได้พูดคุยได้เล่าความทุกข์ให้กันฟังก็ถือว่าผ่อนคลายไปบ้างแล้ว ซึ่งหลังจากนี้ไปยังไม่รู้จะทำมาหากินอะไร เพราะก่อนหน้านี้เราเป็นลูกจ้างร้านขายผลไม้ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งร้านค้าก็เสียหายไปมากยังไม่ทราบว่าเจ้าของร้านจะจ้างเราต่อไปอีกหรือไม่ จึงอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องอาชีพต่อจากนี้ด้วย เพราะต้องเลี้ยงดูพ่อแม่และลูกน้อยอีก 3 คนเพียงคนเดียว ส่วนสามีได้หย่าขาดกันไปแล้ว”

    สำหรับ อาจารย์วัสสาวดี วัฒนสุวรรณ หัวหน้าสาขาการละคร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พาคณะมาสร้างรอยยิ้มให้เด็ก ๆ ในศูนย์อพยพ ได้เล่าว่าพวกเราจะถนัดเรื่องการเล่านิทาน การแสดง แต่บางครั้งสถานที่ที่เราไปต้องปรับกิจกรรมให้เข้ากับสถานที่ด้วย เช่น การวาดรูประบายสี ซึ่งส่วนหนึ่งของเราเป็นส่วนหนึ่งของอาร์ต ฟอร์ เฮลพ์ (Art For Help) โดยเราจะเดินทางเวียนไปตามศูนย์อพยพ โดยมีกิจกรรมหลากหลาย เป้าหมายคืออยากให้เด็ก ๆ ผ่อนคลาย สามารถมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองทำได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นเด็กเล็กมากจะใช้เสียงเพลงเข้ามาช่วย เช่น ร้องเพลงร่วมกัน แนะนำตัวกัน เรียกชื่อกัน เพราะเด็กส่วนมากที่มารวมตัวกันจะไม่รู้จักใคร รู้สึกแปลก
    ที่ อีกทั้งพ่อแม่ก็เครียด ทำให้เด็กได้รับผลกระทบ เราจึงคิดว่าการที่ทำให้เด็กรู้ว่ามีเสียงเพลง ได้เคลื่อนไหวในจังหวะทำนองต่าง ๆ จะทำให้เด็กมั่นใจและมีทัศนคติที่ดีกับทุกคนที่อยู่รอบ ๆ ตัว รวมทั้งตัวเองด้วย

    ตอนแรกเด็กจะไม่ทราบว่าเราเป็นใคร จึงทำให้กล้า ๆ กลัว ๆ แต่พออยู่กับเราไปได้สักพักหนึ่งก็จะเริ่มพูดคุยและบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เขาทำ เช่น บอกชื่อ เล่าเรื่องต่าง ๆ จากสิ่งที่ตัวเองทำ เช่น วาดรูปอะไร ความฝันคืออะไร ทำให้เราทราบว่าเมื่อเด็กเริ่มเปิดใจ สะท้อนให้เห็นสิ่งที่อยู่ข้างในว่าเค้าเริ่มไว้ใจคนอื่น ๆ หรือเด็กที่มาเต้นระบำ ร้องเพลง ทำให้เห็นว่ายิ่งคนเราได้เคลื่อนไหวจะทำให้ไม่จมอยู่กับความทุกข์ ถือเป็นการช่วยเหลือเด็ก ๆ เหล่านั้นอีกอย่างหนึ่ง ทำให้เค้าคิดว่าตัวเองสามารถทำอะไรได้อีกเยอะ รวมทั้งอยากฝากถึงผู้ปกครองด้วยว่าอยากให้มาร่วมเล่นกิจกรรมกับลูก ๆ ด้วย

    ทั้งหมดนี้ถือเป็นน้ำใจจากเพื่อนมนุษย์ที่แสดงให้เห็นว่าถึงแม้เหตุการณ์ในครั้งนี้จะเลวร้ายสร้างความสูญเสียอย่างมากมายมหาศาล แต่ในด้านร้ายก็ยังมีด้านดีเสมอคือความรักความสามัคคีของคนไทยที่มีให้กัน เชื่อว่าเราจะสามารถฝ่าวิกฤติมหันตภัยนี้ไปได้ด้วยกัน.

    “อาการซึม ๆ เครียด ๆ ถ้าปล่อยทิ้งไว้สภาพจิตใจจะยิ่งย่ำแย่ลง จึงพยายามพูดคุยให้กำลังใจแบบติดตลกเพื่อต้องการให้มีรอยยิ้มกันบ้างถือเป็นการผ่อนคลายอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังแนะนำให้ผู้อพยพลงไปรีแลกซ์กันบ้าง โดยมีกิจกรรมเปิดเพลงให้เต้นแอโรบิกกันในช่วงเย็น แต่ถ้าเป็นผู้สูงอายุจะให้เดินเล่นในทุ่งสวนสุขภาพการกีฬา ส่วนเด็ก ๆ ก็จะมีครูมาสอนเล่นกีฬา เช่น บาสเกตบอล”

    วิธีคลายเครียดแบบทันใจ

    จดบันทึก การจดบันทึกเรื่องราวมีประโยชน์หลายอย่างทั้งการทบทวนตัวเอง ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงการสำรวจถึงทางออกที่เป็นไปได้ต่อปัญหาเหล่านี้ สามารถช่วยในการย่อยสลายอารมณ์ความรู้สึกอันยากลำบากต่าง ๆ และเป็นหนทางในการต่อสู้กับความเครียดในอนาคต

    ทำสมาธิ การฝึกทำสมาธิสามารถลดความเครียดได้อย่างมากและต่อสู้กับปฏิกิริยาในแง่ลบจากความเครียด และเมื่อผ่อนคลาย คำตอบของปัญหาที่ทำให้เครียดก็จะมาถึงตัวเราเองในแบบที่ง่ายดายและชัดเจน

