พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. กุ้งมังกอน

    กุ้งมังกอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +1,181
    วันจันทร์นี้ที่ 15 ม.ค.2550 โทรนัดหลวงพ่อแผนถวายเพล ก๋วยเตี๋ยว-ขนมปัง
    เลี้ยงพระ-เณรทั้งวัดครับ.สาธุ สาธุ สาธุ
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    ผมขออนุญาตที่จะนำคำสอนและบทความของท่านพระอาจารย์นพพรมาลงในกระทู้นี้บ้างนะครับ

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    ที่มา http://www.artitjawangso.org/index.php?option=com_content&task=view&id=137&Itemid=33

    [​IMG]

    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">หลักธรรมะที่ปฏิบัติและเผยแพร่ </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2>หลักธรรมสำคัญที่พระอาจารย์นพพร อาทิจฺจวํโส ใช้ในการเทศนาอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ของสำนักปฏิบัติธรรมอาทิจฺจวํโส มีหลักการใหญ่สำคัญ ๓ ประการ คือ
    ๑.การขออโหสิ การให้อโหสิ
    ๒.การโมทนาสาธุ
    ๓.สุญญตสมาธิ

    ๑.หลักการขออโหสิ การให้อโหสิ ในหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลักการว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • nopporn.gif
      nopporn.gif
      ขนาดไฟล์:
      18 KB
      เปิดดู:
      1,375
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2007
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    ที่มา http://www.artitjawangso.org/index.p...=137&Itemid=33
    (ต่อครับ)

    รวมธรรมะท่านพระอาจารย์นพพร อาทิจฺจวํโส

    “ในการที่จะละ ๑. ทำจิตให้อุเบกขาวางเฉยในสรรพสิ่ง ๒. ทำจิตให้ละอุปาทานความยึดถือ ไม่ยึดถือมั่นในสรรพสิ่งใด ๓. ตนเองต้องทำจิตตนเองให้หลุดพ้นทุกสรรพสิ่ง!”
    “ไม่ยึดถือก็ไม่เป็นอุปาทาน เป็นสัญญาอารมณ์ สัญญาอดีต จิตที่ไปถ่ายรูป ถ่ายเสียง ถ่ายกลิ่น ถ่ายรส ถ่ายโผฏฐัพพะ ถ่ายธาตุเย็น ร้อน อ่อน แข็ง เอาไว้ จึงเป็นทุกข์กับอดีต! ถ่ายเก็บไว้เป็นธรรมารมณ์ฝังแน่นอยู่ในจิต รู้แล้วก็เก็บไว้ดู แต่ไม่นำมาใช้ ให้เกิดอารมณ์แบบเก่าอีก!
    “อารมณ์ทั้งหลายเป็นอาสวะ ที่ประทับใจ ทำให้เกิดความเคยชิน จิตตั้งมั่น รู้อารมณ์ สรรพอารมณ์ทั้งหลายแล้ว ไม่หวั่นไหวกับสรรพอารมณ์ทั้งปวง จิตอยู่เหนืออารมณ์ จิตก็อยู่เหนืออาสวะนั่นเอง”
    “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระมหากรุณา ตรัสว่า จงอย่าหวาดกลัวต่ออดีต จงอย่าหวังในอนาคต จงหยุดอยู่ในปัจจุบัน อย่ามัวเสียเวลากับการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่นนักเลย ดูงานที่สมควร ที่ตนกระทำว่าเสร็จ
    แล้วหรือยังไม่เสร็จดีกว่า เพราะว่าเวลาเป็นของเล็กน้อย ความตายย่อมครอบงำย่ำยีเอาอยู่ทุกขณะ”
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    ที่มา http://www.artitjawangso.org/index.p...=137&Itemid=33
    (ต่อครับ)

    บันทึกธรรม


    พิจารณาธรรม วันศุกร์ที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓

    เวลา ๒๐.๕๑ น.

    ความสมดุลต้องมีคู่! ความยุติธรรมต้องหยุด! หยุดเฉพาะผู้เดียวก็ได้ ต้องมีผู้อื่นก็ได้ ถ้าไม่ให้ความยุติธรรมแก่ตัวเอง ก็ต้องให้ความยุติธรรมกับผู้อื่น จึงจะเกิดความสมดุลพอดี และเป็นความสุขด้วย เป็นผู้ถึงความพร้อมด้วยสติปัญญา ศรัทธา ความเพียร มีทาน ศีล ภาวนา หรือมีศีล สมาธิ ปัญญา ก็จะทำกิเลสตัณหา หมดสิ้น สำเร็จได้ดังใจปรารถนา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ไม่เป็นอุปสรรคเครื่องกีดขวาง หรือเป็นอันตรายแก่การปฏิบัติธรรม หรือการทำคุณความดี กลับเป็นเครื่องมือสนับสนุนจิต ให้จิตสำเร็จผลสมความปรารถนา
    เพราะรู้จักทำให้เกิดประโยชน์ จะเห็นรูป ฟังเสียง ได้กลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ เย็นร้อน อ่อน แข็ง รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจก็เป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่ได้รับพิษคือโทษ ของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มาเป็นอารมณ์เกาะกินใจได้ เห็นรูปงามก็พิจารณาให้เห็นเป็นรูปไม่งามได้ เห็นรูปไม่งามก็พิจารณาให้เห็นธรรมเกิดความสลดสังเวชได้ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็มีนัยยะการพิจารณาเป็นเช่นเดียวกัน
    รูปไม่งาม เสียงไม่เพราะหู กลิ่นไม่หอมจมูก รสไม่อร่อยลิ้น โผฏฐัพพะเย็นร้อนอ่อนแข็งสัมผัสไม่ดีกาย ธรรมารมณ์ไม่เป็นที่ประทับใจ ก็รู้ซึ้งถึงความแตกต่างแห่งกรรม บุญวาสนา และความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา วางจิตอุเบกขาวางเฉยในอารมณ์ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ทำใจให้เป็นธรรม พิจารณารู้ธรรม มีใจสงบระงับด้วยธรรมและความสังเวช ปลง ด้วยเห็นเป็นความจริงในที่สุด สุดท้ายของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ รู้ทุกระยะของการพิจารณา มีความเข้าใจทุกระยะของความเปลี่ยนแปลง ของสภาวะธรรมเป็นธรรมชาติของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ธรรมารมณ์ทั้งหมด
    ด้วยการมากำหนดรู้สมมติของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เย็นร้อนอ่อนแข็ง ธรรมารมณ์ สิ่งต่างๆเป็นจริง จึงหายความอยาก หายโกรธ หายความลุ่มหลงมัวเมา และหายจากความประมาทในสิ่งต่างๆ ในโลกเสียได้ จิตจึงมีความสงบเย็น ไม่เดือดร้อนรำคาญเหมือนดังแต่ก่อน เพราะมีความเข้าใจเป็นธรรม ของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เย็นร้อนอ่อนแข็ง (ธาตุ) ธรรมารมณ์ทั้งหลาย มีลักษณะเป็นจริงเช่นนี้เอง
    เมื่ออุเบกขาวางเฉยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธาตุเย็นร้อนอ่อนแข็ง ธรรมารมณ์ ให้ล่วงกาล ผ่านวัย ผ่านความรู้สึก ผ่านความเห็น ไม่มีความนึกคิดถึงรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธาตุเย็นร้อนอ่อนแข็ง ธรรมารมณ์
    สิ่งเหล่านี้เป็นธรรม มีจริงเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดา ต้องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีที่สิ้นสุด ไม่เหลืออะไรไว้ จึงไม่มีพิษเป็นภัย
    เป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรม ต่อพรหมจรรย์ และจะส่งเสริมพรหมจรรย์ให้มั่นคง พรหมจรรย์จึงบริสุทธิ์ผุดผ่องตราบเท่าทุกวันนี้ ความพิจารณาเห็นรูปเป็นต้น ตามเป็นจริงอย่างนี้จึงเป็นมรรค เป็นหนทางเข้าถึงความดับทุกข์ พ้นทุกข์ สิ้นทุกข์ อาศัยรูป เป็นต้น เป็นมรรค เป็นทางดำเนินการพิจารณา
    เอารูปเป็นผล! คือความได้พ้นไปจากรูปเป็นต้น ไม่เกี่ยวข้องด้วยรูปเป็นต้น วางเฉยให้รูปผ่านพ้นไป ไม่กังวลในรูปเป็นต้น จึงไม่มีห่วง ไม่มีทุกข์เพราะรูป รูปนั้นก็ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป เหมือนรูปมายา มาปรากฏให้เห็น ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เหมือนต่อมน้ำ เกิดแล้วก็ดับ เหมือนพยับแดดระยิบระยับ ดูไกลๆ ก็เห็นเป็นรูปร่างลักษณะเป็นจริงเป็นจังสวยงาม พอได้เข้าใกล้แล้วก็ว่างเปล่า รู้ความเป็นจริงในสิ่งทั้งหลายแล้ว ไม่มีสาระแก่นสารอันใด
    จึงทราบชัดว่า ทุกข์เกิดจากความเห็นผิด เกิดจากความเข้าใจผิด คิดเห็นเป็นจริงจัง เป็นของพอใจ ถูกใจติดใจ จึงมีความมั่นหมายในรูปเหล่านั้น ครั้นได้เข้าถึง รู้ถึง เห็นความเป็นจริงเฉพาะหน้า ปรากฏว่า รูป เป็นต้นเหล่านั้น เสื่อมสลายที่สุดก็ว่างเปล่า อยู่ไกลก็เห็นอย่างหนึ่ง อยู่ใกล้ก็รู้เห็นเป็นอีกอย่างหนึ่ง ความรักใคร่พอใจเป็นความผูกพันระหว่างใจกับอารมณ์ ความไม่พอใจเป็นความผูกพันพยาบาทระหว่างใจกับอารมณ์ ความรู้จริงเห็นแจ้งในใจในอารมณ์ แล้วจึงมีอุเบกขาวางเฉยในใจ วางเฉยในอารมณ์ ความคลายในใจ ในอารมณ์ จึงไม่ปรากฏความยินดียินร้ายในใจในอารมณ์ เพราะมีความรู้เห็นรูปเป็นต้น ตามความเป็นจริง รู้เห็นรูปจนมีความเคยชิน ไม่ว่าอยู่ที่ไหน รูปเหล่านั้นจึงไม่เป็นที่สนใจ รูปเป็นต้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งภายในทั้งภายนอก ความรู้เห็นพร้อม ด้วยปัญญา ญาณ รอบรู้เห็น ความเกิดของรูปเป็นต้น ความดับของรูปเป็นต้น ความที่ใจฟุ้งซ่านเป็นไปต่างๆ เพราะอาศัยรูปเป็นต้นเป็นปัจจัย ใจจึงถึงความมีทุกข์เป็นทุกข์ด้วย รำคาญด้วย ทุกขณะที่รูปเป็นต้นเหล่านั้นเปลี่ยนแปลง ความไม่พอใจ ความโกรธ ความเกลียด ความพยาบาท จึงเกิดขึ้น เพราะความหลงมัวเมาในรูปเป็นต้นนั่นเอง เป็นเหตุให้มีความประมาทหลงลืมตน เกิดความยุ่งยากลำบากใจ ไม่สามารถกลับทำให้รูปเป็นต้นเหล่านั้นให้เป็นที่ตั้งความพอใจ ความยินดี จึงรู้เห็นได้ถึงความไม่พร้อมของสติปัญญา และความสมบูรณ์ในเรื่องของความรู้ ความฉลาดไม่ทันรูปเป็นต้น โง่เขลา! กว่ารูปเป็นต้น จึงเป็นโมหะอวิชชาความหลงไม่รู้เท่าทันรูป
    แท้จริงรูปเป็นอวิชชา รูปเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา รูปอาศัยสัญญา รูปเป็นที่ประชุมสังขาร รูปอาศัยวิญญาณความรู้สึก จึงเป็นได้ทั้งรูป ทั้งนาม! แม้รูปในนาม แม้นามในรูป ก็อาศัยวิญญาณความรู้สึก ถ้าดับวิญญาณ ความรู้สึกดับ นามรูปก็ดับไปเอง ไม่ต้องไปดับที่รูป! ที่นาม! ดับความรู้สึกที่ใจ เมื่อดับความรู้สึกที่ใจได้แล้ว สังขารการปรุงแต่งรูปนามก็ดับ เมื่อสังขารคือ ตัววิตกวิจารณ์ดับ อวิชชาตัวรูปนามก็ไม่ตั้งอยู่ในความรู้สึกได้ จิตใจก็ถึงความสงบวิเวก ปราศจากธุลีกิเลสของรูป มาเปื้อนเปอะเลอะใจ ใจจึงบริสุทธิ์ผ่องใส เพราะปราศจากรูปอวิชชานั่นเอง เมื่อรูปอวิชชาไม่มีเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธาตุเย็นร้อนอ่อนแข็ง ธรรมารมณ์ อันเป็นส่วนนาม อาศัยรูปเป็นอยู่ก็พลอยหมดดับระงับหายไปด้วยกัน ทั้งรูป ทั้งนาม เพราะรูปเป็นมหาภูตรูป รูปใหญ่ ส่วนเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธาตุเย็นร้อนอ่อนแข็ง ธรรมารมณ์ หรือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือเวทนา จิต ธรรม ! เป็นอุปาทายรูป รูปอาศัย หมายถึง นามอาศัยรูป! ท่านจึงว่านามรูป! เมื่อรูปดับหรือมหาภูตรูปดับ! นามคืออุปาทายรูป รูปอาศัยก็ดับ ความเป็นรูปอวิชชาก็ดับ ไม่มีบทบาทของรูปที่จะแสดงต่อไปทีนี้รูปในนาม! ได้แก่ รูปที่อาศัยความรู้สึกในนามนั่นเอง รูปจึงตั้งอยู่ได้ มีรูปอยู่ได้ ถ้าหมดความรู้สึกเมื่อใด ก็หมดไม่มีรูปเมื่อนั้น ถ้าไม่มีความรู้สึกระลึกถึงรูป แม้รูปเหล่านั้นมีอยู่ มีก็เหมือนไม่มี!
    เมื่อพิจารณาความพร้อมแห่งรูปเป็นต้น ความพร้อมของสติปัญญาญาณความรู้รอบสมบูรณ์ ก็จะตัดอารมณ์ รูปารมณ์ได้เฉียบขาด หมดอำนาจเหนือใจ รูปารมณ์สัมผัสกระทบสติปัญญาญาณเข้าก็ดับไป ไม่เข้าไปถึงจิตถึงใจ ใจก็ว่างเปล่าจากอารมณ์ ไม่มีรูปารมณ์ ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ มีแต่ธรรมสัมผัสใจ
    เมื่อตัดรูปหรือกายด้วยสติปัญญาญาณได้แล้ว ก็เป็นอันกำจัดตัวสักกายทิฏฐิ ความเห็นว่ารูปเป็นตัวตน ตัวตนเป็นรูป รูปมีอยู่ในตัวตน ตัวตนมีอยู่ในรูป เป็นอันกำจัดรูปกิเลส รูปตัณหา ความโลภ ความโกรธ ความหลงในรูปกรรม! คือ การงานที่ต้องทำในรูป ก็หมดภาระทางใจในการแบกหามหรือยึดถือ ก็ถูกถอนความรู้สึกในรูปขึ้นเสียแล้ว รากเหง้าใหญ่ได้ขุดขึ้นเสียแล้ว รากฝอย คือ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธาตุเย็นร้อนอ่อนแข็ง ธรรมารมณ์เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือเวทนา จิต ธรรม อันเป็นส่วนนามก็เป็นอันถูกถอนขึ้นพร้อมกับรากใหญ่ คือ รูปนั่นเอง นามขันธ์ ๔ นามขันธ์ ๕ นามขันธ์ ๓ ก็หมดฤทธิ์สิ้นเดช หมดอำนาจวาสนา ถูกกำจัดไปโดยไม่รู้สึกตัว เหมือนรากแก้วใหญ่ขาดสิ้น ก็ค่อยๆ ตายไปเอง เพราะนามเหล่านี้ยึดเกาะรูปอย่างเหนียวแน่น ฝากเป็นฝากตายกับรูปทีเดียว เหมือนปลาติดหลังแหก็พลอยตายไปด้วย รูปเป็นอุปสรรคของพรหมจรรย์ ก็ตายไปอย่างสิ้นเชิง หมดรูป หมดร่าง นางตัณหา นางราคา นางอรดี ก็ถึงซึ่งความตายไปด้วย จึงพบพระพุทโธ พระธรรมโม พระสังโฆ ที่อยู่เป็นส่วนต่างหากนอกไปจากกิเลส ตัณหา อาสวะ อวิชชา พระไตรรัตน์เหล่านั้น ต่างก็ได้มาบังสุกุล พิจารณาดูรูปกิเลส รูปตัณหา รูปอาสวะ รูปอวิชชา แล้วก็เบื่อหน่าย คลายความรัก คลายความยึดถือ คลายความต้องการในรูป แล้วก็ไปสู่นิพพาน ทิ้งรูปเป็นต้นเหล่านั้นให้เน่าเปื่อยผุพังไปตามกาลเวลา พิจารณารู้เห็นไปตามนี้ อาจที่จะเพิกถอนกิเลส ตัณหา อวิชชาเสียได้ จะเป็นผู้เข้าถึงความสงบสุขอันไม่กำเริบ เป็นผู้เย็นใจเย็นกาย เป็นผู้มีใจมีกายสงบ เพราะความสิ้นอาลัยแห่งรูปตัณหา เสียงตัณหา กลิ่นตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพะตัณหา ธาตุเย็นร้อนอ่อนแข็ง ตัณหา ธรรมตัณหา!
    เพราะจิตเดิมไม่มีโลภ โกรธ หลง ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ จึงไม่มีการผิดศีลธรรม แต่เมียจรมา ลูกจรมา สามีจรมา ทุกสิ่งทุกอย่างจรมา มาพบมาเจอกันเข้า อุปาทานเข้ายึดถือเป็นอารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เย็นร้อนอ่อนแข็ง ธรรมารมณ์จึงติดแน่นกับใจ กิเลสตัณหาจึงมีมาตามกัน ยกโขยงมากันเป็นครอบครัว ความเศร้าหมองใจไม่บริสุทธิ์เป็นด้วยเหตุนี้
    การทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว ต้องคิดพิจารณาสิ่งที่มีในจิต เป็นทุกข์เกิดขึ้นในจิต มีอะไรก็พิจารณาหาเหตุผลเพื่อละสิ่งนั้น ทำความรู้สึกกับจิตที่มีอารมณ์ห่วงใย กังวลอาลัยอาวรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่มี พร้อมด้วยความคิดรู้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เคยมีมาก่อน! เพราะเหตุนั้นสิ่งเหล่านั้นที่มีอยู่เจ้าสมควรไปเสียเถิด เจ้ามาอย่างไรจงกลับไปตามทางเดิมของเจ้า!
    จิตไม่มีอะไรในจิต ความบริสุทธิ์ผ่องใสบังเกิดขึ้นตามเดิม จึงไม่สมควรมีอะไรในจิต ไม่สมควรมีอารมณ์ทั้งหลายเก็บไว้ เพียงตั้งจิตรู้จุติปฏิสนธิจิตเท่านั้น ร่างกายสมมติว่าเป็นเนื้อหนังมังสาของพ่อแม่ จึงไม่ใช่ของเรา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหมายว่าเป็นเพียงของยืมเท่านั้น แล้วต้องคืนธาตุคืนโลกเขาไป ไม่ควรยึดถือเป็นกรรมสิทธิ์ หน่วงเหนี่ยวอะไรเอาไว้ เพราะเป็นของเสื่อมคุณภาพทั้งนั้น ไม่จีรังยั่งยืน เหมือนคบเพลิง เห็นได้สว่างได้เพียงระยะหนึ่ง แล้วไหม้เผาหมดไป จึงเป็นของชั่วคราวดุจเขียงสับเนื้อ ก็สึกกร่อนร่อยหรอหมดไป สัตว์สิ่งของทั้งปวง ทั้งหมดในโลก มีลักษณะเป็นเช่นเดียวกัน เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เสื่อมสลายจนใครๆ ก็จำไม่ได้ ที่เรียกว่าอนัตตา เพราะว่าไม่เป็นของตนจริงจึงต้องทิ้งไป บ๊ายบาย!! เหลือจิตรู้เป็นเอกัคคตาจิต เอกัคคตาธรรม มีความสงบเป็นธรรมารมณ์ เป็นวิหารธรรมที่จิตอาศัยวิเวกอยู่ มีธรรมความรู้เป็นเครื่องอยู่ มีความสมดุล มีความยุติธรรม เป็นธรรมเตรียมพร้อม มีความสามัคคีธรรม ภัยธรรม พร้อมเสมอด้วยสติปัญญาญาณ ความรู้รอบในกิเลส ตัณหา และความทุกข์ จึงทำกิเลส ตัณหา ความทุกข์ให้หายไปจากจิตใจโดยชอบสิ้นเชิง เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้แล
    “ดูก่อนภิกษุ เธอทั้งหลายพึงพิจารณา ความสิ้นความเสื่อมนั้นให้มาก แล้วเธอทั้งหลายจะสิ้นอาสวะในอัตภาพนี้ และอย่าประมาทในธรรมทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเอาใจใส่ ปฏิบัติรักษาไว้จนตลอดชีวิต เพื่อประโยชน์ต่อชนทั้งหลายเป็นอันมาก”

