ปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เมเฆนทร์, 25 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +53
    โพชฌงค์ธรรม<O:p</O:p

    โพชฌงค์ธรรม คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ องค์แห่งการตรัสรู้หรือการบรรลุธรรมที่เป็น<O:p</O:p
    โพชฌงค์ธรรมนี้ ก็คือกำลังหรืออินทรีย์แห่งธรรม ที่พาดำเนินไปไหนทางมรรคาแห่งความหลุดพ้น ซึ่งเมื่อเป็นความบริบูรณ์ในธรรม อันคือโพชฌงค์ นี้แล้วย่อมยังให้วิชชา คือ ความรู้แจ้งวิมุติ คือ การหลุดพ้น ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งการตรัสรู้บรรลุธรรมให้บริบูรณ์ เกิดขึ้น <O:p</O:p




    โพชฌงค์ มีอยู่ 7 ประการ คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา<O:p</O:p
    กำลัง หรือ อินทรีย์แห่งธรรม 7 ประการนี้เกิดจากการเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ซึ่งสติปัฐฐาน 4 เท่านั้น มิใช่เกิดจากการ เข้าไปทำ ทีละขั้นทีละตอนเพื่อให้เกิดโพชฌงค์ธรรม 7 ประการขึ้นจนครบแล้วพระนิพพานจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะเหตุใดเล่า<O:p</O:p



    ก็เพราะว่านิพพาน คือธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว เพราะเหตุนี้มรรคาเส้นทางหลุดพ้นนี้จึงเป็นเส้นทางในวิถี ธรรมชาติ เท่านั้น ธรรมชาติ คือ ความไม่เที่ยงแท้อยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง เป็นความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาของมันเอง คือ ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว เมื่อเข้าใจในธรรมทั้งปวงโดยปราศจากความลังเลสงสัยแล้ว ความไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น และปล่อยให้จิตไปสู่วิถีธรรมชาติที่มันดับเองไม่เที่ยงแท้อยู่แล้วเองเป็นความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาอยู่แล้วเอง<O:p</O:p
    การดำเนินไปสู่วิถีธรรมชาตินั้น ก็คือ ไปด้วยกำลัง หรืออินทรีย์แห่งโพชฌงค์ธรรมนั้นเอง<O:p</O:p



    การเข้าใจผิดด้วยการเข้าไปทำทีละขั้นทีละตอน เช่นการฝึกสติด้วยการเดินจงกรม การนั่งสมาธิเพื่อให้ได้ฌาณ 4 เพื่อที่จะทำให้โพชฌงค์บริบูรณ์ เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง เป็นลักษณะของจิตปรุงแต่งที่เนื่องด้วย อวิชชา ตัณหา อุปทานทั้งสิ้น มิใช่เส้นทาง ธรรมชาติ แต่อย่างใด<O:p</O:p



    โพชฌงค์ธรรม 7 ประการ ที่เรียงกันตามลำดับ คือสติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขานั้น มันเป็นธรรมอันเป็นเหตุปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกันแบบอนุโลมปฏิโลม จนกว่าจะเกิดความบริบูรณ์ในโพชฌงค์ธรรมนั้น แต่ความบริบูรณ์ในธรรมแห่งโพชฌงค์จะเหลือธรรมอันปรากฏแค่ 4 ประการ คือ สติ วิริยะ สมาธิ อุเบกาขา เท่านั้น ส่วนธัมมวิจยะ ปิติ ปัสสัทธิ เป็นธรรมอันประกอบขึ้นชั่วคราว<O:p</O:p






    1.สติ<O:p</O:p
    เมื่อเกิดความเข้าใจในธรรมโดยปราศจากความลังเลสงสัยและมีความระลึกได้ว่า<O:p</O:p
    -จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นกายในกายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว<O:p</O:p
    -เวทนาทั้งหลายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับเองตามธรรมชาติแล้ว<O:p</O:p
    -จิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตลักษณะต่างๆนั้น ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว<O:p</O:p
    -จิตที่ปรุงแต่งไปในทางพิจารณาธรรมต่างๆ อันเป็นธรรมที่ทำให้เกิดความเข้าใจในปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหา ทั้งหลายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว<O:p</O:p
    ความระลึกดังกล่าวนี้ คือ สติ แห่งโพชฌงค์ธรรมนั้นเอง เป็นธรรมชาติแห่งความระลึกรู้ เป็นธรรมชาติแห่งสติ อันเป็นสัมมาสติ ในมรรคมีองค์ 8 ด้วย<O:p</O:p





    2.ธัมมวิจยะ<O:p</O:p
    เมื่อเข้าใจลักษณะ ธรรมอันเป็นธรรมชาติ ซึ่งมันไม่เที่ยงมันดับไปโดยตัวมันเองสภาพมันเองแล้ว แต่เมื่อตราบใดกำลังหรืออินทรีย์แห่งการระลึกรู้แห่งสติยังไม่บริบูรณ์ อันเป็นเครื่องหมายแห่งโพชฌงค์บริบูรณ์ ก็เท่ากับว่ายังมีส่วนแห่งอวิชชาตัณหาอุปทานเหลืออยู่โดยเนื้อหามันเอง เพราะฉะนั้นการสอดส่องการสืบค้นธรรม การเลือกธรรมว่าอะไรคือธรรมอันปรุงแต่ง คือ อวิชชา(สังขตธาตุ) ว่าอะไรคือ ธรรมอันไม่ปรุงแต่ง(อสังขตธาตุ) เมื่อรู้ว่าสิ่งนี้คือธรรมอันปรุงแต่ง ก็จะได้เจริญสติระลึกรู้ว่า ธรรมอันปรุงแต่งนี้ก็ล้วนไม่เที่ยงมันดับโดยตัวมันเองโดยสภาพมันเองตามธรรมชาติ การเลือกเฟ้นธรรม การสอดส่องธรรม การสืบค้นธรรมในลักษณะเช่นนี้ ก็คือธัมมวิจยะแห่งโพฌชงค์ธรรมนั้นเอง ธัมมวิจยะจึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสติการระลึกรู้แบบอนุโลมปฏิโลมซึ่งกันและกัน <O:p</O:p
    แต่ที่กล่าวว่าธัมมวิจยะเป็นธรรมอันประกอบขึ้นชั่วคราวในโพฌชงค์ธรรมนั้น เพราะเหตุที่ว่าด้วยการอาศัยในการเข้าไปเพื่อวินิจฉัยธรรม การสอดส่องสืบค้น เลือกเฟ้นธรรมนั้น ก็เพื่อยังให้เกิดกำลังหรืออินทรีย์ แห่งสติการระลึกรู้ <O:p</O:p
    แต่โดยเนื้อหามันนั้นการวินิจฉัยวิจัย การสอดส่อง การสืบค้น การเลือกเฟ้น ก็เป็นการปรุงแต่ง(สังขตธาตุ)หรือจิตปรุงแต่งด้วยลักษณะหนึ่งเช่นกัน เพราะฉะนั้นการที่สติและธัมมวิจยะคือ ธรรมสองประการนี้มันเป็นเหตุปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกันแบบอนุโลมปฏิโลมนั้น มันจึงเป็นการอนุโลมปฏิโลมแบบชั่วคราว เมื่อมีสติระลึกรู้ด้วยว่า <O:p</O:p
    จิตที่ปรุงแต่งไปในทางวินิจฉัย สอดส่องสืบค้น เลือกเฟ้นธรรมนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติ เมื่อไหร่ อวิชชาความไม่รู้ในลักษณะปรุงแต่งไปในทางวินิจฉัย สอดส่อง สืบค้นธรรม ก็จักไม่ปรากฏขึ้นมาอีก ธัมมวิจยะจึงเป็นธรรมอันประกอบขึ้นชั่วคราวในโพชฌงค์ธรรมด้วยเหตุนี้<O:p</O:p





    3.วิริยะ<O:p</O:p
    การที่มีสติระลึกได้ว่า จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมในทุกส่วนของสติปัฏฐาน 4 นั้น ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติของมันนั้น หรือการที่เข้าไปสอดส่องสืบค้นเพื่อเลือกเฟ้นธรรม ธัมมวิจยะ เพื่อที่จะได้มีการเจริญสติระลึกได้ว่า ธรรมอันปรุงแต่ง (สัขตธาตุ) ก็คือจิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมในทุกส่วนของสติปัฏฐาน 4 นั้นล้วนไม่เที่ยง ดับไปเองตามธรรมชาติของมันนั้นเอง”<O:p</O:p
    การมีสติระลึกได้อยู่ทุกขณะนั้นทำให้กำลังหรืออินทรีย์แห่งสติมากขึ้นไปสู่ความบริบูรณ์แห่งสติ และความบริบูรณ์ในโพชฌงค์ธรรมทุกส่วน การที่กำลังหรืออินทรีย์แห่งโพชฌงค์ธรรมทุกส่วนมากขึ้นทุกขณะเพื่อไปสู่ความบริบูรณ์นั้น ธรรมชาติแห่งความมากขึ้นทุกๆขณะมันเป็นเนื้อหาแห่งความเพียร มันคือธรรมชาติแห่งความเพียร หรือวิริยะในโพชฌงค์ธรรม หรือ สัมมาวายาโม ในมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง แต่เมื่อกำลังหรืออินทรีย์แห่งวิริยะความเพียรบริบูรณ์แล้ว ความบริบูรณ์ในความเพียรนี้เองที่ส่งผลให้เกิด ความเป็นปรกติ หรือ ความบริบูรณ์ ในโพชฌงค์ธรรมตัวอื่น<O:p</O:p





