พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. tum399

    tum399 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    732
    ค่าพลัง:
    +2,908
    ที่บ้านต้น&ตั้ม ใช้บทสวดทำวัตรเช้าเย็นของหลวงพ่อชาครับ
    หากมีวันหยุดยาวอีกลุง ป้า น้า อา สามารถไปปิดทองลูกนิมิตรที่จะนำไปสร้างอุโบสถที่อินเดียได้ที่วัดปทุมวนารามครับวัดอยู่ติดกับสยามพารากอน เข้าไปที่สวนป่าและอยู่ด้านในสุดจะมีพระพุทธรูปและรูปปั้นหลวงปู่ต่างๆ เช่นหลวงปู่มั่น หลวงปู่โต และท่านอื่นๆ ต้น&ตั้มไปสวดมนต์และปิดทองมาแล้ว อยู่ใกล้พารากอนแต่สงบมากครับ
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    ดีมากครับ (verygood)

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>"สวัสติกะ" กับความหมายที่แปรเปลี่ยน
    http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9500000025758
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>5 มีนาคม 2550 10:38 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ธงนาซี ที่มีเครื่องหมายสวัสติกะอยู่ตรงกลาง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ถามตอบรอบโลกกลับมาพบผู้อ่านอีกครั้งเป็นประจำทุกสัปดาห์ ในวันนี้ขอเลือกตอบคำถามของคุณชินรัตน์ที่อยากรู้ว่าธงนาซีเยอรมัน ในยุครุ่งเรืองของผู้นำจอมเผด็จการ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ มีความหมายอย่างไร

    ลักษณะธงนาซีเยอรมัน ตามที่คุณผู้อ่านทราบกันก็คือ ธงสีแดงมีเครื่องหมายสวัสติกะอยู่ตรงกลาง และถ้าจะให้เข้าใจลึกไปอีกคือ สวัสติกะ เป็นเครื่องหมายกากบาทที่ตรงส่วนปลายทำมุมฉากนั่นเอง

    อย่างไรก็ตาม สวัสติกะ ไม่ใช่เป็นตัวแทนของความโหดร้ายตามที่เข้าใจกัน เพราะแท้ที่จริงแล้วเครื่องหมาย "สวัสติกะ" เป็นเครื่องหมายแห่งมงคล ที่ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์มายาวนานแล้ว

    คำว่า "สวัสติกะ" มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ว่า "สุ" แปลว่า ดี ร่วมกับคำว่า "อัสติ" แปลว่า มี และ "กะ" หมายถึงอาคม และเมื่อเอาสามคำมารวมกันจีงเรียกได้ว่า สวัสดิกะ เป็นเครื่องหมายแห่งความโชคดี หรือเครื่องราง วัตถุมงคล

    อย่างไรก็ตามความหมายของสวัสติกะถูกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อกลายเป็นสัญลักษณ์ของพรรคนาซีในเยอรมนี และตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ชาวตะวันตกส่วนใหญ่ก็มองว่า สัญลักษณ์นี้เป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการ นำไปสู่ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับความหมายของสวัสติกะ ในวัฒนธรรมอื่นๆ ด้วย

    ความหมายที่แปรเปลี่ยนของ "สวัสติกะ" เป็นผลมาจากพรรคนาซี นำเครื่องหมายสวัสติกะมาใช้เป็นสัญลักษณ์ อย่างเป็นทางการในปี 1920 และบทบาทของพรรคภายใต้การนำของฮิตเลอร์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ทำให้ความหมายของสวัสติกะ เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ และมีอิทธิพลต่อการใช้สัญลักษณ์นี้อย่างแพร่หลาย

    ส่วนสาเหตุที่ฮิตเลอร์นำ "สวัสติกะ" มาใช้เป็นสัญลักษณ์ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์มีที่มาจากชนชาติอารยัน เผ่าพันธุ์ของเขาเอง ซึ่งฮิตเลอร์เชื่อว่าเก่งกล้าเหนือเผ่าพันธุ์อื่นๆ และ สวัสติกะเป็นสัญลักษณ์แห่ง "การต่อสู้เพื่อชัยชนะของชนชาติอารยัน"

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right height=10>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=right>รับไขข้อข้องใจในเรื่องเบาๆ รอบโลก ส่งคำถามมาได้ที่ around@manager.co.th</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1875
    โดย admin
    ตอบเมื่อ: 01 เม.ย.2006, 9:21 am

    พระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว
    โดย พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร



    ด้วยพระเมตตาแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อพสกนิกรชาวไทย พระองค์ประดุจพระผู้สร้างแผ่นดิน ทรงเป็นดั่งผู้มอบชีวิต มอบความรุ่งเรือง มอบความเจริญงอกงามภายในหัวใจคนไทยทั้งชาติ ทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นแรงบันดาลใจจุดประกายพลังแผ่นดิน

    หากเราได้มีโอกาสศึกษาพระบรมราโชวาท แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เราจะเข้าใจได้อย่างแจ่มชัดด้วยคำสอนที่พระองค์ทรงพระราชทานให้แต่ละข้อแต่ละอย่างนั้น ล้วนเกิดขึ้นจากการที่พระองค์ ทรงไตร่ตรองพิเคราะห์ถึงปัญหานั้นอย่างถ่องแท้แล้วว่า จะเป็นหนทางแห่งการแก้ปัญหาการดับทุกข์ได้ด้วยสมาธิ

    ธรรมดาสภาวะจิตอันเป็นสมาธินั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นจากการบังคับควบคุม เกิดขึ้นจากความผ่อนคลาย หรือเกิดขึ้นจากภาวะคับขันต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตรงหน้าจะทำให้ต้อง เร่งรวบรวมสติให้มั่น ไม่ว่าสมาธิจะเกิดขึ้นอย่างไร สมาธิเป็นของดี เป็นของที่เกิดขึ้นได้จากการฝึกฝน เป็นของที่มีอยู่ในกายและในจิตอันพร้อมเป็นของเข้าใจได้ เป็นของเข้าใจง่าย และใช้ได้กับคนทุกเพศทุกวัย และความเข้าใจอันแจ่มชัดที่แสดงให้เห็นว่า สมาธิเองก็มิใช่ของที่เกิดขึ้นโดยลำพังหรือใช้โดยลำพัง แต่สมาธิที่ดีจะยังประโยชน์แก่ผู้อื่นได้มาก หากผู้ใช้สมาธิรู้จักการปฏิบัติอันถูกต้อง ถูกต้องทั้งแก่ตนแลถูกต้องทั้งแก่ผู้อื่น ดังที่ได้ศึกษาจากรอยพระจริยวัตรแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อันได้แสดงไว้ถึงเรื่องราวของ "พระสมาธิ"

    ผู้ที่เคยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในงานหรือพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องประทับอยู่เป็นเวลานานๆ เช่น ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร คงจะได้เห็นด้วยความพิศวงกันทุกคนว่า พระเจ้าอยู่หัวนั้นเมื่อทรงนั่งลงแล้ว จะประทับอยู่ในพระอิริยาบถนั้นตั้งแต่เริ่มพิธีไปจนกระทั่งจบไม่ทรงเปลี่ยนพระอิริยาบถเลย

    นอกจากนั้น ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างกระฉับกระเฉงต่อเนื่อง ไม่มีพระอาการที่แสดงว่าทรงเหนื่อย หรือทรงเบื่อเลย ผมเคยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร พิธีนั้นยาวถึงประมาณ ๔ ชั่วโมง และมีบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาเฝ้าฯ รับพระราชทานปริญญาบัตรเป็นจำนวนหลายพันคน ได้เห็นเหตุการณ์เช่นว่านั้น แต่ผมได้เห็นมากกว่านั้นคือ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับไปถึงพระตำหนักจิตรลดารโหฐานในตอนค่ำวันนั้น พระเจ้าอยู่หัวยังทรงออกพระกำลังบริหารพระวรกายด้วยการวิ่งในศาลาดุสิตาลัยอีก

    ในการประกอบพระราชกรณียกิจอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติด้วยพระอาการที่แสดงว่าเอาพระทัยจดจ่ออยู่กับพระราชกรณียกิจนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ทรงเหนื่อยหรือเบื่อหน่าย เช่น ในการทรงดนตรี (ที่ใครๆ มักจะนึกว่าเป็นการหย่อนพระราชหฤทัย) เป็นต้น ผมเคยเห็นพระเจ้าอยู่หัวประทับทรงดนตรีตั้งแต่หัวค่ำจนสว่าง โดยทรงนั่งไม่ลุกเลยแม้แต่จะเพื่อเสด็จฯ ไปห้องสรง ในขณะที่นักดนตรีอื่นๆ ลงกราบแล้วถอยหลังลุกไปเข้าห้องน้ำกันเป็นครั้งคราวทุกคน

    ในการทรงเรือใบก็เช่นเดียวกัน ทรงจดจ่ออยู่กับการบังคับเรืออย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบ ครั้งหนึ่งเสด็จฯ ออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นเรือใบเข้าฝั่ง ตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯ อยู่ ด้วยความฉงนว่า เสด็จฯ กลับเข้าฝั่งเพราะเรือใบพระที่นั่งแล่นไปโดนทุ่นเข้าซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่า ฟาวล์ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครเห็น

    แสดงว่าการทรงดนตรีก็ดี ทรงเรือใบก็ดี สำหรับพระเจ้าอยู่หัวเป็นงานอีกชนิดหนึ่ง ที่จะต้องทำด้วยความจดจ่อและต่อเนื่องไปจนกว่าจะเสร็จเหมือนกัน

    พระราชกรณียกิจอื่นๆ ทั้งน้อยและใหญ่ ทรงปฏิบัติแบบเดียวกัน คือด้วยการเอาพระราชหฤทัยจดจ่อไม่ทรงยอมให้ขาดจังหวะจนกว่าจะเสร็จ และไม่ทรงทิ้งขว้างแบบทำๆ หยุดๆ เพราะฉะนั้นจึงจะเห็นว่าพระราชกรณียกิจทั้งหลายนั้น สำเร็จลุล่วงไปเป็นส่วนใหญ่


    ผมไปรู้เอาหลังจากที่เข้ารับราชการในตำแหน่งนายตำรวจราชสำนักประจำอยู่ได้ไม่นานว่า ที่ทรงสามารถจดจ่ออยู่กับพระราชกรณียกิจทุกชนิดได้เช่นนั้นก็เพราะพระสมาธิ

    ผมไม่ทราบว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มฝึกสมาธิตั้งแต่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงจะเริ่มในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ เมื่อทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) หลังจากทรงผนวชแล้ว ประทับจำพรรษาอยู่ที่พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอยู่ในสมณเพศเป็นเวลา ๑๕ วัน ครั้งนั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งทรงเป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ทรงเลือกสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (เมื่อครั้งยังเป็นพระโสภณคณาภรณ์) ให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่ทราบกันดีว่า แม้จะทรงมีเวลาน้อยแต่พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด และคงจะได้ทรงฝึกเจริญพระกรรมฐานในโอกาสนั้นด้วย

    เมื่อผมเข้าไปเป็นนายตำรวจราชสำนักประจำในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ นั้น ปรากฏว่า การศึกษาและปฏิบัติสมาธิหรือกรรมฐานในราชสำนักกำลังดำเนินอยู่แล้ว พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติเป็นประจำ และข้าราชสำนักข้าราชบริพารหลายคนทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารก็กำลังเจริญรอยพระยุคลบาทอยู่ด้วยการฝึกสมาธิอย่างขะมักเขม้น

    ผมไม่ได้ตั้งใจจะหัดสมาธิ แม้จะเคยศึกษามาก่อนโดยเฉพาะจากหนังสือของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ แต่ระหว่างการตามเสด็จฯ โดยรถไฟ จากกรุงเทพมหานครไปอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ การเดินทางไกลกว่าที่ผมคาดคิด หนังสือเล่มเดียวที่เตรียมไปอ่านฆ่าเวลาบนรถไฟ ก็อ่านจบเล่มเสียตั้งแต่กลางทาง ขณะนั้นผมเห็นนายทหารราชองครักษ์ประจำที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยร่วมกันสองนาย ใช้เวลาว่างนั่งหลับตาทำสมาธิ ผมจึงลองทำดูบ้างโดยใช้อานาปานสติ (คือกำหนดรู้แต่เพียงว่ากำลังหายใจเข้า และหายใจออก) อันเป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ และท่านอาจารย์พุทธทาสแนะนำ ปรากฏว่าจิตสงบเร็วกว่าที่ผมคาด แลเห็นนิมิตเป็นภาพสีสวยๆ งามๆ มากมาย และเป็นเวลาค่อนข้างนานด้วย ตั้งแต่นั้นมาผมก็ติดสมาธิและกลายเป็นอีกผู้หนึ่งที่ปฏิบัติสมาธิเป็นประจำมาจนทุกวันนี้

    เมื่อความทราบถึงพระกรรณว่าผมเริ่มปฏิบัติสมาธิ พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงกรุณาพระราชทานหนังสือ และแถบบันทึกเสียงคำสอนของครูบาอาจารย์ต่างๆ ลงมา และบางครั้งก็ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำรัสแนะนำด้วยพระองค์เอง ผมจึงได้รู้ว่า พระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัวนั้นก้าวหน้าไปแล้วเป็นอันมาก รับสั่งเล่าเองว่าแม้จะทรงใช้อานาปานสติเป็นอุบายในการทำสมาธิ แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ไม่ทรงสามารถที่จะกำหนดพระอัสสาสะ (ลมหายใจเข้า) และพระปัสสาสะ (ลมหายใจออก) ได้แต่ลำพัง ต้องทรงนับกำกับ

    วิธีนับของพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงทำดังนี้ หายใจเข้าครั้งที่หนึ่ง นับหนึ่ง หายใจเข้าครั้งที่สอง นับสอง หายใจเข้าครั้งที่สาม นับสาม หายใจเข้าครั้งที่สี่ นับสี่ หายใจเข้าครั้งที่ห้า นับห้า หายใจออกครั้งที่หนึ่ง นับหนึ่ง หายใจออกครั้งที่สอง นับสอง หายใจออกครั้งที่สาม นับสาม หายใจออกครั้งที่สี่ นับสี่ หายใจออกครั้งที่ห้า นับห้า

    เมื่อถึงห้าแล้ว หากจิตยังไม่สงบ ก็นับถอยหลังจากห้าลงมาหาหนึ่ง แล้วนับจากหนึ่งขึ้นไปหาห้าใหม่ กลับไปกลับมาเช่นนั้นจนกว่าจิตจะสงบ รับสั่งว่า ที่เห็นพระองค์ประทับอยู่นิ่งๆ นั้น พระจิตทรงอยู่กับหนึ่งเข้าหนึ่งออกตลอดเวลา


    พระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาเรื่องสมาธิด้วยการรวบรวม และประมวลคำสอนของครูบาอาจารย์ทุกคนแล้ว ก็ทรงพระกรุณาพระราชทานประมวลคำสอนนั้นแก่ผู้ที่ทรงทราบว่ากำลังปฏิบัติสมาธิอยู่

    ครั้งหนึ่ง ทรงพระกรุณาพระราชทานแถบบันทึกเสียงของสมเด็จพระญาณสังวรฯ ให้ผม รับสั่งว่าเป็นบันทึกเสียงการแสดงธรรมเรื่อง ฉฉักกสูตร (คือพระสูตรว่าด้วยธรรมะ หมวด ๖ รวม ๖ ข้อ ซึ่งอธิบายความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวมีตนของสิ่งต่างๆ มีอายตนะภายนอก อายตนะภายใน วิญญาณ ผัสสะ เวทนา และตัณหา พระสูตรนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน) และทรงแนะนำให้ผมฟังธรรมบทนั้น

    ผมรับพระราชทานแถบบันทึกเสียงม้วนนั้นมาแล้วก็เอาไปใส่เครื่องบันทึกเสียงและเปิดฟัง ฟังไปได้ไม่ทันหมดม้วนก็ปิด แล้วก็เก็บเอาไว้ไม่ได้ฟังอีก หลังจากนั้นไม่นานนัก ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งถามว่า ฟังเทปของสมเด็จฯ แล้วหรือยัง เป็นอย่างไร

    ผมไม่อาจจะกราบบังคมทูลความอันเป็นเท็จได้ ต้องกราบบังคมทูลตรงๆ ว่าฟังได้ไม่ทันจบม้วนก็ได้หยุดฟังเสียงแล้ว ตรัสถามต่อไปถึงเหตุผลที่ผมไม่ฟังให้จบ และผมก็จำเป็นต้องกราบบังคมทูลตรงๆ ว่า สมเด็จฯ ท่านเทศน์ฟังไม่สนุก พูดขาดเป็นวรรคๆ เป็นห้วงๆ เนื่องจากสมเด็จฯ พิถีพิถันในการใช้ถ้อยคำและประโยคเทศน์ของท่านนั้น ถ้าเอามาพิมพ์ก็จะอ่านได้สบายกว่าฟัง

    พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า ที่ฟังสมเด็จฯ เทศน์ไม่รู้เรื่องนั้นก็เพราะคิดไปก่อนหรือไม่ว่า สมเด็จฯ ท่านจะพูดว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ครั้นท่านพูดช้ากว่าที่คิด หรือพูดออกมาแล้วไม่ตรงกับที่คาดหมายจึงเบื่อ เมื่อผมนิ่งไม่กราบบังคมทูลตอบ ก็ทรงแนะนำว่าให้กลับไปฟังใหม่ คราวนี้อย่าคิดไปก่อนว่าสมเด็จฯ จะพูดว่าอย่างไร สมเด็จฯ หยุดก็ให้หยุดด้วย ผมกลับมาทำตามพระราชกระแสรับสั่ง เปิดเครื่องบันทึกเสียงฟังเทศน์ของสมเด็จฯ จากแถบบันทึกเสียงม้วนนั้นใหม่ตั้งแต่ต้น ฟังด้วยสมาธิ

    สมเด็จฯ หยุดตรงไหน ผมก็หยุดตรงนั้น และไม่คิดๆ ไปก่อนว่า สมเด็จฯ จะพูดว่าอย่างไร คราวนี้ผมฟังได้จนจบและเห็นว่าจริงดังพระราชดำรัส แถบบันทึกเสียงม้วนนั้น เป็นม้วนที่ดีที่สุดม้วนหนึ่ง

    ครั้งหนึ่ง หลังจากที่นั่งสมาธิแล้ว ผมได้มีโอกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและกราบบังคมทูลประสบการณ์ที่ได้ขณะทำสมาธิ ผมกราบบังคมทูลว่า ขณะที่นั่งสมาธิครั้งนั้น รู้สึกว่าตัวเองลอยขึ้นจากพื้นสูงประมาณศอกหนึ่ง ทีแรกก็ยังไม่รู้สึกอะไรแต่ครั้นหัวเริ่มคล้อยลงไปข้างหน้า ทำท่าเหมือนจะตีลังกา ผมก็ตกใจและต้องเลิกทำสมาธิ

    พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวิจารณ์ว่า ถ้าหากสติยังอยู่ ยังรู้ตัวว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น ก็ไม่ควรจะเลิก แต่ควรจะปล่อยให้เป็นไปตามสภาพนั้น

    อีกครั้งหนึ่ง หลังจากทำสมาธิแล้ว ผมกราบบังคมทูลว่า พอจิตสงบผมรู้สึกว่าตัวเองกำลังเลื่อนต่ำลงไปในท่อขนาดใหญ่ และที่ปลายท่อข้างล่าง ผมแลเห็นแสงสว่างเป็นจุดเล็กๆ แสดงว่าท่อยาวมาก กลัวจะหลุดออกจากท่อไป ผมก็เลยเลิกทำสมาธิ รับสั่งเช่นเดียวกันว่า หากยังรู้ตัว (มีสติ) อยู่ ก็ไม่ควรเลิก ถึงหากจะหลุดออกนอกท่อไปก็ไม่เป็นไร ตราบเท่าที่สติยังอยู่และรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับตน

    ต่อมาภายหลังจากการศึกษาคำสอนของครูบาอาจารย์ทุกท่าน และโดยเฉพาะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสสอนให้ "ดำรงสติให้มั่น" ในเวลาทำสมาธิ

    ในส่วนที่เกี่ยวกับพระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว เคยตรัสเล่าให้ผมฟังว่า ครั้งหนึ่งขณะที่กำลังทรงทำสมาธิอยู่ พระจิตสงบและเกิดนิมิต ในนิมิตนั้นพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระ เนตรเห็นพระกร (แขนท่อนล่าง) ลอกออกทีละชั้นๆ ตั้งแต่จากพระตจะ (หนัง) ลงไปจนถึงพระอัฐิ (กระดูก)

    พระเจ้าอยู่หัวทรงประยุกต์พระสมาธิในการประกอบพระราชกรณียกิจทุกอย่างทั้งน้อยและใหญ่ จึงทรงสามารถเผชิญกับพระราชภาระอันหนัก ในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ได้โดยไม่ทรงสะทกสะท้านหรือหวั่นไหว ไม่ทรงคาดการณ์ล่วงหน้าไปไกลๆ อย่างเลื่อนลอยและเปล่าประโยชน์ ไม่ทรงอาลัยอดีตหรืออนาคต ไม่ทรงเสียเวลาหวั่นไหวไปกับความสำเร็จหรือความล้มเหลว อันเป็นเรื่องที่ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ทรงจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ทรงสนพระราชหฤทัยอยู่แต่กับพระราชกรณียกิจเฉพาะพระพักตร์เท่านั้น

    ในฐานะที่เกิดมาเป็นพลเมืองของประเทศที่มีพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้เป็นพระประมุข และในฐานะที่ทุกคนมีหน้าที่ในการทำนุบำรุงเมืองไทยนี้ให้เป็นที่ร่มเย็นของเรา และของลูกหลานของเรา จึงสมควรที่เราจะเจริญรอยประพฤติตามพระยุคลบาทด้วยการศึกษาและปฏิบัติสมาธิกันอย่างจริงจัง และนำสมาธิมาประยุกต์ในการดำเนินชีวิตเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา



    ....................................................

    คัดลอกมาจาก
    http://www.ybat.org/
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6811
    โดย ลูกโป่ง

    มหากษัตริย์ยอดกตัญญู
    โดย พ.อ. (พิเศษ) ทองคำ ศรีโยธิน
    [​IMG]

    ลูกๆ ทุกคน...ก็ได้รู้กันแล้วว่า
    ความหวังของแม่ ที่มีต่อลูก ๓ หวังคือ

    ยามแก่เฒ่า หวังเจ้า เฝ้ารับใช้
    ยามป่วยไข้ หวังเจ้า เฝ้ารักษา
    เมื่อถึงยาม ต้องตาย วายชีวา
    หวังลูกช่วย ปิดตา เมื่อสิ้นใจ

    ทีนี้...มาดูตัวอย่างบ้าง...บุคคลที่เป็นยอดกตัญญู
    ที่ประทับใจอาจารย์มากที่สุด คือใคร ทราบไหม ?
    คือคนในภาพนี้...ในหลวงของเรา
    ในหลวง...นอกจากจะเป็นยอดพระมหากษัตริย์ของโลก
    ...เป็น THE KING OF KING แล้ว
    ในหลวงของเรา ยังเป็นกษัตริย์ยอดกตัญญูด้วย

    ความหวังของแม่...ทั้งสามหวัง
    ในหลวงปฏิบัติตามได้ครบถ้วน...สมบูรณ์
    เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดให้แก่พวกเรา
    ในหลวงทำกับแม่ยังไง ?
    ตามอาจารย์มา...อาจารย์จะฉายภาพให้เห็น...

    หวังที่ ๑ ยามแก่เฒ่า...หวังเจ้า...เฝ้ารับใช้...


    ****************************************

    ใครเคยเห็นภาพที่สมเด็จย่า
    เสด็จไปในที่ต่างๆ แล้วมีในหลวง...ประคองเดินไป
    ตลอดทาง...เคยเห็นไหม...? ใครเคยเห็น...
    กรุณายกมือให้ดูหน่อย...ขอบคุณ...เอามือลง

    ตอนสมเด็จย่าเสด็จไปไหนเนี่ย...มีคนเยอะแยะ...
    มีทหาร...มีองครักษ์...มีพยาบาล...
    ที่คอยประคองสมเด็จย่าอยู่แล้ว
    แต่ในหลวงบอกว่า...

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • pic20.jpg
      pic20.jpg
      ขนาดไฟล์:
      20.5 KB
      เปิดดู:
      1,066
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มีนาคม 2007
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6811
    โดย ลูกโป่ง

    มหากษัตริย์ยอดกตัญญู
    โดย พ.อ. (พิเศษ) ทองคำ ศรีโยธิน


    หวังที่ ๒ ยามป่วยไข้...หวังเจ้า...เฝ้ารักษา


    *************************************

    ดูว่าในหลวงทำกับแม่ยังไง...?
    สมเด็จย่า...ประชวรอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช...
    ในหลวงไปเยี่ยมตอนไหนครับ...?

    ไปเยี่ยมตอน ตี ๑ ตี ๒ ตี ๔ เศษๆ...จึงเสด็จกลับ...
    ไปเฝ้าแม่วันละหลายชั่วโมง...

    แม่...พอเห็นลูกมาเยี่ยม...ก็หายป่วยไปครึ่งหนึ่งแล้ว...

    ทีมแพทย์ที่รักษาสมเด็จย่า...เห็นในหลวงมาเยี่ยม
    มาประทับ ก็ต้องฟิต...ตามไปด้วย
    ต้องปรึกษาหารือกันตลอดว่า
    ...จะให้ยายังไง...จะเปลี่ยนยาไหม...?
    จะปรับปรุงการรักษายังไง...ให้ดีขึ้น...
    ทำให้สมเด็จย่า...ได้รับการดูแลที่ดีขึ้น...
    เห็นภาพไหม...?

    กลางคืน...ในหลวงไปอยู่กับสมเด็จย่า...
    คืนละหลายชั่วโมง...ไปให้ความอบอุ่นทุกคืน

    ลองหันมาดูตัวเองซิ...ตอนพ่อแม่ป่วย...
    โผล่หน้าเข้าไปดูหน่อยนึง
    ถามว่า...ตอนนี้...อาการเป็นยังไง...?

    พ่อแม่...ยังไม่ทันได้ตอบเลย
    ฉันมีธุระ งานยุ่ง ต้องไปแล้ว...โผล่หน้าไปให้เห็น
    พอแค่เป็นมารยาท...แล้วก็กลับ...
    เราไม่ได้ไปเพราะความกตัญญู...
    เราไม่ได้ไปเพื่อทดแทนพระคุณท่าน...น่าอายไหม...?

    ในหลวง...เสด็จไปประทับกับแม่...
    ตอนแม่ป่วย...ไปทุกวัน...ไปให้ความอบอุ่น...
    ประทับอยู่วันละหลายชั่วโมง...นี่คือ...สิ่งที่ในหลวงทำ

    คราวหนึ่ง...ในหลวงป่วย...สมเด็จย่า...ก็ป่วย...
    ไปอยู่ศิริราช...ด้วยกัน...อยู่คนละมุมตึก...
    ตอนเช้า...ในหลวงเปิดประตู...แอ๊ด..........ออกมา...
    พยาบาลกำลังเข็นรถสมเด็จย่า
    ...ออกมารับลมผ่านหน้าห้องพอดี

    ในหลวง...พอเห็นแม่...รีบออกจากห้อง...
    มาแย่งพยาบาลเข็นรถ
    มหาดเล็ก...กราบทูลว่า ไม่เป็นไร...ไม่ต้องเข็น
    มีพยาบาลเข็นให้อยู่แล้ว
    ในหลวงมีรับสั่งว่า...
    แม่ของเรา...ทำไมต้องให้คนอื่นเข็น
    เราเข็นเองได้...


    นี่ขนาดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน...เป็นกษัตริย์...
    ยังมาเดินเข็นรถให้แม่
    ยังมาป้อนข้าว...ป้อนน้ำให้แม่...
    ป้อนยาให้แม่ให้ความอบอุ่นแก่แม่...เลี้ยงหัวใจแม่...
    ยอดเยี่ยมจริงๆ...เห็นภาพนี้แล้ว...ซาบซึ้ง...

    หวังที่ ๓ เมื่อถึงยาม...ต้องตาย...วายชีวา...


    **************************************
    หวังลูกช่วย...ปิดตา...เมื่อสิ้นใจ

    **************************************

    วันนั้น...ในหลวง...เฝ้าสมเด็จย่า
    อยู่จนถึงตี ๔ ตี ๕ เฝ้าแม่อยู่ทั้งคืน...
    จับมือแม่...กอดแม่...ปรนนิบัติแม่
    ...จนกระทั่ง “แม่หลับ...” จึงเสด็จกลับ...

    พอไปถึงวัง...เขาโทรศัพท์มาแจ้งว่า...
    สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์...
    ในหลวง...รีบเสด็จกลับไป...ศิริราช...
    เห็นสมเด็จย่านอนหลับตาอยู่บนเตียง...
    ในหลวงทำยังไงครับ...?

    ในหลวงตรงเข้าไป...คุกเข่า...
    กราบลงที่หน้าอกแม่...พระพักตร์ในหลวง...
    ตรงกับหัวใจแม่...
    “ขอหอมหัวใจแม่...เป็นครั้งสุดท้าย...”
    ซบหน้านิ่ง...อยู่นาน...
    แล้วค่อยๆ...เงยพระพักตร์ขึ้น...น้ำพระเนตรไหลนอง...

    ต่อไปนี้...จะไม่มีแม่ให้หอมอีกแล้ว...
    เอามือ...กุมมือแม่ไว้ มือนิ่มๆ ...
    ที่ไกวเปลนี้แหละที่ปั้นลูก...จนได้เป็นกษัตริย์...
    เป็นที่รักของคนทั้งบ้านทั้งเมือง...ชีวิตลูก...แม่ปั้น...

    มองเห็นหวี...ปักอยู่ที่ผมแม่...
    ในหลวงจับหวี...ค่อยๆ หวีผมให้แม่
    ...หวี...หวี...หวี...หวี...ให้แม่สวยที่สุด...
    แต่งตัวให้แม่... ให้แม่สวยที่สุด...
    ในวันสุดท้ายของแม่...


    เป็นภาพที่ประทับใจอาจารย์ที่สุด...
    เป็นสุดยอดของลูกกตัญญู...
    หาที่เปรียบไม่ได้อีกแล้ว...
    กษัตริย์...ยอดกตัญญู


    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    คัดลอกจาก....
    คัดลอกจากหนังสือเรื่อง หยุดความเลว...ที่...ไล่ล่าคุณ
    โดย พ.อ. (พิเศษ) ทองคำ ศรีโยธิน
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/book/dhamma3/

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    คัดลอกโดย คุณ new
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๑​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    หัวใจพุทธศาสนาคืออะไร ว่ากันไปหลายอย่าง ถูกทั้งนั้น อันไหนก็ได้

    พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการที่เรียกกันว่า "หัวใจพระพุทธศาสนา" เป็นคำไทยที่เราพูดกันง่ายๆ ถ้าพูดเป็นภาษาบาลี คือ "โอวาทปาฎิโมกข์" หลักที่ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา คือคำไทยที่สรุปพุทธพจน์ง่ายๆ สั้นๆ ว่า "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์" ภาษาพระหรือภาษาบาลีว่า.....
    " สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ "
    แปลให้เต็มเลยว่า "การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้เพรียบพร้อม การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"
    คำลงท้ายว่า "นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย" ทำให้เราคิดว่านี่แหละเป็นคำสรุป แสดงว่าเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาอยู่ที่นี่ เราก็เลยเรียกว่า "หัวใจ" มาเป็นจุดเริ่มต้น แต่กระนั้นชาวพุทธผู้ได้ฟังพระสอนมามากๆ พระอาจารย์หรือพระเถระผู้ใหญ่บางท่านพูดถึงหลักการอื่นว่า อันโน้นสิ อันนี้สิ เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา บางทีโยมก็ชักงง จึงขอยกเอาเรื่องนี้มาพูดว่าอะไรกันแน่ที่เรียกว่าเป็น หัวใจพระพุทธศาสนา
    บางท่านบอกว่า "อริยสัจสี่" เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา เพราะว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดรวมอยู่ในอริยสัจสี่ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว เสด็จไปแสดงปฐมเทศนา พระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร
    ….. พระองค์ตรัสพุทธพจน์ตอนหนึ่ง มีความว่า ตราบใดที่เรายังไม่ (จตูสุ อริยสจฺเจสุ ติปริวฎฺฎํ ทวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ) มีญาณทัศนะที่มีปริวัฎ ๓ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจสี่ เราก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่า ได้ตรัสรู้ ต่อเมื่อเรามีญาณทัศนะนั้น จึงปฏิญาณได้ว่า ตรัสรู้ หมายความว่า ตรัสรู้อริยสัจสี่ครบ ๓ ด้าน คือรู้ว่าคืออะไร แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่ออริยสัจสี่แต่ละอย่างนั้นคืออะไร และรู้ว่าได้ทำหน้าที่ต่ออริยสัจนั้นแล้ว เวียนไปทุกข้อเรียกว่า ๓ ปริวัฎ
    อธิบายว่า..... รู้ในอริยสัจสี่แต่ละอย่างเริ่มตั้งแต่รู้ว่าทุกข์คืออะไร เราจะต้องทำอะไรต่อทุกข์ แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่อทุกข์นั้นเราได้ทำแล้ว ถ้ายังไม่รู้อริยสัจด้วยญาณทัศนะครบทั้ง ๓ ในแต่ละอย่าง (รวมทั้งหมดเป็น ๑๒ เรียกว่ามีอาการ ๑๒) ก็ยังไม่สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ
    ต่อเมื่อได้ตรัสรู้อริยสัจ โดยมีญาณในอริยสัจแต่ละข้อครบทั้ง ๓ รวมเป็น ๑๒ จึงปฏิญาณได้ว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจสี่ และการตรัสรู้อริยสัจสี่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า อริยสัจสี่จึงเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
    บางท่านไปจับเอาที่พระไตรปิฎกอีกตอนหนึ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้กระทัดรัดมากว่า..... "ปุพฺเพจาหํ ภิกฺขเว เอตรหิ จ ทุกขญฺเจว ปญฺญาเปมิ ทุกขสฺส จ นิโรธํ " ภิกษุทั้งหลายทั้งในกาลก่อนแลบัดนี้ เราบัญญัติแต่ทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น ถ้าจับตรงนี้ก็แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนทั้งหมดนั้น หลักการของพระพุทธศาสนาก็มีเท่านี้ คือ ทุกข์และความดับทุกข์
    ท่านพุทธทาสกล่าวถึงหลักอีกข้อหนึ่งให้ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา คือ..... "สพฺเพ ธฺมมา นาลํ อภินิเวสาย " แปลว่า "ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น" ..... คำว่า "นาลํ" แปลว่าไม่ควร หรือ ไม่อาจ ไม่สามารถ คำว่า "ไม่ควร " ในที่นี้หมายความว่า เราไม่อาจไปยึดมั่นมันได้ เพราะมันจะไม่เป็นไปตามใจเราแน่นอน เมื่อมันไม่อาจจะยึดมั่น เราก็ไม่ควรจะยึดมั่นมัน อันนี้ท่านถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา เมื่อได้พังอย่างนี้ ก็ทำให้เราสงสัยกันว่าจะเอาหลักอันไหนดีเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ก็เลยขอให้ความเห็นว่าอันไหนก็ได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๒​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    แต่ต้องระวัง อันไหนก็ได้ จะทำให้พุทธศาสนาง่อนแง่น
    ชาวพุทธต้องมีหลักที่แน่ชัด ให้ปฏิบัติเด็ดแน่วเป็นหนึ่งเดียว

    แต่การพูดว่า "อันไหนก็ได้" ก็ไม่ดีเหมือนกันเพราะทำให้ชาวพุทธเหมือนว่าไม่มีอะไรลงตัวแน่นอน แล้วกลายเป็นคนที่เอาอย่างไรก็ได้ โงนเงนง่อนแง่นหรือแกว่งไปแกว่งมา เหมือนไม่มีหลัก ก็จะกลายเป็นไม่ได้เรื่อง เราต้องชัดเจนว่า ที่อันไหนก็ได้นั้น ทั้งหมดคืออันเดียวกัน เพราะการพูดถึงหลักคำสอนเหล่านี้นั้น เป็นการพูดโดยจับแง่มุมต่างๆ กันของคำสอน ซึ่งทั้งหมดอยู่ในระบบเดียวกันโยงถึงกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    ถ้าพูดว่าหัวใจพระพุทธศาสนาคือ "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส" หัวใจที่ว่านี้เป็นหลักในเชิงปฏิบัติเป็นเรื่องการดำเนินชีวิตว่า เราจะไม่ทำชั่ว ทำดี และทำใจให้ผ่องใส
    ทีนี้ลองไปดูหลักอริยสัจสี่ ซึ่งมี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จะเห็นว่าข้อที่ ๔ คือ "มรรค" เป็นข้อปฏิบัติ
    มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น และสัมมาสมาธิเป็นข้อสุดท้าย องค์ทั้ง ๘ นี้ ก็จำยาก จึงย่อง่ายๆ เหลือ ๓ เท่านั้น คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    ศีล คือ เว้นชั่ว….. สมาธิ คือ ทำความดีให้ถึงพร้อม….. ปัญญา คือ ชำระจิตใจให้ผ่องใส พอแยกแยะอย่างนี้แล้วก็เห็นว่า เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ ที่ว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา นั้น ก็อยู่ใน มรรค นี่เองเป็นอริยสัจ ข้อที่ ๔ คือ ข้อสุดท้าย
    ทุกข์ คือ ตัวปัญหา เป็นสิ่งที่เราไม่เอา ยังไม่ต้องปฏิบัติ เราต้องรู้ให้ชัดว่าอะไรเป็นปัญหาที่เราจะต้องพ้นไป….. สมุทัย คือ ตัวเหตุแห่งทุกข์ ต้องสืบสาวให้รู้ตามหลักความจริงที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยว่า ทุกข์เกิดจากเหตุ และเหตุนั้นคืออะไร เหตุนั้นเรารู้ว่าจะต้องกำจัด แต่เรายังไม่ได้ทำอะไร จากนั้นเราก็รู้ว่าเมื่อกำจัดเหตุแห่งทุกข์ได้ เราจะเข้าถึงจุดหมายคือ….. นิโรธ แต่ทั้งหมดนี้จะสำเร็จได้ด้วยการลงมือทำในข้อสุดท้ายคือ มรรค ฉะนั้น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ สามอย่างนี้เราเข้าใจว่ามันคืออะไร เราจะต้องทำอะไรต่อมัน แต่เราปฏิบัติมันไม่ได้ สิ่งที่จะปฏิบัติได้คือ ข้อที่ ๔ ได้แก่….. มรรค เมื่อเราปฏิบัติตาม มรรค เราก็กำจัด สมุทัย แก้เหตุแห่งทุกข์ได้เราก็พ้นทุกข์ หมดปัญหา และเราก็บรรลุนิโรธ เข้าถึงจุดหมายได้สามารถทำให้สำเร็จงานสำหรับ ๓ ข้อแรกทั้งหมด เป็นอันว่า สิ่งที่เราต้องปฏิบัติมีอยู่ข้อเดียวคือ ข้อ ๔ แต่เราต้องรู้ ๓ ข้อข้างต้นด้วย
    ถึงตอนนี้กลับไปดูหลัก เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ จะเห็นว่าเป็นหลักในภาคปฏิบัติทั้งหมดของพระพุทธศาสนา ซึ่งอยู่ใน มรรค คือ ข้อที่ ๔ ของอริยสัจ เพราะมรรคเป็นฝ่ายลงมือทำ ลงมือปฏิบัติ ในแง่ของหลักความจริงตามสภาวะว่าเป็นอย่างไร จุดหมายคืออย่างไร ก็อยู่ในข้อ ๑ - ๒ - ๓ ของอริยสัจ
    เพราะฉะนั้น อริยสัจ กว้างกว่าและครอบคลุมหลัก เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ด้วย สำหรับชาวพุทธทั่วไป เริ่มต้นก็ให้เห็นก่อนว่าจะปฏิบัติอะไร เมื่อปฏิบัติไปได้ระดับหนึ่งก็จะต้องรู้หลักความจริงทั่วไปด้วย มิฉะนั้นการปฏิบัติก็ไปไม่ตลอด ถึงตอนนั้นต้องรู้หลักอริยสัจสี่
    อย่าลืมว่า ได้หลักแน่ชัดแล้วนะ เริ่มด้วย "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส" นี่แหละเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาไว้ก่อน แล้วก้าวต่อไปให้ครบ อริยสัจทั้ง ๔ ให้ได้จึงจะเป็นชาวพุทธที่แท้จริงและสมบูรณ์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๓​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    ว่ากันไป กี่หลักกี่หัวใจ ในที่สุดก็หลักใหญ่เดียวกัน

    ทีนี้ลองเทียบหลักอื่นอีก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ "ทั้งในกาลก่อนและบัดนี้ เราบัญญัติแต่ทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น" อันนี้คือ อริยสัจ ๔ แบบสั้นที่สุด ย่อเป็น ๒ คู่ คือ
    ทุกข์ และ สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ อันนี้ ๑ คู่
    นิโรธ ความดับทุกข์ และ มรรค ทางให้ถึงความดับทุกข์ก็ ๑ คู่
    ยังมีอีก คือเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ตอนจะออกประกาศพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงพระดำริ ซึ่งมีความตอนนี้ในพระไตรปิฎกบอกว่า….. "อธิคโต โข มฺยายํ ธมฺโม" ธรรมที่เราบรรลุนี้ ทุรนุโพโธ เป็นของที่รู้ตามได้ยาก กล่าวคือ หนึ่ง …. อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท สอง….. นิพพาน แล้วพระองค์ก็ตรัสเล่าต่อไปว่า พระองค์ทรงดำริว่า หมู่สัตว์ทั้งหลาย มักหลงระเริงกันอยู่ในสิ่งที่ล่อให้ติด ยากที่จะเข้าใจหลักการทั้ง ๒ นี้ จึงน้อมพระทัยไปในทางที่จะไม่ทรงสั่งสอน
    แต่ถ้าเราโยงดูก็บอกได้ว่าสาระไม่ไปไหน ที่แท้ก็อันเดียวกันนั่นแหละ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องทุกข์และสมุทัย แทนที่จะจับที่ปรากฏการณ์คือ ทุกข์ ก็จับที่กระบวนการของกฏธรรมชาติ เริ่มที่ข้อสมุทัย ดูเหตุปัจจัยที่เป็นไปจนปรากฏทุกข์เป็นผลขึ้น จึงรวมทั้งข้อทุกข์และสมุทัย ดังจะเห็นได้ว่าเวลาตรัส ปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้าทรงสรุปว่า….. "เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนธสฺส สมุทโย โหติ" แปลว่า "สมุทัย คือ การเกิดขึ้นพร้อมแห่งทุกข์ จึงมีด้วยประการฉะนี้" หมายความว่า จากความเป็นไปตามกระบวนการของกฎธรรมชาตินี้ จึงเกิดมีทุกข์ขึ้น
    เพราะฉะนั้น ข้อว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ก็คือตรัสเรื่อง ทุกข์ และ สมุทัย จากนั้นอีกอย่างที่ตรัสไว้ คือ นิพพาน ซึ่งก็คือข้อนิโรธ ซี่งเราจะต้องบรรลุถึงด้วยการปฏิบัติตามมรรค การที่จะบรรลุนิพพานที่เป็นจุดมุ่งหมาย ก็เรียกร้อง หรือ เป็นเงื่อนไขอยู่ในตัวให้ต้องปฏิบัติตามมรรค ดังนั้น การตรัสถึง นิพพาน คือข้อนิโรธ ก็โยงเอามรรคเข้ามาพ่วงไว้ด้วย
    พูดให้ลึกลงไป ข้อแรก อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ก็คือ สังขตธรรม พร้อมทั้งกระบวนความเป็นไปของมันทั้งหมด ส่วนข้อหลัง นิพพาน ก็คือ อสังขตธรรม ที่พ้นไปจากสังขตธรรม นั้น
    อริยสัจนั้นเป็นวิธีพูด หรือ วิธีแสดงกฎธรรมชาติในแง่ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต หรือ แก้ปัญหาชีวิตของตน พระพุทธเจ้าตรัสวางไว้ในรูปที่ใช้การได้เรียกว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แต่ความจริงในกฎธรรมชาติก็คือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท และสภาวะที่เป็นจุดหมายคือ นิพพาน ก็มีเท่านี้ เพราะฉะนั้นจึงบอกว่า ไม่ไปไหน
    ส่วนอีกหลักหนึ่งคือ "สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย" แปลว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น คือ เราไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นไว้ได้ เป็นการสรุปหัวใจของการปฏิบัติที่โยงไปหาความจริงของธรรมชาติ หรือ สภาวธรรม ว่า สิ่งทั้งหลายหรือปรากฏการณ์ทั้งหลายทั้งปวง หรือสิ่งที่แวดล้อมชีวิตของเรา หรืออะไรก็ตามที่เราเกี่ยวข้อง มันไม่ได้อยู่ใต้อำนาจความปรารถนาของเรา แต่มันเป็นไปตามกฎธรรมชาติ เป็นไปตามเหตุปัจจัย หรือ มีอยู่ดำรงอยู่ตามสภาวะของมัน เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถยึดมั่นถือมั่นมันได้ เราจะต้องวางใจปฏิบัติต่อมันให้ถูก
    หลักนี้เป็นการโยงธรรมดาธรรมชาติหรือความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย มาสู่ท่าทีปฏิบัติของมนุษย์ต่อสิ่งเหล่านั้น ซึ่งรวมสาระสำคัญว่า เราต้องรู้ทันว่าสิ่งเหล่านี้มันไม่เป็นไปตามใจปรารถนาของเรานะ มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน เราจะไปยึดมั่นถือมั่นตามใจของเราไม่ได้ แต่ต้องปฏิบัติด้วยปัญญา คือด้วยความรู้เท่าทันและให้ตรงตามเหตุปัจจัย เมื่อละความยึดมั่นได้ก็สงบเย็น นิพพาน คือข้อนิโรธ
    ตกลงว่า การกล่าวถึง หัวใจพระพุทธศาสนา กันหลายแบบหลายแนวนั้น ทั้งหมดก็เป็นอันเดียวกัน ซึ่งในที่สุดหลักใหญ่ที่ครอบคลุม ก็คือ อริยสัจสี่ นี่แหละ ไม่ไปไหน ที่พูดมาในตอนนี้ทั้งหมด ก็เป็นการแยกแยะและเชื่อมโยงให้เห็นชัดเจนลงไปว่า หลักหัวใจพระพุทธศาสนา ที่พูดกันหลายอย่างนั้น ที่จริงก็อันเดียวกัน ต่างกันโดยวิธีพูดเท่านั้น และขอย้ำว่า.....
    อย่ามัวพูดว่า อย่างนั้นก็ได้ อย่างนี้ก็ได้ ขอให้จับหลักลงไปให้ชัด และปฏิบัติให้มั่นให้เด็ดเดี่ยวแน่ลงไป อย่างที่ว่าแล้วข้างต้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๔​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    อริยสัจ คือ ธรรมที่นำเสนอเป็นระบบปฏิบัติการ
    ให้มนุษย์บริหารประโยชน์จากความจริงของธรรมชาติ

