พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    องค์นี้ก็พยายามให้เหมือนอีกเช่นกัน พระวังหน้า พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010408.jpg
      P1010408.jpg
      ขนาดไฟล์:
      428.8 KB
      เปิดดู:
      165
    • P1010409.jpg
      P1010409.jpg
      ขนาดไฟล์:
      394.2 KB
      เปิดดู:
      127
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    องค์นี้พยายามให้เป็นพระบรมครูโลกอุดร พิมพ์ปิดตาปุ้มปุ้ย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010414.jpg
      P1010414.jpg
      ขนาดไฟล์:
      388.5 KB
      เปิดดู:
      87
    • P1010415.jpg
      P1010415.jpg
      ขนาดไฟล์:
      411.5 KB
      เปิดดู:
      107
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    องค์นี้ก็"พยายาม"ให้เหมือนพระบรมครูโลกอุดร พิมพ์ปิดตา 2 หน้า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010418.jpg
      P1010418.jpg
      ขนาดไฟล์:
      409.4 KB
      เปิดดู:
      106
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พยายามแล้วพยายามอีกครับ เซียนหงาย ต้ององค์นี้เลย พระสมเด็จวังหน้า พิมพ์หลังเบี้ย คะแนนขอบชิดซุ้ม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010410.jpg
      P1010410.jpg
      ขนาดไฟล์:
      282.5 KB
      เปิดดู:
      176
    • P1010411.jpg
      P1010411.jpg
      ขนาดไฟล์:
      267.8 KB
      เปิดดู:
      97
    • Copy of P1010528.JPG
      Copy of P1010528.JPG
      ขนาดไฟล์:
      385.3 KB
      เปิดดู:
      138
    • Copy of P1010531.JPG
      Copy of P1010531.JPG
      ขนาดไฟล์:
      378.4 KB
      เปิดดู:
      76
    • Copy of P1010529.JPG
      Copy of P1010529.JPG
      ขนาดไฟล์:
      358.1 KB
      เปิดดู:
      78
    • P1010448.jpg
      P1010448.jpg
      ขนาดไฟล์:
      376.2 KB
      เปิดดู:
      92
    • P1010449.jpg
      P1010449.jpg
      ขนาดไฟล์:
      366.1 KB
      เปิดดู:
      67
    • P1010451.jpg
      P1010451.jpg
      ขนาดไฟล์:
      424.3 KB
      เปิดดู:
      98
    • P1010450.jpg
      P1010450.jpg
      ขนาดไฟล์:
      330 KB
      เปิดดู:
      104
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2007
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    องค์สุดท้ายแล้วครับ "พยายาม"ให้เป็นพระสมเด็จวังหน้า แบบปัญจสิริ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010428.jpg
      P1010428.jpg
      ขนาดไฟล์:
      292.5 KB
      เปิดดู:
      151
    • P1010430.jpg
      P1010430.jpg
      ขนาดไฟล์:
      309.1 KB
      เปิดดู:
      109
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097

    ไปดูมาแล้วเช่นกัน เห็นแล้วเข่าอ่อน ขนลุก ขนาดไปช่วงตีห้ากว่าๆ มันขายพระปลอมกันยังกะขายผัก จตุคามฯ มาเป็นรถปิคอัพ เปิดท้ายมาทีแทบหงายหลังทุกรุ่น ทุกพิมพ์ ทุกโคตรฯ มาพร้อมกล่อง และไม่มีกล่องแพงสุด 40.-สำหรับรุ่นโคตร....ที่จองกันเยอะ มันบอกว่าพระมันแท้ แต่ไม่ได้เสก เอากะมัน สมเด็จองค์ละ 50.-สตางค์ 2 องค์บาทนึง สังเกตุคนที่ซื้อส่วนใหญ่บอกว่าเอาไปที่ต่างจังหวัด ขายพร้อมใบจองที่พิมพ์เสมือนจริง บางส่วนส่งลงเสริมที่ภาคใต้ โดยเฉพาะจตุคามฯ รุ่นสุดฮิตทั้งหลาย สงสารคนเช่าบุชา เกิดเป็นอะไรไปจะมาว่าท่านก้ไม่ได้ ผมเองยังซื้อรุ่นขุนพันธ์มา 3 องค์ๆ ละ 40.-ปัดทองมีสีซะด้วยสวยเลย ส่วนอีกองค์เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-8 ซม.เลี่ยมพลาสติกเสร็จสวยเชียว ขาดตัว 120.-บาท สีเขียวปัดทองซะด้วย อีกองค์แพงหน่อยรุ่นโคตร...ปัดนาค องค์ละ 150.- มาพร้อมกรอบแสตนเลสยกซุ้ม ซื้อเสร้จส่งให้ท่านอาจารย์ที่เคารพเชิญองค์พ่อลงมากำกับใหม่ เอาให้รุ้แล้วรุ้รอดไปเลย เสร็จแล้วค่อยตรวจพลังอีกที จะได้จบเรื่องกันทีสำหรับตุคามฯ หมดไปเกือบพันบาทเพราะของปลอมไม่ได้เสกนี่สวยจริงๆ (แต่เป็นกะเทย)
     
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    โห!! เกือบพัน ขนาดปลอมหรือครับ ผมไม่อยากบอกเลยว่าไปเอาตัวอย่างมา องค์ละ 3 บาทขายปลีก 9 องค์ก็ 27 บาทครับเป็นองค์ครู สำหรับ trip นี้

    ผมเอาองค์จริงมาลงให้ดูแบบเปรียบเทียบ เพียง 2 พิมพ์ครับ ลงมากเกินไป ต่อไปอาจได้พบ"เณรแก่พรรษา"ครับ...แถมมีกลิ่น"เหมือน"ผงมวลสารพระวังหน้าอีกต่างหาก

    ซ้ายเป็นเณร ขวาเป็นพระบรมครูโลกอุดร เนื้อผนังถ้ำ พิมพ์ใหญ่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010397.jpg
      P1010397.jpg
      ขนาดไฟล์:
      839.4 KB
      เปิดดู:
      100
    • P1010432.jpg
      P1010432.jpg
      ขนาดไฟล์:
      325.4 KB
      เปิดดู:
      109
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2007
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ด้านหลัง

    ซ้ายเป็นเณร ขวาเป็นพระ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010398.jpg
      P1010398.jpg
      ขนาดไฟล์:
      840.9 KB
      เปิดดู:
      90
    • P1010434.jpg
      P1010434.jpg
      ขนาดไฟล์:
      322.2 KB
      เปิดดู:
      89
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระบรมครูโลกอุดร พิมพ์ปิดตาปุ้มปุ้ย

    ด้านหน้า และด้านหลัง

    ซ้ายเป็นเณร ขวาเป็นพระ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010414.jpg
      P1010414.jpg
      ขนาดไฟล์:
      388.5 KB
      เปิดดู:
      65
    • P1010435.jpg
      P1010435.jpg
      ขนาดไฟล์:
      376.9 KB
      เปิดดู:
      99
    • P1010415.jpg
      P1010415.jpg
      ขนาดไฟล์:
      411.5 KB
      เปิดดู:
      75
    • P1010437.jpg
      P1010437.jpg
      ขนาดไฟล์:
      372.8 KB
      เปิดดู:
      90
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    55555555555 หมดไปเกือบพันเลยหรือครับ

    เรื่องตรวจพลังนั้น หากผู้ตรวจไม่เก่งจริงๆ ก็โดนแถมหงายท้องเลยครับ ผมเคยบอกว่า เดี๋ยวนี้ผู้ที่ทำเลียนแบบขึ้นนั้น นำผงที่เข้าพิธีพุทธาภิเษกมาสร้าง หรือสร้างพระพิมพ์เรียบร้อยแล้ว นำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษก ก็สามารถมีพลังอิทธิคุณขึ้นมาได้

