ภัยน้ำท่วม!!!

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 7 ตุลาคม 2006.

  1. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    นกเต็นหมดฤทธิ์ แต่ร่องความกดอากาศต่ำยังอยู่เลย

    [​IMG]
     
  2. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ฝนถล่มเชียงใหม่ น้ำป่าทะลัก เสียหายหนัก7อ.

    [​IMG] อิทธิพลจากพายุ 'นกเตน' ทำให้เกิดฝนตกในหลายพื้นที่ของ จ.เชียงใหม่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมใน 7 อำเภอ บ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรเสียหายหนัก ขณะที่ รฟท. ประกาศหยุดให้บริการเส้นทางสายเหนือบางจุด ...

    วันที่ 2 ส.ค.2554 ที่ จ. เชียงใหม่ อิทธิพลของพายุ 'นกเตน' ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ จ.เชียงใหม่ ฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายอำเภอ คือ อ.เมือง อ.แม่ออน อ.สันกำแพง อ.สันทราย อ.สันป่าตอง อ.ดอยสะเก็ด โดยที่ อ.ดอยสะเก็ด เกิดน้ำป่าจากห้วยแม่ฮ่องฮัก และจากคลองชลประทานผาแตก ไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร บ้านเรือนประชาชน และฝายขนาดเล็กได้รับความเสียหาย นอกจากนั้น ที่ ต.ป่าเมียง ยังพบว่าระดับน้ำสูงถึง 50 เซนติเมตร เป็นระยะทางประมาณ 50 เมตร ทำให้การจราจรจากเชียงใหม่ไปเชียงราย เป็นปัญหา เจ้าหน้าที่ต้องเร่งระบายน้ำ เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางเดินรถที่สำคัญ

    นายบำเพ็ญ บินไทยสงค์ นายอำเภอสันกำแพงเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในอำเภอสันกำแพง มี 10 ตำบล 100 หมู่บ้านได้รับความเสียหาร ทั้งพืชไร่นาเสียหายมากเป็นบริเวณกว้าง โรงเรียนได้ปิดการเรียนการสอนตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งในช่วงบ่ายวันนี้ ทางผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกาชาดจังหวัดและกาชาดอำเภอสันกำแพง จะมาแจกถุงยังชีพให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม ขณะที่ ต.แช่ช้าง ซึ่งอยู่ทางใต้สุด ระดับน้ำสูงประมาณ 1 เมตร ราษฎรไม่สามารถสัญจรไปมาได้ เจ้าหน้าที่ได้เร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนต่อไป

    ที่ อ.แม่ออน น้ำได้เอ่อเข้าท่วมพื้นที่ไร่นา และบ้านเรือนประชาชนในหลายตำบล ขณะที่ อ.สันกำแพง ซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม น้ำก็ท่วมสูงหลายพื้นที่เช่นกัน ทั้งนี้ มีรายงานว่าที่บ้านม้งดอยปุย มีเหตุดินสไลด์ด้วย แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

    ด้าน นางนวลอนงค์ วงษ์จันทร์ หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่า น้ำป่าที่ไหลเข้าท่วมทางรถไฟสายเหนือ ช่วงสถานีบ้านปิน-แก่งหลวง อ.ลอง จ.แพร่ ตั้งแต่เมื่อวานนี้และยังท่วมสูงอยู่ รฟท.จึงประกาศงดเดินขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 9 กรุงเทพ-เชียงใหม่ ที่มีกำหนดออกจากสถานีกรุงเทพฯเวลา 08.30 น. วันนี้ ส่วนรถไฟสายเหนือขบวนอื่นๆ ที่ต้องผ่านจุดน้ำท่วม รฟท.จะประเมินสถานการณ์และจะประกาศให้ผู้โดยสารได้รับทราบเป็นระยะ ทั้งนี้ผู้โดยสารสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ โทร.1690 ตลอด 24 ชม.