    อริยสัจนั้น แท้จริงเป็นหลักของเหตุและผล ธรรมดาเราจะพูดเหตุก่อนแล้วจึงพูดถูกผลใช่ไหม ให้สังเกตว่าพระพุทธเจ้ากลับทรงยกเหตุขึ้นแสดงก่อน แล้วแสดงผลทีหลัง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
    ตามปกติพระพุทธเจ้าก็ตรัสเหตุก่อนผล แต่ในกรณีนี้กลับแสดงผลก่อนเหตุ เพราะเป็นเรื่องวิธีสอน ซึ่งต้องเริ่มด้วยสิ่งที่มองเห็นอยู่ เริ่มที่ปัญหาก่อน โดยชี้ปัญหาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทำความเข้าใจปัญหาแล้วจึงค้นหาสาเหตุเสร็จแล้วชี้ถึงจุดมุ่งหมาย หรือสิ่งที่ต้องการ แล้วบอกวิธีปฏิบัติที่จะให้เข้าถึงจุดหมายวิธีสอนอย่างนี้เป็นที่เร้าใจด้วย พอพูดถึงปัญหาโดยเฉพาะปัญหาของตัวเอง หรือปัญหาที่เกี่ยวกระทบถึงตัว คนก็สนใจอยากจะรู้อยากจะแก้ปัญหานั้น แล้วจึงสืบว่าปัญหานี้เกิดจากเหตุอะไร เมื่ออยากกำจัดเหตุแล้ว พอพูดถึงจุดหมายว่าดีอย่างไร คนก็อยากจะไปถึงจุดหมายนั้น แล้วจึงบอกวิธีปฏิบัติ ถ้าเราไปบอกวิธีปฏิบัติก่อน วิธีปฏิบัติอาจยากมาก คนก็ท้อใจ ไม่อยากทำ ไม่อยากไป แต่ถ้าชี้จุดหมายให้เห็นว่าดีอย่างไร ใจเขาจะใฝ่ปรารถนา ยิ่งเห็นว่าดีเท่าไร ประเสริฐอย่างไร เขายิ่งอยากไปและเต็มใจที่จะทำ เราจึงค่อยบอกวิธีปฏิบัติ ตอนนี้เขาสนใจตั้งใจเต็มที่แล้ว เขายินดีพร้อมที่จะทำสุดแรงของเขา
    ในการปลุกระดมก็ใช้วิธีนี้จึงจะได้ผล แม้จะไม่สุจริตเขามุ่งแต่จะให้สำเร็จ เพราะเป็นวิธีที่ได้ผลคือตอนต้นพูดชี้ปัญหาก่อน….. "เวลานี้มันแย่ มีปัญหาทั้งนั้น มีความยากจน มีความเดือนร้อน อะไรๆ ก็ไม่ดี มันเลวร้ายอย่างนั้นๆ" ถ้าจะปลุกระดมต้องชี้เรื่องที่ไม่ดีให้เห็นออกมาชัดๆ ว่าเยอะแยะไปหมด ร้ายแรงอย่างไร ชี้ทุกข์ให้ชัดก่อนว่า….. น่าเกลียดน่ากลัวร้ายแรงจนคนไม่พอใจมาก อยากจะแก้ไข ทีนี้ก็ชี้สาเหตุว่า นี่ตัวการ ตัวร้ายอยู่นี่ เป็นเหตุให้เกิดปัญหา ถึงตอนนี้คนก็ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ใจก็เกิดพลัง เกิดความตื่นเต้น เกิดเรี่ยวแรงกำลังขึ้นมาว่าต้องจัดการ กำจัดมันละนะ เราเห็นตัวการแล้ว พอคนกระหายอยากจะจัดการแล้ว ก็ชี้เป้าหมาย จุดหมายนั้นต้องชี้ให้เห็นเด่นชัดว่าดีที่สุด ใจคนก็พุ่งเป้าพร้อมเต็มที่ พอบอกวิธีปฏิบัติว่า "ต้องทำอย่างนี้ๆ ๆ ๆ" ตอนนี้วิธีปฏิบัติถึงจะยากก็ไม่กลัวแล้ว ไม่ว่าจะยากอย่างไรก็เอาทั้งนั้น ระดมกำลังเต็มที่ มรรคมาได้เลย
    รวมความว่า….. อริยสัจเป็นหลักที่เชื่อม ระหว่างความจริงของธรรมชาติ กับปฏิบัติการของมนุษย์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๕​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    ถึงจะเล่าเรียนจบหลัก ถ้าไม่รู้จักหน้าที่ต่ออริยสัจ ก็ปฏิบัติไม่ถูกและไม่มีทางบรรลุธรรม

    เราจะรู้อริยสัจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรู้หน้าที่อริยสัจและปฏิบัติหน้าที่ต่ออริยสัจให้สำเร็จด้วย การเรียนอริยสัจโดยไม่รู้หน้าที่ต่ออริยสัจอาจจะทำให้เข้าใจสับสน
    พระพุทธเจ้าตรัสกิจ หรือหน้าที่ต่ออริยสัจสี่ไว้ครบถ้วนแล้วแต่ละอย่างๆ
    ๑. หน้าที่ต่อทุกข์ คือ "ปริญญา" แปลว่า กำหนดรู้ รู้เท่าทัน จับตัวมันให้ได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า..... "ทุกขัง ปริญเญยยัง" ภาษาพระแปลกันว่า "กำหนดรู้" ทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่จะต้องรู้เท่าทัน..... ปริญเญยยัง เป็นคุณศัพท์ ถ้าใช้เป็นคำนามก็เป็น ปริญญา เป็นชื่อของการสำเร็จการศึกษา
    ทุกข์นั้นเป็นตัวปัญหาเป็นปรากฏการณ์ ท่านเปรียบเหมือนกับ "โรค" ในทางร่างกายของเรา เมื่อเรามีโรคเราก็จะแก้ไขบำบัดหรือกำจัดโรค แต่พอเอาเข้าจริง เรากำจัดโรคไม่ได้ เราต้องเรียนรู้จักโรค เหมือนหมอจะแก้ไขโรค ต้องกำหนดรู้ให้ได้ว่าเป็นโรคอะไร เป็นที่ไหนตรงไหน และรู้ร่างกายซึ่งเป็นที่ตั้งของโรคด้วย ทำนองเดียวกัน ทุกข์ จึงไม่ใช่เรียนเฉพาะปัญหา แต่เรียนชีวิตซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งปัญหาด้วย ปัญหาเกิดที่ไหน มันเกิดที่ชีวิตหรือ เกิดในโลก เราก็ต้องรู้จักโลก รู้จักชีวิตและดูที่ชีวิต (นามรูป/ขันธ์ ๕)
    ๒. หน้าที่ต่อสมุทัย คือ "ปหานะ" แปลว่า ละ หรือ กำจัด พอรู้โรคว่าเป็นโรคอะไร จับได้แล้ว ต้องสืบหาสาเหตุของโรค ต้องจับให้ได้ เหมือนกับแพทย์ที่วินิจฉัยโรคให้ได้ สืบหาตัวสาเหตุของโรค อาจจะเป็นเชื้อโรค หรือ ความบกพร่องของอวัยวะ ไม่ใช่เชื้อโรคอย่างเดียว เมื่อมีโรคก็ต้องมี สมุฏฐาน หรือ สมุทัย นี่แหละเป็นตัวที่ต้องแก้ไข หรือกำจัด
    ๓. หน้าที่ต่อนิโรธ เรียกว่า "สัจฉิกิริยา" แปลว่า ทำให้ประจักษ์แจ้ง คือ บรรลุถึงนั่นเอง เราต้องมีเป้าหมายว่าเราจะเอาอะไร และทำได้แค่ไหน จุดหมายอะไรที่ต้องการ กำหนดให้ได้และรู้ความเป็นไปได้ในการแก้ไข คนที่ไม่มีความชัดเจนว่าต้องการอะไร มีความเป็นไปได้อย่างไร ก็จะทำอะไรไม่สำเร็จ แพทย์ก็ต้องวางเป้าหมายในการรักษาโรคว่าเป็นไปได้แค่ไหน เอาอะไรเป็นจุดหมายในการรักษา แล้วทำให้ได้ ให้บรรลุจุดหมายนั้น
    ๔. หน้าที่ต่อมรรค เรียกว่า "ภาวนา" แปลว่า บำเพ็ญ คือ ปฏิบัติ ลงมือทำ ทำให้เกิด ทำให้มีขึ้น พอวางเป้าหมายเสร็จก็มาถึงขั้นลงมือปฏิบัติ จะผ่าตัดให้ยา และให้คนไข้ปฏิบัติตัวบริหารร่างกายอย่างไร วิธีรักษาทั้งหมดมาอยู่ในข้อ ๔ คือ มรรค เป็นขั้นที่ต้องลงมือทำ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มีรายละเอียดมากมาย
    เพราะฉะนั้น อริยสัจสี่ จึงเป็นวิธีการวิทยาศาสตร์ จะใช้ในการสอนก็ได้ ในการรักษาโรคก็ได้ แพทย์ก็ใช้วิธีการนี้ สรุปความว่า พระพุทธศาสนาสอนเรื่องทุกข์ไว้สำหรับปัญญารู้ แต่สอนเรื่องสุขสำหรับให้เรามีชีวิตเป็นจริงอย่างนั้น พูดอย่างสั้นว่า พุทธศาสนาสอนให้รู้ทันทุกข์ และให้การอยู่เป็นสุข หรือให้สั้นกว่านั้นอีกว่า พุทธศาสนาสอนให้เห็นทุกข์ แต่ให้เป็นสุข คือ ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น
    เพราะฉะนั้น ต้องมองพระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาแห่งความสุข ไม่ใช่ศาสนาแห่งความทุกข์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/book/dhamma3/

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    คัดลอกโดย คุณ new
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๖​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
    เพราะได้พูดแล้วว่า อริยสัจสี่ครอบคลุมหลักการของพระพุทธศาสนาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น
    - หลัก "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์"
    - หลัก "ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"
    - หลัก "เราบัญญัติแต่ทุกข์และความดับทุกข์" หรือ
    - หลัก "อิปัปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทกับนิพพาน"
    ทุกหลักรวมอยู่ในหลักอริยสัจสี่ ทั้งนั้น
    ขอย้ำว่า "อริยสัจสี่" คือ หลักที่โยงความจริงในธรรมชาติมาสู่การใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เพราะลำพังกฎธรรมชาติเอง ตามธรรมดาถ้าเราไม่รู้วิธีปฏิบัติ ไม่รู้จุดเริ่มต้น ไม่รู้ลำดับ เราก็สับสน
    พระพุทธเจ้าทรงต้องการให้เราได้ประโยชน์จากกฎธรรมชาติโดยสะดวก จึงนำมาจัดรูป ตั้งแบบ วางระบบไว้ให้ เรียกว่า อริยสัจสี่ โดยลำดับให้เห็นชัดเจน เป็นทั้งวิธีสอน วิธีแก้ปัญหา และวิธีลงมือทำ เมื่อทำตามหลักอริยสัจสี่ ความจริงของธรรมดาที่ยาก ก็เลยง่ายไปหมด

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๗​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    ความจริงมีอยู่ตามธรรมดา พระพุทธเจ้ามีปัญญา ก็มาค้นพบและเปิดเผย
    จุดเริ่มต้นนี้ชัดอยู่แล้วในพุทธพจน์ว่า "อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปปฺาทา วา ตถาคตานํ ฐิตา ว สา ธาตุ …." มีเนื้อความว่า..... "ตถาคตคือพระพุทธเจ้า จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ความจริงก็คงอยู่เป็นกฎธรรมดา เป็นความแน่นอนของธรรมชาติ ว่าดังนี้ๆ"
    นี่คือการมองความจริงตามแบบของพระพุทธศาสนา พุทธพจน์นี้เป็นหลักพื้นฐาน เราควรเริ่มต้นด้วยหลักนี้ นั่นคือพระพุทธศาสนามองสิ่งทั้งหลายเป็นเรื่องของธรรมชาติและกฎธรรมชาติ เป็นความจริงที่เป็นอยู่อย่างนั้นตามธรรมดาของมัน ไม่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า
    ในพุทธพจน์นี้ พระพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า..... "ตถาคตมารู้ความจริง ค้นพบความจริงนี้แล้ว จึงบอกกล่าว เปิดเผย แสดง ชี้แจง ทำให้ง่าย ว่าดังนี้ ๆ" พุทธพจน์นี้บอกฐานะของพระศาสดาว่า ฐานะของพระพุทธเจ้า คือผู้ค้นพบความจริง แล้วนำจริงนั้นมาเปิดเผย แสดงให้ปรากฏ พระพุทธเจ้าไม่ใช่เป็นผู้บัญญัติ หรือเป็นผู้สร้าง ผู้บันดาลขึ้นมาจากความไม่มี พระองค์เพียงแต่แสดงความจริงที่มีอยู่ การที่พระองค์บำเพ็ญบารมีทั้งหลายเพื่อตรัสรู้เข้าถึงความจริงที่มีอยู่เป็นธรรมดาตลอดเวลา ไม่มีใครเสกสรรค์บันดาล (ไม่มีผู้สร้าง เพราะถ้ามีผู้สร้าง ก็ต้องมีผู้ที่สร้างนั้น ถ้ามีผู้สร้างมีได้เอง ก็แน่นอนว่า สภาวธรรม ก็มีอยู่ได้โดยไม่ต้องมีผู้สร้าง) มันไม่อยู่ใต้อำนาจบังคับบัญชาของใคร ไม่มีใครบิดผันเปลี่ยนแปลงมันได้ ผู้ใดมีปัญญาจึงจะรู้เข้าใจและใช้ประโยชน์มันได้
    เพราะฉะนั้น การรู้ความจริงของธรรมชาติจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เราก็จะปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้องเหมือนในทางวิทยาศาสตร์ฝ่ายวัตถุ ที่ค้นพบความจริงคือกฎธรรมชาติบางอย่าง เมื่อค้นพบแล้วก็นำเอากฎธรรมชาติส่วนนั้นมาใช้ทำอะไรต่างๆ ได้ เช่น การสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ตั้งแต่เรือกลไฟ รถยนต์ รถไฟ เรือบิน คอมพิวเตอร์ ทางวิทยาศาสตร์เอาแต่ความจริงในโลกวัตถุ ส่วนพระพุทธศาสนามองความจริงของโลกและชีวิตทั้งหมดว่า เป็นเรื่องของธรรมชาติที่มีอยู่และเป็นไปตามธรรมดา เมื่อพระพุทธเจ้ามาค้นพบแล้ว ก็ทรงทำให้เข้าใจง่ายขึ้นโดยวิธีจัดรูปร่างระบบแบบแผนให้เรียนรู้ได้สะดวกและวางเป็นกฎเกณฑ์ต่างๆ นี่คือการจับเอาหลักความจริงทั้งหลายมาจัดเป็นระบบขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของเรา
    ทีนี้ความจริงของสิ่งทั้งหลาย หรือกฎธรรมชาติเป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่คงที่ เกิดแล้วดับไปเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็น ทุกขัง คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และเป็น อนัตตา ไม่เป็นตัวตนของใครที่จะไปสั่งบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้ เราจะยึดถือครอบครองไม่ได้ เพราะมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน หรือดำรงอยู่ตามสภาวะของมัน แต่แท้จริงแล้วตัวตนอย่างนั้นไม่มี มีแต่เพียงภาพปรากฎชั่วคราว ส่วนตัวจริงที่อยู่เบื้องหลังคือกระบวนการแห่งความสัมพันธ์กันของสิ่งทั้งหลายที่คืบเคลื่อนไปเรื่อยๆ ภาพตัวตนที่ปรากฏนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไป
    ดังนั้นตัวตนที่แท้ยั่งยืนตายตัวที่จะยึดถือครอบครองบังคับบัญชาอะไรๆ ได้ จึงไม่มี (คำว่า อัตตา คือตัวตนที่เที่ยงแท้ยั่งยืนตายตัวตลอดไป) มีแต่ภาพรวมของปรากฏการณ์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลายในกระบวนการของมัน เรียกว่าเป็นเพียงสภาวธรรม ไม่เป็นตัวตนของใคร
    นี้คือความเป็นจริงของกฎธรรมชาติ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงสอนเรื่อง "ไตรลักษณ์" เป็นหลักที่เด่นว่าสิ่งทั้งหลายนี้..... อนิจฺจํ ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับหาย มีความเปลี่ยนแปลง..... ทุกฺขํ คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อยู่ในภาวะขัดแย้ง ถ้าเราไปเกี่ยวข้องด้วยความอยาก มันก็ฝืนความปรารถนา แล้วก็..... อนตฺตา ไม่เป็นตัวตนของใครได้ ใครจะยึดถือครอบครองสั่งบังคับไม่ได้ เพราะมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน หรือดำรงอยู่ตามสภาวะของมัน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๘​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    เมื่อคนไม่รู้ทันความจริงของธรรม เขาก็นำทุกข์ในธรรมชาติมาสร้างให้เป็นทุกข์ของตน
    สำหรับ ทุกฺขํ ในไตรลักษณ์นี้ เรามักมองคำว่าทุกข์เป็นความเจ็บปวด ที่จริงทุกข์เป็นสภาพตามธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย หรือสภาวะตามธรรมชาติ คืออาการที่สิ่งทั้งหลายไม่สามารถคงอยู่ในสภาพเดิม บางทีแปลว่า stress หรือ confict คือ ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย หรือองค์ประกอบ
    ต่างๆ ที่เกิดดับบีบคั้นขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา แล้วทุกข์ก็เป็นภาพรวมที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหล่านั้น เมื่อองค์ประกอบแต่ละอย่างเกิดขึ้นดับไป เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา องค์รวมนั้นไม่สามารถคงสภาพเดิมได้ เกิดการขัดแย้งเป็นความกดดันภายในแล้วคงอยู่ไม่ได้
    สภาพที่ขัดแย้ง ฝืน กดดัน คงอยู่ไม่ได้ทั้งหมดนี้ เรียกว่า "ทุกข์" ซึ่งเป็นสภาวะธรรมชาติในสิ่งทั้งหลาย เมื่อเราใช้ศัพท์นี้กับภาวะในใจคน มีความหมายว่า เป็นภาวะที่จิตถูกกดดันบีบคั้น ก็มีความหมายคล้ายๆ กับทุกข์ในใจเรา คือ ภาวะที่ถูกบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง ไม่สบาย ทนไม่ไหว ที่นี้ในสิ่งทั้งหลายทุกข์คือภาวะที่ต้องผันแปรเปลี่ยน เกิดความขัดแย้ง กดดัน ทนอยู่ไม่ได้
    ส่วน อนตฺตา คือไม่เป็นตัวตนที่ยั่งยืนมั่นคงตลอดไป เป็นเพียงภาพรวมของปรากฏการณ์แห่งกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงนั้น
    เรื่องนี้ทำนองเดียวกับกฎทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีอยู่ตามธรรมดาในธรรมชาติ ไม่ว่าใครจะรู้หรือไม่ ใครมีปัญญาสามารถค้นพบแล้วเอามาบอกกัน เรื่อง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดาของมัน ไม่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่เกิด พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มาค้นพบเปิดเผย อธิบาย วางเป็นระบบไว้ ตรงนี้แหละมาโยงกับอริยสัจ คือสิ่งทั้งหลายทั้งโลกรวมทั้งชีวิตคนเรา เป็นไปตามกฎธรรมชาติ มีความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีความกดดันขัดแย้งภายใน
    คงสภาพเดิมไม่ได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์กัน อย่างร่างกายเรานี้ก็เปลี่ยนไป ตอนเป็นเด็กหน้าตาอย่างหนึ่ง อายุมากขึ้นก็เปลี่ยนไปอีกอย่างหนึ่ง
    เมื่อสิ่งทั้งหลายเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องคือจะปฏิบัติ หรือ สัมพันธ์กับธรรมชาติ กับโลก กับชีวิต ที่เป็นไปตามกฎธรรมชาติด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
    อวิชชา คือ ภาวะที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ
    ตัณหา คือ ความอยาก ความปรารถนาต่อสิ่งต่าง ๆ โดยไม่มีความรู้ความเข้าใจ
    อุปาทาน คือ การเข้าไปยึดมั่น ถือมั่น ให้เป็นอย่างที่ตัวต้องการเอาความปรารถนาของตนเป็นตัวกำหนด
    ถ้ามนุษย์เข้าไปสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลาย หรือพูดง่ายๆ ว่าสัมพันธ์กับโลกและชีวิต ด้วยอวิชชา ตัณหา อุปทาน ก็จะเกิดปัญหาขึ้นกับชีวิตของตัวเองทันที ทุกข์ที่เป็นอยู่ในธรรมชาติตามธรรมดาของมัน คือเป็นความขัดแย้ง คงอยู่ไม่ได้ ในสิ่งที่จะต้องเปลี่ยนแปลงคืบเคลื่อนนั้น ก็จะเกิดเป็นสภาวะที่กดดัน ขัดแย้งขึ้นในจิตใจของมนุษย์ ตอนนี้ ทุกข์ในธรรมชาติที่มีอยู่ตามธรรมดา กลายมาเป็น ทุกข์ ปรุงแต่งในใจเรา ที่จริงทุกข์มีอยู่ตามธรรมดาในธรรมชาติ แต่เมื่อเราไปสัมพันธ์ปฏิบัติต่อมันไม่ถูก จึงเกิดเป็นทุกข์ในใจของเราขึ้นมาและเมื่อสืบค้นดู ก็จะรู้ว่า อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ของเราในกรณีนี้ ตัวนี้แหละที่ท่านว่าเป็น "สมุทัย" คือเหตุแห่งทุกข์ ตอนนี้สมุทัยมาแล้ว
    สมุทัย นี้ ถ้าตรัสแค่บทบาทหน้าโรง ก็เอาตัณหาเป็นตัวแสดง แต่ถ้าตรัสแบบเต็มโรง ทรงยกเอาอวิชชาเป็นตัวกำกับหลังโรง ขอให้ดูเวลาตรัสว่า อะไรคือสมุทัย พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ๒ แบบ
    แบบที่ ๑ ตรัสว่า สมุทัย ได้แก่ ตัณหา คืออธิบายง่ายๆ ว่า..... "สิ่งทั้งหลายมันไปเป็นไปตามใจอยากของคุณหรอก เมื่อคุณสัมพันธ์กับมันด้วยความอยาก คุณก็ต้องเป็นทุกข์เอง" แต่เบื้องหลังตัณหา คือความอยาก ความตามใจตัวนี้ ตัวการที่แท้คือความไม่รู้เท่าทันความจริง ซึ่งเป็นเงื่อนไขเปิดช่องให้ปัจจัยต่างๆ เข้ามาหนุนกันในการที่จะให้ปัญหานั้นเกิดขึ้นเพราะฉะนั้น
    แบบที่ ๒ จึงตรัสแบบกระบวนการที่เริ่มต้นจาก อวิชชา ว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานของปัญหา หรือ ทุกข์ สมุทัยที่แท้จริงเป็นกระบวนธรรม (ธรรมปวัตติ) ตามกฎปฏิจจสมุปบาทว่า อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา….. ซึ่งประมวลว่าทั้งหมดนี้ คือ สมุทัยแห่งทุกข์
    ตอนนี้จะเห็นได้ว่า กฎธรรมชาติมาสัมพันธ์กับมนุษย์แล้ว ตอนแรกอาตมาพูดเริ่มจากฎธรรมฃาติก่อนว่า ความจริงของธรรมชาติ มันมีอยู่ตามธรรมดาของมัน สิ่งทั้งหลายดำเนินไปตามกฎธรรมชาตินั้น เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ตอนนี้มาถึงคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้นโดยมี อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นตัวกำหนด ก็จะเกิดปัญหา มีทุกข์ขึ้นมา
    อันนี้คืออริยสัจข้อที่ ๑ และข้อที่ ๒ คือการสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายซึ่งมีศักยภาพที่จะให้เกิดทุกข์ ด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเป็นสมุทัยคือตัวเหตุ แล้วเกิดทุกข์ในตัวคนขึ้นมา คือก้าวจากทุกข์ในสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มาเป็นทุกข์ในใจของเรา
    นี่คือวิธีพูดแบบย้อนกลับโดยเอากฎธรรมชาติเป็นจุดเริ่มต้นโดยเริ่มที่ สมุทัย คือมนุษย์ไปสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายไม่ถูกต้อง โดยสัมพันธ์ด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ก็เกิดเป็น ทุกข์ ขึ้นมา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๙​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    เมื่อมีปัญญารู้ความจริง ก็เลิกพึ่งพิงตัณหา หันมาอยู่ด้วยปัญญาที่เอาประโยชน์ได้จากธรรม
    ในทางตรงข้าม ถ้าเรารู้ทันความจริงของโลกและชีวิต แล้วเปลี่ยนวิธีสัมพันธ์เสียใหม่ เราไม่สัมพันธ์ด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน แต่เปลี่ยนจากอวิชชาเป็น วิชา และสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายด้วย ปัญญา สมุทัยก็หายไป กลายเป็นนิโรธ
    ดังนั้น วิธีแก้ไขคือการพัฒนามนุษย์ให้มีปัญญา จนกระทั่งหมดอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เพราะฉะนั้นจึงต้องทำให้เกิดวิชาเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตโดยอาศัยตัณหาน้อยลงตามลำดับ จนกระทั่ง อวิชชา หมดไป เมื่อหมดอวิชชาแล้ว คือ นิโรธ ไม่มีทุกข์เกิดขึ้นอีก
    การที่จะมีปัญญา จนหมดอวิชชา ตัณหา อุปาทาน นั้นมนุษย์ต้องพัฒนาตัวเอง ซึ่งคือ มรรค นั่นเอง มรรค คือกระบวนวิธีพัฒนามนุษย์ไปสู่การมีปัญญา จนกระทั่งไม่ต้องอาศัยอวิชชา ตัณหา อุปาทานในการดำเนินชีวิต แต่เป็นอยู่ด้วยปัญญา
    เพราะฉะนั้นพระพุทธศาสนาสอนเรื่องธรรมชาติกับการที่มนุษย์ไปสัมพันธ์กับธรรมชาติ คือ
    ๑. ความจริงของธรรมชาติ หรือกฎธรรมชาติ
    ๒. การรู้ เข้าใจความจริงนั้น แล้วนำมาใช้ประโยชน์ของตัวชีวิตเองที่จะให้ชีวิตเราหมดปัญหาอย่างแท้จริง
    พูดอีกอย่างหนึ่งว่า พุทธศาสนามีเท่านี้คือ
    (๑.) ความจริงของธรรมชาติ หรือกฎธรรมชาติ เราต้องเรียนรู้และใช้ประโยชน์โดยปฏิบัติให้ถูกต้อง
    (๒.) มนุษย์เป็นผู้เรียนรู้เข้าใจความจริงนี้ และใช้ประโยชน์จากความรู้นั้น เราต้องศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๑๑​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=731>
    ธรรมชาติของมนุษย์นั้นพิเศษในแง่ดี คือ มนุษย์เป็นสัตว์ที่ศึกษาให้มีปัญญาได้
    เราต้องศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ คือ นอกจากรู้ธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย ทั้งโลก ทั้งระบบ ก็มารู้ธรรมชาติของตัวมนุษย์เองด้วย ซึ่งต้องพูดเป็น ๒ ระดับ
    ระดับที่ ๑ มนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบธรรมชาติทั้งหมด เพราะฉะนั้น ชีวิตมนุษย์จึงต้องเป็นไปตามกฎธรรมชาติเช่นเดียวกับธรรมชาติอย่างอื่น ๆ ถ้าเราแยกเป็นโลกและชีวิต ชีวิตเราเป็นไปตามกฎธรรมชาติใหญ่ อันเดียวกับกฎธรรมชาติที่ครอบงำโลกคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องเปลี่ยนแปลงไปคงอยู่สภาพเดิมไม่ได้และปรากฎรูปขึ้นมาตามกระบวนการของเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์กันนั้น นี่คือธรรมชาติของมนุษย์ด้านหนึ่งที่เป็นชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
    ระดับที่ ๒ ธรรมชาติพิเศษที่เป็นส่วนเฉพาะจุดสำคัญของมนุษย์ที่จะก้าวไปสู่ขั้นที่สามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ คือ มนุษย์สามารถมีปัญญาที่จะมีชีวิต โดยไม่พึ่งพาอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ได้หรือไม่ ธรรมชาติของมนุษย์ตรงนี้ถือเป็นฐานของพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว ธรรมชาติส่วนพิเศษของมนุษย์ คือเป็นสัตว์ที่ฝึกได้ พูดอย่างสมัยใหม่ก็ใช้คำว่า..... "เป็นสัตว์ที่พัฒนาได้" ไม่จมอยู่กับที่ แต่เปลี่ยนแปลงได้ในเชิงคุณภาพ หรือเรียกว่าเป็นสัตว์พิเศษก็ได้ คำว่า..... "ฝึก" นี้พูดอย่างสมัยใหม่คือคำว่า เรียนรู้และพัฒนา พูดตามหลักคำแท้ๆ คือ ศึกษา หรือสิกขา พูดรวมๆ กันไปว่า เรียนรู้ฝึกหัดพัฒนา หรือเรียนรู้ฝึกศึกษาพัฒนา พูดสั้นๆ ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้และต้องฝึก ถือเป็นแง่เด่นคือ พอฝึก เริ่มเรียนรู้ คราวนี้มนุษย์ก็เดินหน้า มีปัญญาเพิ่มพูนขึ้น พูดได้ สื่อสารได้ มีความคิดสร้างสรรค์ประดิษฐ์อะไรๆ ได้สามารถพัฒนาโลกของวัตถุ เกิดเทคโนโลยีต่างๆ มีความเจริญทั้งในทางนามธรรม วัตถุธรรม
    ศิลปวิทยาการ เกิดเป็นวัฒนธรรม อารยธรรม จนกระทั่งเกิดเป็นโลกของมนุษย์ซ้อนขึ้นมาท่ามกลางโลกของธรรมชาติ พระพุทธศาสนาจับความจริงของธรรมชาติข้อนี้เป็นหลักสำคัญ จึงให้กำลังใจกับมนุษย์ว่า มนุษย์ที่ฝึกแล้วนั้น เลิศประเสริฐจนกระทั่งแม้แต่เทวดาและพรหมก็น้อมนมัสการ ดังคาถาว่า.....
    "มนุสฺสภูตํ สมฺพุทฺธํ อตฺตทนฺตํ สมาหิตํ เทวาปิ นํ นมสฺสนฺติ … … … … … … "
    แปลว่า "พระพุทธเจ้า ทั้งที่เป็นมนุษย์นี่แหละ แต่ทรงฝึกพระองค์แล้ว มีพระหฤทัยที่อบรมมาอย่างดี แม้เทพทั้งหลายก็น้อมนมัสการ"
    คาถานี้เป็นการเตือนมนุษย์และให้กำลังใจว่า ความดีเลิศประเสริฐของมนุษย์นั้น อยู่ที่การเรียนรู้ฝึกศึกษาพัฒนาตนขึ้นไป มนุษย์จะเอาดีไม่ได้ ถ้าไม่มีการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตน เพราะฉะนั้น เราจึงพูดเต็มว่า..... " มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐด้วยการฝึก" และฝึกได้ไม่มีที่สิ้นสุด
    สัตว์อื่นแทบไม่ต้องฝึก เพราะมันอยู่ได้ด้วยสัญชาตญาณ พอเกิดมาปั๊บเรียนรู้จากพ่อแม่นิดหน่อย เดี๋ยวเดียวมันก็อยู่รอดได้ เรียนรู้ได้นิดเดียว แค่กินอาหารเป็น แต่ต่อจากนั้นฝึกไม่ได้ เรียนรู้ไม่ได้ อยู่ได้ด้วยสัญชาตญาณตลอดชีวิต เกิดมาอย่างไรก็ตายไปอย่างนั้น หมุนเวียนกันต่อไป
    ฉะนั้นความประเสริฐเลิศของมนุษย์จึงอยู่ที่การฝึกฝนพัฒนาตนได้ และฝึกได้ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นความเลิศประเสริฐที่สัตว์ทั้งหลายอื่นไม่มี สัตว์อื่นอย่างดีฝึกได้บ้างเล็กน้อย เช่น ช้าง ม้า เป็นต้น มันฝึกตัวเองไม่ได้ ต้องให้มนุษย์ฝึกให้..... ฝึกได้ในขอบเขตจำกัด เรียนรู้ได้ไม่มาก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/book/dhamma3/

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    คัดลอกโดย คุณ new
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๑๑​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=731>
    บนฐานแห่งธรรมชาติมนุษย์ผู้เป็นสัตว์ต้องศึกษา
    พระพุทธเจ้าทรงตั้งหลักพระรัตนตรัยขึ้นมา

    หลักพระพุทธศาสนาตรงนี้สำคัญที่สุด เพราะมนุษย์ฝึกตนเอง และเมื่อฝึกแล้วประเสริฐสุด การที่ยกพระรัตนตรัยขึ้นมาตั้งเป็นหลัก เพราะความจริงข้อนี้คือ
    (ก.) พระพุทธเจ้าทรงเป็นต้นแบบ โดยเป็นสรณะเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกว่า ตัวเรานี้เป็นมนุษย์ผู้หนึ่ง พระพุทธเจ้าเมื่อก่อนที่จะทรงฝึก พระองค์ก็เป็นมนุษย์อย่างพวกเรานี้ เราจึงมีศักยภาพที่จะฝึกให้ประเสริฐอย่างพระพุทธเจ้าได้ พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ประเสริฐเลิศสูงสุด ตรัสรู้สัจธรรม มีพระคุณสมบัติสมบูรณ์ทุกประการเพราะได้ทรงฝึกดังที่เรียกว่าทรงบำเพ็ญบารมีมากมายจนเต็มสมบูรณ์ เราจึงตั้ง..... "พุทธะ" ขึ้นมาเป็นแม่แบบว่า ดูสิ มนุษย์ผู้ฝึกดีถึงที่สุดแล้ว พัฒนาดีแล้ว มีปัญญารู้สัจธรรม บริสุทธิ์หลุดพ้น เป็นอิสระ อยู่เหนือโลกธรรม มีความสุข มีชีวิตที่ดีงาม มีคุณธรรม ความดีงามที่สมบูรณ์ เป็นที่พึ่งของขาวโลก เลิศประเสริฐขนาดนี้ พอระลึกได้อย่างนี้ก็เกิดศรัทธาที่เรียกว่า ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีความหมายต่อไปอีกว่า เชื่อในปัญญาที่ทำให้มนุษย์กลายเป็นพุทธะ เพราะฉะนั้นการที่ถือเอา พระพุทธเจ้าเป็นสรณะนั้น ความหมายอยู่ที่นี่ คือ
    ๑. ทำให้เกิดศรัทธาที่โยงตัวเราเข้าไปหาพระพุทธเจ้าว่า จากความเป็นมนุษย์อย่างเรานี้ พระองค์ได้บำเพ็ญบารมีฝึกฝนพระองค์จนเป็นพระพุทธเจ้า เราก็เป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน ถ้าเราฝึกตนจริงจังให้ถึงที่สุด เราก็จะเป็นอย่างพระองค์ได้ ทำให้เราเกิดความมั่นใจว่า เรามีศักยภาพที่จะฝึกให้เป็นอย่างพระพุทธเจ้าได้
    ๒. เตือนใจให้ระลึกถึงหน้าที่ของตนเองว่า เราเป็นมนุษย์ซึ่งจะดีเลิศประเสริฐได้ ด้วยการฝึกฝนพัฒนาตน การฝึกฝนพัฒนาตนเป็นหน้าที่แห่งชีวิตของเรา หรือ ของชีวิตที่ดี เราต้องฝึกศึกษาพัฒนาตนอยู่เสมอ
    ๓. ให้เกิดกำลังใจว่า การฝึกฝนพัฒนาตนนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงทำมาจนสำเร็จผลสมบูรณ์แล้ว พระองค์ทำได้ แสดงว่าเราก็สามารถทำได้ แม้การฝึกศึกษาบางครั้งจะยากมาก อาจทำให้เราย่อท้อ แต่เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าว่า พระองค์เคยประสบความยากลำบากมากกว่าเรานักหนา พระองค์ก็ก้าวฝ่าผ่านลุล่วงไปได้ เราก็จะเกิดกำลังใจที่จะฝึกฝนตนต่อไป
    ๔. ได้วิธีลัดจากประสบการณ์ของพระองค์ พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติลำบากยากเย็นยิ่ง ลองผิดลองถูก บำเพ็ญบารมีกว่าจะเป็นพุทธะได้ เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ทรงประมวลประสบการณ์ของพระองค์มาวางเป็นหลักสอนเราให้เข้าใจง่ายขึ้น เท่ากับบอกวิธีลัดให้เรา ซึ่งเราเอามาใช้ได้ทันที ไม่ต้องลำบากอย่างพระองค์
    การระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะได้ประโยชน์ถึง ๔ ประการ เราจึงตั้งพระพุทธเจ้าเป็นองค์แรกของรัตนตรัย เป็นสรณะข้อที่ ๑
    (ข.) เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นแม่แบบแล้ว ก็คิดจะฝึกศึกษาพัฒนาตน ต้องรู้หลักรู้ความจริงของกฎธรรมชาติคือ ธรรมะ และต้องปฏิบัติตามธรรมนั้น ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงเป็นจุดเริ่มที่นำเราเข้าไปสู่ธรรมะ พูดง่ายๆ ว่า จากพุทธะโยงไปหา..... "ธรรมะ" คือตัวความจริงของธรรมชาติที่มนุษย์ต้องรู้และนำมาใช้ปฏิบัติ
    (ค.) การจะรู้ธรรมและปฏิบัติตามธรรมให้เป็นอย่างพระพุทธเจ้านั้น มนุษย์ทั่วไปไม่ได้ฝึกตนมามากมายถึงชั้นที่จะรู้และทำได้เองอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และไม่จำเป็นต้องฝึกถึงขนาดนั้น เพราะเรามีพระพุทธเจ้าที่ทรงรู้ธรรม รู้ทางและบอกวิธีให้แล้ว เราก็ฟังคำสอนจากพระองค์และปฏิบัติตามโดยถือเอาพระองค์เป็นแบบอย่าง แม้พระองค์ปรินิพพานแล้ว เราก็ฟังคำสอนของพระองค์จากพระสงฆ์ที่รักษาสืบต่อคำสอนของพระองค์มาถึงพวกเรา ตามปกติมนุษย์ทั่วไปจะปฏิบัติธรรม ฝึกตนให้ก้าวหน้าโดยลำพังตนเองได้ยาก ต้องอาศัยบุคคลและสภาพแวดล้อมต่างๆ ช่วยเกื้อหนุนได้ดีที่สุด คือ ชุมชนที่จัดตั้งไว้อย่างดี ที่เรียกว่า..... "สังฆะ" ในชุมชนแห่งสังฆะ นอกจากมีผู้ได้ฟัง ได้รู้ ได้ฝึกปฏิบัติธรรมมาก่อน เช่น ครู อาจารย์ ที่จะเป็นกัลยาณมิตรช่วยแนะฝึกสอนเราแล้ว ระบบความเป็นอยู่ วิถีชีวิต การสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชุมชน การจัดสรรสิ่งแวดล้อม บรรยากาศของชุมชน ทุกอย่างช่วยเกื้อหนุนให้เราฝึกตนก้าวไปในการรู้และปฏิบัติธรรมได้อย่างดีที่สุด เมื่อเราก้าวหน้าไปแล้วก็เป็นกัลยาณมิตรเกื้อหนุนผู้อื่นด้วย
    อนึ่ง มนุษย์ถึงจะมีศักยภาพที่จะเป็นอย่างเดียวกับพระพุทธเจ้า แต่ระหว่างปฏิบัติเราจะมีพัฒนาการในระดับต่าง ๆ ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็เป็นพุทธะได้ทันที มนุษย์ที่ปฏิบัติโดยมีพัฒนาการในระดับต่าง ๆ ก็รวมกันเป็นชุมชนที่ดีงาม ประเสริฐ คือ สังฆะ ถ้าเรียกตามภาษาปัจจุบันคือ..... "สังคมอุดมคติ" ซึ่งมนุษย์ทุกคนควรมีส่วนอาศัยและร่วมสร้างชุมชนนี้ขึ้นมาให้ได้ ด้วยการฝึกพัฒนาตัวเองของแต่ละคนขึ้นไป
    อนึ่ง มนุษย์ถึงจะมีศักยภาพที่จะเป็นอย่างเดียวกับพระพุทธเจ้า แต่ระหว่างปฏิบัติเราจะมีพัฒนาการในระดับต่าง ๆ ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็เป็นพุทธะได้ทันที มนุษย์ที่ปฏิบัติโดยมีพัฒนาการในระดับต่าง ๆ ก็รวมกันเป็นชุมชนที่ดีงาม ประเสริฐ คือ สังฆะ ถ้าเรียกตามภาษาปัจจุบันคือ " สังคมอุดมคติ " ซึ่งมนุษย์ทุกคนควรมีส่วนอาศัยและร่วมสร้างชุมชนนี้ขึ้นมาให้ได้ ด้วยการฝึกพัฒนาตัวเองของแต่ละคนขึ้นไป
    เพราะฉะนั้น หลักพระรัตนตรัย คือ หลักอุดมคติ ที่เป็นจุดหมาย เป็นอุดมการณ์ เป็นหลักสำหรับชาวพุทธซึ่งต้องถือว่า
    ๑. เตือนใจระลึกถึงศักยภาพของตัวเองและปฏิบัติหน้าที่การพัฒนาตนเองให้เป็นอย่าง พุทธะ
    ๒. เตือนใจระลึกว่าการพัฒนาตนให้สำเร็จ ต้องรู้เข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักความจริงของกฎธรรมชาติ คือ ธรรมะ
    ๓. เตือนใจระลึกว่า เราแต่ละคนจะร่วมอาศัย ร่วมสร้างสังคมอุดมคติ ด้วยการมี/เป็นกัลยาณมิตรและเจริญงอกงามขึ้นในชุมชนแห่ง อารยชน หรืออริยบุคคล ที่เรียกว่า สังฆะ
    นี่คือ หลักพระรัตนตรัย จะเห็นว่าทั้ง ๓ หลักโยงถึงกันหมด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๑๒​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=731>
    ความจริงแห่งธรรมดาของโลกและชีวิตที่ต้องรู้ให้ทันและวางท่าทีให้ถูก
    ธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ที่ฝึกได้ พัฒนาได้ จะเป็นนิวตันก็ได้ เป็นไอน์สไตน์ก็ได้ หรือจะเป็นกวีที่เก่งกาจ เป็นนักการศึกษา ฯลฯ เป็นได้หมด จนกระทั่งประเสริฐสุดเป็นพุทธะก็ได้ เมื่อมนุษย์ผู้ฝึกตนได้ จะพัฒนาตนสำเร็จ ต้องรู้เข้าใจความจริงของกฎธรรมชาติ และปฏิบัติให้ถูกตามกฎนั้น ในบรรดากฎธรรมชาติทั้งหลาย กฎใหญ่คือความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นอย่างหนึ่งในหลักใหญ่ที่สุด ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ๒ หลัก คือ
    ๑. หลัก ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ๒. เบื้องหลังความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือกฎธรรมชาติแห่งความเป็นไป ตามเหตุปัจจุบัน ได้แก่ อิทัปปัจจยตา
    ฉะนั้นต่อจาก ไตรลักษณ์ พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่อง ปฏิจจสมุปทา หรือที่เรียกเต็มว่า..... อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท คือ ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย
    ถ้าเราเข้าถึงกระบวนการของเหตุปัจจัย หลักการต่างๆ โยงถึงกันแจ่มแจ้งหมดและเข้าสู่การปฏิบัติการที่จะฝึกตนได้ ถ้ารู้แค่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรายังทำอะไรไม่ได้ แค่รู้ทันว่าสิ่งทั้งหลายเกิดดับ เปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยง ไม่คงที่ คงอยู่สภาพเดิมไม่ได้เป็นไปตามเหตุปัจจัย ก็ได้แค่รู้และวางใจแต่ยังทำไม่ได้ แต่พอรู้ว่า กฎแห่งเหตุปัจจัยที่อยู่เบื้องหลัง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ อิทัปปัจจยตา ก็มาลงมือทำคือเอามาใช้ในการฝึกฝนพัฒนาตนของมนุษย์ ซึ่งเป็นการเชื่อมระหว่างธรรมชาติพิเศษของมนุษย์กับธรรมชาติสามัญของสิ่งทั้งหลาย พระพุทธศาสนามองชีวิตของมนุษย์ว่าเกิดจากองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกัน โดยสัมพันธ์กันเป็นระบบกระบวนการ เราจะเข้าใจต้องแยกดูองค์ประกอบ ตอนแรกก็แยกชีวิตออกก่อน สำหรับมนุษย์การแยกอย่างง่ายที่สุดคือ รูปธรรม (กาย) กับ นามธรรม (ใจ)
    เมื่อแยกละเอียด ด้านรูปธรรม หรือร่างกาย ประกอบด้วยธาตุต่างๆ มาประชุมกันเข้า มีมหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔ และในแต่ละอย่างก็แยกย่อยออกไปอีก
    ส่วนด้านนามธรรม หรือทางใจ ก็แยกออกเป็น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    - เวทนา แยกย่อยเป็น เวทนา ๓ หรือ เวทนา ๕ หรือ เวทนา ๖
    - สัญญา แยกย่อยเป็น สัญญา ๖
    - สังขาร แยกย่อยออกเป็นต่างๆ เช่น สัญเจตนา ๖ เจตสิก ๕๐
    - วิญญาณ แยกย่อยเป็น ๖ เป็น ๘๙ หรือ เป็น ๑๒๑
    ซึ่งเป็นการจำแนกแยกแยะในระบบ ขันธ์ ๕ อย่างนี้เป็นระบบแยกซอย เป็นการศึกษาธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ เหมือนนักวิทยาศาสตร์แยกแยะองค์ประกอบด้านรูปธรรม แต่ในที่นี้แยกออกเป็นแบบง่ายๆ คือ กาย กับ ใจ
    ชีวิตมนุษย์ไม่ได้อยู่นิ่งเฉย ต้องเคลื่อนไหว ที่เรียกว่า ดำเนินชีวิต แม้รถยนต์ซึ่งไม่มีชีวิตก็มีการเคลื่อนไหว เมื่อแยกองค์ประกอบมันออกมาดู ก็ศึกษาตอนมันวิ่งแล่น ว่ามันทำงานอย่างไร โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบย่อยขณะทำงาน
    ชีวิตของเราก็เช่นกัน เมื่อแยกส่วนออกดูองค์ประกอบตอนอยู่นิ่งเฉย ก็ต้องศึกษาขณะที่มันดำเนินไป หรือขณะทำงาน เหมือนแพทย์ศึกษาชีวิตด้านกาย ต้องศึกษา anatomy คือกายวิภาค แยกองค์ประกอบให้เห็นอวัยวะต่างๆ ว่ามีอะไรบ้าง เป็นอย่างไร แล้วก็ศึกษา physiology คือสรีรวิทยา ให้รู้ว่าอวัยวะต่างๆ ทำงานอย่างไร และสัมพันธ์กันอย่างไร ทั้งเป็นกระบวนการและเป็นระบบ ในทางธรรมก็เริ่มด้วยแยกองค์ประกอบที่อยู่นิ่งๆ เป็น กาย กับ ใจ ต่อจากนั้นก็แยกให้เห็นการทำงานเป็นกระบวนการว่า องค์ประกอบทั้งหลายสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กันอย่างไร การแยกองค์ประกอบแบบนี้จะเห็นได้ในหลักปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมีองค์ประกอบ ๑๒ ส่วน เป็นปัจจัยแก่กันหมุนเวียนไปเป็นวงจร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๑๓​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=731>
    จะพัฒนาศักยภาพของคนให้มีชีวิตแห่งปัญญา
    ก็ต้องรู้จักธรรมชาติของชีวิตซึ่งจะทำหน้าที่ศึกษา

