พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    <OBJECT id=_player type=application/x-shockwave-flash height=350 width=425 data=http://video.nationchannel.com/player/flowplayer.commercial-3.2.5.swf name=_player bgcolor="#000000"><embed src="http://video.nationchannel.com/player/flowplayer.commercial-3.2.5.swf" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" bgcolor="#000000" flashvars="config=http://video.nationchannel.com/player/play.php?id=183784&" allowfullscreen="true" width="425" height="350"></embed></OBJECT>​


    [​IMG]


    <SCRIPT src="http://www.komchadluek.net/js/slides.min.jquery.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript> $('#slides').slides({ preload: false, preloadImage: 'images/loading.gif', effect: 'fade', crossfade: true, fadeSpeed: 500, play:4500, pause: 1500, hoverPause:true, generateNextPrev: false, generatePagination: false, animationStart: function(current){ $('.caption').animate({ bottom:-35 },100); if (window.console && console.log) { // example return of current slide number console.log('animationStart on slide: ', current); }; }, animationComplete: function(current){ $('.caption').animate({ bottom:0 },200); if (window.console && console.log) { // example return of current slide number console.log('animationComplete on slide: ', current); }; }, slidesLoaded: function() { $('.caption').animate({ bottom:0 },200); } }); $(".slides_container").hide(); </SCRIPT>
    • [​IMG]
    • [​IMG]
    'ปู'มั่นใจกทม.ไม่ท่วมทุกเขต

    'ยิ่งลักษณ์' ระบุ ต้องแก้ปัญหาน้ำตามขั้นตอน สั่งกรมชลฯ เร่งวางชิพพลาย อุดรอยรั่วน้ำ คาดกลางเดือน พ.ย.แล้วเสร็จ มั่นใจ กทม.ไม่ท่วมทุกเขต เผย ระบายน้ำสะดุด เครื่องสูบ กทม.ใช้การไม่ได้ กว้านซื้อจากต่างประเทศ เตรียมใช้เวทีเอเปกแจงนานาชาติ ปัดสไกปด์ปรึกษาพี่ชาย


    2 พ.ย.54 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่คณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ดินโคลนถล่ม และภัยแล้ง แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและแก้ปัญหาน้ำท่วมเพื่อติดตามการเปิด-ปิดประตูน้ำ ต่างๆ เพื่อจัดระบบการระบายน้ำว่า ในรายละเอียดถ้าไปยึดตัวเลขเปิดประตูน้ำกี่ ซม.จะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานลำบาก ดังนั้น จึงต้องมีการตั้งคณะกรรมการที่น่าจะมีทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กทม. และกรมชลประทาน เป็นส่วนประกอบเพื่อลงไปดูในพื้นที่และให้ทั้ง 3 ฝ่าย ตกลงกันในเรื่องทางเทคนิค เพราะมีปัญหาว่า จะเปิดประตูระบายน้ำเท่าไหร่ เนื่องจากบางครั้งไม่สามารถพูดแค่ว่าเปิดประตูนี้แล้วจะดี เพราะเขาต้องดูว่าหากเปิดประตูนี้แล้วจะมีผลต่อประตูอื่นหรือเปล่านั่นคือ ที่มาของการตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าว เพื่อต้องการให้ลงไปดูหน้างานจริงว่าเป็นอย่างไร และการหารือกับมวลชนเพื่อให้มีผลกระทบน้อยที่สุดเป็นอย่างไร




    ผู้สื่อข่าวถามว่า มวลชนที่ออกมากดดันให้เปิดประตูระบายน้ำทำไมรัฐบาลไม่มีนโยบายที่จะเข้าไป ช่วยเพื่ออำนวยความสะดวกกับประชาชนในพื้นที่รับน้ำ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ในทางปฏิบัติเราทำทั้งหมดและเราพร้อม ซึ่งในบางชุมชนเรามีเจ้าหน้าที่เตรียมอพยพ และการดูแลเยียวยา แต่ในความเป็นจริงประชาชนอาจเกิดความเครียด ไม่ใช่เป็นเรื่องของการชดเชยแต่เป็นเรื่องความเครียด ซึ่งเป็นภาวะที่น้ำอยู่ที่คอแล้วทุกคนจะรู้สึกว่าไม่มีความหวังว่าน้ำจะระบายเมื่อใด จึงต้องใช้วิธีการอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ซึ่งบางคนอาจจะอยู่ในสภาวะที่รับได้ แต่บางคนอาจจะบอกว่ารับไม่ได้ แต่เราจำเป็นในแง่ของภาครัฐก็ทำงานร่วมกัน
    ทั้งนี้ ขั้นแรกเรื่องเทคนิคต้องตกลงกันให้ได้ว่าเป็นอย่างไร คนปฏิบัติเท่านั้นที่จะบอกว่าเปิดเท่าไหร่จะไม่กระทบต่อส่วนรวม เปิดเท่าไหร่ที่จะรักษาความสมดุลได้ เพราะหากเราปิดประตูหนึ่งไม่ได้เราอาจจะปิดอีกประตูหนึ่งได้ ในทางปฏิบัติเราจึงให้คณะกรรมการเข้าไปดู และหาทางแก้ไขมา และถ้าจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการอะไร หรือถึงขั้นที่ต้องออกกฎหมายก็ทำได้ เราไม่ได้นิ่งนอนใจ ไม่ได้ละเลย หรือไม่ได้อ่อนแอในการตัดสินใจ
    ส่วนที่ดูเหมือนกรมชลประทาน กทม.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ทำงานร่วมกัน ประชาชนจึงไม่แน่ใจว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เราต้องแก้เป็นเปราะ ๆ ต้องเรียนว่าวันนี้มีปัญหาอยู่ 2 ส่วน 1.เรื่องมวลชนอาจจะบอกว่ารัฐบาลไม่สามารถใช้อำนาจตัดสินใจ ก็ต้องเรียนว่าในเชิงข้อกฎหมายการบังคับใช้ไม่ยาก แต่วันนี้เราต้องทำเป็นขั้นตอน โดยการทำให้เข้าใจถึงข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงไม่ถูกกฎหมายต้องบังคับใช้ ตนถึงได้ใช้มาตรา 31 ของ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งถือเป็นกฎหมายสูงสุดแล้ว และจะหารือในมาตรการต่อไป 2.เรื่องเทคนิค ซึ่งบางอย่างประชาชนไม่ได้เป็นอุปสรรค
    อีกทั้ง บางครั้งมีหลายจุดคือเราแก้จุดนี้สำเร็จไม่ได้หมายความจะพ้นหมด เช่น ประตูระบายน้ำคลอง 1 เราเคลียร์มวลชนหมด ซึ่งมวลชนไม่มีประเด็นแล้ว แต่มีประเด็นที่น้ำเชี่ยวปิดประตูไม่ได้ต้องไปแก้ที่คลองอื่น จึงเป็นที่มา ไม่ใช่ว่ารัฐบาลไม่กล้าตัดสินใจ ส่วนคลองรังสิต 9 ขณะนี้ทำแล้วน้ำก็ระบาย แต่ช่วยบางส่วน ดังนั้น มาตรการมันต้องตรึงหลายตัว ประตูระบายน้ำต้องดูหลายประตูไม่ใช่ประตูเดียวจะสามารถแก้ทุกอย่างได้ อย่างกรณีที่ประตูระบายน้ำคลองสามวาก็มี 2 ส่วน คือ ระดับน้ำ ซึ่งเราให้หลักการคณะทำงานดูว่าระดับไหนที่จะไม่ให้กระทบ แต่จะเปิดกี่ซม.ต้องให้คณะทำงานเสนอมา อีกทั้งยังมีปัญหาประตูหลุดอีก ปัญหามันไม่ใช่มวลชนร้อยเปอร์เซ็นต์ มันมีเรื่องเทคนิคด้วย เราต้องพยายามแก้ทีละส่วน
    เมื่อถามว่า ต้องมอบความรับผิดชอบให้หน่วยงานต่างๆให้ชัดเจนลงไปปฏิบัติหือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า "มอบค่ะ"
    เมื่อถามว่า ในส่วนของประตูระบายน้ำน่าจะระบายน้ำได้ทั้ง 2 ส่วนหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า วันนี้กทม.จะเข้าไปทำ ซึ่งเขารับปากแล้วว่าจะซ่อมแซม ซึ่งเราจะอำนวยความสะดวกเข้าไปดูแล เพื่อไม่ให้ประชาชนเข้าไป ซึ่งต้องเรียนประชาชนว่าบางครั้งมีความจำเป็นที่ต้องขอความร่วมมือประชาชน ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปทำงาน เพราะการทำงานวันนี้คำนึงภาพรวม และคำนึงว่าประชาชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมมีความทุกข์ทรมาน เราไม่ได้บอกว่าจะต้องมาให้ประชาชนประสบกับน้ำท่วมตลอดเวลา แต่มันต้องชะลอส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อให้น้ำค่อย ๆ ระบายไป และวันนี้ระดับน้ำทะเลกำลังลดลง ซึ่งหลังจากที่น้ำทะเลลดต่ำกว่าน้ำในคลองเมื่อไหร่ น้ำในคลองจะระบายไป เหมือนกรณีนครสวรรค์ที่บอกว่ามวลน้ำก้อนใหญ่ได้ถูกออกไปตามคลอง ต่างๆ
    ดังนั้น ในกทม.จะเป็นกรณีเดียวกัน วันนี้เราคุยกันบอกว่ามวลน้ำก้อนใหญ่รู้สึกว่าลดลง แต่ในกทม.ยังไม่รู้สึก เพราะว่ากทม.เจอ 2 ส่วน คือน้ำที่เข้ามาแล้วที่ล้นมาจากระดับน้ำทะเลสูง ซึ่งจะเอ่อล้นคลองมา และมีส่วนของน้ำทะเลที่เบียดเข้ามาด้านใต้ทำให้คลองต่างๆเต็มทำให้การระบายยาก
    สำหรับช่วงนี้ระดับน้ำทะเลค่อย ๆ ลดลงวันละ 2-3 เซนติเมตร ซึ่งจากการที่ฟังคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำบอกว่าน้ำทะเลจะลดลงเรื่อย ๆ จนถึง วันที่ 8 พ.ย.ซึ่งตรงนี้เรามีความหวังว่าช่วงนี้จะเร่งระบายน้ำในทุกส่วน อย่างคลองแสนแสบวันนี้ยังรับน้ำได้อีก แต่ว่าน้ำไม่ไปต้องเร่งเรื่องเครื่องผลักดันน้ำก็ต้องไปถอดจากจุดอื่นเข้ามา ซึ่งวันนี้เราระดมเครื่องสูบน้ำ แต่เครื่องสูบน้ำไม่สามารถใช้ได้ทุกตัว เพราะต้องเป็นเครื่องขนาดใหญ่มีกำลังพอ บางครั้งระดับน้ำเสมอเท่ากันก็ไม่มีผลอีก ซึ่งมีปัญหาเทคนิคหลายอย่าง ไม่ใช่เรื่องการบริหาร
    ผู้สื่อข่าวถามว่า วันนี้เราประเมินสถานการณ์น้ำเข้าท่วมพื้นที่ชั้นในกทม.น้ำจะมีปริมาณมาก น้อยแค่ไหน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ในส่วนการระบายน้ำของฝั่งตะวันออกทำได้ดีขึ้น ส่วนฝั่งตะวันตกมีปัญหาตรงที่มวลน้ำที่เข้าไปแล้วรอยต่อต่างๆ ไม่ใช่แค่ส่วน ของประตูระบายน้ำเท่านั้น แต่วันนี้ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามีรูออกเยอะมากถึง 7 กม.เราได้เตรียมแท่งเหล็กชิพพลายกั้นไว้แต่เข้าไม่ได้ ขณะนี้ กรมชลประทานรับหน้าที่ดำเนินการโดยใช้ชิพพลายตอกซึ่งจะเริ่มทำงานได้ ในวันที่ 4 พ.ย.คาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางเดือน พ.ย.นี้ ทั้งนี้การระบายในฝั่งธนจะช้าบ้างหากเทียบกับบริเวณอื่น
    เมื่อถามว่า ภาพลักษณ์ประเทศเป็นส่วนสำคัญกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงเรื่องน้ำท่วม ต่อนานานชาติบ้างหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ได้เชิญทุกประเทศเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ ซึ่งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ได้ชี้แจงถึงความมั่นใจในการเตรียมความพร้อมที่จะฟื้นฟูประเทศ รวมทั้ง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผอ.ศปภ. นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คณะทำงานบริหารจัดการระบายน้ำในพื้นที่เกิดสาธารภัยร้ายแรง ได้ชี้แจงเรื่องการระบายน้ำ ซึ่งภาพรวมต่างประเทศเข้าใจแล้วว่า เป็นภัยธรรมชาติ แต่วันนี้สิ่งที่เราจะทำนอกเหนือจากชะลอไม่ให้น้ำท่วมมากขึ้นคือการเร่ง ฟื้นฟูเพราะว่าหลายจังหวัดเริ่มเข้าสู่ภาวะน้ำลดแล้ว เราต้องฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อเรียกความมั่นใจจากนานาประเทศ ซึ่งวันนี้ จ.พระนครศรีอยุธยาน้ำลดลงมากแล้ว และเรากำลังเตรียมแผนในการฟื้นฟูโดยระดมกู้สูบน้ำออกจากนิคม คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือน ซึ่งจะรวมถึงการฟื้นฟูเรื่องเครื่องจักรต่าง ๆ เราได้ลดหย่อนภาษีการนำเข้าอุปกรณ์ต่างๆ โดยประสานกับญี่ปุ่นซึ่งเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นให้ความร่วมมืออย่างมากทาง ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น(เจบิก)ได้ออกเงินกู้ให้ และพร้อมส่งช่างเทคนิคมาช่วยเหลือควบคู่กันไป
    “วันนี้เราสู้กับน้ำมาเยอะ ขณะเดียวกันเราต้องให้กำลังใจเพื่อให้ประเทศชาติเดินไปข้างหน้าเพราะเราต้อง ก้าวเดิน และทำให้ดีที่สุด แต่เราไม่สามารถจะหยุดน้ำได้ทุกจุด น้ำจะต้องมีบ้าง สิ่งที่เราต้องทำคือเร่งระบายน้ำให้เร็วที่สุด และเร่งฟื้นฟูประเทศให้กลับสู่สภาวะปกติ”น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
    ผู้สื่อข่าวถามว่า วันนี้พูดได้หรือไม่บางพื้นที่ กทม.จะรอดจากน้ำท่วม น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ได้ แต่ไม่สามารถบอกได้ชัดว่ากี่เขต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเร่งอุดรอยรั่วต่าง ๆ แต่บางครั้งเราจะเจอรอยรั่วขึ้นมาใหม่ เป็นสิ่งที่ยากจะบอก เพราะเราไม่เคยสำรวจเมื่อลงไปสำรวจแล้วได้รับรายงานว่า เครื่องสูบน้ำเสีย ทำให้ระบบการตัดสินใจทำงานไม่ได้จริง ๆ เพราะมีปัจจัยใหม่ขึ้นมาทุกวัน
    ส่วนเครื่องสูบน้ำสามารถนำเข้าจากต่างประเทศได้หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า วันนี้เรานำเข้าจากต่างประเทศหมด กวาดจากทุกที่ จากจีนและเกาหลีเข้ามาช่วยเหลือ แต่บางส่วนต้องสั่งนำเข้ามาวันนี้นำเข้ามา 20 กว่าตัว ได้นำไปติดตั้งแล้ว แต่อย่าลืมว่าทุกครั้งเราคุยกันเรื่องน้ำท่วมจะท่วมทีละจังหวัดแต่วันนี้น้ำ ท่วมไปแล้ว 57 จังหวัด และยังประสบภัยยู่ 27 จังหวัด อุปกรณ์ทุกอย่างถูกใช้ในเวลาเดียวกัน และเขื่อนที่ช่วยรับน้ำเต็มหมดแล้วเพราะเราเจอปัญหาพายุติดต่อกัน ดังนั้นเราจะนำน้ำไประบายลงตรงไหน น้ำมันต้องล้นแน่นอน
    ผู้สื่อข่าวถามว่า การปล่อยน้ำที่ไม่สมดุลที่เป็นอยู่ในขณะนี้จะแก้ไขอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เป็นปัญหาหนึ่ง ถ้าเราแก้ปัญหานี้เสร็จเรียบร้อยแล้วคงต้องมาหาข้อเท็จจริงกัน และหนทางแก้ไขป้องกัน
    เมื่อถามต่อว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จำเป็นต้องตั้งกระทรวงน้ำดูแลเป็นการเฉพาะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เป็นข้อเสนอหนึ่ง แต่สิ่งที่ตนจะเริ่มทำคือการจัดทำแผนหลัก หรือมาสเตอร์แพลนของประเทศ ซึ่งเราเตรียมงานกันอยู่เพราะสิ่งนี้ต่างหากที่คนไทย และต่างชาติต้องการเห็น เราต้องรวมผู้ที่มีความรู้จริงและหารือให้เป็นทิศทางเดียวกัน วันนี้ต่างทิศทางกันมาก การทำงานคงทำไม่ได้ถ้าต่างทิศทางกัน และเป็นปัญหาเทคนิคที่ไม่มีใครรู้ในเรื่องข้อเท็จจริงได้
    เมื่อถามว่า หลังเสร็จวิกฤตน้ำแล้วจะปรับครม.หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ขอดูก่อน
    ต่อข้อถามว่า เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี ได้สไกปด์กับ พ.ต.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่โรงแรมเอสซีปาร์ค หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบเพียงว่า "เปล่าค่ะ"
    เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรี จะลงพื้นที่เพื่อสำรวจหลังน้ำลดหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เรื่องการลงพื้นที่ทุกวันนี้เตรียมงานเลยไม่ได้ลงพื้นที่เพราะเตรียมแผนฟื้นฟูเร่งด่วน และเรื่องการสร้างความมั่นใจกับนักลงทุนไทยและต่างประเทศ
    ส่วนการเดินทางไปประชุม​ผู้นำ​เขต​เศรษฐกิจ​เอเชียและแปซิฟิกหรือเอเปก ที่เกาะฮาวาย สหรัฐอเมริกาวันที่ 12-13 พ.ย.จะชี้แจงการแก้ปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้นานาชาติเข้าใจหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ก็ต้องชี้แจงเพื่อสร้างความมั่นใจ จากนั้นจะไปชี้แจงในเวทีโลกในคราวเดียวกัน
    ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนจะเดินทางไปเอเปกนายกฯมั่นใจหรือไม่ว่าสถานการณ์น้ำจะดีขึ้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า "เชื่อว่าดีขึ้นค่ะ"