    ฝนถล่มเชียงใหม่ น้ำป่าทะลัก เสียหายหนัก7อ. - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
     
  3. foggy3

    foggy3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2007
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +130
    ตอนนี้ที่แพร่ โรงเรียนสั่งปิดแล้ว 2 วัน
    น้ำยมมาเร็วมาก
     
  4. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ดูที่จิต [​IMG]
    ตอน นี้ที่แพร่ฝนตกหนักอีกแล้ว สงสัยกลัวกรุงเทพฯมีน้ำไม่พอใช้แน่เลย ตอนเที่ยงปริมาณน้ำ 10.33 เมตร 1,680 ลบ.เมตร/วินาที ปกติที่เทศบาลแพร่ 8.20 ก็ท่วมแล้ว โชคดีที่ระบบป้องกันน้ำท่วมแพร่สร้างเสร็จพอดีเลยได้ทดสอบระบบไปในตัว
    </td> </tr> </tbody></table>
    ข่าวอัพเดทจากพื้นที่
     
  5. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    [SIZE=+1]ประกาศเตือนภัย[/SIZE]
    [SIZE=+1] "ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ " [/SIZE]
    ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2554



    --------------------
    ในช่วงวันที่ 11-12 ส.ค. 2554 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำปาง ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ให้ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ในระยะนี้


    ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554
    ออกประกาศ เวลา 11.30 น.
    ออกประกาศครั้งต่อไป เวลา 16.30 น.



    สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา
    กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ​
     
  6. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ร่อง

    [​IMG]
     
  7. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,565
    ค่าพลัง:
    +7,747
    หย่อมความกดอากาศต่ำอยู่ทางเหนืออีกแล้ว สงสารคนทางเหนือต้องรับมือกับน้ำท่วมอ่วมแน่เลย
     
  8. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ท่าทางจะแรง น้ำจำนวนมากขังอยู่นาน ต้องระวังเรื่องแผ่นดินแยก แผ่นดินถล่ม และหลังจากนั้นน้ำพวกนั้นก็จะลงมาเรื่อยๆ เตรียมตัวแต่เนิ่นๆ ก็ดีนะ
     
  9. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 11 aug 11.jpg
      11 aug 11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      143.1 KB
      เปิดดู:
      748
  10. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    ต้อง stand by อีกแล้วคุณ Falkman ...
     
  11. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    นั่นสิ ไอ้เจ้าร่องความกดอากาศนี้ร้ายกว่าพายุอีก
    เพราะฝนจะตกๆๆๆๆๆ ทั้งวันทั้งคืน แล้วก็ท่วม
     
  12. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    ขอย้ำอีกนิดนะครับ ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย 18 จังหวัด
    1.แม่ฮ่องสอน
    2.เชียงราย
    3.เชียงใหม่
    4.พะเยา
    5.น่าน
    6.ลำปาง
    7.ลำพูน
    8.แพร่
    9.อุตรดิตถ์
    10.เพชรบูรณ์
    11.เลย
    12.หนองคาย
    13.บึงกาฬ
    14.หนองบัวลำภู
    15.อุดรธานี
    16.สกลนคร
    17.นครพนม
    18.มุกดาหาร
     
  13. Aqua-ma-rine

    Aqua-ma-rine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,242
    www.sunflowercosmos.org/warning_report/warning_report_main/band_of_rain_1.html


    [​IMG]

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD class=ecxstyle83 width=430>
    นักวิทยาศาสตร์ มีความสงสัยเป็นยิ่งนักว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก เคยเกิดขึ้น ในอดีตหรือไม่ จึงวางแผนการสำรวจเพื่อหาคำตอบว่า มีความเป็นไปได้เพียงใด ด้วยการย้อนเวลาสู่อดีต

    การค้นหาหลักฐานบันทึกจากประวัติศาสตร์ เพื่อความเข้าใจ เริ่มต้นเกิดขึ้นจากกาซเรือนกระจก
    (Greenhouse Gases) ในชั้นบรรยากาศ ที่ผุดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้อุณหภูมิ โลกสูงขึ้นและสูงขึ้น

    สร้างผลกระทบการเปลี่ยนแปลง ให้เกิดการรวมตัวของไอน้ำ จนฝนตกมากมายในเขตร้อน (Tropical precipitation)


    ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังได้ใช้วิธีเดินทางสำรวจ ไปยังเกาะแก่งมากมาย ในทะเลอันกว้างไกล ของคาบมหาสมุทรแปซิฟิค ท่ามกลางอันตราย โดยหวังว่าจะสรุป รูปแบบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ที่เกิดต่อเนื่องขึ้น เพื่อจัดทำแบบจำลอง ในอนาคตอันใกล้นี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=304 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD bgColor=#333333 height=25 width=10></TD><TD class=ecxstyle98 bgColor=#333333 height=25 width=440>