    ระบบการทำงานของชีวิตมนุษย์พิเศษต่างออกไปจากระบบการทำงานของรถยนต์ คือ แม้รถยนต์จะเคลื่อนไหวได้ แต่ไม่มีชีวิต ไม่มีเจตจำนงหรือเจตนาจะเคลื่อนไหวไปทางไหน ต้องมีคนมาขับขี่บังคับ ลำพังตัวมัน องค์ประกอบทั้งหลายทั้งระบบทำงานเคลื่อนไหวอยู่อย่างนั้นๆ เท่าเดิม แต่ระบบการทำงานของมนุษย์ไม่อยู่ในวงจรเท่าเดิม มนุษย์มีเจตนจำนงหรือมีเจตนา มีคุณสมบัติพิเศษเช่นปัญญา เป็นต้น ทำให้การเคลื่อนไหวของชีวิตมนุษย์มีการปรับตัว ปรับปรุงพัฒนาระบบการทำงานของตัวมันเอง และจัดการกับสิ่งอื่นภายนอกได้ด้วย
    การทำงานขององค์ประกอบทั้งหลายของชีวิตมนุษย์ มีลักษณะพิเศษเรียกง่ายๆ ว่า เป็นระบบการเป็นอยู่ หรือ การดำเนินชีวิต ซึ่งเราต้องศึกษาให้เห็นองค์ประกอบเหล่านั้นทำงานสัมพันธ์กันในการที่มันจะเป็นอยู่ เจริญงอกงาม พัฒนาไป และจัดการกับสิ่งอื่นๆ ภายนอกให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
    ชีวิตมนุษย์ ที่เป็นอยู่หรือดำเนินไปทั้งระบบนี้ แยกองค์ประกอบได้ ๓ ส่วนใหญ่ คือ
    ๑. การเคลื่อนไหวติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก โดยใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และการแสดงออกทางกายวาจา จะใช้คำภาษาสมัยใหม่ว่า " พฤติกรรม " ก็มีความหมายแคบไป ขอแต่งคำใหม่ว่า พฤติสัมพันธ์
    ๒. เบื้องหลังการติดต่อสัมพันธ์และพฤติกรรมที่แสดงออก มีกระบวนการทำงานของจิตใจ เริ่มตั้งแต่เจตจำนง (ความตั้งใจ) เพราะการติดต่อสัมพันธ์และพฤติกรรมที่แสดงออกของมนุษย์เกิดจากเจตนา คือมีความตั้งใจ จงใจ และแรงจูงใจ เป็นตัวกำหนดอีกชั้นหนึ่งว่าจะตั้งใจอย่างไร แรงจูงใจนี้มีทั้งฝ่ายชั่วและดี เช่น ความรัก ความโกรธ ความอยากรู้ ความลุ่มหลง ความเคารพ ความริษยา ความสุข ความทุกข์ใจ ซึ่งเป็นตัวกำหนด หรือ ชักจูงความตั้งใจนั้น เช่น เพราะอยากได้สุข จึงเคลื่อนไหวทำพฤติกรรมแบบนี้ เพราะอยากหนีทุกข์ จึงเคลื่อนไหวทำพฤติกรรมแบบนี้ โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลัง คือกระบวนการของจิตใจ เป็นด้านที่ ๒ ในกระบวนการทำงานของชีวิต เรียกสั้นๆ ว่า จิตใจ
    ๓. การเคลื่อนไหวติดต่อสัมพันธ์ทำพฤติกรรมนั้น คนต้องมีความรู้ รู้เท่าไรก็ตั้งใจเคลื่อนไหว ทำพฤติกรรมได้เท่านั้น ถ้ารู้มากขึ้นการตั้งใจเคลื่อนไหวทำพฤติกรรมก็จะซับซ้อนและได้ผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น ถ้าไม่รู้เลยความตั้งใจทำพฤติกรรมก็ส่งเดชเรื่อยเปื่อย ฉะนั้นความรู้จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก เป็นแดนใหญ่ด้านหนึ่งของชีวิต ได้แก่ ปัญญา ถ้าเราพัฒนาปัญญา เราก็ขยายมิติและขอบเขตทั้งด้านจิตใจและพฤติกรรมออกไปทั้งหมด
    พฤติกรรมมนุษย์ที่พัฒนาออกเป็นกลุ่มเป็นหมู่รวมๆ กัน เป็นวัฒนธรรมและอารยธรรมนั้น เกิดจากเจตจำนงตามอำนาจแรงจูงใจ เช่นความปรารถนาที่จะเอาชนะธรรมชาติ ทำให้อารยธรรมตะวันตกเจริญมาอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ นี่คือเจตจำนงด้านจิตใจ แต่เจตจำนงนั้นเกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขของความรู้ความเข้าใจอะไรอย่างไร มีความเชื่อ ยึดถือ และคิดไปได้อย่างนั้นแค่นั้น แล้วตั้งเจตจำนงต่างๆ ที่จะทำพฤติกรรมภายในขอบเขตเท่านั้น เพราะฉะนั้น แดนปัญญา คือ ความรู้ จึงยิ่งใหญ่มาก
    ลักษณะสำคัญของกระบวนการดำเนินชีวิตของมนุษย์ คือการพัฒนาศักยภาพการดำเนินชีวิต ให้สามารถอยู่รอดได้อย่างดีงาม มีความสุขยิ่งขึ้น หรือ พัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสัตว์ที่ประเสริฐยิ่งขึ้น จนถึงความเป็นพุทธะในที่สุด
    ตกลงว่า ชีวิตของมนุษย์ที่เป็นกระบวนการเคลื่อนไหวดำเนินไปท่ามกลางสิ่งแวดล้อม แยกเป็น ๓ ด้าน คือ
    ๑. พฤติสัมพันธ์ ๒. จิตใจ ๓. ปัญญา
    นี่คือการแยกองค์ประกอบของชีวิตแบบหนึ่งตามหลักพระพุทธศาสนา เรามักติดอยู่แค่การแยก แบบกายกับใจ ซึ่งเป็นการแยกเพื่อความรู้เข้าใจ แต่เอามาใช้ปฏิบัติได้น้อย ถ้าเราจะนำพระพุทธศาสนามาใช้ในระดับปฏิบัติการ ในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนามนุษย์และสังคม ต้องก้าวมาถึงการแยกในระดับกระบวนการดำเนินชีวิต คือแยกเป็น ๓ ด้าน หรือ ๓ แดน อย่างนี้
    ถึงตอนนี้เราได้ครบแล้ว ในตัวอย่างเรื่องรถยนต์ที่แยกแยะ ๒ ระดับคือ แยกตอนจอดอยู่นิ่งๆ ให้เห็นว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง และแยกตอนทำงานคือวิ่งแล่นว่า มันทำงานอย่างไร แต่ในเรื่องชีวิตมนุษย์ เราแยกส่วน หรือ องค์ประกอบ ๓ ระดับ คือ
    ๑. แยกองค์ประกอบตามสภาพหรือในภาวะอยู่นิ่งเฉย (เช่นแยกเป็น รูป+นาม, กาย+ใจ, ขันธ์ ๕)
    ๒. แยกให้เห็นการทำงานของส่วนต่างๆ ในระบบวงจรความสัมพันธ์ (เช่น แยกแบบปฏิจจสมุปบาท)
    ๓. แยกให้เห็นระบบและกระบวนการดำเนินชีวิตที่ องค์ประกอบ ๓ ด้านมาร่วมกันขับเคลื่อนชีวิตให้เป็นอยู่ได้ดียิ่งขึ้นๆ ไปสู่จุดหมายที่จะเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ (แยกเป็น ๓ ด้าน หรือ ๓ แดน คือ ด้านสัมพันธ์ภายนอก ด้านจิตใจ และด้านปัญญา)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๑๔​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=731>
    แก่นธรรมเพื่อชีวิต
    การดำเนินชีวิตทั้งสามด้าน เป็นปัจจัยเกื้อหนุนกันในการศึกษา
    เมื่อรู้ธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย และธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ก็เอาความรู้ในความจริงของธรรมชาตินั้นมาใช้ประโยชน์
    สาระของพระพุทธศาสนา คือการนำเอาความรู้ในธรรมชาติและกฎธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ สนองจุดหมายที่เราต้องการ คือการพัฒนามนุษย์จนสามารถเป็นอยู่ โดยไม่ต้องพึ่งพา อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
    กระบวนการของชีวิตที่เคลื่อนไหว นั้นแยกเป็น ๓ ด้าน คือ พฤติสัมพันธ์ ที่เรียกโดยอนุโลมว่า พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา เราพัฒนาชีวิตทั้ง ๓ ด้าน ให้ทำอะไรต่ออะไรได้สำเร็จตามต้องการ จนมีชีวิตที่สมบูรณ์ ข้อสำคัญที่สุดต้องพัฒนาปัญญาขึ้นไป เพราะในที่สุด ทุกอย่างจะอยู่ในขอบเขตของปัญญา อย่างที่ว่า รู้เท่าใด ทำได้เท่านั้น
    แต่ในทางกลับกัน คนจะพัฒนาปัญญาไม่ได้ ถ้าไม่มีการสื่อสัมพันธ์ การทำพฤติกรรม และการทำงานของจิตใจมาเกื้อหนุน หลักการมีอยู่ว่า องค์ประกอบทั้ง ๓ ด้านแห่ง กระบวนการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แม้ว่าจุดยอดจะอยู่ที่การพัฒนาปัญญา แต่ปัญญานั้นจะเกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่ได้ ต้องอาศัยจิตใจ พร้อมด้วยพฤติกรรมการเคลื่อนไหวและการใช้อินทรีย์สัมพันธ์
    ปัญญาอาศัยพฤติสัมพันธ์ (อินทรีย์สัมพันธ์ และพฤติกรรม) เช่น อย่างง่ายๆ เราจะได้ความรู้ เราต้องอาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กายของเรา สื่อความรู้จากโลกภายนอกเข้ามา เราต้องเคลื่อนไหว เดินไปหาข้อมูล ใช้มือหยิบ ฉวย ค้น แยก เลือก เก็บข้อมูล ต้องใช้วาจาพูดสอบถาม รู้จักปรึกษา เริ่มตั้งแต่รู้จักตั้งคำถาม ถ้าถามไม่เป็น พูดกับเขาไม่รู้เรื่องว่าถามอะไร หรือถามด้วยคำพูดไม่ดี เขาก็เกลียดเอา ไม่ร่วมมือ ไม่อยากตอบ เพราะฉะนั้นจึงต้องพัฒนาพฤติกรรมให้รู้จักพูด รู้จักตั้งคำถามให้ชัดเจน รู้จักพูดให้น่าฟัง ใช้ถ้อยคำสละสลวย พัฒนาพฤติกรรมให้สัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์อย่างได้ผลดี ให้เขามีไมตรีชื่นชม เต็มใจที่จะร่วมมือ
    ปัญญาอาศัยจิตใจ เช่น จิตใจต้องเข้มแข็งอดทน มีความเพียรพยายาม แน่วแน่มั่นคง มีสติ มีสมาธิ ถ้าจิตใจเกียจคร้าน ท้อถอย ไม่สู้ พอเจอปัญหาก็ถอย ความคิดไม่ก้าว ปัญญาก็ไม่พัฒนา แต่ถ้าใจสู้เข้มแข็ง เดินหน้าต่อไปก็สามารถพัฒนาปัญญาได้ หรือถ้าไม่มีสมาธิ ใจฟุ้งซ่าน คิดอะไรสับสนไม่ชัดเจน ต้องให้ใจมีสมาธิด้วยจึงจะเกื้อหนุนต่อการพัฒนาของปัญญา
    จิตใจเป็นฐานของพฤติกรรม อย่างที่พูดแล้วว่า การเคลื่อนไหวทำพฤติกรรมของคนเรา เกิดจากความตั้งใจ มีเจตนา ซึ่งประกอบด้วยแรงจูงใจและความตั้งใจที่ดี พฤติกรรมที่แสดงออกไปก็จะดี จิตใจก็ต้องอาศัยพฤติกรรม เป็นเครื่องมือสนองความต้องการของจิตใจอยากได้โน่นได้นี่ อยากเห็น อยากดู อยากฟัง หรือเกลียดชัง อยากหนี อยากทำลาย อยากไปให้พ้นจากสิ่งนั้นสิ่งนี้ ก็อาศัยพฤติกรรม ต้องสำเร็จด้วยพฤติกรรมทั้งนั้น ปัญญาเป็นตัวชี้นำ บอกทาง ให้แสงสว่าง กำกับ ควบคุม ดูแล จัดปรับ แก้ไข ขยายขอบเขต พัฒนา และทำหน้าที่ปลดปล่อยช่วยให้เกิดอิสระภาพ ทั้งแก่พฤติกรรม และแก่จิตใจ
    ปัญญาชี้นำพฤติกรรม ควบคุม กำกับ ขยายขอบเขต และปลดปล่อยพฤติกรรม อย่างที่พูดไปแล้วว่า พฤติกรรมจะทำอะไรได้แค่ไหน ก็ได้แค่เท่าที่มีปัญญารู้เท่าใด ถ้าไม่รู้เลย ก็ติดขัด ถ้ารู้เข้าใจ พฤติกรรมก็เดินหน้าต่อไป ยิ่งรู้เข้าใจมองเห็นกว้างไกลลึกซึ้ง พฤติกรรมก็ยิ่งกว้างขวาง ซับซ้อน และทำได้ผลมากขึ้นๆ
    ปัญญาบอกทางแก่จิตใจ รวมทั้งชี้นำ กำกับ จัดปรับ แก้ไข ขยายขอบเขต ตลอดจนปลดปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระ เช่น พอเจออะไร ถ้าไม่รู้เรื่อง ก็ติดขัดอัดอั้นตันทันที ทำอะไรไม่ถูก เกิดทุกข์เป็นปัญหา แต่พอปัญญามา รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร เป็นอย่างไร จะปฏิบัติอย่างไรเอามาใช้ทำอะไรได้ ก็โล่ง โปร่งสบายใจ หมดปัญหา ไม่บีบคั้นติดขัดคับข้องใจ เพราะฉะนั้น ปัญญามา ก็ทำจิตใจให้เป็นอิสระ มีความสุขโล่งโปร่ง แก้ปัญหาได้ เรียกว่าเป็นตัวปลดปล่อย คือ liberate จิตใจ
    เพราะฉะนั้น ชีวิตทั้ง ๓ ด้านของมนุษย์ คือ พฤติกรรม จิตใจ ปัญญา จึงคืบเคลื่อนไปด้วยกันเป็นระบบแห่งกระบวนการ ที่อาศัยซึ่งกันและกัน มนุษย์จึงต้องพัฒนาไปด้วยกันพร้อมทั้ง ๓ อย่าง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๑๕​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=731>
    บนฐานแห่งหลักความสัมพันธ์ของชีวิตสามด้าน
    ทรงตั้งหลักไตรสิกขาให้มนุษย์พัฒนาอย่างบูรณาการ

    เมื่อรู้เข้าใจหลักความสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กันของชีวิต ๓ ด้านแล้ว ก็นำหลักนั้นมาใช้ในการพัฒนาชีวิต เริ่มตั้งแต่ พัฒนาพฤติกรรม ให้ดีขึ้น โดยฝึกด้วยความตั้งใจ และมีความเข้าใจ ให้เกิดพฤติกรรมที่ดีงาม เกื้อกูลขึ้นมาติดตัว หรือ ประจำตัว เรียกว่า ศีล ในการฝึกให้เกิดศีลเราจะใช้..... " วินัย" เป็นตัวกำหนดรูปแบบ เวลานี้สับสนกันระหว่างคำว่า วินัย กับ ศีล บางครั้งใช้เป็นอันเดียวกัน หรือไม่ก็แยกห่างกันไปคนละเรื่องเลย
    ขออธิบายว่า วินัย คือการจัดตั้งวางระบบระเบียบแบบแผน รวมทั้งตัวลายลักษณ์อักษรที่เป็นข้อกำหนดว่า เราจัดวางระเบียบแบบแผนกำหนดพฤติกรรมกันไว้อย่างไร ส่วนคุณสมบัติของคนที่ตั้งอยู่ในวินัยนั้นเรียกว่า ศีล ก็แค่นี้เอง..... วินัยก็คือการจัดตั้ง วางระบบ กำหนดระเบียบแบบแผนในสังคมมนุษย์ ถ้าเราไม่มีระบบระเบียบแบบแผน พฤติกรรมของมนุษย์วุ่นวายมาก เราจึงใช้วินัยเป็นตัวกำหนด หรือ จัดระบบพฤติกรรม เมื่อพฤติกรรมของคนเป็นไปตามวินัยที่จัดตั้งวางกำหนดไว้ ก็เรียกว่า ศีล วินัยนั้นอยู่ข้างนอก เป็นเครื่องมือฝึกคนให้มีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม เป็นตัวหนังสือ เป็นวาระแห่งความเป็นระเบียบ เป็นระบบแบบแผนที่กำหนดการฝึก ตลอดจนเป็นการปกครอง คือ การจัดการดูแลควบคุมคนให้ปฏิบัติ หรือฝึกตนตามระเบียบที่จัดตั้งไว้ เมื่อคนปฏิบัติตามวินัยจนกลายเป็นคุณสมบัติในตัวเขาแล้ว เราเรียกว่า ศีล เพราะฉะนั้น คำว่า "มีวินัย" ที่ใช้กันในสมัยนี้ ก็คือ "ศีล" นั่นเอง
    การฝึกพฤติกรรม และการติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอกของมนุษย์ให้เป็นไปในทางที่ดีงาเกื้อกูล จนเกิดเป็นคุณสมบัติขึ้นในตัวของเขา เรียกสั้นๆ ว่า..... "ศีล" คือ การมีพฤติกรรมและการสื่อสัมพันธ์ที่พึงปรารถนา เรียกเต็มว่า "อธิศีล สิกขา" เป็นอันว่า ศีล คือกระบวนการฝึกพฤติกรรมและการติดต่อสัมพันธ์ของมนุษย์ กับสิ่งแวดล้อมหรือโลกภายนอก
    การพัฒนาด้านจิตใจ มีคุณสมบัติมากมายที่พึงต้องการ เช่น เมตตา กรุณา ศรัทธา กตัญญูกตเวที ความเคารพ ความเพียร ความเข้มแข็ง อดทน มีสติ มีสมาธิ ความร่าเริงเบิกบานผ่องใส ความสุข ฯลฯ เรียกว่า "อธิจิตตสิกขา" แต่เรียกให้สั้นและง่ายโดยเอาคุณสมบัติแกนสำคัญมาเป็นตัวแทน จึงเรียกการพัฒนาด้านจิตทั้งหมดว่า "สมาธิ"
    ทำไมจึงว่า "สมาธิ" เป็นคุณสมบัติแกน เป็นตัวแทน ที่ใช้เรียกชื่อการพัฒนาด้านจิตทั้งหมด
    ตอบว่า ในการพัฒนาจิตของคนนี้ มีคุณสมบัติสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง ถ้าขาดไปเสีย คุณสมบัติอย่างอื่นก็จะต้องตั้งอยู่ไม่ได้และการพัฒนาด้านจิตใจก็จะดำเนินไปไม่ได้
    เหมือนกับว่าเรามีของมากมายจะจัดเก็บตั้งมันไว้ หรือเราจะทำงานกับมัน หรือจะให้ของเหล่านั้นเจริญงอกงามขึ้นไป หรืออะไรแล้วแต่ มีสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่ง คือฐานที่ตั้ง หรือที่รองรับที่มั่นคง เช่น จะวางของบนโต๊ะ โต๊ะก็ต้องมั่น ถ้าโต๊ะสั่นไหว ของอาจจะล้มหรือหล่นหายไปเลย หรือจะทำงานกับของเหล่านั้น ก็ไม่สะดวกหรือไม่สำเร็จ แต่ถ้าโต๊ะที่ตั้งที่วางหรือที่รองรับนั้นมั่นคงไม่หวั่นไหว ของนั้นก็ตั้งอยู่ จัดทำอะไรกับมัน หรือจะให้เกิดการเคลื่อนไหวงอกงามเจริญขึ้น ก็ทำได้
    ในทางจิตใจก็เหมือนกัน คุณสมบัติที่เป็นแกนในการพัฒนาจิตใจ คือภาวะที่จิตใจอยู่ตัวได้ที่ ซึ่งช่วยให้คุณสมบัติอื่นๆ ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามได้ ตลอดจนช่วยให้ปัญญาทำงานได้ดี คุณสมบัติตัวแกนนี้เรียกว่า สมาธิ แปลว่า จิตตั้งมั่น จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการได้ตามต้องการ ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิ ไม่อยู่กับสิ่งที่ต้องการ หรืออยู่กับสิ่งที่ต้องการไม่ได้ เช่น อยู่กับหนังสือ อยู่กับงานไม่ได้เลยเดี๋ยวไปๆ
    สมาธินี่แหละเป็นตัวแทนของกระบวนการพัฒนาจิต เพราะฉะนั้นจึงเอาคำว่า สมาธิ มาเรียกแทนการพัฒนาคุณสมบัติด้านจิตทั้งหมด เรียกว่าเป็นวิธีเรียกแบบตัวแทน แต่ตัวแทนนี้เป็นตัวแกนด้วย
    ส่วนการพัฒนาปัญญา เรียกชื่อเต็มว่า "อธิปัญญาสิกขา" แต่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า..... "ปัญญา" คือกระบวนการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ เป็นอันว่า การพัฒนามนุษย์อยู่ที่ ๓ ด้าน หรือ ๓ แดน ซึ่งดำเนินไปด้วยกันอย่างเกื้อหนุนแก่กันเป็นระบบแห่งบูรณาการ
    การฝึกฝนพัฒนามนุษย์ เริ่มตั้งแต่ การเรียนรู้ต่างๆ นี้ ศัพท์บาลีเรียกว่า " สิกขา" ฉะนั้นการฝึก ๓ ด้านที่พูดมาแล้วจึงเป็นสิกขา ๓ ด้าน คำว่า ๓ นั้น ภาษาบาลีคือ "ติ" ถ้าเป็นสันสกฤต ก็คือ "ไตร" ฉะนั้นจึงเป็น ไตรสิกขา
    ไตรสิกขาก็แยกเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา คือกระบวนการพัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา เพื่อให้ชีวิตมนุษย์ดำเนินไปสู่ความสมบูรณ์ คือภาวะที่เป็นผู้มีวิชาแล้ว มีชีวิตเป็นอยู่ด้วยปัญญา ไม่ต้องมีชีวิตอยู่โดยพึ่งพาอาศัย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน และไม่ตกอยู่ใต้อำนาจครอบงำของมันอีกต่อไป คือพ้น ทุกข์ โดยกำจัด สมุทัย ได้ บรรลุจุดหมาย คือ นิโรธ เพราะปฏิบัติตาม มรรค ได้ครบถ้วน จะเห็นว่าอริยสัจสี่มาครบหมดเลยทีเดียว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/book/dhamma3/

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    คัดลอกโดย คุณ new
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๑๖​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=731>
    เมื่อพัฒนาด้วยไตรสิกขา ชีวิตก็เป็นอริยมรรค เพราะชีวิตที่ดี คือชีวิตที่ศึกษา
    ชีวิตต้องเป็นอยู่ดำเนินไปตลอดเวลา การที่ต้องเคลื่อนไหวพบประสบการณ์ใหม่ๆ ซึ่งต้องรู้จัก ต้องเข้าใจ ต้องปฏิบัติ หรือจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหาทางแก้ไขให้ผ่านรอด หรือลุล่วงไป ทั้งหมดนี้เรียกสั้นๆ คือ สิกขา หรือการศึกษา
    เพราะฉะนั้น การที่ชีวิตเป็นอยู่ได้ ต้องศึกษา หรือสิกขา ตลอดเวลา พูดสั้นๆ ว่า ชีวิตคือการศึกษา หรือ ชีวิตที่ดี คือชีวิตที่มีการเรียนรู้ หรือมีการฝึกฝนพัฒนาไปด้วย พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การดำเนินชีวิตที่ดีจะเป็นชีวิตแห่งการสิกขาไปในตัว
    เราเคยได้ยินฝรั่งบางพวกพูดว่า ชีวิตคือการต่อสู้ ชีวิตเป็นความฝัน แต่ถ้าพูดตามหลักพระพุทธศาสนา "ชีวิตคือการศึกษา" ถ้าใช้ภาษาฝรั่งก็ต้องพูดว่า To live is to learn หรือ Life is Learning ตรงนี้เป็นการประสานระหว่างการพัฒนามนุษย์หรือการเรียนรู้ ฝึกฝนพัฒนามนุษย์ ที่เรียกว่า..... สิกขา/ศึกษา กับการดำเนินชีวิตที่ดีของมนุษย์ที่เรียกว่า มรรค ให้เป็นอันเดียวกัน คือการดำเนินชีวิต ชนิดที่มีการศึกษาพัฒนาชีวิตไปด้วยในตัว จึงจะเป็นชีวิตที่ดี
    ศีล สมาธิ ปัญญา คือการพัฒนาพฤติกรรม จิตใจและปัญญา หรือ การศึกษา ๓ ด้านที่พูดไปแล้ว เมื่อขยายออกเป็น ข้อปฏิบัติ ก็มาเป็น มรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง เมื่อสรุปก็เป็น ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ฉะนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา ๓ อย่าง ของไตรสิกขา กับมรรคมีองค์ ๘ ประการ จึงตรงกัน กล่าวคือ
    ด้านศีล กระจายออกเป็น สัมมาวาจา สัมมากัมนันตะ และ สัมมาอาชีวะ คือ การใช้กายวาจาให้ถูกต้องดีงาม ทั้งในการกระทำทั่วไป ในการสื่อสัมพันธ์ และในการเลี้ยงชีพให้ถูกต้อง
    ด้านจิตใจ มีมากมาย แต่ตัวนำสำคัญมี ๓ คือ
    - มีความเพียรพยายาม เรียกว่า สัมมาวายามะ
    - มีสติเป็นตัวคอยจับกำหนดให้ทำงานได้ เป็นตัวเตือนไม่ให้เผลอพลาด และให้เดินหน้า ตลอดเวลา เรียกว่า สัมมาสติ
    - มีสมาธิ ให้จิตแน่วแน่ มีความสงบ ดำเนินไปอย่างมั่นคง เรียกว่า สัมมาสมาธิ
    ด้านปัญญา แยกเป็น ๒ คือ
    - มีความเห็น ความเข้าใจถูกต้อง เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
    - มีความดำริถูกต้อง วางแนวทางความคิดที่จะนำชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
    พอเริ่มกระบวนการโดยมี ความรู้ ความเข้าใจ ทำให้วางแนวความคิดถูกต้อง ทั้งเจตจำนง ความเพียรพยายาม และสติที่กำกับมาสนองแนวความคิดนี้ พฤติกรรมก็มาสนองเจตนำนงและความเพียรพยายามนั้น การดำเนินชีวิตจึงไปด้วยการเรียนรู้ ปฏิบัติต่อประสบการณ์และสถานการณ์ต่าง อย่างถูกต้องได้ผลดี ไตรสิกขา ก็มาประสานกับ มรรค
    ไตรสิกขา คือ การพัฒนามนุษย์ให้ดำเนินชีวิตดีงามถูกต้อง ทำให้มีวิถีชีวิตที่เป็น มรรค เป็นทางดำเนินชีวิต หรือ วิถีชีวิตที่ถูกต้องดีงามของมนุษย์ ต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตน คือ สิกขา มรรคกับสิกขาจึงประสานเป็นอันเดียวกัน เมื่อมองในแง่อริยสัจสี่ ก็เป็น อริยมรรค คือ วิถีชีวิตอันประเสริฐเมื่อเป็นมรรค ก็ดำเนินก้าวหน้าไปสู่จุดหมาย โดยกำจัดสมุทัยให้หมดไป ช่วยให้เรามีชีวิตที่พึ่งพาอวิชชา ตัณหา อุปาทาน น้อยลงไป ไม่อยู่ใต้อำนาจครอบงำของมัน พร้อมกับที่เรามีปัญญาเพิ่มขึ้น และดำเนินชีวิตด้วยปัญญามากขึ้น ทุกข์ก็น้อยลงไป สุขจะมากขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งในที่สุดพอ สมุทัยหมดทุกข์ก็หมด ก็บรรลุหมายเป็น นิโรธ โดยสมบูรณ์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๑๗​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=731>
    จุดเริ่มของการศึกษา มีช่องทางชีวิตเตรียมไว้ให้ แต่ต้องใช้เป็น จึงจะเกิดการพัฒนา
    เรื่องไม่จบเท่านี้ เมื่อแยกแยะออกไป ก็ถึงองค์ประกอบที่เราต้องการสุดยอดคือ ปัญญา ซึ่งมนุษย์จะตั้งจิตจำนงในใจ และจะทำพฤติกรรมได้แค่ไหน ก็อยู่ในขอบเขตของปัญญา และปัญญาเป็นตัวแก้ปัญหาที่แท้จริง แต่ปัญญาจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เราต้องรู้กระบวนการพัฒนาของปัญญา การที่จะเข้าใจเรื่องนี้ ก็ต้องย้อนกลับไปพูดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ใหม่อีก
    หันมาดูที่ตัวมนุษย์เองว่า มนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร และพร้อมกันนั้น มนุษย์สัมพันธ์กับโลกและสิ่งแวดล้อมอย่างไร ก็ต้องดูที่เครื่องมือสื่อสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมี ๒ ประเภท คือ
    ๑. มนุษย์สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยสิ่งที่เรียกว่า อินทรีย์ หรือ อายตนะ ๖ อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อินทรีย์เหล่านี้เป็นทาง หรือ ประตูเข้ามา ของความรู้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เรียกว่า การรับรู้ เพราะฉะนั้น อินทรีย์พวกนี้ทั้งหมดเรียกว่า ทวาร ๖ ซึ่งแปลว่าประตูหรือช่องทาง
    การที่เรียกว่า อายตนะ เพราะเป็นแดนต่อระหว่างชีวิตของเรากับโลก และที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะทำงานเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตัว เช่น ตาเป็นอินทรีย์ในการเห็น หูเป็นอินทรีย์ในการฟัง และเชื่อว่าทวาร เป็นประตู หรือ ช่องทางเชื่อมต่อระหว่างชีวิตกับโลก เป็นช่องทางเข้ามาของข้อมูลต่าง ๆ เป็นทางสัมพันธ์ซึ่งมี ๖ อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    ๒. เราติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก ด้วยพฤติกรรมที่แสดงออกทาง ประตู หรือ ทวาร ๓ คือ กาย วาจา ใจ เราสัมพันธ์กับโลกภายนอก โดย
    - เคลื่อนไหวจับโน่นจับนี่ ด้วยกาย
    - ติดต่อสัมพันธ์สื่อสารกับโลกมนุษย์ภายนอก ด้วยวาจา คือถ้อยคำพูดจา
    - และมีเจตจำนงตั้งเจตนา ด้วยใจ ว่าจะเอาอย่างไรกับมัน
    สรุปว่า การเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในโลก ทั้งหมดมีช่องทางติดต่อ คือ ทวาร ๒ ชุด
    - ทวารประเภทช่องทางที่จะรู้ ๖ ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    - ทวาร ประเภทช่องทางที่จะทำ ๓ ทาง คือ กาย วาจา ใจ
    การเกี่ยวข้องกับโลกหรือสิ่งแวดล้อมในด้านการกระทำนี้เรียกว่า กรรม ซึ่งแยกเป็นการ กระทำทางกายเรียกว่า กายกรรม..... การกระทำทางวาจาเรียกว่า วจีกรรม..... การกระทำทางใจเรียกว่า มโนกรรม

    เมื่อจับหลักนี้ได้ เราก็เข้าสู่กระบวนการพัฒนามนุษย์ที่จะต้องอาศัย ประตู หรือทวารทั้ง ๙ (๖+๓)
    เริ่มด้วยทวารชุด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เรียกว่า อินทรีย์ หรืออายตนะ ๖ นั้น เราใช้มันเพื่ออะไร ทำหน้าที่อะไร ถ้าเราไม่รู้หน้าที่ หรือ การทำงานของมัน เราก็ใช้สะเปะสะปะ เรื่อยเปื่อย ใช้ไม่เป็น ไม่มีประสิทธิภาพ เราก็ไม่พัฒนา แต่ถ้าเรารู้เข้าใจและใช้มันให้ถูกต้อง เราก็จะพัฒนาได้อย่างดี
    โดยสรุป หน้าที่ของอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แยกได้ ๒ อย่าง คือ
    ๑) หน้าที่รู้ คือรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เช่น ตาดู รู้ว่าเป็นอะไร เป็นนาฬิกา กล้องถ่ายรูป ดอกไม้ ใบไม้สีเขียว สีแดง สีเหลือง รูปร่างยาวสั้นใหญ่เล็ก หูได้ยินเสียงดัง เบา เป็นถ้อยคำ สื่อสารว่าอย่างไร เป็นต้น ทำให้ได้ data และ information
    ๒) หน้าที่รู้สึก หรือ รับความรู้สึก พร้อมกับรับรู้ข้อมูลเราก็มีความรู้สึกด้วย บางทีตัวเด่นกลับเป็นความรู้สึก เช่น เห็นแล้วรู้สึกสบาย หรือ ไม่สบาย ถูกตาไม่ถูกตา สวยหรือน่าเกลียด ถูกหูไม่ถูกหู เสียงนุ่มนวลไพเราะ หรือ ดังแสบแก้วหู รำคาญ เป็นต้น
    จะเห็นว่า อินทรีย์ หรือ อายตนะ หรือทวาร ๖ นี้ ทำหน้าที่ ๒ อย่างพร้อมกัน ทั้งรับรู้ข้อมูลด้วย และรับความรู้สึกด้วย พร้อมกัน
    - การรับด้านรู้ข้อมูล เรียกว่า ด้านศึกษา
    - การรับด้านความรู้สึก เรียกว่าด้านเสพ
    เป็นอันว่า อายตนะทำหน้าที่ ๒ อย่าง คือ ศึกษา กับ เสพ
    ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้น ถ้าจะให้มนุษย์พัฒนา มนุษย์จะต้องใช้อินทรีย์เพื่อรู้ หรือศึกษาให้มาก ส่วนมนุษย์ที่ไม่พัฒนา จะใช้อินทรีย์เพื่อเสพเป็นส่วนใหญ่ บางทีแทบไม่ใช้เพื่อการศึกษาเลย เอาแต่หาเสพสิ่งชอบใจ ไม่ชอบใจ ถูกหู ถูกตา เอาสวยงาม สนุกสนานบันเทิงเข้าว่า
    กุญแจสำคัญที่จะตัดสินว่ามนุษย์จะให้ชีวิตของตัวเองเป็นอย่างไร จะพัฒนาหรือไม่ จะช่วยให้โลกหรือสังคมไปทางไหน ก็อยู่ที่การใช้อินทรีย์นี้แหละ คนที่ไม่พัฒนาก็จะ ใช้อินทรีย์เพื่อเสพสนองความรู้สึก อยู่กับความรู้สึกสบายไม่สบาย สุขทุกข์ ชอบใจ ไม่ชอบใจ แล้วก็วนเวียนอยู่อย่างนั้น สุขทุกข์ของเขาอยู่ที่ความชอบใจ ไม่ชอบใจ เจอสิ่งชอบใจก็เป็นสุข เจอสิ่งไม่ชอบใจก็เป็นทุกข์ แล้วก็หาทางหนีสิ่งที่ไม่ชอบใจ หาแต่สิ่งชอบใจวนเวียนอยู่แค่นี้
    แต่ถ้าใช้อินทรีย์เพื่อศึกษาสนองความต้องการรู้ ก็จะใช้ตา หู ไปในทางการเรียนรู้ และพัฒนาไปเรื่อย ๆ ปัญญาจะเกิด รู้ว่าอะไรเป็นอะไร แล้วต่อไปก็ถึงจุดแยก คนที่อยู่กับการใช้อินทรีย์เพื่อเสพความรู้สึก ความสุขของเขาก็จำกัดอยู่กับสิ่งที่ชอบใจ แต่คนที่ใช้อินทรีย์เพื่อศึกษา จะพัฒนาความสุขให้ขยายขอบเขตกว้างขวางออกไป พร้อมกับแรงจูงใจที่เกิดขึ้นใหม่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๑๘​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    เมื่อคนเริ่มศึกษา การพัฒนาก็เริ่มทันที ความต้องการอย่างใหม่ก็มี ความสุขอย่างใหม่ก็มา
    ตอนนี้พึงทราบว่ามีแรงจูงใจ ๒ แบบ
    - แรงจูงใจแบบที่ ๑ คือ แรงจูงใจในการเสพ เรียกว่า ตัณหา ซึ่ง มากับเรื่องของความรู้สึก
    - แรงจูงใจแบบที่ ๒ คือ แรงจูงใจในการศึกษา (และสร้างสรรค์) เรียกว่า ฉันทะ ซึ่งมากับเรื่องของความรู้
    ตัณหา เป็นความต้องการประเภทความรู้สึก คือมีปฏิกิริยาสนองตอบต่อสิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจ ถ้าชอบใจสิ่งใดก็จะเกิด ตัณหา ปรารถนาจะได้เสพสิ่งนั้นอีก ถ้าไม่ชอบใจก็จะเกิด วิภวตัณหา อยากจะหนี อยากจะหลบ อยากจะทำลาย คนที่เป็นนักเสพก็วนเวียนอยู่กับแรงจูงใจที่เรียกว่า ตัณหา
    แต่พอเราใช้อินทรีย์เพื่อศึกษา ก็เกิดการเรียนรู้ พอได้ความรู้มาก็เกิดความอยากรู้ยิ่งขึ้นไปว่าอะไรเป็นอะไร พอได้สนองความอยากรู้ก็เกิดความสุข จากการสนองความต้องการในการรู้ ความสุขจะพัฒนาขึ้น ตอนนี้จะมีความสุขจาการสนองความใฝ่รู้ ยิ่งกว่านั้น พอรู้ว่าอะไรเป็นอะไร เขาจะเริ่มแยกได้ว่า เออ….. สิ่งนี้มันอยู่ในภาวะที่ควรจะเป็นไหม ปัญญาที่รู้ที่แยกได้จะทำให้เกิดความอยาก หรือ ความต้องการคืบเคลื่อนก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง คืออยากให้สิ่งนั้น ๆ อยู่ในภาวะที่มันควรจะเป็น ซึ่งเป็นธรรมดาของการศึกษาที่จะเป็นอย่างนั้นเอง เพราะความรู้ทำให้เราแยก หรือจำแนกได้ เราเห็นโต๊ะตัวนี้สมบูรณ์เรียบร้อย เราก็พอใจ พอเห็นตัวนั้นไม่สมบูรณ์บกพร่อง เราก็อยากให้มันสมบูรณ์
    เมื่อความรู้แยกแยะได้แล้ว ก็จะเกิดความต้องการ หรือเกิดความอยากชนิดใหม่ คืออยากให้มันอยู่ในภาวะที่ควรจะเป็น ซึ่งเรียกสั้น ๆ ว่า อยากให้มันดี ถ้ามันยังไม่ดีก็อยากให้มันดี แล้วก็ก้าวไปสู่การอยากทำให้มันดี แล้วก้าวไปสู่พฤติกรรมในการกระทำเพื่อให้มันดี ตอนนี้แหละพฤติกรรมในการกระทำ (เพื่อให้มันดี) ก็เกิดขึ้น
    พอทำให้ดีได้ก็เกิดความสุข เพราะความสุขเกิดจากการสนองความต้องการ เมื่อเราพัฒนาความต้องการอย่างใหม่ขึ้นได้ ความสุขก็พัฒนาไปด้วย ถ้าเราไม่พัฒนาความต้องการ ความสุขของเราก็จำกัดอยู่กับการเสพ คือต้องการสิ่งชอบใจ และ ไม่ต้องการสิ่งไม่ชอบใจ แล้วก็วนเวียนอยู่กับ ตัณหา
    พอเราพัฒนาในด้านความรู้ เราใช้อายตนะในเชิงศึกษาเรียนรู้ ก็เกิดความอยากรู้ซึ่งเป็นความต้องการใหม่ เมื่อหาความรู้เพื่อสนองความต้องการที่จะรู้ ก็ได้ความสุขจากการเรียนรู้ เมื่อต้องการให้มันดี อยากให้มันดี และได้ทำเพื่อสนองความต้องการที่อยากให้มันดีนั้นได้ ก็เกิดความสุขจากการทำให้มันดี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๑๙​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    การกระทำก็กลายเป็นความสุข
    เพราะฉะนั้น มนุษย์จึงพัฒนาด้วยการศึกษา คือ พัฒนาชีวิตของตน โดยพัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ พัฒนาปัญญา รวมทั้งพัฒนาความสุขด้วย ตรงนี้เป็นจุดสำคัญคือ การพัฒนาความสุข ซึ่งเกิดจากการสนองความต้องการใหม่ ที่เรียกว่า..... ใฝ่รู้ ใฝ่ดี ใฝ่ทำให้ดี หรือ ความอยากรู้และอยากทำให้มันดี ซึ่งทางพระเรียกว่า ฉันทะ เป็นแรงจูงใจชนิดใหม่ ซึ่งถ้าไม่มีการศึกษาก็จะไม่มีแรงจูงใจชนิดนี้
    ฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงให้เรา ลดตัณหา พยายามทำตัณหาให้น้อยลง คืออาศัยมันและขึ้นต่อมันให้น้อยลง พร้อมกับพัฒนาและใช้ ฉันทะ ให้มากขึ้น แต่เรามักจะพูดกันด้านเดียว บอกให้ลดละตัณหา ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ความอยากความต้องการต้องลดละให้หมดกลายเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง
    พระพุทธศาสนาแยกความอยาก มี ๒ ประเภท คือ
    - ความอยากที่เป็น อกุศล เรียกว่า ตัณหา ความอยากแบบนี้ถ้าเราตกเป็นทาสของมันแล้ว จะไม่พัฒนา ได้แต่จมอยู่กับความสุข และ ความทุกข์จากความชอบใจและไม่ชอบใจ
    - ความอยากที่เป็น กุศล เรียกว่า ฉันทะ ถ้าเราพัฒนาปัญญา ความปรารถนาที่เป็นแรงจูงใจชนิดใหม่ก็เกิดขึ้น ทำให้เราได้ความสุขชนิดใหม่ และจะนำเราก้าวหน้าไปในการพัฒนาชีวิต พอเกิดฉันทะ พระพุทธเจ้าตรัสว่านี้คือ..... แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดีงาม เป็นรุ่งอรุณของการศึกษา ถ้าเด็กคนไหนเกิดฉันทะ เกิดความใฝ่รู้ เกิดความใฝ่ดี เกิดความใฝ่จะทำให้ดี หรือเกิดความใฝ่สร้างสรรค์ขึ้นมาแล้ว มั่นใจได้เลยว่าเด็กคนนั้นจะพัฒนาแน่ๆ เพราะแสงเงินแสงทองมาแล้ว เราจึงเรียกมันว่ารุ่งอรุณของการศึกษา เพราะฉะนั้นต้องให้คนเกิดความอยากที่เรียกว่า ฉันทะ และเลิกละความเข้าใจผิดที่บอกว่าความอยากเป็นตัณหาหมด ซึ่งทำให้เลยเถิดไป กลายเป็นว่าอยากอะไรไม่ได้ ต้องละ ต้องลด ต้องกำจัดหมด
    ถ้าจะปฏิบัติให้ถูก ต้องไม่มัวลดละความอยาก แต่ต้องเปลี่ยนความอยากที่เป็น อกุศล มาเป็นความอยากที่เป็น กุศล คือฉันทะนี้ให้ได้ ชีวิตก็จะดี ชาติประเทศก็จะพัฒนา ใฝ่รู้ ใฝ่ดี ใฝ่สร้างสรรค์ หรือ ใฝ่รู้ใฝ่ดีใฝ่ทำให้มันดี นี่คือ กุญแจดอกแรกที่จะไขเข้าไปสู่แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คือการเข้าถึงความจริงของธรรมชาติ และนำความรู้ในความจริงของธรรมชาตินั้นมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชีวิตของมนุษย์ ให้เป็นชีวิตที่ดีงาม และมีสังคมที่อยู่ในสันติสุข เริ่มแรก พอเกิดมา เราก็มีอินทรีย์ที่เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต ซึ่งใช้ติดต่อสื่อสารกับสิ่งแวดล้อม หรือโลกภายนอก ตอนนี้แหละการดำเนินชีวิตที่ถูกหรือผิด ก็เริ่มทันที
    จากที่พูดมานี้ ก็เป็นอันว่า ช่องทางติดต่อสื่อสารกับโลกโดยทาง อายตนะ หรืออินทรีย์ ๖ ที่เป็นทั้งแดนศึกษา และแดนเสพนี้ ในการพัฒนาคน เราต้องใช้มันเพื่อการศึกษาให้มากขึ้น ให้เกิดความใฝ่รู้ ใฝ่ดี ใฝ่ทำให้ดี พูดสั้น ๆ คือ ใฝ่ศึกษา และ ใฝ่สร้างสรรค์ (ใฝ่รู้ คือใฝ่ศึกษา ใฝ่ดี และใฝ่ทำให้มันดี ก็คือใฝ่สร้างสรรค์)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๒๐​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    การพัฒนามนุษย์มีแหล่งใหญ่อยู่ในมโนกรรม จุดสำคัญนี้ถ้าพลาดไป ก็คือช่องทางใหญ่สู่หายนะ
    ได้พูดแล้วว่า ทวาร คือ ช่องทางของการกระทำ การแสดงออกทางกายวาจาใจ เมื่อเกิดมีปัญญาและมีเจตจำนงที่ดีมากขึ้น เราก็พัฒนาการกระทำของเราทั้ง ๓ ทางนั้นให้ดียิ่งขึ้น คือ
    - มโนกรรม ความคิดของเราก็ดีขึ้น
    - วจีกรรม การพูดของเราก็ดีขึ้น
    - กายกรรม การกระทำทางกายของเราก็ดีขึ้น
    กรรม ๓ ทางนี้ก็เป็นกระบวนการพัฒนามนุษย์ที่ครบวงจร
    จำไว้อย่างหนึ่งว่าพระพุทธศาสนาถือว่า มโนกรรมสำคัญที่สุด คนทั่วไปมักเห็นว่ากายกรรมสำคัญที่สุด เพราะถึงขั้นลงมือลงไม้ เอาอาวุธไปฟันไปฆ่าเขาได้ แต่ขอให้พิจารณาดูหลักที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ กมฺมุนา วตฺตตี โลโก ” ..... โลก (สังคมมนุษย์) เป็นไปตามกรรมนั้น เงื่อนไขนี้มาจากมโนกรรมเป็นสำคัญ ทั้งโลกนี้ไม่ใช่ถูกขับเคลื่อนด้วยกายกรรมเป็นใหญ่ แต่มันมาจากมโนกรรม กระบวนการรู้สึกนึกคิดเชื่อถือในใจของคนนี่แหละเป็นปัจจัยสำคัญ เจตจำนง แรงจูงใจมาจากไหน มาจากแนวความคิด ความเชื่อ ความยึดถือในค่านิยมหลัก อุดมการณ์ เป็นต้น ตรงนี้แหละสำคัญที่สุด
    เมื่อมีความเชื่อ แนวความคิด การยึดถืออุดมการณ์ หรือแม้เพียงค่านิยม ซึ่งทางพระใช้ศัพท์เดียวง่ายๆ ว่า..... “ ทิฏฐิ ” ถ้าทิฏฐิ เป็นอย่างไรแล้ว แรงจูงใจจะมาสนอง แล้วต่อไปกระบวนการของกรรมก็ดำเนินไป โดยแสดงออกมาทางกายวาจา ซึ่งเป็นไปตามที่เชื่อหรือยึดถือนั้น ตัวอย่างเช่น ถ้ามนุษย์เชื่อ หรือยึดถือ หรือมีแนวความคิดว่า..... มนุษย์จะประสบความสำเร็จ สุขสมบูรณ์ต่อเมื่อมีวัตถุพรั่งพร้อม หรือมีเศรษฐกิจมั่งคั่งที่สุด ถ้ามีความเชื่อ หรือ แนวความคิดแบบนี้ กระแสวัฒนธรรมอารยธรรมจะไปตามทั้งหมด สังคมจะเดินไปตามนี้
    ด้วยอิทธิพลของความเชื่อนี้ มนุษย์จะมุ่งทำการทุกอย่างเพื่อสร้างความพรั่งพร้อมทางวัตถุ กระแสวัตถุนิยมจะรุนแรงขึ้นจนกระทั่งกลายเป็นบริโภคนิยม
    สังคมบริโภคนิยม คือ สังคมซึ่งมีฐานความคิดที่เชื่อว่ามนุษย์จะมีความสุขสมบูรณ์เมื่อวัตถุมีเสพพรั่งพร้อม กระแสวัฒนธรรมอารยธรรมปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นบริโภคนิยมเช่นนี้ เพราะมี ทิฏฐิ ที่เป็นฐานความคิด หรือ ความเชื่อ ซึ่งสืบมาจากตะวันตก ที่ได้สร้างสรรค์ความเจริญทางวัตถุขึ้นมา โดยเฉพาะที่เด่นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แล้วเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมารับใช้สนองอุตสาหกรรม ทำการผลิตให้เกิดความเจริญทางเศรษฐกิจ
    ตัวการสำคัญในกระบวนการนี้คืออุตสาหกรรม ซึ่งเดิมที่ฝรั่งมุ่งระดมกำลังทำการผลิตเพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลน ( scarcity ) แต่พออยู่ในวิถีชีวิตของการผลิสร้างวัตถุไปนานๆ และจิตใจครุ่นคิดมุ่งหมายที่จะมีความพรั่งพร้อมทางวัตถุไปๆ มาๆ โดยไม่ต้องรู้ตัว ฝรั่งทั่วๆ ไปก็กลายเป็นวัตถุนิยม หรือมีแนวคิดทิฏฐิวัตถุนิยมเป็นกระแสหลัก กลายเป็นแนวคิดทิฏฐิว่าคนจะมีความสุขมากที่สุด เมื่อมีวัตถุเสพบริโภคมากมายพรั่งพร้อมที่สุด แล้วก็เปิดทางแก่ลัทธิบริโภคนิยม
    ความเป็นไปทั้งหมดนี้มีจุดเริ่มที่โยงกับฐานความคิดใหญ่ คือ ความมุ่งหมายที่จะพิชิตธรรมชาติ Encyclopaedia Britannica เขียนไว้ในหัวข้อ “ History of Science ” (ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์) บอกว่า..... เมื่อถอยหลังไปพันปีก่อนโน้น ตะวันตกล้าหลังตะวันออกในด้านการปฏิบัติจัดการกับธรรมชาติ คือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ด้วยความมุ่งหมายที่จะเอาชนะธรรมชาติ จึงทำให้ตะวันตกสามารถล้ำหน้าตะวันออกไปได้ในด้านวิทยาศาสร์และเทคโนโลยีนั้น
    มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า A Green History of the World เขียนโดย Clive Ponting ได้พยายามขบคิดในเรื่องการแก้ปัญหาธรรมชาติแวดล้อมเสีย หนังสือนั้นได้วิเคราะห์แนวคิดของตะวันตกให้เห็นว่า อารยธรรมที่ทำให้ธรรมชาติแวดล้อมเสียนี่เป็นมาอย่างไร มีบทหนึ่งเขาได้สืบสาวความคิดของชาวตะวันตกตั้งแต่ Socrates, Plato, Aristotle จนมาถึงนักจิตวิทยาอย่าง Frseud รัฐบุรุษอย่าง Francis Bacon นักปรัชญาผู้นำที่เป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ด้วยอย่าง Rene Descartes ตลอดจนนักคิดฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ทั้งหมด ล้วนมีวาทะที่พูดถึงความใฝ่ฝัน หรือความกระหายที่จะพิชิตธรรมชาติ
    นักประวัติศาสตร์โซเวียตคนหนึ่งถึงกับเขียนไว้ว่า ต่อไปเมื่อมนุษย์เจริญด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธรรมชาติจะเป็นเหมือนขี้ผึ้งอันอ่อนเหลวในกำมือที่เราจะปั้นให้เป็นอย่างไรก็ได้ Descartes ก็พูดไว้แรงมาก Plato, Aristotle ก็พูดแนวนี้ทั้งนั้น
    นี่คือจุดมุ่งหมายที่นำทางความคิดความเชื่อของตะวันตกมาตลอดเวลาสองพันกว่าปี คือ..... ความเชื่อและมุ่งหมายใฝ่ฝันว่า เมื่อไรมนุษย์พิชิตธรรมชาติได้สำเร็จ โลกมนุษย์จะพรั่งพร้อมสุขสมบูรณ์เป็นโลกที่เป็นสวรรค์บนดิน จึงทำให้มนุษย์ชาวตะวันตกได้เพียรพยายามแสวงหาความรู้ในความเร้นลับของธรรมชาติ แล้วพัฒนาวิทยาศาสตร์และพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมา มโนกรรมคือแนวคิด ความเชื่อที่ว่านี้ อยู่เบื้องหลังอารยธรรมปัจจุบันทั้งหมด นี่คือตัวอย่างความหมายที่พระพุทธเจ้าตรัสว่ามโนกรรมสำคัญที่สุด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/book/dhamma3/

