พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ผู้ว่าฯ รับ กทม.เสี่ยงท่วมทุกจุด เตือนเฝ้าระวัง 24 ชม.



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ผู้ว่าฯ กทม. ยอมรับทุกพื้นที่ของ กทม. เสี่ยงท่วมทุกจุด เตือนให้เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง

    วันนี้ (12 ตุลาคม) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด โดยได้ลงพื้นที่เขตทวีวัฒนา ที่น้ำได้เข้าท่วมที่อยู่อาศัยประชาชนเป็นบางส่วนแล้ว ซึ่งคลองทวีวัฒนานั้น สามารถรองรับน้ำได้อีกเพียง 50 เซนติเมตรเท่านั้น และขณะนี้กำลังเร่งระบายออกสู่คลองมหาสวัสดิ์

    ทั้งนี้ หลังการร่วมประชุมกับนายกรัฐมนตรี ได้มีมติให้เพิ่มการระบายน้ำในคลองทวีวัฒนา เพื่อรองรับน้ำจาก จ.นนทบุรี และ จ. ปทุมธานี เพิ่มเติม รวมไปถึงสั่งการให้กองทัพเรือ และกองทัพบก เสริมกระสอบทรายเพิ่มอีก 50 เซนติเมตร ตั้งแต่แนวคันกั้นน้ำคลองทวีวัฒนา จนถึงคลองมหาสวัสดิ์

    ขณะเดียวกัน ทางกรุงเทพมหานคร ก็ได้เร่งระบายน้ำในคลองแสนแสบ และคลองประเวศโดยผ่านอุโมงค์ระบายน้ำพระโขนง เพื่อระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และออกสู่ทะเลต่อไป ทั้งนี้เพื่อรองรับน้ำฝนที่จะตกเพิ่มอีกในช่วง 16-18 ตุลาคมนี้

    อย่างไรก็ตาม ทางผู้ว่าฯ กทม. ออกมายอมรับว่า ทุกพื้นที่ของกรุงเทพฯ มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมทุกจุด เพื่อความไม่ประมาท ให้ประชาชนติดตามข่าว และเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง

    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก มติชนออนไลน์
    [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/63235-

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    รวมข้อมูล ศูนย์อพยพ สำหรับผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


    จากปัญหาน้ำท่วมที่กำลังถาโถมเข้ามา ประชาชนหลายครัวเรือน ต้องประสบกับปัญหาทางด้านที่อยู่อาศัย รวมไปถึงขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และอาหารต่าง ๆ ... ทั้งนี้ในแต่ละจังหวัดได้จัดศูนย์อพยพ เพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนในแต่ละพื้นที่หลายจุด วันนี้ทางกระปุกดอทคอมได้รวบรวมสถานที่ และ ศูนย์อพยพ ของแต่ละจังหวัด ในแต่ละพื้นที่มาฝากกันค่ะ


    [​IMG]กรุงเทพมหานคร ได้เตรียมศูนย์อพยพจำนวน 23 ศูนย์อพยพ พร้อมจัดกำลังเจ้าหน้าที่รวมถึงนักสังคมสงเคราะห์คอยดูแล ประกอบด้วย ...

    [​IMG] โรงเรียนมัชฌันติการาม
    [​IMG] โรงเรียนวัดราชผาติการาม
    [​IMG] โรงเรียนวัดเทวราชกุญธร
    [​IMG] วัดมหาธาตุ
    [​IMG] โรงเรียนวัดพระเชตุพน
    [​IMG] โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
    [​IMG] โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
    [​IMG] โรงเรียนวัดจันทร์นอก
    [​IMG] วัดสะพาน
    [​IMG] โรงเรียนมัธยมวัดดุสิต
    [​IMG] โรงเรียนสตรีวัดระฆัง
    [​IMG] วัดอินทรวิหาร ประสานได้ที่ นายถวิล ทวีวัน เบอร์โทรศัพท์ 081-929-8622
    [​IMG] วัดปทุมคงคา ประสานได้ที่ นายสมบัติ พหุรวงษ์ เบอร์โทรศัพท์ 089-992-6329
    [​IMG] โรงเรียนวัดจันทร์ใน ประสานได้ที่ นางพรพิมล ม่วงศรีจันทร์ เบอร์โทรศัพท์ 081-925-0383
    [​IMG] โรงเรียนวัดช่องลม ประสานได้ที่ นายมานะชัย กฤตอำไพ เบอร์โทรศัพท์ 086-335-9584
    [​IMG] โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลนี ประสานได้ที่ นางฤทธิพร ชัยสุรินทร์ เบอร์โทรศัพท์ 086-765-7889
    [​IMG] โรงเรียนวัดดุสิต ประสานได้ที่ นางอริษา แสวงผล เบอร์โทรศัพท์ 081-643-2775
    [​IMG] โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร ประสานได้ที่ นายยงยุทธ ศรัทธาธรรมกุล เบอร์โทรศัพท์ 081-820-8886
    [​IMG] วัดเศวตฉัตร ประสานได้ที่ นายสุภกิจ สุรจินตนาภรณ์ เบอร์โทรศัพท์ 081-823-5534
    [​IMG] โรงเรียนวัดบางปะกอก ประสานได้ที่ นายสมนึก การีมี เบอร์โทรศัพท์ 089-789-8390
    [​IMG] โรงเรียนวัดปุรณาวาส ประสานได้ที่ นายวิชาญ เหรียญวิไลรัตน์ เบอร์โทรศัพท์ 081-700-6968
    [​IMG] โรงเรียนวัดสร้อยทอง ประสานได้ที่ นายนพดล วรวิชา เบอร์โทรศัพท์ 083-425-8944
    [​IMG] โรงเรียนวัดจันทรสโมสร ประสานได้ที่ ว่าที่รอ.ตรีทรงศร กัลยาสุนทร เบอร์โทรศัพท์ 086-060-2211

    [​IMG]ศูนย์อพยพ เขตมีนบุรี จำนวน 10 แห่ง ประกอบด้วย ...

    [​IMG] โรงเรียนบึงขวาง
    [​IMG] โรงเรียนวังเด็กวิทยานุสรณ์
    [​IMG] โรงเรียนคลองสาม
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
    [​IMG] โรงเรียนศาลาคู้
    [​IMG] โรงเรียนเรียนบ้านเกาะ
    [​IMG] โรงเรียนบางชัน
    [​IMG] โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
    [​IMG] โรงเรียนมีนบุรี

    ** ผู้ว่าราชการได้เตรียมความพร้อม โดยเฉพาะอุปกรณ์ ที่เป็นที่หลับนอน เช่น ผ้าห่ม ที่นอน รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    [​IMG]ศูนย์อพยพ เขตลาดกระบัง จำนวน 16 แห่ง ประกอบด้วย ...

    [​IMG] โรงเรียนวัดบึงบัว
    [​IMG] โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
    [​IMG] โรงเรียนลำพะอง
    [​IMG] โรงเรียนวัดทิพพาวาส
    [​IMG] โรงเรียนวัดบึงบัว
    [​IMG] โรงเรียนวัดลาดกระบัง
    [​IMG] โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
    [​IMG] โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
    [​IMG] โรงเรียนวัดราชโกษา
    [​IMG] โรงเรียนประสานสามัคคี
    [​IMG] โรงเรียนวัดพลมานีย์
    [​IMG] โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
    [​IMG] โรงเรียนแสงหิรัญ
    [​IMG] โรงเรียนตำบลขุมทอง
    [​IMG] โรงเรียนตำบลขุมทอง
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส

    ** ทั้งนี้ สามารถประสานได้ที่ นายโฆษิต ธรรมโฆษิต เจ้าหน้าที่เขตลาดกระบัง เบอร์โทรศัพท์ 086-9801-6439

    [​IMG]ศูนย์อพยพ เขตคลองสามวา จำนวน 20 แห่ง ประกอบด้วย

    [​IMG] โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์สุเหร่าคลอง1
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าสามวา
    [​IMG] โรงเรียนวัดสุขใจ
    [​IMG] โรงเรียนวัดศรีสุก
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
    [​IMG] โรงเรียนวัดลำกระดาน
    [​IMG] โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
    [​IMG] โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
    [​IMG] โรงเรียนบ้านแบนชะโด
    [​IMG] โรงเรียนวัดแป้นทอง
    [​IMG] โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์
    [​IMG] โรงเรียนวัดบัวแก้ว
    [​IMG] โรงเรียนวัดบัวแก้ว วัดสุขใจ วัดสุทธิสะอาด
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าแสบแสบ
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
    [​IMG] โรงเรียนวัดบัวแก้ว
    [​IMG] โรงเรียนบ้านแบนชะโด

    **ทั้งนี้ สามารถประสานได้ที่ นายชลอ เฉียงอุทิศ เจ้าหน้าที่เขตคลองสามวา เบอร์โทรศัพท์ 087-017-0111

    [​IMG]ศูนย์อพยพ เขตหนองจอก จำนวน 32 แห่ง ประกอบด้วย ...

    [​IMG] โรงเรียนวัดแสนเกษม
    [​IMG] โรงเรียนวัดใหม่เจริษราษฎร์
    [​IMG] โรงเรียนวัดพระยาปลา
    [​IMG] โรงเรียนวัดหนองจอก(ภักดีนรเศรษฐ)
    [​IMG] โรงเรียนสามแยกท่าไข่
    [​IMG] โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
    [​IMG] โรงเรียนหลวงแพ่ง
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าใหม่
    [​IMG] โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
    [​IMG] โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
    [​IMG] โรงเรียนวัดสามง่าม
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
    [​IMG] โรงเรียนลำบุหรี่พวง
    [​IMG] โรงเรียนวัดสีชมพู
    [​IMG] โรงเรียนอิสลามลำไพร
    [​IMG] โรงเรียนบ้านเจียรดับ
    [​IMG] โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่านาดับ
    [​IMG] โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
    [​IMG] โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
    [​IMG] โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
    [​IMG] โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
    [​IMG] โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
    [​IMG] โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
    [​IMG] โรงเรียนลำบุหรี่พวง
    [​IMG] โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
    [​IMG] โรงเรียนสิริวังวิทยาคาร
    [​IMG] โรงเรียนสังฆประชานุสรณ์

    ** ทั้งนี้ สามารถประสานได้ที่ นายดำรงค์ รื่นสุข เจ้าหน้าที่เขตหนองจอก เบอร์โทรศัพท์ 081-648-5557

    [​IMG]ศูนย์อพยพ จ.นนทบุรี จำนวน 2 แห่ง

    [​IMG] ประชาชนตำบลบางตลาด ใช้พื้นที่ที่ โรงเรียนชลประทานวิทยา
    [​IMG] ประชาชนตำบลปากเกร็ด ใช้พื้นที่ที่ โรงเรียนหอวังนนทบุรี

    [​IMG]ศูนย์อพยพ จ.ปทุมธานี จำนวน 2 แห่ง

    [​IMG] วิทยาลัยการปกครอง คลอง 6
    [​IMG] โรงยิมเนเซียม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    [​IMG]ศูนย์อพยพ จ.นครสวรรค์ จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย ...

    [​IMG] โรงเรียนนครสวรรค์ 2
    [​IMG] วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์
    [​IMG] โรงเรียนวัดคีรีวงค์
    [​IMG] สนามกีฬากลางจังหวัด
    [​IMG] วิทยาเทคโนโลยีภาคเหนือ

    [​IMG]ศูนย์อพยพ จ.ลพบุรี จำนวน 9 แห่ง ประกอบด้วย ...

    [​IMG] ศูนย์การบินทหารบก
    [​IMG] กองบิน 2
    [​IMG] กองพลทหารปืนใหญ่
    [​IMG] ศูนย์การบินทหารปืนใหญ่
    [​IMG] ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
    [​IMG] หน่วยบัญชาการรบสงครามพิเศษ
    [​IMG] กรมทหารราบที่ 31 รอ.
    [​IMG] โรงเรียนค่ายนารายณ์ศึกษาถายใต้หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
    [​IMG] โรงพยาบาลอานันทมหิดล

    นอกจากนี้ยังมีที่พักชั่วคราวริม ถ.สายบ้านหมี่-บางงา (20 จุด)

    [​IMG]ศูนย์อพยพ จ.อุทัยธานี จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย ...

    [​IMG] สนามกีฬากลาง
    [​IMG] กองร้อยอส.จังหวัด
    [​IMG] ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน
    [​IMG] โรงเรียนพุทธมณฑล
    [​IMG] วัดสังกัสรัตนคีรี

    [​IMG]ศูนย์อพยพ จ.สิงห์บุรี จำนวน 18 แห่ง ประกอบด้วย ...

    [​IMG] ศาลาปึงเกงม่า
    [​IMG] วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี แห่งที่ 2
    [​IMG] ตลาดปากบาง
    [​IMG] ตลาดวัดกุฎีทอง
    [​IMG] ตลาดไม้ดัด
    [​IMG] ตลาดชันสูตร
    [​IMG] เชิงกลัด
    [​IMG] โรงเรียนวัดพิกุลทอง
    [​IMG] วิทยาลัยเทคนิค 2
    [​IMG] วัดวิหารขาว
    [​IMG] อนุบาลท่าช้าง
    [​IMG] วัดสาธุ
    [​IMG] วัดท่าข้าม
    [​IMG] วัดโพธิ์ศรี
    [​IMG] วัดสระบาป
    [​IMG] วัดสิงห์
    [​IMG] วัดพริก
    [​IMG] วัดพิกุลทอง

    [​IMG]ศูนย์อพยพ จ.สิงห์บุรี จำนวน 28 แห่ง ประกอบด้วย ...

