พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอโมทนาบุญทุกประการในงานบุญทั้งสองวัน รวม 5 วัด

    รูป(ที่นำมาลงในเว็บพลังจิต) ผมขออนุญาตท่านผู้อ่าน ปิดหน้าพระภิกษุทั้ง 5 รูป และ ปิดหน้าของน้องปฐม

    สำหรับท่านสมาชิกชมรมพระวังหน้า ผมส่งรูปต้นฉบับให้ทั้ง 5 วัดเรียบร้อยแล้วครับ


    สำหรับท่านใดที่อยู่ทางภาคใต้ หากเคยไปวัด คงจะพอทราบว่าเป็นวัดอะไรบ้าง ขอไม่เปิดเผยชื่อวัดครับ

    วัดที่ 1

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]

    วัดที่ 2

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]


    [​IMG] [​IMG]

    วัดที่ 3

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]

    วัดที่ 4

    [​IMG]

    วัดที่ 5

    [​IMG]


    ส่วนรูป หากมีเลข 1 ข้างหน้า จะเป็นวัดที่ 1 เลข 2 เป็นวัดที่ 2 ตามลำดับครับ

    กราบขอขมาพระภิกษุทั้ง 5 รูปเป็นอย่างสูงครับ


    โมทนาสาธุครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1-1.JPG
      1-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      110.6 KB
      เปิดดู:
      44
    • 1-2.JPG
      1-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      148.4 KB
      เปิดดู:
      55
    • 1-3.JPG
      1-3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      104.5 KB
      เปิดดู:
      43
    • 1-4.JPG
      1-4.JPG
      ขนาดไฟล์:
      99.7 KB
      เปิดดู:
      49
    • 1-5.JPG
      1-5.JPG
      ขนาดไฟล์:
      107.2 KB
      เปิดดู:
      37
    • 2-1.JPG
      2-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      109.9 KB
      เปิดดู:
      49
    • 2-2.JPG
      2-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      143.3 KB
      เปิดดู:
      41
    • 2-3.JPG
      2-3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      106.2 KB
      เปิดดู:
      43
    • 2-4.JPG
      2-4.JPG
      ขนาดไฟล์:
      98.4 KB
      เปิดดู:
      44
    • 2-5.JPG
      2-5.JPG
      ขนาดไฟล์:
      105.7 KB
      เปิดดู:
      40
    • 2-6.JPG
      2-6.JPG
      ขนาดไฟล์:
      86 KB
      เปิดดู:
      52
    • 3-1.JPG
      3-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      116.4 KB
      เปิดดู:
      42
    • 3-2.JPG
      3-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      126 KB
      เปิดดู:
      40
    • 3-3.JPG
      3-3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      110.6 KB
      เปิดดู:
      42
    • 4-1.JPG
      4-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      97.5 KB
      เปิดดู:
      39
    • 5-1.JPG
      5-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      100.8 KB
      เปิดดู:
      43
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2011
  2. นายเฉลิมพล

    นายเฉลิมพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +460
    ขออนุโมทนาสาธุในงานบุญครั้งนี้ด้วยครับ
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    <table class="tborder" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td class="thead">ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 1 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> sithiphong</td></tr></tbody></table>

    อรุณสวัสดิ์ยามเช้า วันอังคารเบิกบาน

    ขอให้เบิกบานในวันวิสาขบูชากันครับ

    อย่าลืมไปทำบุญในวันวิสาขบูชาครับ



    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ไต๋ กว๋อฮอง นักว่ายน้ำไร้ขาผู้ไม่เคยแพ้





    [​IMG]

    [​IMG]



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก 4.bp.blogspot.com, chinhdangvu.blogspot.com

    ใกล้ เข้ามาทุกทีแล้วสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์ 2012 ที่กำลังจะจัดขึ้นในกรุงลอนดอนในปีหน้า และดูเหมือนว่า ยิ่งเวลาใกล้เข้ามาเท่าไหร่ นักกีฬาแต่ละชนิดกีฬาของแต่ละชาติก็ยิ่งเก็บตัวฟิตซ้อมกันอย่างหนักเพื่อ แข่งกันคว้าเหรียญทองไปครองให้สำเร็จให้ได้

    ไม่เว้นแม้แต่ ไต๋ กว๋อฮอง นักกีฬาว่ายน้ำไร้ขาวัย 21 ปี จากจีนคนนี้ ที่แม้จะเพิ่งเปลี่ยนฐานะจากนักกีฬาว่ายน้ำหนุ่มสุดหล่อ มาเป็นนักกีฬาว่ายน้ำพาราลิมปิกได้เพียงแค่ 3 ปี แต่อดีตที่เคยสดใสของเขาก็ไม่เคยทำให้เขารู้สึกท้อแท้เลย ในวันนี้ ไต๋ กว๋อฮอง ก็ยังคงเดินหน้าฟิตซ้อม และเลือกที่จะมองไปข้างหน้า โดยไม่เอาร่างกายที่เคยสมบูรณ์ครบ 32 มาเปรียบเทียบกับสิ่งที่เป็นเลย

    ย้อนไปเมื่อ 5 ปีก่อน ไต๋ กว๋อฮอง เคยใช้ชีวิตเฉกเช่นเด็กหนุ่มทั่วไป ในเมืองเป่ยฉวน มณฑลเสฉวนของจีน เขาชื่นชอบการเล่นดนตรี กีตาร์ และว่ายน้ำเป็นพิเศษ และดูเหมือนจะเป็นที่ชื่นชอบของบรรดาสาว ๆ อยู่ไม่น้อย แต่แล้วโชคชะตากลับเล่นตลก เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นในมณฑลเสฉวนในปี 2551 คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 80,000 คน ซึ่งใน ขณะที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นในครั้งนั้น ไต๋ กว๋อฮอง กำลังเรียนหนังสืออยู่ในห้องเรียนกับเพื่อนอีกหลายสิบชีวิต แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวครั้งนั้นทำให้ตึกอาคารถล่มทับเพื่อนร่วมห้อง ของเขาและรวมถึงตัวเขาเองด้วย ทำให้เพื่อนร่วมห้องของเขาเสียชีวิตไปต่อหน้าต่อตากว่า 26 คน ส่วนเขาเองถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลด้วยอาการโคม่า และนอนนิ่งเป็นเจ้าชายนิทราอยู่นานนับเดือน ก่อนจะตื่นขึ้นมาพบว่า ขาทั้ง 2 ข้างของตัวเองได้ถูกตัดไปแล้ว ซึ่งทำให้เขารู้สึกเสียใจกับความสูญเสียมาก แต่เขาก็บอกตัวเองว่าต้องยอมรับกับความจริงที่เป็น และอยู่กับสภาพให้ได้

    หลังจากกลายเป็นคนพิการจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ไต๋ กว๋อฮอง ได้ตัดสินใจเข้าชมรมนักกีฬาว่ายน้ำพิการในมณฑลเสฉวน เพราะแพทย์บอกว่าการว่ายน้ำทำให้สุขภาพดี และเขาเองก็ไม่อยากทิ้งกีฬาว่ายน้ำ ซึ่งเป็นกีฬาที่เขาชื่นชอบอยู่แล้ว และด้วย ทักษะทางกีฬาว่ายน้ำที่มีอยู่เต็มเปี่ยม ทำให้ ไต๋ กว๋อฮอง กลายเป็นนักกีฬาว่ายน้ำพิการมืออาชีพไปอย่างรวดเร็ว ในเวลาเพียงแค่ 10 เดือนเท่านั้น ซึ่งเขาได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันต่าง ๆ และในที่สุดก็ได้รับการคัดเลือกเป็นนักกีฬาพิการทีมชาติ ที่กำลังเก็บตัวฝึกซ้อมเพื่อเข้าร่วมแข่งขันในกีฬาพาราลิมปิก เกมส์ ที่กรุงลอนดอนในปีหน้านี้

    ยิ่งไปกว่านั้น หลังจากที่ ไต๋ กว๋อฮอง กลายเป็นคนพิการและอยู่ระหว่างการฝึกซ้อมกีฬาว่ายน้ำในมณฑลเสฉวนนั้น สิ่งหนึ่งที่เขาทำควบคู่กันไป ก็คือการให้คำแนะนำโรงเรียนต่าง ๆ ในการพัฒนาและสนับสนุนศักยภาพของนักเรียนพิการทั่วประเทศผ่านการสัมภาษณ์ของ เขา หลังจากตระหนักว่า ภาวะความพิการไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ความสามารถในด้านต่าง ๆ มากนัก แต่น่าเสียดายที่สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่มักจะละเลยคนพิการ และไม่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้ทำสิ่งต่าง ๆ หรือแสดงความสามารถเหมือนกับคนทั่วไป และนอกจากนี้ เขายังกล่าวอีกว่า เขาอยากจะเรียนรัฐศาสตร์ หรือกฎหมาย เพื่อที่ในอนาคต เขาจะได้ทำอะไรสักอย่างเพื่อให้สังคมยอมรับคนพิการมากขึ้น และเปิดโอกาสให้คนพิการมีพื้นที่ในสังคมมากกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งนั่นก็ถือเป็นความฝันอย่างหนึ่งของเขาเลยทีเดียว

    ส่วนเรื่องการเตรียมตัวเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ ที่กรุงลอนดอนนั้น ไต๋ กว๋อฮอง ได้เปิดเผยว่า มัน ไม่สำคัญว่าเขาจะได้เหรียญทองหรือไม่จากการแข่งขัน แต่มันสำคัญที่ว่า เขาได้รับเกียรติในการให้เข้าร่วมการแข่งขันระดับชาติครั้งนี้ การเป็นคนพิการที่ได้รับโอกาสทำให้เขารู้สึกว่าเขาได้ทำในสิ่งที่มีความหมาย กับตัวเขาเอง แต่เขาก็จะทำให้ดีที่สุด เพื่อพิสูจน์ให้ใคร ๆ ได้เห็นว่าคนพิการก็สามารถทำอะไรเทียบเท่าคนปกติได้ ดังนั้น สิ่งที่เขากำลังทำอยู่นี้ จึงไม่ใช่แค่การทำเพื่อตัวเองหรือครอบครัว แต่มันเป็นการทำให้คนพิการด้วยกันเองมีกำลังใจที่จะแสดงความสามารถ และทำให้คนในสังคมได้เปิดโอกาสให้กับคนพิการมากขึ้นด้วย

    -http://hilight.kapook.com/view/58836-




















    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    [FONT=Tahoma,]พระพุทธโสธร

    คอลัมน์ รู้ไปโม้ด
    น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com


    <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="360"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#E0E0E0" valign="top">[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>อยากทราบเรื่องประวัติหลวงพ่อโสธร แปดริ้ว รบกวนน้าชาติสืบค้นให้หน่อยนะคะ ขอขอบคุณ

    น้ำหอม

    ตอบ น้ำหอม

    เปิด หนังสือ พุทธปฏิมา งานช่างพลังแห่งศรัทธา โดย ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร พบข้อมูลพระพุทธโสธร วัดพุทธโสธรวราราม อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิง เทรา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าหลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีประวัติความเป็นมาว่าประดิษฐานที่วัดโสธรวรารามตั้งแต่ราว พ.ศ. 2313 โดยมีเกร็ดประวัติกล่าวว่า พระพุทธโสธรเป็นพระพุทธรูปทางเหนือที่แสดงปาฏิหาริย์ลอยน้ำมาพร้อมกัน 3 องค์ และได้ไปขึ้นตามวัดต่างๆ องค์พี่ใหญ่สุดคือหลวงพ่อบ้านแหลม วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม องค์กลางคือหลวงพ่อโสธร และองค์เล็กคือหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ จังหวัดสมุทรปราการ สำหรับหลวงพ่อโตที่ลอยมาถึงด้านหน้าวัดโสธรวราราม ได้มีพระอาจารย์ผู้ทรงความรู้เป็นผู้ทำพิธีบวงสรวงใช้สายสิญจน์อัญเชิญขึ้น ประดิษฐานได้สำเร็จ

    นอกจากนี้ ยังมีพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึงพระพุทธโสธรว่า "กลับมาแวะวัดโสธร ซึ่งกรมหลวงดำรงคิดจะแปลว่า 'ยโสธร' จะให้เกี่ยวแก่การที่ได้สร้างเมื่อเสด็จกลับจากไปตีเขมร แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หรือเมื่อใดนั้น แต่เป็นที่สงสัยด้วยเห็นไม่ถนัด พระพุทธรูปทำด้วยศิลาแลงทั้งนั้น องค์ที่สำคัญว่าเป็นหมอดีนั้น คือองค์ที่อยู่ตรงกลาง ดูรูปตักและเอวงาม ทำนองเดียวกับพระพุทธรูปเทวปฏิมากร แต่ตอนบนกลายไปเป็นฝีมือผู้ที่ไปปั้น ว่าลอยน้ำมาก็เป็นความจริง เพราะเป็นศิลาคงทำไม่ได้ในที่นี้"

    พระ พุทธโสธรถือเป็นตัวอย่างพระพุทธรูปที่มีศรัทธาประชาชนในการกราบไหว้บูชามาก ที่สุดในประเทศไทย ศรัทธาและความเชื่อนี้เกิดจากตำนาน ความศักดิ์สิทธิ์ และอภินิหาร เป็นสำคัญ เช่น ที่กล่าวว่าเป็นพระพุทธรูปที่ลอยน้ำมา เป็นต้น เพราะองค์หลวงพ่อโสธรเป็นเพียงพระพุทธรูปหินทราย สมัยอยุธยาตอนต้น (พุทธศตวรรษที่ 20) ขนาดทั่วๆ ไปไม่ใหญ่โตนัก และประการสำคัญไม่มีความงดงามทางด้านศิลปกรรมหรือสุนทรียศาสตร์เท่าใดนัก เมื่อเทียบกับพระพุทธรูปสำคัญองค์อื่นๆ กล่าวคือ เป็นพระพุทธรูปหินทรายที่เกิดจากการนำหินทรายมาประกอบเข้าด้วยกัน จากหลักฐานการบูรณะครั้งสำคัญโดยกรมศิลปากรพบว่า พระพุทธโสธรเป็นพระพุทธรูปหินทราย สลักเป็นชิ้นๆ รวม 11 ชิ้น นำมาประกอบเข้าด้วยกันและลงรักปิดทอง ซึ่งเป็นเทคนิคการสลักพระพุทธรูปหินทรายที่พบมากในสมัยอยุธยาตอนต้น