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    คัดลอกโดย คุณ new​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๒๑​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    การพัฒนาคน พัฒนาสังคม ไม่มีทางได้ผลจริงถ้าทอดทิ้งฐานของการพัฒนา คือมโนกรรม
    เป็นอันว่า อารยธรรมปัจจุบันที่มีตะวันตกเป็นตัวแทนนี้ เจริญมาด้วยแนวคิดพื้นฐานคือความมุ่งหมายพิชิตธรรมชาติ ปัจจุบันนี้ตะวันตกกลับมาติเตียนแนวคิดนี้ ดังเช่นหนังสือเล่มที่กล่าวถึงได้ติเตียนบรรพบุรุษชาวตะวันตกเต็มที่ว่าล้วนแต่เชื่อผิด ถือผิด คิดเห็นผิดพลาดไป มุ่งหมายแต่จะเอาชนะธรรมชาติ จึงทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด
    ตามแนวคิดทิฏฐิของตะวันตกนั้น มนุษย์มองธรรมชาติเป็นศัตรู จึงพยายามเอาชนะมัน แล้วก็จัดการกับมันตามชอบใจ โดยไม่มีความรับผิดชอบอย่าง AlGore รองประธานาธิบดีอเมริกา ซึ่งเป็นนักสิ่งแวดล้อมคือ environmentalist ด้วยได้เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Earth in the Balance โลกในภาวะดุลยภาพ โดยบอกว่า..... เรายอมรับว่าตะวันตกมีแนวคิดที่ทำให้อารยธรรมของเรานี้ ไม่มีความรับผิดชอบต่อธรรมชาติ คิดจะทำอะไรกับธรรมชาติตามชอบใจ
    ความสำนึกผิด และ ความผิดหวังต่อแนวคิดทิฐิที่จะพิชิตธรรมชาติของตะวันตกนี้ เป็นเหตุให้ฝรั่งหาทางแก้ไข รวมทั้งการหันมาสำรวจและแสวงหาแนวคิดตะวันออก และแม้แต่ความคิดของชนอินเดียนแดงที่เคยถูกเหยียดหยาม กลับได้รับความชื่นชม ฝรั่งอเมริกันหลายคน เช่น AlGore
    ได้ยกวาทะของ Seattle หัวหน้าเผ่าอินเดียนแดง (ซึ่งเอาชื่อมาตั้งเป็นชื่อเมือง Seattle ในอเมริกา) ขึ้นมาเอ่ยอ้าง ตามเรื่องว่า เมื่อครั้งประธานาธิบดี Franklin Pierce ติดต่อขอซื้อที่ดินของอินเดียนแดง
    หัวหน้าเผ่าคนนี้ได้มีหนังสือตอบประธานาธิบดีไปว่า
    “ อะไรกัน ผืนฟ้า และแผ่นดิน ท่านจะเอามาซื้อขายได้อย่างไร นี่เป็นความคิดที่แปลกประหลาด ” ตอนนี้ คนอเมริกันยุคปัจจุบันหันมายกย่องสรรเสริญว่าอินเดียนแดงมีความคิดที่ถูกต้อง นี่แหละ..… ความคิดพิชิตธรรมชาติเป็นเบื้องหลังอารยธรรมปัจจุบัน ซึ่งเฟื่องฟูเต็มที่ในยุคอุตสาหกรรม ที่มนุษย์ เอาความรู้วิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์อุปกรณ์เทคโนโลยี แล้วก็พัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อความเจริญทางเศรษฐกิจ ด้วยความมุ่งหมายที่จะสร้างวัตถุให้พรั่งพร้อมตามความเชื่อว่า “ มีเสพบริโภคมากที่สุด จะเป็นสุขที่สุด ”
    แนวคิดทิฐิความเชื่อที่เป็นมโนกรรมนี้ เป็นอิทธิพลสำคัญที่สุดที่จะเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตและสังคม ถ้าคนในสังคมไทยมีความเชื่อว่า ผลสำเร็จจะเกิดขึ้นจากการดลบันดาลของอำนาจเหนือธรรมชาติ ถ้าคนไทยเชื่ออย่างนี้ สังคมไทยจะเป็นอย่างไร ขอให้พิจารณาแล้วขณะนี้เป็นหรือเปล่า
    สังคมไทยจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ได้ตกอยู่ใต้แนวคิดความเชื่อว่า ผลสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจดลบันดาลของสิ่งที่นอกเหนือธรรมชาติ นี่คือจุดที่เราจะต้องแก้ปัญหาสังคมไทยถึงขั้นมโนกรรม เหมือนกับที่ฝรั่งขณะนี้กำลังหาทางแก้ปัญหาการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ต้องลงไปถึงขั้นรากฐานความคิด ถึงขั้นต้องแก้ความเชื่อในการพิชิตธรรมชาติ ที่ถือว่า มนุษย์จะมีความสำเร็จและสุขสมบูรณ์ ต่อเมื่อมีอำนาจจัดการกับธรรมชาติได้ตามต้องการ
    แนวคิดทิฐิสองอย่างนี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาที่สุดโต่งไปคนละด้าน แต่จุดที่เป็นตัวแท้ของปัญหาก็อยู่ที่ปมเดียวกัน คือมันบ่งชี้ว่ามโนกรรมสำคัญที่สุด และที่ว่าโลกนี้เป็นไปตามกรรม คือ เป็นไปตามมโนกรรมอย่างที่ว่านั่นแหละ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๒๒​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    ตราบใดยังไม่ถึงจุดหมาย ยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องศึกษา
    ความหมายของธรรมที่ปฏิบัติ จึงวัดด้วยไตรสิกขา

    เกณฑ์วินิจฉัยความหมายของหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ว่าปฏิบัติอย่างไรถูก อย่างไรผิด เวลาศึกษาหลักธรรมต่างๆ เรามักเน้นเรื่องความหมายกันแค่ว่า ธรรมข้อนี้คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไรแต่การให้ความหมายเท่านั้นยังไม่พอ ต้องมีเกณฑ์ที่สัมพันธ์กับระบบทั้งหมดได้
    ธรรมทั้งหมดสัมพันธ์ส่งผลต่อกันเป็นกระบวนการ และอยู่ในระบบเดียวกันอย่างที่พูดถึงไตรสิกขา ก็เป็นระบบในตัวของมันแล้ว ระบบของไตรสิกขนั้นก็ยังไปเป็นส่วนย่อยที่รวมอยู่ในระบบใหญ่ของอริยสัจ ที่คลุมระบบใหญ่ของธรรมชาติทั้งหมดอีกชั้นหนึ่ง คือว่าด้วยกฎธรรมชาติที่ครอบคลุมทั้งความเป็นจริงของธรรมชาติทั่วไป และโยงมาถึงชีวิตมนุษย์ที่เป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งด้วย
    เกณฑ์ที่จะใช้ตรวจสอบนี้ต้องให้เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงในระบบ เกณฑ์หนึ่งก็ คือ ไตรสิกขา เนื่องจากว่าคุณสมบัติและข้อปฏิบัติหรือหลักธรรมทุกอย่างก็อยู่ในกระบวนการปฏิบัติที่เรียกว่า ไตรสิกขาทั้งหมด ไม่เกินจากนี้ไปได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นมันจะต้องมีส่วนร่วมส่งผลอยู่ในกระบวนการของ ไตรสิกขา
    ไตรสิกขา คือ กระบวนการฝึกฝนพัฒนามนุษย์ มีข้อปฏิบัติย่อย ๆ ที่ส่งผลต่อทอดกันคืบหน้าไปเรื่อยจนถึงจุดหมาย ถ้าไม่ถึงจุดหมายก็ไม่หยุด เท่ากับมีเกณฑ์ที่บอกว่า ข้อปฏิบัติ หรือ หลักธรรมทุกข้อ จะต้องชัดว่าส่งผลให้มีการก้าวหน้าไปในกระบวนการของไตรสิกขาอย่างไร คือจะต้องทำให้เราเดินหน้าและส่งผลต่อให้ข้ออื่นรับช่วงไปจนถึงจุดหมายสุดท้ายนั้น รวมความว่า ธรรมะต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบในกระบวนการไตรสิกขานี้ ต้องมีลักษณะ ๒ อย่าง คือ
    - ทำให้คืบเคลื่อนหรือก้าวหน้าไป
    - ส่งผลต่อข้ออื่น
    ในการปฏิบัติสมาธิ เราได้ความหมายของสมาธิไว้แต่ต้นว่า จิตตั้งมั่น สงบ แน่วแน่ พอจิตตั้งมั่นสงบแน่วแน่ได้ตามความหมายแล้ว เราก็พอใจนึกว่าถูกแล้ว แต่ยังหรอก ลองเอาเกณฑ์มาตรฐานมาวัด ว่าถูกตามหลักไตรสิกขาหรือไม่ พอวัดด้วยเกณฑ์นี้ เราก็จะมองเห็นต่อไปอีกว่า อ้อ ถ้าปฏิบัติสมาธิถูกจะไม่ใช่หยุดอยู่แค่นั้น คือไม่ติดอยู่แค่สมาธิ แต่ต้องช่วยให้เราก้าวต่อไป แล้วก็ดูว่าสมาธิส่งผลต่อปัญญาอย่างไร ถ้าไม่ส่งผลต่อก็แสดงว่าพลาด
    สมาธินั้นมีผลดีหลายอย่าง มีทั้งผลโดยตรงและผลข้างเคียง เช่น ทำให้จิตใจสงบ สบาย มีความสุข ทำให้จิตใสมองเห็นอะไรชัดเจน และทำให้เกิดกำลัง ทำให้มุ่งแน่วไปอย่างแรง เหมือนกระแสน้ำที่ไหลลงมาจากภูเขาวิ่งไปทางเดียว มีกำลังแรงมาก เจออะไรก็พัดพาไปได้
    สรุปว่า..... จิตสมาธิมีคุณสมบัติ หนึ่ง….. มีพลัง สอง..… สงบสบาย มีความสุข สาม….. ใส มองเห็นอะไร ชัดเจน เมื่อได้คุณสมบัติเหล่านี้ เราก็เอามาใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พอสงบสุขสบาย ก็อาจจะเอามาใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน เวลามีความทุกข์ก็มานั่งสมาธิให้จิตใจสงบ เพลินสบาย หายทุกข์ ซึ่งก็ได้ประโยชน์อย่างหนึ่ง แต่ยังไม่ถูกต้องตามหลักไตรสิกขา ถ้าใช้ประโยชน์เพียงแค่นี้ก็กลายเป็นหยุด ไม่ก้าวต่อไป อาจจะเขวออกเป็น มิจฉาสมาธิ ไม่แค่เป็นสิ่งกล่อม เหมือนยากล่อมประสาท เป็นต้น เอาแค่สบาย
    ไม่ต้องคิดทำอะไร มีทุกข์ก็เข้ามาหลบซึ่งมีทางพลาดได้มาก
    วิสุทธิมรรค บอกว่า..... สมาธินั้นเข้าพวกกันได้กับความขี้เกียจ ( สมาธิสฺส โกสชฺชปกฺขตฺตา ) เพราะว่ามันสงบสบาย โน้มเอียงไปทางเกียจคร้าน เฉื่อยชา ไม่อยากทำอะไร กลายเป็นตกหลุมความประมาท นั่นก็คือเริ่มเขว ฉะนั้นการใช้ประโยชน์สมาธิจะต้องระวังถ้าใช้ไม่เป็นก็เกิดโทษได้
    สังคมไทยบางทีศึกษาธรรมะไม่ตลอดกระบวนการ และไม่มีหลักในการวินิจฉัย คนไทยไม่น้อยเอาสมาธิมาใช้แค่หาความสุข สงบสบาย ซึ่งก็ใช้ได้ในระดับหนึ่ง ท่านไม่ได้ปฏิเสธ จะเอามาใช้เป็นเครื่องพักผ่อนจิตใจ หรือแก้ปัญหาความทุกข์ก็ได้ อย่างน้อยทำให้นอนหลับได้ ทำให้มีจิตใจสดชื่นขึ้น
    แต่ต้องมองต่อไปว่าประโยชน์ยังไม่จบแค่นั้น สมาธิช่วยให้เรามีความเข้มแข็งพร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปด้วย
    จึงต้องมองต่อไปอีกว่าจะมีองค์ธรรมอะไรมารับผลจากสมาธิเพื่อจะก้าวต่อไป ก็จะเห็นหลักไตรสิกขา ว่าต้องส่งผลต่อให้ ปัญญามารับช่วงทำงานเดินหน้าต่อไป
    ประโยชน์ที่สำคัญของสมาธิ คือ ทำให้จิตเป็น “ กัมมนีย์ ” แปลว่า ควรแก่งาน หรือ เหมาะแก่งาน คือใช้เป็นที่ทำงาน ซึ่งปัญญาจะทำหน้าที่ได้ดี เช่น มองเห็นชัด สำรวจตรวจสอบได้เป็นลำดับ พิจารณาได้
    ลึกซึ้ง วิเคราะห์วิจัยได้ละเอียด จนเข้าถึง ความจริงแจ่มแจ้ง สมาธิที่ทำให้คนหยุดศึกษา แสดงว่าเป็นสมาธิที่ใช้ผิด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๒๓​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    สมาธิเตรียมจิตพร้อมให้ปัญญาทำงานเดินหน้า ฉันใด
    สันโดษก็เตรียมตัวพร้อมให้มุ่งเพียร ไม่พะวักพะวน ฉันนั้น

    อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ สันโดษ ซึ่งทำให้พอใจในวัตถุเสพบริโภคของตน มีเท่าไรก็ยินดีเท่านั้น หลายคนบอกว่าสันโดษแล้วจะได้มีความสุข ก็ถูกต้อง แต่ผิดด้วย ถ้าใครตอบว่าสันโดษเพื่อสุขก็ผิดแน่ๆ พุทธศาสนาไม่ได้สอนอย่างนั้นแค่นั้น
    ความสุขเป็นผลพลอยได้ของสันโดษ ตามมาเอง แต่ยังไม่ใช่วัตถุประสงค์ ผลที่ต้องการไม่ได้อยู่ที่นี่ ผลที่ต้องการจากสันโดษคืออะไร
    เราสันโดษแล้วจะได้อะไรขึ้นมา ที่จะเป็นความคืบหน้าและช่วยให้ก้าวต่อไปในไตรสิกขา พอสันโดษในวัตถุ เราก็สุขกับวัตถุที่มีอยู่หรือได้มาแล้ว สุขง่ายด้วยวัตถุน้อย มีวัตถุแค่นี้ก็สุขแล้ว ตรงข้ามกับตอนที่ไม่สันโดษเราไม่สุขสักที ความสุขของเราไปอยู่กับวัตถุที่ยังไม่ได้ เราจึงกระวนกระวายโลดแล่นหาวัตถุเสพ เวลาของเราใช้หมดไปกับเรื่องนี้ ความคิดก็ครุ่นวุ่นวายกับการที่จะไปหาสิ่งเสพ ว่าทำอย่างไรจะได้อันนั้นอันนี้มา
    ความไม่สันโดษจึงทำลายเวลา สิ้นเปลืองแรงงาน และสิ้นเปลืองความคิดที่จะใช้ในการสร้างสรรค์ เพราะฉะนั้นท่านจึงให้สันโดษ เพื่อจะได้สุขกับวัตถุได้ง่าย พอสุขกับวัตถุได้ง่ายแล้ว เราไม่ใช่อยู่เฉย ๆ งานการหน้าที่ของเรามีอยู่แล้ว ตอนนี้เวลาแรงงานและความคิด เราออมไว้ได้ เราก็เอาเวลาเรี่ยวแรงความคิดนั้นไปทุ่มเทให้กับการทำกิจหน้าที่ งานภารกิจหน้าที่นั้นก็เดินหน้าก้าวไปได้ดี
    สรุปว่า..... สันโดษเพื่อเตรียมพร้อม สันโดษเป็นธรรมะขั้นเตรียมพร้อม คือให้พร้อมที่จะก้าวต่อไป ธรรมะนี่มีทั้งขั้นเตรียมตัวให้พร้อม และขั้นก้าวเดิน สันโดษเป็นธรรมะประเภทเตรียมตัวให้พร้อม พอเราพร้อมแล้ว เราไม่พะรุงพะรัง ไม่มัวกังวล ไม่มัวพะวักพะวนกับการหาสิ่งเสพบำรุงบำเรอตัวเอง ทีนี้จะทำงานการสร้างสรรค์อะไรก็ไปมุ่งหน้าแน่วดิ่งไปเลย
    พระพุทธเจ้าไม่ตรัสสันโดษไว้โดดเดี่ยว หรือลอยๆ แต่ตรัสไว้กับการทำหน้าที่และความเพียรในการทำหน้าที่นั้น เช่นสำหรับพระสงฆ์ ทรงสอนให้สันโดษในจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เสร็จแล้วก็ให้ยินดีในการละอกุศล และพัฒนากุศล ทรงสอนให้ไม่สันโดษในการพัฒนากุศลนั้น
    พูดสั้นๆ ว่า ให้สันโดษในวัตถุเสพบริโภค แต่ให้ไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย ถ้าเป็นกุศลธรรม สิ่งที่ดีงาม การสร้างสรรค์คุณความดีที่ประเสริฐ พระองค์ทรงสอนไม่ให้สันโดษ พระพุทธองค์เองก็ไม่สันโดษและเพียรไม่ระย่อ หลักการนี้มีทั้งในพระสูตรและอภิธรรม ถ้าสอนสันโดษต้องสอน ความไม่สันโดษด้วยพร้อมกัน และต้องรู้ว่าให้สันโดษในอะไร ไม่สันโดษในอะไร คือ
    -- ให้สันโดษในวัตถุเสพ ที่จะบำรุงบำเรอตนเอง หาความสุขส่วนตัว
    -- ให้ไม่สันโดษในกุศลธรรม ในการทำความดีงาม ในการทำการสร้างสรรค์
    สันโดษ กับ ไม่สันโดษ จึงไปด้วยกันได้อย่างดี สันโดษมาหนุนความไม่สันโดษ ช่วยให้เราก้าวต่อไปในไตรสิกขา ให้สามารถทำกรรมที่ดียิ่งขึ้น ในการพัฒนาชีวิตและสังคม นี่เป็นตัวอย่างของเกณฑ์วินิจฉัย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๒๔​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    ถ้าคนไทยตั้งอยู่ในหลักสี่ จะไม่ตกหลุมวิกฤติ ถึงแม้ถลำไป ก็จะถอนตัวขึ้นสู่วิวัฒน์ได้โดยพลัน
    หลักธรรม ๔ ประการต่อไปนี้ เป็นหลักการใหญ่ขั้นพื้นฐานของพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสย้ำอยู่เสมอ แต่ตามปกติตรัสไว้เป็นอิสระจากกัน เพราะมีนัยโยงถึงกัน หรือครอบคลุมกัน ในที่นี้ขอยกมาย้ำไว้ในที่เดียวกัน ถือว่าเป็นแก่นแท้ที่ปฏิบัติได้ทันทีและเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันของสังคมไทย
    หลักสำคัญเหล่านี้จะต้องใช้ในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในการแก้วิกฤติของสังคมไทย และสร้างสรรค์ประเทศชาติต่อไปข้างหน้า คนไทยต้องอยู่กับหลักการ ๔ อย่างต่อไปนี้ให้ได้ คือ
    ๑. หลักการกระทำ คือ มุ่งทำการให้สำเร็จด้วยความเพียรพยายาม โดยเฉพาะความเพียรของตนเอง หลักนี้เรียกว่า หลักกรรมและความเพียร พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราเป็นกรรมวาที เราเป็นวิริยวาที พระองค์ไม่ได้ตรัสอย่างเดียว แต่ตรัสคู่กันว่า กรรมวาที และ วิริยวาที "เราเป็นผู้กล่าวหลักการกระทำ เราเป็นผู้กล่าวหลักความเพียร" คนจะทำต้องมีความเพียร ถ้าไม่มีความเพียรก็ก้าวไปในการทำไม่ได้ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งกรรมและวิริยะ ให้หวังผลสำเร็จจากการกระทำด้วยเรี่ยวแรงกำลังของตน
    ไม่มัวหวังผลจากการอ้อนวอนนอน รอผลดลบันดาลจากลาภลอย จากการรวยทางลัด การทุจริต การเสี่ยงโชค การพนัน เป็นต้น
    สรุปว่า ต้องถือหลักการกระทำให้สำเร็จด้วยความเพียร ขอยกพุทธพจน์มาย้ำไว้ว่า..... “ ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายแม้ที่ได้มีแล้วในอดีตกาล... พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย แม้ที่จักมีในอนาคตกาล….. แม้เราเองผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะในบัดนี้ ก็เป็นกรรมวาท (ตรัสหลักกรรม) เป็นกิริยวาท (ตรัสหลักการที่จะต้องทำ) เป็นวิริยวาท (ตรัสหลักความเพียร)” ( องฺ.ติก.๒๐/๕๗๗/๓๙๖)
    ๒. หลักการศึกษาพัฒนาตน คือ ต้องถือเป็นหน้าที่โดยมีจิตสำนึกที่จะฝึกตนให้ก้าวหน้าต่อไปในการทำกุศลกรรมต่างๆ ที่จะให้ชีวิตและสังคมดีงมยิ่งขึ้น นี่เรียกว่า หลักไตรสิกขา
    ตามหลักเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐด้วยการฝึก ดังนั้น ในการที่จะก้าวไปสู่ความดีงาม ความประเสริฐสมบูรณ์นั้น ชีวิตต้องพัฒนาด้วยไตรสิกขาเพื่อก้าวไปข้างหน้า ชีวิตจะต้องดีขึ้น ต้องเรียนรู้ ต้องฝึกฝน ต้องศึกษา ต้องพัฒนาเสมอไป จะต้องไม่มัวหยุดอยู่กับที่ ขอยกคาถาพุทธพจน์แห่งหนึ่งมาไว้เตือนใจว่า..... "เพราะฉะนั้นแล เป็นคนอยู่ในโลกนี้ พึงศึกษาตามหลักไตรสิกขาเถิด สิ่งใดก็ตามที่พึงรู้ได้ในโลกว่าเป็นสิ่งผิดร้ายไม่ดี ไม่พึงประพฤติผิดร้ายไม่ดี เพราะเห็นแก่มัน ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่าชีวิตนั้นน้อยนัก" ( ขุ.สุ.๒๕/๔๐๙๔๘๕ )
    พร้อมทั้งพุทธภาษิตว่า..... "ในหมู่มนุษย์ คนที่ฝึกแล้วเป็นผู้ประเสริฐ" ( ขุ.ธ.๒๕/๓๓/๕๗ )
    ๓. หลักไม่ประมาท ในการที่จะทำอะไรๆ ด้วยความเพียรและในการที่จะพัฒนาตนนั้น จะต้องไม่ประมาท ต้องตระหนักในความสำคัญของกาลเวลาและความเปลี่ยนแปลงว่า ในขณะที่เราดำเนินชีวิตอยู่นี้ สิ่งทั้งหลายรอบตัวเราและชีวิตของเราล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เราจะมัวนิ่งนอนใจอยู่ไม่ได้ มีอะไรที่ควรจะทำต้องรีบทำ ต้องเร่งขวนขวายไม่ประมาท ไม่ผิดเพี้ยน ไม่นอนใจ
    หลักไม่ประมาทนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าเหมือนกับ รอยเท้าช้าง ที่ครอบคลุมธรรมะของพระองค์ไว้หมด แล้วก็เป็น ปัจฉิมวาจา ของพระองค์ก่อนปรินิพพานด้วย จึงถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง
    ในความไม่ประมาทนี้ แม้สังคมก็จะหยุดนิ่งไม่ได้ เพราะสังคมมีแนวโน้มว่า เมื่อไรมีความสำเร็จ เมื่อไรเจริญดีมีความพรั่งพร้อม เมื่อไรมีความสุขสบาย คนจะเริ่มเฉื่อยลงและเริ่มอ่อนแรงแล้วก็เริ่มประมาท
    สังคมมักจะเป็นอย่างนั้น คือ พอสบายก็ประมาท หันไปฟุ้งเฟ้อมัวเมาหลงระเริง ติดในความสุขสบาย เพลิดเพลิน สำเริง สำราญ ลุ่มหลงในการบันเทิง ไม่เร่งรัดขวนขวายทำกิจหน้าที่ ผัดเพี้ยนเฉื่อยชา
    เพราะฉะนั้น ผู้บริหารสังคมจะต้องคอยกระตุ้นเตือนปลุกเร้าประชาชนให้ไม่ประมาทมัวเมาทุกเวลา เครื่องพิสูจน์การพัฒนามนุษย์อย่างหนึ่งคือ ทั้งที่สุขสบายก็ไม่ประมาท ถ้าใครทำได้สำเร็จอย่างนี้เมื่อไรก็มีคุณสมบัติที่จะเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลเดียวที่จะไม่ประมาทเลยเป็นอันขาด คือพระอรหันต์ นอกจากนั้น แม้แต่พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี ก็ยังประมาทได้ คือพอประสบความสำเร็จไปเท่านี้ ก็พอใจว่าเราได้ก้าวหน้ามามีความดีเยอะแล้ว ก็ชักเฉื่อย พอเฉื่อยลง
    พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าเธอประมาทแล้ว
    ในพระพุทธศาสนานี้ ท่านไม่ให้หยุดในการสร้างสรรค์กุศลธรรม ตราบใดยังไม่ถึงจุดหมาย ก็ต้องก้าวไปในไตรสิกขาโดยไม่ประมาท ต้องก้าวต่อไป ๆ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า..... “ เราไม่สรรเสริญแม้แต่
    ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย ” ( องฺ.ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑ ) ..... พุทธพจน์นี้แสดงหลักเดียวกัน คือความไม่ประมาท
    ๔. หลักพึ่งตนได้ซึ่งทำให้มีอิสรภาพ การพึ่งตน คือ ต้องทำให้แก่ตัวเราด้วยตนเอง จึงต้องพัฒนาตัวเอง คือ เราพัฒนาตนเองเพื่อให้ทำได้ด้วยตนเอง เมื่อเราทำได้ด้วยตนเองเราก็พึ่งตนได้ ถ้าเราทำไม่ได้ เราก็ยังพึ่งตนเองไม่ได้ เราต้องพยายามพึ่งตนให้ได้ แต่เราจะทำได้ด้วยตนเองและพึ่งตนได้ เราต้องทำตนให้พึ่งตนได้ โดยฝึกตนขึ้นไปให้ทำได้ทำเป็น
    พระพุทธเจ้าเน้นเรื่องการทำตนให้พึ่งตนได้ หรือทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ มากกว่าเน้นการพึ่งตน ถ้าพูดว่าให้พึ่งตน แต่เขาไม่มีความสามรถที่จะพึ่งตนแล้ว เขาจะพึ่งตนได้อย่างไร ก็ได้แต่ซัดกันว่า..... นี่เธอยากจน เธอก็พึ่งตนสิว่าอย่างนั้น มันจะพึ่งตนอย่างไรในเมื่อไม่มีความสามารถที่จะพึ่งตนนั้น
    เพราะฉะนั้น อย่าพูดแค่พึ่งตนซึ่งเป็นเพียงคำเตือนเริ่มต้นแต่ต้องก้าวต่อไปสู่การฝึกฝนปฏิบัติซึ่งเป็นคำสอนที่แท้ว่า จงพยายามพึ่งตนด้วยการทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ แล้วทำอย่างไรจะให้ตนเป็นที่พึ่งได้ก็ต้องฝึกต้องศึกษาพัฒนาตน
    พอพัฒนาตนก็เข้าไตรสิกขา ซึ่งทำให้ตนเองมีคุณสมบัติคุณภาพดีมากขึ้นสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นกุศลยิ่งขึ้น ได้ผลดียิ่งขึ้น ก็พึงตนเองได้ พอพึ่งตนเองได้ ก็ไม่ต้องพึ่งคนอื่น ก็เป็นอิสระ กลายเป็นว่าสามารถเป็นที่พึ่งของคนอื่น
    ความเป็นอิสระนี้ มิใช่เฉพาะการไม่ต้องคอยพึ่งพาขึ้นต่อคนอื่นเท่านั้น แต่หมายถึงการไม่ต้องพึ่งพาขึ้นต่อวัตถุมากเกินไปด้วย ดังนั้นอิสรภาพที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง จึงหมายถึงการมีความสามารถที่จะมีความสุขในตัวเองได้มากขึ้น โดยพึ่งพาขึ้นต่อวัตถุเสพบริโภคน้อยลง คือเป็นคนที่สุขได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องเอาชีวิตไปขึ้นต่อวัตถุ ไม่ต้องเอาความสุขไปฝากไว้กับสิ่งเสพบริโภค ซึ่งจะทำให้ลดความแย่งชิงเบียดเบียนกันในสังคม
    พร้อมกันนั้น เมื่อได้พัฒนาตนเองให้มีความสามารถมากขึ้นทั้งในการที่จะมีความสุขที่เป็นอิสระ และในการที่จะทำการสร้างสรรค์ต่างๆ ก็จะทำให้ทั้งชีวิตของตัวเองก็ดีขึ้น และสามารถเกื้อกูลแก่ผู้อื่นหรือแก่สังคมได้มากขึ้น พร้อมไปในคราวเดียวกัน ขอยกพุทธภาษิตมาย้ำเตือนอีกว่า..... “ ตนแลเป็นที่พึ่งของตน โดยแท้จริงคนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ มีตนที่ฝึกดีแล้วนั้นแหละ คือ ได้ที่พึ่งที่หาได้ยาก” ( ขุ.ธ.๒๕/๒๒/๓๖ )
    หลัก ๔ ประการนี้สัมพันธ์เป็นอันเดียวกัน แต่แยกในเชิงปฏิบัติให้ใช้ได้เหมาะสม และได้ผลจริงจัง การปฏิบัติจากทุกหลักจะมาบรรจบประสานเป็นอันเดียวกัน ขอทวนอีกครั้งว่า หลัก ๔ ประการนี้ต้องย้ำอย่างที่สุด เพราะเป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนา และเหมาะสมยิ่งกับยุคปัจจุบัน
    ๑. ทำการให้สำเร็จด้วยความเพียรพยายาม
    ๒. เรียนรู้ ฝึกศึกษาพัฒนาตน ให้ชีวิตและสังคมก้าวหน้าไปสู่ความดีเลิศประเสริฐยิ่งขึ้น
    ๓. มีความไม่ประมาท กระตือรือร้น ขวนขวายสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม ไม่ปล่อยเวลาให้ เสียไปโดยเปล่าประโยชน์
    ๔. พึ่งตนได้ มีอิสรภาพ พร้อมที่จะเผื่อแผ่ความสุข เป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นได้
    มีสี่ข้อนี้พอแล้ว ประเทศไทยพัฒนาได้แน่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    หัวใจพระพุทธศาสนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)</TD><TD>
    หน้า ๒๕​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    แก่นแท้ของพุทธธรรม คือความหลุดพ้นพึ่งตนได้
    ในสังคมของกัลยาณมิตร ผู้มีชีวิตที่เกื้อกูลกัน

    ขอจบด้วยคำสรุปตามหัวข้อที่ตั้งไว้ให้ว่า..... “แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา” นั้นมีอยู่ในพระสูตรหนึ่งชื่อว่า มหาสาโรปมสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องแก่นของพระพุทธศาสนาไว้ มีใจความตามพระสูตรนี้ว่า..... ชีวิตที่ประเสริฐ (พรหมจริยะ) คือตัวพระพุทธศาสนานี้ เปรียบได้กับต้นไม้ ซึ่งมีองค์ประกอบต่างๆ คือ
    ลาภสักการะ เหมือนกิ่งใบ
    ศีล เหมือนสะเก็ดไม้
    สมาธิ เหมือนเปลือกไม้
    ปัญญา เหมือนกับกระพี้ไม้
    วิมุตติ (ความหลุดพ้น) เป็นแก่น
    ตรงนี้แหละ มาถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คือ ความหลุดพ้นเป็นอิสระ เข้ากับหลักที่พูดสุดท้ายว่า จะต้องพัฒนาตนให้พึ่งตนเองได้ และเป็นอิสระ จนกระทั่งในที่สุดเป็นอิสระทางจิตใจและปัญญา เราพึ่งคนอื่น เช่น พึ่งพระพุทธเจ้า ก็เพื่อทำตัวเราให้พึ่งตนเองได้ พระพุทธเจ้าช่วยให้เราพึ่งตนเองได้นั่นเอง จุดหมายก็คือพึ่งตนเองได้เป็นอิสระ เพราะฉะนั้นหลักพุทธศาสนาจึงมาถึง แก่นแท้ที่สูงสุด คือวิมุตติ ความหลุดพ้น เป็นอิสระ แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ก็จบลงตรงนี้เอง
    ตอนแรกเป็นอิสระทางพฤติกรรม ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมที่เป็นอิสระทางสังคม ทำอะไรๆ พูดอะไร ได้โดยไม่ถูกบังคับครอบงำ ข่มเหง แต่พร้อมกันนั้นก็ต้องเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากจิตใจที่เป็นอิสระจากกิเลส จึงจะเป็นอิสระจากการเบียดเบียนกันแท้จริง อิสรภาพที่แท้จึงไม่ใช่เป็นพฤติกรรม แต่เป็นภาวะทางจิตใจและปัญญา และอิสรภาพที่สมบูรณ์คืออิสรภาพทางปัญญา
    ด้านพฤติกรรมนั้น ท่านไม่สอนให้เป็นอิสระแบบแยกต่างหากจากกัน หรือต่างคนต่างอยู่ แต่พฤติกรรมนั้นท่านมุ่งให้พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ให้เกื้อหนุนกันด้วยวัตถุและเรี่ยวแรงกำลังเป็นต้น โดยรู้เท่าทันว่าวัตถุทรัพย์สินภายนอก รวมทั้งลาภสักการะทั้งหลาย เราต้องอาศัยแต่มันเป็นเพียงปัจจัยเกื้อหนุน เหมือนเป็นกิ่งใบ ไม่ใช่เป็นแต่แก่นสาร
    ด้านพฤติกรรมเกี่ยวกับชีวิตภายนอกนี้ ให้เราเป็นที่พึ่งแก่คนอื่นได้ พร้อมกับเราต้องพึ่งคนอื่นด้วย ให้สังคมเป็นสังคมประเภทพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นกัลยาณมิตรของกันและกัน โดยแต่ละคนก็มีอะไรให้คนอื่นได้พึ่งบ้าง ต่างก็เกื้อหนุนกันให้สังคมอยู่ผาสุก และให้แต่ละคนมีโอกาสพัฒนายิ่งขึ้นไปในไตรสิกขา เพื่อให้แต่ละคนมีอิสรภาพที่พึ่งตนได้แท้จริงทางจิตใจและทางปัญญา อย่างนี้จึงจะเป็นสังคมที่ดี
    ขอให้ดูวินัยของพระ คือ ชีวิตในสังฆะตามพุทธบัญญัติ จะเห็นชัดว่าเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงจัดวางเป็นแบบไว้ คือสังคมสงฆ์เป็นสังคมตัวอย่างแห่งการที่แต่ละคนพยายามพัฒนาตนให้มีอิสรภาพทาง จิตใจและปัญญา โดยที่ชีวิตทางด้านพฤติกรรมนั้นพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เป็นการเกื้อหนุนกันให้ก้าวไป ไม่ใช่ช่วยให้เขาไม่ต้องทำแล้วคอยรอรับความช่วยเหลือ
    คนที่มีอิสรภาพทางจิตใจและทางปัญญาเท่านั้น จึงจะสร้างสรรค์สังคมอย่างนี้ และอยู่กันด้วยดีในสังคมอย่างนี้ได้ เรื่องแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา พูดมาถึง แก่นธรรมเพื่อชีวิต แล้ว ขอจบเพียงนี้ แม้ว่าที่จริงยังมีหัวข้อที่ควรพูดอีก ๒ เรื่อง หรือ ๒ บท คือ แก่นธรรมเพื่อสังคม กับ แก่นธรรมเพื่อโลก แต่จำเป็นต้องยุติเพราะความยาวที่เกินเวลา
    ขออนุโมทนาท่านอธิบดี ท่านรองอธิบดี ท่านผู้อำนวยการและท่านผู้บริหารระดับสูงของกรมการศาสนา ขอความเจริญผาสุกจงมีแด่ทุกท่าน
    - จบ -​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9276

    สติปัฏฐาน ๔
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    โดย ปุ๋ย

    สติปัฏฐาน ๔
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน


    เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด
    เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕



    การบำเพ็ญเพียรที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม คือความจงใจ ใคร่ต่อการประพฤติดีจริงๆ ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง ควรทำด้วยความจงใจ การประกอบการงานทุกประเภทถ้าขาดความจงใจแล้ว แม้จะเป็นงานเล็กน้อย ย่อมไม่สำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อยและน่าดูเลย เพราะความจงใจ เป็นเรื่องของสติและหลักใจ ที่จะยังงานนั้นๆ ให้สำเร็จได้ขาดไปจากตัวและวงงาน ผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงาน จึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว

    ทั้งกิจนอกการใน ถ้าขาดความจงใจ เป็นเครื่องจดจ่อต่องานแล้ว แม้ผู้เป็นนายช่างทำสิ่งต่างๆ ซึ่งมีความฉลาดอยู่บ้าง ทำอะไรมีความสวยงามและแน่นหนามั่นคง แต่ถ้าขาดความจงใจใคร่ต่องานแล้ว แม้งานนั้นจะสำเร็จก็ย่อมลดคุณภาพและความสวยงาม ฉะนั้น ความตั้งใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยผู้มุ่งต่อผลของงานอันสมบูรณ์จึงไม่ควรมองข้ามไปเราเป็นนักบวชและนักปฏิบัติ ควรเห็นความตั้งใจจดจ่อต่อธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกประเภท โดยมีความรู้สึกอยู่กับงานนั้นๆ แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัด เช็ดถูกุฎีและศาลา ปูอาสนะ ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน ตลอดการเคลื่อนไหวไปมา เหลือบซ้ายแลขวา ควรมีสติประจำอยู่ทุกๆขณะ ชื่อว่าผู้มีความเพียรประจำตน

    การฝึกหัดนิสัยเพื่อเป็นคนมีสติอันเคยชิน จำต้องอาศัยการงานเป็นเครื่องฝึกหัด การประกอบการงานภายนอกแต่ละประเภทเป็นธุระชิ้นหนึ่งๆ การเดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนาเป็นธุระชิ้นหนึ่งๆ ทั้งนี้ ถ้ามีสติจดจ่อกับงานที่ทำ ชื่อว่ามีความเพียร ไม่ขาดวรรคขาดตอน การฝึกหัดนิสัยของผู้ใคร่ต่อธรรมชั้นสูง จึงควรเริ่มและรีบเร่งฝึกหัดสติไปกับงานทุกประเภทแต่ต้นมือ

    เพื่อความแน่นอนและมั่นคงในอนาคตของเรา โปรดฝึกหัดนิสัยตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกลายเป็นคนมีสติประจำตนทั้งขณะที่ทำและขณะอยู่เฉยๆ ถึงเวลาจะทำความสงบภายในใจ สติจะกลายเป็นธรรมติดแนบอยู่กับใจและตั้งขึ้นพร้อมกับความเพียรได้อย่างใจหมาย ทั้งมีกำลังพอจะบังคับจิตใจให้หยั่งลงสู่ความสงบได้ตามต้องการ ส่วนมากที่พยายามให้จิตเข้าสู่ความสงบไม่ได้ตามใจหวังนั้น เนื่องจากสติที่เป็นแม่แรงไม่มีกำลังพอ จิตจึงมีโอกาสเล็ดลอดออกไปสู่อารมณ์ได้อย่างง่ายดาย เหมือนเด็กซนซึ่งปราศจากพี่เลี้ยงผู้ตามดูแล เด็กอาจได้รับอันตรายในเวลาใดก็ได้

    จิตที่มีความเพลินประจำตนโดยปราศจากสติตามรักษา จึงมีสิ่งรบกวนตลอดเวลาจนหาความสงบสุขไม่ได้ พี่เลี้ยงของจิตคือ สติกับปัญญา คอยให้ความปลอดภัยแก่จิตตลอดสายที่จิตคิดไปตามอารมณ์ต่างๆ คอยพยายามปลดเปลื้องอารมณ์ที่มาเกี่ยวข้องกับใจ และพยายามแสดงเหตุผลให้จิตรับทราบเสมอ ใจที่ได้รับเหตุผลจากปัญญาพร่ำสอนอยู่เป็นนิจ จะฝืนคิดและติดอารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึกต่อไปอีกไม่ได้

    การฝึกหัดสติและปัญญาเพื่อให้มีกำลังคืบหน้าไม่ล่าถอยเสื่อมโทรม โปรดฝึกหัดตามวิธีที่กล่าวมา แต่อย่าปล่อยตัวเป็นคนสะเพร่ามักง่ายในกิจการทุกอย่างที่มุ่งประโยชน์แม้ชิ้นเล็กๆ นิสัยมักง่ายที่เคยเป็นเจ้าเรือนนี้ ยังจะกลายเป็นโรคเรื้อรังฝังลงในใจอย่างลึกและจะทำลายความเพียรทุกด้านให้เสียไป จงพยายามฝึกหัดนิสัยให้เป็นคนแน่นอนต่อกิจการที่ชอบทั้งภายนอกภายในเสมอ อย่ายอมปล่อยให้ความสะเพร่ามักง่ายเข้าฟักตัวอยู่ในนิสัยได้เลย

    เพราะผู้เคยฝึกหัดนิสัยให้เป็นคนจริงต่อหน้าที่การงานทุกประเภท ต้องเป็นผู้สามารถจะยังกิจการทุกอย่างไม่ว่าภายนอกภายในให้สำเร็จได้ โดยไม่มีอุปสรรคใดๆมากีดขวาง แม้จะอบรมจิตใจซึ่งเป็นงานสำคัญทางภายใน ก็จำต้องประสบความสำเร็จลงด้วยความรอบคอบ หาทางตำหนิตนเองไม่ได้ เพราะกิจการภายนอกกับภายในส่อถึง ใจ ผู้เป็นประธานดวงเดียวกัน ถ้าใจเป็นนิสัยมักง่าย เมื่อเข้าไปบ่งงานภายใน ต้องทำงานนั้นให้เหลวไปหมด

    ไม่มีชิ้นดีเหลืออยู่พอเป็นที่อาศัยของใจได้เลย เรื่องภายนอกกับเรื่องภายในส่อถึงกันอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นการกระทำงานภายนอกจึงส่อถึงเรื่อง หัวใจของเราในทางภายใน ถ้าใครเป็นคนสะเพร่ามักง่ายในกิจธุระหน้าที่ภายนอกแล้ว นิสัยซึ่งเคยนี้ก็หมายถึงเรื่องดวงใจนั่นเอง เป็นผู้บ่งงานในกิจการภายนอกนั้น เมื่อเข้าไปบ่งงานหรือว่าทำกิจการงานภายใน ใจที่เคยเป็นผู้สะเพร่ามักง่ายก็จะต้องทำเช่นนั้น

    เพราะเหตุนั้น การฝึกหัดให้เป็นคนแน่นอน ให้เป็นคนจริงต่อธุระหน้าที่ด้วยความจงใจ ทำจนสุดวิสัยในกิจการงานนั้นๆให้สำเร็จลงด้วยความความสามารถของตนด้วยความตั้งใจ ผู้นี้แลเมื่อเข้าไปดำเนินภายในจิตใจ คือจะอบรมจิตใจให้เป็นไปในทางสงบก็ดี ให้เป็นไปในทางปัญญาก็ดี จะเป็นไปโดยรอบคอบทั้งสองทางคือ ความสงบ

    ในเมื่อปรากฏขึ้นภายในใจ ก็จะมีความรอบคอบในความสงบของตน เมื่อออกพิจารณาในทางปัญญา ก็จะรอบคอบในทางปัญญาของตน ปัญญารอบคอบปัญญา เหมือนกับว่าเหล็กแข็งกับเหล็กอ่อนสามารถจะบังคับกันได้ เรียกว่าเหล็กกล้าสามารถบังคับเหล็กอ่อนหรือตัดเหล็กอ่อนก็ได้อย่างที่เราเคยเห็นกันอยู่ ปัญญาที่มีความฉลาดสามารถที่จะพิจารณาปัญญาส่วนละเอียดได้เช่นเดียวกัน นี่ขึ้นอยู่กับการฝึกหัดนิสัย

