พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]


    กราบนมัสการหลวงปู่อิเกสาโร และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีครับ สาธุ สาธุ สาธุ

    รูปด้านขวามือเป็นรูปพระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) องค์ที่ 3 ในคณะพระโลกอุดรครับ
     
  2. Baramee

    Baramee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    230
    ค่าพลัง:
    +1,032
    คุณ sithiphong

    ตามที่เคยเสนอแนะเรื่อง "เสด็จวังหน้า"
    หากเราไม่แน่ใจ ก็อย่าเพิ่งไปพูดว่ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ (บุญมา) ไม่มีความเกี่ยวข้องกับหลวงปู่เทพโลกอุดร
    เพราะหากความจริงท่านบุญมาก็นับถือหลวงปู่เทพโลกอุดรขึ้นมา
    และมีความเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย
    ก็เท่ากับคุณพูดโกหกนะครับ

    ดังนั้นเมื่อเราไม่ทราบ เราก็ไม่ต้องไปบอกว่าท่านไม่เกี่ยว น่าจะบอกว่าไม่ทราบมากกว่าครับ

    เรื่องแบบนี้ถ้าไม่มีประสบการณ์ตรง ก็อย่าเพิ่งฟันธงครับ

    ที่แนะมาถึง 2 ครั้งก็เพราะเห็นว่าคุณตั้งใจดี อยากสร้างบารมีรักษาพระพุทธศาสนา จึงไม่อยากให้คุณพลาดเพราะ "เส้นผมบังภูเขา"

    หลวงปู่ท่านอยู่มานาน และท่านก็คอยค้ำชูพระศาสนาและชาติไทยด้วย
    เพราะประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา เมื่อชาติอยู่ได้
    ศาสนาก็อยู่ได้

    จึงมีความเป็นไปได้สูง ที่หลวงปู่ท่านจะมีลูกศิษย์อีกหลายคนที่เรายังไม่รู้

    เพราะคนที่รู้เขาก็ไม่อยากแสดงตัว เนื่องจากไม่ต้องการมาถกเถียงในเรื่อง
    ที่พิสูจน์ไม่ได้
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    ผมเองที่กล้าฟันธงว่ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ท่านไม่มีความเกี่ยวข้องกับหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรนั้น ก็เนื่องจากว่าพระหลานชายของท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ,ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร และลูกศิษย์ของท่านอีกหลายๆคน สามารถติดต่อพูดคุยกับหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรได้ทั้ง 5 องค์ครับ อีกทั้งมีพระอริยสงฆ์อยู่ 2 องค์(ผมเองเคยได้กราบแล้ว 1 องค์) ท่านสามารถติดต่อและพูดคุยกับหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรได้ทั้ง 5 องค์ และลองสังเกตุดูที่ลายเซ็นผมนะครับ ผมลงชื่อหลวงปู่แต่ละองค์เป็นสีไว้ ก็เนื่องจากว่าสีที่ผมลงนั้น เป็นรังสีของหลวงปู่แต่ละองค์ครับ ส่วนเรื่องอื่นๆผมจะไม่เล่าต่อครับ เพราะแค่นี้ก็เป็นเรื่องที่อจินไตยมากพอแล้ว


    แต่โดยปกติที่พระสงฆ์หลายๆองค์หรือฆารวาสหลายๆท่านได้เจอนั้น ส่วนใหญ่จะเจอแต่หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)ครับ

    ยังมีอีกหลายเรื่องที่ผมเองไม่สามารถนำออกอากาศได้ เช่นผมเองได้เจอหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร หรือได้เจอท่านเจ้า (กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) ยังมีเรื่องที่ท่านเจ้า(กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) ซึ่งตามประวัติของท่านทิวงคตในปี พ.ศ.2428นั้น ท่านทิวงคตจริงหรือไม่ และถ้ายังท่านอยู่ได้อย่างไร ฯลฯ

    ผมเองต้องขอขอบคุณgrasib ที่เป็นห่วงว่าผมตั้งใจดี แต่ผมเองยังคงเชื่อในท่านอาจารย์ประถม อาจสาครและลูกศิษย์ของท่านอยู่ดี และยังมีหลายๆคนจากในเว็บที่ผมพาไปหาท่านอาจารย์ประถมนั้น ก็มาเชื่อในลักษณะที่ผมเชื่ออยู่นี้เป็นสิบกว่าคนครับ

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2006
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 9 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 6 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, ครึ่งชีวิต, พิมพาภรณ์ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พี่ตุ่นครับ พึ่งมาละซิเนี่ย ?????

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระพิมพ์สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีท่านเสกไว้ครับ


    [​IMG]

    [​IMG]

    ส่วนพระพิมพ์นี้เป็นพระพิมพ์ที่หลวงปู่อิเกสาโรและสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีเสกครับ

    [​IMG]

    [​IMG]


    ผมลงพอเป็นตัวอย่างครับ

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 33.JPG
      33.JPG
      ขนาดไฟล์:
      36.8 KB
      เปิดดู:
      763
    • 44.JPG
      44.JPG
      ขนาดไฟล์:
      46.5 KB
      เปิดดู:
      718
    • 11.JPG
      11.JPG
      ขนาดไฟล์:
      47.9 KB
      เปิดดู:
      702
    • 222.JPG
      222.JPG
      ขนาดไฟล์:
      30.8 KB
      เปิดดู:
      711
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    พระพิมพ์ชุดนี้ ผมไม่ได้ให้บูชาครับ แต่ผมจะมีพระพิมพ์อีกชุดหนึ่งหลังวันที่ 5 ธันวาคม 2549 นี้ ให้บูชา รายละเอียดนั้นผมจะมาแจ้งให้ทราบอีกครั้งครับ

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา Fwd Mail ครับ

    **Save yourself.( อันตรายจากการนั่งหลับในรถขณะวิ่ง)
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ในช่วงเวลา 5 อาทิตย์ที่ผ่านมา ที่ผมพยายามต่อสู้กับอาการบาดเจ็บ
    ถึงแม้จะเข้ารับการรักษาด้วย
    วิธีทำกายภาพบำบัดแล้วก็ตาม นอกจากจะไม่ส่งผลในเชิงบวกแล้ว
    ยังดูเหมือนอาการจะทรุดหนักลงและเจ็บปวดมากขึ้น ผมได้ไปทำการ x-ray ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ MRI(Magnetic Radiation Image) ผลการ x-ray พบว่า หมอนรองกระดูก ระหว่าง ข้อที่ 5 ข้อ 6 และข้อที่ 6- ข้อที่7 บริเวณต้นคอเสื่อมทรุด ทำให้ช่องว่างซึ่งเป็นทางเดินของเส้นประสาทแคบลงจนเกือบชนกัน เส้นประสาทและระบบประสาท ถูกกระดูกสันหลังท่อนที่ 5 และ 6 กดทับซึ่งเป็นสาเหตุของอาการบาดเจ็บ ผมจึงตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนหมอนรองกระดูก ณ โรงพยาบาลบางประกอก 1 ในวันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2549 และคงพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 4-5 วัน (อาจไม่สามารถหายทันสอบ mid-term วิชา Macro)<O:p</O:p

    แพทย์สรุปสาเหตุหลักของหมอนรองกระดูกบริเวณต้นคอเสื่อมทรุด
    เนื่องมาจากการนั่งหลับในรถยนต์เป็นประจำ ทำให้ศีรษะโยกและสะบัดตลอดเวลาขณะที่รถวิ่ง เลี้ยว
    หรือเปลี่ยนความเร็วเนื่องจากในขณะที่หลับ กล้ามเนื้อบริเวณรอบต้นคอจะไม่ทำงานทำให้หมอนรองกระดูกต้องรับภาระหนัก และเสื่อมทรุดในเวลาอันรวดเร็ว
    ผมจึงใคร่ขอฝากคำแนะนำจากแพทย์มายังเพื่อนๆทุกท่าน โดยเฉพาะผู้ที่มักง่วงและนั่งหลับขณะรถวิ่งควรหลีกเลี่ยงการนั่งหลับในรถขณะที่รถวิ่ง หากเลี่ยงไม่ได้ ควรใช้หมอนลมที่เป็นรูปตัว C สวมที่รอบลำคอเพื่อพยุงศีรษะและลดอาการโยกสะบัด ของศีรษะขณะที่รถยนต์กำลังวิ่ง จะช่วยลดการเสื่อมของหมอนรองกระดูกที่ต้นคอให้ช้าลง