    ลักษณะ ทางพุทธศิลป์ พระพุทธโสธรเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางสมาธิสมัยอยุธยาตอนต้น พระพักตร์ค่อนข้างกลมแป้น พระขนงโก่งเล็กน้อย พระเนตรเล็กหรี่และเหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์เล็ก สีพระพักตร์ขรึมแบบอยุธยาที่ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมรที่พัฒนามาจนเป็นแบบ อยุธยาแล้ว มีอุษณีษะ(พระเกตุมาลา) และพระรัศมีทรงสูง การทำพระรัศมีเป็นทรงสูงแบบนี้น่าจะเป็นพระรัศมีเป็นเปลว พระวรกายส่วนท่อนบน โดยเฉพาะพระอุระเล็กเทียบสัดส่วนกับพระ เพลาที่กว้างมาก สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่และยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายแยกเป็นสองชายคล้ายเขี้ยวตะขาบ

    ทั้งเทคนิคการสร้างที่เกิดจากการ สลักหินหลายชิ้นมาประกอบเข้าด้วยกัน และลักษณะทางพุทธศิลป์ เช่น สีพระพักตร์เคร่งขรึม สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่และยาวลงมาจรดพระนาภี อันเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยาที่ได้รับแรงบันดาลใจมา จากศิลปะเขมร การมีพระรัศมีเป็นทรงสูงหรือเป็นเปลว จัดเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ 2 ซึ่งจัดอยู่ในศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น ที่สอดคล้องกับข้อสันนิษฐานของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่รัชกาลที่ 5 ทรงกล่าวถึง
    [/FONT]


    -http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakUzTURVMU5BPT0=&sectionid=TURNeE1RPT0=&day=TWpBeE1TMHdOUzB4Tnc9PQ==-





    http://www.khaosod.co.th/view_news....nid=TURNeE1RPT0=&day=TWpBeE1TMHdOUzB4Tnc9PQ==




    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    'ต้องมีการสงเคราะห์บำรุงซึ่งกันและกัน

    แบ่งสรรปันส่วน มีความเห็นพร้อมเพรียงกัน

    มีทิฐิเสมอกัน มีความสามัคคีปรองดองกัน ไม่แตกแยก

    รักษาพัฒนาบำรุงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ของตน

    อย่าไปคิดโค่นล้มทำลาย เป็นของไม่ดี
    ทำความชั่วเสียหายเป็นบาปกรรม เป็นโทษแก่ตน'



    โอวาทธรรม พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
    [​IMG]
    จากหนังสือตามรอยพระอริยเจ้า​



    -http://palungjit.org/posts/4717105-

    .
     
  7. jirautes

    jirautes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +575
    โมทนาบุญทุกๆๆประการครับ:cool:
     
  8. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    สวัสดีเช้า วันอังคาร ครับ
     
  9. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    อนุโมทนาบุญด้วยครับ คุณปฐม
     
  10. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    <IFRAME id=_atssh842 title="AddThis utility frame" style="BORDER-RIGHT: 0px; BORDER-TOP: 0px; Z-INDEX: 100000; LEFT: 0px; BORDER-LEFT: 0px; WIDTH: 1px; BORDER-BOTTOM: 0px; POSITION: absolute; TOP: 0px; HEIGHT: 1px" name=_atssh842 src="//s7.addthis.com/static/r07/sh42.html#cb=0&ab=-&dh=palungjit.org&dr=&du=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Ff179%2F%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%81-%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-22445-2262.html&dt=&inst=1&lng=th&pc=men&pub=xa-4a38f0f6636e48fa&ssl=0&sid=4dd1d360d11d9232&srd=1&srf=0.02&srp=0.2&srx=0.5&ver=250&xck=0&rev=99283" width=1 height=1 frameborder="0"></IFRAME>
    'วรรคทอง'แห่งธรรม'ทำบุญ-ทำดี'กรรมดีมีได้'ไม่ยาก'

    วันอังคาร ที่ 17 พฤษภาคม 2554 เวลา 0:00 น
    <SCRIPT src="http://s7.addthis.com/js/250/addthis_widget.js?pub=xa-4a38f0f6636e48fa" type=text/javascript></SCRIPT>​


    <TABLE class=x-tabs-strip id=ext-gen5 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR id=ext-gen4><TD class=" on" id=ext-gen10 style="WIDTH: 72px">เนื้อหาข่าว</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    "...เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากลของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก และเป็นวันสำคัญของโลกตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เพราะ เป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้ง 3 เหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมการเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า วิสาขบูชา ย่อมาจาก วิสาขปูรณมีบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ...”

    ...เป็นจำกัดความโดยสรุปของ ’วันวิสาขบูชา“ ซึ่งสำหรับปี 2554 นี้ ตรงกับวันอังคารที่ 17 พ.ค. และพุทธศาสนิกชนไทยโดยทั่วไปก็คงจะได้ ’ทำบุญ-ทำกุศล“ กัน ตามแต่ใครจะสะดวก ว่าจะทำแบบใด-อะไรบ้าง

    แต่การทำบุญ-ทำกุศลก็ใช่ว่าควรทำแค่วันใดวันหนึ่ง

    ทำทุก ๆ วันจะยิ่งดีต่อตนเอง และก็ทำได้หลายแบบ

    ทั้งนี้ กับเรื่องของบุญ-กุศล หรือการ ’ทำดี-ทำกรรมดี“ ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือท่าน ว.วชิรเมธี พระนักเผยแผ่ ก็เพิ่งจะมีอีกคำแนะนำออกมา ซึ่งก็น่าสนใจ กับกรณีของ “5 ตำราที่ชาวพุทธควรอ่าน” ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงอ่านเพื่อจะได้หลักในการทำบุญ-ทำกุศล ทำดี-ทำกรรมดี

    5 ตำรานี้คือ...1. พระไตรปิฎก, 2. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน, 3. คุณลักษณะพิเศษของพุทธศาสนา, 4. หลักชาว
    พุทธ (เกณฑ์มาตรฐานของการเป็นชาวพุทธ), 5. เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม

    ท่าน ว.วชิรเมธี ได้ยกตัวอย่าง “วรรคทอง” ในตำราหรือหนังสือดังกล่าวนี้ อาทิ...

    ’1. ลาภสักการะชื่อเสียง เปรียบเสมือนกิ่งไม้ใบไม้, 2. ความสมบูรณ์ด้วยศีล เปรียบเหมือนสะเก็ดไม้, 3. ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ เปรียบเสมือนเปลือกไม้, 4. ญาณทัสสนะ หรือปัญญา เปรียบเสมือนกะพี้ไม้, 5. ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบ เปรียบเสมือนแก่นไม้“

    ...นี่เป็นประเด็น “อะไรคือแก่นพุทธศาสน์” ในหน้า 50 ของ “พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน” ซึ่งย่อพระไตรปิฎก 45 เล่ม ให้เหลือเพียง 1 เล่ม โดย อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ (เปรียญธรรม 9 ประโยคที่มีชื่อเสียงมากที่สุดร่วมยุคกับท่านพุทธทาสภิกขุ) ด้วยปรารถนาให้ชาวพุทธได้เรียนรู้ธรรมะจากพระไตรปิฎก

    “เนื้อหาน้อยลง แต่ทว่ากลับยังคงอุดมด้วยแก่นสารอย่างครบถ้วนเหมือนเดิม ทั้งภาษาก็อ่านง่าย ไพเราะ ใครก็ตามที่อยากศึกษาพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎกโดยตรง แต่ประหวั่นพรั่นพรึงต่อเนื้อหาอันมากมายมหาศาล การเริ่มต้นอ่านพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน จึงนับว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด”

    ...ท่าน ว.วชิรเมธี ระบุไว้ อีกทั้งยังมีการยกตัวอย่างวรรคทองของหนังสือ “คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา” โดยอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เช่น...“แม้จะตัดความเชื่อในเรื่องฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ออกหมด ก็ไม่ทำให้พระพุทธศาสนากระทบกระเทือนอะไรแม้แต่น้อย เพราะพระพุทธศาสนามิได้มีรากฐานอยู่บนเรื่องฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ หากอยู่ที่เหตุผลและคุณงามความดีที่พิจารณาเห็นได้จริง ๆ” (หน้า 34), “ถ้าบุคคลจะพ้นจากบาปกรรมได้เพราะการรดน้ำ (ศักดิ์สิทธิ์) แล้ว กบ เต่า งู จระเข้ และสัตว์น้ำทั้งปวง ก็จักไปสวรรค์ได้เป็นแน่...(พุทธพจน์)” (หน้า 202), “เราเอาน้ำมันเทลงไปในน้ำ แล้วจะอ้อนวอนให้จมลงอย่างไร น้ำมันก็จะคงลอยขึ้นเหนือน้ำเสมอไป เราทิ้งก้อนหินลงในน้ำ แม้จะอ้อนวอนให้ลอยอย่างไร มันก็ไม่ลอยขึ้น คงจมลงโดยส่วนเดียว ฉันใด การทำความดี ย่อมเป็นเหตุให้เฟื่องฟู การทำความชั่วย่อมเป็นเหตุให้ล่มจม เมื่อทำแล้ว จะใช้วิธีอ้อนวอนให้เกิดผลตรงกันข้าม ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉันนั้น...(พุทธพจน์)” หน้า 348

    ตัวอย่างวรรคทองเหล่านี้เป็นไปในเชิง “ให้สติ”

    ดึงมิให้ชาวพุทธหลงกับสิ่งที่คิดว่าใช่...แต่ไม่ใช่

    นอกจากนี้ ท่าน ว.วชิรเมธี ยังยกตัวอย่างวรรคทองในหนังสือ “เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม” โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เช่นประเด็น “การแก้กรรมตามแนวพุทธแท้” กล่าวคือ...พระพุทธองค์ตรัสว่า “เราจะแสดงกรรมเก่า กรรมใหม่ ความดับกรรม และทางดับกรรม...กรรมเก่าคืออะไร? จักขุ (ตา) โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น) กาย มโน (ใจ) นี้ชื่อว่ากรรมเก่า; อะไรชื่อว่ากรรมใหม่ ? การกระทำที่เราทำอยู่ในบัดนี้ นี่แหละชื่อว่ากรรมใหม่; อะไรคือความดับกรรม? บุคคลสัมผัสวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม นั้นชื่อว่าความดับกรรม; (=การหลุดพ้นจากกิเลส คือ ภาวะดับกรรม) อะไรเป็นทางดับกรรม? มรรคมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐคือ สัมมาทิฐิ เป็นต้น สัมมาสมาธิเป็นปริโยสาน นี้เรียกว่า ทางดับกรรม” (หน้า 19)

    ’วิสาขบูชา“ เป็นวาระดีที่จะคิด ’ทำบุญ-ทำดี“

    ทำบุญ-ทำดี ’ไม่มีเงิน-ไม่ต้องใช้เงิน“ ก็ทำได้

    และทำได้ทุก ๆ วัน ไม่ต้องรอวันสำคัญใด ๆ.





    ที่มา เดลินิวส์ ออนไลน์
     
  11. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    หยุดแก้กรรม...หันมาสร้างกรรมดีด้วยตัวเราเอง

