พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    การไหว้ เป็นมารยาทไทยที่ เป็นวัฒนธรรมการทักทาย เวลาพบปะกันหรือลาจากกัน "การไหว้" เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการกล่าวคำว่า "สวัสดี" แล้วยังแสดงออกถึงความหมาย "การขอบคุณ" และ "การขอโทษ" การไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอัน ดีงาม โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ไม่แยกปลายนิ้วออกจากกัน ยกมือขึ้นในระดับต่างๆ ตามฐานะของบุคคล เเละเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ต้องรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ


    [แก้ไข] ลักษณะการเเสดงความเคารพด้วยการไหว้

    การแสดงความเคารพมีหลาย ลักษณะ เช่น การประนมมือ การไหว้ การกราบ การคำนับ การถวายความเคารพ การถวายบังคม เป็นต้น การที่จะ แสดงความเคารพในลักษณะใดนั้น ต้องพิจารณาผู้ที่ จะรับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะเช่นใด หรือในโอกาสใด แล้วจึงแสดงความเคารพให้ถูก ต้องและเหมาะสมการแสดงความเคารพแบ่งได้ดัง นี้คือ
    [​IMG]

    [แก้ไข] การประนมมือ


    การประนมมือ (อัญชลี) ประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน ฝ่ามือราบ ปลายนิ้วตั้งขึ้น แขนแนบตัวระดับอก ไม่กาง ศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือ นี้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟัง พระธรรมเทศนา และขณะพูดกับพระสงฆ์ซึ่งเป็น ที่เคารพนับถือ เป็นต้น

    [แก้ไข] ไหว้

    ไหว้ (วันทนา ) การไหว้เป็นการแสดงความเคารพโดยการประนม มือให้นิ้วชิดกันยกขึ้นไหว้ การไหว้แบบ ไทยแบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคล ดัง นี้

    • ระดับที่ 1 การไหว้พระ ได้แก่ การ ไหว้พระรัตนตรัยรวมทั้งปูชนียวัตถุและปูชนีย สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่ สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือให้ปลาย นิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก
    [​IMG]
    ชาย ยืน แล้วค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้น ไหว้
    หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงให้ต่ำโดย ถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัด พร้อมยกมือ ขึ้นไหว้

    • ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระ คุณและผู้มีอาวุโส ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ อย่างสูง โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดระหว่าง คิ้ว
    [​IMG]
    ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับ การไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้
    หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งพร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้

    • ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไปที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโส รวมทั้ง ผู้ที่เสมอกันโดยประนมมือยกขึ้นให้ปลาย นิ้วจรดปลายจมูก
    [​IMG]
    ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมกับ ยกมือขึ้นไหว้
    หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ โดยถอย เท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย พร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้
    [​IMG]
    ในการไหว้ผู้เสมอกันทั้งชาย และหญิงให้ยกมือขึ้นไหว้พร้อมกัน หรือใน เวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ทำพร้อมกันเป็น หมู่คณะ ควรจะนัดหมายให้ทำอย่างเดียวกัน การไหว้ตามมารยาทไทยเช่นนี้ ปฏิบัติให้เรียบ ร้อยนุ่มนวลด้วยความสำรวมจึงจะดูงาม


    [แก้ไข] การกราบ

    การกราบ(อภิวาท) เป็นการแสดงความเคารพด้วย วิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะ ลงจรดพื้นหรือจรดมือ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วน้อมศีรษะลงบนมือนั้น เช่น กราบลงบน ตักก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ ถ้าหมอบแล้วน้อม ศีรษะจรดมือที่ประนมถึงพื้นเรียกว่า หมอบกราบ การกราบมี 2 ลักษณะ คือ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ และการกราบผู้ใหญ่
    3.1 การกราบแบญ จางคประดิษฐ์ ใช้กราบพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การ ที่ให้อวัยวะทั้ง 5 คือ เข่าทั้ง 2 มือทั้ง 2 และหน้าผากจรดพื้น การกราบจะมี 3 จังหวะ และจะต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ
    [​IMG]


    [แก้ไข] ท่าเตรียมกราบ



    • ชาย นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่ง บนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้ง สองข้าง (ท่าเทพบุตร)

    • หญิง นั่งคุกเข่าปลาย เท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบน หน้าขาทั้งสองข้าง (ท่าเทพธิดา)

    • จังหวะ ที่ 1 ( อัญชลี) ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วชิดกันตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก
    [​IMG]



    • จังหวะที่ 2 (วันนา) ยกมือขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะ โดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้า ผาก
    [​IMG]



    • จังหวะที่ 3 (อภิวาท) ทอดมือลง กราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน มือคว่ำห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรด พื้นระหว่างมือได้
    [​IMG]

    • ชาย ให้กางศอกทั้งสอง ข้างลง ต่อจากเข่าขนานไปกับพื้น หลังไม่ โก่ง

    • หญิง ให้ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็ก น้อย
    ทำสามจังหวะให้ครบสามครั้ง แล้วยก มือขึ้นจบโดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง การกราบไม่ควรให้ช้าหรือ เร็วเกินไป
    3.2 การกราบผู้ใหญ่ ใช้ กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโส รวมทั้งผู้มีพระ คุณได้แก่ พ่อ แม่ ครูอาจารย์ และผู้ที่เรา เคารพ กราบเพียงครั้งเดียว โดยที่ผู้กราบทั้งชาย และหญิงนั่งพับเพียบ ทอดมือทั้งสองข้างลง พร้อมกัน ให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้าน ล่างเพียงเข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลงให้หน้า ผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม ในขณะกราบ ไม่ควรกระดกนิ้วหัวแม่มือขึ้นรับหน้าผาก
    [​IMG]
    3.3 การกราบบุคคล และกราบศพ เป็นการกราบด้วยวิธีกระพุ่มมือ และกราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ ดังนี้
    1) หากบุคคลหรือศพอาวุโสกว่าให้ประนมมือไหว้ ให้ปลายนิ้วจรดจมูก หรือจรดหว่างคิ้วก็ได้ถ้าคนเสมอกันประนมมือเพียงระหว่างอก
    2) นั่งพับเพียบเก็บเท้า ตามแบบนั่งพับเพียบ
    3) หมอบลงตามแบบหมอบ
    4) มือทั้งสองกระพุ่มทอดลงกับพื้นไม่แบมือ
    5) ก้มศีรษะลงจรดสันมือ กราบเพียงครั้งเดียว
    6) เสร็จแล้วลุกขึ้นนั่งพับเพียบตามปกติ
    ศพพระสงฆ์จะกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์สามครั้งก็ได้ สำหรับนาคกราบลาบวช หรือจะกราบบิดามารดาตอนรับผ้าไตรใช้แบบเบญจางคประดิษฐ์ สามครั้ง


    [แก้ไข] การคำนับ

    [​IMG]
    ในการคำนับ ให้ยืนตรง มือปล่อยไว้ข้างลำ ตัวค้อมศีรษะเล็กน้อย การคำนับนี้ส่วนมากเป็น การปฏิบัติของชาย แต่ให้ใช้ปฏิบัติได้ทั้งชาย และหญิงเมื่อแต่งเครื่องแบบและไม่ได้สวมหมวก


    [แก้ไข] การแสดงความเคารพพระมหากษัตริย์

    5.1 การ ถวายบังคม เป็นราชประเพณีถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ ในงานพระราชพิธีสำคัญ ก่อนที่จะถวาย บังคมต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมคือ นั่งคุกเข่าปลาย เท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้าเช่นเดียวกันทั้งชาย และหญิง มือทั้งสองวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสอง ข้าง ชายนั่งแยกเข่าได้เล็กน้อย หญิงนั่งเข่า ชิด
    [​IMG]

    [แก้ไข] การถวายบังคมแบ่งออกเป็น 3 จังหวะ ดังนี้



    • จังหวะที่ 1 ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก
    [​IMG]

    • จังหวะ ที่ 2 ยกมือที่ประนมขึ้น ให้ปลายนิ้วหัว แม่มือจรดหน้าผากเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย
    [​IMG]

    • จังหวะที่ 3 ลดมือกลับลงตามเดิมมาอยู่ ในจังหวะที่ 1
    [​IMG]
    ทำให้ครบ 3 ครั้ง โดย จบลงอย่างจังหวะที่ 1 แล้วจึงลดมือลง วางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้าง
    การถวายบังคม ดังกล่าวนี้ หญิงมีโอกาสใช้น้อย จะใช้ใน กรณีที่มีชายกับหญิงไปถวายบังคมร่วมกัน ถ้าหญิงล้วนให้ใช้วิธีหมอบกราบ
    5.2 การหมอบกราบ ใช้แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ลง มาถึงพระบรมวงศ์ ในโอกาสที่เข้าเฝ้า โดย นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าแล้วจึงหมอบลงให้ ศอกทั้งสองข้างถึงพื้นคร่อมเข่าอยู่ด้านล่าง เพียงเข่าเดียว มือประสาน เมื่อจะกราบให้ประนมมือ ก้มศีรษะลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือที่ ประนม เมื่อกราบแล้วนั่งในท่าหมอบเฝ้าอีกครั้ง หนึ่ง แล้วทรงตัวนั่งในท่าพับเพียบตามเดิม
    [​IMG]
    5.3 การถวายความเคารพแบบสากล ใช้กับ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์
    ชาย ใช้วิธี การถวายคำนับ โดยค้อมตัวต่ำพอสมควร
    [​IMG]
    หญิง ใช้วิธีการถวายความเคารพแบบย่อเข่า ( ถอนสายบัว) มี 2 แบบ คือ
    แบบสากลนิยม ยืนตรง หันหน้าไปทางพระองค์ ท่าน วาดเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลังเล็ก น้อยตามถนัด พร้อมกับย่อตัวลง ลำตัวตรง หน้าตรง สายตาทอดลง ปล่อยแขนทั้งสองข้างแล้ว ยืนตรง
    แบบพระราชนิยม ยืนตรง หัน หน้าไปทางพระองค์ท่าน วาดเท้าข้างใดข้าง หนึ่งไปข้างหลังเล็กน้อยตามถนัด พร้อมกับย่อ ตัวลง ขณะที่วาดเท้า ให้ยกมือทั้งสอง ข้างขึ้นวางประสานกันบนขาหน้าเหนือเข่า ค้อม ตัวเล็กน้อยทอดสายตาลง เสร็จแล้วยืนขึ้นใน ลักษณะเดิม
    [​IMG][​IMG][​IMG]