    .<O:p</O:p
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา Fwd Mail ครับ

    ชีวิตกับเงินเดือน
    <O:p</O:p
    รายการอาหารประจำวัน
    ===============
    อาหารเช้า :กาแฟ ขนมปัง มาม่า น้ำผลไม้ 10+5+5+10 = 30 บาท
    อาหารกลางวัน : ข้าวผัดกระเพราไข่ดาว ผลไม้ 30+10 = 40 บาท
    อาหารเย็น : ข้าวไข่เจียวหมูสับ ผัดผัก แกงจืด ผลไม้ 20+20+20+10 = 70 บาท
    ค่าใช้จ่ายประจำวันเบ็ดเตล็ด = 60 บาท
    รวมค่าใช้จ่ายต่อหนึ่งวันเท่ากับ 30+40+70+60 = 200 บาท จำนวนวันทั้งหมด ตั้งแต่อายุ 56 (หลังเกษียญ) ถึง 80 = 25 ปี x 365 วัน = 9,125 วัน <O:p</O:p
    ดังนั้นเงินที่จำเป็นต้องใช้เพื่อประทังชีวิตอยู่ขั้นต่ำเท่ากับ 9,125 x 200 = 1,825,000 บาท เงินจำนวนนี้ยังไม่รวม ค่าใช้จ่ายที่สำคัญ อื่นๆเช่น ค่ารถ ค่าซ่อมรถ ค่าผ่อนบ้าน ค่าซ่อม
    บ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเสื้อผ้า ค่าเล่าเรียนลูก ค่าใช้จ่ายลูก และที่สำคัญที่สุดคือ
    ค่ารักษาพยาบาลสำหรับตัวเอง <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ถามว่า คุณคิดว่าตอนคุณอายุ 55 คุณมีเงินเก็บขั้นต่ำ หนึ่งล้านแปดแสนบาทหรือยัง<O:p</O:p
    หมายเหตุ : เงินรายได้เมื่ออายุ 55 และหลังจากนั้น สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่อาจมีไว้ใช้จ่ายค่าใช้จ่ายที่สำคัญดังกล่าวคือ <O:p</O:p
    เงินพิเศษเมื่อออกจากงาน (สำหรับบางบริษัท ถ้ามี)
    เงินจากกองทุนประกันสังคม
    เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำหรับบางบริษัท ถ้ามี)
    เงินเก็บออมส่วนตัว (ถ้ามี)
    เงินจากกองทุน RMF (ถ้ามี)
    เงินจากกองทุน LTF (ถ้ามีและหุ้นไม่ตก)
    เงินมรดกเก่าเก็บ (ถ้ามี)
    เงินรายได้จากธุรกิจส่วนตัว (ถ้ามีและได้กำไร)
    เงินรายได้จากคู่สมรส (ถ้าเลี้ยง)
    เงินรายได้จากบุตรธิดา (ถ้าเลี้ยง) <O:p</O:p
    ถ้ายังไม่มี เริ่มประหยัดและเก็บเงินตั้งแต่วันนี้
    สมมุติว่าขณะนี้คุณอายุ 40 คุณยังมีแรงหารายได้อีก 15 ปี หรือ 180 เดือนจนกว่าจะกษียณ
    คุณต้องเก็บออมรายเดือนเท่ากับ 1,825,000 / 180 = 10,138 บาทต่อเดือน

    <O:p</O:p
    การประหยัดและบริโภคเท่าที่จำเป็นคือทางออกครับ

    .<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. พรหมประกาศิต

    พรหมประกาศิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,684
    ค่าพลัง:
    +13,541
    เอ๊ะ...ฉากชีวิตนี่คล้ายๆกับผมเลยครับ...แต่ว่าผมยังเลิกได้ไม่เด็ดขาดเลยครับไม่ทราบว่าคุณหนุ่มเกิดปีเดียวกันกับผมหรือเปล่า...ผมมะโรงงูใหญ่ครับ...
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ใช่ครับน้าแผน ผมมะโรงครับ

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    ที่สำคัญ ผมเองไม่หล่อ ไม่เท่เหมือนน้าแผนนะซิ

    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เพื่อนผมส่งเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านมีพระราชหัตถเลขาถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าและกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ(ในขณะดำรงพระยศกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ)ครับ

    ที่มา http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/king/rama4/letter4.html


    <CENTER>[SIZE=+2]พระราชหัตถเลขา ถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว[/SIZE]</CENTER>