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    สำหรับเณรทั้ง 3 องค์นี้ ผมเคยให้ผู้ที่จับพลังได้อยู่คนหนึ่ง (ผมแอบทดสอบว่า จับได้หรือไม่ได้ หรือจับเป็นหรือไม่เป็น) ลองให้จับพลังให้ ปรากฎว่า พลังแรงดี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีเสก แต่พี่ที่ผมเคารพท่านหนึ่งพาผมไปดูแหล่ง และบอกกับผมว่าเป็นเณร

    ผมคงบอกอะไรมากกว่านี้ไม่ได้ครับ จะบอกแต่เพียงว่า การตรวจสอบพระพิมพ์นั้น ต้องตรวจสอบทั้งรูปและนาม ไม่ใช่ว่าจับพลังอย่างเดียว หรือดูเนื้อหาทรงพิมพ์ มีคนเคยบอกกับผมว่า จะให้ทำเก่าแค่ไหน เขาทำได้หมด มีคราบอย่างไรก็ทำได้ เพราะฉะนั้น ต้องตรวจสอบพระพิมพ์ทั้งรูปและนามประกอบกันไป

    [​IMG]
    อย่างองค์นี้ พี่ที่ผมเคารพท่านหนึ่ง บอกผมว่าเป็นเณร แต่ในรายละเอียดอื่นๆ ผมลงออกอากาศไม่ได้ครับ

    ************************************************

    จริงเป็นเท็จ เท็จเป็นจริง
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    โมทนาสาธุครับ
    (verygood) (verygood) (verygood)
    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    ไว้นัดกันใหม่นะครับ ทริปหน้า น่าจะมีอะไรดีๆมาเพิ่ม ต้องให้พี่ที่ผมเคารพนับถือนัดมากันอีก

    บางเรื่องบางสิ่งบางอย่างก็จะรู้กันเฉพาะภายในกลุ่มเท่านั้น ผมไม่สามารถจะออกอากาศได้ทั้งหมด


    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มาhttp://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031101&tag950=03you09230146&show=1

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>วังหน้า
    คอลัมน์ รู้ไปโม้ด
    น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com


    [FONT=MS Sans Serif,Thonburi][COLOR=#00000]</B>ผมขอให้น้าชาติช่วยค้นหาประวัติของวังหน้าเท่าที่มีมาในประวัติศาสตร์ไทย เริ่มมีและเลิกไปเมื่อไหร่ครับ ขอความกรุณาท่านช่วยตอบให้ด้วยนะครับ ผมเขียนมาเป็นครั้งที่สี่แล้ว (คนละเรื่องกันทั้งนั้น ไม่เคยได้รับคำตอบเลย ซึ้งครับ) </B>ขอบคุณครับ เหมาะ เมืองทอง

    ตอบ-ชื่อคุ้นๆ มากเลย สงสัยว่าจะเคยตอบไปแล้วแน่ๆ แต่เพื่อความซึ้งจะเขียนมาถามอีกก็ได้ สำหรับวันนี้จะตอบเรื่องล่าสุดกันก่อน

    จากการศึกษาของ "สุนิสา มั่นคง" นักโบราณคดีจากสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ตีพิมพ์ในหนังสือ "พระราชวังบวรสถานมหามงคล" ตอบเรื่องนี้ไว้ละเอียด ผู้สนใจน่าหามาอ่าน

    สรุปใจความสำคัญได้ว่า ตำแหน่งพระมหาอุปราชที่เรียกว่า "วังหน้า" มีหลักฐานว่าเริ่มใช้ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ในคราวที่สมเด็จพระนเรศวร เป็นพระมหาอุปราชา เสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก และจะเสด็จลงมาเฝ้าพระชนกชนนีที่กรุงศรีอยุธยาอยู่เนืองๆ โดยทรงสร้างวังใหม่ขึ้นเป็นที่ประทับเวลาที่เสด็จยังกรุงศรีอยุธยา เรียกว่าวังจันทรเกษม ไม่เรียกว่าวังหลวง

    ในปีพ.ศ.2127 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากหงสาวดี ทรงกวาดต้อนผู้คนหัวเมืองเหนือลงมารวบรวมกันในกรุงศรีอยุธยาให้เป็นที่มั่นต่อสู้เพียงแห่งเดียว จึงเสด็จประทับวังจันทรเกษมนับแต่นั้น

    คำว่า "วังหน้า" น่าจะมาจาก "วังฝ่ายหน้า" ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะจัดกระบวนทัพ ซึ่งเป็นทัพหลวงและทัพหน้า พระมหาอุปราชย่อมเสด็จเป็นทัพหน้า จึงเรียกพระมหาอุปราชว่าฝ่ายหน้า ที่ประทับของพระองค์จึงเรียก วังฝ่ายหน้า และย่อลงมาเป็นวังหน้า

    เมื่อสมเด็จพระธรรมราชาสวรรคตในปี 2133 สมเด็จพระนเรศวรเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระมหาอุปราชคือพระเอกาทศรถ แต่ในระยะแรกสมเด็จพระนเรศวรยังคงประทับที่วังจันทรเกษม และพระเอกาทศรถประทับยังวังหลัง แต่ในพงศาวดารเก่า เรียกพระเอกาทศรถว่า พระเจ้าฝ่ายหน้า

    เมื่อสมเด็จพระนเรศวรสวรรคตในปี 2148 พระราชสมบัติตกแก่พระเอกาทศรถ ซึ่งทรงตั้งพระราชโอรสองค์ใหญ่ นามเจ้าฟ้าสุทัศน์ เป็นพระมหาอุปราช ประทับยังวังจันทรเกษม

    ต่อมาอีก 3 รัชสมัยคือพระเจ้าทรงธรรม (ครองราชย์ปี 2153-2171) พระเจ้าปราสาททอง (2172-2199) และเจ้าฟ้าไชย (ครองราชย์ปี 2199) ไม่ปรากฏตำแหน่งวังหน้า กระทั่งพระศรีสุธรรมราชา (ครองราชย์ปี 2199) แต่งตั้งพระนารายณ์ ราชภาคินัย (หลาน) เป็นอุปราช ประทับที่วังจันทรเกษม ซึ่งต่อมาเกิดศึกรบพุ่งกัน ฝ่ายพระนารายณ์ทรงมีชัย เมื่อขึ้นครองราชย์ (ปี 2199-2231) แล้ว ประทับอยู่ที่วังจันทรเกษมอีกหลายปี และสันนิษฐานว่า ทรงเรียกวังหน้านี้ว่า พระราชวังบวรสถานมงคล ด้วยเหตุผลว่าทรงวังหน้าเป็นที่มั่นจนมีชัยได้ราชสมบัติ

    จากนั้นในสมัยพระเพทราชา (ครองราชย์ 2231-2245) ทรงตั้งหลวงสรศักดิ์ พระโอรสเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และเรียกสังกัดวังหลังว่า กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข

    ในสมัยพระเจ้าเสือ( 2245-22520) แต่งตั้งพระโอรส คือเจ้าฟ้าเพ็ชร เป็นอุปราช ประทับยังพระราชวังบวรสถานมงคล ต่อมาในสมัยที่เจ้าฟ้าเพ็ชรขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าท้ายสระ (ครองราชย์ปี 2250-2276) ทรงแต่งตั้งเจ้าฟ้าพร พระอนุชา เป็นอุปราช และเจ้าฟ้าพรนี้ภายหลังเป็นพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (2276-2301) ทรงตั้งกรมขุนเสนาพิทักษ์พระโอรส ในตำแหน่งวังหน้าอีกทอด

    ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เรื่องราวต่อจากกรุงศรีอยุธยาแตกในปี 2310 ตามด้วยการกู้ชาติของพระเจ้าตากสิน ซึ่งทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีในปีเดียวกันนั้น กระทั่งการสถานปนากรุงรัตนโกสินทร์ในปี 2325 โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

    ในรัชสมัยนี้ องค์รัชกาลที่ 1 ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระอนุชาธิราช หรือชื่อเดิมว่า นายบุญมา ผู้ที่ทรงผ่านศึกร้อนหนาวมาพร้อมกัน เป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ประทับอยู่พระราชวังบวรสถานมงคล หรือที่เรียกว่า วังหน้า ตรงพื้นที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศเหนือของพระบรมมหาราชวัง

    แม้ว่ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทจะทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แต่ทั้งสองพระองค์ก็มีเรื่องเข้าใจผิดกันเป็นครั้งคราว เช่น เรื่องงบประมาณบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงศึกรบพม่าที่เมืองเชียงใหม่ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2340 ซึ่งกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทเสด็จเป็นแม่ทัพ เกิดเรื่องบาดหมางระหว่างวังหลวงและวังหน้า ถึงขั้นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงสาปแช่งผู้ที่มิใช่โอรสธิดาของพระองค์และหวังครอบครองวังหน้าไว้ก่อนสวรรคต

    ต่อเมื่อกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จทิวงคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงอุปราชาภิเษกพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ไม่ได้ให้ไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล กลับให้ประทับที่พระราชวังตามเดิม

    ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยขึ้นครองราชย์ ทรงตั้งพิธีอุปราชาสมเด็จพระอนุราชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ขึ้นเป็นวังหน้า ความสัมพันธ์เป็นไปโดยราบรื่น

    ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ เป็นกำลังสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน ความสัมพันธ์เป็นไปโดยราบรื่นเช่นกัน

    ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงไว้วางใจพระราชหฤทัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้ามาก โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 ทั้งสิ่งใดที่มีในพระบรมมหาราชวัง ก็โปรดเกล้าฯให้พระบวรราชวังมีด้วย

    อย่างไรก็ตาม ต่อมาเมื่อสมเด็จพระปิ่นเกล้าเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามลดบทบาทของวังหน้าลง ด้วยเกรงว่าเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจมากจะชิงราชสมบัติ แต่เมื่อองค์รัชกาลที่ 4 สิ้นพระชนม์ เจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ก็ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการ และตั้งกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หวังให้วังหน้ามีอำนาจกีดขวางวังหลวงฮ

    ในช่วงเวลานี้ วังหน้าและวังหลวงจึงขัดแย้งกันอีกครั้ง ด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงครองราชย์ในวัยเยาว์ เพียง 15 พรรษา เทียบกับกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ มีชนมายุถึง 31 พรรษา ทั้งมีฐานสนับสนุนทางการเมืองและการทหาร

    ต่อมารัฐบาลอังกฤษเดินแผนยุให้วังหน้าและวังหลังแตกแยกกันยิ่งขึ้น เพื่อจะเข้าปกครองโดยง่าย ความขัดแย้งจึงบานปลายเป็นวิกฤตทางการเมืองในปลายปี 2417-2418 ถึงขั้นจะดึงอังกฤษเข้ามาไกล่เกลี่ย แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงชี้แจงว่าเป็นเรื่องขัดแย้งในตระกูล ทำให้อังกฤษต้องถอยฉาก

    ในที่สุดเมื่อองค์รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างสมบูรณ์แล้ว จึงทรงกำหนดขอบเขตอำนาจและทหารในสังกัดของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเสียใหม่ ไม่ให้เกิน 200 นาย

    เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตในปี 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงประกาศยกเลิกตำแหน่งวังหน้าโดยเด็ดขาด และทรงตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เป็นรัชทายาทครองราชสมบัติขึ้นแทน</B> [/COLOR]
    [/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031100&tag950=03you30120345&show=1

    กษัตริย์ไทยที่ได้รับสมญานาม "มหาราช"
    คอลัมน์รู้ไปโม้ด
    โดยน้าชาติ ประชาชื่น

    [COLOR=#00000]เรียนน้าชาติ ขอรบกวนสอบถามเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงได้รับสมญานาม "มหาราช" และอยากทราบว่าสามารถค้นคว้าประวัติของทุกพระองค์ได้ที่เว็บไซต์ไหน

    ตอบ ต้องเปิดสารานุกรมไทยฉบับเยาวชนมาตอบ หนังสือบอกไว้ว่า พระมหากษัตริย์ไทยที่ประชาชนถวายพระนามว่า "มหาราช" นั้นได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันยังประโยชน์อย่างเยี่ยมยอดแก่ชาติ เช่น ทรงกอบกู้อิสรภาพ ทรงปกครองช่วยเหลือประชาชนให้อยู่เย็นเป็นสุข ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญ ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์และทรงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยให้วัฒนาถาวร

    ในหนังสือเล่มนี้ ระบุนามพระมหากษัตริย์ไทยที่มีคำว่า "มหาราช" ไว้ดังนี้

    พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ครองราชสมบัติ ตั้งแต่ พ.ศ.1822 ถึง 1842 รวม 20 ปี สร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่ราชอาณาจักรไทยมากที่สุดพระองค์หนึ่ง ในผลงานขยายอาณาเขตประเทศไทยออกไปทุกทิศทางอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทรงประดิษฐ์อักษรไทย ส่งเสริมการค้าอย่างเสรี โดยไม่เก็บภาษีทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งเสริมการเกษตร ทั้งการทำนา และการทำสวน ส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องสังคโลกโดยนำวิธีการมาจากประเทศจีน

    ทรงส่งเสริมพุทธศาสนา โดยนำพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท จากลังการมาเผยแพร่ในราชอาณาจักรสุโขทัยจนเป็นปึกแผ่น ก่อให้เกิดความสุขสงบ มีศีลธรรมอันดีในหมู่พสกนิกรชาวไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดศิลปวัตถุที่งดงาม อันเนื่องมาจากพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เป็นมรดกล้ำค่า ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้ชาติไทยให้กลับมีอิสรภาพจากพม่าเมื่อพ.ศ.2127 จากนั้นในปี 2135 เมื่อพม่าจัดทัพใหญ่ให้พระมหาอุปราชา รัชทายาทเสด็จนำเข้ามาปราบปรามไทย สมเด็จพระนเรศวรเสด็จนำทัพออกไปจากกรุงศรีอยุธยา รับทัพข้าศึกที่แขวงเมืองสุพรรณบุรี ทรงทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาจนได้ชัยชนะ และทำให้พม่าเว้นเปิดศึกกับไทยเป็นเวลานาน ช่วงเวลาจากนั้นทรงออกรบเพื่อรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรรวมเวลาแล้วกว่า 20 ปี

    สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่เลื่องลือพระเกียรติยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศ รักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียนของชาวต่างชาติ และรับผลประโยชน์ทั้งทางวิทยาการและเศรษฐกิจที่ชนต่างชาตินำเข้ามา นอกจากนี้ยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงกวีและงานด้านวรรณคดีอันเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองที่สุดในยุคนั้น

    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไว้ได้ในยามตกอับ หลังจากราชอาณาจักรศรีอยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่าเมื่อปี พ.ศ.2310 โดยทรงใช้เวลาเพียงประมาณ 7 เดือน ขับไล่ทัพพม่าพ้นราชอาณาจักร และรวบรวมชุมนุมต่างๆได้แก่ พิษณุโลก พิมาย ฝาง หรือสวางคบุรี (ในบริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์) และ นครศรีธรรมราชให้กลับมาเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง มีศูนย์การปกครองอยู่ที่กรุงธนบุรี