    [แก้ไข] 6. การแสดงความเคารพโดยทั่วไป


    6.1 การแสดงความเคารพศพ จะต้องกราบพระพุทธ รูปเสียก่อนแล้วจึงไปทำความเคารพศพ ส่วน การจุดธูปหน้าศพนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของลูก หลานหรือศิษยานุศิษย์ หรือผู้เคารพนับถือ ที่ประสงค์จะบูชา
    การเคารพศพพระ ถ้า เจ้าภาพจัดให้มีการจุดธูปให้จุด 3 ดอก ชายกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หญิงหมอบกราบแบบเบญจางค ประดิษฐ์ 3 ครั้ง
    [​IMG]
    การเคารพศพคฤหัสถ์ ให้ทำ ความเคารพเช่นเดียวกับตอนที่ผู้ตายยังมี ชีวิตอยู่ ถ้าเป็นศพของผู้ที่มีอาวุโสมาก กราบ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นศพของผู้ที่มี อาวุโสใกล้เคียงกันกับผู้ที่ไปทำความเคารพ ให้ไหว้ในระดับที่ 3 (ไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป) ส่วนการเคารพศพเด็กนั้นเพียงยืนสงบ หรือนั่งสำรวมครู่หนึ่ง
    ในกรณีที่ศพได้รับพระราชทานเกียรติยศ ผู้เป็นประธานจุดธูป เทียนที่หน้าพระพุทธรูปและที่หน้าตู้พระ ธรรม แล้วไปจุดเครื่องทองน้อยที่หน้าศพเพื่อ แสดงว่าผู้วายชนม์บูชาพระธรรม แล้วจึงเคารพ ศพ ส่วนผู้ไปในงาน กราบพระพุทธรูป ที่โต๊ะหมู่บูชาแล้วจึงเคารพศพด้วยการกราบ หรือคำนับ
    6.2 การเคารพอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ อนุสาวรีย์ บุคคลสำคัญอาจเป็นรูปปั้น ภาพถ่าย ภาพวาด หรือ สัญลักษณ์อื่นก็ได้ ให้แสดงความเคารพด้วยการคำนับ หรือกราบ หรือไหว้แล้วแต่กรณี
    [​IMG]
    ในโอกาสพิเศษ หรือเป็นพิธีการ เช่น เมื่อครบรอบวันเกิด หรือ วันสำคัญที่เกี่ยวข้องอันเป็นพิธีการให้ใช้ พุ่มดอกไม้ ถ้าครบรอบวันตายหรือแสดงความระลึก ถึงอันเป็นพิธีการให้วางพวงมาลา ใน โอกาสอื่นๆ ที่ไม่เป็นพิธีการอาจแสดงความเคารพ โดยใช้หรือไม่ใช้เครื่องสักการะก็ได้
    [​IMG][​IMG]
    [​IMG]
    6.3 การแสดงความเคารพของผู้เป็นประธาน ณ ที่ บูชา เมื่อประธานในพิธีลุกจากที่นั่งเพื่อไป บูชาพระรัตนตรัย ผู้ร่วมพิธียืนขึ้น และเมื่อประธาน เริ่มจุดธูปเทียน ผู้ร่วมพิธีประนมมือเสมออก เมื่อประธานกราบผู้ร่วมพิธียกมือที่ประนมขึ้น ให้นิ้วชี้จรดหน้าผาก พร้อมทั้งก้มศีรษะเล็ก น้อย หากที่บูชามีธงชาติและพระบรมฉายา ลักษณ์ด้วย เมื่อประธานบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว ให้ยืน ขึ้นถอยหลัง 1 ก้าว ยืนตรง ค้อมศีรษะคารวะครั้ง เดียว ซึ่งถือว่าได้เคารพต่อธงชาติและพระ บรมฉายา-ลักษณ์ไปพร้อมกันแล้ว ให้ประธานปฏิบัติ เช่นเดียวกันนี้ทั้งชายและหญิงทั้งที่อยู่ ในและนอกเครื่องแบบ เมื่อจบพิธีแล้วประธาน ควรกราบพระพุทธรูปที่โต๊ะหมู่บูชาอีกครั้ง หนึ่ง ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมยืนขึ้นด้วยอาการสำรวม แล้วจึงไหว้ลาพระรัตนตรัยเป็นอันเสร็จพิธี แต่ ในกรณีที่ยังมีกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น ประธาน ทักทายสังสรรค์กับผู้เข้าร่วมประชุม หรือดื่มน้ำ ชา และประธานอยู่ร่วมกิจกรรมด้วย เมื่อประธานจะ กลับ ไม่จำเป็นต้องกราบพระรัตนตรัย
    6.4 การแสดงความเคารพของผู้ที่แต่งเครื่องแบบ ให้ปฏิบัติตามระเบียบของสถาบันนั้น ๆ

    [แก้ไข] การรับความเคารพ


    [​IMG]
    เมื่อผู้น้อยมาทำความเคารพ ควรรับ ความเคารพด้วยการประนมมือหรือค้อมศีรษะรับตาม ควรแก่กรณี

    [แก้ไข] สาเหตุเเละเหตุการณ์ที่คนต้องไหว้


    1. ไหว้เพราะความเลื่อมใส
    2. ไหว้เพราะความกลัว
    3. ไหว้เพราะสำนึกผิด
    4. ไหว้เพราะสำนึกคุณ หรือแสดงวัฒนธรรม
    สรุป ผลของการไหว้แล้ว จะได้เป็น 3 ประการคือ
    1.ผู้ไหว้ได้รับความสบายใจ
    2.ได้รับความเมตตาจากผู้ถูกไหว้
    3.ช่วยให้ผู้ถูกไหว้พัฒนาตนเอง
    ผู้ไหว้ได้รับความสบายใจ นั้น ก็ด้วยผู้ไหว้สำนึกตนว่าได้ประกอบกรรมดี ประพฤติดีงาม ทำให้เกิดความสบายใจอิ่มเอมใจ ส่วนผู้ที่ ได้รับเมตตา นั้น ก็หมายถึงได้รับการตอบสนองด้วย ความรู้สึกที่ดีมีค่า ความเมตตาเป็นความรู้สึกทางคุณธรรมที่ให้ประโยชน์สุขโดยทางเดียว ไม่เจือด้วยทุกข์โทษแต่อย่างใดเลย เมื่อเราไหว้ท่าน ท่านก็เมตตาเราโดยการแสดงตอบแทน เช่น บาลีว่า ปูชโก ลภเต ปูชํ ผู้บูชาย่อมได้รับการบูชาตอบ วนฺ ทโก ปฏิวนฺ ทนํ ผู้ไหว้ก็ย่อมได้รับการไหว้ตอบ ตามกฏแห่งเหตุผล

    [แก้ไข] ข้อควรระวังในการไหว้


    ข้อสำคัญที่ควรคำนึงสังวรระวังก็มีว่า อย่าไหว้ อย่าแสดงการบูชา สักแต่ว่าเป็นพิธี เป็นกิริยาเฉพาะช่วงที่ทำพิธีเท่านั้น ควรจะให้การไหว้ออกจากน้ำใจอันแท้จริง ในหลักธรรมตามมงคลสูตร อนุโลมเข้ากับการไหว้ได้แก่ การยกย่องเทิดทูนคุณความดี เรียกว่า บูชา การตระหนักถึงความสำคัญของท่าน เรียกว่า คารวะ การระลึกถึงอุปการคุณของท่านเรียกว่า กตัญญู เหล่านี้ล้วนเป็นแต่แรงบันดาลให้มีการไหว้ทั้งนั้น

    [แก้ไข] การรับไหว้


    เมื่อมีผู้ทำความเคารพให้แก่เรา ควรรับไหว้ คือเคารพตอบเพื่อมิไห้เสียมารยาท หรือทำให้ผู้แสดงความเคารพต้องกระดากใจ หรือโกรธจนเป็นเหตุให้นึกไม่อยากจะเคารพต่อไปได้ วิธีรับไหว้ ยกมือทั้งสองประนมไว้ระดับอก แล้วยกขึ้นให้สูงมากหรือน้อยตามฐานะของผู้ไหว้ และของผู้รับไหว้

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    -เครือข่ายกาญจนาภิเษก
    -www.banfun.com
    -มหาวิทยาลัยรามคำเเหง

    ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต



    .


    -http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%89-




    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    งามอย่างไทย ไหว้อย่างไทย


    กราบสวัสดีพ่อแม่พี่น้อง ที่เคารพรักทุกท่านนะครับ วันนี้ชายน้อยขอนำพาพ่อแม่พี่น้องมารู้จักกับ กิริยามารยาทไทย งามอย่างไทย ไหว้อย่างไทยกันนะครับ อ๊าาาาาากกกกกก แอ๊บแบ๊วเป็นที่สุด รับตัวเองไม่ได้ ๕๕๕๕

    ข้อความข้างต้นก็เป็นการเกริ่นนำเข้าบทความที่จะกล่าวถึงในวันนี้แหละครับ ซึ่งไม่ได้เป็นคนเขียนเอง (อีกแล้ว - แต่ก็มีเสริมในส่วนที่ขาดล่ะนะ) แต่นำมาจากปฏิทิน ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ของ
    ธนาคารนครหลวงไทย ครับ เห็นว่ามีประโยชน์ดี เลยนำมาเผยแพร่ต่อครับ

    การไหว้ ถือว่าเป็นวัฒนธรรมประจำชาติไทย ที่ตั้งแต่เรียนรู้ที่จะพูดได้ และเริ่มแกว่งไม้แกว่งมือได้ พ่อแม่ทุกคนก็จะต้องสอนลูกให้ยกมือไหว้ และกล่าวคำว่า สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ กันก่อนเลย และก็มักจะหลอกล่อว่าให้ไหว้สวย ๆ สิคะ อะไรประมาณนี้ใช่ไหมครับ แต่จริง ๆ แล้ว เรารู้หรือเปล่า ว่าการไหว้แบบไทย ๆ ที่ว่าสวย ๆ นั้น เค้าต้องทำอย่างไร

    สมัยผมเป็นเด็ก พอเข้าชั้นประถม ก็จะมีวิชาจริยธรรม ที่จะสอนการไหว้ที่ถูกต้อง ถูกธรรมเนียม พอขึ้นมัธยมก็มีการสอนกันอีกครั้ง เพื่อกันลืม จนจำไ้ด้ด้วยร่างกายว่า ไหว้พระ ไหว้ผู้ใหญ่ ไหว้คนอายุเท่ากัน และรับไหว้ ต้องทำอย่างไร แต่ ณ ปัจจุบันนี้ ยอมรับว่ายังไหว้ถูกอยู่ แต่มือแข็งครับ ไม่ค่อยยกมือไหว้ และก็ชอบพูดสั้น ๆ ว่า "หวัดดีครับ" กลายเป็นนิสัยที่ไม่งามไปเสียแล้ว ซึ่งก็พยายามไม่ให้เผลอเรออยู่ครับ

