ขอบพระคุณทุกท่านครับ สาธุ...

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย จิตตานุปัสสนา, 2 ธันวาคม 2010.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    [​IMG]

    กราบขอบารมีพระผู้ประเสริฐทั้งสามพระองค์ ประทานพรพี่น้องทุกท่านให้ร่ำรวย สมปรารถนารับปีใหม่ ตลอดปี 2554 ครับ

    ..............................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2011
  2. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    รายการที่ 1 พระของขวัญ วัดปากน้ำ รุ่น 2 (เคลือบแชล็ค) ปิดรายการแล้วครับ

    [​IMG]

    พระวัดปากน้ำรุ่น 1-3 ชื่อว่า “พระของขวัญ” ในวงการฯ นิยมเรียกว่า “รุ่นแรก” เพราะรูปทรงและพิมพ์ที่ใช้คือแม่พิมพ์เดียวกันหมด เป็นพระรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากะทัดรัดสวยงามน่ารัก หลวงพ่อสดท่านทำขึ้นมาเพื่อสมนาคุณแด่ผู้บริจาคทรัพย์สมทบทุนสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ที่วัดปากน้ำในสมัยที่หลวงพ่อสด เป็นเจ้าอาวาสอยู่

    พระรุ่น 1 นั้นสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2493 จำนวน 84,000 องค์ ทำบุญ 25บาท เป็นอย่างน้อย (อย่างมากเท่าใดก็ได้) จะได้รับพระจากหลวงพ่อสด 1 องค์ จะบริจาค พัน หมื่น แสน ก็ได้เพียงองค์เดียว เพราะหลวงพ่อสดท่านยึดถือว่า พระมีราคามากกว่าเงิน พระวัดปากน้ำไม่มีการแจกฟรี!

    การปลุกเสกพระวัดปากน้ำ ไม่เหมือนที่อื่นๆ ไม่มีการเชิญเหล่าท่านคณาจารย์มาร่วมปลุกเสก แต่อาศัยบุคคลในวัดที่ได้วิชชาธรรมกายของหลวงพ่อเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นฆราวาส ภิกษุ ก็ตามแต่ มีข้อบังคับคือต้องเป็นคนของวัดเท่านั้น เมื่อสร้างแล้วก็ทยอยปลุกเสก เป็นต้นว่า พระที่เสร็จแล้ว 100 องค์ก็ปลุกเสก แล้วก็นำออกแจก 100 องค์ ต่อมาเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำมาปลุกเสกแล้วทยอยแจก ลักษณะนี้ไปเรื่อยๆ เป็นลูกโซ่


    พระของขวัญรุ่น 1 ปลุกเสกนานถึง 4 เดือน เพราะอยู่ในช่วงของการเข้าพรรษาพอดี การปลุกเสกไปแจกไปนั้น หมดที่องค์สุดท้ายเมื่อ พ.ศ.2495 พระรุ่น 1 นี้ความสวยงามของพระนั้นเป็นที่นิยมในหมู่คุณแม่บ้าน และสาวๆ ทั่วไปที่ทำมาค้าขาย



    พระของขวัญรุ่น 2

    [​IMG]

    เมื่อพระรุ่น 1 ได้แจกไปนั้น เมื่อเด็กๆ และคุณแม่บ้านนำไปคล้องกัน เมื่อเวลาอาบน้ำแล้วเกิดเนื้อของพระเปื่อยยุ่ยฟองฟูขึ้น จึงนำเรื่องนี้มาเล่าให้หลวงพ่อสดท่านทราบ จากนั้นหลวงพ่อสดจึงแก้ปัญหาโดยนำน้ำมันตั้งอิ๊วมาทาที่องค์พระเพื่อกันเปื่อยยุ่ยฟองฟู แล้วนำแจก

    ชาวบ้านจึงเรียกกันว่ารุ่น 2 แท้ที่จริงก็คือรุ่น 1 นั่นแหล่ะ ในวงการฯ จึงได้ตัดสินว่าให้เรียก รุ่น 1-2 เป็นรุ่นแรก



    พระของขวัญรุ่น 3

    [​IMG][​IMG]


    พระรุ่น 3 นี้สร้างเมื่อ พ.ศ.2499 จำนวน 84,000องค์ พระรุ่น 3 แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ใหญ่ๆ คือ พิมพ์ตื้นและพิมพ์ลึก

    พระพิมพ์ตื้น เป็นแม่พิมพ์ที่เคยกดพระรุ่น 1 มาก่อน และพิมพ์นี้สร้างก่อนพิมพ์ลึก แม่พิมพ์ตื้นนี้ดังที่กล่าวมาในขั้นต้นว่าเคยใช้กดรุ่น 1 มาก่อน ท่านเก็บแม่พิมพ์ไว้แล้วนำมากดรุ่น 3 เนื่องจากเก็บเอาไว้นาน ฝุ่นเกาะและมีคราบน้ำมันอยู่หนาแน่นมาก ประกอบด้วยหลวงพ่อสดท่านได้ปรับปรุงสูตรเพื่อกันพระเปื่อยยุ่ย โดยการใส่น้ำมันตั้งอิ๊ว

    หลังจากที่กดพิมพ์ตื้นได้จำนวนหนึ่ง ด้วยความเก่าแก่ของแม่พิมพ์เกิดหักชำรุด เณรที่ทำหน้าที่กดจึงมาเรียนต่อหลวงพ่อสด จากนั้นหลวงพ่อจึงสั่งให้แกะพิมพ์ใหม่ ไม่ให้จำเจแบบของเก่า และนี้ก็เป็นปฐมเหตุที่เกิดพิมพ์ลึกขึ้นมานั่นเอง จากหลักฐานของวัด พระรุ่น 3 ได้แจกหมดไปเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2514 คือหลังจากหลวงพ่อสดมรณภาพไปแล้วนั่นเอง

    และสรุปได้ว่า พระวัดปากน้ำที่หลวงพ่อสดท่านสร้างและปลุกเสก มีเพียง 3 รุ่น คือ 1, 2 และ 3 เท่านั้น เพราะแจกพระรุ่น 2 ได้เพียง 2 ปีกว่า หลวงพ่อท่านก็มรณภาพลงใน พ.ศ.2502


    เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระวัดปากน้ำรุ่น 1 ถึงรุ่น 3 ชื่อ “พระของขวัญ” ส่วนรุ่น 4 ชื่อ “พระธรรมขันธ์” รุ่น 5 เรียก “พระธรรมกาย” ส่วนรุ่น 6 ชื่อ “พระไตรปิฎกหินอ่อน” ได้พิมพ์ปฐมฤกษ์ เมื่อ 26 สิงหาคม พ.ศ.2532 ซึ่งทำแจกแด่ผู้ที่สมทบทุนบริจาคทรัพย์สร้างพระไตรปิฎกหินอ่อน, พระมหาวิหารและพระมหาเจดีย์ ผู้ใดที่มีพระรุ่นนี้ หากตกที่นั่งลำบากให้เพ่งไปที่องค์พระจนติดตาแล้วอาราธนาขอพรให้คุ้มครองพร้อมกับภาวนาว่า “สัมมาอะระหัง” แล้วความปาฏิหาริย์จะบังเกิดขึ้น


    ส่วนผสมมวลสารของพระวัดปากน้ำรุ่นแรกเท่าที่มีดังนี้

    - ปูนขาว จากเปลือกหอยทะเล
    - ดอกไม้บูชาพระ เมื่อแห้งนำมาบดให้ละเอียด
    - กล้วยน้ำว้า
    - เส้นเกศาของหลวงพ่อสดที่ปลงเก็บเอาไว้
    - ผงวิเศษที่หลวงพ่อสดจัดทำขึ้นเอง
    - น้ำมันตั้งอิ๊ว

    ตามประวัติพระรุ่นแรกใส่ผงวิเศษและเกษรดอกไม้มากเกินไป พระจึงเป็นเนื้อเปื่อยยุ่ยเมื่อโดนน้ำ ระบบการกดพิมพ์ยังใช้การกดแบบแรงมือมิใช่ใช้แบบกระเดื่องอย่างในปัจจุบันนี้

    เม็ดสีขาวขุ่น เข้าใจว่าเป็นเม็ดของปูนขาวที่มีขนาดเล็กๆ รอดหลุดลงไป ส่วนเม็ดสีขาวใสอมเหลือง คาดว่าคงจะเป็นเม็ดของข้าวสุกตากแห้งบดละเอียดผสมใส่ลงไป จุดสีดำเล็กๆ และสีน้ำตาลนั้นทั้งอ่อนและแก่ เข้าใจว่าคงจะเป็นดอกไม้แห้งบดละเอียดผสมลงไปซึ่งมีทั้งดอกและใบรวมถึงก้านช่อ

    ข้อสังเกตอีกประการในการดูพระวัดปากน้ำรุ่นแรกโดยทั่วไปคือการทรุดตัวที่มุมขอบด้านบน และบางองค์พบว่ามีรอยของมีคมสับลึกทั้งด้านซ้ายและขวา

    ลักษณะโดยทั่วไปเป็นพระปางสมาธิ “ปฐมเทศนา” หรือบางท่านเรียกกันว่า “ปางดีดน้ำมนต์” มีฐานบัวหงาย-คว่ำ 2 ชั้น

    ด้านหลังมีอักขระขอมกดลึกลงไปอ่านได้ความว่า “พระธรรมขันธ์” หมายถึง 1 องค์ เท่ากับ 1 พระธรรมขันธ์ มีจำนวน 84,000 องค์

    ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 1.5 ซม. ส่วนสูง 2.2 ซม. ความหนาอยู่ในระหว่าง 4-7 มม.