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเป็นพระปฐมบรมมหากษัตริย์ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ผู้ทรงสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี

    ทรงมีพระราชประวัติดีเด่นทั้งในราชการทหารและพลเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในราชการสงคราม ทรงป้องกันประเทศชาติ บ้านเมืองให้พ้นภัยจากอริราชศัตรู ตั้งแต่ทรงรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี

    ในรัชสมัยของพระองค์เอง ในด้านการศาสนาโปรดให้มีการสังคายนา ชำระพระไตรปิฏก พร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา ฯลฯ ณ วัดมหาธาตุ โปรดเกล้าฯให้สร้างหอมณเฑียรธรรมขึ้นในบริเวณวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง สำหรับเป็นที่เก็บคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนา และทรงจัดการปกครองคณะสงฆ์ให้เรียบร้อย

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริยาธิราชรัชกาลที่ 5 ในพระบรมราชจักรีวงศ์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จอยู่ในราชบัลลังก์เป็นเวลา 42 ปี

    ตลอดเวลาได้ทรงปรับปรุงทำนุบำรุง และเทิดเกียรติประเทศไทยให้มีฐานะสูงเทียมอารยประเทศอันเป็นที่ยกย่อง พระราชกรณียกิจมีมากมายหลายด้านหลายประการ เช่น โปรดเกล้าฯให้เลิกทาสเพื่อชาวไทยได้เป็นพลเมืองที่มีเสรีเสมอภาคกันตามกฎหมาย ทรงพัฒนากิจการต่างๆ ทั้งโครงสร้างพื้นฐานและการศึกษา ทรงแก้ไขปรับปรุงการปกครองบ้านเมืองให้เหมาะกับสถานการณ์บ้านเมือง

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2489 ขณะมีพระชนมพรรษา 18 พรรษาเศษ พระราชกรณียกิจของพระองค์ในหลายๆด้านเป็นที่ประจักษ์ทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างชาติ

    (12-13 มี.ค. 2545) [/COLOR]
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031100&tag950=03you20171039&show=1

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>การนับสมัยเริ่มต้นพุทธศักราชและเริ่มคริสต์ศักราช/การนับศตวรรษ/มหาศักราชและจุลศักราช
    เพิ่มที่มา"จุลศักราช"
    คอลัมน์รู้ไปโม้ด โดยน้าชาติ ประชาชื่น


    [FONT=MS Sans Serif,Thonburi][COLOR=#00000]<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="20%" align=right bgColor=#f0f5f5 border=0 valign="top"><TBODY><TR><TD align=left>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>อยากทราบการนับสมัยเริ่มคริสต์ศักราช และสมัยเริ่มต้นพุทธศักราช

    ตอบ การนับพุทธศักราช เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน เป็นปี พ.ศ.1 ดังนั้นเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนจะมีพุทธศักราชก็คือสมัยพุทธกาล ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงมีชีวิตอยู่ ซึ่งก็กินเวลานาน 80 ปี และถ้าย้อนไปก่อนหน้านี้ 80 ปี ที่ว่านี้ก็หมายถึงสมัยก่อนพุทธกาล

    สำหรับคริสต์ศักราช เริ่มขึ้นตั้งแต่พระเยซูประสูติ เป็น ค.ศ.1 ซึ่งห่างจากพุทธศักราชนาน 543 ปี ดังนั้นเวลาเราจะคำนวณ ค.ศ. เป็น พ.ศ. ให้บวก 543 เช่น ปีนี้ค.ศ.1998 ให้บวก 543 จะเท่ากับ พ.ศ.2541

    ศตวรรษหมายถึงช่วง 100 ปี เช่น ตอนนี้เป็นช่วงศตวรรษที่ 20 หมายถึงช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ.1899-1999 พอถึง ค.ศ.2000 เมื่อไหร่จะเป็นศตวรรษที่ 21 ทันที

    ไหนๆก็พูดถึงช่วงเวลาแล้ว บอกเพิ่มเติมอีกนิดว่า จะมีมหาศักราช และจุลศักราชด้วย โดยมหาศักราชนั้นกษัตริย์ของอินเดียพระองค์หนึ่งทรงตั้งขึ้น อาศัยการคำนวณเดือนตามสุริยคติ โดยขึ้นปีใหม่ เมื่อเข้าสู่ราศีเมษ ที่เรียกว่าเถลิงศกวันสงกรานต์ เวลาคำนวณมหาศักราชเป็น พ.ศ. ให้บวก 621

    ส่วนจุลศักราชหรือศักราชน้อยบัญญัติขึ้นโดยกษัตริย์พม่าพระองค์หนึ่ง มีวิธีการคำนวณตามจันทรคติ โดยขึ้นปีใหม่ในเดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ เวลาคำนวนให้เป็นพ.ศ. ให้บวก 1,181 จุลศักราชใช้หลัง ร.ศ. รัตนโกสินทร์ศก และใช้ก่อนที่ไทยจะเปลี่ยนมาใช้ พ.ศ. หรือพุทธศักราชในสมัยรัชกาลที่ 6

    เพิ่มเติมประวัติความเป็นมาของการใช้ "จุลศักราช"

    ผมอยากทราบว่าประวัติความเป็นมาของการใช้ "จุลศักราช" มีที่มาอย่างไรครับ กรุณาให้ความรู้เป็นวิทยาทาหน่อยครับ/watt

    ตอบเอกสารโบราณของไทยจำนวนไม่น้อย เช่น พงศาวดาร ประกาศ ตำราต่างๆ อ้างเวลาโดยใช้จุลศักราช ควบคู่กับปีนักษัตร(อาทิ แรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีฉลู สัปตศก จุลศักราช 927) จุลศักราชเป็นศักราชอันกำเนิดจากดินแดนที่ปัจจุบันเป็นประเทศพม่า

    พจนานุกรรมฉบับมติชน พ.ศ.2547 อธิบายศัพท์ "จุลศักราช" ใช้ชื่อย่อ จ.ศ. หมายถึงศักราชซึ่งตั้งขึ้นภายหลังเมื่อ "พุทธศักราช" (พ.ศ.) ล่วงแล้วได้ 1181 ปี น้อยกว่า "มหาศักราช" (ม.ศ.) 199 ปี (มหาศักราชมีกำหนดแรกบัญญัตินับแต่วันพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว 621 ปี เป็นศักราชที่แพร่หลายเข้ามาใช้ในเมืองไทยก่อนศักราชอื่น (ประมาณว่าตั้งแต่เริ่มมีการจารึกหนังสือไทย ใช้มหาศักราชเป็นส่วนใหญ่) จุลศักราชมีจุดเปลี่ยนตอนมหาสงกรานต์

    เกี่ยวกับกำเนิด จุลศักราช มีข้อสันนิษฐานหลายทาง ทางหนึ่งเล่าเรื่องว่า "สังฆราชบุพโสระหัน" สึกจากสมณเพศมาช่วงชิงราชบัลลังก์เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 19 ในราชวงศ์สมุทฤทธิ์ และตั้งศักราชขององค์เองขึ้นโดยบัญญัติ "จุลศักราช" เป็นการนับเดือนปีแบบจันทรคติ โดยถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันขึ้นปีใหม่

    พร้อมกันนั้นไทยก็รับจุลศักราชมาใช้ด้วย กระทั่งถึงรัชกาลพระบาทเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าไทยควรใช้ศักราชแบบไทยจะเหมาะสมกว่า ทรงออกพระราชบัญญัติให้นับศักราชแบบใหม่ คือ "รัตนโกสินทรศก" (ร.ศ.) โดยปรากฏในประกาศ "ให้ใช้วันอย่างใหม่"