    และเป็นที่น่าสังเกตอยู่อย่างว่า เด็กสมัยนี้ไม่ค่อยยกมือไหว้สวัสดี จริง ๆ นะ ถ้าเป็นคนแปลกหน้า ไม่รู้จักกันมาก่อน จะสวัสดีกันยากมาก ๆ ผมจะบอกเคล็ดลับอะไรให้นะครับ ถ้าอยากให้ผู้ใหญ่เอ็นดูล่ะก็ ต้องหัดมีสัมมาคารวะ มืออ่อน พูดจาไพเราะเข้าไว้ครับ ดีด้วยประการทั้งปวง สมัยผมจีบแฟน แล้วต้องเจอหน้าพ่อจอมเฮี๊ยบเนี่ย ยกมือไหว้ในระยะ ๑๐ ม. ก่อนเลยครับ ผมเรียกมันว่าเป็น
    Key to success เลยนะครับ

    เอาล่ะครับ ฝอยน้ำลายท่วมทุ่มไปเยอะแล้ว มาเข้าเรื่องวิธีการไหว้ที่ถูกวิธีกันดีกว่า

    การไหว้
    การประนมมือไหว้นั้น ฝ่ามือทั้งสองข้างจะต้องทาบทับกัน ปลายนิ้วทาบสนิทกัน ทำหลังมือให้โป่งออกเล็กน้อย ไม่้ต้องมากเป็นดอกบัวตูมและไม่แบนราบเป็นใบไม้นะครับ และในการยกมือขึ้นมาไหว้ จะมีด้วยกัน ๓ ระดับ ขึ้นอยู่กับว่า ไหว้ใคร คือ

    ๑. ไหว้พระ ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะ จรดหัวแม่มือที่กลางหว่างคิ้ว นิ้วชี้แตะที่เหนือหน้าผาก ก้มหัวให้หน้าขนานกับพื้น ค้อมหลังพอประมาณ


    [​IMG]

    ๒. ไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส เช่นเดียวกับการไหว้พระ แต่นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก นิ้วชี้จดหว่างคิ้ว
    [​IMG]

    ๓. ไหว้บุคคลทั่วไปและผู้เสมอกัน ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะเล็กน้อย หัวแม่มือจรดที่ปลายคาง นิ้วชี้แตะที่จมูก ค้อมหลังพอประมาณ

    [​IMG]

    การกราบพระ แบบ เบญจางคประดิษฐ์

    การกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ เป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุด ต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด ซึ่งก็คือพระนั่นเอง เบญจางคประดิษฐ์ แปลว่า ตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ห้า โดย เบญจ ซึ่งแปลว่า ๕ นั้น หมายถึง อวัยวะทั้ง ๕ อันได้แก่ หน้าผาก มือทั้งสอง และเข่าทั้งสอง โดยอวัยวะที่ว่านั้น เวลากราบจะต้องจรดลงให้ติดกับพื้น ซึ่งท่านี้จะปฏิบัติแตกต่างกันใน หญิง และ ชาย

    สำหรับชายนั้น ให้ปฏิบัติ ดังนี้

    ท่าเตรียมท่าเตรียมของชายนั้น จะเรียกว่า ท่าเทพบุตร

    ท่าเทพบุตร นั่ง คุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้า ไม่นั่งบนเท้า แบบนั่งญี่ปุ่นนะครับ มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง นิ้วมือแนบชิดติดกัน ส้นเท้าไม่แบะออก
    จังหวะที่ ๑: อัญชลี ยกมือขึ้นประนมมือระหว่างอก ปลายนิ้วชิด เบนออกจากตัวพอประมาณไม่กางศอก
    จังหวะที่ ๒ : วันทา ยกมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดกลางหน้าผาก พร้อมกับค้อมศีรษะลง
    จังหวะที่ ๓ : อภิวาท ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้ โดยศอกทั้งสองข้างต่อเข่า ขนานไปกับพื้น หลังไม่โก่ง หรือ ก้นไม่โด่งจนเกินงาม

    การกราบจะกราบ ๓ ครั้ง เมื่อครบสามครั้ง ยกมือขึ้นจบ โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง

    [​IMG]

    สำหรับหญิงนั้น ให้ปฏิบัติ ดังนี้

    ท่าเตรียม ท่าเตรียมของหญิงนั้น จะเรียกว่า ท่าเทพธิดา

    ท่าเทพธิดา นั่งคุกเข่าปลายเท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง นิ้วมือแนบชิดติดกัน ปลายเท้าไม่แบะออก

    จังหวะที่ ๑: อัญชลี ยกมือขึ้นประนมมือระหว่างอก ปลายนิ้วชิด เบนออกจากตัวพอประมาณไม่กางศอก
    จังหวะที่ ๒ : วันทา ยกมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดกลางหน้าผาก พร้อมกับค้อมศีรษะลง

    จังหวะที่ ๓ : อภิวาท ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ห่างกันเล็กน้อย พอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้ โดยศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็กน้อย

    การกราบจะกราบ ๓ ครั้ง เมื่อครบสามครั้ง ยกมือขึ้นจบ โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง

    [​IMG]

    การไหว้พระ

    ประนมมือ นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก

    ชาย ยืนตรง ค้อมตัวลงต่ำ พร้อมกับประนมมือขึ้นไหว้

    หญิง ยืนตรง ย่อเข่าลงให้ต่ำ โดยถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง พร้อมกับประนมมือขึ้นไหว้

    [​IMG]

    การประเคนของแด่พระสงฆ์

    ชาย ใช้ สองมือถือของเดินเข่า เข้าไปในระยะหัตถบาส (ระยะที่มือพระท่านเอื้อมมือถึง) ยกของขึ้นประเคนในลักษณะมือต่อมือได้เลย (คือยกให้ท่านรับได้เลย) เมื่อประเคนเสร็จ จะไหว้หรือกราบก็ได้ แล้วแต่กาลเทศะ เสร็จแล้วถอยออกโดยวิธีเดินเข่า (ถอยออกนะครับ ไม่ใช่กันหลังขวับ แล้วเปิดแน่บ)

    [​IMG]

    หญิง ใช้ สองมือถือของเดินเข่า เข้าไปในเช่นเดียวกับผู้ชาย ยกของขึ้นประเคนโดยวางบนผ้าที่พระสงฆ์ทอดออกมา เมื่อประเคนเสร็จ ปฏิบัติเช่นเดียวกับชาย
    ที่อยากจะเตือนหน่อยนึง คือ เวลาเข้าวัดเข้าวา ก็แต่งกายให้มิชิดหน่อยนะครับ

    [​IMG]

    การถวายความเคารพแบบสากล
    ชาย ใช้ วิธีถวายคำนับ โดยค้อมลำตัวตั้งแต่ศีรษะถึงเอวลงให้ต่ำพอสมควร (ไม่ต้องก้มลงไปจนมองเห็นเข็มขัดตัวเองนะครับ แบบนั้นไม่สง่า) เสร็จแล้วยืนตัวตรงลักษณะเดิม

    หญิง ใช้ วิธีถวายความเคารพด้วยการถอนสายบัว แบบสากลนิยม ยืนตัวตรง หันหน้าไปทางพระองค์ท่าน วาดเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัดไปข้างหลัง พร้อมกับย่อตัวลง ลำตัวตรง หน้าตรง ปล่อยแขนตรงแนบลำตัว สายตาทอดลง เสร็จแล้วยืนตัวตรงลักษณะเดิม
    [​IMG]

    การหมอบกราบ

    ใช้แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ลงมาถึงพระ บรมวงศ์ในโอกาสเข้าเผ้าฯ ทั้งชายและหญิง ให้นั่งพับเีพียบเก็บปลายเท้า แล้วหมอบลงให้ศอกทั้งสองข้างถึงพื้น คร่อมเข่าี่ที่อยู่ด้านล่างเพียงเข่าเดียว มือประสาน เรียกว่า หมอบเฝ้า เวลากราบให้ประนมมือ ก้มศีรษะลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือ ถ้าท่านทรงพระราชทานสิ่งของให้ ให้ยกมือขวาขึ้นเอางาน ในลักษณะเดียวกับการรับปริญญาบัตร คือยกมือขวาขึ้น ฝ่ามือตั้งฉากกับพื้น กระดกข้อมือขึ้นเล็กน้อย แล้วตวัดมือมาอยู่ในท่าเตรียมรับสิ่งของ โดยทำมือเป็นอุ้งเล็กน้อย เมื่อรบสิ่งของมาแล้ว ให้ประคองสิ่งของนั้นไว้ แล้วกราบอีกครั้งหนึ่ง แล้วกลับมานั่งในท่าหมอบเฝ้า แล้วทรงตัวนั่งในท่าพับเพียบ หรือคลานถอยหลังออกไปจนพ้นที่ประทับ
    [​IMG]

    การทูลเกล้าฯถวายของ

    ของที่จะทูลเกล้าฯถวายนั้น ต้องเป็นของเบา และมีพานรองรับ โดยผู้ถวายใช้มือทั้งสองจับคอพาน
    ในกรณีของผู้ชาย ให้ถือพานถวายคำนับ เดินเข้าไปห่างจากที่ีประทับพอควร ลดพานลง ถวายคำนับ ย่อตัวก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า เข่าซ้ายจรดพื้น แล้วยกพานขึ้นทูลเกล้าฯถวาย เมื่อพระองค์ทรงหยิบของออกจากพานแล้ว ให้ลุกขึ้น ดึงเท้าขวากลับมาชิดเท้าซ้าย ถวายคำนับ แล้วเดินถอยหลังจนพ้นที่ประทับ
    [​IMG]
    สำหรับฝ่ายหญิง ให้ถือพานเช่นเดียวกัน แต่ในการถวายความเคารพ ให้ใช้การถอนสายบัวแบบสากลนิยม นอกนั้นปฏิบัติเหมือนฝ่ายชายทั้งหมด

    [​IMG]

    การกราบผู้ใหญ่
    ใช้กราบผู้อาวุโส หรือผู้มีพระคุณ ทั้งหญิงและชาย ให้นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า ทอดมือทั้งสองลงพร้อมกัน ให้แขนค่อมเข่้าที่อยู่ด้านล่างเพียงเข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือ กราบเพียงครั้งเดียว โดยไม่แบมือ เมื่อกราบเสร็จ ประสานมือดันตัวลุกขึ้นนั่งในท่าพับเพียบ

    [​IMG]
    การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส
    ประนมมือไหว้ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดหว่างคิ้ว
    ชาย ยืนตรง ต้อมตัวลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระ พร้อมประนมมือขึ้นไหว้

    หญิง ยืนตรง ถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้า่งหลัง ย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ พร้อมประนมมือขึ้นไหว้

    [​IMG]
    การไหว้บุคคลทั่วไป
    ประนมมือไหว้ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ปลายคาง ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก
    ชาย ยืนตรง ต้อมตัวลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมประนมมือขึ้นไหว้

    หญิง ยืนตรง ถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้า่งหลัง ย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมประนมมือขึ้นไหว้

    [​IMG]
    การไหว้ผู้ที่เสมอกัน

    ยืนตัวตรง ประนมมือ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ปลายคาง ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก ทั้งชายและหญิง การไหว้จะไหว้พร้อม ๆ กัน

    [​IMG]

    สำหรับมารยาทในการไหว้งาม ๆ ก็จบลงเพียงเท่านี้ มีแถมเรื่องอื่น ๆ ที่อาจจะได้ใช้บ้างเล็กน้อย ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เด็กไทยรุ่นใหม่ จะใส่ใจกับการไหว้กันมากขึ้นนะครับ ไหว้ให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีนั้น งามแท้แน่นอนครับ แต่ไหว้ผิด ๆ นี่ไม่งามจริง ๆ นะครับ เคยลองสังเกตกันดูหรือเปล่า

    ความจริงแล้ว ที่ผมเขียนเรื่องนี้ ก็สืบเนื่องมาจากตอนที่ไปรับทุนที่มหาวิทยาลัยแหละครับ ผมไม่เห็นมีนักศึกษาคนใดเลยที่ไหว้ได้อย่างถูกต้องงดงาม ดู ๆ ไป ออกอาการเหมือนไก่จิกข้าวสาร คือผงกหัวหงึก ๆ ย่อตัวแบบเร็ว ๆ เหมือนเพลี๊ยกระโดด ไม่รู้จะรีบไปไหน ซ้ำร้ายไปกว่านั้น เด็กสาวที่ผมพูดถึงนี้ เธอได้ทุนวัฒนธรรมไทย อะไรสักอย่างนี่แหละครับ โอ้วพระเจ้า ถ้าผมเป็นอธิการบดี ผมสั่งงดทุนเดี๋ยวนั้น จนกว่าเธอจะไหว้ได้ถูกต้องเลยล่ะ

    สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ รู้ตัวว่ายาววววววววมากกกกกก



    .


