ปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เมเฆนทร์, 25 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +53
    หากไปศึกษาในพระสูตรต่างๆในพระสุตันตปิฏกไล่เรียงตั้งแต่ธรรมจักรกัปปวัฏตนสูตร อนัตลักขณะสูตร อาทิตยสูตร เป็นต้น พระพุทธองค์ได้ตรัสลักษณะธรรมที่เหมือนกันไว้คือ "ขันธ์ 5 ไม่เที่ยงโดยสภาพมันเอง ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ และขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเอง" และผู้ที่มาฟังธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้แบบนี้แล้วต่างก็บรรลุธรรมในระดับชั้นแตกต่างกันไปตามความเข้าใจในธรรมของตน

    การพิจารณาธรรมว่าขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เป็นการเรียนรู้เพื่อขจัดความไม่เข้าใจลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวง เมื่อได้เรียนรู้ว่าอะไรคือทุกข์และจะดับทุกข์นั่นได้อย่างไร เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง5 เป็นทุกข์ เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง5 ไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้วไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นไม่ควรเข้าเนื่องเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง 5 ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วโดยสภาพมันเอง ก็ถือว่าได้เข้าใจในกระบวนการแก้ไขปัญหาในกองทุกข์ได้ทั้งหมด<O:p</O:p

    เมื่อพิจารณาจนเกิดความเข้าใจชัดเจนแล้ว ก็จงปล่อยให้ขันธ์ทั้ง5 ดับไปทุกกรณี การดับของขันธ์ทั้ง 5 เป็นการดับโดยตัวมันเองสภาพมันเองอยู่แล้วโดยมีพื้นฐานแห่งความรู้ความเข้าใจในธรรมในการแก้ไขปัญหา เป็นวิธีการแบบที่ไม่มี "เรา" เข้าไปเกี่ยวข้องเข้าไปจัดการ มันเป็นวิธีการโดยตัวมันเองซึ่งเรียกว่า "วิธีแบบธรรมชาติ" เป็นธรรมชาติที่มันดับมันไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว และเป็นธรรมชาติที่มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยตัวมันเองอยู่แล้วเช่นกัน<O:p</O:p

    การปฏิบัติธรรมโดยการปล่อยให้มันเป็นไปตามกระบวนการ "ธรรมชาติแห่งขันธ์" ดังกล่าวนี้เป็นการปฏิบัติธรรมตามความหมายที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ ในพระสูตรต่างๆ และข้อยืนยันในสัจจธรรมอันเป็นธรรมชาติแห่งขันธ์ 5 ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน โดยสภาพมันเองโดยตัวมันเองนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในนิพพานสูตรว่า "นิพพานคือธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว" ซึ่งหมายถึงพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมไว้ว่า เส้นทางแห่งพระนิพพานเป็นเส้นทางในกระบวนการ "ธรรมชาติ" เท่านั้น เป็นธรรมชาติที่ไม่เที่ยงอยู่แล้ว โดยตัวมันเองนั้นเท่ากับว่ามันเป็นธรรมชาติที่มันไม่ปรุงแต่งอยู่แล้วโดยสภาพมันเองอีกด้วยเช่นกัน เป็นความหมายโดยนัยยะ<O:p</O:p

    -การที่คิดว่าจะต้องเข้าไปทำอะไรสักอย่างหนึ่งกับอีกอย่างหนึ่งเพื่อให้พระนิพพานเกิดเช่น การคิดว่าเราจักต้องทำสติ สมาธิ ปัญญา เพื่อให้ไปสู่เส้นทางพระนิพพาน ความคิดเช่นนี้เป็นลักษณะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 โดยลืมนึกว่าความคิดแบบนี้ก็ล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ล้วนไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วเช่นกัน การเข้าใจและการลงมือปฏิบัติด้วยความคิดแบบนี้อยู่ตลอดเวลาเป็นการเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะมันไม่ใช่วิธีในการแก้ไขปัญหาในกองทุกข์แบบ "ธรรมชาติ" ตามที่พระพุทธองค์ตรัส วิธีแบบธรรมชาติมันเป็นวิธีของมันอยู่แล้วมันต้องอาศัยความมีเราเข้าไปจัดการเข้าไปปฏิบัติ<O:p</O:p

    -การที่คิดว่าจะต้องเข้าไปกำหนดว่าสิ่งนี้ไม่เที่ยง เข้าไปกำหนดว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เข้าไปกำหนดว่า สิ่งนี้คือเวทนาทั้งหลาย การเข้าไปสำรวมระวังแบบกำหนดสติไว้ในอริยบทต่างๆคือ ยืน นั่ง เดิน นอน เข้าไปกำหนดว่าอะไรคืออะไรในกระบวนการแห่งขันธ์ การกำหนดเช่นนี้เป็นลักษณะจิตปรุงแต่งซ้อนเข้าไปทำให้มีเรามีอัตตาขึ้นมาเป็นการขัดขวางธรรมชาติโดยสิ้นเชิง การรู้ชัดแบบมีสัมมาสตินี้เป็นการรู้แบบ "ธรรมชาติ"ในการรู้มีสติ เป็นการรู้มีสติบนพื้นฐานที่ขันธ์ 5 ไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้วไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว เป็นการรู้มีสติแบบ "ไม่มีเรา ไม่มีอัตตา" แต่การกำหนดเป้นการปรุงแต่งยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 จนทำให้เกิดตัณหาอุปทานมีเราขึ้นมาซึ่งไม่ใช่ "ธรรมชาติ" แห่งขันธ์ซึ่งมันต้องดับไปเองอยู่แล้วโดยสภาพ<O:p</O:p

    -การเข้าไปจับกุมจับฉวย สภาวะธรรมใดสภาวะธรรมหนึ่งตลอดเวลาเพื่อทำให้พระนิพพานเกิด การจับกุมจับฉวยก็เป็นการกระทำที่ขัดขวางต่อกระบวนการธรรมชาติโดยสิ้นเชิงเช่นกัน<O:p</O:p

    การปฏิบัติธรรมโดยที่มี "เรา" เข้าไปคิดจัดการจัดแจงเข้าไปกำหนดเข้าไปจับกุมจับฉวย เพื่อที่จะมี "เรา" หรือ "อัตตา" เข้าไปปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นความเข้าใจผิดในธรรมเป็นความลังเลสงสัยไม่เข้าใจในเนื้อหาแห่งธรรมอยู่ เปรียบเสมือน เอา "เรา" หรือ "อัตตา" ไปแสวงหา "นิพพานอันเป็นธรรมชาติแห่งธรรมล้วนๆ" ซึ่งเป็น "อนัตตา" เอา "อัตตา" ไปทำเพื่อให้เกิด "อนัตตา" ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ นิพพานธรรมก็จักไม่เกิดขึ้นเพราะจิตยังติดปรุงแต่งในตัววิธีปฏิบัติธรรมนั่นเอง<O:p</O:p

    แต่การที่ปฏิบัติธรรมโดยอาศัยความเข้าใจในธรรมแล้วปล่อยให้ขันธ์ 5 ดำเนินไปสู่ "วิธีธรรมชาติ" ที่มันดับโดยสภาพมันเองที่มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว เป็นการ "ปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย" เป็นการปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่มีอัตตาไม่มีเราเข้าไปเกี่ยวข้อง เป็นการปฏิบัติธรรมตรงต่อสัจธรรมตรงต่อที่พระพุทธองค์ประสงค์จะให้เรียนรู้และเข้าใจแบบนี้
    เป็นการปฏิบัติธรรมแบบ "ธรรมชาติแห่งความไม่มีเรา ไม่มีอัตตาเข้าไปปฏิบัติ" "เป็นการปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องใช้จิตปรุงแต่งให้มีเราเข้าไปทำอะไรอีกเลย"