    ให้พยายามฝึกนิสัยของตนเสมอตั้งแต่ต้นทาง ต้นทางก็หมายถึงใจดวงนี้ ปลายทางก็หมายถึงใจดวงนี้ หยาบก็หยาบอยู่ที่ตัวของเราเอง เข้าสู่ความละเอียดก็เข้าสู่ความละเอียดอยู่ที่ตัวของเราเอง นี่เป็นการเทียบเฉยๆว่าต้นทางหรือปลายทาง คำว่าต้นทาง หมายถึงว่าเริ่มทำงานทีแรก หรือเริ่มอบรมจิตใจทีแรก เรียกว่าต้นทาง การเริ่มทำงานในด้านจิตใจของเราไปถึงขั้นที่มีความสงบ มีความเยือกเย็น จิตเป็นสมาธิและมีความแยบคายทางด้านปัญญาบ้าง นี้เรียกว่ากลางทาง

    จิตมีความเฉลียวฉลาด ทั้งด้านสมาธิก็ละเอียด ทั้งด้านปัญญาก็มีความสามารถจนถอดถอนตนของตนให้พ้นจากสิ่งแวดล้อมทั้งหลายได้ นั้นเรียกว่าปลายทาง แต่เมื่อสรุปความลงแล้ว ต้นกับปลายก็เหมือนกันกับผลไม้ ผลไม้เราจะเรียกได้ไหมว่าต้นของผลไม้ ปลายของผลไม้ มองดูที่ไหนก็เป็นผลไม้ลูกเดียวนั้นเอง เหมือนอย่างมะพร้าว เราจะชี้ถูกไหมว่า ปลายของมะพร้าวลูกหนึ่งๆนั้นอยู่ที่ไหน ต้นของเขาอยู่ที่ไหนในมะพร้าวลูกนั้น ก็เรียกว่ามะพร้าวลูกหนึ่งเท่านั้นไม่มีต้นไม่มีปลาย

    เรื่องของใจก็ทำนองเดียวกันนั้น แต่เราพูดถึงเรื่องการปฏิบัติคือกิริยาของใจ ที่จะพินิจพิจารณาในความหยาบ ปานกลางหรือความละเอียดแห่งความเป็นอยู่ อารมณ์ที่เป็นอยู่ อุบายที่จะพิจารณาในอารมณ์เหล่านั้นมีความหยาบ มีความปานกลาง หรือมีความละเอียด ซึ่งเกิดขึ้นมาจากใจดวงเดียว ต่างกันเพียงเท่านี้เอง จึงเรียกว่าตอนต้น ตอนกลางหรือตอนปลาย เรียกว่าต้นทางหรือปลายทาง มีความหมายได้เพราะอาการของจิตหรือสิ่งแวดล้อมของจิตมีความหยาบความละเอียดเท่านั้น

    ขอให้พากันฝึกหัดนิสัยของตนให้เป็นคนจริงเสมอ อย่าเป็นคนวอกแวกคลอนแคลน อย่าเป็นคนจับจด ฝึกหัดนิสัยให้จริง ว่าจะไปต้องไป ว่าจะอยู่ต้องอยู่ ว่าจะทำต้องทำ กำหนดเวล่ำเวลาอย่างใดไว้แล้วอย่าให้เคลื่อนคลาดในเวล่ำเวลาซึ่งตนของตนได้กำหนดเอาไว้ ตนของตนได้เอามือลงเขียนไปแล้วให้เอามือลบ อย่าทำทำนองที่ว่ามือเขียนแล้วลบด้วยเท้า เราตั้งความสัตย์ใส่ตัวของเราเอง แต่ก็ไม่มีใครที่จะมาสามารถทำลายความสัตย์ของเรา เราเสียเองเป็นผู้ทำลายความสัตย์ของเราอย่างนี้

    เรียกว่าเราเขียนด้วยมือลบด้วยฝ่าเท้า เป็นการไม่ถูกตามหลักธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะฉะนั้น เราต้องเป็นผู้มีความแน่วแน่ต่อความดำริ ต่อความคิดหรือต่อความตัดสินใจของตนเสมอ ถ้าเราได้ตัดสินใจลงในกิจการงานอันใดที่เห็นว่าเป็นการถูกต้องแล้ว จงเป็นผู้พลีชีพลงเพื่อความสัตย์หรือเพื่อกิจการนั้นๆ เสมอ จะเป็นนิสัยที่แน่นอน เป็นนิสัยคนจริง ไม่เป็นนิสัยที่ว่าวอกแวกคลอนแคลนไว้ใจไม่ได้

    เมื่อเราทำตัวของเราให้ไว้ใจของเราไม่ได้แล้วเราจะหวังพึ่งใคร ศีลก็เป็นเรื่องของเราจะพยายามรักษาไว้ให้สมบูรณ์ แต่เราก็ไม่ไว้ใจในการรักษาศีลของเรา เพราะเราเป็นคนวอกแวกคลอนแคลน ไม่แน่นอนในใจของตนที่จะรักษาศีลด้วยกายวาจา ใจ ให้เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ แล้วเราจะอาศัยใครเป็นที่ไว้ใจ เมื่อเราเองเป็นผู้ตั้งใจจะรักษาศีลให้เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ แต่เราก็ไม่ไว้ใจเราเพราะเราเป็นคนไม่แน่นอน และคุณสมบัติซึ่งจะเกิดขึ้นจากศีลนั้นก็เป็นคุณสมบัติที่ไม่แน่นอนเช่นเดียวกัน เพราะเหตุไม่แน่นอนผลก็ต้องตามรอยกันไปนั่นเอง

    ถึงจะพยายามทำสมาธิให้เกิด เราก็ไม่แน่นอนในกิจในธุระหรือในการกระทำของเรา ที่จะสามารถยังจิตของเราให้เป็นไปเพื่อสมาธิ ตั้งแต่สมาธิขั้นหยาบจนกระทั่งถึงสมาธิขั้นละเอียด เมื่อเราเป็นผู้ไม่แน่นอนในกิจการของเรา ในหน้าที่ของเรา ตัดสินใจลงไม่ได้แล้ว เราก็เป็นคนหลักลอย สมาธิก็ไม่มี ศีลก็เป็นศีลลอยลม สมาธิก็ลอยลม ปัญญาก็ลอยลม หาอะไรเป็นสาระแก่นสารในตัวของเราไม่ได้ นี่โทษแห่งความไม่แน่นอน โทษแห่งความเป็นคนไม่จริง ตัดสินใจของตนลงสู่หลักแห่งธรรมที่พระองค์เจ้าทรงตรัสไว้ชอบแล้วยังไม่ได้ เราจะหวังผลมาจากที่ไหนเล่า

    ปัญญา จะหุงต้มแกงกินเหมือนอย่างอาหารหวานคาวไม่ได้ ขอให้บรรดาท่านทั้งหลายจงทราบเสมอและทราบทุกขณะว่า ปัญญานั้นจะเกิดขึ้นจากผู้ที่ชอบคิดชอบค้นชอบพิจารณา คนไม่มีปัญญาไม่สามารถจะรักษาสมบัติ จะประกอบการงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความเรียบร้อย ไม่สามารถจะรักษาสมบัติให้ปลอดภัยจากโจรจากมารได้ไม่ว่าทางโลกและทางธรรม คนมีความฉลาดคือคนมีปัญญา

    สามารถที่จะประกอบการงานตั้งแต่ชิ้นเล็กๆจนสามารถประกอบได้ถึงการงานที่เป็นชิ้นใหญ่ที่สุด ขึ้นอยู่กับปัญญา เรื่องการปฏิบัติพระศาสนา สำคัญอยู่ที่ปัญญา สติเมื่อมีความกระเทือนขึ้นภายในใจ ปัญญาต้องรับช่วงเสมอ สิ่งที่มาสัมผัสให้จิตได้รับความกระเพื่อมแสดงให้เห็นแล้วว่ามีความรู้สึกในสิ่งที่มาสัมผัสได้เริ่มขึ้นแล้ว สติเป็นผู้รับรู้ในวาระที่สอง ปัญญาเป็นผู้รับช่วงไปจากสติเป็นวาระที่สาม ให้ฝึกหัดตนของตนเป็นทำนองนี้ จิตจะได้อยู่ในกรอบของสติ จะได้อยู่ในกรอบของปัญญา



    (มีต่อ 1)


    เมื่อปัญญาเป็นผู้ที่ได้ฝึกฝนอบรมมาจนเคยชิน จนกลายเป็นนิสัยของคนที่ชอบคิดอ่านไตร่ตรองดูเหตุผล ตัดสินตนของตนได้ด้วยความถูกต้องเพราะอำนาจแห่งปัญญาแล้ว แม้จะเข้าไปข้างในคือหมายถึงใจโดยเฉพาะ ก็ต้องเป็นผู้ที่สามารถที่จะตัดสินใจลงได้ด้วยหลักเหตุผลเพราะอำนาจของปัญญาอีกเช่นเดียวกัน

    เพราะเหตุนั้น จงพากันพยายาม สติกับปัญญาให้แนบกับตัวไปทุกเวลา ตาถึงไหนให้สติกับปัญญาไปถึงนั้น หูได้ยินถึงไหนสติกับปัญญาให้ถึงที่นั่น จมูก ลิ้น กาย มีอะไรมาสัมผัสชั่วระยะไกลใกล้แค่ไหน หยาบละเอียดแค่ไหน สติกับปัญญาให้ตามรู้ให้ได้รับความรู้สึกกันอยู่เสมอ อารมณ์ซึ่งเกิดขึ้นภายในใจ สติกับปัญญาตามรอบรู้ตามพิจารณากันอยู่เสมอ

    ท่านผู้ที่จะพ้นไปจากโลกท่านทำอย่างนี้ ท่านไม่ได้ทำอย่างไม้ซุงทั้งท่อนที่ทิ้งอยู่ให้เด็กเขาขึ้นบนไม้ซุงทั้งท่อนนั้นแล้วขี้รดลงไป เมื่อเราทำตัวของเราให้เป็นเช่นเดียวกับไม้ซุงทั้งท่อนแล้ว กิเลสตัณหาอาสวะจะมาทางรูป ทางเสียง ทางกลิ่น ทางรส เครื่องสัมผัส ล่วงไหลเข้ามาสู่อายตนะภายในคือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็จะขี้รดลงไปถูกหัวใจดวงนั้น เพราะหัวใจดวงนั้นเป็นไม้ซุงทั้งท่อน

    ไม่มีความแยบคาย ไม่มีความเฉลียวฉลาด ไม่มีความรอบคอบต่อตนเอง ต่ออารมณ์ทั้งหลายทั้งภายนอกภายใน จนกลายเป็นขอนซุงทั้งท่อนให้กิเลสตัณหาอาสวะขี้รดทั้งวันทั้งคืน นี่ไม่สมควรสำหรับผู้ที่จะดำเนินเพื่อวิวัฏฏะ คือความพลิกโลกสงสารให้ออกจากจิตใจของตน จึงไม่ควรทำใจของตนให้เป็นซุงทั้งท่อน ขอให้ท่านทั้งหลายได้ทราบไว้อย่างนี้

    เรื่องของสติ เรื่องของปัญญา เรานั่งอยู่ที่ไหนก็ตาม ถ้าพยายามระวัง พยายามคิดค้น สติกับปัญญาจะมีอยู่ตลอดเวลา เพราะไม่ขึ้นอยู่กับใครทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับบุคคลผู้ใคร่ต่อการระมัดระวัง ผู้ใคร่ต่อการพิจารณาสอดส่องหรือไตร่ตรองในเหตุทั้งหลายที่มาสัมผัส ซึ่งเป็นไปอยู่ทั้งกลางวันกลางคืนยืนเดินนั่งนอน มีแต่ธรรมชาติที่จะมากระตุ้นเตือนหัวใจของเราให้สติได้รับรู้ ให้ปัญญาได้ไตร่ตรองทั้งนั้น เดินไปไหนตาถึงไหนให้มีสติปัญญาไปถึงที่นั่น นี้แล

    นักปฏิบัติเพื่อความรอบคอบทั้งภายนอกเข้าสู่ภายในต้องเป็นไปกับสติหรือปัญญาอย่างนี้ ถ้าเราทำเหมือนอย่างขอนซุงทั้งท่อน เดินไปก็สักแต่ว่าเดิน นั่งก็สักแต่ว่านั่ง ภาวนาก็สักแต่ว่าความตั้งไว้เบื้องต้นในใจเท่านั้น แล้วนั่งอยู่เหมือนกับหัวตอ ความรู้สึกความรอบคอบในการงานคือการภาวนาของตนไม่มี ก็เหมือนกันกับหัวตอไม่เห็นผิดแปลกกันอันใด นี่ขอให้เราทั้งหลายได้พินิจพิจารณา รื้อฟื้นสติซึ่งมีอยู่กับหัวใจของเราขึ้นมา รื้อฟื้นปัญญาที่มีอยู่กับหัวใจของเราขึ้นมาให้เป็นประโยชน์สำหรับหัวใจของเราเอง

    กิเลสไม่ได้เกิดขึ้นจากที่อื่น เกิดขึ้นจากหัวใจของเรานี้เอง แต่ก็เหยียบย่ำหัวใจเพราะหัวใจเป็นขอนซุงทั้งท่อน ไม่สามารถที่จะปลดเปลื้องสิ่งมัวหมองซึ่งเกิดขึ้นจากตน กิเลสจึงกลายเป็นขี้รดใจดวงนั้นลงไปทุกวันๆ ท่านจึงเรียกว่า ขี้โลภ ขี้โกรธ ขี้หลง ขี้ลืม อย่างนี้เป็นต้น ขี้อย่างนี้เกิดขึ้นจากหัวใจทั้งนั้น ที่ท่านว่าขี้หมายถึงว่าเป็นของที่หยาบ ก็เลยให้ชื่ออย่างนั้นเสีย เมื่อเราเป็นผู้มีความมุ่งประสงค์ที่จะทำตัวของเราให้เป็นไปเพื่อความสะดวกภายในจิตใจ

    จงเป็นผู้ฝึกหัดสติเสมอ พยายามตั้งสติให้ดี ตรวจตรองดูอวัยวะทุกส่วน มีสติเป็นรั้วกั้นจิตอย่าให้เลยขอบเขตของสติไปได้ ปัญญาเป็นผู้จาระไนอยู่ทางภายใน พิจารณาให้ชัด นี่พูดถึงเรื่องกายฝึกหัดนิสัยในเบื้องต้น ต้องเป็นผู้มีความตั้งอกตั้งใจฝึกหัดจริงๆ เมื่อเรามีการตั้งอยู่เสมอจนชินต่อนิสัยเราแล้ว เราเดินไปที่ไหน สติจะต้องเป็นไปอยู่ ปัญญาก็ต้องเป็นไปอยู่เช่นนั้น ภัยจะมาจากที่ไหน

    เหตุที่ภัยจะเกิดขึ้นให้ใจของเราได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากว่าจิตไม่มีสติไม่มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน อะไรซึ่งเกิดขึ้นจากใจเอง จึงเกิดขึ้นได้ทุกๆ ประเภทและไม่เลือกกาลเวลาด้วย ไม่เลือกอิริยาบถใดด้วย ทีนี้เราก็มาตำหนิติโทษเราว่าจิตใจไม่สงบ จิตใจได้รับความเดือดร้อน แต่เราเสาะแสวงหาความเดือดร้อนเสียเองนั้นเราไม่คำนึง อาการที่แสวงหาความเดือดร้อนโดยไม่รู้สึกตัวนี้ท่านเรียกว่าสมุทัย เหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ เมื่อก่อไฟขึ้นมาแล้วจะบังคับไม่ให้ร้อนก็เป็นไปไม่ได้เหมือนกัน เมื่อก่อเหตุให้เป็นเรื่องของสมุทัยขึ้นมาแล้ว ผลที่จะพึงได้รับก็ต้องเป็นทุกข์ จะกลายเป็นสุขไปไม่ได้

    พระองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าและสาวกทั้งหลาย ท่านเดินจงกรมปรากฏในประวัติของสาวกว่า บางองค์ถึงฝ่าเท้าแตกก็มี อย่างนี้เป็นต้น นี่ก็ส่อให้เห็นแล้วว่าท่านพยายามเอาจริงเอาจังแค่ไหน เพราะความที่จะแหวกว่ายจากวัฏจักรอันนี้ไปให้พ้นไปเสียได้ ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดได้รับความทุกข์ความยากความลำบากเช่นสัตว์ทั้งหลายที่เป็นอยู่ ณ บัดนี้ มีตัวของเราเป็นต้นซึ่งได้เคยผ่านความทุกข์ความทรมานมาเช่นเดียวกัน จึงไม่ควรที่จะทำความกล้าหาญหรือร่าเริงต่อความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้

    ใจ ทำไมจึงเป็นไปเพื่อความสงบไม่ได้ ลองสังเกตดูซิ วันหนึ่งๆ ถ้าเราตั้งข้อสังเกตโดยเฉพาะในหัวใจของเราแล้ว เราจะได้เห็นข้อบกพร่องของเราทั้งวัน และในขณะที่เราได้เห็นข้อบกพร่องของเราทั้งวันนั้น แสดงว่าเราก็มีข้อสมบูรณ์ขึ้นด้วยกัน เพราะเรามีสติ เราจึงเห็นข้อบกพร่องของเรา ความที่เรามีสตินั้นเอง เรียกว่าเราได้ความสมบูรณ์ขึ้นมาเป็นลำดับๆ หรือว่าสมบูรณ์ตามขั้น

    เริ่มจะเป็นความสมบูรณ์เป็นขั้นๆขึ้นไป ต้องพยายามพิจารณาอย่างนี้ เราไม่ต้องสนใจกับเรื่องอะไรทั้งนั้น ให้สังเกตดูตั้งแต่เรื่องหัวใจที่จะปรุงเรื่องอะไรขึ้นมาแล้วบังคับไว้ภายในกายกับจิตนี้ ท่านว่าสติปัฏฐาน ๔ คือฐานที่ตั้งแห่งสติ พูดง่ายๆ ถ้าจิตเราได้ตั้งอยู่กับกายนี้แล้ว สติบังคับสติไว้กับกายนี้แล้ว ปัญญาท่องเที่ยวอยู่ในสกลกายนี้แล้ว เรียกว่าได้เดินทางในองค์แห่งอริยสัจอย่างสมบูรณ์

    ทุกข์ก็เป็นอันที่จะรู้เท่าทันในองค์แห่งอริยสัจนี้ สมุทัยก็เป็นอันว่าจะได้ละได้ถอนกันอยู่ในองค์แห่งอริยสัจนี้ มรรคก็เป็นอันว่าเราได้บำเพ็ญอยู่ในตัวของเรา พร้อมกับเวลาที่เราบังคับจิตใจหรือไตร่ตรองในธาตุขันธ์ของเรานี้ นิโรธะความดับไปแห่งความทุกข์จะแสดงให้เราเห็นเป็นชั้นๆตั้งแต่ชั้นหยาบที่สุด ชั้นกลาง จนกระทั่งถึงชั้นสูงสุด ไม่ได้นอกเหนือไปจากสติปัฏฐานทั้งสี่ เพราะเหตุนั้น สติปัฏฐานทั้งสี่ จึงเป็นทางเดินของพระอริยเจ้าทุกๆ ประเภท

    กาย หมายถึง อวัยวะของเราทุกส่วนที่เรียกว่ากองรูป

    เวทนา คือ ความสุข ความทุกข์และเฉยๆ

    จิต หมายถึง เจตสิกธรรมที่ปรุงขึ้นไม่ขาดวรรคขาดตอน

    ธรรม หมายถึง อารมณ์ที่เป็นเป้าหมายของใจ

    นี่เรียกว่า สติปัฏฐาน ๔ บรรดาพระอริยเจ้าทุกๆ ประเภท ได้ถือสติปัฏฐาน ๔ เป็นอารมณ์ของใจ

    การพิจารณากาย จะเป็นกายภายนอกก็ตามกายในก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้าง โดยความเป็นอนัตตาบ้าง โดยความเป็นของปฏิกูลโสโครกบ้าง เหล่านี้เรียกว่าพิจารณา กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน กายนี้มีทั้งกายนอกกายใน กายในหมายถึงกายของเราเอง กายนอกหมายถึงกายของสัตว์อื่นบุคคลอื่น หรือสภาพที่จะเป็นอุบายแห่งปัญญาที่เกี่ยวกับด้านวัตถุ เราจะเรียกว่ากายโดยอนุโลมก็ได้ นี่เรียกว่ากายนอก พิจารณากายนอกก็ตามกายในก็ตาม ให้เป็นไปเพื่อความเห็นโทษ ให้เป็นไปเพื่อความแก้ไข ให้เป็นไปเพื่อความฉลาด ปล่อยวางในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เรียกว่าพิจารณาในสติปัฏฐาน

    การพิจารณากายทั้งหลายที่กล่าวมานี้ เพื่อให้เห็นโทษในส่วนแห่งกาย ซึ่งเป็นที่ยึดถือของอุปาทาน เมื่อได้พิจารณาเห็นชัดในส่วนแห่งกายนั้นแล้วทั้งกายนอกทั้งกายในโดยทางปัญญา ความสำคัญในกายนั้นว่าเป็นอย่างไรซึ่งเคยเป็นมาก็จะค่อยบรรเทาหรือเบาลงไป หมดความสำคัญว่ากายนั้นเป็นอะไรอีก เช่นอย่างเป็นของสวยของงาม เป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นของน่ารักน่าชอบใจหรือน่ากำหนัดยินดี เหล่านี้เป็นต้น ก็จะขาดลงเพราะอำนาจของปัญญาเป็นผู้วินิจฉัยหรือตัดสิน ความสำคัญของใจซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งอุปาทานที่ไปเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ก็จะค่อยหมดไปเป็นลำดับ

    เช่นอย่างองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านสอนพระสาวกให้ไปอยู่ในป่าช้า ให้พิจารณาซากอสุภในป่าช้า ก็หมายถึงเรื่องกายนอกนั่นเอง การพิจารณาสภาพของตัวทั้งหมดนี้เรียกว่ากายใน การพิจารณาไม่เพียงว่าครั้งหนึ่งครั้งเดียว ต้องถือเป็นกิจจำเป็นเช่นเดียวกันกับเรารับประทานอาหารเป็นประจำวัน แต่การรับประทานอาหารนั้นเป็นเวล่ำเวลา เช่นอย่างวันหนึ่ง ๓ มื้อบ้าง ๒ มื้อบ้างหรือมื้อเดียวบ้าง แต่การพิจารณาในส่วนแห่งกาย จะเป็นกายนอกก็ตามกายในก็ตามเป็นอาจิณ ยิ่งได้ตลอดเวลายิ่งดี

    สำหรับผู้ปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์และเพื่อความถอดถอนอุปาทานออกจากกายที่เป็นบ่อเกิดแห่งความลุ่มหลง นี่เรียกว่าการพิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เมื่อสรุปความลงในผลแห่งกายพิจารณาแล้วก็สักแต่ว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ด้วย ไม่ใช่บุคคลด้วย ไม่ใช่เราด้วย ไม่ใช่เขาด้วย สักแต่ว่ากายเท่านั้นโดยทางปัญญาจริงๆ เมื่อจิตได้เห็นชัดด้วยปัญญาจริงๆ อย่างนี้แล้ว ความกังวลเกี่ยวข้องในเรื่องกาย ความเสาะแสวงหาทางอารมณ์ที่เกี่ยวกับกาย ความที่เรายึดมั่นถือมั่นในส่วนกาย ทั้งหลายเหล่านี้เป็นผลอันหนึ่ง เมื่อตัวเหตุคืออุปาทานได้หมดไปแล้วเพราะอำนาจของปัญญา สิ่งเหล่านี้ก็ต้องหมดไปหรือดับไปพร้อมๆ กัน ไม่มีอันใดเหลือ



    (มีต่อ 2)
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9276

    สติปัฏฐาน ๔
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    โดย ปุ๋ย

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>ทีนี้เราพึงทราบว่าการพิจารณาในสติปัฏฐาน ๔ นี้ เราจะต้องพิจารณากายเสียก่อน แล้วก็ต่อไปเวทนา ต่อไปจิต และต่อไปธรรมนั้น เป็นการคาดผิดไป อันนี้เป็นชื่อของส่วนแห่งสภาพซึ่งมีอยู่ด้วยกันแล้วท่านแยกออกเป็น ๔ ประเภทเท่านั้น ในประเภททั้งหมดนี้มีอยู่กายอันเดียวนี้ เวทนาก็อยู่กาย จิตก็อยู่ในกายอันนี้ ธรรมก็อยู่ในกายอันนี้ แต่ท่านแยกประเภทออกไป ฉะนั้น ความเข้าใจของเราอาจจะมีความเห็นผิดไปว่า เมื่อท่านแยกออกเป็นกาย เป็นเวทนา เป็นจิต เป็นธรรมแล้ว

    ถ้าหากเราจะพิจารณาในเวทนา หรือในจิต ในธรรม ส่วนใดส่วนหนึ่งก่อนแล้วจะเป็นการผิดอย่างนี้ นี่อาจเกิดขึ้นในความหลงผิด แต่แท้ที่จริงเวลาเราพิจารณากาย เวทนาก็แฝงอยู่ในกายนั้น ความทุกข์ไม่เลือกกาลใด จะเป็นกาลที่เรากำลังพิจารณากายอยู่ก็ตาม หรือออกจากกายนั้นแล้วก็ตาม เกิดขึ้นได้ทั้งสุขทั้งทุกข์ทั้งความเฉยๆ เช่นเป็นโอกาสหรือเป็นช่องที่เราจะควรพิจารณาในเวลาเวทนาเกิดขึ้นนั้น ให้ได้ทราบชัดว่าเวทนานี้เป็นอะไร นอกจากว่ากายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราแล้ว เราจะเห็นว่าเวทนาที่เกิดขึ้นนี้เป็นอะไรอีกในบรรดาเวทนาทั้งสามนี้

    เราก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาในเวทนาทั้งสามนี้อีก มีลักษณะเช่นเดียวกันว่า อนิจฺจํ เวทนาจะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม เฉยๆ ก็ตามเกิดขึ้น ทุกกาลทุกสมัยมันต้องเป็นไปกับด้วยไตรลักษณ์ทั้งนั้น ไม่มีระยะเดียวที่จะห่างจาก ไตรลักษณ์ คือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ไป แล้วจะปฏิเสธความเป็นสัตว์เป็นบุคคลตายตัวอยู่เช่นนั้นตามสภาพของเขานี่เรียกว่าพิจารณาเวทนา เราจะพิจารณากาลใดสมัยใดไม่ขัดข้องทั้งนั้น เพราะเป็นเรื่องของสติปัฏฐาน ๔ แล้วความติดในอาการทั้งสี่หรือในสภาวธรรมทั้งสี่นี้ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม นี้ เราไม่ได้เลือกติดตามกาลตามเวลาของเขา

    ติดได้ทุกขณะ ติดได้ทุกเวลาในสภาวธรรมทั้งสี่นี้ เพราะเหตุนั้นการที่เราจะพิจารณาแก้ไขในสภาวธรรมทั้งสี่นี้ จึงไม่จำเป็นจะต้องกำหนดเวล่ำเวลา คำว่าพิจารณาจิต จะพิจารณาอย่างไร.. จิตก็พิจารณาเจตสิกซึ่งเกิดขึ้นจากใจนั่นเอง ว่าไปสำคัญมั่นหมายในกายในเวทนาเหล่านี้ เป็นอะไรบ้าง ปรุงแต่งจะเป็น กายนอกก็ตาม กายในก็ตาม ปรุงว่าอย่างไร หมายว่าอย่างไร กำหนดพิจารณาตามกระแสของใจ สิ่งที่ไปหมายหรืออารมณ์เหล่านั้นเป็นธรรมขึ้นมาแล้วที่นี่ เรียกว่าเป้าหมายนั่นเอง อารมณ์ที่จิตพิจารณา ที่จิตจดจ่อนั้นเรียกว่าเป็นเป้าหมายของใจ เป้าหมายนั้นเองท่านเรียกว่าธรรม

    ทีนี้ท่านว่าพิจารณา เวทนา ใน เวทนา นอก อันนี้เป็นปัญหาอันหนึ่ง ส่วนกายในกายนอกเราพอทราบกันได้ชัด เช่นอย่างกายของคนอื่นหรือเราไปเยี่ยมป่าช้า ก็แสดงว่าเราไปพิจารณากายนอก แต่เวทนาในนี้จะหมายถึงเวทนาอะไร เวทนานอกหมายถึงเวทนาอะไร เวทนานอกถ้าเราจะไปหมายคนอื่นเป็นทุกข์ทนลำบาก หากเขาไม่แสดงกิริยามารยาทอาการให้เราเห็นว่าเขาเป็นสุขหรือเป็นทุกข์แล้ว เราจะมีช่องทางหรือโอกาสพิจารณาเวทนาของเขาได้อย่างไร

    นี่เป็นปัญหาอยู่ แต่นี้เพื่อจะให้เป็นสิ่งสำเร็จรูปในทางด้านปฏิบัติของเรา จะถูกก็ตามผิดก็ตาม ข้อสำคัญให้ถือเอาผลประโยชน์ซึ่งเกิดขึ้นในการกระทำของตน เป็นความสุข เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความแยบคาย เป็นไปเพื่อความเฉลียวฉลาดแล้ว ให้ถือว่านั้นเป็นของใช้ได้ เป็นการถูกกับหลักธรรมของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นในสถานที่นี้หรือเวลานี้จะขออธิบายตามอัตโนมัติหรือความรู้โดยตนได้พิจารณาอย่างไรให้บรรดาท่านทั้งหลายฟัง

    เวทนานอกนั้นหมายถึงกายเวทนา เวทนาในหมายถึงจิตเวทนาคือ เวทนาซึ่งเกิดขึ้นในส่วนแห่งกาย จะเป็นการเจ็บท้อง ปวดหัวก็ตาม เจ็บส่วนแห่งอวัยวะ หรือปวดที่ตรงไหนทุกข์ที่ตรงไหนก็ตามในส่วนแห่งอวัยวะนี้ทั้งหมดเรียกว่าเป็น เวทนา นอก จะเป็นสุขทางกายก็ตาม เฉยๆ ขึ้นทางกายก็ตามจัดว่าเป็นเวทนานอกทั้งนั้น ส่วนเวทนาในนั้น หมายถึงใจได้รับอารมณ์อันใดขึ้นมาเพราะอำนาจของสมุทัยเป็นเครื่องผลักดัน เกิดความทุกข์ขึ้นมาบ้าง

    เกิดความสุขความรื่นเริงขึ้นมาบ้าง เฉยๆ บ้าง เรียกว่าเวทนาใน การพิจารณาเวทนานอก การพิจารณาเวทนาใน มีไตรลักษณ์เป็นเครื่องยืนยันหรือเป็นเครื่องตัดสิน เป็นเครื่องดำเนินด้วยกันทั้งนั้น แต่เมื่อเราได้พิจารณาในส่วนกายให้เห็นชัด ส่วนเวทนานอกขึ้นอยู่กับกายนี้ชัดแล้ว แม้จะพิจารณาเวทนาส่วนภายในนี้ก็ย่อมจะชัดไปได้ เพราะอำนาจของปัญญาที่มีความละเอียดเข้าไปเป็นลำดับนี่การพิจารณาสติปัฏฐานพิจารณาอย่างนี้

    พิจารณาจิตตามปริยัติท่านกล่าวไว้นั้น บรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลายก็พอเข้าใจแล้ว กระแสของใจเรามีความเกี่ยวข้องกระดิกพลิกแพลงไปในอารมณ์อันใดคอยสังเกตความเคลื่อนไหวของใจอยู่เสมอ นี่เรียกว่าพิจารณาจิต คือพิจารณาในขณะเดียวกันนั่นเอง เวลานั่งหรือเวลายืนเวลาทำความเพียรอยู่นั้นเอง ในกาลในสมัยเดียวนั้นเองสามารถที่จะพิจารณาสติปัฏฐานทั้งสี่นี้ไปพร้อมๆ กันได้

    เพราะอาการทั้งสี่นี้เป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นสับสนปนเปกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้มีการกำหนดว่ากายจะต้องปรากฏขึ้นก่อน แล้ว เวทนาเป็นที่สอง จิตเป็นที่สามธรรมเป็นที่สี่ ไม่ใช่อย่างนั้น เป็นสิ่งที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอยู่ทั่วสรรพางค์ร่างกาย และจิตใจ ของเราล้วนแล้วตั้งแต่เป็นเรื่องของสติปัฏฐาน ๔ ทั้งนั้น การที่เราจะพิจารณาในส่วนสภาวะทั้งหลายที่ปรากฏขึ้นมาสัมผัสกับใจของเราส่วนใดนั้นเป็นเรื่องถูกต้อง

    เมื่อท่านผู้ใดเป็นผู้หักห้ามร่างกายจิตใจของตน บังคับจิตใจของตนให้ท่องเที่ยวอยู่ใน สติปัฏฐานทั้งสี่นี้แล้ว เรื่องของสติก็ดี เรื่องของปัญญาก็ดี จะเป็นขึ้นในสถานที่นี้ คำว่าอริยะที่ท่านกล่าวตั้งแต่เบื้องต้นว่า โสดา สกิทา อนาคา อรหันต์ก็ต้องได้อุบายไปจากธรรมทั้งสี่ประเภทนี้เอง ด้วยอำนาจของปัญญา เมื่อพิจารณาให้เห็นชัดแจ่มแจ้งตามเป็นจริงในสภาวะนี้แล้ว ควรจะได้รับผลในธรรมขั้นใดก็ต้องปรากฏขึ้นเป็นขั้นๆ ตามแต่กำลังความสามารถของตนจะพิจารณาได้ในธรรมขั้นไหน เพราะเหตุนั้นผลจึงปรากฏขึ้นว่าเป็น พระโสดาบ้าง เป็นพระสกิทาคาบ้าง เป็นพระอนาคาบ้าง เป็นพระอรหันต์บ้าง อย่างนี้

    การพิจารณาสติปัฏฐาน ทั้งสี่ก็ดี การพิจารณาในอริยสัจธรรมทั้งสี่ก็ดี อย่าพึงทราบว่าเป็นคนละทางและอย่าพึงทราบว่าเป็นคนละประเภท เป็นคนละหน้าที่ ต่างกันตั้งแต่ชื่อเท่านั้น ในหลักธรรมชาติแล้วเป็นอันเดียวกัน กายก็ ทุกฺขํอริยสจฺจํ ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา มรณมฺปิ ทุกฺขํ นี้เรียกว่ากาย การพิจารณาในความทุกข์ความลำบากความทรมานของกายนี้ ก็จัดเป็นกายานุปัสสนาด้วย

    เป็นทุกขสัจด้วย การพิจารณาถึงเรื่องเวทนา ที่เกิดขึ้นทั้งส่วนแห่งกาย ทั้งส่วนแห่งใจ ก็จัดว่าเป็นการพิจารณาเพื่อจะรื้อถอนถึงเรื่องของสมุทัยและทุกข์ทั้งหลายที่ปรากฏขึ้นเป็นตัวผลในส่วนแห่งกายก็ดี ในส่วนแห่งจิตก็ดี นี้เป็นเรื่องของทุกข์ การพิจารณาเพื่อจะรู้สาเหตุแห่งความทุกข์ที่เกิดขึ้นนี้เกิดขึ้นมาจากอะไร นี่เป็นอุบายที่จะถอนสมุทัยซึ่งเป็นรากสำคัญอยู่ภายในใจพร้อมๆ กันไปแล้ว

    เพราะเหตุนั้นอริยสัจธรรมทั้งสี่ก็ดี เรื่องสติปัฏฐานธรรมทั้งสี่ก็ดี พึงทราบว่าธรรมชาตินี้เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น ถ้าจะเทียบอุปมาแล้วก็เหมือนดังกับว่า กายของเราทั้งหมดนี้ เราให้ชื่อว่าข้างหน้าข้างหนึ่ง ข้างหลังอย่างหนึ่ง ข้างซ้ายอย่างหนึ่ง ข้างขวาอย่างหนึ่ง ข้างบนอย่างหนึ่ง ข้างล่างอย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่ว่าข้างบนที่ไหนนอกไปจากกาย ข้างล่างที่ไหนนอกไปจากกาย ข้างหน้าข้างหลัง ข้างซ้ายข้างขวาที่ไหนนอกไปจากกายอันนี้ ออกจากกายอันเดียวกันทั้งนั้น เพราะเหตุนั้นลักษณะอาการที่ท่านว่าในอริยสัจธรรมทั้งสี่ก็ดี สติปัฏฐานธรรมทั้งสี่ก็ดี พึงทราบว่าออกจากธรรมชาติอันเดียวนี้

    เมื่อปัญญาของเราได้พิจารณาให้เห็นชัดในส่วนรูป เรียกว่ากายานุปัสสนา ให้เห็นชัดตามเป็นจริงเพราะอำนาจของปัญญา เราพิจารณาไม่หยุดยั้งแล้ว ความปล่อยวางในกายนี้ก็จะปรากฏขึ้นชัดภายในจิตใจของเรา เรียกว่าถอนอุปาทานของกายเสียได้ เมื่อพิจารณาถึงเรื่องเวทนาทั้งสามให้เห็นชัดตามเป็นจริงเช่นเดียวกับส่วนแห่งกายนี้แล้ว สติ ความจำได้หมายรู้ สังขาร ความปรุง ความคิด วิญญาณ ความรับรู้ในสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นมาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เห็นชัดเช่นเดียวกันแล้ว ความปล่อยวางในสิ่งทั้งหลายเหล่านี้จากความเป็นตน จากความเป็นเรา เป็นของเรา ก็ต้องปล่อยวางเช่นเดียวกันกับเราปล่อยวางกายเช่นนั้น

    การกล่าวมาทั้งหมดนี้ หรือการพิจารณาในสภาวธรรมทั้งหลายเหล่านี้ พิจารณาตามขั้นของจิต ที่มีความเกี่ยวข้องติดมั่นพัวพันอยู่ในส่วนใด ก็ต้องคลี่คลายเปิดเผยให้จิตดูว่ามีอะไรบ้างอยู่ภายในนี้ เช่นอย่างพิจารณากาย เหตุที่จะพิจารณากาย ก็เนื่องจากว่าใจ ไปสำคัญกายนี้ว่าเป็นอะไรบ้างไม่รู้กี่ช่องกี่ทาง ไม่รู้กี่สมมุตินิยมที่ใจไปทำความหมายขึ้นจาก กาย ท่อนเดียวหรือก้อนเดียวนี้ว่าเป็นสัตว์บ้าง ว่าเป็นบุคคลบ้าง ว่าเป็นหญิง ว่าเป็นชายบ้าง ว่าเป็นของสวยของงามบ้าง ว่าเป็นที่น่ารักใคร่ชอบใจบ้าง เหล่านี้ล้วนแล้วตั้งแต่เกิดขึ้นเป็นความสำคัญที่เกี่ยวกับกายทั้งนั้น



    (มีต่อ 3)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เมื่อปัญญาได้คลี่คลายดูให้เห็นชัดว่า มีเราอยู่ที่ไหน มีเขาอยู่ที่ไหนในกายอันนี้ มีของสะอาดของสวยงามอยู่ที่ไหนมีของเที่ยงแท้ถาวรที่ไหน มีความเป็นของเที่ยงที่ไหน มีความไม่แปรอยู่ที่ไหน มี อตฺตา หิ อยู่ที่ไหนในส่วนแห่ง กายนี้ ชี้แจงแสดงโดยทางปัญญาให้ใจได้เห็นชัด ก็เทียบกับว่าคลี่คลายดูสิ่งปกปิดให้ใจได้เห็นชัด ให้ใจได้หายสงสัยในสิ่งเหล่านี้ ว่าไม่ใช่เป็นสิ่งที่เป็นไปตามจิตของตนมุ่งหวัง ว่าเป็นเราเป็นของเราเป็นต้น แล้วจิตก็จะปล่อยวางจากสภาพทั้งหลายเหล่านี้โดยอัตโนมัติของตนเอง

    ไม่ต้องบังคับให้ถอดให้ถอนให้ปล่อยให้วางแต่อย่างใดเพราะจิตได้เห็นชอบตามปัญญาแล้ว นี่ปล่อยวางมาอย่างนี้ การพิจารณาเวทนา ก็คลี่คลายเช่นเดียวกันกับที่ส่วนกายนี้ให้จิตได้เห็นชัด คลี่คลายดูเวทนา ทั้งสาม สุข ทุกข์ เฉยๆ คลี่คลายดูสัญญาให้ชัด คลี่คลายดูสังขารให้ชัด คลี่คลายดูวิญญาณให้ชัด โดยลักษณะเช่นเดียวกันกับคลี่คลายในส่วนกายด้วยปัญญา ให้จิตได้ตรองตามปัญญา รู้ตามปัญญาที่ชี้ช่องบอกทาง ได้เห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนแล้ว ก็ไม่ต้องบังคับให้ถอดถอนจากสิ่งทั้งหลายเหล่านี้โดยความถือว่าเป็นเราเป็นของเราเป็นต้นเสีย นี่เราก็ไม่ต้องบังคับอีกเช่นเดียวกัน

    เพราะอำนาจของปัญญาได้หยั่งทราบทั่วถึงหมดแล้ว เปิดดูให้เห็นชัดไม่มีอันใดลี้ลับเพราะอำนาจของปัญญา จิตก็ถอนเข้ามาๆ กระแสของใจที่วิ่งอยู่ริกๆๆ ต่อสภาวะทั้งหลายเหล่านี้ พร้อมทั้งสัญญาที่มีความสำคัญมั่นหมายในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ก็เป็นอันถอดถอนมาพร้อมๆ กัน การเห็นโทษในสภาวธรรมทั้งหลาย เบื้องต้นก็ต้องเห็นโทษในสภาวธรรมเพราะเราไปเห็นคุณในสภาวธรรม แต่เมื่อได้พิจารณาในสภาวธรรมส่วนหยาบมี รูปเป็นต้นแล้ว ให้ชัดด้วยปัญญา สภาวะทั้งหลายเหล่านั้นก็หมดความลี้ลับ เป็นธรรมที่เปิดเผย เป็นสภาวธรรมที่เปิดเผยโดยทางปัญญา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อได้พิจารณาโดยทางปัญญาแล้ว ก็กลายเป็นธรรมที่เปิดเผยอีกเช่นเดียวกัน ยิ่งจะเห็นกระแสของใจที่เพ่นพ่านอยู่ทั้งวันทั้งคืน

    เป็นเรื่องที่ว่า ตื่นเงาของตัวอยู่ตลอดเวลา ให้ชัดขึ้นแล้วในขณะนี้ แต่ก่อนถูกรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส และความสำคัญมั่นหมายในสิ่งเหล่านี้ เป็นเครื่องปกปิดกำบังกระแสของใจ จึงไปเห็นสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น กลายเป็นคุณ เป็นโทษ ไปเสียหมดโดยเราเป็นผู้บริสุทธิ์พุทโธแต่ผู้เดียว ทั้งๆ ที่เราเป็นผู้หลงต่อผู้หลงนั่นเอง ต่อเมื่อได้คลี่คลายสภาวะทั้งเป็นฝ่ายรูป ทั้งเป็นฝ่ายนาม ให้ชัดเจนด้วยปัญญาอย่างไม่มีข้อสงสัยแล้ว ก็ยิ่งจะเห็นกระแสของใจ เห็นกระแสของใจชัด จนกระทั่งถึงเห็นรากฐานของอวิชชา ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติที่รู้ๆ เป็นบ่อเกิดแห่งกระแสของใจนี้ ชัดเจนเข้าไปเช่นเดียวกับสภาวธรรมทั้งหลายแล้วเรียกว่าเปิดเผยขึ้นอีก

    คลี่คลายดูความรู้ที่เป็นเจ้าวัฏจักร เป็นความรู้ที่โกหกนี้ให้เห็นชัดด้วยปัญญา ธรรมชาติอันนี้ก็เลยกลายเป็นความเปิดเผยขึ้นมาอีกไม่มีอันใดที่เหลือหลออยู่ เมื่อธรรมชาติอวิชชาที่เป็นความรู้ลี้ลับ เป็นความรู้ที่เต็มไปด้วยโกหกมายาสาไถย ให้เห็นชัดด้วยปัญญานี้แล้ว ธรรมชาติที่ลี้ลับ ธรรมชาติที่ละเอียดที่สุดได้แก่อวิชชา คือความรู้ที่เป็นเจ้าวัฏจักรอันนี้ได้แตกกระจายหรือเป็นธรรมที่เปิดเผยขึ้นมาแล้วนั้นแล เราจึงจะหมดปัญหาใดๆ ในเรื่องความปกปิดแห่งสภาวธรรมทั้งหลายก็ดี ในเรื่องความลุ่มหลงแห่งสภาวธรรมทั้งหลายก็ดี ไม่มีอันใดที่จะเหลือหลออยู่แล้ว จากนั้นไปแล้วธรรมชาติที่บริสุทธิ์พุทโธโดยไม่ต้องเสกสรรแต่อย่างใด ได้ปรากฏเด่นชัดขึ้นมา

    ตามหลักธรรมชาติของตนอย่างแจ่มแจ้งแล้วนั้น เรื่องทั้งหลายจึงจะเป็นอันว่า เปิดเผยอยู่ ตลอดเวลา รูป ไม่เพียงแต่ว่ารูปหญิง รูปชาย รูปสัตว์ รูปบุคคล รูปสภาวะทั่วๆ ไป ทั่วทั้งจักรวาล นี้ กลายเป็นสิ่งที่เปิดเผยขึ้นมาพร้อม ๆ กัน นามก็เหมือนกัน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทุกๆ อย่างซึ่งไม่มองเห็นด้วยตาก็กลายเป็นธรรมที่เปิดเผยขึ้นมาพร้อมๆ กัน เพราะเหตุใด เพราะบ่อเกิดแห่งความลี้ลับได้แก่อวิชชานั้น ได้ถูกเปิดเผยขึ้นมาแล้วอย่างชัดเจน ด้วยอำนาจ ของปัญญา สภาวะทั้งหลายทั่วไป ทั่วโลกธาตุนี้ จึงเป็นอันว่ายุติ ไม่ได้เกิดเรื่อง เกิดราว กับจิตใจของเราต่อไปแล้ว วัฏจักรเป็นอันว่ายุติกันลงได้ในจุดนี้เอง ต่อจากนั้นไป ก็ไม่มีอะไร ที่จะเป็นสิ่งลี้ลับต่อใจ ดวงนี้ไปได้อีกแล้ว

    ตามภาษาบาลีท่านกล่าวไว้ว่า วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ, กตํ กรณียํ หมดกิจในพระศาสนา หมดทั้งความบำเพ็ญเพื่อ ใจดวงนี้ให้เจริญยิ่งขึ้นไปอย่างไรอีก หมดทั้งการละ การถอน ความลี้ลับ หรือปิดบังอันใดต่อไปอีกไม่มี เป็นอันว่าสภาวะทั้งหลาย ได้เปิดเผยเสียทุกอย่าง พร้อมทั้งความบริสุทธิ์พุทโธนั้น ก็ได้เปิดขึ้นมาพร้อมๆ กันกับสภาวธรรมทั้งหลายได้เปิดขึ้นมา นี่เรียกว่าธรรมเปิดเผย วัฏจักรก็ได้เปิดเผย วิวัฏจักรก็ได้เปิดเผยขึ้นในขณะเดียวกัน นี่ผลแห่งการปฏิบัติ ผลแห่งการตั้งจิต ตั้งใจ เริ่มตั้งสติ ปัญญา เริ่มจำเพาะเจาะจง เริ่มอุตส่าห์พยายามบำเพ็ญตนของตน ด้วยความจำเพาะเจาะจง

    ด้วยความตั้งอกตั้งใจ ตั้งแต่เบื้องต้น จนกระทั่งถึงธรรมที่เปิดเผยไปเสียทั้งสิ้น ไม่มีอันใดลี้ลับในโลกธาตุนี้ แม้แต่ว่า วิวัฏฏะ ที่เรียกว่าพระนิพพานนั้นก็เป็นการเปิดเผยขึ้นมาพร้อมๆ กันเรียกว่า วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ เพราะเหตุนั้นบรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลายให้พึง โอปนยิโก น้อมเข้ามาสู่ตัวของตัวทั้งหมด ในบรรดาธรรมทั้งหลายที่ได้อธิบายมานี้ เวลานี้ เรากำลังอยู่ในความลี้ลับ อันใดก็ลี้ลับเสียทั้งนั้น สำหรับเราซึ่งกำลังลุ่มหลงอยู่ รูปจะเป็นรูปชั่วก็ตาม รูปดีก็ตาม มันให้เกิดได้ทั้งความดีใจ และเสียใจ สิ่งเหล่านั้นจึงกลายเป็นของลี้ลับ

    เพราะธรรมชาติอันหนึ่งซึ่งเป็นของใหญ่โตที่สุด แต่เราไม่มองเห็นด้วยตา และไม่สามารถที่จะรู้ได้ด้วยใจด้วย นั้นคืออวิชชาแต่มันก็อยู่กับใจนั่นเองแต่เราไม่สามารถที่จะรู้ ธรรมชาตินั้นเป็นธรรมที่ลี้ลับที่สุด สิ่งทั้งหลาย ซึ่งเป็นบริษัทบริวาร ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาตินั้น เลยกลายเป็นของลี้ลับไปตามๆ กัน พอธรรมชาตินี้ได้ถูกเปิดเผยขึ้นแล้ว ด้วยปัญญาเท่านั้น สภาวธรรมทั้งหลายก็ได้เปิดเผยหมด จนกระทั่งถึงวิวัฏฏะ คือพระนิพพานเสียเอง ก็ถูกเปิดเผยไปพร้อมๆ กัน

    นี่ท่านแนะการปฏิบัติเพื่อความเปิดเผยอย่างนี้ เราทำข้อวัตรปฏิบัติทุกชิ้นทุกอันก็ตาม เพื่อความเปิดเผย ทั้งสิ่งที่เป็นวัฏฏะ ทั้งสิ่งที่เป็นวิวัฏฏะ ขอให้บรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลาย ได้กำหนดพินิจพิจารณาเข้ามาสู่ตนของตนเสมอ ให้เป็นผู้มีความเป็นอยู่ด้วยสติ ด้วยปัญญา ทุกอิริยาบถ พวกท่านทั้งหลาย จะได้เห็นความเปิดเผยทั้ง วัฏจักรด้วย ทั้งวิวัฏจักรด้วย ใน สนฺทิฏฺฐิโก ความเห็นเองของบรรดาท่านทั้งหลายเอง

    ในอวสานแห่งพระธรรมเทศนานี้ขอบุญญานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ จงดลบันดาลให้บรรดาท่านทั้งหลายให้มีความเจริญงอกงาม



    .............................................................