    [​IMG] วัดธรรมามูลวรวิหาร
    [​IMG] คันคลองชลประทานพหลโยธิน
    [​IMG] ลานตากข้าว ต.เขาพระ
    [​IMG] วัดท่าช้าง ถ.หางน้ำสาคร หลังโรงงาน EIKO
    [​IMG] วัดดักคะนน ถ.สายชัยนาท
    [​IMG] ถ.สาย 340
    [​IMG] ถ.ชัยนาทตาคลี
    [​IMG] โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม 2
    [​IMG] ถ.สาย 311 ชัยนาท-สิงห์บุรี
    [​IMG] ถ.สายคันคลองมหาราช
    [​IMG] ถ.พหลโยธิน อ.สรรพยา
    [​IMG] สวนเฉลิมพระเกียรติ หน้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อน
    [​IMG] ถ.บ้านเหลมหว้า
    [​IMG] วัดเขาแก้ว
    [​IMG] ถ.บ้านเขาดิน
    [​IMG] วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    [​IMG] โรงเรียนวัดสิงห์
    [​IMG] สะพานคลองมอญ
    [​IMG] เต๊นท์ริมคลองอนุสาสนนันท์
    [​IMG] เต็นท์ถนนสายริมน.เจ้าพระยา
    [​IMG] วัดโคก-ท่าฉนวน
    [​IMG] เต็นท์ริมถนน ท่าอู่-หางน้ำสาคร
    [​IMG] ศาลาวัดพิกุลงาม
    [​IMG] ศาลาวัดศรีมณีวรรณ
    [​IMG] เต็นท์ริมคันคลองเขตเทศบาลคุ้งสำเภา
    [​IMG] วัดทับขี้เหล็ก
    [​IMG] บริเวณคันคลอง ต.วังไก่เถื่อน

    [​IMG]ศูนย์อพยพ จ.พระนครศรีอยุธยา

    [​IMG] ศาลากลางจ.พระนครศรีอยุธยา
    [​IMG] อาคารพาณิชย์ตรางข้ามศูนย์ราชการ

    [​IMG]มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้จัดตั้งศูนย์อพยพ ไว้ดังนี้


    ศูนย์อพยพฉุกเฉินสำหรับบุคลภายนอก

    [​IMG] มจธ.บางมด อาคารโรงยิม190ปี ชั้น3
    [​IMG] มจธ.บางขุนเทียน อาคารศูนย์กีฬา ชั้น2และ3

    ศูนย์อพยพฉุกเฉินสำหรับบุคลากรภายใน

    [​IMG] มจธ.บางมด ชั้น2ของอาคารเรียนรวม 3 , 4 , 5 และ อาคารวิศวะวัฒนะ
    [​IMG] มจธ.บางขุนเทียน โซนห้องพักค้างคืน ชั้น 3-6 อาคาร สรบ. และชั้น 8 อาคารสถาปัตย์





    ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ
    [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/63628-

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    มาเร็วกว่าที่คิด! น้ำท่วมเหมือนแบบจำลองอีก 10 ปี ข้างหน้า




    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก รายการเจาะข่าวเด่น, [ame="http://www.youtube.com/watch?v=ck4zNqo4e0s&feature=player_embedded"]Youtube.com โพสต์โดย ladyEdnaMode [/ame]

    วิกฤติน้ำท่วมในหลายจังหวัด ขณะนี้ยังไม่มีวี่แววว่าจะคลี่คลายลง ประชาชนในหลายจังหวัดต้องทนทุกข์ ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ยอมเป็นที่พักน้ำให้กับเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร แต่ทั้งนี้ก็ไม่อาจทราบได้ว่า แต่ละจังหวัดจะสามารถรับน้ำได้อีกขนาดไหน และรับน้ำได้นานเท่าไร ส่วนเขื่อนใหญ่ ๆ หลายเขื่อน ปริมาณน้ำเกินความจุหมดแล้ว ทำให้น้ำอาจจะไหลเข้ามาท่วมกรุงเทพฯ ในไม่ช้า และถึงแม้วันนี้สถานการณ์จะยังไม่วิกฤติ แต่หลายพื้นที่น้ำเริ่มท่วมในหลายจุดแล้ว และคาดกันว่าในไม่ช้าเมืองหลวงของประเทศไทย อาจจะจมอยู่ใต้บาดาล ดังที่ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เคยได้วิเคราะห์ไว้เมื่อปี 2553 ... ว่าภายใน 10 ปีนี้ น้ำจะท่วมหนักเหมือนปี 2538 หรืออาจจะหนักกว่านั้นก็เป็นได้ ซึ่งวันนี้เราขอย้อนนำคลิปเกี่ยวกับการทำนายน้ำท่วม ของ รศ.ดร.เสรี มาให้อ่านและดูกัน

    โดยในคลิปดังกล่าว ได้จำลองเหตุการณ์น้ำท่วมในอีก 10 ข้างหน้า ซึ่งวิเคราะห์โดย รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ที่ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการเจาะข่าวเด่น ทางช่อง 3 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2553 ซึ่งใครเลยจะรู้ว่า เหตุการณ์ที่คาดไว้ล่วงหน้าจะมาถึงอย่างรวดเร็วขนาดนี้ ...

    ทั้งนี้ รศ.ดร.เสรี ระบุว่า ทุก ๆ 25 ปีของประเทศไทย จะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ เนื่องจากปัญหาแผ่นดินทรุดตัว น้ำทะเลหนุน ภาวะโลกร้อน บวกกับปัญหาทางธรรมชาติ ทั้งพายุที่ถาโถมเข้ามาหลายต่อหลายลูก และเมื่อคำนวนจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2538 จนถึงวันนี้ ก็ผ่านมา 15 ปีแล้ว และต่อจากนี้ไป ภายใน 10 ปี กรุงเทพมหานครจะต้องจมลงอยู่ใต้บาดาลแน่นอน ... ถ้าตอนนี้ยังไม่เตรียมการที่จะรับมือกันตั้งแต่เนิ่น ๆ

    รศ.ดร.เสรี กล่าวต่ออีกว่า ภายในระยะเวลา 10 ปี กรุงเทพฯ จะมีน้ำท่วมสูงถึง 1.80 เมตร ถึง 2 เมตร เรียกได้ว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่ใหญ่ และรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ระดับความสูงของพื้นที่ในกรุงเทพฯ ที่มีระดับความสูงลดหลั่นกันไป โดยเฉพาะในช่วงเดือนตุลาคม และเดือนพฤศจิกายน ที่น้ำทะเลหนุนตัวสูง เวลาฝนตก น้ำก็ไม่สามารถระบายออกสู่ทะเลได้ ทำให้ประชาชนในกรุงเทพ 1 ล้าน 6 แสนครัวเรือน ต้องจมอยู่ในน้ำอย่างเลี่ยงไม่ได้

    และหลังจากประเมินเหตุการณ์ล่วงหน้านั้น รศ.ดร.เสรี กล่าวว่า น้ำจะท่วมหนักไล่ลงมาตั้งแต่ จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.อ่างทอง และที่หนักที่สุดที่ จ.อยุธยา เพราะเป็นที่ที่น้ำสองส่วนไหลเข้ามาบรรจบกัน ทั้งจากเขื่อนเจ้าพระยาและจากแม่น้ำป่าสัก อีกทั้งจังหวัดอยุธยายังเป็นจังหวัดพักน้ำให้กับกรุงเทพฯ และปริมณฑล และเมื่ออ่างเก็บน้ำต่าง ๆ รับไม่ไหว คันกั้นน้ำท้านต้านไม่อยู่ กระแสน้ำก็จะไหลเข้าสู่กรุงเทพอย่างแน่นอน

    แต่ทว่า หลังจากนี้ ทุกจังหวัดต่างก็จะสร้างคันกั้นน้ำของตัวเอง จะไม่ยอมให้จังหวัดตัวเองต้องทนทุกข์อยู่ใต้บาดาล เพื่อช่วยชาวเมืองกรุงเทพฯ แค่เมืองเดียว เพราะที่ผ่านมาแต่ละจังหวัดต่างก็เสียสละ เป็นที่พักน้ำโดยไร่นา พืชผลทางการเกษตร และที่อยู่อาศัยของประชาชนเสียหายประเมินค่าแทบไม่ได้

    และถึงแม้ว่า ทางกรุงเทพฯ จะสร้างอุโมงค์ระบายน้ำถึง 4 แห่ง ก็ไม่สามารถต้านทานได้ เพราะแต่ละอุโมงค์จะรับน้ำได้เพียง 4-5 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น แต่จำนวนน้ำที่จะไหลลงมานั้น มันมากกว่า 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เลยทีเดียว แต่ถึงทางจังหวัดต่าง ๆ จะยอมเสียสละเป็นที่พักน้ำให้ แต่กรุงเทพฯ ก็เสี่ยงที่จะจมน้ำกว่าครึ่งเมือง แต่ถ้าจังหวัดที่พักน้ำไม่ยอมกันน้ำให้ ... แน่นอน กรุงเทพฯ จะกลายเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ไปในพริบตา

    ส่วนวิธีแก้ปัญหาเท่านี้ มีเพียงสองทางเท่านั้น ทางเลือกที่หนึ่ง คือ หาพื้นที่พักน้ำทำเป็นแก้มลิงเพื่ออมน้ำ แล้วค่อย ๆ ปล่อยมาให้ทางกรุงเทพฯ หาทางระบายน้ำได้ทัน ส่วนทางเลือกที่สอง คือขุดรอกคูคลอง เพื่อให้มีที่ระบายน้ำเพิ่มขึ้น เสริมคันดินให้ชาวบ้าน ปลูกป่าชายเลนเป็นกันชน เพื่อบรรเทาการไหลของน้ำ และจะได้มีเวลาระบายน้ำออกจากกรุงเทพฯ ได้

    ... จากคลิปดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การวิเคราะห์และการประเมินการณ์ต่าง ๆ สอดคล้องกับเหตุการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก จนไม่น่าเชื่อว่า ภายในระยะเวลา 10 ที่ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ กล่าวไว้นั้นจะมาถึงเร็วขนาดนี้ ... แต่ที่แน่ ๆ บางนาตราด บางขุนเทียน ลาดพร้าว และฝั่งธนบุรี ท่วมแน่นอน ... เตรียมตัว เตรียมใจ ตั้งสติ พร้อมรับมือให้ดี ๆ




    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/ck4zNqo4e0s?version=3&hl=th_TH width=640 height=510 type=application/x-shockwave-flash></EMBED>


    -http://hilight.kapook.com/view/63638-

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วิธีป้องกันน้ำท่วมเข้าบ้านอย่างได้ผล-ไม่ใช้กระสอบทราย




    [​IMG]

    เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์, คุณ ทองกาญจนา

    น้ำทะลัก! คันกั้นน้ำแตก! ตลิ่งพัง! น้ำจ่อท่วม ...เวลานี้คงจะต้องติดตามข่าวสารอุทกภัยกันนาทีต่อนาที เพราะสถานการณ์น้ำดูจะเลวร้ายขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับใคร ที่บ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม มวลน้ำยังมาไม่ถึง แต่ส่อเค้าหรือเริ่มมีน้ำส่งสัญญาณมาบ้างแล้วนั้น คงจะนิ่งนอนใจไม่ได้อีกต่อไป เพราะถ้าช้า...ไม่แน่ว่า บ้านของเราอาจจมน้ำภายในพริบตา!!!

    สิ่งที่ต้องทำในเวลานี้สำหรับผู้คนในพื้นที่เสี่ยงภัย นอกจากการเตรียมอาหาร และเก็บข้าวของเตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อแล้ว หากยังพอมีเวลาเราสามารถป้องกันน้ำท่วมบ้านได้ ซึ่งวันนี้เรามีวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล จากคุณ ทองกาญจนา ผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์น้ำท่วมบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ และอีกแนวคิดดี ๆ ในการป้องกันน้ำท่วมบ้านโดยไม่ใช้กระสอบทรายจาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ มาบอกต่อกันจ้า...


    วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล by คุณทองกาญจนา

    [​IMG] เตรียมการก่อน

    ประสบการณ์ จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ (1) บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้นมา (2) กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด

    [​IMG] จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้

    [​IMG] (1) ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน

    [​IMG] (2) ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ

    [​IMG] (3) ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่า ไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว

    [​IMG] (4) ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน

    [​IMG] น้ำมาแล้ว

    เสียง ประกาศเตือนภัยจาก อบต. ตั้งแต่เช้า แจ้งว่าน้ำคงจะเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงบ่าย ขอให้ประชาชนเตรียมป้องกันทรัพย์สินของตนเอง ผมนำรถยนต์ออกจากบ้านไปจอดไว้ยังที่ปลอดภัยนอกหมู่บ้าน กลับเข้ามาก็เริ่มติดตั้งบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน ติดตั้งเสาค้ำยัน ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก นำเครื่องสูบน้ำไดรโว่มาวางไว้ใกล้ประตูรั้วในตำแหน่งที่คาดว่าน้ำจะซึมเข้า มาและท่วมขังอยู่ ต่อสายไฟพร้อมใช้งาน แล้วรอน้ำที่กำลังเริ่มไหลเข้ามาในหมู่บ้านอย่างใจจดใจจ่อ

    เวลา ประมาณ 16.00 น. น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านทุกถนนแล้ว มีน้ำซึมผ่านบานเหล็กที่ประตูรั้วเข้ามาในบ้านของผมปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำก็สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงจนเกิดความเสีย หายได้ เมื่อน้ำในถนนลดลง ผมไม่ต้องลำบากในการทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่มีดินโคลนตกค้างจากน้ำท่วมขัง เหมือนน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนอีกแล้ว

    [​IMG] ภาพบรรยากาศ

    ติดตั้งบานเหล็กเข้ากับเสาประตูรั้วบ้าน พร้อมติดตั้งเสาค้ำยัน

    [​IMG]

    เข้า-ออก จากบ้านต้องใช้เก้าอี้บันไดตัวนี้ สังเกตระดับน้ำภายนอกบ้านเริ่มสูงมากแล้ว

    [​IMG]

    ขณะที่ถนนด้าน นอกระดับน้ำสูงถึง 60 ซม. แต่ภายในบ้านมีน้ำรั่วซึมเข้ามาเพียงเท่านี้ และเมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำ น้ำก็จะแห้งภายใน 5 นาที

    [​IMG]

    ลุยน้ำออกไปถ่ายจากนอกบ้านเข้ามา สภาพประตูกั้นน้ำจะมีลักษณะนี้

    [​IMG]

    บ้านข้าง ๆ ก็ติดตั้งบานประตูกั้นน้ำเช่นเดียวกัน

    [​IMG]

    อีกภาพหนึ่ง

    [​IMG]

    หวัง ว่าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่มีบ้านในหมู่บ้านจัดสรร ที่น้ำเคยท่วมแล้ว จะได้เป็นแนวทางในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านแสนรักในครั้ง ต่อไปได้บ้างตามสมควรครับ


    วิธีป้องกันน้ำเข้าบ้านง่าย ๆ แบบไม่ใช้กระสอบทราย by คุณอนันต์


    จากวิกฤติน้ำท่วมอย่างร้ายแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปีนี้ สร้างความสูญเสียให้กับประชาชนผู้ประสบภัยในหลายพื้นที่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และหลังจากที่มีข่าวมาว่า หลายเขื่อนรองรับน้ำอย่างเต็มพิกัดแล้ว ประกอบกับสภาพอากาศที่มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ก็คงทำให้คนในพื้นที่เฝ้าระวังต่าง ๆ รวมถึงคนในกรุงเทพฯ ล้วนตื่นตัว และไม่รอช้าที่จะเตรียมรับมือเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันเหตุน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

    ด้วยเหตุนี้ ของที่สำคัญในการป้องกันน้ำท่วมอย่าง "กระสอบทราย" รวมถึงอิฐบล็อกต่าง ๆ จึงขาดตลาด แต่เพื่อน ๆ ก็ไม่ต้องหนักใจไป เพราะในวันนี้เรามีวิธีป้องกันน้ำเข้าบ้าน แนวคิดดี ๆ จาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ ที่จะใช้วัสดุง่าย ๆ ในการป้องกันน้ำท่วม แบบไม่ต้องใช้กระสอบทราย มาแนะนำกันค่ะ



    [​IMG]





    [​IMG]





    [​IMG]






    [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/63607-


    .


