พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เรื่องของพระศรีอาริย์ มีผู้นำมาเล่าให้ฟังอยู่เนืองๆ บ้างก็ว่าพบองค์ท่านที่จังหวัดนั้นจังหวัดนี้ แต่ผมไม่เคยคิดจะไปขวนขวายตามหาเลย แปลกครับ ทั้งๆที่เราอยู่ในศาสนาของสมเด็จพระสมณโคดมกลับดันจะไปตามหาพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้าอีกล้านปีเศษๆ ทำนองหมิ่นพ่อ นับถืออา..

    เท่าที่มีหลักฐานบันทึกอย่างเป็นทางการ และเผยแพร่กันมานานเกี่ยวกับพระศรีอาริย์ก็เห็นจะมีแต่หลวงพ่อฤาษีลิงดำซึ่งเผยแพร่ตั้งแต่ท่านยังดำรงขันธ์อยู่ หากท่านเจ้าของ post เกี่ยวกับพระศรีอาริย์นี้ต้องการทราบรายละเอียด ผมจะส่งหนังสือไปให้เพื่อเปรียบเทียบความรู้ หรือข้อมูลที่ท่านมี แจ้งมาทาง PM ได้เลยครับ..

    หากการพูดคุย ปราศจากซึ่งข้อโต้แย้ง ก็อาจจะขัดกับหลักกาลามสูตร ซึ่งประเด็นนี้ชัดแจ้งทั้งหลักฐาน และพยานบุคคล ผมไม่กล่าวก็คงมีผู้กล่าวอยู่แล้ว จะไม่ใช่กรณีการปรามาสอย่างเด็ดขาด ผมตั้งข้อสังเกตว่า

    ๑) เป็นไปได้หรือที่ในระหว่างศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามพระพุทธสมณโคดม จะยังมีพระพุทธเจ้าอีกพระองค์เสด็จมาโปรดซ้ำซ้อนกัน

    ๒) ทำไมพระท่านถึงใจร้อนรีบเร่งมาโปรดผู้คนในขณะนี้ซึ่งอยู่ในกึ่งพุทธกาล ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนาม พระพุทธสมณโคดม ทั้งที่ อีกล้านปีเศษ ก็ถึงศาสนาของพระศรีอาริย์ท่านอยู่แล้วดังคำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่กล่าวเกี่ยวกับพระศรีอาริย์ดังนี้

    คำสอนของพระศรีอาริย์

    จากหนังสือ ประวัติการสร้าง "พระศรีอาริยเมตไตรย" วัดท่าซุง

    ถามว่า "แนะนำแล้วทุกอย่าง แต่ว่าไม่รู้ข้อเจาะจง ให้เจาะจงไปว่าทำบุญอย่างไร...จึงจะทันศาสนาพระศรีอาริย์?"

    (นี่..สำหรับคนมี "บารมีอ่อน" นะ คนมี "บารมีเข้ม" ให้ตั้งใจไปนิพพานชาตินี้ ถ้าคน "บารมีอ่อน" ตั้งใจไปนิพพานชาติพระ ศรีอาริย์ หรือวางแผนไว้ ๒ อย่างก็ได้ว่า ตั้งใจไปนิพพานชาตินี้ ถ้าพลาดชาตินี้ ขอให้ได้นิพพานสมัยพระศรีอาริย์ก็ได้)

    ท่านบอกว่า "ให้ทุกคนที่ต้องการเกิดทันสมัยผม ให้รักษาศีล ๕ เป็นปกติ รักษา กรรมบถ ๑๐ เป็นปกติทุกวัน ไม่คลาดเคลื่อนอย่างนี้เป็นอุคฆฏิตัญญู ไปเกิดในสมัยผมฟังเทศน์แค่ หัวข้อเล็ก ๆ สั้น ๆ ก็บรรลุมรรคผลทันที

    ถ้าบางท่านปฏิบัติอ่อนกว่านั้น รักษาได้ กรรมบถ ๑๐ เหมือนกัน ศีล๕ ก็ครบ แต่ว่าบางทีก็มีอาการเผลอเล็กน้อย อย่างนี้เป็นวิปจิตัญญู หมายความไปเกิดสมัยผมเทศน์หัวข้อฟังไม่เข้าใจ ต้องอธิบายเล็กน้อยจึงบรรลุอรหันต์

    บางท่านที่มีบารมีอ่อนกว่านั้น วันธรรมดา ๆ อาจจะบก พร่องบ้างเป็นของธรรมดา แต่สำหรับวันพระต้องรักษาให้ครบ ถ้วนทั้ง ศีล ๕ และ กรรมบถ ๑๐ หมายความตามธรรมดา คน เรามีอาชีพต่างกัน บางคนปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร ก็ต้องฉีดยา ฆ่าเพลี้ยฆ่าสัตว์ที่มารบกวนพืชพันธุ์ธัญญาหารบ้าง บางคนมี อาชีพไปในทางการประมง ต้องทำการประมงฆ่าปลาฆ่าสัตว์บ้าง ถ้าอย่างนี้ถือว่าวันธรรมดาบกพร่องได้ และวันพระต้องครบถ้วนบริบูรณ์ อย่างนี้ถ้าเกิดในสมัยผม เขาเรียกว่า เนยยะ เทศน์ครั้งเดียวสองครั้งยังไม่มีผล ต้องฟังเทศน์หลาย ๆ หน สามารถ เป็นพระอริยะได้

    เอาละ... บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ท่านทั้งหลายมานั่งอยู่กันที่ตรงนี้และฟังเทศน์แล้ว เรื่องของพระศรีอาริยเมตไตรย ถ้าจะว่ากันไปก็คงไม่แตกต่างกับเรื่องขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าทุกท่านรักษาศีล ๕ ครบถ้วน กรรมบถ ๑๐ ครบถ้วน ที่มีบารมีเข้มข้นสามารถจะไปนิพพานได้ในชาตินี้ ถ้าบังเอิญชาตินี้พลาดไปนิพพาน ไปเกิดเป็นเทวดาก็ดี นางฟ้าก็ดี หรือพรหมก็ตาม อีกไม่นานนักพระศรีอาริย์ก็ตรัส เราก็ฟังเทศน์ จากพระศรีอาริย์ภายในไม่ช้าก็บรรลุอรหันต์สามารถไปนิพพานได้"

    ท่านบอกเพียงเท่านี้ครับ เรื่องอื่นๆนอกเหนือจากนี้เป็นการต่อเติม เสริมแต่งกันเข้าไป ผมเชื่อว่า พระที่ท่านได้พบเก่งครับ แต่ยังไงไม่ใช่พระศรีอาริย์แน่

    พระศรีอาริยเมตไตรยปรารถนาพระโพธิญาณจึงไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดุสิต(หลวงพ่อฤาษีฯ)