    -http://zedth.exteen.com/20071028/entry-



    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [FONT=Tahoma,]ภัยจากการทะเลาะวิวาท

    คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด


    การ พูดขัดแย้งกัน พูดไม่ตรงกัน โต้เถียงกัน ทะเลาะวิวาทกัน พูดไม่ถูกใจกัน ขัดผลประโยชน์กัน เป็นเหตุให้เกิดความบาดหมางกัน เป็นเหตุทำร้ายร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สิน วงศ์ตระกูลเผ่าพันธุ์และประเทศชาติของกันและกัน

    ท่านกล่าวว่ามูลเหตุสำคัญๆ ของการทะเลาะวิวาท มี 3 ประการ คือ

    1.วิวาทกันเพราะทรัพย์สมบัติ ผลประโยชน์

    2.วิวาทกันเพราะเชื้อชาติ ผิวพรรณ วงศ์ตระกูล

    3.วิวาทกันเพราะลัทธิความเชื่อถือทางศาสนาและการเมือง

    ประการ ที่ 1 วิวาทกันเพราะทรัพย์สมบัติ เพราะคนเราต่างก็มีความโลภปรารถนาเพื่อความสุขความสบายของตนของครอบครัวของ หมู่ชนของตนเอง มีความเห็นแก่ตน เห็นแก่ได้ด้วยกันเป็นส่วนมาก ถ้าการแสวงหาเพื่อให้ได้มาโดยทางธรรม โดยสัมมาชีพ ไม่แย่งชิงเบียดเบียนเอาของคนอื่นมาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม การวิวาทกัน การทะเลาะกันก็ไม่เกิดขึ้น แต่ตรงกันข้าม ความวิวาทบาดหมางกันก็เกิดขึ้น เป็นภัยเบียดเบียนกัน แท้ที่จริงวัตถุสมบัติต่างๆ นี้ก็เป็นของมีประจำโลก เป็นเสมือนของที่ยืมเขามาใช้ชั่วคราว ถ้าหากว่าเราจะไปเอามาโดยไม่ชอบธรรม บาปกรรมก็จะเกิดตามเรา ไปก่อให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนสิ้นกาลนาน หลายภพหลายชาติ

    ประการที่ 2 วิวาทกันเพราะเชื้อชาติ ผิวพรรณ วงศ์ตระกูล อันนี้เป็นภัยอันตรายก่อให้เกิดความไม่สงบสุข อาฆาตพยาบาทเบียดเบียนกันโดยถือว่าคนชาตินั้น คนผิวสีนั้น คนที่เกิดในวงศ์ตระกูลนั้น เคยทะเลาะกันมา เคยรบกันมา คนยุคต่อมาหรือคนรุ่นหลังบางทีก็เกิดไม่ทันเหตุการณ์เหล่านั้นก็ยังเอามา เป็นข้อพิพาทบาดหมางกัน วิวาทกันทำร้ายทำลายกันไม่มีความสงบสุข ไม่สามารถจะปรองดองสามัคคีกันได้ มีให้เห็นเป็นตัวอย่างมากมาย คนต่างเชื้อชาติกันบางทีก็รบราฆ่าฟันกันมาเป็นหลายชั่วอายุคน หลายร้อยปี บ้านเมืองอยู่กันอย่างไม่สงบสุข บางทีก็ปรารภผิวพรรณ ชาติตระกูลที่แตกต่างกัน เกิดการดูถูกกัน ทำร้ายกันไม่รู้จักจบจักสิ้น

    ประการ ที่ 3 วิวาทกันเพราะลัทธิความเชื่อถือทางศาสนาและการเมือง การวิวาทกันด้วยเหตุนี้ ย่อมรุนแรง ยิ่งลึก เพราะเป็นเรื่องของทิฐิมานะ อาศัยอำนาจของอวิชชาความไม่รู้เข้าต่อสู้ประหัตประหารกัน ใครที่ไม่มีความเชื่อเหมือนตน ก็กล่าววิวาทะกัน ไม่ได้พูดกันอย่างมีเหตุมีผล เอาความเชื่อเป็นที่ตั้ง เมื่อพวกชนหมู่อื่นไม่เชื่อเหมือนตนก็ถือเป็นศัตรู แม้จะไม่รู้จักกันก็ต้องเบียดเบียนรบรากันมาเป็นร้อยเป็นพันปี ขาดสันติภาพ สันติสุข องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสความวิวาทโดยความเป็นภัย เพราะย่อมก่อให้เกิดแต่ทุกข์โทษโดยประการต่างๆ สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นแก่ครอบครัว หมู่คณะ ชุมชน และประเทศชาติ

    ฉะนั้น การทะเลาะวิวาทเป็นภัยเป็นไปเพื่อความหายนะอย่างใหญ่หลวง เป็นการทำลายความสามัคคี ความสงบสุข หยุดการพัฒนา มีแต่ความหวาดระแวง การทำมาหากินก็ลำบาก เกิดความทุกข์ยาก ทำให้โลกไม่น่าอยู่เต็มไปด้วยภัยอันตราย เป็นการก่อเวรให้แก่กันและกัน ยากที่จะสงบสุขลงได้ เพราะกลายเป็นการจองเวรแก่กันและกันไป



    พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)

    เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร

    watdevaraj@hotmail.com 0-2281-2430
    [/FONT]





    -http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXhOVEU1TURZMU5BPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1TMHdOaTB4T1E9PQ==-
    .


     
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    มีข่าวดีๆมาบอกกันนานๆจะพบสัมนาดีๆ ฟรีๆแบบนี้ซักที สมธิบำบัด รักษาโรค ที่ทางม.มหิดลจัดขึ้นในวันที่ 20-22 มิถุนายน 2554 นี้

    ฝึก "สมาธิบำบัดแบบ SKT" รักษาโรคได้ด้วยตนเอง!
    <O:pโดย sunanta | วันที่ 2 พฤษภาคม 2554 <O:p</O:p
    สารพัดโรคร้ายที่คนในสังคมต้องเผชิญอยู่ทุกวันนี้ ทำให้คนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจในเรื่องของสุขภาพมากขึ้นทั้งในด้านการป้องกัน ดูแล และการรักษาเยียวยาเพื่อให้ตัวเองมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยืนยาวที่สุด

    <O:p
    ดังสุภาษิตที่ว่า "อโรคยา ปรมาลาภา การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ"!<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ผู้เขียน ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการฝึก "สมาธิบำบัดแบบ SKT" ที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันเสาร์ที่ 23 เมษายน ที่ผ่านมา แม้จะเป็นเวลาสั้นๆ เพียง 5 ชั่วโมง ก็สัมผัสได้ว่าวิธีการดังกล่าวมีประโยชน์อย่างยิ่งกับทุกๆ ท่าน ทั้งผู้ที่กำลังเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ และผู้ที่ไม่ป่วย แต่ต้องการรักษาสุขภาพ รวมไปถึงผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยก็ตาม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เพราะ "สมาธิบำบัดแบบ SKT" เป็นการฝึกปฏิบัติเพื่อสร้างสมดุลในร่างกาย ซึ่งหากร่างกายเสียสมดุลก็จะสื่อให้เราเห็นจากอาการปวดต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ และถ้าเราปฏิบัติทุกๆ วันก็จะทำให้เราห่างไกลโรคร้าย แถมมีสุขภาพจิต สุขภาพกายที่แข็งแรงด้วย<O:p></O:p>
    <O:p
    </O:p
    "สมาธิบำบัดแบบ SKT" คิดค้นโดย รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งผ่านการศึกษา วิจัยและทดลอง เกี่ยวกับกลไกการทำงานของร่างกายด้วยประสาทสัมผัส ทั้ง 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น การสัมผัส และการเคลื่อนไหว ตามหลักวิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับหลักพุทธศาสนาใน เรื่องของศีล สมาธิ ปัญญา โดยเฉพาะการทำสมาธิด้วยการหายใจเข้า "พุทธ" หายใจออก "โธ" นั้น สามารถช่วยในด้านของจิตใจให้คลายเครียด และมีความสุขได้อย่างดี<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ด้วยกลไกการทำงานของร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันโดยระบบประสาท! จึงเป็นที่มาของการเกิด "โรค"หลายๆ ชนิด เห็นได้จาก ถ้าเราอารมณ์แจ่มใส หรือมีความสุข ก็จะทำให้ร่างกายผ่อนคลายระบบการไหลเวียนของโลหิตทำงานดีก็จะทำให้สมองและความจำมีประสิทธิภาพ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในทางตรงข้ามถ้าอารมณ์เราขุ่นมัว กระวนกระวายใจ ฉุนเฉียว ก็จะทำให้ร่างกายและจิตใจอ่อนแอเจ็บป่วยได้ง่าย และอาการเหล่านี้เป็นที่มาของโรคความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะไมเกรน โรคกระเพาะอาหาร ท้องผูก โรคระบบประสาท ซึมเศร้า ความจำเสื่อม รวมทั้ง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นต้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สรุปได้ว่า การฝึก "สมาธิบำบัดแบบ SKT" ก็คือหลักการกำหนดจิต รับรู้ และการเคลื่อนไหว ด้วยลมหายใจ เข้าและออก เป็นตัวขับเคลื่อน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นั่นคือ กาย และใจ ประสานเป็นหนึ่งเดียว!<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อเรารู้ที่มาที่ไป และหลักพื้นฐานของการฝึก "สมาธิบำบัดแบบ SKT" ซึ่งเป็นศาสตร์ในการป้องกันและรักษาโรค (ยอดฮิต) แบบองค์รวม ซี่งมีทั้งหมด 7 ท่า ตั้งแต่ SKT1-7 ปัจจุบันเป็นที่นิยมฝึกเพื่อใช้ในการป้องกันและรักษาโรคบางชนิดในโรงพยาบาลของรัฐหลายแห่ง