    • 08 พฤษภาคม 2554 เวลา 18:53 น. |
    การประดิษฐ์คำในการสอนของผู้ที่มีหน้าที่สอน จะเป็นพระสงฆ์ แม่ชี หรือฆราวาสผู้ธรรมทั้งหลาย ควรตระหนักระวัง และต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ จริง ซึ่งไม่ใช่แค่รู้งูๆ ปลาๆ หรือรู้ผิดๆ แล้วมาตั้งตัวเป็นผู้สอน....
    โดย...อ.ตุ้ย วรธรรม
    บอกตรงๆ ครั้งแรกที่ได้ยินคำว่า “แก้กรรม” อุบัติขึ้นมีความกระสันรู้ว่าใครกันหนอ สำนักไหนกันนะช่างประดิดประดอยคำคำนี้ได้สวยหรูไม่หยอก จนแก้กรรมได้แตกหน่อออกผลมีผู้นำไปใช้กันแพร่หลาย ในแง่ของพิธีกรรม เกิดการแก้กรรมด้วยวิธีต่างๆ นานา ทั้งแบบโลดโผนพิสดาร ทั้งแบบไม่โลดโผนแต่แถไปได้เรื่อยๆ คนจับไม่ได้ไล่ไม่ทันก็อยู่ยั้งยืนยง หาเลี้ยงชีพบนความเชื่อของคนไปวันๆ
    ในแง่ทฤษฎี มีงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องการแก้กรรมหลากหลาย มีการออกหนังสือแก้กรรมซึ่งปรากฏว่าขายดี แต่ทว่าเนื้อหาบางเล่มค่อนข้างหวือหวา มีการแนะนำให้คนแก้กรรมแบบผิดๆ ซึ่งไม่มีในหลักคำสอนของศาสนาพุทธ มองแล้วอันตรายสำหรับคนที่ยอมให้เขาแก้กรรมที่ใช้แต่ศรัทธานำหน้าทะลุทะลวง แล้วไม่ใช้ปัญญากำกับ กลายเป็นหลงงมงายอย่างที่พุทธศาสนาเรียกว่า “โมหะ”
    [​IMG]
    ไม่เพียงการ “แก้กรรม” เท่านั้น พักหลังเกิดคำว่า เปิดกรรม สแกนกรรม และเอกซเรย์กรรม แล้วมีการนำมาใช้ทั้งในแง่ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยภาคปฏิบัติมีบุคคลที่มีตัวตนทำการเอกซเรย์กรรมบุคคลที่ประสงค์จะให้เอกซเรย์ ซึ่งไม่รู้ว่ามีญาณวิเศษอะไรเป็นเครื่องสแกนจนเห็นทะลุปรุโปร่งขนาดว่าบุคคลนั้นๆ ไปทำกรรมอะไรมาในอดีตชาติ และรู้ด้วยว่าจะต้องแก้กรรมนั้นด้วยวิธีอะไรอีกต่างหาก
    ส่วนกรณีคลิปของแม่ชีแก้กรรมท่านหนึ่งที่ให้เหล่าผู้หญิงมีกรรมทั้งหลายไปนอนกับวัยรุ่นผู้ชายเพื่อแก้กรรมที่มีอยู่ให้หมดหรือลดลงไป มิเพียงเป็นวลีฮิตติดปากที่หลายๆ คนนำมาพูดหยอกเอินกันสนุกสนานหู เช่น วันนี้ไปแก้กรรมที่ไหนดี (วะ) เดี๋ยวก็พาไปแก้กรรมซะหรอก เป็นต้น ยอมรับว่าได้สร้างความตื่นในหมู่ชาวพุทธพอสมควร ซึ่งก็มีทั้งพวกตื่นรู้ และตื่นต่อต้าน
    ตื่นรู้...ผู้คนหูตาสว่าง เกิดจักษุปัญญา คือ ใช้สติและปัญญามากขึ้น คนที่เคยเชื่อแบบนั้นหรือยังไม่ทันเชื่อเมื่อเห็นตัวอย่างก็จะหันมาใช้สติปัญญาคิดพิจารณาก่อนที่จะเชื่อในสิ่งใดๆ
    ตื่นต่อต้าน...เมื่อเห็นไม่ถูกไม่ควรและไม่เหมาะสม ก็ควรต้องแสดงตัวว่าไม่เห็นด้วย ไม่ใช่นิ่งเฉยธุระไม่ใช่ เพราะถ้าปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปอาจสายเกินแก้ เพราะถ้าแย่กว่านี้จะแก้ลำบากหากมวลชนมากขึ้น
    พุทธศาสนาสอนให้เว้นกรรมชั่วและให้ทำกรรมดี
    การประดิษฐ์คำในการสอนของผู้ที่มีหน้าที่สอน จะเป็นพระสงฆ์ แม่ชี หรือฆราวาสผู้ธรรมทั้งหลาย ควรตระหนักระวัง และต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ จริง ซึ่งไม่ใช่แค่รู้งูๆ ปลาๆ หรือรู้ผิดๆ แล้วมาตั้งตัวเป็นผู้สอน
    อย่ามุ่งแค่ประดิษฐ์คำสวยหรูเพื่อสร้างเครดิตให้กับตัวเอง ว่าเป็นบุคคลสอนธรรมสมัยใหม่ แต่ทว่าใส่วิธีการสอนผิดๆ เข้าไป และอย่ามุ่งทำในเชิงพาณิชย์ โดยเอาความเชื่อของผู้คนมาเป็นบันไดไต่เต้าไปสู่ความมั่งคั่งทางธุรกิจ เพราะแทนที่จะเป็นบุญแต่กลับเป็นการเพิ่มบาปใส่ตัว
    การแก้กรรมอย่างที่แก้ๆ เท่าที่เห็นในปัจจุบัน...ไม่มีว่าไว้ในหลักคำสอนของศาสนาพุทธ และคำว่า “แก้” ก็ไม่ควรที่จะถูกนำมาใช้ในการสอนในเรื่องของกรรมด้วย เพราะมันง่ายไป...ง่ายจนคนสมัยนี้ไม่ไปไหนมาไหน ง่วนอยู่แต่กับการแก้กรรม พอชีวิตมีปัญหาอะไรก็โทษกรรมอย่างเดียว กรรมชั่วทำให้เป็นเช่นนั้น
    ที่สุดก็ตระเวนหา “ผู้แก้กรรม” มาแก้ไขปัญหาที่ว่าให้ แม้จะเสียเงิน เสียเกียรติก็ยอม แล้วผู้แก้กรรมสมัยนี้ก็แปลกประหลาดไม่น่าเชื่อ แค่มองไปที่รูปร่างหน้าตาของผู้มาแก้กรรม ก็สามารถรู้แจ้งชัดว่าเขาผู้นั้นชาติก่อนไปทำบาปกรรมอะไรมา ชาตินี้จึงต้องเป็นแบบนี้ มันน่าเหลือเชื่อขนาดไหน เพราะถ้าเป็นพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นสัพพัญญูรู้ทุกอย่าง รู้อดีตชาติทั้งของพระองค์และของคนอื่นย้อนไปนับชาติไม่ถ้วน ไม่ใช่สิ่งเกินจริงแน่นอน เพราะทรงรู้จริงเห็นจริง แต่ปุถุชนสมัยนี้มักจะทำตัวเสมือนเป็นพุทธเจ้า ระวังบาปจะกินหัว
    เพราะฉะนั้น อยากให้ชาวพุทธได้กลับมาดูหลักคำสอนของศาสนาพุทธที่แท้จริง ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้เป็นแนวทางชัดเจนในวันมาฆบูชา ที่เรียกว่า “โอวาทปาติโมกข์” อยากให้ทุกคนเอาไปคิด
    ข้อแรก สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง คือ การไม่ทำความชั่วหรือบาปทั้งปวง กล่าวคือขึ้นชื่อว่าชั่ว ไม่ดี เป็นบาป ทำแล้วเดือดร้อนกายและใจ จะต้องเว้นให้ไกล ไม่ทำ และระวังอย่าให้ใจไปยินดีกับการทำชั่ว การพูดชั่ว การคิดชั่ว เหล่านั้น อาทิ การฆ่า การเบียดเบียน การทำร้าย การลักขโมย การฉ้อโกง การประพฤติผิดในประเวณี การด่า การใส่ร้าย ส่อเสียด ปรักปรำความผิดให้คนอื่น การคิดอาฆาตล้างแค้นจองเวรคนอื่น
    ข้อ 2 กุสะลัสสูปะสัมปะทา การทำกุศลคือความดีให้ถึงพร้อม กล่าวคือ เมื่อไม่ทำความชั่วแล้วควรจะต้องสร้างสมความดีอยู่เสมอ ไม่ใช่ชั่วไม่มีแล้วดีก็ไม่ทำเลย อย่างนั้นไม่ถูก ที่ถูกต้องทำดีด้วย เพราะฉะนั้นอะไรที่เป็นความดีจริงๆ ดีแท้ๆ ดีบริสุทธิ์ พระพุทธศาสนาสอนให้ทำ ไม่ให้หนี ไม่ให้กลัว และไม่ให้อายที่จะทำ เช่น ไม่ให้อายว่ากุศลแค่น้อยนิดแล้วไม่คิดทำความดี เช่น การช่วยเหลือคนอื่นซึ่งกำลังเดือดร้อน การเลี้ยงดูบิดามารดาด้วยความเคารพเทิดทูน การทำบุญในพระศาสนา การไม่อาฆาตแค้น การไม่มุ่งร้าย การไม่ว่าร้ายคนอื่น เป็นต้น
    ข้อสุดท้าย สะจิตตะปะริโยทะปะนัง การชำระและรักษาจิตของตัวเองให้บริสุทธิ์ ผ่องแผ้วอยู่เสมอ เช่น การนั่งสมาธิ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เป็นต้น โดยจิตที่สะอาด ผ่องแผ้ว บริสุทธิ์ เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ 2 ข้อที่กล่าวมาได้รับการสนับสนุนส่งเสริมในเชิงบวก กล่าวคือ เมื่อจิตได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี บุคคลรักษาใจตัวเองดี คิดดี ก็ไม่มีทางที่จะไปทำความชั่วใดๆ และไม่มีทางที่จะปล่อยความดีทั้งหลายให้หลุดลอยไปแน่นอน
    เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าไม่มีที่ไหนที่พระพุทธศาสนาสอนให้ “แก้กรรม” แต่พระพุทธศาสนาสอนชัดเจนว่า กรรมชั่วเป็นสิ่งไม่ควรทำอย่างยิ่งและไม่ให้ทำ กรรมดีเป็นสิ่งควรทำและพยายามทำให้มาก และที่สำคัญกรรมชั่วก็คนละส่วน กรรมดีก็คนละส่วน แยกกัน อย่าเอาไปเหมารวม
    การสอน เช่นว่า ชาติก่อนคุณไปข่มขืนใครไว้ พอมาชาตินี้คุณจะต้องแก้กรรมชั่วของคุณนั้นด้วยการไปนอนกับคนนั้นคนนี้จึงจะหมดกรรมหรือกรรมเบาบาง สอนแบบนี้ถือว่าเสียหายทั้งต่อศาสนาและผู้สอนเอง
    ชาวพุทธต้องเข้าใจกรรมให้ถูก
    การที่สังคมไทยเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นมาเพราะเข้าใจในเรื่องกรรมคลาดเคลื่อนไม่ตรงตามหลักศาสนาที่แท้จริงจึงทำให้เกิดความเข้าใจผิด สอนผิด และปฏิบัติผิดๆ และเพื่อความเข้าใจในกรรมที่ถูกต้องจึงขอยกข้อความบางส่วนในหนังสือ “กรรม นรก สวรรค์ สำหรับคนรุ่นใหม่” ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) มาเป็นวิทยาทาน
    พระพรหมคุณาภรณ์ กล่าวว่า กรรมนั้นหมายถึงการกระทำ เป็นกลางๆ จะดีก็ได้ จะชั่วก็ได้ ซึ่งถ้าเป็นฝ่ายดีก็เรียกบุญหรือบุญกรรม ถ้าเป็นฝ่ายชั่วก็เรียกบาปหรือบาปกรรม หรือไม่ก็เรียกกุศลกรรมและอกุศลกรรม แต่สังคมไทยมักใช้ในความหมายคลาดเคลื่อน เช่น คำว่าแล้วแต่บุญแต่กรรม ปล่อยให้เขาก้มหน้ารับกรรมไป เป็นต้น ซึ่งแสดงเกิดไขว้เขวในเรื่องกรรม
    ทั้งนี้ ท่านได้ยกข้อความในวาเสฏฐสูตรว่า การที่พระพุทธเจ้าตรัสบุคคลเป็นชาวนา เป็นโจร เป็นพราหมณ์ เป็นกษัตริย์ เป็นปุโรหิตก็เพราะกรรม ฯลฯ ซึ่งจากข้อความนี้บางคนอาจคิดว่าคนคนนั้นต้องไปทำกรรมบางอย่างไว้จึงทำให้ชาตินี้ต้องมาเกิดเป็น ชาวนา เป็นกษัตริย์ เป็นปุโรหิต แต่ความจริงไม่ใช่ พระพุทธเจ้าตรัสว่าคนที่ดำนา หว่านข้าว ไถนา จึงเป็นชาวนาซึ่งเป็นไปตามการกระทำอันได้แก่อาชีพของเขา คนที่เป็นที่ปรึกษาพระเจ้าแผ่นดินก็เป็นปุโรหิตตามอาชีพของเขา เป็นต้น ซึ่งกรรมในที่นี้หมายถึงการกระทำที่เป็นอาชีพการงาน เป็นขั้นของการกระทำที่มองเห็นชัดปรากฏออกมาภายนอก แต่เมื่อดูความหมายที่ลึกเข้าไปถึงจิตใจ เจตนาคือกรรม ดั่งพุทธพจน์ที่ให้ความหมายของกรรมชัดเจนคือ เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม กล่าวคือเมื่อบุคคลจงใจ มีเจตนาอย่างใดก็แสดงออกมาเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจาเป็นการพูด นี้ก็คือความหมายของกรรมที่ละเอียดชัดเจน
    อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดกรรมมีหลายประเภท ถ้าแสดงออกทางกายจัดเป็นกายกรรม ถ้าแสดงออกทางวาจาเป็นวจีกรรม ถ้าแสดงออกทางใจจัดเป็นมโนกรรม ถ้าโดยคุณภาพจำแนกเป็น 2 คือ กรรมดีเรียกกุศลกรรม กรรมชั่วเรียกอกุศลกรรม บางแห่งจำแนกออกไปอีก เช่น กรรมดำ กรรมขาว กรรมทั้งดำทั้งขาว และกรรมไม่ดำไม่ขาวที่เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
    เข้าใจนิยาม 5 ก็เข้าใจกฎแห่งกรรม
    ในหนังสือกรรม นรก สวรรค์ สำหรับคนรุ่นใหม่ ระบุว่า การที่จะเข้าใจกรรมได้ถูกต้องโดยไม่ได้เหมาว่าทุกอย่างเป็นเพราะกรรมอย่างเดียวนั้น คนไทยจะต้องรู้จักกฎ 5 ข้อ หรือนิยาม 5 ดังต่อไปนี้
    1.กรรมนิยาม กฎแห่งกรรม ได้แก่ กฎเกณฑ์แห่งเหตุและผลเกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์ เช่นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว 2.จิตตนิยาม กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการทำงานของจิต 3.พีชนิยาม กฎเกี่ยวกับพืชพันธุ์ เช่น ปลูกมะม่วงก็เกิดเป็นมะม่วง ปลูกเมล็ดพืชอะไรก็ออกผลออกต้นเป็นพืชชนิดนั้น อย่างนี้เรียกพีชนิยาม 4.อุตุนิยาม กฎเกณฑ์เกี่ยวกับอุตุ คือเรื่องอุณหภูมิ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ 5.ธรรมนิยาม กฎแห่งธรรม คือความเป็นเหตุเป็นผลกันของสิ่งทั้งหลาย หรือความเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย เช่น คนเกิดมาแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เป็นต้น
    จะเห็นว่ากรรมนิยามเป็นเพียงกฎ 1 ใน 5 กฎ การที่จะวิเคราะห์พิจารณาสิ่งทั้งหลายจึงอย่าไปยึดถือว่าทุกอย่างต้องเป็นเรื่องของกรรมทั้งหมด มิฉะนั้นจะกลายเป็นทัศนะที่ผิดพลาดได้ เช่น นาย ก. เหงื่อออกเพราะอากาศร้อนจะไปบอกว่าเหงื่อออกเพราะกรรมคงไม่ได้ อย่างนี้เรียกว่าอุตุนิยาม ซึ่งก็ไม่แน่เสมอไป บางทีนาย ก. เหงื่อออกไม่ใช่เพราะอากาศร้อน เช่น นาย ก. ไปทำความผิดแล้วเกิดหวาดกลัวจนเหงื่อออก ในกรณีนี้นาย ก. เหงื่อออกเพราะกรรม เป็นกรรมนิยาม
    ในหนังสือเล่มนี้ยังได้ยกพุทธพจน์ในสฬายตนวรรค สังยุตตนิกาย พระสุตตันตปิฎก พระไตรปิฎกเล่ม 18 ข้อ 427 เพื่อให้ภาพชัดว่า โรคบางอย่างเกิดจากการบริหารกายไม่สม่ำเสมอก็มี เกิดจากอุตุคือสภาพแวดล้อมแปรปรวนเป็นสมุฏฐานก็มี เกิดจากเสมหะเป็นสมุฏฐานก็มี เกิดจากดีเป็นสมุฏฐานก็มี เกิดจากสมุฏฐานต่างๆ ประกอบกันก็มี เกิดจากกรรมก็มี แปลว่าโรคบางอย่างเกิดจากกรรม แต่หลายอย่างเกิดจากอุตุนิยาม เกิดจากความแปรปรวนของร่างกาย เกิดจากการบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ เช่น พักผ่อนน้อยเกินไป ออกกำลังกายเกินไป เป็นต้น เพราะฉะนั้นกรรมเป็นเพียงเหตุหนึ่งเท่านั้นจะโทษกรรมไปทุกอย่างคงไม่ได้
    “พระที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร บางทีเป็นเพราะฉันยาแก้ไข้แก้ปวดแอสไพรินเวลาท้องว่าง ยานี้เป็นกรดบางทีก็กัดกระเพาะทะลุ อาจจะทำให้ถึงกับมรณภาพไปเลย ยาบางอย่างอันตรายมาก เขาจึงห้ามฉันเวลาท้องว่าง ต้องให้มีอะไรในท้องจึงฉันได้ บางคนเลือดไหลในกระเพาะ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเหตุใด ที่แท้เป็นเพราะกินยาแก้ไข้แก้ปวดนี่เอง นี้ก็เป็นเหตุอันหนึ่ง บางคนเป็นแผลในกระเพาะเพราะความวิตกกังวล คิดอะไรต่างๆ ไม่สบายใจ จึงทำให้มีกรดในกระเพาะอาหาร แล้วกรดก็กัดกระเพาะเป็นแผลจนกระทั่งเป็นโรคร้ายแรง ถึงกับต้องผ่าตัดกระเพาะทิ้งไปครึ่งหนึ่งก็มี แต่เกิดจากเหตุคนละอย่างนั้นที่ฉันแอสไพริน หรือยาแก้ปวดแก้ไข้แล้วกระเพาะทะลุเป็นอุตุนิยาม ที่คิดกังวลกลุ้มใจแล้วเกิดแผลในกระเพาะเป็นกรรมนิยาม จิตใจไม่ดีมีอกุศลมากก็ทำให้โรคเกิดจากกรรมได้มาก อย่างที่เป็นกันมากเวลานี้คือโรคเครียดก็เป็นโรคกรรมหรือโรคเกิดจากกรรมนั่นเอง”
    เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้นมาชาวพุทธจะต้องเอาหลักนิยาม 5 มาวินิจฉัยในสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น จะได้ไม่ไปโทษว่าเป็นเพราะกรรมหมดทุกเรื่อง เพราะบางอย่างบางเรื่องก็เกิดจากกฎ (นิยาม) ต่างๆ หลายกฎมาประกอบกัน
    หยุดเสียเถิดการแก้กรรม แล้วหันมาแก้ที่พฤติกรรมของตัวเองจะดีกว่า
    ที่มา โพสต์ทูเดย์ ออนไลน์
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สำหรับรูปพระบูชา ที่จะบรรจุลงกล่องสเตนเลส ผมส่งรูปให้ท่านสมาชิกชมรมพระวังหน้า และ ท่านผู้สนับสนุนชมรมพระวังหน้าทุกๆท่านให้ได้ชมกันเรียบร้อยแล้ว