    บันทึกธรรม


    พิจารณาธรรม วันจันทร์ที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔

    เวลา ๑๘.๕๙ น. ​


    ได้ไปอยู่วัดป่าพระธาตุเขาน้อย ต.บ้านคา กิ่งอำเภอสวนผึ้ง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี
    อาทิตย์ที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๔
    หลวงพ่อมหาปิ่น ชลิโต (พระครูวิโรจน์ธรรมาจารย์) ได้ถามถึงการปฏิบัติที่ผ่านมา ในเรื่องพระธรรมวินัย ได้กราบเรียนท่านว่า เมื่อครั้งอยู่ป่าบนเขาเขียว ชลบุรี อ.ศรีราชา นั้นคืนวันหนึ่ง หลังจากทำวัตรสวดมนต์ ได้ทำจิตให้สงบ และได้มีความรู้ว่า การที่เราจะพ้นบ่วงจากมารเราต้องรู้จักมาร! จึงจะพ้นมารได้ แล้วจึงเริ่มพิจารณามาร ๕ คือ ขันธ์มาร ๑ กิเลสมาร ๑ เทวปุตตมาร ๑ อภิสังขารมาร ๑ มัจจุมาร ๑
    พอพิจารณาถึงเทวปุตตมาร! ก็มีความรู้ขึ้นมาว่า ให้เราเติมจุด.สนใจในตัว ทฺ อยู่ล่างตัวทอแล้วก็อ่านว่า
    เทฺวะ ทะเว แปลว่า สอง รวมกันเข้ากับปุตตะเทวปุตตก็ได้ความหมายขึ้น คือ ลูกทั้งสอง ได้แก่ ลูกชายหญิงนั่นเอง
    ที่คนส่วนมากมีอยู่ติดอยู่ แต่สำหรับเราไม่มี เพราะละมาเสียแล้ว ไม่ประกอบในอันที่จะมีเสียแล้ว อะ แปลว่าไม่ เมื่อเอาสระอะ มาสะกดเข้ากับตัว ร ก็อ่านว่า ระ! เมื่อเรามา ระ! เสียแล้ว คำว่า มาร! ก็หายไป มาร หรือมาระ นี้ถูกเราทิ้งเสียแล้ว เพราะเราได้รู้จักเจ้าดีแล้ว เจ้าจะทำให้ข้าหลงยินดีเพลิดเพลินอีกเป็นอันไม่มี!
    หลวงพ่อมหาปิ่น ชลิโต ก็พูดขึ้นว่า ท่านมีอุบายปัญญาแยบคายดี! แล้วสีลล่ะ! ท่านมีความรู้สึกอย่างไร? ได้กราบเรียนท่านว่า คืนวันหนึ่งอยู่ที่เดิมบนเขาเขียวนั่นแหละ ! ได้นิมิตฝันว่าเจ้าพ่อจิตลัมพาย มีอำนาจเหนือมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ผมแทรกอยู่ตามลมหายใจเข้าออกของมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ผมเป็นใหญ่แต่ผู้เดียว แต่อยากทราบว่าท่าน ศีล อยู่ที่ไหน? พร้อมกับชี้มือมาที่ตัวเรา กระผมได้ตอบไปทันทีว่า สีล! อยู่ที่ ละ! เจ้าพ่อจิตลัมพายก็พูดว่า พระอยู่ที่จริง! (สัจจะ! อริยสัจจ์) เจ้าพ่อรู้หรือเปล่าว่า อาตมามีดีอะไร? เจ้าพ่อพูดว่า รู้ซิ! มีพุทธายะ! เราก็นึกเถียงขึ้นในใจว่าเจ้าพ่อก็รู้เพียงเท่านั้น เจ้าพ่อก็เลยกลับไป
    การปฏิบัติ สีล อยู่ที่ ล ละ! ถ้าไม่มี ล ละ! ก็เหลือแต่สีเท่านั้นเอง สีเหลือง สีกรัก สีแดง สีขาว ก็ไม่มีประโยชน์อะไร? และแนวทางปฏิบัติพระองค์ทรงยกย่อง สติปัฏฐาน ๔ ว่าเป็นธรรมเอก มีกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นฐานที่ตั้งของสติ ทีนี้ พอมาพิจารณากาย ก็รู้พร้อมทั้งอรรถ พยัญชนะ เกิดความเข้าใจทันทีว่า เรามี สีล ละ! เอา ล ละ! ล.ลิงหลุกหลิก! มาอยู่หลัง กไก่ สระอา มันก็ได้เรื่องราวทีเดียว เอา ล ละ ล ลิง จับไก่ เอา ย ยักษ์ ย้ายเขยื้อนที่ ขยายที่ห่างออกไปหน่อย มันก็ได้ความรู้ขึ้นมาจากกาย อันผสมเสร็จจากธาตุ ๔ มีนามเป็นขันธ์ ๕ ชื่อว่ากาย! กลาย! เมื่อกายเป็นกลายแล้ว กลายตัวนี้เองเป็นอนิจจัง เมื่อกลายเป็นอนิจจังแล้ว เวทนา จิต ธรรม ย่อมอนิจจังไปตามกัน เพราะกลายเป็นมหาภูตรูปรูปใหญ่ ส่วนเวทนา จิต ธรรม เป็นอุปาทายรูป รูปอาศัย! เมื่อมหาภูตรูปอยู่ไม่ได้ แตกพัง ทำลายแล้ว อุปาทายรูป รูปอาศัยก็อยู่ไม่ได้ ต้องแตกพัง ทำลาย อนิจจังไปด้วยกัน ฉะนั้น ครูบาอาจารย์ทั้งหลายไม่ได้พิจารณากายให้แตกหัก เห็นเป็นกลายแล้วถึงพิจารณา เวทนา จิต ธรรม เก่งกาจขนาดไหน? ก็ยังไปได้ไม่ไกล! พอจิตถอนออกก็อยู่แค่กายไม่ได้ขุดรากถอนโคนทิ้ง!
    กลายนี้ไม่จีรังยั่งยืน ยักย้ายถ่ายเทภพชาติ เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล และเป็นที่ไหลเข้าไหลออกของอาการ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ และอาหาร เป็นต้น เป็นต้นเค้ารากเหง้าใหญ่!ส่อให้เห็นกายเป็นกลาย เป็นอนิจจังใหญ่ เปลี่ยนแปลงใหญ่ เป็นสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ เวทนา จิต ธรรมไปด้วยกัน ตามกันไป จิตรู้ไม่ทันก็หลง !
    ส่วนทุกขํของเวทนา เสวยอารมณ์ที่จิตรับรู้ รับทราบ ว่าเป็นสุข หรือเป็นทุกข์ ก็พิจารณา เวทนา ความเสวยอารมณ์ ทางกาย เป็นอารมฺมณ! ติดถี่เข้าไปที่กายอีก ก็รู้ทราบชัดว่า กายนี้กลายเป็นทุกข์ใหญ่ ยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม กิน เคี้ยว ลิ้ม จิบ อุจจาระ ปัสสาวะ ล้วนต้องเปลี่ยนอิริยาบถ ล้วนต้องถ่ายเทออก ล้วนลำบากเป็นทุกข์ อิริยาบถไม่สม่ำเสมอ ทำให้ธาตุขันธ์แปรปรวนวิปริต ล้วนทำกายทำใจให้ลำบาก เป็นทุกข์ทั้งนั้น ทนได้ยากเป็นผลของกาย กลายเป็นเหตุ! ทุกข์เป็นผล!
    จิตอันอาศัยกาย กลายเกิดอยู่เป็นอยู่ จึงสำคัญมั่นหมายกาย กลายว่า เป็นกาย กลายเรา กายกลายเขา มีอุปาทานยึดมั่นกาย กลายถือเป็นตัวตน ครั้นกายกลายเปลี่ยนแปลงไปแล้ว จิตจึงลำบากจิต คิดหาการป้องกันรักษากาย กลาย บำรุงบำเรอกาย กลาย จึงได้เกิดความโลภ เพราะกายกลาย จึงเกิดความโกรธเพราะกายกลาย จึงเกิดความหลงเพราะกายกลาย จึงเกิดความโกรธเพราะกายกลาย จึงเกิดความหลงเพราะกายกลาย มีราคะ โทสะ โมหะ เพราะกายกลาย จิตจึงมีมานะ ทิฏฐิจิต แข็งกระด้าง ภาวนาไม่ลง เพราะทำใจให้ยอมรับความเป็นจริงไม่ได้ จิตจึงไม่รวมไม่สงบ อุบายวิธี ไม่ค่อยทันจิต เพราะจิตไม่ยอมรับ จิตนี้จึงเป็นมหาเหตุใหญ่ ถ้าได้ลุ่มหลงมัวเมาในกิเลสตัณหาแล้ว ก็มักเพลิดเพลินยินดี ไม่ใส่ใจในความรู้สึกว่าเป็นทุกข์ ถ้าใส่ใจยึดถืออะไรเข้าแล้ว ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นรูปดี รูปไม่ดี เสียงดี เสียงไม่ดี กลิ่นดี กลิ่นไม่ดี รสดี รสไม่ดี โผฏฐัพพะสัมผัสดี โผฏฐัพพะสัมผัสไม่ดี ธรรมารมณ์ดี ธรรมารมณ์ไม่ดี ล้วนฝังรากลึก เป็นอาสวะ อนุสัยสันดาน ถ้ายิ่งเพิ่มบุตรธิดา ภรรยาสามี ทรัพย์สมบัติ บ้านเรือน ไร่นา เรือกสวน ที่ดิน ก็ยิ่งติดลึกมาก ถอนยากแก้ยาก ใครอย่ามาชักชวนให้รู้ให้เห็นไปเที่ยวให้ทานรักษาศีล เจริญภาวนา ไปไหนไกลๆ ก็ไปยาก เป็นห่วงกังวล เป็นทุกข์สารพัด แทนที่จะไปดับทุกข์ระงับทุกข์ กลับเป็นปัญหาสร้างทุกข์เพิ่มทุกข์ให้จิตสับสนฟุ้งซ่านเพิ่มขึ้นอีก วิธีแก้จึงต้องแก้ที่จิต ให้จิตรับรู้รับทราบตามเป็นจริง ให้จิตคลายกังวลคลายความยึดถือลงเสียก่อน เพื่อถอนมานะทิฏฐิอันแข็งกระด้าง แล้วจึงสอนให้เพ่งหรือพิจารณา หรือทั้งเพ่งทั้งพิจารณา ในการภาวนา ในการพิจารณา และฝึกจิตให้อยู่กับอารมณ์เดียว ทั้งวันทั้งคืน ทั้งเดือนทั้งปี แล้วให้พิจารณาอารมณ์ พิจารณาดูจิต จิตจะมีสติสัมปชัญญะ มีสมาธิจิตตั้งมั่น ญาณความรู้มีปัญญาอารมณ์จิตผ่องใส เพราะใจได้เปลี่ยนอารมณ์ จิตจึงรู้ทราบชัดตามเป็นจริง จนถอนอุปาทานความยึดถือมั่นได้!
