พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    17 มาตรการ ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ช่วงน้ำท่วม




    เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก เภสัชกรเชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ

    ในช่วงที่ประชาชนทั้งหลายต้องเผชิญกับภาวะน้ำท่วมเช่นนี้ แน่นอนว่าทุก ๆ คนล้วนประสบปัญหากันอย่างถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขาดแคลนเครื่องอุปโภคและบริโภค ที่อยู่อาศัยพังเสียหาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บซึ่งตามมากับน้ำท่วมมากมาย อาทิ น้ำกัดเท้า อุจจาระร่วง ไข้ฉี่หนู ตาแดง ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก รวมทั้งอันตรายจากภัยอื่น ๆ ทางน้ำ เช่น การตกจมน้ำ ไฟฟ้าช็อต สัตว์มีพิษอันตราย ฯลฯ

    ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินชีวิตในช่วงน้ำท่วมของผู้ประสบภัยและประชาชนที่เดือดร้อนกับภาวะน้ำท่วมเป็นไปด้วยความปลอดภัย เภสัชกรเชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ ได้แนะนำมาตรการจำเป็น 17 ประการ เพื่อเป็นการป้องกันโรคและภัยจากน้ำท่วมให้กับประชาชน ดังนี้

    [​IMG]1) หากจำเป็นต้องเดินทางหรือทำกิจกรรมทางน้ำ ควรเตรียมตัวอุปกรณ์ชูชีพให้พร้อม หรือนำอุปกรณ์ประยุกต์ที่หาง่ายติดตัวไปด้วยเสมอ เช่น ถังแกลลอนเปล่าปิดฝา ขวดน้ำพลาสติกเปล่าปิดฝา

    [​IMG]2) ให้ระวังเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวจากกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว เพราะอาจถูกกระแสน้ำพัดพาหรือตกลงในบ่อน้ำลึกได้

    [​IMG]3) อย่าพยามยามวิ่งหรือขับรถผ่านในที่มีน้ำไหลเชี่ยว

    [​IMG]4) ควรงดการดื่มสุรา เนื่องจากทำให้ทรงตัวไม่ดีเพิ่มโอกาสลื่นล้ม พลัดตกจมน้ำ หรืองดตัดสินใจทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเสี่ยงต่อการเสียชีวิต เช่น กระโดดจากสะพานลงเล่นน้ำ เป็นต้น

    [​IMG]5) ให้ตัดสวิตซ์กระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดหรือช็อต ขณะเกิดน้ำท่วมขัง

    [​IMG]6) เก็บของมีค่าและจำเป็นขึ้นที่สูงเพื่อป้องกันน้ำท่วม

    [​IMG]7) จัดเตรียมของใช้ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น น้ำดื่ม ไฟฉาย ยารักษาโรคพื้นฐาน ยาโรคประจำตัว และสิ่งของที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตอื่น ๆ

    [​IMG]8) อาหารกล่องที่ได้รับแจก ควรรับประทานทันทีอย่าเก็บไว้ เพราะจะทำให้อาหารบูด เน่าเสีย อาหารเป็นพิษได้ หากมีเหลือควรสิ้งใส่ถุงพลาสติกแล้วมัดปากถุง

    [​IMG]9) ล้างมือก่อนรับประทานอาหารหรือหลังออกจากห้องน้ำ ห้องห้องส้วมทุกครั้ง

    [​IMG]10) ไม่ควรใช้มือขยี้ตาอาจทำให้ตาติดเชื้อและอาจเสี่ยงเป็นโรคตาแดงได้

    [​IMG]11) ในกรณีที่มีบาดแผล ไม่ควรเดินลุยย่ำน้ำ ย่ำโคลน ควรใส่รองเท้าบูทหรือถุงพลาสติกยาวป้องกันเท้าและสวมทับด้วยถุงเท้าและ รองเท้า แต่หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ย่ำน้ำเสร็จแล้วควรทำความสะอาดเท้าและแผลแล้วเช็ดให้แห้ง

    [​IMG]12) กรณีมีสัตว์ป่วยตาย ให้ใส่ถุงพลาสติกแล้วผูกให้มิดชิด หรือนำไปฝัง เผา ไม่ควรนำทิ้งลงน้ำอาจทำให้แพร่เชื้อในกระแสน้ำเกิดโรคระบาดได้

    [​IMG]13) ไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงมาอยู่ใกล้ชิดเพราะอาจติดเชื้อโรคจากสัตว์ได้

    [​IMG]14) สำรวจภาชนะที่มีน้ำขังให้คว่ำไว้ เพื่อป้องกันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายพาหนะโรคไข้เลือดออก

    [​IMG]15) ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกเสมอ และดื่มน้ำสะอาด

    [​IMG]16) ทิ้งขยะและเศษอาหารในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้มิดชิดห้ามทิ้งลงน้ำ

    [​IMG]17) ให้ระมัดระวังสัตว์มีพิษ กัด ต่อย พร้อมทั้งหมั่นสำรวจตรวจตราบ้าน กองผ้า ถุงใส่ของ เพื่อป้องกันสัตว์มีพิษหลบเข้าไปอยู่อาศัยใกล้ตัว

    รู้ อย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมดูแลตัวเอง และคนในครอบครัวให้สุขภาพดีอยู่เสมอในช่วงสถานการณ์วิกฤตอุทกภัยกันด้วยนะ จ๊ะ ด้วยความปรารถนาดีจ้าทุก ๆ คน ^ ^


    -http://health.kapook.com/view32338.html-

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    กรมวิทย์ฯ เตือน!น้ำท่วมระวังมดตะนอยต่อยเสี่ยงตายได้ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">14 ตุลาคม 2554 17:32 น.</td></tr></tbody></table>


    กรม วิทยาศาสตร์การแพทย์ เตือนน้ำท่วมระวังมดตะนอยต่อย หลังพบชาวบ้านที่จังหวัดตรังถูกมดตะนอยต่อยแล้วเกิดอาการแพ้จนเสียชีวิต แนะอย่าเข้าใกล้รังมดตะนอย โดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่ หากถูกมดต่อยแล้วรู้สึกว่ามีอาการแพ้ หายใจไม่ค่อยออก ให้รีบไปพบแพทย์ ส่วนผู้ที่ไม่มีอาการแพ้ ให้รักษาแผลบริเวณที่ถูกต่อยให้สะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อซ้ำ

    นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ใน ช่วงน้ำท่วมนี้ต้องระมัดระวังสัตว์ แมลงมีพิษต่างๆ ที่หนีน้ำขึ้นไปตามบ้านเรือนประชาชน รวมถึงต้องระมัดระวังมดตะนอยด้วย เพราะเมื่อไม่นานมานี้มีชาวบ้านอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ได้ปีนขึ้นไปบนต้นไม้แล้วถูกมดตะนอยกัดที่ริมฝีปาก จากนั้นมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เจ็บปวดตรงแผลที่โดนมดตะนอยกัด และมีอาการรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นอาเจียน และเสียชีวิตในที่สุด ต่อมามีชาวบ้านที่จังหวัดนครปฐมถูกมดต่อยมีอาการรุนแรงจนต้องเข้ารักษาตัว ที่โรงพยาบาล และได้มีการส่งตัวอย่างมดมาที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากการตรวจจำแนกชนิดตัวอย่างมดที่ได้รับดังกล่าว พบว่าเป็นมดตะนอยเช่นเดียวกัน

    <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="400"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> สำหรับอันตรายของมดตะนอย เกิดจากการที่มดตะนอยต่อยด้วยเหล็กใน ซึ่งการต่อยของมดจะแตกต่างจากผึ้ง คือมดเมื่อต่อยแล้วจะสามารถดึงเหล็กในกลับ ทำให้สามารถต่อยได้หลายครั้ง ผู้ถูกต่อยจะถูกต่อยซ้ำๆ ด้วยมดตัวเดิม ในขณะที่ผึ้งจะต่อยเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเหล็กในไว้ที่แผลของผู้ถูกต่อย เหล็กในที่ยื่นออกมาจากปลายท้องมดจะเชื่อมต่อกับต่อมพิษที่อยู่ภายในท้อง ซึ่งต่อมพิษจะผลิตสารประกอบโปรตีนและสารอัลคาลอยด์ และสารที่ทำให้ผู้ถูกต่อยเกิดอาการแพ้คือสารประกอบพวกโปรตีน โดยสารโปรตีนเหล่านี้จะทำให้ผู้ถูกต่อยมีอาการต่างๆ เช่น เจ็บปวดบริเวณแผล แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก อาเจียน ซึ่งหากบางรายที่แพ้รุนแรงถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้ และไม่เฉพาะแต่มดตะนอยเท่านั้นที่มีเหล็กในและมีต่อมพิษ มดชนิดอื่นๆ เช่นมดคันไฟก็มีสารพิษที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน

    อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า มดตะนอยมีลักษณะลำตัวยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนหัวและส่วนท้องเป็นสีเข้มเกือบดำ ส่วนอกเป็นสีน้ำตาลเหลืองจนถึงสีส้ม รอยต่อระหว่างอกและท้องมีลักษณะเป็นปุ่มนูน 2 ปุ่มมีสีน้ำตาลเหลืองจนถึงสีส้มเช่นกัน หนวดมี 12 ปล้อง กรามมีขนาดใหญ่ ท้องมีลักษณะเป็นรูปไข่ โดยที่ปลายท้องจะมีเหล็กในยื่นออกมาให้เห็นได้เด่นชัด ชอบทำรังอยู่บริเวณบนต้นไม้ใหญ่และต้นไม้ที่ตายแล้ว โดยจะเห็นเป็นโพรงอยู่ภายในต้นไม้ มดตะนอยจะกินซากแมลงเล็กๆ เป็นอาหารและจะออกหากินอยู่บริเวณต้นไม้และพื้นดินใกล้เคียงที่อาศัย ดังนั้น ประชาชนจึงควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีมดตะนอยทำรังอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามต้นไม้ใหญ่ หรือต้นไม้ที่ตายแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้มดต่อย แต่ถ้าถูกมดต่อยแล้วรู้สึกว่ามีอาการแพ้ หายใจไม่ค่อยออก อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์ ส่วนผู้ที่ไม่มีอาการแพ้ ให้รักษาแผลบริเวณที่ถูกกัดและต่อยให้สะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อซ้ำ



    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131338-

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    รัฐบรรเทาน้ำท่วม สั่งพักหนี้-งดผ่อนบ้าน 3 เดือน




    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

    รัฐบาลเตรียมมาตรการบรรเทาน้ำท่วม สั่งพักหนี้ไม่คิดดอกเบี้ย งดผ่อนบ้าน 3 เดือน ทางออมสินจ่ายเงินชดเชยครอบครัวละ 5,000 บาท

    วานนี้ (13 ตุลาคม) ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ได้กล่าวถึง การเตรียมมาตรการช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม อาทิ การพักชำระหนี้ไม่คิดดอกเบี้ย ในส่วนของหนี้สินค่าเช่าซื้อบ้านกับการเคหะรวม 3 เดือน

    ขณะเดียวกัน นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ส่วนเรื่องการเบิกจ่ายงบสำรองจ่ายช่วยเหลือน้ำท่วม ขณะนี้มียอดขอเงินช่วยรวม 5,000 ล้านบาท และยังมีการผ่อนปรนเงื่อนไข ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้จ่ายเงินตามดุลพินิจที่เห็นสมควรได้เลย นอกจากนี้ ธนาคารของรัฐได้เตรียมแนวทางช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยหยุดพักชำระหนี้จนกว่าน้ำจะแห้งและจะปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อซ่อมแซมบ้านเรือนและเป็นเงินหมุนเวียนในการประกอบอาชีพใหม่

    ทางด้าน กรมสรรพากร ได้ออกมาตรการภาษี ให้ผู้บริจาคเงินนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 1.5 เท่า เพื่อกระตุ้นให้มีการบริจาคเงินช่วยคนน้ำท่วมมากขึ้น ส่วนทางธนาคารออมสินได้จ่ายเงินชดเชยให้ครอบครัวละ 5,000 บาท ไปแล้ว 1.5 แสนครอบครัว จากทั้งหมด 1.7 แสนครอบครัว

    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ข่าวสด

    [​IMG]

    -http://hilight.kapook.com/view/63695-

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    ใช้ชีวิตอย่างไร ไม่ให้มีเรื่องเสียใจภายหลัง



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม



    เคย คิดเสียใจกับเรื่องบางเรื่องแบบเจ็บใจสุด ๆ กันบ้างไหมเอ่ย พอนึก ๆ แล้วก็ต้องมีอารมณ์ประมาณว่าวันนั้น เหตุการณ์นั้น น่าจะทำอย่างโน้น อย่างนี้ เยอะแยะมากมายเต็มไปหมด แต่ต่อจากนี้ไปคุณอาจจะไม่ต้องมีความรู้สึกแบบนั้นแล้วล่ะ เพราะเราได้นำคำแนะนำดี ๆ จากคุณเทส มาร์แชล จากเว็บไซต์ Goodlifezen.com มาบอกกัน


    ฮันแน่! อยากรู้แล้วใช่ไหมว่าข้อควรปฏิบัติดี ๆ ที่ว่านั้นจะมีอะไรบ้าง จะช้าอยู่ทำไมล่ะ ตามมาดูกันโลดดด...


    [​IMG] ดูแลตัวเอง


    การดูแลตัวเองถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพร่างกาย การแต่งกาย รวมถึงการนึกคิด ตัดสินใจและการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง ฝึกดูแลตัวเองเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้เข้าไว้ แล้วจะเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณเองอย่างแน่นอน


    [​IMG] รู้จักตนเอง


    อีก หนึ่งข้อที่สำคัญไม่แพ้กัน คือคุณต้องรู้จักข้อดี - ข้อเสียของตัวคุณเอง เพราะถ้าคุณไม่รู้สิ่งเหล่านี้ที่เกี่ยวข้องกับคุณโดยตรงแล้วล่ะก็ เห็นทีคุณคงจะต้องมีเรื่องให้ต้องเสียใจอยู่เรื่อย ๆ ทีเดียวเชียวแหละ


    [​IMG] เปิดโอกาสให้ตัวเอง


    อย่า ได้ปิดตัวเองให้จบปลักอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนไม่เป็นอันทำอะไรโดยเด็ดขาด มีฝันก็ขอให้ทำตามฝัน เพราะโลกใบนี้ยังมีสิ่งต่าง ๆ มากมายรอให้คุณได้ไปเจอ ไปสัมผัส อยู่เต็มไปหมด ฉะนั้น ใช้ชีวิตให้คุ้มค่า ลองเปิดใจกับสิ่งใหม่ ๆ เพื่อประสบการณ์ที่ดีของชีวิต


    [​IMG] รู้จักแบ่งปัน


    ถัด มาก็คือการรู้จักแบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้ผู้อื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรี่องราวที่คุณได้พอเจอมา ข้อมูลเด็ด ๆ และเรื่องดี ๆ โดน ๆ มากมายสารพัด เหล่านี้ลองไปบอกกล่าวคนรอบข้างดูบ้าง จะสร้างความสุขให้คุณได้อย่างไม่น่าเชื่อเลยล่ะ


    [​IMG] พูดจาไพเราะ


    คิดเอาง่าย ๆ เวลาที่มีใครมาพูดกับคุณด้วยคำพูดที่ไพเราะ เสนาะหู คุณก็จะรู้สึกดีและอยากจะคุยกับคน ๆ นั้นต่อไปเรื่อย ๆ ใช่ไหมล่ะ ฉะนั้นแล้ว ก็ลองนำวิธีนี้ไปใช้ให้ติดเป็นนิสัยเลยก็ได้ เป็นอะไรที่ดูเข้าท่าอยู่ไม่น้อยเลยนะ จะบอกให้..


    [​IMG] ใช้ชีวิตอย่างง่าย ๆ


    อย่าผูกมัดตัวเองกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป พูดง่าย ๆ ก็ชิล ๆ เข้าไว้ ทำแต่ละวันให้ดีที่สุด เรื่องอะไรที่แย่ ๆ เช่น การเป็นคนชอบนินทาคนอื่น ชอบเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น หรือจะอะไรก็ตามแต่ที่เป็นแง่ลบ เลิกคิดเลิกทำซะ ทำตัวสบาย ๆ แล้วทุกอย่างก็จะชิลตามมาเอง


    ทำจิตใจให้สงบเข้าไว้


    โลกเราทุกวันนี้มีเรื่องให้ได้วุ่นวายมากพอแล้ว อย่าได้เอาจิตใจของเราไปวุ่นวายให้เปล่าประโยชน์ตามเลย ลองฝึกสมาธิ สวดมนต์หรือใด ๆ ก็ได้ให้จิตใจได้สงบ ๆ ลงบ้าง จะเป็นประโยชน์อย่างมากเลยล่ะ


    [​IMG] สัมผัสธรรมชาติบ้างก็ดีนะ


    ไป ว่ายน้ำ ปลูกต้นไม้ ปีนเขา เดินเท้าเปล่าผืนบนหญ้า พาร่างกายไปเจอและรับแสงแดด หรือลองทำกิจกรรมกลางแจ้งดูบ้าง อยากจะบอกว่าเป็นอะไรทื่ช่วยให้ร่างกายและจิตใจรู้สึกสดชื่น กระชุ่มกระชวย แบบเต็ม ๆ เน้น ๆ มากมายเลยนะเออ


    [​IMG] รู้จักการให้อภัย


    เคยมีคนบอกไว้ว่า "จะโกรธจะงอนกันทำไม กว่าจะรักกันได้ก็ไม่ใช่ง่าย ๆ ยังไงก็ต้องกลับมาดีกัน เสียดายเวลาที่ทุกข์ใจ เอาเวลานั้นมาบอกรักกันดีกว่า" คำพูดนี้บอกได้เลยว่าจริงสุด ๆ โกรธเคืองหรือแง่งอนกันไปก็เท่านั้น เสียเวลาเปล่า ๆ ให้อภัยกันได้ก็ให้กันไป ยอม ๆ กันบ้าง จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจภายหลัง


    [​IMG] ยอมรับในความเป็นตัวตนของแต่ละคน


    คน เราเกิดมาต่างก็มีลักษณะการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไป จะผิดหรือแปลกแยกกันบ้างก็ถือเป็นเรื่องที่ปกติ ดังนั้นแล้ว ยอมรับในสิ่งที่คนรอบข้างเป็น เข้าใจในตัวตนของแต่ละฝ่ายซึ่งกันและกัน จะเข้าท่ากว่ากันเยอะเลยล่ะ


    [​IMG] ออกกำลังกายก็สำคัญนะ


    อย่า คิดว่าการออกกกำลังกายไม่สำคัญ ลองคิดดูสิว่า หากสภาพร่างกายไม่แข็งแรง มีเรื่องที่อยากจะทำมากมายแต่ทำไม่ไหว มันจะทำให้คุณต้องเสียใจขนาดไหน ฉะนั้น ออกกำลังกายเข้าไว้ เพื่อที่ร่างกายจะได้แข็งแรง จะได้พร้อมที่จะทำในสิ่งที่อยากทำได้อย่างฟิตพร้อมสมบูรณ์


    [​IMG] แบ่งเวลาไปสังสรรค์บ้าง


    ชีวิตคนเราจะมัวแต่หลังขดหลังแข็งทำงานเก็บเงินอย่างเดียวมันเป็นไปไม่ได้ ขืนทำแบบนั้นอย่างเดียวมีหวังได้ลาจากโลกนี้ไปก่อนใช้เงินที่หามาแน่ ๆ หาเวลาไปเอ็นเตอร์เทนตัวเอง เอาความสุขใส่ตัวบ้าง จะไปสังสรรค์กับเพื่อนหรือทำในสิ่งที่ชอบก็ทำไป ชีวิตจะได้สมดุลขึ้นมาหน่อยไงล่ะ


    [​IMG] ทำอะไรสนุก ๆ แผลง ๆ ในหมู่เพื่อน


    ลองหาเวลานั่งคุยกับเพื่อนแล้วนึกอะไรสนุก ๆ หรืออะไรที่แผลง ๆ ดู นอกจากจะเป็นเรื่องสนุกในหมู่เพื่อนแล้ว ไม่แน่นะ แรงบันดาลใจหรือไอเดียอื่น ๆ ที่มีความน่าสนใจอาจจะเข้ามาหาคุณโดยไม่ทันตั้งตัวเลยก็ได้นะ


    [​IMG] ฝันให้ไกล แล้วไปให้ถึง


    เพลงของ เสก โลโซ เคยบอกไว้ว่า "ขอ เพียงแค่ฝันให้ไกล แล้วไปให้ถึงที่จุดหมาย โปรดจงมั่นใจที่ทำลงไปนะถูกแล้ว อย่าฟังคำคนอย่าสนใจใคร อย่าเปลี่ยนแนว คนแน่แน่วเท่านั้นผู้ชนะ" (มาเป็นเพลง!) จริงอย่างที่เขาว่าไว้นะจ๊ะ แน่แน่วและแน่วแน่เข้าไว้ ไม่ผิดที่จะทำตามฝัน แต่จะผิดหากทิ้งความฝันนั้นไปอย่างง่าย ๆ ในเมื่อกล้าที่จะฝันแล้ว ต้องทำให้ได้ จำไว้!!


