มีท่านใด เข้าใจว่าตนเองเป็นพระอริยะบ้างครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย sangtian9, 18 สิงหาคม 2011.

  1. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมปฎิบัติทุกวันครับ และ เกือบทั้งวันครับ

    ผมเรียกสิ่งที่ผมกำลังปฎิบัติอยู่ว่า "การขับเคลื่อนจิต" ครับ

    จิต ที่มีอารมณ์เดียว จะอยู่ในสภาวะที่นำไปตั้งตรงไหนก็จะอยู่อย่างนั้น นิ่ง สงบ ไม่มีอาการสั่นไหวต่อสิ่งที่เข้ามากระทบครับ

    จึงต้องมีการขับเคลื่อนจิต เพื่อให้เกิดการพิจารณาจิต

    ผมเคยได้ยิน เกี่ยวกับการออกกรรมครับ ไม่รู้ว่าจะเหมือนที่คุณปฎิบัติหรือเปล่าครับ

    แต่จะมีการแสดงออกซึ่ง สิ่งที่คุณกล่าวครับ บางคนมีร้องไห้ บางคนมีแสดงกิริยาในรูปแบบต่างๆครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  2. nipp

    nipp สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +20
    อ่านแล้วผมเข้าใจนะ แต่ผมยังไม่ถึง จิตยังไม่เป็นอารมณ์เดียว หรือจิตยังไม่ตั้งมั่น ตั้งชั่วขณะกว่าจะตั้งได้ร่วม 2 ชั่วโมง นั่งอานะ ตั้งแล้วก็ถอน ตั้งเวปนึง แล้วถอนพอถอนก็สั่นเขย่าซัก 10วินาทีแล้วลงไปตั้งอีก แค่แตะแล้วถอน แล้วสั่น บางครั้งพอถอนก็แสดงเหมือนเสือเป็นโทษะ แล้วก็นิ่ง แล้วตั้ง จับอารมณ์ตอนตั้งได้ ว่าตัวจะเบา จิตจะเบา อ่อนโยน แล้วก็ถอน ถ้าไปเจอราคะก็แสดงลีลายั่วสวาส แต่ต้องนั่งคนเดียวเพราะมันอุจาด แต่ถ้าอยู่ที่วัด ก็แสดงเลย ไม่อาย ถ้าอยู่บ้านต้องนั่งคนเดียว

    จิตที่ตั้งมั่นเนี่ยผมเดาเอานะ เพราะของผมแค่แตะๆ ยังไม่เป็นวสีแบบคุณ ลมหายใจจะยาว เข้ายาวออกยาว ลมจะเข้าออกเอง และกายจะเบา ลมจะออกปลายเท้า กายเบาตัวเบา จิตวางเฉยจิตผู้รู้เป็นผู้ดูเฉย แต่ถ้าถอนมาแสดงกายกรรมเนี่ยต้องคอยประคองลมหายใจ

    **เข้าๆออกๆ
    .
    เหมือนกันครับ อันเดียวกัน มันนคือกิเลสครับ ที่เขาแสดงกันน่ะ ถ้ารำก็ราคะ ถ้าร้องเสียใจ ก็โทษะ ถูกกดดัน เก็บกด ในชีวิตประจำวัน ตัวเกรงมือเกร็ง ตีตัวเอง พวกเนี้ยโทษะ เช่นพวกสักยันต์ เนี่ยของขึ้นพวกเนี้ยโทษะแรง


     
  3. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมเคยไปออกกรรมครั้งหนึ่ง แต่ไม่เกิดผล มีแม่ชีมาร่วมนั่งอยู่ด้วย

    บอกว่าผม จิต แข็งเกินไป แม่ชีทนไม่ไหว บอกว่าปวดหัวมาก แล้วก็ลุกออกไปครับ

    และผมก็ไม่เคยไปออกกรรมอีกเลยครับ เลยต้องมาปฎิบัติเองที่บ้านครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  4. moshininja

    moshininja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +103
    ถ้าจะเปรียบแล้วก็เหมือนนักวิ่ง เมื่อจะวิ่งก็ขอให้รู้เส้นทาง ขณะวิ่งไปก็ไม่ได้รู้หรอกว่าสภาพสุดปลายทางเป็นเช่นไร แต่ก็รู้แค่ว่าถ้าหยุดวิ่งก็ไม่มีวันเห็น สิ่งสำคัญก็คือให้รู้ว่าปัจจุบันทำอะไรให้รู้ในปัจจุบันจริงๆ นะ ไม่ใช่รู้ว่า อ้อนั่งอยู่ นั่นยังไม่ได้รู้อะไรหนักหนาหรอกครับ ฝึกระลึกไว้ว่านี่ยังไม่หลุดนะ นี่ยังติดนะ ใช้สติเป็นตัวกำกับ จะได้ไม่หลงออกเส้นทาง(มรรค) ศีล สมาธิ ปัญญา ให้มั่นไม่ใช่แค่หลับตาค่อยทำ เมื่อถึงจุดแล้ว ใครจะบอกว่าไม่ถึงมันก็เป็นไปไม่ได้ ในเมื่อเราถึงแล้ว ถ้าเราไม่เคยรู้สึกถึงอะไรสักอย่างหนึ่ง แล้วเมื่อรู้สึกถึงมันก็จะเป็นไปของมันเองไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่ต้องอธิบาย
     
  5. Red people

    Red people เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +153
    ทุก ๆ ท่านขอให้สำเร็จการปฏิบัติธรรม สมถะวิปัสนากรรมฐานโดยเร็ววันเทอญฯ

    .
     
  6. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ขอถามความเห็นหน่อยครับคิดว่าคนที่ชาติที่แล้วได้โสดาบันแต่ชาตินี้ไม่รู้เรื่องจะมีอยู่จริงไหม หรือคิดว่ามาปฏิบัติได้ชาตินี้ก็เหนือกว่าคนที่ยังไม่รู้เรื่อง ผมว่าพระโสดาบันมีเต็มไปหมดนะลองเข้าไปดูในนี้แล้วดูจากการตอบคำถามว่ามีกี่คน
    พระโสดาบัน แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพาน
     
  7. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    คนอื่น เป็นพระอริยะ หรือ อริยะบุคคลหรือไม่
    ก็ไม่เห็นว่า จะช่วยให้คนที่รู้ เข้าถึงมรรค ถึงผล ถึงนิพพานเลย
    เพราะล้วนเป็นการส่งจิตออกนอก ฟุ้งซ่าน เป็นโมหะ เป็นสมุทัย
    เป็นเหตุแห่งทุกข์

    สู้เอาเวลา วิตก ฟุ้งซ่าน ไป ทำ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ กันดีกว่าไหม
    ตนเองเท่านั้นแหละที่จะพาไปถึงมรรคผลนิพพาน
    แม้ว่า พระพุทธเจ้าจะมาโปรด หากยังส่งจิตออกนอก
    ไม่น้อมนำ พระธรรมมาปฎิบัติ ต่อให้อีก แสนกัลป์ ก็ไม่นิพพาน
     