    คัดลอกมาจาก
    หนังสือ.........ชาวฟ้าดาวดึงส์ ธรรมานุสรณ์
    ------------------------------------------------------------
    [​IMG]


    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
     
  2. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +1,254
    ที่กล่าวมานี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีจิตที่ละเอียดอ่อนพอสมควรเเละต้องมีสมาธิในระดับขณิกสมาธิเป็นอย่างต่ำเเละมีสติในการพิจารณาธรรมพอสมควรถึงจะสามารถน้อมจิตใจพิจารณาธรรมอันละเอียดจนสามารถเข้าถึงธรรมนั้นได้

    เเต่อย่ามาบอกว่าในปัจจุบันสำหรับคนธรรมดาไม่เคยฝึกสติฝึกสมาธิเลยพอมาฟังธรรมอันละเอียดเเละจะสามารถน้อมจิตเข้าถึงธรรมได้ถ้าเป็นสมัยพระพุทธองค์เเละพระพุทธองค์มาตรัสสอนนั้นก็สามารถที่คนที่ไม่เคยฝึกจิตหรือฝึกสมาธิสามารถน้อมจิตเข้าถึงธรรมได้เพราะก่อนที่พระพุทธองค์จะสอนท่านจะมีหลักในการสอนทีละขั้นๆจนจิตผู้ฟังนั้นมีสติสมาธิเเละจิตที่ละเอียดพอต่อการเข้าถึงธรรม

    เเต่สมัยนี้วัตถุเเละจิตในคนมันต่างกันจะให้ไม่ต้องทำอะไรเลยฟังเเต่อาจารย์สอนตามตำราทำเป็นเหมือนพระพุทธองค์โดยที่ไม่ฝึกให้ผู้ฟังนั้นเจริญสติสมาธิเลยนั้น ผมบอกได้เลยอย่ามาเปรียบ

    ไปศึกษาพระไตรปิฎกมาให้ดีก่อนจะสั่งสอนคนอื่นเพราะจำทำให้ผู้อื่นเสียหายจากคุณงามความดีของพระธรรมได้

    คุณบอกว่าไม่ต้องกำหนดรู้ใช่ไหมครับงั้นพิจารธรรมข้อนี้หน่อย

    พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้
    ความกำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
    [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน?
    คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.(ขันธ์ทั้ง ๕)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้.
    [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนดรู้เป็นไฉน?
    (ความกำหนดรู้เพื่อ)ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้. (จึงควรกำหนดรู้ยิ่งในขันธ์ทั้ง ๕ ก็เพื่อความสิ้นไปดังกล่าว)
    [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้กำหนดรู้แล้วเป็นไฉน?
    บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว ควรจะกล่าวว่าพระอรหันต์ กล่าวคือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว.​
    <CENTER>(พระไตรปิฎก เล่มที่๑๗/๒๘๙)

    </CENTER>
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ธรรมชาติมันก็อยู่ของมันอย่างนั้นก็ถูกนะ แต่ที่เป็นปัญหาเพราะในจิตใจของคนยังประกอบด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานเต็มขั้น เราจึงต้องปฏิบัติกรรมฐาน (ให้ถูกต้อง) เพื่อทำลายกิเลสตัณหาอุปาทาน
     
  4. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +1,254
    จริงๆไม่อยากตอบเพราะไม่อยากเอามาเเบกให้หนักจิตเเค่ขันธ์เราก็หนักอยู่เเล้วเเต่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อหลายๆคนที่เข้ามาอ่านก็เลยลองใช้ปัญญาที่พอมีบ้างตอบดู
    สำหรับ ขจกท นั้นถ้ามีข้อคิดเห็นอะไรก็ขอให้ ปุจฉา ได้เลยนะครับเเต่ขอให้เวลาอ้างโปรดใช้พระไตรปิฎกของ เถรวาท นะครับ อย่าอ้างหลักฐานคำภีร์ใบลานหรือศิลาจารึกพันปีหรืออ้างตาม ญาณของอาจารย์ท่านบอกว่าเห็นโน่นเห็นนี่เเต่ขัดในพระไตรปิฏกอันนี้ก็ไม่เอานะครับเพราะมันจะจบไม่ลง เละเทะไปกันใหญ่

     
  5. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692

    การคิดว่า ต้องทำสติ สมาธิ ปัญญา นี่ต้องทำ
    แต่สัมมาสติ ไม่ต้องทำอะไร เป็นธรรมชาติ ไม่ต้องทำอะไร
    แล้วสัมมาสติเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยการไม่ทำอะไร แล้วมันเกิดขึ้นแบบไหน


    ที่ว่าการเกิดสัมมาสติ เป็นธรรมชาติ เป็นธรรมชาติที่นี้เป็นของคนที่ฝึกจิตมาดีแล้วหรือเปล่า แทนที่เขาจะเลือกอกุศลเจตสิกก็เลือกสติเจตสิกแทน แต่ความดีความเลวหรือความเท่าทันดีเลว(สติ) มันเกิดขึ้นในจิตแล้วทั้งนั้น ถ้าเขาเลือกสติ เขาก็อาจข่มวาจา ข่มการกระทำไว้ได้ คนมีสติย่อมไม่ประมาท

    การเจริญสติของปุถุชน เพื่อเท่าทันกิเลส รู้กลไกกิเลส ปหานกิเลส กับพระอรหันต์ที่มีสติสมบูรณ์แล้ว ไม่ต้องทำอะไรแล้วก็เพราะทำกิจเสร็จแล้ว (ปหานกิเลสหรืออวิชชาไปแล้ว) มันไม่เหมือนกัน

    ควรไปศึกษาสติปัฏฐานสูตรดูค่ะ ว่าต้องเจริญอย่างไรบ้าง
     
  6. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อนุโมทนา

    น่าสนใจค่ะ บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว กับบุคคลผู้(ยังต้อง)กำหนดรู้(ต่อไป..)
     
  7. สปาต้า

    สปาต้า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +46
    การตรัสรู้โดยฉับพลันมีได้หรือไม่

    ปัญหา มีพระพุทธศาสนาบางนิกายถือว่า การบรรลุมรรคผล อาจเกิดขึ้นได้โดยแบบพลัน เช่นเดียวกับแสงสว่างวาบขึ้นทันทีทันใด ขับไล่ความมืดให้หมดสิ้นไป การบรรลุมรรคผลโดยฉับพลันดังกล่าวจะมีได้หรือไม่ ?