    แผ่นดินเลื่อนไหล จากฝนตกหนักที่ Nachterstedt, Germany
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=303 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=20 width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD bgColor=#333333 height=25 width=10></TD><TD class=ecxstyle98 bgColor=#333333 height=25 width=440>

    แผ่นดินเลื่อนไหล จากฝนตกหนักที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ Scotland
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=ecxstyle83 width=430>
    ความน่าสะพรึงกลัวของภัยธรรมชาติ จากคำทำนาย

    ปรากฎการณ์แห่งภัยพิบัติ เริ่มสร้างความตื่นตระหนกมากขึ้น และมีความถี่ขึ้น มีความรุนแรงมากตามลำดับ แต่การอธิบายถึงข้อสงสัย กับประชากรโลกผู้ถูกธรรมชาติทำลาย ยังอยู่ในกรอบเดิมคือ ปัญหาโลกร้อน ด้วยผลกระทบทั้งหลาย เกิดจากฝีมือมนุษย์

    แต่ละครั้งก็ยังพบกับความโหดร้าย ทำลายล้าง สูญสิ้นทั้งชีวิตและทรัพย์สินโดยไม่ยกเว้น ประเทศยากดีมีจน แล้ววันหนึ่งข้างหน้าโลกคงพังพินาศลงไป เหลือเพียงประเทศที่มีความแข็งแกร่งจริงๆเท่านั้น

    หลายครั้งความตื่นตกใจจากธรรมชาติ ไม่สามารถหาคำตอบได้ดีและพึงพอใจ ทำให้ผู้คนกว่าครึ่งโลกกลับไป ให้ความสนใจต่อ การทำนายในรูปแบบต่างๆ อย่างวิตกกังวล แม้มิสามารถอ้างอิงเหตุผล ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างชัดแจ้ง แต่คำทำนาย กลับมักถูกต้องบ่อยครั้ง จนยิ่งน่าเชื่อกว่าคำพยากรณ์ทางวิทยาศาสตร์

    ประเด็นที่เห็นชัดคือ ไม่ว่าใครจะทำนายอย่างไร เกี่ยวกับภัยพิบัติรูปแบบใดๆ ก็ตาม จะมีโอกาสถูกมากกว่าผิด เพราะมีความถี่ของการเกิดขึ้นมากนั่นเอง

    อย่างไรก็ตาม ความหวาดวิตก เพียงดวงจันทร์เข้าใกล้โลก (Super Full Moon) ซึ่งควรเป็นเรื่องชื่นชมความงาม ยังเป็นชนวนความน่าสพึ่งกลัว โยงไปใน เรื่องแผ่นดินไหว (The Science of Earthquakes) ทั้งๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เป็นต้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=268 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD bgColor=#333333 height=25 width=10></TD><TD class=ecxstyle98 bgColor=#333333>

    แผ่นดินเลื่อนไหล จากฝนตกหนักที่ Douglasville, USA.
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=10 width=450>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=320 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=20 width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD class=ecxstyle98 bgColor=#333333 height=40 width=450>

    ความเข้าใจการเกิดของ เอลนีโญ (El Nino) และ ลานีญา (La Nina)
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=ecxstyle83 width=430>
    จุดเริ่มต้นแห่งภัยพิบัติ ด้านอุทกภัย

    นักวิทยาศาสตร์ ทราบดีว่า เหตุสำคัญของ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก คือ El Nino และ La Nina ซึ่งเป็นกลไกสำคัญ ในมหาสุมทรแปคซิฟิค


    แต่น้อยนัก ที่จะเข้าใจรูปแบบต้นกำเนิด ของการรวมตัวของไอน้ำบนโลก จนรวมกันเป็น Band of Rain (แถบกลุ่มเฆมฝน)พาดยาวขนาดใหญ่ ไปครึ่งโลก

    การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก มีบรรทัดฐานแรกเกิดจาก การสะท้อนของรังสีจากดวงอาทิตย์ (Solar radiation) หรือนัยหนึ่งที่รู้จักกันว่า ก็าซเรือนกระจก เป็นสิ่งที่สร้างให้เกิด Band of Rain พาดยาวขนาดใหญ่เท่าๆกับทวีป แล้วตกลงมาเป็นฝนบนโลก


    ในเขตร้อน (Tropics) ทั้งด้านเหนือ ด้านใต้ของโลก ตามฤดูกาลโดยมีการเคลื่อนตัวมายัง Intertropical Convergence Zone (ITCZ) เรียกว่าร่องความกดอากาศต่ำ หรือร่องมรสุม (Monsoon Trough)