    <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>วัน.......... ค่ำ (ปีกุน จุลศักราช ๑๒๒๕) หนูตุ้ยมาแจ้งความว่า ท่านรับสั่งให้ลงมาว่าแก่ฉัน ด้วยเรื่องอ้ายสีบ่าวจุฬาลงกรณ์ ร้องกล่าวโทษพระยาอัษฎา แลหนูตุ้ยว่า ทรงพระวิตกไปว่าฉันจะไม่ทราบความเดิม..... อ้ายสีคนนี้เดิมเปนตำรวจในพระบวรราชวัง.....
    ความเรื่องนี้ฉันจะเล่าถวายท่านตามสัตย์ตามจริง แลตามที่ได้ชำระไต่สวน ครั้นจะสั่งให้ผู้ไปกราบทูล แต่ด้วยปากเปล่าก็จะไม่ถ้วนถี่.....
    เมื่อวัน.......... อ้ายสีเอาเรื่องราวมาร้องฎีกาแก่ฉันที่ประตูเทวาพิทักษ์... ฉันได้รับเรื่องราวไว้ แล้วสั่งให้ตำรวจคุมตัวอ้ายสีไว้..... ฉันจึงสืบถามตามเรื่องราวอ้ายสีอ้าง อ้ายสีได้จับตัวอ้ายชื่นว่าสูบฝิ่นมาส่งจริงฤา อ้ายชื่นนั้นชำระได้ความเปนสัตย์สูบฝิ่นจริงฤา พระพรหมบริรักษ์ว่าจริงทั้งสองอย่าง พระยาอัษฎานั้นฉันก็ไม่ได้ถือว่าเปนข้าแต่ที่บนมิใช่ที่ล่าง..... ฉันคิดว่าพระยาอัษฎาเปนผู้กว้างขวาง เคยสืบสวนรู้จักที่ดีที่ร้าย..... อนึ่งขุนหมื่นแลตำรวจเลวเก่า ๆ ที่ชำนาญในถ้อยความ แลจับผู้คุมคนตามพระยาอัษฎาขึ้นไป ฤาขึ้นไปก่อนนั้นก็มาก ก็ถ้าท่านไม่ได้ทรงใช้สอย ฤาใช้สอยแต่น้อยในการที่เขาชำนาญ ความฉลาดอาจหาญของพวกนั้น ก็จะไปอับนิ่งอยู่ ไม่เปนคุณแก่แผ่นดินทั่วไป แลไม่เปนผลประโยชน์แก่ตัวเขาบ้าง..... ฉันคิดเห็นดังนี้ จึงได้สั่งไว้แก่พระยาอัษฎาเปนคำขาดว่า อย่าคิดว่าเปนข้าวังหลวงฤาวังน่าเลย ทั้งบ้านทั้งเมืองแล ถ้าที่แห่งไหนเกิดความวิวาทตีรันฟันแทง ปล้นตีชิงวิ่งราวสดมกัน มีผู้ฟ้องร้องบอกเล่าก็ดี สืบรู้ก็ดี ถ้าสืบรู้ว่าพวกไทยสูบฝิ่นก็ดี ใคร ๆ ทำเงินแดงก็ดี อย่าให้เสียทีเสียเวลาเลย จงให้ตำรวจในพระบวรราชวังที่เคยใช้สอยฤาใช้สอยได้ ให้ไปเกาะครองจับกุมมาว่ากล่าวชำระเอาเถิด จะเปนศาลรับสั่งของฉันศาลหนึ่งด้วย ช่วยรักษาแผ่นดินให้ราบคาบเถิด..... ก็ด้วยการที่ฉันสั่งให้พระยาอัษฎาชำระความ แลคอยจับผู้ร้ายผู้ผิดดังว่ามานี้ ฉันจึงได้ให้เปนเบี้ยหวัดพระยาอัษฎา เปนเงินเพิ่มเบี้ยหวัดแก่ที่ท่านพระราชทานนั้นอิก ๘๐ บาทบ้าง ๑๐๐ บาทบ้าง ทุกปีมาหลายปีแล้ว
    ก็เมื่ออ้ายสีร้องฎีกาครั้งนี้ ฉันได้ทราบความแล้ว ฉันจะได้คิดเห็นไปว่า ท่านรับสั่งให้พระยาอัษฎา มาเกาะครองเอามารดาอ้ายสีไปของจำเร่งเอาตัวอ้ายสี เปนการคุมเหงจุฬาลงกรณ์หามิได้เลย..... ฝ่ายสมุหบาญชีของจุฬาลงกรณ์ซึ่งไปต่อว่าท้าทายพระยาอัษฎา ว่าให้ทอดโฉนดบาดหมายนั้น ฉันก็เห็นว่าไม่ชอบ..... ซึ่งพระยาอัษฎาไม่เชื่อถือถ้าเจ้าบ่าวนายบ่าวนายเล็กน้อย ไม่ปล่อยจำนำผู้ร้ายดังนี้นั้น ชอบด้วยราชการ ฉันไม่ว่าไร..... ฉันจึงได้สั่งพระพรหมบริรักษ์ว่า อ้ายสีเปนผู้มีความชอบ จับคนสูบฝิ่นได้พิจารณาได้ความจริง แลเปนบ่าวเกี่ยวดองของจุฬาลงกรณ์ ต้องลักษณะที่ได้ว่าไว้แก่พระยาอัษฎาแต่ก่อนว่า เกี่ยวข้องกับบ่าวไพร่ของบุตรภรรยาของฉันแล้ว จะขอถอนเอาความไปว่านั้น อนึ่งโจทย์อ้ายสี ที่ไปฟ้องแก่พระยาอัษฎาในคำร้องก็ว่าสูบฝิ่น แลไปฟ้องพระยาอัษฎาโดยความสาเหตุ เมื่อเปนดังนี้ จึงควรจะต้องพิจรณาโจทย์อ้ายสีนั้นก่อน ว่าสูบฝิ่นฤาไม่ ถ้าสูบฝิ่นจริง จะเอาเปนโจทย์ไม่ได้ เพราะได้ประกาศห้ามไว้แต่ก่อนแล้ว ว่าไทยสูบฝิ่นไม่ควรจะเปนโจทย์กล่าวคดีขึ้นโรงศาล ไม่ควรจะเปนพยานในคดีทั้งปวง..... พระยาอัษฎาแจ้งความว่าอ้ายสีเปนตำรวจในกรมพระฤทธิเดชะ มีฉายาว่าอ้ายสีฟันขาว หลบหลีกหนีราชการอยู่..... พระฤทธิเดชะตั้งจำหน่ายว่าอ้ายสีเปนหัวไม้ ทำความบ่อย ๆ พระฤทธิเดชะได้ขับไล่อ้ายสีเสีย ไม่ให้เปนตำรวจอยู่ในกรม แลคืนเอาหนังสือคุ้มสักเสียให้อ้ายสีขาดหมู่ไป พระยาอัษฎาจะเร่งเอาตัวแต่พระฤทธิเดชะไม่ได้.....
    ความเรื่องนี้ฉันเห็นว่า ถ้าอ้ายสีเข้าไปเปนตำรวจในพระบวรราชวัง..... เมื่อมีหนังสือคุ้มสักว่า เปนตำรวจในพระบวรราชวัง บาญชีสัสดีเขาก็จะตั้งว่าเปนตำรวจในพระบวรราชวัง..... แต่ในเรื่องนี้นายก็คืนหนังสือคุ้มสักไปแล้ว ก็เมื่อไม่เอาไปตั้งจำหน่ายต่อสุรัสวดี ก็คงไปหาคนที่มีสัณฐาน ตำบลบ้านคล้ายคลึง แล้วก็ซ้อมชื่อคนตำบลบ้านให้ต้องกับหนังสือคุ้มสัก ให้คุ้มสักผู้อื่นต่อไปเปนแน่ อ้ายสีก็คงตกเปนคนเลื่อนลอยจับพลัด เมื่อจะต้องตัดสินควรตัดสินเอาหมู่บิดาเดิม เพราะหนังสือคุ้มสักเช่นนี้จะแม่นยำ เหมือนลงเหล็กสักไม่ได้.....
    ก็ซึ่งท่านโปรดให้พระพรหมภิบาลชำระ เมื่อท่านเสด็จไปอยู่ประทับบ้านสีทานั้น ก็ชอบด้วยราชการอยู่..... โดยบัดนี้ฉันจะส่งอ้ายสีขึ้นไปชำระที่บน ความที่มีผู้ไปฟ้องต่อพระยาอัษฎากล่าวโทษอ้ายสีนั้น จะว่ากะไรก็หาได้ในความในเรื่องราวของอ้ายสีไม่ แต่ฉันคาดดูก็เห็นจะฟ้องในความที่เปนน่าที่ของพระยาอัษฎา ที่ฉันได้สั่งไว้ให้ชำระสักอย่างหนึ่ง ท่านก็จะหาได้ทรงฟังด้วยไม่ ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ฯ
    จดหมายมา ณ วัน..........ค่ำ ปีกุน เบญจศก ๑๒๒๕
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เพื่อนผมส่งเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านมีพระราชหัตถเลขาถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าและกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ(ในขณะดำรงพระยศกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ)ครับ

    ที่มา http://www.tv5.co.th/service/mod/her...4/letter4.html


    <CENTER>พระราชหัตถเลขา ถึงกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ</CENTER>


    <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    จดหมายมายังกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ ให้ทราบ
    อาการกรมหมื่นวิศณุนารถป่วยเรื้อรังมาแต่ก่อนก็หลายครั้ง..... หมอได้วางยารุนด้วยดีเกลือ ในวันแรกรุนนั้นอาการค่อยสบาย..... หมอแคลงว่าจะไปใกล้อติสาร โรคอย่างนี้หมอไทยว่าไม่เคยเห็น..... แต่หมออังกฤษว่าเปนโรคในลำใส้พอง แตกเปนโลหิต..... แต่ไม่รับรักษา แต่ชีพจรมือเท้ายังดีอยู่ ไม่พักไม่อ่อนเปนแต่เดินเร็วมินิตละ ๑๑๖ ได้หาหลวงประเทศแพทยาหมอจีนในพระบวรราชวังมาดู หมอนั้นไปจับแมะเห็นชีพจรดีอยู่ ก็รับว่าจะให้ยา ๓ วัน ให้คลายได้ ครั้นมาดูอุจจาระ..... ก็กลับตกใจหันเหไปว่าเปนป้างโลหิต หาเคยรักษาไม่ ถ้าจะยอมให้รักษาก็จะวางยาลองดู.....
    ราชการในกรุงนี้ ไม่มีเรื่องอะไรสำคัญ มีแต่เรื่องว่าอังกฤษ เมืองสิงคโปร์ เอาเรือรบขึ้นมาต่อว่าเมืองตรังกานู ด้วยเรื่องสุลต่านมหหมุด อยู่ที่เมืองตรังกานู ยุยงให้พวกเมืองปาหังรบกัน..... อังกฤษโกรธ เอาปืนใหญ่ในเรือรบ ยิงเอาเมืองตรังกานูมากมายหลายนัด แล้วก็กลับไป บัดนี้เสนาบดีเมืองไทย ก็ได้จดหมายเหตุการณ์ทั้งปวง ส่งให้กงสุลไปแจ้งความเมืองลอนดอนแล้ว ความเรื่องนี้ใครกราบทูล ท่านทรงทราบแล้วฤายัง..... ถ้าท่านจะใคร่ทราบให้วิตถารตลอดต้นปลาย ก็จงสั่งพนักงานกลาโหม แลกรมท่าในพระบวรราชวัง มาลอกต้นหนังสือที่โต้ตอบไปมาทั้งปวง ไปแต่กรมพระกลาโหม แลกรมท่าที่ล่าง แล้วกราบทูลถวายเถิด
    อนึ่งพวกกรมช้างกับตำรวจ ซึ่งเข้าไปสืบข่าวช้างเผือกเดินกลับลงมา เขาได้แวะเข้าแต้งความ ณ ที่ประทับบ้านสีทาฤาหาไม่..... มีใบบอกมาแต่เมืองสุวรรณภูมิ ว่าได้ช้างเผือกพัง..... แลว่าที่เมืองศีษะเกษได้ช้างสีปลาดใหม่มาอีกช้างหนึ่ง.....
    จดหมายมาวัน..........ปีจอ จัตวาศก ศักราช ๑๒๒๔ เปนวันที่ ๔๒๑๗ ในรัชกาลปัจจุบันนี้