    “..พระศรีอาริยเมตไตรย ในสมัยพระพุทธเจ้าท่านบวชเป็นพระมีนามว่า อชิตะภิกขุเดิมทีท่านเป็นลูกศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ท่านไปบวชเพื่อสร้างเสริมบารมี ต่อมาเมื่อ พระนางกีสา โคตมีได้ทอจีวรด้วยมือของตนเองปรารถนาจะถวายพระพุทธเจ้า เมื่อเวลาพระนางไปถวาย พระพุทธเจ้าเรียกพระมาหมด นั่งเรียงแถวกันตามลำดับอาวุโสและคุณสมบัติ เมื่อพระนางกีสาโคตมีถวายผ้าแก่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ส่งให้พระสารีบุตร ท่านพระสารีบุตรก็ส่งให้พระโมคคัลลาน์ ท่านพระโมคคัลลาน์ก็ส่งต่อๆ กันไปหมดจนถึงองค์สุดท้ายคือท่านอชิตะภิกขุ ท่านไม่รู้จะส่งให้ใครเพราะนั่งอยู่ท้ายสุด เป็นอันว่าท่านก็รับไว้ พระนางกีสา โคตมีก็เสียใจว่าอุตสาห์ทำเองเลือกด้ายชั้นดีมาทอกับมือเองเพื่อถวายพระพุทธเจ้า แต่พระองค์ไม่รับกลับไปให้กับพระที่ไม่ได้แม้แต่ฌานสมาบัติมากมายอะไรนัก คือว่ายังเป็นพระปุถุชนคนธรรมดา องค์สมเด็จพระบรมศาสดาทรงทราบอัธยาศัยจึงเทศนาโปรดว่า พระองค์สุดท้ายไม่ใช่พระธรรมดา ท่านอชิตะภิกขุผู้นี้ต่อไปข้างหน้าจะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง มีพระนามว่า สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรย<O:p</O:p


    ปัจจุบันนี้ท่านมาเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดุสิต วิมานท่านสวยสดงดงามมาก ท่านมีรัศมีกายสว่างมาก หน้าตาผ่องใสยิ้มระรื่นน่าชื่นใจ ท่านได้บอกกับอาตมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ ว่า นับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป อีก ๑ ล้านกับ ๒ ปี ท่านจะลงมาเกิดในเมืองมนุษย์แล้วเป็นปุโรหิต หลังจากนั้นเกิดความเบื่อหน่ายก็ออกแสวงหาพระโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า ถ้าจะเทียบพื้นที่ในสมัยนี้ พระองค์จะตรัสทางทิศเหนือของพม่า แต่ตามตำราเขาไม่ได้เขียนไว้

    อยากจะพบพระศรีอาริย์นั้นไม่ยากครับ ขอเพียงทำตามนี้ให้ได้ ได้พบแน่..
    กรรมบถ ๑๐ และ อานิสงส์





    <HR SIZE=1>กรรมบถ ๑๐

    ๑. ไม่ฆ่าสัตว์หรือไม่ทรมานสัตว์ให้ได้รับความลำบาก

    ๒. ไม่ลักทรัพย์ คือไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เขาไม่ให้ด้วยความเต็มใจ

    ๓. ไม่ทำชู้ในบุตรภรรยาและสามีของผู้อื่น

    ๔. ไม่พูดวาจาที่ไม่ตรงความเป็นจริง

    ๕. ไม่พูดวาจาหยาบคายให้สะเทือนใจผู้ฟัง

    ๖. ไม่พูดส่อเสียดยุให้รำตำให้รั่ว ทำให้ผู้อื่นแตกร้าวกัน

    ๗. ไม่พูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล

    ๘. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของเขาไม่ยกให้

    ๙. ไม่คิดประทุษร้ายใคร คือไม่จองล้างจองผลาญเพื่อทำร้ายใคร

    ๑๐. เชื่อพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านด้วยดี


    อานิสงส์กรรมบถ ๑๐

    ท่านที่ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ท่านเรียกชื่อเป็นกรรมฐานกองหนึ่งเหมือนกัน คือ ท่านเรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน หมายความว่าเป็น ผู้ทรงสมาธิในศีล

    ท่านที่ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการได้นั้น มีอานิสงส์ดังนี้

    ๑. อานิสงส์ข้อที่หนึ่ง จะเกิดเป็นคนมีรูปสวย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บรบกวน มีอายุยืนยาว ไม่อายุสั้นพลันตาย

    ๒. อานิสงส์ข้อที่สอง เกิดเป็นคนมีทรัพย์มาก ทรัพย์ไม่ถูกทำลายเพราะโจร ไฟไหม้ น้ำท่วม ลมพัด จะมีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์ขั้นมหาเศรษฐี

    ๓. อานิสงส์ข้อที่สาม เมื่อเกิดเป็นคนจะมีคนที่อยู่ในบังคับบัญชาเป็นคนดี ไม่ดื้อด้าน อยู่ภายในคำสั่งอย่างเคร่งครัด มีความสุขเพราะบริวาร และการไม่ดื่มสุราเมรัย เมื่อเกิดเป็นคนจะไม่มีโรคปวดศีรษะที่ร้ายแรง ไม่เป็นโรคเส้นประสาท ไม่เป็นคนบ้าคลั่ง จะเป็นคนมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด

    เรื่องของวาจา

    ๔. อานิสงส์ข้อที่สี่, ข้อห้า, ข้อหก, และข้อเจ็ด เมื่อเกิดเป็นคนจะเป็นคนปากหอม หรือมีเสียงทิพย์ คนที่ได้ยินเสียงท่านพูดเขาจะไม่อิ่มไม่เบื่อในเสียงของท่าน ถ้าเรียกตามสมัยปัจจุบันจะเรียกว่าคนมีเสียงเป็นเสน่ห์ก็คงไม่ผิด จะมีความเป็นอยู่ที่เป็นสุขและทรัพย์สินมหาศาลเพราะเสียง

    เรื่องของใจ

    ๕. อานิสงส์ข้อที่แปด, ข้อเก้า, และข้อสิบ เป็นเรื่องของใจ คืออารมณ์คิด ถ้าเว้นจากการคิดลักขโมยเป็นต้น ไม่คิดจองล้างจองผลาญใคร เชื่อพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามคำสอนของท่านด้วยความเคารพ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีอารมณ์สงบและมีความสุขสบายทางใจ ความเดือดเนื้อร้อนใจในกรณีใดๆ ทุกประการจะไม่มีเลย มีแต่ความสุขใจอย่างเดียว
    อานิสงส์รวม

    เมื่อกล่าวถึงอานิสงส์รวมแล้ว ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานในขั้นนี้ ถึงแม้ว่าจะทรงสมาธิไม่ได้นานตามที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ นั้น ถ้าสามารถทรงกรรมบถ ๑๐ ประการได้ครบถ้วน ท่านกล่าวว่า เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิอีกต่อไป บาปที่ทำไว้ตั้งแต่สมัยใดก็ตาม ไม่มีโอกาสนำไปลงโทษในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น อีกต่อไป