    ธรรม คือ ธรรมชาติ เป็นเอง ไม่มีการปรุงแต่ง ตกแต่ง เมื่อมีการปรุงแต่ง ตกแต่ง ไม่ให้เป็นไปตามธรรมชาติ หรือธรรมดา เป็นการบีบบังคับธรรมชาติ ฝืนธรรมดา จึงได้รับภัยธรรมชาติ ถูกธรรมชาติธรรมดาลงโทษ เป็นอันมาก เพราะธรรมชาติอนิจจังเป็นนิจ จึงต้องทุกข์เป็นนิจ แล้วก็อนัตตาไป ทั้งอนิจจัง ทั้งทุกขัง จิตฝืนธรรมชาติ จิตฝืนอารมณ์ จึงทุกข์มาก ธรรมชาติเป็นไป เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล แต่จิตไม่เป็นไปตามฤดูกาล ผู้มีปัญญา รู้กฎธรรมชาติจึงตั้งกฎเกณฑ์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี การผิดกฎเกณฑ์ ระเบียบประเพณี ของผู้อยู่คนละซีกโลก เพราะดินฟ้าอากาศ เชื้อชาติ ผิวพรรณแตกต่างกัน ผู้รู้ย่อมเห็นเป็นธรรมดาความเคยชิน ในธรรมชาติแตกต่างกัน กฎเกณฑ์ ระเบียบ ประเพณี สังคม สมาคม ส่วนมากให้บัญญัติคล้อยตามธรรมชาติธรรมดา ทุกข์จึงทุเลาเบาบางไม่โหดนัก ครั้นนานเข้าจิตส่วนมากจึงยึดติด ขนบธรรมเนียม ประเพณี ระเบียบแบบแผนต่างๆ หลงสมมุติ จิตจึงปรุงแต่งแข่งขันกันมาก เพราะมีปัญญาอวดความสามารถ ประกวดแข่งขันตกแต่งปรุงแต่งกันมากขึ้น จึงหลงติดกับการปรุงแต่งนั้น ส่วนพระธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติแต่งตั้งไว้ เป็นการแก้ไขความทุกข์ เพื่อความพ้นทุกข์สิ้นเชิง! ในสิ่งที่มีความยึดถือ ปรุงแต่งกันอยู่มากนั้นให้เป็นมัชฌิมาพออยู่สบาย และกลับเข้าหาสิ่งอันเป็นธรรมชาติ ธรรมดาที่ไม่มีพิษภัยอันตราย จนจิตเข้าถึงจิตเดิมความสะอาด ไม่มีอารมณ์ปรุงแต่งใดๆ มาทำจิตให้หวั่นไหวเป็นทุกข์ได้ จิตได้รับการฝึกหัดอบรมตามพระธรรมวินัยแล้ว ยอมรับธรรมชาติธรรมดา เป็นสภาวะธรรมอันเป็นจริง จนจิตเข้าถึงธรรมชาติ ธรรมดา คือความสงบ ธรรมชาติไม่ได้เจตนาเบียดเบียนใคร ธรรมชาตินั้นเที่ยงตรงอยู่เสมอ แต่จิตที่ได้ปฏิบัติเรียนรู้พระธรรมวินัย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว อยู่เหนือธรรมชาติ อยู่เหนือการปรุงแต่งจากสิ่งธรรมดา เพราะได้เรียนรู้ความทุกข์จากการมีอุปาทาน ความยึดถือมั่นการปรุงแต่งนั้นส่วนผู้ฝึกอบรมที่ยังไม่เสร็จ จิตก็ค่อยๆ เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ฝืนธรรมชาติ จิตที่ไม่ยอมรับการฝึก ก็ฝืนธรรมชาติบ้าง ตามธรรมชาติบ้าง จึงได้สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เป็นธรรมดา ผลที่จิตพิจารณาธรรมชาติแล้วรู้ ! ดับอารมณ์ธรรมชาติ ดับการปรุงแต่งธรรมชาติ จึงดูอยู่อย่างสงบ ดูธรรมชาติได้รู้ธรรมดา ความเกิดดับของธรรมชาติเป็นไปตามธรรมดา ปล่อยธรรมชาติให้เป็นไปตามธรรมดา ดังนี้แล หมายเหตุ
    เล่าถวายหลวงพ่อมหาปิ่น ชลิโต เฉพาะเรื่องกายเป็นกลาย เป็นตัวอนิจจัง เป็นมหาภูตรูป รูปใหญ่ เวทนา จิต ธรรม เป็นอุปาทายรูป รูปอาศัย เมื่อกายกลายเป็นอนิจจัง เวทนา จิต ธรรม จึงอนิจจังไปตามกายด้วย! ส่วนที่รู้มีความหวั่นไปตามความรู้สึกของอารมณ์รู้และสงบระงับ!
    หลวงพ่อมหาปิ่น ชลิโต พูดว่า อุบายปัญญาของท่านดีเป็นธรรมมีจริง และควรทำจิตให้รวมเต็มฐานของสมาธิ ปัญญา ที่รู้ของท่านจะเป็นประโยชน์มาก ให้กรรมฐาน เพ่งกระดูกหน้าอก พร้อมภาวนาพุทโธ ธัมโม สังโฆ ก่อน ๓ ครั้ง และภาวนาพุทโธไปด้วย เห็นกระดูกหน้าอกไปด้วย

    วิญญาณธาตุ


    พิจารณาธรรม วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔

    เวลา ๒๑.๒๓ น.​


    ๖. วิญญาณธาตุ ธาตุรู้มีความรู้สึก เรียกวิญญาณ วิญญาณความรู้สึกภายใน ๖ วิญญาณความรู้สึกภายนอก ๖ วิญญาณความรู้สึกภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ วิญญาณความรู้สึกภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
    วิญญาณ ความรู้สึกเกิดขึ้นที่ตา ขณะเห็นรูป ความรู้สึกเกิดขึ้นที่หู ขณะได้ยินเสียง ความรู้สึกเกิดขึ้นที่จมูก ขณะได้กลิ่น ความรู้สึกเกิดขึ้นที่ลิ้น ขณะได้รู้รส ความรู้สึกเกิดขึ้นที่กาย ขณะได้กระทบโผฏฐัพพะสัมผัส ความรู้สึกเกิดขึ้นที่ใจ ขณะได้รู้ธรรมารมณ์
    วิญญาณ ความรู้สึกเกิดขึ้นที่จิต ที่มีการกระทบสัมผัสกันแล้ว เป็นธรรมารมณ์ รู้ตามสัญญา รู้ตามอาการ รู้ตามลักษณะ ท่าทาง รู้ตามที่ได้ศึกษาเล่าเรียน รู้ตามจิตจินตนาการ รู้ตามสมมุติบัญญัติทั่วไปมีวิญญาณความรู้สึก
    ตามที่ได้เห็น ได้ยินได้ทราบได้รู้สึก ได้รู้ตามเห็นตามที่ได้ปฏิบัติตามให้มีให้เป็นขึ้น เรียกว่า ภาวนาก็ได้
    วิญญาณความรู้สึก ต้องใช้สติปัญญาพิจารณาตลอดใช่ไหม? ใช่! รู้ตามสัญญาจริงไหม? จริง! วิญญาณมีลักษณะรู้สึก ตามที่ได้รู้ได้เห็นได้สัมผัสกับอารมณ์ รู้ตามสัญญาอารมณ์ รู้สึกแล้วปรุงแต่งไปตามอารมณ์ จะเป็นอตีตารมณ์ อารมณ์อดีต ปัจจุบันนังอารมณ์ อารมณ์ปัจจุบัน และบางคราวอาจรู้สึกได้ในอนาคตอารมณ์ อารมณ์อนาคต อันเป็นความรู้สึกของวิญญาณอย่างสูง อนิจจังไม่เที่ยงใช่ไหม? ใช่!
    ถ้ามีสติสัมปชัญญะดี ก็มีความรู้สึกได้ตลอด ที่มีการกระทบสัมผัสใช่ไหม? ใช่!รู้สึกได้ตลอดมีไหม? มี!
    รู้สึกได้ไม่ตลอดมีไหม? มี! รู้สึกแล้วทำเป็นไม่รู้ได้ไหม? ได้! รู้สึกแล้วก็มีใช่ไหม? ใช่ ! รู้สึกแล้วไม่เอาก็มีใช่ไหม ? ใช่ ! รู้สึกบางทีก็รู้ภายในใช่ไหม? ใช่ ! รู้สึกบางทีก็รู้ภายนอกใช่ไหม? ใช่! รู้สึกบางก็รู้ทั้งภายในภายนอกใช่ไหม? ใช่ ! รู้สึกแล้วอุเบกขาวางเฉยได้ไหม? ได้ !
    ถ้าประสาทหรือกายะประสาททั้ง ๖ หรือทั้งหมด หรือส่วนใดส่วนหนึ่งในภายในตายไปเสีย ชำรุดเสีย พิการเสีย จะรู้สึกได้ไหม? ไม่ได้! แล้วตัวรู้ที่อาศัยประสาทสัมผัสหรือกายะประสาทสัมผัสหายไปไหน? หายไปที่จิตไม่รู้สัมผัส! ถ้าประสาทเสียหมด! ตายหมด! มันก็ว่างเปล่าทั้งหมด เพราะไม่มีวิญญาณความรู้สึกใช่ไหม? ใช่! มันว่างไปแล้ว ส่วนนั้นใช่ไหม? ใช่! ไม่มีวิญญาณความรู้สึกได้เลยจริงไหม? จริง! เป็นอนัตตาว่างเปล่าจากตัวตนได้ไหม? ได้!
    จิต มีอุปาทานยึดถือวิญญาณความรู้สึก ในความรู้สึกทั้งภายใน ทั้งภายนอกเป็นทุกข์ไหม? เป็น! จิตในจิตที่ยังอยากรู้สึกเป็นสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ใช่ไหม? ใช่!
    จิตพิจารณาจิต จิตรู้สึกในจิต รู้สึกในความรู้สึก ที่มีขณะจิต เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไปของจิต ของความรู้สึกที่จิตจนถึงความสงบระงับจิต สงบระงับความรู้สึกที่จิต เป็นนิโรธะ ความดับทุกข์ที่จิต ตัณหาความรู้สึกอยากหมดไปเหลือเป็นความเป็นเองของจิต ที่มีความรู้สึกอุเบกขาวางเฉยโดยธรรมชาติ ไม่ยึดถือแต่มีความพอดีของจิต ของความรู้สึก เป็นมรรคจิต ที่จิตถอนออกจากอุปาทาน ที่ยึดมั่นในความรู้สึกทั้งหลาย ทั้งภายในทั้งภายนอก ในขณะจิตเดียวที่พ้นจากความรู้สึกผูกพันของวิญญาณความรู้สึก จิตสงบระงับความรู้สึกโดยชอบ ไม่หวั่นไหวในอารมณ์ ไม่หวั่นไหวกับความรู้สึก ธาตุทั้ง ๖ แม้มีอยู่ก็เหมือนไม่มี ความรู้สึกในธาตุทั้ง ๖ ที่เคยมีว่าเป็นเรา เป็นของเรา เราเป็นธาตุ ๖ ธาตุ ๖ เป็นเรา เรามีอยู่ในธาตุ ๖ ธาตุ ๖ มีอยู่ในเรา หมดความสงสัย สักกายทิฏฐิก็พลอยสิ้นไปด้วย ความลังเลสงสัยในธาตุ ๖ ก็ดับ สีลพตปรามาสก็ไม่มี กามราคะ ปฏิฆะ ก็ไม่กระทบก่อกวน รูปราคะ อรูปราคะ ก็เป็นสิ่งธรรมดา อุทธัจจะก็หายฟุ้งซ่าน มานะอวิชชา ก็อุเบกขาวางเฉยด้วยความรู้ จิตสงบมีญานรู้ในความรู้ พ้นจากความเป็นทาสของอารมณ์ ๖ ของธาตุรู้ ๖ อยู่ด้วย ใจสบาย สงบ สงัด วิเวกจิต ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นวัตถุธาตุ จัดเป็นรูปธรรม อากาศวิญญาณ จัดเป็นนามธรรม เพราะเนื่องกับจิตและสัมพันธ์กับกาย จึงปรากฏเป็นรูปธรรมนามธรรม
    เป็นรูปเป็นนาม เป็นนามรูป รูปนามขันธ์ ๕ ในปัจจยาการ ท่านจัดเอานามไว้หน้า เอารูปไว้หลัง สมมุติเรียก นามรูปเพราะอะไร? เพราะเอานามจิตความรู้สึกส่วนรู้เป็นสำคัญ ส่วนรูปหรือกาย เอาไว้เป็นบ่าวรับใช้จิตเจ้านาย !
    มีความรู้แต่ไม่ใช้ความรู้จะดีไหม? ไม่ดีค่ะ! ผู้มีความรู้ใช้ความรู้ซะหมดเลยดีไหม? ไม่ดีค่ะ! ความฉลาดพบกับความเฉียบขาด ผลเป็นไง ก็จ๋อยไปนะซิคะ! แฮ่!! ใครมีความรู้ก็วิจารณ์ได้ ใครไม่มีความรอบรู้ก็วิจารณ์บ่ได้ฮิ!! คนที่มีความรู้แล้วไม่วิจารณ์คงมีไม่ใช่เหรอ!! แฮ่!! คนดีด้วย เก่งด้วย มีความรอบรู้ด้วย มีความชำนาญด้วย เป็นยังไง! ก็ดีมากๆ !! คนดีมีศีลธรรมพ้นทุกข์ได้เป็นผู้ประเสริฐ วิญญาณ ความรู้สึกภายในวิญญาณ ความรู้สึกภายนอก เมื่อถึงกาลสมัยก็แปรไปเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้แล
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมขออนุโมทนาบุญกับพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ ,คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ,พระอริยสงฆ์ทุกๆพระองค์ ขออนุโมทนาบุญกับพระอาจารย์นพพร ด้วยครับ