    เนื้อพระสีขาวที่เรียกกันว่า “เนื้อปูนปั้น” คือมีปูนขาวจากเปลือกหอยทะเล และส่วนผสมอื่นๆ อีก แต่น้อยกว่า “ปูนขาว”


    พระรุ่น 1 นั้นทำไมแบ่งออกเป็นหลายๆ ใน 1 รุ่น ?
    ในยุคที่หลวงพ่อสดยังอยู่ท่านให้บูชาคนละองค์เดียว อย่างที่เรียนให้ทราบไปแล้ว หลังจากที่หลวงพ่อสดท่านมรณภาพไปนั้นก็ได้เปลี่ยนกติกาใหม่ โดยให้พระและชีนำพระของขวัญที่เหลือออกจำหน่าย โดยที่โยมๆ ต้องบริจาคทรัพย์ทอดกฐินหรือผ้าป่า ตามวงเงินที่กำหนดไว้

    พระรุ่นลองพิมพ์
    การที่เกิดรุ่นนี้ก็เพราะในครั้งแรกๆ หลวงพ่อสดได้ให้ลงมือกดพระแล้วลองดูซิว่ามีความสวยงามขนาดไหน ผู้ที่จะมีพระรุ่นนี้ส่วนมากจะเป็นพระที่บวชอยู่ที่วัดปากน้ำนี้เป็นส่วนมาก

    พระรุ่นตกค้าง
    พระรุ่นตกค้างนี้คือพระที่สร้างพร้อมๆ รุ่น 1 และ 2 ผ่านการปลุกเสกแล้วแต่ไม่นำเอาออกมาปลุกเสก เพราะลักษณะของพระนั้นไม่สวยงาม บิดเบี้ยว บิ่นเป็นกระเทาะบ้าง หลวงพ่อสดท่านสั่งให้แยกเก็บเอาไว้ แล้วเก็บเอาไว้ในกุฏิของท่าน ล้วนแต่เป็นพระที่ยังไม่ได้จุ่มแชแล๊คทั้งหมด จนกระทั่งหลวงพ่อสดมรณภาพไปแล้ว เมื่อทำการเก็บของท่าน จึงได้พบพระจำนวนนี้ หลังจากนั้นทางวัดจึงนำออกมาให้บูชาเพื่อนำเงินมาบูรณะวัด เพราะขณะนั้นพระรุ่น 1-2 หมดลงเสียแล้วหลายปี ดังนั้นจึงเรียกพระรุ่นนี้ว่า “พระวัดปากน้ำ รุ่นตกค้าง” แท้จริง ก็คือรุ่น 1-2 นั้นเอง ลักษณะก็คล้ายรุ่น 1-2 ไม่ผิดเพี้ยน

    หากจะถามว่าแล้วพระรุ่น 3 ไม่มีตกค้างบ้างเลยหรือ มีเหมือนกัน แต่ทางวัดได้นำเก็บเอามาผสมในรุ่น 4 หมดแล้ว โดยปฏิบัติเป็นลูกโซ่ อาทิเช่น นำพระรุ่น 1 ที่ชำรุดมาตำแล้วผสมกันเป็นรุ่น 2 ล้างพระรุ่น 2 ที่ชำรุดที่นำมารวมกับพระรุ่น 3 ปฏิบัติเช่นนี้ตลอด


    จากหนังสือ “รวมพระวัดปากน้ำ”
    ที่มา...


    สังเกตดีๆ ตรงมือองค์พระด้านล่างจะมีเส้นเกศาหลวงพ่อสดพาดผ่านด้วยครับ สาธุ...แท้แน่นอน รับประกัน[/SIZE][/COLOR][/B]


    เบาๆๆๆๆๆ สุดๆๆๆ ไปเลยครับ รับปีใหม่ ใครจะได้ไปหนอ 9,999 บาทครับ
    รายการนี้ค่าจัดส่งฟรีครับ...

    [​IMG]

    กรุณาโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธ.ทหารไทย สาขาย่อย ม.ราชภัฏอุดรธานี
    ชื่อบัญชี ณรงค์ ขันดีศรีไพบูลย์
    เลขที่บัญชี 516-202-8020
    โทรศัพท์ 083-284-9228
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Paknam1.jpg
      Paknam1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      405.7 KB
      เปิดดู:
      251
    • Paknam2.jpg
      Paknam2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      240.7 KB
      เปิดดู:
      249
    • Paknam3.jpg
      Paknam3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      233.6 KB
      เปิดดู:
      240
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2010
  3. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    รายการที่ 2 เหรียญสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน พิธีเดียวกับพระกริ่งนวลจันทร์ คุณ Nattawut8899 จองแล้วครับ

    สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสฉลองชนมายุครบ ๖ รอบ ๗๒ ปี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๑๒ ซึ่งในพิธีครั้งนั้นได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น ๔ อย่าง คือ พระพุทธรูปบูชา หน้าตัก ๕ นิ้ว พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ เเละเหรียญเจ้าพระคุณสมเด็จฯ โดยประกอบพิธีสุดยิ่งใหญ่ ครบถ้วนพิธีกรรม ๓ วัน ๓ คืน ในวันที่ ๒๔ - ๒๗ เมษายน ๒๕๑๒ นับได้ว่าเป็นพระกริ่งรุ่นเดียว ในประเทศไทยที่นั่งปรกแผ่เมตตาอธิษฐานจิต โดยสุดยอดเเห่งพระอริยะสงฆ์กัมมัฏฐานสายพระอาจารย์มั่น อาทิ พระอาจารย์ฝั้น หลวงปู่ขาว หลวงปู่อ่อน หลวงปู่เทศก์ หลวงปู่ท่อน หลวงปู่หลวง หลวงปู่ศรี หลวงปู่พุธ หลวงปู่ตื้อ พระอาจารย์จวน และหลวงตามหาบัว โดยขณะที่นั่งปรกพิธีกรรมอยู่นั้นได้เกิดเหตุอัศจรรย์ปรากฏเเสงจันทร์นวลปกคลุมทั่วมณฑลพิธี จนเป็นเหตุให้วัตถุมงคลชุดนี้ได้รับการขนานนามอีกชื่อว่า พระกริ่งเเสงจันทร์ หรือพระกริ่งนวลจันทร์

    ซึ่งเหรียญนี้ก็อยู่ในพิธีนั้นครับ...ใครชอบสายกรรมฐาน เชิญนิมนต์ครับ...

    [​IMG]

    เปิดเบาๆ 350 บาทครับ

    กรุณาโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธ.ทหารไทย สาขาย่อย ม.ราชภัฏอุดรธานี
    ชื่อบัญชี ณรงค์ ขันดีศรีไพบูลย์
    เลขที่บัญชี 516-202-8020
    โทรศัพท์ 083-284-9228

    รบกวนค่าจัดส่ง EMS 50 บาทด้วยครับ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • WW1.jpg
      WW1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      504.3 KB
      เปิดดู:
      188
    • WW2.jpg
      WW2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      362.5 KB
      เปิดดู:
      171
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2010
  4. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    รายการที่ 3 สมเด็จ หลวงพ่อชื้น วัดเขาพลอง ปิดรายการแล้วครับ...

    พระผงว่าน 108 ลักษณะสี่เหลี่ยม เท่าพระสมเด็จ ด้านหน้าเป็นเสาศาลา 2 ข้าง เหนือศีรษะเป็นลายกนก หลวงพ่อชื้นนั่งบนอาสนะ ที่ฐานมีคำว่า “อริยธัมโม” ด้านหลังเป็นยันต์ 3 มะ อะ อุ ระบุวัดปฐมเทศนาอรัญวาสี รุ่นพิเศษ มี 3 เนื้อ สีขาว สีดำ และสีน้ำตาล (คล้ายน้ำตาลปึก) พระผงรุ่นนี้ใส่กล่องพลาสติกสีเหลืองสีเดียว ฝามีคำว่า พระผงว่าน 108 อริยธัมโม รุ่นแรก สร้างราวปี พ.ศ. 2518 จำนวนการสร้างไม่มากนัก รุ่นนี้มีข้อมูลว่าผสมผงชำรุดและแตกหักของ สมเด็จวัดระฆัง สมเด็จบางขุนพรหม ปนลงไปด้วย ยิ่งเพิ่มความขลังเป็นทวีคูณ

    เปิดเบาๆ 950 บาทครับ ใช่ว่าจะหากันได้ง่าย ๆ

    [​IMG]

    กรุณาโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธ.ทหารไทย สาขาย่อย ม.ราชภัฏอุดรธานี
    ชื่อบัญชี ณรงค์ ขันดีศรีไพบูลย์
    เลขที่บัญชี 516-202-8020
    โทรศัพท์ 083-284-9228

    รบกวนค่าจัดส่ง EMS 50 บาทด้วยครับ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LC1.jpg
      LC1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      554.2 KB
      เปิดดู:
      1,593
    • LC3.jpg
      LC3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      841.7 KB
      เปิดดู:
      185
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2010
  5. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
  6. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    รายการที่ 4 สมเด็จหมออวย เนื้อแก่ผงบางขุนพรหม เนื้อจัด ๆ เลี่ยมพร้อมใช้ ปิดรายการแล้วครับ

    สมเด็จหลวงปู่ขาว วัดถ้ำกองเพล จังหวัดอุดรธานี สุดยอดอริยสงฆ์ องค์หนึ่งของเมืองไทย พระสมเด็จรุ่นนี้เป็นพระยุคแรกของท่าน สร้างโดยศาตราจารย์นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ ใช้มวลสารของหลวงปู่ขาว เส้นเกศา และ สมเด็จบางขุนพรหมหักที่เปิดกรุในปี 2500 ถือเป็นพระสมเด็จอันดับหนึ่งของหลวงปู่ขาว องค์นี้เป็นพิมพ์ใหญ่ เนื้อจัด หลังมีตรายาง หายาก

    [​IMG]

    ใครชอบเชิญนิมนต์ครับ...15,000 บาท (ได้มาก็ไม่มีกล่องแล้วนะครับ)
    ลดรับปีใหม่ครับ... 8,500 บาท


    กรุณาโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธ.ทหารไทย สาขาย่อย ม.ราชภัฏอุดรธานี
    ชื่อบัญชี ณรงค์ ขันดีศรีไพบูลย์
    เลขที่บัญชี 516-202-8020
    โทรศัพท์ 083-284-9228

    รบกวนค่าจัดส่ง EMS 50 บาทด้วยครับ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC03839.jpg
      DSC03839.jpg
      ขนาดไฟล์:
      816 KB
      เปิดดู:
      156
    • DSC03841.jpg
      DSC03841.jpg
      ขนาดไฟล์:
      880.9 KB
      เปิดดู:
      203
    • DSC03845.jpg
      DSC03845.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      177
    • DSC03847.jpg
      DSC03847.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      146
    • DSC03851.jpg
      DSC03851.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      146
    • DSC03856.jpg
      DSC03856.jpg
      ขนาดไฟล์:
      342.4 KB
      เปิดดู:
      139
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2010
  7. โคมฉาย

    โคมฉาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    3,058
    ค่าพลัง:
    +26,744
    ชอบทุกองค์ครับ
    โดยเฉพาะองค์แรก พระในตำนานของกระผมเลยครับ
    เพื่อนผมที่เป็นนายตำรวจ นิยมใช้รุ่นนี้ติดตัว
    สาเหตุ เพราะแขวนแล้วได้เลื่อนตำแหน่ง
    ท่านใดตำแหน่งชักนิ่งต้องบูชาครับ
     
  8. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    [​IMG]

    ปิดรายการแล้วครับกระผม
    สาธุ....
    พรุ่งนี้รีบจัดส่งให้ครับ
    ไม่งั้นต้องรอถึงวันอังคาร
    ผมจะส่งของสมนาคุณไปให้ด้วยนะครับ
    สาธุ
     
  9. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    ขอบพระคุณครับ ประสบการณ์ตรง :cool:
     
  10. ญานธรรม

    ญานธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,936
    ค่าพลัง:
    +14,705
    ลดราคากันแบบกระจาย สงสัยจังจะมีใครได้เป็นเจ้าของนะ
     
  11. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    ขอบพระคุณครับ..
    เี๋ดี๋ยวมาลงอีกหลายรายการ
    คงมีคนเจ้าของตัวจริงมานิมนต์ไปเองครับ..
     