    [​IMG] ลองเรื่องเสี่ยง ๆ ดูบ้าง


    กีฬาท้าชีวิต หรือเรื่องไหนที่คุณกลัว ลองรวบรวมความกล้าแล้วไปเผชิญหน้ากับมันให้เต็มที่ แล้วความกลัวหรือเรื่องเสี่ยงใด ๆ ก็จะไม่สามารถทำให้คุณกลัวหรือไม่กล้าได้อย่างแน่นอน ฟันธง!!


    [​IMG] ติดตามข่าวสารบ้านเมืองและอัพเดตเรื่องใหม่ ๆ


    ทุก วันนี้โลกเรามีการเปลี่ยนแปลงไปมากมาย แถมยังมีข่าวสารจากหลากหลายแวดวงให้ได้รับรู้อีกมากมาย ฉะนั้นแล้ว คิดตามข่าวสารไว้บ้าง จะได้รู้ว่าโลกได้ก้าวไปถึงไหนแล้ว อีกทั้งเรื่องไหนที่ฮอตฮิตก็ดู ๆ ไว้บ้าง เผื่อใครมาถามจะได้มีเรื่องให้ได้พูดกันไปเยอะ ๆ


    [​IMG] ประหยัด อดออม


    เศรษฐกิจโลกทุกวันนี้ไม่ได้ดีเหมือนแต่ก่อน บางประเทศยังประสบปัญหาทางการเงินให้วุ่นวายปวดหัวกันเป็นแถว ณ ตอนนี้อะไรที่ประหยัดได้ก็ช่วย ๆ กันประหยัด อย่าใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย เพราะหากในวันข้างหน้าคุณมีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้เงินและไม่มีให้ใช้ล่ะก็ เดือดร้อนหนักแน่นอน


    [​IMG] รู้จักแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล


    เมื่อ ไหร่ก็ตามที่คุณต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ไม่ได้รับเชิญ ขอให้ตั้งสติให้ดี ๆ อย่าใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง ค่อย ๆ แก้ปัญหานั้น ๆ ไปอย่างมีเหตุมีผล และทำให้ดีที่สุด เรียนรู้จากประสบการณ์ที่เคยพบเจอมา แล้วนำมาปรับประยุกต์ใช้กับเรื่องนั้น ๆ ขอให้จำไว้เสมอว่าทุกปัญหา มีทางออกของมันอยู่เสมอ


    [​IMG] เลิกบ่นหรือตัดพ้อตัวเอง


    แน่ นอนว่าคนเราย่อมเจอกับเรื่องราว เสียงวิพากษ์วิจารณ์ และการโดนนินทาว่าร้ายกันอยู่ทุกคน จะโดนมาก โดนน้อย ก็แตกต่างกันไป แต่จะมีประโยชน์อะไรถ้าจะมัวมานั่งบ่นโน่น ตินี่ หรือกล่าวโทษตัวเองให้ช้ำจิตช้ำใจเล่น เอาเวลาส่วนนั้นไปทำประโยชน์อย่างอื่นดีกว่าเนอะ จะได้ไม่เครียด


    [​IMG] เลือกที่จะเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ


    อย่าง ที่เรา ๆ ท่าน ๆ เคยได้ยินกันมาว่า "การให้ที่ยิ่งใหญ่ คือการให้โดยที่ไม่หวังผลตอบแทน" นี่ถือเป็นข้อที่ควรปฏิบัติมาก ๆ การได้ช่วยเหลือคนอื่น ๆ ให้หายเดือดร้อนหรือละได้ซึ่งความทุกข์ ถือเป็นการทำบุญ ได้กุศลอย่างมากมายเลยทีเดียว


    [​IMG] ใช้เรื่องที่เคยเสียใจ มาสอนให้คุณแข็งแกร่งขึ้น


    ไม่ว่าคุณจะเคยเจอะเจอกับเรื่องเสียใจมามากน้อยขนาดไหน อย่าได้ไปจมปลักกับมัน แต่จงใช้มันเป็นบทเรียนชีวิต เพื่อสอนให้คุณได้ก้าวไปสู่วันข้างหน้าด้วยความแข็งแกร่งมากขึ้น และหากวันใดที่คุณต้องเจอกับเรื่องเสียใจอีก คุณจะผ่านมันไปได้อย่างง่าย ๆ สบาย ๆ


    ได้รู้ข้อ ปฏิบัติในการใช้ชีวิตดี ๆ แบบนี้แล้ว ก็ลองนำไปปรับใช้กันดูนะจ๊ะ อย่างน้อยก็เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันจิตใจของเราให้ดียิ่งขึ้นนะ^^


    -http://health.kapook.com/view32321.html-

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    เผย 71 ทางหลวงน้ำท่วม รถผ่านไม่ได้ แนะใช้ทางเลี่ยง <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">14 ตุลาคม 2554 21:26 น.</td></tr></tbody></table>

    กรมทางหลวงแจ้งเส้นทางน้ำท่วมและทางเลี่ยง เผยทางหลวงถูกน้ำท่วมจนรถไม่สามารถผ่านได้ 71 สายทาง เผยเส้นทางเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วมถนนหลายเส้นทาง

    นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยปัจจุบันยังส่งผลให้เส้นทางการจราจรทางบกบางส่วนถูกน้ำ ทะลักเข้าท่วม จนไม่สามารถใช้สัญจรไปมาตามปกติ ซึ่งจากสรุปรายงานการเกิดอุทกภัย กรมทางหลวง ประจำวันที่ 14 ตุลาคม 2554 เวลา 07.30 น. มีสภาวะน้ำท่วมพื้นที่ 18 จังหวัด 102 สายทาง (รวมจำนวน 111 แห่ง ผ่านได้ 40 แห่ง ผ่านไม่ได้ 71 แห่ง)

    ทั้งนี้ เพื่อให้การเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขต พื้นที่ประสบอุทกภัยคล่องตัว และปลอดภัยยิ่งขึ้น กรมทางหลวง ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงเส้นทาง 71 สายทางที่ผ่านไม่ได้ ในพื้นที่ 16 จังหวัด เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง

    จังหวัดพิจิตร
    1. ทางหลวงหมายเลข 111 ตอน สากเหล็ก-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม.9-16
    2. ทางหลวงหมายเลข 113 ตอน บางมูลนาก-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 14-25
    3. ทางหลวงหมายเลข 1067 ตอน บางมูลนาก-โพทะเล ท้องที่อำเภอบางมูลนาก และอำเภอโพทะเล ที่ กม. 0-19
    4. ทางหลวงหมายเลข 1068 ตอน วังจิก-ไผ่ท่าโท ท้องที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ที่ กม. 7-10
    5. ทางหลวงหมายเลข 1068 ตอน โพธิ์ประทับช้าง-วังจิก ท้องที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ที่ กม.14-15
    6. ทางหลวงหมายเลข 1118 ตอน ตะพานหิน-บางมูลนาก ท้องที่อำเภอตะพานหิน ที่ กม. 4-11
    7. ทางหลวงหมายเลข 1221 ตอน พิจิตร-พิษณุโลก ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 0-8
    8. ทางหลวงหมายเลข 1289 ตอน วังสำโรง-บางลาย ท้องที่อำเภอบึงนาราง ที่ กม. 9-10
    9. ทางหลวงหมายเลข 1304 ตอน หัวดง-ยางสามต้น ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 2-7
    10. ทางหลวงหมายเลข 1313 ตอน บางมูลนาก-ตะพานหิน ท้องที่อำเภอบางมูลนาก ที่ กม. 11-14

    จังหวัดพิษณุโลก
    1. ทางหลวงหมายเลข 1275 ตอน ท่าช้าง-พรหมพิราม ท้องที่อำเภอพรหมพิราม ที่ กม.4-9
    2. ทางหลวงหมายเลข 1293 ตอน สุโขทัย-บางระกำ ท้องที่อำเภอบางระกำ ที่ กม. 31-55
    3. ทางหลวงหมายเลข 1310 ตอน ทับยายเชียง-พรหมพิราม ท้องที่อำเภอพรหมพิราม ที่ กม. 8-14
    จังหวัดกำแพงเพชร ทางหลวงหมายเลข 1280 ตอน ทุ่งมหาชัย-ละหาน ท้องที่อำเภอคลองขลุง ที่ กม. 28-29

    จังหวัดนครสวรรค์
    1. ทางหลวงหมายเลข 1 ตอน สะพานเดชาติวงศ์ – นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 340 – 343
    2. ทางหลวงหมายเลข 117 ตอน นครสวรรค์-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 4-16
    3. ทางหลวงหมายเลข 122 ตอน ทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ด้านตะวันตก ท้องที่อำเภอเมืองที่ กม. 0-7
    4. ทางหลวงหมายเลข 225 ตอน ปากน้ำโพ-นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอชุมแสง ที่ กม.1-36
    5. ทางหลวงหมายเลข 1084 ตอน ป่าแดง-บรรพตพิสัย ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 48-52
    6. ทางหลวงหมายเลข 1182 ตอน นครสวรรค์-บรรพตพิสัย ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 1-4
    7. ทางหลวงหมายเลข 3319 ตอน โกรกพระ-อุทัยธานี ท้องที่อำเภอโกรกพระ ที่ กม. 0-3
    8. ทางหลวงหมายเลข 3522 ตอน ทางแยกเข้าพยุหะคีรี ท้องที่อำเภอพยุหะคีรี ที่ กม. 2-4
    9. ทางหลวงหมายเลข 3475 ตอน ทับกฤช-พนมรอก ท้องที่อำเภอชุมแสง ที่ กม. 0-25

    จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    1. ทางหลวงหมายเลข 1 ตอน ประตูน้ำพระอินทร์ – วังน้อย – หนองแค และอำเภอวังน้อย ที่ กม.55 – 68
    2. ทางหลวงหมายเลข 32 ตอน บางปะอิน-นครหลวง ท้องที่อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ที่ กม. 3-26
    3. ทางหลวงหมายเลข 32 ตอนนครหลวง-อ่างทอง ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 26-40
    4. ทางหลวงหมายเลข 308 ตอน บ้านเลน-บางปะอิน ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 1-7
    5. ทางหลวงหมายเลข 309 ตอน วังน้อย-อยุธยา ท้องที่อำเภอวังน้อย ที่ กม. 0-19
    6. ทางหลวงหมายเลข 329 ตอน บางปะหัน-สุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 32-43
    7. ทางหลวงหมายเลข 347 ตอน บางปะอิน-เจ้าปลุก ท้องที่อำเภอเมืองและอำเภอบางปะหัน ที่ กม. 22-50
    8. ทางหลวงหมายเลข 347 ตอน เจ้าปลุก-บางปะหัน ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 50-51
    9. ทางหลวงหมายเลข 352 ตอน ทางแยกต่างระดับวังน้อย-สระบุรี ท้องที่อำเภอวังน้อย ที่ กม. 25-27
    10.ทางหลวงหมายเลข 356 ตอน บ้านหว้า-ปากกราน ท้องที่อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ที่ กม. 0-5
    11.ทางหลวงหมายเลข 3063 ตอน ทางแยกไปนครหลวง ท้องที่อำเภอนครหลวง ที่ กม. 15-23
    12.ทางหลวงหมายเลข 3196 ตอน มหาราช-บ้านแพรก ท้องที่อำเภอมหาราช ที่ กม. 96-105
    13.ทางหลวงหมายเลข 3267 ตอน อ่างทอง-อยุธยา ท้องที่อำเภอมหาราช ที่ กม. 5-17
    14.ทางหลวงหมายเลข 3412 ตอน บางบาล-ผักไห่ ท้องที่อำเภอบางบาล ที่ กม. 8-15
    15.ทางหลวงหมายเลข 3454 ตอน โพธิ์ทอง-หน้าโคก ท้องที่อำเภอผักไห่ ที่ กม. 81-87
    16.ทางหลวงหมายเลข 3467 ตอน นครหลวง-ท่าเรือ ท้องที่อำเภอนครหลวง ที่กม. 0-8
    17.ทางหลวงหมายเลข 3469 ตอน อยุธยา-บางปะอิน ท้องที่อำเภอบางปะอิน ที่กม. 0-3
    18.ทางหลวงหมายเลข 3477 ตอน บางปะอิน-อยุธยา ท้องที่อำเภอบางปะอิน ที่กม. 0-14

    จังหวัดสิงห์บุรี
    ทางหลวงหมายเลข 11 ตอน อินทร์บุรี-ตากฟ้า ท้องที่อำเภออินทร์บุรี คอสะพานขาด ที่ กม. 5
    ทางหลวงหมายเลข 311 ตอน สิงห์บุรี-ชัยนาท ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 6-9
    ทางหลวงหมายเลข 3030 ตอน สิงห์บุรี-บางระจัน ท้องที่อำเภอเมืองที่ กม. 0-1
    ทางหลวงหมายเลข 3028 ตอน บางงา-บ้านหมี่ ท้องที่อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอบ้านหมี่ ที่ กม. 1-24
    ทางหลวงหมายเลข 3033 ตอน บางา-พรหมบุรี ท้องที่อำเภอพรหมบุรีที่ กม. 1-10

    จังหวัดลพบุรี
    ทางหลวงหมายเลข 311 ตอน เลี่ยงเมืองลพบุรี ท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอท่าวุ้ง ที่กม. 8-19
    ทางหลวงหมายเลข 311 ตอน ลพบุรี-สิงห์บุรี ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 159-166
    ทางหลวงหมายเลข 3016 ตอน บ้านป่าหวาย-บ้านป่าตาล ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 2-5
    ทางหลวงหมายเลข 3019 ตอน เขาพระงาม-โคกกระเทียม ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 1-2
    ทางหลวงหมายเลข 3196 ตอน ลพบุรี-โพธิ์เก้าต้น ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 76-94

    จังหวัดชัยนาท
    ทางหลวงหมายเลข 1 ตอน แยกสายเอเชีย-สวนนก-ชัยนาท ท้องที่อำเภอเมือง
    ทางหลวงหมายเลข 3183 ตอน ชัยนาท-วัดสิงห์ ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ ที่ กม. 25-28
    ทางหลวงหมายเลข 3213 ตอน วัดสิงห์-หนองมะโมง ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ ที่ กม. 0-1
    ทางหลวงหมายเลข 3244 ตอน ชัยนาท-ท่าหาด ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 0-2

    จังหวัดปทุมธานี ทางหลวงหมายเลข 3309 ตอน ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร-สามโคก ท้องที่อำเภอสามโคก ที่ กม. 28-34

    จังหวัดอุทัยธานี ทางหลวงหมายเลข 333 ตอน อุทัยธานี-นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 1-14 , ทางหลวงหมายเลข 3265 ตอน ทางเลี่ยงเมืองอุทัยธานี ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 0-2 และทางหลวงหมายเลข 3265 ตอน อุทัยธานี-มโนรมย์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 1-7

    จังหวัดสระบุรี ทางหลวงหมายเลข 3020 ตอน พระพุทธบาท-หนองโดน ท้องที่อำเภอพระพุทธบาท ที่กม. 6-8 , ทางหลวงหมายเลข 3022 ตอน พระพุทธบาท-ท่าเรือ ท้องที่อำเภอบ้านหมอ ที่ กม. 12-13 และทางหลวงหมายเลข 3034 ตอน หน้าพระลาน-โรงปูนซิเมนต์ ท้องที่อำเภอบ้านหมอ ที่ กม. 14-16

    จังหวัดสุพรรณบุรี ทางหลวงหมายเลข 340 ตอน ทางแยกเข้าสุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 0-1 และทางหลวงหมายเลข 329 ตอน อ่างทอง-อยุธยา ท้องที่อำเภอท่าระหัด ที่ กม. 0-1

    จังหวัดนนทบุรี ทางหลวงหมายเลข 345 ตอน สะพานนนทบุรี-บางบัวทอง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่ กม. 4-5
    จังหวัดอ่างทอง ทางหลวงหมายเลข 3064 ตอน อ่างทอง-โพธิ์ทอง ท้องที่อำเภอโพธิ์ทอง ที่ กม.8-9

    จังหวัดปราจีนบุรี ทางหลวงหมายเลข 3076 ตอน บ้านสร้าง-นครนายก ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่ กม. 0-5 , ทางหลวงหมายเลข 3293 ตอน ปราจีนบุรี-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่ กม. 0-10 , ทางหลวงหมายเลข 3347 ตอน ฉะเชิงเทรา-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่ กม. 15-31 และทางหลวงหมายเลข 3481 ตอน บางขนาก-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่ กม. 26-28

    จังหวัดมหาสารคาม ทางหลวงหมายเลข 2391 ตอน กู่ทอง-บ้านเขื่อน ท้องที่อำเภอโกสุมพิสัย ที่ กม. 15-17

    ส่วนผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย กรมทางหลวง ขอแนะใช้เส้นทางเลี่ยงน้ำท่วม ดังนี้
    1. ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ช่วง กม.51-58 เขต อำเภอวังน้อย ทั้งขาเข้า-ขาออก มีน้ำท่วมขังในเส้นทาง โดยเฉพาะ กม.55-57 ระดับน้ำสูง 60 เซนติเมตร ทำให้การจราจรติดขัด แนะนำใช้ทางเลี่ยง ถนนวงแหวนตะวันตก และเส้นทางสายรังสิต-องครักษ์-บ้านนา-นครนายก-สระบุรี หากจะเดินทางไปภาคเหนือสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 21 ไปสู่ภาคเหนือทางจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ และสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 205 เข้า โคกสำโรง-ตากฟ้า และใช้ทางหลวงหมายเลข 11 ไป อำเภอวังทองได้ และหากจะเดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 2
    2. ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ขาออก ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา-อำเภอบางปะหัน ระดับน้ำสูง ยังคงปิดสะพานเดชาติวงศ์ และปิดการจราจรถนนพหลโยธิน ไม่ให้เข้าตัวจังหวัดนครสวรรค์ ขอให้ใช้ทางเลี่ยงจังหวัดนครสวรรค์ ขาออกจากกรุงเทพฯ เพื่อเดินทางไปภาคเหนือ

    นอกจากนี้ ควรเลี่ยงเส้นทางพหลโยธิน อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้เส้นทางการเดินทาง ดังนี้
    1. เส้นทางวงแหวนตะวันตก ถึงแยกบางบัวทอง ใช้ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ไปถึง จังหวัดสุพรรณบุรี เลี่ยงเมืองอ่างทอง แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ไปอำเภอตาคลี – ตากฟ้า – ไพศาลี – หนองบัว – เขาทราย – พิจิตร – วังทอง – พิษณุโลก ไปภาคเหนือ
    2. ช่วงจังหวัดสุพรรณบุรี – ชัยนาท ยังไปได้ แต่จากจังหวัดชัยนาท – สวนนก – ต่างระดับที่จะออกทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ท้องที่อำเภอเมือง ผนังกั้นน้ำด้านซ้ายทางชำรุด ที่กม. 290+500 น้ำท่วมสูง 35 ซม. รถทุกชนิดผ่านไม่ได้ หากจะเดินทางต่อไปยังภาคเหนือ ให้เลี่ยงไปทางจังหวัดสิงห์บุรี โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย)

    อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้อง สัญจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย ขอให้โปรดใช้ความระมัดระวังในการใช้เส้นทางเพิ่มขึ้นด้วย และให้สอบถามเส้นทางก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือทุกระยะในการเดินทาง สำหรับประชาชนที่ต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง การจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรศัพท์ไปได้ที่ สายด่วนกรมทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง 1586 ตำรวจทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง 1193 สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง 0 2354 6530, 0 2354 6668-76 ต่อ 2014, 2031

    ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง 0 2354 6551 ศูนย์บริการข้อมูลทางหลวงพิเศษ 0 2533 6111 หน่วยกู้ภัย มอเตอร์เวย์ กรุงเทพ – ชลบุรี (สายใหม่) 0 3857 7852 – 3 หน่วยกู้ภัยวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก (บางปะอิน – บางพลี) 0 2509 6832 ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)1111 กด 5 สายด่วน กรมทางหลวงชนบท 1146