    คัดลอกจาก
    http://www.dharma-gateway.com/
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8641

    การบำเพ็ญจิตภาวนาตามแนวทางสติปัฏฐาน ๔
    หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม


    คัดลอกจาก
    http://www.jarun.org


    หากต้องการทราบรายละเอียดการปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวันเพิ่มเติม
    กรุณาดูรายละเอียดที่ LINK ด้านล่างค่ะ

    http://www.jarun.org/v5/th/dhamma.html

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]



    การบำเพ็ญจิตภาวนาตามแนวทางสติปัฏฐาน ๔
    ของพระพุทธเจ้าของเรานี้
    วิธีปฏิบัติเบื้องต้นต้องยึดแนวหลักสติเป็นตัวสำคัญ
    สติปัฏฐาน ๔ มีอยู่ ๔ ข้อ สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมใหม่
    จงท่องความหมายนี้ไว้ก่อน


    ข้อที่ ๑ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    แปลตามศัพท์ว่า พิจารณากายในกาย นี้สักแต่ว่ากาย
    ไม่มีตัวตนบุคคลเราเขา
    แต่โดยวิธีปฏิบัติแล้ว ให้เอาสติ เอาจิตเพ่งดูกาย
    ยืน เดิน นั่ง นอน เหลียวซ้าย แลขวา
    จะคู้แขนเหยียดขาต้องติดตามดู
    คือ ใช้สตินี่เอง ดูร่างกายสังขารของเรา

    อันนี้เรารู้ไว้เป็นเบื้องต้นก่อนสำหรับข้อหนึ่ง

    ข้อที่ ๒ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    เวทนาเป็นสภาพที่ทนอยู่ไม่ได้ บัญชาการไม่ได้
    ต้องเป็นตามสภาพนี้ และเป็นไปตามธรรมชาติเหล่านี้
    เวทนามีอยู่ ๓ ประการด้วยกัน
    ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอุเบกขาเวทนา
    ทั้งสามประการนี้ จุดมุ่งหมายก็ต้องการจะให้สติ
    ไปพิจารณาเวทนานั้นๆ
    เช่น
    ฝ่ายสุขก็มีทั้งสุขกาย สุขใจ อันนี้เรียกว่า สุขเวทนา
    แล้วก็ทุกข์กายทุกข์ใจ
    หรือจะว่าทุกข์ทางด้านกายและใจก็ได้ เรียกว่า ทุกขเวทนา
    อุเบกขาเวทนา ก็คือไม่สุขไม่ทุกข์
    จิตใจมักจะเลื่อนลอยหาที่เกาะไม่ได้ เรียกว่า อุเบกขาเวทนา

    วิธีปฏิบัติต้องใช้สติกำหนด
    คือ ตั้งสติระลึกไว้ ดีใจก็ให้กำหนด
    กำหนดอย่างไรหรือ กำหนดที่ลิ้นปี่ หายใจยาวๆ
    จากจมูกถึงสะดือให้ได้ หายใจขึ้นลงยาวๆ
    กำหนดว่า ดีใจหนอ ดีใจหนอ

    ทำไมต้องปฏิบัติ เช่นนี้เล่า
    เพราะความดีใจและสุขกายสุขใจนั้น
    เดี๋ยวก็ทุกข์อีก สุขเจือปนด้วยความทุกข์อย่างนี้
    เพื่อความไม่ประมาทในชีวิตของเรา
    จะต้องรู้ล่วงหน้า รู้ปัจจุบันด้วยการกำหนด
    จึงต้องกำหนดที่ลิ้นปี่

    บางคนบอก กำหนดที่หัวใจ ถูกที่ไหน
    หัวใจอยู่ที่ไหนประการใด
    อันนี้ผู้ปฏิบัติยังไม่ต้องรับรู้วิชาการ ทิ้งให้หมด
    ปฏิบัติตรงนี้ให้ได้ ลิ้นปี่เป็นขั้วแบตเตอรี่ชาร์ทไฟฟ้า
    เข้าหม้อ ทุกคนไปแปรธาตุการปฏิบัตินี้
    ไม่ใช่การวิจัย ไม่ใช่ประเมินผล
    แต่เป็นการให้ผุดขึ้นมาเองโดยปกติธรรมดานี่แหละ
    ให้มันใสสะอาด รู้จริงรู้จัง
    รู้ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิ ให้รู้ขึ้นมาเอง

    คำว่ารู้เองนี้ทำยาก รู้วิชาการทำง่าย
    อ่านหนังสือท่องได้ก็ได้
    แต่รู้เองให้ใสสะอาดขึ้นมารู้ยาก
    ทำไมจะรู้ได้ง่ายต้องปฏิบัติขึ้นมา
    ดีใจ เสียใจ มีความสุขกายสุขใจ
    อย่าประมาทเลินเล่อนัก เราต้องตั้งสติทุกอิริยาบถตามกำหนด
    การกำหนดจิตนี้หมายความว่า ให้ตั้งสติ เป็นวิธีปฏิบัติ
    สัมปชัญญะมีความรู้ตัวอยู่ตลอดปัจจุบัน อย่างนี้เป็นต้น
    อดีตไม่เอา อนาคตไม่เอา ให้เอาปัจจุบันที่มันเกิดขึ้น
    ให้ปฏิบัติอย่างนี้ โดยข้อปฏิบัติง่ายๆ
    ถ้าเสียใจ มีความทุกข์ใจ มันอยู่ในข้อนี้
    จึงต้องกำหนดที่ลิ้นปี่ เสียใจหนอๆ
    หายใจลึกๆ ยาวๆ

    เสียใจเรื่องอะไร เป็นการป้อนข้อมูลไว้ให้ถูกต้อง
    สตินี่ระลึกได้ หมายถึงตัวแจงงาน
    หาเหตุที่มาของทุกข์ ตัวสัมปชัญญะเป็นตัวบอกให้รู้
    ให้มีความเข้าใจเรียกว่า ปัญญา
    รู้เท่าทันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบันนั่นเอง
    คนเรานี่จึงต้องกำหนดที่เวทนานี้

    ปวดเมื่อยเป็นเวทนาทางกาย
    แต่จิตไปเกาะ อุปาทานยึดมั่น ก็ปวดใจไปด้วย
    เช่น เราเสียใจ ร่างกายไม่ดี สุขภาพไม่ดี
    เป็นโรคภัยไข้เจ็บ จิตมันก็เกาะที่เจ็บนั้น
    จึงต้องให้กำหนดด้วยความไม่ประมาท
    เป็นวิธีฝึกปฏิบัติก็กำหนดเวทนานั้น
    ปวดหัวเข่าที่ไหนก็ตามต้องตามกำหนด
    กำหนดเป็นตัวปฏิบัติเป็นตัวระลึก
    เอาจิตไปสู่จุดนั้น เป็นอุปาทานยึดมั่นก่อน
    เพราะเราจะก้าวขึ้นบันไดก็ต้องเกาะยึด
    เราจะก้าวต่อไปก็ต้องปล่อย นี่อุปาทาน
    ถ้าใหม่ๆ นี้เรียกว่า สมถะ
    สมถะยึดก่อนแล้วปล่อยไปก็เป็นวิปัสสนา เป็นต้น

    เราจะทราบความจริงถึงจะเป็นวิปัสสนาขึ้นมาต่อภายหลัง


    เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจอย่างนี้ ต้องกำหนด
    ส่วนใหญ่ไม่กำหนดกัน จึงไม่รู้เรื่องรู้ราวอย่างนี้เป็นต้น
    มีความสุขทางไหนก็ตาม เดี๋ยวจะทุกข์อีก
    นี่มันแก้ไม่ได้ เพราะอย่างนี้เกิดที่ไหนต้องแก้ที่นั่น
    ไม่ใช่ไปแก้กันที่อื่น หาเหตุที่มาของมัน
    คือ สติ สติเป็นตัวกำหนด เป็นตัวหาเหตุ
    เป็นตัวแจงเบี้ย บอกให้รู้ถึงเหตุผล
    ตัวสัมปชัญญะรู้ทั่วรู้นอก รู้ใน
    นั่นแหละ คือ ตัวปัญญา ความรู้มันเกิดขึ้น
    ตัวสมาธิ หมายความว่า จับจุดนั้นให้ได้

    เช่น เวทนา ปวดเมื่อย เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติมาก
    จึงต้องให้กำหนด ไม่ใช่ว่ากำหนดแล้วมันจะหายปวดก็หามิได้
    ต้องการจะใช้สติไปควบคุมดูจิตที่มันปวด
    เพราะปวดนี่เราคอยยึดมัน จิตก็ไปปวดด้วย
    เลยก็กลับกลายให้เกิดทุกข์ใจขึ้นมา
    เพราะอุปาทานไปยึดขึ้นมาอย่างนี้เป็นต้น
    จุดมุ่งหมายก็ต้องการให้เอาสติไปดู
    ไปควบคุมจิตว่ามันปวดมากแค่ไหนประการใด

    โอกาสบัดนี้ อาตมาภาพจะแสดงพระธรรมเทศนา
    ในการบำเพ็ญกุศลทักษิณาทาน
    อุทิศถวายแด่พระเดชพระคุณ
    ท่านเจ้าคุณอาจารย์พระธรรมธีรราชมหามุนี
    (โชดก ญาณสิทฺธิ)
    ท่านได้มรณภาพไปสู่สัมปรายภพ ปรารภ ๖ ปีในปีนี้แล้ว
    คณะญาติ ศิษยานุศิษย์มี ท่านอาจารย์มหาสุภาพ เขมรํสี
    พระมหาบุญชิต ญาณวีโร พร้อมทั้งคณะ อุบาสก อุบาสิกา
    ถือว่างานนี้เป็นงานอุทิศถวายแด่พระเดชพระคุณ
    ครูบาอาจารย์ที่เคารพสักการะอย่างสูง ในวันนี้

    ท่านสาธุชนศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย
    โปรดสำนึกสมัญญาในการบูชาคุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์ที่ว่า
    อุเบกขาเวทนา ไม่สุขไม่ทุกข์ ใจก็ลอยหาที่เกาะไม่ได้
    ใจลอยเหม่อมองไปแล้ว เห็นคนเป็นสองคนไป
    จึงต้องกำหนดเวทนา กำหนดที่ไหน กำหนดที่ลิ้นปี่
    หายใจยาวๆ ลึกๆ สบายๆ
    แล้วก็ตั้งสติระลึกก่อน กำหนดรู้หนอๆๆๆ
    ถ้าเราสร้างคอมพิวเตอร์ขึ้นมาได้ครบ
    ป้อนข้อมูลเข้าไป รู้หนอๆ เดี๋ยวสติรวมยึดมั่นในจิต
    จิตก็แจ่มใส ความทุกข์นั้นก็จะหายไป
    อุเบกขาเวทนา ไม่สุขไม่ทุกข์
    ส่วนใหญ่จะประมาทพลาดพลั้ง
    จึงต้องกำหนดทุกอิริยาบถดังที่กล่าวนี้
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8641

    การบำเพ็ญจิตภาวนาตามแนวทางสติปัฏฐาน ๔
    หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

    คัดลอกจาก
    http://www.jarun.org

    หากต้องการทราบรายละเอียดการปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวันเพิ่มเติม
    กรุณาดูรายละเอียดที่ LINK ด้านล่างค่ะ
    http://www.jarun.org/v5/th/dhamma.html


    ข้อที่ ๓ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ต้องท่องให้ได้ ทำไมเรียก จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ฐานของจิตต้องยึดในฐานทัพนี้
    จิตเป็นธรรมชาติที่คิดอ่านอารมณ์
    รับรู้อารมณ์ไว้ได้เหมือนเทปบันทึกเสียง
    จิตเกิดที่ไหน ผู้พัฒนาจิตต้องรู้ที่เกิดของจิตอีกด้วย
    จิตเกิดทางอายตนะ ธาตุอินทรีย์นี่เอง
    จะพูดเป็นภาษาไทยให้ชัด ตาเห็นรูปเกิดจิตที่ตา
    หูได้ยินเสียงเกิดจิตที่หู จมูกได้กลิ่นเกิดจิตที่จมูก
    ลิ้นรับรสเกิดจิตที่ลิ้น กายสัมผัสร้อนหรือหนาว
    อ่อนหรือแข็งที่นั่งลงไป เกิดจิตทางกาย
    เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    วิธีปฏิบัติทำอย่างไร ให้ทำอย่างนี้
    ที่มาของจิตรู้แล้วเกิดทางตา ตาเห็น เห็นอะไรก็ตั้งสติไว้
    จับจุดไว้ที่หน้าผาก อุณาโลมา....กดปุ่มให้ถูก
    เหมือนเรากดเครื่องคิดเลข บวกลบคูณหารมีครบ
    กดปุ่มให้ถูกแล้วผลลัพธ์จะตีออกมาอย่างนี้
    เห็นหนอๆ เห็นอะไร เห็นรูป รูปอยู่ที่ไหน
    สภาวะรูปนั้นเป็นอย่างไร
    สภาพผันแปรกลับกลอกหลอกลวงได้
    เยื้องย้ายได้ทุกประการ เรียกว่า รูป เป็นเรื่องสมมติ
    และเป็นเรื่องทำลายได้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรปรวนดับไป
    คือ รูป ต้องกำหนด
    นักปฏิบัติอย่าทิ้งข้อนี้ไม่ได้ ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    เป็นธรรมชาติของจิตเกิดที่ตา
    เกิดแล้วกำหนด ไม่ใช่ว่าเราแส่ไปหากำหนดข้างนอก
    ตาเห็นอะไรก็กำหนดว่า เห็นหนอ
    ทำไมต้องกำหนดด้วย เพราะจิตมันเกิด
    ตาสัมผัสกับรูปเกิดจิต ในเมื่อเกิดขึ้นแล้ว
    เห็นของเหล่านั้น เรายังไม่มีปัญญา
    เราชอบไหม ชอบเป็นโลภะ
    ไม่ชอบเป็นโทสะ
    เราไม่ใช้สติเลยกลายเป็นคนโมหะ
    รู้ไม่จริงรู้แค่ตาเนื้อ ไม่รู้ตาใน ดูด้วยปัญญาไม่ได้
    เลยดูด้วยโมหะ คนเราจึงได้เลอะเทอะเปรอะเปื้อนไปดังที่กล่าวแล้ว
    ต้องใช้สติ นี่ข้อจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    เป็นธรรมชาติของจิตต้องพัฒนาตรงนี้
    ต้องกำหนดทุกอาการ ทุกอิริยาบถ
    หูได้ยินเสียง หูกับเสียงอย่างไร ไกลแค่ไหนอย่างไร
    ไม่ต้องไปประเมินผล ไม่ต้องวิจัย
    ห้าม ! ห้ามเพราะเหตุใด เพราะมันเป็นวิปัสสนึกไป
    นึกขึ้นมาก็วิจัยตามวิชาการ มันจะไม่ได้ผล
    เราก็ตั้งสติไว้ที่หู ฟังเสียงหนอ
    เราฟังเฉยๆ ไม่ได้หรือ ทำไมต้องกำหนดด้วย
    ถ้าเราไม่กำหนด เราจะขาดสติ
    ถ้ากำหนดก็เป็นตัวฝึกสติ ให้มีสติอยู่ที่หู
    จะได้รู้ว่าเสียงอะไร เสียงหนอๆ
    กำหนดเสียงเฉยๆ ได้ไหม ได้ ! แต่ไม่ดี
    เพราะเหตุใด หนอ ตัวนี้เป็นการรั้งจิตให้มีสติดี
    มีความหมายอย่างนั้น คำว่าหนอนี้ เป็นภาษาไทย
    หนอดีมาก เราจะบอกว่าเสียงหนอ มันรั้งจิตได้ดี

    มีสติดีในการฟัง ระลึกหนอว่าเสียงเขาด่า
    เสียงเขาว่า หรือเสียงเขาสรรเสริญเยินยอ ประการใด
    สัมปชัญญะ ตัวรู้ว่าเสียงนี้ของนาย ก.
    เสียงนี้ของ นาง ข. มาพูดเรื่องอะไร
    ตัวสติจะแจงเบี้ยหาเหตุที่พูด
    ทำไมเขาจึงพูดเช่นนั้น
    ตัวสัมปชัญญะก็บอกกับเราว่า อ๋อ เขาพูดนี่ เพราะอิจฉาเรา
    เขาด่าเรา มาว่าเรา สติบอก
    สัมปชัญญะเป็นตัวคิด ปัญญาก็แสดงออก
    คอมพิวเตอร์ตีออกมาว่า เสียงนี้ไร้ประโยชน์
    เกิดขึ้นตั้งอยู่ก็วูบดับไปทันทีที่หู
    เลยก็ไม่ต่อเนื่องเข้ามาภายในจิต
    เราก็ไม่มีการเศร้าหมองใจ เพราะข้อคิดนี้
    เพราะฉะนั้นนักปฏิบัติ ต้องกำหนดตรงนี้
    ไม่ใช่เดินจงกรมนั่งปฏิบัติ พองหนอยุบหนอให้ได้
    ไม่ใช่ตรงนั้น ตรงนั้นเป็นตัวสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์
    ให้มีพลังจิต
    ในข้อคิดของวิปัสสนาญาณอีกประการหนึ่งต่างหาก

    ผู้ปฏิบัติต้องเริ่มต้นด้วยการพิจารณาดูจิต
    จิตเกิดทางหู ถ้าเราสร้างเครื่องได้ดีแล้ว
    ป้อนข้อมูลถูก สร้างระบบถูก
    ข้อมูลในจิต คือ อารมณ์ที่เราเก็บเอาไว้นานนักหนาแล้ว
    คลี่คลายไม่ออกแฝงไว้ในอารมณ์
    คือ โลภะ โทสะ โมหะ ทำให้จิตเศร้าหมองมาช้านาน
    ไม่ผ่องใสจึงต้องกำหนดอย่างนี้
    เสียงหนอๆ ไม่ใช่เท่านี้เลยนะ เสียงเขาด่า
    ใช่แล้วถ้าเรามีสมาธิดี สะสมหน่วยกิตสติปัฏฐานสูตรไว้ชัดเจน
    เสียงหนอ ก็รู้แล้ว อ๋อเขาด่าเรา ด่าเราตรงไหน
    มีตัวตนตรงไหนบ้าง ที่เราจะถูกด่า แล้วเจ็บช้ำน้ำใจเช่นนี้
    เราก็ใช้ปัญญานี้เอง ฟัง อ๋อเขาด่า
    ด่ามาโดยสมมติว่าด่าเรา คิดว่าอย่างนั้น
    แต่เราอยู่ตรงไหน ก็หาตัวเราไม่ได้
    ตัวเราไม่มี อย่างนี้คือ ปัญญา ไม่มีตัวตน ไม่มีบุคคล
    แต่เป็นโดยสมมติขึ้นมาที่เขาด่าเท่านั้น
    แล้วก็แปรปรวนเปลี่ยนแปลงสภาพของมันแล้วก็หลุดไป
    ดับวูบไปที่หู อันนั้นก็หมดสิ้นไป นี้เรียกว่า ตัวปัญญา

    นักปฏิบัติต้องกำหนดทุกอิริยาบถในการฝึก
    เป็นการดัดนิสัยให้เข้าสู่จุดมุ่งหมายของผู้มีปัญญา
    เป็นความเคยชินจากการปฏิบัติธรรม
    ส่วนใหญ่พูดอย่างนี้ใครก็ทำได้
    ใครก็รู้แต่ปฏิบัติจริงๆ ไม่ได้
    เพราะไม่เคยกำหนดเลย ปล่อยเลยไปหมด
    เข้ามาถึงจิตใจภายใจจิต คือ ประตูทั้ง ๖ ช่อง
    เข้ามาถึงห้องใน ที่นอนของเรา
    จนแต้มจนด้วยเกล้า จนด้วยปัญญา
    แก้ไขปัญญาไม่ได้เลย เพราะมันอยู่ในจุดนี้เป็นจุดสำคัญ
    แต่ผู้ปฏิบัติธรรมเอาไปทิ้งหมด ไม่เคยปฏิบัติจุดนี้เลย
    มีแต่ จะจ้องเดินจงกรม
    จ้องท้องพองหนอยุบหนออย่างเดียว เป็นไปไม่ได้
    ไม่ครบสติปัฏฐาน ๔ ปฏิบัติในข้อจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานสูตร
    ข้อนี้เป็นข้ออินทรีย์หน้าที่การงานที่จะต้องรับผิดชอบตัวเอง
    ต้องกำหนดเสียงหนอๆ ถ้ากำหนดไม่ทัน มันเลยเป็นอดีตไปแล้ว
    เกิดเข้ามาในจิตใจเกิดโทสะ
    เกิดโกรธขึ้นมาทันทีทำอย่างไร ไปเสียงหนออีกไม่ได้
    ต้องกำหนดตัวสัมปชัญญะ กำหนดที่ไหน กำหนดที่ลิ้นปี่
    บางทีไปสอนไม่เหมือนกันเสียแล้ว
    หลับหูหลับตาว่าส่งเดชไป จะถูกจุดได้อย่างไร
    กดเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ถูก กดไม่ถูกจุด
    แล้วมันจะออกมาอย่างที่เราต้องการไม่ได้ นี้สำคัญ
    ผู้ปฏิบัติเน้นในข้อนี้ให้มากต้องกดที่ลิ้นปี่
    แต่อรรถาธิบายอย่างไรนั้น จะไม่อธิบายในที่นี้
    ขอให้ท่านโง่ไว้ก่อน อย่าไปฉลาดตอนปฏิบัติเดี๋ยวจะคิดเอาเอง
    เกิดขึ้นมาเดี๋ยวท่านจะได้ของปลอมไปนะ
    จะได้ของไม่จริงไปอย่างนี้
    กำหนดที่เลยเป็นอดีตแล้ว ต้องกำหนดอยู่อย่างเดียว
    คือ รู้หนอ ไว้ก่อน
    รู้ว่าเรื่องอะไรก็ยังบอกไม่ได้ ทำไมจะรู้จริง
    ทุกสิ่งต้องกำหนดทั้งนั้น ที่ลิ้นปี่ หายใจยาวๆ
    หายใจอย่างไร ต้องตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่
    สูดลมหายใจจากจมูกถึงสะดือ
    แล้วก็ตั้งสติที่ลิ้นปี่ หายใจยาวๆ รู้หนอๆ
    เพราะมันเลยไปแล้วเป็นอดีต กำหนดปัจจุบันไม่ได้
    ต้องกำหนดตัวรู้ อย่างนี้เป็นต้น รับรองได้ผลแน่

    ข้อที่ ๔ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ธรรมในธรรม หมายความว่า เรามีสติปัญญาจะรู้แยกจิตของเราว่า
    คิดเป็นกุศลหรืออกุศล ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง
    จะตัดสินอยู่ที่ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในข้อที่ ๔ นี้
    ข้าพเจ้าทำงานนี้ไปเป็นกุศลหรืออกุศล
    เดี๋ยวจะรู้ตัวตนขึ้นมาทันทีที่มีปัญญา
    เรียกว่า ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    อาตมาหมายความถึงปฏิบัติการ ไม่ใช่วิชาการ
    วิชาการจะไม่อธิบายอย่างนี้
    เป็นการปฏิบัติการในธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ธรรมในธรรม ทำนอกทำใน ธรรมกับทำมันต่างกัน
    ทำไปแล้วเป็นกุศลหรืออกุศล
    ทั้งทางโลกทางธรรม มันอยู่ร่วมกันนี่
    ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เรียกว่าทำนอก ทำใน ทำจิต ทำใจ
    ทำอารมณ์ แสดงออกเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง
    ส่วนใหญ่เราจะเข้าข้างตัวเอง
    เลยคิดว่าตัวเองน่ะคิดถูก ทำถูกแล้ว

    ถ้าเรามานั่งเจริญกรรมฐานแก้ไขปัญหา
    กำหนดรู้หนอ ๆ คือ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    เพราะเรายังไม่รู้จริง รู้หนอ หายใจยาว ๆ รู้หนอ ๆๆ เดี๋ยวรู้เลย
    ว่าที่เราทำพลาดผิดเป็นอกุศล
    ไม่ใช่กุศลมวลเป็นอกุศลกรรม
    จากการกระทำทางกาย วาจา ใจ
    ก็ถ้าแสดงออกเป็นอกุศล นี่ธรรมานุปัสสนาเชิงปฏิบัติการ
    ไม่ใช่วิชาการนะ บางคนบอกหลวงพ่อวัดอัมพวันอธิบายผิดแล้ว
    ใช่ มันผิดหลักวิชาการ แต่มันถูกปฏิบัติการ
    มันจะรู้ตัวเลยว่า เราทำไปนั่นเป็นกุศล
    ผลงานส่งผล คือ เป็นบุญ เป็นความสุข
    สิ่งนี้ที่ข้าพเจ้าทำเป็นอกุศลกรรม ทำแล้วเกิดความทุกข์
    นี่ง่าย ๆ ทางเชิงปฏิบัติการ วิชาการ เขาอธิบายละเอียดกว่านี้
    ถ้ามีกิจกรรมทำได้ไม่ยากเลย อยู่ตรงนี้เอง
    รู้หนอ! อ๋อ รู้แล้วไปโกรธมันทำไม
    ไปโกรธรูปนาม หรือไปโกรธใคร
    ตัวโกรธอยู่ที่คนโน้นทำให้เราโกรธหรือ
    ตัวโกรธไม่ใช่อยู่ที่คนโน้น อยู่ที่เรา
    อยู่ที่ไหน อยู่ที่ใจ อยู่ที่จิตเก็บความโกรธเข้าไว้

    ท่านจะมีแต่ความเป็นโทษ มีแต่ความเศร้าหมองใจตลอดเวลา
    ท่านจะไม่เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้แก้ปัญหาไม่ได้เลย
    ก็สร้างปัญหาด้วยโทสะ สร้างปัญหาด้วยผูกเวร
    สร้างปัญหาด้วยผูกพยาบาท
    น้อยไป! ดูถูกเรา นี่ท่านจะต้องสร้างปัญหาแน่อย่างนี้เป็นต้น

    การปฏิบัติเป็นการแก้ปัญหา
    ไม่ใช่สร้างปัญหาเหมือนอย่างที่ท่านเข้าใจ
    และมีปัญญาเห็นอารมณ์เรา ดูอารมณ์จิตของเรา
    ดูจิตใจของเราต่างหาก อย่างนี้เป็นต้นสำคัญมาก
    บางคนไปสอนกันไม่ถูก
    โกรธหนอ ๆๆ เอาจิตตั้งตรงไหน
    เอาสติไว้ตรงไหน ไปกดไม่ถูก
    กดเครื่องคอมพิวเตอร์ผิด มันก็เลยออกมาแบบอย่างนั้นเอง
    จะวางจิตไว้ตรงไหน ก็ไม่รู้นี่สำคัญนะ

    เห็นหนอ อย่าลืมนะ ส่งกระแสจิตไว้ที่หน้าผาก
    ไม่ใช่หลับตาว่ากันส่ง
    ถ้าท่านทำดังที่อาตมาแนะแนว รับรองได้ผลทุกคน
    เห็นหนอ ก็ต้องส่งกระแสจิตจากหน้าผากออกไป
    เพราะว่าเราจะสังเกตตัวเองได้ทุกคน
    ความรู้สึกจะมารวมที่หน้าผากหมด
    ภาษาจีนเรียกว่า โหงวเฮ้ง
    มันจะมีแสงที่หน้าผากนะ ตอนนี้ไม่อรรถาธิบาย
    จิตท่านสูงท่านจะเห็นเองว่าดูหน้าคนดูตรงไหน
    อย่าลืม ที่อาตมาพูดหลายครั้ง
    ยังไม่มีใครตีปัญหาได้เลย
    อุณาโลมา....มันเป็นการส่งกระแสจิตได้ดีมากในจุดศูนย์สมาธิ
    นี่หละจะเกิดปัญญาได้ สำหรับตัวตนบุคคลปฏิบัติ
    ไม่ใช่มานั่งเห็นนิมิต ถามกันไม่พักเลย
    หลวงพ่อคะ ฉันมีนิมิตอย่างนี้ ฝันว่าอย่างนี้จะได้แก่อะไร
    ไม่ต้องมาถามแล้ว ฝันปลอมก็มีจิตอุปาทานยึดมั่นก็ฝันได้
    ถ้าจิตท่านโกรธ ผูกพยาบาทเก่ง
    จะฝันร้าย จะฝันหนีโจร เป็นนิมิตที่เลวร้าย เพราะจิตมันไม่ดี
    ถ้าสติดี มีปัญญาดี จะฝันเรื่องจริงได้
    ฝันแล้วเป็นเรื่องจริง ถ้าจิตเก๊ ก็ฝันเก๊ ๆ
    จิตปลอมก็ฝันปลอมออกมา
    อาจารย์สอบอารมณ์บางคนชอบถามว่า
    "เห็นอะไรหรือยัง เห็นโน่นเห็นนี่ไหม"
    ไม่ต้องไปถามเขาอย่างนั้นนะ
    ถามว่า กำหนดหรือเปล่า เวทนาเกิดขึ้นกำหนดอย่างไร
    ต้องถามอย่างนี้จะถูกต้องมากกว่า
    ไม่ต้องถามเห็นอะไรไปแนะแนวเขาทำไมอย่างนั้น
    มีความหมายในการปฏิบัติมาก
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6902

    สติปัฏฐานภาวนา
    แสดงธรรมโดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    วัดหินหมากเป้ง
    ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย



    การฝึกสมาธิด้วยวิธีเจริญสติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมอันลึกซึ้งและมีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น สติปัฏฐาน 4 มีอยู่พร้อมแล้วที่กายที่ใจของเราทุกๆ คน ทั้งเป็นของดีเลิศ ผู้ใดตั้งใจแลเลื่อมใสปฏิบัติตาม โดยความไม่ประมาท เต็มความสามารถของตนแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่าอย่างช้า 7 ปี อย่างเร็ว 7 วัน อย่างสูงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อย่างต่ำจะได้เป็นพระอนาคามี เป็นต้น

    พระพุทธองค์เมื่อทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่หกปี ได้ทรงนำเอาหลักวิชาที่ได้ศึกษามาทดสอบหาความจริง ก็ไม่เป็นผล มีแต่จะทำให้ฟุ้งส่ายไปมาไม่สงบ จึงทำให้พระองค์ไม่อาจตรัสรู้สัจธรรมได้ เมื่อพระองค์ทรงย้อนมาดำเนินตามแนว ฌาน - สมาธิ ที่พระองค์เคยได้เมื่อสมัยยังทรงพระเยาว์ ซึ่งไม่มีใครสอนให้ แล้วจิตของพระองค์ก็สามารถเข้าถึงองค์ฌาน ได้สำเร็จพระโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

    นี่แสดงว่าเรื่อง ฌาน - สมาธิมัคคปฏิบัติ เป็นเครื่องกำจัด ชำระกิเลสอารมณ์ เครื่องเศร้าหมองออกจากจิต จิตจึงบริสุทธิ์ ความรู้อันนี้จึงเป็นไปเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์แล้วก็ได้ธรรมอันบริสุทธิ์ของจริงของแท้ขึ้นมา ดังคติธรรมที่ว่า "ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ และสำเร็จได้ด้วยใจ"

    แปลเป็นแบบไทยๆ หมายความว่า ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นที่ใจ รู้เฉพาะใจของตน (ปัจจัตตัง) ฉะนั้น ใจจึงประเสริฐกว่าทุกสิ่ง เพราะใจเป็นผู้ให้สำเร็จกิจทุกกรณี

    ฉะนั้น พระองค์จึงได้ทรงนำเอาแนวปฏิบัติที่พระองค์ได้ทรงดำเนินมาแล้วนั้น มาสอนให้พุทธบริษัทปฏิบัติตาม กายกับใจเป็นของอาศัยกันอยู่ เมื่อจะกระทำความดีหรือความชั่วจึงต้องอาศัยซึ่งกันและกัน การที่จะฝึกฝนชำระสะสางก็ต้องทำไปพร้อมๆ กัน ต้องอาศัยศีลเป็นเครื่องชำระซักฟอก ศีลที่จะมีสมรรถภาพสามารถฟอกกายให้สะอาดได้ ก็ต้องอาศัยใจมีเจตนางดเว้นในการทำความผิด ด้วยมีความรู้สึกเกิดความละอายเกรงกลัวต่อบาป

    มนุษย์เราเกิดมาด้วยอำนาจบุญบาป ตกแต่งให้มาเกิด เมื่อเกิดมาแล้วปัจจัยนิสัยเดิมมันตามมาคร่า ตามอำนาจนิสัยเดิม แล้วใจของเราก็ชอบเสียด้วยเพราะว่าติดในความเคยชินในความเป็นทาสของมัน

    ฉะนั้นเมื่อจะรักษาศีล ก็มักจะอึดอัด ลังเลใจ เพราะกิเลสเป็นผู้บัญชาการอยู่ จิตเราจึงเดือดร้อนเพราะถูกกีดกันด้วยการรักษาศีล ดังนั้นศีลจึงให้โทษเป็นบาปแก่ผู้ขอสมาทานศีล จิตก็จะคอยแต่กาลเวลาให้หมดเขตของการรักษาศีล แม้ผู้บวชเป็นเณร เป็นพระก็เข้าทำนองนี้ ดังนั้นเราจะต้องเข้าใจถึงการรักษาศีล หรือการปฏิบัติธรรมต่างๆ ว่าทุกอย่างนั้นสำเร็จด้วยใจ ด้วยความตั้งใจในการรักษาธรรมนั้นๆ ก่อนจะปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 จึงควรมีศีลเป็นที่ตั้งเสียก่อน เพื่อให้กาย วาจา เกิดความบริสุทธิ์เสียก่อน แล้วใจจะบริสุทธิ์ตามมาอีกทีหนึ่ง จะทำให้การปฏิบัติสติปัฏฐานมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น


    สติปัฏฐาน 4 เป็นโลกุตตรธรรมและเป็นที่อบรมสติได้อย่างดี ประกอบด้วย

    1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณากายนี้สักแต่ว่ากาย มิใช่สัตว์ ตัวตน บุคคล เราเขา

    2. เวทนานุสติปัฏฐาน ให้พิจารณาเวทนา คือ สุข ทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์ เป็นอารมณ์ว่า เวทนานี้สักว่า เวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา

    3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณาใจที่เศร้าหมอง หรือผ่องแผ้ว เป็นอารมณ์ว่า ใจนี้ก็สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา

    4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณาธรรมที่เป็นกุศล และอกุศล ที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่า ธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา

    สติปัฏฐาน 4 ถึงแม้ท่านจะจัดเข้าเป็นโลกุตตรธรรมแล้วก็ตาม ก็ยังต้องหมายเอาตัวของเราทุกๆ คนที่เป็นโลกียอยู่นี่เอง หมายความว่า การจะปฏิบัติให้ได้ สติปัฏฐาน 4 ได้ก็จำต้องเริ่มจากที่กายใจของเรา เหมือนกับต้องมีสิ่งสมมุติก่อน แล้วจึงจะพัฒนาเป็นสู่สิ่งที่เป็นอนัตตา

    ก่อนที่จะเจริญสติปัฏฐานแต่ละข้อ ขอให้พึงกำหนดไว้ในใจก่อนว่า สติกับใจอยู่ด้วยกัน สติอยู่ตรงไหนใจก็อยู่ตรงนั้น ใจอยู่ตรงไหนสติก็อยู่ตรงนั้น ฐานที่ตั้ง - ที่ฝึกอบรมสติ คือสติปัฏฐาน 4 ได้แก่ กาย - เวทนา - จิต - ธรรม นั่นเอง


    แนวปฏิบัติสติปัฏฐานภาวนา

    ผู้จะลงมือเจริญสติปัฏฐาน 4 แต่ละข้อนอกจากเป็นผู้เห็นโทษทุกข์เบื่อหน่าย คลายความยินดีเพลิดเพลินติดอยู่ในกามคุณ 5 แลทำความเลื่อมใสพอใจในการปฏิบัติตามสติปัฏฐาน เพราะเชื่อตามคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าว่า เป็นทางที่ให้พ้นจากกองทุกข์ได้อย่างแท้จริงแล้ว อย่าได้ลังเลสงสัยในสติปัฏฐานข้ออื่นอีกที่เรายังมิได้เจริญ เพราะสติปัฏฐานทั้ง 4 เมื่อเจริญข้อใดข้อหนึ่งได้แล้ว ข้ออื่นๆ ก็จะปรากฏชัดแจ้งให้หายสงสัยในข้อนั้นเอง แล้วก็อย่าไปหวังหรือปรารถนาอะไรๆ ไว้ล่วงหน้าให้มาเป็นอารมณ์ เพราะจะเป็นอุปสรรคแก่การเจริญสติปัฏฐาน


    นัยที่ 1 - 1 เมื่อเอาสติไปตั้งลงที่กาย แล้วให้เพ่งดูเฉพาะกายเฉยๆ ไม่ต้องไปแยกแยะกายให้เป็นธาตุ - อสุภ อันใดทั้งสิ้น แม้แต่คำว่า กาย หรือว่า ตน ก็ไม่ต้องไปคำนึง ให้ตั้งสติเพ่งอยู่อย่างนั้น เมื่อจิตแน่วแน่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้ว อารมณ์อื่นนอกนั้นมันก็จะหายไปเอง ในขณะนั้นจิตจะไม่ส่งส่ายไปในอดีต - อนาคต แม้แต่สมมุติบัญญัติว่าอันนั้นเป็นนั่น อันนี้เป็นนี่ก็จะไม่มี กายที่จิตไปเพ่งอยู่นั้นก็จะเห็นเป็นสักแต่ว่า วัตถุธาตุอันหนึ่งเท่านั้น มิใช่เรา มิใช่เขา หรือ สัตว์ ตัวตน บุคคลอะไรทั้งนั้น นี่เรียกว่า จิตเข้า เอกัคคตารมณ์ นั่นคือเข้าถึงสติปัฏฐานภาวนาโดยแท้

    เมื่อจิตไปเพ่งวัตถุอันนั้นอยู่โดยไม่ถอน สักพักหนึ่งแล้ว วัตถุอันนั้นก็หายวับไป เมื่อสติไม่มีที่หมาย สติก็หมดหน้าที่ สติก็จะหายไปพร้อมๆ กัน แล้วจิตกับวัตถุภาพนั้นก็จะรวมเข้าเป็นจิตอันเดียว ซึ่งลักษณะคล้ายๆ กับคนนอนหลับ แต่มิใช่หลับเพราะมันยังมีความรู้เฉพาะตัวมันอยู่ต่างหาก แต่จะเรียกว่าความรู้ก็ยังไม่ถูก เพราะว่ามันนอกเหนือจากความรู้ทั่วไป นี่เรียกว่า เอกัคคตาจิต การเจริญสติปัฏฐานถึงที่สุดเพียงเท่านี้ สติปัฏฐานข้ออื่นๆ ก็เหมือนกัน

    อาการของการเจริญสติปัฏฐาน 4 ถ้าหากว่า จิตไม่รวมเป็นหนึ่งแต่มีการเกิดเป็นสองหรือมากกว่า ตัวจิตจะถอนออกมา จะมีความวุ่นส่งส่ายลังเล หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การเจริญสติปัฏฐานเบื้องต้นก่อนจิตจะเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ เอกัคคตาจิตนั้น คืออาการของจิตทำงาน จะต้องต่อสู้หรือผจญต่างๆ เมื่อจิตได้รวมเป็นเอกัคคตาจิตแล้ว ก็จะดำเนินพักผ่อนตามพอควรแก่เวลา แล้วจิตก็ออกตรวจ - จัดระเบียบ - ชมผลงานของตน - พร้อมๆ กับเกิดความปราโมทย์ ร่าเริงบันเทิงในผลของงานนั้นๆ

    ผลของการเจริญสติปัฏฐานทุกๆ ข้อ จะมีอาการคล้ายๆ กันทั้งนี้ทั้งนั้น อาจมีผิดกันบ้าง ซึ่งเป็นเพราะบุญบารมีนิสัยไม่เหมือนกัน

    ความจริงการงานของกายกับงานของจิตก็คล้ายๆ กัน ผิดที่งานของกายทำด้วยวัตถุ ที่ยังไม่สำเร็จให้สำเร็จแล้วก็พัก ส่วนงานของจิตทำด้วยนามธรรม (ปัญญา) ที่ยังหลงไปยึดไม่รู้เท่า เข้าใจตามเป็นจริง เมื่อชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยปัญญาแล้ว ก็หมดหน้าที่แล้วก็ปล่อย วางพักเอง

    อนึ่ง ภาพนิมิตและความรู้ต่างๆ อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่กำลังเจริญอยู่นี้ โดยมิได้ตั้งใจจะให้มันเกิด แต่หากเกิดขึ้นเอง ด้วยอำนาจของสมาธิก็ได้ ตามจังหวะกำลังการเจริญนั้นๆ มิได้หมายความว่าทุกคนที่มาเจริญแล้วจะต้องเกิดภาพนิมิตก็หาไม่ เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะบุญบารมีนิสัยวาสนาของแต่ละคน และมิใช่แต่เรื่องภาพนิมิต เรื่องอื่นๆ ก็มีอีกแยะ

    ฉะนั้นผู้ที่จะเจริญสติปัฏฐานควรอยู่ใกล้กับผู้ที่ฉลาดแลชำนาญในการเจริญสติปัฏฐาน เมื่อมีเรื่องแลขัดข้องจะได้ตรงไหน ท่านจะได้ขี้แนะช่องทางได้ จะทำให้การเจริญสติปัฏฐานก้าวหน้าไปได้ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น


    นัยที่ 1 - 2 เมื่อเอาสติตั้งลงที่เวทนา (โดยมากเป็นทุกขเวทนา) แล้วก็ให้เพ่งดูเฉพาะเวทนาเฉยๆ ไม่ต้องไปคิดค้นว่าเวทนาเกิดตรงนั้น จากนั้น แลอยู่ ณ ที่นั้นๆ อะไรทั้งหมด แม้คำที่เรียกว่า เวทนาๆ นั้นก็อย่าได้มีในที่นั้น เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่อย่างนี้ จิตก็จะปล่อยวางความยึดถือสมมุติบัญญัติเดิมเสีย แล้วจะมีความรู้สึกสักแต่ว่า เป็นอาการของความรู้สึกอันหนึ่ง ซึ่งมิใช่อยู่นอกกายแลในกายของเรา แล้วอารมณ์อื่นๆ ก็จะหายไปหมด

    เมื่อจิตตั้งมั่นแน่วแน่อยู่เฉพาะในลักษณะนั้นดีแล้ว บางทีทุกขเวทนาอย่างแรงกล้าที่เกิดอยู่ในขณะนั้นจะหายวับไปเลย หากยังไม่หายเด็ดขาดจะปรากฏอยู่บ้าง อันนั้นก็มิใช่เวทนาเสียแล้ว มันเป็นสักแต่ว่าอาการอันหนึ่งเพียงเพื่อเป็นที่เพ่งหรือที่ตั้งของสติ เรียกว่า จิตเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตไม่ถอน ละเอียดเป็นลำดับแล้ว อาการอันหนึ่งซึ่งสติไปตั้งมั่นอยู่นั้นก็จะหายไป คงเหลือแต่เอกัคคตาจิต จิตที่บริสุทธิ์ผ่องใสดวงเดียว เมื่ออยู่สักพักแล้วก็จะถอนออกมา ต่อจากนั้นก็เดินตามวิถีเดิม ดังที่ได้อธิบายมาในสติปัฏฐานข้อแรก


    นัยที่ 1 - 3 เมื่อเอาสติมาตั้งลงที่จิต (จิตในที่นี้หมายเอาผู้รู้สึกนึกคิด) แล้วก็ให้เพ่งดูเฉพาะแต่จิตเฉยๆ ไม่ต้องไปคิดว่าจิตเป็นบุญ จิตเป็นบาป อย่างนั้นๆ จิตดี จิตชั่ว จิตหยาบ จิตละเอียดอย่างนั้นๆ แม้แต่ชื่อแลบัญญัติของจิตอื่นนอกจากนี้ก็อย่าให้มี ณ ที่นั้น ให้ยังเหลือแต่สติที่เข้าไปเพ่งอาการอันหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะให้วับๆ แวบๆ แต่มิได้ออกไปยึดแลไปปรุงแต่งอะไร

    เมื่อจิตกับสติรวมกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวแล้ว สติก็ตั้งมั่นแนวแน่อยู่เฉพาะที่จิตนั้นอย่างเดียว เรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตไม่ถอน ละเอียดเข้าแล้ว จิตคืออารมณ์ของจิตนั้นก็จะหายไป สติก็จะหายไปตามกัน แล้วเปลี่ยนสภาพเป็นเอกัคคตาจิต นอกจากนี้อาการเหมือนดังได้อธิบายมาในข้างต้นแล้วทุกประการ