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนปหาราทะ มหาสมุทรลาดลุ่มลึกลงไปโดยลำดับไม่โกรกชันเหนือเหวฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตตผลโดยตรง...ฯ”

    มหาปราทสูตร อ. อํ. (๑๐๙)
    ตบ. ๒๓ : ๒๐๓ ตท. ๒๓ : ๑๗๗
    ตอ. G.S. IV : ๑๓๘

    จะเห็นได้ว่า อนันตลักขณะสูตรที่พระพุทธเจ้าเทศน์ให้พระปัญจวัคคีย์ๆ ทำฌานถึงไหนแล้ว
    และอาทิตยสูตรเทศน์กับ ชลิฏ3พี่น้อง ๆ ได้กสิณไฟกันแล้วมีฤทธิ์ด้วย

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นที่ว่าตามลำดับนั้น ท่านเหล่านั้นล้วนบำเพ็ญบารมีมาตามลำดับหลายชาติแล้ว
     
  8. amornvut

    amornvut Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +82
    (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

    เรื่องธรรมะเป็นของเห็นได้ยากเหมือนกัน

    ธรรมะมีประจำไม่ใช่เฉพาะบุคคลเท่านั้น
    แท้จริงธรรมะเป็นของมีอยู่ทั่วหมดในโลกอันนี้
    ที่ท่านเรียกว่ารูปธรรม นามธรรมนั่นเอง

    ที่คนมองเห็นได้ยากก็เพราะพื้นฐานภูมิของใจมันยังมืดอยู่ด้วยกิเลส
    ซึ่งไม่สามารถจะรับรองหรือรับเอาธรรมะนั้นมาไว้คิดพิจารณาค้นคว้า
    ได้แก่ใจยังไม่สงบ

    ความสงบของใจเป็นพื้นฐานที่ตั้งของธรรมะ ธรรมะเป็นความสงบ

    คือคนเราโดยมากหาธรรมะ มีแต่คิดส่งส่ายออกไปภายนอก ถึงรู้ก็ตามเถิด

    รู้ตามปริยัติที่บัญญัติไว้ในตำรา
    หรือว่าพิสูจน์ตามหลักฐานคือศัพท์หรือคำบาลีนั้น
    ยังไม่ใช่ตัวธรรมะที่แท้จริง

    เป็นแต่รู้ตามตำรา
    จะเอามาใช้ให้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงยังไม่ได้ก่อน

    ต่อเมื่อรู้ด้วยปัจจัตตังเฉพาะตนเท่านั้น
    จึงจะนำเอามาใช้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่

    ฉะนั้นจึงเป็นของเห็นได้ยาก
     
  9. amornvut

    amornvut Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +82
    ถ้าสติไม่มีกำลังมาก ระวังโดนจิตหลอก

    จิตหลอกจิต


    พุทธสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตตํ - ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เป็นประภัสสร
    อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐํ -แต่ว่ามันหมดความเป็นประภัสสร คือเศร้าหมอง
    เพราะกิเลสที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นเหมือนแขกที่มาทำให้เจ้าของบ้านเศร้าหมองไป
    ท่านพุทธทาสอธิบายว่า เพราะจิตล้วนๆ นั้นมันเกิดขึ้น- ตั้งอยู่ -ดับไปรวดเร็วมาก ถี่ยิบจนใช้ความรู้สึกจับไม่ทัน ต้องใช้สติที่ไวมากๆ จึงจะรู้ทันการทำงานของจิตนี้ รู้ทันจิตไปทำไม เมื่อรู้ทันจิต ก็จะรู้ทันกิเลสไง เพราะกิเลส มันเกาะอยู่กับจิต คล้ายๆ กาฝากมาเกาะกับต้นไม้ แล้วกิเลสมันก็อาศัยจิตเป็นตัวทำงานแทนมัน โดยที่เราไม่รู้ตัว แต่เรามักจะหลงคิดว่ารู้ พระพุทธองค์จึงมอบอาวุธในกายเราเอง คือ อานาปาน (อ่านว่า อา-นา-ปา-นะ) หรือลมหายใจนี้ เป็นเครื่องช่วยแล้วให้สติมาเกาะไว้ จึงเรียกว่า อานาปานสติ ทำให้เห็นการทำงานของกิเลสกับจิตที่เป็นคนละตัวชัดขึ้น เมื่อเห็นแล้วจะได้ปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นกับอะไรที่กิเลสมันมักจะหลอกเราสารพัด
    แต่การจะเห็นอย่างนี้ไม่ใช่ง่ายๆ เพราะกิเลสมันแปลงกายเก่งมาก คล้ายคู่เหมือนของจิตจนแยกไม่ออก นี่เอง ที่ทำให้เราโดนกิเลสหลอกสองเด้งเป็นประจำ
    ยกตัวอย่างง่ายๆ หลายคนที่มาปฏิบัติธรรม เพราะคิดว่า จะทำให้ประสบความสำเร็จ รวย ก็เลยทุ่มทุนในการจ่ายสตางค์เข้าคอร์สปฏิบัติธรรมแพงๆ เท่าไหร่ก็ยอม เพราะหวังว่า ปฏิบัติธรรมแล้วจะส่งผลกำไรคืนมาในรูปแบบต่างๆ แต่ครูบาอาจารย์ทางวิปัสสนาบอกว่า ถ้าสถานปฏิบัติธรรมแห่งใด เริ่มต้นที่ให้บริจาคเป็นตัวเงินก่อน ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่ายังไม่ใช่ของจริง เพราะอะไร เพราะอะไรที่ต้องจ่ายก่อน มันก็ต้องหวังผล เป็นธรรมดาทางโลกที่ต้องประสบอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมันจะต่างกับทางธรรมราวกับหน้ามือเป็นหลังมือทีเดียว ธรรมะแท้ๆ คือการเห็นการการเกิด-ดับ จะช่วยใครก็จะคล้ายกับการจุดเทียน คือ จุดเทียนให้ความสว่างแก่เทียนเล่มอื่น เมื่อเทียนเล่มนี้ดับไป เทียนเล่มอื่นก็สว่างไสว ไปเรื่อยๆ โดยไม่หวังผลว่า มันจะต้องย้อนกลับมาหาตัว จุดให้ตนเองต่อ เพราะตนเองก็หมดหน้าที่ไปแล้ว ละลายสังขารตัวเองไปจนหมด จบกัน ไม่หวังผลที่จะสว่างขึ้นมาใหม่ แต่ความสว่าง กลับไปเป็นพลังให้ผู้อื่นต่อๆ ไป อย่างนี้แหละ ที่เรียกว่าจิตประภัสสร ไม่เกิด ไม่ดับ เป็นสภาวะที่คงอยู่กับจักรวาล แต่ไม่มีตัวตนให้จับต้องได้อีกแล้ว
    หนทางที่สะอาด สว่าง สงบ จึงไม่อาจตั้งต้นที่เงิน เพราะเงิน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เป็นดั่งงูพิษ ถ้าใช้ไม่เป็นก็ถูกมันใช้เอา การทำบุญ การปฏิบัติธรรม ที่หวังไปต่อยอดความรวย จึงไม่ใช่ทาง เพราะแม้จะได้ผลสำเร็จแบบโลกๆ คือ อาจจะมีสมาธิดีขึ้น มีปัญญาดีขึ้นในการที่จะทำธุรกิจอย่างฉลาดมากขึ้น แต่ว่า กิเลสมันฉลาดกว่า มันจะหลอกให้หาเงินมากขึ้นโดยมีข้ออ้างมากขึ้น และมันก็จะกลบจิตที่ประภัสสรไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว ครูบาอาจารย์ที่ดีจะไม่สอนให้ต่อยอดไปร่ำไปรวย แต่จะสอนให้ตัดยอด คือตัดกิเลสที่จรมาออกไปเรื่อยๆ ถ้ายังตัดไม่ได้ก็ดูมัน ดูมัน ไปเรื่อยๆ แล้วจะค่อยๆ เห็นความสะอาด สว่าง สงบ ของจิตที่ประภัสสรทีละนิดๆ เมื่อนั้นเราจะแยกออกว่า ไหนจิต ไหนกิเลส ไม่ถูกหลอก
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คนที่กล่าวธรรมที่ต้นกระทู้นั้น ยังไม่แจ้ง ยังหลง
     