    ที่สำคัญในการฝึกในแต่ละครั้ง หรือแต่ละท่า จะให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดทั้งในด้านการป้องกันหรือรักษาโรคนั้น จะต้องหลับตา พร้อมฝึกท่าละ 30 ครั้งขั้นไป จึงจะทำให้ร่างกายได้รับสารเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และรักษาความสมดุลให้กับร่างกาย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พูดง่ายๆ คือเป็นสารสำคัญในการกำจัดของเสียภายในร่างกายและยับยั้งเซลล์มะเร็งได้อย่างดี แถมยังช่วยให้นอนหลับดี หลับลึกด้วย
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    นอกจากนี้ยังมีสารอีกหลายชนิดที่เกิดจากการปฏิบัติหรือฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT โดยเฉพาะการหลั่งสารโดปามีน (dopamine) ซึ่งจะช่วยในการรักษาโรคพาร์กินสัน ได้
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ส่วนท่าที่ควรปฏิบัติในทุกๆ วันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งคือท่าที่ 1 (SKT 1) ซึ่งเป็นท่าพื้นฐาน แต่ถ้าผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยมากควรฝึกท่าที่ 7 (SKT 7) ประกอบ ซึ่งเป็นท่าสำหรับเยียวยา รักษาโรคได้ และท่าที่ 3 (SKT 3) ก็เป็นอีกท่าที่ขาดไม่ได้เช่นกัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เรามาเริ่มฝึก "สมาธิบำบัดแบบ SKT" กันดีกว่า!<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ท่าที่ 1 (SKT 1) "นั่งผ่อนคลาย ประสานกายประสานจิต" เป็นการนั่งหรือนอนปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจ

    <O:p</O:p1.ถ้าหากนั่งให้หงายฝ่ามือทั้งสองข้างวางบนหัวเข่า หากนอน ให้วางแขนหงายมือไว้ข้างตัว หรือคว่ำฝ่ามือไว้ที่หน้าท้อง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    2.ค่อยๆ หลับตาลงช้าๆ สูดลมหายใจเข้าทางจมูกลึกๆ ช้าๆ นับ 1-5 กลั้นหายใจนับ 1-3 ช้าๆ แล้วเป่าลมหายใจออกทางปากช้าๆ พร้อมกับนับ 1-5 อีกครั้ง ถือว่าครบ 1 รอบ ทำซ้ำแบบนี้ทั้งหมด 30-40 รอบ แล้วค่อยลืมตาขึ้นช้าๆ

    <O:p</O:p3.ให้ปฏิบัติวันละ 3 รอบ ก่อนหรือหลังอาหาร 30 นาที<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านี้จะช่วยลดความดันโลหิต ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และลดน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานได้ดี<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ท่าที่ 2 (SKT 2) "ยืนผ่อนคลาย ประสานกาย ประสานจิต"<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    1.ยืนตรงในท่าที่สบาย วางฝ่ามือทาบที่หน้าอก โดยวางมือซ้ายทาบบนมือขวา ค่อยๆหลับตาลงช้าๆ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    2.สูดลมหายใจเข้าทางจมูก ลึกๆ ช้าๆ นับ 1-5 กลั้นหายใจนับ 1-3 ช้าๆ แล้วเป่าลมหายใจออกทางปากช้าๆ พร้อมกับนับ 1-5 อีกครั้ง ถือว่าครบ 1 รอบ ทำซ้ำแบบนี้ทั้งหมด 120-150 รอบ แล้วค่อยลืมตาขึ้นช้าๆ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    3.ปฏิบัติวันละ 3 รอบ วิธีนี้เป็นการเพิ่มระยะเวลาการทำสมาธิให้นาน ขึ้นกว่าท่าที่ 1<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ท่านี้จะช่วยลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานได้ดี และควบคุมการทำงานของไขสันหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ท่าที่ 3 (SKT 3) "นั่งยืด -เหยียดผ่อนคลาย ประสานกาย ประสานจิต"<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    1.นั่งบนพื้นราบในท่าที่สบาย เหยียดขา เข่าตึง หลังตรง เท้าชิด คว่ำฝ่ามือบนต้นขาทั้ง 2 ข้าง ค่อยๆ หลับตาลงช้าๆ สูดลมหายใจเข้าทางจมูกลึกๆ ช้าๆ นับ 1-5 กลั้นหายใจนับ 1-3 ช้าๆ แล้วเป่าลมหายใจออกทางปากช้าๆ นับ 1-5 อีกครั้ง ทำแบบนี้ 3 รอบ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    2.หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ พร้อมกับค่อยๆ โน้มตัวไปข้างหน้า แขนตึง ผลักฝ่ามือทั้งสองข้างไปด้านหน้าจนปลายมือจรดนิ้วเท้า หยุดหายใจชั่วครู่
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    3.หายใจออกช้าๆ พร้อมกับค่อยๆ ดึงตัวและแขน เอนไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด ค้างไว้สักครู่ นับเป็น 1 รอบ ทำซ้ำกัน 30 รอบ แล้วค่อยๆ ลืมตาขึ้น
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านี้จะช่วยลดไขมันหน้าท้อง ลดพุงและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ท่าที่ 4 (SKT 4) "ก้าวย่างอย่างไทย เยียวยากาย ประสานจิต"
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    1.ยืนตรงในท่าที่สบาย ลืมตา แบมือทั้งสองข้างวางไขว้หลัง หรือวางทาบที่หน้าท้อง สูดลมหายใจเข้าทางจมูกลึกๆ นับ 1-5 กลั้นหายใจนับ 1-3 ช้าๆ แล้วเป่าลม หายใจออกทางปากช้าๆ พร้อมกับนับ 1-5 อีกครั้งถือว่าครบ 1 รอบ ทำซ้ำแบบนี้ทั้งหมด 5 รอบ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    2.ยืนตัวตรง มองต่ำไปข้างหน้า หายใจเข้าช้าๆ พร้อมกับค่อยๆ ยกเท้าขวาสูงจากพื้นเล็กน้อย หายใจออกช้าๆ พร้อมกับค่อยๆ ก้าวเท้า ขวาไปข้างหน้า จรดปลายเท้าแตะพื้น ตามด้วยส้นเท้าวางลงบนพื้น นับเป็น 1 รอบ เดินไปข้างหน้า 20 รอบ หยุดเดินรอบที่ 20<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    3.วางเท้าซ้ายชิดเท้าขวาในช่วงที่หายใจออก ยืนตรง ตามองพื้น หมุนขวา โดยหายใจเข้า วางปลายเท้าขวาลง หายใจเข้าพร้อมกับยกเท้า ซ้ายลอยจากพื้นเล็กน้อย หายใจออกพร้อมวางเท้าซ้ายชิดเท้าขวา แล้วค่อยๆ หมุนขวา โดยขยับเท้าให้เอียง 60 องศา และ 90 องศา ในท่ายืนตรง ทำซ้ำเดิมโดยเดินไปกลับ 2 เที่ยว ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ท่านี้จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคเรื้อรังทุกประเภท<O:p</O:p
    <O:p

    ท่าที่ 5 (SKT 5) "ยืดเหยียดอย่างไทย เยียวยากาย ประสานจิต"<O:p</O:p

    1.เริ่มจากยืนตรงในท่าที่สบาย เข่าตึง ค่อยๆ หลับตาลงช้าๆ สูดลมหายใจเข้าทางจมูกลึกๆ ช้าๆ นับ 1-5 กลั้นหายใจนับ 1-3 ช้าๆ แล้วเป่าลมหายใจออกทางปากช้าๆ นับ 1-5 อีกครั้ง ทำแบบนี้ 5 รอบ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    2.ค่อยๆ ยกมือทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะฝ่ามือประกบกัน แขนตึงแนบใบหู หายใจเข้าออก 1 ครั้ง แล้ว ค่อยๆ ก้มตัวลง โดยศีรษะ ตัว และแขนก้มลงพร้อมๆ กัน ช้าๆ นับเป็นจังหวะ ที่ 2 ค่อยๆ หายใจ และก้มตัวลงเป็นจังหวะช้าๆ ไปเรื่อยๆ จนถึงจังหวะที่ 30 ปลายนิ้วกลางจรดพื้นพอดี<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    3.จากนั้นหายใจเข้าและ ออก 1 ครั้ง แล้วค่อยๆ ยกตัวขึ้น ศีรษะตั้งตรง นับจังหวะเหมือนตอนก้มลง โดยในจังหวะ ที่ 30 ให้เข่าตึง แขนตึง กลับมาอยู่ในท่าเดิม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    * เทคนิคสำคัญของท่านี้คือต้องเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ หายใจช้าจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด โดยเริ่มจากวันละ 30 จังหวะและค่อยๆ เพิ่มขึ้นในวันต่อๆ ไปจะช่วยในด้านการป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ท่าที่ 6 (SKT 6) "เทคนิคการฝึกสมาธิการเยียวยาไทยจินตภาพ"

    <O:p</O:p1.นอนบนพื้นเรียบ แขนสองข้างวางแนบลำตัว ค่อยๆ หลับตาลงช้าๆ สูดลมหายใจเข้าทาง จมูกลึกๆ ช้าๆ นับ 1-5 กลั้นหายใจนับ 1-3 ช้าๆ แล้วเป่าลมหายใจออกทางปากช้าๆ นับ 1-5 อีกครั้ง ทำแบบนี้ 3 รอบ

    <O:p</O:p2.แล้วให้ท่องในใจว่า "ศีรษะเราเริ่ม ผ่อนคลาย ผ่อนคลาย ผ่อนคลาย ผ่อนคลาย ผ่อนคลายลงไปเรื่อยๆ" พร้อมกับกำหนดความรู้สึกไปที่อวัยวะที่เราจดจ่อ ไล่จากศีรษะ หน้าผาก ขมับ หนังตา แก้ม คาง ริมฝีปาก คอ ไหล่ ต้นแขน แขน มือ หน้าอก หลัง หน้าท้อง ก้น ต้นขา เข่า น่อง เท้า และตัวเราทั้งตัว<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    3.โดยเมื่อครบทั้งตัวแล้ว ให้ท่องว่า "มือเราเริ่มหนักขึ้น หนักขึ้น หนักขึ้น หนักขึ้นไปเรื่อยๆ" ไล่ลงไปจนถึงเท้า เมื่อทำครบแล้วให้หายใจเข้า กลั้นใจ และหายใจออกเหมือนตอนเริ่มต้นอีก 3 รอบ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สำหรับท่านี้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี อัมพาต และผู้ที่มีปัญหาระบบการไหลเวียนโลหิต