    -http://www.komchadluek.net/detail/20111102/113701/ปูมั่นใจกทม.ไม่ท่วมทุกเขต.html-

    --------------------------------------
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>“ปลอด” ฟันธงฝั่งธนฯ หนีไม่พ้นน้ำท่วมทุกเขต คาดท่วมขังนานครึ่งเดือน</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>2 พฤศจิกายน 2554 14:11 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    “รมว.วิทย์ฯ” ผุดไอเดียทำ “แผนที่ถนนน้ำ” แนะปชช.ปี ปักเสาตรวจระดับน้ำในท่อด้วยตัวเอง ยอมรับฝั่งธนฯ หนีไม่พ้นน้ำท่วมทุกพื้นที่ คาดไม่ต่ำกว่าครึ่งเดือน เปรยสู้มวลน้ำจากนนทบุรียาก แนะปล่อยไหลลงสู่ทะเลตามธรรมชาติ

    วันนี้ (2 พ.ย.)นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เปิดเผยว่า วันนี้ตนจะร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชชาญลงพื้นที่ กทม.ฝั่งธนบุรี เพื่อทำแผนที่ถนนน้ำ เพราะขณะนี้เราทราบแล้วว่าน้ำที่ท่วมฝั่งธนฯส่วนใหญ่เป็นน้ำที่ขึ้นมาจากท่อระบายน้ำ จึงจะไปวัดระดับน้ำของแต่ละท่อว่าสูงเท่าไร แล้วจะใช้จีพีเอสตรวจสอบและวางตำแหน่งบนแผนที่ โดยจะพยายามทำทุก 6 ชั่วโมง เพื่อจะได้แจ้งเตือนประชาชนให้ได้ทราบถึงสถานการณ์น้ำว่ามีแนวโน้มมาทางไหน และมีความลึกระดับใด โดยคาดว่าจะใช้เวลา 4-5 ชั่วโมงจะได้แผนที่ถนนน้ำออกมา ทั้งนี้อยากขอความร่วมมือให้ประชาชนนำไม้ไผ่ยาวติดธงปักลงให้ท่อระบายน้ำในพื้นที่ของตัวเอง เพื่อเป็นการช่วยเก็บข้อมูลทุก 3 ชั่วโมง เพื่อให้รู้ว่าระดับน้ำในแต่ละชั่วโมงมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเตรียมตัว รวมไปถึงต่อไปจะได้ประสานข้อมูลจากกล้องวงจรปิดเพื่อตรวจสอบระดับน้ำในแต่ละท่อระบายน้ำอีกด้วย

    รมว.วิทยาศาสตร์ กล่าวอีกว่า จากการลงพื้นที่ฝั่งธนฯที่ผ่านมายอมรับว่าปริมาณน้ำมากเหลือเกิน โดยเฉพาะที่บริเวณปากคลองทวีวัฒนา เพียงเวลาไม่กี่ชั่วโมงน้ำจากที่อยู่ระดับตาตุ่มขึ้นมาถึงระดับเอว ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ปลายคลองทวีวัฒนามีขนาดเล็กกว่าขนาดคลองทั้งเส้น ทำให้เกรงว่าสถานการณ์น้ำของฝั่งธนบุรีน่าจะหนักแน่ เพราะมีมวลน้ำอีกราว 2,500 – 3,000 ล้าน ลบ.ม.อยู่ที่ด้านนี้

    “เวลานี้อยากให้ชาวบ้านฝั่งธนฯช่วยกันปล่อยให้น้ำไหลตามธรรมชาติลงทะเลให้เร็วที่สุด เพราะเมื่อสู้น้ำไม่ได้ก็ไม่รู้จะสู้ไปทำไมปล่อยให้ไหลตามธรรมชาติดีกว่า โดยต้องยอมรับว่าทางฝั่งธนฯไม่สามารถสู้ได้ จึงต้องตัดใจ อย่างน้อยๆคาดว่าพื้นที่ฝั่งธนฯจะท่วมไม่ต่ำกว่า 15-21 วัน เช่นเดียวกับพื้นที่ จ.นนทบุรี เพราะปริมาณน้ำมาเร็วมาก” นายปลอดประสพ กล่าว

    ผู้สื่อข่าวถามว่า พื้นที่ฝั่งธนฯมีพื้นที่ใดบ้างที่มีโอกาสรอดจากภาวะน้ำท่วม นายปลอดประสพ กล่าวว่า คงเป็นไปได้ยาก เพราะน้ำที่มาจาก จ.นนทบุรี ไหลมาทางนี้ทั้งหมด ดังนั้นไม่ว่าส่วนใดก็มีความเสี่ยง โดยเฉพาะพื้นที่ริมคลอง แต่ดูรูปการณ์แล้วน่าจะโดนทั้งหมด ขอให้ประชาชนเตรียมตัวรับมือ

    เมื่อถามว่า ดูเหมือนรัฐบาลและ ศปภ.จะให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาทางฝั่งตะวันออกของ กทม.มากกว่า นายปลอดประสพ กล่าวว่า ฝั่งตะวันออกมีคนทำเยอะแล้ว ส่วนฝั่งตะวันตกก็มีตน กับนายรอยล จิตรดอน ที่ปรึกษาคณะทำงานบริหารจัดการระบายน้ำในพื้นที่ที่เกิดสาธารณภัยร้ายแรง ดูแลอยู่ตลอด และทำงานกันอย่างเต็มที่


    -http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000139673-

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ปลอดประสพ ฟันธงฝั่งธนฯ ท่วมทุกเขต


    ปลอดประสพ ฟันธงฝั่งธนฯ ท่วมทุกเขต (ไอเอ็นเอ็น)


    รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฟันธง ฝั่งธนบุรีท่วมทุกเขตแน่นอน เพราะมีน้ำจำนวนมากรอเข้าถล่ม แถมระบุ จะท่วมนาน 15-20 วัน ไม่เห็นด้วยกับการกั้นน้ำ

    นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า น้ำจะท่วมฝั่งธนบุรีเต็มพื้นที่อย่างแน่นนอน และจะท่วมนานประมาณ 15-20 วัน เนื่องจากขณะนี้ปริมาณน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตก มีถึง 2,500-3,000 ล้านลูกบาศก์เมตร อีกทั้งตนไม่เห็นด้วย ที่จะกั้นน้ำไว้ แต่ควรเร่งระบายลงสู่ทะเลโดยเร็วที่สุด ขณะเดียวกัน ช่วงบ่ายนี้ (2 พฤศจิกายน) ตนจะลงพื้นที่สำรวจระดับน้ำบริเวณฝั่งธนบุรี เริ่มจากถนนกาญจนาภิเษก ถนนเพชรเกษม และ ซอยพุทธมณฑล 1-4 พร้อมขอความร่วมมือจากประชาชนให้ช่วยวัดระดับน้ำ เพื่อเป็นข้อมูลส่งให้กับเจ้าหน้าที่

    นอกจากนี้ นายปลอดประสพ ยังกล่าวว่า ขอเวลาในการทำงานของกระทรวง เพื่อสรุปข้อมูลทำเป็นแผนที่แจ้งเส้นทางน้ำต่อไป




    ไอ.เอ็น.เอ็น.
    [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/63958-

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    วอนบริจาคเลือด กาชาดเผยน้ำท่วม ขาดแคลนหนัก



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    สภากาชาด จัดหน่วยบริจาคเลือดเคลื่อนที่ หลังจากเกิดภาวะขาดแคลนโลหิตอย่างหนัก สืบเนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วม

    จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ถนนหลายสายได้ปิดเส้นทาง ทำให้สภากาชาดไทยไม่สามารถออกหน่วยบริการรับบริจาคเลือดได้ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ทางศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย อยู่ในภาวะขาดแคลนโลหิต ดังนั้นจึงได้ร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ จัดศูนย์บริจาคโลหิตเคลื่อนที่ บริเวณธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ระหว่างวันที่ 1-4 พฤศจิกายน 2554 เวลา 09.00-15.00 น. และ 9 พฤศจิกายน เวลา09.00-16.00 น.