    <!-- google_ad_section_end --> <!-- / message --><!-- sig -->
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ข้อปฏิบัติในการขับรถเมื่อน้ำท่วม และไอเดียรักษารถที่ใครๆก็ทำได้


    น้ำท่วมปีนี้หนักหนากว่าที่ใครๆคิด ไม่ว่าจะเกิดจากฝีมือมนุษย์ หรือจากธรรมชาติที่ประทานน้ำให้แก่มนุษย์มากเกินความต้องการ ในเมื่อมันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเรายังจำเป็นต้องดำรงชีวิตให้รอดท่ามกลางสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยเช่นนี้ต่อ ไป เราจึงมีวิธีการดูแลรถให้แก่ผู้ที่ยังจำเป็นต้องใช้รถเพื่อการประกอบอาชีพ การงาน ให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง

    [​IMG]

    โดยระดับน้ำที่รถโดยทั่วไปสามารถแล่นผ่านได้คือ น้ำนิ่ง สูงไม่เกิน 6 นิ้ว แต่ถ้าน้ำไหล ต้องสูงไม่เกิน 4 นิ้ว ดังนั้นควรจอดรถลงมาสำรวจ และคุยกับคนขับรถที่ผ่านมาว่าสถานการณ์น้ำเป็นอย่างไร เพื่อประเมินว่าคุณจะขับรถผ่านได้หรือไม่

    หากตัดสินใจที่จะขับผ่าน ต้องขับรถบนส่วนที่ดูสูงที่สุดบนถนน และขับช้าๆ ประมาณ 2-3 กิโลเมตรต่อชั่วโมงด้วยเกียร์หนึ่งหรือเกียร์ต่ำ หากเป็นรถเกียร์ธรรมดา ให้เหยียบคลัชบ่อยๆ แต่ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติให้เหยียบเบรกบ่อยๆ เพื่อไล่น้ำ อย่าแล่นเร็ว เพราะการเร่งความเร็วแค่ 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อน ใบพัดลมจะทำงาน และปัดน้ำเข้าห้องเครื่อง

    [​IMG]

    นอกจากการขับรถเร็วจะเสี่ยงทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์หรือทำให้เกิดคลื่น น้ำที่จะไปทำลายคันดินหรือกระสอบทรายที่ก่อไว้ ยังเสี่ยงกับการควบคุมรถไม่ได้ด้วย แม้จะเป็นน้ำนิ่งก็ตาม เพราะถ้าแล่นรถเร็ว ยางรถจะไม่สัมผัสพื้นถนน ทำให้รถลอย และเสียการควบคุมในที่สุด ซึ่งหากควบคุมไม่ได้ ให้จับพวงมาลัยหลวมๆ และปล่อยให้รถเคลื่อนไปเรื่อยๆ เพราะหากความเร็วลดลง ยางรถก็จะแตะพื้นถนนเอง

    ส่วนข้อแนะนำอื่นๆ คือ ควรหยุดให้รถคันอื่นผ่านไปก่อนเพื่อลดความรุนแรงของคลื่นน้ำ เมื่อขับรถพ้นน้ำมาได้ให้เช็คระบบเบรกทันที และอย่าขับรถผ่านน้ำที่ไหลแรง เพราะรถอาจถูกพัดไปได้

    _____________


    ขับรถขณะน้ำท่วมควรทำอย่างไร?

    1.ห้ามเปิดแอร์เด็ดขาด เพราะเมื่อเราเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน ทำให้ใบพัดพัดน้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง แล้วทำให้เครื่องดับ

    2.ใช้ เกียร์ต่ำ สำหรับเกียร์ธรรมดา เราควรใช้ประมาณเกียร์ 2 แต่หากว่าเป็นเกียร์ออโต้ สามารถใช้เกียร์ L ได้ รวมถึงการขับขี่ที่มีความเร็วต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และควรใช้ความเร็วอย่างสม่ำเสมอ อย่าหยุด หรืออย่าเร่งความเร็วขึ้น

    3.ไม่ ควรเร่งเครื่องให้รอบสูงเกินไป ผู้ขับรถหลายคนมักเร่งเครื่องแรงๆเพราะกลัวเครื่องดับ เนื่องจากน้ำเข้าท่อไอเสีย ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะการเร่งเครื่องขึ้น ยิ่งจะทำให้รถมีความร้อนสูงยิ่งขึ้น ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน และยิ่งทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์มากยิ่งขึ้น การสตาร์ตรถอยู่โดยที่รอบเดินเบา แม้ว่าจะแช่อยู่ในน้ำ (แต่ระดับน้ำต้องไม่สูงมากขนาดระดับกะโปรงรถ) แรงดันที่ออกมาเพียงพอที่จะดันน้ำออกมาได้

    4.การลดความเร็วลง โดยเฉพาะในกรณีที่เมื่อกำลังจะขับรถสวนกับรถอีกคันหนึ่ง เพราะยิ่งขับเร็วมากเท่าไหร่ แรงคลื่นที่เกิดจากการปะทะก็จะแรงมากเท่านั้น และกระเด็นเข้าสู่เครื่องยนต์ได้ง่ายขึ้น

    5.หลังจากลุยน้ำที่มีระดับลึกมา สิ่งแรกที่ควรทำคือ พยายามย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำ เพราะในช่วงแรกๆจะเบรกไม่อยู่และเป็นอันตรายมาก

    [​IMG]


    ขั้นตอนที่ควรทำทันที เมื่อรถยนต์ถูกน้ำท่วม

    1.ล้างรถ รวมถึงการฉีดน้ำเข้าไปในบริเวณใต้ท้องรถและซุ้มล้อ เพื่อล้างเศษดินทรายที่ตกค้างหรือติดอยู่ออกให้หมด ซึ่งอาจมีเศษขยะหรือหญ้าแห้งติดอยู่ ที่อาจก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย เช่นเดียวกับกรณีของรถที่ติดตั้งตัวกรองไอเสีย หรือ CAT ที่ไม่แนะนำให้จอดในที่ที่มีหญ้าขึ้นสูง เนื่องจากอุณหภูมิของ Catalytic Converter ค่อนข้างสูง และอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย

    2.พึงเอาไว้ว่าอย่าทำการสตาร์ทรถ หรือบิดกุญแจให้ไฟออนโดยเด็ดขาด จากนั้นเดินไปเปิดฝากระโปรงรถและปลดขั้วแบตเตอรี่ทันที โดยจะปลดขั้วใดขั้วหนึ่งหรือจะปลดทั้ง ขั้วบวกขั้วลบก็ได้ (จริงๆถ้าคุณคาดว่าน้ำจะท่วมสูงถึงห้องเครื่องให้เตรียมปลดขั้วแบตเตอรี่ เอาไว้ล่วงหน้าก่อนจะเป็นการดีที่สุด) เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟเข้าไปเลี้ยงระบบต่างๆของรถ รวมถึงเครื่องยนต์

    3.เปิดประตูออกทุกบาน ให้ลมโกรก หรือถ้ามีแดดให้จอดตากแดด จากนั้นถอดเบาะนั่ง พรม ผ้าต่างๆ ที่อยู่ภายในรถออกมาซักทันที เพราะถ้าทิ้งเอาไว้นาน ความเหม็นอับจะมาเยือน และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราและเชื้อโรคต่างๆ

    4.เริ่มเข้าสู่กระบวนการทางเทคนิคที่พอจะทำได้เอง คือ ปลดทุกอย่างที่เป็นขั้วไฟฟ้า ในกรณีที่เป็นเครื่องเบนซินให้ใช้ลมเป่าไปที่เบ้าหัวเทียนไล่น้ำออกให้หมด ทุกซอกทุกมุม จากนั้นให้ถอดหัวเทียนออก ตรวจดูแผงฟิวส์ตัวฟิวส์ กล่องรีเลย์ต่างๆรวมทั้งกล่องอีซียูต้องถอดออกให้หมดตากแดดทิ้งไว้ ตรวจดูปลั๊กไฟใช้ลมเป่าทำความสะอาดทั้งหมด หรือใช้สเปรย์ไล่ความชื้นฉีดทิ้งไว้

    5.สำรวจน้ำมันเกียร์ ว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ คือถ้ามีลักษณะคล้ายสีชาเย็น นั่นแสดงว่ามีน้ำเข้าไปปะปนแล้ว ต้องรีบเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทันที เช่นเดียวกับน้ำมันเกียร์ รวมถึงเปลี่ยนกรองอากาศ ซึ่งประเด็นนี้ใครทำเองได้ก็ทำเลย เพราะยิ่งจัดการเร็วโอกาสที่สนิมจะมาเยือนก็น้อยตามไปด้วย แต่ถ้าไม่ไหวก็ต้องเข้าศูนย์บริการหรืออู่ ซึ่งจะมีขั้นตอนการเปลี่ยนถ่ายที่ถูกต้องและละเอียดมาก

    6.เพลาขับ หากยางหุ้มเพลาขาดน้ำจะเข้าไปนำเอาจารบีออกไป ต้องอัด จารบีใหม่และเปลี่ยนยางหุ้มเพลาด้วย อีกอย่างหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ คือลูกปืนล้อทั้งหน้าและหลังที่มีอยู่ในรถทั่วไป ต้องนำออกมาล้างอัดจารบีใหม่แล้วใส่กลับคืนที่ด้วยการปรับใหม่ให้แน่นตาม ลำดับไม่แน่นเกินไปจนล้อหมุนฝืด

    7.ในกรณีที่เป็นเครื่องเบนซินให้ใช้ลมเป่าไปที่เบ้าหัวเทียนไล่น้ำออกให้ หมดทุกซอกทุกมุม จากนั้นให้ถอดหัวเทียนออก ตรวจดูแผงฟิวส์ตัวฟิวส์ กล่องรีเลย์ต่างๆรวมทั้งกล่องอีซียูต้องถอดออกให้หมดตากแดดทิ้งไว้ ตรวจดูปลั๊กไฟใช้ลมเป่าทำความสะอาดทั้งหมด หรือใช้สเปรย์ไล่ความชื้นฉีดทิ้งไว้

    8.โคมไฟหน้าเลนส์ ไฟท้าย เบาะนั่ง พรมปูพื้น ที่ถอดออกมาตากแดดแห้งแล้วยังไม่ต้องรีบใส่ แม้ว่าส่วนประกอบอื่นๆจะแห้งดีแล้ว ให้เอารถออกตากแดดเปิดประตูรถทุกบาน พยายามให้แผงหน้าปัดรถตากแดดแรงๆเพื่อไล่ความชื้นออกจากแผงหน้าปัดให้หมด

    9.เมื่อแน่ใจว่าทุกอย่างแห้งสนิทดีแล้วค่อยใส่ทุกอย่างที่ถอดออกจากใน ห้องเครื่องเข้าที่ให้หมด ยกเว้นหัวเทียนในกรณีของรถเครื่องยนต์เบนซินหรือหัวฉีดในกรณีเครื่องดีเซล ให้ยกแบตเตอรี่เข้าที่ก่อนโดยใส่ขั้วแบตเตอรี่ เสียบกุญแจบิดกุญแจไปจังหวะแรก(จังหวะสำหรับตรวจมาตรวัดต่างๆก่อนสตาร์ทรถ) หากเกจ์วัดไหนยังไม่ทำงานอย่าเพิ่งกังวล ให้เปิดสวิตช์ค้างไว้แล้วลงมาตรวจสอบที่ห้องเครื่องยนต์ว่ามีควันหรือความ ร้อนอะไรเกิดขึ้นจากการใช้ไฟจากแบตเตอรี่หรือไม่ เมื่อแน่ใจว่าไม่มีทุกอย่างปกติดีจึงค่อยบิดกุญแจปิดสวิตช์

    10.ตรวจสอบเบ้าหัวเทียนอีกครั้งว่ามีอะไรติดขัดหลงเหลืออยู่อีกหรือไม่ หากดูแล้วว่าเรียบร้อยดีให้ลองสตาร์ทเครื่องใหม่ โดยคนหนึ่งบิดกุญแจส่วนอีกคนหนึ่งคอยเช็คที่รูหัวเทียน เมื่อเครื่องหมุน หากถ้ามีน้ำ น้ำจะถูกพ่นออกมาทางรูหัวเทียน ให้สตาร์ทต่อไปจนแน่ใจว่าน้ำถูกพ่นออกมาจนหมด ต่อไปก็ให้ใส่หัวเทียนเข้าที่ หากทำมาถูกต้องและไม่มีอุปกรณ์อื่นที่เสียหายรุนแรง เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ หากว่าได้ยินเสียงเครื่องยนต์ทำงานดังกระหึ่มขึ้นตามมา แสดงว่าทุกอย่างเป็นปกติ

    วิธีการยกรถหนีน้ำ ด้วยการนำแม่แรงที่อยู่ภายในรถงัดรถให้สูงขึ้น จากนั้นให้นำก้อนอิฐไปค้ำล้อรถทั้ง 4 ล้อให้สูงเหนือระดับน้ำ ส่วนกรณีที่รถอาจต้องจมน้ำ ข้อแนะนำคือควรปิดกระจกให้แน่น หลังจากนั้นให้ถอดขั้วแบตเตอรี่ ขั้วบวกหรือขั้วลบออก เพื่อป้องกันระบบไฟฟ้าภายในรถช็อต

    ภายหลังน้ำท่วมรถ ให้แกะลูกยางที่อยู่ใต้ท้องรถออก เพื่อเป็นการระบายน้ำที่ท่วมขังอยู่ภายในรถ

    [​IMG]


    เมื่อรถยนต์ถูกน้ำท่วมทั้งคันควรทำอย่างไร?