    <O:p</O:pท่าที่ 7 (SKT 7) "เทคนิคสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง"<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    1.ยืนตัวตรง แยกเท้าทั้งสองข้างพอประมาณ ค่อยๆ หลับตาลงช้าๆ สูดลมหายใจเข้าทางจมูกลึกๆ ช้าๆ นับ 1-5 กลั้นหายใจนับ 1-3 ช้าๆ แล้วเป่าลมหายใจออกทางปากช้าๆ นับ 1-5 อีกครั้ง ทำแบบนี้ 5 รอบ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    2.ค่อยๆ ยกมือ แขน ข้อศอกทั้งสองข้างอยู่ระดับเอว หันฝ่ามือทั้งสองข้างเข้าหากัน ขยับฝ่ามือเข้าหากันช้าๆ นับ 1-3 และขยับมือออกช้าๆ นับ 1-3 ทำทั้งหมด 36-40 รอบ แล้วยืนอยู่ในท่าเดิม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    3.หายใจเข้าลึกๆ นับ 1-5 ค่อยๆ ยกมือขึ้นเหนือศีรษะคล้ายกับกำลังประคองหรืออุ้มแจกันใบใหญ่ แล้วค่อยๆ ยกมือลงในท่าประคองแจกันเช่นกัน นับเป็น 1 รอบ ทำทั้งหมด 36-40 รอบ แล้วยืนอยู่ในท่าเดิม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ท่านี้จะช่วยลดอาการท้องผูก นอนไม่หลับ อาการปวดเรื้อรัง/เฉียบพลัน และภูมิแพ้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    โครงการฝึก "สมาธิบำบัดแบบ SKT" เกิดขึ้นได้ก็ด้วยจิตอาสาของ รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎีเตรียมชัยศรี และคณาจารย์ พร้อมเจ้าหน้าที่ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทุกท่าน ที่ต้องการเห็นคนไทย มีสุขภาพดี และลด ละเลิก การพึ่งยาเพียงอย่างเดียว ด้วยการหันมาใช้ศาสตร์ทางเลือกแบบ "สมาธิบำบัดแบบ SKT" ซึ่งมีการพิสูจน์ให้เห็นถึงผลการรักษากับคนไข้หลายๆ ท่านหลายๆ โรค และหลากหลายโรงพยาบาล มาแล้ว<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p
    </O:p
    ที่มา : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์<O:p></O:p>
    <O:p</O:p
    ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต<O:p></O:p>
    คนสู้โรค : สมาธิบำบัดแบบ SKT (3 พ.ค. 54) - คนสู้โรค, รายการทีวีย้อนหลัง, สุขภาพ
    <O:p

    ฝึก "สมาธิบำบัดแบบ SKT" รักษาโรคได้ด้วยตนเอง! | Thaihealth.or.th
    <O:p

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Bcw85sIp9xc"]YouTube - ‪สมาธิบำบัดแบบ SKT 3May11 1/2‬‏[/ame]
    <O:p

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=k4cVh0i4QFw"]YouTube - ‪สมาธิบำบัดแบบ SKT 3May11 2/2‬‏[/ame]
    <O:p
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=8ytZcqDAsQ4&feature=related"]YouTube - ‪คนสู้โรค - หายใจให้ถูกวิธี 11Apr11 2/2‬‏[/ame]
    <O:p
    <O:p
    เชิญชวนเข้ารับฝึกอบรม สมาธิบำบัด SKT 1-9 เพื่อสุขภาพ โดย รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฏี
    จังหวัดสุพรรณบุรี

    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
    เรื่อง การปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพ
    เทคนิค SKT 1-9 จังหวัดสุพรรณบุรี
    ระหว่างวันที่ 20-22 มิถุนายน 2554
    ณ ห้องประชุมสถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี
    ตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
    ********************************************

    วันที่ 20 มิถุนายน 2554
    เวลา 8.3009.00 น. ลงทะเบียน
    ประเมินสุขภาพตนเอง (วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว ตรวจน้ำตาลในเลือด ตรวจธาตุเจ้าเรือนฯลฯ)
    09.0009.30 น. เปิดการอบรม โดย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี
    09.3012.00 น. แนวคิดและทฤษฎีการเยียวยาองค์รวมและการประยุกต์เทคนิคสมาธิ SKT 1,2 โดย รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล
    12.0013.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    13.0016.30 น. แนวคิดและทฤษฎีการเยียวยาองค์รวมและการประยุกต์เทคนิคสมาธิ SKT 3,4,5 โดย รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล

    วันที่ 21 มิถุนายน 2554
    เวลา 8.3009.30 น. กิจกรรม ทาน ศีล ภาวนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์
    การปฏิบัติสมาธิ
    09.3012.00 น. แนวคิดและทฤษฎีการเยียวยาองค์รวมและการประยุกต์เทคนิคสมาธิ SKT 6,7 โดย รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล
    12.0013.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    13.0016.30 น. แนวคิดและทฤษฎีการเยียวยาองค์รวมและการประยุกต์เทคนิคสมาธิ SKT 8,9 โดย รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล

    วันที่ 22 มิถุนายน 2554
    เวลา 8.3009.30 น. กิจกรรม ทาน ศีล ภาวนา
    แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การปฏิบัติสมาธิ
    09.3012.00 น. แนวคิดและทฤษฎีการเยียวยาองค์รวมและการประยุกต์เทคนิคการปฏิบัติ สมาธิ เพื่อการเยียวยาผู้ป่วยเรื้อรัง โดย รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี
    12.0013.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    13.0016.00 น. แนวคิดและทฤษฎีการเยียวยาองค์รวมและการประยุกต์เทคนิคการปฏิบัติสมาธิ เพื่อการเยียวยาผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดย รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี
    16.0016.30 น. อภิปรายปัญหาทั่วไปและปิดการประชุม

    หมายเหตุ
    1. กำหนดการอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม
    2. รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
    เวลาประมาณ 10.3010.45 น. และเวลา 14.3014.45 น.
    3. การเตรียมตัวผู้เข้ารับการอบรม
    3.1 การแต่งกาย ใส่ชุดวอร์มกีฬา หรือกางเกงขายาว-เสื้อยืด
    (ไม่ควรใส่กางเกงยีนส์) เพื่อความสะดวก ในการฝึกปฏิบัติ
    3.2 เตรียมเสื้อคลุม/ผ้าคลุม (เนื่องจากอบรมในห้องปรับอากาศ)
    3.3 เตรียมที่นอนปิคนิค หรือผ้าปู สำหรับ นั่ง-นอน ฝึกปฏิบัติ

    สำหรับบุคลากร ผู้สนใจ เข้ารับการอบรม
    การปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพ เทคนิค SKT 1-9
    ระหว่างวันที่ 20-22 มิถุนายน 2554 หลักสูตร 3 วัน

    ขอเรียนว่า
    ควรมีความเต็มใจ ตั้งใจ จะรับการฝึกปฏิบัติได้ครบกำหนดทั้ง 3 วัน
    เตรียมกาย-เตรียมใจ ผ่อนคลาย สบายๆ
    พร้อมรับการอบรม ในบรรยากาศที่เรียบง่าย

    การปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพ เทคนิค SKT 1-9 นี้ ปฏิบัติง่าย ได้ผลเร็ว ทำแทนกันไม่ได้ อยากได้ต้องฝึกปฏิบัติเอง โดยได้รับคำชี้แนะ จากอาจารย์ อย่างน้อยๆ ตัวเองได้แน่นอน แล้วค่อยเผื่อแผ่ แบ่งปัน คนรอบข้าง

    ผู้ที่ป่วย ไม่ป่วย เด็ก ผู้ใหญ่ คนแก่ คนชรา คนหนุ่ม คนสาว ครูบาอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา คนทุกเพศ ทุกวัย โรคเรื้อรัง-เฉียบพลัน ก็ฝึกปฏิบัติได้ (โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน อ้วน ไขมันสูง นอนไม่หลับ ท้องผูก ปวดหัว เวียนหัว เครียด กังวล ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ฯลฯ รวมทั้ง มะเร็ง )
    - ปฏิบัติเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ เยียวยาตนเอง
    - ลดอนุมูลอิสระ อ่อนเยาว์ ฯลฯ

    จัดโดย งานพัฒนาการแพทย์แพทย์ไทย
    และการแพทย์ทางเลือก สสจ.สุพรรณบุรี โทร. 035-454069 ต่อ 312
    คุณจงถนอม ศรีโปฏก ผู้ประสานงาน โทร .086-66916634
    ขอบคุณน้องปันสุขภาพ มากนะคะ</O:p
    </O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2011
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <table class="tborder" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td class="thead">ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 9 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 7 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> sithiphong, :::เพชร:::+</td></tr></tbody></table>


    สวัสดีครับ คุณ:::เพชร::

    ผมออกไปธุระแล้วครับ


    .
     
  7. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    สวัสดีครับ วันอาทิตย์ ตอนเที่ยง
     
  8. Lee_bangkok

    Lee_bangkok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,751
    ค่าพลัง:
    +4,741
    ดีครับ ยามบ่ายทุกท่านะครับผม หวังว่าจะสบายดีนะครับ ไปฉีดยากันบ้ารอบสอง มึนหัวเหมือนกันครับผม ครั้งแรกนึกว่ามึนเพราะทานกาแฟสด รอบสองชัดครับเพราะยา
     
  9. Lee_bangkok

    Lee_bangkok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,751
    ค่าพลัง:
    +4,741
    คุณหนุ่มครับ ไม่ทราบว่า พิมพ์ที่อภิญญาใหญ่ทั้ง 5องค์ ปลุกเสกด้วยกายเนื้อนั้น มีพิมพ์ไหนบ้างครับ เนื้อไหนบ้างครับ ถ้าเยอะมาก ขอยกตัวอย่างก็ได้ครับผม นอกเหนือจากปูนเพชรครับ ขอบคุณครับ
     
  10. ซึ้งบน

    ซึ้งบน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +377
    ขอร่วมเป็นเจ้าภาพงานทอดผ้าป่าสามัคคีศรีชัยผาผึ้งเพื่อติดตั้งไฟส่องสว่างจากพลังงานแสงอาทิตย์โดยรอบพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งและกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2554 ณ ศาลาข้างกุฎิ 7 วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน
    1. เด็กหญิงภัทรินทร์ ทองคำวัน ชั้น ม.1 ร่วมทำบุญ 100 บาท
    2. เด็กหญิงพิมพ์บุญ ทองคำวัน ชั้น ป.2 ร่วมทำบุญ 60 บาท
    3. คุณกมลรัตน์ จรัญทรัพย์ ร่วมทำบุญ 840 บาท
    รวมเป็นเงิน 1,000 บาท
    ขอรับองค์พระด้วยครับ กรุณาส่งมอบตามที่อยู่ของคุณซึ้งบนครับ
    อนุโมทนาบุญ กับคุณสิทธิพงษ์ ด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • img032.jpg
      img032.jpg
      ขนาดไฟล์:
      143.9 KB
      เปิดดู:
      77
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    โมทนาบุญทุกประการครับ