    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131420-

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    “เขื่อนลำตะคอง” เสริมสปิลล์เวย์เพิ่มจุ 353 ล้านลบ.ม. – เตือนล้นอีกท่วมโคราชรุนแรง ! <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">14 ตุลาคม 2554 19:09 น.</td></tr></tbody> </table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr><td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="baseline">ม.ล.อนุมาศ ทองแถม ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา </td> </tr> </tbody> </table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="baseline">เขื่อน ลำตะคอง เสริมแผ่นเหล็ก STOP LOG หน้าทางระบายน้ำล้น (Service Spillway) เพื่อเพิ่มความจุเขื่อนให้รองรับน้ำได้มากขึ้นจากเดิม 314.49 ล้าน ลบ.ม. เป็น 353 ล้าน ลบ.ม. </td> </tr> </tbody> </table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table>
    [​IMG]


    ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - ปริมาณน้ำเขื่อนใหญ่โคราชล้นเกินความจุสูงไม่หยุด เผย “ลำตะคอง” เสริมแผ่นเหล็กสปิลล์เวย์เพิ่มความจุอีกกว่า 38 ล้าน ลบ.ม.เป็น 353 ล้านลบ.ม. เตือนหากยังล้นอีกท่วมรุนแรงแน่ ล่าสุดจ่ออยู่ที่ 328 ล้านลบ.ม. ส่วน “ลำพระเพลิง” น้ำสูงกว่าปากช่องสปิลล์เวย์ 40 ซม. ขณะฝนตกซ้ำเติมต่อเนื่อง ด้านผอ.ชลประทานที่ 8 ย้ำเขื่อนลำตะคองไม่แตก ชี้ลุ้นหลังวันที่ 16 ต.ค.ฝนลดหนาวมาแทน ฟันธงไม่ตกหนักต่อเนื่อง 2 วัน 2 คืนโคราชพ้นวิกฤตไม่เจอน้ำท่วมใหญ่

    วันนี้ (14 ต.ค.) ม.ล.อนุมาศ ทองแถม ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำของ จ.นครราชสีมา ว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ของ จ.นครราชสีมา ขณะนี้ปริมาณน้ำในอ่างหรือในเขื่อนทุกแห่งเกินความจุหมดแล้ว และยังเพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ไม่น่าเป็นห่วงเนื่องจากตัวเขื่อนทุกแห่งแข็งแรงสามารถรองรับปริมาณน้ำ ได้อย่างเต็มที่

    โดยเฉพาะเขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว นั้นได้ทำการเสริมแผ่นเหล็กที่ช่องระบายน้ำล้นหรือสปิลล์เวย์ เพื่อเพิ่มความจุน้ำอีกกว่า 38 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) จากเดิมความจุตามแบบเดิม 314.49 ล้านลบ.ม. เป็น 353 ล้าน ลบ.ม. ทำให้สามารถชะลอน้ำหลากไว้ได้มาก และส่งผลให้พื้นที่ใต้เขื่อนปลอดภัยจากน้ำท่วมมากขึ้น และยืนยันว่า เขื่อนลำตะคองสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการกักเก็บสูงสุดถึง 360 ล้าน ลบ.ม. ฉะนั้นจึงขอให้ประชาชนมั่นใจในความแข็งแรงของเขื่อนและไม่มีปัญหาแตกร้าว หรือเขื่อนพังอย่างที่วิตกกันแน่นอน

    สำหรับเขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย ล่าสุดระดับน้ำสูงกว่าปากช่องระบายน้ำล้น หรือ สปิลล์เวย์ประมาณ 40 เซนติเมตร (ซม.) ทำให้น้ำล้นออกทางสปิลล์เวย์ตลอดเวลาและทางเขื่อนได้ระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปริมาณน้ำไหลลงเหนืออ่างมีน้อยลงเพราะขณะนี้ส่วนใหญ่ฝนจะตกพื้นที่ ใต้เขื่อน จึงทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

    ม.ล.อนุมาศ กล่าวต่อว่า จากการประเมินสถานการณ์น้ำใน จ.นครราชสีมา ทั้งปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำฯ และน้ำฝนขณะนี้ค่อนข้างสบายใจได้ จากข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ คาดการณ์ตรงกันว่าพื้นที่ จ.นครราชสีมา ปริมาณฝนจะลดลงและหยุดตกหลังวันที่ 16 ต.ค.นี้ จากนั้นมวลอากาศเย็นจะแผ่เข้ามาแทน ซึ่งจากนี้ไปหากไม่มีฝนตกหนักต่อเนื่อง 48 ชั่วโมง หรือ 2 วัน 2 คืน โคราชก็ไม่มีปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่เกิดขึ้นเหมือนปีที่ผ่านมาแน่นอน แต่ในช่วงนี้อาจมีน้ำมูลเอ่อท่วมพื้นที่ริมตลิ่งบ้าง เนื่องจากปริมาณน้ำในลำน้ำมูลเต็มหมดแล้วและมีฝนตกบริเวณท้ายเขื่อนจึงทำให้ น้ำมูลล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่ม อ.โชคชัย, เฉลิมพระเกียรติ, โนนสูง และ อ.พิมาย ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตร แต่ถือเป็นเรื่องปกติเพราะพื้นที่เหล่านี้ประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปีอยู่แล้ว

    “ขอฝากไปยังพี่น้องประชาชนชาวโคราชว่าอย่าตื่นตระหนกและไม่ ต้องกังวลเรื่องน้ำท่วม เพราะเจ้าหน้าที่ชลประทานและทางจังหวัดนครราชสีมาได้เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยร่วมกันวางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและยังมีการแจ้งเตือนภัยตาม ระดับที่วางไว้ทั้ง 4 ระดับ ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงด้วย” ม.ล.อนุมาศ กล่าว

    ทางด้านโครงการชลประทานนครราชสีมา รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ของ จ.นครราชสีมา ระบุว่า ล่าสุดวันนี้(14 ต.ค.) ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนขนาดใหญ่ 4 โครงการ ของ จ.นครราชสีมา ซึ่งทุกแห่งเกินขนาดความจุได้เพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยวันนี้ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวม 1,038.49 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 104.27 % ความจุที่ระดับเก็บกักรวม 995.92 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ที่มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวม 1,029.61 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103.38 %ความจุรวม

    ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำที่สำคัญ คือ เขื่อนลำตะคอง ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำ 337.29 ล้านลบ.ม. (รวมน้ำบนอ่างเขายายเที่ยง 8.94 ล้านลบ.ม.) คิดเป็น 107.25 % ของความจุที่ระดับเก็บกัก 314.49 ล้านลบ.ม. อยู่ในขั้นแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมระดับ 3 จาก 4 ระดับ ให้ “เตรียมรับน้ำท่วม” เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้( 13 ต.ค.) ที่มีปริมาณน้ำ 332.67 ล้านลบ.ม. และ เมื่อวานมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 5.780 ล้านลบ.ม. ระบายน้ำลงใต้เขื่อนวันละกว่า 1.1 ล้าน ลบ.ม.

    อย่างไรก็ตามจากที่ทางเขื่อนลำตะคองได้เสริมแผ่นเหล็กสปิลล์เวย์ เพื่อเพิ่มขนาดความจุ เป็น 353 ล้าน ลบ.ม. ประกอบกับอ่างเก็บน้ำบนเขายายเที่ยงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่มี ประมาณน้ำ 8.94 ล้าน ลบ.ม. ได้หยุดสูบและปล่อยน้ำแล้วทำให้ขณะนี้น้ำในเขื่อนลำตะคองมีจำนวนสุทธิ 328.35 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 104.41% ของความจุใหม่ ซึ่งหากปริมาณน้ำเกิน 353 ล้าน ลบ.ม.จะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงบริเวณท้ายเขื่อน หรืออยู่ในระดับ 4 ตามเกณฑ์ระดับการเตือนภัยน้ำท่วมขั้นสูงสุดของ จ.นครราชสีมา โดยน้ำจะล้นสปิลล์เวย์ไหลทะลักเข้าสู่ อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.เมือง และ อ.เฉลิมพระเกียรติ ก่อนลงสู่แม่น้ำมูล

    สำหรับเขื่อนลำพระเพลิง ต.ตะขบ อ.ปักธงชัย มีปริมาณน้ำ 115.99 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 105.80 % ของความจุที่ระดับเก็บกัก 109.63 ล้านลบ.ม. เพิ่มจากเมื่อวานที่มีปริมาณน้ำ 114.37 ล้านลบ.ม. ซึ่งขณะนี้น้ำในอ่างได้ล้นสปิลล์เวย์อย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ต้องเร่งระบายน้ำ 1.14 ล้านลบ.ม. ต่อวันและเมื่อวานนี้เกิดฝนตกพื้นที่เหนือเขื่อนมีน้ำไหลลงอ่าง 2.764 ล้าน ลบ.ม.

    เขื่อนลำมูลบน ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำ 156.27 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 110.83 % ของความจุที่ระดับเก็บกัก 141 ล้านลบ.ม. ปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานนี้ประมาณ 1.250 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำ 4.8 แสนลบ.ม.ต่อวัน

    และ เขื่อนลำแชะ ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำ 280.72 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 102.08 % ของความจุที่ระดับเก็บกัก 275 ล้านลบ.ม. ปริมาณน้ำเท่ากับเมื่อวาน ระบายน้ำ 7 แสน ลบ.ม.ต่อวัน

    ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 18 แห่งของ จ.นครราชสีมา ล่าสุดวันนี้ ( 14 ต.ค.) ปริมาณน้ำในอ่างฯรวม 162.76 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 96.34 %ความจุที่ระดับเก็บกักรวม 168.94 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานที่มีปริมาณน้ำรวม 160.36 ล้านลบ.ม. โดยในจำนวน 18 แห่ง มีอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเกินความจุอยู่กว่า 11 แห่ง

    ขณะที่สภาพอากาศโดยรวมของจ.นครราชสีมาวันนี้ ( 14 ต.ค.) ท้องฟ้ามืดครึ้มปกคลุมไปด้วยก้อนเมฆตลอดทั้งวันและช่วงเย็นได้มีฝนตกลงมา อย่างหนักในหลายพื้นที่


    -http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131351-

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    นาทีที่ต้องพูดความจริง

    (ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 14 ตุลาคม 2554 หน้า 10)


    นาทีนี้ คนกรุงเทพฯโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร (กทม.) รอบนอกแนวคันกั้นน้ำต่างหวาดผวาไม่เป็นอันหลับนอน เพราะกลัวว่าเมื่อตื่นขึ้นมา บ้านจะเจิ่งนองไปด้วยน้ำ

    เข้าไปคุยกับ อาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ในฐานะนักธรณีวิทยาคนหนึ่งของเมืองไทย ชี้แนะการจัดการเรื่องน้ำท่วมในเมืองหลวงอย่างน่าสนใจว่า กทม.ทำทุกอย่างเรื่องการจัดการน้ำได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว แต่ กทม.ยังไม่คิดจะจัดการเรื่องคนที่จะต้องได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเลย

    "เวลา นี้คนกรุงเทพฯจะมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่คิดว่าน้ำท่วมแน่ๆ จึงตื่นตระหนก หวาดกลัว ไม่เป็นอันทำอะไร โทรศัพท์หาเพื่อน หาที่พึ่งพิงทางใจ และกักตุนอาหาร กับกลุ่มที่มั่นใจว่าน้ำไม่ท่วมแน่นอน เพราะไม่เคยเห็น และไม่รู้ข้อมูลว่ามันจะท่วมจริงๆ หรือมีโอกาสท่วม สิ่งที่ผมอยากให้ กทม.โดยเฉพาะทีมผู้บริหารดำเนินการคือ ให้ข้อมูลทุกอย่างตามความเป็นจริง ออกแถลงข่าวให้คน กทม.ทราบ" อ.ศศินกล่าว

    ในเรื่องของการจัดการ "คน" ที่จะต้องได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ กทม.จะต้องรีบทำอย่างเร่งด่วน แม้ว่าทำตอนนี้อาจจะช้าไป เพราะในอีกไม่กี่วันข้างหน้าหลายพื้นที่ใน กทม.น้ำต้องท่วม ก็ดีกว่าไม่จัดการอะไรเลย "สร้างเครือข่ายในพื้นที่ ชุมชน เพื่อเตรียมพร้อม หากประชาชนเกิดความเดือดร้อน ต้องการความช่วยเหลือเรื่องอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค หรือการเดินทางสัญจรไปมา"

    อ.ศศินบอกว่า มั่นใจว่าความตื่นตระหนกหรือการเมินเฉยกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นของคน กทม.ที่ผ่านมาเกิดจากการขาดการสื่อสารของคณะผู้บริหารที่มีต่อประชาชนนั่น เอง

    หวังว่าคำเสนอแนะเช่นนี้ ผู้บริหาร กทม.คงจะรับฟังและนำไปพิจารณาปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง

    ขณะ เดียวกัน มีข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจ นำมาพิจารณา สำหรับการปฏิบัติตัวของชาว กทม. เป็นข้อมูลการประเมินความเสี่ยงโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของพื้นที่ ที่อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมในเขต กทม.ของบริษัททีม ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษา รับดำเนินการสำรวจวิจัย ข้อมูลเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านน้ำ แก่หน่วยงานราชการและภาคเอกชนต่างๆ สำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาอุทกภัยดังนี้ (ดูประกอบแผนที่)

    สี แดง พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 3 หรือเสี่ยงสูงสุด เป็นพื้นที่น้ำท่วมแน่นอน พื้นที่ที่อยู่นอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตร จะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือน จำเป็นต้องอยู่กับน้ำให้ได้ หรืออพยพไปอยู่ที่อื่น

    พื้นที่เสี่ยง ระดับ 3 ทางตะวันออกของกรุงเทพฯนี้ จะเป็นทางที่น้ำจะหลากจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงสู่ทะเลโดยน้ำจะใช้เวลาในการเดินทางมาก ได้แก่ พื้นที่บริเวณอำเภอวังน้อย อำเภอหนองเสือ ทางตะวันออกของอำเภอธัญบุรี พื้นที่ทางตะวันออกของเขตหนองจอก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของคลองพระองค์ไชยานุชิต

    คันป้องกันน้ำท่วม ต่างๆ มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ และหากมีน้ำรั่วเข้ามาในพื้นที่ใดก็จะมีระดับน้ำท่วมสูง 1.0-2.0 เมตร แล้วแต่ความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่

    พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ ได้แก่ อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอบางใหญ่ และพื้นที่ด้านตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก ที่อยู่เหนือคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นไป และพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน การเตรียมตัว ให้ขนย้ายทรัพย์ขึ้นที่สูงไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร จอดรถยนต์ไว้ในที่สูง และติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด

    สีเหลืองเข้ม พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูง เป็นพื้นที่ที่น้ำเคยท่วมเมื่อปี 2538 ซึ่งเป็นปีน้ำท่วมสูงสุด เป็นพื้นที่รัฐบาลพยายามป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วม หากป้องกันไม่ได้ คันจะพัง น้ำจะมาเร็วและแรง ดังนั้นให้ติดตามข่าวและติดตามระดับน้ำในคลองตลอดเวลา หากมีรั่วเข้ามาท่วมได้ น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตร และจะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือน

    พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันออก ได้แก่ พื้นที่ฝั่งตะวันออกของ อ.เมืองปทุมธานี อ.คลองหลวง พื้นที่ที่อยู่เหนือคลองรังสิตประยูรศักดิ์ พื้นที่ที่อยู่เหนือถนนสายไหม และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า ถนนกิ่งแก้ว และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนบางบำหรุไปบางพลี

    พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันตกได้แก่ พื้นที่ จ.นนทบุรี ที่อยู่ทางตะวันออกของถนนกาญจนาภิเษก มาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ อ.สามพราน ที่อยู่ใต้คลองมหาสวัสดิ์ ที่อยู่ห่างจากแม่น้ำท่าจีน อ.กระทุ่มแบน อ.เมืองสมุทรสาคร ที่อยู่ห่างจากแม่น้ำท่าจีน และพื้นที่ด้านตะวันตกของเขตจอมทอง การเตรียมตัว ให้เตรียมย้ายของมีค่าขึ้นที่สูง เตรียมวางแผนหาที่จอดรถยนต์ในที่สูงและติดตามข่าวและเฝ้าระวังใกล้ชิด

    สี เหลืองอ่อน พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมระดับที่ 1 เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงปานกลาง ได้แก่ พื้นที่ฝั่งตะวันออกของ จ.นนทบุรี กทม. และ จ.สมุทรปราการ ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงระดับ 2 และ 3 ดังกล่าวข้างต้น พื้นที่นี้หากมีการท่วม น้ำจะท่วมสูงประมาณ 0.50 เมตร การเตรียมตัวนั้นขอให้ติดตามข่าวและเฝ้าระวัง

    พิจารณาเอาไว้ เป็นอีก 1 ข้อมูล ไม่เสียหลาย...


    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318569273&grpid=01&catid=&subcatid=-

    .

    http://www.matichon.co.th/news_detai...id=&subcatid=#

    .

    -http://palungjit.org/threads/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2554-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1.309304/page-3#post5241649-


    .

    http://palungjit.org/threads/รวมรวม...รู้เกี่ยวกับน้ำท่วม.309304/page-3#post5241649

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ผ่าแผนป้องกันน้ำท่วมกรุงซ้ำซาก รับมือวิกฤต 3 น้ำ "น้ำฝน-น้ำเหนือ-น้ำทะเลหนุน"


    ชัยภูมิที่ตั้งของ "มหานครกรุงเทพ" เป็นที่ราบลุ่มตอนปลายของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในเขตอิทธิพลการขึ้น-ลงของน้ำ ทะเล บวกกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของเมืองที่ขยายตัวไปมาก มีอาคารบ้านเรือน เข้ามาแทนที่ห้วย หนอง คลอง บึง และที่ว่าง ผนวกกับการทรุดตัวของดินเป็นประจำทุกปีด้วยแล้ว

    กลายเป็นต้นตอที่ทำให้ "กรุงเทพฯ" ในวันนี้หนีไม่พ้นจะประสบปัญหาน้ำท่วมได้

    2 ต้นเหตุปัญหา "น้ำท่วมกรุง"

    รายงาน ของสำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุว่า มี 2 สาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ สาเหตุที่ 1 มาจากธรรมชาติที่ยากจะควบคุมได้จาก 4 น้ำคือ "น้ำฝน-น้ำทุ่ง-น้ำเหนือ-น้ำทะเลหนุน"

    โดย "น้ำฝน" ฤดูกาลจะเริ่มช่วงพฤษภาคม-ตุลาคม มีปริมาณและความถี่สูงสุดกลางสิงหาคม-ตุลาคม เฉลี่ยต่อปี 1,500 มิลลิเมตร ประกอบกับเป็นช่วงที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้ามาในประเทศไทยและใกล้ กรุงเทพฯ

    "น้ำทุ่ง" คือน้ำฝนหรือน้ำเพื่อการกสิกรรมอยู่ด้านเหนือและตะวันออก ของกรุงเทพฯ โดยความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณและระดับน้ำและความลาดเอียงของระดับพื้นดิน ที่ทรุดตัว

    "น้ำเหนือ" เป็นน้ำฝนที่ตกในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีบางส่วนไหลผ่านกรุงเทพฯ มีผลให้ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุดในช่วงตุลาคม-พฤศจิกายน ขณะที่ขนาดของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณกรุงเทพฯสามารถรองรับปริมาณน้ำเหนือได้ 2,500-3,000 ลบ.ม./วินาที

    และ "น้ำทะเลหนุน" จะสูงสุดในช่วงตุลาคม-ธันวาคม

    จาก "มวลน้ำ" ทั้งหมดส่งผล กระทบให้พื้นที่กรุงเทพฯช่วงตุลาคม-พฤศจิกายนมีระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา สูงกว่าปกติมาก จากสถิติปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นปี 2526, 2538, 2539, 2545, 2549 และ 2553 สูงสุดวัดที่ปากคลองตลาดใกล้สะพานพุทธ อยู่ที่ 2.13, 2.27, 2.14, 2.12, 2.22, 2.17 และ 2.10 เมตรตามลำดับ

    จากสถิติในอดีตทำให้ วันนี้ กทม.ค่อนข้างมั่นใจว่าคันกั้นน้ำที่สร้างขึ้นถาวรสูงระดับ 2.50 เมตรจะต้านทานปริมาณน้ำเหนือ-น้ำทะเลหนุนได้ ยกเว้นว่าบรรดาน้ำทั้ง 3 เกลอ "น้ำเหนือ-น้ำฝน-น้ำทะเลหนุน" พร้อมใจมาในเวลาเดียวกันโดยไม่ได้นัดหมาย