    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก มติชนออนไลน์
    [​IMG]


    -http://health.kapook.com/view32786.html-

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    10 Tips ดูแลสุขภาพจิต ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม กทม.


    10 Tips ดูแลสุขภาพจิต ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม กทม. (ไทยโพสต์)

    จากสถานการณ์วิกฤติน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ กทม.เพื่อลดความตื่นตระหนก และดูแลจิตใจประชาชนให้สามารถปรับตัวรับสถานการณ์ได้ "กรมสุขภาพจิต" ได้ออกมาแนะแนวทางดูแลจิตใจ 10 ข้อที่น่าสนใจดังนี้

    [​IMG] 1.หายใจเข้า-ออกช้า ๆ 2-3 นาที เพื่อทำให้ออกซิเจนเข้าสู่สมองแล้วความเครียดจะลดลง

    [​IMG] 2.การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยให้เกิดการตัดสินใจที่ดีขึ้น หากต้องติดตามข้อมูลข่าวสารควรผลัดเปลี่นหมุนเวียนกัน

    [​IMG] 3.การยืดเหยียดในท่าที่ผ่อนคลายจะช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้น

    [​IMG] 4.ความเครียดทำให้เรารับฟังกันน้อยลง จึงต้องดูแลตัวเองด้วย

    [​IMG] 5.แปลงความกังวลเป็นการลงมือทำ รวมพลังครอบครัวและชุมชมเตรียมรับสถานการณ์วิกฤติ

    [​IMG] 6.ไม่ด่า ไม่ว่า ไม่ทับถม อย่าให้ความหวังดีเป็นความขัดแย้งและทำร้ายกัน

    [​IMG] 7.ความกังวลใจจะลดลงได้หากได้ช่วยเหลือผู้อื่น ผู้ที่เป็นอาสาสมัครพบว่ามีปัญหาสุขภาพจิตน้อย

    [​IMG] 8.อย่าลืมมีเวลาเล่นเล่านิทานกับลูก เพราะว่าเด็กก็เครียดเป็น

    [​IMG] 9.การใส่ใจคนรอบข้างทำให้เราทุกข์น้อยลง

    [​IMG] 10.แบ่งเวลาทำสมาธิ สวดมนต์ไหว้พระ สร้างความสงบให้จิตใจ


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์
    [​IMG]




    -http://health.kapook.com/view32753.html-

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    การจัดหาน้ำดื่ม-น้ำใช้ ท่ามกลางภาวะน้ำท่วม




    การจัดหาน้ำดื่มและน้ำใช้ในครัวเรือนท่ามกลางภาวะน้ำท่วม (ม.อ.วิทยาเขตหาดใหญ่)

    ในภาวะน้ำท่วมอย่างกว้างในขณะนี้ น้ำดื่มบรรจุขวดหาซื้อได้ยากเนื่องจากโรงงานผลิตถูกน้ำท่วม การขนส่งยากลำบาก จำนวนและพื้นที่ผู้ได้รับผลกระทบที่ต้องการความช่วยเหลือมากกว่าและกว้างขวางกว่าหน่วยงานบรรเทาทุกข์จะช่วยได้ ระยะเวลาที่น้ำท่วมขังก็ยาวนาน ประชาชนจำเป็นต้องหาทางช่วยตนเองให้มากที่สุด

    ด้วยเหตุนี้ ศ.นพ.ดร.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หัวหน้าหน่วยระบาดวิทยา และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ จึงได้เสนอแนวคิดและข้อมูลทางเลือกต่าง ๆ ในการจัดหาน้ำดื่ม ผ่านทาง Online Disaster Resource ดังนี้

    การรองรับน้ำฝน

    ควรหาทางกักเก็บให้มากที่สุดในขณะฝนตก ถ้าภาชนะสะอาดพอ สามารถดื่มได้เลยเนื่องจากในช่วงน้ำท่วมนี้ระบบอุตสาหกรรมและการจราจรหยุดชะงัก ทำให้มลพิษทางอากาศน้อย

    การจับและรองรับน้ำค้าง

    หลักการทางวิทยาศาสตร์มีอยู่ว่า อากาศทั่วไปมีไอน้ำ ถ้าพื้นผิวเย็นด้วยเหตุใดก็ตาม ไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ

    การสร้างพื้นผิวจับน้ำค้างทำได้โดยให้พื้นผิวนั้น ๆ สูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อนขึ้นไปบนท้องฟ้าในคืนที่อากาศโปร่งปราศจากเมฆ ในขณะเดียวกัน ต้องไม่ให้ความร้อนที่สะสมอยู่ในตอนกลางวันซึ่งอยู่ใต้พื้นผิวนั้นเช่นจากพื้นดินหรือตัวบ้านมาทำให้พื้นผิวอุ่น

    ในทางปฏิบัติ ควรหาพื้นที่โล่ง ไม่มีร่มไม้หรือชายคาปกคลุม ใช้ผ้ายางหรือไวนิลบาง ๆ ผิวมันสะอาดลื่นซึ่งแผ่รังสีได้ดีและน้ำไม่เกาะง่าย ตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ขึงเอียงประมาณ 30 องศา ชายขอบบนตรึงขนานกับพื้นดิน ชายล่างอยู่เหนือพื้นประมาณ 1 ฟุต คล้าย ๆ ขึงเต็นท์ ไม่ควรให้สูงเกินไปเพราะบริเวณใกล้พื้นมีความชื้นสูงกว่าที่สูง และควรพ้นจากพื้นดินพอสมควรเพื่อไม่ให้ความร้อนจากพื้นดินที่สะสมอยู่ทำให้น้ำค้างระเหย ชายขอบบนตรึงขนานกับพื้นดิน ขอบล่างหย่อนเล็กน้อย เพื่อจัดภาชนะรองรับหยดน้ำที่ไหลลงจากผ้ายางได้ง่ายขึ้น

    บ้านที่มีหลังคาเป็นแผ่นโลหะ (metal sheet) ก็อาจจะมีน้ำค้างจากหลังคาอยู่แล้วในบางวันเนื่องจากกลไกดังกล่าว การเสริมฉนวนเช่นแผ่นโฟมใต้แผ่นโลหะป้องกันความร้อนจากตัวบ้านไม่ไปถึงแผ่นโลหะหลังคาจะเพิ่มน้ำค้างได้มาก

    น้ำค้างมีปริมาณน้อยกว่าน้ำฝนมาก ในฤดูกาลและภาวะที่เหมาะสม อาจจะได้น้ำค้างเทียบเท่ากับฝนตก 0.3 มม. พื้นที่จับน้ำค้างขนาด 2 x 5 เมตร หรือ 10 ตารางเมตรจึงจับน้ำค้างได้ไม่เกิน 3 ลิตรต่อวันซึ่งอาจจะเพียงพอสำหรับใช้ดื่มหรือปรุงอาหารสำหรับคนหนึ่งคนในวันนั้น แต่อาจจะมีข้อจำกัดทางภูมิอากาศทำให้ไม่สามารถผลิตน้ำค้างในบางพื้นที่ได้

    การกรองน้ำ

    หากที่ไม่สามารถเก็บกักน้ำฝนและน้ำค้าง กรวดและทรายที่บรรจุถุงป้องกันน้ำท่วมเป็นวัสดุกรองที่ดีในยามยากสำหรับกรองน้ำที่ท่วมอยู่มาใช้งานชั่วคราว นำที่กรองได้เหมาะสำหรับใช้ในครัวเรือนแต่ไม่ควรนำมาใช้ดื่ม

    การตกตะกอน

    สิ่งสกปรกจำนวนมากอยู่กับตะกอน การทำให้น้ำตกตะกอนโดยการแกว่งสารส้ม หรือ ปล่อยทิ้งไว้ให้ตกตะกอนเอง แล้วจึงเอาน้ำใสตอนบนมาใช้ หรือ กรองแล้ว ฆ่าเชื้อก่อนใช้ จะได้น้ำที่ปลอดภัยมากขึ้น

    ระบบกรองน้ำฉุกเฉิน

    ทรายสำหรับบรรจุถุงทำเขื่อนป้องกันน้ำท่วม นำบรรจุใส่ถังน้ำพลาสติกหรือโอ่งน้ำ ให้ทรายมีความหนา 80 ซม จะช่วยให้น้ำที่ตกตะกอนแล้วใสยิ่งขึ้น และมีเชื้อโรคน้อยลง

    การฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน

    การฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน ทำได้ง่าย ใช้น้ำยาคลอรีนหรือไฮเตอร์ 8 หยดต่อน้ำหนึ่งแกลลอน หรือ 2 หยดต่อน้ำหนึ่งลิตร ตั้งทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที คลอรีนฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ดีพอสมควร แต่ไม่หมดโดยเฉพาะถ้าน้ำขุ่น ดังนั้นการปล่อยให้น้ำตกตะกอนและกรองให้ดีเสียก่อนจึงเป็นสิ่งสำคัญ

    น้ำที่ผ่านขั้นตอนดังกล่าวตามลำดับ คือ ตกตะกอน กรอง และ เติมคลอรีนแล้ว มีคุณภาพเท่าหรือใกล้เคียงกับน้ำประปา ถ้าทำครบถูกต้องทุกขั้นตอนและแหล่งน้ำดิบไม่สกปรกมาก ก็พอใช้หุงต้มอาหารได้

    ถ้าจะใช้เป็นน้ำดื่ม น่าจะฆ่าเชื้อโดยการต้ม หรือ อย่างน้อยฆ่าเชื้อด้วยแสงแดดเป็นขั้นสุดท้าย

    การฆ่าเชื้อด้วยแสงแดด (Solar Disinfection หรือ SODIS)

    เชื้อโรคส่วนใหญ่ในน้ำ ตายด้วยความร้อน แสง ultra-violet (UV) และ อนุมูลออกซิเจนอิสระ กระบวนการ SODIS อาศัยหลักการดังกล่าวในการผลิตน้ำดื่มที่ปลอดภัย

    สิ่งที่จะต้องเตรียม ได้แก่...