    ITCZ มีลักษณะเป็นแนวพาดขวางกับโลก ในทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก ในร่องความกดอากาศต่ำ หรือร่องมรสุมนี้ เป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ มีกระแสอากาศไหลขึ้นลงสลับกัน

    ร่องความกดอากาศต่ำ หรือร่องมรสุม จะอยู่ในเขตร้อนใกล้ๆ เส้นศูนย์สูตร ความกว้างของร่องความกดอากาศต่ำ หรือร่องมรสุม ประมาณ 6-8 องศาละติจูด และจะมีการเลื่อนขึ้นลง ตามแนวโคจรของดวงอาทิตย์ (Sun)


    โดยเป็นบริเวณที่มีเมฆมาก ฝนตกอย่างหนาแน่น ดังนั้นเมื่อร่องนี้ประจำอยู่ที่ใด หรือผ่านที่ใดก็จะทำให้ที่นั้นฝนตกอย่างหนาแน่น ทั้งหมดเป็นวัฐจักรของโลก
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=304 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD bgColor=#333333 height=100 width=10></TD><TD class=ecxstyle98 bgColor=#333333 height=100 width=440>

    เอลนีโญ (El Nino)มีความสัมพันธ์เกิดกระแสน้ำอุ่น (Warming
    water) ในมหาสมุทรแปซิฟิค

    -ฝนตกหนัก อุทกภัย ตลอดแนวชายฝั่งคาบมหาสมุทรแปซิฟิค

    -กระแสน้ำอุ่น ส่งผลกระทบห่วงโซ่อาหาร ของปลา นก และสัตว์ทะเลที่เสี้ยงลูกด้วยนม

    -เกิดพายุทอร์นาโด (Tornadoes) หรือพายุหมุน และพายุฝนฟ้าคะนอง ในเขตอเมริกาตอนใต้

    -เกิดพายุพายุเฮอร์ริเคน (Hurricanes) ขนาดปานกลางใน คาบมหาสมุทรแอตแลนติก

    -บางกรณี ส่งผลต่อภูเขาไฟใต้ทะเล (Underwater volcanoes) ในมหาสมุทรแปซิฟิค
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=304 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD bgColor=#333333 height=100 width=10></TD><TD class=ecxstyle98 bgColor=#333333 height=100 width=440>

    ลานีญา (La Nina) มีความสัมพันธ์เกิดกระแสน้ำเย็น (Cooling water)ในมหาสมุทรแปซิฟิค

    -หิมะและฝนตกในชายฝั่งตะวันออก

    -มีความหนาวเย็นจัดในแถบอลาสก้า

    -สภาพอากาศร้อนขึ้นในแถบอเมริกา

    -เกิดความแห้งแล้งในแถบชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้

    -เกิดพายุพายุเฮอร์ริเคน (Hurricanes) ขนาดใหญ่และปานกลางใน
    คาบมหาสมุทรแอตแลนติก
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=ecxstyle83 width=430>
    ความสำคัญของ Band of Rain

    Band of Rain มีบทบาทในการเกิดมรสุม บนพื้นที่ทวีปเอเชีย อินเดีย อัฟริกาและอินเดีย โดยจะหมุนเวียนนำพาความร้อน จากแถบเส้นศูนย์สูตรแล้วย้อนกลับไปยังขั้วโลก ด้วยอัตราความถี่และความหนาแน่นเพิ่มขึ้น

    จึงทำให้ El Nino และ La Nina มีช่วงเวลายาว และมีอำนาจมากขึ้น ส่งผลให้เกิดพายุเฮอริเคน (Hurricane) ในเขตแปคซิฟิคและแอตแลนติค


    ทั้งหมด จึงมีอิทธิพลเปลี่ยนแปลง ตำแหน่ง Band of Rain ด้วยการเคลื่อนย้ายตำแหน่งของ Band of Rain คล้ายฉากละครของโลกยุคใหม่ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการตกของฝนอย่างถาวร ในตำแหน่งที่พาดยาวบนท้องฟ้า

    ส่งผลเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ในแถบเส้นศูนย์สูตรอย่างน่าตกใจ และจะครอบงำต่อไปในทั่วโลกอย่างกว้างขวางด้วยหลายปัจจัย