    1.ห้ามเปิดสวิตช์ไฟหรือสตาร์ตเครื่องเด็ดขาด และถอดสายแบตเตอรีออก

    2.ลากรถยนต์ออกจากน้ำให้เร็วที่สุด เพราะถ้าหากทิ้งไว้นานจะก่อให้เกิดความเสียหายบริเวณตัวรถเพิ่มขึ้น
    เมื่อรถจมน้ำทั้งคัน หลายคนเข้าใจว่าไฟฟ้าจะลัดวงจร แต่ในความเป็นจริงไฟฟ้ายังไม่ได้ลัดวงจรเพราะว่าไม่มีไฟฟ้าลงดิน แต่ความเสียหายจะเกิดขึ้นหลังจากที่ระบบอิเลคทรอนิกส์ต้องจมอยู่ในน้ำ และจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อมอเตอร์ไฟฟ้า กล่องอีซียูซึ่งปัจจุบันใช้ระบบกล่องรวมที่ควบคุมทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นแอร์ ไฟส่องสว่างและเครื่องยนต์

    หลังจากกู้รถขึ้นจากน้ำแล้ว ข้อห้ามอย่างแรกที่สำคัญคือห้ามติดเครื่องยนต์เด็ดขาด จนกว่าจะตรวจสอบจนแน่ใจว่าไม่มีน้ำค้างในเครื่องยนต์ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง รถที่ถูกน้ำท่วมต้องเปลี่ยนถ่ายของเหลวและกรองต่างๆออก เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีฝุ่นหรือดินโคลนค้างอยู่ การซ่อมบำรุงรถน้ำท่วมจะต้องทำโดยช่างผู้เชี่ยวชาญรถยี่ห้อนั้นจริงๆ เพราะแทบจะต้องประกอบใหม่ทั้งคันทีเดียว

    _____________

    วิธีป้องกันรถแบบไทยๆ

    เว็บไซต์ rackmanagerpro.com ได้เสนอไอเดียให้มีการประดิษฐ์ "ถุงคลุมกันน้้ำแบบกลับหัวกลับหาง" ซึ่งเหมาะสมกับฤดูฝนของบ้านเราเป็นอย่างดี แค่นี้ผ้าคลุมรถธรรมดาๆ ก็ป้องกันน้ำท่วมรถยนต์คันงามของคุณได้แล้ว

    มาใช้ผ้าคลุมรถกันน้ำท่วมเพื่อป้องกันรถคุณจากน้ำท่วมกันเถอะ!

    [​IMG]
    ภาพ: Rackmanagerpro.com

    เริ่มใช้ผ้าคลุมรถ โดยเลือกเอาขนาดไซซ์ XL หรือยิ่งใหญ่ยิ่งดี เพราะจะได้สวมใส่กันได้สะดวก และเนื่องจากไอเดียครั้งนี้คือ การเอาผ้าคลุมรถแทนที่จะใส่จากด้านบน ก็เอามาใส่จากด้านล่างแทน ดังนั้น ตอนที่เลือกผ้าคลุมรถ จึงต้องเลือกผ้าหรือเป็นวัสดุที่สามารถกันน้ำได้ด้วยเท่านั้น

    และหากว่าอยากให้ผ้าคลุมดังกล่าวสามารถปกป้องรถได้อย่างเต็มที่ และไม่หลุดรุ่ยง่ายๆ ควรติดขอบยาง เพื่อให้กระชับพอดีกับตัวรถ

    [​IMG]
    ภาพ: Rackmanagerpro.com

    เริ่มต้นให้วางผ้าคลุมรถไว้ ณ ตำแหน่งที่คุณอยากจะจอดรถเอาไว้ แล้วก็ให้คนจับมุมเอาไว้ทั้งสองฝั่ง หลังจากนั้นก็ให้คนขับถอยรถช้าๆ การถอยรถต้องค่อยๆถอย โดยผ่านมุมเข้าผ้าคลุมช้าๆเป็นแนวเดียวกับผ้าคลุมรถ และ ผ้าคลุมควรจะต้องขึงตึงเอาไว้ เพราะ เราไม่อยากจะให้รถเหยียบผ้าคลุมเอาไว้ เดี๋ยวมันจะยกขอบผ้าคลุมไม่ขึ้นครับ

    เมื่อถอยรถได้ตำแหน่งอยู่กลางผ้าคลุมแล้วก็ให้คุณเอาขอบของผ้าคลุมคลุม เอาไว้รอบคัน ทั่วทั้งคันครับ และ สำหรับการป้องกันที่จะทำได้จริง คุณจะต้องติด tape กาวแบบที่เมื่อมีน้ำชะจะต้องไม่หลุดลอกออกมาด้วยครับ แนะนำว่าให้แปะก็แปะทั่วทั้งคันเพื่อความมั่นใจได้ว่า น้ำจะไม่ซัดหรือดึงผ้า หรือไปกร่อนเนื้อกาวเพื่อให้ผ้าคลุมหลุดลอกออกมาได้ง่ายๆ


    หรือปฏิบัติตามขั้นตอนง่ายๆดังนี้

    1. ซื้อยางรถสิบล้อมา 3 เส้น
    2. นำยางรถที่ยังไม่ได้สูบ สอดไว้ใต้ท้องรถ
    3. สูบลมเข้าไปทั้ง 3 ล้อ ก่อนสูบควรผูกเชือกตำแหน่งต่างๆ เพื่อยึดรถให้อยู่กับล้อ
    4. ผูกเชือกล่ามรถไว้กับเสาบ้าน หรือหลักที่แน่นหนา ป้องกันรถลอยไปตามน้ำ
    5. รถจะปลอดภัยในช่วงน้ำท่วม และสามารถใช้เป็นที่พักชั่วคราวได้


    [​IMG]
    ภาพ: civicesgroup.com



    ...หรือวิธีเหล่านี้ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318332863&grpid=&catid=09&subcatid=0903-


    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    รวมเว็บไซต์และเบอร์โทรศัพท์"ช่วยเหลือ-ติดตาม"น้ำท่วมที่สำคัญ


    เว็บไซต์:

    1. แผนที่แสดงจุดเกิดอุทกภัยบนทางหลวงทั่วประเทศ วันที่ 10 ตุลาคม พศ. 2554 (ขัอมูลอัพเดตทุกวัน เวลา 10.00 และ 19.00 น.)
    http://maintenance.doh.go.th/test.html

    2. ตรวจพื้นที่น้ำท่วมทั่วประเทศ
    http://flood.gistda.or.th/

    3. ตรวจน้ำท่วมบนถนนใน กทม.
    http://dds.bangkok.go.th/Floodmon/

    4. รายงานสภาพการจราจร
    http://traffic.longdo.com/

    5. ตรวจวัดระดับน้ำในคลองหลัก
    http://dds.bangkok.go.th/Canal/index.aspx

    6. ติดตามข่าวสารน้ำท่วม
    http://dds.bangkok.go.th/m/index.php

    7.กรมทรัพยากรน้ำ
    http://www.dwr.go.th/report

    8.กรมทางหลวงชนบท
    http://fms2.drr.go.th/

    9.ศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
    http://www.thaiflood.com/

    _____________

    เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญ:

    สำนักนายกรัฐมนตรี 1111 กด 5

    สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย) 1784

    บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี 1669

    ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146

    ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1193

    การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690

    สายด่วน กฟภ. 1129

    ท่าอากาศยานไทย 02-535-1111

    ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส 02-790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822

    ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ 0-2243-6956

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลพบุรี 0-3641-4480-1 , 0-3641-1936

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิษณุโลก 0-5523-0537-8 , 0-5523-0394

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พระนครศรีอยุธยา 0-3533-5798 , 0-3533-5803

    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พระนครศรีอยุธยา 035 – 241-612

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ตาก 0-5551-5975

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สิงห์บุรี 0-3652-0041

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อ่างทอง 0-3564-0022

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครสวรรค์ 0-5625-6015

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นนทบุรี 0-2591-2471

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปทุมธานี 0-2581-7119-21

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิจิตร 0-5661-5932

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครนายก 0-3738-6209 , 0-3738-6484

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุพรรณบุรี 0-3553-6066-71

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สระบุรี 0-3621-2238

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุโขทัย 0-5561-2415

    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุทัยธานี 0-5652-4461

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุตรดิตถ์ 0-5544-4132

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำปาง 0-5426-5072-4

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงใหม่ 0-5321-2626

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำพูน 0-5356-2963

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุบลราชธานี 0-4531-2692 , 0-4531-3003

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เลย 0-4286-1579 , 0-4296-1581

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ชัยนาท 0-5641-2083

    ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 02-281-5443

    ศูนย์อุทกวิทยาที่1จังหวัดเชียงใหม่ 053-248925, 053-262683

    ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน 053-202609

    ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ 053-222-479 ( 24 ชั่วโมง )

    สนง.ชลประทานจังหวัดสมุทรสาคร 034-881175, 034-839037 ต่อ 11

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.น่าน โทร. 054-741061

    ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกองทัพไทยที่ ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน โทร. 054-792433

    ศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ปี 2554 จ.น่าน ณ ศาลากลางจังหวัด โทร. 054-710-232

    สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) 1784 รับแจ้งเหตุน้ำท่วม 24 ชั่วโมง

    สายด่วน กรมชลประทาน โทร 1460 หรือ 02 669 2560 (24 ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)

    ผู้ประสบภัยทางภาคใต้ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ กองทัพภาคที่ 4 โทร 075 -383405,075-383253

    แจ้งขอความช่วยเหลือและปัญหาน้ำท่วม ได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยไทยพีบีเอส โทร. 02-791-1113 หรือ 02-791-1385-7

    ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โรงเรียนเทศบาล1 ตลาดเก่า จ.กระบี่ โทร 0-7566-3183

    เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 199, 075-348-118, 075-342-880-3 ตลอด 24 ชม.

    สายด่วน กรมทางหลวง 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง

    ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356

    ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146

    การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690

    บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 1490

    ตำรวจทางหลวง โทร. 1193 สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

    หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669 กู้ชีพฟรี 24 ชั่วโมง

    ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย นครศรีธรรมราช โทร. 075 358 440-4 รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง

    รพ. เทศบาลนครนครศรีฯ หากต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรติดต่อได้ที่ 075 356 438 หรือ 075 356 014 ตลอด 24 ชั่วโมง

    ม.วลัยลักษณ์ ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา โทร. 0 7567 4013 ต่อ 4013

    มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย โทร. 075 345 599

    มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง ต้องการความช่วยเหลือ โทรแจ้ง 075 343 602 ความถี่ 168.775MHz. ความถี่ 245 MHz. ช่อง 35 ตลอด 24 ชั่วโมง

    ท่าอากาศยานไทย 02 535 1111

    บางกอกแอร์เวย์ส (Bangkok Airways) 1771

    นกแอร์ (Nok Air) 1318, 02900 9955

    นกแอร์ นครศรีธรรมราช 075 369 325

    นกแอร์ สุราษฎร์ธานี 077 441 275-6

    แอร์เอเชีย 02 515 9999

    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 075-763-337 หรือ 1129 ตลอด 24 ชั่วโมง

    _____________


    สำหรับผู้ใช้ทวิตเตอร์ สามารถติดตามสถานการณ์และดูคำร้องขอความช่วยเหลือผ่านบัญชีทวิตเตอร์ดังนี้:

    @thaiflood - ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
    @Rawangpai -สถานีโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ การเตือนภัยพิบัติธรรมชาติ
    @BKK_BEST - รับแจ้งและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ท่อตัน ฝาท่อชำรุด น้ำเน่าเสีย
    @floodcenter- ศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย
    @thaiflooding - ศูนย์ข่าวรายงานการแจ้งเตือนน้ำท่วมนาที ต่อนาทีโดยอาสาสมัคร-นักศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ
    @help_thaiflood-สร้างขึ้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
    @Asa_Thai - อาสาคนไทยช่วยน้ำท่วม
    @PR_RID - กรมชลประทาน สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มประชาสัมพันธ์ฯ โทร.022410965 สายด่วน 1460 สอบถามสถานการณ์น้ำ 026692560(24ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)
    @ndwc_Thai - ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    @Aormortor - องค์การนศ.ธรรมศาสตร์ (ทวิตเตอร์ประสานงานกลางศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยมธ.)
    @bangkokgovernor - ทวิตเตอร์กทม.
    @BKKFlood - ตามติดสถานการณ์กรุงเทพฯ และรอบนอก
    @SiamArsa - อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย | เครือข่ายอาสาสมัครออนไลน์ | ตลาดนัดกิจกรรมอาสา | ข่าวประชาสัมพันธ์ | ข้อมูลช่วยเหลือ | แหล่งบริจาค | ประกาศรับอาสาสมัคร
    @GCC_1111 - ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน
    @aunonline - Owner of Red Dane Milk
    @Samyarn Chula, Citizen Journalist

    _____________


    นอกจากนั้น ผู้สนใจยังสามารถติดตามผ่านช่องทางหน้าเพจเฟซบุ๊คได้ดังนี้:

    "เกษตรศาสตร์รวมใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม"

    "อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย"

    "อาสาฯคนไทยช่วยน้ำท่วม"

    "The Thai Red Cross Society"

    "ThaiFlood ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม"

    "น้ำขึ้น ให้รีบบอก"
    "เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วม2554"

    _____________


    จุดรับบริจาค

    -จุดบริจาค มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ปทุมวัน โทร 0-2256-4583-4, 0-2256-4427-9, 0-2251-0385 http://www.princess-pa-foundation.or.th/index.html

    -จุดบริจาค อาสาดุสิต 1 ที่ ธ.กรุงไทย สำนักงานใหญ่ ฝั่งเพลินจิต สุขุมวิท ซ.2 9.00-22.00 น. รายละเอียด http://www.facebook.com/ArsaDusit

    -จุดบริจาค อาสาไทยฯ (พรรคประชาธิปัตย์) www.facebook.com/AsaThai แผนที่ พรรคประชาธิปัตย์ : แผนที่พรรค

    -จุดบริจาค กลุ่ม PS-EMC (หน้าโรงแรมดุสิตธานี สีลม) 7 ก.ย.-30 ต.ค. 19:30-22:30 น. รายละเอียด

    -จุดบริจาค โรงแรมไนซ์พาเลซ (5 -15 ต.ค.) ซ. อินทามระ 1/1 ถ.สุทธิสาร ใกล้ BTS สะพานควาย www.nicepalace.com โทร 02-2700514-8 บริจาคของ น้ำดื่ม ถุงดำ อาหารแห้ง ยา เช่น ยาน้ำกัดเท้า แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ ฯลฯ แพมเพอสผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย กระดาษชำระ

    -จุดบริจาค สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อาหารแห้งและสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ที่ส่วนบริหารงานทั่วไป ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี สอบถามโทร 3177, 3781-4 ,0-2329-8110 รายละเอียด

    -จุดบริจาค ด่านทางด่วน "ทางด่วนร่วมใจภัยน้ำท่วม" ทุกด่าน (ข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่ม)

    -จุดบริจาค หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ (สี่แยกปทุมวัน) 1-31 ต.ค.