    สาเหตุ ที่ 2 เกิดจาก "สภาพทางกายภาพ" มี 3 สาเหตุคือ 1) "ปัญหาผังเมือง" ที่ขาดการกำหนดผังเมืองและการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเพียงพอ ทำให้ที่ว่างรับน้ำต่าง ๆ ถูกแทนที่ด้วยการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและถนนหนทางกระจายทุกหย่อมหญ้า

    บวก กับทางระบายน้ำถูกถม ทำให้การระบายน้ำฝนออกสู่คลองไม่ทัน และระดับพื้นถนนและซอยไม่เท่ากัน หรือบางพื้นที่เป็นแอ่งกระทะเพราะแผ่นดินทรุดตัว ทำให้เกิดน้ำท่วมถนนและซอยที่ต่ำจนเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้

    2) "ปัญหาการระบายน้ำ" ที่ขาดแผนหลักระบายน้ำที่ถูกต้อง หลังคูคลองถูกถมเป็นถนน และถูกรุกล้ำจนทำให้มีขนาดที่แคบลงยากที่จะขุดลอกได้ และการวางท่อระบายน้ำในปัจจุบันมีขนาดเล็กลงตามสภาพพื้นที่เมืองที่ ถูกบีบให้เหลือน้อยลงทุกที

    และ 3) "ปัญหาแผ่นดินทรุด" ที่มีการทรุดตัวทุกปี ทำให้การลงทุนระบบต่าง ๆ ไม่ค่อยได้ผล

    เปิดพื้นที่จุดอ่อน-จุดเสี่ยง

    สำหรับ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมมี 2 ฝั่งคือ ฝั่งตะวันตก เป็นพื้นที่อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำใน 13 เขต มี 27 ชุมชนรวม 1,273 ครัวเรือน ปัจจุบันมีการรุกล้ำแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ฝั่ง จะประสบกับปัญหา น้ำท่วมทุกปีเพราะชาวบ้านไม่ยอมให้ กทม.เข้าไปสร้างแนวคันกั้นน้ำ ได้แก่ เขตบางซื่อ ดุสิต พระนคร สัมพันธวงศ์ บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย บางพลัด บางกอกน้อย ธนบุรี คลองสาน ราษฎร์บูรณะ และทวีวัฒนา

    สำหรับฝั่งตะวันออก พื้นที่ไฮไลต์อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำเช่นกัน มี 4 เขต 191 ชุมชนคือ เขตลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก และคลองสามวา

    ขณะ ที่พื้นที่ "จุดอ่อน" เป็นย่านชั้นในมี 15 จุด ได้แก่ 1) เขตสาทร ย่านถนนจันทน์ เซนต์หลุยส์ สาธุประดิษฐ์ 2) เขตพญาไท ถนนพหลโยธิน ช่วงคลองสามเสน-คลองบางซื่อ 3) เขตพระโขนง ถนนสุขุมวิท จากคลองพระโขนง-ซอยลาซาล 4) เขตวัฒนา ซอยสุขุมวิท 39 และ 49 5) เขตวังทองหลาง ถนนลาดพร้าว จากคลองลาดพร้าว-ห้างเดอะมอลล์

    6) เขตบึงกุ่ม ถนนนวมินทร์ จากคลองดอนอีกา-แยกถนนประเสริฐมนูกิจทั้งสองฝั่ง 7) เขตดินแดง ถนนรัชดาภิเษก หน้าห้างโรบินสัน 8) เขตจตุจักร ถนนรัชดาภิเษก แยกลาดพร้าว 9) เขตราชเทวี ถนนเพชรบุรี จากถนนบรรทัดทอง-แยกราชเทวี 10) เขตราชเทวี ถนนนิคมมักกะสัน 11) เขตราชเทวี ถนนพระรามที่ 6 หน้าตลาดประแจจีน

    12) เขตบางแค ถนนเพชรเกษม ซอย 63 (ซอยวัดม่วง) 13) เขตยานนาวา ถนนเย็นอากาศ จากถนนนางลิ้นจี่- ซอยศรีบำเพ็ญ 14) เขตประเวศ ถนนศรีนครินทร์ ช่วงคลองตาสาด-คลองตาช้าง และ 15) เขตพระนคร ถนนสนามไชยและถนนมหาราช

    เปิดแผนป้องกัน "น้ำฝน-น้ำหนุน"

    เมื่อ รู้ต้นสายปลายเหตุทำให้ "กรุงเทพฯ" เผชิญกับภาวะน้ำท่วมแทบจะทุกปีอยู่แล้ว วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหา ซึ่งสำนักการระบายน้ำ กทม.ได้เขียนแผนประจำปีไว้ชัดเจนรวมถึง ปี 2554 นี้ด้วยมี 2 ลักษณะคือ ป้องกัน 2 น้ำทั้ง "น้ำฝน-น้ำหนุน"

    เริ่มที่วิธี "ป้องกันน้ำฝน" กทม. จะระดมเครื่องสูบน้ำระบายน้ำออกจากพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมโดยเร็ว จากเดิมใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง เหลือ 2-3 ชั่วโมง มี 15 จุดที่หากฝนตกเกินปริมาณ 60 มิลลิเมตร/ชั่วโมง เสี่ยงเกิดน้ำท่วมขังแน่นอน

    ส่วน การ "ป้องกันน้ำหนุน" มีหลายวิธี ทั้งประตูระบายน้ำ เครื่องสูบน้ำ แต่หัวใจสำคัญอยู่ที่แนวคันกั้นน้ำตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ริมคลองบางกอกน้อยและคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อไม่ให้น้ำเอ่อล้นตลิ่ง

    ปัจจุบัน กทม.สร้างแนวคันกั้นน้ำถาวรไว้แล้ว รับน้ำได้สูง 2.50 เมตร รวมระยะทาง 75.80 กิโลเมตร ยังมีพื้นที่เป็น "ฟันหลอ" เหลืออยู่ 1.20 กิโลเมตร จะสร้างเสร็จในปี 2555 ปัจจุบัน กทม.นำกระสอบทรายมาวางเป็นแนวป้องกันชั่วคราวสูงระดับ 2.70 เมตร

    "อุโมงค์ยักษ์" แก้น้ำท่วมยั่งยืน

    อย่าง ไรก็ตาม ในการแก้ปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว ทางสำนักการระบายน้ำ กทม.เขียนแผนบูรณาการจากการใช้สิ่งก่อสร้างถาวร ทั้งสถานีสูบน้ำ ระบบป้องกันน้ำท่วม ประตูระบายน้ำ ระบบระบายน้ำ ระบบผันน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำยักษ์ สร้างแนวป้องกันริมแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางกอกน้อย สร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กริมคลอง รวมถึงขุดลอกคูคลองปรับปรุงระบบระบายน้ำและอุปกรณ์ต่าง ๆ

    ซึ่งอาจจะ ต้องใช้เงินอีกเป็น 10,000 ล้านบาทในการแก้ปัญหา ขณะที่ในแต่ละปีได้รับงบประมาณอยู่ที่ปีละกว่า 3,000 ล้านบาท ไม่พอกับการดำเนินการ ส่วนหนึ่ง กทม.จะต้องพึ่งพางบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลกลาง เช่น การก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์อีก 3 แห่งที่เหลือ วงเงินก่อสร้างรวม 13,400 ล้านบาท

    โดยแต่ละอุโมงค์มีประสิทธิภาพระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้า พระยาได้ 60 ลบ.ม./วินาที ประกอบด้วย 1) อุโมงค์รัชดาภิเษก-สุทธิสาร สร้างใต้คลองบางซื่อจากลาดพร้าวออก เจ้าพระยาบริเวณเกียกกายความยาว 6.40 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 2,500 ล้านบาท ใช้เวลาสร้าง 3 ปี อยู่ระหว่างประกวดราคา

    2) อุโมงค์สวนหลวง ร.9 ลอดใต้คลองหนองบอน คลองตาช้าง ถนนอุดมสุข สุขุมวิท 101/1 คลองบางอ้อ ออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริษัทไม้อัดไทยความยาว 9.40 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 4,900 ล้านบาท ออกแบบเสร็จแล้วอยู่ระหว่างของบประมาณจากรัฐบาลใช้เวลาสร้าง 4 ปี

    3) อุโมงค์ดอนเมือง ระบายน้ำจากคลองบางบัวลอดใต้คลองวัดหลักสี่ คลองเปรมประชากร ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณใต้สะพานพระราม 7 ระยะทาง 13.50 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 6,000 ล้านบาท กำลังสำรวจออกแบบใช้เวลาสร้าง 4 ปี

    จาก ปัญหา "อุทกภัย" ที่หนักหน่วงในปีนี้ เชื่อว่า "กทม." น่าจะได้บทเรียนเพิ่มขึ้น และอาจจะต้องรีวิวหรือวางแผนระบบป้องกันน้ำท่วมปี 2555 ใหม่ โดยเฉพาะแนวคันกั้นน้ำถาวรริมเจ้าพระยา ที่อาจจะต้องเพิ่มระดับความสูงขึ้นไปอีก เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองกรุงอย่าง ยั่งยืนและแท้จริง

    ไม่ใช่เป็นแค่การ "แก้ผ้าเอาหน้ารอด" แบบปีต่อปีเช่นนี้



    -http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1318648471&grpid=&catid=07&subcatid=-


    .

    http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1318648471&grpid=&catid=07&subcatid=



    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    งานบุญในช่วงนี้ ผมขอเชิญชวนร่วมทำบุญกฐิน ที่วัด 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

    รายละเอียดผมจะมาแจ้งให้ทราบอีกครั้ง


    ส่วนบัญชีที่ใช้รับการโอนเงิน ผมจะใช้บัญชีที่ผมเปิดใหม่เพื่อการนี้เท่านั้นครับ


    .

    และยังมีกฐินที่วัดที่พระอาจารย์นิลท่านไปจำพรรษาที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกงานบุญเช่นกัน งานบุญงานกฐินนี้ ผมมีบัญชีที่ใช้เพื่องานนี้แล้ว ผมจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งสำหรับผู้ที่จะร่วมทำบุญ


    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ท่านผู้อ่านดูกันครับว่า ไม่ว่าจะเป็นพรรคไหนทำงาน ดูว่าทำงานกันจริงจังมากน้อยแค่ไหน ดูว่า หลังจากอุทกภัยครั้งนี้ มีการช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนมากน้อนแค่ไหน

    หากไม่ทำงาน หรือ ทำงานไม่เต็มที่ อย่าไปลงคะแนนเลือกตั้งเข้าไปใหม่


    อย่าไปโง่เลือกเข้าไปอีก

    ส่วนข้าราชการ ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหน หากท่านทำงานไม่เต็มความสามารถ ผมบอกได้ว่า ผมเสียดายเงินผม ที่จ่ายเป็นค่าภาษีอากรมาก ข้าราชการที่ทำงานไม่เต็มความสามารถ ท่านน่าจะลาออกไปครับ ไม่ควรจะทำงาน เพราะจะเป็นตัวถ่วงความเจริญ ความปลอดภัย และหลายๆเรื่องของประชาชน ข้าราชการที่ไม่ทำงาน ยิ่งต้องลาออกไป เพราะอยู่ไปก็หนักแผ่นดินเปล่าๆ




    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    น้ำท่วม...บริหารจัดการไม่เป็น


    ไม่ใช่ภัยพิบัติลงโทษแต่...บริหารน้ำผิดพลาด
    รุนแรงจนรัฐบาลต้องประกาศเป็น "วาระแห่งชาติ" ระดมความร่วมมือจากทุกสรรพกำลังมาร่วมแก้ปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ของประเทศที่ จนถึงเวลานี้ 26 จังหวัด กำลังจมน้ำ ประชาชนกว่า 2.2 ล้านครัวเรือนกำลังเดือดร้อนอย่างหนัก

    นอกจากบ้านเรือน พื้นที่การเกษตรที่เสียหายไปแล้วกว่า 9.6 ล้านไร่ มวลน้ำก้อนมหึมายังรุกคืบสร้างความเสียหายต่อเนื่องฝ่าปราการป้องกันเบื้อง ต้นรุกล้ำไปยังนิคมอุตสาหกรรม จนมูลค่าความเสียหายพุ่งสูงหลายแสนล้านบาท ยังไม่รวมยอดผู้เสียชีวิตที่สูงถึง 281 ราย

    [​IMG]

    ดร.สมิทธ ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ในฐานะผู้คร่ำหวอดในแวดวงอุตุนิยมวิทยา มายาวนาน ฟันธงว่าวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ไม่ใช่เป็นผลพวงจาก "ภัยพิบัติ" แต่เป็นเรื่องการบริหารจัดการน้ำไม่เป็น!!!

    "คือไม่ สามารถจะบริหารน้ำได้ ไม่มีการติดตามข้อมูลตั้งแต่ต้นฤดูฝนว่าจะตกเยอะไหม ควรเก็บน้ำในเขื่อนไว้เท่าไหร่ ปรากฏว่าทุกคนเก็บน้ำไว้ในเขื่อนใหญ่หมด ทั้งกรมชลประทาน การไฟฟ้าฯ ซึ่งกลัวว่าจะไม่มีน้ำใช้ในหน้าแล้งซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่ผิด

    ...ถ้า ฝนตกต่อเนื่องทั้งกลางฤดู ปลายฤดู ยังตกอยู่ ปริมาณช่องว่างน้ำในเขื่อนจะไม่สามารถเก็บน้ำฝนกลางฤดูได้ ตอนนี้เขื่อนใหญ่เต็มหมดแล้วปัญหาคือ เมื่อเขื่อนใหญ่เต็มหมดแล้ว ก็ปล่อยน้ำในเขื่อนออกมาพร้อมกัน ปริมาณน้ำที่ปล่อยมามากกว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกใส่เขื่อน"

    ดร.สมิ ทธ อธิบายว่า การปล่อยน้ำจากเขื่อนใหญ่ทั้ง เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ทำให้น้ำมารวมตัวในภาคกลางตอนบนไล่มาตอนล่าง ขณะที่ภาคกลางก็มีน้ำฝนที่ตกมาอยู่ท้ายเขื่อนอยู่ในที่ลุ่มอยู่แล้ว ดังนั้นน้ำในขณะนี้จึงมหาศาลมาก หลายคนบอกน้ำปล่อยมานิดเดียวแต่เพราะน้ำมีอยู่แล้วในที่ลุ่ม ในนา เมื่อปล่อยมาพร้อมกันปริมาณน้ำจึงมาก ทำให้หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมพร้อมกัน ตั้งแต่ จ.นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา

    "เป็น วิกฤตบริหารน้ำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่มีการวางแผนไว้ก่อน อันที่จริงเราควรเก็บน้ำไว้ครึ่งหนึ่ง และถ้ามีฝนกลางฤดูที่แล้วก็สามารถเก็บน้ำไว้อีกได้"


    ทั้ง นี้ ที่ผ่านมานักวิชาการหลายคนบอกว่าน้ำไม่เคยสูงเช่นนี้ บางคนบอกน้ำเยอะแต่ไม่เคยท่วม ทุกคนต่างคนต่างมีข้อมูลของตัวเอง แต่ขณะนี้ไม่ใช่เวลาที่จะมาเถียงกันเรื่องข้อมูล เพราะข้อมูลที่แท้จริงกรมอุตุนิยมวิทยามีอยู่แล้ว เรามีสถานีวัดปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน กว่า 200 แห่งที่วัดปริมาณฝนได้

    สำหรับแนวทางการแก้ไขในเวลานี้ ดร.สมิทธเห็นว่า จำเป็นที่จะต้องหยุดปล่อยน้ำจากเขื่อนเพราะช่วงนี้ไม่มีปริมาณน้ำฝนที่จะตก เข้าเขื่อนแล้วทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนนี้3 เขื่อนใหญ่ก็จะไม่มีน้ำเข้าแล้ว ดังนั้นถ้าเรายังปล่อยน้ำมหาศาลซ้ำเติมระบบน้ำท่วมที่อยู่ในภาคกลาง น้ำจะท่วมหมด

    "ความเสียหายเป็นแสนล้านบาท ประเทศไทยมีหน่วยงานที่ดูแลปัญหาเกี่ยวกับน้ำภายใต้สังกัดกระทรวงต่างๆ กว่า 20 หน่วยงาน แต่เราไม่มีดาตาเบส ต่างฝ่ายต่างทำไม่เอาข้อมูลมาแชร์กัน จึงทำให้ขาดผลวิเคราะห์ในการตัดสินใจ

    ...การ บริหารน้ำถ้าไม่มีการประสานงานกันทั้งกรมอุตุฯ กรมชลฯ การไฟฟ้าฯ ว่าควรจะเก็บหรือปล่อยน้ำแค่ไหนมันก็ไม่มีฐานข้อมูลที่นำมาคำนวณปริมาณน้ำ ว่าควรจะปล่อยหรือพร่องน้ำในระดับใดจึงจะทำให้พื้นที่ไม่เดือดร้อน"


    นอก จากนี้ ต้องยอมรับว่าการไม่มีเอกภาพในการทำงาน การที่นักวิชาการทะเลาะกันเอง ไม่มีความรู้อย่างแท้จริงนำไปเสนอรัฐบาล จึงทำให้ระบบรวนทั้งหมด สุดท้ายก็นำไปสู่ปัญหาอุทกภัยทั้งๆ ที่น้ำมวลใหญ่ที่ปล่อยออกมาจากเขื่อนใหญ่ๆนั้นบริหารจัดการได้

    "ฝน ปีนี้อาจจะมากกว่าปีที่แล้ว แต่การบริหารน้ำที่เราเก็บไว้มากไป แล้วปล่อยมาทีเดียว ไม่ปล่อยให้น้ำไหลไปตามธรรมชาติ หากปล่อยมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นฤดูตามธรรมชาติ กลางฤดูพอฝนตกก็เก็บบ้างปล่อยบ้างปลายฤดูก็ไม่จำเป็นต้องปล่อยทีเดียวเยอะๆ น้ำก็จะไม่ท่วม ถ้าเราไม่ปล่อยน้ำก้อนใหญ่จากเขื่อน 3 แห่ง รับรองว่าน้ำไม่ท่วม กทม.ปริมณฑล พระนครศรีอยุธยา และอีกหลายจังหวัดอย่างที่เห็นกันอยู่"

    มาตรการบรรเทา ปัญหาเฉพาะหน้าเวลานี้ ดร.สมิทธ มองว่า อันดับแรกเขื่อนใหญ่ควรหยุดปล่อยน้ำและหาทางระบายน้ำที่อยู่ในแม่น้ำใหญ่ๆ ทั้งแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกงให้ลงทะเลเร็วที่สุด ด้วยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณปากแม่น้ำทั้งสามสาย เพราะช่วงนี้น้ำทะเลหนุนสูง น้ำเหนือไหลมาสมทบจะทำให้น้ำนิ่ง ไหลช้าลง ก็ต้องเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลก็จะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วม กทม.ได้

    "แต่ เพราะหลายเขื่อนยังปล่อยมาหลาย100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน แต่แม่น้ำต่างๆระบายต่อวันได้ไม่ถึง 50 ล้านลูกบาศก์เมตรทุกเขื่อนพร้อมใจกันปล่อย มันก็มารวมกันที่ภาคกลาง เหมือนเราเทน้ำลงมาพร้อมกัน น้ำที่เต็มแก้วเมื่อเติมไปอีกมันก็ล้น

    ...เรื่อง นี้ไม่ใช่ภัยพิบัติลงโทษ แต่เป็นเพราะการบริหารน้ำที่ผิดพลาด หากเราบริหารไม่ดีท่วมแน่ ถ้าไม่รู้จักเก็บน้ำในเขื่อนไว้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การบริหารในเขื่อนเล็กๆแต่ละเขื่อนไม่สามารถระบายออกทะเลได้รวด เร็วพอ มันก็เอ่อในที่ลุ่มภาคกลาง"

    ประเมินมาตรการแก้ ปัญหาของรัฐบาลที่ออกมาถูกทางหรือไม่นั้น ดร.สมิทธ มองว่าจริงๆ รัฐบาลควรตั้งศูนย์เฉพาะกิจแต่แรกเพราะการบริหารภัยพิบัติใหญ่ๆ ต้องตั้งศูนย์เฉพาะ ต้องมีผู้บริหารใหญ่และผู้ควบคุมศูนย์คนเดียว จะเป็น พล.ต.อ.ประชา พรหมนอกหรือนายกรัฐมนตรี ก็ได้ แต่ต้องตัดสินใจคนเดียว ทว่าตั้งช้าไปหน่อย แม้ตอนนี้จะเริ่มมีการตัดสินใจเดินหน้าแก้ไขหลายเรื่องแล้วแต่มาเริ่มตอน วิกฤตน้ำใกล้ท่วม กทม.ที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจและมีประชาชนอยู่มาก ทำให้ผลกระทบเยอะ