    [​IMG] 1.ขวดน้ำเชิงพาณิชย์ ทำด้วยพลาสติคใส (ขวด PET) ที่ดื่มน้ำหมดแล้วพร้อมฝาที่ปิดได้แน่นสนิท ขนาดไม่เกินสองลิตร เมื่อวางนอนแล้วความหนาที่แสงอาทิตย์ผ่านไม่เกิน 10 ซม. ขวดยิ่งชะลูด(ขวดผอม) ยิ่งดี รังสีดวงอาทิตย์จะได้ทะลุทะลวงได้มาก ขวดต้องไม่เก่าหรือมีรอยขีดข่วนมากเกินไป เพราะรังสีจะผ่านได้ไม่ดี ภายในขวดสะอาด แกะฉลากภายนอกและพลาสติกหุ้มออกให้หมด

    [​IMG] 2. แหล่งน้ำสะอาดที่สุดเท่าที่จะหาได้ ตามที่แนะนำข้างบน คือ น้ำฝน น้ำค้าง ครัวเรือนที่ดื่มน้ำฝน ถ้าต้องการประหยัดพลังงานและต้องการให้ทุกคนในบ้านแข็งแรงดี อาจจะใช้วิธีนี้แทนการต้มก็ได้เลย ถ้าจะใช้น้ำท่าหรือน้ำหลากที่อยู่รอบบ้าน ต้องพิจารณาว่าแหล่งน้ำนั้นมีการปนเปื้อนรุนแรงเพียงไร เช่น อยู่ใต้น้ำของบริเวณถมขยะ หรือ เป็นแหล่งน้ำทิ้งของระบบอุตสาหกรรมก็จะไม่เหมาะ ถ้าคิดว่าปนเปื้อนไม่มาก ก็จัดการให้ผ่านกรรมวิธี ตกตะกอน กรอง และเติมคลอรีน ดังกล่าวมาแล้ว อย่าลืมว่า SODISไม่สามารถแก้ปัญหาสารเคมีปนเปื้อน และไม่เหมาะกับน้ำขุ่น

    [​IMG] 3. การตรวจความใสของน้ำก่อนฆ่าเชื้อด้วยแสงแดด ลองบรรจุน้ำให้เต็มขวด เปิดฝาวางทับหนังสือพิมพ์รายวันหน้าแรก ควรจะสามารถมองจากปากขวดลงไปก้นขวด อ่านพาดหัวข้อข่าวรองได้ (ตัวอักษรในแนวหลักขนาด 3.5 ซม.) ชัดเจน แสดงว่าน้ำใสพอ

    [​IMG] 4. จัดบริเวณที่จะวางขวดตากแดดให้ร้อน โดยเฉพาะถ้ามีโลหะ เช่น แผ่นสังกะสีลูกฟูก หรือ อะลูมิเนียมจะดีมาก เพราะความร้อนจะช่วยทำให้การฆ่าเชื้อโดย UV และอนุมูลออกซิเจนอิสระ ทำงานได้ดีขึ้น

    วิธีการฆ่าเชื้อ

    1. กรอกน้ำที่ปลอดภัยดังกล่าวลงขวดให้ได้ประมาณ 3 ใน 4 ขวด

    2.เขย่าแรง ๆ อย่างน้อย 20 ครั้ง ให้อากาศ (ออกซิเจน) ผสมกับน้ำให้ทั่ว

    3.เติมน้ำให้เต็มขวด ปิดฝาแน่นสนิท

    4.วางขวดในแนวนอน ตากแดดบนพื้นตามข้อ 4 ข้างบนทิ้งไว้ อย่าพยายามขยับขวดโดยไม่จำเป็น เพื่อให้ออกซิเจนไม่แยกตัวจากน้ำ

    [​IMG] ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ถ้าแดดจัด พื้นที่วางเป็นโลหะและน้ำค่อนข้างใส

    [​IMG]ใช้เวลา 6 ชั่วโมง ถ้าวางบนพื้นกระเบื้องหรือซีเมนต์

    [​IMG]ให้วางทิ้งไว้ 2 วันถ้ามีเมฆมาก

    ถ้าฝนตกตลอด แดดไม่ออกเลย ให้รองน้ำฝนดื่มแทน

    น้ำในขวดดังกล่าวนำไปดื่มได้เลย หรือจะเก็บไว้ดื่มในภายหลังก็ได้ แสงแดด ความร้อน และออกซิเจนจะทำปฏิกิริยากัน มีผลในการฆ่าเชื้อโรคทั้งแบคทีเรีย ไวรัส และพยาธิ 99.9% แต่อาจจะมีสาหร่ายเซลเดียวซึ่งทนรังสียูวีและความร้อนซึ่งอาจจะจับตัวเป็นตะไคร่น้ำในขวดได้ถ้าเก็บขวดไว้นาน แต่น้ำที่มีสาหร่ายเหล่านี้ไม่มีอันตรายต่อผู้ดื่มทั่วไปที่มีภูมิคุ้มกันปกติ

    หมายเหตุ

    1.เทคโนโลยี SODIS เป็นผลงานวิจัยและพัฒนาโดยองค์การนานาชาติ SODIS: Willkommen bei SODIS

    2.ขวดน้ำใส PET หรือ Poly Ethylene Terephthalate (โพลีเอทธิลีนเทเรฟทาเลต) ที่ตากแดดในระดับนี้ ปลดปล่อยสารเคมีน้อยมาก ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ไม่เหมือนวัสดุประเภท PVC ทุกวันนี้เราก็ดื่มน้ำบรรจุขวด PET กันเป็นประจำอยู่แล้ว

    3.สรุปว่าการนำข้าวของไปแจกชาวบ้านที่ติดอยู่ในบริเวณน้ำท่วม นอกเหนือจากอาหารและน้ำขวดแล้ว ควรจัดหาสารส้มและคลอรีนหรือไฮเตอร์ไปใช้ฆ่าเชื้อในน้ำด้วย



    -http://hilight.kapook.com/view/64289-

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ลองดูน๊ะครับว่า ในการรายงานของหน่วยงานต่างๆ มีการรายงานการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมกันกี่หน่วยงาน

    อย่างที่ผมเคยบอก ต้องเก็บเรื่องอุทกภัยครั้งนี้ไว้เป็นบทเรียน(ที่ล้ำค่า)ว่า ใครทำอะไร เพื่อใครบ้าง

    แต่หากจะโง่กันต่อไป เมื่อมหาภัยครั้งต่อไปมาเยือน ก็อย่าบ่น เพราะคุณเลือกของคุณเอง จะโทษใครได้ หากจะโทษ ต้องโทษตัวเอง และก้มหน้ารับกันไป



    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    [​IMG]
    <table border="0"><tbody><tr><td>
    </td><td>
    </td></tr><tr><td><table border="0"><tbody><tr><td>
    </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> [SIZE=+1]Website หน่วยงานในสภากาชาดไทย[/SIZE]</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> สำนักงานบริหาร</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2256-4088</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2252-7795</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1871 อาคารเทิดพระเกียรติฯ ชั้น 4 ถ.พระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://www.redcross.or.th/aboutus/bureau/administration</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2251-7858-9 ต่อ 2115</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2251-7858</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1871 อาคารเฉลิมบูรณะนนท์ ถ.อังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> สำนักบริหารกิจการเหล่ากาชาด</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2256-4043-4</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2252-1688</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1871 อาคารเทิดพระเกียรติฯ ชั้น 8 ถ.พระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://chapternews.redcross.or.th/</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> สำนักวิเทศสัมพันธ์</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2256-4038,0-2256-4048</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2255-3064</td> </tr> <tr> <td> อีเมล์</td> <td> intertrc@redcross.or.th</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1871 อาคารเทิดพระเกียรติฯ ชั้น 4 ถ.พระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> สำนักสารนิเทศและสื่อสารองค์กร</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2256-4032-6</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2255-3727</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1873 ตึกบริพัตร ถ.พระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2250-1849, 0-2252-4329 ต่อ 119</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2250-1848</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย ถ.พระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://museum.redcross.or.th</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2251-7853-6</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2252-7976</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1871 อาคารเฉลิมบูรณะนนท์ ถ.อังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://www.redcross.or.th/aboutus/bureau/firstaid</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2256-4015, 0-2255-3065</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2255-3065</td> </tr> <tr> <td> อีเมล์</td> <td> it@redcross.or.th</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1871 อาคารเทิดพระเกียรติฯ ชั้น 10 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://www.redcross.or.th/aboutus/bureau/it
    </td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> ศูนย์วิจัยโรคเอดส์</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2256-4107-9</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2254-7577</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 104 ถนนราชดำริ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://www.trcarc.org/</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> ศูนย์ดวงตา</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2256-4039-40</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2252-4902</td> </tr> <tr> <td> อีเมล์</td> <td> eyebank@redcross.or.th</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1871 อาคารเทิดพระเกียรติฯ ชั้น 7 ถ.อังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://www.eyebankthai.com/</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2256-4045-6, 1666</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2255-7968</td> </tr> <tr> <td> อีเมล์</td> <td> odc-trcs@redcross.or.th</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1871 อาคารเทิดพระเกียรติฯ ชั้น 5 ถ.พระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://www.organdonate.in.th/</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2389-0853-4</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2395-4068</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู อ.เมือง จ.สมุทรปราการ</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://www.redcross.or.th/aboutus/bureau/rehabitition</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2254-2200,0-2256-4209,0-2254-4736</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2256-4399</td> </tr> <tr> <td> อีเมล์</td> <td> trcch@redcross.or.th</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1873 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://www.redcross.or.th/aboutus/bureau/childrenhome</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> สำนักงานโภชนาการวังสวนจิตรลดา</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2282-7890</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2282-7890</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> สวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพฯ</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://www.redcross.or.th/aboutus/bureau/nutrition</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> สำนักงานตรวจสอบสภากาชาดไทย</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2256-4000</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2251-1580</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1873 ถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> สำนักงานกลาง</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2256-4018-24</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2252-7789</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1873 ถ.พระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://www.redcross.or.th/aboutus/bureau/central</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> ศูนย์ราชการุณย์ สภากาชาดไทย จ.ตราด</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 039-501-015, 039-521-838, 087-600-0686,081-926-2803, 089-769-2475 (ผจก)</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 039-521-621</td> </tr> <tr> <td> อีเมล์</td> <td> khaolan@redcross.or.th</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> ศูนย์ราชการุณย์ สภากาชาดไทย เขาล้าน ปณ.13 อ.คลองใหญ่ จ.ตราด 23110</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://www.redcross.or.th/khaolan</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2256-4000</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2256-4368</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1873 ถ.พระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://www.chulalongkornhospital.go.th/</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2251-7853-6</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2252-7976</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1871 อาคารเทิดพระเกียรติฯ ชั้น 3 ถ.พระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://www.rtrc.in.th</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> สถานเสาวภา</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2252-0161-4</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2254-0212</td> </tr> <tr> <td> อีเมล์</td> <td> qsmi@redcross.or.th</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> สถานเสาวภา สภากาชาดไทย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://www.saovabha.com/</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> สำนักงานยุวกาชาด</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2252-5002-3</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2252-5004</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1871 อาคารเฉลิมบูรณนนท์ ถ.อังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://www.thaircy.org/</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> สำนักงานอาสากาชาด</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2251-0385, 0-2251-0582, 0-2252-6913</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2252-8711</td> </tr> <tr> <td> อีเมล์ </td> <td> volun@redcross.or.th</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1873 ถ.ราชดำริ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://vb.redcross.or.th/</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> </td> </tr> <tr> <td> ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ</td> <td> </td> </tr> <tr> <td> เบอร์โทรศัพท์</td> <td> 0-2263-9600-99</td> </tr> <tr> <td> เบอร์แฟกซ์</td> <td> 0-2255-5558</td> </tr> <tr> <td> อีเมล์</td> <td> blood@redcross.or.th</td> </tr> <tr> <td> สถานที่ติดต่อ</td> <td> 1871 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330</td> </tr> <tr> <td> เว็บไซต์หน่วยงาน :</td> <td> http://www.blooddonationthai.com/</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>สื่อนอกเชิดชูพระอัจฉริยภาพ “ในหลวง” วางโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>3 พฤศจิกายน 2554 09:36 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    <TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    เอเจนซี - สำนักข่าวระดับโลกเผยแพร่รายงานเชิดชูพระอัจฉริยภาพ “ในหลวง” ที่ทรงวางโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนท่ามกลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เรื่องที่ประชาชนไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก จนกระทั่งต้องเผชิญมหาอุทกภัยครั้งเลวร้าย

    บทความเรื่อง In Thailand, a battle royal with water ระบุว่า อุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดของไทย คือสิ่งที่พระองค์พยายามอย่างหนักสำหรับหาทางปกป้องมาตลอด พระองค์ทรงเคยเตือนแต่ไม่มีใครใส่ใจต่อการถึงการพัฒนารวดเร็วเกินไป และทรงมีแนวคิดต่างๆ เพื่อบรรเทาความเสียหายจากการหนุนของน้ำทะเลในแต่ละปี นอกเหนือจากการรับมือกับฤดูน้ำหลาก

    วิกฤตของประเทศไทยจากน้ำท่วมใหญ่เวลานี้ ซึ่งคร่าชีวิตประชาชนเกือบ 400 ราย และ พลเมืองนับแสนต้องกลายเป็นผู้อพยพ เป็นทั้งบทเรียนที่แสนแพงจากการละเลยคำเตือนของพระองค์และการฝืนควบคุมพลังธรรมชาติที่มีศักยภาพเหนือกว่ากำลังของมนุษย์

    ในบทความของเอพียังอ้างนักวิเคราะห์จากต่างประเทศตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดที่มีความสามารถในการประสานงาน และวางแผนการจัดการน้ำให้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ทัดเทียมพระองค์ บางสิ่งที่หลายคนวิจารณ์ว่าไทยขาดแคลนโดยสิ้นเชิง

    แม้ในเวลานี้ที่เมืองหลวงของไทยกำลังดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อต่อสู้กับมวลน้ำที่ไหลหลั่งมา พระองค์ก็ยังทรงแนะนำถึงแนวทางการผันน้ำจากทางตอนเหนือลงสู่ทะเลโดยตรง ซึ่งเป็นหนทางที่ดีที่สุด แต่ไม่เหมือนกับในอดีตเพราะพระสุรเสียงของพระองค์ก็ไม่อาจดลใจให้ภาครัฐดำเนินการตามที่พระองค์มีรับสั่งได้