  11. สปาต้า

    สปาต้า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +46
    ฉะนั้น คนที่กล่าวธรรมที่ท้ายกระทู้ก็..............จะเป็นใครนะ แต่ตอนนี้ ต้าเองละ
     
  12. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เข้าใจตรงกัน อนุโมทนา

    แต่ปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่ถูกซะทีเดียว

    ต้องอาศัยสติ ความเพียร และ ความปัญญาตั้งมั่น เป็นอย่างมาก

    จนเป็นธรรมชาติหนึ่ง ในการตามดู<!-- google_ad_section_end -->
     
  13. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ถามคุณหลงเข้ามา เมื่อเร็วๆ นี้ผมมีความทุกข์มากจนแทบทนไม่ได้ พอนั่งสมาธิมันก็ปล่อยวางทุกอย่างเหมือนหมดเชื้อไฟแล้ว(แค่ตอนนั้น) แล้วพอมันวางหมด ไม่มีอะไรที่อยากจะทำ ไม่มีที่ให้ไป สติมันก็มาเองเลยลุกโพล่งสว่างขึ้นมา เป็นอาการที่รู้สึกตื่นกระปรี้กระเปร่าพร้อมลุยกับทุกอย่าง เหมือนเราแยกออกมาอีกชั้น แยกจากร่างกาย และความคิดออกมา พอมันมีความคิดเคยชินเข้ามามันจะมีตัวสังเกตอีกชั้นมองดูเฉยๆ แล้วความคิดเคยชินดับไปเลย มีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะกระดิกนิ้ว หรือทำอะไรด้วยความเคยชิน ตอนนั้นรู้สึกเหมือนเวลาหายไปเลย หมดความสำคัญ เวลานอนก็มีสติรู้ตลอดเวลา ร่างกายหลับแต่เราตื่นตลอดเวลา มันไม่มีความรู้สึกแบบสุข หรือทุกข์ เพราะมันไม่มีอะไรให้เปรียบเทียบ อยู่กับปัจจุบัน แต่เป็นไม่นานก็กลับมาเหมือนเดิม ตอนนั่งตอนนั้นผมไม่ได้ทำอะไรเลย ไม่ได้บริกรรม นั่งซักประมาณ 5 นาที มันก็เหมือนกลายเป็นคนละคนเลย พอมีความคิดมันจะมีตัวที่บอกว่าแล้วไง แล้วไง คือมันไม่ทันปรุงเป็นความรู้สึก ตอนนอนก็ไม่มีความคิดฟุ้งซ่าน และไม่ฝันเลย จะทรงอารมณ์แบบนี้ยังไงให้ได้นานๆ ครับ ตอนนี้กลับเหมือนเดิมแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2011
  14. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ไม่ต้องทำอะไรจริงๆนะ...เพียงแค่เป็นแต่ผู้รู้ผู้สังเกตการณ์

    แต่วิธีการทำมันมี คือต้องรู้วิธีการในการเข้าไปรู้แบบเฉย ฝึกจนได้สติแบบอัตโนมัติ(ธรรมชาติ)

    หาใช่ว่าจะอยู่เฉยๆไม่เรียน ไม่ลอง แบบนี้อาจจะตรงกับตำราบางส่วนแต่ไม่ทุกส่วน
     
  15. pichak

    pichak Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +69
    ศึกษาสิ่งที่ใช่ ก็ใช้ตัวรู้ พอรู้ว่าใช่แล้วก็ตัด ตัวรู้ แล้วว่างเลย ไม่ต้องภาวนา(ธรรมชาติ ไม่มีการภาวนา) เลิกภาวนา ไม่ใช่ไม่ให้เรียนรู้ว่าต้องภาวนาแต่ให้ละ สละ วาง ภาวนาจนว่าง ปล่อยให้จิตคลาย นะคับ ไม่ใช่รวมจิต แล้วว่าง คลายจิตแล้วว่างเองตามธรรมชาติ (สงสัยลำบากมาซะจนชิน พอให้เจอง่ายๆ ก็ไม่แน่ใจ
    ความหมายไม่ยึดติด ตัญหา ศรัทธา ก็ต้องวาง จนไม่มีอะไร ว่างโดยธรรมชาติ อันนี้ต่างหากที่ทำได้ ไม่ใช่ละเอียดมาก ต้องมีปัญญาพิจารณา ผมว่า อิฐิมากกว่า (การยอมรับ ถ้าถิฐิมาก ก็ 1เหล่า ถิฐิน้อยลงมาก็ อีก1เหล่า ถ้าถิฐิลดลงอีก ก็อีก1เหล่า ไม่ได้หมายถึงโง่นะคับ หมายถึง การยอมรับครับ
     
  16. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +53
    เข้าทางเมเฆนทร์ครับ





    ยังยืนยันอยู่ว่า
    การกำหนด.......มิใช่ธรรมชาติ

    การกำหนดที่เอาพระไตรปิฎกอ้างนั้น
    ถูกครับ
    ไม่เถียงด้วย

    แต่
    การกำหนด
    ในความหมายของพระพุทธองค์
    คือการที่ปล่อยให้อินทรีย์ในมรรคมีองค์ 8
    หรือโพชฌงค์ 7
    มันทำหน้าที่ตามธรรมชาติตามกำลังอินทรีย์......ของมัน

    อินทรีย์ธรรมเหล่านี้
    มันเกิดจาก
    การเข้าใจ
    ว่า
    การพิจารณา กายในกาย
    การพิจารณา เวทนาในเวทนา
    การพิจารณา จิตในจิต
    การพิจารณา ธรรมในธรรม

    การพิจารณา ธรรมในสติปัฏฐาน ทั้งสี่
    ล้วนไม่เที่ยง

    จริงๆอยากจะบอกว่า
    จริงแล้ว...................
    ไม่มีอะไรให้พิจารณา
    "ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน"
    มันทำหน้าที่ของมันโดยสมบูรณ์
    อยู่แล้ว
    มันเป็นความไม่ปรุงแต่งโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว
    มันเป็นความดับสนิทไม่มีเหลืออยู่แล้ว



    ปัญหาอยู่ที่ว่า
    เราเองไม่เข้าใจคำว่า
    ธรรมชาติแห่งธรรม


    เลย
    พยายาม
    คิดแทนมัน
    ทำแทนมัน


    พยายาม
    จะเข้าไปกำหนดและลงมือเข้าไปวุ่นวาย

    ธรรมชาติมิใช่การกำหนด
    ธรรมชาติเป็นความบริบูรณ์ในธรรม
    อยู่แล้ว

    การที่มีสติในเส้นทางหลุดพ้น
    มิใช่เกิดจากการกำหนดว่าอะไรเป็นอะไร
    แล้วคอยตามรู้ตามดู
    สติในเส้นทางหลุดพ้น
    เป็นสติที่เข้าใจในธรรมทั้งปวง
    ว่า
    ล้านไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว
    ล้วนมิใช่ตัวมิใช่ตนโดยเนื้อหามันเองอยู่แล้ว





    ปัญหาที่เข้ามาโพสต์
    ทุกๆปัญหา

    มีบางสิ่งที่ทุกคนมองข้ามไป



    ทุกคนที่เข้ามาโพสต์
    ทุกคนใช้จิตของตน
    ปรุงแต่งว่า
    อะไรเป็นอะไร
    แท้จริงแล้ว
    สิ่งที่ทุกคนคิดพิจารณา
    ล้วนบ่งบอกในตัวอยู่แล้วว่า
    จิตของทุกคน
    กำลังปรุงแต่ง
    โดยมีเนื้อหาว่า
    จิตของทุกคนยังไม่หลุดพ้น