    [b-wai] [b-wai] [b-wai] [b-wai] [b-wai]
    .
     
  8. สักกะ

    สักกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    3,405
    ค่าพลัง:
    +12,014
    วันนี้ผมโอนเงิน 330 บาท ร่วมบุญค่าขุดบ่อบาดาล สนส บ่อเงินบ่อทอง เรียบร้อยแล้วครับ
     
  9. sacrifar

    sacrifar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    551
    ค่าพลัง:
    +3,221
    เหรียญแบบนี้ของท่านเจ้าคุณสมเด็จสร้างไว้หรือเปล่าครับ สมัยนั้นมีการทำพระเหรียญแล้วหรือยัง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    เท่าที่เคยเห็น เหรียญจะมีสร้างในปี พ.ศ.2451 ครับ หรือเป็นเหรียญที่สร้างขึ้นในสมัยรัชการที่ 5

    แต่เหรียญนี้ ผมว่าไม่ใช่ครับ ถ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีท่านเสก ก็คงเป็นการเชิญโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีมาในลักษณะอทิสมันกายครับ ไม่ทันสมเด็จโตแน่นอน

    สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีท่านไม่เคยสร้างพระพิมพ์หรือวัตถุมงคลเลย ยกเว้นแต่บางครั้งอาจจะกดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ครับ ผู้ที่สร้างส่วนใหญ่จะเป็นช่างสิบหมู่หรือพระเณรในวัดครับ

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><THEAD><TR><TD class=tcat colSpan=2>มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?</TD></TR></THEAD><!-- logged-in users --><TBODY><TR><TD class=thead colSpan=2>[​IMG] คน Online อยู่บนบอร์ดในขณะนี้: 4 ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 3 คน) </TD></TR></TBODY><TBODY id=collapseobj_forumhome_activeusers><TR><TD class=alt2>[​IMG]</TD><TD class=alt1 width="100%">สถิติที่เคยมีคน online พร้อมกันมากที่สุด 2,452 คน, เมื่อ วันที่10-12-2006 เวลา 11:12 AM.
    sithiphong

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    แปลกดีครับ มีผมคนเดียว
    .
     
  12. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113

    เหรียญปั๊มมีการจัดสร้างครั้งแรกประมาณปี2475 ซึ่งดูจากเหรียญแล้วเป็นเหรียญปั๊มจึงไม่น่าทันสมเด็จฯโต



    .
     
  13. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE id=Table8 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD align=left width=155 height=42><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TR><TD class=message-copyright vAlign=top align=middle height=10>คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR><TR><TD style="HEIGHT: 2px" vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle bgColor=#fbe5f2 height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle bgColor=#fbe5f2 height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle bgColor=#fbe5f2 height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle bgColor=#fbe5f2 height=20></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD class=message-normal vAlign=top align=middle height=10><SCRIPT>// URLs of slidesvar slideurl = new Array('http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/variety/1/13/113853_44096.jpg','http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/variety/1/13/113853_44097.jpg','http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/variety/1/13/113853_44098.jpg','http://ads.dailynews.co.th/news/images/2007/variety/1/13/113853_44099.jpg') ;// Comments displayed below the slidesvar slidecomment = new Array('','','','');var picNo = new Array('0','1','2','3');var i;var j;var picturecontent=''function poppic(ncId,NewsType,picNum){window.open('/dailynews/pages/front_th/popup_news/popup_news_popuppic.aspx?ncId=' + ncId + '&NewsType=' + NewsType + '&picNum='+picNo[picNum],'','menubar=no,toolbar=no,location=no,directories=no,status=no,scrollbars=yes,resizable=yes,dependent,,');}function createtable(){picturecontent ='<table width=100% cellSpacing=5 cellPadding=0 border=0>' ;for (i=0;i<=(slideurl.length-1);i++) {picturecontent +='<tr>' ;picturecontent +='<td vAlign=top align=center>' ;picturecontent += '';picturecontent += '[​IMG]' ;picturecontent += '</td>' ;picturecontent +='</tr>' ;picturecontent +='<tr>' ;picturecontent += '<td bgcolor=#fbe5f2 class=messageblack vAlign=middle align=center height=20>' ;picturecontent+=slidecomment ;picturecontent +='</td>' ;picturecontent +='</tr>' ;}picturecontent+='</table>' ;hlblTable.innerHTML=''+picturecontent+'';}</SCRIPT>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top align=left width=11 background=/dailynews/images/front_th/bkk_local/bg_dot_up.gif height=42></TD><TD class=messageblack width="100%" height=42><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD class=headline-normal>[​IMG] กระเบื้องเทวดา เทพนมนรสิงห์</TD></TR><TR vAlign=top align=left><TD class=messageblack> เกือบจะพูดได้ว่าเครื่องถ้วยเบญจรงค์เป็นเครื่องถ้วยชนิดแรกที่ชาวต่างชาติชื่นชอบและคนไทยส่วนหนึ่งชื่นชม เพราะเชื่อกันว่าเป็นเอกลักษณ์ไทยอย่างถ้วยเบญจรงค์มีมานานมาก นานเกือบจะจำไม่ได้เพราะเกิดมาผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านก็ชี้ไปที่ตู้เก่า ๆ ในบ้านบอกว่า “ชามเบญจรงค์” ในสมัยนั้นเราก็คงไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่าเห็นชามหลากสี ๒-๓ ใบนี้วางซ้อนกันในตู้โชว์ แถมเขียนลายจักร ๆ วงศ์ ๆ อะไรก็ไม่รู้

    ต่อมาเกิดต้องทำงานเกี่ยวกับถ้วยโถโอชามเครื่องถ้วยกะลาแตกพวกนี้จึงเริ่มสนใจโดยหน้าที่และมีใจรักอยู่บ้างแต่ก็ไม่มากนักพอที่จะเอามาเป็นสาระแห่งชีวิต แต่ก็พอสรุปได้อย่างงู ๆ ปลา ๆ ว่า

    เครื่องถ้วยเบญจรงค์ของเก่าที่ยายบอกกล่าวเล่าขานนั้นจะเป็นถ้วยชามเบญจ รงค์ลายเทพนมนรสิงห์ ซึ่ง
    เป็นลายที่เก่าและชื่อฟังดูก็เร้าใจเอาเรื่อง ทำไมต้องเทพนมแถมมีนรสิงห์เข้าไปอีกก็ไม่เข้าใจว่าศิลปินท่านผูกลายอย่างไรจึงใช้รูปนี้ แต่รูปเทพนมเคยเห็นบ้างเป็นลายเก่าแก่นั้นเป็นพัน ๆ ปี คือ ท่าที่เทวดาพนมมือนี้มีมาก่อนไทยสยามนานแล้ว อีกทั้งมันก็มีอย่างน้อยก็สมัยพระเจ้าถึงซำจั๋งที่มีลูกศิษย์คือตือโป้วก่าย คือพี่หมูกับหงอคง คือลิงเจ้าปัญญานี่เอง เพราะเป็นยุคที่พุทธศาสนาเฟื่องฟูสำหรับรูปครึ่งคนครึ่งสัตว์ก็เห็นมานมนานในโลกยุคโบราณยุคก่อนที่จะมีพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์เสียอีกนั้น คือ ตัวสฟิ้งซ์ของฟาโรห์อัมเมเนมเมสที่ ๓ จากเมืองทานิส ในประเทศอียิปต์ จำหลักด้วยหินแกรนิตสีดำอายุประมาณ ๑,๘๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล นับเป็นตัวสฟิ้งซ์ที่มีลักษณะของคนกึ่งสิงโตมากที่สุด ซึ่งคติความเชื่อเรื่องเทพที่สถิตอยู่ในสัตว์ใหญ่นั้นมีมาแล้วตั้งแต่ยุคอารยธรรมดึกดำบรรพ์

    สฟิ้งซ์ เป็นสัญลักษณ์ของฟาโรห์เป็นเครื่องหมายแห่งพุทธิปัญญาและอำนาจซึ่งมีอยู่หลายแบบด้วยกันทั้งที่หน้าเป็นคน เป็นหน้าแกะ และหน้าเป็นเหยี่ยวนกเขาแต่ตัวคงเป็นสิงโต

    คติความเชื่อของคนโบราณในยุคนั้นอาจมีการถ่ายทอดกันมาโดยตรงหรือโดยเทพนิยายซึ่งมีความคิดไม่แตกต่างกันมากนัก สำหรับนรสิงห์ของไทยคงเป็นความเชื่อกันต่อมา แม้นในปัจจุบันถ้าจะพูดว่านรสิงห์นั้นเป็นเรื่องราวของลิลิตนารายณ์สิบปาง ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เนื้อเรื่องกล่าวถึงการอวตารปางต่าง ๆ ทั้ง ๑๐ ปาง ของพระนารายณ์เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๖๕ ซึ่ง
    ภาพนารายณ์สิบปางนี้มีภาพเขียนฝาผนังอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเนื้อเรื่อง ทำนองเดียวกันกับเรื่อง ฮินดูทอลอจี แต่งโดย เจ.ดับเบิลยู. วินกินส์ ซึ่งเป็น
    หนังสือเก๋ากึกจัดเป็นคัมภีร์ได้เล่มหนึ่ง ซึ่งต่อมาค้นเค้าเรื่องจาก หนังสือสมุดไทย ในหอหลวงพระบรมมหาราชวัง ซึ่งน่าเชื่อว่า เจ้าฟ้าอิศราพงษ์ ทรงพระดำริสร้างขึ้นในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จริง ๆ แล้วในลักษณะนรสิงห์นั้นพบปรากฏอยู่บ่อยในประติมากรรมศิลาจำหลักตั้งในรูปลอยตัวและภาพนูนต่ำ ตั้งแต่สมัยนครวัดซึ่งเป็นรูปประติมากรรมที่สนใจแต่ในตำราภาพเลขที่ ๓๑ ของกรมศิลปากรเรื่องสมุดพระเทวรูปเทวดานพเคราะห์เทวดาโภไทยธิบาทแสดงภาพสัตว์ มนุษย์ อมนุษย์ และเทวดาในเรื่องนารายณ์สิบปาง ตอนที่ ๕ สิหาวตาร อวตาร เป็นนรสิงห์ปราบ
    หริรัณยกศิปุ ซึ่งเป็นน้องชายฝาแฝดของหริรัณยากษะ ซึ่งแพ้พระวราห์ (พระนารายณ์ปางที่ ๔ เป็นหมูป่า) หริรัณยกศิปุมีความอาฆาตเคียดแค้นพระนารายณ์ เพราะทำร้ายพี่ชายและมุ่งมาดจิตจงชังตั้งจิตเกลียด จึงตั้งใจบำเพ็ญตบะเดชะเพื่อไปขอพรจากพระพรหมสี่ประการ พระพรหมทรงเมตตาปรานีประสาทพรให้แล้วอสูรหริรัณยกศิปุจึงขอพรจากพระพรหมมหาเทพองค์สำคัญว่า “อย่าให้เทพมนุษย์สุดจนเดรัจฉานสังหารตนตายได้ อีกอย่าให้ม้วยมุดด้วยอาวุธใดใด อย่าให้ตายกลางวันอันกลางคืนไม่ตายภายในเรือนในรอดปลอดภัยนอกเรือน” ครั้งได้พรจากพระพรหมหริรัณยกศิปุก็มีใจกำแหงกำเริบสืบสานหลงอำนาจอวดศักดาคิดว่าตนเป็นอมตะนิรันดร์กาล พูดจาอวดอำนาจยกตนข่มท่านว่า ตนเป็นเจ้าเป็นจอมทั้งสามโลก