    ถ้าบุญบารมีไม่มากกว่านี้ ตายจากคนไปเป็นเทวดาหรือพรหม เมื่อหมดบุญแล้วลงมาเกิดเป็นมนุษย์ จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาตินั้น แต่ถ้าเร่งรัดการบำเพ็ญเพียรดี รู้จักใช้ปัญญาอย่างมีเหตุผล ก็สามารถบรรลุมรรคผลเข้าถึงพระนิพพานได้ในชาตินี้



    แนะวิธีรักษากรรมบถ ๑๐
    การที่จะทรงความดีเต็มระดับตามที่กล่าวมาให้ครบถ้วนให้ปฏิบัติตามนี้

    ๑. คิดถึงความตายไว้ในขณะที่สมควร คือไม่ใช่ทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อตื่นขึ้นใหม่ๆ อารมณ์ใจยังเป็นสุข ก่อนที่จะเจริญภาวนาอย่างอื่น ให้คิดถึงความตายก่อน คิดว่าความตายอาจจะเข้ามาถึงเราในวันนี้ก็ได้ จะตายเมื่อไรก็ตามเราไม่ขอลงอบายภูมิ ที่เราจะไปคือ อย่างต่ำไปสวรรค์ อย่างกลางไปพรหม ถ้าไม่เกินวิสัยแล้ว ขอไปนิพพานแห่งเดียว คิดว่าไปนิพพานเป็นที่พอใจที่สุดของเรา

    ๒. คิดต่อไปว่าเมื่อความตายจะเข้ามาถึงเราจะเป็นในเวลาใดก็ตาม เราขอยึดพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต คือไม่สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า ยอมเคารพด้วยศรัทธา คือความเชื่อถือในพระองค์ ขอให้ปฏิบัติตามคำสอน คือกรรมบถ ๑๐ ประการโดยเคร่งครัด ถ้าความตายเข้ามาถึงเมื่อไรขอไปนิพพานแห่งเดียว

    เมื่อนึกถึงความตายแล้วตั้งใจเคารพ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์สาวก แล้วตั้งใจนึกถึงกรรมบถ ๑๐ ประการว่ามีอะไรบ้าง ตั้งใจจำและพยายามปฏิบัติตามอย่าให้พลั้งพลาด คิดติดตามข้อปฏิบัติเสมอว่ามีอะไรบ้าง ตั้งใจไว้เลยว่าวันนี้เราจะไม่ยอมละเมิดสิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่งเป็นอันขาด เป็นธรรมดาอยู่เองการที่ระมัดระวังใหม่ๆ อาจจะมีการพลั้งพลาดพลั้งเผลอในระยะต้นๆ บ้างเป็นของธรรมดา แต่ถ้าตั้งใจระมัดระวังทุกๆ วัน ไม่นานนัก อย่างช้าไม่เกิน ๓ เดือน ก็สามารถรักษาได้ครบ มีอาการชินต่อการรักษาทุกสิกขาบท จะไม่มีการผิดพลาดโดยที่เจตนาเลย เมื่อใดท่านทรง
    อารมณ์กรรมบถ ๑๐ ประการได้ โดยที่ไม่ต้องระวัง ก็ชื่อว่าท่านทรงสมาธิขั้น ขณิกสมาธิ ได้ครบถ้วน เมื่อตายท่านไปสวรรค์หรือพรหมโลกได้แน่นอน

    ถ้าบารมีอ่อน เกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียวไปนิพพานแน่ ถ้าขยันหมั่นเพียรใช้ปัญญาแบบเบาๆ ไม่เร่งรัดเกินไป รักษาอารมณ์ใจให้เป็นสุข ไม่เมาในร่างกายเราและร่างกายเขา ไม่ช้าก็บรรลุพระนิพพานได้แน่นอน เป็นอันว่าการปฏิบัติขั้นขณิกสมาธิจบเพียงเท่านี้



    คัดจากหนังสือ "วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ" หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2011
  2. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    แบบที่ผมเคยแจ้งไงครับ ถ้าคนจนรักษาแบบถูกหรือไม่มีเงินก็ต้องรอแบบนี้ครับ ลองไปโรงพยาบาลเอกชนเช่นบำรุงราษฎร์สิครับ ถ้ารักษาแบบนี้จะเห็นถึงความแตกต่างครับแต่ถ้าจะแอดมิตก็ต้องมีเส้นถึงได้ห้องเร็วไม่งั้นรอห้อง3-4ชม.เหมือนกัน เมื่อ3ปีก่อนเป็นหวัดเหมือนกัน3เดือนไม่หายไอมาก ผมชอบเล่าเรื่องนี้จริงๆครับ ไปพบแพทย์ สั่งx-ray ปอด ผมก็เช่อไปนั่งจะรอฟิลม์ ปรากฎครึ่งชม. แพทย์ให้พยาบาลมาตาม ฟิลม์ส่งผ่านคอมขึ้นไปแล้วครับ แล้วหมอก็ถาม มียาดีมากยาใหม่กิน4เม็ดวันละเม็ด สนใจมั้ยหายชัวร์ น้องมาดูราคากันนี่ราคาทุน อ่ะ2800บาท 4เม็ด เอาก็เอา ปรากฎว่าวันนั้นจ่ายไป 3500บาทค่าหมอฟรีนะแน่ะ แต่ก็หายจริงๆ หุ หุ
     
  3. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    แต่ก็เช่นกันมีอีกเคสญาติกัน เท้าเป็นแผลเข้าไปรักษาที่........แพงมากใช้ยาดีที่สุด รักษาไป 6เดือนเสียไป 5-6แสนบาท ปรากฎว่าไม่หายครับเลยมีบางคนแนะนำไปศิรฺิราช ปรากฎหมอใส่ยาซัลฟาให้ 3วันแห้งหายเลย เสียค่ายา+หมอไป 450บาทครับ
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องที่มีกัลยาณมิตรบอกผมว่า ทำงานกันหนัก

    ผมก็ว่าน่าเห็นใจที่ทำงานหนัก และผมเห็นว่า ควรลาออกไปอยู่บ้านเฉยๆ จะได้ไม่ต้องทำงานหนักอีกครับ

    ส่วนเรื่องนโยบายการผลิตหมอ ก็ผิดพลาดตั้งแต่ต้น จนจบกระบวนความ


    .
     