    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พบอีโคไลระบาดจากคนสู่คนครั้งแรกในเยอรมนี

    สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไลในเยอรมนี ล่าสุดเมื่อวานนี้ กระทรวงสาธารณสุขเยอรมนียืนยันว่า พบการติดเชื้ออีโคไลจากคนสู่คนเป็นครั้งแรกในประเทศ

    รัฐมนตรีสาธารณสุขเยอรมนี แถลงยืนยันเรื่องดังกล่าว เมื่อวานนี้ ในระหว่างเดินทางไปยังสถาบันอนามัยแห่งมหาวิทยาลัยในมุนสเตอร์ โดยกล่าวว่า ผู้ป่วยที่แพร่เชื้ออีโคไลจากคนสู่คนรายแรกในเยอรมันเป็นผู้หญิง ซึ่งทำงานในห้องครัวร้านอาหารแห่งหนึ่งใกล้เมืองแฟรงค์เฟิร์ต โดยเธอติดเชื้อจากการรับประทานถั่วงอก และได้แพร่เชื้ออีโคไลไปยังคนอื่นๆ อีก 20 คน

    ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อที่ห้องแล็บในเมืองฮัมบูร์ก อธิบายถึงการแพร่เชื้อจากคนสู่คนรายนี้ว่า ผู้ป่วยได้แพร่เชื้อจากการทำอาหารให้คนอื่นรับประทาน ซึ่งจากที่ทราบกันก็คือ แบคทีเรียอีโคไลในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอที่จะแพร่ระบาดแล้ว และอาหารที่ผู้ป่วยปรุงหรือจัดเตรียมก็สามารถปนเปื้อนเชื้ออีโคไล

    ส่วนกรณีที่พบเชื้ออีโคไล สายพันธุ์ใหม่และอันตรายนี้ที่น้ำในลำธารเมืองแฟรงค์เฟิร์ต เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเยอรมนี บอกว่า จะไม่เป็นอันตรายต่อประชาชน และจะไม่ส่งผลต่อระบบน้ำดื่ม ตราบใดที่ประชาชนปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น คือ อย่าเพิ่งลงไปว่ายน้ำในลำธาร หรือแม่น้ำบริเวณดังกล่าวและอย่าใช้น้ำจากลำธารมารดผักที่ปลูก

    ด้านสถาบันโรคติดต่อเยอรมนี ออกแถลงการณ์วานนี้ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล โอ 104 นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตในเยอรมนีไป 38 คน ในสวีเดน 1 คน ติดเชื้อ 3,408 คน โดยองค์การอนามัยโลกระบุว่า ผู้ป่วยกว่า 100 คนอยู่ใน 13 ประเทศทั้งยุโรป สหรัฐฯและแคนาดา อย่างไรก็ตามสถานการณ์ก็ดีขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากผู้ติดเชื้อน้อยลง และจากการตรวจสอบยังไม่พบว่า มีการแพร่ระบาดครั้งใหม่

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]






    .

    -http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/39734/%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B5.html-



    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สำหรับหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดรทั้ง 5 พระองค์ที่มาอธิษฐานจิตพระวังหน้า ในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 โดยปกติมาด้วยกายเนื้อครับ

    ส่วนกลุ่มหลวงปู่องค์อภิญญาใหญ่ เป็นกายเนื้ออยู่แล้วครับ เนื่องจากยังไม่มรณภาพ เช่นหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน , หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า , หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร , หลวงปู่กรมพระยาปวเรศ เป็นต้น

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 3 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 2 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong </TD></TR></TBODY></TABLE>


    สวัสดีตอนเช้า วันจันทร์แจ่มใส

    ให้แจ่มใสกันทั้งวันครับ
    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    การไหว้ 5 ครั้ง ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ญาณวรเถระ )

    ไหว้ 5 ครั้ง
    ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
    ( เจริญ ญาณวรเถระ )
    วัดเทพศิรินทราวาส


    [​IMG]



    คัดลอกจาก http://www.konmeungbua.com/saha/Lung...pu_armpan.html


    คัดลอกจาก http://www.konmeungbua.com/saha/Lung...pu_armpan.html


    ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาไร ตามแต่เหมาะต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวนั้น ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ


    ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประณมมือว่า

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ 3 หน

    แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯ

    หยุด ระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตามของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ


    ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ

    สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโน สนฺทิฆฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติ ฯ

    หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ


    ครั้งที่ 3 ว่าพระสังฆคุณ คือ
    สุ ปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโยทกฺขิเนยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติฯ

    หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบ ของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    นั่งพับเพียบประณมมือตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ
    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
    ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
    สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

    ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้ว กราบลงหน 1 ฯ

    ข้า ฯ ขอ กราบไหว้คุณท่านบิดาและมารดา

    เลี้ยงลูกเฝ้ารักษา แต่คลอดมาจึงเป็นคน

    แสนยากลำบากกายไป่คิดยากลำบากตน

    ในใจให้กังวลอยู่ด้วยลูกทุกเวลา

    ยามกินพอลูกร้องก็ต้องวางวิ่งมาหา

    ยามนอนห่อนเต็มตาพอลูกร้องก็ต้องดู

    กลัวเรือดยุงไรมดจะกวนกัดรีบอุ้มชู

    อดกินอดนอนสู้ ทนลำบากหนักไม่เบา

    คุณพ่อแม่มากนักเปรียบน้ำหนักยิ่งภูเขา

    แผ่นดินทั้งหมดเอามาเปรียบคุณไม่เท่าทัน

    เหลือที่ จะแทนคุณ ของท่านนั้น ใหญ่อนันต์

    เว้นไว้ แต่เรียนธรรม์ เอามาสอนพอผ่อนคุณ

    สอนธรรมที่จริงให้ รู้ไม่เที่ยงไว้เป็นทุน

    แล้วจึงแสดงคุณ ให้เห็นจริงตามธรรมดา

    นั่นแหละจึงนับได้ ว่าสนองซึ่งคุณา

    ใช้ค่าข้าวป้อนมาและน้ำนมที่กลืนกิน ฯ


    รั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผุ้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์และครูบาอาจารย์ เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ข้า ฯ ขอนอบน้อมคุณแด่ท่านครู ผู้อารี
    กรุณาและปรานีอุตส่าห์สอนทุก ๆ วัน
    ยังไม่รู้ ก็ได้รู้ ส่วนของครูสอนทั้งนั้น
    เนื้อความทุกสิ่งสรรพ์ดีชั่วชี้ ให้ชัดเจน
    จิตมากด้วยเอ็นดูอยากให้รู้เหมือนแกล้งเกณฑ์
    รักไม่ลำเอียงเอนหวังให้แหลมฉลาดคม
    เดิมมืดไม่รู้แน่เหมือนเข้าถ้ำเที่ยวคลำงม
    สงสัยและเซอะซมกลับสว่างแลเห็นจริง
    คุณส่วนนี้ควรไหว้ ยกขึ้นไว้ ในที่ยิ่ง
    เพราะเราพึ่งท่านจริงจึงได้รู้ วิชาชาญ ฯ

    (บท ประพันธ์สรรเสริญคุณมารดาบิดา และ ครูบาอาจารย์ของ ท่านอาจารย์ จางวางอยู่ เหล่าวัตร วัดเทพศิรินทราวาส ลิขสิทธิ์เป็นของ ท่านเจ้าคุณพระโศภนศีลคุณ (หลวงปู่หลุย พาหิยาเถร) วัดเทพศิรินทราวาส)

    ต่อ ไปนี้ไม่ต้องประณมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่อง และร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้งพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณมีมารดาบิดา เป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือพระมหากษัตริย์ ทั้งเทพยดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ


    การ ไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยกมือไม่ขึ้น ก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้เป็นเครื่องพยุงตนให้เป็นคนดี ไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดี ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และ ตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มขั้นของตน ๆ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ






    .<!-- google_ad_section_end -->
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญญาณวรเถระ )

    http://72.14.235.104/search?q=cache:...h&ct=clnk&cd=7


    [​IMG]

    สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ นามเดิม เจริญ สุขบท เกิดในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2415 ที่จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรนาย ทองสุก และนางย่าง

    เมื่ออายุ 8 ปี ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุณี (พุฒ ปุณณกเร) ปฐมวัยอาวาสวัดเขาบางทราย เมื่ออายุ 12 ปีได้บรรพชาที่วัดเขาบางทราย

    และเข้าศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดราชบพิธอุปสมบทเมื่อวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2435 ที่วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2439 ได้ศึกษาพระวินัยปิฎกในสำนัก สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่วัดเทพศิรินทราวาส

    "ตาบุญ (พระยาธรรมปรีชา) ผู้เป็นอาจารย์สอนบาลีของ
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มอบช้างเผือกส่งเข้ามาให้ "


    สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส ออกพระโอษฐ์รับสั่งเมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร) สอบไล่ภาษาบาลี ในมหามงกุฎราชวิทยาลัยได้ที่ 1ทุกชั้นเป็นลำดับมา

    พ.ศ.2441 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระราชาคณะที่พระอัมราภิลักขิต เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลปราจีนบุรี ต่อมาได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสได้เลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา พ.ศ.2471 โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

    พ.ศ.2476กรรมการเถรสมาคมมีมติให้ท่าน เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระสังฆราชเจ้าซึ่งสิ้นพระชนม์ ประมวลเกียรติคุณพิเศษสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร)เป็นพระเถระบริหารงานพระศาสนาถึง 5 แผ่นดิน คือแต่รัชกาลที่ 5-9 เป็นพระราชาคณะแต่อายุ 28 ปี เป็นสมเด็จพระราชาคณะแต่อายุ 57 ปี นับเป็นพระเถระที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พรรษาน้อยกว่า พระเถระหลายรูปเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่อายุ 28 ปี ถึง 80 ปีรวม 53 ปี นับว่ายาวนานที่สุดไม่มีใครเทียบได้
    เมื่อสอบนักธรรม หรือบาลีจะสอบได้ที่ 1 ทุกชั้นทุกประโยคเป็นรูปเดียวในสังฆมณฑล ดำรงตำแหน่งแม่กองธรรมสนามหลวง แม่กองบาลีสนามหลวง องค์เดียวกัน

    ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2494เวลา 10.30 น. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเระ)มรณภาพด้วยโรคเนื้องอกที่ตับรวมอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 59