    -จุดบริจาค 96.75MHz: สิ่งของจำเป็น ข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ฯลฯ สอบถาม 0-5581-7716-7

    -จุดบริจาค ร้านแมคโดนัลด์ ทุกสาขาทั่วประเทศ รับบริจาคข้าวสาร อาหารแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และน้ำดื่ม

    -จุดบริจาค คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รับบริจาคเงิน และเครื่องอุปโภค-บริโภคทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. ที่โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช สอบถามโทร. 0 2419 7646-56


    _____________


    ข้อมูลการบริจาคเงิน

    -มูลนิธิ อาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเทเวศร์ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 020-2-53333-8 หรือ ธ.กสิกรไทย สาขาถนนหลังสวน เลขที่ 082-2-66600-0

    -มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก ที่ Counter Service ของ 7-11 ทุกสาขา

    -มูลนิธิโอเพ่นแคร์ (www.opencare.org): บัญชี กองทุนร้อยนํ้าใจ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตลอดลำนํ้ายมมูลนิธิโอเพ่นแคร์ ธ.ไทยพาณิชย์ 402-177853-3

    -ArsaThai (พรรคประชาธิปัตย์): มูลนิธิ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ธ.กรุงไทย สาขาย่อยกระทรวงการคลัง เลขที่ 068-0-02-3607

    -อสมท: บัญชี "อสมท รวมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม" ธ.กรุงไทย สาขาอโศก บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 015-015-9994-4

    -สำนักนายกรัฐมนตรี: บัญชี "กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี" ธ.กรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 067-0-06895-0 ลดหย่อนภาษีได้

    -ธนาคารไทยพาณิชย์: บัญชี "มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย" สาขา ATM & SCB Easy เลขที่บัญชี 111-3-90911-5

    -กรมการศาสนา: บัญชี "สงเคราะห์พระภิกษุสามเณร และผู้ประสบภัย" ธ.กรุงไทย เลขที่ 059-1-29006-5

    -SpringNews TV: ชื่อบัญชี "ร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อผู้ประสบภัย" ธ.กรุงเทพ เลขที่ 196-075084-0

    -ครอบครัวข่าว 3: บัญชี "ครอบครัวข่าว 3 ช่วยผู้ประสบอุทุกภัย 54" บัญชีกระแสรายวัน ธ.กรุงเทพ สาขาอาคารมาลีนนท์ เลขที่ 014-3-00444-8

    -บริจาคช่วยน้ำท่วมทาง SMS: AIS/DTAC/TrueMove พิมพ์ 3 ส่ง 4567899 (10 บ/ครั้ง) มอบครอบครัวข่าว 3

    -ไปรษณีย์: ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เปิดจุดรับบริจาคเงิน ทุกที่ทำการทั่วประเทศกว่า 2,000 แห่ง

    -กทม. : บัญชี "กองทุนกรุงเทพมหานครช่วยเหลือผู้ประสบภัย" ธ.กรุงไทย สาขาถนนข้าวสาร เลขที่ 027-0-17081-2

    -แต้มสะสม KBank Reward Point: ใช้บริจาคช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ ผ่านสภากาชาดไทย (ถึง 31 ต.ค.)

    -มูลนิธิราชประชา: บัญชี "มูลนิธิราชประชานุเคราะห์" บัญชีออมทรัพย์ ธ.ไทยพาณิชย์ เลขที่ 401-6-36319-9

    -มูลนิธิวิจัยและพัฒนาระบบยา+กองพลที่ 1 รักษาพระองค์: เพื่อจัดซื้อ "ชุดยาสู้น้ำท่วม"

    -สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง: บัญชี "สถาปัตย์รวมน้ำใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม" ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาย่อยเทคโนโลยีฯ เจ้าคุณทหาร เลขที่ 088-251250-8 (แจ้งยอดโอนได้ที่ 02-329-8366 คุณภานิดา ผู้มีโชคชัย หรือ Email ได้ที่: misspanida@yahoo.com

    -วุฒิสภาช่วยน้ำท่วม บัญชี "วุฒิสภาช่วยน้ำท่วม ธ. กรุงไทย สาขารัฐสภา บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 089-0-22222-3 สอบถาม 0-2244-1777-8, 0-2244-1578 หรือสายด่วนวุฒิสภา 1102

    -ทวิตเตอร์ @POH_Natthawut บัญชี "ทวิตสกิดใจคนไทยรักกัน" ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาโฮมโปร ราชพฤกษ์ เลขที่ 375-212428-9

    -จ.เชียงใหม่ บัญชี "กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณะภัย" ธ.กรุงไทย สาขาข่วงสิงห์ เลขที่ 547-0-37532-3


    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318243910&grpid=&catid=03&subcatid=0305-

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    โภชนาการพระสงฆ์

    “แกงเทโพ พะแนงหมู ไข่ต้ม ขนมชั้น ลูกชุบ ทองหยิบ ฝอยทอง ข้าวต้มมัด” เหล่านี้เป็นเพียงรายการอาหารไทยส่วนหนึ่งที่ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ซึ่งในแต่ละวันพระสงฆ์ไทยมักจะได้รับบิณฑบาตรายการอาหารจำพวกนี้จากบรรดา ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา ซึ่ง รศ.ดร.ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า อาหารในกลุ่มที่หยิบยกมาข้างต้นนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าผู้ใส่บาตรจะอธิษฐานจิตคิดในด้านกุศลผลบุญ หากแต่ลืมคิดไปถึงเรื่องของสุขภาวะของพระสงฆ์ที่ต้องฉันอาหารประเภทต้ม ผัด แกง ทอด ทุกวัน พร้อมรับเอาทั้งไขมัน และน้ำตาล ซึ่งไม่เป็นมิตรกับร่างกายเข้าไปทุกวันด้วย

    “คนที่ตักบาตรก็จิตใจดี ก็เลยใส่เต็มที่หวังจะได้บุญมาก แต่เราลืมคิดกันไปว่า พระสงฆ์เองท่านก็มีระบบร่างกายที่เหมือนกับเรา และเมื่อต้องรับประทานอาหารรสจัด มากด้วยไขมันและน้ำตาลทุกวัน โอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคจึงมีมากกว่าคนทั่วไป เพราะท่านเลือกฉันไม่ได้ ดังนั้นจึงพบพระสงฆ์ไทยจำนวนมากที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโรคไตเสื่อม เนื่องมาจากการฉันอาหารรสจัด ที่ขณะนี้กำลังพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง และที่น่ากลัวกว่านั้นคือพระสงฆ์บางรูปเป็นมากกว่า 1 โรค”

    รศ.ดร.ภญ.จงจิตร เล่าให้ฟังถึง โครงการวิจัย เรื่อง การจัดการและการแก้ไขปัญหาด้านอาหารและโภชนาการของพระภิกษุสามเณรที่นำไปสู่ การป้องกันและแก้ไขการเกิดโรคเรื้อรังและการมีสุขภาวะที่ยั่งยืนเพื่อพัฒนา “สงฆ์ต้นแบบ โภชนาดี ชีวียั่งยืน” และ “ฆราวาสเกื้อกูล หนุนโภชนาดี” ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นเริ่มต้นงานวิจัย แม้ปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่สังคมไทยยังไม่ค่อยตื่นตัวมากนัก ดังนั้นเป้าหมายของโครงการนี้ จะเน้นไปที่การวิเคราะห์ถึงต้นตอที่แท้จริงของปัญหาสุขภาวะพระสงฆ์ รวมถึงการหาทางออกให้แก่พระสงฆ์ที่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองเพื่อการ มีสุขภาพที่ดี

    รศ.ดร.ภญ.จงจิตร เล่าอีกว่า ขอบเขตงานวิจัยชิ้นนี้จะเน้นกลุ่มพระสงฆ์ในพื้นที่กรุงเทพฯ เพราะเราพบว่าพระในเมืองมีปัญหาด้านอาหารและโภชนาการมากกว่าพระสงฆ์ในต่าง จังหวัด โดยหลักใหญ่ที่เป็นต้นตอปัญหาเราทราบกันดีแล้วว่าคือ ฆราวาส ที่นิยมความสะดวกในการเตรียมอาหารถวายพระ อย่างไรก็ดีจากการสำรวจเบื้องต้นยังพบประเด็นอื่น ได้แก่ ระยะเวลาที่ฉันได้ หรือ กาลิก 4 เพราะอาหารหรือของที่ภิกษุรับประเคนแล้วจะเก็บไว้ฉันได้ตามกาลเวลาที่กำหนด เท่านั้น หากเก็บไว้เกินกว่านั้นถือเป็นความผิด ซึ่งน้ำปานะก็เป็นหนึ่งในนั้น

    “น้ำปานะ หรือ น้ำสำหรับดื่มที่คั้นจากผลไม้ 8 อย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่พระภิกษุให้รับประเคนแล้วจะสามารถเก็บไว้ฉันได้ ตลอด 1 วัน 1 คืน เรียกว่า ยามกาลิก อาทิ น้ำมะม่วง น้ำชมพู่ น้ำกล้วย ฯลฯ แต่ปัจจุบันส่วนมากจะเป็นน้ำผลไม้

    ต่าง ๆ น้ำอัดลม ชา กาแฟ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่ให้พลังงานและน้ำตาลสูง” รศ.ดร.ภญ.จงจิตร กล่าวและว่า ผลวิจัยดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลา 1 ปีครึ่งนับจากนี้ และหากสามารถถ่ายทอดเพื่อให้พระสงฆ์นำไปปฏิบัติและเห็นผลได้จริง แน่นอนว่าผลลัพธ์จะเกิดขึ้นแก่ญาติโยมที่จะได้รับความรู้จากพระท่านแล้วนำไป ปฏิบัติต่อได้อีกทางหนึ่งด้วย

    ด้าน นางมาณี สื่อทรงธรรม ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาลด้านการพยาบาลหอผู้ป่วย ประธานศูนย์มิตรภาพบำบัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีพระสงฆ์จำนวนไม่น้อยที่เข้ารับการรักษาโรคเบาหวานกับโรงพยาบาล จุฬาฯ แล้วอาการหนักถึงขั้นต้องตัดขาทิ้ง หรือบางรายป่วยจนทำให้ต้องใช้ทวารเทียมเนื่องจากถูกตัดลำไส้ใหญ่ หากนับเฉพาะค่ายาในการรักษาพยาบาลพระสงฆ์แต่ละปี คิดเป็นเงินราว 300 ล้านบาท ซึ่งนับว่าไม่น้อยเลย

    ได้ฟังอย่างนี้คิดว่าคงไม่ต้องรอจนกระทั่งให้ผลวิจัยแล้วเสร็จก่อน จึงค่อยมาตื่นตัวให้ความสำคัญกับอาหารที่จะใส่บาตร แต่ชาวพุทธทั้งหลายน่าจะได้พร้อมใจกันปรับรายการอาหารที่จะตักบาตรถวายพระ สงฆ์ตั้งแต่เช้าวันพรุ่งนี้ได้เลย เพื่อสุขภาวะที่ดีของพระสงฆ์ไทย..อนุโมทนา สาธุ!!.