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    หุ..หุ..เรื่องมันเป็นดั่งนี้ ผมเลยหาทางเรียน และรักษาตัวเอง อย่างน้อยมีเครือข่ายคนรู้จัก แนะนำ ไม่เสียโง่ให้ยาฝรั่ง ที่กินค่าสิทธิบัตรยาเราไปมากมายมหาศาล
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    สภาพปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนแพทย์ โดยเฉพาะจังหวัดในส่วนภูมิภาคสิ้นปีพุทธศักราช 25ประเทศไทยมีประชากรจำนวน 62,779,872 คนมีแพทย์ที่ทำงานจริง จำนวน 22,879 คน คิดสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรได้เป็นแพทย์ 36 คนต่อประชากร 100,000 คน หรือคิดเป็นแพทย์ 1 คนต่อประชากรทั้งประเทศ2,745 คน ( แพทย์ : ประชากร = 1 : 2,745)โดยมีสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรมากที่สุด ในเขตกรุงเทพมหานคร (1 : 586) และน้อยที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (1 : 7,239) ในจำนวนนี้เป็นแพทย์ ที่เป็นผู้บริหารประมาณ 2,280 คน จะเหลือแพทย์ที่ทำหน้าที่ด้านบริการประมาณ 20,599 คน คิดเป็นแพทย์ 32 คนต่อประชากร 100,000 คน หรือ เฉลี่ยแพทย์ต่อประชากร 1 : 3,047 คนแต่มีบางพื้นที่ในประเทศไทยที่มีค่าเฉลี่ยแพทย์ ต่อประชากรน้อยที่สุดคือจังหวัดหนองบัวลำภู(123,187) ข้อมูลสัด ส่วนของแพทย์ต่อประชากรข้างต้นทำให้มองเห็นความไม่เหมาะสมในการกระจายแพทย์ เพื่อให้บริการแก่ประชาชน โดยสัดส่วนแพทย์บริการปฐมภูมิร้อยละ 99.90 ในปีพุทธศักราช 2513 ลดลงเหลือร้อยละ 52.60ของแพทย์ทั้งหมดในปีพุทธศักราช 2545 และเมื่อพิจารณากรอบอัตราแพทย์ในจังหวัดต่าง ๆ เช่นจังหวัด ศรีสะเกษ กรอบอัตราแพทย์ 87 คน แต่มีแพทย์จริง 28 คน โดยมีประชากรในพื้นที่ 1,443,766 คน จังหวัดสุรินทร์ มีกรอบอัตราแพทย์ 146 คน มีแพทย์ปฏิบัติงานจริง 49 คน มีประชากรในพื้นที่ 1,383,156 คน เมื่อเทียบกับจังหวัดจันทบุรี มีกรอบอัตราแพทย์ 175 คน มีแพทย์ 105 คน และมีประชากรในพื้นที่ 493,434 คน ( เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ . 2546)จากรายงานการประชุมแพทยศาสตร์ศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2544 ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรควรเป็น 1: 1,500 ทบวงมหาวิทยาลัยได้ประเมินการผลิตแพทย์ในโครงการเร่งรัดการผลิตบัณฑิตในสาขา วิชาที่ขาดแคลน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2541 จนถึงพุทธศักราช 2550 สัดส่วนของแพทย์ต่อประชากรอยู่ที่ 1:2,370 คน ซึ่งยังต่ำกว่าข้อเสนอแนะ จากปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมา รวมทั้งการที่รัฐบาลได้สร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชน เช่น มีโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค กอปรกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เร่งรัดการผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นอีกปีละ 340 คน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2536 เป็นต้นมา โดยให้คำนึงถึงเป้าหมายในการผลิตแพทยเพื่อประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพิเศษ

    -http://www.med.msu.ac.th/main/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=22&Itemid=105-

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    คาด 5 ปีไทยมีแพทย์อัตรากำลังตามเกณฑ์ WHO

    วันนี้ (31 มี.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีมอบสัมฤทธิบัตรและมอบโอวาทแก่บัณฑิตแพทย์ในโครงการผลิต แพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท รุ่นที่ 11 ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2553 จำนวน 413 คน

    นายจุรินทร์ กล่าวว่า การผลิตแพทย์ในประเทศไทยมีวิวัฒนาการยาวนานกว่าร้อยปี เริ่มตั้งแต่มีโรงเรียนแพทยทยากรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2432 และมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จนถึงปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาผลิตแพทย์ได้ทั้งหมดรวม 18 แห่งปัจจุบันในภาพรวม ประเทศไทยมีแพทย์ทั้งหมด 30,000 คน โดย 10,000 คน อยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข อีก 10,000 คน อยู่สังกัดหน่วยงานอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัยแพทย์ เป็นต้น และอีก 10,000 คน อยู่ในภาคเอกชน ปัญหาใหญ่ คือ ปริมาณแพทย์ที่อยู่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต้องรับผิดชอบประชากร 40-50 ล้านคนเป็นอย่างต่ำ ทำให้เกิดปัญหาแพทย์ขาดแคลน แพทย์ 1 คน ดูแลประชากรเฉลี่ย 7,000 คน ถือว่ายังไม่ได้ตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลกที่กำหนดคือ 1 ต่อ 5,000 คน จึงจำเป็นต้องเร่งผลิตแพทย์เพื่อมาสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องให้บริการ ประชาชนส่วนใหญ่ให้รวดเร็วขึ้น


    นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์ในระบบ กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพ ของกระทรวงสาธารณสุข แก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ในพื้นที่ชนบทห่างไกลและพื้นที่เสี่ยง ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้สถาบันการศึกษาเป็นค่าจัดการเรียน การสอนนักศึกษาแพทย์ปีละ 300,000 บาทต่อคน เริ่มดำเนินการระหว่าง พ.ศ.2538 -พ.ศ.2556 มีเป้าหมายผลิตแพทย์ทั้งหมด 11,495 คน ปัจจุบันได้รับนักศึกษาเข้าเรียนแล้ว 7,046 คน และสำเร็จการศึกษาแล้วรวม 2,569 คน ซึ่งใน ปี 2554 กระทรวงสาธารณสุขผลิตแพทย์ตามโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท 413 คน ตั้งแต่ปี 2555 เพิ่มเป็น 683 คน คาดว่าภายในอีก 5 ปี สัดส่วนแพทย์ต่อประชากร จะเป็นไปตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลกคือ 1 ต่อ 5,000 คน


    ใน โอกาสนี้ นายจุรินทร์ ได้มอบโอวาทแก่แพทย์จบใหม่ว่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ขอให้ระลึกเสมอ ว่า ไม่มีที่ใดที่จะลำบากเกินจะอยู่ได้ ยิ่งห่างไกลเท่าใดงานของแพทย์ยิ่งมีความสำคัญกับประชาชนมากขึ้นเท่านั้น และขอให้แพทย์จบใหม่ทุกคนได้เรียนรู้วัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม เคารพในความ อาวุโส การพัฒนาตนเองด้านภาวะผู้นำ การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์

    ทางด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถาบันที่ร่วมมือผลิตแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทใน ปีนี้รวม 7 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยแพทย์ที่จบครั้งนี้จะเข้าทำงานในโรงพยาบาล ตามภูมิลำเนาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 เป็นต้นไปและทำงานชดใช้ทุนเป็นเวลา 3 ปี ได้มอบโอวาทให้แพทย์ปฏิบัติงานด้วยระมัดระวัง รอบคอบ และมีความรับผิดชอบในหน้าที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ร่วมงาน ผู้ป่วย ญาติ และประชาชน เพื่อป้องกันปัญหาจริยธรรมทางวิชาชีพ ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ การฟ้องร้องแพทย์มีมากขึ้น

    ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31 มีนาคม 2554

    -------------------------------------

    ฐมนตรีสาธารณสุขไทย น่าจะไปคุยกับรัฐมนตรีสาธารณสุขมาเลเซียดูหน่อยนะ(เราจะได้ไม่ล้าหลังเขา ขนาดนี้) หรือไม่ก็หาที่ปรึกษาดีๆ สักหน่อย ไปเอาตัวเลขมาจากไหน.... โลกเขาไปถึงไหนกันแล้ว
    .........................................
    อัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรของประเทศมาเลเซียโดยรวม อยู่ที่ 1 ต่อ 1,145 ซึ่งห่างจากมาตราฐานขั้นต่ำของ WHO มาก
    (WHO minimum standards --- 1 ต่อ 600)

    เป็นเรื่องที่น่าตกใจ (It is also shocking) ที่ทราบว่า อัตราส่วนของแพทย์ต่อประชากร
    ในรัฐ Sabah อยู่ที่ 1 ต่อ 2,248 และในรัฐ Sarawak อยู่ที่ 1 ต่อ 1,709

    รัฐมนตรี สาธารณสุข (Health Minister Datuk Seri Liow Tiong Lai) แถลงว่า รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มแพทย์ให้ได้อัตราส่วน 1 ต่อ 600 ภายในปี 2020

    Healthy Malaysia
    Friday, August 20, 2010

    --------------------------------------------

    สธ.เพิ่ม "หมอ-เภสัช" 2,389 คน

    เมื่อวันที่ 1 เมษายน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์หลังเปิดอบรมปฐมนิเทศแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรจบใหม่ ในปีการศึกษา 2553 และทำสัญญาปฏิบัติงานชดใช้ทุนในสถานพยาบาลสังกัด สธ. จำนวน 2,389 คน ก่อนไปปฏิบัติงานภายในวันที่ 15 เมษายนนี้ว่า ปีนี้มีแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร ที่จบใหม่ ประกอบด้วย แพทย์ 1,522 คน ทันตแพทย์ 529 คน และเภสัชกร 338 คน

    แต่ต้องยอมรับความจริงว่าแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรในสังกัด สธ. ยังขาดแคลนอยู่มาก โดยมีสัดส่วนแพทย์ 1: 7,000 คน
    ทันตแพทย์ 1: 15,000 คน
    ซึ่ง ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดแพทย์ไว้เพียง 1: 5,000 คน และ ทันตแพทย์ 1: 10,000 คนเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องเร่งผลิตแพทย์เพิ่มปีละประมาณ 1,500 คน หากทำได้ตามเกณฑ์นี้ ภายใน 5 ปีแพทย์จะได้ตามเกณฑ์ดังกล่าว


    ด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ. กล่าวว่า ตามแผนแม่บทกำลังคนด้านสาธารณสุข และความต้องการกำลังคนด้านสาธารณสุขในปีนี้
    ในระดับประเทศต้องการ

    แพทย์ 40,620 คน
    ทันตแพทย์ 12,300 คน
    เภสัชกร 5,204 คน

    โดยในส่วนของ สธ. ต้องการ
    แพทย์เต็มระบบ 22,855 คน มีแล้ว 13,083 คน ยังขาดอีก 9,772 คน
    ทันตแพทย์ต้องการ 8,462 คน แต่มีแล้ว 3,724 คน ยังขาดอีก 4,738 คน
    ส่วนเภสัชกรต้องการ 6,736 คน มีแล้ว 6,070 คน ยังขาด 666 คน

    มติชนออนไลน์
    1 เมษายน พ.ศ. 2554

    --------------------------------------------

    story

    -http://www.thaihospital.org/board/index.php?topic=1486.0-



    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    หมอไทยส่งออกไกลทั่วโลก (แต่เมืองไทยไม่มีหมอ?)


    ถ้าเทียบกับ สัดส่วนแพทย์ต่อประชากร ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 1: 5,000 คน จะทำให้เกิดความรู้สึกดีว่าประเทศไทยไม่ได้ขาดแคลนแพทย์อย่างที่มีการพูดกัน เพราะจำนวนแพทย์ของเราที่สามารถทำเวชปฏิบัติได้มีถึง 31,939 คน โดยสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรคือ 1 : 1,985 คน ซึ่งเป็นข้อดีของการดูค่าเฉลี่ยแบบรวมๆ

    แต่ ถ้าแจกแจงออกมา ผลที่ได้อาจไม่งดงามอย่างที่คิด จากสถิติที่มีการศึกษา ปัจจุบันหมอ 1 คนต้องตรวจคนไข้มากกว่า 100 คนในเวลา 3 ชั่วโมง ตกแล้วคนไข้ 1 คน ได้เจอหน้าหมอคนละประมาณ 2-3 นาที

    หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ‘Medical Hub’ นโยบายที่เกิดขึ้นในสมัยอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ตั้งใจจะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพของภูมิภาค กล่าวอย่างเป็นธรรม นี่คือนโยบายที่ดีและวิสัยทัศน์ยาวไกล แต่ปัญหาคือเรามักจะดุ่มเดินไปข้างหน้าโดยไม่เคยมองความพร้อมและหาหนทาง ป้องกัน เยียวยา ผลกระทบ

    นโยบายดังกล่าวก่อให้เกิดการไหลบ่าของคนไข้ชาวต่างประเทศเข้ามารักษา พยาบาลในไทย ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดรายได้ประมาณ 4.6-5.2 หมื่นล้านบาทในปี 2552

    สิ่ง ที่ตามมาคือ หมอไทย 1 คน ใช้เวลาตรวจรักษาคนไทยชาวต่างประเทศ 1 คนเท่ากับที่ใช้กับคนไทย 5 คน และต้องใช้หมอไทย 16 เปอร์เซ็นต์ ดูแลคนไข้ชาวต่างประเทศ 1 ล้านคน อีก 84 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือสำหรับดูแลคนไทย 60 กว่าล้านคนที่เหลือ และมีหมอเพียง 5-8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่คอยดูแลคนชนบทกว่า 41 ล้านคน

    ถึงตอนนี้ คงเริ่มไม่แน่ใจแล้วว่าเมืองไทยไม่ได้ขาดแคลนแพทย์จริงหรือ?