    มีบางท่านที่ใช้ mail ของบริษัทฯ ผมเห็นว่ามีการแจ้งกลับมาว่า ไม่สามารถที่จะส่งไปได้ แต่ Gmail ของท่าน สามารถรับได้ทั้งหมดครับ

    โมทนาสาธุครับ



    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมส่งรูป โถเบญจรงค์ไปให้ชมด้วยครับ



    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    สำหรับพระบูชาทั้งสามองค์ที่ผมส่งรูปให้กับสมาชิกชมรมพระวังหน้า

    ผมมาถามกันว่า พระบูชาทั้งสามองค์ มีพระบูชา(เก่า) กี่องค์ มีพระบูชา(ที่สร้างใหม่ในปี 2553) กี่องค์ หรือว่า เก่าทั้งสามองค์ หรือว่า ใหม่ทั้งสามองค์

    ตอบกันสนุกๆนะครับ ไม่มีรางวัลครับ อิอิ


    --------------------------------------

    พิมพ์ซุ้มไทรย้อย และ ซุ้มไข่ปลา
    พระกรุวังหน้า สมัยอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พ.ศ.2145 เป็นพระที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 3 พระองค์คือ1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)เป็นองค์อธิษฐานจิตครับ

    ผมจะมอบให้สำหรับท่านสมาชิกชมรมพระวังหน้าที่ร่วมทำบุญในงานบุญ จัดทำกล่องสเตนเลส เพื่อบรรจุตามสถานที่ต่างๆ

    โดยมีข้อแม้อีกข้อว่า ต้องมาพบกันในวันที่ผมนำกล่องสเตนเลส(ที่บรรจุพระวังหน้า) นำมามอบให้กับท่านประธานชมรมพระวังหน้า และ คุณณฑนน

    โมทนาสาธุครับ

    ----------------------------
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    <center>สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (สมเด็จพระบรมราชาที่ ๑) </center>

    <center>ครองราชย์ พุทธศักราช ๒๑๖๓

    </center> <center> [​IMG] </center>

    เดิมเป็นพระภิกษุเรียกในพระราชพงศาวดาร ว่า พระศรีสิน ผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระพิมลธรรมอนันตปรีชา เมื่อสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ถูก กำจัดออกจากราชสมบัติแล้ว เหล่าเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายต่างอัญเชิญพระอินทราชาให้ทรงลาผนวชขึ้นผ่าน พิภพ เมื่อปี วอก พุทธศักราช ๒๑๖๓ ปรากฏพระนาม สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เมื่อเสวยราชย์นั้น พระชันษาได้ ๒๙ ปี
    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีพระโอรสอันเกิดจากพระเมหสีสองพระองค์คือ สมเด็จพระเชษฐา และสมเด็จพระอาทิตยวงค์

    พระเจ้าทรงธรรมนั้นเป็นนักปราชญ์ ทรงรอบรู้วิชาการในสมัยนั้น ทั้งทรงเคารพในพระพุทธศาสนา และประพฤติราชธรรมตามความมั่นคง เป็นที่รักใครของอาณาประชาราชทั้งสยามและต่างประเทศ พระองค์ไม่โปรดที่จะทำสงครามและพอพระราชหฤทัยแต่จะเป็นไมตรีกับนานาประเทศ แม้แต่พม่าศัตรูที่ขับเคี่ยวกันมาในรัชกาลก่อนๆก็ยังกลับเป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา จากพงศาวดารบันทึกว่า เมื่อพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต พระเจ้ากรุงอังวะได้แต่งราชทูตเข้ามาเยี่ยมพระบรมศพ

    ด้วยเหตุที่พระองค์ไม่โปรดที่จะทำสงคราม เป็นเหตุให้กำลังทหารนั้นอ่อนกำลังลง ทำให้กรุงกัมพูชาซึ่งเคยขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาเป็นกบฏปราบไม่ลงตลอดรัชกาล ล้านนาประเทศอันมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางซึ่งเคยขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็กลับแข็งเมืองไม่ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาอีกต่อไป

    ในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมนั้น เรือกำปั่นโปรตุเกสเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา แล้วมาพบเรือฮอลันดาในแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเข้าจับเรือฮอลันดา ด้วยทั้งสองชาตินั้นเป็นข้าศึกกัน ความทราบถึงพระเจ้าทรงธรรม พระองค์จึงมีรับสั่งให้ทหารลงไปบังคับพวกโปรตุเกสให้คืนเรือแก่พวกฮอลันดา เป็นเหตุให้โปรตุเกสโกรธเคืองสยามจึงเลิกถอนห้างที่มาตั้งข้าขายในกรุง ศรีอยุธยาออกไปเสีย ต่อมาพวกโปรตุเกสได้นำกองทัพเรือมาปิดอ่าวเมืองมะริด อันเป็นเมืองท่าของเมืองตะนาวศรี แต่ไม่เป็นผมสำเร็จจึงเลิกทัพกลับไป

    พุทธศักราช ๒๑๖๕ พระเจ้ากรุงอังวะหวังจะได้เมือง จึงยกทัพมาตีเมืองทวาย ซึ่งเป็นเมืองท่าทางฝั่งทะเลอันดามัน พม่าตีเมืองทวายได้ก่อนที่ทัพจากกรุงศรีอยุธยาจะไปถึง แม่ทัพนายกองเห็นจะไม่เป็นประโยชน์ที่จะตีเมืองทวายคืน จึงยกทัพกลับโดยไม่ได้รบพุ่ง หลังศึกเมืองทวายคราวนี้ สยามกับพม่าว่างศึกกันนานกว่า ๔๐ ปี

    ครั้นถึงเดือนอ้าย แรม ๗ ค่ำ ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๑๗๑ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต รวมพระชันษาได้ ๓๘ ปี อยู่ในราชสมบัติ ๘ ปี
    <hr> แหล่งข้อมูลอ้างอิง

    • เกร็ดพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา ลำจุล ฮวบเจริญ
    • สงครามในประวัติศาสตร์ไทย พิมาน แจ่มจรัส


    -http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-









    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติกษัตริย์ราชวงศ์ปราสาททอง

    สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
    พระบาทสมเด็จพระรามาธิเบศร์ปราสาททองพระมหากษัตริย์อาณาจักรอยุธยาลำดับที่ ๒๔ (ครองราชย์ ๒๑๗๒ - ๒๑๙๙) และทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ปราสาททอง ราชวงศ์ลำดับที่ ๔ ของอาณาจักรอยุธยา

    สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงเป็นลูกพี่ลูกน้องกับสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เคยรับราชการเป็นมหาดเล็กของสมเด็จพระเอกาทศรถ และได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในกรมวังเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ต่อมาได้ทำการยึดอำนาจจากสมเด็จพระอาทิตยวงศ์พระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัย องค์สุดท้าย และได้สถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อพระชนมายุ ๓๐ พรรษา พระองค์ครองราชย์อยู่เป็นเวลา ๒๗ ปี
    เหตุที่ ทรงใช้พระนามว่าปราสาททอง อันเป็นชื่อเดียวกับชื่อราชวงศ์ด้วย ในพงศาวดารคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่า เมื่อครั้งรับราชการเป็นเจ้าพระยาสุริยกลาโหม พระองค์ได้ขุดค้นพบปราสาททองหลังหนึ่งฝังอยู่ใต้ดิน ถือว่าเป็นผู้มีบุญญาธิการ

    สมเด็จเจ้าฟ้าไชย
    เมื่อสมเด็จพระเจ้าปราสาททองสวรรคต สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พระราชโอรส)ได้ขึ้นครองต่อ เป็น พระเจ้าฟ้าไชย ในปี พ.ศ. ๒๑๙๙ หลังจากครองราชได้ ๓-๔ วัน ก็ถูกพระศรีสุธรรมราชา และพระนารายณ์(อา-หลาน)ปลงพระชนม์ พระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชได้ ๒ เดือน ได้ประพฤติล่วงเกินต่อพระขนิษฐาของพระนารายณ์ อาหลานจึงนำพวกเข้าทำลายกันเป็นสามารถ พระนารายณ์เป็นฝ่ายชนะจึงได้ขึ้นครองราชย์ต่อ

    สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
    พระบาทสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราช พระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยาลำดับที่ ๒๖ และเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์ปราสาททองลำดับที่ ๓ (ครองราชย์ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๑๙๙ - ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๑๙๙)เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
    การช่วงชิงราชสมบัติ
    สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา ชิงราชสมบัติจากสมเด็จเจ้าฟ้าไชยโดยการสนับสนุนของสมเด็จพระนารายณ์ซึ่งเป็น พระอนุชาของสมเด็จเจ้าฟ้าไชยเอง เมื่อชิงราชสมบัติเป็นผลสำเร็จก็ได้ทรงแต่งตั้งพระนารายณ์เป็นพระมหาอุปราช แต่ในเวลาเพียงสองเดือนเศษ พระนารายณ์ก็ชิงราชสมบัติจากพระศรีสุธรรมราชา
    การช่วงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระ ศรีสุธรรมราชาโดยสมเด็จพระนารายณ์มีการกล่าวไว้ในหลายแง่มุม พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า สมเด็จพระศรีสุธรรมราชามีจิตเสน่หาพระราชกัลยาณีซึ่งเป็นหลานหรือพระขนิษฐา ของพระนารายณ์ จึงทรงรับสั่งให้ไปเฝ้าบนพระที่ แต่พระราชกัลยาณีไม่ยอม ความทราบถึงพระนารายณ์ ก็ทรงกริ้วและตรัสว่า
    "'อนิจจา พระเจ้าอา .. ควรหรือมาเป็นดังนี้ พระองค์ปราศจากหิริโอตัปปะแล้ว ไหนจะครองราชสมบัติเป็นยุติธรรมเล่า น่าที่จะร้อนอกสมณชีพราหมณ์ อาณาประชาราษฎร ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเป็นแน่แท้ จะละไว้มิได้ ด้วยพระองค์ก่อแล้วจำจะสานตาม'"
    เป็นที่เชื่อกันว่า เหตุการณ์เล็กน้อยข้างต้นอาจเป็นเพียงข้ออ้างหนึ่งของพระนารายณ์ที่นำมาใช้ ในการชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา มีหลักฐานของฮอลันดากล่าวถึงการปรึกษาของพระนารายณ์กับพ่อค้าชาวฮอลันดาใน การขอความช่วยเหลือเพื่อชิงราชสมบัติมาตั้งแต่แรกที่สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา ขึ้นครองราชย์เมื่อเดือนสิงหาคม
    การยึดอำนาจ
    พระนารายณ์ได้รับการสนับสนุนจากพระยาเสนาภิมุข พระยาไชยาสุระและทหารญี่ปุ่น ๔๐ นาย รวมทั้งชาวมุสลิมจากเปอร์เซีย การต่อสู้ยึดอำนาจเกิดขึ้นค่อนข้างรุนแรงในตอนเย็นวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๑๙๙ จนถึงเช้าของวันรุ่งขึ้น ไหร่พลของทั้งสองฝ่ายล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ทั้งสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาและพระนารายณ์ต่างได้รับบาดเจ็บจากกระสุนปืน สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาสู้ไม่ได้จึงถอยหนีไปวังหลังแต่ถูกพระนารายณ์จับตัว ได้และนำไปสำเร็จโทษที่วัดโคกพระยา
    ในวัน ที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๑๙๙ พระนารายณ์ได้ปราบดาภิเศกขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาซึ่ง อยู่ในราชสมบัติได้เพียง ๒ เดือน ๑๗ วัน

    สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    พระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๗๕ - พ.ศ. ๒๒๓๑ ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๒๓๑) พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒๗ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญตลอดรัชกาลของพระองค์ ทั้งด้านการทหาร วรรณคดี และการทูต โดยเฉพาะการส่งคณะราชทูต นำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)ไปเชื่อมสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่๑๔แห่งราช วงศ์บูร์บง
    พระราชประวัติ
    สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าปราสาททอง และพระนางเจ้าสิริกัลยานี อัครราชเทวีพระราชมารดาเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. ๒๑๗๕ และทรงมีพระนมอยู่พระองค์หนึ่งคือ เจ้าแม่วัดดุสิต ทรงเป็นพระอนุชาใน สมเด็จเจ้าฟ้าไชย และยังทรงมีพระอนุชาอีกได้แก่ เจ้าฟ้าอภัยทศ พระไตรภูวนาทิตยวงศ์ พระองค์ทอง และพระอินทราชา
    ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เล่าว่าเมื่อแรกประสูตินั้น พระองค์มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้านรินทร์" แต่เมื่อขึ้นพระอู่ พระญาติเห็นพระโอรสมีสี่กร พระราชบิดาจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า "พระนารายณ์" ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด เล่าว่าเมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระโอรสเสด็จไปช่วยดับเพลิง ผู้คนเห็นเป็นสี่กร จึงพากันขนานพระนามว่า พระนารายณ์
    พระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์ นั้นเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหารย์อยู่มาก แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพราหมณ์ เมื่อเทียบกับกษัตริย์องค์ก่อนๆ ด้วยเหตุนี้เองพระราชประวัติของพระองค์จึงกล่าวถึงปาฏิหารย์มหัศจรรย์ตาม ลำดับ คือ
    เมื่อพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์ได้ ๕ พรรษา ขณะเล่นน้ำ พระองค์ทรงถูกอสนีบาต พวกพี่เลี้ยง นางนม สลบหมดสิ้น แต่พระองค์ไม่เป็นไรแม้แต่น้อย
    เมื่อพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์ได้ ๙ พรรษา พระองค์ทรงถูกอสนีบาตที่พระราชวังบางปะอิน แต่พระองค์ก็ปลอดภัยดี
    สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับการศึกษาจากพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในพระราชวัง และพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม รวมทั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระนคร
    ครองราชย์สมบัติ
    สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้น ครองราชสมบัติ เมื่อเวลาสองนาฬิกา วันพฤหัสบดี แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๐๑๘ ปีวอก (ตรงกับวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๑๙๙) มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า 'สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๒๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะทรงมีพระชนมายุ ๒๕ พรรษา
    หลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ ๑๐ ปี พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๐๙ และเสด็จไปประทับที่ลพบุรีทุกๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลายเดือน กระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๑ ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี รวมครองราชสมบัติเป็นเวลา ๓๒ ปี มีพระชนมายุ ๕๖ พรรษา ทรงมีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวคือ กรมหลวงโยธาเทพ หรือเจ้าฟ้าหญิงสุดาวดี
    พระราชกรณียกิจ
    สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระ มหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่ง ทรงสร้างความรุ่งเรือง และความยิ่งใหญ่ให้แก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก
    การทหาร
    ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงปราบปรามเมืองน้อยใหญ่ให้เป็นมาสวามิภักดิ์ ทั้งหัวเมืองทางเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน ส่วนศึกกับพม่าแม้จะมีอยู่ในเวลานี้ แต่ก็ทรงจัดทัพตีพ่ายกลับไปอยู่เนือง กิจการของกองทัพนับว่ารุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ สมเด็จพระนารายณ์เองก็ทรงชำนาญในการศึก คล้องช้าง และทรงซื้ออาวุธจากต่างชาติสำหรับกิจการของกองทัพด้วย
    การต่างประเทศ
    ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์รุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมถึงเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ฝรั่งที่รับราชการตำแหน่งสูงถึงที่ สมหุนายกขณะเดียวกันยังโปรดฯ ให้แต่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ถึง ๔ ครั้งด้วยกัน ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา และสยามมากที่สุดในสมัยนี้ก็คือ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์
    นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับเอา วิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย
    วรรณกรรม
    วรรณกรรมที่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เช่น
    สมุทรโฆษคำฉันท์ ส่วนตอนต้นเชื่อกันว่าพระมหาราชครูเป็นผู้แต่งแต่ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน สมเด็จพระนารายณ์จึงพระราชนิพนธ์ต่อ โดยเริ่มที่ตอน พิศพระกุฎีอาศรมสถานตระกาลกล ไปจนถึง ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู โอ้แก้วกับตนกู ฤเห็น
    คำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็นผลงานของขุนเทพกวี สันนิษฐานว่าแต่งในคราวสมโภชขึ้นระวางเจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๓ เป็นต้น
    ทั้งยัง ส่งเสริมงานงานกวี ทำให้มีหนังสื่อเรื่องสำคัญๆ ในรัชสมัยนี้เป็นจำนวนไม่น้อย เช่น โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของหลวงศรีมโหสถ หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี (จัดเป็นตำราเรียนเล่มแรกของประเทศไทย)และอนิรุทธคำฉันท์ เป็นต้น

    ขอขอบคุณ http://www.sema.go.th/files/Content/Social/k4/0043/sky_high/k10.html





    -http://www.phawatsat.ob.tc/history17.html-




    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <center> สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
    </center> สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีพระนามเดิมว่า พระอินทราชา เป็นพระราชโอรสในพระเอกาทศรถ ก่อนหน้าที่สมเด็จพระเอกาทศรถจะเสด็จสวรรคตพระอินทราชาได้เสด็จออกผนวชอยู่จนถึงรัชสมัยพระศรีเสาวภาคย์ เมื่อพระศรีเสาวภาคย์เสด็จสวรรคตแล้ว พระศรีศิลป์และบรรดาเจ้านายขุนนางได้พร้อมใจกันอัญเชิญพระอินทราชาให้ทรงลาผนวชและขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๔ พระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ทรงพระนามพระเจ้าทรงธรรมหรือพระสรรเพชญ์ที่ ๕ พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งพระศรีศิลป์ ผู้เป็นพระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ครองเมืองพิษณุโลก

    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงเป็นนักปราชญ์ รอบรู้ในวิชาการหลายด้าน มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาทรงประพฤติราชธรรมอย่างมั่นคงเป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาราษฎรและชาวต่างชาติ พระองค์ไม่นิยมการศึกสงคราม ทรงเจริญรอยตามสมเด็จพระเอกาทศรถ ในด้านการปกครองบ้านเมือง ทรงมีพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระมเหสี คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร กับพระอาทิตยวงศ์
    พระกรณียกิจส่วนใหญ่ของพระองค์ มุ่งส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ เช่น โปรดเกล้า ฯ ให้คัดลอกพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก ทรงให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวงถวาย นับเป็นวรรณคดีชิ้นสำคัญของสมัยอยุธยา ได้มีผู้พบรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุวรรณบรรพต แขวงเมืองสระบุรี พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างมณฑปครอบรอบพระพุทธบาท พร้อมทั้งสร้างพระอุโบสถ พระวิหารการเปรียญ กับกุฏิสงฆ์ ถวายให้เป็นสมบัติในพระพุทธศาสนา พระพุทธบาทสระบุรี จึงมีความสำคัญ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของพุทธศาสนิกชนตั้งแต่นั้นมาตราบถึงปัจจุบัน

    พระองค์ทรงมีสัมพันธไมตรีกับบรรดาต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าที่สำคัญในภูมิภาคแถบนี้ของโลกชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะฮอลันดา อังกฤษและญี่ปุ่น ที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ และสมเด็จพระเอกาทศรถ พระองค์ก็ได้โปรดเกล้า ฯ พระราชทานที่ดินบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ริมคลองปลากด เหนือเมืองสมุทรปราการ ให้ชาวฮอลันดาตั้งคลังสินค้า และในปี พ.ศ.๒๑๕๕ พระเจ้าเจมส์ที่ ๑ แห่งอังกฤษ ได้มีพระราชสาส์นทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยาได้สะดวก ส่วนชาวญี่ปุ่น ปรากฏว่ามีชาวญี่ปุ่นสมัครเข้ารับราชการที่กรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก จนได้มีการจัดตั้งกรมอาสาญี่ปุ่น ขึ้นมาช่วยราชการกรุงศรีอยุธยา ชาวญี่ปุ่นที่มีบทบาทสำคัญในวงการเมืองในรัชสมัยของพระองค์ คือ ยามาดะ นางามาซะ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข เนื่องจากพระองค์ไม่นิยมการทำสงคราม ด้วยเหตุนี้กรุงศรีอยุธยาจึงต้องเสียเมืองทวาย อันเป็นเมืองท่าที่สำคัญทางตะวันตก ในทะเลอันดามันพม่ายกกำลังมาตีเมืองทวายได้เมื่อปี พ.ศ.๒๑๖๕ ต่อมากัมพูชา และเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นประเทศราช ของไทยมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ ต่างก็พากันแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ตอนปลายรัชสมัยของพระองค์ ขณะที่พระองค์ทรงประชวรหนัก มีพระราชประสงค์จะมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร และทรงแต่งตั้งให้เป็นพระมหาอุปราช โดยทรงมอบให้ออกญาศรีวรวงศ์ จางวางมหาดเล็ก ซึ่งเป็นพระญาติที่ไว้วางพระทัย เป็นผู้ดูแลพระเชษฐาธิราช จนกว่าจะได้ครองราชย์
    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๗๑ ครองราชย์ได้ ๑๗ ปี

    -http://www.sch.ac.th/Social%20Pathom%205/Lesson%207/Thai%20History/King%20auttaya/king22.html-


    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    0306 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม


    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม 2154 – 2171พระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๕๔- ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๑๗๑) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๒๑ แห่งกรุงศรีอยุธยา และ เป็นพระองค์ที่ ๕ แห่งราชวงศ์สุโขทัย

    พระราชประวัติ


    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมี พระนามเรียกในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๑ เดิมเป็นพระภิกษุเรียกในพระราชพงศาวดาร ว่า พระศรีสิน ผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระพิมลธรรมอนันตปรีชา นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่า พระองค์เป็นพระโอรสของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ประสูติแต่พระสนม ต่อมา จมื่นเสาวลักษณ์ หรือ จหมื่นศรีสรรักษ์ (พระเจ้าปราสาททอง) ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องได้สมคบกันสำเร็จโทษสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ แล้วอัญเชิญพระพิมลฯให้ลาสิกขาบท ขึ้นเสวยราชสมบัติ เมื่อปีขาล จุลศักราช ๙๖๔ (พ.ศ. ๒๑๕๕) บางเเห่งระบุว่า จุลศักราช ๙๘๒ (พ.ศ. ๒๑๖๓) แต่หลักฐานของคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ระบุว่า พ.ศ. ๒๑๕๓ เป็นที่ถูกต้อง พระพิมลฯได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า พระเจ้าทรงธรรม หรือ พระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม และ ทรงแต่งตั้งจหมื่นศรีสรรักษ์ เป็นมหาอุปราช สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระราชโอรส ๓ พระองค์ ได้แก่ พระเชษฐากุมาร พระพันปีศรีศิลป์ และ พระอาทิตยวงศ์ ส่วนจดหมายเหตุวันวลิต วิลันดาระบุว่า พระองค์ มีพระราชโอรส ๙ พระองค์ พระราชธิดา ๘ พระองค์