    นัยที่ 1 - 4 เมื่อเอาสติมาตั้งลงที่ธรรม (คืออารมณ์ของใจที่เกิดจากอายตนะผัสสะทั้ง 6) แล้วให้เพ่งดูอยู่เฉพาะธรรมนั้นเฉยๆ ไม่ต้องไปแยกแยะว่า ธรรมนั้นเป็นอย่างนั้นๆ แลเกิดดับอย่างนั้นๆ แม้แต่คำว่า ธรรมๆ ก็อย่าให้มี ณ ที่นั่นเลย ให้เพ่งดูแต่เฉพาะอาการอันหนึ่งซึ่งอายตนะภายนอกภายในกระทบกันแล้ว แสดงปฏิกิริยาอันหนึ่งเกิดขึ้นมาเท่านั้น หากจะมีคำถามขึ้นมาในที่นี้ว่า จิตกับธรรม ต่างกันตรงไหน ก็ขอเฉลยว่า ธรรมในที่นี้ หมายเอาอารมณ์ซึ่งเกิดจากอายตนะทั้ง 6 มีตา เป็นต้น เมื่อตาเห็นรูปสวยน่าชอบใจ แล้วจิตก็เข้าไปแวะข้องเกี่ยวอยากได้รักใคร่ ชอบใจยินดี ติดยึดมั่นเกาะเหนียวแน่นอยู่ในรูปนั้น ที่เรียกว่า ธัมมารมณ์ ธัมมารมณ์อย่างนี้แหล่ะที่เรียกว่า ธัมมานุสติปัฏฐาน ที่ต้องการจะฝึกอบรมสติในธรรมอันยังไม่บริสุทธิ์ ให้เกิดเป็นสภาพธรรมอันบริสุทธิ์ขึ้นมา

    เมื่อสติตั้งมั่นแน่วอยู่เฉพาะในธัมมารมณ์มั่นคงไม่เสื่อม เรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตละเอียดเข้าไปจนที่ตั้งอารมณ์ของสตินั้นหายไป แล้วสติก็จะหายไปด้วยกัน เมื่อจิตอยู่ในลักษณะเช่นนั้นนานพอสมควรแก่ภาวะของตนแล้ว ก็จะถอนออกมาตามวิถี เดิมดังได้อธิบายมาแล้วในสติปัฏฐานข้อต้นๆ

    หากจะตั้งปัญหาถามขึ้นมาว่า การฝึกอบรมสติปัฏฐาน 4 เบื้องต้น จิตก็จะละเอียดลงไปโดยลำดับๆ จนเป็นเอกัคคตารมณ์แลเอกัคคตาจิต แต่แล้วทำไม จึงต้องถอนออกมาเดินอยู่ในวิถีเดิม (คืออารมณ์ทั้ง หก) จะไม่เรียกว่า จิตเสื่อม หรือเฉลยว่า มนุษย์เรา เกิดมาในกามภพ ใช้วัตถุกาม (คือ อายตนะ) เป็นเครื่องอยู่ หลงแลมัวเมา คลุกกรุ่นเป็นทุกข์เดือดร้อนนานัปการกับการอยู่ด้วยกามกิเลส ด้วยเหตุที่มิได้ฝึกอบรมสติของตนให้มั่นคงจนได้รู้แลเห็นจิต เห็นตัวกิเลสแลที่เกิดของกิเลสตามเป็นจริง จนจิตแยกออกจากกิเลสได้

    ผู้มีปัญญามาเห็นโทษแลเบื่อหน่ายในความเป็นอยู่ของกิเลสเหล่านั้นแล้ว จึงมาตั้งใจฝึกอบรมในสติปัฏฐาน 4 จนได้ผล ดังได้อธิบายมาแล้ว ถึงกระนั้นก็ดี เมื่ออายตนะ คือ ตัวของเรา มันเป็นวัตถุกามอยู่ แล้วก็อยู่ในกามภพ รับอารมณ์ที่เป็นของกามกิเลสอยู่ เช่นนี้ เมื่อจิตถอนออกมาจากเอกัคคตาจิต ซึ่งในที่นั้น ถือว่าจิตบริสุทธิ์ไม่มีอะไรแล้ว จิตก็จะมาจับเอาเครื่องมือเก่าใช้ต่อไปจนกว่าจะแตกดับ เมื่อจิตที่ได้ฝึกอบรมให้ชำนาญคล่องแคล่วไว้ดีแล้ว จิตนั้นจะประกอบด้วยปัญญาฉลาด สามารถใช้วัตถุกามมิให้เกิดกามกิเลสได้อย่างดี จิตนั้นได้ชื่อว่าไม่เสื่อม แลเหนือจากกามกิเลส

    สติปัฏฐาน 4 พระองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้อย่างเด็ดขาดว่า ผู้ใดมาเจริญซึ่งสติปัฏฐาน 4 ทำให้มากเจริญให้ยิ่งจนชำนาญแล้ว อย่างช้าเจ็ดปี อย่างเร็วก็เจ็ดวัน ต้องได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ถ้าไม่ถึงพระอรหันต์ก็ต้องได้พระอนาคามี การเจริญสติ มิใช่เป็นของเสียหาย มีแต่จะทำให้ผู้เจริญได้ดียิ่งๆ ขึ้น เพราะสติเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกๆ คน

    ยังมีวิธีปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 อีกวิธีหนึ่ง คือการพิจารณา ลักษณะทั้งสี่ให้ละเอียดลึกซึ้ง ทั้งที่มา ที่เป็นไป จนมีความเบื่อหน่าย โน้มนำจิตให้เข้าสู่อนัตตา มีจิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ได้เช่นกัน ซึ่งไม่ได้นำมากล่าวไว้ในที่นี้ เพื่อไม่ต้องการให้เกิดความสับสน สำหรับผู้เริ่มฝึกปฏิบัติ แต่สำหรับโดยนัยแล้ว การปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ไม่ว่า วิธีไหนก็ตามเพื่อต้องการให้จิตมีความเบื่อหน่ายในภาวะที่เกิดที่รับรู้ ที่ได้กระทบ จนจิตนั้นเกิดความเบื่อหน่ายในความรู้สึก แล้วก็จะเข้าสู่ความมีจิตเป็นอันหนึ่ง โดยหลักการเป็นอย่างเดียวกันกับแนวหลักของไตรลักษณ์ คือ ดำเนินตามลำดับ ของ ทุกขัง อนิจจัง และอนัตตานั่นเอง

    การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ที่เป็นสติปัฏฐาน 4 ดังที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้นพระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็นทางสายเอก เป็นทางสายเดียวที่จะสามารถนำสัตว์โลกให้ก้าวข้ามบ่วงของกิเลสหรือชาติ ภพ ได้ ทุกวันนี้ได้มีการนำมาใช้ปฏิบัติตามแบบของสมถะวิปัสสนากรรมฐาน ที่เรียกว่าภาวนา "ยุบหนอ พองหนอ" กันมาก และในส่วนของสมถะอย่าง การภาวนา "พุทโธ" หรืออื่นๆ ก็สามารถก้าวล่วงได้ หากว่าได้มีการพิจารณา โดยการใช้ปัญญา ซึ่งหลักการนั้นหลังจากที่จิตอยู่ที่อาการรับรู้เพียงอย่างเดียวในคำภาวนา "พุทโธ" แล้วนั้นแสดงว่า จิตเป็นเอกัคคตารมณ์แล้ว ก็ให้รีบใช้จิตพิจารณาถึงความไม่ เที่ยง ในสิ่งทั้งปวง ทั้งรูปขันธ์และนามธรรม จนจิตละเอียดดีพอ ก็จะมีปัญญารับรู้ถึงความเป็นอนัตตาได้ ตัวปัญญาจะเกิดขึ้น และตัวรู้จะทำให้เราเข้าใจในทุกสิ่งได้เอง

    ทุกสิ่งในคำภาวนาเป็นเพียงสมมุติบัญญัติขึ้นเพื่อให้จิตมีตัวยึด แต่จุดประสงค์หรือหลักการเพื่อต้องการใช้คำภาวนาเหล่านี้ หรืออาการรับรู้เหล่านั้น ปูทางไปสู่ความเห็นหรือตัวรู้ ถึงความไม่เที่ยง เพื่อการพิจารณาสู่ความเป็นอนัตตา ด้วยจิตของพระอรหันต์นั้น ไม่ยึดติดในสมมุติบัญญัติใดๆ อีก

    เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.



    ...........................................................

    คัดลอกมาจาก
    http://www.geocities.com/metharung/sati-4.htm
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9899

    [​IMG]
    แผนการปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน 4
    โดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย


    ต่อไปนี้ขอเชิญทุกท่านกำหนดจิตทำสมาธิในท่านั่ง ในกายของเรานี้มีจิตเป็นใหญ่ มีจิตเป็นหัวหน้า มีจิตเป็นประธาน ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จแล้วแต่จิต ในขณะนี้กายกับจิตของท่านยังมีความสัมพันธ์ คือรับรู้กันอยู่ เมื่อท่านกำหนดรู้ที่จิต ท่านก็ยังรู้ว่ากายยังมี เมื่อกายยังมีอยู่ จิตของท่านก็รู้เรื่องของกายโดยไม่ได้ตั้งใจ เวลานี้ท่านนั่งอยู่ กายสบายมั๊ย ท่านก็รู้ มีอะไรมา สัมผัสกายท่านมั๊ย ท่านก็รู้ ความเจ็บปวดเกิดขึ้นที่กาย ท่านก็รู้ เพราะกายกับจิตของท่านยังอยู่ด้วยกัน ยังไม่แยกจากกัน ถ้าหากว่าจิตของท่านกำหนดรู้ความสุข และความทุกข์ หรือ ความเฉยๆ ที่เกิดที่กาย สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เกิดขึ้นเมื่อกายยังปรากฏอยู่กับความรู้สึก

    เมื่อท่านกำหนดรู้กายอยู่สติก็ตั้งอยู่ที่กาย ระลึกรู้อยู่ที่กาย โดยเพียงแค่นึกรู้สึกว่ากายมีอยู่ แล้วเมื่อท่านไม่ได้นึกเช่นนั้น ท่านก็ยังรู้ว่ากายมีอยู่ เมื่อจิตของท่านรู้สึกว่ากายมีอยู่ เวทนาสุขทุกข์ ย่อมเกิดขึ้นที่กาย เมื่อท่านมีสติรู้อยู่ ท่านก็รู้ว่าเวทนามี สุข ทุกข์เรียกว่าเวทนา สุขเรียกว่าสุขเวทนา

    เมื่อสติของท่านกำหนดรู้เวทนา สติไปตั้งอยู่ที่นั่นก็เรียกว่าเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ความรู้ ความคิด คิดว่านี่กาย นี่เวทนา นี่สุขเวทนา นี่ทุกขเวทนา นี่อุเบกขาเวทนา ความคิดหรือรู้เป็นอาการของจิต เมื่อสติมากำหนดรู้พร้อมอยู่กับความคิดเช่นนั้น ถ้าสติตั้งมั่น หรือสติตามรู้ รู้ความคิดอันนั้นเรียกว่าจิตตานุปัสสนา ถ้าสติตั้งมั่นอยู่กับความคิดนั้น เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    เมื่อหากว่าสุขเวทนาเกิดขึ้น ทุกขเวทนาเกิดขึ้น จิตปรุงแต่ง ธรรมชาติของคนเรามีความรู้สึกชอบ ความสบาย ถ้าหากจิตของท่านใฝ่หาความสบายโดยไม่อยากทำอะไร ไม่ปฏิบัติ บางทีอาจไปคิดว่าเลิกปฏิบัติซะดีกว่า อยู่เฉยๆ สบายดี แสดงว่าจิตของท่านใคร่ต่อความสบาย ติดความสบาย เมื่อจิตติดความสุข ความสบาย จิตก็มีความใคร่ในกาม กามก็คือความสบายใคร่ในความสุข คือไม่อยากทำอะไร เรียกว่ากามฉันทะ ความใคร่พอใจในความสบาย เมื่อเป็นเช่นนั้นจิตปรุงแต่งว่าจะปฏิบัติต่อไปดีหรือจะหยุดเพียงแค่นี้

    ความคิดเช่นนี้เป็นลักษณะของพยาบาท คือเป็นความคิดที่จะตัดรอนคุณความดี เกิดความคิดกังวลสงสัยว่า จะเอาดีหรือไม่เอาดี ความหงุดหงิดงุ่นง่านรำคาญบังเกิดขึ้นเรียกว่า อุทธัจจกุกกุจจะ เมื่อมีความฟุ้งซ่านรำคาญบังเกิดขึ้น ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอนเกิดขึ้นมาแทรก จิตก็ปรุงแต่งขึ้นมาว่าจะเอาดีหรือไม่เอาดี หรือจะหยุดกันเพียงแค่นี้ เป็นวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ลังเลใจ ไม่แน่ใจ เมื่อตัดสินใจเด็ดขาดลงไปไม่เอาล่ะ เลิกดีกว่า พยาปาทะวิ่งเข้ามาตัดรอน

    เมื่อจิตมากำหนดรู้อยู่ที่นิวรณ์ 5 คือ กามฉันทะ ความใคร่ในความสุขสบาย พยาปาทะ ความคิดริดรอนหรือตัดรอน อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ ถีนมิทธะความง่วงเหงาหาวนอน วิจิกิจฉา ความสงสัยไม่เอาจริง ถ้าจิตมากำหนดดูอยู่ที่ตรงนี้ อันนี้เป็นธรรมฝ่ายอกุศล เป็นนิวารณะธรรม เป็นธรรมที่คอยกางกั้นคุณงามความดีไม่ให้บังเกิดขึ้นจึงเรียกว่า นิวรณ์ หรือ นิวารณะ แปลว่าจิตปิดกั้น กั้นสมาธิไม่ให้เกิด กั้นปัญญาไม่ให้เกิด กั้นกุศลไม่ให้เกิด เพราะอันนี้เป็นธรรมฝ่ายอกุศล เมื่อจิตมากำหนดรู้ธรรมที่เป็นกุศล อกุศล เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ถ้าสติมากำหนดตั้งมั่นพิจารณาอยู่ที่ธรรม ก็เรียกว่าธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธรรมะเป็นฐานที่ตั้งของสติ จิตรู้ว่ากายมีอยู่ และมีสติตั้งมั่นอยู่ที่กาย อย่างน้อยก็ตั้งมั่นอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ลมหายใจเข้าออกก็เป็นส่วนหนึ่งของกาย เพราะปอดเป็นผู้มีหน้าที่ ทำหน้าที่ หายใจเข้า หายใจออก เมื่อสติไปตั้งอยู่ที่ลมหายใจ ก็ได้ชื่อว่าสติไปตั้งอยู่ที่กาย จัดเป็นอานาปาณุสติด้วย กายานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วย ในมหาสติปัฏฐานบรรพัท ท่านจำแนกแจกวิธีการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมไว้อย่างกว้างขวางพิศดาร แต่อันนั้นเป็นภาคปฏิบัติ

    ท่านเริ่มต้นแต่ให้พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก โดยความเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดบ้าง โดยความเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ บ้าง เพื่อจะให้จิตหรือสติไปตั้งอยู่ที่กาย จะได้เกิดความรู้ว่ากายสักแต่ว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา ท่านให้เริ่มพิจารณาตั้งแต่กายภายนอก คือกายของคนอื่น หรือพิจารณาซากอสุ หมายถึง ซากอสุภะ แล้วก็น้อมเข้ามาเปรียบเทียบกับตนเอง เช่นอย่างไปเห็นซากศพที่นอนตายอยู่ ท่านให้พิจารณาซากศพว่าเมื่อก่อนนี้ซากศพก็มีชีวิตจิตใจเดินเหินไปมาได้เหมือนเรา บัดนี้เขาปราศจากวิญญาณแล้ว เขามีแต่จะเน่าเปื่อยผุพัง แล้วก็น้อมเข้ามาเปรียบเทียบกับตนเองว่า แม้เราก็เช่นกัน เวลานี้ เรามีกาย มีจิต มีวิญญาณ เราก็ยังเดินเหินไปไหนมาไหนได้ ทำอะไรได้จิปาถะ เมื่อวิญญาณออกจากร่างแล้ว ร่างกายก็มีแต่จะเน่าเปื่อยผุพังทับถมแผ่นดินเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก เมื่อสลายตัวไปก็จะเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ

    หาสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี ร่างกายภายนอกกับกายภายในเป็นเช่นไร กายภายนอกเป็นเช่นไร กายภายใน ก็ย่อมเป็นเช่นนั้น ทีนี้การพิจารณากายภายนอก สักแต่ว่ากาย แต่ว่ามันเป็นกายของคนอื่น อันนั้นเรียกว่าเห็นกายภายนอก แต่เมื่อมาพิจารณากายของตนเอง ให้เห็นว่ากายของเราก็จักเป็นเช่นนั้น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก แม้ปัจจุบันนี้จะยังสดสวยงดงามพอดูกันได้ แต่เมื่อกายสลายตัวลงไปแล้วก็จะเน่าเปื่อยผุพัง เป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก แล้วเราจะได้รู้ได้เห็นว่ากายของเรานี้สักแต่ว่ากายไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา กายเป็นแต่เพียงกาย กายเป็นแต่เพียงสมมติบัญญัติ กายนี้ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัว ตน เรา เขา แต่ที่สมมติว่าบุคคล ตัวตนเราเขาและสัตว์นั้นเป็นแต่เพียงสมมติบัญญัติ ตามภาษารูป แต่เมื่อความเป็นจริงแล้ว สมมติบัญญัติอันนี้เป็นกาย ก็สักแต่ว่ากายเท่านั้น ในเมื่อเรามาพิจารณาเห็นกายภายในคือกายของเราเป็นเช่นนั้น เรียกว่า พิจารณากายในกาย ถ้าสติไปตั้งมั่นอยู่ในการพิจารณากาย โดยยึดเอากายเป็นอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ที่ตรงนั้น จนกระทั่งว่าในขณะที่พิจารณาในสมาธิก็เป็นเช่นนั้น

    ออกจากสมาธิไปแล้ว สติก็กำหนดตามรู้การยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด ซึ่งเป็นเรื่องของกาย ก็เรียกว่า สติไปตั้งอยู่ที่กาย เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถ้าสติเพียงแค่ว่าควบคุมบังคับให้ระลึกไปในกาย คือระลึกถึง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น อันนี้เรียกว่าเป็นภาคปฏิบัติ เป็นสติปัญญาธรรมดา แต่ถ้าหากว่าจิตมีสติกำหนดรู้เรื่องของกายอยู่ตลอดเวลาโดยอัติโนมัติ จะตั้งใจก็กำหนดรู้ ไม่ตั้งใจก็กำหนดรู้ กำหนดรู้อยู่ตลอดเวลาทุกขณะจิตทุกลมหายใจ สติไม่พรากจากกาย ไม่ว่าเราจะยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด สติก็รู้พร้อมอยู่ที่กายตลอดเวลา อันนี้เรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เอาสติตั้งมั่นไม่หวั่นไหวก็เป็นมหาสติปัฏฐาน

    ในเมื่อสติมาตั้งมั่นอยู่ที่กาย ระลึกรู้ รู้อยู่ที่กายตลอดเวลา เรื่องเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เราไม่ได้ตั้งใจจะกำหนดรู้ ไม่ได้ตั้งใจจะพิจารณา จิตของเราก็รู้เอง เพราะจิตมีกาย กายเป็นที่เกิดแห่งเวทนา เมื่อจิตมาจดจ่อเอาใจใส่ต่อกาย อะไรเกิดขึ้นที่กาย จิตของเรารู้หมดไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจิตมาตั้งมั่นอยู่ที่กาย เอากายเป็นอารมณ์สติตั้งมั่นอยู่ที่กาย แม้แต่ความคิดที่เกิดขึ้นก็เพราะอาศัยกายนั่นแหละเป็นเครื่องมือ เมื่อมีกายอยู่จิตย่อมมีความคิด ความคิดที่เกิดขึ้นนั้น แม้เราไม่ได้ตั้งใจจะกำหนดรู้ จิตของเราก็จะรู้เพราะการคิดเป็นเรื่องของจิต

    ในเมื่อสติของเราไปตั้งมั่นอยู่กับความคิดที่คิดอยู่ในปัจจุบัน คิดอะไรขึ้นมาก็รู้ คิดอะไรขึ้นมาก็รู้แต่ความคิดนั้น คิดแล้วก็ปล่อยวางไป ไม่ยึดมั่นอะไรไว้สร้างปัญหาให้ตัวเองเดือดร้อน สติกำหนดตั้งมั่นอยู่ที่ความคิดนั้น เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทีนี้ความคิดที่ปรุงแต่งนั้นอาศัยเวทนาเป็นสิ่งหนุน สุขเวทนา เป็นเหตุให้จิตมีความเพลิดเพลินยินดี ทุกขเวทนาเป็นเหตุให้จิตเกิดความไม่พอใจ หรือบางทีอาจจะเกิดคับแคบใจ ในเมื่อกิเลสที่เป็นตัวการ คือการเสพความสุขความสบายซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในขณะนั้น

    ทีนี้พอนั่งๆ ไป ปฏิบัติไป บางทีก็เกิดทุกขเวทนาบางอย่างเกิดขึ้น มีความรู้สึกว่ามีอาการง่วงๆ แล้วก็เกิดปวดต้นคอ หรือบางทีหายใจอึดอัดซึ่งนักปฏิบัติทั้งหลายจะต้องผ่านสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น และเป็นชนวนให้เกิดความหงุดหงิดงุ่นง่านรำคาญ ในเมื่อจิตมากำหนดรู้อยู่ที่ความหงุดหงิดงุ่นง่านรำคาญ จิตก็เริ่มกำหนดรู้เรื่องของธรรมแล้วก็จะมองเห็นนิวรณ์ทั้ง 5 ได้ชัดเจน คือมองเห็นความใคร่ในความสุขสบาย ทำให้เกิดขี้เกียจขี้คร้านมองเห็นได้ชัด แล้วก็มองเห็นความหงุดหงิดรำคาญ อุทธัจจกุกกุจจะได้ชัดเจน และยิ่งเกิดความง่วงเหงาหาวนอนขึ้นมาแทรกด้วย เราก็มองเห็นได้ชัดเจน

    เราเกิดสงสัยว่าจะปฏิบัติต่อไปดีหรือจะหยุดเพียงแค่นี้ เราก็มองเห็นได้ชัดเจน ในเมื่อเราเกิดความสงสัยว่าจะปฏิบัติต่อไปหรือจะหยุดแค่นี้ พยาปาทะคือตัวคอยตัดรอนได้โอกาสก็วิ่งเข้าไปตัด พอตัดลงไปแล้ว เราก็จะนึกว่าเอาแค่นี้พอแล้ว เอาไว้วันหลังปฏิบัติต่อใหม่ ทีนี้ถ้าหากว่าจิตของเราเป็นอย่างนี้เรื่อยไป พอเกิดหงุดหงิดขึ้นมาแล้วก็บอกว่า เอาล่ะ แค่นี้ ฝากไว้วันหลังจึงปฏิบัติต่อใหม่ เราก็จะไม่ได้ประสบกับความสำเร็จเพราะอันนี้มันเป็นนิวรณ์ที่คอยตัดรอนคุณงามความดี ถ้าจิตของเรามาตั้งสติพิจารณาคุณโทษแห่งนิวรณ์ 5 ดังที่กล่าวแล้วก็พยายามหาอุบายปลดเปลื้อง

    อุบายปลดเปลื้องนิวรณ์ 5 ก็คือเอาตัวนิวรณ์ 5 นั้นแหละเป็นเครื่องแก้ คือพิจารณาให้เห็นโทษของนิวรณ์เลย พิจารณาว่ากามฉันทะ ถ้าเราทำจิตให้ไปติดในความสุขความสบายจนเกินไปอย่างไม่มีเหตุผล ก็จะทำให้เราเสียกาลเสียเวลาเสียการปฏิบัติเพราะการปฏิบัตินี่ก็ย่อมลงทุนลงแรงบ้างพอสมควร ต้องอาศัยความอดทน

    ถ้าเราใช้ขันติ ความอดทนปฏิบัติไปสักพักหนึ่งนิวรณ์ 5 ทั้งหลายนั้นย่อมสงบระงับไปได้เพราะพลังของสมาธิ ถ้าหากกามฉันทะความใคร่ในความสุขเกิดขึ้น ให้กำหนดสติรู้ ถ้าพยาปาทะมันเกิดขึ้น ก็กำหนดสติรู้ ถ้าอุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญเกิดขึ้นก็กำหนดสติรู้ ถ้าถีนมิทธะความง่วงเหงาหาวนอนเกิดขึ้น กำหนดสติรู้ ความลังเลสงสัยเกิดขึ้น กำหนดสติรู้ โดยเอาสิ่งเหล่านี้เป็นอารมณ์ของจิตเป็นที่ระลึกของสติ กำหนดจดจ้องพิจารณาอยู่อย่างนั้น ในเมื่อสติสัมปชัญญะมีพลังแก่กล้าขึ้น แล้วก็จะเกิดสมาธิความมั่นใจซึ่งอาศัยขันติความอดทนพิจารณาให้จิตของเรารู้แจ้งเห็นชัดในคุณในโทษของธรรมคือนิวรณ์

    เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงรู้ชัดแล้ว จิตของเราก็จะปล่อยวางเข้าไปสู่ความสงบ แล้วเราก็จะได้สมาธิเพราะอาศัยธรรมะคือนิวรณ์เป็นที่ตั้งของสติ เป็นสิ่งรู้ของจิต เป็นที่ตั้งของสติเป็นเครื่องรู้ของจิต ธรรมชาติของจิตถ้ามีสิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก ถ้าเราตั้งใจจดจ่อพิจารณาเพ่งดูอยู่ จิตจะสงบเป็นสมาธิ เพราะฉะนั้นแผนการปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน 4 กำหนดพิจารณากาย เวทนา จิตและธรรม เรากำหนดหมายเอาง่ายๆ คือพอนั่งสมาธิปั๊ปลงไปกำหนดรู้จิต กิริยาที่ตั้งใจกำหนดรู้จิตนั้น เราอาศัยประสาททางกายเป็นเครื่องช่วย

    ถ้าจิตไม่มีกายแล้ว ไม่มีความตั้งใจจะทำอะไร จะคิดอะไร เพราะจิตเป็นธาตุรู้อยู่เฉยๆ ถ้าลำพังแต่จิตดวงเดียวที่ถอดออกไปจากร่างอันนี้ เขาจะไปลอยเด่นใสสว่างไม่มีตัว ไม่มีตน คิดไม่เป็น อยู่เฉยๆ แต่ถ้ายังมีความสัมพันธ์กับกายนี้อยู่ คิดเป็นเพราะมีเครื่องมือ จิตเป็นแต่เพียงพลังงาน ร่างกายเป็นเครื่องมือ จิตเหมือนกระแสไฟฟ้า ในเมื่อกระแสไฟฟ้าวิ่งเข้าไปสู่แม่เหล็กและทองแดงเกิดความหมุน พอหมุนแล้วทุกสิ่งทุกอย่างมันก็เกิดความเคลื่อนไหว ทำให้เกิดพลังต่างๆ ขึ้นมาได้

    ดังนั้นในเมื่อกายมีอยู่ จิตย่อมมีความคิดเพราะกระแสของจิตไปกระทบกับร่างกายเครื่องมือของกาย เราคิดได้เพราะอาศัยประสาททางสมอง เพราะฉะนั้นในเมื่อเรากำหนดรู้ที่จิตของเรา เราย่อมรู้ว่าในกายของเรานี่ มีอะไรบ้าง อย่างน้อยก็รู้ว่ากายของเรามีศรีษะ 1 มีแขน 2 ขา 2 มีลำตัว มีตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ

    เมื่อเราตั้งใจกำหนดรู้อย่างนี้เรียกว่ากำหนดรู้กาย ทีนี้ในเมื่อเรากำหนดรู้กายอยู่ เพราะกายเป็นที่เกิดของสิ่งต่างๆ สุขเกิดที่กาย ทุกข์เกิดที่กาย แต่ว่าใจเป็นผู้ยึดมั่นถือมั่นอยู่ในกายนี้ กายเป็นที่เกิดของความเจ็บ แต่ความเจ็บอันนี้ จิตเป็นผู้รับรู้ ทีนี้ถ้าจิตไม่มีกายก็ไม่รู้จักเจ็บเพราะฉะนั้นเวทนาเกิดที่กาย สุขเวทนาก็เกิดที่กาย ทุกขเวทนาก็เกิดที่กาย หรือไม่สุขไม่ทุกข์ก็เกิดที่กาย เมื่อเรากำหนดรู้ว่ากายมีอยู่ เราจะรู้พร้อมทั้งเวทนา จิตและธรรม จิตก็คือตัวผู้รู้ ธรรมก็คือสิ่งที่กำหนดรู้อยู่ เรากำหนดรู้จิต กำหนดรู้อารมณ์ คือจิตกำหนดรู้อยู่ในอารมณ์ปัจจุบัน

    ในเมื่อจิตเสวยสุขซึ่งเกิดจากปีติ นิวรณ์ 5 กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะก็หายไป ทีนี้เมื่อสมาธิจิตสงบละเอียดลงไปจนกระทั่งตัวหายไปหมดแล้ว วิตก วิจาร ปีติสุขก็หายไปหมดเพราะสิ่งเหล่านี้อาศัยกายเกิด ถ้าไม่มีกาย วิตกวิจารปีติสุขก็ไม่มีได้ เพราะฉะนั้นเมื่อกายหายไปแล้วยังเหลือแต่จิตดวงเดียว จึงได้ชื่อว่ามีแต่จิตดวงเดียวซึ่งเรียกว่าเอกัคคตากับอุเบกขา ความเป็นกลางของจิต ร่างกายตนตัวหายไปหมด

    เพราะฉะนั้นการบำเพ็ญสมาธิซึ่งเดินตามหลักของมหาสติปัฏฐาน 4 จึงเป็นอุบายทำจิตให้สงบตั้งมั่นลงเป็นสมาธิ เพื่อขจัดนิวรณ์ธรรม 5 ประการ ให้หมดไปจากจิตในขณะที่มีสมาธิ จิตของเราจะได้ดำเนินไปสู่ภูมิจิตภูมิธรรมตามลำดับขั้นตอน ซึ่งสุดแล้วแต่พลังจิตพลังสมาธิของท่านผู้ใด จะปฏิวัติจิตของตนเองให้เป็นไปได้

    เพราะฉะนั้นการฝึกฝนอบรมสมาธินี้ เราอาศัยหลัก ภาวิตา อบรมให้มากๆ พหุลีกะตา ทำให้มากๆ ทำให้คล่องตัว ทำจนชำนิชำนาญ ทำจนกระทั่งถึงขั้นเป็นเอง ในเมื่อจิตได้ดำเนินตามหลักของมหาสติปัฏฐานทั้ง 4 ประการ จึงเป็นฐานที่ให้เกิดธรรมะอันเป็นองคคุณแห่งการตรัสรู้คือสติสัมโพชฌงค์

    ในเมื่อเรามาทำสมาธิจิตรวมเป็นหนึ่งเป็นเอกมรรค เอกธรรม สติเป็นเองโดยอัตโนมัติสามารถที่จะกำหนดรู้กายจิต สถานการณ์และสิ่งแวดล้อมได้เองโดยตลอดเวลา ก็เรียกว่ามีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ที่การยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด ได้ชื่อว่าจิตได้สติสัมโพชฌงค์เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ เวลาแห่งการบรรยายธรรมะตามหลักแห่งมหาสติปัฏฐาน 4 ก็จบลงด้วยเวลาเพียงเท่านี้



    .............................................................

    คัดลอกมาจาก
    http://www.geocities.com/thaniyo/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6690

    [​IMG]
    วิธีเจริญสมาธิภาวนา
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล


    วิธีเจริญสมาธิภาวนาตามแนวการสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล มีดังต่อไปนี้

    ๑. เริ่มต้นด้วยอิริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก

    ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว หรือรู้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/book/dhamma2/index.php

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    งานเพื่อความสุข และแก่นสารของชีวิต
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>
    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle> การแสดงธรรมนี้ถือเป็นการคุยกันแบบสบายๆ มากกว่า คือ อย่าให้ถือเป็นเรื่องหนักอะไรเลย พอบอกว่าให้มาฟังพระแสดงธรรม เดี๋ยวก็จะนึกว่าเป็นเรื่องที่ยาก เป็นเรื่องของศัพท์วัด แล้วก็เลยอยากจะง่วง เพราะฉะนั้น ก็ขอให้ถืออย่างที่ว่าเป็นการได้มาเยี่ยมเยียนกัน เมื่อมีการเยี่ยมเยียนกันแล้วก็มาพูดคุยสนทนาปราศรัยกัน ก็เป็นทำนองนี้ และเมื่อจะเยี่ยมเยียนชนิดที่ได้มีโอกาสพบกัน ท่านก็ต้องมาอยู่ในที่ประชุมเช่นนี้เพราะมาเยี่ยมประเดี๋ยวเดียว ถ้าไม่จัดประชุมก็ได้พบกันไม่กี่คน การที่คุณโยมจัดให้แสดงธรรมอย่างนี้ก็เท่ากับว่า ทำให้มีโอกาสได้พบกับหลายๆ ท่านนั่นเอง อันนี้ก็เป็นวิธีการหนึ่ง ทีนี้เมื่อมาพบกันแล้วก็ได้คุยสนทนาปราศรัย ในฐานะที่เป็นพระจะคุยเรื่องอะไรดี ก็คุยเรื่องธรรมให้ฟัง
    สำหรับสถานที่นี้เป็นที่ทำงาน เป็นโรงงาน เมื่อเป็นโรงงานแล้วจะคุยเรื่องอะไรดี ก็น่าจะคุยกัน
    “เรื่องงาน” แต่มองในแง่หนึ่ง คนที่ทำงานอยู่แล้ว บางทีก็ไม่ค่อยอยากให้พูดถึงเรื่องงาน คือ ตัวเองทำงานอยู่ก็หนักพอแล้ว พอมีคนมาเยี่ยมเยียนก็มาพูดเรื่องงานอีกแทนที่จะเอาเรื่องสนุกๆ มาคุยกันให้สบายใจ เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ กลับมาคุยกันเรื่องงาน เลยยิ่งแย่ใหญ่ แต่อาตมาก็นึกว่าในแง่หนึ่ง ถ้าหากว่าเราจะพูดเรื่องงานนี้แหละ แต่พูดให้มันถูกแง่มันก็ดี แล้วก็จะเป็นประโยชน์แก่ชีวิตระยะยาวด้วย
    บางทีการพูดเรื่องอื่นสลับเข้ามาก็อาจจะสนุกสนาน เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศเฉพาะชั่วครู่ชั่วยามแล้วก็ผ่านไป แต่แล้วเราก็ต้องกลับมาทำงานของเราอีก ก็ต้องหนักต่อไปตามเดิม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ชีวิตจะสุขสันต์ ถ้าทำงานมีความสุข
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle> ที่นี้ถ้าเรามาเผชิญหน้ากับเรื่องงานเลย เอาเรื่องงานเป็นเรื่องหนัก เรื่องต้องใช้กำลัง เรื่องต้องใช้เรี่ยวแรงและต้องใช้ความคิด บางทีก็ถึงกับเครียด แต่เราก็จะพูดกันเรื่องงานนี่แหละ เป็นการเผชิญหน้ากับความจริงกันเลย มันอาจจะดีมากก็ได้ เพราะว่างานนั้นถ้าปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลดีระยะยาวแก่ชีวิตทั้งหมด ถ้าทำงานแล้วมีความสุข ชีวิตนี้ก็มีความสุขยาวนานมากมาย แต่ถ้าการทำงานเป็นการทนทุกข์ ชีวิตส่วนใหญ่ของเราก็จะเป็นชีวิตแห่งความทุกข์ที่ต้องทน เพราะอะไร ? เพราะว่างานเป็นกิจกรรมส่วนใหญ่ของชีวิตของเรา มันกินเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตของเรา อย่างท่านที่อยู่ในบริษัทนี้ ก็ต้องสละเวลาให้แก่กิจการของบริษัทวันหนึ่งมากทีเดียว
    อาตมาได้เดินไปชมกิจการของบริษัท และท่านที่นำชมก็เล่าและอธิบายให้ฟัง ก็ได้ทราบว่าชาวบริษัททำงานกันนาน อย่างพนักงานที่ยืนทำงาน เท่าที่มองเห็นนั้น ท่านบอกว่าต้องยืนนาน บางทีถึง
    12 ชั่วโมง นานมาก นับว่าเป็นเรื่องที่หนักที่เดียว แสดงว่างานกินเวลาของชีวิตเข้าไปตั้งครึ่งวันแล้ว วันหนึ่งมี 24 ชั่วโมง หมดไป 12 ชั่วโมงกับการยืนอย่างนั้น นอกจากนั้นยังต้องไปทำธุรกิจธุระส่วนตัว แล้วก็พักผ่อนหลับนอนเสียบ้าง เวลาในวันหนึ่งนี่เหลือจากการทำงานไม่เท่าไร และต่อจากวันทำงานแล้วก็เหลือวันพักผ่อนอีกคนละคงจะ 2 วัน ถึงแม้ว่าอาตมาจะไม่ทราบรายละเอียด แต่ก็สรุปได้ว่าเราใช้เวลาไปกับการทำงานมาก การงานครอบครองชีวิตส่วนใหญ่ของเรา เพราะฉะนั้น เราควรปฏิบัติต่อการงานให้ถูก เพื่อให้ชีวิตมีความสุขคุ้มกับเวลาที่เป็นอยู่
    คนเรานี้ต้องการให้ชีวิตมีความสุข และในการที่จะให้ชีวิตมีความสุขนั้น งานเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ชีวิตมีความสุขได้ แต่ในเวลาที่เรามองว่างานทำให้ชีวิตมีความสุขได้นี่ เรามองกันอย่างไร ? เรามักจะมองไปที่ผลที่จะเกิดขึ้นหลังจากทำงานแล้ว คือ มองด้วยความหวังว่าหลังจากทำงานแล้วเราจะได้เงิน แล้วจะได้นำไปซื้อของต่างๆ ที่เราชอบใจ หรือไปเที่ยวที่โน่น ที่นั่น กินใช้เที่ยวเล่นแล้วเราก็จะมีความสุข เป็นการคิดหมายไปข้างหน้าในอนาคตว่า หลังจากทำงานไปแล้ว จะได้ผลของงานเป็นเงินทองที่จะนำไปใช้จ่าย แล้วก็จะมีความสุขจากการกระทำในอนาคตนั้น ไม่ได้มองที่ความสุขจากตัวงาน คือ ไม่ได้มองว่าตัวงานนั้นทำให้มีความสุข บางทีถึงกับมองว่า ตัวงานนั้นเป็นความทุกข์ไปก็มี
    บางคนไปมองว่าเวลาทำงานเราต้องอดทน ก็ทนทำมันไปทำให้มันเสร็จ แล้วเราก็จะได้รับผลตอบแทน ผลตอบแทนนั่นแหละจึงจะทำให้เรามีความสุข เราจะไปมีความสุขในอนาคตตอนโน้น ถ้าอย่างนี้ก็แสดงว่า เวลาที่เราจะมีความสุขนี้มันเหลือน้อยเพราะเวลาที่เป็นส่วนใหญ่ของชีวิตเป็นเวลาที่มีความทุกข์ ต้องทน ต้องรอความสุขที่ยังไม่มาถึง
    คนจำนวนมากจะมองเรื่องงานอย่างนี้ ซึ่งแสดงว่าแม้จะมองว่าความสุขเป็นผลที่ได้จากงานก็จริง แต่มองกันคนละจุด คือ คนทั่วไปมองจุดที่ว่า ตัวงานไม่ใช่ความสุข ต้องได้รับผลตอบแทนจากงานนั้น แล้วจึงไปหาความสุขอีกอย่างหนึ่ง อย่างนี้ก็หมายความว่าตัวงานนั้นไม่ทำให้เราเกิดความสุขโดยตรง เท่ากับเป็นการบอกว่าชีวิตของเรานั้น มีความสุขน้อยกว่าส่วนที่ต้องทุกข์ต้องทน หากว่าเรามองงานเป็นเรื่องที่ต้องทุกข์ต้องทน ก็แสดงว่าชีวิตส่วนใหญ่ ต้องทุกข์ต้องทน
    ถ้าเรามองเสียใหม่ว่าจะทำอย่างไรให้ชีวิตของเรานี้มีความสุขให้มากที่สุด ในเมื่องานเป็นชีวิตส่วนใหญ่ของเรา เราก็ต้องหาทางทำให้งานเป็นตัวที่ทำให้เกิดความสุข แล้วเวลาส่วนใหญ่ของชีวิตก็จะมีความสุข และยิ่งกว่านั้นก็คือว่า นอกจากตอนที่ทำงานจะมีความสุขไปด้วยแล้ว ยังได้รับผลตอบแทนจากการทำงานแล้วก็ไปมีความสุขอีก เป็นความสุขซ้อนอีกชั้นหนึ่ง ก็เลยสุขไปหมดสุขสองชั้น สุขตลอดเวลา
    เพราะฉะนั้น จุดสำคัญที่จะให้ชีวิตมีความสุขก็อยู่ที่ว่า เราจะต้องจัดการกับงานหรือปฏิบัติต่องานของเราให้ถูกต้อง ให้มีความสุขในตอนที่ทำงานนั่นแหละ มิฉะนั้นแล้วชีวิตของเราส่วนใหญ่จะไม่มีความสุข จะมีส่วนที่เป็นสุขน้อยกว่าส่วนที่เป็นทุกข์หรือที่ต้องทุกข์ต้องทน ตกลงว่าเราจะทำงานกันให้มีความสุข แต่ไม่ใช่มาสนุกโลดเต้นกันนะ เดี๋ยวจะว่าเป็นงานแบบงานวัด งานลอยกระทง อย่างนั้นก็เป็นงานเหมือนกัน เราเรียกว่างาน งานลอยกระทงก็สนุก งานวัดไปดูหนังดูลิเกก็สนุก นั่นก็เป็นงานเหมือนกัน แต่งานแบบนั้นเป็นงานที่เราไปดูเขา เราไม่ต้องทำเอง
    แต่ที่ท่านพูดอย่างนั้นมันมีแง่ความหมาย คือ แสดงว่าคนไทยแต่เดิมนั้นมองงานในแง่สนุกสนานด้วย เช่น งานวัด งานลอยกระทง งานสงกรานต์ ทำไมเป็นงาน ก็ต้องอธิบายว่า คนไทยสมัยโบราณมองว่างานนี่เป็นเรื่องสนุกสนาน เพลิดเพลิน มีความสุข ไม่ใช่เรื่องทุกข์ แม้แต่ไปเกี่ยวข้าวกัน ก็ยังไปร้องเพลง นั่นก็เป็นงานเหมือนกัน คือว่า เราไม่ได้มองเฉพาะตัวกิจกรรมที่ทำเท่านั้น แต่เรามองถึงจิตใจว่า ให้มีความเพลิดเพลินเจริญใจบันเทิงไปด้วย
    คนสมัยหลังนี่ มาได้ยินคำว่า งานวัด งานสงกรานต์ งานลอยกระทง เป็นต้น แล้วก็ไม่ได้มองในแง่ที่จริงมันเป็นงาน คือ เป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ด้วย ไปมองแต่ในแง่สนุกสนาน คือ เดิมมันก็เป็นงานจริงๆ เป็นกิจกรรมที่ทำเพื่อประโยชน์แก่สังคมนั้น หมายความว่า เป็นงานที่ไปช่วยกันทำประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ไปที่วัดแล้วก็ไปช่วยกันก่อพระเจดีย์ทราย ขนทรายเข้าวัด หรือทำงานช่วยวัดอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นงานเป็นการทั้งนั้น เกี่ยวข้าวก็เป็นงานเป็นการ แต่ให้ทำพร้อมไปกับความรื่นเริงบันเทิงใจด้วย ตกลงว่าที่จริงแล้ว งานในความหมายของประเพณีไทยนั้น มันมีตัวกิจกรรมที่เป็นสาระเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่ง และด้านจิตใจที่มีความรื่นเริงอีกส่วนหนึ่ง ให้มีทั้งสองอย่าง
    เป็นอันว่างานที่เราต้องการอย่างแท้จริงนั้นจะต้องมีความหมายครบสองส่วน คือ
    ส่วนที่หนึ่ง ตัวงานที่จะต้องทำให้เกิดผลสำเร็จที่เป็นจุดมุ่งหมายของงาน คือ ให้ได้ผลงานอย่างดี เช่น เมื่อทำโรงงานสับปะรด ก็หมายความว่า จะต้องทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี และได้ปริมาณถึงเป้า คือ มีเป้าหมายว่าจะได้ทำได้เท่าไร ก็ทำให้ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ และในด้านคุณภาพจะให้ได้ขั้นไหนก็ทำได้ตามนั้นพร้อมทั้งสามารถทำให้ดียิ่งขึ้นไปด้วย อันนี้ก็ส่วนหนึ่ง คือ ตัวงานนั้นต้องได้ผลด้วย
    อีกส่วนหนึ่ง คือ จิตใจที่ทำงานนั้นเป็นจิตใจที่มีความสุข หมายความว่า เวลาทำงานนั้นคนที่ทำก็มีความสุขด้วย
    ถ้าได้สองอย่างนี้ละก็เรียกว่า ได้ผลสมบูรณ์ งานที่จะมีผลสมบูรณ์นั้น ให้มองดูทั้งสองด้านนี้ แล้วสองด้านนี้จะกลับมาช่วยกัน ถ้าเราทำงานโดยมีความสุขด้วยแล้ว ก็จะทำให้เราพอใจที่จะทำงานให้ได้ผลยิ่งขึ้นไป พอเราทำงานได้ผลดียิ่งขึ้น เราก็อิ่มใจเรียกว่ามีปีติ เกิดความอิ่มใจในผลงานนั้น ก็มีความสุขมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ดีขึ้นแล้วก็สุขมากขึ้น เลยเป็นลูกโซ่เรียกว่าเป็นปฎิสัมพันธ์ มีผลย้อนกลับให้ได้ผลดีขึ้นทั้งในแง่ผลงานและความสุข
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    เพราะรู้คุณจึงรักงาน และทำด้วยใจเบิกบานเป็นสุข
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle> อย่างไรก็ดี จะเป็นอย่างที่ว่ามานี้ได้ เราจะต้องปฏิบัติต่องานให้ถูกต้อง เริ่มต้นตั้งแต่วางใจต่องานให้ถูก ถ้าวางใจต่องานผิดแต่ต้นละก็ไปเลย พลาดหมด โดยเฉพาะถ้าวางทัศนะคติต่องานว่าเป็นเรื่องต้องทุกข์ต้องทน แล้วคิดว่าเรามาทนทำงานให้เสร็จ แล้วเราจะได้ผลตอบแทนแล้วค่อยไปสนุกเสวยความสุขทีหลังอย่างนี้ไม่ถูก เรียกว่าวางท่าทีผิดแล้ว ต่อจากนั้นอะไรต่ออะไรมันก็จะคลาดเคลื่อนผิดทางไปหมด กำลังทำงานแต่ใจลอยไปคอยผลตอบแทนข้างหน้า ไม่อยู่กับงาน ผลงานก็จะไม่ค่อยดี จิตใจก็ไม่ค่อยสบาย ความสุขก็น้อย แล้วเวลาได้ผลตอบแทนไปหาความสนุกสนาน คนที่เป็นอย่างนี้ก็จะเลยเถิดไปง่ายๆ หลงง่ายๆ ระเริงลืมตัว เพราะมุ่งจะไปหาความสนุกสนานบอกว่าทนทุกข์มานานแล้ว ตอนนี้เอาให้เต็มที่อะไรทำนองนี้ ก็เลยเสียไปเลย
    ในทางตรงข้ามถ้าเขามีความสุขอยู่ตั้งแต่ทำงานแล้ว เวลาเลิกงานเขาไปหาความสุขเพิ่มเติม ก็เป็นส่วนแถมเข้ามาก็ไม่มีปัญหา นี่เป็นวิธีที่ถูกต้อง ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่วางใจให้ถูกต้องต่องาน เรียกว่า มีท่าที หรือมีทัศนะคติที่ถูกต้องต่อการทำงาน
    ถามว่า ท่าทีหรือทำใจอย่างไรจึงจะทำให้ทำงานได้ผลด้วยแล้วก็มีความสุขด้วย ? เหตุผลง่ายๆ ที่จะทำให้เราทำงานได้ผลดีและมีความสุขไปด้วย ก็คือ เราต้องมีความพอใจในงานรักงานนั้น ถ้าใจเรารักเราพอใจในงานแล้ว เราก็อยากจะทำงานนั้น ใครมาห้ามก็ไม่อยากจะหยุด ไม่ยอม ใจเราจะทำ
    รวมความว่า ถ้าใจเราพอใจจะทำ ทำด้วยใจรัก มันก็ตั้งใจทำ เมื่อทำแล้วนอกจากได้ผลดีก็มีความสุขในขณะกระทำนั้น ที่ท่านบอกว่าต้องวางท่าทีต่องานให้ถูกต้อง ก็คือ อย่าไปมองงานว่าเป็นเรื่องต้องทุกข์ต้องทน
    คำถามต่อไปว่า ทำอย่างไรเราจะมีใจรักงานเราจะพอใจทำงาน ? คำตอบ คือ จะต้องเห็นคุณค่าของงาน ในเรื่องนี้แต่ละอย่างเป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกัน จุดหมายตอนนี้ คือ เราต้องการให้คนพอใจงาน อยากทำงาน ทีนี้ ทำอย่างไรจะให้คนอยากทำงานก็ต้องเห็นคุณค่าของงาน คุณค่าของงานนั้นมีหลายอย่าง พรรณาได้หลายแง่ ถ้าเรายิ่งมองเห็นคุณค่าของงานหลายแง่หลายด้านมากเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นเหตุผล ที่ทำให้เราเกิดความรักงานมากขึ้นเท่านั้น
    คุณค่าของงานประการแรกง่ายที่สุด ก็เริ่มด้วยมองในแง่ของผลตอบแทนก่อน ผลตอบแทนก็คือ ปัจจัยเครื่องเลี้ยงชีพ หรือเงินทองที่จะซื้อหาของกินของใช้ เรารู้กันดีว่างานนี่แหละทำให้เรามีเครื่องเลี้ยงชีพ ทำให้เราเป็นอยู่ได้ดี งานเป็นสิ่งที่ผูกพันติดอยู่กับชีวิตของเรา มันมีคุณค่าต่อชีวิตของเรา ทำให้ชีวิตของเราดำรงอยู่ได้ด้วยดี ในเมื่องานเป็นสิ่งที่มีคุณต่อเรา เราก็ควรจะรักจะชอบมัน นอกจากมีคุณต่อชีวิตของเราแล้วก็โยงต่อไปถึงครอบครัวของเรา ญาติพี่น้องของเราด้วย
    เรามาอยู่ห่างบ้าน บางทีเราทำงานเก็บเงินได้แล้ว เรายังส่งเงินไปช่วยบ้าน ไปช่วยพ่อช่วยแม่ในท้องถิ่นอีก เห็นได้ชัดว่างานนี้มีคุณค่ามาก เป็นประโยชน์ต่อชีวิต ในเมื่องานเป็นประโยชน์ต่อชีวิตเราก็ควรรักงานเหมือนอย่างคนเราด้วยกัน ใครเป็นคนที่มีคุณค่าต่อชีวิตของเรา เราก็รักใคร่ มีความรู้สึกที่ดีต่อเขา งานของเรานี้มีคุณค่าต่อชีวิตของเรานักหนา ทำให้เราเป็นอยู่ได้ มีความสุขสบาย เราจึงควรตั้งใจทำ เอาใจใส่มัน อันนี้ก็เป็นเหตุผลง่ายๆ เป็นคุณค่าพื้นฐานอันดับที่หนึ่ง
    แต่งานไม่ได้มีคุณค่าแค่นี้ ที่จริงคุณค่าของตัวงานเองที่แท้ที่จริงนั้น ไม่ใช่เป็นผลตอบแทนด้วยซ้ำ คุณค่าของงานก็คือ ผลที่เป็นวัตถุประสงค์ หรือความมุ่งหมายของงานนั่นเอง คือ งานแต่ละอย่างๆ ย่อมมีความมุ่งหมายที่จะแก้ไขปัญหาหรือสร้างสรรค์อะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การทำครัวก็เพื่อทำอาหารให้คนรับประทาน การขับรถก็เพื่อพาคนให้ให้ไปถึงที่หมายโดยสะดวกรวดเร็ว การกวาดถนนก็เพื่อให้ถนนสะอาด ก็คือ มีอาหารดีๆ ที่จะให้คนกิน การเดินทางถึงจุดหมายโดยสะดวกรวดเร็วปลอดภัย และความสะอาดของถนนนี้เป็นผลของงานซึ่งเป็นผลโดยตรงของงาน เป็นคนละอย่างกับผลตอบแทนจะต้องแยกให้ถูกว่าเป็นผลของงานกับผลตอบแทน หรือผลงานกับผลเงิน
    เมื่อจะทำงานให้ถูกต้อง ก็ต้องมุ่งทำให้ได้ผลของงาน หรือผลที่เป็นจุดหมายของงานก่อน ว่าเราจะทำให้ผลนั้นเกิดขึ้นอย่างดีที่สุด แล้วเราจึงได้ผลตอบแทนเป็นผลพลอยได้ตามมาตามเงื่อนไข ถ้าตั้งใจทำงานและงานสำเร็จผลอย่างดี คือ เกิดผลดีสมตามความมุ่งหมายของงาน เราจึงจะมีความภูมิใจและอิ่มใจจริงในการได้รับผลตอบแทน
    เนื่องจากงานมีคุณค่าในการแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งนี้ งานจึงมีคุณค่าสืบเนื่องต่อไปอีก คุณค่าของงานข้อต่อไปก็คือว่า งานนี่แหละเป็นสิ่งที่ทำให้กิจการของโลกของสังคมของประเทศชาติเป็นไปได้ บางทีก็เป็นประโยชน์โดยตรงต่อชีวิตของผู้อื่น อย่างงานของโรงงานอาหารนี้ ไม่ว่าจะทำสับปะรด หรือทำผลไม้อื่นก็ตาม ก็เป็นอาหารของมนุษย์เป็นปัจจัยสี่อย่างหนึ่ง ไม่ว่าเขาจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่เราทำนี้เป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของคนทั้งหลาย เมื่อทำไปแล้วก็เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์อื่น เมื่อเราทำงานผลิตสิ่งเหล่านี้เรารู้คุณค่าของสิ่งที่เราทำแล้ว ก็อิ่มใจว่าเราทำในสิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์ นอกจากเป็นงานที่สุจริตแล้ว ยังเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตของเพื่อนมนุษย์ ให้เขาได้มีอาหารรับประทาน ให้เขาได้อาหารที่เขาพอใจ ช่วยให้เขามีความสุข อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เราควรระลึกด้วยอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อระลึกขึ้นมาแล้วก็ทำให้เรามีความพอใจว่า เราได้ทำในสิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์ นี่ก็เป็นคุณค่าอีกส่วนหนึ่ง
    แต่อย่างโรงงานของบริษัทนี้ นอกจากทำอาหารที่ไปบำรุงเลี้ยงเพื่อนมนุษย์แล้ว ก็ยังมีส่วนส่งเสริมเกื้อกูลสังคมประเทศชาติส่วนรวมด้วย อาตมาได้ทราบว่า ผลผลิตของที่นี่ส่วนใหญ่ส่งออกนอกประเทศ คือ ส่งออกนอกประเทศตั้ง ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีผลดี คือ ทำให้เงินตราเข้าประเทศ ประเทศไทยเรานี้ต้องการเงินตราเข้าประเทศมาก เรามีปัญหาเกี่ยวกับดุลการค้า เราเสียดุลการค้ามาก เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าบริษัทนี้ส่งออกอาหารออกไปต่างประเทศมาก ก็นับว่ามีส่วนสำคัญที่ช่วยแก้ปัญหาของประเทศในการเสียดุลการค้า แก้ความเสียเปรียบของประเทศในการเสียดุลการค้า แก้ความเสียเปรียบของประเทศ นำรายได้เข้าประเทศ อันนี้เป็นการมองในวงกว้าง ที่ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ
    ฉะนั้น เมื่อเรามาที่นี่ มาเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของโรงงาน เป็นพนักงานหรือคนทำงานของบริษัท ก็เท่ากับว่าเราได้ช่วยกันทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติด้วย เมื่อนึกขึ้นมาอย่างนี้ก็ทำให้มีความสบายใจเวลาทำงานก็นึกว่า เราทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คือ นอกจากทำอาหารอร่อยๆ ให้คนรับประทานแล้ว ก็ยังช่วยเหลือเศรษฐกิจของชาติอีกด้วย นึกแล้วก็สบายใจ มีความภูมิใจ ปลื้มใจ เรียกว่าเกิดปีติ อันนี้ก็ส่วนหนึ่ง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.dhammajak.net/book/dhamma2/index.php