    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=651&contentID=168556-


    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ท่วมขังระวัง'ปลิง'! เกาะต้องแกะถูกวิธี


    [​IMG]


    เรื่องหนึ่งที่ควรระวังในช่วงที่หลายพื้นที่เผชิญภาวะน้ำท่วม คือ 'ปลิง' สัตว์ที่อยู่ในน้ำ โดยเฉพาะน้ำนิ่งๆ ทั้งหนองน้ำ ลำธาร รวมถึงบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ในประเทศไทยมักพบปลิง 2 ชนิด คือ ปลิงเข็ม ตัวยาวขนาดใกล้เคียงกับก้านไม้ขีดไฟ อีกชนิดเป็นปลิงควาย ตัวยาว 3 นิ้ว ลำตัวกว้าง 1 นิ้ว

    กรณีมีความจำเป็นต้องลงไปในน้ำที่ท่วมขังและนิ่ง เมื่อขึ้นจากน้ำแล้วต้องสังเกตตามเนื้อตัวของตนเองอย่างละเอียด เพราะ หากถูกปลิงเกาะ ตัวของปลิงนั้นเบาจึงไม่ทำให้รู้สึกว่า มีสิ่งแปลกปลอมเกาะติดอยู่ เช่นเดียวกับการดูดเลือดของปลิงก็เป็นไปอย่างแผ่วเบา

    ระหว่าง ที่ปลิงเริ่มกัดและดูดเลือดจะปล่อยสารที่มีฤทธิ์คล้ายยาชาออกมา ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ ทั้งยังมีสารช่วยขยายหลอดเลือดและสารต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อให้ดูดเลือดได้ต่อเนื่อง หากปลิงยังดูดเลือดไม่อิ่มก็ยังจะเกาะอยู่อย่างนั้น โดยจะหลุดออกเมื่ออิ่ม ทว่าถูกรุมเกาะหลายตัวและถูกดูดเลือดมาก ก็จะเกิดอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด

    วิธีแกะปลิงให้หลุดออก ไม่ควรใช้มือหรืออุปกรณ์อื่นดึงหรือกระชากตัวปลิงออกจากผิวหนังโดยตรง เนื่องจากจะทำให้เกิดแผลฉีกขาด เลือดหยุดยาก แต่วิธีที่ควรทำในเบื้องต้นมีทั้งใช้น้ำมะนาว น้ำมะกรูด น้ำเกลือเข้มข้น หรือน้ำแช่ยาฉุนหรือยาเส้นไส้บุหรี่ อย่างใดอย่างหนึ่งราดใส่ตรงที่ปลิงเกาะ นอกจากนี้ยังอาจเลือกใช้บุหรี่ที่ติดไฟหรือธูปติดไฟ จี้ลงไปที่ตัวปลิง ก็ทำให้ปลิงหลุดออกเอง

    เมื่อปลิงหลุดออก ให้หยดยาฆ่าเชื้อที่คอตตอนบัดและเช็ดเป็นวงรูปก้นหอย เริ่มจากส่วนในของแผลวนออกรอบนอกแผล เช็ดวนรอบเดียวเพื่อไม่ให้แผลสกปรก แล้วเปลี่ยนอตตอนบัดอันใหม่ สัก 2-3 อัน

    หากไม่สามารถเลี่ยงการลงไปในน้ำที่ท่วมขัง ควรป้องกันตนเองจากปลิงและสัตว์มีพิษอื่นๆ เช่น งู ตะขาบ ด้วยการสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดรัดกุมและมัดปลายขากางเกง โชลมเสื้อผ้าส่วนที่ต้องโดนน้ำด้วยน้ำมันก๊าดจะช่วยป้องกันสัตว์มีพิษได้.

    ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
    -takecareDD@gmail.com-

    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=460&contentID=169037-

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    รับสนองพระราชดำริเร่งระบายน้ำ


    [​IMG]


    “ยิ่งลักษณ์ น้อมรับพระราชดำรัสพระเจ้าอยู่หัว เร่งระบายน้ำป้องกัน กทม. สั่ง ศภป.เร่งขุดลอกคลอง 7 แห่งให้เสร็จทัน 14 ต.ค. ย้ำกรมชลฯระบายน้ำให้สัมพันธ์กับการเปิดปิดประตูระบายน้ำ
    วันนี้ (12 ต.ค.) ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขสถานการณ์อุทกภัยร่วม ประชุมผ่านวีดีโอคอนเฟอร์เรนส์ กับผู้ว่าราชการ 14 จังหวัดทันทีภายหลังเดินทางกลับจากการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยขอพระราชทานคำแนะนำแนวทางในการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ
    น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ กล่าวว่า วันนี้เราจำเป็นต้องกั้นแนวกั้นน้ำขอให้ ส.ส.ในพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนโดยเฉพาะพื้นที่ จ.ปทุมธานี ต้องป้องกันน้ำไม่ให้กระทบพื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน โดยให้กรมชลประทานเร่งหาแนวทางเร่งระบายน้ำลงสู่ทะเล เร่งรัดขุดคลองโดยเร็ว เรามีความจำเป็นต้องแข่งกับน้ำทะเลหนุนสูง โดยเฉพาะกรมชลฯต้องดูแลการปิดเปิดประตูน้ำให้สัมพันธ์กันให้มีเวรยามตลอด 24 ช.ม. รวมทั้งเร่งระบายคลอดลัดโพธิ์และ พื้นที่อื่นๆทั้งการใช้เรือผลักดันน้ำ ใช้เครื่องสูบน้ำ ทุกจุดต้องทำทั้งหมดในเวลาเดียวกัน ส่วนแม่น้ำท่าจีน ไปดูแนวทางระบายน้ำไปด้วย ขุดลอกคูคลองได้อย่างไรเกิดประสิทธิภาพ ร่วมมือฝ่ายทหารด้วย ทั้งนี้ขอให้ กระทรวงสาธารณสุข เข้าสำรวจป้องกันโรคระบาดด้วยในทุกพื้นที่ประสบภัยด้วย
    “ดิฉันรับพระราชทานแนวทางจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ที่ต้องการเร่งระบายน้ำและการเปิดปิดประตูให้สัมพันธ์กัน ซึ่งทุกหน่วยงานพร้อมรับปฏิบัติ พรุ่งนี้ (13 ต.ค.) ดิฉันจะไปสำรวจทั้งหมด การขุดลอกคลอง 7 คลอง เสร็จทันภายใน 14 ตุลาคมนี้ ทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก รวมทั้งการพยากรณ์อากาศระมัดระวังด้วยว่าพายุลูกใหม่ไม่กระทบต่อประเทศไทย แน่ ส่วนการป้องกันนิคมอุตสาหกรรม มีประสบการณ์แล้วอย่าใช้คันดินเท่านั้นต้องใช้อิฐบล็อกทำกำแพงด้วย”น.ส. ยิ่งลักษณ์ กล่าว.



    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=561&contentID=169335-

    .
     
  11. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    วิธีเก็บข้าวสวยได้นานโดยไม่บูด

    วันพฤหัสบดี ที่ 13 ตุลาคม 2554 เวลา 0:00 น
    <SCRIPT src="http://s7.addthis.com/js/250/addthis_widget.js?pub=xa-4a38f0f6636e48fa" type=text/javascript></SCRIPT> ​


    <TABLE class=x-tabs-strip id=ext-gen5 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR id=ext-gen4><TD class=" on" id=ext-gen10 style="WIDTH: 72px">เนื้อหาข่าว</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    สถานการณ์น้ำท่วมตอนนี้ยังไม่ดีขึ้น ผลกระทบอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือเรื่องอาหารการกิน วันนี้เกร็ดความรู้มี วิธีหุงข้าวสวยให้เก็บไว้ได้หลายวันโดยไม่บูดมาฝาก ซึ่งข้อมูลนี้ได้มาจาก กระทู้ในห้องก้นครัวของเว็บไซต์พันทิป ขออนุญาตนำมาแบ่งปัน

    คุณลูกหมูใจดี โพสต์ไว้ว่า ที่บ้านเวลาหุงข้าวสวย จะใส่น้ำส้มสายชูลงไปด้วย โดยข้าวสาร 3 กระป๋อง ใช้น้ำส้มสายชูประมาณ 1 ช้อนชา

    "เราทดลองหุงแล้วตักมาทาน แล้วปล่อยทิ้งไว้คาหม้อ 4-5 วัน มาไม่ต่ำกว่า 5 ครั้งแล้วค่ะ เพื่อพิสูจน์ว่ามันจะไม่บูดจริง ๆ โดยเปิดฝาดูทุกวัน ข้าวที่หุงทิ้งไว้ 4-5วัน เราก็เอามาทานจริง ๆ ไม่มีกลิ่นบูด ไม่แฉะ" ลูกหมูใจดียืนยัน

    นับเป็นวิธีถนอมอาหารยามฉุกเฉินอีกวิธีที่น่าสนใจ ลองไปทำกันดู





    เดลินิวส์ออนไลน์
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>รวมรายชื่อจุดจอดรถหนีน้ำท่วม 109 แห่งทั่วกทม.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>12 ตุลาคม 2554 23:51 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    บก.จร.ประกาศแหล่งจอดรถฟรีทั่วเขตนครบาล คาดรองรับความต้องการจอดรถได้เกือบ 70,000 คัน

    กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) ประกาศสถานที่จอดรถฟรี 109 แห่ง โดยกองบังคับการตำรวจนครบาล 1-9 (บก.น.1-9) เตรียมไว้บริการประชาชนในเขตนครบาล ซึ่งคาดว่าจะสามารถรองรับได้ทั้งหมด 69,959 คัน ประกอบด้วย

    1.อาคารจอดรถ กทม. ถนนไกรสีห์ จำนวน 400 คัน
    2.อาคารสนามม้านางเลิ้ง จำนวน 100 คัน
    3.โรงแรมปรินซ์พาเลส จำนวน 50 คัน
    4.อาคารจอดรถ สวนสัตว์ดุสิต จำนวน 400 คัน
    5.ศูนย์การค้า SUPREME จำนวน 150 คัน
    6.บริษัทประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำนวน 100 คัน
    7.ศูนย์การค้าเอสพลานาด จำนวน 500 คัน
    8.ศูนย์การค้าฟอร์จูน จำนวน 400 คัน
    9.อาคารไซเบอร์เวิลด์ จำนวน 300 คัน
    10.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (ศูนย์วัฒนธรรม) จำนวน 80 คัน
    11.ห้างแพลตตินัม จำนวน 150 คัน
    12.ห้างพันธุ์ทิพย์ จำนวน 100 คัน
    13.ห้างพาราเดียม จำนวน 100 คัน
    14.โรงแรมอมารีวอเตอร์เกท จำนวน 100 คัน
    15.ตึกชาญอิสระ 2 จำนวน 50 คัน
    16.อาคารอิตัลไทย จำนวน 50 คัน
    รวมพื้นที่ บก.น. 1 ทั้งหมด 3,050 คัน

    17.บิ๊กซี แจ้งวัฒนะ จำนวน 69 คัน
    18.ห้างไอที หลักสี่ จำนวน 1,000 คัน
    19.ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ อาคารบี จำนวน 300 คัน
    20.สนามบินดอนเมือง จำนวน 3,000 คัน (เต็ม)
    21.ห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว จำนวน 3,000 คัน (เต็ม)
    22.ห้างเมเจอร์รัชโยธิน จำนวน 1,200 คัน (เต็ม)
    23.ลานจอด รฟม. (รัชดา-ลาดพร้าว) จำนวน 2,000 คัน
    24.ลานจอดรถบีทีเอส หมอชิตเก่า จำนวน 2,000 คัน
    25.ลานจอดรถจตุจักร จำนวน 1,000 คัน
    26.ลานจอดรถสวนรถไฟ จำนวน 200 คัน
    27.ตึก ปตท.(สำนักงานใหญ่) จำนวน 500 คัน
    28.ธนาคารออมสิน (สำนักงานใหญ่) จำนวน 500 คัน
    29.ห้างเซ็นทรัล รามอินทรา จำนวน 300 คัน (เต็ม)
    30.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 500 คัน
    31.มหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 50 คัน
    32.ห้าง MAX VALUE จำนวน 50 คัน
    33.ตลาดบองมาเช่ จำนวน 100 คัน
    34.ห้างบิ๊กซี วงศ์สว่าง จำนวน 50 คัน
    35.โรงเรียนฤทธิยะ สายไหม จำนวน 200 คัน
    36.โรงเรียนสายไหม จำนวน 50 คัน
    37.โรงเรียนนายเรืออากาศ จำนวน 200 คัน
    38.ลานจอดรถบุญถาวร จำนวน 150 คัน
    39.ลานจอดรถโลตัส นวมินทร์ จำนวน 80 คัน
    40.ถนนคู้บอน (เลียบวงแหวน-แยกคลองสอง) จำนวน 200 คัน
    41.ถนนพระยาสุเรนทร์ (แยกคลองสอง-แยกลำกะโหลก) จำนวน 200 คัน
    42.ถนนเลียบคลองสอง ตลอดแนว จำนวน 150 คัน
    43.ห้าง THE MARKET (ถ.ประชาราษฎร์ สาย 2) จำนวน 20 คัน
    รวมพื้นที่ บก.น. 2 จำนวน 17,069 คัน

    44.มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จำนวน 1,500 คัน
    45.มหาวิทยาลัยมหานคร จำนวน 2,000 คัน
    46.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า จำนวน 2,000 คัน
    47.สภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 2,000 คัน
    48.ห้างเดอะมอลล์ บางกะปิ จำนวน 3,000 คัน
    49.ห้างพันธุ์ทิพย์ บางกะปิ จำนวน 300 คัน
    50.โรงแรมเดอะมอลล์อินน์ จำนวน 50 คัน
    51.ห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ จำนวน 1,500 คัน (เต็ม)
    52.ห้างเพรียวเพลส จำนวน 300 คัน
    53.ห้างอมอรินี่ จำนวน 300 คัน
    54.ห้างบิ๊กซีลาดพร้าว จำนวน 2,000 คัน (เต็ม)
    55.ห้างซีคอนสแควร์ จำนวน 1,000 คัน (เต็ม)
    56.ห้างพาราไดซ์พาร์ค จำนวน 600 คัน (เต็ม)
    57.ริมถนนสาย 351 จำนวน 50 คัน
    58.ศูนย์อัญมนีเจโมโปลิส จำนวน 200 คัน
    59.มหาวิทยาลัยรามคำแหง(บางนา) จำนวน 100 คัน
    60.ลานจอดรถ บริษัทนัมเบอร์วัน จำนวน 100 คัน
    61.การกีฬาแห่งประเทศไทย จำนวน 1,500 คัน
    62.ใต้ทางด่วน ระหว่างด่วนศรีรัช-มอเตอร์เวย์ จำนวน 300 คัน
    63.ลานจอดรถร้าน 13 เหรียญ พระรามเก้า จำนวน 300 คัน
    รวมพื้นที่จอดรถ บก.น.4 จำนวน 11,600 คัน

    64.ห้างฟิวเจอร์ จำนวน 500 คัน (เต็ม)
    65.ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 3 จำนวน 900 คัน (เต็ม)
    66.ห้างบิ๊กซี เอกมัย จำนวน 1,000 คัน
    67.ห้างจัสโก้ สุขุมวิท 71 จำนวน 800 คัน
    68.ห้างบิ๊กซี ราชดำริ จำนวน 250 คัน
    69.ห้างเซ็นทรัล ชิดลม จำนวน 250 คัน (เต็ม)
    70.ห้างเซ็นทรัล บางนา จำนวน 780 คัน (เต็ม)
    71.เอสบีเฟอร์นิเจอร์ บางนา จำนวน 600 คัน
    72. ห้างบิ๊กซี พระราม 4 จำนวน 200 คัน
    73.ห้างโลตัส พระราม 4 จำนวน 200 คัน
    รวมพื้นที่จอดรถ บก.น.5 จำนวน 5,480 คัน