    <CENTER>พระราชหัตถเลขา ถึงกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ</CENTER>
    จดหมายมายังกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ ให้ทราบ
    อาการกรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธรป่วยหนักลงไป..... จนซุดโซมสิ้นกำลังขาดใจ เมื่อ วัน.........ค่ำ เวลา ๘ นาฬิกา ใกล้เที่ยงที่เรียกกันว่า ๒ ทุ่ม..... ได้จัดดอกไม้จีนกับธูปเทียน มอบให้พระยามณเฑียรบาลส่งขึ้นมาถวาย กราบทูลถวายบังคมลา ก็ข่าวนี้แลดอกไม้ธูปเทียนนั้นจะควรกราบทูลถวาย ฤาไม่ควร ก็สุดแต่สติปัญญาอัธยาไศรยกรมบวรวิไชยชาญเถิด.....
    อนึ่งการโกนจุกนั้น กำหนดไว้ว่าวัน.......... ค่ำ แลวัน......... ค่ำ จะทำการมงคลตั้งนามให้สุพรรณบัตร ก่อนครั้งหนึ่ง.....
    จดหมายมาวันที่.........ค่ำ ปีจอ จัตวาศก ศักราช ๑๒๒๔



    <CENTER>พระราชหัตถเลขา ถึงกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ</CENTER>จดหมายมาถึงยัง กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ ให้ทราบ
    เมื่อวัน..........ค่ำ มีใบบอกเมืองสมุทรปราการขึ้นมาว่า มีเรือกลไฟอังกฤษ ๒ ลำ มาทอดอยู่นอกสันดอน แล้วกัปตันกับลูกเรือโดยสารเรือนำร่องเข้ามาแจ้งความที่ด่าน ว่าเรือรบ ๒ ลำนี้ คือเรือที่ได้ยิงเมืองตรังกานู ๒๐๐ นัด แล้วการประสงค์ไม่สำเร็จ จึงกลับไปเมืองสิงคโปร์ แล้วกอมมอโดร์ชื่อ เลอร์ด ยอน เฮ ลงในเรือคุมเรือรบเข้ามา จะต่อว่าความที่ตรังกานูนั้น ให้สำเร็จที่กรุงเทพ ฯ บัดนี้กอมมอร์โดร์ เลอร์ด ยอน เฮ ใช้ให้ถือหนังสือมาแจ้งความแก่กงสุลอังกฤษ ให้ทราบก่อน ฝ่ายกงสุลอังกฤษก็เสลือกสลนเขียนหนังสือบอกมายังเวรกรมท่าว่า เลอร์ด ยอน เฮ เปนใหญ่ในเรือรบหลายลำ ที่ประจำราชการในทเลอินเดีย..... ตัวเลอร์ด ยอน เฮ จะขอเอาเรือรบขึ้นมาที่กรุงเทพ ฯ นี้ลำหนึ่ง การอย่างไรไม่ทราบ สุดแต่เสนาบดีฝ่ายไทยจะคิดเถิด กงสุลเพียงแต่บอกให้รู้ตามคำ เลอร์ด ยอน เฮ สั่งมา เสนาบดีได้ฟังใบบอกเมืองสมุทรปราการ แลคำกงสุล ก็ที่จะตกใจอยู่บ้างว่าจะเกิดความ รีบร้อน ถามกันไป ๆ มา ๆ อยู่ อนึ่งได้ข่าวว่า กงสุลอังกฤษก็เที่ยวกระซิบกระซาบตามนายห้างนายร้านต่าง ๆ เปนหลายแห่งว่า เลอร์ด ยอน เฮ เปนผู้มีบันดาศักดิ์อำนาจมาก เปนขุนนางผู้ใหญ่ ได้บังคับเรือรบในอินเดียหลายลำ วาศนาบันดาศักดิ์อำนาจสูงกว่ากงสุล เข้ามาครั้งนี้หาบอกความว่าจะมาว่าเรื่องอะไรไม่ เปนแต่ว่าจะขอเอาเรือรบขึ้นมาที่กรุงเทพ ฯ ให้ได้ ก็จะมาคิดทำอะไรแก่กรุงเทพ ฯ ดังทำแก่เมืองตรังกานูนั้นฤา อย่างไรก็ไม่รู้เลย ก็ถ้าแม้นเรือรบยิงเอาบ้านเมืองฝ่ายไทย ไพร่บ้านพลเมืองก็จะแตกตื่นวุ่นวาย ให้นายห้างนายร้านทั้งปวง คิดอ่านรักษาตัวรักษาสิ่งของ ๆ ตัวไว้ให้ดี เพราะการเปนดังนี้ก็ซุบซิบกันอยู่บ้างในชายแลหญิง ชาวเมืองนี้หูไวใจเบา แต่ไม่สู้เปนมากนักดอก เพราะ ฯข้าฯ ขึงแขงอยู่ปรกติไม่ตื่นไปตาม ได้แต่งคนให้ไปสืบความตามกงสุลแลนายห้าง มิศเตอร์น๊อกคนเดียวไม่สทกสท้าน ขันว่าเลอร์ด ยอน เฮ จะมาว่ากล่าวกดขี่คุมเหงไทยอย่างไร จะไม่ยอมให้ทำ เพราะการจะเกี่ยวข้องอย่างไร กงสุลจะได้ว่าก่อน ไม่ใช่ธุระของพวกเรือรบ จะมาล่วงบังคับบัญชา ถ้าพวกเรือรบจะขืนว่ากล่าวอย่างไรแก่ผู้ครองฝ่ายไทย มิศเตอร์น๊อกจะทำปรอเตศกล่าวโทษ ว่าข้ามล่วงเกินวิไศรย อำนาจกงสุลไป มีความผิดอยู่
    ในการเรื่องนี้ ฯข้าฯ ได้จดหมายชี้แจงให้เสนาบดีว่า เลอร์ด ยอน เฮ เข้ามาครั้งนี้ ถ้าจะเข้ามาว่าด้วยเรื่องเมืองตรังกานู คงจะว่าการห้าอย่าง แต่อย่างหนึ่งฤา สองอย่างเปนแน่ เห็นว่าชรอยสุลต่านมหมุด ฤาตัวพระยาตรังกานู เมื่อเมืองตรังกานูถูกอังกฤษยิงแล้ว จะพากันหนีขึ้นไปปลายน้ำ แล้วจะไปอาศัยมือกันกับหวันอาหมัด แล้วรบกับบันดาราเจ้าเมืองปาหังมากไป เพราะโกรธแค้นว่า บันดาราก่อเหตุให้อังกฤษมายิงเอาเมือง เรือไทยที่ให้ไปเอาตัวสุลต่านมหมุดนั้น ยังไม่ได้ตัวสุลต่านมหมุด ก็ไปทอดคอยอยู่ อังกฤษจะสืบรู้แล้วจึงเข้ามาครั้งนี้ จะมาเร่งให้ไทยแต่งกองทัพไปปราบปรามเมืองตรังกานู แลให้จับตัวสุลต่าน ฤา พระยาตรังกานูมาเสียให้ได้นั้น เปนอย่างที่ ๑
    ถ้าอังกฤษไม่ไว้ใจไทย กลัวจะเข้าด้วยพระยาตรังกานู ก็จะขอให้ไทยทำหนังสือยอมให้อังกฤษตีเมืองตรังกานู อย่าให้ว่าล่วงเกิน เปนอย่างที่ ๒
    อีกอย่างหนึ่งจะมาลวงให้ไทยใช้เงินค่าเรือรบ ที่ทำมาแก่เมืองตรังกานู เพราะเหตุที่ไทยปล่อยสุลต่านมหมุดไป จึงเกิดเหตุแก่เมืองปาหังนั้น เปนอย่างที่ ๓
    จะมาว่าให้ไทยบังคับพระยาตรังกานู ให้ใช้เงินแก่นายห้างที่ไปทำแร่ดีบุกขาดทุน เพราะเมืองปาหังเกิดรบกันนั้น เปนอย่างที่ ๔ เลอร์ด ยอน เฮ มาครั้งนี้จะมาออกตัว ว่าตัวไม่ได้เข้าวกเข้าสองด้วยในการรบที่เมืองตรังกานู เปนแต่เจ้าเมืองสิงคโปร์ให้ทำก็ทำตาม เพราะการบ้านการเมืองจะเกี่ยวข้องกันอย่างไร เปนธุระของผู้รักษาเมือง เรือรบเปนแต่ผู้มาช่วย เหมือนมาคอยให้ผู้รักษาเมืองเขาใช้ ๆ อย่างไรก็ทำอย่างนั้น ความผิดชอบขาดเกินคงตกอยู่แก่ผู้บังคับ อย่างนี้เปนที่ ๕