    เอพีระบุว่า ในหลวงทรงมีผลงานด้านการจัดการน้ำโครงการแรกเมื่อปี 1963 โดยทรงสร้างเขื่อนกั้นน้ำจืดเพื่อป้องกันน้ำทะเลปนเปื้อนในแหล่งน้ำจืดที่อำเภอหัวหิน และจนถึงวันนี้ทรงมีโครงการในพระราชดำริมากกว่า 4,300 โครงการ โดยร้อยละ 40 ของโครงการเหล่านั้นเป็นโครงการบริหารจัดการน้ำ

    เดวิด เบลค ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำแห่งมหาวิทยาลัยอีสต์ แองเกลีย ประเทศอังกฤษ ซึ่งทำวิจัยเกี่ยวกับโครงการจัดการน้ำในประเทศไทย กล่าวว่า “นโยบายด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ และการดำเนินการตามแนวพระราชดำริ ที่พระองค์ทรงทุ่มเทเวลากว่า 40 ปี ในการดำเนินการ”

    “แม้ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเอเชียเฟื่องฟู พระองค์ก็ทรงเฝ้าเตือนประชาชนเกี่ยวกับอุทกภัย การจราจรติดขัดและความทุกข์ยากต่างๆ” นายโดมินิก เฟาล์เดอร์ บรรณาธิการอาวุโสหนังสือเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่กำลังจะตีพิมพ์กล่าว “แต่น่าเสียดายที่คำเตือนนั้นเป็นเรื่องที่ผู้คนจำนวนมากไม่อยากได้ยิน เปรียบได้ดั่งยาขมที่ทุกคนไม่ต้องการรับประทาน”

    เขาบอกต่อว่า “พระองค์ทรงมุ่งหวังพยายามคลี่คลายปัญหา ทว่าก็ถูกโต้เถียงจากนักการเมือง และข้อเท็จจริงก็คือสิ่งที่เรากำลังได้เห็นในตอนนี้”

    บทความของเอพีระบุว่า พระองค์ทรงตั้งชื่อโครงการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ว่า “แก้มลิง” โดยอธิบายจากพฤติกรรมของลิงที่พระองค์ทรงเลี้ยงครั้งยังทรงพระเยาว์ ที่เก็บอาหารไว้ที่กระพุ้งแก้มให้ได้มากที่สุดก่อนที่จะกลืนลงคอในภายหลัง

    ทั้งนี้ น้ำทางเหนือที่กำลังมุ่งสู่กรุงเทพฯ จะถูกเปลี่ยนทิศไปยังแก้มลิง ก่อนจะไหลลงทะเลหรือเข้าสู่ระบบชลประทานอย่างรวดเร็ว โดยโครงการนี้ยังรวมไปถึงการสร้างแหล่งเก็บน้ำต่างๆเช่น บ่อ ลำคลอง และประตูน้ำ พร้อมๆ กับการปรับปรุงระบบการระบายน้ำในกรุงเทพฯ จนทำให้เมืองหลวงแห่งนี้ไม่เผชิญกับปัญหาน้ำท่วมนานกว่าทศวรรษ

    เบลคกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ในโครงการนี้จะมีชุมชนบางส่วนรอบกรุงเทพฯต้องเสียสละเพื่อปกป้องใจกลางเมืองหลวง และบางครั้งหน่วยราชการก็ผันน้ำเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรแทนที่จะเป็นแหล่งเก็บน้ำ อย่างไรก็ตามเวลานี้พื้นที่ที่สามารถเป็นแก้มลิงทั้งทางตะวันตก ตะวันออกและทางเหนือของเมือง กลายสภาพเป็นเขตอุตสาหกรรม บ้านเรือนราษฎร สนามกอล์ฟและสนามบินนานาชาติไปเสียแล้ว

    ในช่วงต้นปี 1971 พระองค์ทรงเคยเตือนว่า การตัดไม้ทำลายป่าในผืนป่าทางเหนือของประเทศอาจจุดนวนอุทกกภัยในอนาคต เนื่องจากจะไปลดประสิทธิภาพของดินในการดูดซับน้ำ และวันนี้ก็เป็นที่ยอมรับแล้วว่ามันมีส่วนเกี่ยวข้องกับอุทกภัยครั้งนี้ด้วย

    ขณะที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญต่อการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน พระองค์ที่ทรงเป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งประเทศ ส่งเสริมให้เรื่องการบริหารจัดการน้ำเป็นวาระแห่งชาติ


    -http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000140066-

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พวกที่ลือนี่ มั่วมากๆๆๆ

    อย่าไปโง่ตามครับ


    ------------------------------------------------

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ลือสะพัดชายแดนไทย-ลาวน้ำท่วมกรุงเทพฯเหตุผิดคำสาบานพระแก้วมรกตของศักดินาในอดีต</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>3 พฤศจิกายน 2554 10:41 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="https://ssl.gstatic.com/webclient/js/gc/24805178-fa62ba1b/googleapis.client__plusone.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    [​IMG]


    นครพนม-ใบปลิวว่อนชายแดนไทย-ลาวด้านจังหวัดนครพนม ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาลาวระบุเหตุน้ำท่วมกรุงเทพฯ เพราะผิดคำสาบานพระแก้วมรกตของศักดินาในอดีต

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วง 1-2 วันนี้ที่ จ.นครพนม ได้มีใบปลิวเนื้อหาเป็นภาษาลาว ระบุน้ำท่วมกรุงเทพฯ เพราะคำสาบานในอดีต แจกจ่ายแพร่สะพัดในตลาดโต้รุ่ง ร้านคาเฟ่อินเทอร์เน็ต และยังแปลข้อความในใบปลิวจากภาษาลาวเป็นภาษาไทยโพสต์ข้อความเฟซบุ๊กต่อๆกัน

    สำหรับข้อความในใบปลิวดังกล่าว ระบุหัวข้อตั้งคำถามน้ำท่วมกรุงเทพฯเป็นเพราะคำสาบานในสมัยอดีตจริงหรือไม่ ด้วยเหตุใดพระแก้วมรกรตของลาวจึงไปอยู่ในประเทศไทย

    ข้อความเล่าย้อนไปในอดีตว่า ภายหลังเจ้าอนุวงศ์ได้เสียชัยให้กับสยาม(กรุงเทพฯ)แล้ว ศักดินาสยามก็พยายามจะเอาพระแก้วมรกตไปสถิตไว้อยู่ประเทศไทย พวกเขาได้ใช้ความพยายามหลายวิธี แต่ไม่สามารถยกพระแก้วมรกตขึ้นได้ ฉะนั้น ศักดินาสยามจึงให้หมอดูลาว 5 คน เพื่อไปอ้อนวอนช่วย

    โดยมีเหตุผลอ้างอิงว่า ปัจจุบันนั้นเมืองลาวเกิดความวุ่นวายไม่สงบ ฉะนั้น จึงขออัญเชิญพระแก้วมรกตนี้ย้ายไปสถิตที่กรุงเทพฯ ถ้าหากว่าวันใดเมืองลาวมีความสงบ จะอัญเชิญพระแก้วมรกตไปสถิตสถานไว้ที่เมืองลาวเหมือนเดิม

    ข้อความยังระบุต่อไปว่า เพื่อเป็นการยืนยันศักดิ์ศรีของศักดินาสยามในเวลานั้น พวกเขาได้สาบานไว้ว่า “ถ้าหากประเทศไทยไม่ปฏิบัติตามคำสาบานดังกล่าวนี้ ขอให้มีมหันตภัย 5 อย่างเกิดขึ้นแก่ประเทศไทยดังนี้”

    ขอให้น้ำท่วมบ้านท่วมเมือง, ขอให้ประเทศไทยไม่มีความสงบ เจริญรุ่งเรือง การเมืองให้มีความสับสนวุ่นวาย, อาณาจักรเดียวขอให้แบ่งเป็นหลายชาติ ความเป็นเอกราชขอให้พังทลาย, ราชบัลลังก์ขอให้ถูกโค่นล้ม, ดินส่วนหนึ่งขอให้จมลงทะเล

    เมื่อศักดินาสยามได้ยืนยันคำสาบานดังกล่าวแล้ว หมอดูลาวทั้ง 5 คนจึงพร้อมกันอัญเชิญพระแก้วมรกตตามจุดประสงค์ของไทย จากนั้นศักดินาสยามจึงสามารถยกเอาพระแก้วมรกตของลาวไปประดิษฐานอยู่ที่กรุงเทพฯจนถึงปัจจุบันนี้

    นอกจากนี้ ในท้ายข้อความในใบปลิวยังอ้างว่า หนังสือฉบับนี้เอามาจากหอสมุดของแขวงหลวงพระบาง ต้นฉบับเป็นภาษาลาว ลงวันที่ 12/2/2010

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้มีข่าวลือสะพัดต่อเนื่องว่า มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ของไทย อาจเกี่ยวข้องกับคำสาปหรือคำสาบานของไทยและลาว แต่ยังไม่มีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรยืนยันที่อ้างว่ามีบันทึกอยู่ในหอสมุดแห่งชาติลาว

    กระทั่งมีผู้นำใบปลิวจากฝั่งลาวมาเผยแพร่ดังกล่าว ผู้นำใบปลิวมาเผยแพร่ยังระบุว่าชาวลาวมีใบปลิวข้อความเนื้อหาข้างต้นแทบทุกครัวเรือน

    -http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000140061-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    'จุลินทรีย์'บำบัดน้ำเสียฟื้นคืนคุณภาพแหล่งน้ำ


    พิบัติภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน อีกด้านหนึ่งหลังจากน้ำท่วมขังนิ่งเป็นเวลานานยังทำให้เกิดการเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น

    การฟื้นฟูคุณภาพน้ำ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาน้ำเน่าเสียในช่วงเวลานี้ รวมทั้งยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายหลังจากน้ำลดและจากที่หลายหน่วยงานได้ร่วมกันให้ความช่วยเหลือ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมาประสานความร่วมมือกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. นำดาสต้าบอลจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง

    อ.ดำรงศักดิ์ แก้ววงษ์ไหม ที่ปรึกษาองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ให้ความรู้ว่า ในสถานการณ์น้ำท่วมขังการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นกระบวนการทางชีวภาพ แต่อย่างไรก็ตามคงต้องทราบก่อนว่าทำไมจึงต้องใช้จุลินทรีย์ทั้งนี้อาจเป็นเพราะจุลินทรีย์ในพื้นที่บริเวณนั้นมีไม่พอที่จะสามารถกำจัดของเสียได้

    ขณะเดียวกันพื้นที่บริเวณนั้นมีสภาวะไม่เหมาะสมทำให้จุลินทรีย์ตายไป อีกทั้งอาจมีจุลินทรีย์ที่ไม่เหมาะสมอยู่ในพื้นที่จึงมีความจำเป็นต้องใช้จุลินทรีย์เติมลงไปในการกำจัดของเสีย ดังนั้นหากน้ำท่วมขังนานเกินกว่าสัปดาห์ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวจะเริ่มส่งผลเกิดการหมักตัวของของเสียไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ใบหญ้า ขยะ ฯลฯ สารอินทรีย์จำนวนมากเหล่านี้จะไปดึงออกซิเจนในน้ำต่ำลงเกิดการหมักตัวของของเสีย กลุ่มจุลินทรีย์ก็จะทำให้เกิดก๊าซมีเทน จุลินทรีย์บางสายพันธุ์ทำให้เกิดซัลเฟอร์ ฯลฯ ซึ่งเมื่อน้ำท่วมขังเน่าเสียก็จะส่งผลกระทบในหลายด้านทั้งเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค แพร่ระบาดของเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นฉี่หนู เชื้อรา ฯลฯ อีกทั้งน้ำที่เน่าเสียไม่สามารถนำน้ำมาใช้อุปโภคบริโภคได้

    “การฟื้นฟูคุณภาพน้ำหากเป็นช่วงที่สถานการณ์ปกติอาจมีหลายแนวทางแก้ไข อย่างการเติมอากาศเพิ่มออกซิเจนซึ่งก็เป็นทางหนึ่ง แต่ช่วงน้ำท่วมขังการควบคุมพื้นที่เป็นไปได้ยากลำบากจึงมีความพยายามในการเพิ่มจุลชีพหรือจุลินทรีย์ลงไป ซึ่งจุลินทรีย์นั้นมีด้วยกันหลายชนิด โดยทั่วไปจะใช้เชื้อที่เหมาะสมเป็นสายพันธุ์ที่แข็งแรงไม่กลายพันธุ์ง่ายและเป็นเชื้อที่มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมได้ดี”

    จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจากที่มีใช้กันและมีการจัดทำขึ้นในลักษณะทรงกลมทำเป็นจุลินทรีย์บอลจะมีการเติมเชื้อจุลินทรีย์ลงไปผสมกับส่วนผสมหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแกลบ ขี้เถ้า ฯลฯ นำมาปั้นเป็นก้อนซึ่งที่รู้จักคุ้นเคยกันในลักษณะของ อีเอ็มบอล ซึ่งก็เป็นจุลินทรีย์อย่างหนึ่งที่นำมาปรับปรุงฟื้นฟูคุณภาพน้ำ

    ส่วนความร่วมมือฟื้นฟูคุณภาพน้ำ อพท. ได้ผลิต ดาสต้าบอล (DASTA Ball) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่ผู้ศึกษาวิจัยมอบชื่อเป็นเกียรติแก่หน่วยงานโดยจุลินทรีย์บอลดังกล่าวเกิดจากสายพันธุ์ที่คัดเลือก อีกทั้งมีปริมาณส่วนผสมที่เหมาะสมสามารถปรับสภาพให้ดำรงชีพในน้ำที่เน่าเสียหรือมีระดับความเค็มตามสภาพพื้นที่จริงได้ดี

    จากการปั้นส่วนผสมทั้งหมดเป็นลูกกลมขนาดเท่าลูกปิงปองเพื่อให้จุลินทรีย์มีพื้นที่เกาะและสามารถได้รับออกซิเจนในการหายใจ ทั้งยังมีน้ำหนักพอเหมาะจมลงในน้ำได้ดีจึงทนกับสภาพแวดล้อม ส่วนประกอบสำคัญของจุลลินทรีย์บอลได้แก่ จุลินทรีย์ เพอร์ไลท์ ขี้ไก่ น้ำหมักปลา รำละเอียด อาหารกุ้งและกากน้ำตาล ซึ่ง อพท. ได้จดสิทธิบัตรส่วนผสมของดาสต้าบอลไว้ พร้อมกันนั้นที่ผ่านมาได้เผยแพร่ความรู้ต่อเนื่องแก่ผู้ที่สนใจ

    “ดาสต้าบอลเป็นจุลินทรีย์บอลที่มีการคัดสายพันธุ์ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นมากว่าสองปี จากส่วนประกอบมีเพอร์ไลท์แร่ธรรมชาติที่มีคุณสมบัติดี จุลินทรีย์หลายสายพันธุ์ที่คัดเลือกนำมาทำหน้าที่ฟื้นฟูสภาพน้ำอย่างมีประสิทธิผล ฯลฯ การใช้จะโยนดาสต้าบอลลงในบริเวณที่มีน้ำเน่าเสียในอัตราส่วน 1 ลูกต่อ 1-4 ลูกบาศก์เมตร โดยหลังจากใช้ภายใน 48 ชั่วโมงมีการรายงานถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพน้ำทั้งในเรื่องของกลิ่น สีน้ำที่เปลี่ยนไป”

    จุลินทรีย์บอลดังกล่าวสามารถ กำจัดน้ำเสีย ได้เนื่องจากภายในดาสต้าบอลเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่กินสิ่งเน่าเสียเป็นอาหาร มีเพอร์ไลท์ที่มีลักษณะทางกายภาพเป็นรูพรุนทำให้แบคทีเรียสามารถยึดเกาะและช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำให้อยู่ที่ pH 5-8 เหมาะกับการทำงานของจุลินทรีย์

    ขณะที่การ กำจัดกลิ่น สามารถกำจัดไนโตรเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นได้ เนื่องจากมีส่วนประกอบของขี้ไก่ซึ่งมีไนโตรเจนอยู่เพื่อปรับสภาพของจุลินทรีย์ให้คุ้นเคยกับสภาพจริงและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ เมื่อจุลินทรีย์ในดาสต้าบอลลงไปอยู่ในน้ำเสียก็จะกินไนโตรเจนที่อยู่ในน้ำเสียนั้นทำให้ไนโตรเจนหมดไป กลิ่นเหม็นจึงหายไปด้วย

    การสังเกตคุณภาพน้ำนอกเหนือจากการตรวจวัดด้วยเครื่องมือ คุณภาพน้ำที่ดีขึ้นยังสังเกตได้จากกลิ่นเหม็นที่ห่างหายไป ขณะที่สีของน้ำจะดีขึ้นและนอกเหนือจากจุลินทรีย์ซึ่งมีส่วนช่วยบำบัดน้ำเสีย อาจารย์ท่านเดิมยังฝากถึงการมีส่วนร่วมช่วยกันดูแลธรรมชาติ รักษาน้ำไม่ให้เน่าเสียทั้งในภาวะปกติและน้ำท่วมเวลานี้อีกว่า สิ่งที่ไม่ควรละเลยมองข้ามคือการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ไม่ทิ้งสิ่งสกปรกต่าง ๆ ลงในแม่น้ำลำคลอง รวมทั้งการมีจิตสำนึกรักษ์โลก ห่วงใยธรรมชาติสิ่งแวดล้อมซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นแนวทางการรักษาคุณภาพน้ำให้คงความสมบูรณ์ไว้ได้อย่างยั่งยืน.

    ทีมวาไรตี้

    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=486&contentId=173536-

    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    คำขอร้องจากทหาร...ในยามน้ำท่วม



    เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม

    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก นที พรวัฒนา, เฟซบุ๊ก มั่นใจคนไทยเกินล้าน ขอบคุณทหารที่ช่วยเหลื<WBR>อประชาชนจากอุทกภัย ปี 54's

    แม้ว่าขณะนี้ประชาชนจะต้องเผชิญกับวิกฤติมหันตภัยน้ำท่วมอย่างหนักหนาสาหัสเช่นไร แต่ขณะเดียวกันเราก็ได้เห็นความมีน้ำใจของพี่น้องชาวไทย สื่อมวลชน ที่ให้ความช่วยเหลือมาอย่างไม่ขาดสายเช่นเดียวกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ทหาร" ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรี่ยวแรงหลักในการช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้อย่างไม่ย่อท้อ และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเลยทีเดียว

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทหารก็ต้องพบกับปัญหาและอุปสรรคที่ยากลำบากเช่นกัน ซึ่งหนึ่งในทหารที่ลงพื้นที่ช่วยน้ำท่วมได้ออกมาวอนขอความร่วมมือจากประชาชนผ่าน เฟซบุ๊ก นที พรวัฒนา โดยมีข้อความ ดังนี้

    เนื่องจากผมออกปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยมาหลายที่และเจอปัญหา ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งส่งผลให้การทำงานล่าช้า ผมจึงอยากขอความกรุณาจากพวกท่านดังนี้

    [​IMG] 1.หากเห็นรถทหาร กรุณาให้ทางก่อน เพราะบางครั้งต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หรือประชาชนเร่งด่วน

    [​IMG] 2.ทหารอยากช่วยประชาชนทุกคน แต่บางครั้งเรามีภารกิจด่วนกว่าที่จะต้องปฏิบัติ อาจจะไม่สามารถช่วยคุณได้ทันที กรุณาเห็นใจและอย่าด่าทอกันอีกเลย

    [​IMG] 3.บางครั้งรถของทางทหารอาจจะเข้าไม่ถึงทุกซอกซอยเนื่องจากซอยแคบ กรุณาออกมารอหน้าปากซอยนะครับ

    [​IMG] 4.หากน้ำขึ้นเกินระดับเอว (120 ซม.) และมีทีท่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ รีบอพยพเถอะครับ เพราะถ้าหากสูงถึง 180 ซม. รถทหารจะไม่สามารถเข้าได้ และจะเป็นอันตรายต่อตัวท่านเองนะครับ เนื่องจากหากท่านโดนตัดน้ำตัดไฟ ผมพูดได้เลยว่าบางพื้นที่เราอาจจะไม่สามารถเข้าไปดูแลท่านได้อย่างทั่วถึงได้อีกแล้ว

    [​IMG] 5.หากทหารบางนายมีคำพูดที่ไม่ถูกใจท่านหรือทำให้ท่านไม่พอใจ โปรดจงอภัยให้ด้วยนะครับ เนื่องจากทหารหลายท่านเป็นทหารที่อยู่แต่หน่วยรบ หน่วยสงคราม มีคำสั่งที่เด็ดขาด อาจจะมีคำพูดห้วน ๆ ออกไปบ้างเนื่องจากไม่ค่อยได้ทำงานด้านมวลชนเท่าไหร่ พวกเค้าจึงไม่สามารถมีคำพูดที่สวยหรูที่จะพูดกล่อมท่านได้

    [​IMG] 6.การโดยสารรถทหารกรุณาเผื่อแผ่ผู้อื่นด้วย เช่น ผู้ชายควรลุกให้เด็ก สตรี คนชรา และผู้ป่วยนั่ง และสัมภาระไม่ควรเยอะหรือใหญ่เกินไป เช่นทีวี ตู้เย็น หรือมอเตอร์ไซค์ ซึ่งส่งผลให้ท่านอื่นไม่สามารถโดยสารไปด้วยได้ และบางครั้งอาจจะมีการจอดรอเพื่อรับผู้ป่วย คนชราเป็นเวลานาน กรุณาเข้าใจและอย่าเร่ง และควรปฏิบัติตามทหารที่ควบคุมรถแจ้ง เพื่อความปลอดภับของท่านเอง

    [​IMG] 7.อย่าหยิบฉวยสิ่งของ ๆ ทหารติดมือไป ทั้งเสื้อชูชีพ ไม้พาย ฯลฯ เพราะหากกลับมาที่หน่วยแล้วของที่นำไปกลับมาไม่ครบ พวกผมก็จะมีโทษ

    [​IMG] 8.ขอให้ทุกท่านโปรดอภัยหากรถทหารวิ่งผ่านแล้วเกิดคลื่นน้ำ ถูกบ้าน ยานพาหนะหรือสิ่งของต่าง ๆ ท่าน

    [​IMG] 9.พวกผมไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทนในการช่วยเหลือท่านนอกจากคำว่า "ขอบใจ" และ "รอยยิ้ม"ครับ


    ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือมา ณ โอกาสนี้ครับ ขอให้ทุกท่านปลอดภัยและภัยร้ายนี้จบสิ้นไปได้ด้วยดีและรวดเร็วครับ



    -http://hilight.kapook.com/view/64367-


    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>แนะวิธีระวังตัวเองจาก “งู” หนีน้ำท่วม</TD><TD vAlign=baseline align=right width=102>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>2 พฤศจิกายน 2554 15:10 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>นักวิชาการแนะวิธีป้องกันตัวเองจากงูหนีน้ำท่วม ชี้ภาคกลางมีงูพิษ 2 ชนิด คือ งูเห่าและงูแมวเซา ส่วน “งูกรีนแมมบา” จากแอฟริกาเป็นงูพิษที่เมืองไทยยังไม่มีเซรุ่มและปกติไม่อนุญาตให้นำเข้า ทั้งนี้ วิธีสังเกตงูพิษให้ดูว่ายกหัวฉกหรือไม่ หากเจอให้หนีพ้นระยะฉก โดยงูเป็นสัตว์ขี้อายและจะไม่เข้าทำร้ายคนก่อน ยกเว้นเข้าไปเหยียบหาง
    <IFRAME name=video src="/Multimedia/VDO2.aspx?id=5540000148135" frameBorder=0 width=550 scrolling=no height=400></IFRAME>​

    นอกจากจระเข้และไฟดูดซึ่งเป็นภัยที่ไหลมาตามน้ำท่วมแล้ว “งูพิษ” ก็เป็นอีกภัยที่สร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้คน โดยล่าสุด จส.100 ได้แจ้งเตือนว่ามีงูเขียวกรีนแมมบา (green mamba) งูจากแอฟริกาหลุดจากกรงขังในย่านปากเกร็ด จ.นนทบุรี จำนวน 15 ตัว โดยในจำนวนนั้น 2 ตัวเป็นงูตัวพ่อแม่ที่มีลำตัวยาวถึง 2 เมตร และลูกอีก 13 ตัวยาว 1 เมตร โดยไทยยังไม่มีเซรุ่มลักษณะพิษงูชนิดนี้ หากพบเจอให้โทรแจ้ง 1362

    ทางด้าน นายสัญชัย เมฆฉาย นักวิชาการด้านสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ให้ข้อมูลแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ว่างูกรีนแมมบานั้นเป็นงูมีพิษร้ายแรงที่ไทยยังไม่มีเซรุ่มรักษา และปกติจะไม่อนุญาตให้นำเข้างูชนิดนี้ โดยลักษณะของงูนั้นจะคล้ายกับงูสิงห์แต่จะยกหัวเตรียมฉกได้ ลำตัวค่อนข้างยาว ชูคอแผ่แม่เบี้ยได้นิดหน่อย เลื้อยเร็ว งูชนิดเป็นงูทะเลทรายซึ่งเขายังไม่เคยเห็นว่าลักษณะการว่ายน้ำของงูชนิดนี้เป็นอย่างไร