    74.ลานจอดรถ ดิโอลด์สยาม จำนวน 250 คัน
    75.อาคารศรีวรจักร์ จำนวน 100 คัน
    76.อาคารคลองถมเซ็นเตอร์ จำนวน 100 คัน
    77.อาคารจอดรถ ริเวอร์ซิตี้ จำนวน 200 คัน
    78.อาคารจอดรถ เท็กซัส จำนวน 100 คัน
    79.ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ จำนวน 3,000 คัน
    80.ห้างมาบุญครอง จำนวน 1,000 คัน
    81.ห้างสยามพารากอน จำนวน 3,000 คัน
    82.สนามกีฬาแห่งชาติ จำนวน 300 คัน
    83.อาคารจอดรถ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 1,000 คัน
    84.อาคารจอดรถ ตึกเจมส์ทาวเวอร์ จำนวน 100 คัน
    85.โรงแรมมณเฑียร จำนวน 50 คัน
    86.อาคารจอดรถ โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา จำนวน 50 คัน
    87.อาคารจอดรถ โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน จำนวน 50 คัน
    รวมที่จอดรถพื้นที่ บก.น. 6 จำนวน 9,300 คัน

    88.ห้างเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า จำนวน 2,000 คัน (เต็ม)
    89.ห้างเมเจอร์ ปิ่นเกล้า จำนวน 800 คัน (เต็ม)
    90.ห้างพาต้า ปิ่นเกล้า จำนวน 100 คัน
    91.ห้างโลตัส ปิ่นเกล้า จำนวน 500 คัน
    92.ถนนพุทธมณฑลสาย 1 จำนวน 300 คัน
    93.สนามหลวงธนบุรี จำนวน 500 คัน
    94.อาคารจอดรถ รพ.ยันฮี จำนวน 200 คัน
    95.ห้างตั้งฮั่วเส็ง จำนวน 300 คัน
    รวมพื้นที่จอดรถ บก.น.7 จำนวน 4,700 คัน

    96.โรงเรียนอิสลามวิทยาลัย จำนวน 300 คัน
    97.ห้างบิ๊กซี บางปะกอก จำนวน 100 คัน
    98.ห้างโลตัส บางปะกอก จำนวน 100 คัน
    99.ห้างเดอะมอลล์ ท่าพระ จำนวน 100 คัน
    100.ห้างบิ๊กซี ท่าพระ จำนวน 100 คัน
    101.โรงเรียนวัฒนาบริหารธุรกิจ จำนวน 80 คัน
    102.สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ จำนวน 100 คัน
    103.ห้างบิ๊กซี จำนวน 100 คัน
    104.คู่ขนานถนนราชพฤกษ์ใต้สะพานบางสะแก จำนวน 300 คัน
    105.โรงแรมมาริออท จำนวน 100 คัน
    รวมพื้นที่จอดรถบก.น. 8 จำนวน 1,380 คัน

    106.มหาวิทยาลัยธนบุรี จำนวน 200 คัน
    107.มหาวิทยาลัยเอเซีย จำนวน 500 คัน
    108.มหาวิทยาลัยสยาม จำนวน 200 คัน
    109.ถนนกาญจนาภิเษก ช่องคู่ขนานเข้า-ออก จำนวน 10,000 คัน
    รวมพื้นที่จอดรถบก.น.9 จำนวน 10,900 คัน

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
    บก.น.1 โทร 02-345-6160
    บก.น.2 โทร 02-566-4253
    บก.น.3 โทร 02-171-4204
    บก.น.4 โทร 02-517-2729
    บก.น.5 โทร 02-255-1888
    บก.น.6 โทร 02-223-0175
    บก.น.7 โทร 02-449-0395
    บก.น.8 โทร 02-477-1080
    บก.น.9 โทร 02-451-7231
    ศูนย์ควบคุมสั่งการจราจร บช.น. (บก.02) โทร 1197
    ตรวจสอบจุดจอดรถฉุกเฉินได้ที่ Thai Traffic Police หรือโทร. 1197 ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลจราจรผ่านทางเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของบก.จร.ได้ทางสถานีวิทยุสวพ.91 สน.จราจร 99.5 และ จส.100


    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000130369-


    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เปิด 10 เขตรอบ กทม. เสี่ยงน้ำท่วมสูง นาน 1-2 เดือน</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>13 ตุลาคม 2554 00:20 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    [​IMG]

    [​IMG]


    ผู้เชี่ยวชาญบริหารจัดการน้ำ "ทีมกรุ๊ป" เผยพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม 3 ระดับ ชี้ อ.วังน้อย อ.หนองเสือ อ.ธัญบุรี เขตหนองจอก อ.บางน้ำเปรี้ยว อ.ลาดบัวหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว อ.สามโคก อ.เมืองปทุมธานี อ.บางใหญ่ เสี่ยงสูงสุด น้ำท่วมอาจท่วม 1-2 เมตร ท่วมนาน 1-2 เดือน

    ปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมกลายเป็นปัญหาสำคัญและเร่งด่วนที่ทาให้ทุกฝ่ายวิตกกังวลถึงความรุนแรง โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าจะมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ด้วยประสบการณ์ความชำนาญในวิชาชีพด้านการบริหารจัดการน้ำมากว่า 30 ปี กลุ่มบริษัททีม พร้อมเผยแพร่ข้อมูลที่ได้รวบรวม และวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ โดยได้จัดทาแผนที่แสดงพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมในระดับต่างๆ พื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาอุทกภัยดังนี้
    (ลิงค์แผนที่ TEAM GROUP เตือนภัยน้ำท่วมกทม. | ThaiPublica)

    1. พื้นที่น้ำท่วมปี 2554 : พื้นที่น้ำท่วมถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2554
    2. พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ซึ่งมีระดับความเสี่ยงและข้อควรปฏิบัติดังนี้
    2.1 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 3 (เสี่ยงสูงสุด)
    (1) เป็นพื้นที่น้ำท่วมแน่นอน พื้นที่ที่อยู่นอกคันพระราชดำริ จะมีสภาพการท่วมเช่นเดียวกับปี 2538 แต่ระดับสูงกว่า ประมาณ 0.50 เมตร น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1- 2 เมตร จะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือนจำเป็นต้องอยู่กับน้ำให้ได้ หรืออพยพไปอยู่ที่อื่น
    (2) พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ทางตะวันออกของกรุงเทพฯ นี้ จะเป็นทางที่น้ำจะหลากจากแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงสู่ทะเลโดยน้ำจะใช้เวลาในการเดินทางมาก ได้แก่ พื้นที่บริเวณอำเภอวังน้อย อำเภอหนองเสือ ทางตะวันออกของอำเภอธัญญบุรี พื้นที่ทางตะวันออกของเขตหนองจอก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของคลองพระองค์ไชยานุชิต
    คันป้องกันน้ำท่วมต่างๆ มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ และหากมีน้ำรั่วเข้ามาในพื้นที่ใดก็จะมีระดับน้ำท่วมสูง 1.0 ถึง 2.0 เมตร แล้วแต่ความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่

    (3) พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ ได้แก่ อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอบางใหญ่ และพื้นที่ด้านตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก ที่อยู่เหนือคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นไป และพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน
    (4) การเตรียมตัว ให้ขนย้ายทรัพย์ขึ้นที่สูง ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร จอดรถยนต์ไว้ในที่สูง และติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด

    2.2 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 2 ( สนามบินสุวรรณภูมิน้ำไม่ท่วม)
    (1) เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูง (เป็นพื้นที่ที่น้ำเคยท่วมเมื่อปี 2538 ซึ่งเป็นปีน้ำท่วมสูงสุด) เป็นพื้นที่รัฐบาลพยายามป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วม (ต้องสู้กับน้ำ) หากป้องกันไม่ได้ คันจะพัง น้ำจะมาเร็วและแรง ดังนั้นให้ติดตามข่าว และติดตามระดับน้ำในคลองตลอดเวลา หากมีรั่วเข้ามาท่วมได้ น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตร และจะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือน
    (2) พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันออก ได้แก่พื้นที่ ฝั่งตะวันออกของอำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอคลองหลวง พื้นที่ที่อยู่เหนือคลองรังสิตประยูรศักดิ์ พื้นที่ที่อยู่เหนือถนนสายไหม และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า ถนนกิ่งแก้ว และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนบางบำหรุไปบางพลี
    (3) พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันตกได้แก่ พื้นที่จังหวัดนนทบุรีที่อยู่ทางตะวันออกของถนนกาญจนาภิเษก มาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่อำเภอสามพรานที่อยู่ใต้คลองมหาสวัสดิ์ ที่อยู่ห่างจากแม่น้ำท่าจีน อำเภอกระทุ่มแบน อำเภอเมืองสมุทรสาครที่อยู่ห่างจากแม่น้ำท่าจีน และพื้นที่ด้านตะวันตกของเขตจอมทอง
    (4) การเตรียมตัว ให้เตรียมย้ายของมีค่าขึ้นที่สูง เตรียมวางแผนหาที่จอดรถยนต์ในที่สูงและติดตามข่าวและเฝ้าระวังใกล้ชิด

    2.3 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 1
    (1) เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงปานกลาง เป็นพื้นที่น้ำไม่ท่วมในปี 2538 แต่มีความเสี่ยงที่จะท่วมได้ในปี 2554 นี้ได้แก่พื้นที่ฝั่งตะวันออกของจังหวัดนนทบุรี และพื้นที่กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงระดับ 2 และ 3 ดังกล่าวข้างต้น
    (2) พื้นที่นี้หากมีการท่วม น้ำจะท่วมสูงประมาณ 0.50 เมตร
    (3) ในการเตรียมตัวนั้นขอให้ติดตามข่าว และเฝ้าระวัง



    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000130381-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ขอพี่ๆทุกๆท่านที่อยู่ในกรุงเทพดูแลตัวเองด้วยนะครับผม
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  16. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เมื่อวานได้ร่วมบุญกฐิน ณ วัดใหม่ปลายห้วย จ.พิจิตร เพื่อร่วมสร้างพระพุทธรูป จัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และโรงพยาบาลพิจิตร วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๔..
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    โมทนาบุญครับ


    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    อ่า ไม่เป็นไรครับ

    ผมขนส่วนที่สำคัญขึ้นชั้น 2 แล้ว

    หลังเหตุน้ำท่วม ผมว่าจะถวายวัดหลายๆแห่งให้เยอะที่สุดครับ

    หลังจากนี้ คงมีพระวังหน้าอยู่ที่ผมน้อยลงมากแน่นอนครับ

    เรื่องสำคัญ ผมจะแจ้งให้สมาชิกชมรมพระวังหน้าทุกๆท่านได้ทราบทาง Email ครับ โปรดรออ่านด้วย

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เหอๆๆๆ พระเต็มคอ ช่วยได้มากครับ

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    จิตเภท: สาเหตุและการรักษา <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย สุทัศน์ ยกส้าน</td> <td class="date" align="left" valign="middle">14 ตุลาคม 2554 10:00 น.</td> </tr></tbody></table>

    จิตเภท (schizophrenia) เป็นอาการผิดปรกติทางจิตใจที่นักจิตวิทยาชาวเยอรมันชื่อ Emil Kraepelin (2399-2469) ได้ศึกษาเป็นคนแรก แต่ในสมัยนั้นเขาเรียกอาการผิดปรกติทางจิตชนิดนี้ว่า dementia praecox ซึ่งแปลว่า การเสื่อมสลายของสมองในวัยเยาว์ จิตเภทจึงตรงข้ามกับ senile dementia ซึ่งเป็นอาการสมองเสื่อมในวัยชรา

    ในปี 2457 Eugen Bleuler นักจิตวิทยาชาวสวิสได้เรียกชื่อโรคจิตนี้ใหม่ว่า schizophrenia ซึ่งเป็นคำสนธิระหว่าง schizen ในภาษากรีกที่แปลว่า จิตใจ ทั้งนี้เพราะ Bleuler เห็นผู้ป่วยมีความนึกคิดและอารมณ์ที่แตกแยก ไม่สัมพันธ์กับพฤติกรรม เช่น อยู่ในโลกหลอน หลงผิดคิดว่าตนเป็นเทพเจ้า หรือเป็นบางคนที่กลับชาติมาเกิด บ้างก็อ้างว่าได้ยินเสียงแว่วสั่งให้ทำโน่นทำนี่ และมักมีความคิดแตกแยกกระจัดกระจายจนทำให้พูดจาวกวนไม่รู้เรื่อง บางคนเวลาอาการกำเริบ จะใช้คำพูดที่ไม่มีใครใช้กัน บางคนหัวเราะหรือร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล แต่บางเวลาก็วางเฉย ไม่มีอารมณ์ยินดียินร้าย และไม่พูดจาเลย เอกลักษณ์ที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งของจิตเภท คือ ชอบแยกตัวจากสังคม เก็บตัวและนั่งเหม่อลอยอย่างไม่อินังขังขอบเรื่องแต่งตัว และเวลาเห็นคนอื่นสนทนากัน คนที่เป็นจิตเภทก็มักคิดว่าพวกเขากำลังนินทาตน อาการระแวงเช่นนี้ทำให้หลงคิดว่าตนกำลังถูกปองร้ายอยู่ร่ำไป

    เพราะอาการของจิตเภทมีหลากหลาย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจที่พบว่า 1% ของประชากรโลกเป็นโรคจิตชนิดนี้ (ไม่มากก็น้อย) และถ้าสถิติขององค์การอนามัยโลกถูกต้อง นั่นหมายความว่า คนไทย 6 แสนคนกำลังป่วยเป็นจิตเภท ณ วันนี้ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับจิตเภททำให้รู้ว่า ผู้ชายมีโอกาสเป็นจิตเภทได้มากกว่าผู้หญิง และคนที่เป็นมักมีอายุน้อยกว่า 45 ปี