    4.ปิติ<O:p</O:p
    คือ ความอิ่มใจ<O:p</O:p





    5.ปัสสัทธิ<O:p</O:p
    คือ ความสงบจิตสงบใจ<O:p</O:p
    โดยธรรมชาติแล้วตราบใดที่อวิชชา ความไม่รู้ยังคงมีอยู่ก็จะทำให้ไปยึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมากลายเป็นความปรุงแต่งขึ้นมา เป็นความวุ่นวายในจิตอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อมีสติระลึกรู้ได้อยู่ว่า จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมในทุกส่วนในสติปัฏฐาน4 นั้น ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติ ความล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติก่อให้เกิดปิติความอิ่มใจ ปัสสัทธิ ความสงบจิตสงบใจ ซึ่งเป็นอาการของจิตที่เกิดจากความสงบระงับจากการไม่ปรุงแต่งทั้งปวง<O:p</O:p
    ปิติและปัสสัทธิ เป็นกำลังหรืออินทรีย์แห่งธรรมที่เกิดขึ้นโดยลักษณะเนื้อหามันเอง แต่หากอวิชชาความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมาว่ามีเราและเรากำลังมีสภาวะธรรมในปิติ และปัสสัทธิอยู่ดังนี้ จิตปรุงแต่งลักษณะนี้(ซึ่งจัดอยู่ในหมวดจิตในจิต ในสติปัฏฐาน4) ก็ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติเช่นกัน <O:p</O:p
    ปิติ และปัสสัทธิ จึงเป็นธรรมประกอบขึ้นชั่วคราวและโพชฌงค์ธรรมเท่านั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนี้<O:p</O:p





    6.สมาธิ<O:p</O:p
    เส้นทาง ธรรมชาติ ที่มันไม่เที่ยงล้วนดับโดยตัวมันเองโดยสภาพมันเองนั้น เป็นเส้นทางที่ ละจาก อวิชชา คือความไม่รู้ทั้งปวง ไปสู่ วิชชาคือความรู้แจ้งทั้งปวง เส้นทางธรรมชาตินี้ก็คือเส้นทางไปสู่ความเป็นปรกติแห่งความดับสนิทไม่มีเหลือตามกฎธรรมชาติ การไปสู่ความเป็นปรกติ ต้องอาศัยเนื้อหาแห่งธรรมอันเป็นธรรมชาติแห่งความแน่วแน่ ธรรมชาติแห่งความตั้งใจมั่น สภาพธรรมชาติแห่งความแน่วแน่ความตั้งใจมั่นนั้นคือ สภาพธรรมชาติแห่งความดำรงอยู่แน่นอน คือสภาพธรรมชาติในความต่อเนื่องแห่งธรรมอันเป็นความดับสนิทไม่มีเหลือ เมื่อกำลังหรืออินทรีย์แห่งความตั้งใจมั่นนี้บริบูรณ์ก็จะทำให้เกิดความเป็นปรกติหรือความเป็นธรรมชาติล้วนๆแห่งความดับสนิทไม่มีเหลือนั่นเอง ความตั้งใจมั่นดังกล่าวนี้ก็คือ สมาธิแห่งโพชฌงค์ธรรม หรือธรรมชาติแห่งสมาธิ หรือสัมมาสมาธิในมรรคมีองค์8<O:p</O:p





    7.อุเบกขา<O:p</O:p
    ธรรมชาติแห่งความไม่เที่ยงดับเองอยู่แล้วโดยตัวมันเองโดยสภาพมันเอง คือสภาพธรรมชาติแห่งความเป็นกลาง ความวางเฉยซึ่งเกิดจากธรรมชาติ แห่งความไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น ความเป็นกลางความวางเฉยก็คืออุเบกขาในโพชฌงค์ธรรม คือธรรมชาติแห่งอุเบกขา หรือสัมมาทิฐิ ในมรรคมีองค์ 8<O:p</O:p







    โพชฌงค์ธรรม 7 ประการ คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา นั้นเป็นธรรมอันเป็นเหตุปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกันแบบอนุโลมปฏิโลมในลักษณะมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้ เมื่อกำลังหรืออินทรีย์แห่งสติเต็มจนกลายเป็นธรรมชาติแห่งความบริบูรณ์ในสติ ด้วยความที่ธรรมโพชฌงค์ 7 ประการเป็นธรรมอันเป็นเหตุปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อสติบริบูรณ์แล้วเลยทำให้ธรรมโพชฌงค์ในส่วนอื่นบริบูรณ์ไปด้วย จนกลายเป็นโพชฌงค์ธรรมบริบูรณ์ในทุกส่วน<O:p</O:p
    เมื่อโพชฌงค์ธรรมบริบูรณ์ซึ่งหมายถึงความเป็นปรกติแห่งธรรมในทุกส่วนของโพชฌงค์แล้ว ย่อมยัง วิชชาและวิมุติ ให้บริบูรณ์ไปด้วย<O:p</O:p
    <O:p












    คัดลอกมาจาก
    หนังสือ

    ชาวฟ้าดาวดึงส์ ธรรมานุสรณ์</O:p
     
  2. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    ประมาณว่า แบบวสีเลยซิครับ พอจะเข้าใจลางๆครับ สติพร้อมเสมอ แต่ท่านต้องตัดอารมณ์ปรุงแต่งให้ได้ตลอดเวลาเลยนะครับ ในขณะที่ลืมตาด้วย แต่ผมจะลองดู.....
     
  3. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +53


    ไม่มีเราเข้าไปตัดอารมณ์ปรุงแต่งให้ได้ตลอดเวลาครับ

    จิตที่ปรุงว่า.....ต้องตัดอารมณ์ปรุงแต่งให้ได้ตลอดเวลานั้น
    มันไม่เที่ยงดับไปเองโดยธรรมชาติอยู่แล้ว
    มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยเนื้อหาแห่งสภาพธรรมชาติอยู่แล้ว


    เมื่อจิตชนิดนี้ดับไป
    ด้วยความเข้าใจในสภาพธรรมชาติแห่งธรรม
    ก็จักจะไม่เข้าไปปรุงแต่ง
    และยึดมั่นถือมั่นขึ้นมาอีก

    เมื่อว่าง
    สติก็ทำงานของมันอยู่แล้ว
    สมาธิความตั้งใจมั่น มันก็ทำงานอยู่แล้ว
    ปัญญา......ก็คือเนื้อหาแห่งความว่างนั่นเอง


    ธรรมบริบูรณ์.......โดยตัวมันเอง



    อย่าเอาความเป็นเรา.......
    ที่มันคือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
    เข้าไปทำเข้าไปปรุงแต่งในธรรมเพื่อหามรรคา
    แห่งความหลุดพ้น


    เหมือนเอาความปรุงแต่ง
    ไปหา
    ธรรมชาติแห่งความไม่ปรุงแต่ง
    หาไม่เจอแน่



    เมื่อเข้าใจตามนี้
    วสีคือความชำนาญ
    แต่ในที่นี้ ผมจะแปลว่าความปกติในธรรม
    ก็จะเป็นวสีตามสภาพมันเอง




    ขอให้โชคดีนะครับ
    คุณ พยัคฆ์นิล
     
  4. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +3,152
    พระพุทธองค์ท่าน ทรงวางขั้นตอนไว้ดีแล้วชอบแล้ว

    จะทำให้คนที่พ่อแม่ถูกฆ่าตายต่อหน้า โดยที่รู้ว่าฆาตกรคือใคร ไม่โกรธแค้นจองเวรได้อย่างไร

    จะให้คนที่ประสบอุบัติเหตุขาขาด ได้รับความเจ็บปวดอยู่ ไม่ต้องทุกข์ทรมานได้อย่างไร

    จะให้คนที่มีอำนาจบารมีล้นฟ้า ไม่หลงในอำนาจได้อย่างไร

    จะให้คนที่มีแต่ความฟุ้งซ่าน เพ้อเจ้อ สงบจิตของตัวเองได้อย่างไร

    ทุกอย่างนี้ต้องเริ่มที่จุดเริ่มต้นและดำเนินไปตามขั้นตอนกันทั้งนั้น

    แต่ถ้าสิ่งที่กล่าวอยู่ เป็นขั้นตอนที่ใกล้จะถึงปลายทางแล้ว มีลักษณะอย่างไร พอฟังกันได้ แต่อย่าเปลี่ยนขั้นตอนที่ พระพุทธองค์ท่าน ทรงวางไว้ดีแล้วชอบแล้ว
     