    ลักษณะการว่ายน้ำของงูบกนั้นจะว่ายลอยๆ บนผิวน้ำ ส่วนงูน้ำนั้นจะดำน้ำได้ เช่น กรณีของงูงวงช้าง ซึ่งเป็นงูน้ำที่ไม่พิษ เป็นต้น สำหรับงูพิษที่พบในภาคกลางคือ งูเห่า และในบริเวณที่อยู่ใกล้ทุ่งนาจะพบงูแมวเซาซึ่งเป็นงูพิษอีกชนิดหนึ่ง ส่วนงูชนิดอื่นๆ นั้นเป็นงูไม่พิษ ทั้งนี้ หากเจองูให้อยู่ห่างๆ เพราะปกติงูเป็นสัตว์ขี้อายและไม่พุ่งเข้าทำร้ายคน ยกเว้นไปเหยียบหางงู แม้กระทั่งงูพิษก็จะหลบคน และวิธีสังเกตงูพิษนั้นสัญชัยบอกว่าให้ดูลักษณะการแผ่แม่เบี้ย ซึ่งเป็นลักษณะของงูมีพิษ ดังนั้น อย่าเข้าใกล้ พยายามอยู่ห่างๆ ไว้ และให้แจ้งเจ้าหน้าที่

    ถ้าในกรณีอยู่ในที่มืดก็ให้คอยสอดส่องและระวังการก้าวเดิน เพราะปกติงูจะนอนขดตัว ส่วนกรณีที่งูว่ายหนีน้ำก็จะไม่ปีนขึ้นมาบนเรือ โดยปกติงูจะรับรู้กลิ่นจากสารเคมีที่สัมผัสได้ขณะแลบลิ้น ซึ่งงูจะได้กลิ่นคนและไม่เข้าใกล้ งูไม่เข้ามาโจมตีเราแน่นอน สำหรับงูทะเลทราย (งูกรีนแมมบา) นั้นจะเลื้อยเร็ว ลักษณะตัวยาว แต่ลักษณะการว่ายน้ำไม่สามารถบอกได้ว่ามีพิษ จะดูได้ตอนจะฉก ซึ่งเป็นการขู่ ถ้าไม่เข้าระยะฉกก็ไม่ทำอันตราย โดยปกติงูจะยกหัวฉกเป็นความยาว 1 ใน 3 ของความยาวตัว อย่างงูจงอางยกได้ 1 เมตรก็ฉกได้ 1 เมตร แต่งูจงอางนั้นเป็นงูป่า” นายสัญชัยกล่าว

    สำหรับกรณีเซรุ่มแก้พิษนั้นนายสัญชัยกล่าวว่าต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ ในการผลิต โดยจะรีดพิษจากงูและนำไปฉีดให้ม้าทีละน้อยๆ เพื่อให้ม้าสร้างภูมิต้านทาน จากนั้นจึงนำเลือดม้าไปผลิตเป็นเซรุ่ม ทั้งนี้ หากถูกงูพิษฉกให้พยายามรีดพิษออกจากให้มากที่สุด และพยายามจดจำลักษณะงู ซึ่งหากไม่ทราบว่าเป็นงูพิษชนิดใด แพทย์จะรอดูอาการก่อนฉีดเซรุ่ม เพราะหากฉีดเซรุ่มโดยไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นงูพิษชนิดใดจะเป็นการเพิ่มพิษงูให้แก่ผู้ป่วย สำหรับกรณีงูเห่านั้นต้องไปพบแพทย์ในเวลา 1-2 ชั่วโมง

    อย่างไรก็ดี นายสัญชัยกล่าวว่าสิ่งที่อันตรายกว่างู คือ ตะขาบและแมงป่อง เพราะมีอยู่เยอะและวิ่งไปทั่ว อันตรายของสัตว์ประเภทนี้อยู่ที่ระดับความแพ้ของแต่ละคน และไม่มีเซรุ่มสำหรับแก้พิษสัตว์เหล่านี้ ถ้าแพ้พิษมากก็จะมีอาการหนัก ดังนั้น บริเวณใดที่รกๆ ก็อย่าเข้าไป ในกรณีของน้ำท่วม สัตว์เหล่านี้จะหนีน้ำขึ้นไปอยู่ตามที่ดอน และไปอยู่รวมกัน หากไม่มีที่ดอนก็จะอยู่ตามบ้าน ตามกองผ้าหรือที่รกๆ ดังนั้น เวลาจะใช้ผ้าให้สะบัดก่อนใช้
    <CENTER>คลิปสารคดีงูกรีนแมมบา </CENTER>

    <IFRAME src="http://www.youtube.com/embed/wSannMhuzm0" frameBorder=0 width=560 height=315 allowfullscreen></IFRAME>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    -http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000139760-

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ร่างรายงานสุดท้าย “ไอพีซีซี” ชี้สภาพอากาศจะวิปริตสุดขั้วบ่อยขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>2 พฤศจิกายน 2554 01:25 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ภาพน้ำท่วมในเมืองไทย (เอพี)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ภาพพายุหิมะที่มาเร็ววกว่าปกติในสหรัฐฯ (บีบีซีนิวส์)</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>เอพีเผยร่างรายงานขั้นสุดท้ายของ “ไอพีซีซี” ชี้สภาพอากาศวิปริตสุดขั้วอย่างมหาอุทกภัยที่ไทยกำลังประสบจนถึงพายุหิมะใน “วันฮาโลวีน” ที่สหรัฐฯ จะเกิดบ่อยขึ้น เป็นสาเหตุของความเสียหายมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ และบางท้องถิ่นจะกลายเป็นพื้นที่ไม่เหมาะแก่การดำรงชีวิตมากขึ้น

    ร่างรายงานขั้นสุดท้ายของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของสหประชาชาติ หรือ “ไอพีซีซี” (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ชี้ให้เห็นอนาคตอันเลวร้ายของโลกซึ่งกำลังบอบช้ำจากหายนะทางสภาพอากาศที่มีมูลค่าความเสียหายหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยรายงานดังกล่าวระบุว่า มูลค่าความเสียหายจะเพิ่มขึ้น และเป็นไปได้ว่าบางพื้นที่อาจจะกลายเป็น “แหล่งที่ไม่เหมาะแก่การดำรงชีวิต” มากขึ้น

    ร่างรายงานของไอพีซีซีที่เป็นผลจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ทางด้านสภาพภูมิอากาศระดับหัวกะทิของโลกนี้จะเป็นประเด็นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า หลังการประชุมในอูกานดา โดยรายงานดังกล่าวระบุด้วยว่ามีโอกาสอย่างน้อย 2 ใน 3 ที่สภาพอากาศสุดขั้วได้เลวร้ายลงแล้ว เพราะก๊าซเรือนกระจกที่เป็นผลจากมนุษย์

    อย่างไรก็ดี เอพีระบุว่าในกรณีของปรากฏการณ์พายุหิมะที่ผิดปกติในสหรัฐฯ นั้นผู้เชี่ยวชาญยังไม่อาจผูกเข้ากับประเด็นภาวะโลกร้อนได้ โดยผู้เชี่ยวชาญจับตาการเพิ่มขึ้นของจำนวนพายุฝนที่รุนแรง แต่ไม่ได้รวมกรณีของพายุหิมะ ส่วนภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบตรงกันข้ามอย่าง “ภัยแล้ง” นั้น จะเกิดบ่อยขึ้นตามสภาพโลกที่ร้อนขึ้น ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่มีการศึกษาชี้เฉพาะที่ผูกประเด็นภาวะโลกร้อนกับภัยแล้ง แต่มีความสอดคล้องของแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ที่ชี้ว่าสภาพอากาศปัจจุบันนั้นจะทำให้ความแห้งแล้งที่มีอยู่เดิมเลวร้ายขึ้น

    ในหลายการศึกษายังทำนายถึงพายุฝนที่รุนแรงขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อน โดยอากาศที่ร้อนขึ้นจะจะโอบอุ้มน้ำที่มากขึ้นและเพิ่มพลังงานมากขึ้นให้ระบบสภาพอากาศ แล้วเปลี่ยนแปลงพลวัตของพายุ รวมถึงสถานที่และลักษณะการโจมตีของพายุ โดยในกรณีของประเทศไทยขณะนี้กำลังรับมือกับมหาอุทกภัยที่เป็นผลจากฝนอันเนื่องจากมรสุม

    ด้าน กาวิน ชมิดท์ (Gavin Schmidt) นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิศาสตร์ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) กล่าวว่า น้ำท่วมในเมืองไทยเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าภูมิอากาศนั้นเชื่อมโยงกับผลกระทบอื่นที่มนุษย์สร้างขึ้นมาอย่างไร อาทิ ประชากรกับการพัฒนาความเป็นเมือง การจัดการแม่น้ำกับพื้นที่จมน้ำ เป็นต้น

    ในรายงานระบุว่า ภูมิอากาศสุดขั้วในหลายๆ พื้นที่นั้นปัจจัยขับเคลื่อนหลักที่จะทำให้การสูญเสียเพิ่มมากขึ้นนั้นมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม มากกว่าก๊าซเรือนกระจก ส่วนเรื่องเหตุการณ์สุดขั้วที่เป็นเพียงข้อมูลประปรายในรายงานของไอพีซีซีก่อนหน้านี้ได้ถูกรวมเข้าไว้ด้วยกัน โดยรายงานพยายามที่จะประเมินความมั่นใจที่นักวิทยาศาสตร์มีต่อการประเมินความสุดขั้วของภูมิอากาศทั้งในอดีตและอนาคต

    อย่างไรก็ดี คริส ฟิล์ด (Chris Field) หนึ่งในผู้นำของคณะกรรมการการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กล่าวว่าเขาและคณะที่เขียนรายงานครั้งนี้จะไม่แสดงความเห็นใด เพราะรายงานฉบับนั้นยังต้องมีการเปลี่ยนแปลงอีก และบทสรุปของรายงานก็ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าพื้นใดในโลกที่จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจนถึงขั้นต้องทิ้งให้อยู่ในพื้นที่อาศัยอันจำกัด

    นอกจากนี้ในรายงานยังระบุด้วยว่าเมื่อสิ้นศตวรรษนี้พายุฝนที่รุนแรงที่จะเกิดขึ้นภายในวันเดียวจะเกิดบ่อยขึ้น จากปกติที่เกิดขึ้นทุก 20 ปี เป็นเป็นเกิดขึ้นประมาณ 2 ครั้งภายใน 10 ปี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    -http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000139453-

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    บ้านเราน้ำจะท่วมสูงแค่ไหน ตรวจสอบได้ที่นี่!!!

    [​IMG]


    [​IMG]



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก rootannam.com


    ชาวกรุงเทพมหานครที่กำลังประสบปัญหาน้ำท่วม หรือคนที่กำลังเฝ้ารอด้วยใจระทึกว่า บ้านเราจะถูกน้ำท่วมหรือไม่ และหากน้ำมา น้ำจะท่วมบ้านเราสูงขนาดไหน จะถึงขั้นตัดน้ำ-ตัดไฟ ต้องอพยพออกจากบ้านเลยหรือเปล่า

    วันนี้ ผศ.ดร. นพนันท์ ตาปนานนท์ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทีมงาน "รู้ทันน้ำ" ได้จัดทำแผนที่วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ไว้ทั่วทุกตารางนิ้วทั้ง 50 เขต เพื่อให้คนกรุงเทพฯ ที่กำลังวิตกกังวลได้เข้าไปโหลดแผนที่เขตของบ้านตัวเอง เพื่อตรวจสอบว่า หากบ้านของเราถูกน้ำท่วม ระดับน้ำสูงสุดโดยเฉลี่ยจะเป็นเท่าไหร่ เพื่อจะได้ประเมินสถานการณ์ได้ถูก และตัดสินใจได้ว่าจะอพยพหรือไม่

    งานนี้ ใครที่สนใจสามารถเข้าไปโหลดได้ที่ เว็บไซต์ rootannam.com เมื่อเข้าไปแล้วให้เลือกดาวน์โหลด เขตที่ต้องการทราบได้เลย และตรวจสอบว่า บ้านของคุณอยู่ในจุดใด และสังเกตว่า อยู่ในโซนย่อยใด (A-B-C-D แบ่งตามการคาดการณ์ของ รศ. ดร. เสรี ศุภราทิตย์) ซึ่งแบ่งตามเส้นประสีดำในแผนที่ เมื่อตรวจสอบแล้ว ให้ไปดูค่าที่ตารางด้านขวาว่า บ้านของตัวเองอยู่ในสีอะไร โซนย่อยใด แล้วจะได้ตัวเลขประเมินค่าความเสี่ยงที่น้ำจะท่วมสูงสุด