    พูดกับเพื่อน พูดสิ่งต่าง ๆ ออกมากับเพื่อนจะสามารถช่วยกระจายอารมณ์และความตึงเครียดของตัวเองออกมาได้ และช่วยให้รู้สึกว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวในปัญหาของตัวเอง และเพื่อนอาจถามคำถามบางอย่างที่ทำให้เรานึกถึงสถานการณ์ของตัวเองในแบบที่แตกต่างออกไป

    พูดกับตัวเอง พูดกับตัวเองในแง่ลบสามารถทำให้เกิดความเครียดได้มากกว่าที่คนส่วนใหญ่จะรู้ตัว ซึ่งหมายถึงเสียงเล็ก ๆ ในหัวของเราที่ประเมินสิ่งต่าง ๆ ในแง่บวกหรือแง่ลบและบอกตัวเองเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่พบอยู่ ซึ่งเกี่ยวกับตัวเราเอง จึงลองเปลี่ยนจากการพูดกับตัวเองในแง่ลบมาเป็นการพูดถึงตัวเองในแง่บวก อาจต้องใช้การสำรวจตัวเองเล็กน้อยก่อนจะตัดสินใจเลือกคำพูดที่จะใช้กับตัวเอง แต่ผลที่ได้รับก็คือ ความรู้สึกมั่นใจและความเครียดที่ผ่อนคลายลง

    ฝึกการหายใจ การหายใจเข้าลึก ๆ เป็นการผ่อนคลายความเครียดที่ง่ายดายที่เราสามารถทำได้และมีประโยชน์อย่างมากมายต่อร่างกาย รวมถึงการเติมออกซิเจนในเลือดที่ช่วยปลุกสมองให้ตื่นตัว ผ่อนคลายกล้ามเนื้อและทำให้จิตใจความคิดสงบ การฝึกหายใจสามารถทำได้ทุกหนทุกแห่งและได้ผลอย่างรวดเร็วคลายเครียดได้ในพริบตา

    ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การเกร็งและคลายกล้ามเนื้อทั้งหลายในร่างกาย สามารถช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดและรู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้นในเวลาไม่กี่นาที โดยไม่ต้องฝึกฝนหรือใช้เครื่องมือพิเศษใด ๆ โดยเริ่มด้วยการเกร็งกล้ามเนื้อทั้งหมดบนใบหน้า แยกเขี้ยวและยิ้มค้างไว้ 10 วินาทีแล้วผ่อนคลาย 10 วินาที ทำซ้ำกับกล้ามเนื้อคอตามด้วยไหล่และกล้ามเนื้ออื่น ๆ สามารถทำแบบนี้ที่ไหนก็ได้ ขณะที่กำลังทำจะพบว่าตัวเองผ่อนคลายได้เร็วและง่ายกว่า.





    ที่มา เดลินิวส์ ออนไลน์
     
  20. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    เคล็ดลับ“ล้างเห็ด”สะอาดทันใจ

    วันพฤหัสบดี ที่ 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา 0:00 น
    [​IMG][​IMG] [​IMG] [​IMG]<SCRIPT src="http://s7.addthis.com/js/250/addthis_widget.js?pub=xa-4a38f0f6636e48fa" type=text/javascript></SCRIPT> ​


    <TABLE class=x-tabs-strip id=ext-gen5 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR id=ext-gen4><TD class=" on" id=ext-gen10 style="WIDTH: 72px">เนื้อหาข่าว</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    พร้อมวิธีเลือก และเก็บรักษาเห็ดให้สด ไม่เน่าเสียเร็ว ทั้งยังคงความกรุบกรอบ

    “อาหารเมนูเห็ด” ผนวกพืชผักสมุนไพรต่าง ๆ ยุคนี้กำลังบูม อีกทั้ง “เห็ด” บางชนิดมีรสชาติใกล้เคียงเนื้อสัตว์ ใช้ปรุงอาหารอร่อยได้หลายวิธี ทั้งต้ม ผัด แกง ยำ ย่าง หรือ ทอด เพียงรู้วิธีเลือกซื้อ ขจัดสิ่งสกปรก และเก็บรักษาที่ดี รับรองช่วยชูรสอร่อยได้มากทีเดียว ขอยกตัวอย่างจากเห็ดยอดนิยม นั่นคือ เห็ดหอม เห็ดออรินจิ และเห็ดหูหนู

    โดย “เห็ดหอม” เลือกสีออกเทาเกือบดำ ไม่หมองคลํ้า เนื้อดอกหนา สำหรับ “เห็ดออรินจิ” เลือกดอกสีขาวสะอาด กลิ่นไม่แรง และเนื้อแน่น ส่วน “เห็ดหูหนู” เลือกดอกใหญ่ หนา สีเป็นมัน นั่นคือลักษณะของเห็ดใหม่

    หากเห็ดมีคราบสกปรกของดินติดอยู่ ให้นำน้ำร้อนมาราดลงบนเห็ด พักให้คลายร้อนสักครู่ จากนั้น ล้างด้วยน้ำเย็น จะช่วยขจัดคราบดินให้หลุดออกโดยง่าย

    สำหรับเห็ดสดที่เหลือ เมื่อทำความสะอาดแล้ว ให้เก็บใส่ถุงพลาสติก เจาะรู เพื่อให้ไอนํ้าระเหยออก แล้วรัดปากถุงให้แน่น แช่ตู้เย็นช่องผัก จะเก็บได้ประมาณ 1-2 วัน ทั้งนี้ ไม่ควรทิ้งไว้นาน เพราะจะเน่า และขึ้นราได้.

    ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
     

แชร์หน้านี้

Loading...