    บุตรหริรัณย์ จึงบอกว่า พระนารายณ์ท่านมีฤทธิ์สิงสถิตอยู่ทุกหนทุกแห่ง แม้นแต่ในตัวบุตรของหริรัณยกศิปุเอง ทำให้หริรัณย์โกรธแค้นมากและพูดดูถูกประชดประชัน ถ้างั้นองค์พระนารายณ์ก็คงจะสถิตแม้นในเสานี่ด้วยซิ ว่าแล้วก็เอาคทาฟาดเปรี้ยงลงบนเสาปราสาท ด้วยสติแตกพระนารายณ์อวตารพังเสาออกและออกมาเป็น “นรสิงห์” คือ มีพระเศียรเป็นสิงห์ และพระกายเป็นมนุษย์ ทรงแสดงเล็บกรด (เล็บพิษ) และตวาดก้องเป็นจังงัง แล้วจับหริรัณย์ยักษ์ร้ายลากลู่ถูถังแม้นหิรัณย์ยักษ์
    จะดิ้นรนสุดกำลังก็หาพ้นกำลังของนรสิงห์ได้ นรสิงห์จึงตั้งคำถามว่า “กูนี่อะไรหนอ จงบอกมาให้แจ้ง เป็นคนหรือเป็นสัตว์” หริรัณยกศิปุจำต้องตอบว่า ไม่เคยเห็นว่าไม่ใช่มนุษย์ ไม่ใช่สัตว์ เป็นสองอย่างรวมกัน พระนารายณ์ปุหัตถ์ชี้ไปที่เล็บถามว่าอาวุธใด ยักษ์ตอบว่าไม่ใช่อาวุธอย่างใด ดูเป็นเล็บแหลมคมอาบกรดพิษ

    นรสิงห์ ถามต่อไปอีกว่าบัดนี้เวลาใด ยักษ์เพ่งดูตะวันซึ่งกำลังจะลับขอบฟ้า ซึ่งเป็นหัวต่อระหว่างทิวากับราตรี

    นรสิงห์ ถามต่อว่า ตอนนี้อยู่ในหรือนอกอาคาร ยักษ์ตอบว่าอยู่ตรงชายคาตรงช่องประตู นรสิงห์ ถึงบอกกับจอมยักษ์ กูคือ “พิษณุ” ซึ่งมึงอหังการท้ากูอยู่เสมอมา อ้ายถ่อยจิตคิดแก้ฉันใด

    จอมยักษ์หน้าเหลี่ยม
    หัวล้านตกใจอึ้งพูดไม่ออกบอกไม่ถูกว่า กำลังรบอยู่กับใคร หริรัณย์ ยักษ์หน้าเหลี่ยมหัวล้านหน้าซีด ประดุจดั่งไก่ต้มวันตรุษจีน ทันใดนรสิงห์ฉีกอกยักษ์ห้าวทะลวงแหวะถึงพุงดึงไส้หลุด มอดม้วยในบัดดล

    หลังจากจัดการกับอริร้ายแล้ว ทรงแปลงรูปเป็นองค์พระนารายณ์ พระหัตถ์ทรงจักร ตรี คทา สังข์ เหล่ายักษ์และเทพทั้งหลายก็ก้มลงกราบอัญชลีและถวายตัวเป็นทาสสุดแต่จะทรงใช้ต่อไป

    เรื่องเทวนิยายเรื่องนี้เป็นที่นิยมกันมากเมื่อราว ๙๐๐ ปีที่แล้ว ในเอเชียจึงนิยมจำหลักเป็นทับหลังในปราสาทหินในเขมร และสลักเรื่องราวเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจกับผู้ที่มีอำนาจ วาสนา ในยุคต่อมาว่า อย่าหลงระเริงมัวเมากับอำนาจ ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วยังมีอำนาจที่ยังมองไม่เห็นพิสูจน์ไม่ได้อีกมากยิ่งนัก มีลาภย่อมเสื่อมลาภ มียศย่อมเสื่อมยศ หากไม่มีทั้งสองย่อมไม่มีอะไรจะเสีย จะเสื่อม!

    จากเทวนิยายนี้ความนิยมในเทพนิยายหรือเทวนิยายนี้เป็นแนวคิดที่จะประดิษฐ์เรื่องราวลงบนเครื่องชามจีนผสมไทย คือเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ เทพนมนรสิงห์
    ซึ่งแท้จริงแล้วในวิชาเทววิทยาก็กล่าวยกย่องมหาเทพทั้งสามองค์ คือ พระนารายณ์ พระอิศวร พระพรหม ซึ่งในทางศาสนาพราหมณ์ใช้รวมอ่านออกเสียงว่า “โอม” นั่นเอง ซึ่งเป็นเสียงสวดหมายถึงเทพเจ้าดังกล่าว ส่วนชาวพุทธอาจหมายถึง มะอะอุ ซึ่งแปลเป็น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผิดถูกก็อย่าว่ากัน พระก็มีอะไร ๆ คล้าย ๆ กันหลาย
    อย่างทั้งพุทธ ทั้งพราหมณ์ เป็นศาสนาคู่แฝด ซึ่งหลักฐานสำคัญอยู่ที่ผนังถ้ำพระโพธิสัตว์ อำเภอแก่งคอยคำ จังหวัดสระบุรี แสดงคติความเชื่อทั้งพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ นับถือพระนารายณ์

    เครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ที่เห็นกันอยู่นี้มีอยู่ ๓ แบบ หลากหลายเทคนิควิธีในการเขียนสีลงยา

    ๑.เครื่องถ้วยชามเบญจรงค์แบบจีนแท้ คือ ตัวเนื้อดินปั้นเป็นของจีน คนเขียนเป็นคนจีน แบบศิลปะจีน

    ๒. แบบกึ่ง ๆ คือ เป็นลายที่ไทยเขียนแบบออกไปและมีช่างออกไปกำกับ ซึ่งเป็นช่างที่เข้าใจภาพจิตรกรรมไทยเป็นอย่างดี

    ๓. เป็นของทำเลียนแบบเบญจรงค์ยุคแรกและประยุกต์ย้อนยุคตามรูปแบบและความต้องการของตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นชุดชามฝาและถ้าโชคดีก็จะพบตราประทับเป็นตราโบ อักษร ๔ ตัว อ่านแบบภาษาไทยว่า ฉิง หยวน เหอร์ จี่ ซึ่งเชื่อว่าเป็นชื่อบริษัทที่นำเข้าหรือผู้สั่งนั่นเอง ซึ่งคงมีอายุอยู่ในราว ๆ ค.ศ. ๑๘๖๒-๑๘๗๕ ส่วนในรัชกาลพระเจ้าถงซี่ในสมัยราชวงศ์ซิงหรือสมัยพระเจ้าเต้ากวง ค.ศ. ๑๘๒๑-๒๘๕๐ ซึ่งรวมสมัยกับ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

    จากหลักฐานดังกล่าวอาจกล่าวสรุปได้ว่าเครื่องถ้วยชามพิเศษ เช่น ลายเทพนมนรสิงห์ ลายเทพนม ลายเทพนมสิงห์ไทย และเทพนมครุฑ นั้นใช้เฉพาะงานพิธีบูชาเทวดาหรือใส่อาหารสำหรับถวายพระสมณศักดิ์ผู้ใหญ่หรืออาจเป็นชามบายศรีบูชาปู่ครู หรือใส่อาหารซึ่งมิใช่อาหารสำหรับมนุษย์บนโลกปัจจุบันใบนี้ก็เป็นไปได้และยังได้พบในตำรายาโบราณที่รักษาโรคภัยที่หมอธรรมดามิอาจรักษาได้ในส่วนผสมจะมีเศษชามเบญจรงค์ลายเทพนมนรสิงห์ใส่ลงไปด้วย ทั้งนี้หมอโบราณอาจอุปมาดั่งโรคร้ายก็คือ หริรัณย์ยักษ์ ซึ่งต้องปราบด้วยนรสิงห์นั่นเอง!.
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ref.http://www.dailynews.co.th/dailynew...ault.aspx?Newsid=113853&NewsType=1&Template=2
     
  14. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    เทพเจ้าแห่งโชคลาภแดนอาทิตย์อุทัย

    <SCRIPT language=JavaScript src="/global_js/global_function.js"></SCRIPT><!--START-->คอลัมน์ รู้ไปโม้ด น้าชาติ ประชาชื่น

    เดี๋ยวกระแสแฟชั่นญี่ปุ่นกำลังมาแรงค่ะ อะไรที่เป็นญี่ปุ่นดูจะเป็นที่น่าสนใจไปซะหมด ไม่เว้นแม้กระทั่งเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ที่พ่อค้าแม่ค้าหัวใสนำมาย่อส่วนให้มีขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะแก่การพกพา ไม่ว่าจะนำไปคล้องไว้ที่โทรศัพท์มือถือ หรือกระเป๋าหรือนำไปตั้งโชว์ก็มีให้เห็นกันบ่อยๆ หลายๆ คนอาจจะซื้อเพราะความน่ารักเก๋ไก๋ และอาจจะแถมโชคลาภแก่เจ้าของเข้าไปด้วย แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ตำนานความเป็นมาอย่างแท้จริง วันนี้พี่อะตอมเลยขอพาน้องๆ มาทำความรู้จักกับเทพเจ้าแห่งโชคภาพจากแดนอาทิตย์อุทัยกันค่ะ...

    เทพเจ้าแห่งโชคลาภของญี่ปุ่นมีด้วยกัน 7 องค์ รวมเรียก "ชิจิ ฟุกุยิน - Shichi Fukujin" ทั้ง 7 มาจากเทพนิยายและเรื่องเล่าต่อๆ กันมา แต่ละองค์อำนวยโชคชัยในกิจการอันแตกต่างกันไป


    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    "เอบิซุ" เทพแห่งชาวประมงและการค้าขาย มักพบเห็นท่านถือปลาและเบ็ดตกปลาเสมอ เป็นเทพเจ้าองค์เดียวในหมู่เทพทั้ง 7 ที่มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่น เดิมเทพองค์นี้มีชื่อว่า ฮิรุโกะ ซึ่งแปลว่า บุตรแห่งสายน้ำ ตามร้านอาหารทะเลก็มักนำรูปปั้นเอบิซุมาประดับด้วย

    "ไดโกกุ" เทพแห่งความมั่งคั่ง การเพาะปลูก และเทพคุ้มครองข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน โดยเฉพาะในห้องครัว เป็นเทพที่มีต้นกำเนิดตามความเชื่อของลัทธิเต๋า หรือตามตำนานอินเดีย คือ พระศิวะ มักเห็นท่านถือค้อนเงินและถือถุงข้าวสาร พร้อมใบหน้าอันยิ้มแย้มแจ่มใส ในบางครั้งจะพบหนูตัวเล็กๆ อยู่ข้างๆ ท่านด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ ตามร้านขายของมักนำท่านมาประดับเพื่อเป็นสิริมงคล

    "บิชามอน" เทพแห่งอัศวินและเหล่านักรบ ตามตำนานญี่ปุ่นท่านเป็น 1 ในอสูรปกครองศักดิ์สิทธิทั้ง 4 ฉายา เต่าดำแห่งทิศเหนือ หรือตามตำนานอินเดียท่านอยู่ในนามของ ท้าวกุเวร เทพดาประจำทิศเหนือ และตามตำนานอื่นๆ ในเอเชียด้วยชื่อต่างๆ ซึ่งล้วนแต่แปลว่า ผู้ฟังมาก (เชื่อกันว่าท่านเป็นเทพที่คอยปกป้องพระพุทธเจ้าขณะที่พระองค์แสดงพระธรรมที่เขาพระสุเมรุ) ตามตำนานญี่ปุ่นบิชามอนเท็นเป็นเทพแห่งสงครามผู้ขับไล่ปีศาจต่างๆ ที่เป็นอัปมงคล และรวมถึงปกป้องทรัพย์สินในบ้านจากภัยอันตรายต่างๆ โดยมือข้างหนึ่งจะถือหอกเป็นอาวุธ ส่วนอีกข้างหนึ่งถือเจดีย์อันเล็กๆ

    "เบ็นเท็น" เทพเจ้าองค์เดียวที่เป็นผู้หญิง เป็นเทพแห่งศิลปะและความงาม มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย คือ ท้าวลักษมี มักพบท่านในลักษณะของนางฟ้าที่กำลังเล่นเครื่องดนตรีเครื่องสายของญี่ปุ่น


    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    "ฟุกุโรกุยู" เทพแห่งความสุข ความมั่งคั่ง และอายุยืน เป็นเทพอาวุโสมีเครายาว หน้าผากสูง มีสมุดที่บันทึกอายุขัยของมนุษย์บนโลก มักพบท่านพร้อมกับนกกระเรียน เต่า รวมถึงกวางดำ ซึ่งมีความเชื่อว่ากวางที่อายุ 2,000 ปี จะเปลี่ยนสีเป็นสีดำ ซึ่งล้วนเป็นสัญลักษณ์แห่งอายุที่ยืนนานทั้งสิ้น

    "โฮเท" เทพเจ้าที่ร่างอ้วนท้วนสมบูรณ์ เป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และสุขภาพ รูปลักษณ์ของท่านเหมือนพระสังกัจจายน์ด้วย หรือที่รู้จักกันตามตำนานอื่นๆ บางครั้งกล่าวว่าท่านเป็น พระศรีอารยะ หรือ พระพุทธเจ้าองค์ต่อไป นอกจากนั้นท่านยังมีรูปลักษณ์ที่เป็นมิตรและร่าเริง จึงเป็นที่รู้จักกันอีกนามหนึ่งคือ พระหัวเราะ รูปปั้นของท่านถูกตั้งตามร้านอาหาร โรงแรม และเป็นเครื่องรางแพร่หลายไปทั่วเอเชีย

    "จูโรยิน" เทพแห่งอายุยืน มักถูกจำสับสนกับ ฟุกุโรกุยู ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกัน เป็นเทพอาวุโสถือไม้เท้าและพัด พร้อมด้วยกวางดำเดินตามข้างหลัง