    ตัวอย่างเช่น ข้อมูลพิกัดคำถามอยู่เขตราษฏร์บูรณะ แขวงบางปะกอก ถนนสุขสวัสดิ์ ซอยสุขสวัสดิ์ 26 ให้ดูแผนที่ เขตราษฏร์บูรณะ หาแขวงบางปะกอกหรือไปที่ถนนสุขสวัสดิ์ (จุดสังเกต คือเป็นถนนที่ต่อมา จากถนนพระราม2 (จุดสี ในแผนที่หน้าถัดไป) ซึ่งพิกัดอยู่ในพื้นที่ "Code C" สัญลักษณ์สีเขียว ก็ให้ไปดูจากตารางช่อง "ระดับน้ำพื้นที่C" ระดับความสูงสีเขียว ก็จะได้ค่าความสูงน้ำสูงสุดจากการประเมินของพิกัด คือ 2.00-2.60 เมตร

    อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร. นพนันท์ ตาปนานนท์ ได้กล่าวว่า ตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงการประเมินขั้นเลวร้ายที่สุด ซึ่งในความเป็นจริงอาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ เนื่องจากข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่เกิดจากการวิเคราะห์คาดการณ์โดยอ้างอิงจากแผนที่ทหาร และกรุงเทพมหานคร อีกทั้ง มีหลายปัจจัยที่ทำให้ระดับน้ำท่วมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเรื่องการจัดการระบายน้ำ ดังนั้นแล้ว การดูแผนที่ดังกล่าวควรประเมินควบคู่ไปพร้อม ๆ กับสภาพพื้นที่จริงด้วย



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    [​IMG] กรุงเทพธุรกิจ
    , รู้ทันน้ำ
    -http://www.rootannam.com/-


    -http://hilight.kapook.com/view/64375-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • roontannam.jpe
      roontannam.jpe
      ขนาดไฟล์:
      32 KB
      เปิดดู:
      959
    • map_example.png
      map_example.png
      ขนาดไฟล์:
      631.9 KB
      เปิดดู:
      948
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  17. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    เอ๊ะ..เชียร์ให้มาบางนาจังนะครับ ทำไมไม่เชียร์ลงพระราม 2ล่ะครับ ขึ้นสะพานแขวนไปเลยครับ หุ หุ
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    ชาววังหน้าร่วมใจสู้ศึกน้ำหลากครั้งใหญ่ ปกป้องสมบัติของชาติไว้ได้<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><SCRIPT language=JavaScript src="http://a.admaxserver.com/servlet/ajrotator/812264/0/vj?z=admaxasia2&dim=280733&pid=f9495e6b-a541-414e-932e-d0ad5d5e6065&asid=871aa1a6-3e72-4cdc-b7bc-7b296a0f7713"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "ca-pub-2576485761337625";/* 300x250, created 21/07/09 */google_ad_slot = "6922411748";google_ad_width = 300;google_ad_height = 250;//--></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><NOSCRIPT>[​IMG]</NOSCRIPT>
    <IFRAME id=_atssh275 title="AddThis utility frame" style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; Z-INDEX: 100000; LEFT: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; WIDTH: 1px; POSITION: absolute; TOP: 0px; HEIGHT: 1px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" name=_atssh275 src="//s7.addthis.com/static/r07/sh66.html#iit=1320371433046&cb=0&ab=-&dh=palungjit.org&dr=&du=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Fnewthread.php%3Fdo%3Dpostthread%26f%3D178&dt=&md=2&inst=1&jsl=0&lng=ko&ogt=&pc=men&pub=xa-4a63547a655e9e11&ssl=0&sid=4eb344e94f4d11eb&srd=1&srf=0.02&srp=0.2&srx=0.5&ver=250&xck=0&og=%5Bobject%20Object%5D&rev=106117&ct=1&xld=1" frameBorder=0 width=1 height=1></IFRAME>
    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    ข่าวน้ำท่วมบริเวณ “วังหน้า” หรือพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร

    เป็นข่าวที่น่าตกใจไม่น้อย เพราะ วังหน้า คือที่เก็บรักษาสมบัติของชาติ

    ที่มีทั้งคุณค่า และ มูลค่า ที่เรียกได้ว่า ประมาณค่าไม่ได้

    แต่เหตุการณ์ที่น่าวิตกนี้ กลับหายไปได้อย่างรวดเร็ว

    จากความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

    วันนี้ป้ารุขออนุญาตนำเรื่องราวที่ท่าน ผอ.เรียม พุ่มพงษ์แพทย์

    ผอ. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้เล่าให้ฟังถึงการเร่งทำงาน

    ของเจ้าหน้าที่ ที่ทั้งน่าตื่นเต้น และน่าชื่นชม ในการที่จะปกป้อง

    “สมบัติของชาติ” ให้เป็นสมบัติของลูกหลานไทยไปอีกยาวนาน

    ไปฟังเรื่องจากท่านเลยนะคะ

    .........................

    วันที่ 30 ตุลาคม 54 เป็นวันที่น้ำขึ้นสูงสุดกว่าวันอื่น ๆ ในบริเวณนี้

    เวลาประมาณสองทุ่ม เกิดวิกฤตที่พช.พระนคร

    ด้วยเครื่องสูบน้ำตัวใหญ่ที่สุดที่เรามีอยู่คงทำงานหนัก

    ใบพัดหักคาเครื่อง ตัวอื่น ๆ ที่มีกำลังน้อยกว่าสูบน้ำไม่ทัน

    ในขณะที่น้ำขึ้นมาตลอดเวลา เจ้าหน้าที่ไม่สามารถซ่อมได้ทัน

    ขณะนั้น น้ำไหลบ่าจากถนนเข้าสู่บริเวณพช.อย่างรวดเร็ว

    ยกมือไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายขอให้ช่วยคุ้มครอง

    ให้หาทางแก้ปัญหาให้ได้

    [​IMG]
    น้ำที่กำลังเพิ่มขึ้นภายใน พช. พระนคร

    เกิดสตินึกได้ว่าจำเป็นต้องถอนเครื่องสูบน้ำ

    ขนาดสามนิ้วจากบ้านตัวเองซึ่งมีอยู่สองตัว

    อยู่ในซอยวัดดาวดึงษ์ขณะนั้นน้ำท่วมถึงเอวเช่นกัน

    ขอแรงคนให้เช่าแพว่าช่วย พช.พระนครเอาเครื่องสูบน้ำ

    มาส่งเชิงสะพานปิ่นเกล้าด้วย

    เขาก็ดีใจหายทั้ง ๆ ที่เก็บแพอาบน้ำเข้าบ้านกันแล้ว

    ..............................

    ผอ.เล่าต่อไปว่า ปัญหายังไม่จบ เพราะจะหารถมาขนเครื่องสูบน้ำ

    ก็หาไม่ได้ จนกระทั่ง.....

    ใจนึกแต่พระพุทธสิหิงค์กับสิ่งศักดิ์ทั้งหลายในวังหน้า

    [​IMG]
    พระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานอยู่ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์

    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

    ปาฏิหารย์มีจริง

    พริบตาเดียวมีรถกะบะของ กศน.เชียงใหม่วิ่งมาจอด

    เข้าไปขอร้องเขาให้ช่วยด้วย เขาก็ดีใจหายรับเราขึ้นรถ

    พร้อมกับผู้โดยสารอื่นที่ตกค้างอยู่ไปส่งเชิงสะพานปิ่นเกล้าทางฝั่งธนฯ

    แพเอาเครื่องสูบน้ำมาส่งทันกันพอดี

    เมื่อเครื่องสูบน้ำมาถึง พช. พระนคร

    สิ่งที่เจ้าหน้าที่ทุกคนได้พบคือ..........

    [​IMG]
    ภาพศาลาสำราญมุขมาตย์ ภายใน พช. พระนคร

    เราเห็นน้ำเข้าไปจนถึงหน้าศาลาสำราญมุขมาตย์

    ใจสั่นน้ำตาจะร่วง เสียให้ได้

    แต่ถ้าอ่อนแอลูกน้อง...ก็จะใจเสียไปด้วย

    ช่วยกันคนละไม้คนละมือท่ามกลางกระแสน้ำ

    พอเครื่องติดตั้งเสร็จท่ามกลางเจ้าหน้าที่ กศน. มหามิตรในยามทุกข์ยาก

    ไชโยกันใหญ่

    เครื่องทำงานอย่างซื่อสัตย์ ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงดึงน้ำออกหมด

    พวกเราชาวพช.พระนคร ก็ถ่ายรูปกับมหามิตรไว้เป็นที่ระลึก

    บอกเขาว่าจะเขียนลง face book และจะทำหนังสือขอบคุณไปถึงหน่วยงานเขา

    และเชิญเขามาเที่ยวที่เราหากแวะมา

    [​IMG]
    ผอ.เรียม พุ่มพงษ์แพทย์ ลุยน้ำอยู่หน้าพิพิธภัณฑ์

    [​IMG]
    ภารกิจวิดน้ำจากภายในพิพิธภัณฑ์เสร็จเรียบร้อย

    นั่งพัก เตรียมการขั้นต่อไป



    ท่าน ผอ และ เจ้าหน้าที่จัดการเรื่องน้ำเสร็จแล้ว

    ก็ต้องเตรียมการป้องกันอาคารจัดแสดง โดยเฉพาะ

    พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน และบริเวณรอบ ๆ พิพิธภัณฑ์

    [​IMG]
    พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน คือ อาคารที่มองเห็นด้านหลัง

    ส่วนด้านหน้าท่าน ผอ. และสาวชาววังหน้ากำลังทดสอบระดับน้ำ

    [​IMG]
    การใช้พลาสติกและกาวซีลีโคนปกป้องพระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน

    โดยสาว ๆชาววังหน้ายุคใหม่

    .....กระสอบทรายรอบด้านสองพันกระสอบ

    พลาสติกซีนประตูรอบอาคารศิวโมกขพิมานหกม้วน

    เตรียมรับศึกยกต่อไป

    เมื่องานเร่งด่วนผ่านพ้นไปด้วยดี ท่านก็เล่าต่อว่า...

    ต้องขอขอบคุณบุคคลทั้งหลายที่ได้ร่วมมือช่วยเหลือในยามวิกฤต

    เจ้าหน้าที่พช.พระนครสุดแสนน่ารัก

    ยามนี้ได้แสดงสติปัญญา ความสามารถ

    ความร่วมมือร่วมใจปกป้องทรัพย์สมบัติของชาติได้

    สรรเสริญยิ่งนัก

    หลังจากปกป้องพิพิธภัณฑ์แล้ว ท่านก็ต้องกลับไปดูบ้านของท่าน

    ที่ซอยวัดดาวดึงษ์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อยู่ในจุดเฝ้าระวังเช่นกัน

    และที่น่าประทับใจขึ้นไปอีก คือ เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์หลายท่าน

    ที่ร่วมกันทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจปกป้องสมบัติของชาติในวันนั้น

    แม้ได้สูญเสียบ้านทั้งหลังกับอุทกภัยครั้งนี้ไปแล้ว

    ผอ.จบเรื่องเล่าของท่านวันนี้อย่างอารมณ์ดีว่า.....

    “ตอนนี้รู้ทางศึกแล้วค่ะ น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้

    ในเชิงบวกทำให้ได้รับความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ มากมาย

    รวมถึงวิธีเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาทั้งเฉพาะหน้า และระยะยาว

    สิ่งวิเศษอีกประการหนึ่งได้พบว่าเจ้าหน้าที่พระนครหลายคน

    มีสติปัญญาดีมาก มีความรู้เรื่องช่าง เรื่องเครื่องมืออย่างน่าอัศจรรย์

    เพราะมีเหตุการณ์ที่จะทำให้เขาแสดงฝีไม้ลายมือได้ถนัด

    ศึกกับน้ำครั้งนี้ ทำให้เรารักกัน สามัคคีกัน เพราะต้องร่วมกันแก้ปัญหา..

    วันนี้ เราทุกคนน่าจะอุ่นใจเป็นพิเศษ

    เพราะเมื่อป้ารุแวะไปส่งกำลังใจให้กับน้อง ๆผู้กลายเป็นผู้ประสบภัย

    ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

    ป้ารุก็พบว่า ท่าน ผอ. และเจ้าหน้าที่อีกหลายท่าน

    ได้มาพักเฝ้าระวัง “สมบัติของชาติ” แห่งนี้กันอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง
    [​IMG]
    *ขอบคุณภาพช่วงน้ำท่วมที่ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณแดง (มัณฑณา)
    เจ้าหน้าที่ของ พช. พระนคร ค่ะ
    ป้ารุ....รายงาน



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <SCRIPT src="http://s7.addthis.com/js/250/addthis_widget.js?pub=xa-4a63547a655e9e11" type=text/javascript></SCRIPT>
    <FORM action=http://www.oknation.net/blog/home/comment.php method=post>
    ที่มา

    </FORM>















    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    สะพานแขวนสูงเกินครับ

    น้ำกลัวความสูง อิอิ


    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...