    คงมีเหตุผลเพียงพอกล่าวได้ว่า สาเหตุการเคลื่อนย้ายของ Band of Rain ส่งผลกระทบไปยังภูมิภาคต่างๆด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD bgColor=#333333 height=25 width=10></TD><TD class=ecxstyle98 bgColor=#333333 height=25 width=440>

    Band of Rain คล้ายฉากละครของโลกยุคใหม่ ที่ขยับขึ้นจากกลไกความร้อนในชั้นบรรยากาศโลก
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=450 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD bgColor=#333333 height=75 width=10></TD><TD class=ecxstyle98 bgColor=#333333 height=75 width=440>

    การยกตัวของ Band of Rain พาดยาวขนาดใหญ่ สูงขึ้นไปทางขั้วเหนือ เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ 800 ในช่วง Medieval Warm Period (ยุคกลางอบอุ่น)

    ต่อมา Band of Rain ลดต่ำลงทางใต้ใน ค.ศ. 1400 ช่วง Little Ice Age (ยุคน้ำแข็งช่วงสั้น) และนับแต่ปี ค.ศ. 2000 Band of Rain ได้ยกตัวสูงขึ้นตามลำดับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=ecxstyle83 width=430>
    สำรวจข้อมูลย้อนหลังนับพันปี

    แถบฝนเขตร้อน (Tropical rain band) มีตำแหน่งห่อหุ้มโลก เหนือขึ้นไปจากแนวเส้นศูนย์สูตร (Equator) โดยย้ายตำแหน่งไปตามกลไก การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศ (Atmospheric temperature) เกิดเป็นรูปแบบความผันแปรอย่างกว้างขวาง ไปทั่วโลก

    ย้อนไปนับพันปีที่แล้ว แน่นอนไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร แต่การสำรวจพบหลักฐานในอดีต จากดินตะกอนในบึง อายุ 1,200 ปี บนเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค แสดงข้อมูลบ่งชี้ว่า Band of Rain มีตำแหน่งที่อยู่ ระหว่าง 3 - 10 องศาละติจูดเหนือ ซึ่งในขณะนั้นเป็นยุค Little Ice age
    (ยุคน้ำแข็งช่วงสั้น)

    แต่สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดปัญหาคือ ควันจากภูเขาไฟ การเผาป่าเพื่อการเกษตร ต่อมามีความเจริญมากขึ้น เขม่าควันจากรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมหนักสารพัด

    จนกระทั่ง โรงงานไฟฟ้าถ่านหิน ฯลฯ กระตุ้นเพิ่มเติม ทั้งหมดค่อยๆสะสมเพิ่มขึ้น ในเวลานับร้อยๆ ปีจากฝีมือมนุษย์เป็นส่วนใหญ่

    แสดงตัวเป็น อนุภาคเล็กๆ
    (Soot aerosol particles) ขึ้นไปรวมตัวกับเมฆฝนจากกาซคาร์บอนไดออกไซด์ ตามลำดับตลอด 400 ปี ที่ผ่านมา

    หลังสิ้นยุคของ Little Ice age ใน ค.ศ.1800 เป็นต้นมา จนถึง ค.ศ.2000 จึงได้เห็นภาพหายนะชัดขึ้นใน สถานการณ์โลกร้อน (Climate change) ดังที่ทราบกันดี

    ฤดูฝนหนัก (Heavy rain)
    วันนี้เหตุผลในหลายประเทศ ต้องเผชิญกับอุทกภัย มีปัจจัยหลักคือ โลกเต็มไปด้วยไอน้ำบนท้องฟ้า มีจำนวนไม่น้อยกว่า 11 เท่า ของน้ำในมหาสมุทรบนโลก จากภาวะโลกร้อน กลไกอากาศของโลกได้เปลี่ยนแปลงแปรผันไปอย่างช่วยไม่ได้

    วันหนึ่งข้างหน้า การใช้ชีวิตประจำวัน บ้านอยู่อาศัยต้องเปลี่ยนแปลงไป มีบ้านอยู่ในน้ำ
    (Mobile Water Home) โดย มนุษย์ต้องเผชิญชาตะกรรมนี้ต่อไปอีกนับร้อยปี

    แม้ว่าประเทศไทย และประเทศแถบเส้นศูนย์อื่นๆ มีฤดูฝนเป็นปกติ เพราะอยู่ในเขตร่องมรสุม แต่ความมากมายของฝนปรากฎขึ้น จนผู้คนเริ่มประหลาดใจ