    แต่ทุกคนก็ไม่เคยเห็น
    ความไม่เที่ยงแท้โดยตัวมันเอง
    เลยว่า
    จิตที่ปรุงแต่งว่าเรายังไม่หลุดพ้นนั้น
    มันก็ล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเอง
    อยู่แล้ว
    อยู่แล้วโดยสภาพธรรมชาติแห่งธรรม

    เมื่อจิตที่ปรุงแต่งว่าเรายังไม่หลุดพ้น
    มันไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว


    ความดับไปตามธรรมชาตินี้
    ก็ก่อให้เกิด
    เส้นทางหลุดพ้นหรืออินทรีย์แห่งธรรม
    ในมรรคมีองค์ 8
    หรือโพชฌงค์ 7
    นั่นเอง

    การรู้
    หรือธรรมชาติแห่งสติ,สัมมาสติตรงนี้
    มิใช่การกำหนด
    แต่เป็นธรรมชาติแห่งธรรม
    ที่เกิดขึ้นเองอยู่แล้ว


    การที่เราต้องเข้าไปทำ
    สติ สมาธิ ปัญญา

    มันคืออวิชชาซ้อน
    ที่มันซ้อนเข้าไปทุกขณะในการที่เรา
    ใช้จิตปรุงแต่ง....เพื่อพิจารณาธรรม


    ใช้จิตพิจารณาว่าอะไรคืออะไร
    จิตชนิดนี้
    มันก็ล้วนไม่เที่ยงอยู่แล้ว

    ใช้จิตพิจารณาว่าต้องทำอะไรกับอะไร
    เพื่อให้นิพพานมันเกิด
    จิตชนิดนี้
    มันก้ล้วนไม่เที่ยงดับไปเอง
    ตามธรรมชาติอยู่แล้ว


    จิตที่พิจารณาว่า
    มรรคคืออะไร

    จิตที่พิจารณาว่า
    การกำหนดคือธรรมชาติหรือไม่

    จิตที่ปรุงแต่งว่าคุณเมเฆนทร์ถูกหรือผิด

    จิตที่พิจารณาว่าธรรมของเราใช่

    จิตที่พิจารณาว่า..........

    จิตที่พิจารณาว่า...........


    บรรดาจิตทั้งหลาย
    ที่ล้วนพิจารณา
    ในเรื่อง
    กาย
    เวทนา
    จิต
    ธรรม



    บรรดาจิตที่ใช้ไปในทาง
    พิจารณาธรรมในหมวดต่างๆทั้งหลาย


    มันก็ล้วนไม่เที่ยง
    ดับไปเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว
    มันก็ล้วนมิใช่ตัวมิใช่ตนอยู่แล้ว
    โดนเนื้อหาโดยสภาพของมัน


    ***
    เมื่อเข้าใจเช่นนี้
    ว่า
    มัน อนิจจัง อนัตตา ตามธรรมชาติโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว

    *****
    มันก็บ่งบอกว่า
    อินทรีย์ แห่ง สติ สมาธิ ปัญญา
    มันก็ยังคงทำหน้าที่ของมันอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้วเช่นกัน


    ตราบใด
    ที่มีเราเข้าไปแตะมัน
    ว่ามัน
    คืออะไร
    เกิดขึ้นได้อย่างไร
    ในสติ สมาธิ ปัญญา

    ตราบนั้น
    คราที่เข้าไปแตะ
    เข้าไปปรุง
    เข้าไปพิจารณา
    มันก็ล้วนก่อให้เกิด
    อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
    ในรูปแบบการปรุงแต่งในการพิจารณาว่า
    อะไรเป็นอะไรในธรรมเหล่านี้ที่เรายังสงสัยมันอยู่




    เลิกคิด
    เลิกทำ
    แทน
    ธรรมชาติ
    ที่มันสมบูรณ์
    ไม่มีส่วนพร่อง
    โดยสภาพธรรมชาติ
    ของมันเองอยู่แล้ว
    ซะที
    เลิกเถอะ
    เลิกเสีย
    เลิกซะ




    เมื่อไหร่
    จะหยุดปรุงแต่งว่า
    จิตของเรายังไม่หลุดพ้นซะที

    เมื่อไหร่
    จะเห็นความไม่เที่ยง
    ความดับไป
    โดยธรรมชาติ
    ที่ว่า
    จิตที่ปรุงแต่งว่าจิตยังไม่หลุดพ้น
    มันก็ล้วนไม่เที่ยง
    ดับไปเองอยู่แล้ว




    ผม
    กำลัง
    บอกว่า
    ความว่าง
    สุญญตา
    นั่นแหละ
    มันนิพพาน
    อยู่แล้ว
    โดยเนื้อหาธรรมชาติมัน


    นอกนั้น
    เป็นจิตปรุงแต่ง
    อันไม่เข้าใจในธรรม
    ปรุงเพื่อมาบัง
    เนื้อหาแห่งพระนิพพานทั้งสิ้น

    ปล่อยให้ความว่าง
    มันทำหน้าที่ของมันอยู่อย่างนั้น
    อย่าเข้าไปแตะไปยุ่งกับมัน
    แล้วความว่างนั้น
    มันก็จะทำหน้าที่ดับสนิทไม่มีเหลือซะเอง


    ยิ่งปรุงแต่งว่า
    จะทำอย่างไรเพื่อให้หลุดพ้น

    จิตปรุงแต่ง
    ชนิดนี้
    ก็ล้วนบังพระนิพพาน
    เสียสิ้น




    รู้แม้กระทั่งว่า
    การพิจารณาธรรม
    มันก็คือ.....การปรุงแต่งชนิดหนึ่ง
    มันเป็นอวิชชา
    ที่ไม่สามารถมองเห็นมันได้
    เปรียบเหมือน.....เส้นผมบังภูเขา

    เมื่อรู้ในทุกส่วน
    ว่าอะไรปรุงแต่ง
    ว่าอะไรไม่ปรุงแต่ง (ซึ่งเป็นเนื้อหาแห่งธรรมชาติแห่งธรรม)

    วิชชา ความรู้แจ้งแทงตลอด
    มันก็จักเกิดขึ้นมันเองตามธรรมชาติ
    วิมุติโดยสภาพธรรมชาติมันเอง

    ปล่อยให้มันอยู่อย่างนั้นแหละ
    สุญญตา
    มันก็เลย.....ตถตา.....ความเป็นเช่นนั้นมันเอง.....ซะเองโดยธรรมชาติมันเอง

    แล้วอย่าหลง
    เข้าไปปรุงแต่งอีกว่า
    นี่คือนิพพาน
    นี่คือจิตหลุดพ้น

    เพราะ
    จิตที่พิจารณาหรือปรุงแต่งว่าจิตหลุดพ้นนี้
    มันก็ล้วนไม่เที่ยง
    ดับไปเองตามธรรมชาติอีก



    ปล่อยให้มันคงสภาพอยู่อย่างนั้นแหละ....
    ความว่าง
    สุญญตา

    แล้วมันจะคงสภาพแบบไม่ขาดสายของมันเอง
    แล้วมันจะเป็นความหยุดคิดได้โดยสมบูรณ์ของมันเอง

    แล้วมัน
    จะ
    นิพพาน

    ซะเอง.