  8. moshininja

    moshininja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +103
    จริงๆ แล้วมันไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรที่เราจะจดจ่อนะผมว่า แต่การได้สำเร็จขึ้นสู่โสดาบันตำราก็ว่าไม่เกินเจ็ดชาติ คือการพัฒนาของจิตได้ตกกระแสแล้วมันก็จะไหลไปสู่การละวาง หลุดพ้นแบบอัตโนมัติจนกว่าจะถึงอรหันต์ การที่ไม่รู้ตัวเองเลยอาจจะเป็นไปได้ในแง่ของความที่ผู้ไม่ยึดติดโดยมากแล้วไม่ได้ใส่ใจในสิ่งที่จะตัวเองเป็น แต่จะว่าผู้ที่เป็นโสดาบันแล้วไม่รู้เลยจนย้อนกลับสู่ทางแห่งความเสื่อมนี่ไม่มีแน่ ส่วนผู้ปฏิบัติแล้วมาคิดว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น เขาไม่ใช่ผู้ปฏิบัติหรอกครับ

    หากจะมัวมาถามกันว่า ผมเป็นโสดาบันหรือยัง ผมจะได้เป็นโสดาบันไหม ถ้าผมจะตอบกันตรงๆ จากใจคือ คุณไม่มีทางได้เป็นแน่ เพราะคนที่เป็นโสดาบันหรือดำเนินสู่ทางหลุดพ้นล้วนแล้วแต่ไม่มัวมานั่งถามอะไรแบบนี้......ขอให้สำเร็จในสิ่งที่หวังทุกคนครับและก็ขออนุโมทนากับทุกโพสครับ
     
  9. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    การปฎิบัตินั้น แม้แต่พระอรหันต์ท่านยังปฎิบัติอยู่ตลอด ถึงแม้ท่านจะไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว

    ท่านก็ยังปฎิบัติ หากผู้ที่เข้ามาพบพระธรรมแล้วไม่ปฎิบัติ เป็นสิ่งที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

    ยิ่งสูงยิ่งต้องปฎิบัติให้มากกว่าทั่วไป ผู้ใดได้ธรรมแล้ว ละเลิก ยิ่งน่าเสียดายกว่า

    ได้สิ่งดีมาอยู่กับตัวแล้ว แต่ปล่อยให้สิ่งนั้นผ่านไป ถึงแม้เสียดายก็ไม่อาจหวนกลับมาได้ง่ายๆ

    ฉนั้น อย่าปล่อยให้โอกาส และ เวลาที่มีค่าหลุดลอยไป

    ขอให้เจริญในธรรมครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  10. dokrakthai

    dokrakthai สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +11
    สันทิฏฐิโก = ผู้ประพฤติปฏิบัติ พึงรู้เห็นได้เอง
    ปัจจัตตัง = รู้ได้เฉพาะตน

    :)
     
  11. totccccc

    totccccc สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2011
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +24
    ครูบาอาจารย์ท่านรู้อยู่แล้วน่ะครับ แต่ที่ท่านต้องไปถามก็เพราะตัวท่านเองก็มีครูบาอาจารย์อีกทีเหมือนกัน(เป็นการสอบอารมณ์น่ะครับ)
     