    รู้จักเทพเจ้าแห่งโชคลาภแดนอาทิตย์อุทัยกันไปแล้วนะคะ ใครจะหามาพกพาบูชาเพื่อเสริมดวง เรียกโชคลาภ ก็ไม่ว่ากัน แต่อย่าลืมว่าการเป็นคนดี คิดดี ประพฤติดี แค่นี้ก็ทำให้ชีวิตพบแต่ความสุข ความเจริญแล้วค่ะ<!--END-->
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันนี้ข้าพเจ้า,ภรรยา และครอบครัว ได้ถวายพระพิมพ์วังหน้าและปัจจัย ถวายพระอาจารย์รูปหนึ่ง และถวายพระพิมพ์วังหน้า ถวายพระอาจารย์นิล ขอให้ คุณบิดา มารดา พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ , คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้งหมด ,พระอรหันต์ทุกๆพระองค์,พระมหาโพธิสัตว์และพระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ และทั้ง ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดิน ผู้มีพระคุณ ญาติกาครูอุปัชฌาย์อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร ปู่ ย่า ตา ยาย เทวดาประจำตัวข้าพเจ้า ,เทวดาประจำองค์พระพิมพ์ทุกองค์ ,พระมหากษัตริย์ทุกๆพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช,สมเด็จพระเอกาทศรถ,สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ,พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ,พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ,พระยาพิชัยดาบหัก ,กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ,กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ,พระสยามเทวาธิราช ,พระภูมิ-เจ้าที่ที่บ้านข้าพเจ้า ,แม่ย่านางรถของข้าพเจ้า,ผู้ที่เสียสละให้กับแผ่นดินไทยทุกท่าน ,ท่านผู้เสกทุกท่าน ,เจ้าของและผู้สร้างพระพิมพ์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร-พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าทุกท่าน-พระพิมพ์ของวังหน้าและพระกรุวัดพระแก้วทุกท่าน,ท่านผู้เสกทุกท่าน ,เจ้าของและผู้สร้างวัตถุมงคลของวังหน้า-กรุวัดพระแก้ว-วัตถุมงคลหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทุกประเภทที่ข้าพเจ้ามีอยู่ , เพื่อนสนิทมิตรสหายทั้งหลาย เพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา พระเพลิง พระพาย แม่พระโพสพ พระภูมิ-เจ้าที่ พระมหาฤาษีและพระฤาษีทุกๆตน พระพิรุณ พยายมราช นายนิริยบาล ทั้งท้าวจตุโลกะบาลทั้งสี่ ศิริพุทธอำมาตย์ ชั้นจาตุมะหาราชิกาเบื้องบนจนถึงที่สุด พรหมาเบื้องต่ำตั้งแต่อเวจีขึ้นมาจนถึงมนุษย์โลก โดยรอบสุดขอบจักรวาลอนันตะจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัยและเทพยดาทั้งหลายตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยม ยักษ์ คนธรรพ์ นาคา ขอให้มาอนุโมทนาในบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ทำในครั้งนี้ด้วยเทอญ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อิมินาปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้า,ภรรยา และครอบครัว ได้ ถวายพระพิมพ์วังหน้าและปัจจัย ถวายพระอาจารย์รูปหนึ่ง และถวายพระพิมพ์วังหน้า ถวายพระอาจารย์นิล ขออุทิศส่วนกุศลให้แก่ คุณบิดา มารดา พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้งหมด ,พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ ,พระมหาโพธิสัตว์และพระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ ,ตัวข้าพเจ้าและทั้ง ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดิน ผู้มีพระคุณ ญาติกาครูอุปัชฌาย์อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร ปู่ ย่า ตา ยาย เทวดาประจำตัวข้าพเจ้า ,เทวดาประจำองค์พระพิมพ์ทุกองค์ ,พระมหากษัตริย์ทุกๆพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช,สมเด็จพระเอกาทศรถ,สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ,พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ,พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ,พระยาพิชัยดาบหัก ,กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ,กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ,พระสยามเทวาธิราช ,พระภูมิ-เจ้าที่ที่บ้านข้าพเจ้า ,แม่ย่านางรถของข้าพเจ้า,ผู้ที่เสียสละให้กับแผ่นดินไทยทุกท่าน ,ท่านผู้เสกทุกท่าน ,เจ้าของและผู้สร้างพระพิมพ์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร-พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าทุกท่าน-พระพิมพ์ของวังหน้าและพระกรุวัดพระแก้วทุกท่าน, ท่านผู้เสกทุกท่าน เจ้าของและผู้สร้างวัตถุมงคลของวังหน้า-กรุวัดพระแก้ว-วัตถุมงคลหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทุกประเภทที่ข้าพเจ้ามีอยู่ , เพื่อนสนิทมิตรสหายทั้งหลาย เพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา พระเพลิง พระพาย แม่พระโพสพ พระภูมิ-เจ้าที่ พระมหาฤาษีและพระฤาษีทุกๆตน พระพิรุณ พยายมราช นายนิริยบาล ทั้งท้าวจตุโลกะบาลทั้งสี่ ศิริพุทธอำมาตย์ ชั้นจาตุมะหาราชิกาเบื้องบนจนถึงที่สุด พรหมาเบื้องต่ำตั้งแต่อเวจีขึ้นมาจนถึงมนุษย์โลก โดยรอบสุดขอบจักรวาลอนันตะจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัยและเทพยดาทั้งหลายตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยม ยักษ์ คนธรรพ์ นาคา ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์ ขอให้พ้นจากทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ท่านได้สุข ขอให้สุขยิ่งๆขึ้นไป ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าอุทิศไปให้นี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้ถึงพระนิพพานในปัจจุบันและอนาคตเบื้องหน้าโน้นเทอญ ฯ

    พุทธังอนันตัง ธัมมังจัรวาลัง สังฆังนิพพานัง ปัจจโยโหนตุ

    ***********************************************
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2007
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ช่วยดูหน่อยครับเป็นสมเด็จวัดไหน
    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=67002


    <TABLE class=tborder id=post450420 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">เมื่อวานนี้, 12:11 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#1 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>praw@ti<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_450420", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: เมื่อวานนี้ 04:18 PM
    วันที่สมัคร: Jan 2007
    ข้อความ: 5 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 28 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 18 ครั้ง ใน 5 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_450420 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->ช่วยดูหน่อยครับเป็นสมเด็จวัดไหน
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->ผมได้มาจากพระอาจารย์ที่นับถือมากๆทางเหนือครับ,ในองค์พระส่องดูแล้วมีผงตะไบทองทั้งด้านหน้าและด้านหลังเห็นชัดเจนมาก,มีคนบอกว่าเป็นของวัดที่อยู่ในกรุงเทพฯผมจำไม่ได้แล้วแต่ผมไปเทียบดูแล้วคนละแบบกันเลย.....รบกวนผู้รู้ช่วยผมหน่อยครับ
    <!-- / message --><!-- attachments -->
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=tborder id=post451076 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">เมื่อวานนี้, 01:42 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#3 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>มันตรัย<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_451076", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 05:02 PM
    วันที่สมัคร: Oct 2006
    ข้อความ: 110 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 0 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 333 ครั้ง ใน 95 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 48 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_451076 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->เป็นพระเก๊ที่วางขายแถวหน้าวัดมหาธาตุครับ มีมาหลายสิบปี คนที่ไม่เคยเข้าสนามหรืออ่านหนังสือพระแท้ๆก็จะหลงเชื่อไปว่าแท้เพราะผู้ใหญ่ให้มานั่นก็มี พระเหล่านี้มามากมายแถวท่าพระจันทร์ หรือตามสนามพระพญาไม้ แต่ก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัยเหมือนกัน มีทั้งสายรุ้ง ก้างปลา แจวเรือจ้าง สมเด็จม้วน ฝังเพรชฝังพลอย ทาสีลงรัก ปิดทอง แต่พระเหล่านี้ก็จะมีคนกลุ่มนึงซึ่งเล่นหาและมีเป็นกลุ่มก้อนพอสมควรมีทุกระดับชั้น แต่ถ้าวงการพระที่เล่นหาพระแบบถูกต้องไม่ใช้ฟังจากนิทาน ก็จะไม่รับพระเหล่านี้เข้ามาในสารบบ ถ้าไม่รู้ก็อย่าไปสนใจเลยครับ แขวนแล้วไม่มีประโยชน์ หาพระยี่สิบห้าพศวแท้ๆ(ต้องแท้ๆด้วยนะครับ เพราะของเก๊เกลื่อนเมืองครับ)มาแขวนดีกว่าครับ หรือไม่ก็พระเกจิที่เชื่อได้ว่าเก่งจริงไม่อุปโลกน์ขึ้นมา
    <!-- / message --><!-- sig -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=tborder id=post451109 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">เมื่อวานนี้, 02:05 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#4 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>sithiphong<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_451109", true); </SCRIPT>
    สมาชิก GOLD
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 09:24 PM
    วันที่สมัคร: Dec 2005
    ข้อความ: 8,406 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 6,918 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 35,150 ครั้ง ใน 5,311 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 4378 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_451109 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->.
    [​IMG] [​IMG]

    เท่าที่ดูจะเป็นพระกรุวัดพระแก้ว เป็นพระอยู่ในพระราชพิธีหลวง ปี พ.ศ.2451 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นประธานฝ่ายฆารวาส เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมฉลองรัชกาลที่ 5 ครองราชย์ครบ 40 ปี ส่วนทองนั้น ลองไปพิสูจน์ดูนะครับ ทองจะต้องเป็นทองคำแท้ ลองแกะและนำไปให้ร้านทองดูครับ