    พระราชกรณียกิจ


    สมเด็จ พระเจ้าทรงธรรมทรงเป็นนักปราชญ์ รอบรู้ในวิชาการหลายด้าน มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงประพฤติราชธรรมอย่างมั่นคง เป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาราษฎรและชาวต่างชาติ พระองค์ไม่นิยมการศึกสงคราม ทรงเจริญรอยตามสมเด็จพระเอกาทศรถ ในด้านการปกครองบ้านเมือง ทรงมีพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระมเหสี คือ พระเชษฐาธิราช กับพระอาทิตยวงศ์ พระ กรณียกิจส่วนใหญ่ของพระองค์ มุ่งส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ เช่น โปรดเกล้า ฯ ให้คัดลอกพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก ทรงให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวงถวาย นับเป็นวรรณคดีชิ้นสำคัญของสมัยอยุธยา ได้มีผู้พบรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุวรรณบรรพต แขวงเมืองสระบุรี พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างมณฑปครอบรอบพระพุทธบาท พร้อมทั้งสร้างพระอุโบสถ พระวิหารการเปรียญ กับกุฏิสงฆ์ ถวายให้เป็นสมบัติในพระพุทธศาสนา พระพุทธบาทสระบุรี จึงมีความสำคัญ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของพุทธศาสนิกชนตั้งแต่นั้นมาตราบถึงปัจจุบันพระองค์ ทรงมีสัมพันธไมตรีกับบรรดาต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าที่สำคัญในภูมิภาคแถบนี้ของโลก ชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะฮอลันดา อังกฤษและญี่ปุ่น ที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ และสมเด็จพระเอกาทศรถ พระองค์ก็ได้โปรดเกล้า ฯ พระราชทานที่ดินบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ริมคลองปลากด เหนือเมืองสมุทรปราการ ให้ชาวฮอลันดาตั้งคลังสินค้า และในปี พ.ศ. ๒๑๑๕ พระเจ้าเจมส์ที่ ๑ แห่งอังกฤษ ได้มีพระราชสาส์นทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามาค้าขายที่กรุง ศรีอยุธยาได้สะดวก ส่วนชาวญี่ปุ่น ปรากฏว่ามีชาวญี่ปุ่นสมัครเข้ารับราชการที่กรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก จนได้มีการจัดตั้งกรมอาสาญี่ปุ่น ขึ้นมาช่วยราชการกรุงศรีอยุธยา ชาวญี่ปุ่นที่มีบทบาทสำคัญในวงการเมืองในรัชสมัยของพระองค์ คือ ยามาดะ นางามาซะ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข เนื่องจากพระองค์ไม่นิยมการทำสงคราม ด้วยเหตุนี้กรุงศรีอยุธยาจึงต้องเสียเมืองทวาย อันเป็นเมืองท่าที่สำคัญทางตะวันตก ในทะเลอันดามัน พม่ายกกำลังมาตีเมืองทวายได้เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๖๕ ต่อมากัมพูชา และเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นประเทศราช ของไทยมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ ต่างก็พากันแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย รัชสมัยของพระองค์ ขณะที่พระองค์ทรงประชวรหนัก มีพระราชประสงค์จะมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร และทรงแต่งตั้งให้เป็นพระมหาอุปราช โดยทรงมอบให้ออกญาศรีวรวงศ์ จางวางมหาดเล็ก ซึ่งเป็นพระญาติที่ไว้วางพระทัย เป็นผู้ดูแลพระเชษฐาธิราช จนกว่าจะได้ครองราชย์ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ครองราย์ได้ ๑๗ ปี จึงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๑๗๑ ซึ่งเป็นวันที่ชาวฮอลันดาได้บันทึกไว้








    -http://www.thaigoodview.com/node/11108-


    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <center>[​IMG]
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


    </center> สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชากับพระวิสุทธิกษัตรี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๘ ที่เมืองพิษณุโลก พระนามเดิม พระองค์ดำ หรือพระนเรศวร มีพระเชษฐภคินี คือ พระสุพรรณเทวี และพระอนุชา คือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว)
    หลังจากเสียกรุงแก่พม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒ สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา เขมรเห็นเป็นโอกาสที่ไทยอ่อนแอ จึงได้ยกทัพมาปล้นสดมภ์และกวาดต้อนผู้คนบริเวณชายพระนคร สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงได้ขอตัวสมเด็จพระนเรศวรจากหงสาวดี กลับมาช่วยป้องกันบ้านเมือง เมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปประทับที่หงสาวดี หลังสงครามช้างเผือกตามคำทูลขอของพระเจ้าบุเรงนอง ตั้งแต่พระชนมายุได้ ๙ พรรษา
    สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระนเรศวรเป็นพระมหาอุปราช ปกครองหัวเมืองทางเหนือ และประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๑๑๔ ตลอดรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นกำลังสำคัญในการป้องกัน และกอบกู้บ้านเมืองจากข้าศึกทั้งเขมรและพม่า ในปี พ.ศ.๒๑๒๗ พระองค์ได้ทรงประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยาจากอำนาจของพม่า หลังจากที่ตกอยู่ในอำนาจพม่าเป็นเวลา ๑๕ ปี
    เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๓๓ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๑๓๓ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระราชอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง
    ตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากพม่า และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา งานสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งในดินแดนไทยและดินแดนข้าศึก ได้ชัยชนะทุกครั้ง ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม และเปลี่ยนแนวความคิดจากการตั้งรับมาเป็นการรุก และริเริ่มการใช้วิธีรบนอกแบบ
    การสงครามกับพม่าครั้งสำคัญที่ทำให้พม่าไม่กล้ายกทัพมารุกรานไทยอีกเลย เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ.๒๑๓๕ การสงครามในขั้นต่อไปหลังจากนั้นของพระองค์คือ การรุกเข้าไปในดินแดนของข้าศึก เริ่มจากการตีเมืองทวาย และตะนาวศรี คืนกลับมาจากพม่าหลังจากสงครามยุทธหัตถี การยกไปตึเมืองเขมรในเวลาต่อมา ยึดเมืองละแวกของเขมรได้ ในปี พ.ศ.๒๑๔๒ พระองค์ยกกองทัพไปปราบปรามมอญแล้วยกขึ้นไปตีเมืองหงสาวดี แต่พระเจ้าตองอูได้นำเสด็จพระเจ้าหงสาวดีหนีไปเมืองตองอูก่อน คงทิ้งให้เมืองหงสาวดีร้างก่อนที่พระองค์จะนำทัพไปถึงไม่นาน
    รายละเอียดของงานด้านการทหารของพระองค์มีอยู่ในเรื่องราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้ปรับปรุงการปกครองหัวเมืองใหม่เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ยกเลิกระบบเมืองพระยามหานคร จัดแบ่งหัวเมืองเป็นหัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี ยกเลิกการให้เจ้านายไปปกครองเมืองเหล่านี้ แล้วให้ขุนนางไปปกครองแทน
    สมเด็จพระนเรศวรเสด็จสวรรคต ขณะที่พระองค์ทรงยกกองทัพไปตีเมืองอังวะ เมื่อเสด็จถึงเมืองหาง พระองค์ทรงประชวรเป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์กลายเป็นพิษ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ พระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ครองราชย์ได้ ๑๕




    <center> [​IMG]

    สมเด็จพระเอกาทศรถ

    </center> สมเด็จพระเอกาทศรถ หรืออีกพระนามหนึ่งว่า พระสรรเพชญ์ที่ ๓ พระนามเดิมว่า พระองค์ขาว เสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองพิษณุโลก เป็นพระราชโอรสองค์สุดท้ายในสมเด็จพระมหาธรรมราชา กับพระวิสุทธิกษัตรี
    หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อปี พ.ศ.๒๑๒๗ สมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้เสด็จออกร่วมทำการรบคู่กับสมเด็จพระนเรศวร ได้โดยเสด็จในการทำศึกสงครามด้วยทุกครั้งนับแต่นั้นมาจนสิ้นรัชสมัยสมเด็จ พระนเรศวร ฯ เป็นจำนวนถึง ๑๗ ครั้ง
    ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาพระเอกาทศรถ เป็นสมเด็จพระเอกาทศรถ ที่พระมหาอุปราชา แต่ให้มีพระเกียรติยศเสมอพระเจ้าแผ่นดิน
    เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.๒๑๔๘ พระองค์ก็ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระนเรศวร ในปีเดียวกันในรัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองเป็นปกติสุข เป็นที่เคารพยำเกรงแก่ประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นผลจากการที่สมเด็จพระนเรศวร และพระองค์เองได้ทรงสร้างอานุภาพ ของราชอาณาจักรอยุธยาไว้อย่างยิ่งใหญ่ มีพระราชอาณาเขตแผ่ออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล พระองค์ไม่มีพระราชประสงค์จะแผ่พระราชอาณาเขตออกไปอีก
    ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการยอมรับชาวต่างชาติเข้ามาเป็นทหาร เรียกว่า ทหารอาสา โดยได้จัดแบ่งออกเป็นพวก ๆ ตามเชื้อชาติ และตามความชำนาญในการรบ เกิดหน่วยทหารอาสาขึ้นหลายหน่วย เช่น กรมอาสาญี่ปุ่น กรมอาสาจาม กรมทหารแม่นปืน (โปรตุเกส) นอกจากนั้นในรัชสมัยของพระองค์ ยังมีชื่อเสียงในด้านความสามารถหล่อปืนใหญ่สำริดที่ มีคุณภาพสูง ซึ่งน่าจะได้เรียนรู้มาจากโปรตุเกสและฮอลันดา เมื่อมาผสมผสานกับขีดความสามารถ ในด้านการหล่อโลหะของไทยที่มีการหล่อ ระฆังและพระพุทธรูป ที่มีมาแต่เดิม จึงทำให้การหล่อปืนใหญ่ของไทยในครั้งนั้นเป็นที่ยกย่องชมเชยไปถึงต่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากการที่โชกุนของญี่ปุ่น ได้มีหนังสือชมเชยคุณสมบัติของปืนใหญ่ไทยเป็นอันมาก พร้อมกับขอให้ไทยช่วยหล่อปืนใหญ่ให้อีกด้วย
    สมเด็จพระเอกาทศรถมีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระอัครมเหสี สององค์คือ เจ้าฟ้าสุทัศน์ และเจ้าฟ้าศรีเสาวภาค และมีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระสนม อีกสามองค์คือ พระอินทรราชา พระศรีศิลป์ และพระองค์ทอง
    สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๓ พระชนม์พรรษาได้ ๕๐ พรรษาเศษ ครองราชย์ได้ห้าปี




    <center> พระศรีเสาวภาคย์

    </center> พระศรีเสาวภาคย์ หรืออีกพระนามหนึ่งว่า พระสรรเพชญ์ที่ ๔ พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระเอกาทศรถ แต่เจ้าฟ้าสุทัศน์ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชได้เสวยยาพิษสิ้นพระชนม์ พระองค์จึงได้รับทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๓ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๔
    ในรัชสมัยของพระองค์ ได้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นในแผ่นดิน โดยพวกเรือญี่ปุ่นที่เข้ามาค้าขาย ได้ปล้นราษฎร ได้บุกเข้าไปในพระนคร และเข้าไปในพระราชวัง จับพระศรีเสาวภาคย์ และบังคับให้ทรงปฏิญาณสัญญาว่ามิให้ผู้ใดทำร้ายพวกญี่ปุ่น แล้วได้ลงเรือแล่นหนีออกทะเล โดยนำตัวพระสังฆราชไปเป็นตัวประกันจนถึงปากน้ำ
    พระศรีเสาวภาคย์ครองราชย์อยู่ได้ปีสองเดือนก็เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๔ พระบรมศพถูกนำไปฝังที่วัดโคกพระยา



    <center> [​IMG]

    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

    </center> สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีพระนามเดิมว่า พระอินทราชา เป็นพระราชโอรสในพระเอกาทศรถ ก่อนหน้าที่สมเด็จพระเอกาทศรถจะเสด็จสวรรคต พระอินทราชาได้เสด็จออกผนวชอยู่จนถึงรัชสมัยพระศรีเสาวภาคย์ เมื่อพระศรีเสาวภาคย์เสด็จสวรรคตแล้ว พระศรีศิลป์และบรรดาเจ้านายขุนนาง ได้พร้อมใจกันอัญเชิญพระอินทราชาให้ทรงลาผนวช และขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๔ พระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ทรงพระนาม พระเจ้าทรงธรรม หรือพระสรรเพชญ์ที่ ๕ พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งพระศรีศิลป์ ผู้เป็นพระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ครองเมืองพิษณุโลก
    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงเป็นนักปราชญ์ รอบรู้ในวิชาการหลายด้าน มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงประพฤติราชธรรมอย่างมั่นคง เป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาราษฎรและชาวต่างชาติ พระองค์ไม่นิยมการศึกสงคราม ทรงเจริญรอยตามสมเด็จพระเอกาทศรถ ในด้านการปกครองบ้านเมือง ทรงมีพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระมเหสี คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร กับพระอาทิตยวงศ์
    พระกรณียกิจส่วนใหญ่ของพระองค์ มุ่งส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ เช่น โปรดเกล้า ฯ ให้คัดลอกพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก ทรงให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวงถวาย นับเป็นวรรณคดีชิ้นสำคัญของสมัยอยุธยา ได้มีผู้พบรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุวรรณบรรพต แขวงเมืองสระบุรี พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างมณฑปครอบรอบพระพุทธบาท พร้อมทั้งสร้างพระอุโบสถ พระวิหารการเปรียญ กับกุฏิสงฆ์ ถวายให้เป็นสมบัติในพระพุทธศาสนา พระพุทธบาทสระบุรี จึงมีความสำคัญ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของพุทธศาสนิกชนตั้งแต่นั้นมาตราบถึงปัจจุบัน
    พระองค์ทรงมีสัมพันธไมตรีกับบรรดาต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าที่สำคัญในภูมิภาคแถบนี้ของโลก ชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะฮอลันดา อังกฤษและญี่ปุ่น ที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ และสมเด็จพระเอกาทศรถ พระองค์ก็ได้โปรดเกล้า ฯ พระราชทานที่ดินบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ริมคลองปลากด เหนือเมืองสมุทรปราการ ให้ชาวฮอลันดาตั้งคลังสินค้า และในปี พ.ศ.๒๑๕๕ พระเจ้าเจมส์ที่ ๑ แห่งอังกฤษ ได้มีพระราชสาส์นทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามาค้าขายที่กรุง ศรีอยุธยาได้สะดวก ส่วนชาวญี่ปุ่น ปรากฏว่ามีชาวญี่ปุ่นสมัครเข้ารับราชการที่กรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก จนได้มีการจัดตั้งกรมอาสาญี่ปุ่น ขึ้นมาช่วยราชการกรุงศรีอยุธยา ชาวญี่ปุ่นที่มีบทบาทสำคัญในวงการเมืองในรัชสมัยของพระองค์ คือ ยามาดะ นางามาซะ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข
    เนื่องจากพระองค์ไม่นิยมการทำสงคราม ด้วยเหตุนี้กรุงศรีอยุธยาจึงต้องเสียเมืองทวาย อันเป็นเมืองท่าที่สำคัญทางตะวันตก
    ในทะเลอันดามัน พม่ายกกำลังมาตีเมืองทวายได้เมื่อปี พ.ศ.๒๑๖๕ ต่อมากัมพูชา และเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นประเทศราช
    ของไทยมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ ต่างก็พากันแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา
    ตอนปลายรัชสมัยของพระองค์ ขณะที่พระองค์ทรงประชวรหนัก มีพระราชประสงค์จะมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร และทรงแต่งตั้งให้เป็นพระมหาอุปราช โดยทรงมอบให้ออกญาศรีวรวงศ์ จางวางมหาดเล็ก ซึ่งเป็นพระญาติที่ไว้วางพระทัย เป็นผู้ดูแลพระเชษฐาธิราช จนกว่าจะได้ครองราชย์
    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๗๑ ครองราชย์ได้ ๑๗ ปี