  12. อินทร์ธนู

    อินทร์ธนู สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +2
    ปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย
    หากไปศึกษาในพระสูตรต่างๆในพระสุตันตปิฏกไล่เรียงตั้งแต่ธรรมจักรกัปปวัฏตนสูตร อนัตลักขณะสูตร อาทิตยสูตร เป็นต้น พระพุทธองค์ได้ตรัสลักษณะธรรมที่เหมือนกันไว้คือ "ขันธ์ 5 ไม่เที่ยงโดยสภาพมันเอง ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ และขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเอง" และผู้ที่มาฟังธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้แบบนี้แล้วต่างก็บรรลุธรรมในระดับชั้นแตกต่างกันไปตามความเข้าใจในธรรมของตน
    การพิจารณาธรรมว่าขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เป็นการเรียนรู้เพื่อขจัดความไม่เข้าใจลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวง เมื่อได้เรียนรู้ว่าอะไรคือทุกข์และจะดับทุกข์นั่นได้อย่างไร เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง5 เป็นทุกข์ เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง5 ไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้วไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นไม่ควรเข้าเนื่องเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง 5 ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วโดยสภาพมันเอง ก็ถือว่าได้เข้าใจในกระบวนการแก้ไขปัญหาในกองทุกข์ได้ทั้งหมด
    เมื่อพิจารณาจนเกิดความเข้าใจชัดเจนแล้ว ก็จงปล่อยให้ขันธ์ทั้ง5 ดับไปทุกกรณี การดับของขันธ์ทั้ง 5 เป็นการดับโดยตัวมันเองสภาพมันเองอยู่แล้วโดยมีพื้นฐานแห่งความรู้ความเข้าใจในธรรมในการแก้ไขปัญหา เป็นวิธีการแบบที่ไม่มี "เรา" เข้าไปเกี่ยวข้องเข้าไปจัดการ มันเป็นวิธีการโดยตัวมันเองซึ่งเรียกว่า "วิธีแบบธรรมชาติ" เป็นธรรมชาติที่มันดับมันไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว และเป็นธรรมชาติที่มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยตัวมันเองอยู่แล้วเช่นกัน
    การปฏิบัติธรรมโดยการปล่อยให้มันเป็นไปตามกระบวนการ "ธรรมชาติแห่งขันธ์" ดังกล่าวนี้เป็นการปฏิบัติธรรมตามความหมายที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ ในพระสูตรต่างๆ และข้อยืนยันในสัจจธรรมอันเป็นธรรมชาติแห่งขันธ์ 5 ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน โดยสภาพมันเองโดยตัวมันเองนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในนิพพานสูตรว่า "นิพพานคือธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว" ซึ่งหมายถึงพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมไว้ว่า เส้นทางแห่งพระนิพพานเป็นเส้นทางในกระบวนการ "ธรรมชาติ" เท่านั้น เป็นธรรมชาติที่ไม่เที่ยงอยู่แล้ว โดยตัวมันเองนั้นเท่ากับว่ามันเป็นธรรมชาติที่มันไม่ปรุงแต่งอยู่แล้วโดยสภาพมันเองอีกด้วยเช่นกัน เป็นความหมายโดยนัยยะ
    -การที่คิดว่าจะต้องเข้าไปทำอะไรสักอย่างหนึ่งกับอีกอย่างหนึ่งเพื่อให้พระนิพพานเกิดเช่น การคิดว่าเราจักต้องทำสติ สมาธิ ปัญญา เพื่อให้ไปสู่เส้นทางพระนิพพาน ความคิดเช่นนี้เป็นลักษณะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 โดยลืมนึกว่าความคิดแบบนี้ก็ล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ล้วนไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วเช่นกัน การเข้าใจและการลงมือปฏิบัติด้วยความคิดแบบนี้อยู่ตลอดเวลาเป็นการเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะมันไม่ใช่วิธีในการแก้ไขปัญหาในกองทุกข์แบบ "ธรรมชาติ" ตามที่พระพุทธองค์ตรัส วิธีแบบธรรมชาติมันเป็นวิธีของมันอยู่แล้วมันต้องอาศัยความมีเราเข้าไปจัดการเข้าไปปฏิบัติ
    -การที่คิดว่าจะต้องเข้าไปกำหนดว่าสิ่งนี้ไม่เที่ยง เข้าไปกำหนดว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เข้าไปกำหนดว่า สิ่งนี้คือเวทนาทั้งหลาย การเข้าไปสำรวมระวังแบบกำหนดสติไว้ในอริยบทต่างๆคือ ยืน นั่ง เดิน นอน เข้าไปกำหนดว่าอะไรคืออะไรในกระบวนการแห่งขันธ์ การกำหนดเช่นนี้เป็นลักษณะจิตปรุงแต่งซ้อนเข้าไปทำให้มีเรามีอัตตาขึ้นมาเป็นการขัดขวางธรรมชาติโดยสิ้นเชิง การรู้ชัดแบบมีสัมมาสตินี้เป็นการรู้แบบ "ธรรมชาติ"ในการรู้มีสติ เป็นการรู้มีสติบนพื้นฐานที่ขันธ์ 5 ไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้วไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว เป็นการรู้มีสติแบบ "ไม่มีเรา ไม่มีอัตตา" แต่การกำหนดเป้นการปรุงแต่งยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 จนทำให้เกิดตัณหาอุปทานมีเราขึ้นมาซึ่งไม่ใช่ "ธรรมชาติ" แห่งขันธ์ซึ่งมันต้องดับไปเองอยู่แล้วโดยสภาพ
    -การเข้าไปจับกุมจับฉวย สภาวะธรรมใดสภาวะธรรมหนึ่งตลอดเวลาเพื่อทำให้พระนิพพานเกิด การจับกุมจับฉวยก็เป็นการกระทำที่ขัดขวางต่อกระบวนการธรรมชาติโดยสิ้นเชิงเช่นกัน
    การปฏิบัติธรรมโดยที่มี "เรา" เข้าไปคิดจัดการจัดแจงเข้าไปกำหนดเข้าไปจับกุมจับฉวย เพื่อที่จะมี "เรา" หรือ "อัตตา" เข้าไปปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นความเข้าใจผิดในธรรมเป็นความลังเลสงสัยไม่เข้าใจในเนื้อหาแห่งธรรมอยู่ เปรียบเสมือน เอา "เรา" หรือ "อัตตา" ไปแสวงหา "นิพพานอันเป็นธรรมชาติแห่งธรรมล้วนๆ" ซึ่งเป็น "อนัตตา" เอา "อัตตา" ไปทำเพื่อให้เกิด "อนัตตา" ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ นิพพานธรรมก็จักไม่เกิดขึ้นเพราะจิตยังติดปรุงแต่งในตัววิธีปฏิบัติธรรมนั่นเอง
    แต่การที่ปฏิบัติธรรมโดยอาศัยความเข้าใจในธรรมแล้วปล่อยให้ขันธ์ 5 ดำเนินไปสู่ "วิธีธรรมชาติ" ที่มันดับโดยสภาพมันเองที่มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว เป็นการ "ปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย" เป็นการปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่มีอัตตาไม่มีเราเข้าไปเกี่ยวข้อง เป็นการปฏิบัติธรรมตรงต่อสัจธรรมตรงต่อที่พระพุทธองค์ประสงค์จะให้เรียนรู้และเข้าใจแบบนี้ เป็นการปฏิบัติธรรมแบบ "ธรรมชาติแห่งความไม่มีเรา ไม่มีอัตตาเข้าไปปฏิบัติ" "เป็นการปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องใช้จิตปรุงแต่งให้มีเราเข้าไปทำอะไรอีกเลย"