    ต่อไปคงต้องใช้คำว่า ฤดูฝนหนัก (Heavy rain)ดูเหมือนจะใกล้ความเป็นจริงมากกว่า และต่อไปกลไกอากาศที่เปลี่ยนแปลงเช่นนี้ จะทำให้ฤดูกาลคลาดเคลื่อน ยุ่งยากในเรื่องการพยากรณ์ยิ่งขึ้น

    หรือตัวอย่างที่เกิดขึ้นหลายทวีปทั่วโลก พากันงุนงง บริเวณที่หิมะไม่เคยตกก็ปรากฎขึ้น บริเวณที่ไม่เคยหนาวก็หนาวมากขึ้น เป็นต้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=300 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD bgColor=#333333 height=25 width=10></TD><TD class=ecxstyle98 bgColor=#333333 height=25 width=440>

    ฝนในฤดูมรสุม เกิดขึ้นทั่วไปในเขตทะเลอันดามัน กระบี่
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=ecxstyle83 width=430>
    ชะตากรรมมนุษย์ จาก Band of Rain

    มีความเป็นไปได้สูง โดยนับแต่บัดนี้ ถึง ค.ศ. 2100 ความร้อนของโลกเพิ่มขึ้นตามลำดับ กลไกดังกล่าวลงผลให้ Band of Rain เปลี่ยนตำแหน่งขยับตัวสูงขึ้น ไปทางเหนือที่ เส้นละติจูด 5 องศา

    กรณีดังกล่าว จะทำให้ประเทศในแถบเส้นศูนย์สูตร ที่เคยอุดมสมบูรณ์จากน้ำฝนเพื่อการเกษตร จะเกิดภาวะแห้งแล้งมากขึ้น

    ส่วนเขตที่ Band of Rain พาดผ่านใหม่ จะมีฝนตกหนักแทนที่

    หมายความว่าแหล่งเกษตรกรรม ที่เคยปลูกพืชเช่น มาเลเชีย อินโดนีเซีย ไทย (ตอนใต้) หรือประเทศอื่นๆ แผ่นดินที่เคยชุ่มชื้นมากก่อน จะเกิดความแห้งแล้งมากขึ้น การเกิดเช่นนี้ จะยกระดับกลไก กระทบแบบลูกโซ่ไปทั่วโลก

    ดังนั้น พื้นที่การเกษตรสำหรับการเพาะปลูก เป็นอาหารของประชากรโลก จะเข้าขั้นวิกฤต อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะพื้นที่เดิม เส้นละติจูดระหว่าง 3-10 องศาเหนือ เขตร่องมรสุมเดิม จะแห้งแล้ง


    พื้นที่ใหม่ ด้านเหนือขึ้นไป อย่างน้อย 550 กิโลเมตร หรือ เส้นละติจูด ระหว่าง 8-15 องศาเหนือของโลก จะมีฝนหนัก เกิดปัญหาการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ที่ไม่คุ้นเคยกับสภาพใหม่ และกลไกระยะเวลาของฤดูกาลต่างๆ จะเปลี่ยนแปลง จนกะเกณฑ์ไม่ถูก
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD class=ecxstyle75 height=283 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD bgColor=#333333 height=25 width=10></TD><TD class=ecxstyle98 bgColor=#333333 height=25 width=440>

    Band of Rain Zone
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=20></TD><TD class=ecxstyle83 width=430>
    พื้นที่ความน่ากังวลในประเทศไทย

    ผลกระทบจาก Band of Rain สำหรับประเทศไทย คือพื้นที่ เส้นละติจูด ระหว่าง 8-15 องศาเหนือ จะครอบคลุมภาคใต้ ตั้งแต่ภูเก็ต ขึ้นไปถึงภาคเหนือตอนล่าง นครสวรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ราบสูงโคราช ถึง อำนาจเจริญ และ ภาคตะวันออกทั้งหมด รวมอ่าวไทย ภาคตะวันตกทั้งหมด

    ดังนั้น กรุงเทพฯ จะเป็นเมืองหลวงอีกแห่ง ที่เกิดมหกรรมศูนย์รวมน้ำฝน ในอนาคต ทำให้ต้องแก้ไขอย่างไม่รู้จบ


    ซึ่งที่ผ่านมา ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่เพาะปลูกของประเทศไทย เป็นบทเรียนให้เห็นทุกๆ ปี ขณะนี้ลุกลามสร้างความหายนะต่อชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่เคยมีมาก่อนในลักษณะที่ถี่ขึ้น