    <center> สมเด็จพระเชษฐาธิราช

    </center> สมเด็จพระเชษฐาธิราช เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมพ ระอนุชาพระองค์หนึ่งพระนามเจ้าอาทิตย์วงศ์
    เมื่อสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเสด็จสวรรคตได้เกิดการชิงราชสมบัติระหว่างพระองค์กับพระศรีศิลป์พระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ฝ่ายพระองค์มีออกญาศรีวรวงศ์ กับออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะ) เป็นกำลังสำคัญได้จับพระศรีศิลป์ ซึ่งเป็นพระมหาอุปราชสำเร็จโทษ แล้วกราบบังคมทูลเชิญพระองค์ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระเชษฐาธิราช หรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ออกญาศรีวรวงศ์ ได้เลื่อนฐานะเป็น เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์
    เมื่อพระองค์เสด็จขิ้นครองราชย์ได้แปดเดือน ก็คิดเกรงว่าเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จะคิดแย่งราชสมบัติ จึงทรงหาทางกำจัดเสีย แต่ความนี้ได้รู้ไปถึงเจ้าพระยากลาโหมเสียก่อนก็ขัดเคือง จึงได้ยกกำลังบุกเข้าไปในวังหลวง สมเด็จพระเชษฐา ฯ มิได้คิดต่อสู้ได้แต่หลบหนีไป เจ้าพระยากลาโหม ฯ จึงสั่งให้พระยาเดโช พระยาท้ายน้ำตามไปทันที่ป่าโมกน้อยจับสมเด็จพระเชษฐา ฯ มาได้ เจ้าพระยากลาโหม ฯ จึงสั่งให้นำสำเร็จโทษเสีย
    สมเด็จพระเชษฐาธิราช เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๗๑ ครองราชย์ได้ ๘ เดือน




    <center> สมเด็จพระอาทิตยวงศ์

    </center> สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ เป็นพระราชโอรสองค์รองในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เป็นพระอนุชาในสมเด็จพระเชษฐาธิราช เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๖๑ เมื่อสมเด็จพระเชษฐา ฯ เสด็จสวรรคตแล้ว เจ้าพระยากลาโหมได้อัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้เพียง ๑๐ พรรษา โดยมีเจ้าพระยากลาโหม ฯ เป็นผู้สำเร็จราชการ แต่เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้เพียงเดือนเศษ บรรดาขุนนางข้าราชการทั้งปวงเห็นว่า พระองค์ทรงพระเยาว์ ไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ จึงได้
    อัญเชิญพระองค์ออกจากราชสมบัติ แล้วอัญเชิญเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไป ทรงพระนามว่า พระเจ้าปราสาททอง
    สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ครองราชย์ได้ ๓๘ วัน




    <center> [​IMG]

    สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

    </center> สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เดิมรับราชการในราชสำนักสมเด็จพระเอกาทศรถ ในตำแหน่งมหาดเล็ก ต่อมาได้เป็นที่จมื่นศรีสรรักษ์ ได้ร่วมกับพระศรีศิลป์ สำเร็จโทษพระศรีเสาวภาคย์ แล้วเชิญพระอินทราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จมื่นศรีสรรักษ์ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระมหาอำมาตย์ และออกญาศรีวรวงศ์ ตามลำดับ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่พวกญี่ปุ่น นำกำลังเข้ามาจะควบคุมพระองค์สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระยาศรีวรวงศ์ก็สามารถปราบปรามลงได้ จึงได้รับความดีความชอบ และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ให้ดูแลรักษาพระเชษฐาธิราช ผู้เป็นพระราชโอรสที่จะได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา
    ในรัชสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช พระยาศรีวรวงศ์ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ มีอำนาจและอิทธิพลมาก ทำให้สมเด็จพระเชษฐาธิราช เกิดความระแวงและคิดกำจัด แต่เจ้าพระยากลาโหม ฯ รู้ตัวก่อนและควบคุมพระองค์สมเด็จพระเชษฐาธิราชได้ แล้วอัญเชิญพระอาทิตยวงศ์ พระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมขึ้นครองราชย์
    เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ.๒๑๗๒ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๕ แล้วทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่เป็นราชวงศ์ปราสาททอง พระองค์มีพระราชโอรส และพระราชธิดารวมเจ็ดพระองค์
    พระองค์ได้เสด็จยกทัพไปตีเขมร ซึ่งเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา แต่ได้แข็งเมืองมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
    ทำให้เขมรกลับมาเป็นหัวเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาดังเดิม
    ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ หัวเมืองประเทศราชทางใต้ คิดกบฏยกทัพไปตีเมืองสงขลาและเมืองพัทลุง พระองค์ได้ส่งกองทัพไปปราบปรามได้ราบคาบ แต่ในขณะเดียวกันก็เสียเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองล้านนาแก่พม่า
    ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการตรากฎหมายที่สำคัญ เช่น พระไอยการลักษณะอุทธรณ์ พระไอยการลักษณะมรดก พระไอยการลักษณะกู้หนี้ และพระธรรมนูญ
    ในปีจุลศักราช ๑๐๐๐ ตรงกับปีขาล (พ.ศ.๒๑๘๑) ซึ่งมีความเชื่อกันว่าจะเกิดเหตุร้ายแรงถึงขั้นกลียุค พระองค์จึงทรงให้จัดพิธีลบศักราช เปลี่ยนจากปีขาลเป็นปีกุน แล้วแจ้งให้หัวเมืองน้อยใหญ่รวมทั้งเมืองประเทศราช ให้ใช้ปีศักราชตามที่ทางกรุงศรีอยุธยากำหนดขึ้นมาใหม่
    ในปี พ.ศ.๒๑๗๕ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พร้อมทั้งหมู่พระราชนิเวศ และวัดชุมพลนิกายาราม ขึ้นที่บางปะอิน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระองค์ สำหรับไว้เป็นที่แปรพระราชฐาน
    พระองค์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ทรงสถาปนาวัดสำคัญ ๆ หลายวัด เช่น วัดไชยวัฒนาราม วัดพระศรีสรรเพชญ์ และวัดชุมพลนิกายาราม ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดมหาธาตุ และโปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ไปทรงนมัสการรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๙ ครองราชย์ได้ ๒๗ ปี




    <center> สมเด็จเจ้าฟ้าชัย
    </center> สมเด็จเจ้าฟ้าชัย หรืออีกพระนามหนึ่งว่า พระสรรเพชญ์ที่ ๖ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์มีพระอนุชา และพระขนิษฐาทั้งหมดหกพระองค์ เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๙
    พระองค์เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๙ ครองราชย์ได้ ๙ เดือน




    <center> สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
    </center> สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา หรืออีกพระนามหนึ่งว่า พระสรรเพชญ์ที่ ๗ เป็นพระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้พระนารายณ์ราชกุมาร พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และเป็นพระอนุชาองค์รองในสมเด็จเจ้าฟ้าไชย ให้ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ประทับที่วังหน้า
    พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.๒๑๙๙ และเสด็จสวรรคตในปีเดียวกัน ครองราชย์ได้สองเดือนกับยี่สิบวัน

    -http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/king/ayuthaya/ayuthaya4.htm-


    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    การเรียงลำดับพระมหากษัตริย์ และเหตุการณ์สำคัญ ในสมัยอาณาจักรอยุธยา


    รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

    • พระเจ้าอู่ทองเข้ามาเสวยราชสมบัติ พราหมณ์ถวายพระนามชื่อ สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสุนทร บรมพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ แล้วให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวรขึ้นไปครองราชย์สมบัติในเมืองลพบุรี
    • ครั้งนั้นขอมมีการแปรพักตร์ จึงให้ขึ้นไปเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวรให้ยกทัพไปตีกัมพูชา ในศึกครั้งนั้นไทยเสียพระศรีสวัสดิ์ไปให้แก่ชาวกัมพูชา เมื่อข่าวเข้ามาถึงพระนคร จึงมีพระราชโองการให้ไปเชิญสมเด็จพระบรมราชาธิราช ซึ่งเป็นพระเชษฐา อยู่ที่เมืองสุพรรณบุรีให้ไปรับกับกัมพูชา เพื่อช่วยพระศรีสวัสดิ์ สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า จึงยกทัพไปตีกัมพูชา ได้รับชัยชนะกลับมาและกวาดต้อนชาวกัมพูชาเข้ามาในไทยได้มากมาย
    • ศักราช 715 ทรงพระกรุณาตรัสว่าที่พระตำหนักเวียงเหล็กให้สถาปนาเป็นพระวิหารและพระมหาธาตุ เป็นพระอารามแล้วให้ชื่อว่า วัดพุทไธศวรรย์
    • ศักราช 725 ทรงพระกรุณาตรัสว่า ให้เผาศพที่ตายด้วยโรคอหิวา และที่ปลงศพนั้นให้สถาปนาพระเจดีย์และวิหารเป็นพระอารามแล้วให้นามว่า วัดป่าแก้ว
    • ศักราช 731 สมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 20 ปี

    รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ( ครั้งที่ 1 )

    • สมเด็จพระราเมศวรขึ้นเสวยราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระรามาธิบดี

    รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช ( ครั้งที่ 1 )

    • ปีศักราช 732 สมเด็จพระบรมราชาธิราช เสด็จลงมาจากสุพรรณบุรี สมเด็จพระราเมศวรจึงถวายราชสมบัติแล้วถวายบังคมลาขึ้นไปอยู่ลพบุรีอย่างเก่า
    • สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าสามารถตีเอา เมืองฝ่ายเหนือ เมืองนครพัง เมืองแซงเซรา เมืองพิษณุโลก ได้สำเร็จ ครั้งที่เสด็จไปเอาเมืองชากังราวนั้น พญาใช้แก้ว พญากำแหง ซึ่งเป็นเจ้าเมือง ออกรบกับท่าน พญาใช้แก้วตาย แต่พญากำแหงและไพร่พลหนีไปได้ ทัพหลวงจึงเสด็จกลับมาพระนคร
    • ศักราช 738 เสด็จไปเอาเมืองชากังราวได้สำเร็จ
    • ศักราช 744 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 13 ปี

    พระเจ้าทองลัน

    • พระเจ้าทองลันขึ้นเสวยราชสมบัติได้ 7 วัน พระราเมศวรเสด็จลงมาจากเมืองลพบุรี จับพระเจ้าทองลัน แล้วปลงพระชนม์ ที่วัดโคกพญา

    รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ( ครั้งที่ 2 )

    • ศักราช 746 สมเด็จพระราเมศวรให้ยกพลขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ฝ่ายเจ้าเมืองเชียงใหม่ขอพระราชทานให้งดทำศึก 7 วัน เพื่อนำเครื่องราชบรรณาการออกไปเจริญพระราชไมตรี เมื่อครบ 7 วันแล้ว เสบียงในกองทัพเริ่มจะหมด สมเด็จพระราเมศวรทรงพระกรุณาสั่งให้บุกเข้ายึดเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าเมืองเชียงใหม่หนีออกไปได้ เหลือแต่นักส้างบุตรของเจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงทรงให้นักส้างถวายสัตยานุสัตย์ และให้ครองราชสมบัติ ณ เมืองเชียงใหม่ ขณะ นั้น พญากัมพูชายกทัพเข้ามาถึงเมืองชลบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธิเจ้าอยู่หัว ให้พญาไชยณรงค์เป็นทัพหน้า ยกไปถึงสะพานแยก ชาวกัมพูชาออกมาตีทัพพญาไชยณรงค์ ทัพของพญากัมพูชาแตก พระเจ้าอยู่หัวยกเข้าตีเมืองได้ พญากัมพูชาหนีไปได้ จับได้พญาอุปราชลูกพญากัมพูชา
    • ศักราช 749 สถาปนาวัดภูเขาทอง เวลาเย็นเสด็จไป ณ พระที่นั่งมังคลาภิเษก ท้าวมลซึ่งตายแต่ก่อนนั้นมานั่งขวางทางเสด็จอยู่และหายไป สมเด็จพระราเมศวรบรมบพิตรก็เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 6 ปี