    นิพพาน

    วิชชาแปลว่าความรู้แจ้งทั้งปวง วิมุตติแปลว่าความหลุดพ้น
    วิชาและวิมุตติจึงเป็นความหมายของคำว่า “นิพพาน” นั่นเอง
    แต่วิชชาและวิมุตติจะบริบูรณ์เกิดขึ้นได้เพราะเกิดจากโพชฌงค์ธรรมบริบูรณ์
    และโพชฌงค์ธรรมจะบริบูรณ์ได้เพราะเกิดจากการเจริญสติปัฏฐาน4 นั่นเอง (เป็นข้อความที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในกุณฑลิยสูตร)
    สรุปได้ว่า เมื่อบุคคลได้เจริญและกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 เมื่อสติปัฏฐานบริบูรณ์ ย่อมยังให้โพชฌงค์บริบูรณ์และวิชชาวิมุติย่อมบริบูรณ์ตามไปด้วย ซึ่งเท่ากับว่าเมื่อสติปัฏฐานบริบูรณ์ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ ย่อมทำพระนิพพานให้แจ้งได้
    หลักจึงอยู่ที่ว่าต้องเข้าไปเจริญกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 เพื่อให้สติปัฏฐานบริบูรณ์เท่านั้น โดยลักษณะธรรมธาตุแห่งธรรมมีอยู่เพียง 2 ลักษณะเท่านั้นคือ
    1.สังขตธาตุ คือธรรมธาตุอันมีลักษณะปรุงแต่ง
    2.อสังขตธาตุ คือธรรมธาตุอันมีลักษณะไม่ปรุงแต่ง
    สังขตธาตุนั้น คือธรรมอันมีลักษณะปรุงแต่ง ซึ่งเกิดจากอวิชชาความไม่รู้ โดยไม่รู้ว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน(อนัตตา)อยู่แล้วโดยธรรมชาติของมัน เมื่อไม่รู้ก็เลยเข้าไปยึดมั่นถือมั่นก่อให้เกิดเป็นตัณหาอุปทานจนกลายเป็นตัวตนมีเรา มีเขาขึ้นมา(อัตตา) ซึ่งสังขตธาตุนี้เป็นธรรมซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงเนื้อหาแห่งสังขตธาตุไม่ตรงต่อสัจจธรรม ไม่ตรงต่อ “ธรรมชาติ” ตามที่มันควรจะเป็น
    การเข้าไปเจริญหรือกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 เป็นการปรับกระบวนการให้เป็นไปตามความเป็นจริงซึ่งตรงต่อสัจธรรมคือหลัก “ธรรมชาติ”นั่นเอง เป็นการรู้เท่าทันว่า เมื่อเกิดการปรุงแต่ง(สังขตธาตุ)ตามลักษณะของหมวดธรรมทั้ง 4 ในสติปัฏฐานแล้ว การปรุงแต่งนั้นก็ย่อมไม่เที่ยงดับไปเองโดยสภาพมันเองโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว
    อสังขตธาตุนั้น คือธรรมอันมีลักษณะไม่ปรุงแต่ง ซึ่งเกิดจากความรู้เห็นตามความเป็นจริงที่ว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน(อนัตตา) อยู่ แล้วโดยธรรมชาติของมัน อสังขตธาตุนี้เป็นธรรมซึ่งตรงต่อความเป็นจริง เนื้อหาแห่งอสังขตธาตุนี้เป็นเนื้อหาซึ่งตรงต่อสัจธรรมตรงต่อธรรมชาติโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว
    การเข้าไปเจริญหรือกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน4 เป็นการปรับกระบวนการให้เป็นไปตามความเป็นจริงซึ่งตรงต่อสัจจะธรม คือ หลักธรรมชาติ หรือ “สังขตธาตุ”นั่นเอง เป็นการรู้เท่าทันว่าเมื่อเกิดการปรุงแต่ง(สังขตธาตุ)ตามลักษณะธรรมของหมวดธรรมทั้ง4 ในสติปัฏฐานแล้ว การปรุงแต่งนั้นก็ย่อมไม่เที่ยงดับไปเองโดยสภาพมันเองโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว
    เพราะฉะนั้นการเข้าไปเจริญหรือกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน4 จึงเป็นการปรับกระบวนการไปสู่ความไม่ปรุงแต่ง(อสังขตธาตุ)ล้วนๆ ไปสู่ “ธรรมชาติล้วน” เมื่อกลายเป็นสภาพแห่งธรรมอันไม่ปรุงแต่งล้วนๆแล้ว เมื่อกลายเป็น “ธรรมชาติล้วนๆ”แล้ว สติปัฎฐานย่อมบริบูรณ์
    สติปัฎฐานจะบริบูรณ์ได้ย่อมเกิดจาก “การตัดได้โดยเด็ดขาด” จากอาการปรุงแต่งทั้งปวง(สมุทเฉจ) จนกลายเป็นสภาพแห่งธรรมอันไม่ปรุงแต่งล้วนๆ จนกลายเป็นสภาพ “ธรรมชาติล้วนๆอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว” สมุทเฉจหรือการตัดได้โดยเด็ดขาดจากการปรุงแต่งทั้งปวงนั้นเป็นอุบายอันแยบยลอันเกิดจากการพิจารณาว่า โดยเนื้อหาทั่วๆไปตามกฎธรรมชาตินั่น
    -จริงๆแล้วโดยธรรมชาติทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว
    -จริงๆแล้วโดยธรรมชาติทุกสรรพสิ่งเมื่อไม่เที่ยงอยู่แล้วก็ย่อมกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้ว
    -จริงๆแล้วโดยธรรมชาตินั้นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้วย่อมเป็น “ธรรมชาติล้วนๆแห่งความไม่ปรุงแต่งอยู่แล้ว”ซึ่งตรงนี้เรียกว่า ความว่างหรือสูญญตา(ความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน)
    แต่ด้วยความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ในกฎธรรมชาติ ก็ทำให้อวิชชาความไม่รู้พาปรุงแต่งเป็นจิตปรุงแต่งลักษณะต่างๆเช่น
    -จิตปรุงแต่งว่า “มีเรา และเรายังไม่หลุดพ้น
    -จิตปรุงแต่งว่า “มีเรา และเรารอให้ อวิชชา ตัณหา อุปทานคลี่คลายเบาบางลงไปจนกว่าจะนิพพาน”บ้าง
    ถ้าหากไปพิจารณาในหมวดจิต ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้ในหมวดจิตในจิตว่า
    -เมื่อจิตปรุงแต่งว่า จิตยังไม่หลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น
    -เมื่อจิตปรุงแต่งว่า จิตหลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น
    โดยความเป็นจริงแล้ว โดยธรรมชาติทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว ย่อมดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้ว คือธรรมชาติล้วนๆแห่งความไม่ปรุงแต่งอยู่แล้ว ซึ่งมันย่อมเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้วโดยสภาพธรรมชาติของมันนั่นเอง
    แต่เพราะความไม่เข้าใจหลักธรรมชาติตรงนี้ อวิชชาความไม่รู้ของเราก็จะพาเราปรุงแต่งว่า “มีเรา และเรายังไม่หลุดพ้น” อยู่ร่ำไปแต่พุทธองค์ก็ทรงชี้ให้เห็นว่า “เมื่อจิตปรุงแต่งว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น”
    เป็นการรู้ชัดซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งสติว่า จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตยังไม่หลุดพ้นนี้ ย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยธรรมชาติมันเอง ย่อมกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้วโดยธรรมชาติ และย่อมไปสู่ “ธรรมชาติล้วนๆแห่งความไม่ปรุงแต่ง” ซึ่งเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้ว
    สรุปโดยแท้จริงแล้วความว่างอันเป็นสูญญตา(ความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน) เป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้วโดยธรรมชาติมันเอง เป็นธรรมชาติล้วนๆอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว
    การที่จิตปรุงแต่งเป็นจิตลักษณะต่างๆ เช่นการที่จิตปรุงแต่งว่ามีเราและเรายังไม่หลุดพ้น “การที่จิตปรุงแต่งว่า มีเราและเรารอให้อวิชชา ตัณหา อุปทาน คลี่คลายเบาบางลงไปจนกว่าจะนิพพานบ้างนั้น มันก็ล้วนเป็นการปรุงแต่งเพื่อปิดบัง “พระนิพพานอันเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้ว”ทั้งสิ้น
    เมื่อจิตปรุงแต่งทุกชนิดไม่เที่ยงดับไปเองอยู่แล้วตามธรรมชาติ มันก็กลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลือ มันก็กลายเป็นความหลุดพ้นอยู่แล้วโดยเนื้อหาธรรมชาติ มันก็กลายเป็นพระนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหามัน
    เมื่อความว่างอันเป็นสูญญตานั้นแหละคือความหลุดพ้นอยู่แล้วคือพระนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรุงแต่งใดๆเข้าไปจัดการ “ธรรมชาติ” เพื่อให้เกิดพระนิพพานตามความไม่รู้ ไม่เข้าใจของตนขึ้นมาอีก
    เมื่อเข้าใจว่าความว่างอันเป็นสูญญตาคือความหลุดพ้นอยู่แล้ว คือพระนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง เพราฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะเข้าไปปรุงแต่งว่า นี้คือความหลุดพ้น นี้คือจิตหลุดพ้น ขึ้นมาอีกเช่นกัน ซึ่งมันจะกลายเป็น อวิชชาตัวสุดท้ายที่เข้าไปติดกับดักของมัน พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า “เมื่อจิตปรุงแต่งว่า จิตหลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น” เป็นการรู้ชัดซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งสติว่า “จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตหลุดพ้น” ซึ่งเป็นอวิชชาตัวสุดท้ายนี้ย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยธรรมชาติมันเอง ย่อมกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้ว โดยธรรมชาติ และย่อมไปสู่ “ธรรมชาติล้วนแห่งความไม่ปรุงแต่ง” ซึ่งเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้ว
    เมื่อพิจารณาได้อย่างเข้าใจถ่องแท้แล้วว่า “ความว่างหรือสูญญตานั้นก็คือเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอันคือพระนิพพานอยู่แล้ว” จิตปรุงแต่งในหมวดสติปัฏฐาน 4 ก็ล้วนเป็นจิตปรุงแต่งที่บังพระนิพพาน(อันเป็นเนื้อหาธรรมชาติแห่งความหลุดพ้นโดยสภาพมันเอง) อยู่แล้วทั้งสิ้น เมื่อจิตปรุงแต่งในหมวดสติปัฏฐาน 4 ไม่เที่ยงอยู่แล้ว ดับไปเองอยู่แล้ว มันย่อมกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้วนั่นคือความว่าง หรือสูญญตา ซึ่งมันก็คือเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอันเป็นพระนิพพานอยู่แล้ว “การปล่อยให้ความว่างหรือสุญญตา มันคงเนื้อหามันอยู่อย่างนั้นโดยธรรมชาติของมัน” มันจึงกลายเป็นธรรมชาติล้วนๆอันปรุงแต่งๆไม่ได้แล้ว มันจึงกลายเป็นพระนิพพานอยู่แล้ว
    การปล่อยให้ความว่างหรือสูญญตา มันคงเนื้อหามันอยู่อย่างนั้นโดยธรรมชาติของมัน” จึงเป็นการตัดได้โดยเด็ดขาดจาการปรุงแต่งทั้งปวง(สมุทเฉจ) อันทำให้สติปัฏฐานบริบูรณ์
    เมื่อสติปัฏฐานบริบูรณ์ย่อมยังโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ไปด้วย
    เมื่อโพชฌงค์บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ไปด้วย
    จึงหลุดพ้นด้วยประการฉะนี้ (วิมุติญาณทัสสนะ)..............................................นิพพาน.
    ไม่มีอะไรให้แบก ไม่มีอะไรให้ปล่อย ไม่มีอะไรให้วาง
    ความว่างคือ พระนิพพานอยู่แล้ว
     