    ส่วนความตื่นตระหนกของชาวบ้านที่ไม่มั่น ใจสถานการณ์ และแก้ปัญหาด้วยการสร้างพนังกั้นน้ำหน้าบ้านตนเองจนวัตถุดิบขาดตลาดนั้น ดร.สมิทธ เห็นว่าอาจไม่ถูกต้องตามวิธีการ เพราะเป็นการสร้างที่ไม่มีหลักวิชาการการเอาดินวาง เอากระสอบทรายมาวาง มันสู้แรงดันน้ำไม่ได้

    ทั้งนี้ น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร หนักถึง 1 ตันถ้าสร้างเขื่อนสูง 2 เมตร แสดงว่ามีแรงดันน้ำถึง 2 ตัน ดังนั้นหากเขื่อนสร้างไม่แข็งแรงน้ำจะซึม กระสอบทรายไม่หนักพอก็ทลาย น้ำก็จะไหลอย่างรวดเร็วและแรงจนเอาไม่อยู่

    ดร.สมิทธ อธิบายถึงแนวคิดที่ในอดีตเคยเสนอให้ตั้ง "กระทรวงน้ำ" ขึ้นมารับผิดชอบดูแลเรื่องนี้โดยตรง ว่าเป็นเพียงข้อเสนอของนักการเมืองที่จะทำให้มีตำแหน่งทางการเมืองเพิ่มขึ้น ทั้งรัฐมนตรี ที่ปรึกษาและข้าราชการการเมือง เป็นการสร้างตำแหน่งเปล่าๆ

    "ผม ว่าทำอย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันก็เหมาะสมแล้ว คือการตั้งศูนย์เฉพาะแล้วรวมเอานักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญด้านน้ำมารวม กัน แต่ว่าการบริหารต้องการคนที่รู้เรื่องมาคุยกัน อย่าให้มานั่งเถียงกัน และการตัดสินใจก็ให้นายกฯ เป็นผู้ชี้ขาด"

    เขื่อนใหญ่ต้องหยุดปล่อยน้ำ
    ยังต้องลุ้นระทึกกับมวลน้ำก้อนใหญ่ ที่คาดว่าจะถึง กทม.ในวันสองวันนี้ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ยังอดเป็นห่วงฝีมือ กทม. กับการผันน้ำ กทม. หากเกิดน้ำทะลักเข้าพื้นที่เข้ามาจริงๆ

    [​IMG]

    "ผมไม่เชื่อฝีมือ กทม. เพราะไม่เคยศึกษาหรือไปดูเขื่อน เช่น เขื่อน จ.ปทุมธานี ที่เพิ่งแตกไป กทม.ก็ไม่ดูแลบอกว่าท้องถิ่นสร้างขึ้นเอง ทั้งที่จริงแล้ว กทม.ควรมีหน้าที่ไปดูแลพื้นที่ด้วย เพราะน้ำที่จะแตกจากปทุมฯ จะเข้า กทม.กทม.อยู่ติดจังหวัดต้นน้ำ ถ้าเถียงกันอย่างนี้ กทม.จมแน่"

    ทั้ง นี้ ไม่แน่ใจว่าเขื่อนรอบๆ กทม.จะมีความแข็งแรงพอหรือไม่ เพราะเขื่อนกั้นน้ำของ กทม.มีทั้งเขื่อนดินและเขื่อนคอนกรีต กระสอบทรายโดยเฉพาะในพื้นที่รอบนอก ทาง อบต. และอบจ. จะเป็นคนดูแล โดยใช้ผู้รับเหมาก่อสร้าง ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ อาจทำให้มีปัญหาเรื่องความแข็งแรง

    "อันนี้ถือเป็นจุดอ่อน จะทำให้เกิดวิกฤตน้ำในกทม.ได้ ขณะนี้น้ำล็อตใหญ่ที่มาจากเขื่อนภูมิพลสิริกิติ์ ป่าสักชลสิทธิ์ กำลังผ่านเข้ามาใน 3-4 จังหวัดที่ท่วมอยู่แล้ว กทม.จึงต้องระวังเพราะเป็นช่วงน้ำทะเลหนุน ตอนนี้ดูแล้ว กทม.คงรอดยาก"

    ดร.สมิ ทธ ประเมินว่า วิธีการแก้ไขให้ได้ผลเร็วคือ ต้องหยุดปล่อยน้ำจากเขื่อนใหญ่ จากนั้นตั้งเครื่องสูบน้ำที่ปลายแม่น้ำที่จะลงสู่ทะเลให้มากที่สุดเพื่อสูบ น้ำออกปากอ่าว นี่คือวิธีเดียวที่จะระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    "การ เอาเรือไปดันน้ำจะดันได้เฉพาะผิวน้ำเท่านั้น ไม่สามารถดันน้ำที่อยู่ลึกไปข้างล่างได้พระราชดำรัสของในหลวงเรื่องการสร้าง คลองลัดโพธิ์ การที่เป็นคลองแคบจะทำให้การดันน้ำไหลออกจากคลองได้เร็ว แต่ถ้าเอาเรือหลายลำไปผูกแล้วดันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่กว้าง เป็นการเสียน้ำมันเปล่า เพราะดันได้แค่ผิวน้ำเท่านั้นเรื่องนี้ต้องคิดต้องรู้ลักษณะของน้ำ ดังนั้นที่ถูกต้องคือการตั้งระบบสูบน้ำที่ปลายคลองหรือปลายแม่น้ำออกสู่ทะเล เลย"

    สำหรับแนวคิดที่ กทม.ลงทุนทำอุโมงค์ยักษ์มีการระบายน้ำจากที่ลุ่มของกทม. เช่น รามคำแหงหนองจอก แทนที่จะระบายออกอ่าวไทย แต่กลับเอามาออกที่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งไม่ช่วยอะไรเลยเพราะจะทำให้เจ้าพระยาล้นตลิ่งอีก หมุนเวียนถ้าจะลงทุนให้มากหน่อย วางท่อให้ยาวแล้วไปลงที่อ่าวไทยจะดีกว่า และทำให้ กทม.ปลอดภัยจากน้ำท่วมด้วย ไม่รู้ทำไมถึงคิดกันแค่นี้ เห็นว่าผู้ว่าฯกทม.จะทำอีกหลายอุโมงค์แต่ไม่รู้จะไปออกที่ไหน

    ดร.สมิ ทธ ประเมินถึงสถานการณ์พายุบันยันที่วิเคราะห์แล้วเชื่อว่าไม่เข้าไทย แต่การที่นักวิชาการไม่มีความรู้แล้วไปให้ข้อมูลกับ ศปภ.และนายกฯ ว่าพายุจะสร้างผลกระทบต่อประเทศทำให้เกิดความตื่นกลัวกันหมด คนไม่รู้มาพูดทำให้ตกใจและประเมินพลาด

    "พายุลูกนี้จะเข้า ที่อ่าวตังเกี๋ย ประเทศจีนจากนั้นก็จะไปเวียดนามเข้ามาทางเหนือบ้านเราก็จะทำให้มีฝนตกนิด หน่อยที่เชียงใหม่ เชียงรายจากนั้นจะทำให้อากาศหนาวเย็นลง ผมอยากขอให้คนที่ไม่มีความรู้เรื่องอุตุนิยมวิทยา หรืออุทกวิทยา หยุดให้ข้อมูล เพราะจะให้เกิดความตระหนก แตกตื่นกันไปหมด"

    ดร.สมิ ทธ วิเคราะห์ต่อไปว่า หลังจากนี้ทางภาคเหนือ ภาคอีสาน จะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้วหากมีพายุเข้ามาจะไม่ส่งผลให้มีฝนตก หรือถ้าตกก็จะไม่มาก สิ่งที่กรมอุตุฯ และรัฐบาลต้องระวังต่อไป คือ ร่องลมมรสุมที่จะเลื่อนจากภาคกลางตอนล่างไปยังตอนใต้ ผ่านสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ซึ่งปีที่แล้วช่วงเดือนเดียวกันก็มีพายุดีเปรสชันก่อตัวทางทะเลจีนตอนล่าง พัดเข้าสู่อ่าวไทย คลื่นลมที่พัดมาจะทำให้เกิดคลื่นพายุหมุนซัดชายฝั่ง(สตอร์ม เซิร์จ) สูง 4-5 เมตร และจะส่งผลกระทบให้ภาคใต้ เช่น ปัตตานี ยะลา

    ดัง นั้น ข้อมูลในการเตือนภัยพิบัติของกรมอุตุฯ จะต้องแม่น และหากสภาวะลมแรงจะทำให้สตอร์ม เซิร์จ สูงถึง 5-6 เมตร ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณแนวฝั่งและรัฐบาลต้องเตือน ให้เขาอพยพไปอยู่ในจุดที่ปลอดภัย


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9/116413/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-

    .

    น้ำท่วม...บริหารจัดการไม่เป็น - โพสต์ทูเดย์ ข่าววิเคราะห์


    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เมื่อปีที่แล้ว ประมาณกลางปี (เดือนมิถุนายน 2553) ผมได้แจ้งบริษัทประกันภัย เรื่องที่ผมทำประกันอัคคีภัย ผมต้องการเพิ่มความคุ้มครองในเรื่องของอุทกภัย และ ซึนามิ

    ปรากฎว่า บริษัทประกันภัย ได้ตอบรับเรื่องของการเพิ่มความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย โดยเพิ่มแค่เรื่องของอุทกภัย แต่ทางบริษัทไม่รับเรื่องของซึนามิิครับ


    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ประกันสำลักน้ำ จ่ายสินไหมอ่วม


    โดย...ทีมข่าวการเงิน

    แม้ความเสียหายจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้จะยังไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ทั้งหมด เพราะสถานการณ์น้ำท่วมยังไม่จบ

    แต่ได้มีการคาดการณ์กันแล้วว่าน้ำท่วมครั้งใหญ่ของประเทศไทยครั้งนี้คง สร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาทอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านเรือนหรือทรัพย์สินของประชาชน พื้นที่เกษตรกรรมต่างๆ รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต่างถูกน้ำทะลุทะลวงเข้าไปยึดได้แล้วในแต่ละพื้นที่

    ส่งผลให้โรงงานที่อยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมต้องหยุดกิจการอย่างไม่มีกำหนด และพนักงานอีกเป็นแสนคนต้องได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    ความเสียหายที่เกิดขึ้นครั้งนี้จึงหลีกไม่พ้นที่แต่ละบริษัทประกันต้อง เข้ามารับผิดชอบอย่างเต็มๆ ในฐานะเป็นธุรกิจที่รองรับความเสี่ยงภัยจากเหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยในขณะนี้

    จากการสำรวจข้อมูลล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบ ธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พบว่านิคมอุตสาหกรรมที่ประสบอุทกภัยและอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมบางกะดี และนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ได้ทำประกันภัยและมีจำนวนเงินเอาประกันภัยไว้รวมทั้งสิ้นถึง 410,177 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นมูลค่าเพียง 2.6% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยการประกันภัยทรัพย์สินของธุรกิจ

    [​IMG]

    อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นคาดว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น โดยเฉพาะนิคมที่ถูกน้ำท่วมแล้วทั้งนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ และนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค แต่ความเสียหายจะเพิ่มมากขึ้นกว่านี้อีกหรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการท่วมขังของน้ำด้วยว่ากินเวลานานอีกเท่าใด

    ส่วนบริษัทที่รับประกันภัยในนิคมอุตสาหกรรมสูงสุด 2 ลำดับแรก ได้แก่ บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ และบริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น สอดคล้องกับสัดส่วนของโรงงานที่อยู่ตามนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ส่วนใหญ่ก็มีสัญชาติญี่ปุ่นเช่นกัน
    ทีนี้ดำน้ำลงไปดูความเสียหายของบ้านเรือนประชาชนกันบ้าง เมื่อมีการคาดการณ์ออกมาจาก สุชาติ ธาดาธำรงเวช สส.บัญชีรายชื่อ และทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย ว่า ความเสียหายของทรัพย์สินที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและบ้านเรือนประชาชนน่าจะ เสียหายมากถึง 5 แสนล้านบาททีเดียว ซึ่งตัวเลขความเสียหายที่ คปภ.สำรวจได้เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา พบว่าจากผู้เสียชีวิต 269 คน มีคนทำประกันไว้เพียง 29 คน คิดเป็นเงินเอาประกัน 6 ล้านบาท
    มีความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์ 818 คัน โดยซ่อมแซมแล้วจำนวน 102 คัน เสียหายอย่างสิ้นเชิงที่ต้องจ่ายค่าสินไหมเต็มวงเงินเอาประกันภัย 8 คัน ขณะที่ความเสียหายต่อทรัพย์สินมีเพียง 1,750 ราย คิดเป็นค่าสินไหมที่ต้องจ่าย 320 ล้านบาท

    ฟากของธนาคารพาณิชย์เองก็ออกมายอมรับถึงความเสียหายเบื้องต้นแล้ว ที่ลูกค้าของแต่ละธนาคารต่างก็ถูกน้ำซัดซวนเซไปตามๆ กัน โดยในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์ที่ถูกน้ำท่วมเป็นธุรกิจขนาดใหญ่กว่า 300 ราย คิดเป็นมูลค่าสินเชื่อ 1.52 หมื่นล้านบาท ธุรกิจเอสเอ็มอี 2,000 ราย คิดเป็นมูลค่าสินเชื่อ 1.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้มีการขอความช่วยเหลือเข้ามาแล้ว 183 ราย หรือ 7,540 ล้านบาท ขณะที่ลูกค้ารายย่อยคาดว่าจะได้รับผลกระทบไม่ต่ำกว่า 3-4 แสนราย จากฐานลูกค้าทั้งหมด 10 ล้านราย ซึ่งไทยพาณิชย์เองก็เตรียมวงเงินสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือลูกค้าไว้เบื้องต้น ถึง 1 หมื่นล้านบาท

    ขณะที่ธนาคารกสิกรไทยมีลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยที่เป็นลูกค้า ธุรกิจรายใหญ่ 400 ราย ธุรกิจเอสเอ็มอี 2.56 หมื่นราย และลูกค้ารายย่อยประมาณ 1 แสนราย ความเสียหายก็คงหลายพันล้านบาทแน่นอน

    อย่างไรก็ตาม ในส่วนลูกค้าสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์นั้นถือว่ายังโชคดีที่จะมีประกันภัย เข้ามาช่วยบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นแน่ ซึ่งเป็นผลจากการถูกธนาคารบังคับให้ทำประกันภัยไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว ผู้ที่รับบทหนักในขณะนี้จึงไหลไปสู่บริษัทประกันแทน
    ฉายภาพความเสียหายพอให้เห็นในเบื้องต้นแล้วว่า นี่เป็นเพียงความเสียหายเบื้องต้นที่แต่ละบริษัทประกันต้องมีส่วนเข้าไปรับ ผิดชอบจ่ายค่าสินไหมให้กับลูกค้าที่เป็นภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไป

    ดังนั้น ในปีนี้จึงเป็นอีกปีหนึ่งที่ธุรกิจประกันภัยต้องทุกข์ระทมไปกับความเสียหาย ที่เกิดจากน้ำท่วม ทั้งประกันภัยในประเทศและบริษัทประกันต่างประเทศ หรือรีอินชัวรันส์ ที่เจอพิษสึนามิจากญี่ปุ่นกล่มไปแล้วระลอกหนึ่งเมื่อต้นปี

    นี่ถือเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากปีที่แล้วธุรกิจประกันก็ได้รับผลพวงจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิด ขึ้น มีค่าสินไหมที่รอค้างจ่ายอยู่อีกนับหมื่นล้านบาท แต่เรื่องก็ยังไม่ได้ข้อยุติจนถึงปัจจุบัน

    อย่างไรก็ตาม คาดว่าค่าสินไหมที่ธุรกิจประกันต้องจ่ายให้กับเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ หากจะคิดเป็นมูลค่าแล้วก็คงมากที่สุดในรอบหลายปีทีเดียว
    มากกว่าเหตุการณ์สึนามิที่ภาคใต้ และเหตุการณ์น้ำท่วมในแต่ละพื้นที่ที่เกิดขึ้นในช่วงแต่ละปีที่ผ่านมา จึงย่อมส่งผลกระทบถึงผลการดำเนินงานในปีนี้อย่างแน่นอน

    แม้บริษัทประกันหลายแห่งจะออกมายืนยันว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะความเสียหายหลักที่เกิดกับทรัพย์สินนั้น แต่ละบริษัทประกันได้มีการทำประกันภัยต่อไปยังต่างประเทศไว้เรียบร้อยแล้ว บริษัทประกันจึงรับความเสี่ยงไว้กับตัวเองไม่มากนัก เป็นการปลอบใจตัวเองไว้ก่อน

    แต่ถึงบอกว่าไม่มากนัก ก็คาดว่าบริษัทประกันแต่ละแห่งก็ต้องจ่ายค่าสินไหมเป็นหลักร้อยล้านบาทที เดียว ตัวอย่างให้เห็นชัดเจนที่สุดในขณะนี้ก็คงเป็นของบริษัทรับประกันภัยต่อ หรือไทยรี ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยต่อแห่งเดียวของไทย ที่คาดว่าต้องควักเงินจ่ายเป็นค่าสินไหมเองถึง 260 ล้านบาท แม้ว่าความเสียหายส่วนใหญ่ไทยรีได้บริหารความเสี่ยงด้วยการซื้อประกันความ เสียหายส่วนเกินคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากมหันตภัยส่งไปให้ต่างประเทศ รับผิดชอบแล้วก็ตาม

    แต่เมื่อเทียบกับผลกำไรสุทธิ 587 ล้านบาท เมื่อปี 2553 แล้ว ก็ต้องบอกว่าปีนี้ไทยรีคงจุกอกไปอีกปี หากผลกำไรต้องถูกน้ำซัดหายไปต่อหน้าต่อตาทั้งที่ใกล้จะสิ้นปีอยู่แล้ว

    ดังนั้น เชื่อว่าผลประกอบการของบริษัทประกันในปีนี้ก็คงมีหัวอกไม่ต่างจากไทยรี เมื่อผลกำไรที่สร้างอย่างสวยหรูมาเกือบตลอดทั้งปีต้องถูกละลายไปกับน้ำท่วม และความเสียหายคงเพิ่มขึ้นอีกอย่างมหาศาลหากพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯ ถูกน้ำตีแตกจนทะลุเข้ามาสู่พื้นที่ชั้นในที่ส่วนใหญ่เป็นเขตเศรษฐกิจ

    ปีนี้...จึงเป็นอีกปีหนึ่งที่ธุรกิจประกันภัยต้องสำลักน้ำไปกับเขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ m


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/116197/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3-%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    มหากาพย์...มวลน้ำถล่มสยาม ต่างชาติทุกข์ประเทศไทยเจ๊ง!



    โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ
    “รถยนต์ที่โรงงานใน จ.พระนครศรีอยุธยา ดูเหมือนว่าจะยังลอยน้ำอยู่ในขณะนี้”
    เป็นถ้อยแถลงยืนยันจาก โตโมฮิโร โอกาดะ โฆษกบริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ ที่ยอมรับสภาพกับอุทกภัยครั้งรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศ เมื่อโรงงานผลิตของบริษัทต้องตกอยู่ในสภาพจมบาดาล หลังจากที่มวลน้ำไหลเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมโรจนะเมื่อ 3 วันก่อน
    ในขณะนี้ฮอนด้า ค่ายผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่จากญี่ปุ่น ก็ยอมรับว่ายังไม่รู้ชะตากรรมได้ว่าจะสามารถกลับมาเดินเครื่องผลิตได้อีก เมื่อไหร่ เพราะน้ำยังไม่มีท่าทีว่าจะลดแม้แต่น้อย
    ขณะที่ค่ายรถยนต์เบอร์หนึ่งของญี่ปุ่นและของโลกอย่าง โตโยต้า มอเตอร์ ก็ตกอยู่ในสภาพไม่ต่างกัน แม้ว่าโรงงานผลิตทั้งสามแห่งในประเทศไทย คือ ที่สำโรง เกตเวย์ ฉะเชิงเทรา และบ้านโพธิ์ ถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องระงับการผลิตลง เนื่องจากขาดชิ้นส่วนประกอบรถยนต์จากโรงงานผลิตที่ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์น้ำถล่มเมืองไทยในขณะนี้
    ไม่เพียงแต่ค่ายรถยนต์ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่เท่านั้น ฟอร์ด มอเตอร์ส อีซูซุ ตลอดไปจนถึงบริษัท นิคอน ผู้ผลิตกล้องดีเอสแอลอาร์ชื่อดังของโลก โซนี่ คอร์ป ผู้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีรายใหญ่จากญี่ปุ่น ไพโอเนียร์ ผู้ผลิตเครื่องเสียงและสินค้าเทคโนโลยีรถยนต์ ตลอดจนบริษัทเซมิคอนดักเตอร์อีกหลายแห่งจากหลายสัญชาติ ต่างก็ต้องยอมรับสภาพจากการได้รับผลกระทบมากน้อยต่างกันไปจากน้ำท่วมครั้ง นี้ หากถึงขั้นเลวร้ายสุดก็ถึงกับหยุดการผลิต และได้แต่ทน “กลืนน้ำลาย” มองกระแสน้ำทะลักเข้าท่วมโรงงานเท่านั้น
    [​IMG]
    ซีเกท เทคโนโลยี บริษัทผู้ผลิตดิสก์ไดรฟ์รายใหญ่ของโลก ยอมรับแล้วว่า ผลกระทบจากน้ำท่วมในไทยครั้งนี้จะทำให้เกิดการสะดุดของการผลิตชิ้นส่วนเป็น ลูกโซ่ต่อเนื่องในไตรมาสนี้ ขณะที่ทางด้าน เวสเทิร์น ดิจิตอล บริษัทผู้ผลิตชิปจากสหรัฐ ก็ยอมรับว่าการผลิตได้รับผลกระทบแล้วจากน้ำท่วมสยามครั้งนี้
    ถือเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของไทย ที่เหตุอุทกภัยครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ อย่างรุนแรง จนขณะนี้ยากที่จะประเมินความเสียหายได้
    ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตของหลายบริษัทระดับโลก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ไทยถึงกับถูกวางตัวให้เป็น “ดีทรอยต์” แห่งเอเชียนั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาน้ำทะลักเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ต้องยอมรับว่าไม่ได้จำกัดวงอยู่เฉพาะภายในประเทศเท่านั้น แต่กระทบไปถึงระดับโลก
    โดยเฉพาะสำหรับบริษัทเอกชนจากญี่ปุ่น ผู้ลงทุนรายใหญ่อันดับ 1 ในประเทศไทย ที่มีฐานการผลิตสำคัญในประเทศไทย ภาวะน้ำท่วมครั้งนี้ถือเป็น “คราวเคราะห์” ซ้ำสอง ที่หลายบริษัทยังมึนกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
    ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 11 มี.ค. เหตุภัยแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคการผลิตของหลายบริษัทญี่ปุ่นอย่างหนักที่สุด โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ชื่อดังทั้งหลาย ทำให้ต้องหยุดการผลิตนานหลายสัปดาห์
    เหตุการณ์ในญี่ปุ่นส่งผลกระทบให้เกิดภาวะขาดแคลนชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ไป ทั่วโลกต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ทำให้โรงงานผลิตในหลายประเทศนอกญี่ปุ่นต้องพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย
    ความสูญเสียที่เกิดขึ้นส่งผลให้หลายบริษัทย้ายฐานการผลิตบางส่วนออกไปยัง ต่างประเทศ เช่น ประเทศไทย เพื่อทดแทนโรงงานการผลิตที่ได้รับความเสียหาย และยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ในแผ่นดินบ้านเกิด
    แต่กระนั้น เหตุน้ำท่วมใหญ่ในประเทศที่กินเวลานานกว่า 3 เดือนในไทยครั้งนี้ ถือว่าเป็นฟ้าผ่าซ้ำสอง ทำให้สถานะของบริษัทญี่ปุ่นทรุดลงดับเบิล ทำให้การผลิตต้องหยุดชะงักลงไปอีกอย่างที่ไม่มีใครคาดคิด
    นอกจากนั้น สิ่งที่น่าหวั่นพรั่นพรึงอย่างยิ่ง คือ สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นนั้น อาจจะกลายเป็นวิกฤตเรื้อรัง กินระยะเวลาอีกนานเท่าไหร่ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ไทยคนไหนให้คำตอบได้อย่างชัด ถ้อยชัดคำนัก
    มาซาตากะ คูนูกิโมโตะ นักวิเคราะห์จากธนาคารโนมูระในญี่ปุ่น ยกตัวอย่างค่ายรถยนต์รายใหญ่อย่างฮอนด้า ซึ่งได้รับผลกระทบหนักที่สุดในบรรดาค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น ว่ากว่าจะกลับมาเดินหน้าการผลิตได้อีกครั้งนั้นอาจจะต้องใช้เวลาอีกนานที เดียว
    แน่นอนว่า ยิ่งนานความเสียหายก็ยิ่งทวีคูณ มาซาตากะคำนวณว่า หากฮอนด้าหยุดการผลิตถึง 3 เดือน นั่นหมายถึงว่า บริษัทจะสูญเสียการผลิตรถยนต์ไปถึง 6 หมื่นคัน คิดเป็นผลกำไรสูญไปแล้วถึง 2.5 หมื่นล้านเยน หรือประมาณ 232 ล้านเหรียญสหรัฐ
    ดังนั้น ความสูญเสียที่เกิดขึ้นนั้นจะเลวร้ายมากน้อยเท่าไหร่ ล้วนขึ้นอยู่กับว่าการผลิตจะต้องหยุดลงไปนานเท่าไหร่
    เคิร์ต ซังเกอร์ นักวิเคราะห์จากดอชต์ ซีเคียวริตี ในกรุงโตเกียว ชี้ว่า ประเทศไทยมีสถานะเป็นฐานการผลิตสำคัญคิดเป็นสัดส่วน 48% ของโลกสำหรับบริษัทหนึ่งๆ ทีเดียว ซึ่งความสูญเสียนั้นอาจจะอยู่ในวงจำกัด ถ้าหากบริษัทนั้นๆ ต้องหยุดการผลิตไปไม่เกิน 1 เดือน
    แต่ถ้าหากหยุดไปนานเกินกว่า 3 เดือน ก็จะเริ่มเห็นผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะการขาดแคลนชิ้นส่วนประกอบที่จะกลายเป็นปัญหาลูกโซ่ไปทั่วโลก
    นั่นคือสิ่งที่บริษัทต่างชาติผู้ลงทุนในบ้านเรากำลังหวาดผวา และไม่อยากให้เกิดขึ้นแน่นอน
    แต่ท้ายที่สุดแล้ว สำหรับผู้ที่จะต้องพบกับความสูญเสียมากที่สุดเห็นจะเป็นประเทศไทยเอง
    มหาอุทกภัยครั้งนี้ นอกเหนือจากจะส่งผลกระทบต่อจีดีพีประเทศอย่างรุนแรงถึง 0.9% ตามการคาดการณ์ของ สศช. และความเสียหายจากการประเมินเบื้องต้นของกระทรวงการคลังสูงถึง 6.9 หมื่นล้านบาทแล้ว
    ภาพลักษณ์ของการเป็นศูนย์กลางแห่งแหล่งลงทุนในเอเชีย ก็กำลังถูกน้ำกัดเซาะทำลายอย่างรุนแรงเช่นกัน จากการขาดการจัดการของรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกัน การเตือนภัย ตลอดจนการให้ข้อมูลกับทั้งประชาชนไปจนถึงเอกชนและนักลงทุนต่างชาติ
    ตลอดไปจนถึงความไร้ซึ่งความสามารถที่จะปกป้องกันทรัพย์สินของเหล่าผู้ลงทุนต่างชาติได้
    สุดท้าย หากมาตรการหลังจากนี้ของภาครัฐทั้งการดูแลและการช่วยเหลือยังไม่ดีพอและพอ เพียง มีหวังสถานะของการเป็นแหล่งลงทุนชั้นนำของเอเชียของไทยแลนด์ จะจมหนักยิ่งกว่านิคมอุตสาหกรรมที่จมน้ำอยู่ในทุกวันนี้




    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/116198/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%8A%E0%B8%87--


    .

    มหากาพย์...มวลน้ำถล่มสยาม ต่างชาติทุกข์ประเทศไทยเจ๊ง! - โพสต์ทูเดย์ ข่าววิเคราะห์

    .

    กันงบฟื้นน้ำท่วมแสนล้าน จัดการไม่ดีกลายเป็นละเลง


    โดย...ทีมข่าวการเงิน
    หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีมติอนุมัติให้ทุกส่วนราชการ “กัน” งบของแต่ละกระทรวงออกมา 10% เพื่อนำมาวางกองรวมกันเพื่อใช้ในการฟื้นฟูและเยียวยาสถานการณ์น้ำท่วมครั้ง ที่ถือว่ารุนแรงที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษ สร้างความเสียหายแล้วนับแสนล้านบาท
    มติ ครม.ระบุชัดว่า หัวหน้าส่วนราชการทุกกระทรวงต้อง “เกลี่ย” งบลงทุนและงบดำเนินการมาไว้เป็น “เงินกองกลาง” เป็นวงเงินอย่างน้อย 1-1.2 แสนล้านบาท
    ก่อนที่รัฐบาลจะส่งผ่าน “เม็ดเงินก้อนมหึมา” ไปให้คณะกรรมการ 3 ชุด ที่ ครม.มีมติแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่ดูแลการฟื้นฟูสถานการณ์หลังน้ำลด
    กรรมการ 3 ชุด จะแยกเป็น กรรมการฟื้นฟูเศรษฐกิจ กรรมการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน และกรรมการฟื้นฟูสังคมและเยียวยาด้านจิตใจ
    ถือว่าเป็นมิติที่ดีที่รัฐบาลจะมีกระบวนการจัดการบริหารงบ ประมาณในการฟื้นฟูประเทศอย่างเป็นระบบ
    [​IMG]

    แต่ประเด็นปัญหาที่ตามมา คือ การกันงบดำเนินการและงบลงทุนออกมา 10% เพื่อฟื้นฟูน้ำท่วม จะส่งผลให้การจัดสรรงบประมาณปี 2555 ที่เตรียมไว้สำหรับดำเนินการโครงการเร่งด่วน 1 ปีของรัฐบาลกระเทือนเลื่อนลั่นทันที
    โดยเฉพาะเม็ดเงินที่เตรียมการไว้สำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจและกระตุ้นการบริโภคในประเทศ เพื่อรองรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ “กระชับพื้นที่” เข้ามาใกล้ตัวคนไทยทุกที
    เช่นเดียวกับเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างขีดความสามารถแข่งขันในระยะยาว ที่เปรียบเสมือนการลงเสาเข็มของประเทศในอนาคต ก็จะถูกดึงมาใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าจากปัญหาน้ำท่วม ทำให้โครงการลงทุนหลายโครงการจะถูกชะลอออกไป
    บางโครงการที่เสนอแผนงานเพื่อลงทุนให้ได้ในปีนี้ ก็ต้องเลื่อนออกไปเป็นปีหน้า บางโครงการก็ทำได้เพียงแค่การ “ศึกษา” เท่านั้น
    นั่นเป็นเพราะเงินลงทุนร่วมแสนล้านบาท ถูก “พัดพา” ไปพร้อมกับกระแสน้ำ และไม่มีใครให้ความมั่นใจได้ว่า เม็ดเงินที่ใส่เข้าสู่ระบบเพื่อฟื้นฟูและเยียวยาสถานการณ์น้ำท่วม จะสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมที่ “ถาวร” หรือไม่
    แต่การทุ่มเงินลงไปเพื่อฟื้นฟูเหตุการณ์กลายเป็นสิ่ง “จำเป็น” ที่ต้องทำขณะนี้
    ดังนั้น ประสิทธิภาพการลงทุนระบบน้ำ จึงเป็นสิ่งที่ต้องทุกภาคส่วนจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ “ซ้ำรอยเก่า” คือ นักการเมืองถลุงงบกันเพลิน
    ปรากฏการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2552 รัฐบาลประชาธิปัตย์ต้องใช้เงินงบประมาณจำนวนหลายหมื่นล้านเพื่อฟื้นฟูโครง สร้างพื้นฐานและเยียวยาความเสียหาย ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “เร่งรีบ” ประชุมวางแผนและขอรับการจัดสรรงบเพื่อลงทุนระบบน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมระยะยาวอย่างแข็งขัน
    สถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในเดือน ต.ค. 2554 เป็น “บทพิสูจน์” ว่า เงินที่รัฐบาล “ทุ่มเท” ลงไป ไม่ได้แก้ปัญหาน้ำอย่างยั่งยืน แม้หลายหน่วยงานรัฐจะอ้างว่า ปีนี้เป็นปีที่มีปริมาณน้ำมากเกินความคาดหมาย ประสิทธิภาพการจัดการเงินลงทุนด้านน้ำเป็นสิ่งที่สมควรถูกตั้ง “คำถาม” และควรมี “คำตอบ” มาจากฟากฝั่งภาครัฐ
    “ผมไม่รู้ว่าเขาทำอะไรกันอยู่ ไม่ใช่แค่รัฐบาลชุดนี้ แต่เป็นมาทุกๆ รัฐบาล เราเสียหายจากน้ำท่วมมาเท่าไหร่แล้ว ขณะที่เราลงเงินลงทุนด้านน้ำปีละเป็นแสนล้านบาท” พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานสภาหอการค้าไทย ระบุ
    พร้อมย้ำว่า “จะต้องไม่มีน้ำท่วมอีกแล้วไม่ใช่ในอีก 3-5 ปี แต่ต้องเป็นวันนี้ และรัฐบาลจะมาอ้างความผิดพลาดอีกไม่ได้แล้ว เพราะรอบ 3 ปี มีน้ำท่วม 2 ครั้ง อย่างปีนี้ผมคาดว่าเราเสียหายอย่างน้อย 2 แสนล้านบาท”
    พรศิลป์ ยังชี้ผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ว่า จะทำให้บริษัทประกันภัยคิดเบี้ยประกันภัยกับเอกชนในอัตราที่สูงขึ้น เพราะประเทศไทยมีความเสี่ยงจากน้ำท่วม ส่งผลให้ต้นทุนเอกชนเพิ่มขึ้น
    หากย้อนกลับมาพิจารณาเงินงบประมาณที่ถูก “อัดฉีด” เพื่อฟื้นฟูน้ำท่วม แต่ทำให้เงินลงทุนของรัฐบาลหายไปนั้น ตรงนี้รัฐบาลไม่น่าจะเป็นห่วงมากนัก เพราะรัฐบาลมีช่องทางการหาเงินอย่างน้อย 2 ช่องทาง
    1.เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ แต่ก็ไม่ง่าย
    2.กู้เงินเพื่อลงทุน หรือตั้งงบประมาณกลางปี ปีงบประมาณ 2555 ซึ่งหมายถึง “หนี้” ที่จะตามติดตัวมา
    แม้ว่ารัฐบาลจะระบุว่า มีเงินเพียงพอที่รัฐบาลจะนำมาใช้การฟื้นฟูเยียวยาน้ำท่วม หากเงินไม่เพียงพอ หรือจะกู้เงินมาลงทุนโครงการต่างๆ ที่ถูกตัดไปฟื้นฟูน้ำท่วม เพราะหนี้สาธารณะของไทยที่อยู่ที่ 42-43% ของจีดีพี
    แต่หากพิจารณาในแง่รายได้แล้วจะพบว่า การลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 23% ในปี 2555 และเหลือ 20% ในปี 2556 ทำให้รายได้รัฐบาลหายไป 1.5 แสนล้านบาท เป็นอย่างน้อยในระยะ 23 ปีข้างหน้า
    ขณะที่ประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐอยู่ในระดับไม่เกิน 20% ของจีดีพี นั่นหมายความว่า สถานะความพร้อมในการลงทุนของประเทศไทยต้อง “พร่องลง” ไปทันที
    “ผมคิดว่าโครงการที่รัฐบาลประกาศไปแล้ว เช่น รถคันแรกที่ตั้งงบคืนเงิน 3 หมื่นล้านบาท แท็บเล็ตนักเรียน 3,000 ล้านบาท และวงเงินโครงการรับจำนำข้าว 4.35 แสนล้านบาท โครงการเหล่านี้ควรมีการทบทวน เพื่อนำงบมาใช้จ่ายในโครงการลงทุนหรือฟื้นฟูน้ำท่วม และผมคิดว่าประชาชนน่าจะเข้าใจ เพราะเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้เกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึงจริงๆ” กนก วงษ์ตระหง่าน รมว.ศึกษาธิการเงา พรรคประชาธิปัตย์ แนะนำ
    ขณะที่เดียวกันการใช้งบ 8 หมื่นล้านบาท เพื่อฟื้นฟูหลังน้ำท่วมลด ควรระดมกำลังจากทั้งภาครัฐ เอกชน และทหาร เข้ามามีส่วนร่วมฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน และหากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการนำระบบการประมูลจัดซื้อจัดจ้างโดยภาคเอกชน เพราะ
    1.เสี่ยงทำให้การฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานมีความล่าช้า
    2.เงินที่ลงไปฟื้นฟูความเสียหายจะถูกปันส่วนเป็น “กำไร” ของเอกชน ซึ่งไม่น่าจะเป็นสิ่งสำคัญมากนักในสถานการณ์นี้ รวมทั้งเสี่ยงต่อการทุจริตได้
    เพื่อไม่ให้เงินที่ลงไป “รั่วไหล” จำเป็นต้องมีระบบตรวจสอบระดับพื้นที่ เช่น เปิดให้ สส. นักการเมืองท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ และประชาชนร่วมกันตรวจสอบ
    ขณะที่การจะลงทุนฟื้นฟูโครงการใดก็ตามต้องมีหลักฐานเป็น “รูปถ่าย” เป็นหลักประกันของความรั่วไหล
    “หากทำอย่างนี้ ผมเชื่อว่าเงินที่รัฐบาลทุ่มลงไป 8 หมื่นล้านบาท จะได้ผลการดำเนินงานคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ เม็ดเงิน 8 หมื่นล้านบาท จะมีผลเท่ากับการใช้เงินเป็นหลายแสนล้านบาทก็ได้” กนก กล่าว
    นอกจากนี้ การที่รัฐบาล “บีบ” ให้ส่วนราชการลดการใช้จ่ายงบดำเนินการ แน่นอนว่าจะทำให้เกิดความ “อัตคัด ขัดสน” ในการใช้จ่ายเพื่อดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงได้
    เพราะต้องยอมรับว่า วันนี้ระบบราชการเป็น “อุปสรรค” ในการแก้ปัญหาของประเทศ แม้แต่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ยังบ่นว่า “อึดอัด” กับระบบราชการไทย ขณะที่ประชาชนทั่วไปรู้สึกว่า ระบบราชการ “ไม่รู้ร้อนรู้หนาว” หรือไม่ตอบสนองเท่าที่ควรในยามวิกฤต ที่สำคัญ คือ ข้าราชการไม่กล้า “ตัดสินใจ”
    “แทนที่จะทุ่มเทในการทำงาน แต่ข้าราชการวันนี้กลับมุ่งวิ่งเต้นหาตำแหน่งกันมากกว่า” แหล่งข่าวจากทีมเศรษฐกิจรัฐบาล เปิดเผย
    ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กล่าวอย่างมั่นใจ “แม้งบดำเนินงานของภาครัฐจะถูกตัดลงไป 10% แต่ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับหน่วยงานภาครัฐว่า จะทำงานได้เท่าเดิม ในภาวะที่มีงบจำกัดหรือไม่ หน่วยงานราชการจะประหยัดงบจัดซื้อจัดจ้างได้หรือไม่ ผมมองว่ามันเป็นความท้าทาย”
    อย่างไรก็ตาม ความท้าทายในการสร้างระบบป้องกัน “น้ำท่วม น้ำแล้ง” นอกจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายแล้ว “องค์ความรู้” จัดการน้ำเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง
    เช่น มีข้อมูลที่น่าสนใจประการหนึ่ง คือ เขื่อนที่สร้างกั้นน้ำในประเทศไทยนั้น หากเป็นเขื่อนที่สร้างโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นจะเขื่อนที่สร้างขึ้นผลิตไฟฟ้า โดยแต่ละเขื่อนต้องสำรองน้ำไว้ในเขื่อนอย่างน้อย 50% เพื่อใช้ในการปั้นกระแสไฟฟ้า ทำให้มีพื้นที่รับน้ำ “ไม่เต็มที่” เวลาที่มีปริมาณน้ำฝนมาก ก็ต้องรีบปล่อย
    ดังนั้น การจัดการสร้างเขื่อนเก็บน้ำหรืออ่างเก็บน้ำบริเวณ “หลังเขื่อน” จึงเป็นประเด็นที่ต้องนำมาพิจารณาและน่าจะมีการสร้างเขื่อนรองเหล่านี้ขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการกั้นน้ำ และบริหารจัดการน้ำได้อย่างเต็มที่
    ขณะที่ปัจจุบันการลงทุนก่อสร้างถนนและแหล่งน้ำในพื้นที่ทั่วประเทศ เป็นการลงทุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แต่ละพื้นที่ ทำให้ไม่มีบูรณาการการทำงาน บางครั้งถนนที่สร้างขึ้นกลายเป็นสิ่งกีดขวางทางน้ำ และทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม จึงจำเป็นต้องมีการประสานข้อมูลการลงทุนของ อปท.ในภาพรวมด้วย
    การบริหารจัดการน้ำท่วมอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งที่รอไม่ได้แล้วสำหรับประเทศไทย


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/115965/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%87-



    .