  5. pichak

    pichak Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +69
    สาธุ สาุธุ
    สาธุชน เดินทางก็ต้องสำรวจว่าปฎิบัติอะไร ทำอย่างไร เดินอย่างไร ถ้าไปด้วยความพยายาม จะใช้เวลานาน เหนื่อย เมื่อย แต่ถ้าไปด้วยปัญญา จะเร็ว ชั่วพริบตา ใช้ปัญญาใหม่ ฆ่าปัญญาเก่า (ถ้าฆ่าด้วยตัวเองคงตายยาก ต้องด้วยอนุภาพพุทธะช่วย ง่ายดี เร็วดี) ที่สวนกันไป ชนกันมานะคับ กำลังว่าถึงการเดินทางแบบปฎิบัติ แต่ที่ว่านิพพาน ไม่ต้องทำอะไร นั้น หมายถึงการจบการเดินทาง พูดกันคนละช่วงเท่านั้นเอง ซึ่งคลายจิต ให้เป็นธรรมชาติ ทำได้เลย แม้จะปฎิบัติถึงไหน ถ้าไม่อยากเหนื่อย เมื่อย ก็ใช้ปัญญาแทน เพราะสัญญาลักษณ์ ซ้ายขวา พุทธองค์ก็แสดงอยู่ ด้านหนึ่งปัญญา และอีกด้านอิทธิฤทธิ แต่ส่วนมากจะ มันส์กับอิทธิฤทธิ มากกว่า
    แต่สถานการณ์ โลกร้อน ขณะนี้ไม่เหมาะจะบำเพ็ญนาน ๆ แล้ว เวลาเหลือน้อยมาก ๆ ๆ ๆ ใครจบการเดิืนทางก่อน ก็สบายก่อน มิได้มาชวนให้เลิกๆๆ แต่เวลาไม่พอเท่านั้นเอง เอาแบบลัดเลย หลังจากโลกสงบ ใครอยากลงมาอีกก็อนุโมทนาด้วยละกันคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กุมภาพันธ์ 2011
  6. pichak

    pichak Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +69
    การปฎิบัติของพระองค์ที่ได้สมาบัติ8 (รวมจิต)พระองค์ก็ทรงเห็นว่ายังไม่พ้นทุกข์ พระองค์ต้องมาหาทางด้วยพระองค์เอง จนสำเร็จด้วยการคลายจิต
    ที่ตอบกันไปมาก็ยังปฎิบัติตามพระองค์ ที่สมัยยังไม่พ้นทุกข์ แต่การคลายจิต กลับสู่ธรรมชาติ หมายถึงการจบเส้นทางการปฎิบัติแล้ว
    เมื่อได้นิพพาน แล้ว ก็มาถึงภาคทำงาน โดยจะมานั่ง เดิน ยืน นอน ขัดสมาธิ เดินจงกรม อะไรก็ทำด้วยความแจ้ง ไม่ยึดติด ดูดีๆ ภายนอกก็ยังปฎิบัติ แต่ภายในจบแล้ว
    เมื่อลูกศิษย์เห็นแล้ว พระอาจารย์องค์นี้เคร่งดี ศิลคงไม่ด่างพร้อย ก็จะได้เข้าหาแต่พอได้วิชานิดหนึ่ง ก็ดีใจไปแล้ว บินเลย อาจารย์ยังไม่ทันบอกเลยว่า เดี๋ยวก่อน ลูกเดี๋ยวก่อน นิพพานคือจุดสิ้นสุด มันไม่มีอะไรนะลูก(ฟังไม่ทัน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กุมภาพันธ์ 2011
  7. pichak

    pichak Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +69
    อยากเดินหน้าไปเลื่อยกับสถานการณ์โลกที่เอาแน่ไม่ได้ หรือจะจบกันสั้นๆ ซึ่งพุทธอรหันต์ ที่มาในกาลนี้ก็มีหลายองค์ เป็นโอกาสดีที่พระองค์เมตตาให้จบสั้นๆ
    เห็นเอาการจบ กับ การเดินทางมารวมกัน ว่าใครดีกว่าใคร ก็เลยงง คิดว่าอะไรดีกว่า เลยต่างว่าของตนเองถูก ถูกทั้งสองทางแต่ไม่ถูกกับเหตุการณ์
    ขณะนี้ต้องเอาตัวรอดก่อน จบก่อน แล้วใครเก่งจริง เจ๋งจริง มหาเมตตา ค่อยมาใหม่ในโอกาสเหมาะสม ก็ยังทันนะครับ
     
  8. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +53




    ธรรมอันแท้จริง
    ไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดจบ



    ธรรมที่กล่าวไว้ในบทความนั้น
    เป็น
    ธรรมที่พระองค์กล่าวไว้เช่นกัน


    ลองอ่านหมวดสติปัฏฐาน
    ที่ผมลงไว้ให้ดีๆ

    หากคิดว่า
    จะเดินบนเส้นทางหลุดพ้น
    ต้องศึกษา
    และหาวิธี
    ที่มันจะทำให้เรา
    รู้แจ้งแทงตลอดในทุกส่วน
    ไม่หลงติดในอวิชชาตัวใดตัวหนึ่ง

    ไม่เช่นนั้น
    ตีตั๋วชั้นสวรรค์
    อีกแน่นอน


    ธรรมในบทความ
    มิใช่ธรรมอันเป็นบั้นปลาย

    แต่ธรรมในบทความนั้น
    เป็นจุดเริ่มต้น
    แห่งโสดาปัตติมรรค
    และเป็นจุดบั้นปลาย
    แห่งอรหันตผล

    โสดาปัติมรรค
    อรหันตผล
    ใช้ธรรมตัวเดียวกันครับ
    นอกนั้น
    เป็นลำดับชั้นแห่ง
    การคลายกำหนัด


    ในสติปัฏฐานทั้งสี่
    หลักที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ก็คือ
    หากคิด.....ความคิดนั้นก็ไม่เที่ยง
    หากหยุดคิด.....ก็ปล่อยให้เป็นความหยุดคิดอยู่แบบนั้น

    ปรับทุกกระบวนท่า
    เพื่อไปสู่ความหมดจดทั้งหมด


    พระพุทธองค์ท่านก็ดักไว้แล้วทุกทาง

    นักปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่
    ชอบคิดหรือปรุงแต่งว่า
    มีเราและเรายังไม่หลุดพ้น

    พระพุทธองค์ท่านก็ดักทางไว้แล้วว่า
    เมื่อจิตปรุงแต่งว่า
    จิตยังไม่หลุดพ้น
    ก็ให้รู้ชัดว่า
    จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตยังไม่หลุดพ้นนั้น
    ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว
    พระพุทธองค์ท่านวางหลักเกณฑ์ตามธรรมชาติ
    ไว้แบบนี้
    เพื่อแก้ปัญหา
    อวิชชาพายึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งว่า
    จิตของเรายังไม่หลุดพ้นอยู่ร่ำไป


    ธรรมดาครับ
    เมื่อไม่เห็นธรรมชาติแห่งความดับของจิต
    ที่ชอบปรุงแต่งว่าจิตเรายังไม่หลุดพ้น

    ก็จะปรุงแต่งต่อไป
    ในเรื่องที่ว่า
    ทำอย่างไร
    จะให้หลุดพ้น
    เป็นอวิชชาซ้อนเข้ามาตัวใหม่ๆ
    ไม่มีที่สิ้นสุด

    พระพุทธองค์ท่านก็ดักทางไว้แล้วว่า
    เมื่อจิตปรุงแต่งว่า
    จิตยังไม่หลุดพ้น
    ก็ให้รู้ชัดว่า
    จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตยังไม่หลุดพ้นนั้น
    ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว
    พระพุทธองค์ท่านวางหลักเกณฑ์ตามธรรมชาติ
    ไว้แบบนี้


    ยังยืนยันอยู่ครับ
    ว่าธรรมในบทความนี้
    เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เอง
    และ
    วิธีธรรมชาตินี้
    เป็นวิธีเดียว......หนทางเดียว
    ซึ่งเป็นวิธีธรรมชาติ
    และก็คือ มรรคมีองค์ 8 ด้วย โพชฌงค์ 7 ด้วย


    อย่าลืมสิ
    ในตติยนิพพานสูตร

    พระพุทธองค์
    ตรัสไว้ว่า
    นิพพาน
    คือ
    ธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว

    เพราะฉะนั้น
    มรรคมีองค์แปดหรือเส้นทางแห่งความหลุดพ้นนั้น
    คือเส้นทางตามวิถี "ธรรมชาติ" .......
    เท่านั้น


    หากยังไม่มีความเข้าใจตามนี้
    แสดงว่า
    ยังมีวิจิกิจฉา.....ความลังเลสงสัยในธรรมอยู่
    ยากที่จะลุ โสดาปัตติผลได้

    ต้องทำความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติแห่งธรรม
    เสียก่อน
    เป็นการศึกษา
    เพื่อที่จะเป็นจุดเริ่มต้น
    ใน เส้นทาง
    โสดาปัตติมรรคได้




    แต่ก็ยังยืนยันอยู่ครับ
    โดยแท้จริงแห่งธรรมชาติล้วนๆนั้น
    ไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดจบหลอกครับ


    หากหลงว่ามีจุดเริ่มต้น
    พระพุทธองค์ท่านก็กล่าวไว้ว่า
    มันไม่เที่ยงโดยธรรมชาติอยู่แล้ว

    จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตนี้บรรลุโสดาบัน
    จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตนี้บรรลุสกิทาคามี
    จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตนี้บรรลุอนาคามี
    จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตนี้บรรลุอรหันต์

    จิตที่ปรุงแต่ง......ต่างๆเหล่านี้
    ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว


    ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่า
    แล้วสภาวะนิพพานที่แท้จริง
    อยู่ตรงใหน


    ก็ตรงที่
    มันสุญญตาโดยธรรมชาติอยู่แล้วนั่นแหละ
    มันว่างโดยธรรมชาติอยู่แล้วนั่นแหละ


    เดี๋ยวก็ค้านกันอีกว่า
    มันง่ายไป
    ไม่เอาแบบนี้หรอก
    จะปฏิบัติธรรมตามความเข้าใจที่ตนเองศึกษามาดีกว่า

    หารู้ไม่ว่า
    การคิดแบบนี้
    มันเป็นจิตที่ปรุงแต่งว่า
    จิตเรายังไม่หลุดพ้น

    พระพุทธองค์ท่านก็ดักทางไว้แล้วว่า
    เมื่อจิตปรุงแต่งว่า
    จิตยังไม่หลุดพ้น
    ก็ให้รู้ชัดว่า
    จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตยังไม่หลุดพ้นนั้น
    ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว
    พระพุทธองค์ท่านวางหลักเกณฑ์ตามธรรมชาติ
    ไว้แบบนี้




    งูกินหางครับ


    จะผ่านด่านนี้ได้
    ก็ต้องเห็นสัจจธรรม
    ว่า
    เมื่อจิตปรุงแต่งว่า
    จิตยังไม่หลุดพ้น
    ก็ให้รู้ชัดว่า
    จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตยังไม่หลุดพ้นนั้น
    ล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว





    ค้านเข้ามาได้เลยครับ
    เมเฆนทร์
    ยินดีตอบ
    เพื่อให้หายสงสัย
    ตามหลักธรรมที่พระองค์ตรัสไว้
    ว่า

    นิพพาน
    คือ
    ธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว

    เพราะฉะนั้น
    มรรคมีองค์แปดหรือเส้นทางแห่งความหลุดพ้นนั้น
    คือเส้นทางตามวิถี "ธรรมชาติ" .......
    เท่านั้น


    เมเฆนทร์
    มิได้เปลี่ยนขั้นตอน
    ในธรรม
    ที่พระองค์ตรัสไว้


    เมเฆนทร์
    เดินตามพระพุทธองค์
    ทุกฝีก้าว
    มันเป็น
    รอยเท้า
    บน
    ผืนดิน
    อันเป็นเส้นทาง
    ธรรมชาติ





    [​IMG]



    อยากให้
    ทุกดวงจิต
    เป็นเหมือน
    ดอกบัว
    ที่บาน
    อยู่หลายดอก
    และอยู่รวมกัน



    สาธุครับ
    ขอเจริญในธรรม
    กันทั่วหน้า
     
  9. pichak

    pichak Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +69
    กุศโลบาย=อุบาย=หลอกล่อ=เข้ากันได้กับอนุสัย กลุ่มเดียวกัน แต่ใช้ต่างสถานะ เท่านั้น ผู้ปฎิบัติคงไม่ปฎิเสธ ว่ากว่าจะมาถึงขนาดนี้ ต้องโดน กุศโลบาย กันทั่วหน้า พอมาถึงบางอ้อ ก็เหนื่อยแล้วก็ไม่รู้จะบอกคนที่ตามมาอย่างไร ว่ามันไม่มีอะไร (แค่ว่าง=คลายจิต=จบ=ออกจากอนุสัย=ของจริง)เดี๋ยวเขาก็ไม่ตาม เลิกปฎิบัติ แล้วไปเที่ยวหานรกทำไงดี(พระพูดความจริงไม่ได้ ปราชิก ฆราวาส พูดได้ ไม่ปราชิก) ก็ให้เขาตามมาละกัน ใครตัญหาเยอะ ก็เดินไปก่อน ใครใช้ปัญญาพิจารณา ก็ถึงเลย พอถึงบางอ้อ แล้วก็หัวเราะ 555 กินน้ำชาดีก่า ไม่มีไรจะพูด มองตาเบิกบานไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2011
  10. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +53
    โสดาบัน<O:p</O:p

    มีพระอริยเจ้าทั้งหลายเคยกล่าวไว้ว่า ธรรมอันแท้จริงนั้น "ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดจบ ไม่มีการบรรลุและผู้บรรลุ" นั้นเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องเพราะธรรมอันแท้จริงที่ว่านั่น คือ "นิพพานธรรม"นั่นเองเป็นธรรมที่เสร็จเด็ดขาดไปแล้ว แต่ความที่พระพุทธองค์ลงมาจุติเพื่อมาประกาศธรรมอันเป็นสัมมาทิฐินั้น พระองค์มีความเมตตาต่อบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายทุกหมู่เหล่า พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นว่าในบรรดาหมู่เวไนยสัตว์นั้นมีความแตกต่างกันเปรียบเสมือนดอกบัวทั้ง 4 เหล่า รอบปัญญาบารมีแต่ละคนทำมาไม่เท่ากันพระพุทธองค์จึงทรงประกาศธรรมไว้ทุกระดับแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นในเวลาที่มีพราหมณ์หรือบรรดานักบวชนอกศาสนาทั้งหลายมาถามปัญหาในธรรมต่อพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ก็จะตอบปัญหาข้อข้องใจในธรรมไปตามเหตุตามปัจจัย การตอบธรรมของท่านนั้นมีการกล่าวถึงธรรมในระดับต่างๆกันไปตามความเหมาะสม



    ในเส้นทางการบรรลุธรรมเป็นโสดาบันนั้นเป็นรอบบารมีของผู้ที่ได้ดวงตาเห็นธรรมชั้นต้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะละอนุสัยของตัวเองออกจากระบบเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏได้ จุดโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล เป็นจุดที่เข้าใจในเส้นทางธรรมชาติแห่งธรรมเข้าใจในเส้นทางวิถีแห่งจิตที่เป็นธรรมชาติของมัน เป็นจุดที่กระบวนการแห่งจิตเริ่มปรับไปสู่ "วิถีธรรมชาติอันดั้งเดิมของมัน" เพื่อมุ่งไปสู่เส้นทางการหลุดพ้นซึ่งเป็นวิถีแห่งธรรมอันเป็น "ธรรมชาติล้วนๆ" จุดตรงนี้เองที่พระพุทธองค์กล่าวไว้ว่าหากผู้ใดบรรลุธรรมอันเป็นโสดาบันแล้ว มันเปรียบเสมือนสายน้ำที่ไม่ไหลกลับ เป็นจุดที่จิตได้เรียนรู้เพื่อความกระจ่างชัดเจนในธรรมและแก้ไขปัญหาคือทุกข์เป็น และด้วยวิธีแก้ทุกข์หรือแก้อวิชชาความไม่รู้ทั้งปวงโดยปรับสภาพจิตไปสู่ "ความเป็นธรรมชาติ" ของมันนั้น วิธีหรือวิถีแห่งจิตที่เป็น "ธรรมชาติ"นั่นเองมันเป็นสภาพที่เหมือน "สายน้ำที่ไม่สามารถย้อนกลับไปสู่จุดเดิมที่เคยไหลผ่านมา" ได้ มันมีแต่สายน้ำหรือวิถีอันเป็นธรรมชาตินี้จะไหลไปเรื่อยจะคลายกำหนัดไปเรื่อยเพื่อไปสู่ "ปากน้ำแห่งพระนิพพาน" ในท้ายที่สุด ด้วยวิธี "ไหลหรือคลายกำหนัด" แบบวิธีธรรมชาติตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้นั่นเอง<O:p</O:p



    การบรรลุโสดาบันนั้น พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงวางหลักเกณฑ์ใดๆตามความเห็นส่วนตัวของพระพุทธองค์เองแต่อย่างใดเลย "แต่โดยสภาพแห่งธรรม" หากความรู้ที่ได้เรียนรู้นั้น องค์ประกอบแห่งความรู้ทุกส่วนได้ทำลาย สักกายทิฐิ ศีลพรตปรามาส และวิจิกิจฉาลงได้ทุกส่วนหมดแล้วเช่นกันไซร้ ก็เท่ากับ "ดวงจิต" นั้นได้บรรลุเป็นอริยชนชั้นต้น คือ โสดาบันแล้ว <O:p</O:p
    สักกายทิฐิ คือ ความเห็นที่เป็นส่วนอวิชชาล้วนๆว่าเป็นตัวเป็นตนว่าเป็นเราเป็นเขาว่าเป็นอัตตาล้วนๆ เป็นส่วนของดวงจิตที่ยังถูกอวิชชาครอบงำได้ในทุกส่วน วิธีแก้ไขคือต้องเรียนรู้และยอมรับเพื่อทำความเป็นสัจธรรมความเป็นจริงให้ปรากฏว่า จริงๆแล้วไม่มีเราไม่มีเขาไม่มีอัตตามีความเป็นตัวตน แต่ความเป็นจริงมันประกอบขึ้นไปด้วยขันธ์ทั้ง 5 หรือ สิ่งห้าอย่างมารวมตัวกันคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และขันธ์ทั้ง 5 นี้ ก็ล้วนตกอยู่ในกฎธรรมชาติ คือ มันล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเองโดยเนื้อหามันเอง มันคือความหมายแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน มันคืออนัตตาอยู่แล้วโดยเนื้อหาโดยสภาพของมัน เมื่อสภาพแห่งธรรมปรากฏขึ้นเช่นนี้แล้วก็ถือว่าดวงจิตนั้นได้ทำลายอวิชชาแห่งสักกายทิฐิลงได้โดยสิ้นเชิง<O:p</O:p