  13. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    ความว่างไม่ใช่ นิพพานนะครับ เป็นอรุปญาณชนิดหนึ่ง
    ถ้ายังติด ยังหลงว่า ตนนิพพานไปแล้ว
    รีบแก้กรรมฐานด่วนเลยนะครับ

    ศึกษา อภิธรรม ให้ละเอียด แล้วปฏิบัติ รูปญาณ 4 ไห้ได้ จัตตุญาณ ชนิดละเอียด คือ สามารถเกิดได้ตลอดเวลา ก่อนนะครับ แล้วค่อยมาฝึก อรูปญาณ4
    ในขณะฝึก รูปญาณ ก็ วิปัสนาดู จิต และ เวทนาไปด้วยฝึกดูไปครับ
    ว่าใน รูป เวทนา และ จิต เป็นเราไหม มีตัวตนถาวรไหม
    จากนั้นฝึกในอรูป เหมือนกัน เพียงแต่ไปดูในอรูปญาณเท่านั้นเอง

    อย่าให้ อาสวะกิเลส คือ โมหะมาครอบงำนะครับ
    นิพพานคืออะไร ไปศึกษา ปรยัติให้ดีๆก่อน มาตอบนะครับ
     
  14. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คุณ อินทร์ธนู ครับ หากเป็นเช่นนั้น การปฎิบัติที่มีกันมาก็ผิดน่ะสิครับ

    แล้วที่พระโสดาบันปฎิบัติเพื่อความหลุดพ้นล่ะครับ ที่มีบันทึกไว้น่ะ

    พระสกิทาคามีปฎิบัติเพื่อความหลุดพ้นล่ะครับ ที่มีบันทึกไว้น่ะ

    พระอนาคามีปฎิบัติเพื่อความหลุดพ้นล่ะครับ ที่มีบันทึกไว้น่ะ

    หรือแม้แต่พระอรหันต์ปฎิบัติอยู่เป็นนิตย์ตามที่มีบันทึกไว้น่ะ

    คุณให้คำตอบหน่อยสิครับ ตามที่คุณกล่าวมา แสดงว่าคุณไม่เคยเห็น จิต เลย

    แล้วถ้าหากเป็นอย่างที่คุณกล่าว ปุถุชน ก็เป็น พระอรหันต์กันหมดน่ะสิครับ

    ความนึกคิดนำพาไปไม่มีที่สิ้นสุด เอาเวลาที่นึกคิดไปปฎิบัติไม่ดีกว่าเหรอครับ

    เข้าไปเห็นด้วยตนเองก่อน เข้าไปรับรู้ให้จริงๆก่อน อย่ามัวแต่ปรุงแต่งอยู่เลยครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  15. อินทร์ธนู

    อินทร์ธนู สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +2
     
  16. อินทร์ธนู

    อินทร์ธนู สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +2
    อธิบาย..........อริยสัจ
    พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องอริยสัจ 4
    อริยสัจ 4 แปลว่าความจริงอันยิ่งใหญ่ 4 ประการ
    คือ
    ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค
    1.ทุกข์
    ความคิดทั้งปวงคือทุกข์
    ความคิดทั้งปวง
    คือจิตที่ปรุงแต่ง
    ความคิดทั้งปวง
    คือสังขตะธรรม....(ธรรมอันปรุงแต่ง)
    2.สมุทัย
    สมุทัยคือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
    โดยปกติ
    ตามหลักแห่ง”กฎอันเป็นธรรมชาติ”มีอยู่ 3 ข้อคือ
    อนิจจัง
    ทุกขังอนัตตา
    โดยหลักแห่งความเป็นจริง
    ทุกสรรพสิ่งย่อมเป็นทุกข์ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
    มันเป็นโดยสภาพมันเองอยู่แล้วเขาถึงเรียกว่าธรรมชาติ
    ธรรมชาติที่ว่าทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยสภาพมันเอง
    ธรรมชาติที่ว่า
    ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วโดยตัวมันเอง
    แต่”ความไม่รู้”
    (อวิชชา)พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นก่อให้เกิดตัณหาอุปาทานจนเกิดอัตตามีเรามีเขาขึ้นมา
    ภายในจิตใจ
    หรือที่เรียกว่าจิตปรุงแต่งหรือความคิดนั่นเอง.........สรุปว่าความไม่รู้ก่อให้เกิดทุกข์