    ฤาอีกอย่างหนึ่งก็จะไม่ว่าอะไรเลย เปนแต่จะมาชิมลางลองใจไทยดู ว่าจะตื่นฤาไม่ตื่น จะตกใจฤาไม่ตกใจ จะถือโกรธฤาจะดีอยู่ ในเรื่องที่ทำไปแก่เมืองตรังกานูนั้น
    ใน ๖ อย่างที่เห็นว่าอย่างที่ ๕ - ๖ นั้นจะเปนถูก จึงได้เขียนเรื่องราวทั้งปวงตามเหตุถ้วนถี่ไปหารือกงสุลอังกฤษ..... ให้กงสุลอังกฤษคิดกับเสนาบดีฝ่ายไทย..... ต่อเมื่อได้มาแต่เมืองลอนดอน จึงจะยอมเปนเสร็จตามที่ปฏิญาณไว้..... เพราะกงสุลเปนธุระ เปนพนักงานที่จะว่ากล่าวอะไร ๆ กับไทย ด้วยราชการทั้งปวง ที่จะให้พูดกับผู้อื่นมิใช่กงสุลก็ดี มิใช่ผู้รับสั่งมาแต่ลอนดอนก็ดี ไม่ต้องกับหนังสือสัญญา..... ท่านเสนาบดีเห็นว่าชอบแล้ว จึงได้คิดเห็นพร้อมกันว่า ถ้าจะไม่ยอมให้เรือรบขึ้นมา จะเอาเรือกลไฟเล็กไปรับตัว เลอรด์ ยอน เฮ ขึ้นมาดังครั้ง เซอร์เยมสบรุก ก็จะเปนที่ก่อเหตุให้เกิดวิวาทนอกเรื่องขึ้น ก็เมื่อเขาจะเข้ามาให้ได้แล้ว ป้อมปากน้ำปากลัดจะจัดการต่อสู้ก็ไม่ทัน..... เขาจะขัดขืนเข้ามาให้ได้โดยความขัดใจแล้ว เมื่อมาถึงป้อมใด ๆ เขาก็จะให้ทหารขึ้นเอาเหล็กตะปูอุดชนวนปืน แลคัดปืนลงจากราง ทำการต่าง ๆ อย่างเช่นทำที่เมืองจีน แลอื่น ๆ ไปไม่เข้าเรื่อง จึงเห็นพร้อมว่า ให้ทำหนังสือยอมลงไปให้ขึ้นมาโดยดี เมื่อมีเหตุอะไรก็ให้พูดกันฉัน เมืองเปนไมตรี ได้แต่งให้พระยาพิพัฒนโกษา กับหม่อมราโชทัย รีบลงไปคอยรับอยู่ที่ด่านปากน้ำ เพื่อจะให้ไกล่เกลี่ยเกลี้ยกล่อมเสียให้ดี.....
    ครั้งเช้าขึ้นวัน......... เรือนำร่องออกไปจะนำเรือรบเข้ามา เลอร์ด ยอน เฮ ยังไม่เข้ามาว่าจะคอยฟังหนังสือตอบกงสุลก่อน รออยู่อีกวันหนึ่ง..... จึงใช้จักรเรือรบลำย่อมชื่อ กอเกวด ซึ่งไปยิงเมืองตรังกานูนั้น มีปืนใหญ่ ๔ กระบอก เปนปืนอามสตรองอย่างใหม่ประจุท้ายกระบอก ๑ เปนปืนใหญ่ตามธรรมเนียม กระสุน ๑๒ นิ้ว ๓ กระบอก เข้ามาถึงปากน้ำเวลาเช้า ๒ โมง รอจักรอยู่ที่หน้าด่าน พระยาพิพัฒน์โกษาหม่อมราโชทัย พระยามหาอรรคนิกร พระยาสมุทบุรานุรักษ์ พระอมรมหาเดชลงไปในเรือ เลอร์ด ยอน เฮ ก็ขึ้นมาต้อนรับเชิญลงไปในห้อง แต่สิ่งของซึ่งหัวเมืองจัดลงไปทักตามธรรมเนียมนั้นไม่รับไว้ ว่าอย่างธรรมเนียมไม่มี..... เมื่อปราไสกันแล้ว เลอร์ด ยอน เฮ ก็ให้ใช้จักรขึ้นมาถึงกรุงเทพ ฯ..... ทอดสมออยู่ใต้บ้านกงสุลอังกฤษลงไป แล้วแจ้งความแก่เจ้าพนักงานว่า ซึ่งเข้ามาทั้งนี้ไม่มีธุระอะไร เปนแต่ตัวเลอร์ด ยอน เฮ มารับราชการอยู่ในทะเลถึง ๓ ปี บัดนี้ใกล้ถึงคราวจะกลับไป เมืองไหน ๆ ได้เที่ยวไปหมด แต่เมืองไทยยังไม่ได้เห็น จึงเข้ามาจะขอเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินสยาม.....
    ครั้นวัน..........ค่ำ เลอร์ด ยอน เฮ กับขุนนางเรือรบ ๘ นาย กับกงสุลอังกฤษ พากันลงเรือเที่ยวไปรอบพระนคร..... ครั้นวัน.......... ค่ำ เลอร์ด ยอน เฮ กัปตัน อาเลกแษนเดอร์ กับขุนนางมียศเปนเซอ แลหมอรวมกัน ๙ นาย เข้ามาหา ฯข้าฯ ในท่ามกลางขุนนาง ฯข้าฯ ปราไสว่า ท่านมานี้ด้วยธุระประสงค์สิ่งใด ก็ว่าไม่มีธุระอันใด เปนแต่ได้ฟังกิติศัพท์ว่า พระเจ้าแผ่นดินฝ่ายไทยโปรดอังกฤษมาก..... แลว่าเวรที่จะต้องอยู่ในทเลยังเหลืออิก ๕ เดือน แล้วจะกลับไปลอนดอน จะได้ไปกราบทูลควินวิกตอเรียว่า ได้เข้ามาเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินไทย ก็จะเปนอันบำรุงรักษาทางพระราชไมตรี..... แล้วก็ไม่ได้ออกหาญพานชื่อเรื่องความที่เมืองตรังกานูเลย การที่เรือรบมาครั้งนี้ก็สมกับความในใบบอก พระพิเทศพานิชเมืองสิงคโปร์..... ความในหนังสือนั้นว่า เรือรบอังกฤษลำหนึ่งชื่อ สก๊อด ได้เที่ยวไปเยี่ยมเยียนบ้านเมืองต่าง ๆ ที่ไปตั้งอยู่เปนกอลอนีก็ดี เปนเมืองกงสุลอังกฤษไปตั้งอยู่ก็ดี หลายแห่งมาแล้ว..... ได้ยินว่าเรือรบลำนั้นจะขึ้นไปเยี่ยมเมืองไทยในเดือนเดเสมเบอร์เปนแน่ เสอริฉาด แมกเกาสแลน ซึ่งเปนผู้กำกับความเมืองสิงคโปร์ ว่าอยู่ถ้าเวลานั้นว่างการอยู่ จะโดยสานเรือรบนั้นเข้ามาเฝ้าเฉพาะพระภักตร์สักครั้งหนึ่งให้ได้
    เซอริฉาดแมกเกาสแลนนั้น เปนผู้รู้จักชอบพอกับ ฯ ข้า ฯ มีหนังสือไปมากันเนือง ๆ เมื่อมีอะไรก็ลอบให้เล่ห์ ให้นัย ให้สติปัญญาแก่ ฯ ข้า ฯ มานานแล้ว ถึงในเรื่องเจ้าเมืองสิงคโปร์ คิดการวุ่นวายที่เมืองตรังกานูครั้งนี้ก็ไม่เห็นด้วย ไม่เข้าด้วย ท่านคนนั้นดูเหมือนจะเปนคนดีอยู่
    เลอร์ด ยอน เฮ บอกแก่ ฯข้าฯ ว่าวัน.......... จะลากลับไป การที่ตื่นตกใจซุบซิบกันอยู่เล็กน้อยเดี๋ยวนี้สงบแล้ว.....
    แลเมื่อข่าวว่าเรือรบเข้ามา ตกใจกันอยู่นั้น ฯข้าฯ ได้แต่งคนเข้าไปสืบตามบ้านกงสุลบ้าง ในเรือรบที่เขามานั้นบ้าง.... คำของคนไปสืบเขา จดหมายเขียนมาให้ ฯ ข้า ฯ ..... ข้อความในจดหมายเหล่านั้นก็ต้องกันกับเหตุที่เปนจริง......
    ที่กรุงเทพ ฯ เดี่ยวนี้ร้อนนัก ลมไม่พัดเลย เวลา บ่าย ๒ โมง ปรอทขึ้น ๘๙ บ้าง เวลากลางคืนลดลงมาเพียง ๘๖-๘๕ เวลาจวนรุ่งลดลงเพียง ๘๒ เปนที่สุด
    จดหมายมา ณ วัน..........ค่ำ ปีจอจัตวาศก ศักราช ๑๒๒๔
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ต่อด้วยพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบางเรื่อง