  12. ญานธรรม

    ญานธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,936
    ค่าพลัง:
    +14,705
    สงสัยจังแล้วเหรียญนี้พิธีไหนครับ จัดสร้างเมื่อไหร่หรือครับ ขอเป็นความรู้หน่อยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    ไม่ทราบเหมือนกันนะครับ
    ดูแล้วน่าจะพิธีัเดียวกันกับการเสกพระกริ่งนวลจันทร์..
    สาธุ สวยมากๆ ครับ
     
  14. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    จาก http://thaimisc.pukpik.com/freewebbo...ew&topic=13118

    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ __________________[/QUOTE]
     
  15. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    หลวงปู่ฤทธิ์ รตนโชโต วัดชลประทานราชดำริ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ ทองแดงรมดำ รุ่น 1

    [​IMG]

    พระครูอินทวรคุณ หรือหลวงปู่ฤทธิ์ รตนโชโต เจ้าอาวาสวัดชลประทานราชดำริ ต.สูงเนิน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ ยอดพระเกจิอาจารย์แห่งแดนอีสาน ที่มีศิษยานุศิษย์มากมายทั้งในและต่างประเทศให้ความเลื่อมใสศรัทธา

    ประวัติหลวงปู่ฤทธิ์ รตนโชโต ชื่อเดิม ฤทธิ์ ไม้ลึกดี เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2459 ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ ต.ทุ่งมนต์ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 ที่วัดเพชรบุรี อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ หลวงปู่ฤทธิ์ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนา ยึดหลักพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระนักอนุรักษ์และพัฒนา ได้ก่อตั้งวัดชลประทานราชดำริ ท่านได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากศิษยานุศิษย์อย่างกว้างขวาง หลวงปู่ฤทธิ์ท่านมรณะภาพด้วยโรคชราอย่างสงบ เมื่อเวลา 04.00 น. ในวันที่ 1 มิถุนายน 2548 สิริรวมอายุได้ 89 ปี พรรษารวม 66 พรรษา

    ทางด้านพระเวทย์วิทยาคม หลวงปู่ฤทธิ์ท่านเป็นพระที่มีบุญญาบารมีและพระเวทย์วิทยาคมสูงอีกท่านหนึ่งแห่งแดนอีสาน วัตถุมงคลที่หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตปลุกเสกล้วนศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังมาก สร้างประสบการณ์ดีๆให้แก่ผู้ที่ใช้บูชามากมาย วัตถุมงคลของท่านทุกประเภทได้รับความนิยมสูง เป็นที่เสาะแสวงหาของผู้ที่รู้ถึงพลังพระเวย์วิทยาคมของหลวงปู่เป็นอย่างมาก

    เปิดราคาเบาๆ 450 บาทครับ...

    กรุณาโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธ.ทหารไทย สาขาย่อย ม.ราชภัฏอุดรธานี
    ชื่อบัญชี ณรงค์ ขันดีศรีไพบูลย์
    เลขที่บัญชี 516-202-8020
    โทรศัพท์ 083-284-9228

    รบกวนค่าจัดส่ง EMS 50 บาทด้วยครับ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04210.jpg
      DSC04210.jpg
      ขนาดไฟล์:
      468.9 KB
      เปิดดู:
      144
    • DSC04216.jpg
      DSC04216.jpg
      ขนาดไฟล์:
      309.3 KB
      เปิดดู:
      260
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ธันวาคม 2010
  16. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    เหรียญสมเด็จสังฆราชแตงโม วัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี ปิดรายการแล้วครับ

    [​IMG]