    โดยธรรมชาติไม่มีเราอยู่แล้ว
    โดยธรรมชาติ
    เป็นเพียงแต่กายกับจิต
    โดยธรรมชาติ
    เป็นเพียงแต่รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ
    รูปคือรูปกายเช่นตาหูจมูกลิ้นผิวกายใจ
    วิญญาณคือการรับรู้ถึงสิ่งที่เข้ามาทางรูป ( ตาหูจมูกลิ้นผิวกายใจ )
    โดยธรรมชาติเมื่อ......มีเหตุปัจจัยเข้ามาทางรูปเช่น
    ภาพ
    ที่เข้ามาทางตา
    เสียง
    ที่เข้ามาทางหู
    กลิ่น
    ที่เข้ามาทางจมูก
    รสชาด
    ที่เข้ามาทางลิ้น
    การสัมผัสสิ่งต่างๆ
    ที่เข้ามาทางผิวกาย
    สิ่งที่ผุดขึ้นในความรู้สึก
    ที่เข้ามาทางใจ
     
    วิญญาณคือการรับรู้ถึงการเข้ามาของสิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นภาพเสียงกลิ่นรสชาดการสัมผัสสิ่งต่างๆหรือสิ่งที่ผุดขึ้นในความรู้สึกที่เข้ามาทางทวารทั้งหกคือตาหูจมูกลิ้นผิวกายหรือใจ
    สรุป
    เหตุปัจจัย
    ที่เข้ามาทางรูปและมีการรับรู้การเข้ามา(วิญญาณ)
    สามสิ่งสิ่งนี้เป็นการกระทบกันเรียกว่าผัสสะ
    สัญญาคือความจำได้หมายรู้ว่าสิ่งที่เข้ามาทางรูปนั้นคืออะไร
    เช่น
    ภาพที่เข้ามาทางตาคือภาพของสุนัข
    เสียงที่เข้ามาทางหูคือเสียงนกร้อง................................................เป็นต้น
    สังขารคือการปรุงแต่งในรายละเอียดทั่วๆไปแบบเสร็จสรรพของเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางรูปและมีการรับรู้ถึงการเข้ามาและก่อให้เกิดการกระทบกัน
    เช่น
    ภาพที่เข้ามาทางตาและมีการรับรู้ว่ามีภาพเข้ามาทางตานั้นเป็นการกระทบกันทำให้รู้ว่าเป็นภาพของสุนัขตัวไม่ใหญ่ขนสีน้ำตาล
    รายละเอียดที่แสดงขึ้นนี้เป็นการทำหน้าที่ของสังขาร
    เวทนาคือความรู้สึกที่มีต่อเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางรูป
    โดยหลักใหญ่
    มี 3 เวทนาคือ
    สุขเวทนา
    คือความรู้สึกที่เป็นสุขต่อเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางรูป
    ทุกขเวทนา
    คือความรู้สึกที่เป็นทุกข์ต่อเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางรูป
    อทุกขมสุขเวทนา
    คือความรู้สึกที่เป็นกลางๆแบบไม่สุขไม่ทุกข์ต่อเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางรูป
    โดยธรรมชาติ....เวทนาย่อมดับไป
    โดยธรรมชาติ
    ....เวทนาย่อมดับอยู่แล้วโดยสภาพมันเอง

    นี่คือธรรมชาติ....
    โดยธรรมชาติเมื่อเวทนาดับไป....สังขารย่อมดับ....สัญญาย่อมดับ....
    วิญญาณย่อมดับ....รูปย่อมดับ.....
    ตรงนี้เรียกว่าจิตอันเป็นธรรมชาติอันไม่ปรุงแต่ง
    ตรงนี้เรียกว่า
    จิตว่าง....(จิตอันว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน)
     
     
    แต่ความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในเวทนาทั้งปวงจนก่อให้เกิดตัณหาอุปาทาน
    กลายเป็น
    ทุกข์คืออัตตาตัวตนเราเขาขึ้นมา.......................................
    นี่คือ
    สมุทัย
     
    3.นิโรธ
    นิโรธคือความดับแห่งทุกข์
    เป็นการรู้เห็นตามความเป็นจริงตามหลักแห่งกฎธรรมชาติที่ว่า
    ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยง
    ธรรมชาติที่ว่า
    ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงนั้นหมายถึงโดยสภาพตัวมันเองนั้นย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว
    เป็นธรรมชาติที่ไม่ต้องมีอัตตาเช่นเราเข้าไปบีบบังคับให้มันไม่เที่ยง
    เป็นธรรมชาติที่
    ไม่ต้องมีอัตตาเช่นเราเข้าไปสำรวมให้มันไม่เที่ยง
    เป็นธรรมชาติที่
    ไม่ต้องมีอัตตาเช่นเราเข้าไประวังให้มันไม่เที่ยง
    เป็นธรรมชาติที่
    มันไม่เที่ยงโดยสภาพตัวมันเองอยู่แล้ว