    -1-

    ระยะหลังนี้ มีความเคลื่อนไหวของสถาบันอุดมศึกษาของไทยบางแห่งที่มีคณะแพทย์เป็นของตัวเอง พยายามผลักดันให้เกิด หลักสูตรแพทย์นานาชาติ ขึ้น จนเกิดเป็นข้อถกเถียงว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะมี

    เหตุผลหลักๆ ของผู้ที่สนับสนุนแนวคิดนี้คือ หลักสูตรแพทย์นานาชาติจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนงบประมาณ และยกระดับโรงเรียนแพทย์ของไทยขึ้นสู่ระดับสากล

    ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า

    “ในมุมมองของผม เพื่อจะให้วงการแพทย์ไทยสู่ระดับนานาชาติ แน่นอน มันมีตัวชี้วัดอยู่หลายตัวที่จะทำให้อันดับของคณะแพทย์ต่างๆ ในโลกมีอันดับที่สูงขึ้น อย่างมีคนต่างชาติรู้จักมั้ย โรงเรียนแพทย์นั้นๆ มีอาจารย์ต่างชาติ มีนักเรียนต่างชาติไหม มีสัดส่วนเท่าไหร่ต่อนักเรียนที่เป็นคนไทย พวกนี้คือตัวชี้วัด การเปิดหลักสูตรนานาชาติก็ทำให้มีโอกาสได้อันดับโลกที่สูงขึ้น ถึงแม้เราจะเก่งยังไงก็ตาม ถ้าเรายังใช้ภาษาไทยอยู่ ชาวต่างชาติมาเรียนไม่ได้

    “การ เปิดหลักสูตรนานาชาติอย่างหนึ่งก็เพื่อให้เราไปสู่ระดับนานาชาติได้อย่าง เต็มภาคภูมิ และอันที่ 2 ผมคิดว่าประเทศเพื่อนบ้านเราหลายๆ ประเทศ หลักสูตรแพทย์ของเขายังไม่เจริญนัก บางประเทศยังไม่มีหลักสูตรแพทยศาสตร์เลย ซึ่งถ้าเขามาเรียน เขาต้องใช้ภาษาอังกฤษแน่ การที่เราเปิดหลักสูตรนานาชาติก็ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศเพื่อนบ้านได้ เข้ามาเรียน ทำให้เราเป็นศูนย์กลาง มีชื่อเสียงได้”

    แต่ข้อโต้แย้งสำคัญอันละเลยไม่ได้ มีอยู่ว่า ขณะที่จำนวนหมอยังขาดแคลน ทำไมเราจึงต้องผลิตหมอเพื่อรองรับผู้ป่วยชาวต่างประเทศ เพราะแน่นอนว่าหากมีการเปิดหลักสูตรนี้ขึ้นจริง ย่อมต้องมีชาวต่างประเทศจำนวนหนึ่งเข้ามาเรียน คำถามที่ตามมาคือคนกลุ่มนี้จะยอมไปใช้ทุน เป็นหมอตามชนบทหรือ? (นี่ยังไม่ต้องพูดว่าจะคุยกับตาสีตาสารู้เรื่องหรือเปล่า?) ยังไงคนกลุ่มนี้ย่อมต้องกลับประเทศของตน

    หรือ แม้แต่คนไทยเองที่เรียนหลักสูตรนานาชาติก็คงไม่อยากไปอยู่ในดินแดนไกลปืน เที่ยง ซึ่งเป็นเหตุให้หมอในชนบทมีอัตราการย้ายกลับเข้าเมืองมากขึ้นมาโดยตลอด และเมื่อโยงกลับไปสู่นโยบาย Medical Hub และการเปิดเสรีด้านบริการสาธารณสุขของอาเซียนที่จะมีขึ้นในปีหน้า ก็ยิ่งทำให้หลายฝ่ายวิตกว่า นี่คือการผลิตแพทย์เพื่อรองรับชาวต่างประเทศในอนาคตมากกว่าที่จะรองรับคนไทย

    ประเด็นนี้ ศ.นพ.อดิศร มองว่าหากมีข้อกังวลเรื่องการใช้ทุนของนักศึกษาแพทย์หลักสูตรนานาชาติ ก็อาจจะต้องมีการกำหนดเป็นหลักเกณฑ์เอาไว้ในเบื้องต้น

    “มีคนพูดว่าเมื่อแพทย์ไทยยังไม่พอ แล้วจะผลิตแพทย์หลักสูตรนานาชาติเพื่อคนต่างชาติเหรอ คงไม่ใช่ หลักสูตรนานาชาติคนไทยก็เรียนได้ คนไทยที่จบหลักสูตรนานาชาติก็ไม่จำเป็นต้องไปเมืองนอก แต่คนกลุ่มนี้จึงมีโอกาสไปศึกษาต่อเมืองนอกได้สูงขึ้น การที่กลัวว่าผลิตออกมาแล้ว แพทย์จะไหลออกต่างประเทศ คงไม่เกิดหรอกครับ อัตรากำลังของเราแทนที่จะมุ่งผลิตแพทย์ไทยก็ไปผลิตให้ต่างประเทศ แต่ผมคิดว่าเปอร์เซ็นต์จะไม่สูงนัก และการผลิตแพทย์ไทยก็ไม่ได้ลดลง เราไม่ได้เลิกสอนภาษาไทย คณะแพทย์ไหนมีศักยภาพที่จะเปิดได้ ก็เปิด ที่ไหนไม่พร้อมก็ยังไม่ควรเปิด

    “ข้อ ดีคือถ้าโครงการ Medical Hub ยังทำต่อเนื่อง ก็จะต้องมีคนต่างชาติไหลเข้ามาต่อเนื่อง ดังนั้น หมอไทยก็ควรจะเก่งภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับคนไข้กลุ่มนี้ หรือจะไปเรียนต่อเพื่อกลับมาเป็นอาจารย์แพทย์ต่อก็จะทำได้ง่ายขึ้น และศักดิ์ศรีก็น่าจะดีกว่าหลักสูตรภาษาไทย”

    -2-

    ปัญหา การไหลออกของแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐหรือโรงเรียนแพทย์ไปสู่โรงพยาบาลเอกชน คงจะหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่มีวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากระตุกไว้ ก่อนหน้านั้น หมอในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศลาออกไปอยู่โรงพยาบาลเอกชนถึงปีละ กว่า 700 คน ยังไม่นับบรรดาอาจารย์แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ถูกดูดออกไปอีกปี ละ 40-50 คน

    เรื่องค่าตอบแทนถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการสมองไหล

    “หมอ ในโรงพยาบาลรัฐค่าตอบแทนจะต่ำกว่าภาคเอกชน 3-5 เท่า แม้ตอนหลังจะมีการปรับขึ้น แต่ว่าภาคเอกชนก็มีการขยับเหมือนกัน จนล่าสุดที่เราออกระเบียบเรื่องเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายได้ อัตราค่าตอบแทนก็ดูจะมากขึ้น ทำให้แพทย์มีกำลังใจขึ้นมาระดับหนึ่ง อย่างหมอจบใหม่เขาจะได้เงินเดือนประมาณหมื่นเดียว แล้วก็มีค่าชดเชยในรูปแบบอื่น เช่น ไม่เปิดคลินิกได้อีกหมื่นหนึ่ง ได้เงินเพิ่มเติมพิเศษอีก 5 พัน ก็ได้ประมาณ 25,000 บาท ขณะที่เป็นภาคเอกชนจะได้ไม่ต่ำกว่า 5-7 หมื่นบาท” นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท อธิบาย

    ดังนี้ จึงเดาได้ไม่ยากว่าถึงที่สุดแล้ว หมอคนไทยที่จบจากหลักสูตรนานาชาติซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า จะไหลกลับเข้าระบบราชการหรือโรงพยาบาลเอกชน