    สมเด็จเจ้าแตงโม เดิมชื่อ ทอง เป็นชาวนาหนองหว้า กำพร้าพ่อแม่แต่เล็กอยู่กับพี่สาว พี่สาวใช้ให้ ตำข้าว หาฟืนทุกวัน วันหนึ่งตำข้าวหก พี่สาวคว้าฟืนไล่ตีเลยวิ่งหนีเอาตัวรอด (อายุประมาณ ๙ - ๑๐ ขวบ) แล้วเข้าเมืองเที่ยวระเหเร่ร่อนเข้าหมู่ไปตามฝูงเด็ก ๆ จนมีเพื่อนเล่นเพื่อนเที่ยวมาก เช่น เด็กบ้าน เด็กวัด เด็กทองนี้ได้เที่ยวอด ๆ อยาก ๆ อาศัยแต่น้ำประทังความหิวไปวันหนึ่ง ๆ ด้วยความอดทน วันหนึ่งลงเล่นน้ำกับเด็กวัดใหญ่ที่ท่าหน้าวัด มีเปลือกแตงโมลอยน้ำมา ๑ ชิ้น ด้วยความหิวจึงคว้าเปลือกแตงโมได้แล้วก็ดำน้ำลงไปเคี้ยวกินแล้วโผล่ขึ้นมา เพื่อเด็กที่เล่นน้ำด้วยกันรู้ว่าเด็กทองกินเปลือกแตงโม ก็พากันเย้ยหยันต่าง ๆ ว่าตะกละกินเปลือกแตงโม จึงได้พากันเรียกว่าเด็กแตงโม ถึงอย่างไรก็ดี เด็กทองก็ไม่แสดงความเก้อเขินขัดแค้นต่อเพื่อเด็กด้วยกัน คงยิ้มแย้มแจ่มใสพูดจาเล่นหัวตามเคย ตั้งแต่วันนั้นมาก็กระจ๋อกระแจ๋กับเด็กวัดใหญ่จนได้เข้าไปเล่นหัวอยู่ในวัดกับเพื่อน ทั้งได้ดูเพื่อนเขาเขียนอ่านกันอยู่เนือง ๆ แล้วก็เลยนอนค้างอยู่กับเพื่อในวัดด้วยกัน วันหนึ่งเป็นพิธีมงคลการ เจ้าเมืองได้นิมนต์สมภารไปสวดมนต์เย็น ครั้นเสร็จแล้วกลับวัด พอตกเวลากลางคืนสมภารจำวัดตอนใกล้รุ่งฝันว่าช้างเผือกตัวหนึ่งได้เข้ามาอยู่ในวัด แล้วขึ้นไปบนหอไตร แทงเอาตู้พระไตรปิฎกล้มลงหมดทั้งหอ ครั้นตื่นจากจำวัดท่านก็นั่งตรองความฝันจึงทราบได้โดยตำราลักษณะสุบินทำนาย พอได้เวลาท่านจะไปฉันที่บ้านเจ้าเมือง ท่านสั่งกับพระเผ้ากุฏิว่า ถ้ามีใครมาหาให้เอาตัวไว้ก่อนรอจนกว่าจะพบท่าน แล้วท่านก็ไปฉัน ครั้นเสร็จแล้วกลับมาวัดถามพระว่ามีใครมาหาหรือเปล่า พระตอบว่าไม่มีใครมาหา ท่านจึงคอยอยู่จนเย็นก็ไม่เห็นมีใครมาจึงไต่ถามพระสามเณรศิษย์ว่าเมื่อคืนมีใครแปลกหน้าเข้ามาบ้างหรือเปล่า เด็กวัดคนหนึ่งเรียนว่า มีเด็กทองเข้ามานอนด้วยคนหนึ่ง ท่านจึงได้ให้ไปตามตัวมา ครั้นเด็กทองมาแล้ว ท่านจึงได้พิจารณาดูรู้ว่าเด็กทองนี้เองที่เข้าสุบิน ท่านจึงไต่ถามเรื่องราวต่าง ๆ จนได้ความตลอดแล้ว จึงชักชวนให้อยู่ในวัดมิให้ระเหระหนไปไหน ธรรมเนียมวัดแต่โบราณ เมื่อใครพาเด็กให้มาเล่าเรียนแล้ว มักจะปล่อยให้เล่นหัวกันเสีย ให้คุ้นเคย สัก ๒ - ๓ เวลาก่อน จึงจะให้ลงมือเขียนอ่าน พอถึงวันกำหนดท่านจึงเรียกเด็กทองให้เขียนหนังสือ เด็กทองก็เขียนได้ตั้งแต่ ก, ข, ก. กา, ไปจนถึงเกยตลอดจนอ่านหนังสือพระมาลัยได้ ท่านมีความประหลาดใจจึงถามว่าเจ้ารู้มาจากไหน เด็กทองบอกว่ารู้ที่วัดนี้เอง เพราะดูเพื่อนเขาเขียนเขาอ่านจึงจำได้ ท่านสมภารจึงได้ให้บวชเป็นเณรหัดเทศน์ธรรมวัตรและมหาชาติ และเรียนอรรถแปลบาลีด้วย ครั้นเทศกาลเข้าพรรษา เจ้าเมืองให้สมภารเทศน์ ไตรมาส วันหนึ่งท่านสมภารไม่สบาย จึงให้สามเณรแตงโมไปแทน ครั้นสามเณรแตงโมไปถึงเจ้าเมืองเห็นเข้าก็ไม่ศรัทธา จึงบอกว่าเมื่อพ่อเณรมาแล้วก็เทศน์ไปเถิด แล้วกลับเข้าไปในห้องเสีย สามเณรแตงโมก็ขึ้นเทศน์ พอตั้งนะโมแล้วเดินบทจุลนีย์เริ่มทำนองธรรมวัตรสำแดงไป ผู้ทายกทั้งข้างหน้าข้างในได้ฟังเพราะจับใจ ทั้งกระแสเสียงก็แจ่มใส เมื่อเอ่ยถึงพระพุทธคุณมีพระอรหังเป็นต้น เสียงสาธุการและพนมมือแลเป็นฝักถั่วไปทั้งโรงธรรม ท่านเจ้าเมืองฟังอยู่ข้างในถึงกับนั่งอยู่ไม่ได้ จึงต้องกลับมานั่งฟังข้างนอกอย่างเคย และเพิ่มเครื่องกัณฑ์ติดเทียนขึ้นอีก เมื่อเทศน์จบแล้ว โดยความเลื่อมใสเข้าไปประเคนของและซักไซ้ไต่ถามเหตุผลว่าอยู่ที่ไหนแล้วปวารณาเป็นโยมอุปัฏฐาก อาราธนาให้มาแทนสมภารต่อไปว่า ท่านแก่เฒ่าชราอาพาธอย่าให้มาประดักประเดิดเลย ขอให้พ่อเณรมาเทศน์แทนท่านเถิด ต่อนั้นไปสามเณรแตงโมก็มาเทศน์แทนเสมอ สามเณรแตงโมนี้ได้เล่าเรียนศึกษายังอาจารย์ที่มีอยู่ในอารามต่าง ๆ ในเมืองเพชรบุรี การศึกษาเช่นทางพระปริยัติธรรมและข้อกิจวัตรปฏิบัติจนสิ้นความรู้ของท่านสมภารในสมัยนั้น ท่านสมภารจึงได้พาตัวสามเณรแตงโมเข้ากรุงศรีอยุธยา ไปฝากไว้ต่อคุณวัดหลวงแห่งหนึ่งได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนจบพระไตรปิฎก นับได้ว่าเป็นเปรียญแล้ว ได้อุปสมทบเป็นพระภิกษุที่มีชื่อเสียงโด่งดัง จนเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดันนับถือ โปรดให้เป็นอาจารย์สอนหนังสือพระราชบุตร พระราชนัดนา ให้เสด็จมาเล่าเรียนพระพุทธศาสนา ปฏิบัติในคัมภีร์พระไตรย์เภธางค์สาตร์ นัยว่ากาลภายหลังมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้นได้เสด็จเสวยราชย์แล้ว โปรดตั้งพระอาจารย์แตงโมเป็นพระราชาคณะที่พระสุวรรณมุนี ซึ่งปรากฏในฝูงชนภายหลังเรียกกันว่า สมเด็จเจ้าแตงโม เมื่อท่านได้มั่งคั่งด้วยสมณศักดิ์ฐานันดรแล้ว ภายหลังต่อมาท่านคิดถึงภูมิลำเนาบ้านเกิดเดิม และวัดอันเป็นสถานมูลศึกษาของท่าน จึงได้ถวายพระพรลาสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินว่า จะออกไปปฏิสังขรณ์พระอารามที่เคยอยู่พำนักอาศัยเป็นการบำเพ็ญพุทธบูชา ก็ทรงอนุญาตอนุโมทนาแล้วถวายท้องพระโรงในพระราชวังองค์หนึ่งเป็นการช่วย เจ้าคุณอาจารย์ท่านได้นำมาประดิษฐานเป็นศาลาการเปรียญไว้ในวัดใหญ่นั้น ตัวไม้และเสาไม้ใหญ่งามมาก ลวดลายที่เขียนและลายสลักก็เป็นฝีมือโบราณ บานประตูศาลาการเปรียญสลักงามเป็นลายก้านขดปิดทองอย่างวิจิตร สมเด็จเจ้าแตงโม ได้ให้ช่างหล่อรูปท่านไว้รูปหนึ่ง แต่พระยาดำรงราชานุภาพว่า "ของสำคัญอีกอย่างหนึ่งนั้น คือรูปพระสงฆ์หล่อเท่าตัวคนนั่งพับเพียบพนมมือ ฝีมือที่ปั้นและหล่อเหมือนคน ดีกว่ารูปของท่านขรัวโตหรือรูปสมเด็จพระราชาคณะที่ได้เคยเห็นในที่อื่น ๆ รูปนั้นเขาเรียกกันว่ารูปสมเด็จเจ้าแตงโม คือท่านผู้ที่สร้างวัดใหญ่นี้…ระลึกถึงชาติภูมิจึงออกมาบูรณะวัดใหญ่และสร้างวัดขึ้นมาอีก ๒ วัด คือ วัดหนองหว้าวัด เพื่ออุทิศให้โยมมารดา และวัดดอนบ้านใหม่ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้โยมบิดา ทำเท่ากันเหมือนกัน แลยังปรากฏอยู่ด้วยกัน จนตราบเท่าทุกวันนี้ทั้ง ๒ วัด วัดใหญ่นั้นมีนามใหม่เรียกว่า วัดใหญ่สุวรรณาราม ตามชื่อของสมเด็จสังฆราชองค์นั้น และราษฎรพากันนับถือจึงให้ช่างจีปั้นรูปหล่อสังฆราชทองในเวลาท่านออกมาเมืองเพชรบุรี แล้วหล่อไว้สักการบูชาตราบเท่าจนกาลบัดนี้ รูปสมเด็จเจ้าแตงโมนี้มีเวลาเอาออกแห่งเป็นครั้งคราว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยเกี่ยวกับสมณศักดิ์ของสมเด็จเจ้าแตงโมไว้ในพระราชหัตถเลขาเมื่อเสด็จประพาสมณฑลราชบุรีใน ร.ศ. ๑๒๘ ฉบับที่ ๕ ว่า
    "…มีรูปเจ้าอาวาสเดิมซึ่งว่าเป็นผู้ปฏิสังขรณ์นั่งประนมมือถือดอกบัวตูมอยู่รูปหนึ่ง ทำด้วยความตั้งใจจะให้เหมือนฝีมือดีพอใช้
    …ตั้งหน้าเรียนพระปริยัติธรรมจนได้เป็นพระราชาคณะ แล้วจึงกลับออกมาปฏิสังขรณ์วัดนี้ บางปากกล่าวว่าภายหลังได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช เป็นที่น่าสงสัยอยู่บ้างว่ากลัวจะหลงที่สังฆราช ด้วยตำแหน่งพระครูเมืองเพชรบุรี ๕ อย่างเดียวกันกับเมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา เมืองพัทลุง แต่ตามหนังสือเก่า ๆ เขานับว่าเป็นพระราชาคณะทั้งนั้น ชะรอยครู ๕ องค์นี้จะเป็นพระสังฆราชาองค์หนึ่ง เช่น พระพากุลเถรเป็นพระสังฆราชาเมืองสวางคบุรี เพชรบุรีนี้ในเวลานั้นน่าที่พระครูสุวรรณมุนีเป็นสังฆราชา ท่านสมเด็จเจ้าแตงโมนี้จะเป็นพระครูสุวรรณมุนีเสียดอกกระมัง จึงได้ชื่อวัดเพิ่มขึ้นว่า วัดใหญ่สุวรรณาราม ทุกวันนี้พระครูสุวรรณมุนีก็ยังเป็นเจ้าคณะอยู่ พระยาปริยัติธรรมธาดาได้เขียนบันทึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ เกี่ยวกับสมเด็จเจ้าแตงโมว่า
    "…ท่านให้หล่อรูปท่านไว้รูปหนึ่ง เรื่องหล่อรูปนี้เล่าว่าช่างปั้นหุ่นแสนยากทำไม่เหมือนได้เลย มาได้ตาแป๊ะหลังโกงคนหนึ่งเป็นช่างปั้นอย่างเอก หล่อเอาเหมือนมิได้เพี้ยนผิด ท่านจึงให้หล่อรูปตาแป๊ะไว้เป็นที่ระลึกด้วย รูปหล่อนั้นนั่งพับเพียบประนมมือถือดอกบัว ๆ นั้นถ้าเป็นของเดิมคงแปลว่านั่งทำพุทธบูชาเวลาไหว้พระ ลักษณะรูปทรงสัณฐานของท่านเป็นสันทัดคนทรงสูง ๆ ปากแหลมอย่างเรียกว่าปากครุฑ ถ้าใครเคยเห็นสมเด็จพระวันรัตแดงวัดสุทัศน์ อาจกล่าวว่ามีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกันได้ ในโบสถ์วัดใหญ่นั้นยังมีของเป็นพยานสำคัญอยู่อีกสิ่งหนึ่ง คือฝาบาตรมุกซึ่งเจ้าอธิการวัดได้รักษาต่อ ๆ กันมาใส่ตู้กระจกโดยความเคารพนับถือ จารึกชื่อไว้ว่าฝาบาตรของสังฆราชทอง…เมื่อครั้งปฏิสังขรณ์วัดใหญ่นั้น เล่าว่าท่านได้ปฏิสังขรณ์วัดหนองหว้าซึ่งเป็นวัดอยู่ในตำบลชาติภูมิของท่านด้วย บานประตูวัดหนองหว้านั้นก็สลักเสลาลวดลายวิจิตรบรรจง จนบางคนมาเห็นบานประตูวัดสุทัศน์ลายสลักเครือไม้นกเนื้อสลับซับซ้อนกันหลายชั้น ที่วัดใหญ่เป็นลายสลักชั้นเดียว ถึงวัดหนองหว้าก็คงเป็นชั้นเดียว บานประตูวัดสุทัศน์ หนังสือพระราชวิจารณ์กล่าวชัดเจนเสียแล้วว่าเป็นของรัชกาลที่ ๒ ทรงสร้างซึ่งคนทั้งหลายเคยพิศวงว่าเอามาแต่ที่โน่นที่นี่นั้นผิดหมด พระราชพงศาวดาร แผ่นดินสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
    "…จึงเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคสถลมารค ขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาทตามอย่างพระราชประเพณีมาแต่ก่อน แล้วทรงพระกรุณาให้ช่างพนักงานจัดการยกเครื่องบนพระมณฑปพระพุทธบาทขณะนั้น สมเด็จพระสังฆราช ตามเสด็จขึ้นไปช่วยเป็นแม่งานด้วย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระทัยปราโมทย์ยิ่งนัก จึงทรงพระกรุณามอบการทั้งปวงถวายให้สมเด็จพระสังฆราชเป็นแม่งาน แล้วก็เสด็จกลับยังกรุงเทพมหานคร…"
    และต่อมาเมื่อครั้งนั้นหลังคาพระมณฑปเป็นหลังคาเหมือนวัดพนัญเชิง อยู่มาสมเด็จเจ้าแตงโม จึงถวายพระพรแก่สมเด็จพระบรมกษัตราธิราชเจ้าว่าจะล้างหลังคาลงเสียจะทำยอดพระมณฑปขึ้นไว้ สมเด็จพระบรมกษัตราธิราชเจ้าจึงโปรดให้ขึ้นมาดูแล แต่โบราณมามีต้นไม้ต้น ๑ ใหญ่ประมาณ ๓ อ้อม มีดอกเท่าฝาบาตร ครั้นเพลาเช้าเพลาเย็นบาน กลางวันตูม เมื่อจะบานนั้นหันหน้าดอกเข้าไปข้างพระมณฑปทุกเพลา มีสัณฐานดอกนั้นเหมือนดอกทานตะวัน ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าแตงโมทำมณฑปขึ้นไป ว่าต้นไม้นั้นกีดทรงพระมณฑปอยู่ จึงฟันต้นไม้นั้นเสีย แต่วันนั้นไป ท่านสมเด็จพระเจ้าแตงโมก็ตั้งแต่ลงโลหิตไปจนเท่าวันตาย สมเด็จเจ้าแตงโมถึงแก่มรณภาพปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่ชีวประวัติและผลงานของท่านในจังหวัดเพชรบุรีที่วัดใหญ่สุวรรณาราม วัดหนองหว้าและวัดดอนบ้านใหม่ รู้จักกันแพร่หลายมาแต่โบราณ (ปรากฏในพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ ๕ และของบุคคลอื่น ๆ) จนถึงปัจจุบัน นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และศิลปกรรมเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นที่เชิดชูชื่อเสียงของวัดใหญ่สุวรรณารามและจังหวัดเพชรบุรีอีกทางหนึ่งด้วย
    ที่มา : ตำนานเมืองเพชร โดย พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์)