    เมื่อมีเหตุปัจจัยเข้ามาทางรูป.....และมีการรับรู้สิ่งที่เข้ามา(วิญญาณ).....เกิดการกระทบกัน(ผัสสะ)....และเกิดการจำได้หมายรู้(สัญญา)และปรุงแต่งในรายละเอียดนั้นๆ(สังขาร).......และก่อให้เกิดความรู้สึก(เวทนา)ต่างๆ.....
    โดยธรรมชาติเวทนาย่อมดับไปอยู่แล้ว
    โดยธรรมชาติ
    เวทนาย่อมดับโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว
    เมื่อเวทนาดับ
    สังขารก็ดับสัญญาก็ดับวิญญาณก็ดับรูปก็ดับ
    ตรงนี้
    คือนิโรธ
    ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าหากความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในเวทนาทั้งหลายจนก่อให้เกิดตัณหาอุปาทานแล้วกลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งแล้วกลายเป็นความคิดอันมีเขามีเราแล้ว....จะทำอย่างไร?
    ตอบ....เมื่อเกิดอัตตาขึ้นแล้วเป็นจิตที่ปรุงแต่งแล้วก็อย่าเข้าไปเนื่องอย่าเข้าไปเนิ่นช้าในความคิดนั้นในอาการที่จิตปรุงแต่งนั้น
    เมื่อไม่เข้าไปเนื่อง
    เมื่อไม่เข้าไปเนิ่นช้าความคิดนั้นก็ไม่เที่ยงจิตที่ปรุงแต่งนั้นก็ไม่เที่ยงไม่เที่ยงโดยสภาพมันเอง”.....ตามหลักธรรมชาติที่ว่า......”ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยง”
    เมื่อไม่เข้าไปเนื่องไม่เข้าไปเนิ่นช้ามันก็ไม่เที่ยงโดยสภาพมันเองอยู่แล้วนี่คือธรรมชาติ”
    เพราะเมื่อเข้าใจว่าอะไรคือทุกข์ก็อย่าเข้าไปยุ่งไปสาละวนเข้าไปเนื่องเข้าไปเนิ่นช้าให้เกิดปัญหาซับซ้อนขึ้นมาอีก
    เมื่อหยุดเข้าไปไปยุ่ง
    ก็เกิดการคลายกำหนัดอัตตาที่นอนเนื่องในสันดานก็ลดลง
    4.มรรค
    มรรคแปลว่าหนทางมรรคในอริยสัจคือวิสุทธิมรรคแปลว่าหนทางที่บริสุทธิ์หลุดพ้น
    ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้แปดประการ
    คือมรรคมีองค์แปดได้แก่ปัญญาอันเห็นชอบ 1 ความดำริชอบ 1 วาจาชอบ 1 การงานชอบ 1เลี้ยงชีวิตชอบ 1 ความเพียรชอบ 1ระลึกชอบ 1 ตั้งใจชอบ 1
    มรรคตรงนี้เป็นมัชฌิมาปฏิปทาเป็นทางสายกลางที่ทำให้ไม่หลงและดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นได้
    โดยหลักเมื่อเข้าใจหลักธรรมชาติแห่งธรรมตามกฎธรรมชาติก็ถือว่าเป็นปัญญาอันเห็นชอบ 1 แล้ว
    เป็นความดำริชอบ
    1 แล้ว
    เมื่อปล่อยให้กระบวนการทุกอย่างเป็นไปตามกฎธรรมชาติแล้ว
    จิตที่ดับไปทุกขณะนั้นก็ถือว่าเป็นความเพียรชอบ 1 แล้วระลึกชอบ 1 แล้วตั้งใจชอบ 1 แล้ว
    วาจาชอบ
    1 การงานชอบ 1 เลี้ยงชีวิตชอบ 1 โดยนัยก็คือศีล 5 ศีล 8 ศีล 227 นั่นเอง
    วาจาชอบ
    การงานชอบเลี้ยงชีวิตชอบเป็นการแสดงออกทางกายวาจาแบบเหมาะสมในสังคมที่อาศัยอยู่
    ส่วน

    แต่การแสดงออกทางกายวาจาที่เหมาะสมนี้เป็นการแสดงออกจากจิตที่ไม่ปรุงแต่ง
    หากใช้จิตปรุงแต่งว่าเราจักพูดสำรวมหากเราใช้จิตปรุงแต่งว่าเราจักพูดไม่ส่อเสียด
    การใช้จิตปรุงแต่งแบบนี้มันจะกลายเป็นการปรุงแต่งที่ซ้อนเข้ามา
    กลายเป็นอวิชชาที่ซ้อนเข้ามา
    ทำให้มรรคอันแท้จริงหายไปปัญญาหายไปความเพียรหายไปความตั้งใจชอบ(สมาธิ)หายไป
    ความคิดที่ว่าเราจักพูดสำรวมเราจักพูดไม่ส่อเสียด
    เป็นจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่งที่ขวางกั้นนิพพาน
    ................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
    อนัตตลักขณะสูตร

    ในอนัตตลักขณะสูตรพระพุทธองค์ตรัสสอนปัญจวัคคีย์สาวกทั้ง 5 ให้ละความถือมั่นในขันธ์ 5 ว่า
    ภิกษุทั้งหลายเหตุนั้นรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณอันใดอันหนึ่ง, ล่วงไปแล้วก็ดียังไม่มีมาก็ดีเกิดขึ้นจำเพาะบัดนี้ก็ดีหยาบก็ดีละเอียดก็ดีเลวก็ดีงามก็ดี ,ในที่ไกลก็ดีในที่ใกล้ก็ดีทั้งหมดก็เป็นสักแต่ว่ารูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ, ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นแล้วอย่างไรดังนี้
    ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเราภิกษุทั้งหลายอริยสาวกผู้ได้ฟังแล้วเมื่อเห็นอย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายในรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ , ครั้นเบื่อหน่ายก็ปราศจากความกำหนัดรักใคร่, เพราะปราศจากความกำหนัดรักใคร่จิตก็พ้นจากความถือมั่น, เมื่อจิตพ้นแล้วก็มีญาณรู้ว่าพ้นแล้ว, อริยสาวกนั้นรู้ชัดว่าความเกิดสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์ได้ประพฤติจบแล้ว, กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
    สรุป
    จิตที่ปรุงแต่งทุกเรื่อง
    ไม่ว่าจะหยาบละเอียดเลวงาม......ก็ล้วนไม่เที่ยงแท้โดยตัวมันเองโดยสภาพมันเอง........(สักแต่ว่า)
    ส่วนใหญ่นักปฏิบัติธรรมจะติดปรุงแต่งในธรรมเนืองๆโดยที่หารู้ไม่ว่าการพิจารณาธรรมแบบซ้ำๆซากๆก็เป็นจิตที่ปรุงแต่งชนิดหนึ่งเหมือนเส้นผมที่บังภูเขาจิตที่ปรุงแต่งในธรรมก็ไม่เที่ยง
    เช่น
    ใช้จิตปรุงแต่งว่าเราจักทำฌาน 4 เพื่อบรรลุธรรม
    ใช้จิตปรุงแต่งว่านี่คือสตินี่คือสมาธินี่คือปัญญา

    จริงๆแล้วการปฏิบัติธรรมเพื่อหลุดพ้นนั้นเป็นการรู้เห็นตามความเป็นจริงต่อสัจจธรรม
    ไม่ว่าจะอยู่ในอริยบทใดก็ตามยืนนั่งเดินนอนหรือกำลังล้างหน้าแปรงฟันขับรถกินข้าวอาบน้ำทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน
    การที่เข้าใจเรื่องการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของขันธ์ 5
    การที่เข้าใจเรื่องจิตว่างหรือสุญญตา
    เมื่อเข้าใจและปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการแห่งขันธ์อย่างแท้จริงซึ่งเป็นธรรมชาติของมัน
    ไม่มีการเข้าไปควบคุมบีบบังคับเพื่อให้เกิดจิตว่างหรือสุญญตา
    ตรงนั้นมรรคมีองค์แปดก็เกิดขึ้นอยู่แล้ว
    การที่รู้ว่านั้นคือจิตว่างนั่นคือระลึกชอบและปัญญาอันเห็นชอบแล้ว
    การที่มีความตั้งมั่นในจิตว่างแบบไม่ขาดสาย
    นั่นคือการตั้งใจชอบ(สัมมาสมาธิ) อยู่แล้วโดยเนื้อหาแห่งธรรม
    เป็น
    ความบริบูรณ์ในธรรมเป็นการลงตัวในธรรมอยู่แล้วเป็นการกลมกลืนในธรรมเป็นความสามัคคีแห่งธรรมแปดส่วนในอริยมรรคอยู่แล้ว
     