    รัชกาลสมเด็จพระยาราม

    • พระยารามซึ่งเป็นพระราชกุมารท่านได้ เสวยราชสมบัติ 14 ปี สมเด็จพญารามมีความพิโรธแก่เจ้ามหาเสนาบดี และให้กุมเอาตัวเจ้ามหาเสนาบดี แต่เจ้ามหาเสนาบดีหนีรอดไปอยู่ฟากปทาคูจาม จึงให้เชิญสมเด็จพระอินทราชา ณ เมืองสุพรรณบุรี เสด็จเข้ามาปล้นเอาพระนครศรีอยุธยาได้

    รัชกาลสมเด็จพระอินทราชา

    • สมเด็จพระอินทราชานั้น เสวยราชสมบัติ ให้สมเด็จพญารามไปครองเมืองปทาคูจาม ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าอ้ายพญา ครองเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พญาครองเมืองแพรกศรีราชา เจ้าสามพญาครองเมืองชัยนาท
    • ศักราช 780 สมเด็จพระอินทราชาเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 15 ปี เจ้าอ้ายพญา เจ้ายี่พญา ยกเข้ามาชิงกันจะเอาราชสมบัติ ทั้ง 2 พระองค์ ทรงพระแสงของ้าวต้องพระศอขาดพร้อมกันทั้ง 2 พระองค์

    รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2

    • มุขมนตรีออกไปเฝ้าเจ้าสามพญา เพื่อเชิญเข้ามาในพระนครเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามชื่อ สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า
    • ศักราช 783 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองนครหลวงได้ ท่านจึงให้พระราชกุมารท่านพระนครอินท์เจ้า เสวยราชสมบัติ ณ เมืองนครหลวง
    • ศักราช 786 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าสร้างวัดมเหยงคณ์
    • ศักราช 790 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ แต่ทรงพระประชวร ทัพหลวงจึงเสด็จกลับ อีก 2 ปีถัดมา เสด็จขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง ครั้งนั้นได้เชลยศึกแสนสองหมื่นคน ทัพหลวงเสด็จกลับ
    • ศักราช 796 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 16 ปี

    รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

    • สมเด็จพระราเมศวร เจ้าผู้เป็นพระกุมารของสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ขึ้นเสวยสมบัติ ทรงพระนามชื่อ พระบรมไตรโลกนาถ สร้างพระที่นั่งสรรเพชญบปราสาท แล้วพระราชทานชื่อขุนนางตำแหน่ง เอาทหารเป็นสมุหกลาโหม เอาพลเรือนเป็นสมุหนายก เอาขุนเมืองเป็นพระนครบาลเมือง เอาขุนวังเป็นพระธรรมาธิกร เอาขุนนาเป็นพระเกษตรา เอาขุนคลังให้ถือเป็นโกษาบดี และที่ถวายพระเพลิงสมเด็จพระรามาธิบดี ที่พระองค์สร้างกรุงนั้นให้สถาปนาพระมหาธาตุและพระวิหารเป็นอารามชือ วัดพระราม
    • ศักราช 802 เกิดไข้ทรพิษผู้คนล้มตายจำนวนมาก
    • ศักราช 803 แต่ทัพไปเอาเมืองมะละกา
    • ศักราช 804 แต่ทัพไปเอาเมืองสพเถิน
    • ศักราช 805 เกิดปัญหาราคาข้าวเปลือกแพง
    • ศักราช 806 ให้บำรุงพระพุทธศาสนาและหล่อรูปพระโพธิสัตว์ 550 พระชาติ
    • ศักราช 808 พญาเชลียงคิดกบฎ ปีถัดมา พญาเชลียงนำมหาราชมาเอาเมืองพิษณุโลกแต่ไม่สำเร็จ จึงยกทัพไปเอาเมืองกำแพงเพชรแทน เข้าปล้นถึง 7 วันก็ยังไม่ได้เมือง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระอินทราชาเสด็จไปช่วยกัน ครั้งนั้น พระอินทราชาต้องปืน ณ พระพักต์ ทัพมหาราชนั้นเลิกกลับคืนไป
    • ศักราช 810 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสร้างวิหารวัดจุฬามณี
    • ศักราช 811 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงพระผนวช วัดจุฬามณีได้ 8 เดือน และลาพระผนวช
    • ศักราช 813 มหาท้าวบุญชิงเมืองเชียงใหม่
    • ศักราช 815 พระบรมไตรโลกนาถได้ช้างเผือก
    • ศักราช 816 สมภพพระราชโอรส
    • ศักราช 821 ตั้งเมืองนครไทย
    • ศักราช 822 พระสีหราชเดโชถึงแก่กรรม
    • ศักราช 824 พญาลานช้างถึงแก่กรรม
    • ศักราช 828 พระบรมราชาผู้เป็นพระราชโอรสทรงผนวช
    • ศักราช 829 สมเด็จพระโอรสเจ้าลาผนวช
    • ศักราช 832 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จยกทัพไปตีเมืองทวาย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 38 ปี

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

    • สมเด็จพระบรมาชาธิราชเจ้าซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบรมไตรโลกนาถขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนาม สมเด็จพระรามาธิบดี
    • ในสมัยพระองค์มีการติดต่อค้าขายกับต่าง ประเทศ และได้มีการนำปีนไฟมาด้วย การรบแบบใช้ดาบลดความสำคัญลง มีการแต่ตำราว่าด้วยการรบขึ้น เช่น การจัดกระบวนทัพ การตั้งค่าย การเดินทัพ การเข้าจู่โจม และการตั้งรับ
    • มีการจัดตั้งกรมสุรัสวดีขึ้น(คือ สัสดี ในปัจจุบัน) กรมสุรัสวดีมีหน้าทำบัญชีหางว่าว แยกประเภทว่าขุนนางผู้ใดมีเลกมนสังกัดจำนวนเท่าใด(เลก หมายถึง ไพร่มีหน้าที่ต้องเข้ารับราชการเป็นทหาร)
    • สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างสถูปเจดีย์ขึ้น 2 องค์ เพื่อบรรจุ อัฐิสมเด็จพระราชบิดา และบรรจุอัฐิของพระเชษฐา นอกจากนี้ยังได้ทรงสร้างพระวิหารหลวงขึ้นในวัดสุทธาวาสนี้ แล้วหล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่ด้วยทองสัมฤทธิ์หุ้มทองคำ ถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ (ต่อมาพระพุทธรูปองค์นี้ถูกพม่าเอาไฟเผาเพื่อลอกเองทองคำ จนองค์พระละลาย ครั้งเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2300)
    • ทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองขึ้นเป็นครั้ง แรกในคลอกสำโรงกับคลองทัพนางในเมืองพระประแดง เพื่อสะดวกแก่การคมนาคมและการเดินเรือระหว่างลำแม่น้ำเจ้าพระยากับคลองบางปะ กง
    • พ.ศ. 2050 พระเมืองแก้วเจ้าเมืองเชียงใหม่หวังจะแสดงอานุภาพด้วยการขยายอาณาเขต จึงยกทัพลงมาตีกรุงสุโขทัย ชาวเมืองรักษาเมืองไว้อย่างเข้มแข็ง ทัพเมืองเชียงใหม่ต้องยกถอยไป สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 รับสั่งให้พระยากลาโหมคุมกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ และตีได้เมืองแพร่
    • พ.ศ. 2056 เมืองเชียงใหม่ได้ให้หมื่นพิงยียกพมาตีเมืองสุโขทัย และหมื่นมะลายกทัพมาตีเมืองกำแพงเพชร แต่ชาวเมืองก็รักษาเมืองไว้ได้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 จึงยกทัพไปปราบปรามเมืองลำปาง แล้วยกทัพกลับมาและทรงเห็นว่าพระอาทิตยวงศ์พระราชโอรส มีพระชนมายุพอสมควรที่จะรับพระราชภาระของพระองค์ได้แล้ว จึงทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระบรมราชาตำแหน่งพระมหาอุปราช และไปครองเมืองพิษณุโลก
    • ชาวโปรตุเกสตีเมืองมะละกาได้ ต่อมาชาวโปรตุเกสรู้ว่าเมืองมะละกาเป็นเมืองขึ้นของไทย เกรงว่าไทยจะยกทัพไปตีเอาเมืองคืน จึงแต่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ชาวโปรตุเกสจึงได้ค้าขายกับไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวโปรตุเกสได้นำอารยธรรมมาเผยแพร่เป็นอันมาก ได้นำวิธีใช้ปืนไฟและวิชาทหารแบบยุโรปเข้ามาเผยแพร่ ได้มีชาวโปรตุเกสเข้ามารับราชการทหารไทย และเป็นกำลังในทางสงครามได้อย่างดี
    • สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงครองราชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2034 และสวรรคตในปี พ.ศ. 2074 สิริครองราชย์ได้ 38 ปี รวมพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา

    รัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร (รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 )

    • สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรเป็นโอรส ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เดิมได้รับสถาปนา ให้เป็นพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ครองเมือง พิษณุโลก เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว จึงให้พระไชยราชาซึ่งเป็นอนุชาต่างมารดาไปครองเมืองพิษณุโลกแทน
    • ในสมัยพระองค์ได้เจริญสัมพันธไมตรีกับ เชียงใหม่ ขณะนั้น กรุงศรีฯได้มีการติดต่อคาขายกับโปรตุเกส และชาวโปรตุเกสได้นำปืนไฟมาใช้ และมีการทำปืนไฟ และสร้างป้อมปราการต่อสู้ปืนไฟ ที่สวรรคโลกสุโขทัย และอยุธยา
    • ทรงครองราชย์ได้ 4 ปีก็สวรรคตด้วยโรคไข้ทรพิษ

    รัชกาลสมเด็จพระรัษฎาธิราช

    • ทรงเป็นโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่4(หน่อพุทธางกูร) เนื่องจากได้ได้มีการตั้งพระมหาอุปราชไว้ดังรัชกาลก่อน เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 สวรรคต จึงได้เชิญ พระรัษฎาธิราชกุมาร อายุ 5 พรรษา ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนาม พระรัษฎาธิราช
    • ครองราชย์ได้ 5 เดือนเศษ พระไชยราชาซึ่งเป็นพระเจ้าอา ยกทัพมาจับไปสำเร็จโทษ สวรรคต

    รัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช

    • เมื่อสำเร็จโทษพระรัษฎาธิราชแล้ว ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงมีโอราส 2 พระองค์ คือ พระยอดฟ้า และ พระศรีสิน ในสมัยของพระองค์พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงกราน ทรงยกทัพหลวงไปตีคืนมา ได้เกณฑ์ชาวโปรตุเกสไปช่วยรบด้วย เมื่อมีชัยชนะ จึงพระราชทานอนุญาต ให้ชาวโปรตุเกสสร้างวัดสอนศาสนาคริสต์ได้แต่นั้นมา
    • เจ้าครองเมืองเชียงใหม่ซึ่งขึ้นต่อกรุง ศรีฯถูกฆ่าตาย บรรดาหัวเมืองต่างๆไม่ยอมขึ้นต่อเจ้าเชียงใหม่คนใหม่ จึงได้ขอให้ทางศรีอยุธยา ส่งทัพไปปราบ เมื่อยกทัพไปถึงเชียงใหม่ เจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ออกมาขอสวามิภักดิ์
    • ในสมัยพระองค์ได้มีการปรับปรุงบ้านเมือง และขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่าคลองบางกอก
    • ต่อมาเชียงใหม่เห็นพม่ามีกำลังเข้มแข็ง จึงเอาใจออกห่าง ไปสวามิภักดิ์ต่อพม่า
    • เมื่อสมเด็จรพระไชยราชาธิราชทรงทราบก็ โกรธมาก ได้ยกทัพไปตีเชียงใหม่ ตีลำพูน ตีลำปาง ได้แล้วก็ยกไปล้อมเชียงใหม่ไว้ นางพญามหาเทวีซึ่งครองเชียวใหม่เห็นสู้ไม่ได้ก็ออกมาสวามิภักดิ์ ทรงยกทัพกลับมากลางทางก็ทรงประชวร ถึงแก่สวรรคต ทรงครองราชย์มา 12 ปี

    รัชกาลสมเด็จพระยอดฟ้า

    • พระยอดฟ้าโอรสองค์โตของพระไชยราชาธิราช ขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ 11 พรรษา แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ จึงได้ทูลเชิญพระราชชนนี คือ พระนางศรีสุดาจันทร์เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินแทน ทรงพระนามว่า นางพญาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ต่อมาท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ไปพัวพันกับ พันบุตรศรีเทพ ซึ่งเป็นพนักงานรักษาหอพระ ทรงให้เลื่อนตำแหน่ง พันบุตรศรีเทพ เป็นขุนชินราช แล้วย้ายเข้ามาอยู่หอพระข้างในและได้ลักลอบเป็นชู้กัน หลังจากนั้นได้เลื่อนให้เป็นขุนวรวงศาธิราช ต่อมาทรงพระครรภ์ จึงเกรงจะปิดเป็นความลับไม่ได้ จึงกำจัดพระยอดฟ้าเสีย โดยการยาพิษลงในอาหาร แล้วยกขุนวรวงศาธิราชขึ้นครองราชย์แทน
    • พระยอดฟ้าครองราชย์ได้ 2 ปี ก็สวรรคต

    รัชกาลขุนวรวงศาธิราช ( พันบุตรศรีเทพ )

    • ขุนวรวงศาเมื่อได้รับสถาปนาเป็น กษัตริย์แล้วได้ตั้งนายชัน ซึ่งเป็นอนุชา เป็นพระมหาอุปราชา และได้จัดเปลี่ยนตำแหน่ง เจ้าเมืองทั้งหลายโดยเอาคนสนิทไปแทน
    • ต่อมาขุนพิเรนเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา และหลวงศรียศ วางแผนกำจัดขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์ แล้วไปเชิญพระเฑียรราชาซึ่งผนวชอยู่มาปกครองแผ่นดินต่อไป

    -http://www.thaigoodview.com/node/2107-






    .




    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...