    ความคิดเห็นส่วนตัวผม

    ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) ท่านบอก กับผู้ที่ไปกราบท่านว่า ขอให้ทุกๆวันได้ไหว้ 5 ครั้ง จะได้เป็นศิริมงคลกับตนเอง จะเหมือนกับชื่อของท่าน (เจริญ) ครับ ท่านเจ้าคุณนรเอง ก็มีความเคารพในท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ)มาก โดยท่านเจ้าคุณนรเอง เวลาเดินผ่านกุฎิของท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ)ทุกครั้ง ท่านเจ้าคุณนร ก็จะก้มลงกราบที่กุฎิอยู่ทุกครั้งครับ


    วันที่ 14 สิงหาคม 2550
    ขอเพิ่มเติมเรื่องราว ไหว้ 5 ครั้ง
    http://www.saktalingchan.com/index.p...icle&Id=262016

    [​IMG]




    เจ้าพระคุณสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถร

    เจ้าพระคุณสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถร
    วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร

    1. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงนี้ เมื่อพระคุณท่านมีอายุเพียง 27 ปี มีพรรษา 7 ยั่งยืนตลอดมาเป็นเวลาช้านานถึง 53 ปีฯ

    2. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ นั้นมีอายุเพียง 56 ปี เท่านั้น ฯ

    3. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งธรรมเนียมการเทศนาธรรมในวันอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรก เริ่มเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2471 ติดต่อกันมาถึงปัจจุบันนี้ นับเป็นเวลา 45 ปี ล่วงแล้ว ฯ

    4. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระองค์สมเด็จพระ สังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ แลบัญชาการคณะสงฆ์โดยตรงสืบต่อมาเป็นเวลา 5 ปี ( ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ถึง พ.ศ. 2481 ) ฯ

    5. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถาติดต่อกันถึง 4 รัชกาล คือตั้งแต่รัชกาลที่ 6-7-8-9 เป็นเวลาถึง 25 ปี ฯ

    6. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ มีสัทธิวิหาริก-อันเตวาสิก มากที่สุดถึง 6,666 องค์ ฯ

    7. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เป็นต้นกำเนิดตำราไหว้ 5 ครั้งให้ศิษยานุศิษย์ปฏิบัติตาม หากผู้ใดไหว้ครบ 1 ปี เป็นกำหนด ผู้นั้นจักได้รับรูปที่ระลึกจากองค์ท่านด้านหน้าเป็นรูปองค์ท่าน ด้านหลังเป็นรูปยันต์ภควัม จากกรึกนามองค์ท่านเป็นอักษรย่อ โดยลำดับแห่งราชทินนามนั้น ๆ กระทั่งครั้งสุดท้ายได้จารึก 3 อักษรว่า พ.ฆ.อ. ซึ่งย่อจากราชทินนามว่า พุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระราชาคณะ ฯ

    8. สัทธิวิหาริกของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ที่มีอายุยืนยาวที่สุด คือ ท่านเจ้าคุณพระโศภณศีลคุณ ( หลวงปู่หลุย พาหิยเถร ) ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกองค์ที่ 23 ปัจจุบันอายุ 92 ปี พรรษา 67 ( เกิด 9 สิงหาคม 2426 ) ยังเดินลงโบสถ์ลงสวดมนต์ทำวัตรได้เป็นประจำทุก ๆ วัน เป็นพระเถราจารย์องค์สำคัญ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือยิ่งของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ

    9. สัทธิวิหาริกของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ที่ประพฤติปฏิบัติยอดเยี่ยม และเป็นพระเถระองค์สำคัญที่มีเกียรติคุณโด่งดังในปัจจุบัน คือ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ธมมฺวิตกฺโก ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกองค์ที่ 1740 ฯ

    ปัจฉิมโอวาท
    ของ

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรมหาเถระ
    วัดเทพศิรินทราวาส

    ไม่ตายควาวนี้ ก็ตายคราวหน้า อย่างเศร้าโศก เสียทีที่ศึกษาปฏิบัติมา ร้องให้เศร้าโศก ก็ร้องไห้เสร้าโศกสังขารที่
    เกิดแก่เจ็บตายนั้นเอง ที่ไม่ร้องไห้เศร้าโศกนั้นมิใช่จะเป็นคนใจไม้ใส้ระกำอะไร

    ธรรมของพระก็คือ
    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
    ย่นลงก็ สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา แล้วปรินิพพาน
    ไม่ต้องเกิดมาแก่ มาเจ็บ มาตายอีก

    (มีบัญชาให้บันทึกไว้เมื่อเช้าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๙๔)






    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สำหรับท่านใดที่ร่วมทำบุญที่เกี่ยวเนื่องกับพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง และอื่นๆ หากผมยังไม่ได้จัดส่งพระวังหน้าให้ รบกวนแจ้งบนบอร์ดอีกครั้ง หรือหลายๆครั้งก็ได้ครับ เผื่อผมลืมครับ

    ขอบคุณครับ






    การร่วมทำบุญเืพื่อรับพระวังหน้าในกระทู้พระวังหน้าฯและกระทู้ที่sithiphong ได้ตั้งขึ้นเพื่องานบุญทุกๆงาน

    หมายเหตุ 1 ผมไม่ถ่ายรูปพระพิมพ์ลงในเว็บครับ

    หมายเหตุ พระ พิมพ์(พระเครื่อง)ที่ผมจะมอบให้เพื่อเป็นพุทธานุสติและเพื่อบูชานั้น เป็นพระพิมพ์(พระเครื่อง)ที่ไม่สามารถนำไปซื้อขายในวงการพระเครื่องไทย(วง การซื้อ-ขายพระ) ได้ หากท่านต้องการพระพิมพ์(พระเครื่องที่สามารถนำไปซื้อขายในวงการพระเครื่องของเมืองไทย (วงการซื้อ-ขายพระ) ก็ไม่ต้องร่วมทำบุญและรับพระพิมพ์(พระเครื่อง)ไป

    แต่ พระพิมพ์(พระเครื่อง) ที่ผมมอบให้นั้น เป็นพระพิมพ์(พระเครื่อง) ที่สร้างขึ้นที่วังหน้า โดยกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ มีพระบัณฑูรให้สร้างขึ้น โดยช่างสิบหมู่แห่งวังหน้าเป็นผู้สร้าง และนำเข้าพระราชพิธีพุทธาภิเษกหลวงที่วัดบวรสถานสุทธาวาส (พระอุโบสถประจำวังหน้า) มีการอาราธนาคณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร(คณะโสณะ-อุตระ) และ หรือ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี และ หรือ กลุ่มหลวงปู่องค์อภิญญาใหญ่ (เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน , หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า , หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร , หลวงปู่กรมพระยาปวเรศ เป็นต้น) อธิษฐานจิต ระหว่างปี พ.ศ.2400- 2428 หรือ พระที่สร้างขึ้นที่วังหลวง นำเข้าพระราชพิธีพุทธาภิเษกหลวงที่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) ปี พ.ศ.2429-2434

    แต่ หากจะนำไปเพื่อเป็นพุทธานุสติ และหรือการห้อยคอเพื่อคุ้มครองตนเอง และหรือการบูชาต่างๆ เพื่อเป็นการบูชาพระคุณองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามกุกุกสันโธ ,องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม สมณโคดม ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ,สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ( การบูชาพระคุณพระสิวลีเถระเจ้า ,พระอนุรุธเถระเจ้า ,พระอุปคุตเถระเจ้า เนื่องจากการนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกเพิ่มเติม) ,การบูชาพระคุณองค์พระมหากษัตริย์ไทยทุกๆพระองค์ ,พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ,พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ,พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ,พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ,องค์อุปราชวังหน้า รัตนโกสินทร์ทุกๆพระองค์ และทั้งช่างสิบหมู่แห่งวังหน้า ,วังหลวง ,วังหลัง ,ช่างราษฎร์ทุกๆท่านและเทพเทวาทั้ง 16 ชั้นฟ้าและที่อยู่ในองค์พระพิมพ์(พระเครื่อง)ครับ

    ซึ่ง เรื่องที่ผมได้บอกนั้น เป็นความเชื่อ ,ความเห็นของผม รวมทั้งคณะของผม ซึ่งก็แล้วแต่ท่านผู้ร่วมทำบุญและท่านผู้อ่านทุกๆท่าน จะมีความคิดเห็นอย่างไร ก็สุดแล้วแต่ครับ

    โมทนาบุญทุกประการกับทุกๆท่านครับ
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  19. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    สวัสดีครับ เช้าวันจันทร์ ครับ
     
  20. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    เคล็ดลับผิวหน้าอ่อนวัย

    วันจันทร์ ที่ 20 มิถุนายน 2554 เวลา 0:00 น
    <SCRIPT src="http://s7.addthis.com/js/250/addthis_widget.js?pub=xa-4a38f0f6636e48fa" type=text/javascript></SCRIPT> ​


    <TABLE class=x-tabs-strip id=ext-gen5 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR id=ext-gen4><TD class=" on" id=ext-gen10 style="WIDTH: 72px">เนื้อหาข่าว</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    ใครอยากมีผิวหน้าเต่งตึงอ่อนกว่าวัย วันนี้มีเคล็ดลับง่าย ๆ สำหรับสาว ๆ ให้ไว้ทำที่บ้านมาฝาก

    เมื่อมีอายุที่มากขึ้น ปัญหาผิวหน้าเหี่ยวย่นตามกาลเวลา คงยากที่จะหลีกเลี่ยง แต่ถ้ารู้จักใส่ใจและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยคงความอ่อนเยาว์ให้ใบหน้าได้ไม่มากก็น้อย

    วิธีง่าย ๆ ก่อนอาบน้ำให้ใช้น้ำผึ้งทาทั่วบริเวณผิวหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที เสร็จแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดตามวิธีปกติ ด้วยคุณสมบัติของน้ำผึ้ง ซึ่งเป็นสารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ สามารถดึงและเก็บความชื้นไว้ได้ สังเกตได้จากการที่ผลิตภัณฑ์เสริมความงามต่าง ๆ มักมีส่วนผสมของน้ำผึ้ง วิธีการดังกล่าวจะทำให้ใบหน้าไม่เหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร และผิวพรรณสดใสเต่งตึง หากทำทุกวัน จะได้ผลลัพท์ดียิ่งขึ้น

    อีกวิธีหนึ่งคือ ให้ใช้ไข่ไก่ดิบ นำมาเฉพาะไข่ขาว พอกให้ทั่วผิวหน้าเช่นกัน วิธีนี้สามารถชะลอริ้วรอยที่เกิดขึ้นตามกาลเวลา และชะลอการเกิดตีนกาได้ โดยพอกไว้ก่อนนอน เว้นบริเวณรอบดวงตา ทิ้งไว้ประมาณ 15-30 นาที แล้วล้างออก ทำเป็นประจำอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง จะได้ผิวหน้าใสอ่อนกว่าวัย ไม่มัน และรูขุมขนดูเล็กลง.





    ที่มา เดลินิวส์ ออนไลน์
     

แชร์หน้านี้

Loading...