    ที่มา http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/king/speech/speech1.htm

    พระราชดำรัส
    ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    [​IMG]


    <DD>ประเทศไทย ในรัสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลง พระองค์ได้ทรงนำประเทศไทย ให้ผ่านพ้นวิกฤตกาล จากการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ด้วยพระปรีชาสามารถอันสูงยิ่ง หาผู้เสมอเหมือนมิได้ และยังทรงนำประเทศไทยไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทันสมัย ทัดเทียมนานาอารยประเทศนานัปการ เป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศในทุกด้านตราบถึงปัจจุบัน <DD>พระราชดำรัสของพระองค์ในโอกาสต่างๆ ไม่ว่าเรื่องใด ๆ ย่อมมีสุภาษิตอันเป็นแก่นสาร มีเรื่องราวที่น่ารู้อยู่เป็นอันมาก นอกจากนี้ยังเป็นหนังสืออันสมควรแก่ผู้ศึกษาการแต่งหนังสือไทย เมื่อทรงบรรยายเรื่องราวใดๆ ว่าด้วยกระบวนปฎิภาณโวหาร จะหาผู้เสมอเหมือนได้โดยยาก พระราชนิพนธ์ของพระองค์ย่อมจูงใจผู้อ่าน อ่านไม่รู้จักเบื่อ เป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วกัน <DD>ในที่นี้จะนำเสนอพระราชดำรัสของพระองค์ โดยการตัดตอนมาในแต่ละเรื่อง เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาประเทศไทยไปสู่ความทันสมัย ตามแบบอย่างนานาอารยประเทศมากยิ่งกว่าสมัยใด ในประวัติศาสตร์ชาติไทย


    <CENTER>[SIZE=+2]พระราชดำรัสพระราชทานพระบรมราโชวาท[/SIZE]</CENTER><CENTER>[SIZE=+2]ในการที่องคมนตรีรับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์สัตยาพ.ศ. 2417[/SIZE]</CENTER>

    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><DD>เพื่อจะให้เข้าใจชัดทั่วกันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ในการสุจริตอย่างเดียว จะให้การทั้งปวงซึ่งเป็นการเจริญแก่บ้านเมืองสำเร็จไป เพราะฉะนั้น จึงได้ลดหย่อนพระอิศริยยศลง มิได้ถือพระองค์ ยอมให้ท่านทั้งหลายทูลทัดทานขัดขวางในการซึ่งทรงพระราชดำริซึ่งยังไม่ต้องด้วยยุติธรรม แลให้กราบทูลการที่ตัวได้คิดเห็นว่าเป็นคุณตามความคิดเห็นของตน เพื่อจะให้เป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ราษฎรไปภายหน้า <DD>.....เพราะฉะนั้น ควรที่ปรีวีเคาน์ซิลเลอร์ จะต้องถวายสัตยานุสัตย์ด้วยอาศัยเหตุ 3 ประการ <DD>ประการหนึ่ง ตัวผู้ซึ่งได้รับเป็นปรีวีเคาน์ซิลเลอร์ ต้องถือกฎหมายสำหรับเคาน์ซิล ถ้าจะคิดจะพูดการฤาจะกราบทูลพระกรุณา ด้วยได้ทราบการสิ่งใดมาโดยสุจริต ข้าราชการแลราษฎร ก็จะมีความหวาดหวั่นว่า ผู้นั้นจะกราบทูลพระเจ้าแผ่นดิน หาถ้อยความใส่ผู้อื่น ..... <DD>อีกประการหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเคาน์ซิลเลอร์จะพูดการคิดการสิ่งไรมา ก็จะต้องทรงพระราชดำริเทียบเคียงข้างหน้าข้างหลังมากว่า การที่พูดมานั้นเป็นการจริง ...... <DD>อีกประการหนึ่ง ตัวเคาน์ซิลเลอร์จะประพฤติตัวดี ให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ เมื่อคิดเห็นการอย่างไร ฤาได้ทราบการอย่างไรก็จะพูดจะคิดไปตามไปตามที่เห็นว่าดีมีคุณ ..... เพราะเหตุฉะนี้ถ้าเคาน์ซิลเลอร์ได้สาบานมีคุณสามประการคือ ข้าราชการราษฎรเป็นที่วางใจประการหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินเป็นที่วางพระราชหฤทัยประการหนึ่ง ตัวเองเป็นที่ไว้ใจแก่ตัวเองประการหนึ่ง ถ้าไม่สาบานมีโทษสามประการ ดังเช่นที่ว่ามาแล้วนั้น <DD>.....เพราะเหตุซึ่งปรีวีเคาน์ซิลนี้เป็นสำคัญ ถ้ารับแล้วต้องเป็นตลอดไปจนสิ้นแผ่นดินไม่มีเวลาออกเหมือนเคาน์ซิลออฟสเตด ถ้าจะต้องมีเหตุเป็นโทษเพราะผิดข้อคำสาบาน ก็จะต้องถือว่าผู้นั้นไม่เป็นมนุษย์เลยทีเดียว.....

    </DD>
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ต่อด้วยพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบางเรื่อง

    ที่มา http://www.tv5.co.th/service/mod/her...ch/speech1.htm


    <CENTER>พระราชดำรัสตอบ
    ประชาชนชาวสยาม พ.ศ. 2440</CENTER>


    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>.........

    <DD>ตั้งแต่แรกเราได้เถลิงถวัลยราชสมบัติมาจนบัดนี้ ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก ทั้งในเมืองนี้แลเมืองอื่นๆ สิ่งของที่คิดทำกันขึ้นใหม่ๆ อย่างมหัศจรรย์ บรรทุกเข้ามาจากเมืองอื่นๆ หลายอย่าง เรือกลไฟไปมา แลเครื่องไฟฟ้าโทรเลข กระทำให้ระยะทางไกลๆ กันระหว่างเมืองเรากับเมืองอื่นทั้งหลาย อันไกลที่สุดในโลกนี้ ให้ใกล้ชิดกันเข้าเป็นอันมาก รถรางแลทางรถไฟ ก็ได้ตั้งเริ่มใช้ไปมาภายในเมืองนี้ แล้วสิ่งของต่างๆ หลายอย่างก็คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้ด้วยแรงไอน้ำแลแรงไฟฟ้า สำหรับเป็นประโยชน์ใช้หลายประการ หนังสือเขียนแลหนังสือพิมพ์ทั้งหลาย ยิ่งได้ยินได้ฟังแลได้เห็นของที่คิดขึ้นใหม่ๆ ได้บรรทุกเข้ามา หรือว่าเป็นแต่เพียงเล่าลือกันต่อมาจนถึงเมืองนี้ ก็ยิ่งทำให้เราทั้งหลายเกิดมีความคิดปราถนาที่จะกระทำให้บ้านเมืองของเราเสมอเหมือนกับเมืองอื่นๆ ในการเช่นนี้มากยิ่งขึ้น ..... <DD>..... เราจึงได้ตกลงใจว่าจะเป็นการช่วยให้เรา ได้เห็นจริงในสิ่งอันสมควรที่จะกระทำได้ ณ เมืองนี้ ..... หากว่าเราจะได้ไปถึงประเทศยุโรปเอง อันเป็นประเทศที่มีเมืองใหญ่ ๆ หลายเมือง มีการช่าง ซึ่งเป็นฝีมืออย่างงดงาม แลเป็นความเพียรช่วยกันลงแรงทำการใหญ่ๆ อาศัยความคิดของผู้มีความรู้ในประเทศนั้น ๆ แลเป็นประเทศที่บางแห่งมีพลเมืองมากเท่ากับกรุงสยาม เลี้ยงชีพอยู่บนพื้นก็แผ่นดิน ซึ่งไม่งอกงามเหมือนแผ่นดินของเรา มีอาณาเขตอย่างน้อยที่สุด เล็กกว่าเมืองเราถึงสิบเท่าก็มี
    .........
    <DD>..... เราตั้งใจอธิษฐานว่า เราจะกระทำการโดยเต็มกำลังอย่างดีที่สุด ที่จะให้กรุงสยามเป็นประเทศอันหนึ่ง ซึ่งมีอิสระภาพแลความเจริญ ..... เราทั้งหลายต้องพร้อมกันพยายามกระทำการ ไม่เฉพาะเพียงสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างเดียว แต่ต้องเป็นสิ่งอันชอบธรรมด้วย พระพุทธภาษิตก็ตรัสไว้ว่า " ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมที่ถูกที่ชอบ ยอมรักษาผู้ที่ประพฤติธรรมอันนั้น <DD>..... ควรที่เราทั้งหลายจะถือเอาเป็นบรรทัดอย่างหนึ่งว่า ไม่พึงควรที่จะด่วนบ่นด่วนว่าไปก่อนกาล ควรที่เราทั้งหลายจะพึงมีความพอใจเพียงการสิ่งใด อันจะกระทำให้สำเร็จไปได้ แลเป็นแต่ใฝ่ฝันนึกอยู่ ถึงการอันเป็นสิ่งที่ดีบริบูรณ์แท้เท่านั้น <DD>ในที่สุดควรที่เราทั้งหลาย อย่างพึงชอบใจไปอย่างเดียว ในสิ่งซึ่งเป็นอย่างต่างประเทศแล้ว แลไม่ชอบใจในสิ่งซึ่งเป็นอย่างไทย หรืออย่าพึงชอบใจไปอย่างเดียว ในสิ่งซึ่งเป็นอย่างไทยแล้ว แลไม่ชอบใจใน สิ่งซึ่งเป็นอย่างต่างประเทศ ..... เราทั้งหลายไม่พึงควรเฉพาะแต่ที่จะรักษา ยังควรทำให้เจริญขึ้นในสิ่งอันดี แลสิ่งที่เคารพนับถือ ว่าเป็นอาการกิริยาแลธรรมเนียมแห่งประเทศ