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    งานเพื่อความสุข และแก่นสารของชีวิต
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>
    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    งานยิ่งเพิ่มคุณค่า เมื่อใช้เป็นเครื่องพัฒนาตัวคน
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle> ที่นี้มองต่อไปอีก งานยังมีคุณค่าหรือมีประโยชน์อะไรอีก คนเรานี้ ในชีวิตก็ต้องการความเจริญก้าวหน้าซึ่งหมายถึงการที่จะต้องพัฒนาตัวเอง ให้มีสติปัญญา มีความเก่งกล้าสามารถหรือมีความชินิชำนาญในเรื่องต่างๆ ที่จะให้ทำอะไรๆ ได้ดีขึ้นมีความสำเร็จมากขึ้น ความเก่งกล้าสามารถและความชำนิชำนาญของคนนั้น มีจุดแสดงออกที่สำคัญก็คือที่งานของเขานั่นเอง ถ้าเราต้องการเป็นคนที่เก่งกล้าสามารถหรือเป็นคนที่มีคุณภาพมากขึ้น เราจะต้องมีการพัฒนาตัวเอง ส่วนสำคัญของชีวิตที่ทำให้คนพัฒนาตนเองได้ก็คืองาน
    การทำงานเป็นการพัฒนาตนเอง เป็นการฝึกตนเองในทุกด้าน ถ้าเราอยากจะเป็นคนเจริญก้าวหน้าเป็นคนมีคุณภาพ เราต้องพัฒนาตนเอง จะพัฒนาที่ไหน ก็มาพัฒนาตนเองที่การทำงานนี่แหละ ใช้งานนี้เป็นเครื่องพัฒนาตนเอง การทำงานให้เป็นการพัฒนาตนเองที่สำคัญมาก
    ความสามารถส่วนใหญ่ในชีวิตของเรานี้เกิดจากการทำงาน แต่ต้องตั้งใจทำ ทำให้ถูกต้องและพยายามทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป คอยสังเกต คอยดู คอยศึกษา คอยสอบถาม คอยหาความรู้อยู่เสมอ ก็จะเป็นการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถขึ้นมา
    การพัฒนาตนเองให้มีความเก่งกล้าสามารถในการงานนี้ นอกจากจะเกิดผลภายนอก เช่น อาจจะได้ผลตอบแทนหรือได้รับการเลื่อนขั้นเลื่อนระดับงานแล้ว ก็มีผลที่แน่นอนภายในตัวเอง ไม่ว่าภายนอกเราจะได้รับผลตอบแทนหรือไม่ก็ตาม แต่ในตัวเราๆ รู้ ก็คือ การที่เรามีความชำนิชำนาญมากขึ้น ทำอะไรได้ดีขึ้น เขาจะมีผลตอบแทนให้หรือจะไม่มีก็แล้วแต่ แต่เรารู้สึกในตัวเองของเรา เราทำไปแล้วเราก็สบายใจ อิ่มใจของเรา ถ้ารู้สึกว่าเวลาทำอะไรแล้ว เราทำได้ดีขึ้น นี่คือการพัฒนาตนเอง ขอให้เรามีความภูมิใจสบายใจในตัวได้ทันทีเลย ไม่ต้องรอให้คนอื่นเขามาให้ผลตอบแทน
    ฉะนั้น จึงเป็นการได้สองชั้น คือ ได้จากตัวเองกับได้จากคนอื่น หรือว่าตอนที่หนึ่ง เราให้แก่ตัวเราเอง ตอนที่สอง คนอื่นให้เรา ตอนที่หนึ่ง ตัวเรานี้ได้แน่นอนก่อน บางคนไปมองแง่ว่า เขายังไม่ได้ให้ผลตอบแทนเรา เรายังไม่ได้รับรางวัล ถ้าไปรอหวังผลแบบนั้นละก็อาจจะทำให้ผิดหวัง อันนั้นเป็นส่วนของคนอื่น เขาจะให้หรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ส่วนที่เราได้แน่นอน ก็คือ การพัฒนาตัวเอง และอันนี้แหละเป็นการได้ที่แท้จริง เป็นการได้ที่เข้าถึงเนื้อถึงตัวของเราจริงๆ เป็นการได้ของตัวชีวิตแท้ๆ และเป็นของเราจริงๆ ใครแย่งชิงหรือฉกฉวยเอาไปไม่ได้ ไม่เหมือนผลตอบแทนที่เป็นของนอกตัว เราพัฒนาความสามารถขึ้นมา เราเห็นประจักษ์ชัดได้ด้วยตนเอง เพราะฉะนั้น เราได้ตลอดเวลาจากการทำงาน เมื่อถือว่าการทำงานเป็นการพัฒนาตน
    นอกจากพัฒนาความชำนิชำนาญ หรือความเก่งกล้าสามารถแล้ว นิสัยที่ดี คุณธรรม ความสัมพันธ์กับผู้อื่น และการเป็นอยู่ในสังคมก็จะพัฒนาไปด้วย ถ้าเรารู้จักทำ นิสัยของเราก็จะดีขึ้น คุณสมบัติต่างๆ ก็จะพัฒนาขึ้น เช่น ความเป็นคนมีระเบียบวินัย ความขยัน ความอดทน ความรู้จักสังเกต ความมีปัญญา ความรู้เข้าใจ และรู้จักพิจารณาเหตุผลในการแก้ปัญหา จะได้รับการฝึกฝนพร้อมเสร็จไปในตัวเลย เป็นการฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่เรื่อยตลอดเวลา
    นี่คือลักษณะของชีวิตที่ดีงาม ซึ่งต้องมีการพัฒนา ต้องมีการก้าวหน้า และก็งานนี่แหละถ้าเราปฏิบัติให้ถูกต้อง จะเป็นเครื่องพัฒนาชีวิตของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงควรมองว่างานเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีคุณภาพ มีการพัฒนาให้ดีขึ้น แล้วเราก็จะมีความสุขกับการทำงานเพราะมองเห็นว่า เมื่อเราทำงาน ตัวเราก็พัฒนา
    นอกจากนี้ก็คือบรรยากาศ ถ้าทำงานให้เป็นการพัฒนาตน ก็จะได้บรรยากาศที่ดีในการทำงาน คือ พัฒนาความมีไมตรีจิตมิตรภาพ ความยิ้มแย้มแจ่มใสต่อกันในหมู่ผู้ร่วมงาน ที่ว่ามานี้ ก็จะต้องไม่มองข้ามสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง คือ พวกสวัสดิภาพและสวัสดิการต่างๆ กล่าวคือ สภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสม ซึ่งเอื้ออำนวยให้มีความสะดวกสบายตามสมควร สภาพอย่างนี้ทางพระท่านเรียกว่าเป็นสัปปายะ สัปปายะ ก็คือ บรรยากาศ สภาพแวดล้อม สถานที่อยู่ ปัจจัยต่างๆ ซึ่งเกื้อกูลต่อการที่จะดำรงชีวิตและทำการงานให้เราสบายกายสบายใจ ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องกังวล อันนี้ก็เป็นเรื่องขององค์ประกอบแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลช่วยสนับสนุนให้ทำงานด้วยความสบายใจ และมีความรักความพอใจในงานเกิดขึ้นได้ง่าย
    แต่ข้อสำคัญก็อย่างที่บอกในตอนต้นแล้ว คือ ต้องตั้งท่าทีให้ถูกต้องต่องาน อย่าไปมองงานเป็นเรื่องที่ต้องทุกข์ต้องทน ต้องมองงานเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ แล้วก็เกิดความรักความพอใจในงาน พอมีความรักความพอใจอย่างนี้แล้ว เราก็ทำงานด้วยความสุข ตั้งใจทำ
    พอมีความรักงานแล้วผลดีก็ตามมาเป็นกระบวน คือ พอรักงานแล้วก็อยากทำงาน พออยากทำงานแล้ว งานเดินหน้าไปหน่อย เราก็รู้สึกว่ามันได้ผลแล้ว พอได้ผลเราก็เกิดความอิ่มใจผลงานที่เกิดขึ้นแต่ละตอนๆ ทำให้เกิดความอิ่มใจและทำให้เกิดความสุข
    การเกิดมีความอิ่มใจที่ทางพระท่านเรียกว่า ปีติ นั้น เป็นกระบวนการของจิตใจที่จะทำให้คนเรามีสุขภาพจิตที่ดี คนที่ทำงานอย่างนี้จะไม่ค่อยมีความเครียด ถ้าคนไม่มีปีติ ไม่มีความอิ่มใจจากงาน แม้ว่างานจะเดินหน้าไป แต่เมื่อยังไม่ได้ผลตอบแทนก็ไม่ได้ความรู้สึกนี้ เพราะใจมัวไปหวังข้างหน้า มองว่าโน่นเลิกงานแล้วจะได้ไปเที่ยวสนุกสนาน ใจไปอยู่ที่โน่น หรือไปมองที่ผลตอบแทน ใจมันไม่อยู่กับงาน เมื่อใจไม่อยู่กับงาน ก็หาความสุขจากงานไม่ได้ กลายเป็นต้องทุกข์ในการทำงาน ใจก็ไม่สบาย อันนี้แหละที่เรียกว่าตั้งท่าทีไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น จะต้องทำใจให้มีความสุขสนุกกับงานไปเลย อย่างที่ว่า พอใจรักงานแล้ว งานก้าวไปนิด เราก็อิ่มใจเมื่อได้เห็นงานก้าวไปทีละหน่อยๆ ก็มีความสบายใจอิ่มใจเรื่อยไปตลอดทุกขั้นตอน เป็นอันว่านอกจากจะมีความรักงาน ทำงานด้วยใจสบาย มีความสุขเป็นพื้นอยู่แล้ว พอเห็นผลงานก็ยิ่งมีความสุขมีปีติมากยิ่งขึ้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ปรุงแต่งสิ่งอื่นได้หลายหลาย ทำไมไม่ปรุงแต่งใจตัวเองให้เป็นสุข
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle> ความก้าวหน้าอีกขึ้นหนึ่ง ก็คือ การทำใจของตนเองให้ผ่องใสเบิกบานตลอดเวลา โดยมีสติเตือนใจตัวเองว่า ทำใจให้ร่าเริงผ่องใส เรื่องใจของเรานี่ เราปรุงแต่งได้ ปรุงแต่งให้ดีก็ได้ ให้ร้ายก็ได้ ปรุงแต่งไม่ดีก็หมายความว่า ให้เกิดความรู้สึกที่ไม่สบายใจ ขุ่นมัว เศร้าหมอง เดือดร้อนกระวนกระวาย โดยนึกถึงอะไรที่ไม่ได้หรือไม่ดีขึ้นมา เช่น นึกถึงความอยากที่จะไปโน่นไปนี่ ตอนนี้ยังไปไม่ได้ ทำไมยังไม่ถึงเวลาเสียที ฉันอยากจะเลิกงานไปเที่ยวที่โน่นไปสนุกที่นั่น นี่ยังเหลืออีกตั้ง ๒ ชั่วโมงพอคิดอย่างนี้แล้วก็ปรุงแต่งไป ใจก็ฟุ้งซ่านกระวนกระวาย ตอนนี้ทำงานก็ไม่มีความสุขแล้วยังเกิดความเครียดด้วย
    ทีนี้ในทางตรงข้าม เราปรุงแต่งจิตใจในทางที่ดี ให้ร่าเริงสนุกสนาน มองงานที่ทำอยู่ต่อหน้า ส่วนข้างหน้าไม่ต้องไปคิดห่วง เดี๋ยวถึงเวลาก็เลิกงานเองแหละครบ ๑๒ ชั่วโมงก็ ๑๒ ชั่วโมง ๘ ชั่วโมงก็ ๘ ชั่วโมง ครบเมื่อไรก็เมื่อนั้น เวลามันยุติธรรมกับทุกคน มันไม่เคยเอาเปรียบใคร เราไปคิดเอาเองว่าเวลามันช้าเหลือเกินก็เพราะเราไปรอมัน ถ้าเราไม่รอมัน มันก็ไม่ช้า เราก็ทำงานของเราไป
    ก็อย่างที่บอกแล้วว่า เวลามันให้ความเป็นธรรมแก่ทุกคนเสมอกัน แต่ถ้าตั้งใจผิดมันก็ทำให้เวลาช้าหรือเร็วตามแต่ว่าเราจะตั้งใจอย่างไร เพราะฉะนั้นเราก็ทำใจให้ถูก เรารู้อยู่แล้วว่าเวลามันเป็นอย่างนั้นของมันตามธรรมชาติก็ไม่ต้องไปเร่งรัดหรือขัดขวางมัน ให้เหมือนใจหรือให้ขัดใจตัวเราเอง แทนที่จะทำอย่างนั้นเราก็เอาใจมาอยู่กับงานของเรา ทำใจให้ร่าเริงเบิกบาน สนุกสนานกับงาน ปรุงแต่งใจให้ร่าเริงเบิกบาน
    ความร่าเริงเบิกบานนั้นท่านเรียกว่า ปราโมทย์ ทำใจให้ปราโมทย์ คือ เวลาทำงานก็ทำใจให้ร่าเริงเบิกบานยิ้มแย้มแจ่มใส นึกถึงงานก็นึกขึ้นมาด้วยความร่าเริงเบิกบาน คอยเตือนสติตัวเองอยู่เรื่อยพอรู้สึกว่าใจชักขุ่นมัว นึกขึ้นมาได้ก็หยุดและบอกตัวเองว่า เอ๊ะ ! เรานี่ชักจะไม่ได้การแล้วกระมัง ใจเราชักจะเดือดร้อนกระวนกระวาย ชักจะขุ่นมัวเศร้าหมองแล้ว ไม่ได้ๆ ผิดแล้ว ! จะต้องร่าเริงเบิกบาน พอได้สติอย่างนี้ก็เตือนตัวเอง บอกกับใจตัวเอง พอรู้ทันแล้วก็ทำใจให้ร่าเริง
    การปรุงแต่งใจอย่างนี้เราทำได้ อยู่ที่การฝึกเราปรุงแต่งใจของเรา ถ้าปรุงให้ดี มันก็ดี ถ้าปรุงให้ไม่ดี มันก็ไม่ดี เหมือนกับอาหารเราก็ปรุงแต่งได้ จะปรุงให้น่ากินหรือปรุงให้ไม่น่ากินก็ได้ อันนี้ก็เหมือนกันใจของเรา เราก็ปรุงได้ ปรุงของข้างนอกเรายังปรุงได้ปรุงในใจตัวเองทำไมจะปรุงไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็มาปรุงใจตัวเอง ปรุงด้วยของดีๆ ด้วยความคิดที่ดี นึกแต่สิ่งที่ดี นึกถึงงานในแง่ดี นึกให้มันสบายใจ เวลาทำงานก็ร่าเริงเบิกบานไปกับงาน
    การทำงานด้วยใจร่าเริงเบิกบาน ท่านเรียกว่ามีปราโมทย์ พอมีปราโมทย์แล้วทำงานไป งานเดินหน้าไปก็อิ่มใจว่างานก้าวหน้า โดยมีผลเกิดขึ้นทีละน้อยๆ ก็เกิดปีติอิ่มใจ พอมีปีติอิ่มใจ แล้วก็สบายใจ ใจสงบเย็น เกิดมีปัสสัทธิ คือ ความผ่อนคลายกายใจ ไม่มีความเครียด พอใจสบายไม่เครียด มีความผ่อนคลายสงบเย็น มีปัสสัทธิแล้ว ก็มีความสุขเกิดความโปร่งโล่งใจ ความสุขนี้แปลว่า โปร่งโล่งใจ เพราะไม่มีอะไรมาบีบคั้น ติดขัด คับข้อง คำว่าทุกข์นั้นแปลว่า บีบคั้น คนที่มีความทุกข์ก็คือ คนที่มีอะไรมาบีบคั้นตนเอง ถ้าบีบคั้นกาย ก็เรียกว่าทุกข์กาย ถ้าบีบคั้นใจ ก็เรียกว่าทุกข์ใจ
    คนจำนวนมากชอบเอาอะไรมาบีบคั้นใจตัวเองหรือทำให้เกิดความติดขัด คับข้อง ไม่โปร่งโม่โล่ง เกิดความทุกข์ใจ ทีนี้พอคล่องใจ สะดวกใจ โปร่งโล่งใจ มีความสุขใจมั่นคง สงบแน่วแน่ จะทำอะไรใจก็อยู่กับเรื่องนั้นไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระวนกระวาย อันนี้ท่านเรียกว่ามีสมาธิ

    พอมีสมาธิ จิตใจสงบตั้งมั่นแน่วแน่แล้ว ไม่ว่าจะคิดอะไร ความคิดก็เดินปัญญาก็เดิน จะใช้พลังจิตทำงานอะไร แม้แต่จะไปทำกรรมฐาน บำเพ็ญสมาธิก็ได้ผลดีด้วย สอดคล้องกันดีไปหมดเลย รวมความว่าเป็นเรื่องของการทำให้ชีวิตของเรานี้มีความสุขอย่างแท้จริงจากการทำงาน เพราะว่างานเป็นส่วนใหญ่ของชีวิตของเรา

    เพราะฉะนั้น เราต้องพยายามทำให้การทำงานนี้เป็นตัวนำมาซึ่งความสุข แล้วก็สุขด้วยการทำงานนั้นด้วย สุขตั้งแต่เวลาทำงานแล้ว คือ ขณะทำงานก็มีความสุข ครั้นเสร็จจากงานแล้วก็มีความสุขเพิ่มอีก นี้ก็เป็นเรื่องของการทำให้ชีวิตมีความสุขโดยเอางานเป็นหลัก เพราะงานนั้นเป็นส่วนใหญ่ของชีวิต
    ถ้าทำงานได้อย่างนี้ ก็เข้ากับความหมายของงานที่ได้พูดกันตามวัฒนธรรมประเพณีไทย ที่บอกว่าไปงานวัด งานสงกรานต์ ซึ่งมองกันในแง่สนุกสนานบันเทิง เราก็มาทำงานของเราแม้แต่ในโรงงานนี้ให้เป็นไปด้วยจิตใจที่เบิกบาน สดชื่นผ่องใสอย่างนั้นด้วย โดยที่รู้เข้าใจคุณค่าของงานและมีสติเตือนตัวเองให้คอยทำใจให้ร่าเริงเบิกบานอย่างนี้แล้ว งานก้าวไป ชีวิตของเราก็พัฒนาไปด้วย
    ชีวิตของคนที่ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้องนี่แหละ เป็นชีวิตที่เจริญก้าวหน้า แม้แต่สิ่งที่เราทำอยู่ตลอดเวลา คือ งานที่เป็นของประจำนี่ ถ้าเรายังปฏิบัติไม่ถูกต้องแล้ว เราก็คงปฏิบัติต่อสิ่งอื่นไม่ค่อยถูกต้องเหมือนกัน การงานนี้เป็นเรื่องที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาท่านเรียกว่าเป็น กรรม
    คำว่า “กรรม” นั้น แปลว่า การกระทำ การกระทำในชีวิตส่วนใหญ่ของคนก็คือ งาน ขอให้พิจารณาความหมายตามลำดับ เริ่มแรกคำว่ากรรมในความหมายที่ละเอียดที่สุด ก็คือ เจตนาที่ทำการ เจตนาในใจเป็นตัวการที่ทำให้เราทำโน่นทำนี่ ต่อจากนั้นเมื่อแสดงออกมาเป็นการกระทำภายนอก เราเรียกว่าเป็นกิจกรรม ทีนี้ถ้าเป็นกิจกรรมที่เป็นหลักของชีวิตก็เรียกว่าเป็นงาน เพราะฉะนั้นกรรมจึงมีความหมายหลายชั้น กรรมในความหมายกว้างที่สุด ก็คือ งานที่แต่ละคนทำ พระพุทธเจ้าตรัสว่า กมฺมุนา วตฺตตี โลโก โลกนี้เป็นไปตามกรรม ก็คือ เป็นไปตามกรรม ขั้นพื้นฐานคืองานของคน
    มนุษย์ที่ทำงานกันอยู่ในสังคมนี้แหละ เป็นตัวบันดาลวิถีความเป็นไปของโลก หรือของสังคม โลกและสังคมจะเป็นไปอย่างไรก็ด้วยกิจกรรมสำคัญ คือ งานของคน อาชีพการงานหรือเรื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในชีวิตของคนส่วนใหญ่นี้เป็นเครื่องนำให้โลกให้สังคมเป็นไป เอาตั้งแต่สังคมประเทศไทยนี่จะเป็นอย่างไรก็อยู่ที่งานที่คนไทยทำ เพราะฉะนั้นถ้าเราจะให้สังคมประเทศชาติของเราไปทางไหน คนแต่ละคนที่อยู่ในประเทศเป็นพลเมืองก็ต้องทำงานให้ถูกเรื่อง ให้เป็นงานที่จะนำประเทศชาติสังคมไปสู่ความเจริญก้าวหน้า
    งานในความหมายต่อมา เมื่อเจาะลึกลงไปถึงที่สุดแล้ว กิจกรรมของมนุษย์ทุกอย่างนั้นก็มาจาก
    เจตจำนงในใจ เจตจำนง เจตนา หรือความตั้งใจนั้นเป็นตัวการที่ปรุงแต่งสร้างสรรค์ทุกสิ่งทุกอย่าง โลกมนุษย์นี้เป็นโลกของเจตจำนง หรือโลกแห่งความคิดปรุงแต่งสร้างสรรค์ สังคมมีความเจริญก้าวหน้า มี
    วัฒนธรรม มีวิทยาการต่างๆ มีเทคโนโลยี มีอะไรๆ ทุกอย่าง ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องของเจตจำนง คือ ความคิดปรุงแต่งสร้างสรรค์ทั้งนั้น ต่างจากโลกของสัตว์ทั้งหลาย โลกของธรรมชาติทั้งหมดนั้นมีความเป็นไปอีกแบบหนึ่ง ไม่เหมือนกับโลกของมนุษย์ที่เป็นโลกแห่งเจตจำนง หรือโลกของเจตนาปรุงแต่งสร้างสรรค์
    เพราะฉะนั้น ท่านจึงบอกว่า โลกนี้หรือสังคมนี้เป็นไปเพราะกรรมหรือเป็นไปตามกรรมของมนุษย์ ซึ่งมีความหมายหลายชั้น เริ่มตั้งแต่เจตจำนง หรือเจตนาปรุงแต่งสร้างสรรค์ของคนที่คิดเก่ง ซึ่งเป็นผู้คิดริเริ่มที่จะนำสังคมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พอคนส่วนใหญ่เปลี่ยนไปตามวิถีนั้น สังคมก็เป็นไปตามนั้นแต่โดยปกติเมื่อทุกอย่างลงตัวแล้ว กิจกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์คือการงานนี่แหละที่ทำให้สังคมเป็นไป
    เพราะฉะนั้น เราทุกคนนี้มีส่วนที่จะไปปรุงแต่งชีวิต ปรุงแต่งสังคม ปรุงแต่งโลกให้เป็นไปต่างๆ เราจึงควรจะมาช่วยกันปรุงแต่งในทางที่เป็นการสร้างสรรค์ให้เป็นประโยชน์ การงานที่เป็นอาชีพสุจริตก็เป็นส่วนที่จะช่วยปรุงแต่งนำโลกไปในทางที่ดีงาม ให้โลกร่มเย็นเป็นสุข ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ยิ่งถ้างานนั้นไม่เพียงแต่สุจริต แต่ยังเป็นงานที่เกื้อกูลเป็นประโยชน์ด้วย ก็เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงให้โลกนี้มีความสุขเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป เราจึงควรจะมีความพอใจในการงานที่เราทำอย่างถูกต้อง เมื่อเราทำงานอย่างถูกต้องก็มองเห็นคุณค่าของงาน เราก็มีความพอใจในงาน ระลึกขึ้นมาเมื่อไรก็มีความอิ่มใจว่า เราได้ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว
    วันนี้ อาตมาได้มาพบปะกับโยมญาติมิตรชาวโรงงานของบริษัทนี้ ซึ่งเป็นผู้ทำงานที่สุจริต ทำงานที่สร้างสรรค์เป็นประโยชน์ ก็ขอให้ทุกท่านมองเห็นคุณค่าแห่งงานของตนเองอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว และนอกจากทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นแล้ว ก็ต้องทำจิตใจของเราให้สบายมีความสุขด้วย และจิตใจของเราที่สบายและมีความสุขนี้ ก็จะเป็นปัจจัยให้เราทำงานที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมได้ผลดียิ่งขึ้นด้วย เป็นสิ่งที่อิงอาศัยและส่งเสริมซึ่งกันและกันผูกพันกันไป ทำให้ทั้งตัวเราและส่วนรวมมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป

    ตกลงรวมความว่าการทำงานนั้นทำให้เราได้ประโยชน์และมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ ส่วนที่ได้นี้ก็มีทั้งสองด้าน คือด้านตัวงาน ซึ่งอาจจะออกมาเป็นผลทางวัตถุหรือสิ่งอื่นภายนอก และด้านของจิตใจที่มีความสุข มีความสบายอิ่มใจ พร้อมกันไปกับการที่มีการพัฒนาของชีวิตอยู่เรื่อยไป ดังนั้น เราจึงควรนำเอาหลักนี้มาตรวจสอบดูว่าการทำงานของเรา ตลอดจนการดำเนินชีวิตทั้งหมดของเราได้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นไปตลอดเวลาหรือไม่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#99cc00 border=0><TBODY><TR><TD height=22>
    ตรวจสอบความเจริญก้าวหน้า ให้แต่ละวันเวลาได้ทั้งงานและความสุข
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=22 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle> การที่จะเจริญก้าวหน้าขึ้นไปนี่ ถ้าจะให้เห็นชัดก็ต้องดูจากหน่วยย่อยเพราะความเจริญก้าวหน้าในปีหนึ่งๆ นั้นก็มาจากแต่ละเดือน มาจากแต่ละวันรวมกันเข้า เพราะฉะนั้นคนที่จะเจริญจริงๆ จึงต้องทำการสำรวจประจำวันว่า ในแต่ละวันนี้เราได้พัฒนาได้ผลเพิ่มพูนขึ้นหรือเปล่า ถ้ามัวสำรวจช้าๆ รอเดือนหนึ่ง หรือปีหนึ่งนั้นไม่ทันหรอก คนที่จะมีฐานะดีขึ้นตั้งตัวได้และเจริญรุ่งเรืองนี่เขาต้องสำรวจในแต่ละวัน พระท่านจึงสอนเตือนไว้เป็นพุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่ง จำไว้ได้ก็ดี เอาไว้สำรวจตัวเอง ท่านบอกว่า
    เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่า
    ไม่มากก็น้อย ต้องให้ได้อะไรบ้าง
    ถ้าจำอันนี้ได้และนำมาใช้ละก็เจริญงอกงามแน่เลย เพราะแต่ละวันเราจะสำรวจตนเองว่า วันนี้เราได้อะไรไหม ก่อนจะนอนก็สำรวจก่อน ทีนี้ถ้าสำรวจแล้วปรากฏว่าได้ ก็มีความพอใจ แต่ถ้ารู้สึกว่าไม่ได้ ก็เท่ากับเป็นเครื่องเตือนสติว่า พรุ่งนี้เราจะต้องพยายามทำให้ได้ผล ต้องแก้ตัว และต่อไปจะต้องให้รู้สึกว่าได้ทุกวัน พอได้ทุกวันแล้ว ครบปีหนึ่งไม่รู้ว่าได้เท่าไร เดือนหนึ่งก็เยอะแล้ว ปีหนึ่งยิ่งมากมาย เพราะฉะนั้น ให้สำรวจดูในแต่ละวัน ทางพระท่านบอกเป็นคาถาภาษาบาลีว่า
    อโมฆํ ทิวสํ กยิรา อปฺเปน พหุเกน วา
    จำเป็นคาถาไว้ก็ได้ คาถาอย่างนี้มีประโยชน์คาถาบางอย่างคนท่องไปไม่รู้เรื่อง ท่องไปโดยไม่รู้ความหมายเลย แต่คาถาที่อาตมาให้คราวนี้ใช้ได้ศักดิ์สิทธิ์ด้วย เป็นคาถาที่ได้ผลชะงัดเลยทีเดียวและเราก็รู้ความหมาย มองเห็นประโยชน์แท้จริง ทวนอีกทีว่า อโมฆํ ทิวสํ กยิรา อปฺเปน พหุเกน วา เท่านี้แปลว่า เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่า ไม่มากก็น้อย ต้องให้ได้อะไรบ้าง เอาแค่นี้ละ แต่ละวัน แต่ละคืนนี่ให้สำรวจตัวเอง
    ทีนี้ที่ว่า "ได้" นี่ หลายคนก็มองไปในแง่ว่าได้เงิน อย่าไปคิดแค่นั้นชีวิตของเราไม่ได้แค่นั้น แม้แต่อย่างง่ายๆ ที่พูดกันว่าชีวิตของเราอยากได้ความสุข ถ้าเราได้เงินมากก็เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะหล่อเลี้ยงให้เรามีความสุข แต่ไม่ใช่ว่าได้เงินแล้วจะมีความสุขแน่นอน เงินไม่ใช่หลักประกันของความสุขมันเป็นเพียงตัวเอื้อให้มีความสุข แต่หลายคนได้เงินมามากก็ไม่มีความสุข ก็เห็นๆ รู้ๆ กันอยู่ ไม่ต้องยกตัวอย่าง
    เพราะฉะนั้น ได้เงินอย่างเดียวยังไม่พอต้องได้อย่างอื่นด้วย ถ้าได้เงินอย่างเดียวก็ได้แค่วัตถุได้สิ่งที่เป็นรูปธรรมได้เพียงด้านร่างกาย แต่ที่จะให้มีความสุขจริงนั้นได้ทางร่างกายอย่างเดียวไม่พอ ต้องได้ทางด้านจิตใจด้วย ทางใจจะได้อย่างไร การได้ทางใจที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง ก็คือ การที่รู้สึกว่าเราได้ทำชีวิตนี้ให้เป็นประโยชน์ งานนี่ละเป็นสิ่งที่จะทำให้ชีวิตของเราเป็นประโยชน์
    งานเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เรารู้แล้วนี่ว่ามันเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อมนุษย์ทั้งในการพัฒนาตน และในการที่จะช่วยพัฒนาประเทศชาติ สังคม วันนี้เราได้งานแล้ว ได้ทำประโยชน์แก่ผู้อื่นแล้ว พอรู้สึกอย่างนี้ก็ได้ผลทางจิตใจ
    การที่เราทำอะไรต่างๆ นี่เพื่ออะไร หาเงินหาทองเพื่ออะไร ก็เพื่อจะให้มีความสุข เสร็จแล้วเราได้ความสุขจริงหรือเปล่า ลองสำรวจดูในแต่ละวัน บางคนไม่เคยสำรวจเลยว่า เป้าหมายที่แท้ คือ ความสุขเราได้หรือเปล่า แต่ไปมองแค่ว่าได้เงินหรือเปล่า ไม่ได้ดูต่อไปให้ถึงเป้าว่า ได้เงินมาแล้วเรามีความสุขหรือเปล่า เสร็จแล้วหาเงินตลอดชีวิตแต่ไม่พบความสุขแท้สักทีก็ไม่ได้เรื่อง
    ตกลงว่ามาสำรวจกันเลย สำรวจตั้งแต่วันนี้นี่แหละ ทั้งด้านเงิน ด้านงาน ด้านการทำประโยชน์ และอะไรต่ออะไรแล้วแต่จะคิดได้ แต่ให้มาลงท้ายที่จิตใจว่าได้มีความสุข มีความสงบ มีความเจริญขึ้นไหม ถ้าจิตใจมีการพัฒนาก็จะมีความสุขอย่างที่ว่าเมื่อกี้นี้ คือ มีความร่าเริงเบิกบานใจ มีความอิ่มใจ มีความผ่อนคลาย สงบเย็นกายเย็นใจ มีความปลอดโปร่ง คล่องใจ และมีความสงบมั่นคงแน่วแน่ของจิตใจ
    ถ้าดูจนถึงจุดนี้แล้วก็สบายใจได้ เรียกว่า ดูครบวงจรไม่ใช่ดูแค่เงินอย่างเดียว ติดอยู่ต้นวงจรได้วัตถุอย่างเดียวไม่พอ การสำรวจรายได้แต่ละวันต้องสำรวจให้ครบวงจร ตั้งแต่ได้วัตถุที่หยาบไปจนถึงสาระในจิตใจที่เป็นนามธรรมละเอียดบริสุทธิ์ว่า เราได้ความสุขความสงบของจิตใจ ความร่าเริงเบิกบานใจบ้างไหม ต้องพยายามให้ได้ แต่ละวันก่อนจะนอนหลับอย่างน้อยมันเครียดมาทั้งวันแล้ว มันเศร้าหมองขุ่นมัวมามาก เอาละก่อนจะนอนให้มันยิ้มกับตัวเองได้ก็ยังดี ยิ้มในใจและทำให้ร่าเริง แม้แต่จะนอนก็ยังปรุงแต่งจิตใจของเราได้
    เวลาจะนอนพอล้มตัวลงไป ก็วางตัวให้สบายแล้วปล่อยมือปล่อยเท้า บอกกับตัวเองว่า สบาย และทำใจให้รู้สึกสบายอย่างที่ว่านั้น ทำใจอย่างนี้ให้เป็นการนำตัวเอง จิตใจของคนเรานี้มันทำตัวเองได้ พอเรานอนแล้วเราก็บอกตัวเองว่าสบายแล้วก็ทำใจให้สงบสบายจริงๆ บางคนไม่เคยนึกไม่เคยรู้สึกอย่างนี้ ใจไม่มีเวลาพักเลย ร่างกายก็เหมือนกันไม่ได้มีเวลาพัก แต่ถึงกายจะพักใจก็ไม่พักอีก คิดวุ่นวายงุ่นง่านอย่างที่คนโบราณว่า กลางคืนเป็นควัน กลางวันเป็นเปลว หมายความว่า ร้อนรุ่มตลอดเวลา
    ฉะนั้น จึงต้องมีวิธีการ อย่างน้อยพอพักผ่อนกายแล้วก็ให้ใจได้พักด้วย บอกตัวเองว่าสบายแล้วก็ทำให้ใจผ่อนคลายโปร่งเบา ให้ร่าเริงเบิกบาน ให้มีความสุข ถ้าเกิดนอนไม่หลับก็อย่าไปทุกข์มัน บางคนนอนไม่หลับแล้วยังไปซ้ำเติมตัวเองอีก นอนไม่หลับอย่างเดียวก็แย่อยู่แล้วยังไปทุกข์กระวนกระวายเพราะความไม่หลับอีก โอย ! ทำไมเราจึงไม่หลับสักที กลุ้มใจ กังวลใจ ก็นอนทรมานเป็นทุกข์อยู่อย่างนั้นพอถึงตอนเช้าก็หวิวๆ โหวงเหวงจะเป็นลมเอา
    ทีนี้ เอาใหม่ ถ้านอนไม่หลับ ก็ไม่เป็นไร ช่างมันมีเทคนิคที่จะแก้ไขตั้งหลายอย่าง ลองอย่างพระท่านบอกว่าให้กำหนดลมหายใจ นับลมหายใจ หายใจเข้ายาวๆ หายใจออกยาวๆ สัก ๕๐ ครั้ง บางคนนับไม่ทันครบหรอกหลับไปเมื่อไรไม่รู้ ก็ขอให้ลองนับลมหายใจดู
    ทีนี้บางคนนับแล้วก็ไม่หลับ มีเหมือนกัน ๕๐ ครั้งก็ไม่หลับ ๑๐๐ ครั้งก็ไม่หลับ ไม่ต้องเป็นห่วงจะบอกให้อีก คาถาหนึ่งว่า หลับก็ช่าง ไม่หลับก็ช่าง ภาวนาเลย หายใจเข้า หลับก็ช่าง หายใจออก
    ไม่หลับก็ช่าง ทำใจให้สบาย มันไม่หลับทั้งคืนก็ช่างมันฉันไม่แคร์ พอทำอย่างนี้แล้วถึงเช้าก็ไม่เห็นเพลียเลย อาตมาเคยป่วยแล้วนอนไม่หลับ ความเจ็บป่วยมันก่อกวน ก็ทำอย่างที่ว่านี้แหละ บอกในใจว่า หลับก็ช่าง ไม่หลับก็ช่าง เหมือนจังหวะรถไฟ ก็ได้ผล ถึงจะไม่หลับก็ไม่ค่อยเพลีย แต่คนที่ไม่หลับแล้วใจว้าวุ่นเป็นห่วงตัวเอง กังวลกับความไม่หลับนี่พอถึงเช้าก็เพลียแทบแย่เลย
    ฉะนั้น ไม่ต้องกลัวถึงมันจะไม่หลับก็ช่างมันเราได้พักใจของเราไปพอสมควรแล้ว พักใจเถอะ ถึงกายไม่พักก็ให้ใจมันพัก หลับก็ช่างไม่หลับก็ช่าง นี่ใจพักสบายเลย พอใจพักแล้วกายก็พลอยได้พักไปด้วยแม้ว่าจะไม่เต็มที่อย่างหลับ ก็สบายไปไม่น้อยเลย นี่แหละเป็นวิธีการต่างๆ ตกลงว่าถ้าทำอย่างนี้แล้วได้ทุกวัน ชีวิตนี้ไม่สูญเสียเปล่าได้กำไรเรื่อยไป เพราะฉะนั้น เอาคาถาของพระพุทธเจ้าไปใช้ คาถานี้ชะงัดศักดิ์สิทธิ์แน่นอน ท่านว่า
    อโมฆํ ทิวสํ กยิรา อปฺเปน พหุเกน วา
    เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า ไม่มากก็น้อยต้องให้ได้อะไรบ้าง​
    สำหรับคนที่มีความเพียรขยันมากยิ่งกว่านี้ พระพุทธเจ้าทรงบอกคาถาไว้ให้สั้นกว่านี้อีก เมื่อกี้ยังยาวไป คราวนี้คาถาก็สั้นเข้าไปเวลาก็สั้นลงอีก ท่านว่า ขโณ โว มา อุปจฺจคา แปลว่า เวลาแต่ละขณะอย่าให้ล่วงไปเปล่า นี่สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม ท่านให้เพียรพยายามขนาดนี้ แม้กระทั่งแต่ละขณะก็อย่าให้ผ่านไปเสีย ถ้าแปลตามตัวอักษรก็ว่า เวลาแต่ขณะอย่าล่วงท่านเสีย อย่าล่วงนี่หมายความว่า อย่าให้ข้ามตัวเราไปโดยเราไม่ได้ทำอะไร
    นี่ก็เป็นคติต่างๆ ซึ่งอาตมาคิดว่าจะเป็นผลดีเป็นประโยชน์ในการทำงานและในการดำเนินชีวิตของทุกๆ ท่าน ทุกๆ คน ก็ขอนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นข้อคิดในทางธรรม
    วันนี้อาตมาได้ใช้เวลาของที่ประชุมไปมากแล้ว คิดว่าพอสมควรแก่เวลา ในโอกาสนี้อาตมา คณะพระสงฆ์ก็ขอตั้งใจดีต่อทุกท่านด้วย ขออาราธนาคุณพระรัตนตรัย อวยชัยให้พร รตนตฺตยานุภาเวน รตนตฺตยเตชสา ด้วยเดชานุภาพคุณพระรัตนตรัยพร้อมทั้งบุญกุศล มีศรัทธาและเมตตาไมตรีธรรมที่เกิดขึ้นในจิตใจของทุกท่านนี้ จงเป็นปัจจัยอันมีกำลังอภิบาลรักษาให้ทุกท่านเจริญ ด้วยจตุรพิธพรชัยประสพสรรพสิริสวัสดิพิพัฒมงคล เจริญงอกงามร่มเย็นเป็นสุขในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั่วกันทุกท่านตลอดกาลนาน เทอญ.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...