    (แลกเปลี่ยนความรู้กันได้ตลอดเวลานะครับ...ยินดี)




    [​IMG]
     
  17. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    รู้ทันจิตตัวเอง ตอนโพสต์ขนาดไหน เจตนาดีหรือชั่วทันขนาดไหน
    ที่ว่าดับไปโดยไม่ต้องทำอะไรเลยนะ ภพภูมิเต็มไปหมดแล้วนะคะ
    ที่สร้างไว้น่ะ เกิดดับมหาศาล กิเลสตัวสร้างดับไปนี่จริงแต่วิบากมีตามเสมอ จนกว่าจะทำลายกิเลสได้จริง

    ทีนี้การเจริญสติสี่ ก็เพื่อเกิดหนทางที่เข้าไปรู้ความจริงคือทันจิตของตนขณะนั้นๆเลย ตามหลักโพธิปักขิยธรรม37 คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ซึ่งประกอบด้วยธรรมะ 7 หมวด คือ สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน 4, อิทธิบาท 4, อินทรีย์ 5, พละ 5, โพชฌงค์ 7, มรรคมีองค์ 8

    ถ้าเจริญสติจริงต้องทันกุศลอกุศลในจิต คือ สัมมัปปธานสี่ อกุศลที่เกิดต้องทำลาย ที่ยังไม่เกิดอย่าให้เกิด ส่วนกุศลที่ยังไม่เกิดต้องเพียรให้เกิด ที่เกิดแล้วต้องเพียรรักษาไว้ เมื่อทันกิเลส สติต่อเนื่อง ย่อมเกิดอินทรีย์ห้าพละห้า คือจิตที่มีสติมีกำลังมาก เกิด สติ สมาธิ ปัญญา เมื่ออริยมรรคสมังคีก็ปหานกิเลสได้

    เปรียบเหมือนจิตสติทันจิตปรุง คือแมวทันหนู หนูเกิดก็รู้แต่จับไม่ได้ต้องปล่อยให้มันหนีไปก่อน ต่อมาเมื่อเจริญสติต่อเนื่อง แมวมีกำลังมากขึ้นๆ พอเจอหนูจับได้ทันที กี่ตัวๆ ก็จับทันหมด จนไม่เหลือหนูอีก
    นี่ธรรมของหลวงพ่อเทียนง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ ไม่ต้องสร้างความวิจิตรทางภาษากลับไปมาอะไรเลย ไม่งงด้วยนะคะ


    ส่วนลัทธิไม่ต้องอะไรเลยนี่ ทำได้จริงหรือ
    หยุดสร้างเหตุปัจจัยใหม่ได้อย่างพระอรหันต์แล้วหรือ? หรือว่าอะไรเกิดก็ปล่อยมันดับไป แล้วก็ดีแล้ว

    คนทันจิตได้จริง สร้างเหตุปัจจัยทางกิเลสน้อยลงจริง ต้องเกิดภาวะ พละห้ามีกำลังอย่างรุนแรง เมื่อนั้นแหละคุณถึงจะรู้ว่าจิตที่บริสุทธิ์เป็นอย่างไร
     
  18. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692

    การรู้ว่าอะไรปรุง อะไรไม่ปรุง
    วิชชาก็จักเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ วิมุตติโดยสภาพธรรมมันเอง (ง่ายจัง)

    แล้วก็ปล่อยมันอยู่อย่างนั้น
    แล้วก็อย่าไปหลงว่านี่จิตหลุดพ้น จิตนิพพาน (ได้)

    เพราะจิตพิจารณาก็จะดับไป (อืม..)

    ปล่อยให้มันคงสภาพ(สุญญตา)อยู่อย่างนั้น ( มันนี่ใคร จิตนิพพานหรือจิตพิจารณา มันดับไปแล้วนี่ อะไรล่ะที่คงสภาพ)

    มันจะคงสภาพไม่ขาดสาย และเป็นความหยุดคิดได้โดยสมบูรณ์ แล้วมันจะนิพพานซะเอง (คิดว่านิพพานมานานแล้วซะอีก ตกลงพระอรหันต์ท่านไม่คิดกันแล้วหรือ พิจารณาก็ไม่ได้ซิเนาะ)



    ภาวะสุญญตาหรือนิพพาน ไม่ใช่ว่าปล่อยให้จิตเกิดและดับไป ก็จักเกิดเองได้
    แต่การทันกิเลส ไม่ตามกิเลส ทำใจให้ปกติ คือเห็นว่าทุกอารมณ์ไม่เที่ยงไม่ทนไม่แท้จริง เลยไม่ตามใจกิเลส ไม่เป็นไปกับกิเลส ก็เรียกนิพพานชั่วคราว คือรักษาจิตให้ปกติอยู่
    เมื่อหาทางทวนกิเลส เพราะที่ต้องดับไปน่ะเป็นกิเลส เป็นอวิชชาที่คิดว่าขันธ์ห้าเป็นตัวตนไม่แจ้งในอริยสัจจ์ การจะดับได้จริงก็ต้องเข้าไปเห็นสภาวะสุญญตานั้นจริง เกิดปัญญาญาณเห็นแจ้งความจริง และเมื่อวิชชาเกิดขึ้นจริงแล้ว แม้นออกมาทรงขันธ์ห้าก็ไม่ยึดถือขันธ์ห้าจริงๆ ไม่ใช่เป็นแค่ความคิดว่าขันธ์ห้าไม่ใช่เราแค่นั้น
    ส่วนการคิดพิจารณาธรรมหรือเจริญปัญญาก่อน ก็สำคัญไม่แพ้การเจริญสติ สมาธิ เพราะการพิจารณาก็เพื่อเกิดปัญญา ไม่ใช่ความคิดฟุ้งซ่าน และถือเป็น จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานและธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    สุญญตา หมายถึง ว่างไปจากขันธ์ห้า

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2011
  19. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +53
    ไม่มีอะไรง่าย
    ไม่มีอะไรอยาก

    มีแต่ความเข้าใจในธรรม
    กับ
    ความไม่เข้าใจในธรรม



    ถ้าทุกคนต้องเป็นอย่างที่คุณคิด
    โลกใบนี้คงว่างจากอรหันตะ.....แน่นอน


    กว่าจะตกผลึกในธรรมได้ขนาดนี้
    ก็ผ่าน
    การพิจารณาแบบคุณมาเยอะแล้ว


    แต่ที่แตกต่าง
    ก็คือ
    ผมไม่ยอมหยุดอยู่กับที่
    เหมือนตกม้าตาย
    เหมือนอยู่ในกะลา


    แสดงว่า
    คุณไม่เข้าใจ
    ในสติปัฏฐาน
    โดยเฉพาะในหมวด "ธรรมในธรรม"



    ธรรมในธรรมนั้น
    ในส่วนของธรรมนุปัสสนาสตินั้น มีธรรมอยู่ 5 แบบ ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้คือ <O:p</O:p
    ขันธบรรพะ อายตนบรรพะ นิวรณ์บรรพะ โพชฌังคบรรพะ สัจจะบรรพะ โดยเนื้อหาแห่งธรรมต่างๆแล้วนี้ เป็นส่วนที่ต้องเข้าไปศึกษาพิจารณาเพื่อทำลายความเห็นอันเป็นสักกายทิฐิและความลังเลสงสัยอันเป็นความไม่เข้าใจในธรรม คือ วิจิกิจฉา เพื่อทำให้ความเข้าใจในธรรมทั้งปวงเกิดขึ้น เป็นความเข้าใจในธรรมที่ว่า โดยธรรมชาตินั้นย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยตัวมันเองเป็นธรรมดา โดยธรรมชาตินั้นย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว<O:p</O:p