    นักวิชาการจำนวนมาก ออกมาเฝ้าเตือน เช่น รายงานผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ในประเทศไทย อย่างชัดเจน ตั้งแต่ปี 2550
    (Effect of Climate change in Thailand)

    -------------------------------------------------------------------------------
    ตัวอย่างแสดงความกังวล ในความเห็นของ SunflowerCosmos บันทึกไว้ในรายงานผลกระทบการเปลี่ยนแปลง สภาพอากาศในประเทศไทย เมื่อ 20 ธันวาคม 2550 (Effect of Climate change in Thailand) หน้าที่ 3
    ---------------------------------------------------------------------------------
    การตั้งถิ่นฐานเมืองที่ราบสูง ก็ไม่ได้ปลอดภัยจากอุทกภัยได้ หากมีลักษณะทาง ธรณีวิทยาเป็นเมือง ที่มีเทือกเขาล้อมรอบใกล้ๆ หากปริมาณน้ำมาก ซึ่งเกิดจากฝนขนาดใหญ่ ตกติดต่อหลายวัน อาจทำให้ดินอ่อนตัวทรุดตัวลงได้ นอกจากปัญหาน้ำหลากเข้าท่วมเมือง

    ทั้งนี้ ผู้คนมักไม่ทราบว่า บนเทือกเขาเหล่านั้น มีแอ่งเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่ เมื่อน้ำเต็ม ทำให้มีแรงดันก้อนหินหลุดออกจากแอ่งที่เก็บน้ำ ทำให้น้ำทะลักแบบทันทีทันใด สู่ที่ราบต่ำด้วยความแรง สามารถทำลายสิ่งกีดขวางทางน้ำได้ อย่างใหญ่หลวง

    โดยเฉพาะ การตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ลุ่ม ริมปากอ่าว ริมแม่น้ำขนาดใหญ่ รวมถึง ตามแนวชายฝั่งทะเลและบนเกาะขนาดเล็กในประเทศไทย จำเป็นต้องพิจารณาอย่างรัดกุม ถึงเรื่องธรณีวิทยาแต่ละพื้นที่


    นอกจากนั้น สิ่งที่อาจเกิดขึ้น จากสภาพการเปลี่ยนแปลง กรณีที่รุนแรงจากระบบ สนามแม่เหล็กโลกปรับสภาพตนเองเร็วกว่าปกติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด พายุขนาดใหญ่ที่ไม่เคยเกิดมาก่อน ในภาคพื้นนั้น

    สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเตือนภัย หรือบอกได้ล่วงหน้านานๆ เพียงบอกได้ในระยะกระชั้นชิด เป็นปัญหาอันตรายสูง ต่อสังคมมนุษย์ อาจอพยพไม่ทันท่วงที่

    --------------------------------------------------------------------------------

    เพราะต่อไป จะไม่มีเพียงน้ำท่วมเท่านั้น จะเกิดเหตุลดทอนความผาสุกอื่นๆจากกลไกอากาศเปลี่ยนแปลงอีกมากมาย และจะส่งผลเสียอย่างใหญ่หลวง ต่อด้านเศรษฐกิจทุกรูป แบบเพราะพื้นที่จะถูกน้ำท่วม ทำให้ขาดโอกาสใช้สอย


    สิ่งที่จะเกิดขึ้น จำต้องใช้แบบสถานการณ์จำลอง ช่วยวิเคราะห์เพื่อให้เห็นภาพชัด

    เชื่อว่าอีกไม่นาน คงทราบคำตอบว่า Band of Rain นั้น มีความน่าตกใจเพียงใด

    วันนี้ นักวิชาการ ทราบดีว่า การกู้สถานการณ์โลกกลับคืนมานั้น แทบเป็นไปไม่ได้ คงต้องใช้เวลานับพันปี

    แต่สามารถชะลอความโหดร้ายของธรรมชาติได้ ถ้าผู้คนส่วนใหญ่บนโลก มีจิตสำนึกที่รับผิดชอบ ต่อธรรมชาติมากขึ้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD height=10 width=450>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=10 width=450></TD></TR><TR><TD width=450><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450><TBODY><TR><TD width=50></TD><TD class=ecxstyle100 width=400>
    References:

    Science@NASA

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. Aqua-ma-rine

    Aqua-ma-rine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,242
    อ้างอิงเล่นๆ นะ จากโลกอนาคต water world อย่าซีเรียส