    กันงบฟื้นน้ำท่วมแสนล้าน จัดการไม่ดีกลายเป็นละเลง - โพสต์ทูเดย์ ข่าววิเคราะห์


    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948


    ส่วนบริษัทประกันไหน ดีไม่ดีอย่างไร ต้องศึกษาให้ดีๆครับ

    มีหลายๆแห่งที่ใช้การบิดเบือนข้อมูล

    ต้องไปดูเรื่องของความมั่นคงของบริษัทด้วยครับ

    ยิ่งพวกบริษัทต่างชาติด้วยแล้ว

    พวกอเมริกา หรือยุโรป ที่มีวิกฤติอยู่ในตอนนี้





    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เอาเรื่องถึงที่สุด! เรือรับจ้างทำคันกั้นน้ำนครสวรรค์พัง



    [​IMG]

    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Youtube โพสต์โดย bmwe306049
    นายก เทศมนตรีเทศบาลนครสวรรค์ เร่งล่าเรือรับจ้าง คนทำคันกั้นน้ำพัง ยันเอาเรื่องให้ถึงที่สุด เพราะสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน ด้านผู้ว่าฯ สั่งจัดระเบียบเรือรับจ้าง

    ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก สำหรับกรณีที่ภาพจากกล้องวงจรปิดได้บันทึกภาพของกลุ่มคนขับเรือรับจ้างดัน เรือข้ามคันกั้นน้ำบริเวณชุมชนวัดไทรใต้ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นเหตุให้ภายหลังคันกั้นน้ำเกิดทรุดตัวลง จนน้ำทะลักเข้าท่วมเขตเทศบาลนครนั้น ล่าสุด มีความคืบหน้าของกรณีนี้

    โดย นายจิตตเกษม นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครนครสวรรค์ กล่าวว่า ได้รวบรวมหลักฐานและส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองนครสวรรค์ เพื่อเร่งติดตามจับกุมคนผิดมาดำเนินคดีให้ได้แล้ว โดยทางเทศบาลยืนยันจะเอาเรื่องคนกลุ่มนี้ให้ถึงที่สุด เพราะนอกจากคนกลุ่มนี้จะทำคันกั้นน้ำพังอย่างไม่รับผิดชอบแล้ว ยังนำเรือรับจ้างเข้ามาให้เรียกเก็บค่าโดยสารราคาแพงมาก ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน

    ด้านนายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ระบุว่า ที่ผ่านมาเรือรับจ้างได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งจัดระเบียบเรือรับจ้าง โดยจัดทำทะเบียนเรือรับจ้าง และทำป้ายแขวนคอไว้ เพื่อจะได้ทราบว่า เรือลำไหนชื่ออะไร มาจากไหน เพื่อว่าหากเกิดปัญหาขึ้น ประชาชนจะได้แจ้งเบาะแสให้ทางการทราบได้


    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ครอบครัวข่าว 3

    [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/63707-


    http://hilight.kapook.com/view/63707

    .------------------------------------------------------------------------.




    น่าจะมีหน่วยแม่นปืน

    พวกที่ก่อความเดือดร้อน เช่นพวกขโมยที่เข้าไปลักทรัพย์ในบ้านผู้ที่ประสบความเดือดร้อน หรือพวกที่สร้างความเดือดร้อนให้กับคนหมู่มาก

    ยิงทิ้งให้หมด อยู่ไปก็รกแผ่นดินเปล่าๆ



    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    คลองระพีพัฒน์ อีกปราการสำคัญผันน้ำออกสู่ทะเล


    [​IMG]


    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก [ame="http://www.youtube.com/watch?v=kxwOFCf1VGQ"]Youtube.com โพสต์โดย thaitvclips[/ame]

    ชาว บ้านในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี และกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก กำลังเผชิญกับน้ำที่ไหลเข้าท่วมบ้านเรือน หลังจากลำคลองในละแวกนี้มีระดับน้ำสูงขึ้น เนื่องจากถูกใช้เป็นทางระบายน้ำลงสู่ทะเล โดยเฉพาะ "คลองระพีพัฒน์" หนึ่งในช่องทางระบายน้ำสำคัญ ที่จะช่วยผันน้ำจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้ไหลออกสู่ทะเลได้เร็วขึ้น

    โดยเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา ทางศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. ได้ตัดสินใจทดลองผันน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มาลงยังคลองระพีพัฒน์ ในช่วงจังหวัดปทุมธานี เพื่อผันน้ำให้ไหลลงคลองต่าง ๆ และลงสู่ทะเลต่อไป ซึ่งก็ช่วยให้การระบายน้ำจากลุ่มภาคกลางตอนล่างเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น แต่การผันน้ำลงคลองระพีพัฒน์นี้ ก็ได้ส่งผลให้บ้านเรือนในจังหวัดปทุมธานี รวมทั้งชุมชนริมคลองรังสิต และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

    สำหรับคลองระพีพัฒน์นั้น สายใหญ่มีความยาว 32 กิโลเมตร เริ่มต้นจากประตูระบายน้ำพระนารายณ์ ที่ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนจะไหลลงมาที่อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี และแยกออกเป็นสองสาย คือ คลองระพีพัฒน์แยกใต้ ระบายน้ำผ่านทางประตูน้ำพระศรีเสาวภาค ออกไปยังอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ความยาว 28.7 กิโลเมตร ส่วนอีกสายคือ คลองระพีพัฒน์แยกตะวันตก ระบาย น้ำผ่านทางประตูน้ำพระศรีศิลป์ และไปสิ้นสุดที่ประตูน้ำพระอินทร์ราชา จังหวัดปทุมธานี ความยาว 36.6 กิโลเมตร โดยสามารถรองรับน้ำจากที่ไหลมาจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้เต็มที่ 210 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งขณะนี้กำลังใกล้เต็มพื้นที่รับน้ำแล้ว แต่ทว่า...ยังคงมีน้ำเหนือที่จะไหลลงมายังคลองระพีพัฒน์อีกเป็นจำนวนมาก


    [​IMG]

    ทั้งนี้ สถานการณ์ปัจจุบัน การระบายน้ำในคลองระพีพัฒน์ที่มาจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์นั้น ยังไม่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่นัก แต่ที่น่าห่วงก็คือ มวลน้ำก้อนใหญ่ที่ไหลมาจากนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพราะทำให้ปริมาณน้ำในคลองระพีพัฒน์สูงขึ้นมาก จนระบายไม่ทัน และส่งผลให้ประชาชนที่อยู่ตามเส้นทางที่คลองระพีพัฒน์ไหลผ่านได้รับความ เดือดร้อน โดยเฉพาะพื้นที่ทางการเกษตรในละแวกใกล้เคียงตั้งแต่คลอง 13 และรอบ ๆ บริเวณจังหวัดปทุมธานี

    ด้วยเหตุนี้ กรมชลประทานจึงต้องเร่งระบายน้ำจากคลองระพีพัฒน์ฝั่งตะวันตก เข้าสู่คลองรังสิต 1-6 เพื่อให้คลองระพีพัฒน์สามารถรองรับน้ำที่จะไหลบ่ามาเพิ่มเติมได้ แต่นั่นก็จะทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่คลองรังสิต 1-6 ได้รับผลกระทบจากน้ำล้นคลองเช่นกัน โดยกรมชลประทานคาดว่าระดับน้ำอาจสูงกว่าถนนไม่เกิน 1 เมตร ส่วนพื้นที่ตั้งแต่คลอง 7 เป็นต้นไปเป็นทุ่งนาความเดือดร้อนจะไม่มากเท่าช่วงคลองรังสิต 1-6 พร้อมกับยืนยันว่า น้ำจะไม่ไหลทะลักเข้าเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

    เช่นนั้นแล้ว ในช่วงนี้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในช่วงคลองรังสิต 1-6 รวมทั้งเส้นทางที่อยู่ใกล้คลองระพีพัฒน์ จึงต้องเผชิญกับน้ำท่วม และคงต้องอดทนกับสถานการณ์เช่นนี้อีกพักหนึ่ง กว่าที่น้ำก้อนมหาศาลจะไหลลงทะเลได้ทั้งหมด ดังนั้น ขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เผื่อว่าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินระดับน้ำเพิ่มขึ้นสูง จะได้เตรียมการป้องกัน หรือร้ายที่สุดคือ จะได้สามารถอพยพออกมาได้ทัน







    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ครอบครัวข่าว 3 , เดลินิวส์ และ kasetorganic.com

    [​IMG] [​IMG] kasetorganic.com
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="headline" align="left" valign="baseline">ผู้ว่าฯ รับกรุงเทพเสี่ยงท่วม หวั่นน้ำนครปฐมตลบหลัง</td> <td align="right" valign="baseline" width="102">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">15 ตุลาคม 2554 12:46 น.</td> </tr></tbody></table>

    "สุขุมพันธุ์" ยอมรับพื้นที่กรุงเทพเสี่ยงน้ำท่วม หลังขึ้นฮ.บินพบน้ำจากนครปฐมปริมาณมาก ทั้งไม่มีทางระบายออก ต้องเร่งสร้างคันกั้นน้ำป้องกันเท่านั้น แจงปภ.ประกาศ 17 เขตกทม.เป็นเขตภัยพิบัติ แค่พื้นที่ที่ควรได้รับการช่วยเหลือ ไม่รุนแรงเช่นอยุธยา

    วันนี้(15 ต.ค.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. กล่าวภายหลังขึ้นเฮลิคอปเตอร์บินตรวจสถานการณ์น้ำโดยรอบ กทม. โดยยอมรับว่าน้ำในพื้นที่ใกล้เคียงมีปริมาณมาก ทำให้กทม. ต้องวางแผนตั้งรับให้ดี โดยเฉพาะเขตทวีวัฒนา ที่เป็นรอยต่อกับจังหวัดนครปฐม ซึ่งเสี่ยงกับภาวะน้ำตลบหลังไหลเข้าท่วมพื้นที่ อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์น้ำที่เห็นไม่พบทางระบายน้ำออกจาก กทม. แต่ทางเจ้าหน้าที่พยายามสร้างคันกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำอย่างดีที่สุด

    ผู้ว่าฯกทม. กล่าวอีกว่า สำหรับ 17 เขต กทม. ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. ประกาศให้เป็นเขตภัยพิบัติฉุกเฉินนั้น ยอมรับว่าจริง แต่ความเห็นส่วนตัวมองว่าควรเป็นเพียงพื้นที่ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วนเท่านั้น ไม่ใช่เขตน้ำท่วมที่สร้างผลกระทบให้กับประชาชนอย่างเช่น จ.พระนครศรีอยุธยา แต่ด้วยภาษากฎหมายมักใช้คำที่สร้างความตกใจ อย่างไรก็ตามยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มีเขตไหนที่มีสภาพน้ำท่วมขังสูง

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (14 ต.ค.) ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศปภ.) ได้ออกแถลงการณ์แจ้งว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ออกประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 17 เขต ได้แก่ เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตราษฎร์บูรณะ เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตหนองจอก และเขตลาดกระบัง เนื่องจากเขตพื้นที่ดังกล่าวประสบกับเหตุอุทกภัย และได้รับผลกระทบด้านต่างๆ เป็นวงกว้างและภัยพิบัติยังไม่สิ้นสุด

    ด้าน นายสัญญา ชีนิมิต ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม.กล่าวว่า ช่วงนี้ กทม.ดูเหมือนจะปลอดจากปัญหาน้ำทะเลหนุน เหลือเฝ้าระวังอีก 2 วัน ถึงวันที่ 17 ต.ค.แต่สถานการณ์ฝนตกหนักเมื่อคืนที่ผ่านมา กระจายหลายเขต วัดได้สูงสุด กว่า 100 ม.ม.ที่เขตบางรัก และลาดพร้าว ซึ่งเหนือความคาดหมาย ทำให้ กทม.ต้องเร่งแก้ไขภาวะปริมาณน้ำฝนมาก ไปพร้อมกับการเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนด้วย แต่ยังยืนยันว่าจะรับมือได้



    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131564-

    .


    http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131564

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    [FONT=Tahoma,]จับโก่งราคาทราย

    มติชนมอบของ ซับน้ำตาลพบุรี


    <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="360"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#E0E0E0" valign="top">[​IMG]
    ช่วยเหลือ - นายฐากูร บุนปาน ผู้บริหารมติชน-ข่าวสด พร้อมพันธมิตรธุรกิจมอบสิ่งของให้นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ผวจ.ลพบุรีนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เมื่อ14 ต.ค.

    </td></tr></tbody></table>ผู้ บริหาร "มติชน-ข่าวสด-ประชาชาติ" รุดเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ลพบุรี นำสิ่งของเครื่องใช้แจกจ่ายผู้ประสบภัยพ่อเมืองละโว้เตือนเฝ้าระวังน้ำทะลัก บ้านหมี่-ท่าวุ้งอีกรอบ พณ.ลุยจับร้านค้าโก่งราคากระสอบทราย พบเขตชานเมืองกรุงขายเกินราคาอื้อ เตรียมฟันเอาผิดตามกฎหมาย สคบ.รับร้องเรียนเพียบ ทั้งของแพง-เพิ่มค่าเช่าห้อง ก.แรงงานจัดหาตำแหน่งงานกว่า 9 หมื่นอัตรา หวังรองรับลูกจ้างเหยื่อน้ำท่วม ก.อุตสาหกรรมขอยกเว้นภาษี-ค่าธรรมเนียมโรงงานถูกน้ำซัด "นายกฯ ปู"ควง "ไปค์" แพ็กของช่วยผู้ประสบภัย "สมชาย-เจ๊แดง" บริจาคช่วยน้ำท่วม 10 ล.

    มติชน-ข่าวสดซับน้ำตาที่ลพบุรี

    เมื่อ วันที่ 14 ต.ค. นายฐากูร บุนปาน ผู้จัดการทั่วไปเครือมติชน-ข่าวสด-ประชาชาติ พร้อมตัวแทนเครือข่ายพันธมิตร ประกอบด้วย มูลนิธิ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์, มูลนิธิ บรรจง พงศ์ศาสตร์, หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น, บริษัท สิงห์คอร์เปอเรชั่น จำกัด, บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด, บริษัท เอเซีย โกลเด้น ไรซ์ จำกัด, บริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด, บริษัทโอสถสภา จำกัด และบริษัท ฮาเลเดียม จำกัด นำเงินสดและสิ่งของเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยใน จ.ลพบุรี โดยมี นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ผวจ.ลพบุรี เป็นผู้รับมอบ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้พี่น้องผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่

    ผู้สื่อข่าว รายงานว่า นายฉัตรชัย ทำหนังสือแจ้งถึงนายอำเภอเมือง บ้านหมี่ และท่าวุ้ง ให้แจ้งต่อไปถึงกรมการปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณ พื้นที่ 2 ฝั่งคลองชัยนาท-ป่าสัก ให้เฝ้าติดตามน้ำในคลองอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมรับเหตุอุทกภัยที่อาจรุนแรงขึ้น เนื่องจากจ.ลพบุรีได้รับแจ้งจากสำนักชลประทานที่ 20 ว่าปริมาณน้ำในคลองชัยนาท-ป่าสักสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีประชาชนบางส่วนเจาะคันคลองในพื้นที่ ต.อู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ทำให้ปริมาณในแม่น้ำเจ้าพระยาทะลักเข้าลงคลองเพิ่มขึ้น

    ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.ลพบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังอยู่ใน อ.เมือง บ้านหมี่ และท่าวุ้ง ซึ่งบางพื้นที่มีน้ำท่วมสูงถึง 5-6 เมตร ส่วนในพื้นที่ อ.เมืองยังคงมีน้ำท่วมขังสูงประมาณ 2-3 เมตร ทำให้ประชาชนได้รับ ความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก นอกจากนี้อีกประมาณ 2-3 วัน เขื่อนชัยนาทจะระบายน้ำออกมา เนื่องจากเจ้าหน้าที่สามารถซ่อมแซมประตูระบายน้ำบางโฉมศรี จ.สิงห์บุรีได้แล้ว ทำให้ต้องผันน้ำมาที่ จ.ลพบุรีแทน โดยในวันนี้เจ้าหน้าที่ได้ประกาศเตือนให้ประชาชนที่อยู่ใน อ.เมืองและท่าวุ้ง เตรียมอพยพและย้ายออกนอกพื้นที่แล้ว

    "ปู"ควง"ไปค์"แพ็กของช่วยน้ำท่วม

    ที่ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือน้องไปค์ บุตรชาย และกลุ่มเพื่อนจากโรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ กรุงเทพฯ มาร่วมบรรจุสิ่งของบริจาคและลำเลียงใส่รถ เพื่อนำไปช่วยผู้ประสบอุทกภัย โดยด.ช.ศุภเสกข์ กล่าวว่า วันนี้ตั้งใจนัดเพื่อน มาช่วยกันบรรจุสิ่งของเพื่อช่วยผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งมีหลายอย่างทั้งอาหาร และของใช้จำเป็น อย่างไรก็ตาม ระหว่างการบรรจุสิ่งของและลำเลียง สิ่งของขึ้นรถนั้น มีประชาชนสนใจรุมถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกจำนวนมาก ทำให้การบรรจุสิ่งของตามปกติของอาสาสมัครต้องหยุดชะงักชั่วคราว

    สมชาย-เจ๊แดงบริจาค 10 ล.

    น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ยังรับมอบสิ่งของและเงินบริจาค จากทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ นายสมชาย นางเยาวภา และน.ส.ชิณนิชา วงศ์สวัสดิ์ บริจาคเงิน 10 ล้านบาท พร้อมเรือ 2 ลำ นายพานทองแท้ ชินวัตร พร้อมด้วยบริษัทสหฟาร์ม บริจาคอาหาร ประเภทไก่ ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร บุตรชายนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยกลุ่มนักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนนานาชาติฮาโรว์ บริจาค 77,310 บาท นักธุรกิจจีนในไทย บริจาคเงิน 5.5 ล้านบาท กลุ่มสหวิริยา บริจาคเรือเหล็กนวัตกรรมใหม่ 100 ล้านบาท บริษัท เมโทร แคท ให้ยืมรถแบ๊กโฮ 30 คัน

    นอกจากนี้บริษัทในกลุ่มอินทัช ประกอบด้วย อินทัช เอไอเอส และไทยคม บริจาคเงิน 30 ล้านบาท พร้อมด้วยพันธมิตรของ เอไอเอส คือบริษัท สิงค์เทล บริจาคอีก 2 ล้านบาท รวม 32 ล้านบาท นอกจากนั้น ยังบริจาคเป็นสิ่งของ เรือ เครื่องอุปโภคบริโภค โทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมซิมการ์ด พร้อมติดตั้งเครือข่ายไวไฟ ที่ศูนย์ราชการและศูนย์อพยพ ต่างๆ รวมแล้วกว่า 60 ล้านบาท

    คณะทูตเตรียมเยี่ยมชมศปภ.

    นาย สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ เปิดเผยว่า มีการประสานงานระหว่างรัฐบาลไทยกับทางการสหรัฐอเมริกา เพื่อส่งทีมเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพราะรูปแบบมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ในสัปดาห์หน้า คณะทูตจากประเทศต่างๆ ที่ประจำในประเทศไทย จะเดินทางมาเยี่ยมชมการทำงานของศปภ. เพื่อใช้ในการเสนอการให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือประเทศไทยต่อไปด้วย

    ญี่ปุ่นมอบสิ่งช่วยเหลือ

    นาย เซอิจิ โคจิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เดินทางเข้าพบพล.ต.อ. ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผอ.ศปภ. เพื่อมอบสิ่งของจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นให้ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน พื้นที่ต่างๆ ประกอบด้วย เต็นท์ 150 หลัง ผ้าห่ม 900 ผืน ผ้าใบ 300 ผืน ที่นอน 900 ชุด ถังน้ำพลาสติก 156 ถัง เครื่องกรองน้ำ 45 เครื่อง เครื่องปั่นไฟ 20 ชิ้น และถังน้ำความจุ 3,700 ลิตร 20 ถัง<table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="360"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#E0E0E0" valign="top">[​IMG]
    ช่วยแม่ - "น้องไปค์"บุตรชายนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นำเพื่อนนักเรียนโรงเรียนแฮร์โรว์ร่วมทำงานจิตอาสาบรรจุข้าวของเครื่องใช้ ส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่ศปภ.ดอนเมือง เมื่อวันที่ 14 ต.ค.