    สถานภาพของคนป่วยในสหรัฐอเมริกาชี้ให้เห็นว่า 10% ของคนป่วยเคยพยายามฆ่าตัวตายอย่างน้อยหนึ่งครั้ง และแม้ ว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะแต่งงาน แต่ในที่สุดชีวิตสมรสก็ล้มเหลวด้วยการหย่า เพราะฝ่ายที่เป็นจิตเภทต้องการแยกตัว คือไม่อยากให้ใครมา “วุ่นวาย” ในชีวิตตน สถิติการสำรวจยังแสดงให้เห็นอีกว่า ผู้ป่วยจิตเภทมักติดยาเสพติด คือ 60% ติดเหล้า บุหรี่ กัญชา หรือโคเคน ดัง นั้นเมื่อต้องการเสพยาก็จะคลุ้มคลั่งทำร้ายคนอื่น และผู้ที่เป็นโรคมีเพียง 15% เท่านั้นที่ยอมรับว่าตนป่วย และเข้ารับการบำบัดโดย 20% จะหายขาด 60% จะมีอาการดีขึ้น ส่วน 20% ที่เหลือจะป่วยด้วยโรคนี้ตลอดชีวิต ข้อสังเกตอีกประเด็นหนึ่งคือ 60% ของผู้ป่วยมีฐานะยากจน และ 20% ไม่มีบ้านของตนเอง แม้ข้อมูลนี้จะบ่งชี้ให้เห็นว่า ชีวิตของผู้ป่วยเป็นจิตเภทจะด้อยคุณภาพ แต่มีกรณียกเว้น เช่น John Forbes Nash นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลประจำปี 2537 ซึ่งล้มป่วยเป็นจิตเภท แต่ได้รับการรักษาจนหาย ส่วนกรณีที่ตรงข้ามกับ Nash คือ Andrea Yates ฆาตกรจิตเภทที่ฆ่าลูก 5 คนด้วยการกดศีรษะลูกในน้ำจนตาย และขณะนี้กำลังติดคุกชดใช้กรรมอยู่

    ในการค้นหาสเหตุที่ทำให้คนเป็นจิตเภท นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และวิธีการเลี้ยงดู มีบทบาทสำคัญในการทำให้คนเป็นจิตเภท เพราะได้พบว่า ในกรณีการเลี้ยงดู ถ้ามารดาเลี้ยงลูกแบบประคบประหงมยิ่งกว่าไข่ในหิน คือรับเป็นธุระดูแลให้ทุกเรื่อง ตั้งแต่ช่วยอาบน้ำจนถึงช่วยทำการบ้าน จนเด็กรู้สึกว่าตนไม่จำเป็นต้องมีใครอีกแล้วในโลกนี้ แม่ประเภทนี้สามารถทำให้ลูกเป็นจิตเภทได้ แต่ในทางตรงกันข้าม พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบปากกับมือไม่สัมพันธ์กัน เช่น ปากบอกว่ารัก แต่มือก็ฟาดเอาๆ การสื่อความรักลักษณะนี้ทำให้เด็กรู้สึกสับสน เพราะไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ซึ่งมีผลทำให้เด็กรู้สึกทั้งรักและเกลียดพ่อแม่ปนกัน หรือในกรณีที่พ่อแม่ทะเลาะกันให้ลูกเห็นตลอดเวลา แล้วต่างฝ่ายก็จะเอาลูกเข้าข้างตน การกระทำเช่นนี้จะทำให้ลูกรู้สึกสับสนเพราะไม่รู้ว่าจะวางตัวอย่างไร วิธีการเลี้ยงลูกแบบสุดขั้วจึงมีส่วนทำให้ลูกป่วยทางใจโดยพ่อแม่ไม่รู้ตัว หรือไม่ตั้งใจ

    พันธุกรรมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่มีบทบาทในการทำให้คนป่วย เป็นจิตเภท เพราะได้พบว่า คนที่มีญาติสายตรง (ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่) ซึ่งป่วยเป็นจิตเภท จะมีโอกาสเป็นจิตเภทสูงกว่าคนที่ไม่มีญาติป่วยเป็นจิตเภทถึง 10 เท่า ลูกชายของ Nash ก็ป่วยเป็นจิตเภท ฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันก็พบว่า ถ้าฝาแฝดคนหนึ่งป่วย โอกาสที่แฝดอีกคนจะป่วยมีสูงตั้งแต่ 30-40% ด้วย เหตุนี้คนที่กำลังจะแต่งงาน จึงควรตรวจสอบประวัติการป่วยทางใจของคู่สมรส เพื่อป้องกันมิให้ทายาทมีปัญหาทางจิตใจในภายหลัง เพราะผู้ป่วยจิตเภทจะไม่สามารถทำหน้าที่บิดามารดาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนั่นก็หมายความว่า ความเชื่อที่ว่า “บ้าแบบนี้ แต่งงานแล้วจะหาย” เป็นความเชื่อที่ไม่สมควรปฏิบัติตามเป็นอย่างยิ่ง

    ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดปรกติของร่างกาย ในปี 2535 P.C. Fletcher แห่ง Institute of Neurology ในลอนดอนได้ใช้อุปกรณ์ Positron Emission Tomography (PET) ตรวจสมองส่วนที่เรียกว่า dorsolateral prefrontal cortex ของคนป่วยจิตเภทขณะครุ่นคิดปัญหาและได้พบว่า สมองส่วนนี้มีเลือดไหลวนไม่มากเท่าสมองของคนปรกติ นอกจากนี้สมองส่วน amygdala, hippocampus และ parahippocampal gyrus ของผู้ป่วยก็มีขนาดเล็กกว่าของคนปรกติด้วย เขาจึงคิดว่าความผิดปรกติของโครงสร้างสมองเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนป่วยเป็นจิตเภท

    ในปี 2538 D. Silbergsweig แห่ง Cornell Medical Centre ที่นิวยอร์ก ได้ใช้เทคโนโลยี PET ศึกษาสมองของคนที่เป็นจิตเภทขณะเห็นภาพหลอน หรือได้ยินเสียงแว่ว และ ก็ได้พบว่าสมองส่วน prefrontal cortex ไม่สามารถบอกผู้ป่วยได้ว่า สิ่งที่เห็นหรือได้ยินเป็นของจริงหรือภาพลวงกันแน่ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า การที่สมองส่วนนี้ทำงานบกพร่องเป็นเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยสับสน เพราะสมองของผู้ป่วยได้สร้างภาพหรือเสียงขึ้นเอง ทั้งๆ ที่ภาพจริงหรือเสียงจริงไม่มี

    ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า คนป่วยเป็นจิตเภทเพราะสมองมี dopamine ที่เซลล์ประสาทใช้ในการติดต่อกันมากผิดปรกติ แต่การวิจัยที่กระทำในระยะเวลาต่อมาแสดงให้เห็นว่า ความมากผิดปรกติของ dopamine เป็นเพียงสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนบางคนป่วย เพราะในวารสาร Scientific American ฉบับเดือนมกราคม 2547 D.C. Javitt และ J.T. Coyle แห่ง New York University School of Medicine ได้รายงานว่า ในสมองของผู้ป่วยหลายคนมีโมเลกุล glutamate ที่เซลล์ประสาทใช้ในการส่งสัญญาณน้อยกว่าปรกติ ข้อมูลนี้จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ตระหนักว่า จิตเภททำร้ายสมองหลายส่วน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ในการรักษา แพทย์จะต้องให้ผู้ป่วยกินยาที่ช่วยเพิ่มปริมาณ glutamate และลด dopamine ในสมอง

    ในวารสาร Science ฉบับวันที่ 12 ธันวาคม 2546 J. McGrath แห่ง Queensland Centre for Schizophrenic Research ที่เมืองบริสเบนในออสเตรเลีย ได้รายงานว่า การขาดวิตามิน D คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเป็นจิตเภท เพราะได้ทดลองให้หนูตัวเมียที่ตั้งท้องกินอาหารที่มีวิตามิน D น้อย แล้วพบว่า ลูกหนูที่เกิดจากแม่หนูเหล่านั้นมีอาการจิตเภท โดยเวลาลูกหนูได้ยินเสียงเบาๆ แล้วต่อมาให้ได้ยินเสียงดัง ซึ่งหนูปรกติจะไม่ตกใจ แต่ถ้าเป็นหนูที่มีอาการจิตเภทจะให้มันได้ยินเสียงอะไรก่อนหรือหลังมันตกใจ หมด การตรวจสมองหนูที่ขาดวิตามิน D ได้พบว่า มีโพรงสมองค่อนข้างใหญ่กว่าปรกติถึง 30% ดังนั้น McGrath จึงคิดว่า การที่ร่างกายขาดวิตามิน D น่าจะทำให้คนเป็นจิตเภทได้ McGrath เชื่อในสมมุติฐานนี้มาก เมื่อสถิติการสำรวจแสดงว่า คนเมืองเป็นจิตเภทสูงกว่าคนชนบท และลูกของแม่ที่มีผิวคล้ำ ดำ หรือน้ำตาล เป็นจิตเภทมากกว่าลูกของแม่ที่มีผิวขาว เขาก็ยิ่งมั่นใจว่า การขาด วิตามิน D เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนเป็นจิตเภท เพราะร่างกายมนุษย์ตามปรกติได้วิตามิน D จากแสงแดดเพราะเวลาอยู่กลางแดด รังสีอัลตราไวโอเลต B จากดวงอาทิตย์จะทำปฏิกิริยากับโมเลกุล 7-dehydrocholesterol ที่มีในผิวหนัง สร้างวิตามิน D ให้แก่ร่างกาย แต่ คนเมืองมักไม่ถูกแสงแดด ดังนั้นร่างกายจึงขาดวิตามิน D ส่วนหญิงมีครรภ์ที่มีผิวคล้ำ ผิวหนังจะทำหน้าที่ดูดกลืนแสงอัลตราไวโอเลต B ได้ไม่ดี ดังนั้นลูกที่คลอดจึงขาดวิตามิน D และนี่ก็คือเหตุผลที่ McGrath ใช้อธิบายกรณีลูกของหญิงชาว Suriname และ Afro-Caribbean มีโอกาสเป็นจิตเภทค่อนข้างสูง

    ดังนั้นถ้าความคิดของ McGrath ถูกต้องนั่นก็หมายความว่า แพทย์สามารถป้องกันเด็กมิให้เป็นจิตเภทได้ตั้งแต่เขายังอยู่ในท้อง โดยให้แม่กินวิตามิน D เสริม หรือให้แม่ที่ตั้งครรภ์อาบแดดสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ10-15 นาทีหรือกว่านั้นถ้าแม่เป็นคนผิวคล้ำ ส่วนแม่ที่ร่างกายขาดวิตามิน D หากจะให้ลูกดื่มนมจากเต้า แม่ก็ต้องกินวิตามิน D จนมั่นใจว่า ลูกได้วิตามิน D 200 IU (International Unit) ต่อวัน ลูกก็จะปลอดภัยจิตเภทและจากโรคกระดูกอ่อน แต่ข้อควรระวังคือ แม่ที่มีครรภ์ไม่ควรบริโภควิตามิน D มากจนเกินไป เพราะวิตามิน D ปริมาณมากจะทำให้ลูกที่คลอดมีร่างกายผิดปรกติ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์เวลาจะกินวิตามิน D เสริม และควรรู้ด้วยว่าการตากแดดมากเกินไปอาจทำให้เป็นมะเร็งผิวหนัง (melanoma) ได้

    สำหรับการตรวจว่าใครกำลังจะเป็นจิตเภทนั้น W. Brewer แห่งมหาวิทยาลัย Melbourne ในออสเตรเลียได้พบว่า นอกจากจะเห็นภาพหลอนหรือหูได้ยินเสียงแว่วแล้ว คนป่วยจิตเภทยังมีอาการผิดปรกติด้านการดมกลิ่นด้วย เช่นไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างกลิ่นพิซซ่ากับกลิ่นส้ม หรือกลิ่นหมากฝรั่งกับกลิ่นควันได้ Brewer ได้รายงานในวารสาร The American Journal of Psychiatry ฉบับที่ 160 ปี 2546 ว่า ในการทดสอบกับคนที่มีโอกาสเป็นจิตเภท 81 คน เป็นเวลา 2 ปี เขาพบว่ามี 12 คนที่ประสบปัญหาเรื่องกลิ่นและเป็นจิตเภทในเวลาต่อมา การวิเคราะห์คนว่าเป็นจิตเภทหรือไม่ด้วยวิธีการทดสอบของ Brewer จึงเป็นวิธีที่รวดเร็วและมีราคาถูกกว่าวิธีตรวจสมองโดยใช้ PET

    โดยสรุปเราจึงเห็นได้ว่า แม้โลกจะรู้จักจิตเภทมานานร่วม 100 ปี แต่แพทย์ก็ยังไม่รู้สาเหตุชัดเจน ดังนั้นเราจึงยังไม่มียาหรือวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพ 100% แต่เราก็รู้ว่า คนที่เป็นจิตเภทถ้าได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ จะมีโอกาสหาย การปล่อยทิ้งจนเรื้อรังจะทำให้รักษายาก และตามปรกติคนที่เป็นมักปฏิเสธว่าตนไม่เป็น ดังนั้นคนใกล้ชิดจะต้องใช้กุศโลบายเกลี้ยกล่อมให้เขาเข้ารับการรักษา ซึ่งแพทย์อาจให้กินยาหรือฉีดยาแต่จะนานแค่ไหนก็ขึ้นกับความรุนแรงของโรค อายุที่เริ่มเป็น สาเหตุที่ป่วย ความเรื้อรัง การตอบสนอง และความร่วมมือระหว่างผู้ป่วยกับญาติ การรักษาด้วยวิธีจิตบำบัด อาจทำได้โดยการพูดคุยกับคนไข้ ให้คนไข้ทำกิจกรรมกลุ่ม และฟื้นฟูสภาพจิตใจให้เปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับอาการป่วยของตน ให้คิดทำงาน ให้ทำตัวไม่ให้เป็นภาระของคนรอบข้าง ส่วนคนที่เป็นญาติก็ต้องให้กำลังใจ ให้ความใส่ใจ ให้คนไข้กินยาสม่ำเสมอ และให้ความรู้ เขาก็อาจจะหาย

    สุทัศน์ ยกส้าน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

    "หนังสือ "สุดยอดนักเคมีโลก"
    โดย ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
    มีจำหน่ายที่ศูนย์ประชุมสิริกิตติ์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 5 - 16 ตุลาคมนี้
    ที่บูธสำนักพิมพ์สารคดี ในราคา 199 บาท จากราคาปก 240 บาท"


    -http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000130738-

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...