    ศักราชที่เคยใช้มาก่อนทั้งมวลเป็นอันงดใช้ ให้ใช้ "รัตนโกสินทรศก" เว้นแต่ในทางพระพุทธศาสนา คงใช้ พุทธศักราช เท่านั้น แต่การลงศักราชเป็นรัตนโกสินทรศก กระทำอยู่ได้ไม่นานนัก ปรากฏว่าตั้งแต่ พ.ศ.2454 เป็นต้นมา หนังสือราชการและสิ่งพิมพ์ต่างๆ หันมาใช้ พุทธศักราช ตราบทุกวันนี้

    ความเป็นมาของจุลศักราชอีกด้านหนึ่งเป็นข้อสันนิษฐานของ ดร.วินัย พงษ์ศรีเพียร ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาลัยศิลปากร ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือ "วันวาร กาลเวลา แลนานาศักราช" จัดพิมพ์โดยกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 หน้า 67-69 ความว่า จุลศักราชน่าจะตั้งในปีที่พระเจ้าสูริยวิกรม กษัตริย์พะยู่ ขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ.1181 ซึ่งปีที่ตั้งนั้นอาณาจักรพุกามยังไม่เกิด

    ต่อมาเมื่อพวกพม่าอพยพจากทิเบตเข้าไปในดินแดนนี้ จึงรับศักราชนี้ไปใช้ เลยเกิดความเชื่อกันว่าเป็นศักราชของชาวพม่า แล้วเข้าใจผิดกันไปใหญ่ว่าตั้งขึ้นในสมัยของพระเจ้าอนุรุทธมหาราช จุลศักราชถูกนำมาใช้แพร่หลายทั้งในอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรอยุธยา


    การคำนวณปีพุทธศักราช จากจุลศักราช ปฏิทินไทยให้ใช้ปีจุลศักราช บวก 1181 ก็จะได้ปีพุทธศักราช

    (2 มิถุนายน 2549) [/COLOR]
    [/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031101&tag950=03you30260148&show=1

    ช่างสิบหมู่
    ประวัติ
    คอลัมน์รู้ไปโม้ด โดยน้าชาติ ประชาชื่น

    [COLOR=#00000]<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="20%" align=right bgColor=#f0f5f5 border=0 valign="top"><TBODY><TR><TD align=left>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>คืออยากทราบว่าประวัติของช่าง 10 หมู่ ที่ทำเกี่ยวกับการลงรักปิดทองรูปภาพ จะดูได้ที่เว็บใดบ้างคะ และที่มีประวัติทั้งไทยและอังกฤษค่ะ ขอบคุณค่ะ /kanitta

    ตอบตำรา "ช่างศิลป์ไทย" ของกรมศิลปากร อรรถาธิบายถึงงานลงรักปิดทอง หรือเรียกตามศัพท์ว่า งานช่างลายรดน้ำ หรืองานลายคำของล้านนา ว่า จัดเป็นงานช่างศิลป์ประเภทหนึ่งซึ่งรวมอยู่ใน "หมู่ช่างรัก" อันเป็นช่างหมู่หนึ่งในบรรดาช่างหลวง หรือช่างประจำราชสำนัก เรียกกันว่า "ช่างสิบหมู่"

    ลายรดน้ำเป็นลายทองที่ล้างด้วยน้ำ เป็นงานประณีตศิลป์สำคัญสำหรับตกแต่งประดับสิ่งของเครื่องใช้ในรั้วในวังถึงของชาวบ้านธรรมดา และเครื่องใช้ในพระศาสนา ตั้งแต่สิ่งของที่มีขนาดเล็กจนถึงผนังห้องที่มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่เนื้อที่ไม่กี่ตารางนิ้ว จนถึงหลายร้อยตารางฟุต ตกแต่งได้วิจิตรเสมอกัน

    สันนิษฐานว่า การเขียนลวดลายหรือรูปภาพประเภทนี้มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยรับอิทธิพลจากจีน ซึ่งติดต่อค้าขายกันอยู่ ทั้งนี้ จีนเป็นชนชาติแรกที่รู้จักการใช้รักก่อนใครอื่น


    ต่อมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยามีหลักฐานทั้งที่เป็นเอกสารและอาคาร สิ่งของ ยืนยันถึงงานลายรดน้ำ โดยเฉพาะสมัยอยุธยาตอนปลาย งานลายรดน้ำเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด พระที่นั่ง พระตำหนักหลายองค์เขียนประดับฝาผนังด้วยลายรดน้ำ รวมทั้งพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทในพระราชวังหลวง

    นอกจากนี้ยังปรากฏลายรดน้ำที่หอไตร ศาลาการเปรียญ ที่ยังคงงดงามถึงทุกวันนี้คือศาลาการเปรียญ ตำหนักสมเด็จพระเจ้าแตงโม วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี ยังมีตู้พระธรรม ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอวชิรญาณ หลังหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี พระนคร ตู้พระธรรมลายรดน้ำที่จัดว่างามเยี่ยมเป็นเอก คือตู้พระธรรมฝีมือ "ครูวัดเซิงหวาย" ลายรดน้ำยังเขียนประดับตกแต่งข้าวของเครื่องใช้อย่างหีบ พานแว่นฟ้า โตก ตะลุ่ม เตียบ เชี่ยนหมาก


    สำหรับลายรดน้ำศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ชมได้ในพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม มณฑปพระไตรปิฎกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ และที่ฝ่าพระบาทพระพุทธไสยาสน์ปูนปั้นวัดราชโอรส


    รายละเอียดเกี่ยวกับการลงรักปิดทองเคยตอบไปแล้ว เชิญเข้าเว็บรู้ไปโม้ด http://www.matichon.co.th/youth/youth.php พิมพ์คำว่า "ลงรักปิดทอง"

    หรือขอความรู้จากสถาบันศิลปกรรม (เทเวศร์) กรุงเทพฯ โทร.0-2282-5444, 0-2282-5447 และสถาบันศิลปกรรม พุทธมณฑลสาย 5 โทร.0-2441-9838 และ 0-2441-9423


    ก่อนจะเป็นลายรดน้ำงดงาม ใช้น้ำยาหรดาลเขียนบนพื้นซึ่งทาด้วยยางที่ได้จากต้นรัก เมื่อเขียนเสร็จจึงเช็ดรัก ปิดทอง แล้วเอาน้ำรดน้ำยาหรดาลที่เขียนเมื่อถูกน้ำจะหลุดออก ส่วนที่เป็นลวดลายทองจะติดอยู่ทำให้ลวดลายหรือรูปภาพที่ปรากฏหลังการรดน้ำเป็นสีทองเพียงสีเดียวบนพื้นสีดำหรือแดง

    (26 มกราคม 2548)
    ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติช่างไทยสิบหมู่

    เรื่องการช่างต่างๆของไทยจัดเป็นวัฒนธรรมสาขาหนึ่งที่มีความสำคัญควรค่าแก่การอนุรักษ์ สืบสาน ถ่ายทอด ช่างไทยสิบหมู่เป็นวัฒนธรรมทางด้านศิลปะแขนงหนึ่งในกระบวนช่างไทยซึ่งได้จำแนกแยกแยะงานช่างไว้มากมาย แต่ได้หยิบยกที่สำคัญมาเพียง 10 อย่าง โดยผู้ที่เป็นช่างต้องเรียนรู้กรรมวิธีและมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างๆไป

    ช่างไทยสิบหมู่ได้แก่ ช่างเขียน ช่างแกะ ช่างสลัก ช่างกลึง ช่างหล่อ ช่างปั้น ช่างหุ่น ช่างรัก ช่างบุและช่างปูน