    ศีลพรตปรามาส คือ ข้อห้าม ข้อวัตรหรือเงื่อนไขหลักเกณฑ์ต่างๆที่ดวงจิตนั้นเข้าไปยึดมั่นถือมั่นโดยคิดว่าจะต้องทำข้อวัตรข้อห้ามเงื่อนไขนั้นๆอยู่ตลอดเวลาเพื่อไปสู่หนทางแห่งพระนิพพาน แต่โดยเนื้อแท้แล้วข้อวัตร ข้อห้ามเงื่อนไขเหล่านี้ล้วนเป็นอวิชชาทั้งสิ้นเป็นหนทางที่นำไปสู่ความเป็นโมหะงมงาย ไม่ใช่เส้นทางแห่งธรรมอันเป็นธรรมชาติซึ่งเป็นหนทางอันหลุดพ้นแท้จริง เช่น ลัทธิที่ต้องถือข้อวัตรคลานสี่ขาเหมือนโคแล้วต้องกินหญ้าทุกวัน เมื่อทำเช่นนี้แล้วตนเองจักเชื่อว่าข้อวัตรเหล่านี้จะทำให้ตนพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง แต่ด้วยความเป็นจริงโดยเนื้อหาแห่งข้อวัตรนั้นมันกลับเป็นอวิชชาซึ่งเต็มไปด้วยโมหะอย่างยิ่ง แต่เมื่อนักบวชเหล่านี้ได้ฟังธรรมพระพุทธองค์แล้วเกิดความเข้าใจในธรรมทั้งปวงและปล่อยให้จิตมันดำเนินไปสู่วิถีธรรมชาติของมันอันเป็นข้อวัตรแห่งธรรมชาติ เมื่อสภาพแห่งธรรมปรากฏขึ้นเช่นนี้แล้วก็ถือว่าดวงจิตนั้นได้ทำลายอวิชชาแห่งศีลพรตปรามาสลงได้โดยสิ้นเชิง<O:p</O:p
    วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยในธรรม เป็นความลังเลสงสัยด้วยความไม่เข้าใจว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุแห่งทุกข์ อะไรคือการดับทุกข์ได้ และอะไรคือหนทางแห่งความพ้นทุกข์ ความลังเลความไม่เข้าใจในธรรมทั้งปวงมันเป็นอุปสรรคต่อการจะเข้าไปแก้ไขปัญหาดวงจิตที่ถูกอวิชชาห่อหุ้มเอาไว้ เสมือนว่ามีปัญหาเกิดขึ้นอยู่แต่ไม่มีความรู้เลยว่าปัญหานั้นคืออะไร มีลักษณะอย่างไร ปัญหาเกิดขึ้นตรงไหนแล้วจะเข้าไปแก้ไขปัญหานั้นด้วยวิธีอะไร หากไม่ยอมศึกษาเรียนรู้ในธรรมว่าอะไรคืออะไรให้เกิดความเข้าใจตรงต่อสัจธรรมและสรุปเอาเองว่าธรรมแบบนี้แบบนั้นใช่แล้วตามความเข้าใจของตน การเข้าไปแก้ไขปัญหาด้วยลักษณะไม่รู้จริงก็ทำให้ปัญหาคืออวิชชานั้นยังคงอยู่ และลักษณะการเข้าไปแบบความไม่รู้จริงก็กลายเป็นอวิชชาตัวใหม่ซ้อนเข้ามาทำให้เกิดปัญหามากขึ้นตามมาอีก<O:p</O:p



    ครั้งในสมัยพุทธกาลที่พระองค์ทรงประกาศธรรมไว้ครั้งแรกในนาม "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร" พระองค์ทรงตรัสถึงธรรมอันเป็นทางสายกลาง คือมรรคมีองค์ 8 ให้ละเว้นทางที่ตึงเกินไป คือ การบำเพ็ญทรมานกายต่างๆแบบทุกรกิริยา และให้ละเว้นทางที่หย่อนเกินไปคือทางที่เสพกามคุณ และพระพุทธองค์ทรงตรัสว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือสมุทัย(เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์) อะไรคือนิโรธ(การดับทุกข์ได้) อะไรคือมรรค(หนทางแห่งความพ้นทุกข์) ซึ่งเป็นธรรมอริยสัจทั้ง4 พระองค์ทรงชี้ให้ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 แก้ไขปัญหาในอวิชชาอย่างเป็นระบบและถูกต้องตรงต่อสัจธรรม เมื่ออัญญาโกณฑัญญะเข้าใจในธรรมที่พระองค์ตรัสแล้วว่า ความปรุงแต่งความคิดทั้งปวงคือทุกข์ ความไม่รู้คืออวิชชาพาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 จนก่อให้เกิดตัณหาอุปาทานคือสมุทัย ความไม่เที่ยงโดยสภาพมันเองโดยตัวมันเองของขันธ์ทั้ง5 ของตัณหาอุปาทานทั้งปวงคือ นิโรธ และตรงนี้คือหนทางดับทุกข์ได้ คือมรรค ก็เท่ากับอัญญาโกณฑัญญะทำลายสักกายทิฐิ ศีลพรตปรามาส วิจิตรกิจฉาลงได้แล้ว และเมื่ออัญญาโกณฑัญญะปล่อยให้จิตดำเนินไปสู่ความดับโดยตัวมันเองซึ่งเป็นวิธีและวิถีธรรมชาติของมัน พระองค์จึงเปล่งวาจาออกมาว่า "อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอรู้แล้วหนอ" อัญญาโกณฑัญญะก็บรรลุเป็นอริยชนชั้นโสดาปัตติผล ณ เวลานั้น




    คัดลอกมาจาก
    หนังสือ

    ชาวฟ้าดาวดึงส์ ธรรมานุสรณ์
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2011
  11. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +53
    นิพพาน<O:p</O:p

    วิชชาแปลว่าความรู้แจ้งทั้งปวง วิมุตติแปลว่าความหลุดพ้น<O:p</O:p
    วิชาและวิมุตติจึงเป็นความหมายของคำว่า นิพพาน นั่นเอง<O:p</O:p
    แต่วิชชาและวิมุตติจะบริบูรณ์เกิดขึ้นได้เพราะเกิดจากโพชฌงค์ธรรมบริบูรณ์<O:p</O:p
    และโพชฌงค์ธรรมจะบริบูรณ์ได้เพราะเกิดจากการเจริญสติปัฏฐาน4 นั่นเอง (เป็นข้อความที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในกุณฑลิยสูตร)<O:p</O:p



    สรุปได้ว่า เมื่อบุคคลได้เจริญและกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 เมื่อสติปัฏฐานบริบูรณ์ ย่อมยังให้โพชฌงค์บริบูรณ์และวิชชาวิมุติย่อมบริบูรณ์ตามไปด้วย ซึ่งเท่ากับว่าเมื่อสติปัฏฐานบริบูรณ์ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ ย่อมทำพระนิพพานให้แจ้งได้<O:p</O:p



    หลักจึงอยู่ที่ว่าต้องเข้าไปเจริญกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 เพื่อให้สติปัฏฐานบริบูรณ์เท่านั้น โดยลักษณะธรรมธาตุแห่งธรรมมีอยู่เพียง 2 ลักษณะเท่านั้นคือ<O:p</O:p
    1.สังขตธาตุ คือธรรมธาตุอันมีลักษณะปรุงแต่ง<O:p</O:p
    2.อสังขตธาตุ คือธรรมธาตุอันมีลักษณะไม่ปรุงแต่ง<O:p</O:p


    สังขตธาตุนั้น คือธรรมอันมีลักษณะปรุงแต่ง ซึ่งเกิดจากอวิชชาความไม่รู้ โดยไม่รู้ว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน(อนัตตา)อยู่แล้วโดยธรรมชาติของมัน เมื่อไม่รู้ก็เลยเข้าไปยึดมั่นถือมั่นก่อให้เกิดเป็นตัณหาอุปทานจนกลายเป็นตัวตนมีเรา มีเขาขึ้นมา(อัตตา) ซึ่งสังขตธาตุนี้เป็นธรรมซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงเนื้อหาแห่งสังขตธาตุไม่ตรงต่อสัจจธรรม ไม่ตรงต่อ ธรรมชาติ ตามที่มันควรจะเป็น<O:p</O:p