    .
    <!-- / message --><!-- sig -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2007
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder id=post452487 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 04:34 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #5 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>มันตรัย<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_452487", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 05:02 PM
    วันที่สมัคร: Oct 2006
    ข้อความ: 110 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 0 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 333 ครั้ง ใน 95 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 48 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_452487 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->เป็นไปไม่ได้หรอกครับ ที่จะไปมีกรุพระในวัดพระแก้ วัดพระแก้วนั้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ดูจากศิลปต่างๆของพระแล้ว ไม่เข้ากันกับอายุของเวลาที่บอกว่าไปฝังเอาไว้ นอกจากพระมหากษัตริย์จะนำอัฐฐิหรือก่อสร้างอะไรต่างๆพระหรือคนทั่วไปไม่มีสิทธ์เข้าไปวุ่นวายอะไรได้นอกจากได้รับพระบรมชานุญาติเท่านั้น ยกเว้นปัจจุบันที่เปิดให้เข้าชมได้ และพระที่เอามาลงโชว์นั้น ขอยืนยันว่าเป็นพระเก๊มือผีที่ทำขายหลอกกันมานานแล้ว วันนึงพวกเราชาวเวปน่าจะนัดมาเจอกัน และผมจะพาไปชมริมถนนท่าพระจันทร์ พญาไม้ ตลาดพระวัดราชนัดดา ว่ามีพระเก๊ๆแบบนี้ขายอยู่มาดมายเป็นร้อยๆพันๆองค์เลยนะครับ ถ้าพระแบบนี้แท้และดีจริง ป่านนี้เวปที่เขาลงขายพระเครื่องต่างๆต้องมีมาลงบ้างแล้วครับ ลองเข้าไปดูหรือไปสอบถามตามสนามพระต่างๆดูได้ครับ
    <!-- / message --><!-- sig --></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=tborder id=post452488 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 04:35 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #6 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>มันตรัย<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_452488", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 05:02 PM
    วันที่สมัคร: Oct 2006
    ข้อความ: 110 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 0 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 333 ครั้ง ใน 95 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 48 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_452488 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->การสถาปนาวัดนี้ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้ทำเป็น ๒ ระยะ ระยะแรกได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ที่ทรงอัญเชิญมาจากเวียงจันทร์เป็นศูนย์กลางที่สำคัญ ล้อมรอบด้วยพระระเบียง ทำนองเดียวกับการมีพระระเบียงล้อมรอบพระสถูปเจดีย์ในสมัยอยุธยา มีศาลาราย ๑๒ หลังรอบพระอุโบสถ สร้างหอระฆังขึ้นทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ นอกจากนั้นทางด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ มีหอพระไตรปิฎกประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับทองที่โปรดเกล้าฯ ให้สังคายนาขึ้น หอพระไตรปิฎกนี้ต้องอยู่กลางสระน้ำ ตามธรรมเนียมของการสร้างหาไตรทั่วไปในสมัยนั้น เรียกว่า หอพระมณเฑียรธรรม มีพระเจดีย์ทอง ๒ องค์ สร้างอุทิศถวายพระราชบิดาและพระราชมารดา
    ต่อมาในระยะหลังได้เกิดเพลิงไหม้หอพระมณเฑียรธรรมจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกขึ้นใหม่ในตำแหน่งเดิม โดยถมสระน้ำที่อยู่ล้อมรอบหอพระมณเฑียรธรรม สร้างอาคารขึ้นใหม่เรียกว่า พระมณฑป รวมทั้งได้ขยายเขตวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปทางทิศเหนือ และสร้างหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นใหม่เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับอื่นๆ และเป็นที่บอกหนังสือพระด้วย นอกจากนั้นยังสันนิษฐานว่าโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอพระขึ้น ๒ พอเรียงกันในแนวเดียวกับหอพระมณเฑียรธรรมหลังที่สร้างขึ้นใหม่ได้แก่ หอพระนาก ประดิษฐานพระนาก และพระวิหารขาวหรือหอพระเทพบิดรประดิษฐานพระเทพบิดร ซึ่งเป็นเทวรูปพระเจ้าอู่ทองจากวัดพุทไธสวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำมาแปลงเป็นพระพุทธรูปหุ้มเงิน พร้อมทั้งสร้างพระปรางค์ ๘ องค์ขึ้นที่หน้าวัดนอกพระระเบียง นอกจากสถาปนาอาคารต่างๆ ในพระอารามแล้ว ยังทรงมีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ๒ ชุด คือเครื่องทรงสำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน
    สมัยรัชกาลที่ ๒ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหรือปฏิสังขรณ์อาคาร หรือสิ่งก่อสร้างใดๆ ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สันนิษฐานว่าคงจะเป็นช่วงที่อาคารต่าง ๆ ยังอยู่ในสภาพดี ไม่จำเป็นต้องบูรณะแต่ประการใด
    สมัยรัชกาลที่ ๓ ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและพระมณฑปเป็นการใหญ่ พร้อมทั้งปรับปรุงหอพระทั้ง ๒ หลัง หลังหนึ่งคือพระวิหารขาวเรียกว่า พระเศวตกุฎาคารวิหารยอด ประดิษฐานพระเทพบิดรและพระพุทธรูปที่พระองค์ทรงนับถือศรัทธา อีกหลังหนึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของเจ้านายในพระราชวงศ์จักรี แต่เรียกตามความเคยชินว่า หอพระนาก และได้บูรณะปฏิสังขรณ์ พระปรางค์ ๘ องค์ ตามที่รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างไว้ พร้อมทั้งสร้างกำแพงแก้วโอบล้อมพระปรางค์ไว้อีกชั้นหนึ่ง นอกจากนั้นยังโปรดเกล้าฯ ให้ตกแต่งลานวัดเป็นต้นว่า ก่อภูเขา ทำแท่นที่นั่ง กระถางต้นไม้ และตั้งตุ๊กตาหินรูปต่างๆ เป็นเครื่องประดับพระอาราม พร้อมทั้งปั้นยักษ์ยืนประตูจำนวน ๖ คู่กันหน้าเข้าหาพระอุโบสถ นอกจากการปฏิสังขรณ์พระอารามแล้วยังทรงสร้างพระพุทธรูปรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถและสร้างเครื่องทรงพระแก้วสำหรับฤดูหนาวเพิ่มขึ้นด้วย
    สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้มีพระราชประสงค์จะสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ เพราะทรงเห็นว่าพระอุโบสถที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) อยู่ต่ำกว่าพระมณฑปที่ประดิษฐานพระไตรปิฎก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธปรางค์ปราสาทขึ้นที่ด้านหน้าพระมณฑป เพื่อจะประดิษฐานองค์พระแก้วมรกตและสร้างพระเจดีย์ทรงลังกา แบบพระมหาเจดีย์ที่วัดพระศรีสรรเพชญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ด้านหลังของพระมณฑปในแนวแกนเดียวกัน ตามแบบการสร้างพระวิหารและพระพุทธเจดีย์ในสมัยอยุธยา แต่ด้วยเหตุที่พระมณฑปมีฐานสูงถึง ๓ ชั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานพระพุทธปรางค์ปราสาทและพระศรีรัตนเจดีย์ให้สูงเสมอกับฐานชั้นที่ ๓ ของพระมณฑป สร้างเป็นฐานร่วมเรียกว่า ฐานไพที ด้วยเหตุที่มีการถมฐานให้กว้างใหญ่ขึ้นในลักษณะนี้ ทำให้ฐานนั้นยาวเกินกว่าพระระเบียง จึงต้องขยายพระระเบียงออกไปทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก โอบอ้อมเอาพระปรางค์หน้าวัดไว้ ๒ องค์ ในการขยายพระระเบียงครั้งนี้ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างประตูที่พระระเบียงขึ้นทั้ง ๒ ด้านที่ขยายไปใหม่ โดยด้านทิศตะวันออกทำเป็นซุ้มมียอดทรงมงกุฎและมีเกยทั้ง ๒ ข้าง ส่วนด้านทิศตะวันตกเป็นซุ้มไม่มียอด มีเกยข้างเดียว
    นอกจากนั้นการที่พระองค์ทรงธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ในสมัยที่ทรงพระผนวช ได้ทรงพบพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ พระเจดีย์โบราณและพระปรางค์โบราณ เมื่อทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามจึงได้นำมาสร้างเป็นถาวรวัตถุ เช่นสร้างพระมณฑปยอดปรางค์ ประดิษฐานพระเจดีย์โบราณบนฐานไพทีเดียวกันกับหอพระคันธารราษฎร์ และประดิษฐพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ที่หน้าหอ สร้างพระโพธิธาตุพิมานประดิษฐานพระปรางค์โบราณ ตั้งอยู่ระหว่างหอพระราชพงศานุศรและหอพระราชกรมานุสร ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นลักษณะประจำของสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่มักจะทรงสร้างอาคารหลายหลังบนฐานไพทีเดียวกัน นอกจากนั้นได้ทรงนำแบบอย่างของลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยามาใช้ เช่น การสร้างพระสถูปเจดีย์แบบทรงลังกา นำแบบอย่างการวางพระวิหารลงหน้าพระเจดีย์ในแนวแกนเดียวกัน นำยอดปรางค์มาใช้กับพระพุทธปรางค์ปราสาท พระโพธิธาตุพิมานและพระมณฑปยอดปรางค์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแผนผังและรูปแบบของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เท่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
    นอกจากการสร้างอาคารต่าง ๆ เพิ่มขึ้นแล้ว ที่บนลานทักษิณของพระมณฑปยังโปรดเกล้าฯ ให้ถ่ายแบบจำลองนครวัดจากประเทศเขมรมาสร้างถวายเป็นพุทธบูชา และให้ประชาชนชมว่าเป็นของแปลก
    สมัยรัชกาลที่ ๕ การก่อสร้างและการบูรณะปฏิสังขรณ์อาคารต่าง ๆ ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้กระทำขึ้นนั้น ส่วนใหญ่ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะพระองค์ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ใน พ.ศ. ๒๔๒๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะและปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามครั้งใหญ่จนแล้วเสร็จ พร้อมกับการสมโภชพระนครครอบ ๑๐๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๒๕ หลังจากนั้นจึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างบุษบกตราแผ่นดินขึ้นที่ฐานไพทีของพระมณฑปรวม ๓ องค์ เฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ต่อมาในปลายรัชกาลได้เกิดเพลิงไหม้เครื่องบนของพระพุทธปรางค์ปราสาท จึงโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่แต่ยังไม่ทันเสร็จก็ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน
    สมัยรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ พระพุทธปรางค์ปราสาทและตกแต่งเครื่องประดับภายใน พระราชทานนามใหม่ว่า ปราสาทพระเทพบิดร ประดิษฐานพระบรมรูปพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน ๆ ทั้ง ๕ พระองค์ ในการบูรณะปราสาทพระเทพบิดรครั้งนี้ได้ชะลอพระเจดีย์ทองทั้ง ๒ พระองค์เลื่อนไปไว้ที่มุมด้านทิศตะวันออก รื้อซุ้มประตูและบันไดชั้นฐานประทักษิณปราสาทพระเทพบิดรด้านทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ทำบันไดใหม่ปูด้วยหินอ่อน รวมทั้งบันไดด้านที่ตรงกับพระศรีรัตนเจดีย์ด้วย นอกจากนั้นโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพนมหมาก ขึ้นที่กำแพงแก้วรอบฐานไพที พร้อม ๆ กับการรื้อซุ้มประตูและบันไดดังกล่าวแล้ว ส่วนที่บันไดทางเข้าพระอุโบสถทั้งด้านหน้าและหลังก็โปรดเกล้า ฯ ให้แก้ขั้นบันไดให้เตี้ยลงและปูพื้นใหม่ด้วยหินอ่อน
    สมัยรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์อาคารต่าง ๆ รวมทั้งภาพจิตรกรรมฝาผนังในวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นการใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครอบ ๑๕๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ การบูรณะปฏิสังขรณ์ในครั้งนี้ได้ยึดถือหลักการว่า ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ไปตามแบบเดิม เพียงแต่แก้ไขเปลี่ยนแแปลงวัตถุและวิธีการก่อสร้างให้เป็นไปตามหลักวิชาการสมัยใหม่ เพื่อให้อาคารมีความคงทนถาวรยิ่งขึ้น
    สมัยรัชกาลที่ ๘ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นบางส่วน เช่นการบูรณะจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงเป็นต้น
    สมัยรัชกาลปัจจุบัน ประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๓ รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินการบูรณะจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นแม่กองดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์อาคารและสิ่งก่อสร้างทั่วทั้งพระอาราม เพื่อเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ พร้อม ๆ กับการบูรณะในครั้งนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างบุษบกตราแผ่นดิน ขึ้นอีก ๑ องค์ที่ฐานไพทีทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประดิษฐานพระบรมราชสัญลักกษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
    .............................​
    อ้างอิง
    - หนังสือสถาปัตยกรรม พระบรมมหาราชวัง เล่มที่ ๒ (สำนักราชเลขาธิการจัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐)
    <!-- / message --><!-- sig --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder id=post452709 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 08:06 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#8 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>sithiphong<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_452709", true); </SCRIPT>
    สมาชิก GOLD
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 09:24 PM
    วันที่สมัคร: Dec 2005
    ข้อความ: 8,406 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 6,918 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 35,150 ครั้ง ใน 5,311 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 4378 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_452709 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->แล้วแต่ท่านผู้อ่านครับ

    การที่มีพระในวัดพระแก้วหรือไม่มี หากไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังแล้ว ก็คงไม่ทราบ พระพิมพ์ของกรุวัดพระแก้ว ต่อให้ใช้กล้องส่อง 1,000,000,ล้านปี ก็ไม่มีวันที่จะเจอของจริงๆ

    ผมชอบพระของกรุวัดพระแก้วนี้มาก มีความเป็นศิลปชั้นสูง ผมไม่ดูถูกฝีมือคนโบราณ ขอกราบขอบพระคุณช่างสิบหมู่แห่งวังหน้าและวังหลวงครับ



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=tborder id=post452725 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 08:30 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#9 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>sithiphong<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_452725", true); </SCRIPT>
    สมาชิก GOLD
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 09:24 PM
    วันที่สมัคร: Dec 2005
    ข้อความ: 8,406 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 6,918 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 35,150 ครั้ง ใน 5,311 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 4378 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_452725 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->ลองนำพระพิมพ์ไปให้กับผู้ที่ได้วิปัสนาญาณสิครับ รู้แน่นอนดี เช่นพระสายพระอาจารย์มั่น ลองไปกราบท่านสัก 5 องค์ องค์ละแห่ง(องค์ละวัดก็ได้) ลองไปกราบท่านแล้วบอกท่านว่า ผมจนปัญญาครับ ผมไม่ทราบว่า พระพิมพ์นี้ดีหรือไม่อย่างไร ขอให้พระคุณเจ้าช่วยบอกให้ด้วยครับ ผลที่ตรวจสอบได้ทั้ง 5 องค์จะต้องตรงกันจึงเป็นการพิสูจน์ที่ถูกต้องครับ

    ผมเองห้อยพระไม่มีในสาระบบ วงการเซียนพระไม่เล่นกัน แต่พระท่านที่เป็นพระที่เคยดูแลหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ขอผมจากในคอ ทั้งๆที่ลูกศิษย์ห้อยวัดระฆัง หรือเพื่อนผมนำพระไปให้ลูกศิษย์ของหลวงปู่ชา พระที่ไม่มีในสาระบบ พระที่วงการพระเครื่องไม่เล่นกัน แต่ท่านบอกว่าทำไมเสกได้ทะลุฟ้าทะลุดิน ส่วนอีกเรื่อง มีท่านผู้หญิงท่านหนึ่ง ห้อยพระสมเด็จ เซียนพระเห็นบอกว่าเก๊ร้อยเปอร์เซ็น แต่ท่านผู้หญิงท่านนี้ ได้มีโอกาศไปกราบหลวงพ่อเกษม เขมโกที่ลำปาง เมื่อหลวงพ่อเกษมท่านจับพระมาดู ท่านบอกว่าพระนี้สร้างเมื่ออายุร้อยกว่าปีแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีท่านเสกไว้ให้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ จะเชื่อเซียนพระหรือพระอริยสงฆ์ก็ตามใจครับ

    ส่วนสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีท่านเองไม่เคยสร้างพระแม้แต่องค์เดียว มีแต่ท่านเสกให้เท่านั้น หรืออยากมาท่านก็มากดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์เท่านั้นครับ

    แต่อย่าไปใช้กล้องนะครับ ไม่มีประโยชน์เลย

    ส่วนหนังสือลองไปหาอ่านดูนะ หนังสือพงศาวดารภาค 13 ลองไปหาอ่านกันดูครับ อ่านหมดแล้ว ผมจะแนะนำว่าจะไปอ่านเล่มไหนต่อครับ จะได้รู้จริงๆเสียที

    ผมมาบอกอีกหน่อย เรื่องการพิสูจน์ พระที่ผมห้อยเป็นพระกรุวัดพระแก้ว ที่เซียนพระบอกว่าเป็นพระเก๊ และผมถ่ายออร่ามา แสงออร่าตามนี้ครับ