    <DD>ที่มาhttp://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/king/speech/index08.htm



    <CENTER>พระราชดำรัสตอบ
    พระบรมวงศานุวงศ์ แลข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้า
    ในการเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ. 2451</CENTER>
    ..........

    <DD>...... ที่เราไปยุโรปสองคราวมานั้น ความรู้สึกของเราต่างกัน เมื่อไปคราวแรกไปเพื่อประโยชน์ราชการ ...... ครั้นไปเที่ยวหลังนี้ ถึงว่าตัวเราเจ็บไข้ไม่สบาย การไป ๆ เพื่อจะรักษาตัวก็จริง แต่ไปด้วยน้ำใจ ปราศจากความห่วงใยถึงบ้านเมือง ด้วยได้เคยเห็นความสมัครสมานพร้อมเพรียงกัน รักษาราชการให้เรียบร้อยได้ ..... <DD>..... ส่วนการต่าง ๆ ที่ได้จัดขึ้นในศกนี้ก็มีหลายอย่าง คือได้จัดการปกครองมณฑลเพชรบูรณ์ กลับเป็นมณฑลเทศาภิบาล ขึ้นอย่างแต่ก่อน แลได้จัดวางวิธีปกครองมณฑลอุดร แลมณฑลอีสาน ให้เข้าแบบเดียวกับมณฑลอื่น ๆ ..... <DD>การสร้างรถไฟในศกนี้ รถไฟสายเหนือได้เปิดใช้ ต่อขึ้นไปถึงเมืองพิษณุโลกแล้วอีกตอนหนึ่ง รถไฟสายตะวันออก ก็ได้สร้างสำเร็จ เปิดใช้ถึงเมืองฉะเชิงเทราในศกนี้อีกสายหนึ่งด้วย <DD>อนึ่ง ได้อนุญาตให้บริษัทสร้างรถรางขึ้นที่ปากลัดอีกสายหนึ่ง ซึ่งบริษัทได้ทำสำเร็จแลได้เปิดใช้ในศกนี้ ...... <DD>สายโทรเลขในศกนี้ ได้สร้างขึ้นใหม่ในระหว่างเมืองตรัง ไปถึงเมืองสตูล สายหนึ่ง แต่เมืองนครเชียงใหม่ไปถึงเมืองแม่ฮ่องสอนสายหนึ่ง แลกำลังทอดสายโทรเลข จะใช้ได้ถึงเกาะสีชังในเร็ว ๆ นี้ อีกสายหนึ่ง

    .......... <CENTER>พระราชดำรัสตอบ
    คำถวายพระบรมรูปทรงม้า
    ในการพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2451</CENTER>

    <CENTER><TABLE><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>......... <DD>..... จริงอยู่จำนวนปีที่พระเจ้าแผ่นดินได้ดำรงราชสมบัติ ถึงจะช้านานเพียงใด ก็มิได้เป็นอัศจรรย์ ที่ควรจะกำหนดเป็นข้อคำนึง ด้วยเหตุว่าพระราชา ผู้ซึ่งอยู่ในพระราชสมบัติยืนยิ่งกว่านี้ ย่อมมีในประเทศอื่น ๆ หลายแห่ง จะเป็นการแปลกอยู่หน่อย แต่ในพระราชพงศาวดารของเรา ไม่มีพระเจ้าแผ่นดินองค์ใด อยู่ในราชสมบัตินานเสมอครั้งนี้ ..... <DD>ในรัชกาลแห่งสมเด็จพระราชบรรพบุรุษทั้งหลายของเราแต่ก่อนมา การปกครองแผ่นดิน ย่อมเป็นสำคัญในการที่จะต่อต้านศัตรูของประเทศ อันยกมาย่ำยีพระราชอาณาเขตด้วยกำลังโยธา มิให้ล่วงเข้ามาย่ำยีได้ แผ่พระราชอาณาเขตไปในประเทศใกล้เคียง เต็มตามพระบรมราชานุภาพ ..... การที่จะแก้ไขประเพณีการบ้านเมือง แลความนิยมของประชาชน <DD>อันหยั่งรากลงลึกซึ้ง ช้านานมาในประเทศอันหนึ่ง ซึ่งจะเลิกถอนเก่าทิ้งเสีย ตั้งใหม่ในทันทีมิให้มีเหตุการณ์โกลาหล เป็นอันทำไม่ได้ จึงต้องเลือกเอาทางที่ค่อยแก้ไปโดยลำดับ ซึ่งจะสำเร็จได้โดยช้าจริงอยู่ แต่ปราศจากอันตราย ซึ่งจะเกิดขึ้นภายในทางที่จะดำเนินโดยสวัสดี เช่นนี้ ย่อมเป็นข้อสำคัญในความเพียรพยายามที่จะต้องผูกใจไว้เสมอ ..... <DD>อีกประการหนึ่ง ในเวลาเดียวกันนี้ เหตุการณ์อันเป็นไปภายนอกราชอาณาจักร ได้เปลี่ยนแปลงไปพร้อมกันมากนัก จึงถึงประเทศสยาม รู้สึกว่าได้เปลี่ยนฐานที่ตั้งอยู่เนือง ๆ ด้วยเหตุอันเป็นไปภายนอกโดยรอบคอบ จึงเป็นการผิดกันมากกับกรุงสยามได้ตั้งอยู่มาแต่โบราณกาล ..... ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปใน 40 ปีนี้ เหมือนอย่างจะยิ่งกว่าห้าร้อยปี ที่จะได้พึงเปลี่ยนแปลงมาในพระราชพงศาวดารก็ไม่เท่า ..... </DD>..... แต่ก่อนมา เมื่อประเทศเราอยู่แต่ลำพัง มิได้มีสมาคมด้วยประเทศอื่น ความรู้สึกภายในย่อมเห็นการเล็กเป็นใหญ่ เห็นใกล้เป็นไกล ความมุ่งหมายแลความประสงค์ ตั้งวงศ์อันแคบต่างคนต่างคิดไปตามอัธยาศัย ..... ให้ประชาชนรู้สึกใจว่า เป็นชาติอันหนึ่งอันเดียวกันโดยสนิท มิได้เลือกกำเนิดแลศาสนา ให้มหาชนรู้สึกรักชาติ แลประเทศของของตน ประกอบการแสวงผลให้เจริญโภคทรัพย์ สมควรแก่ความสามารถ ......