    การเข้าไปเจริญหรือกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 เป็นการปรับกระบวนการให้เป็นไปตามความเป็นจริงซึ่งตรงต่อสัจธรรมคือหลัก ธรรมชาตินั่นเอง เป็นการรู้เท่าทันว่า เมื่อเกิดการปรุงแต่ง(สังขตธาตุ)ตามลักษณะของหมวดธรรมทั้ง 4 ในสติปัฏฐานแล้ว การปรุงแต่งนั้นก็ย่อมไม่เที่ยงดับไปเองโดยสภาพมันเองโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว<O:p</O:p





    อสังขตธาตุนั้น คือธรรมอันมีลักษณะไม่ปรุงแต่ง ซึ่งเกิดจากความรู้เห็นตามความเป็นจริงที่ว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน(อนัตตา) อยู่ แล้วโดยธรรมชาติของมัน อสังขตธาตุนี้เป็นธรรมซึ่งตรงต่อความเป็นจริง เนื้อหาแห่งอสังขตธาตุนี้เป็นเนื้อหาซึ่งตรงต่อสัจธรรมตรงต่อธรรมชาติโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p





    การเข้าไปเจริญหรือกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน4 เป็นการปรับกระบวนการให้เป็นไปตามความเป็นจริงซึ่งตรงต่อสัจจะธรม คือ หลักธรรมชาติ หรือ สังขตธาตุนั่นเอง เป็นการรู้เท่าทันว่าเมื่อเกิดการปรุงแต่ง(สังขตธาตุ)ตามลักษณะธรรมของหมวดธรรมทั้ง4 ในสติปัฏฐานแล้ว การปรุงแต่งนั้นก็ย่อมไม่เที่ยงดับไปเองโดยสภาพมันเองโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว<O:p</O:p
    เพราะฉะนั้นการเข้าไปเจริญหรือกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน4 จึงเป็นการปรับกระบวนการไปสู่ความไม่ปรุงแต่ง(อสังขตธาตุ)ล้วนๆ ไปสู่ ธรรมชาติล้วน เมื่อกลายเป็นสภาพแห่งธรรมอันไม่ปรุงแต่งล้วนๆแล้ว เมื่อกลายเป็น ธรรมชาติล้วนๆแล้ว สติปัฎฐานย่อมบริบูรณ์<O:p</O:p



    สติปัฎฐานจะบริบูรณ์ได้ย่อมเกิดจาก การตัดได้โดยเด็ดขาด จากอาการปรุงแต่งทั้งปวง(สมุทเฉจ) จนกลายเป็นสภาพแห่งธรรมอันไม่ปรุงแต่งล้วนๆ จนกลายเป็นสภาพ ธรรมชาติล้วนๆอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว สมุทเฉจหรือการตัดได้โดยเด็ดขาดจากการปรุงแต่งทั้งปวงนั้นเป็นอุบายอันแยบยลอันเกิดจากการพิจารณาว่า โดยเนื้อหาทั่วๆไปตามกฎธรรมชาตินั่น <O:p</O:p
    -จริงๆแล้วโดยธรรมชาติทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว<O:p</O:p
    -จริงๆแล้วโดยธรรมชาติทุกสรรพสิ่งเมื่อไม่เที่ยงอยู่แล้วก็ย่อมกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้ว<O:p</O:p
    -จริงๆแล้วโดยธรรมชาตินั้นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้วย่อมเป็น


    ธรรมชาติล้วนๆแห่งความไม่ปรุงแต่งอยู่แล้วซึ่งตรงนี้เรียกว่า ความว่างหรือสูญญตา(ความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน)<O:p</O:p
    แต่ด้วยความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ในกฎธรรมชาติ ก็ทำให้อวิชชาความไม่รู้พาปรุงแต่งเป็นจิตปรุงแต่งลักษณะต่างๆเช่น <O:p</O:p
    -จิตปรุงแต่งว่า มีเรา และเรายังไม่หลุดพ้น<O:p</O:p
    -จิตปรุงแต่งว่า มีเรา และเรารอให้ อวิชชา ตัณหา อุปทานคลี่คลายเบาบางลงไปจนกว่าจะนิพพานบ้าง<O:p</O:p

    ถ้าหากไปพิจารณาในหมวดจิต ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้ในหมวดจิตในจิตว่า<O:p</O:p
    -เมื่อจิตปรุงแต่งว่า จิตยังไม่หลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น<O:p</O:p
    -เมื่อจิตปรุงแต่งว่า จิตหลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น<O:p</O:p
    โดยความเป็นจริงแล้ว โดยธรรมชาติทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว ย่อมดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้ว คือธรรมชาติล้วนๆแห่งความไม่ปรุงแต่งอยู่แล้ว ซึ่งมันย่อมเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้วโดยสภาพธรรมชาติของมันนั่นเอง<O:p</O:p
    แต่เพราะความไม่เข้าใจหลักธรรมชาติตรงนี้ อวิชชาความไม่รู้ของเราก็จะพาเราปรุงแต่งว่า มีเรา และเรายังไม่หลุดพ้น อยู่ร่ำไปแต่พุทธองค์ก็ทรงชี้ให้เห็นว่า เมื่อจิตปรุงแต่งว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น”<O:p</O:p
    เป็นการรู้ชัดซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งสติว่า จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตยังไม่หลุดพ้นนี้ ย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยธรรมชาติมันเอง ย่อมกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้วโดยธรรมชาติ และย่อมไปสู่ ธรรมชาติล้วนๆแห่งความไม่ปรุงแต่ง ซึ่งเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้ว<O:p</O:p



    สรุปโดยแท้จริงแล้วความว่างอันเป็นสูญญตา(ความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน) เป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้วโดยธรรมชาติมันเอง เป็นธรรมชาติล้วนๆอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว<O:p</O:p



    การที่จิตปรุงแต่งเป็นจิตลักษณะต่างๆ เช่นการที่จิตปรุงแต่งว่ามีเราและเรายังไม่หลุดพ้น การที่จิตปรุงแต่งว่า มีเราและเรารอให้อวิชชา ตัณหา อุปทาน คลี่คลายเบาบางลงไปจนกว่าจะนิพพานบ้างนั้น มันก็ล้วนเป็นการปรุงแต่งเพื่อปิดบัง พระนิพพานอันเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้วทั้งสิ้น <O:p</O:p


    เมื่อจิตปรุงแต่งทุกชนิดไม่เที่ยงดับไปเองอยู่แล้วตามธรรมชาติ มันก็กลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลือ มันก็กลายเป็นความหลุดพ้นอยู่แล้วโดยเนื้อหาธรรมชาติ มันก็กลายเป็นพระนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหามัน <O:p</O:p



    เมื่อความว่างอันเป็นสูญญตานั้นแหละคือความหลุดพ้นอยู่แล้วคือพระนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรุงแต่งใดๆเข้าไปจัดการ ธรรมชาติ เพื่อให้เกิดพระนิพพานตามความไม่รู้ ไม่เข้าใจของตนขึ้นมาอีก<O:p</O:p



    เมื่อเข้าใจว่าความว่างอันเป็นสูญญตาคือความหลุดพ้นอยู่แล้ว คือพระนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง เพราฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะเข้าไปปรุงแต่งว่า นี้คือความหลุดพ้น นี้คือจิตหลุดพ้น ขึ้นมาอีกเช่นกัน ซึ่งมันจะกลายเป็น อวิชชาตัวสุดท้ายที่เข้าไปติดกับดักของมัน พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า เมื่อจิตปรุงแต่งว่า จิตหลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น เป็นการรู้ชัดซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งสติว่า จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตหลุดพ้น ซึ่งเป็นอวิชชาตัวสุดท้ายนี้ย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยธรรมชาติมันเอง ย่อมกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้ว โดยธรรมชาติ และย่อมไปสู่ ธรรมชาติล้วนแห่งความไม่ปรุงแต่ง ซึ่งเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้ว<O:p</O:p




    เมื่อพิจารณาได้อย่างเข้าใจถ่องแท้แล้วว่า ความว่างหรือสูญญตานั้นก็คือเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอันคือพระนิพพานอยู่แล้ว
    จิตปรุงแต่งในหมวดสติปัฏฐาน 4 ก็ล้วนเป็นจิตปรุงแต่งที่บังพระนิพพาน(อันเป็นเนื้อหาธรรมชาติแห่งความหลุดพ้นโดยสภาพมันเอง) อยู่แล้วทั้งสิ้น เมื่อจิตปรุงแต่งในหมวดสติปัฏฐาน 4 ไม่เที่ยงอยู่แล้ว ดับไปเองอยู่แล้ว มันย่อมกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้วนั่นคือความว่าง หรือสูญญตา ซึ่งมันก็คือเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอันเป็นพระนิพพานอยู่แล้ว