    ประวัติความเป็นมา เรื่อง "ช่างสิบหมู่" ในสมัยก่อนเป็นกรมๆหนึ่ง ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงอธิบายประทานแก่พระยาอนุมานราชทน ในหนังสือบันทึกความรู้เรื่องต่างๆดังนี้ว่า

    ตามปกติการปกครองเมืองสมัยโบราณ จัดเป็นจตุสดมภ์ คือเป็นกระทรวงเวียง วัง คลัง นา กระทรวงใดมีกิจจะต้องทำสิ่งซึ่งต้องอาศัยฝีมือช่าง ก็ต้องหาช่างชนิดที่ต้องการใช้มารวบรวมตั้งไว้ในกระทรวงนั้นเพื่อใช้ จึงได้มีการช่างมากมายกระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆหลายกระทรวงด้วยกัน ตามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสไว้ ดังจะยกตัวอย่างให้เห็น เช่น กระทรวงวัง มีกรมทหารในกรมรักษาพระองค์ แต่มีกรมช่างทหารในขึ้นอยู่ในกรมทหารในนั้นอีกชั้นหนึ่ง เจ้ากรมคือหลวงประดิษฐ์นิเวศน์ เห็นได้ตามชื่อว่ามีหน้าที่ปลูกสร้างเรือนหลวงในพระราชนิเวศน์ คงมีขึ้นด้วยเหตุที่เจ้ากรมหรือปลัดกรมคนใดคนหึ่งในกรมทหารในเป็นผู้เข้าใจการปลูกสร้างจึงตรัสใช้ ผู้รับสั่งนั้นก็ต้องเสาะหาช่างมาเป็นลูกมือ งานมากขึ้น ช่างมากขึ้นก็ต้องตั้งขึ้นเป็นกรมทหารใน แม้แต่กรมมหาดเล็กก็ยังมีกรมช่างมหาดเล็ก เป็นอีกกรมหนึ่งเหมือนกัน มีช่างเขียน ช่างปั้นและอื่นๆ ช่างสิบหมู่จึงเป็นชื่อกรมที่รวบรวมช่างไว้มีสิบหมู่ด้วยกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าในบ้านเมืองมีช่างแค่สิบอย่างเท่านั้น ที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างที่ยกมารวมไว้เรียกว่า "ช่างสิบหมู่"

    แท้จริงช่างไทยมีอยู่มากกว่านั้น แต่ที่เรียกว่า "ช่างสิบหมู่" ก็เพื่อต้องการจะรวบรวมช่างที่เป็นส่วนสำคัญไว้ก่อนเพียง 10 หมู่ แล้วภายหลังคิดเพิ่มเติม หรือแยกแขนงออกไปอีกตามลักษณะของงานนั่นเอง ตามบัญชีชื่อช่างที่ขึ้นทำเนียบเป็นช่างหลวงมีดังต่อไปนี้ ช่างเลื่อย ช่างก่อ ช่างดอกไม้เพลิง ช่างไม้สำเภา ช่างปืน ช่างสนะ(จีน) ช่างสนะ (ไทย) ช่างขุนพราหมณ์เทศ ช่างรัก ช่างมุก ช่างปากไม้ ช่างเรือ ช่างทำรุ ช่างเขียน ช่างแกะ ช่างสลัก ช่างกลึง ช่างหล่อ ช่างปั้น ช่างหุ่น ช่างบุ ช่างปูน ช่างหุงกระจก ช่างประดับกระจก ช่างหยก ช่างชาดสีสุก ช่างดีบุก ช่างต่อกำปั่น ช่างทอง
    [/COLOR]
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031101&tag950=03you30310847&show=1

    เครื่องเบญจรงค์
    ประวัติ-ที่มา


    [COLOR=#00000]<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="20%" align=right bgColor=#f0f5f5 border=0 valign="top"><TBODY><TR><TD align=left>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>หนูอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำเบญจรงค์น่ะค่ะ ว่ามีกรรมวิธีใดบ้าง ลงสีอย่างไร ลวดลายที่ได้รับความนิยมในสมัยต่างๆ รบกวนน้าชาติช่วยค้นหาข้อมูลให้หนูด้วยนะคะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ


    sign_hikaru


    ตอบ ซายน์


    5 สี "เบญจรงค์" ชื่อเรียกเครื่องถ้วยชนิดหนึ่งที่มีใช้ในประเทศไทยแต่ครั้งอยุธยาสืบถึงรัตนโกสินทร์ เป็นเครื่องถ้วยที่สั่งทำพิเศษจากแผ่นดินใหญ่โพ้นทะเล ช่างไทยออกแบบ ให้ลาย ให้สี ส่งไปให้ช่างจีนผลิตในประเทศจีน แล้วช่างไทยก็ตามไปควบคุมการผลิตให้ออกมาได้รูปลักษณะงามอย่างศิลปะไทย โดยเฉพาะลวดลายสีสันแสดงเอกลักษณ์ไทยชัดเจน


    เครื่องเบญจรงค์หมายถึงเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ เขียนลายโดยลงยาด้วยสีต่างๆ นอกจากสีหลักทั้ง 5 อันมีสีดำ ขาว เหลือง แดง และเขียว(หรือคราม) ยังมีสีรองอย่างชมพู ม่วง น้ำตาล แสด มาเสริมสวย เป็นเครื่องถ้วยที่ต้องใช้ฝีมือสูง ต้องละเอียด ประณีต จากเครื่องใช้ในรั้วในวังถึงปัจจุบันเครื่องเบญจรงค์ยังได้รับความนิยมโดยเฉพาะในแง่เป็นตัวแทนแสดงความเป็นไทย (แม้รากฐานจะเป็นของจีนก็ตาม)

    ย้อนอดีตสู่ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 รัชสมัยจักรพรรดิซวนเต๊อะ (ครองราชย์พ.ศ.1969-1978) ราชวงศ์หมิง มีการผลิตเครื่องเคลือบเขียนลายลงยาขึ้นครั้งแรกที่แคว้นกังไซ (ไทยเรียกกังไส ที่มาของชื่อเรียกเครื่องกังไส) มณฑลเจียงซี และพัฒนาต่อมาจนเป็นที่นิยมอย่างมากในรัชสมัยจักรพรรดิเฉิงฮั่ว (พ.ศ.2008-2030) การเขียนลายโดยวิธีลงยาดังกล่าวใช้ตั้งแต่ 3 สีขึ้นไป

    ถึงยุคจักรพรรดิวั่นลิ (พ.ศ.2116-2162) มีการผลิตเครื่องเคลือบแบบเบญจรงค์มากที่สุด ติดต่อมาถึงสมัยราชวงศ์ชิง (ปกครองจีนระหว่างพ.ศ.2187-2454) ความสวยงามเข้าตาสยาม จีนรับออร์เดอร์ไม่หวัดไหวให้ผลิตภาชนะเป็นแบบไทย มีการเขียนลาย ให้สี ส่งเป็นตัวอย่างมาให้ เป็นเบญจรงค์ที่ให้ความรู้สึกว่าเป็นของไทยอย่างยิ่ง

    ครั้นจะผลิตเองยามนั้นก็ออกจะติดขัดอยู่ เนื่องจากไทยยังไม่มีเทคนิคการผลิตที่ดี มีแต่ฝีมือเยี่ยมในการออกแบบลวดลายได้วิจิตร

    เครื่องเบญจรงค์มาแรกเริ่มผลิตในประเทศไทยในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง เป็นเตาเผาของกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ

    เครื่องเบญจรงค์ หรือเรียกเครื่องถ้วย มีทั้งแก้วน้ำ ถ้วยกาแฟ กาน้ำชา ชุดถวายข้าวพระพุทธ ตลับใส่ของ และนานา ขั้นตอนการผลิตเริ่มจาก 1.นำเครื่องเคลือบขาวมาล้างให้สะอาด (หากสามารถ เป็นเครื่องดินเผาที่ปั้นเองก็เข้าที แล้วนำมาเคลือบขาว) 2.ตั้งแป้นวนเส้นกำหนดลาย 3.เขียนลายด้วยน้ำทอง 4.ลงสี 5.วนทองส่วนที่เหลือ และ 6.เข้าเตาเผา