    “ยก ตัวอย่าง กรณี Medical Hub เรามีรายได้เพิ่มขึ้นจริง แต่มันจะไปดูดทรัพยากรจากชนบทเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเรามองว่าสิ่งที่ได้ไม่คุ้มเสีย เพราะประมาณเป็นตัวเงินไม่ได้กับการขาดแพทย์ในชนบท แล้วมันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ มันจะไหลเป็นโดมิโน โรงพยาบาลเอกชนใหญ่ๆ ที่รับดูแลคนต่างชาติ เขาจะรับหมอเฉพาะด้าน เขาจะไปดึงมาจากโรงเรียนแพทย์ โรงเรียนแพทย์ก็จะไปดึงต่อมาจากโรงพยาบาลใหญ่ๆ ในกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลใหญ่ๆ ก็จะไปดึงหมอจากในชนบท เพราะฉะนั้นปลายทางที่ขาดหมอคือชาวบ้าน

    “สิ่งที่ผมเป็นห่วงคือถ้าโรงเรียนแพทย์ของรัฐ ใช้เงินภาษีของชาวบ้าน แต่กลับมาหาเงินสร้างผลประโยชน์เข้ามหาวิทยาลัย โดยหวังเงินจากหลักสูตรนานาชาติ แต่ผลลัพธ์ที่คุณได้กลับคืนมามันไม่คุ้มกับที่รัฐได้ลงทุนไป จะกลายเป็นว่าคุณแสวงหากำไรจากงานนี้ ผมว่ามันไม่ยุติธรรมกับภาคชนบท เพราะว่ากำลังผลิตแพทย์ที่คุณจะผลิตให้กับภาคชนบทก็ยังไม่เพียงพออยู่แล้ว แต่คุณกลับไปผลิตให้กับคนอื่น”

    ขณะที่ นายแพทย์สุธีร์ รัตนะมงคลกุล จากภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แสดงทัศนะต่อเรื่องนี้ว่า

    “มัน จะกระเทือนต่อจำนวนแพทย์ที่จะไปทำงานใช้ทุนในชนบท คือเราบอกว่าแพทย์ไม่เพียงพอ แต่เรากลับเอาศักยภาพที่เหลือไปผลิตแพทย์เพื่อตอบสนองต่อคนไข้ต่างประเทศ หรือบางครั้งอาจมองว่าเพื่อตอบสนองต่อคนที่มีศักยภาพในการเรียนภาษาอังกฤษ ได้ ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นแค่คนกลุ่มหนึ่งที่มีโอกาส แต่ไม่ได้กระจายไปสู่คนทุกคนที่มีโอกาสเข้าสู่หลักสูตรนี้ได้ ผมคิดว่าการที่มหาวิทยาลัยจะเปิดหลักสูตรอะไรควรเริ่มจากความเป็นเลิศทาง วิชาการในด้านนั้นๆ แล้วจึงขยายออกไปสู่การสร้างบัณฑิต แต่หลักสูตรนานาชาติดูเหมือนเราเริ่มด้วยความต้องการรายได้และชื่อเสียง ซึ่งมันไม่น่าจะเป็นจุดตั้งต้นของการศึกษา”

    -3-

    วิวาทะเรื่องหลักสูตรแพทย์นานาชาติที่ว่าถึงเวลาหรือยังที่โรงเรียน แพทย์ในเมืองไทยควรจะมี คงต้องถกเถียงกันต่อไปถึงผลดี ผลเสียที่จะได้รับ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงทางเศรษฐศาสตร์ประการหนึ่งมีอยู่ว่า เมื่อใดที่เราทุ่มทรัพยากรไปใช้ในจุดใด อีกจุดหนึ่งก็ย่อมต้องเสียโอกาสจากการใช้ทรัพยากรนั้น

    นาย แพทย์เกรียงศักดิ์ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า ถ้าโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งสามารถผลิตแพทย์ได้ 100 คน และมีศักยภาพที่จะผลิตแพทย์หลักสูตรนานาชาติได้อีก 50 คน หมายความว่าจริงๆ แล้วสามารถผลิตแพทย์ได้ถึง 150 คน ในเมื่อประเทศไทยยังขาดแคลนแพทย์อยู่ สถาบันอุดมศึกษาที่คิดจะเปิดหลักสูตรแพทย์นานาชาติก็จำต้องตอบคำถามจากสังคม ให้ได้ว่า เหตุใดจึงไม่ใช้ศักยภาพที่เหลือที่สามารถผลิตแพทย์ได้อีก 50 คนเพื่อรองรับผู้ป่วยชาวไทยในชนบท

    กับ การเปิดเสรีอาเซียนในปีหน้าที่ภาคบริการสาธารณสุขเป็นภาคหนึ่งที่มีการเปิด เสรี เราอดห่วงไม่ได้ว่าภาครัฐได้คิดหามาตรการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นไว้มาก น้อยเพียงใด

    ความกังวลเหล่านี้ คงมิใช่อาการชาตินิยมหน้ามืด แต่มันคือสิทธิในการเข้าถึงการรักษาอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมของคนทุกระดับในสังคมไทย

    ...ไม่ใช่เฉพาะคนมีเงิน

    **********

    เรื่อง : กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
    ภาพ : ทีมภาพ Click


    Credit Manager


    -http://www.unigang.com/Article/395-

    หมอไทยส่งออกไกลทั่วโลก (แต่เมืองไทยไม่มีหมอ?)

    .
     
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วิวัฒนาการทางการแพทย์แบบโบราณของเรามีมาตั้งแต่พุทธกาลเท่าที่มาการจดบันทึกไว้ จนสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๓ ที่มีการรวบรวมตำราต่างๆ หลังเสียกรุงหลายครั้ง และช่วงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ตำราถูกเผา ถูกทำลาย ถูกขนย้ายไปยังฝั่งพม่า ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ไทยเราสามารถฟื้นได้อีก ฝรั่งมังค่า เข้ามาในสมัยรัตนโกสินทร์ นำเอาการแพทย์ที่เป็นสากลเข้ามา จนสมัยรัชกาลที่ ๖ ก็มีการเผาทำลายตำรายา กันอีกรอบ

    ปัจจุบัน เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันไม่ใช่คำตอบ เพราะมีหลายสิ่งที่รักษาด้วยยาปฏิชีวนะไม่ได้ การใช้ตัวยาสารเคมีเข้ามาร่วมในกระบวนการทำงานของร่างกาย อย่าลืมว่า ตอนทดลองปฏิกิริยา ทำในหลอดทดลอง แต่ร่างกายเราไม่ใช่หลอดทดลอง มีเอนไซน์ มีน้ำย่อย มีระบบภูมิคุ้มกัน ขณะทดลองไม่มีการดูดซึม แต่ความจริงหากนำมาทดลองกับกายมนุษย์ มันมีการดูดซึม การย่อย เข้ามาเกี่ยวข้อง