    การที่ใช้ปัญญาหันเหวิถีแห่งจิตจากหนทางแห่งความไม่รู้(อวิชชา) ไปสู่เส้นทางที่ถูกคือสัจจธรรมในความไม่เที่ยงนั่นคือการสำรวมการระวังแล้ว
    การที่ไม่เข้าไปเนื่องไม่เข้าไปเนิ่นช้าในความคิดนั่นคือการสำรวมการระวังแล้วเช่นกัน
     
    และนักปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่จะติดความหลงในลัทธิแว่นส่องสมาธิและปัญญา”
    ท่านครูบาฮวงโปท่านกล่าวเปรียบเทียบไว้ว่าเหมือนสุนัขที่คอยเห่าทุกครั้งที่เห็นใบตองมันกระดิกเมื่อถูกลมพัด
    ท่านเปรียบเปรยนักปฏิบัติว่าเหมือนสุนัขตัวนั้น
    ที่คอยเห่าอยู่ตลอดเวลาว่านี่คือจิตชนิดนั้นจิตชนิดนี้นี่คือสตินี่คือสมาธินี่คือปัญญานี่คือ......นี่คือ.......นี่คือทุกครั้งที่สภาวะจิตเกิดขึ้น

    ท่านว่ามันเป็นอวิชชาซ้อนเข้าไปที่มองไม่เคยเห็นเป็นการบัญญัติให้เกิดอัตตาอีกชนิดหนึ่ง
    การที่จิตมันไม่หันเหออกนอกไปจากวิถีแห่งพุทธธรรม
    ซึ่งมันว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตนนั้นมันก็ประกอบไปด้วยอินทรีย์แห่งธรรมมันเป็นทางดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นอยู่แล้วเป็นมรรคหลุดพ้นอยู่แล้วโดยตัวมันเอง
    เมื่อขันธ์
    5 ดับตามวิถีทางธรรมชาติในการทำงานแห่งขันธ์จะสุขเวทนาจะทุกขเวทนาจะอทุกขมสุขเวนา
    เวทนาทั้งหลายก็ย่อมดับอยู่แล้วโดยปกติของมันไม่ต้องใช้จิตปรุงแต่งเพื่อให้มีเรา(อัตตา)เข้าไปควบคุมหรือบีบบังคับให้มันดับให้มันไม่เที่ยง
    การที่รู้เห็นตามความเป็นจริงได้ก็บ่งบอกไปในตัวอยู่แล้วว่านั่นคือมรรค
    เมื่อจิตว่างทุกอย่างก็บริบูรณ์ในธรรมอยู่แล้วไม่ต้องปรุงแต่งซ้อนเข้าไปอีกว่านี่คืออะไรทำไมอย่างไรชนิดไหนแค่ไหน
    มันจบโดยสภาวะมันเองในความดับอยู่แล้วจบโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว............”ไม่ต้องเข้าไปบัญญัติเพื่อแจกแจงมันให้เกิดอัตตาขึ้นมาอีก......เพราะมันจะเป็นอวิชชาที่ซ้อนเข้ามาทันที.




    ลองอ่านและใช้ปัญญาทำความเข้าใจดูนะครับ...ถ้าไม่เข้าใจถามได้นะครับ...จะตอบให้
     
  17. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมเข้าใจในสิ่งที่ผมปฎิบัติครับ จะเป็นไปได้ไหมที่ไม่ต้องปฎิบัติ อย่างคุณกล่าว

    การที่จะเห็นจิตได้ก็ต้องหาจิตให้เจอก่อน การที่จะรู้จัก ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    ก็ต้องเห็นจิตก่อนเช่นกัน เหตุเพราะสิ่งเหล่านี้เกิดด้วยจิตรับรู้

    และที่พระอริยะทั้งหลายปฎิบัติ เหตุเพราะความเคยชินในการปฎิบัติ ไม่ได้นึกคิดในสิ่งที่คุณกล่าวครับ

    ผมได้กล่าวไว้บ่อยในเว็บแห่งนี้ถึงการทำลายจิต หากไม่มีแล้วซึ่งจิต การปรุงแต่งจะมีได้อย่างไร

    แต่จะทำลายจิตได้ ก็ต้องหาจิตได้พบเจอเสียก่อน ใช่"จิต"รึไม่ที่เป็นทุกข์อยู่ทุกวันนี้

    การรับรู้อารมณ์ หรือ สิ่งที่มากระทบ หรือ การปรุงแต่งของจิตเอง ใช่เหตุแห่งทุกข์ไหมครับ

    การที่จะดับอารมณ์ที่เกิดทุกข์ ต้องดับภายในจิตไหมครับ สภาวะจิตตั้งมั่นจนถึงการแยกกายแยกจิต เพื่อตัดความรู้สึกที่เกิดด้วยกาย

    มุ่งมั่นปฎิบัติ เพื่อแสวงหา จิต เป็นหนทางที่ควรปฎิบัติเป็นอย่างยิ่ง

    การรู้เห็นทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น หากไม่มีซึ่งกำลัง จะสามารถลบล้างได้เหรอครับ

    คนไม่มีเรี่ยวแรงให้ไปยกของที่หนัก จะยกได้เหรอครับ

    คนทั่วไปมีมากมายที่รู้ว่าทุกข์เกิดขึ้นมาเพราะเหตุอย่างนี้ และก็รู้ว่าไม่ทำเหตุแบบนี้จะไม่เกิดทุกข์ แล้วเหตุใดเล่า คนเหล่านั้นก็ยังทำสิ่งเหล่านั้นอยู่

    คุณตอบได้ไหมครับ และ มีให้พบเห็นในชีวิตประจำวันมากมาย

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  18. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ถ้าทำลายจิต แล้ว จะเหลือ อะไร?ใช่วิมุติญานทัสนะหรือไม่? จริงจริงแล้ว คือการ สกัดเอาบางอย่างออกไป.
     
  19. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    เหลือแต่ความว่างเปล่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการปรุงแต่ง คุณคิดว่าคืออะไรครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  20. khatesi

    khatesi Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +53
    ในการปฏิบัติวิปัสสนา จะเกิดญาณ(ญาณ16)

    โดยถ้าฝึกจนได้ญานขั้น15(ผลญาณ) เป็นญาณที่กำหนดรู้ถึงการเป็นอริยะบุคคลที่ตนเองได้เข้าถึง

    โดยญาณแต่ละขั้น จะมีความรู้ที่แตกต่างกันไป
    เช่นญาณ1 จำแนกรูปและนามได้(นามรูปปริจเฉทญาณ)
    ญาณ2 รู้เหตุและปังจัยในการเกิดรูปและนาม(นามรูปปัจจยปริคคหญาณ)
    ญาณ3 การเห็นรูปและนามดำเนินไปตากฏไตรลักษณ์(สัมมสนญาณ)
    เป็นต้น

    ก็คือเบื้องต้นจะเห็นการเกิดดับของดวงจิตและสรรพสัตว์ทั้งหลาย
     

แชร์หน้านี้

Loading...