    การปล่อยให้ความว่างหรือสุญญตา มันคงเนื้อหามันอยู่อย่างนั้นโดยธรรมชาติของมัน มันจึงกลายเป็นธรรมชาติล้วนๆอันปรุงแต่งๆไม่ได้แล้ว มันจึงกลายเป็นพระนิพพานอยู่แล้ว<O:p</O:p
    การปล่อยให้ความว่างหรือสูญญตา มันคงเนื้อหามันอยู่อย่างนั้นโดยธรรมชาติของมัน จึงเป็นการตัดได้โดยเด็ดขาดจาการปรุงแต่งทั้งปวง(สมุทเฉจ) อันทำให้สติปัฏฐานบริบูรณ์<O:p</O:p


    เมื่อสติปัฏฐานบริบูรณ์ย่อมยังโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ไปด้วย<O:p</O:p
    เมื่อโพชฌงค์บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ไปด้วย<O:p</O:p
    จึงหลุดพ้นด้วยประการฉะนี้ (วิมุติญาณทัสสนะ)..............................................นิพพาน.<O:p</O:p





    ไม่มีอะไรให้แบก ไม่มีอะไรให้ปล่อย ไม่มีอะไรให้วาง <O:p</O:p
    ความว่างคือ พระนิพพานอยู่แล้ว




    คัดลอกมาจาก


    หนังสือ
    ชาวฟ้าดาวดึงส์ ธรรมานุสรณ์

    <O:p</O:p

    <O:p</O:p<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2011
  12. pichak

    pichak Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +69
    นิพพาน ; ไม่ยึดติด ; คลายจิต ทางเดียวกัน (มีเวลาไม่มาก)
    ปฎิบัติรวมรวมจิต ยึด ทางเดียวกัน (มีเวลามากก็เหมาะ)
    ถูกทั้งสอง ไม่มีใครผิด มิเชื่อ ลองไปกราบพุทธอรหันต์ ท่านดูก็ได้ พอกราบแล้วอย่าลืมบอกว่า ขอฉับพลัน นะครับ
     
  13. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +53
    ผมเคยถามพระอาจารย์ ราเชนทร์ อานนฺโท
    ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ผมศึกษาความรู้ทางธรรมกับท่าน

    ผมเคยถามท่านว่า
    ธรรมในแบบที่ท่านสอนนี้
    เป็นคำสอนของพวกสำนักเซน
    ที่บรรลุโดยฉับพลันหรือเปล่า


    ท่านตอบว่า
    จะฉับพลัน..........ได้อย่างไร
    กว่าท่านจะพบ....
    รสชาด แห่ง
    ธรรมชาติล้วนๆ........นี้ได้
    ท่านก็บำเพ็ญ
    เข้าไปทำแบบผิดๆ
    ตั้ง
    9 ปี
    ท่านบอกว่า
    ไม่เห็นจะฉับพลันตรงใหน


    ท่านบอกว่า
    หากไม่รู้จริง
    มันก็จะติด
    อวิชชาตัณหาอุปาทาน
    อยู่อย่างนั้น


    หากรู้จริง
    แบบ
    เข้าใจในธรรมทั้งปวง
    และแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด
    แบบวิธีธรรมชาติ......ตามที่พระองค์กล่าวไว้
    ท่านว่า
    รู้แจ้งเมื่อไหร่
    ก็
    หลุดพ้น
    ดว้ย
    ธรรมชาติล้วนๆ
    เดี๋ยวนั้น


    ท่านว่า
    ไม่มีเชื่องช้า
    และ
    ไม่มีฉับพลัน


    ท่านว่า
    มีแต่ความเข้าใจ
    และ
    มีแต่ความไม่เข้าใจ



    ท่านว่า
    ทางหลุดพ้น
    มีทางเดียว
    คือ
    ธรรมชาติแห่งธรรมเท่านั้น

    ไม่มีสองทาง
    ไม่มีทางอื่น



    จะมีพระพุทธเจ้า........อีกสักกี่พระองค์
    ก็ล้วน
    มาตรัสรู้
    เรื่อง
    ธรรมชาติแห่งธรรม.....
    นี้เท่านั้น



    หนึ่ง
    ไม่มี
    สองเป็นอย่างอื่นครับ


    ลองอ่าน
    บทความ
    เรื่อง
    โสดาบัน
    สติปัฏฐาน
    โพชฌงค์ธรรม
    นิพพาน

    บทความทั้ง 4 เรื่องนี้
    น่าจะเป็นหลัก
    ที่จะนำไปปฏิบัติได้
    แบบไม่ต้องหาอะไร.......มาเพิ่มเติมอีกแล้ว

    เหมาะสำหรับ
    ผู้เริ่มปฏิบัติธรรม.....มือใหม่
    และ
    ผู้ที่ปฏิบัติธรรม.......มานานแล้ว




    ลอง
    ค่อยๆ
    อ่านดู
    อีกที
    ให้ครบทั้ง 4 บทนะครับ


    วางอคติ
    ลงเสียก่อน
    น่าจะได้ความรู้
    ที่ตรงต่อ
    สัจจธรรม.......ล้วนๆ








    ด้วยรักและห่วงใย





    [​IMG]
     
  14. อศูนย์น้อย

    อศูนย์น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +495
    สาธุอนุโมทนากับท่าน เมเฆนทร์ ด้วยครับยาวมากนั่งอ่านจน
    หยดสุดท้ายเลย ผมชอบในธรรมนี้ครับที่ ท่านแสดงเล่าขานแบบนี้ บางคนอาจ
    จะไม่เข้าใจ ก็ช่างเขาเถิดครับ ผมคิดว่าผมเข้าใจครับ รู้สึกรับรู้ ตามที่ท่านได้แสดงมา
    เช่นนั้น ที่ว่าชอบนั้น คือ มันตรงตัวผมพอดีเข้าใจมาสัก ระยะนึงแล้ว ก็ได้แต่เก็บไว้ในใจ
    พอท่านได้กล่าวออกมา ผมยินดีมากครับ ที่ยังมีคนที่คิดและเข้าใจแบบผม คนที่ไม่เข้าใจ
    เขาเหล่านั้น ยังติดมืออยู่ครับ แต่เขามองมันไม่เห็น ผมขอเสดงความเห็นว่า เห็นด้วยกับ
    เจ้าของกระทู้เป็นที่สุด เพราะผมเองก็เข้าใจดั่งที่ท่านเจ้าของกระทู้ได้แสดงมา ครัยจะเป็น
    อะไรก็ช่าง อย่าไปหมายมั่งกับสิ่งใด เพียงปล่อยไห้เป็นไป ในเหตุปัจใจที่เกิดดับเป็นไปตาม
    สภาวะธรรม เป็นไปตามธรรมชาติ เพราะสิ่งนั้นล้วนเป็นสิ่งเดียวกันพวกท่านๆทั่งหลายใย
    ต้องจักสงใสอาไรอีกเล่า นับ 1 > 2 >3 >สุดท้ายก็จบที่ 0 มันก็มีแค่นี้จะว่าอยากหรือ
    ง่าย ไม่สำคัญหลอกครับ มันอยากสำหลับบุคคลที่ปิดกั้นนำความคิดตนเองเป็นที่ตั้ง แต่
    มันง่ายสำหลับคนที่เปิดใจยอมรับธรรมชาติอย่างแท้จริง เข้าใจในธรรมชาติ แล้วไม่อยาก
    เลยแม้แต่น้อย ขอบคุญเจ้าของกระทู้กับบทความดีๆมีความหมายแบบนี้ น้อยคนนักที่จัก
    มองเห็น สาธุ
     
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692

    เราไม่ต้องพูดอะไรเลยนะเนี่ย
    สรุป คุณมีการพิจารณาใช่ไหม ถึงกล่าวมามากขนาดนี้
    มันขัดรึเปล่าล่ะ ที่คุณว่าไม่ต้องไปทำอะไรเลย

    คุณไม่ยอมตกม้าตาย มีความคิดยาวมาเป็นขบวน
    คุณไม่แปลกใจเหรอ ทำเหมือนรู้ทางออก กลับไม่พบทางออก
    รู้ไหม พวกที่พูดธรรมเสมือนเลิศ แต่วกวนไปมาไม่สิ้นสุด
    ก็เพราะขยันทำมามาก เพียรมามาก
    พอมาเจอคนสอนบอกไม่ต้องทำอะไรเลย
    ก็เลย โอ้... พระเจ้ามาโปรดแล้ว
    บอกคนอื่นไม่ต้องทำอะไร แต่ตัวเองทำอะไรบ้างก็ไม่รู้ตัว

    ความคิดพิจารณา ถ้าจะว่าปรุงแต่ง (อยากจะใช้คำว่าปรุงแต่งก็ได้)
    (ทั้งนี้ไม่รวมพวกคิดแต่กิเลส วนอยู่ในกิเลสนะ เอาพวกคิดธรรมเลยนี่แหละ)
    คนคิดถูก ก็ไม่ได้ปรุงแต่งไปทางกิเลส แต่เขาแต่งทางเดินให้ตรง
    ส่วนคนพิจารณาไม่เป็น เหนื่อยเปล่า ยิ่งไปทางโมหะ ยิ่งวิ่งก็ยิ่งหลง
    เหมือนพวกที่บอกว่าไม่ต้องทำอะไร ทั้งที่ตัวเองหยุดคิดก็ไม่ได้ แต่ว่ามันดับไป ไม่ต้องทำอะไร