    ผมพาผบ.ทบ.ผมไปหาหมอสมหมายทุกเดือน ตัวยาที่ท่านใช้ก็เป็นระบบผสมผสานทั้งปัจจุบัน และยาสมุนไพร ที่ผมเห็นกับตาคือ ชาวต่างชาติจำนวนมากมารักษาโรคมะเร็งกับท่าน และที่ updated สุดคือ หากท่านใดที่เป็นมะเร็ง ต่อไปนี้ท่านจะได้ยินหมอศัลยกรรม แนะนำการรักษาด้วยตัวยาหนึ่ง ชื่อ "Herceptine" เป็นตัวยาที่มีราคาแพงมาก แต่ผลการทดลองกับคนไข้หลายราย มีสถิติที่ท่านเก็บไว้หลายรายแสดงว่า รักษาไม่ได้

    ท่านยังส่งรายงานการวิจัยของการรักษาด้วยตัวยาสมุนไพรไทยมาให้ผมชุดหนึ่ง ผลคือ หยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

    ขณะนี้ทางแผนโบราณของเราก็ได้พัฒนาขึ้นมาอีกขั้นตรงที่ว่า มีการเทียบเคียงโรคที่มีชื่อปัจจุบัน กับโรคทางแผนโบราณ ตัวยาแผนโบราณก็มีใช้กันอยู่ แต่ตั้งนำมาวิจัยทางเคมีให้ได้ชื่อสารที่ออกฤทธิ์ แต่ตรงนี้ก็เป็นเรื่องผลประโยชน์มหาศาล ต่างชาติทราบว่า ของเรารักษาได้ ก็มีความพยายามจะนำไปปลูก นำไปสกัด และอ้างจดสิทธิบัตรว่าเป็นของเขา เวลาเราจะใช้กลับต้องไปขอเขา..
     
  10. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    มันเป็นยาที่ทำลายทั้งเซมะเร็งและเซลเม็ดเลือดด้วยครับ สำหรับผู้ที่แข็งแรงมากๆรับยายังแย่วฃส่วนอ่อนแออยู่แล้วรับไป2โดสก็ ต้องเลิกแล้วครับเพราะร่างกายมันไม่ไหว จะไปต้านทานเชื้อโรคอื่นที่เข้ามาไม่ได้ครับ
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    <table class="tborder" width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1"><tbody><tr><td class="thead">ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 14 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 11 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> sithiphong, nongnooo+, :::เพชร:::+</td></tr></tbody></table>
    ไปพักผ่อนก่อนครับ พรุ่งนี้ต้องไปทำงานแ้ล้วครับ









    .
     
  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    like++ เพราะฉนั้นคิดดูดีๆละกันครับ ไม่ใช่มีตังค์แล้วจะรักษาหาย เสียตังค์แล้วไม่หายอย่างที่คิด เป็นจริงแบบที่คุณน้องนู๋บอกเอาไว้ ตัวนี้ มันทำลายเรียบ แรงกว่าเก่าทั้งราคา และฤทธิ์การทำลาย..

    สมัยหนึ่งราว 5 ปีก่อน เพื่อนผบ.ทบ.ผมเขาเป็นมะเร็งเต้านม เขาก็รักษาตามที่หมอแนะนำครับ มีทั้งฉายแสง ทั้งครีโม ทั้งทานยาตัวหนึ่งชื่อ ทามม็อกซิเฟน อีก 5 ปีต่อมา เป็นมะเร็งรังไข่ สรุปคือตัดหมดครับ แล้วตามด้วยรายงานวิจัยเกี่ยวกับตัวนี้ออกมา
     
  13. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    สวัสดีครับท่านพี่ทั้ง3ท่าน
     
  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ดึกๆดื่นๆ แว๊บเข้ามาเนื่องด้วยเรื่อง post พระศรีอาริย์ อดไม่ได้ เลยไปถึงเรื่องหมอๆ น้องปฐมสบายดีนะครับ ...

    อีก ๘ เดือนก็ต้องสอบใหญ่อีกแล้ว ช่วงนี้เลยต้องรีบดูพระคัมภีร์ ชื่อเรียกยากๆทั้งนั้น จำไม่ค่อยได้ ต้องสรุปออกมาทีละคัมภีร์แล้วหาหนทางท่องจำ จากนั้นค่อยแบ่งกลุ่มอาการ อีกทั้งตัวยา...หนักหนาครับ..
     
  15. parinyar

    parinyar สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +8
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2011
  16. parinyar

    parinyar สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +8
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2011
  17. parinyar

    parinyar สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +8
    อยากได้บูชาสักองค์

    หาบูชาได้ที่ไหนครับ ?







    <a href="%3Ca%20href=" http:="" www.job4season.com="" %e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%88%e0%b8%99-%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99-%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99.html%22%3e%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%a1%3c="" a"="" target="_blank"> <a href="http://%3Ca%20href=%22http://www.job4season.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87.html%5d%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9%7C%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%5b/url%22%3Ehttp://www.job4season.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87.html" target="_blank"> หางานออนไลน์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2011
  18. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    แหะๆ กว่าจะได้เข้ามาก็ดึก เพิ่งออกจากห้องผ่าตัดครับ
    ได้ฟังพี่หนุ่มแล้วก็อึดอัดใจแทน แต่ผมนึกภาพออกครับ เพราะสภาพมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ
    วันๆมีคนไข้ new case walking in ประมาณ 1 หมื่นคนครับ ไม่รู้มาจากไหน
    บอกให้กลับไปรักษาใกล้บ้านก็ไม่ไป ทั้งที่บางโรคไม่จำเป็นต้องมา

    ขนาดวันที่ผมป่วย นอนหายใจเหนื่อย ผมยังนอนเท้งเต้งรออยู่เกือบ 3 ชม. กว่าจะได้นอนรพ.
    ขึ้นไปแล้ว ยา paracet กับยาแก้อาเจียน ต้องรออีก 3 ชม. กว่ายาจะมา ผมอาเจียนไป 2 รอบ
    ขนาดผมเป็นหมอ และ ตึกที่ไปนอนเขาก็รู้จักผมอ่ะนะครับ - -"

    แต่นี่คือ case ที่ไม่หนักครับ ถ้าระดับที่หนักนั้นทุกอย่างลัดขั้นตอนหมด ก็จะไว
    แต่ถ้าไม่ใกล้ตาย ก็ทำใจครับ ผมเองตอนป่วยก็ได้แต่ปลง
    วันจะกลับบ้าน ยังต้องเดินร่วมๆ 1 กิโลเพื่อเดินเอกสารนู่นนี่เอง เกือบเป็นลม
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    บูชาอะไรครับ

    แต่ถ้าเป็นพระวังหน้า ให้ร่วมทำบุญที่เกี่ยวกับงานพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง หมายเลขบัญชีตามลายเซ็นผมครับ

    ผมให้ร่วมทำบุญองค์ละ 1,000 บาท

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    นี่ไงครับ ระบบข้าราชการของประเทศไทย

    เวลาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาพูด ดูดี

    แต่เวลาปฎิบัติจริง คนละเรื่องเดียวกันครับ

    ส่วนเรื่องการประเมินหน่วยราชการ ก็ไม่ได้ประเมินตามความเป็นจริงเช่นกัน

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...