    การที่พระพุทธองค์ตรัสถึงธรรมานุปัสสนาสตินั้น พระพุทธองค์ทรงประสงค์ที่จะเกื้อกูลหมู่สัตว์ที่มีปัญญามากพอที่จะดำเนินไปในเส้นทาง ธรรมชาติ อันเป็นเส้นทางหลุดพ้นได้ แต่ยังติดที่ยังมีความไม่เข้าใจในธรรมในส่วนต่างๆที่เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี<O:p</O:p
    แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญามีความรอบรู้ มีความเข้าใจในธรรมเข้าใจถึงปัญหาและวิธีแก้ปัญหาอย่างชัดเจนตามวิธี ธรรมชาติ แล้ว ผู้มีปัญญาเหล่านี้พึงรู้ว่า การพิจารณาธรรมเหล่านี้ ก็ล้วนเป็นจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่ง และพึงรู้ชัดซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งสัมมาสติว่า <O:p</O:p
    -จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นขันธบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นขันธบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p
    -จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นอายาตนะบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นอายาตนะบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p
    -จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นนิวรณ์บรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นนิวรณ์บรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p
    -จิตที่ปรุที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นโพชฌังคบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p
    -จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นอสัจจะบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นสัจจะบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว




    นี่เป็นส่วนหนึ่งที่คุณต้องทำความเข้าใจ
    วางความคิดเห็นว่ายากว่าง่ายลงก่อน
    เนื้อหาธรรมข้างต้น
    ผมคัดลอกมาจาก
    หนังสือ.......ชาวฟ้าดาวดึงส์ ธรรมานุสรณ์
    พระอาจารย์ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้
    ท่านเป็นพระสายปฏิบัติโดยตรง
    อยู่ทางปักษ์ใต้
    ท่านมีลูกศิษย์ลูกหาเยอะ
    ผมได้มีโอกาสเจอท่าน
    และสนทนาธรรมกับท่านหลายครั้ง
    ท่านเมตตาชี้ทางที่ตรงที่สุดให้แล้ว


    ผมว่าท่านแตกฉานในธรรมด้วยซ้ำไป



    ปัญหา
    ของคุณอีกอย่างก็คือ
    การลงมือปฏิบัติธรรมแบบทีละขั้นทีละตอน
    ซึ่งมันผิดวิธีหลุดพ้นไปหน่อย
    เด๋วจะเอาเนื้อหาธรรมลงมาโพสต์ต่อท้ายกระทู้นี้
    <O:p</O:p
     
  20. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +53
    สติปัฏฐาน<O:p</O:p

    สติปัฏฐาน เป็นหลักธรรมข้อปฏิบัติเพื่อมุ่งไปสู่วิชชา (ความรู้แจ้ง) เป็นความเข้าใจในธรรมอันเป็นธรรมชาติโดยไม่ถูกวิชชา ตัณหาอุปาทานครอบงำ โดยเนื้อแท้อันเป็นธรรมแห่งสติปัฏฐานตามความประสงค์ของพระพุทธองค์นั้น พระองค์ท่านต้องการชี้ให้เห็นถึงธรรมชาติอันดับอยู่แล้วไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยตัวมันเอง ธรรมชาติอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง การเจริญสติปัฏฐานในวิถีธรรมชาติเพื่อมุ่งไปสู่ธรรมชาติล้วนๆแห่งความดับสนิทไม่มีเหลือ เพื่อมุ่งไปสู่ธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว คือพระนิพพานนั่นเอง





    ในส่วนของกายานุปัสสนาสตินั้น ด้วยความเมตตาอันหาประมาณมิได้ที่พระพุทธองค์มีต่อบรรดาเวไนยสัตว์ทุกหมู่เหล่า พระพุทธองค์ทรงทราบดีว่ามีหมู่สัตว์ไม่น้อยที่รอบปัญญาบารมีไม่มากพอที่จะดำเนินบนเส้นทางอันหลุดพ้นแท้จริงอันเป็นธรรมชาตินี้ได้ พระพุทธองค์จึงทรงเลือกที่จะเกื้อกูลหมู่สัตว์พวกนี้ซึ่งมีปัญญาน้อย เมื่อพวกนี้ไม่สามารถเห็นธรรมชาติแห่งความดับไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้วได้ พระองค์จึงให้พิจารณากายว่าเป็นของไม่เที่ยง การพิจารณากายในกายซึ่งอยู่ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น มีทั้งพิจารณาเรื่อง อานาปานสติ พิจารณาเรื่องอริยบททั้ง 4 คือ ยืน นั่ง เดิน นอน พิจารณาเรื่องการเคลื่อนไหวแห่งอริยบท พิจารณาเรื่องธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ พิจารณาเรื่องความสกปรกเน่าเหม็นปฏิกูลในร่างกายของมนุษย์ พิจารณาเรื่องอวัยวะต่างๆที่มาประกอบกัน พิจารณาเรื่องซากศพทั้ง 9 วาระ การพิจารณากายในกายนี้ยังมิใช่การเจริญสติปัฏฐานเพื่อความหลุดพ้นอันเป็นธรรมชาติที่แท้จริง แต่ความประสงค์ของพระพุทธองค์ที่ให้พิจารณากายในกายนั้น พระองค์ท่านมีความประสงค์ว่าเมื่อพิจารณากายในกายเป็นบาทฐานแบบนี้บ่อยๆเข้าสักวันก็คงเห็นและ<O:p</O:p
    เข้าใจใน ธรรมชาติที่มันไม่เที่ยง ดับอยู่แล้วโดยตัวมันเองเข้าสักวันหนึ่ง เมื่อเข้าใจ วิถีธรรมชาติ แล้วก็จะเป็นทางดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นที่แท้จริง<O:p</O:p
    แต่สำหรับผู้มีปัญญาอยู่แล้วย่อมรู้ชัดว่า การพิจารณากายในกายก็เป็นจิตอันปรุงแต่งชนิดหนึ่งซึ่งย่อมไม่เที่ยงและดับอยู่แล้วโดยตัวมันเองตามธรรมชาติและย่อมรู้ชัดว่ากายนั้นก็ย่อมไม่เที่ยงและดับอยู่แล้วโดยตัวมันเองตามธรรมชาติเช่นกัน<O:p</O:p