    เปิดเบาๆ 150 บาทครับ...ใครชอบเชิญนิมนต์ครับ..

    กรุณาโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธ.ทหารไทย สาขาย่อย ม.ราชภัฏอุดรธานี
    ชื่อบัญชี ณรงค์ ขันดีศรีไพบูลย์
    เลขที่บัญชี 516-202-8020
    โทรศัพท์ 083-284-9228

    รบกวนค่าจัดส่ง EMS 50 บาทด้วยครับ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04218.jpg
      DSC04218.jpg
      ขนาดไฟล์:
      352 KB
      เปิดดู:
      147
    • DSC04220.jpg
      DSC04220.jpg
      ขนาดไฟล์:
      356.3 KB
      เปิดดู:
      146
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2010
  17. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    สมเด็จ หลังหลวงพ่อแพ องค์จ้อย (ฉลองอายุ ปี 38)

    [​IMG]


    ๏ เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย

    หลวงพ่อแพ เป็นพระเถราจารย์ ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ มีเมตตาเป็นที่สุด มีลูกศิษย์ลูกหามากมายทั่วประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง อาทิเช่น ประเทศฮ่องกง, สิงคโปร์, ไต้หวัน, มาเลเซีย เป็นต้น วัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นทุกรุ่นของท่านนั้นปรากฏพุทธคุณสูงเยี่ยมในทุกๆ ด้าน ล้วนได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นที่เลื่องชื่อลือชาอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีประสบการณ์มากมาย ทั้งแคล้วคลาด คุ้มครอง โชคลาภ ค้าขายร่ำรวย

    ตลอดชีวิตของหลวงพ่อแพ ท่านได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาอย่างเอนกอนันต์ และได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนหรือตกทุกข์ได้ยากตลอดมา ท่านเปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรของประชาชนทั่วไป ได้แผ่บารมีช่วยเหลือกิจการต่างๆ ผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อชาวสิงห์บุรีและพุทธศาสนิกชนทั่วไป จนได้รับความเคารพยกย่องถึงกับมีการขนานนามท่านว่า “เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย”

    เปิดเบาๆ องค์ละ 200 บาทครับ...

    กรุณาโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธ.ทหารไทย สาขาย่อย ม.ราชภัฏอุดรธานี
    ชื่อบัญชี ณรงค์ ขันดีศรีไพบูลย์
    เลขที่บัญชี 516-202-8020
    โทรศัพท์ 083-284-9228

    รบกวนค่าจัดส่ง EMS 50 บาทด้วยครับ.....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04222.jpg
      DSC04222.jpg
      ขนาดไฟล์:
      683.8 KB
      เปิดดู:
      128
    • DSC04224.jpg
      DSC04224.jpg
      ขนาดไฟล์:
      716.2 KB
      เปิดดู:
      161
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2010
  18. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    หลวงพ่อฤาษีลิงขาว ฉลองอายุ 72 ปี สร้างถวายโดย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

    [​IMG]

    เปิดเบาๆ องค์ละ 150 บาทครับ...

    กรุณาโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธ.ทหารไทย สาขาย่อย ม.ราชภัฏอุดรธานี
    ชื่อบัญชี ณรงค์ ขันดีศรีไพบูลย์
    เลขที่บัญชี 516-202-8020
    โทรศัพท์ 083-284-9228

    รบกวนค่าจัดส่ง EMS 50 บาทด้วยครับ....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04225.jpg
      DSC04225.jpg
      ขนาดไฟล์:
      586.8 KB
      เปิดดู:
      135
    • DSC04227.jpg
      DSC04227.jpg
      ขนาดไฟล์:
      733.5 KB
      เปิดดู:
      142
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2010
  19. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    หลวงปูทวด-หลวงพ่อจำเนียร วัดถ้ำเสือ

    [​IMG]

    เหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ หลัง หลวงพ่อจำเนียร (อาจารย์จำเนียร) วัดถ้ำเสือ กระบี่

    ประวัติโดยสังเขป
    ต่อไปนี้เป็นคำบอกเล่าจากหลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ เกี่ยวกับประวัติของท่านและความเป็นมาของวัดถ้ำเสือ จ.กระบี่ ซึ่งเรียบเรียงมาจากหนังสือทิพย์ ชุดผู้มีญาณวิเศษ ๑

    พออาตมาอายุสิบกว่าปีเรียนวิทยาศาสตร์ เอาทุกรูปแบบคนนับถือกันมากก็ตอนอายุ ๘-๑๐ ขวบนี่เองจับโจรก็เคยจับ ต่อสู้กับอัธพาลมาก็มากมาย สมัยเป็นเด็กเคยทำมาหลายอย่างที่ทำให้คนรู้จัก แต่ทั้งหมดก็ได้มาจากความรู้ที่ได้เรียนมา

    รอดตาย ๓ ครั้ง
    ช่างที่อาตมาเป็นชาวประมงนั้นอยู่ในระหว่างอายุ ๑๐-๑๘ ปี ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่แทบจะเอาชีวิตไม่รอด คือรับได้อับปางจมลงทะเลถึง ๓ ครั้งด้วยกัน ครั้งแรกอาตนมรู้ตัวว่าเรือจะต้องจมเพราะว่าลมแรงดูคลื่นก็รู้ มดบ้าง แมลงบ้างบอกเหตุให้ก่อน ในขณะที่อาตมารุ้ว่าเรือต้องจมแน่นั้นบอกเพื่อนก็ไม่เชื่อ อาตมาจึงเอาเชือกมาผูกไว้กับเรือ และกระเป๋าข้าวของบางอย่างก็ต้องผูกให้เรียบร้อยหมด ได้เตรียมทุกอย่างแล้วก็มีธงทุ่นลอยเตรียมไว้พร้อม ทั้งก้อนหินเพื่อที่จะได้ทิ้งเครื่องหมายไว้เมื่อเรือจม จะได้กลับมาเอาของได้ หลังจากนั้นก็เกิดลมแรงคลื่นใหญ่พาเรือจมจริง ๆ พอจะจมอาตมาก็ผูกตัวเองด้วยเชือกไว้กับเรือแล้วก็ผูกให้เพื่อนด้วย เพื่อนก็พลอยรอดตามไปด้วยทั้ง ๓ ครั้ง ครั้งแรกต้องลอยคออยู่กลางทะเล ๕ ชั่วโมง ได้มีเรือมาช่วยชีวิตไว้ ครั้งสองได้กู้เรือขึ้นเองโดยมีเพื่อนอีก ๓ คนช่วยกันวิดน้ำออกจากเรือ ครั้งที่สามต้องลอยคออยู่ในทะเลท่ามกลางพายุใหญ่ทีพัดกระหน่ำรุนแรงตลอดทั้ง คืนจึงถึงเที่ยงวันอีกครึ่งวันจึงกู้เรือขึ้นได้เพราะมีเรืออื่นมาช่วย อาตมาไม่ประมาทตั้งแต่เล็ก ๆ ไม่ไว้ใจเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเสมอ

    ให้ พรบวชไม่สึก
    ต่อมาอาตมาได้ทราบกิตติศัพท์เกี่ยวกับศีลาจารวัตรอันงดงามของ พ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ ( วัดพระธาตุน้อย ตำบลช้างกลาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ) หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า หลวงพ่อคล้าย วาจาสิทธิ์ ครั้งนั้นอาตมารู้ข่าวว่าพ่อท่านคล้ายมาที่บ้านเขาธง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อกิจในการสงเคราะห์ญาติโยม อาตมาก็ดีใจเป็นอย่างมาก ได้ตระเตรียมและเรี่ยไรเครื่องบริโภคต่างๆ มีกะปิ ปลา กุ้ง เป็นอันมาก รวบรวมเอาไปถวายท่านให้เป็นทาน เมื่ออาตมาไปถึงก็ได้ถวายของไทยทานแก่ท่าน แล้วขอพร แล้วก็ขอชานหมากมา ซึ่งได้ขอพรจากท่านว่า " หลวงพ่อครับ…ให้พรผมบวชไม่สึกนะ ให้มีธรรมะชั้นสูง " แล้วท่านก็ให้พร และให้ชานหมากมาแจกกัน ปรากฏว่าช่วงระยะไม่ถึงปี ชานหมากนั้นกลับกลายเป็นเหล็ก ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งยังมีความแข็งแกร่งมาก จนสามารถขีดหินเป็นร่องรอยได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง เพราะตามธรรมดาแล้วชานหมากนั้น หากทิ้งไว้นานก็จะแห้งกรอบและอ่อน ไม่น่าจะแข็งและกลายสี กลายสภาพเป็นธาตุเหล็กได้เลย นับว่าเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดเหนือธรรมชาติอย่างหนึ่ง จากเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ ทำให้อาตมาศรัทธาหลวงพ่อคล้ายตั้งแต่อายุยังน้อยเรื่อยมา

    พ่อ ตายจึงได้บวช
    ต่อมาเมื่ออาตมาอายุได้ ๑๙ ปี พ่อก็ตายไปด้วยโรคเจ็บออด ๆ แอด ๆ มีหลายโรคแทรกซ้อนตามวัยชรา พอปีต่อมาตรงกับ พ.ศ.๒๕๐๐ อาตมาก็ไปเกณฑ์ทหาร แต่ไม่ถูกเกณฑ์ก็ได้โอกาสจะบวชเพราะอายุ ๒๐ ปีแล้ว และประกอบกับพ่อตายตายแล้วจึงมีสิทธิ์จะชวชได้ตามที่พ่อเคยบอกไว้ ก่อนที่อาตมาจได้บวชนั้น หากรู้ว่ามีพระธุดงค์มาก็เข้าไปหาทันทีเพื่อสอบถามเรื่องการเดินธุดงค์และ วิธีปฏิบัติ ทั้งยังถามเรื่องของขลัง ถามเรื่องวิธีปัดกวาด ทำให้อาตมาได้ธรรมะและแนววิธีการต่าง ๆ มาและได้จำมาปฎิบัติในภายหลังเมื่อมีโอกาส เมื่อตั้งใจจะบวชแน่นอนแล้วได้ตั้งความคิดไว้ว่า เงินได้เท่าไหร่ก็จ่ายแจกให้หมดไม่เอาความร่ำรวยไว้ มีเรือ ๒๓ ลำ ลูกน้องทั้งหมด ๒๐ คน ได้เท่าไหร่ก็จ่ายแจกคนจนให้อะไรเขาหมดเลยไม่มีเหลืออะไรสักอย่าง เราไม่อยู่เป็นฆราวาสแล้ว ไม่สึกเด็ดขาด อาตมาบวชที่วัดนารีประดิษฐ์ ต.ท่าไร่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ท่านพระครูกาเดิม วัดบูรณาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูประดิษฐ์สุวรรณวัตร เป็นพระกรรมวาจารย์

    พบ พระอาจารย์ธัมมธโรภิกขุ
    เมื่ออยู่วัดนารีประดิษฐ์ครบ ๗ ปี ตามที่ได้อธิษฐานไว้ก็กราบลาจากวัดนารีประดิษฐ์ไปอยู่วัดท้าวโคตร ซึ่งต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเป็น วัดชายนา ตอนนั้นเป็นสำนักวิปัสนากรรมฐาน พระอาจารย์ใหญ่ผู้ทำการอบรมสั่งสอนสำนักนี้คือ ท่านพระอาจารย์ธัมมธโรภิกขุ (แป้น ชาวเวียง) ในระยะนั้นท่านธัมมธโรเพิ่งจะสร้างวัดร้างชายนาให้สำเร็จเป็นวัดขึ้นมาใหม่ ๆ (ขณะนี้ท่านธัมมธโรมาสร้างวัดไทรงามอันโด่งดังอยู่ที่ จ.สุพรรณบุรี)
    ที่สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดท้าวโคตรนี้ ท่านพระอาจารย์ธัมมธโรสอนแบบมหาสติปัฎฐาน๔ สายสุขวิปัสสโกตัดทิ้งเรื่องนิมิตในสมาธิ เรื่องโอภาสแสงสว่าง เรื่องอะไรต่ออะไรที่เป็นวิปัสสนูกิเลสทิ้งหมดเลย ไม่เอาอภิญญาฤทธิ์เดชอะไรทั้งสิ้น ไม่ต้องเอาการเห็นผีสางเทวดา เอามรรคผลนิพพานล้วน ๆ บริสุทธิ์อย่างเดียวเรียกว่าการปฏิบัติแบบ ปัญญาวิมุตติ "ท่านจำเนียรปฎิบัติกรรมฐานมาบ้างแล้วหรือยัง" พระอาจารย์ธัมมธโรถามอาตมาก็กราบเรียนให้ท่านทราบว่าตั้งแต่บวชมา ๗ ปีแล้ว ก็เจริญกรรมฐานมาเรื่อย ทำทั้งแบบสมถวิธีเจือปนกับวิปัสสนา และทำแบบยุบหนอพองหนอ ตามแนววัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ "ท่านจำเนียรมีความรู้ทางด้านไสยศาสตร์บ้างหรือเปล่า?" ท่านอาจารย์ธัมมธโรซักอีก อาตมาก็กราบเรียนให้ท่านทราบตามตรงไม่ปิดบังเลยว่าเคยศึกษาไสยศาสตร์ตั้งแต่ อายุ ๖ ขวบเศษ ฝึกนั่งสมาธิเรียนโหราศาสตร์และแพทย์แผนโบราณโดยมีพ่อสอนให้เพราะพ่อเคยเป็น พระธุดงค์ อาตมาเปิดเผยอย่างละเอียดละออหมดทำให้ท่านธัมมธโรภิกขุพอใจมาก แล้วท่านก็เล่าให้ฟังว่าสมัยที่ท่านเป็นฆราวาสหนุ่มก็ไปเรียนวิชาอาคมกับ เพื่อนๆ ด้วยเหมือนกัน มีการลงอักขระยันต์ตามเนื้อตัว และเรียกคาถาอาคมต่าง ๆ การสักยันต์ทางหนังเหนียวอยู่ยง เมื่อท่านสักยันต์เสร็จก็มีการลองของกันทันทีสด ๆ ร้อน ๆ ต่อหน้าอาจารย์เลย คือฟันด้วยมีดดาบบ้าง แทงบ้าง มีดแหลมบ้าง เชือดเฉือนด้วยมีด จนกระทั่งอายุ ๑๘ ปีเศษ ได้บวชเป็นสามเณร เมื่อบวชเรียนแล้วก็เลิกทางไสยศาสตร์ หันมาปฎิบัติทางพุทธศาสนา "วิชาทางอาคมไสยเวทย์หนังเหนียว อยู่ยงคงประพัน เป็นวิชาของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งขัดขวางการปฎิบัติวิปัสสนา ถ้าท่านจำเนียรจะอยู่ปฎิบัติวิปัสสนาที่สำนักของผมจะต้องปล่อยวางเรื่องไสย เวทย์วิทยาคมให้หมดจึงจะเรียนปฎิบัติปัสสนาได้ผล ท่านจำเนียรเลิกได้ใหมละ? อาตมานั่งคิดอยู่นานเพราะถ้าทิ้งหมดเลยก็แปลว่าเลิกสงเคราะห์ช่วยเหลือ ศรัทธาญาติโยม คือไสยศาสตร์เป็นวิชที่สงเคราะห์ชาวบ้านได้ตามที่รู้ ๆ กันอยู่แล้ว นั่งคิดอยู่นาน ในที่สุดก็ตัดสินใจกราบเรียนท่านไปว่า "ผมคงเลิกวิชาไสยศาสตร์ไม่ได้ครับท่าน" ท่านพระอาจารย์ธัมมธโรพอใจ ท่านสอนมหาสติปัฎฐาน๔ อธิบายละเอียดมาก มรรค๔ ก็สอนละเอียดลึกซึ้งน่าอัศจรรย์ อาตมาศรัทธามากยกให้ท่านเก่งจริง ๆ อาตมาเรียนทั้งภาควิชาการและการปฎิบัติควบคู่กันไป แต่หนักไปทางปฎิบัติ
    พรรษาแรกที่วัดชายนา อาตมาปฎิบัติสติปัฎฐานอย่างเอาจริงเอาจรัง อาศัยมีพื้นฐานทางสมาธิมาแล้ว จิตใจจึงควบคุมง่ายไม่ฟุ้งซ่าน ครั้นเมื่อมาเจริญสติก็สามารถใช้สติคุมจิตได้ตามแนวมหาสติปัฎฐานได้ง่ายขึ้น การเจริญสติปัฎฐานในพรรษานี้ได้ผลดีมาก
    ในขณะนั้น พระอาจารย์วิชัย เขมิโย แห่งวัดถ้ำผาจม จ.เชียงราย ได้ธุดงค์ไปหาความรู้ทางภาคใต้ ได้ฟังอาตมาบรรยายสติปัฎฐาน๔ ในคืนนั้นจนหมดที่วัดชายนา ก็ซึ้งในธรรมะนั้นมาก พระอาจารย์วิชัยได้นำไปปฎิบัติอย่างเคร่งครัดนานถึง ๒ ปีเศษที่วัดนี้ จึงได้ออกไปธุดงค์ต่อไปทางภาคอีสานและภาคเหนือ จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๑๖ ได้อยู่ปฎิบัติที่ถ้ำผาจม และสร้างวัดขึ้นที่นั่นจนปัจจุบัน

    ขอบคุณ ข้อมูลจาก : หนังสือทิพย์ ชุดผู้มีญาณวิเศษ ๑ และเวบไซต์ siamsouth มากๆครับ


    เปิดเบาๆ องค์ละ 250 บาทครับ...

    กรุณาโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธ.ทหารไทย สาขาย่อย ม.ราชภัฏอุดรธานี
    ชื่อบัญชี ณรงค์ ขันดีศรีไพบูลย์
    เลขที่บัญชี 516-202-8020
    โทรศัพท์ 083-284-9228

    รบกวนค่าจัดส่ง EMS 50 บาทด้วยครับ....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04234.jpg
      DSC04234.jpg
      ขนาดไฟล์:
      583.3 KB
      เปิดดู:
      159
    • DSC04235.jpg
      DSC04235.jpg
      ขนาดไฟล์:
      713 KB
      เปิดดู:
      138
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2010
  20. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    เหรียญสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน..ปิดรายการแล้วครับ

    [​IMG]

    พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
    พระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงพระเกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ ทรงพระคุณพิเศษในด้านวิปัสสนาธุระจนมีพระฉายานามอันเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ประชาชนว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน” เพราะทรงสามารถแผ่พรหมวิหารธรรมให้ไก่ป่าเชื่องเป็นไก่บ้านได้
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนยี่ ปีฉลู จุลศักราช ๑๐๙๕ พ.ศ. ๒๒๗๖ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ, สันนิษฐานกันว่าคงเป็นชาวกรุงเก่า, ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า เมื่อครั้งกรุงธนบุรีเป็นพระอธิการอยู่วัดท่าหอย ริมคลองคูจาม (ในพระราชพงศาวดาร เรียกว่าคลองตะเคียน) ในแขวงรอบกรุงเก่า มีพระเกียรติคุณในทางบำเพ็ญสมถภาวนา ผู้คนนับถือมาก.

    ครั้น พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นปฐมรัชกาลแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์, เมื่อได้ทรงจัดการข้างฝ่ายอาณาจักรเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ได้ทรงพระราชดำริจัดการข้างฝ่ายพุทธจักรเพื่อทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา ซึ่งเสื่อมโทรมเศร้าหมองเพราะการจลาจลวุ่นวายในบ้านเมืองจึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระราชาคณะในตำแหน่งต่างๆตามโบราณราชประเพณี และได้ทรงแสวงหาพระเถระผู้ทรงคุณพิเศษจากที่ต่างๆมาตั้งไว้ในตำแหน่งที่สมควร เพื่อช่วยรับภาระ ธุระทางพระพุทธศาสนาสืบไป และก็ในคราวนี้เองที่ได้ทรง “โปรดให้นิมนต์พระอาจารย์วัดท่าหอยคลองตะเคียน แขวงกรุงเก่า มาอยู่วัดพลับ ให้เป็นพระญาณสังวรเถร” พระอาจารย์วัดท่าหอยดังกล่าวนี้ก็คือ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) นั้นเอง.

    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ได้ทรงเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่ครั้งยังทรงเป็นพระอาจารย์สุก วัดท่าหอย กรุงเก่า, ครั้นเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว จึงได้โปรดให้นิมนต์มาอยู่ในกรุงเทพฯ และทรงตั้งเป็นราชาคณะที่ พระญาณสังวรเถร ดังกล่าวแล้ว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระฝ่ายอรัญวาสีนิยมความสงบวิเวก จึงได้โปรดให้มาอยู่วัดพลับ อันเป็นวัดสำคัญฝ่ายอรัญวาสีของธนบุรีครั้งนั้น คู่กับวัดรัชฎาธิษฐาน และอยู่ไม่ไกลจากพระนคร, และเพื่อให้สมพระเกียรติที่เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน จึงได้โปรดฯให้สร้างวัดพระราชทานใหม่ในที่ติดกับวัดพลับนั่นเอง, เมื่อสร้างพระอารามใหม่เสร็จแล้ว ก็ได้โปรดฯ ให้รวมวัดพลับเข้าไว้ในเขตของพระอารามใหม่นั้นด้วย แต่ยังคงใช่ชื่อว่าวัดพลับดังเดิม, ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ จึงได้พระราชทานชื่อใหม่ว่า วัดราชสิทธาราม ดังที่ปรากฏสืบมาจนบัดนี้, บริเวณอันเป็นวัดพลับเดิมนั้นอยู่ด้านตะวันตกของวัดราชสิทธารามปัจจุบันนี้.

    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถือเป็นอันมากของพระบรมราชวงศ์มาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ปรากฏนามพระญาณสังวรเถร เป็นพระกรรมวาจาจารย์แทบทุกพระองค์ นับแต่คราวทรงผนวชพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เป็นศิษย์ของสมเด็จพระญาณสังวรมาแต่ก่อน ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างพระเจดีย์ขึ้น ๒ องค์ เป็นคู่กันอยู่ที่ลานหน้าวัดราชสิทธาราม (อันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระญาณสังวร), องค์หนึ่งขนานนามว่า “พระศิราศนเจดีย์” ทรงอุทิศในพระนามของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, อีกองค์หนึ่งมีนาม ว่า “พระศิรจุมภฏเจดีย์” เป็นพระบรมราชูทิศในพระนามของพระองค์เองยังปรากฏอยู่, ตรัสว่าเพราะได้เคยเป็นศิษย์สมเด็จพระญาณสังวรมาด้วยกันทั้ง ๒ พระองค์.”

    ในรัชกาลที่ ๒ โปรดให้สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร ในปีเดียวกันกับสมเด็จพระสังฆราช (มี) ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชและนั่งหน้าสมเด็จพระสังฆราช “ด้วยได้เห็นบัญชีนิมนต์พระสวดมนต์ในสวนขวา มีนามสมเด็จพระญาณสังวรอยู่หน้าสมเด็จพระสังฆราช เห็นจะเป็นด้วยมีพรรษาอายุมากกว่า” สมเด็จพระญาณสังวรได้รับพระราชทานพัดงาสาน ซึ่งโปรดให้ทำวิจิตรกว่าพัดสำหรับพระราชาคณะสมถะสามัญ (คือ สวนที่โปรดให้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งเป็นการเติมแต่งของเดิมที่สร้างขึ้นแล้ว ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เพื่อเป็นที่เสด็จประพาสในเวลาว่างพระราชกิจ และเสด็จทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเวลาเทศกาลนักขัตฤกษ์บ้าง, ที่เรียกว่า สวนขวา เพราะอยู่ฝ่ายขวาพระราชมนเทียร, ทุกวันนี้รื้อหมดแล้ว)

    สำหรับวัดพลับ หรือวัดราชสิทธารามนั้น นับแต่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ได้มาอยู่ครองแต่ครั้งยังทรงเป็นที่ พระญาณสังวรเถรแล้ว ก็ได้กลายเป็นสำนักปฏิบัติทางวิปัสสนาธุระที่สำคัญดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ใน เรื่องประวัติวัดมหาธาตุ ว่า “ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ วัดอรัญวาสีที่สำคัญ ก็คือวัดสมอราย ๑ กับวัดราชสิทธาราม ๑” และพระเกียรติคุณในทางวิปัสสนาธุระของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) นั้น คงเป็นที่เคารพนับถือทั้งในฝ่ายเจ้านายในพระบรมราชวงศ์และในหมู่ประชาชนทั่วไป จึงได้ทรงเป็นพระราช อุปัธยาจารย์และเป็นพระอาจารย์ของพระมหากษัตริย์ และเจ้านายชั้นสูงในพระบรมราชวงศ์หลายพระองศ์ ดังได้กล่าวมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นพระเจ้าหลานเธอใน รัชกาลที่ ๑ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ก็ได้เสด็จมาประทับทรงบำเพ็ญเนกขัมมปฏิบัติ และทรงศึกษาวิปัสสนาธุระในสำนักสมเด็จพระสังฆราช (สุก) แต่ครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระญาณสังวรเถร ณ วัดราชสิทธารามนี้เป็นเวลา ๑ พรรษา โดยมีพระตำหนักสำหรับทรงบำเพ็ญสมาธิกรรมฐานโดยเฉพาะเรียกว่า พระตำหนักจันทน์ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชนกนาถ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้ทรงสร้างถวาย ยังคงมีอยู่สืบมาจนบัดนี้. เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า มงกุฎฯ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ในรัชกาลที่ ๒ ก็ได้เสด็จไปประทับศึกษาวิปัสสนาธุระในสำนักสมเด็จพระสังฆราช (สุก) แต่ครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระญาณสังวรเถร ณ วัดราชสิทธารามเช่นกัน ดังที่พระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชาธิบายไว้ใน เรื่องวัดสมอรายอันมีนามว่า ราชาธิวาส ว่า “ได้ทรงประทับศึกษาอาจาริยสมัยในสำนักวัดราชาธิวาส ทรงทราบเสร็จสิ้นจนสุดทางที่จะศึกษาต่อไปอีกได้ จึงได้เสด็จย้ายไปประทับอยู่ ณ วัดราชสิทธาราม คือวัดพลับ ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญเชี่ยวชาญในการวิปัสสนาอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงผนวชในที่นั้น แต่หาได้ประทับประจำอยู่เสมอ ไม่เสด็จไปอยู่วัดพลับบ้าง กลับมาอยู่สมอรายบ้าง เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว จึงทรงสร้างพระศิรจุมภฏเจดีย์ไว้เป็นคู่กันกับพระศิราศนเจดีย์ ที่ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสำคัญว่าเคยเสด็จ ประทับศึกษา ณ สำนักอาจารย์เดียวกัน.” เกี่ยวกับราชประเพณีนิยมทรงศึกษาวิปัสสนาธุระของเจ้านายในพระบรมราชวงศ์ที่ทรงผนวชนั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระอธิบายไว้ว่า “อนุโลมตามราชประเพณีครั้งกรุงเก่า ดังเช่นสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ทรงผนวชแล้วเสด็จไปประทับอยู่ ณ วัดประดู่นั้นเป็นตัวอย่างด้วยเป็นวัดอรัญวาสี อยู่ที่สงัดนอกพระนครเพราะการศึกษาธุระในพระศาสนามีเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายคันถธุระต้องเล่าเรียนพระปริยัติธรรมโดยมคธภาษา อันต้องใช้เวลาช้านานหลายปี ไม่ใช่วิสัยผู้ที่บวชอยู่ชั่วพรรษาเดียวจะเรียนให้ตลอดได้แต่วิปัสสนาธุระอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นการฝึกหัดใจในทางสมถภาวนา อาจเรียนได้ในเวลาไม่ช้านัก และถือกันอีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าชำนิชำนาญในทางสมถภาวนาแล้ว อาจจะนำคุณวิเศษอันนั้นมาใช้ในการปลุกเศกเพื่อประโยชน์อย่างอื่น ตลอดจนในวิชา พิไชยสงครามได้ในภายหลัง ด้วยเหตุนี้ เจ้านายที่ทรงผนวชมาแต่ก่อนจึงมักเสด็จไปประทับอยู่ ณ วัดอรัญวาสี เพื่อทรงศึกษาภาวนาวิธี.”