    การเห็นความคิดดับไป แล้วว่าไม่ต้องทำอะไร
    ที่จริง ไม่ได้เห็นมันดับไปจริง แค่รู้ตัวตามในภายหลัง
    การทันความคิดดับได้จริงๆ จะต้องมีอินทรีย์ห้าพละห้าแก่กล้ามาก ซึ่งต้องมีการเจริญสติอย่างต่อเนื่อง คนที่จะพิจารณาธรรมได้อย่างแนบแน่นแทงทะลุก็ต้องอาศัยพละห้านี่แหละ พละห้าจะเกิดได้นี่ จิตจะต้องเปี่ยม สติ สมาธิ ปัญญา คือเรียกว่าแทบไม่มีความฟุ้งซ่าน(เพราะตัวตนแทบไม่มีแล้วเห็นแต่อาการ) และแนบแน่นกับธรรมที่กำลังพิจารณาอยู่ และเหตุที่คนฟังธรรมแล้วบรรลุมาก ก็เพราะแนบแน่นกับการฟังจนตัวตนดับไป (ความคิดดับลง) นั่นล่ะขันธ์ห้าดับไป


    การปฏิบัติแบบทีละขั้นตอน นั้นก็เพื่อสอนให้คนเข้าใจจากพื้นฐาน ฐานดีเขาก็จะไปเร็วเองไม่ต้องห่วงว่าจะช้าเลย แต่พวกข้ามขั้นนี่ อาจไปเร็วเหมือนกันแต่ไม่รู้ไปไหนนะ

    เราเองคุณมาสรุปว่าปฏิบัต้ทีละขั้นได้หรือเปล่าไม่ทราบ เพราะเราปฏิบัติด้วยตัวเอง แล้วกลับมาศึกษาเอาภายหลัง แต่กระนั้นก็อ่านหนังสือธรรมะมาบ้างแล้ว พอนั่งสมาธิเองก็กำหนดสติ มีการพิจารณาธรรมที่เกิดขึ้นตลอด เพราะมาทางสายชอบคิด ส่วนการศึกษาปริยัติเพิ่งมาศึกษาเพราะเน็ต พระไตรปิฏกยังมีอยู่ เห็นความสำคัญของพระไตรปิฏกอย่างมาก
    สมัยเมื่อวัยรุ่น เราคิดจนเข้าฌานพอออกฌานก็มาคิดต่อ เห็นประโยชน์ของความคิดพิจารณา และไม่เห็นประโยชน์ของความคิดฟุ้งซ่าน

    ท่าทางคุณเป็นคนช่างคิด หวังว่าจะหาทางออกได้คือเห็นความคิดดับลงได้เมื่อพละห้ามีกำลัง
    แต่ถ้าอยากปฏิบัติโดยไม่ทำอะไรเลย ความคิดเกิดแล้วดับไป แต่ไม่เห็นมันดับจริงๆ ก็คงจะมีความเข้าใจแบบนี้ไปเรื่อยๆ
     
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    สติ ทำให้เกิดธรรมะวิจยะ ใช่ไหม ลองดูซิคุณก็เขียนมาเองแท้ๆ ว่าทำอะไรบ้าง ... ถ้าไม่พิจารณาจะเข้าใจเหรอ.. ธรรมเหล่านี้ แถมทำแล้ว เกิด ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา นี่เป็นเรื่องของสมาธิ และเป็นสัมมาสมาธิด้วย


    โพชฌงค์ มีอยู่ 7 ประการ คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา

    ตราบใดกำลังหรืออินทรีย์แห่งการระลึกรู้แห่งสติยังไม่บริบูรณ์ อันเป็นเครื่องหมายแห่งโพชฌงค์บริบูรณ์ ก็เท่ากับว่ายังมีส่วนแห่งอวิชชาตัณหาอุปทานเหลืออยู่โดยเนื้อหามันเอง เพราะฉะนั้นการสอดส่องการสืบค้นธรรม การเลือกธรรมว่าอะไรคือธรรมอันปรุงแต่ง คือ อวิชชา(สังขตธาตุ) ว่าอะไรคือ ธรรมอันไม่ปรุงแต่ง(อสังขตธาตุ) เมื่อรู้ว่าสิ่งนี้คือธรรมอันปรุงแต่ง ก็จะได้เจริญสติระลึกรู้ว่า ธรรมอันปรุงแต่งนี้ก็ล้วนไม่เที่ยงมันดับโดยตัวมันเองโดยสภาพมันเองตามธรรมชาติ การเลือกเฟ้นธรรม การสอดส่องธรรม การสืบค้นธรรมในลักษณะเช่นนี้ ก็คือธัมมวิจยะแห่งโพฌชงค์ธรรมนั้นเอง ธัมมวิจยะจึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสติการระลึกรู้แบบอนุโลมปฏิโลมซึ่งกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2011
  17. สปาต้า

    สปาต้า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +46
    ปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย

    เรียนไม่เป็นก็มีโทษ

    ปัญหา คนทั่วไปเข้าใจว่า การเรียนธรรมเป็นของดี มีประโยชน์ แต่ถ่ายเดียว ใครจะทราบว่าการเรียนธรรมก่อให้เกิดทุกข์โทษ มีหรือไม่?

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษเหล่าบางพวกในพระธรรม วินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทานอิติวุตตกะชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุรุษเหล่าเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรอง เนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแก่บุรุษเปล่าเหล่านั้น ผู้ไม่ไตรตรองเนื้อความด้วยปัญญา บุรุษเปล่าเหล่านั้น เป็นผู้มีความข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ (เรียนเพื่อข่มผู้อื่น) และมีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ (เรียนเพื่อให้คนตำหนิมิได้) ย่อมเล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลายย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด บุรุษเหล่าเหล่านั้นย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์แห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นอันบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษเสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือ ที่แขน หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีการกัดนั้นเป็นเหตุข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะงูพิษตนจับไม่ดีแล้ว”

    อลคัททูปมสูตร มู. ม. (๒๗๘)
    ตบ. ๑๒ : ๒๖๗-๒๖๘ ตท.๑๒ : ๒๑๗-๒๑๘
    ตอ. MLS. I : ๑๗๑-๑๗๒
     
  18. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อ่านแล้ว ก็งูกินหางจริงๆ
    ไม่ใช่แค่นี้ ทั้งส่วนอื่นๆ ที่คุณเขียนด้วย

    ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่า แล้วสภาวะนิพพานที่แท้จริง อยู่ตรงใหน
    ก็ตรงที่ มันสุญญตาโดยธรรมชาติอยู่แล้วนั่นแหละ
    มันว่างโดยธรรมชาติอยู่แล้วนั่นแหละ

    รู้ไหมเวลาที่เซน เขาบอกว่า นิพพานมันก็ว่างอยู่โดยตัวมันเอง
    เกิดอะไรขึ้นกับคนฟังที่กำลังจะบรรลุ
    เหมือนถูกตีหัวไง หยุดคิดฉับพลัน ขันธ์ห้าดับ หยุดตัวตนในการสร้างเหตุปัจจัยใหม่ทันที ขันธ์ห้าดับจริงๆ ไม่ใช่เกิดจิตดวงใหม่ที่ไปรับรู้จิตดวงเก่าที่ดับไป แบบนี้มันไม่เห็นของจริง แค่คิดเอานะ หากเหตุปัจจัยใหม่ยังเกิดอยู่เรื่อยๆ ถึงต้องฝึกสติตามรู้ เพื่อจะได้มีกำลังในการหยุดเหตุปัจจัยจริงๆ ดับจริง ไม่ใช่อะไรๆ ก็ดับไปแล้ว ว่างอยู่แล้ว แบบนี้นิพพานอยู่แล้วไม่ต้องมาเกิดแล้วล่ะ

    อริยมรรคไม่เจริญ สติปัฏฐานไม่เจริญ ปัญญาญาณจะเกิดอย่างไร



    อืม ... ตกลงต้องเข้าไปเจริญสติหรือเปล่าล่ะก่อนมันจะบริบูรณน่ะ
    เอาให้แน่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2011
  19. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    สาธุค่ะ

    ขนาดคนจับงูเป็น ไม่ขยันหมั่นเพียร ไม่ฝึกฝน จับไม่จริงจัง ก็รอดยากเหมือนกัน ธรรมนั้นเป็นของสำหรับคนเอาจริง :'(
     
  20. pichak

    pichak Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +69
    สาธุ สาธุ
    การเข้าไปมุ่งมั่นกระทำเป็นการรวมจิต จะเอา พยาม จิตจะไม่อิสระ
    แต่การคลายจิต นิพพาน หรือ ไม่ยึดติดนั้น จิตจะอิสระ วาง ว่าง
    ความพยาม ใช้กับนิพพานไม่ได้
    ใช้ 2 สีให้เห็นข้อแตกต่างเลยนะเนี่ย
     

แชร์หน้านี้

Loading...