    </td></tr></tbody></table>

    ยกเว้นภาษี-ปล่อยกู้โรงงาน

    น.พ.วรร รณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาห กรรม เปิดเผยว่า ตนในฐานะเป็นคณะกรรมการฟื้นฟูเยียวยาช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้านเศรษฐกิจ จะนำเสนอแนวทางเยียวยาภาคอุตสาห กรรมในการประชุมวันที่ 17 ต.ค. ด้วยการประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีของโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการ ที่ต้องต่ออายุในช่วงนี้ รวมทั้งยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมต่อใบอนุญาต กรณีมีความจำเป็นต้องนำเข้าเครื่องจักรใหม่ เพื่อมาทดแทนเครื่องที่เสียหาย อีกทั้งจะยกเว้นภาษีอากรนำเข้าและโรงงานที่ขนย้ายเครื่องจักรหนีน้ำท่วม นอกจากนี้ ยังเสนอในเรื่องของสิทธิประโยชน์ในการขอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น การจัดตั้งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำระยะยาวให้กับผู้ประกอบการที่จำเป็นต้องใช้ เงินทุนซ่อมแซมปรับปรุงสถานประกอบการและเครื่องจักรกลต่างๆ ให้สามารถดำเนินการได้ตามปกติ

    คลังหวังสร้างความมั่นใจการลงทุน

    นาย ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยว่า ผลกระทบน้ำท่วมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในจ.อยุธยา ประเมินว่าจะหยุดการผลิตนาน 1 เดือน และทำให้ได้รับความเสียหายประมาณ 8-9 หมื่นล้านบาท แต่ตอนนี้ความเสียหายน่าจะมากขึ้นกว่าเดิม เพราะมีนิคมอุตสาหกรรมประสบปัญหาเพิ่มอีก ซึ่งรัฐบาลให้สถาบันการเงินของรัฐประชุมหารือว่า จะช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการอย่างไร เนื่องจากผู้ประกอบการบางแห่งเป็นลูกหนี้ชั้นดี เราจึงต้องสร้างความมั่นใจในการเข้ามาลงทุน เพราะเหตุ การณ์ครั้งนี้กระทบความน่าเชื่อถือในการลงทุน ซึ่งตนจะติดตามดูอย่างใกล้ชิดว่า สถาบัน การเงินจะมีจิตสำนึกช่วยแก้ปัญหาอย่างไรให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ

    ประสานร้านขายสินค้าถูก 10 จว.

    นาย ภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมจึงขอความร่วมมือไปยังสมาคมค้าส่งค้าปลีกไทยให้จัดทำ โครงการ "รวมใจร้านค้าไทยช่วยสังคม" เพื่อจัดจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นในราคาพิเศษ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำดื่ม ข้าวสารบรรจุถุงและปลากระป๋อง ซึ่งมีร้านค้าเข้าร่วมโครงการ 12 ร้านค้า ใน 10 จังหวัด ได้แก่ กทม. ที่บจก.ส.สรรพกิจค้าส่ง และบจก.บางบอนซุปเปอร์เซ็นเตอร์, นครปฐม ที่บจก.นครปฐมไพศาล, ราชบุรี ที่บจก.พี.พี.ซุปเปอร์เซ็นเตอร์, สมุทรสงคราม ที่บจก.สมรไพบูลย์, สมุทรสาคร ที่บจก.บิ๊กซ้ง ซุปเปอร์สโตร์, สระบุรี ที่หจก.เอกภาพอินเตอร์อิเลคตริค และหจก.เอกภาพซุปเปอร์ซัพพลาย, สุพรรณบุรี ที่บจก.พันธ์กิจการ, ชัยนาท ที่หจก.เอ็น แอนด์ เอ็น เทรดดิ้ง, นนทบุรี ที่บจก.สามัคยานุสรณ์ กรุ๊ป และสิงห์บุรี ที่ไชยแสงดีพาร์ทเม้นท์สโตร์

    สั่งฟันร้านกักตุน-ขายเกินราคา

    นาย ยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์และกรมการค้าภายในสั่งกำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง โดยเฉพาะพาณิชย์จังหวัดให้ตรวจสอบราคาสินค้าและสินค้าให้เพียงพอกับความต้อง การของประชาชน ส่วนปัญหาราคาสินค้าที่ราคาแพงและมีการกักตุน อยากให้ประชาชนช่วยแจ้งเบาะแสเข้ามา เพื่อเข้าไปดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด

    ด้านนางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ขณะนี้รับการร้องเรียนเรื่องทรายบรรจุถุงที่มีราคาแพงและหาซื้อยาก จึงส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบในพื้นที่รอบนอกกทม. อาทิ เขตสายไหม ดอนเมือง บางเขน ลาดกระบัง และหนองจอก ซึ่งพบว่าร้านค้ารายใหญ่บางแห่งขายทรายบรรจุถุงขนาด 20 ก.ก. ในราคา 55 บาท เกินกว่าราคาที่กฎหมายกำหนด จึงเตรียมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ หากประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าและบริการ แจ้งเข้ามาที่สายด่วน 1569 หรือสำนักงานการค้าภายในจังหวัดทั่วประเทศ

    นำสินค้าจำเป็นจำหน่ายราคาถูก

    นาง วัชรี กล่าวอีกว่า สถานการณ์น้ำท่วมส่งผลให้สินค้าบางอย่างเริ่มมีปริมาณลดลง เพราะโรงงานพื้นที่ภาคกลางถูกน้ำท่วมขัง ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน กรมการค้าภายจึงประสานผู้ประกอบการให้นำสินค้าที่มีความต้องการสูง ได้แก่ เนื้อหมู ไข่ไก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และนมพร้อมดื่ม มาจำหน่ายในราคาถูกกว่าท้องตลาด เพื่อเป็นการช่วยลดภาระค่าครองชีพและอำนวยความสะดวกในการซื้อหาสินค้าในช่วง นี้ โดยกรมการค้าภายในจัดสถานที่จำหน่ายที่บริเวณหน้าประตู 1 กระทรวงพาณิชย์ และในจังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม โดยจะเริ่มจัดจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค.นี้

    ร้องสคบ.ซื้อของแพงอื้อ

    นาย จิรชัย มูลทองโร่ย รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า หลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ สคบ.รับแจ้งเรื่องร้องเรียนจากผู้ประสบภัยเข้ามาจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องร้านค้าวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาสินค้า รวมทั้งยังรับร้องเรียนเกี่ยวกับผู้ประกอบการหอพักในพื้นที่ประสบภัยที่ปรับ ขึ้นค่าเช่าห้องจากเดิมที่เก็บ 2,500-3,500 บาทต่อเดือน เป็นวันละ 500 บาท ถือว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคเกินความจำเป็น ดังนั้น สคบ.จึงแจ้งเตือนให้ผู้บริโภคที่ถูกเอาเปรียบแจ้งรายละเอียดมายังสคบ. เพื่อประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบ <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="360"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#E0E0E0" valign="top">[​IMG]
    หนีน้ำ - ชาว บ้านในตัวเมืองนครสวรรค์ขนข้าวของลงเรืออพยพหนีน้ำท่วมอย่างทุลักทุเล ขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำปิงยังคงเอ่อล้นเข้าท่วมเขตเศรษฐกิจในตัวเมืองเสีย หายเป็นวงกว้าง เมื่อวันที่ 14 ต.ค.

    </td></tr></tbody></table>

    นาย จิรชัยกล่าวอีกว่า สคบ.ยังประสานงานกับสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่เช่าซื้อรถ โดยสมาคมแจ้งว่าจะให้ความช่วยเหลือลูกค้าด้วยการยกเว้นการเรียกเก็บเงินค่า ติดตามทวงถาม, พักชำระค่างวดเช่าซื้อ, ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และกรณีที่ลูกค้าเช่าซื้อหลายคัน เช่น รถแท็กซี่ ซึ่งจะพิจารณาตามความเหมาะสมในการชำระหนี้

    ก.แรงงานเร่งเยียวยาลูกจ้าง

    นาย เผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงวันที่ 1-13 ต.ค.ที่ผ่านมา มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 8,454 แห่ง และลูกจ้างเดือดร้อน 320,086 คน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงขอความร่วมมือสถานประกอบการ เพื่อขออนุญาตลูกจ้างมาทำงานสายหรือหยุดงาน โดยไม่ถือเป็นวัน ลาและขอให้จัดสวัสดิการเรื่องรถรับส่งและที่อยู่อาศัย ขณะนี้ขอความร่วมมือไปแล้ว 10,154 แห่ง มีลูกจ้างได้รับการดูแลแล้ว 299,362 คน นอกจากนี้ กรมการจัดหางานจะจัดหาตำแหน่งงานว่างรองรับ 86,341 อัตรา รวมทั้งจะจัดหาทรายจาก จ.ชลบุรี มาเป็นแนวป้องกันที่ปทุมธานีรวม 1,400 ตัน และจัดหาสิ่งของไปช่วยเหลือจังหวัดต่างๆ ที่ประสบภัยน้ำท่วม

    คลังหามาตรการช่วยผู้ประกอบการ

    นาย วิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า จากภัยพิบัติครั้งนี้ทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจำนวนมาก แต่กระทรวงการคลังพยายามให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจหยุดนิ่ง และยืนยันว่าจีดีพีน่าจะยังอยู่ที่ร้อยละ 4 โดยกระทรวงจะผ่อนปรนและดูแหล่งเงิน เพื่อช่วยผู้ประกอบการ เช่น ภาษีและมาตรการอื่นๆ รวมทั้งจะมีมาตรการมาช่วยเหลืออีก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ตามที่ตั้งใจไว้ เพราะรัฐบาลมีนโยบายทั้งเรื่องรถยนต์คันแรกและบ้านหลังแรก

    สธ.เผยยอดป่วยน้ำท่วม 5 แสนราย

    น.พ.ไพ จิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธา รณสุข(สธ.) เปิดเผยว่า สธ.จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการผู้ประสบภัยในจังหวัดไปแล้ว 4,905 ครั้ง รวมผู้มาใช้บริการตรวจสุขภาพกาย 516,748 ราย ส่วนใหญ่พบป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้า ปวดกล้ามเนื้อและไข้หวัด ในส่วนผู้ป่วยโรคผิวหนังหรือมีบาดแผลไม่ควรเดินลุยน้ำ สำหรับพื้นที่ใช้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่มากที่สุด คือ จ.พิจิตร 112,524 ราย นนทบุรี 82,182 ราย นครสวรรค์ 60,280 ราย ส่วนยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมด 289 ราย แบ่งเป็นจมน้ำ 245 ราย น้ำพัด 20 ราย ต้นไม้ล้มทับ 2 ราย ดินสไลด์ทับ 14 ราย และไฟฟ้าชอร์ต 8 ราย

    น.พ.ไพจิตร์กล่าวอีกว่า สธ.ยังคงสำรองยาและเวชภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่ โดยขณะนี้ได้กระจายยาชุดน้ำท่วมไปแล้ว 1,510,250 ชุด ซึ่งถือว่าเพียงพอ โดยมีทั้งยาตำราหลวง ยารักษาน้ำกัดเท้าและเซรุ่มแก้พิษงู เนื่องจากน้ำท่วมสัตว์มีพิษจะเข้ามาอาศัยตามน้ำขัง จึงอยากฝากให้ประชาชนเฝ้าระวังสุขภาพให้ดี

    ร.พ.จุฬาฯช่วยผู้ป่วยน้ำท่วม

    น.พ.โศภ ณ นภาธร ผอ.ร.พ.จุฬาลงกรณ์ และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการผู้ประสบภัย ที่ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย จ.อยุธยา ระหว่างวันที่ 15-21 ต.ค. โดยจัดเวรสลับสับเปลี่ยนต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น รวมทั้งวันที่ 16 ต.ค. จะร่วมกับศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมออกหน่วยแพทย์เคลื่อน ที่ เพื่อให้บริการกับประชาชนใน อ.ดอนพุด จ.สระบุรี นอกจากนี้ โรงพยาบาลยังรับย้ายผู้ป่วยจากพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยของจังหวัดต่างๆ ซึ่งขณะนี้รับย้ายเข้ามารักษาแล้ว 8 ราย หากโรงพยาบาลใดต้องการย้ายผู้ป่วย ติดต่อโทร.0-2256-4898 และ 0-2256-4899 ตลอด 24 ชั่วโมง

    คู่สมรสครม.ช่วยเข้าฟื้นฟู

    ที่ ทำเนียบรัฐบาล นายอนุสรณ์ อมรฉัตร สามี น.ส.ยิ่งลักษณ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคู่สมรสครม. มีมติจัดกิจกรรมซ่อมแซมสถานที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน วัดและสถานีอนามัยที่ประสบอุทกภัยและต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ให้เสร็จก่อนวันที่ 1 ธ.ค. โดยใช้งบฯ ของคู่สมรสครม.ที่มีอยู่ 3 ส่วน คือ จากเงินบริจาค 20 ล้านบาท เงินส่วนตัวของคู่สมรสครม. และงบประมาณจากรัฐบาล 5 ล้านบาท ส่วนกิจกรรมที่จะสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมนั้น ทางคู่สมรสครม.จะจัดกิจกรรมด้วยการแบ่งสายเดินทางไปให้กำลังใจและมอบสิ่งของ ให้ผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ โดยวันที่ 17 ต.ค.นี้ จะเดินทางไปจ.นครสวรรค์

    ส.ส.-ส.ว.หักเงินเดือนช่วยน้ำท่วม

    นาย ไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมา ธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ตั้ง "คณะกรรมการสภาร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม" ร่วมกับพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ซึ่งจะประชุมนัดแรกในสัปดาห์หน้า เพื่อหารือถึงแนวทางช่วยเหลือประชาชนที่ประ สบภัยน้ำท่วม โดยจะขอให้ ส.ส. ข้าราชการฝ่ายการเมืองและข้าราชการรัฐสภาเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความช่วย เหลือ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัย ซึ่งเบื้องต้นจะเป็นรูปแบบการแจ้งความจำนงในการหักเงินเดือนและค่าตอบแทน รวมทั้งจัดตั้งศูนย์รับบริจาคและขอความร่วมมือจากส.ส.เป็นรายบุคคลด้วย

    เพิ่มคู่สาย 1111 รับร้องเรียน

    น.อ.อนุ ดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.สารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เปิดเผยว่า กระทรวงไอซีทีเปิดสายด่วน 1111 กด 5 ขึ้น เพื่อให้บริการข้อมูล ตลอดจนรับเรื่องขอความช่วยเหลือจากประชาชน โดยวันแรกมีประชาชนโทรศัพท์เข้ามาถึง 6 หมื่นครั้ง กระทรวงไอซีทีจึงเพิ่มคู่สายเป็น 300 คู่สาย เพื่อรองรับปริมาณการโทร.เข้าศูนย์ของประชาชนที่มีจำนวนมาก

    กทม.เปิดศูนย์ช่วยเหลือ-ให้ข้อมูล

    กทม.เปิด ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยกรุงเทพฯ เพื่อเป็นศูนย์กลางให้ข้อมูลสถานการณ์น้ำตลอด 24 ช.ม. โดยศูนย์ตั้งอยู่ที่ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพฯ เสาชิงช้า ทั้งนี้ ประชาชนสามารถตรวจสอบปัญหาน้ำท่วมรวมถึงขอความช่วยเหลือ โทร. 0-2221 -1212 หรือสายด่วน 1555 พร้อมติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำประจำวัน การรายงานสภาพอากาศที่ พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhistgkok. go.th และตรวจสอบข้อมูลพื้นที่จุดอ่อน-จุดเสี่ยงน้ำท่วม พร้อมแผนที่เดินทาง และหมายเลขติดต่อฉุกเฉินที่ พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhistgkok.go.th

    ขอลดภาษีช่วยบูรณะโบราณสถาน

    นาง สุกุมล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตนหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อขอใช้มาตรการลดภาษี 1 เท่าให้กับภาคเอกชนที่ร่วมบริจาคเงินให้กับกรมศิลปากรนำมาบูรณะโบราณสถาน เพราะเชื่อว่าวงเงินงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้วธ.คงไม่เพียงพอ ขณะนี้สั่งการให้กรมศิลปากรจัดทำแผนและสำรวจรายชื่อโบราณสถาน เพื่อเสนอให้ภาคเอกชนช่วยสนับ สนุนงบประมาณบูรณะหลังน้ำลด

    หวั่นมิจฉาชีพฉกโบราณวัตถุ

    นาย อเนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ขณะนี้มีโบราณสถานได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 2 ส่วนคือ ภาคเหนือ ได้แก่ จ.เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน น่าน พิษณุโลก และสุโขทัย ส่วนภาคกลาง ได้แก่ อยุธยา สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี ปราจีน บุรี อ่างทอง สระบุรี นนทบุรี และปทุมธานี เฉพาะที่อยุธยามีโบราณสถานถูกน้ำท่วมกว่า 90 แห่ง จึงต้องจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลความปลอดภัยโบราณวัตถุล้ำค่า เพราะเกรงว่าอาจถูกมิจฉาชีพลักขโมยไปได้

    ทอท.พร้อมรับผู้อพยพหนีน้ำ

    พล.อ.อ. สุเมธ โพธิ์มณี ประธานคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีประชาชนเกรงว่าจะประสบภัยน้ำท่วม จึงเข้ามาพักที่ศูนย์อพยพ อาคาร 2 สนามบินดอนเมืองบางส่วน และเมื่อพบว่าน้ำไม่ท่วมที่พักอาศัย จึงเดินทางกลับ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพื้นที่อพยพดังกล่าว ทอท.เตรียมพร้อมรองรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมตลอด 24 ช.ม.

    โตโยต้าลดค่าอะไหล่ 30%

    นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมยังคงส่งผลกระทบต่อบริษัทผลิตชิ้นส่วน ดังนั้น บริษัทจึงมีความจำเป็นต้องหยุดการผลิตของโรงงานทั้ง 3 แห่ง ระหว่างวันที่ 17-22 ต.ค. แต่เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกค้า ศูนย์บริการโตโยต้าทุกแห่งจึงพร้อมให้ความช่วยเหลือรถยนต์โตโยต้าที่ได้รับ ผลกระทบ ด้วยส่วนลดค่าอะไหล่ 30 เปอร์เซ็นต์ และส่งเจ้าหน้าที่เทคนิคเข้าไปยังพื้นที่ที่ประสบปัญหา เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ประสบภัย

    ต่างจังหวัดแห่บริจาคของช่วย

    ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการรับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในจังหวัดต่างๆ ที่จ.ชลบุรี พล.ร.ท.ชัยณรงค์ เจริญรักษ์ ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ นำกำลังพลกองทัพเรือและประชาชน ร่วมบรรจุกระสอบทราย 40,000 กระสอบ เพื่อสนับสนุนปิดกั้นน้ำในพื้นที่กทม. ส่วนที่สระบุรี ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร เตรียมรับผู้อพยพจาก จ.อยุธยา โดยจะเปิดให้ใช้กองพันนักเรียนนายสิบ ศูนย์การทหารม้าเป็นศูนย์พักพิงชั่วคราว โดยมีชาวบ้านในจังหวัดเริ่มทยอยนำสิ่งของมาบริจาคช่วยเหลือจำนวนมากเช่นกัน ที่จ.ขอนแก่น นายสมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ ผวจ.ขอนแก่น เป็นประธานรับมอบถุงกระสอบเปล่า 20,500 ถุง เพื่อนำ ไปมอบให้กับศปภ. ใช้ทำคันกั้นน้ำ ที่ จ.เชียงใหม่ กลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ยังคงเปิดรับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในจ.นครสวรรค์ และอยุธยา รวมทั้งยัง ทำส้วมมือถือที่ใช้เก้าอี้มาดัดแปลงเป็น ส้วมชั่วคราว เพื่อนำไปบริจาคในพื้นที่น้ำท่วมด้วย
    [/FONT]

    -http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdOakUxTVRBMU5BPT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1TMHhNQzB4TlE9PQ==-


    .

     
  20. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอร่วมทำบุญด้วยครับ คุณ sithiphong
     

แชร์หน้านี้

Loading...