    [​IMG]
    <!-- / message --><!-- sig -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=tborder id=post452737 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 08:55 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#10 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>keng_perth<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_452737", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 09:05 PM
    วันที่สมัคร: Aug 2005
    อายุ: 32 ปี
    ข้อความ: 14 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 1 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 12 ครั้ง ใน 4 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_452737 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->เป็นเรื่องของนานาจิตตัง เอาเป็นว่าใครใส่แล้วถูกโฉลกก็ใส่ไปครับเป็นของส่วนบุคคล ซึ่งจะไม่สามารถแลกเปลี่ยนตามหลักสากลนิยมได้ มนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาส่วนใหญ่ที่ไม่มีพลังญาณถ้าได้เห็นก็จะตอบว่าไม่ดี แล้วคนที่ใส่ละครับ อยากจะฟังคำตอบแบบนี้ทุกๆครั้งหรือครับ ส่วนคนที่ตอบว่าดีเพราะเขามีญาณ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรครับว่าเขามีญาณ (หมื่นคนจะมีสักกี่คน) ใจจะเสียไปเองครับเมื่อคนส่วนมากดูว่าไม่ดี
    พระเครื่องวัตถุมงคล ทุกๆอย่างจะศักดิ์สิทธิ์ขึ้นอยู่ที่ใจเราครับ
    <!-- / message -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=tborder id=post453198 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 06:21 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #12 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>guawn<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_453198", true); </SCRIPT>
    สมาชิก GOLD
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 06:23 AM
    วันที่สมัคร: Dec 2005
    ข้อความ: 3,275 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 4,215 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 6,376 ครั้ง ใน 1,601 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 974 [​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_453198 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ มันตรัย [​IMG]
    การสถาปนาวัดนี้ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้ทำเป็น ๒ ระยะ ระยะแรกได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ที่ทรงอัญเชิญมาจากเวียงจันทร์เป็นศูนย์กลางที่สำคัญ ล้อมรอบด้วยพระระเบียง ทำนองเดียวกับการมีพระระเบียงล้อมรอบพระสถูปเจดีย์ในสมัยอยุธยา มีศาลาราย ๑๒ หลังรอบพระอุโบสถ สร้างหอระฆังขึ้นทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ นอกจากนั้นทางด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ มีหอพระไตรปิฎกประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับทองที่โปรดเกล้าฯ ให้สังคายนาขึ้น หอพระไตรปิฎกนี้ต้องอยู่กลางสระน้ำ ตามธรรมเนียมของการสร้างหาไตรทั่วไปในสมัยนั้น เรียกว่า หอพระมณเฑียรธรรม มีพระเจดีย์ทอง ๒ องค์ สร้างอุทิศถวายพระราชบิดาและพระราชมารดา
    ต่อมาในระยะหลังได้เกิดเพลิงไหม้หอพระมณเฑียรธรรมจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกขึ้นใหม่ในตำแหน่งเดิม โดยถมสระน้ำที่อยู่ล้อมรอบหอพระมณเฑียรธรรม สร้างอาคารขึ้นใหม่เรียกว่า พระมณฑป รวมทั้งได้ขยายเขตวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปทางทิศเหนือ และสร้างหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นใหม่เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับอื่นๆ และเป็นที่บอกหนังสือพระด้วย นอกจากนั้นยังสันนิษฐานว่าโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอพระขึ้น ๒ พอเรียงกันในแนวเดียวกับหอพระมณเฑียรธรรมหลังที่สร้างขึ้นใหม่ได้แก่ หอพระนาก ประดิษฐานพระนาก และพระวิหารขาวหรือหอพระเทพบิดรประดิษฐานพระเทพบิดร ซึ่งเป็นเทวรูปพระเจ้าอู่ทองจากวัดพุทไธสวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำมาแปลงเป็นพระพุทธรูปหุ้มเงิน พร้อมทั้งสร้างพระปรางค์ ๘ องค์ขึ้นที่หน้าวัดนอกพระระเบียง นอกจากสถาปนาอาคารต่างๆ ในพระอารามแล้ว ยังทรงมีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ๒ ชุด คือเครื่องทรงสำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน
    สมัยรัชกาลที่ ๒ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหรือปฏิสังขรณ์อาคาร หรือสิ่งก่อสร้างใดๆ ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สันนิษฐานว่าคงจะเป็นช่วงที่อาคารต่าง ๆ ยังอยู่ในสภาพดี ไม่จำเป็นต้องบูรณะแต่ประการใด
    สมัยรัชกาลที่ ๓ ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและพระมณฑปเป็นการใหญ่ พร้อมทั้งปรับปรุงหอพระทั้ง ๒ หลัง หลังหนึ่งคือพระวิหารขาวเรียกว่า พระเศวตกุฎาคารวิหารยอด ประดิษฐานพระเทพบิดรและพระพุทธรูปที่พระองค์ทรงนับถือศรัทธา อีกหลังหนึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของเจ้านายในพระราชวงศ์จักรี แต่เรียกตามความเคยชินว่า หอพระนาก และได้บูรณะปฏิสังขรณ์ พระปรางค์ ๘ องค์ ตามที่รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างไว้ พร้อมทั้งสร้างกำแพงแก้วโอบล้อมพระปรางค์ไว้อีกชั้นหนึ่ง นอกจากนั้นยังโปรดเกล้าฯ ให้ตกแต่งลานวัดเป็นต้นว่า ก่อภูเขา ทำแท่นที่นั่ง กระถางต้นไม้ และตั้งตุ๊กตาหินรูปต่างๆ เป็นเครื่องประดับพระอาราม พร้อมทั้งปั้นยักษ์ยืนประตูจำนวน ๖ คู่กันหน้าเข้าหาพระอุโบสถ นอกจากการปฏิสังขรณ์พระอารามแล้วยังทรงสร้างพระพุทธรูปรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถและสร้างเครื่องทรงพระแก้วสำหรับฤดูหนาวเพิ่มขึ้นด้วย
    สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้มีพระราชประสงค์จะสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ เพราะทรงเห็นว่าพระอุโบสถที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) อยู่ต่ำกว่าพระมณฑปที่ประดิษฐานพระไตรปิฎก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธปรางค์ปราสาทขึ้นที่ด้านหน้าพระมณฑป เพื่อจะประดิษฐานองค์พระแก้วมรกตและสร้างพระเจดีย์ทรงลังกา แบบพระมหาเจดีย์ที่วัดพระศรีสรรเพชญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ด้านหลังของพระมณฑปในแนวแกนเดียวกัน ตามแบบการสร้างพระวิหารและพระพุทธเจดีย์ในสมัยอยุธยา แต่ด้วยเหตุที่พระมณฑปมีฐานสูงถึง ๓ ชั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานพระพุทธปรางค์ปราสาทและพระศรีรัตนเจดีย์ให้สูงเสมอกับฐานชั้นที่ ๓ ของพระมณฑป สร้างเป็นฐานร่วมเรียกว่า ฐานไพที ด้วยเหตุที่มีการถมฐานให้กว้างใหญ่ขึ้นในลักษณะนี้ ทำให้ฐานนั้นยาวเกินกว่าพระระเบียง จึงต้องขยายพระระเบียงออกไปทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก โอบอ้อมเอาพระปรางค์หน้าวัดไว้ ๒ องค์ ในการขยายพระระเบียงครั้งนี้ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างประตูที่พระระเบียงขึ้นทั้ง ๒ ด้านที่ขยายไปใหม่ โดยด้านทิศตะวันออกทำเป็นซุ้มมียอดทรงมงกุฎและมีเกยทั้ง ๒ ข้าง ส่วนด้านทิศตะวันตกเป็นซุ้มไม่มียอด มีเกยข้างเดียว
    นอกจากนั้นการที่พระองค์ทรงธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ในสมัยที่ทรงพระผนวช ได้ทรงพบพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ พระเจดีย์โบราณและพระปรางค์โบราณ เมื่อทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามจึงได้นำมาสร้างเป็นถาวรวัตถุ เช่นสร้างพระมณฑปยอดปรางค์ ประดิษฐานพระเจดีย์โบราณบนฐานไพทีเดียวกันกับหอพระคันธารราษฎร์ และประดิษฐพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ที่หน้าหอ สร้างพระโพธิธาตุพิมานประดิษฐานพระปรางค์โบราณ ตั้งอยู่ระหว่างหอพระราชพงศานุศรและหอพระราชกรมานุสร ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นลักษณะประจำของสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่มักจะทรงสร้างอาคารหลายหลังบนฐานไพทีเดียวกัน นอกจากนั้นได้ทรงนำแบบอย่างของลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยามาใช้ เช่น การสร้างพระสถูปเจดีย์แบบทรงลังกา นำแบบอย่างการวางพระวิหารลงหน้าพระเจดีย์ในแนวแกนเดียวกัน นำยอดปรางค์มาใช้กับพระพุทธปรางค์ปราสาท พระโพธิธาตุพิมานและพระมณฑปยอดปรางค์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแผนผังและรูปแบบของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เท่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
    นอกจากการสร้างอาคารต่าง ๆ เพิ่มขึ้นแล้ว ที่บนลานทักษิณของพระมณฑปยังโปรดเกล้าฯ ให้ถ่ายแบบจำลองนครวัดจากประเทศเขมรมาสร้างถวายเป็นพุทธบูชา และให้ประชาชนชมว่าเป็นของแปลก
    สมัยรัชกาลที่ ๕ การก่อสร้างและการบูรณะปฏิสังขรณ์อาคารต่าง ๆ ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้กระทำขึ้นนั้น ส่วนใหญ่ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะพระองค์ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ใน พ.ศ. ๒๔๒๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะและปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามครั้งใหญ่จนแล้วเสร็จ พร้อมกับการสมโภชพระนครครอบ ๑๐๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๒๕ หลังจากนั้นจึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างบุษบกตราแผ่นดินขึ้นที่ฐานไพทีของพระมณฑปรวม ๓ องค์ เฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ต่อมาในปลายรัชกาลได้เกิดเพลิงไหม้เครื่องบนของพระพุทธปรางค์ปราสาท จึงโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่แต่ยังไม่ทันเสร็จก็ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน
    สมัยรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ พระพุทธปรางค์ปราสาทและตกแต่งเครื่องประดับภายใน พระราชทานนามใหม่ว่า ปราสาทพระเทพบิดร ประดิษฐานพระบรมรูปพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน ๆ ทั้ง ๕ พระองค์ ในการบูรณะปราสาทพระเทพบิดรครั้งนี้ได้ชะลอพระเจดีย์ทองทั้ง ๒ พระองค์เลื่อนไปไว้ที่มุมด้านทิศตะวันออก รื้อซุ้มประตูและบันไดชั้นฐานประทักษิณปราสาทพระเทพบิดรด้านทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ทำบันไดใหม่ปูด้วยหินอ่อน รวมทั้งบันไดด้านที่ตรงกับพระศรีรัตนเจดีย์ด้วย นอกจากนั้นโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพนมหมาก ขึ้นที่กำแพงแก้วรอบฐานไพที พร้อม ๆ กับการรื้อซุ้มประตูและบันไดดังกล่าวแล้ว ส่วนที่บันไดทางเข้าพระอุโบสถทั้งด้านหน้าและหลังก็โปรดเกล้า ฯ ให้แก้ขั้นบันไดให้เตี้ยลงและปูพื้นใหม่ด้วยหินอ่อน
    สมัยรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์อาคารต่าง ๆ รวมทั้งภาพจิตรกรรมฝาผนังในวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นการใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครอบ ๑๕๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ การบูรณะปฏิสังขรณ์ในครั้งนี้ได้ยึดถือหลักการว่า ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ไปตามแบบเดิม เพียงแต่แก้ไขเปลี่ยนแแปลงวัตถุและวิธีการก่อสร้างให้เป็นไปตามหลักวิชาการสมัยใหม่ เพื่อให้อาคารมีความคงทนถาวรยิ่งขึ้น
    สมัยรัชกาลที่ ๘ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นบางส่วน เช่นการบูรณะจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงเป็นต้น
    สมัยรัชกาลปัจจุบัน ประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๓ รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินการบูรณะจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นแม่กองดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์อาคารและสิ่งก่อสร้างทั่วทั้งพระอาราม เพื่อเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ พร้อม ๆ กับการบูรณะในครั้งนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างบุษบกตราแผ่นดิน ขึ้นอีก ๑ องค์ที่ฐานไพทีทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประดิษฐานพระบรมราชสัญลักกษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
    .............................​
    อ้างอิง
    - หนังสือสถาปัตยกรรม พระบรมมหาราชวัง เล่มที่ ๒ (สำนักราชเลขาธิการจัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ข้อมูลนี้เป็นของวัดพระแก้ววังหลวงใช้อ้างอิงได้บางส่วน ซึ่งผมคิดว่าคุณยังศึกษามาน้อยจึงอาจไม่รู้ว่ามีวัดพระแก้ววังหน้าด้วย

    แนะนำครับจะได้มีความรู้ที่ถูกต้องสามารถศึกษาได้จาก
    1.ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 13
    <O:p</O:p
    2.ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    <O:p</O:p
    3.ประวัติ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
    <O:p</O:p
    4.พระราชประวัติวังหน้า
    <O:p</O:p
    5.ประวัติเจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี(ท้วม บุนนาค) เจ้าคุณกรมท่า ฉบับนายนัฐวุฒิ สุทธิสงคราม

    6.วิเคราะห์พระพิมพ์สมเด็จฯ และพระสมเด็จท่านเจ้าคุณกรมท่า
    เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุญนาค)

    ซึ่งเขียนโดย ท่านปรัศนี ประชากร (เป็นนามปากกาของท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร )


    <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ลองศึกษาดูครับ ทุกเล่มมีที่หอสมุดแห่งชาติ<!-- / message --><!-- sig --><!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig --></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=tborder id=post453224 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 07:24 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #13 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>นักรบโบราณ<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_453224", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 07:28 AM
    วันที่สมัคร: Nov 2006
    อายุ: 44 ปี
    ข้อความ: 16 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 26 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 47 ครั้ง ใน 12 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_453224 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message --><TABLE id=HB_Mail_Container height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 UNSELECTABLE="on"><TBODY><TR height="100%" UNSELECTABLE="on" width="100%"><TD id=HB_Focus_Element vAlign=top width="100%" background="" height=250 UNSELECTABLE="off">ที่เรียกกันวัดพระแก้วมีสองแห่งอยู่ใกล้กันคือวัดพระแก้ววังหน้า และวัดพระแก้ววังหลวง เรื่องวัตถุมงคลต้อง"เปิดใจ"ศึกษา มิฉะนั้นจะจำแต่ที่เชื่อหรือบอกเล่ากันต่อๆมาเท่านั้น คุณsithiphongเป็นผู้หนึ่งที่อธิบายได้ดีครับ ผมถูกให้พบและมีวัตถุมงคลที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีในโลกนี้ได้ ใครไม่พบด้วยตนเองย่อมไม่เชื่อ เป็นธรรมดาครับแต่อย่าให้ราคาที่พวกค้าวัตถุมงคลตั้งขึ้น มาเป็นตัวกำหนดว่าสิ่งไหนจริง สิ่งไหนเท็จ เพียรรักษาศีล5ดูแล้วตั้งจิตศึกษาใหม่ครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2007
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา Fwd Mail ครับ

    หวงและห่วง

    "หวง" คือ การทำให้ตัวคุณเองมีความสุข
    "ห่วง" คือ การทำให้คนที่คุณรักมีความสุข
    "หวง" คือ การผูกมัดคนที่คุณรักไว้ด้วยกาย
    "ห่วง" คือ การผูกมัดคนที่คุณรักไว้ด้วยใจ
    "หวง" คือ การเห็นแก่ตัว
    "ห่วง" คือ การเสียสละ
    "หวง" คือ การที่คุณให้เขาทำอะไรในกรอบของคุณ
    "ห่วง" คือ การที่คุณให้เขาทำอะไรในกรอบของเขา
    "หวง" คือ ประโยคคำสั่ง
    "ห่วง" คือ ประโยคขอร้อง
    "หวง" คือ คุณรักเขาและต้องการให้เขารักคุณ
    "ห่วง" คือ คุณรักเขาแต่ไม่ต้องการให้เขารักคุณ
    "หวง" คือ สิ่งที่คุณทำแล้วเกิดความทุกข์ใจ
    "ห่วง" คือ สิ่งที่คุณทำแล้วเกิดความสุขใจ
    "หวง" คือ การทำสิ่งที่ไร้สาระเพื่อให้เขาต้องอยู่กับคุณ
    "ห่วง" คือ การทำสิ่งมีสาระที่ไม่ต้องการให้เขาอยู่กับคุณ
    "หวง" คือ การออกไปเต้นแร้งเต้นกา
    "ห่วง" คือ การอยู่เฉย ๆ นั่งมองเพียงเงียบ ๆ
    "หวง" คือ การบังคับขู่เข็ญโดยเขาไม่เต็มใจ
    "ห่วง" คือ การปล่อยให้เขาได้ทำในสิ่งที่เขาพอใจ
    "หวง" คือ ความรักที่จอมปลอม
    "ห่วง" คือ ความรักแท้จริง
    และ.....................................................................
    "หวง" คือ การที่คุณหลอกตัวเองว่าเขารักคุณ
    "ห่วง" คือ การที่คุณหลอกตัวเองว่าเขาไม่รักคุณ....
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ท่านที่ห้อยพระหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ที่ท่านเมตตาเสกให้นั้น หากมีความจำเป็นที่ต้องไปในสถานที่อโคจรทั้งหลาย ผมมีบทสวดที่ใช้ในการนี้มาฝากทุกท่านครับ

    ก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อิติภะคะโว
    กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด โสภะคะวา

    หรือก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่อโคจรให้สวด อะระหัง
    กลับออกมาจากสถานที่อโคจรให้สวด หังระอะ

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...