    คนจะกลายเป็นมนุษย์มัจฉา , กล่องลอยน้ำ จะกลายเป็นที่อยู่อาศัยหลัก
     
  15. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    15 Aug 11

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 15 Aug 11.gif
      15 Aug 11.gif
      ขนาดไฟล์:
      299.7 KB
      เปิดดู:
      466
  16. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ถ่ายไว้เมื่อ 16 สิงหาคม 54 (16 Aug 11) เวลาประมาณเย็นๆ ประมาณสะพานพระราม 5

    ปล.กล้องเพื่อน เพราะกล้องตัวเองเอาเข้าศูนย์ เอาไปถ่ายดวงอาทิตย์มาก ทำให้เกิด hot pixel. :'(

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  17. สิริพล

    สิริพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +336
    นึกถึงหนังเรื่อง ID4 ตอนที่ยาน มนตด ปรากฏตัว เห็นเมฆแบบนี้ทีไรผมนึกถึงหนังเรื่องนี้ทุกครั้ง มันดูน่าระทึกใจยังไงไม่รู้ :boo:
     
  18. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table style="FILTER: progid:DXImageTransform.Microsoft.Gradient(startColorStr=#C0FFFFCC, endColorStr=#10FFFFFF, gradientType=0)" cellpadding="0" cellspacing="0" width="98%"> <tbody><tr> <td class="c1" height="4" width="4">
    </td> <td style="BORDER-TOP:gray 1px solid;" width="97%"> <table width="100%"><tbody><tr><td height="1">
    </td></tr></tbody></table> </td> <td class="c2" width="4">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="3" style="BORDER-LEFT:gray 1px solid;BORDER-RIGHT:gray 1px solid;" align="center" width="100%"> [SIZE=+1]ประกาศเตือนภัย
    "ฝนตกหนักในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ "
    [/SIZE]
    ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2554
    </td> </tr> <tr> <td colspan="3" style="PADDING: 10px; BORDER-LEFT:gray 1px solid;BORDER-RIGHT:gray 1px solid;" align="center" width="100%"> ร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยที่มีฝนมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือและตะวัน ออกเฉียงเหนือ จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ราบลุ่มบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร และนครพนม ให้ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง ได้ในระยะ 2-3 วันนี้


    ประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554
    ออกประกาศ เวลา 11.30 น.




    สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา
    กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    </td> </tr> <tr> <td class="c3" height="4" width="4">
    </td> <td style="BORDER-BOTTOM:gray 1px solid;" width="97%"> <table width="100%"><tbody><tr><td height="1">
    </td></tr></tbody></table> </td> <td class="c4" width="4">
    </td> </tr> </tbody></table>
     
  19. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table style="FILTER: progid:DXImageTransform.Microsoft.Gradient(startColorStr=#C0FFFFCC, endColorStr=#10FFFFFF, gradientType=0)" cellpadding="0" cellspacing="0" width="98%"> <tbody><tr> <td class="c1" height="4" width="4">
    </td> <td style="BORDER-TOP:gray 1px solid;" width="97%"> <table width="100%"><tbody><tr><td height="1">
    </td></tr></tbody></table> </td> <td class="c2" width="4">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="3" style="BORDER-LEFT:gray 1px solid;BORDER-RIGHT:gray 1px solid;" align="center" width="100%"> [SIZE=+1]ประกาศเตือนภัย
    "ฝนตกหนักในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ "
    [/SIZE]
    ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2554
    </td> </tr> <tr> <td colspan="3" style="PADDING: 10px; BORDER-LEFT:gray 1px solid;BORDER-RIGHT:gray 1px solid;" align="center" width="100%"> ร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยที่มีฝนมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือและตะวัน ออกเฉียงเหนือ จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ราบลุ่มบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร และนครพนม ให้ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง ได้ในระยะ 2-3 วันนี้


    ประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554
    ออกประกาศ เวลา 11.30 น.




    สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา
    กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    </td> </tr> <tr> <td class="c3" height="4" width="4">
    </td> <td style="BORDER-BOTTOM:gray 1px solid;" width="97%"> <table width="100%"><tbody><tr><td height="1">
    </td></tr></tbody></table> </td> <td class="c4" width="4">
    </td> </tr> </tbody> </table>
    [​IMG]
     
  20. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...