    ลายยอดนิยมคือลายกระหนก ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายเทพนม นรสิงห์
    [/COLOR]
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031101&tag950=03you30221248&show=1

    ต้นไม้ประจำพระพุทธเจ้า
    รายชื่อ
    คอลัมน์รู้ไปโม้ด โดยน้าชาติ ประชาชื่น

    [COLOR=#00000]ต้นไม้ประจำพระพุทธเจ้าแต่ละท่านมีอะไรบ้างครับ?? ผมไม่เคยรู้เลย /ธันธนัตถ์

    ตอบ
    เข้าใจว่าถามถึงต้นไม้ที่ประทับตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ คำตอบอยู่ในหนังสือความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข ซึ่งอรรถาธิบายถึงต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า 29 พระองค์ โดยต้นไม้ตรัสรู้ขององค์ที่ 1-3 พบในชินกาลมาลีปกรณ์ องค์ที่ 4-29 พบในพุทธวงศ์

    1.พระตัณหังกร ไม้สัตตปัณณะ (ตีนเป็ดขาว) 2.พระเมธังกร ไม้กิงสุกะ (ทองกวาว) 3.พระสรณังกร ไม้ปาตลี (แคฝอย) 4.พระทีปังกร ไม้ปิปผลิ (เลียบ) 5.พระโกณฑญญะ ไม้สาลกัลยาณี (ขานาง) 6.พระมังคละ ไม้นาคะ (กากะทิง) 7.พระสุมนะ ไม้นาคะ 8.พระเรวตะ ไม้นาคะ 9.พระโสภิตะ ไม้นาคะ 10.พระอโนมทัสสี ไม้อัชชุนะ (รกฟ้าขาว) 11.พระปทุมะ ไม้มหาโสณะ (อ้อยช้าง, คำมอก)

    12.พระนารทะ ไม้มหาโสณะ 13.พระปทุมุทตระ ไม้สลฬะ (สน) 14.พระสุเมธะ ไม้มหานิมพะ (สะเดาป่า) 15.พระสุชาตะ ไม้มหาเวฬุ (ไผ่ใหญ่) 16.พระปิยทัสสี ไม้กกุธะ (กุ่ม) 17.พระอัตถทัสสี ไม้จัมปกะ (จำปาป่า) 18.พระธัมมทัสสี ไม้พิมพชาละ หรือกุรวกะ (มะพลับ, ซ้องแมว) 19.พระสิทธัตถะ ไม้กัณณิการะ (กรรณิการ์) 20.พระติสสะ ไม้อสนะ (ประดู่ลาย) 21.พระปุสสะ ไม้อาลมกะ (มะขามป้อม) 22.พระวิปัสสี ไม้ปาตลิ

    23.พระสิขี ไม้ปุณฑริกะ (มะม่วงป่า) 24.พระเวสสภู ไม้มหาสาละ (สาละใหญ่) 25.พระกะกุสันธะ ไม้มหาสิริสะ (ซึกใหญ่) 26.พระโกนาคมนะ ไม้อุทุมพระ (มะเดื่อ) 27.พระกัสสปะ ไม้นิโครธ (ไทร, กร่าง) 28.พระโคตมะ คือพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน พระบรมศาสดา ไม้อัสสตถะ (พระศรีมหาโพธิ) 29.พระเมตไตรย คือพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ไม้นาคะ

    ยังมีความรู้เรื่องต้นไม้ที่มีความเกี่ยวพันกับพุทธประวัติ แต่ด้วยเนื้อที่จำกัด จำเป็นต้องเลือก ดังนี้ ต้นมุจจลินทร์ หรือต้นจิก ภายหลังจากตรัสรู้แล้วถึงสัปดาห์ที่ 6 ทรงประทับภายใต้ร่มเงาต้นไม้จิกอันมีชื่อว่ามุจจลินทร์ เสวยวิมุตติสุขเป็นเวลา 7 วัน มีพญามุจจลินทร์นาคราชวางขนดแผ่พังพานปกป้องจากสายลม สายฝน พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานแสดงความสุขที่แท้อันเกิดจากการไม่เบียดเบียนกัน

    ต้นสาละ พระพุทธองค์ประสูติภายใต้ต้นสาละใหญ่ ณ อุทยานลุมพินี วันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นยามสามของวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ภายใต้ร่มเงาพระศรีมหาโพธิ ภายในป่าสาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ครั้นวันเพ็ญเดือน 8 สองเดือนหลังตรัสรู้ เสด็จมาถึงบริเวณป่าสาละ อุทยานอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงแสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรกคือธัมมจักกัปปวัตนสูตร พระรัตนตรัยเกิดครบบริบูรณ์

    เมื่อพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุครบ 80 พรรษาได้เสด็จถึงสาลวโนทยาน ใกล้เมืองกุสินารา เป็นเวลาใกล้ค่ำของวันเพ็ญเดือน 6 วันสุดท้ายก่อนการกำเนิดพุทธศักราช รับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดที่บรรทมระหว่างต้นสาละใหญ่ 2 ต้น ทรงเอนพระวรกายลงโดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ประทับไสยาสน์แบบสีหไสยาเป็นอนุฏฐานไสยา คือการนอนครั้งสุดท้ายกระทั่งสังขารดับ

    (22 ธันวาคม 2548)
    [/COLOR]
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031101&tag950=03you30150137&show=1

    ปาราชิก
    คอลัมน์ รู้ไปโม้ด
    โดย น้าชาติ ประชาชื่น

    [COLOR=#00000]ผมอยากทราบว่าพระสงฆ์ทำผิดอย่างไรจึงเรียกว่า "อาบัติ" และทำผิดอย่างไรจึงเรียกว่า "ปาราชิก" รบกวนน้าชาติอธิบายให้เข้าใจด้วย[/COLOR]

    [COLOR=#00000]พีระ[/COLOR]

    [COLOR=#00000]ตอบพีระ[/COLOR]

    [COLOR=#00000]อาบัติ แปลว่า ต้อง ถูกต้อง หมายถึง ข้อบัญญัติวินัยสำหรับป้องกันความประพฤติของพระภิกษุให้อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรมอันดีงาม อาบัติแต่ละข้อพระพุทธเจ้าจะทรงบัญญัติตามคำแนะนำและติเตียนของชาวบ้านที่ได้พบเห็นและรู้เรื่องราวความประพฤติของพระ แล้วนำไปฟ้องร้องให้พระพุทธเจ้าทรงรับรู้ ในฐานะพระศาสดา [/COLOR]

    [COLOR=#00000]พระพุทธองค์จะทรงวินิจฉัยและตรากฎบัญญัติหรืออาบัติขึ้นตามเหตุการณ์บ้านเมืองสมัยนั้น ซึ่งมีทั้งหมด 227 ข้อ ประกอบด้วย ปาราชิก 4 สังฆาทิเสส 13 อนิยต 2 นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ 30 ปาจิตตีย์ 92[/COLOR]

    [COLOR=#00000]นอกจากนี้ยังมี ปาฏิเทสนียะ เสขิย ปกิณณกะ อธิกรณสมถะอีกด้วย[/COLOR]