    ในส่วนของเวทนานุปัสสนาสตินั้นไม่ว่าจะเป็นเวทนา 3 คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา หรือเป็นเวทนา108 ตามที่พระพุทธองค์แจกแจงไว้อย่างละเอียดตามลักษณะปัญญาบารมีแห่งความเป็นพุทธวิสัยของท่านนั้น การเจริญสติในวิถีธรรมชาติในหมวดเวทนานี้ก็เพียงแต่ให้พึ่งรู้ชัดซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งสัมมาสติว่า ไม่ว่าจะเป็นเวทนาลักษณะไหน เวทนาทุกๆลักษณะนั้นก็ล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเองก็ล้วนดับโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว ข้อความบางส่วนในอรรถกถา ฑีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร ในส่วนของเวทนานุปัสสนาสตินั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า <O:p</O:p
    สุขัง เวทนัง เวทิยามิติ ปชานาติ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา ความว่าเมื่อเสวยสุขเวทนาเพราะขณะเสวยสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนาดังนี้ เพราะฉะนั้นขึ้นชื่อว่าเวทนาไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เธอรู้ตัวในสุขเวทนาอย่างนี้<O:p</O:p
    ข้อความดังกล่าวนี้ก็ยืนยันอย่างชัดเจนว่าพระพุทธองค์ทรงตรัสถึงเรื่องการเจริญสติในวิถี ธรรมชาติซึ่งเป็นวิถีโดยตัวมันเอง ธรรมชาติที่ว่า ขึ้นชื่อว่าเวทนาทั้งหลายนั้นย่อมไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เป็นความธรรมดาเป็นความธรรมชาติโดยตัวมันเองอยู่แล้วที่ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนย่อมดับไปโดยสภาพธรรมดาธรรมชาติของมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p
    ในส่วนของจิตตานุปัสสนาสตินั้น พระพุทธองค์ตรัสถึงจิตใน 16 ลักษณะ คือ จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ(จิตที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร) จิตไม่เป็นมหัคคตะ(จิตที่เป็นกามาวจร) จิตอื่นยิ่งกว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นแล้ว จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น จิตใน 16 ลักษณะนี้ล้วนแต่เป็นจิตที่ปรุงแต่งทั้งสิ้น ล้วนแต่เป็นเรื่องของอวิชชาความไม่รู้พายึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป วิญญาณ สัญญา สังขาร เวทนา จนก่อให้เกิดเป็น ตัณหา อุปทาน เป็นอัตตาเป็นตัวตนขึ้นมา เป็นจิตที่ปรุงแต่งในลักษณะต่างๆเหล่านี้ขึ้นมา<O:p</O:p
    ความประสงค์ของพระพุทธองค์ที่ตรัสเรื่องจิตตานุปัสสนาสตินั้น พระพุทธองค์ทรงต้องการชี้ให้เห็นว่า จริง จริงแล้วทุกสรรพสิ่งในจักรวาลหมื่นแปดโลกธาตุนั้นล้วนตกอยู่ในกฎแห่งธรรมชาติ คือ ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงโดยความเป็นธรรมดาของมันโดยธรรมชาติของมัน และโดยธรรมดาโดยธรรมชาติของมันแล้วก็ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว แต่ความไม่รู้คืออวิชชาพาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง5 จนก่อให้เกิดตัณหา อุปทาน โดยเข้าว่ามันเที่ยงแท้แน่นอนเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมา เป็นจิตลักษณะต่างๆขึ้นมา<O:p</O:p
    แต่โดยลักษณะของจิตต่างๆนั้น มันก็ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติเช่นกัน คือ จิตลักษณะต่างๆทั้ง 16 ลักษณะนี้มันก็ย่อมไม่เที่ยงโดยความเป็นธรรมดาของมันโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว<O:p</O:p
    เพราะฉะนั้นการเจริญสติในวิธี ธรรมชาติ ในหมวดจิตตานุปัสนานี้ ก็เพียงให้รู้ชัดว่า เมื่ออวิชชาความไม่รู้พาปรุงแต่งเป็นจิตลักษณะต่างๆ จิตเหล่านี้ก็ย่อมไม่เที่ยงแปรปรวนไปเป็นธรรมดาธรรมชาติของมันอยู่แล้ว นั้นเอง<O:p</O:p





    ในส่วนของธรรมนุปัสสนาสตินั้น มีธรรมอยู่ 5 แบบ ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้คือ <O:p</O:p
    ขันธบรรพะ อายตนบรรพะ นิวรณ์บรรพะ โพชฌังคบรรพะ สัจจะบรรพะ โดยเนื้อหาแห่งธรรมต่างๆแล้วนี้ เป็นส่วนที่ต้องเข้าไปศึกษาพิจารณาเพื่อทำลายความเห็นอันเป็นสักกายทิฐิและความลังเลสงสัยอันเป็นความไม่เข้าใจในธรรม คือ วิจิกิจฉา เพื่อทำให้ความเข้าใจในธรรมทั้งปวงเกิดขึ้น เป็นความเข้าใจในธรรมที่ว่า โดยธรรมชาตินั้นย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยตัวมันเองเป็นธรรมดา โดยธรรมชาตินั้นย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว<O:p</O:p
    การที่พระพุทธองค์ตรัสถึงธรรมานุปัสสนาสตินั้น พระพุทธองค์ทรงประสงค์ที่จะเกื้อกูลหมู่สัตว์ที่มีปัญญามากพอที่จะดำเนินไปในเส้นทาง ธรรมชาติ อันเป็นเส้นทางหลุดพ้นได้ แต่ยังติดที่ยังมีความไม่เข้าใจในธรรมในส่วนต่างๆที่เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี<O:p</O:p
    แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญามีความรอบรู้ มีความเข้าใจในธรรมเข้าใจถึงปัญหาและวิธีแก้ปัญหาอย่างชัดเจนตามวิธี ธรรมชาติ แล้ว ผู้มีปัญญาเหล่านี้พึงรู้ว่า การพิจารณาธรรมเหล่านี้ ก็ล้วนเป็นจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่ง และพึงรู้ชัดซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งสัมมาสติว่า <O:p</O:p
    -จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นขันธบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นขันธบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p
    -จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นอายาตนะบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นอายาตนะบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p
    -จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นนิวรณ์บรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นนิวรณ์บรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p
    -จิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นโพชฌังคบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p
    -จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นอสัจจะบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นสัจจะบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p










    เมื่อเข้าใจและเจริญสติในสติปัฏฐานทั้ง 4 ตามวิธี ธรรมชาติ ที่ว่า<O:p</O:p
    -เมื่อจิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นกายในกายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว<O:p</O:p
    -เมื่อเวทนาทั้งหลายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว<O:p</O:p
    -เมื่อจิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตลักษณะต่างๆนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว<O:p</O:p
    -เมื่อจิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นธรรมที่ทำให้เกิดความเข้าใจในปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาทั้งหลายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว<O:p</O:p





    การเจริญและกระทำให้มากในสติปัฏฐาน 4 ไปในทางวิถี ธรรมชาติ ซึ่งเป็น ธรรมชาติอันไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยตัวมันเองดับไปเองในทุกส่วนของสติปัฏฐานทั้ง 4 นั้น<O:p</O:p
    -ย่อมเป็น ธรรมชาติ แห่งความดับสนิทไม่มีเหลือโดยเนื้อหามันเองอยู่แล้วด้วย<O:p</O:p
    -ย่อมเป็น ธรรมชาติ แห่งความปรุงแต่งไม่ได้อีกแล้ว<O:p</O:p
    -ย่อมเป็น ธรรมชาติ แห่งความหยุดคิดโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว<O:p</O:p
    -ย่อมเป็น ธรรมชาติล้วนๆ แห่งความหยุดนิ่งโดยสมบูรณ์อยู่แล้วงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นโพชฌังคบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิต<O:p</O:p
    -ย่อมเป็น ธรรมชาติ แห่งความหยุดปรุงแต่งโดยเสร็จเด็ดขาดอยู่แล้ว<O:p</O:p
    -ย่อมยังให้ โพชฌงค์ธรรม 7 ประการบริบูรณ์ไปด้วย






    คัดลอกมาจาก
    หนังสือ
    ชาวฟ้าดาวดึงส์ ธรรมานุสรณ์<O:p</O:p
    <O:p</O:p<O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...