    นัยว่าการศึกษาวิปัสสนาธุระของสำนักวัดราชสิทธารามในสมัยที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงครองวัดอยู่นั้นเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะผู้ครองวัดทรงเชี่ยวชาญและมีกิตติคุณในด้านนี้เป็นที่เลื่องลือ. ครั้นสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชและเสด็จมาสถิต ณ วัดมหาธาตุแล้ว การศึกษาวิปัสสนาธุระแม้จะยังมีอยู่ก็ไม่รุ่งเรืองเท่ากับสมัยที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ยังทรงครองวัดนั้นอยู่.

    พ.ศ. ๒๓๖๒ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์, พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เป็นสมเด็จพระสังฆราช แล้วโปรดให้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เดิมทรงพระราชดำริที่จะตั้งสมเด็จพระพนรัตน (อาจ) วัดสระเกศ เป็นสมเด็จพระสังฆราช ถึงได้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เมื่อ ณ เดือน ๔ ปีเถาะ เอกศกนั้นแล้วแต่เมื่อปีมะโรง โทศก ข้างต้นปีเกิดอหิวาตกโรคมาก ยังไม่ทันจะได้ทรงตั้งสมเด็จพระพนรัตน (อาจ) เป็นสมเด็จพระสังฆราช, ถึงเดือน ๑๑ มีโจทก์ฟ้องกล่าวอธิกรณ์สมเด็จพระพนรัตน (อาจ) ว่าชอบหยอกเอินศิษย์หนุ่มด้วยกิริยาที่ไม่สมควรแก่สมณะ ชำระได้ความเป็นสัตย์ อธิกรณ์ไม่ถึงเป็นปาราชิก จึงเป็นแต่ให้ถอดเสียจากตำแหน่งพระราชาคณะ และเนรเทศไปจากพระอารามหลวง. ตำแหน่งพระสังฆราชนั้น ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม เป็นสมเด็จพระราชาคณะผู้ใหญ่และได้เป็นพระอาจารย์ เป็นที่เคารพในพระราชวงศ์ จึงโปรดให้แห่สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เมื่อ ณ วันพฤหัสบดีเดือน ๑๒ ขึ้น ๔ ค่ำ ครั้งถึง ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๑๘๒ พ.ศ. ๒๓๖๓ จึงทรงตั้งสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช

    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั้น พระชนมายุได้ ๘๘ พรรษาแล้ว ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชอยู่ไม่ถึง ๒ ปี ก็สิ้นพระชนม์ เหตุที่ไม่ได้ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชมาแต่ก่อน เพราะทรงเป็นพระราชาคณะฝ่ายสมถะ, แต่ประเพณีการเลือกสมเด็จพระสังฆราช คงถือเอาคันถธุระเป็นสำคัญ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นฝ่ายวิปัสสนาธุระจึงไม่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชมาแต่ก่อน มาในครั้งนี้เห็นจะทรงพระราชดำริว่า พรรษาอายุท่านมากอยู่แล้ว มีพระราชประสงค์จะสถาปนาให้ถึงเกียรติยศที่สูงสุดให้สมกับที่ทรงเคารพนับถือ เข้าใจว่าเห็นจะถึงทรงวิงวอน ท่านจึงรับเป็นสมเด็จพระสังฆราช.

    อนึ่ง ธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุนั้นได้มีขึ้นในรัชกาลที่ ๒ โดยได้โปรดให้แห่สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดราชบุรณะ ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มาสถิต ณ วัดมหาธาตุเป็นพระองค์แรก พระองค์ที่ ๒ คือสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แห่จากวัดราชสิทธารามมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ พระองค์ที่ ๓ คือสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แห่จากวัดสระเกศมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ พระองค์สุดท้ายคือ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๓), ในประกาศสถาปนาว่าสถิต ณ วัดมหาธาตุ แต่ไม่ได้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุตามประกาศ เพราะขณะนั้นวัดมหาธาตุกำลังปฏิสังขรณ์ทั่วพระอาราม สมเด็จพระสังฆราช (นาค) จึงสถิต ณ วัดราชบุรณะอันเป็นพระอารามเดิมจนสิ้นพระชนม์ แต่นั้นมาธรรมเนียมการแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุก็เป็นอันเลิกไป.

    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชอยู่ ๑ ปีกับ ๑๐ เดือน ก็สิ้นพระชนม์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๖๕ มีพระชนม์มายุได้ ๘๙ โดยปี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชทานพระโกศทองใหญ่ให้ทรงพระศพ เมื่อตั้งที่พระเมรุท้องสนามหลวง พระโกศองค์นี้ นอกจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับพระบรมวงศานุวงศ์ที่พระเกียรติยศสูงบางพระองค์ มีปรากฏว่าได้ทรงแต่พระศพสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นี้พระองค์เดียว นับเป็นการถวายพระเกียรติอย่างสูงด้วยเหตุที่ทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถือ อย่างยิ่งนั้นเอง ส่วนการพระเมรุนั้นโปรดให้ทำเมรุผ้าขาวที่ท้องสนามหลวง พระราชทานเพลิงพระศพเมื่อเดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๓๖๕ นั้น ครั้นพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว ได้โปรดให้ปั้นพระรูปบรรจุพระอัฐิประดิษฐานไว้ในกุฏิกรรมฐานหลังหนึ่งบริเวณด้านหน้าพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม เพื่อเป็นที่ทรงสักการะบูชาตลอดจนสานุศิษย์และผู้เคารพนับถือ สืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้.

    ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ช่างหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ขนาดย่อมขึ้นอีก ประดิษฐานไว้ในหอพระนาก พร้อมกันกับรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม ซึ่งเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ของพระองค์ ในปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๘๗ ได้โปรดให้หล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) อีกองค์หนึ่งขนาดเท่าพระองค์จริง, พระราชดำริเดิม เข้าใจว่าคงจะทรงสร้างขึ้นสำหรับประดิษฐานไว้ ณ วัดมหาธาตุ อันเป็นที่สถิตของพระองค์เมื่อทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช, แต่ยังไม่ทันได้เชิญไปประดิษฐาน เพราะการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดมหาธาตุยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน, พระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) องค์ดังกล่าวนี้ จึงค้างอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้แห่ไปประดิษฐาน ณ วัดมหาธาตุ ปรากฏตามหมายรับสั่งในรัชกาลที่ ๔ ว่า โปรดให้เชิญไปเมื่อวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๑๔ พ.ศ. ๒๓๙๕ และโปรดให้สร้างแท่นจำหลักมีลวดลายเป็นรูปไก่เถื่อนเป็นที่รองรับพระรูปเพิ่มเติมขึ้น และยังคงสถิตอยู่ในพระวิหารวัดมหาธาตุมาจนบัดนี้.

    ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวรนั้น นับว่าเป็นตำแหน่งพิเศษในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นตำแหน่งที่พระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระโดยเฉพาะ ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงตั้งพระอาจารย์สุก วัดท่าหอย ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณพิเศษในทางวิปัสสนาธุระเป็นที่พระราชาคณะนั้น ก็ทรงตั้งในราชทินนามว่า พระญาณสังวรเถร อันเป็นราชทินนามที่แสดงถึงความเป็นผู้ทรงคุณในทางวิปัสสนาธุระ ครั้นมาในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดให้สถาปนาพระญาณสังวรเถร ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ก็โปรดให้สถาปนาในราชทินนามว่า สมเด็จพระญาณสังวร ตามราชทินนามเดิมที่ได้รับพระราชทานแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ ครั้นสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชในเวลาต่อมา, ราชทินนามที่ สมเด็จญาณสังวร ก็ไม่ได้โปรดพระราชทานสถาปนาพระเถระรูปใดอีกเลยนับแต่รัชกาลที่ ๒ เป็นต้นมา กระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งเป็นรัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดให้สถาปนา พระสาสนโสภณ (สุวฑฺฒโน เจริญ คชวัตร) วัดบวรนิเวศวิหารในราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ นับเป็นสมเด็จพระญาณสังวร รูปที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับแต่ปีที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๕ ในรัชกาลที่ ๒ มาจนถึงปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน โปรดให้สถาปนา พระสาสนโสภณ (สุวฑฺฒโน) ขึ้นเป็น สมเด็จพระญาณสังวร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ นั้น เป็นเวลา ๑๕๐ ปีพอดี ซึ่งเป็นเวลายาวนานถึง ๖ รัชกาลที่ว่างเว้นมิได้ทรงพระกรุณาโปรดให้สถาปนาพระเถระรูปใดในราชทินนามตำแหน่งนี้ เพราะฉะนั้นตำแหน่งที่สมเด็จพระญาณสังวรนี้จึงกล่าวได้ว่าเป็นตำแหน่งที่มีความหมายสำคัญในประวัติการณ์ของ คณะสงฆ์ไทยตำแหน่งหนึ่ง.

    ย่อความจาก "ธรรมจักษุ"
    นิตยสารทางพระพุทธศาสนารายเดือน
    จัดทำโดย มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

    เปิดเบาๆ องค์ละ 150 บาทครับ...

    กรุณาโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธ.ทหารไทย สาขาย่อย ม.ราชภัฏอุดรธานี
    ชื่อบัญชี ณรงค์ ขันดีศรีไพบูลย์
    เลขที่บัญชี 516-202-8020
    โทรศัพท์ 083-284-9228

    รบกวนค่าจัดส่ง EMS 50 บาทด้วยครับ....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04238.jpg
      DSC04238.jpg
      ขนาดไฟล์:
      271.5 KB
      เปิดดู:
      138
    • DSC04239.jpg
      DSC04239.jpg
      ขนาดไฟล์:
      233.9 KB
      เปิดดู:
      150
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2010
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...