    [COLOR=#00000]อาบัติตั้งแต่สังฆาทิเสสลงมา พระภิกษุที่ถูกต้องแล้วยังไม่จัดว่าพ้นจากความเป็นพระ เฉพาะอาบัติสังฆาทิเสสถือว่าเป็นอาบัติหนัก พระภิกษุที่ต้องแล้วต้องอยู่กรรมจึงจะพ้นผิด ส่วนอาบัติอื่นๆ นั้นพระภิกษุที่ต้องกล่าวแสดงต่อหน้าพระภิกษุให้รับทราบก็จะสามารถพ้นจากอาบัติได้[/COLOR]

    [COLOR=#00000]สำหรับอาบัติปาราชิกนั้น จัดว่าเป็นอาบัติหนักที่สุดซึ่งเมื่อพระภิกษุต้องอาบัตินี้แล้วต้องขาดจากความเป็นพระทันที แม้จะไม่ยอมสึกออกจากการเป็นพระ หรือต้องอาบัติแล้วจะไม่สึกยอมออกไปก็ถือว่าขาดจากการเป็นพระทันทีที่ต้องอาบัติ ทางพระวินัยถือว่าไม่สามารถร่วมสังวาสกับพระภิกษุสงฆ์ได้ด้วย และไม่สามารถบวชเป็นพระได้อีกต่อไป[/COLOR]

    [COLOR=#00000]พระพุทธเจ้าทรงเปรียบพระภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกว่าเป็นเหมือนต้นตาลยอดด้วน ไม่สามารถออกดอกผลได้อีกต่อไป เท่ากับว่าไม่สามารถเจริญงอกงามในพระธรรมวินัยในบวรพระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในฐานะพระภิกษุได้อีก[/COLOR]

    [COLOR=#00000]อาบัติปาราชิก มีอยู่ 4 ข้อ คือ 1.เสพเมถุน 2.ลักขโมย 3.ฆ่ามนุษย์ให้ตาย 4.อวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตัวให้ปรากฏ[/COLOR]

    [COLOR=#00000]อาบัติข้อที่ 1.เสพเมถุน กรณีที่พระภิกษุเสพสังวาสกับสตรีหรือแม้แต่เดรัจฉานเพศเมีย ถือว่าขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที แม้จะอยู่ในผ้าเหลืองหรือไม่ก็ตาม ถือว่าขาดจากการเป็นพระขณะที่สำเร็จกิจ[/COLOR]

    [COLOR=#00000]สำหรับพระภิกษุที่เป็นต้นบัญญัติ ทำโดยไม่รู้ตัวกรณีถูกบังคับ มีจิตฟุ้งซ่าน เป็นบ้า ไม่รู้ตัวว่าทำอะไรลงไป และไม่มีเจตนาถือว่าไม่ต้องอาบัติ ภิกษุต้นบัญญัติ ชื่อพระสุทิน ชาวเมืองเวสาลี[/COLOR]

    [COLOR=#00000]อาบัติข้อที่ 2 ลักขโมย เมื่อมีเจตนาลักขโมยของที่เจ้าของไม่ได้อนุญาตด้วยจิตที่จะลัก ซึ่งพระวินัยกำหนดไว้ คือ ราคา 1 มาสก หรือ 1 บาทขึ้นไป (ราคาสิ่งของในสมัยนั้น) ภิกษุที่เป็นต้นบัญญัติชื่อพระธนิยะ ได้ขโมยไม้หลวง[/COLOR]

    [COLOR=#00000]อาบัติข้อที่ 3 ฆ่ามนุษย์ให้ตายด้วยตนเอง หรือใช้ให้คนอื่นฆ่า กรณีนี้ก็เช่นกัน คือพระภิกษุมีเจตนาอยู่แล้ว ตั้งใจที่จะฆ่า เช่น คิด และมีการวางแผน ฆ่าให้ตาย เมื่อไม่ตายก็พยายามแล้วพยายามอีกจนเสียชีวิต ถือว่าขาดจากการเป็นพระทันที กรณีที่ไม่มีเจตนาไม่ถือว่าต้องอาบัติ[/COLOR]

    [COLOR=#00000]อาบัติข้อที่ 4 พูดอวดคุณวิเศษ ในที่นี้หมายภูมิธรรม อาทิ ไม่ได้เป็นพระโสดาบันอ้างตัวว่าบรรลุฌาน สมาบัติ พระโสดาบัน เป็นต้น ถือว่า พ้นจากความเป็นพระภิกษุทันที ยกเว้น สำคัญผิดคิดว่าตนเองบรรลุ มิได้ประสงค์จะโอ้อวด ภิกษุบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่รู้สึกตัว และพระที่เป็นต้นบัญญัติ[/COLOR]

    [COLOR=#00000]การจะต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเจตนาและการกระทำของพระภิกษุเป็นเกณฑ์ พระพุทธองค์ได้ทรงวินิจฉัยเป็นกรณีๆไป [/COLOR]

    [COLOR=#00000](5พย44) [/COLOR]

    *****************************************************************************************

    ที่มา http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031101&tag950=03you30040445&show=1

    อาบัติปาราชิก
    คอลัมน์รู้ไปโม้ด
    โดยน้าชาติ ประชาชื่น

    [COLOR=#00000]สวัสค่ะ น้าชาติ ได้อ่านรู้ไปโม้ดของน้าชาติจากหนังสือพิมพ์ข่าวสดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2544 มีข้อข้องใจดังนี้ อาบัติปาราชิกข้อที่ 1 เสพเมถุนกรณีที่พระภิกษุเสพสังวาสกับสตรีหรือเดรัจฉานเพศเมียถือว่าขาดจากความเป็นพระ แต่ทุกวันนี้ความเบี่ยงเบนทางเพศมีมาก ถ้าพระภิกษุที่นิยมไม้ป่าเดียวกันจะถือว่าปาราชิกหรือไม่คะ

    ตอบผู้รู้จากโต๊ะพระ แจงข้อสงสัยนี้มาให้ว่า อาบัติปาราชิกถือเป็นอาบัติหนักที่สุด มีทั้งหมด 4 ข้อด้วยกัน คือ เสพเมถุน ลักขโมยของเขา ฆ่ามนุษย์ให้ตาย(รวมไปถึงใช้คนอื่นให้ฆ่าด้วย) และอวดคุณวิเศษที่ตนเองไม่มี (คุณวิเศษหมายถึงมรรค ผล นิพพาน เป็นต้น)

    พระต้องอาบัติหรือประพฤติผิดข้อใดข้อหนึ่งจนสำเร็จ ถือว่าขาดจากความเป็นพระทันที แม้จะห่มผ้าเหลืองโกนผมก็ไม่ใช่พระตั้งแต่วินาทีที่กระทำความผิด ไม่มีข้อยกเว้น เว้นแต่ไม่มีเจตนาหรือไม่ได้จงใจทำ

    อาบัติข้อที่ 1 ไม่ว่าพระจะเสพเมถุนหรือเสพสังวาสกับสตรี สัตว์เดรัจฉานตัวเมีย แม้แต่นิยมไม้ป่าเดียวกันก็ถือว่าผิดเต็มประตู ต้องอาบัติปาราชิกพันเปอร์เซ็นต์ กลายเป็นตาลยอดด้วนต่อไม่ติด

    พระบาลีระบุไว้ คือ เวจจมัคค์ (สำเร็จความใคร่ทางรูทวาร) ปัสสาวมัคค์ (สำเร็จทางช่องปัสสาวะ) และมุขมัคค์ (สำเร็จโดยใช้ปาก) จะเสพทางไหนก็ผิดทั้งนั้นแหละ

    อาบัติข้อที่ 2 ลักขโมย ที่ถูกเป็น 5 มาสกขึ้นไปถือว่าต้องอาบัติปาราชิก 1 มาสกเท่ากับ 1 บาท (เงินโบราณ)

    (4 เม.ย. 2545)
    [/COLOR]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2007

แชร์หน้านี้

Loading...