    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/pastevent/past_ram31.htm

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1]๖ กันยายน๒๓๘๑[/SIZE]
    [SIZE=-1] วันประสูติ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ โอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระราชทานอุปราชาภิเศกเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ในปี ๒๔๑๑ นับเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล องค์สุดท้ายในสมัยรัตนโกสินทร์ เสด็จทิวงคตในปี ๒๔๒๘ ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงยกเลิกตำแหน่งสมเด็จโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ตามแบบประเทศตะวันตก[/SIZE]

    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร

    ที่มา http://www.thailandmuseum.com/bangkok/history.htm

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=519 border=0><TBODY><TR><TD width=533>[​IMG]

    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นับเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนแห่งแรกของประเทศไทยซึ่งตั้งขี้น
    เมื่อ พ.ศ. 2402 แต่เดิมเป็น "พระราชวังบวรสถานมงคล" หรือวังหน้าซึ่งประกอบด้วยพระที่นั่งและพระตำหนักอันนับเป็นสถาปัตยกรรมไทยที่งดงามอีกแห่งหนึ่ง

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ขึ้นที่ พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นเครื่องราชบรรณาการต่างๆ นับว่าเป็นบ่อเกิดของพิพิธภัณฑ์ในสมัยต่อมา

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "มิวเซียม" ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือหอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวัง เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรก เนื่องในวโรกาสเแลิมพระชนมายุครบ 21 พรรษา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 ครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2430 กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทิวงคต จึงได้มีประกาศยกเลิกตำแหน่งพระอุปราชแล้ว ทำให้สถานที่ในพระราชวังบวรสถานมงคลว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึง โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพิพิธภัณฑสถานจากหอคองคอเดีย ไปตั้งจัดแสดงที่พระราชวังบวรสถานมงคลเฉพาะด้านหน้า 3 องค์ โดยใช้พระที่ นั่งด้านหน้าคือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เรียกว่า "พิพิธภัณฑ์วังหน้า"
    </TD></TR><TR><TD width=533>[​IMG] ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระ ราชมณเฑียรในพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งหมดให้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครขึ้น และได้จัด พระที่นั่งศิวโมกขพิมานให้เป็นสถานที่จัดแสดง ศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน สมุดไทย ตำราโบราณ เรียกว่าหอสมุดวชิรญาณ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2469 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ต่อมาประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลได้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร จึงได้เข้าสังกัดกับกรมศิลปากร และได้ประกาศตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ. 2477 </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2006
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/พระราชวังบวรสถานมงคล

    พระราชวังบวรสถานมงคล

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    Jump to: navigation, ค้นหา

    <!-- start content --><CENTER>

    </CENTER>
    พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    พระราชวังบวรสถานมงคลเป็นพระราชวังที่ประทับของผู้ทรงดำรงพระอิสริยยศ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งทรงดำรงพระอิสริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดให้สร้างขึ้น โดยเริ่มสร้างพร้อม ๆ กับพระบรมมหาราชวังใน พ.ศ. 2325 การก่อสร้างพระราชวังแห่งนี้ใช้พื้นที่ตั้งแต่ทิศเหนือของวัดสลัก (ปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์) ขึ้นไปจดคลองคูเมือง (คือคลองหลอด) และได้ทำผาติกรรมที่ดินส่วนหนึ่งทางด้านเหนือของวัดสลักเข้ามาเป็นเขตพระราชวังบวรสถานมงคลด้วย อาณาเขตของพระราชวังบวรสถานมงคลเดิมกว้างขวางมาก แต่ปัจจุบันได้ดัดแปลงส่วนหนึ่งเป็นสนามหลวง และถนน และเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยช่างศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงละครแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    พระราชวังบวรสถานมงคลเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของผู้ดำรงพระอิสริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคลและในฐานะที่เป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช จึงมีความสำคัญมาก พระราชวังแห่งนี้ใช้เวลาสร้าง 3 ปีแล้วเสร็จและมีการฉลองพระราชวังพร้อมกับการสมโภชพระนครและฉลองพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ. 2328 พระราชวังบวรสถานมงคลมีงานสถาปัตยกรรมที่สำคัญ เช่น พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ตั้งแต่ พ.ศ. 2330 พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน ซึ่งเป็นท้องพระโรง รวมทั้งพระราชมณเฑียร ซึ่งมีพระที่นั่งอยู่ในหมู่เดียวกัน 11 องค์ คือ
    พระที่นั่งตรงที่เป็นท้องพระโรงหลัง
    นอกจากนี้ ยังมีพระที่นั่งพิมานดุสิดา(พื้นที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และได้รื้อไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จไปประทับ
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้าง พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ขึ้นเพื่อเป็นที่เสด็จออกแขกเมืองและบำเพ็ญพระราชกุศล รวมทั้งเป็นที่ตั้งพระศพกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีอุปราชาภิเษก นอกจากนี้สมเด็จพระบวราชเจ้ามหาศักดิพลเสพยังโปรดให้ซ่อมแซมพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ และเปลี่ยนนามเป็น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และสร้างวัดขึ้นในพระราชวังด้วย คือ วัดบวรสถานสุทธาวาสซึ่งเรียกกันว่า วัดพระแก้ววังหน้า
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์เป็นพระมหาอุปราชแต่ให้มีพระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว นามของวังหน้าหรือพระราชวังบวรสถานมงคลโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า พระบวรราชวัง ขณะที่วังหลวงเรียกว่า พระบรมมหาราชวัง ในสมัยนี้มีการปรับปรุงพระบวรราชวังครั้งใหญ่ให้สมพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น สร้าง
    ซึ่งเป็นที่ประทับ นอกจากนี้ยังมีพระที่นั่งบวรปริวัติซึ่งทรงสร้างค้างไว้ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อจนเสร็จเรียบร้อย รวมทั้งเก๋งนุกิจราชบริหารด้วย
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทรงดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นพระองค์สุดท้าย เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารขึ้นแทนใน พ.ศ. 2429 กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทรงสร้าง พระที่นั่งสาโรชรัตนประพาส ต่อจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากที่กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเสด็จทิวงคตใน พ.ศ. 2428 แล้ว พระบวรราชวัง หรือ พระราชวังบวรสถานมงคลก็มิได้เป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชอีก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ดัดแปลงสนามวังหน้าเป็นส่วนหนึ่งของสนามหลวง และรื้อป้อมปราการต่าง ๆ ลง และโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพิพิธภัณฑสถานไปไว้ที่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยใน พ.ศ. 2430 และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชมณเฑียรในพระราชวังบวรสถานมงคลจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครใน พ.ศ. 2469 ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วิทยาลัยช่างศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงละครแห่งชาติ และท้องสนามหลวงตอนเหนือฟากตะวันตก
    [​IMG]
    [​IMG]

    วิกิแมเปีย มีภาพถ่ายทางอากาศของ: พระราชวังบวรสถานมงคล


    <!-- Pre-expand include size: 2790 bytesPost-expand include size: 3081 bytesTemplate argument size: 1200 bytesMaximum: 2048000 bytes--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:8726-0!1!0!!th!2 and timestamp 20061129125707 -->ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5".
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา http://www.sakulthai.com/DSakulcolu...076&stissueid=2528&stcolcatid=2&stauthorid=13



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="BACKGROUND: url(/images/lines/vertical01.gif) repeat-x left bottom" vAlign=bottom width="40%" height=36></TD><TD vAlign=bottom noWrap align=middle width="14%">บทความ-สารคดี </TD><TD style="BACKGROUND: url(/images/lines/vertical01.gif) repeat-x left bottom" vAlign=bottom width="46%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=bottom height=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom noWrap width="14%">[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="11%" height=119>
    [​IMG]


    </TD><TD width="3%">[​IMG]</TD><TD width="86%"><TABLE height="100%" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>วังหน้า
    โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์
    </TD></TR><TR><TD vAlign=bottom>ฉบับที่ 2528 ปีที่ 49 ประจำวัน อังคาร ที่ 1 เมษายน 2546</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="10%" height=20>[​IMG]</TD><TD vAlign=top width="90%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top height=135></TD><TD vAlign=top>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]-ผู้อ่านถามมาว่า
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ดูจากกระทู้ที่เกี่ยวกับจิตนี่คงต้องทำความเข้าใจกันพอสมควร พอดีไปร้านหนังสือเก่า เจอหนังสือของหลวงปู่ดูวัดสะแก อยู่เล่มนึง เป็นหนังสือก่อนเล่มกายสิทธิ์ อันโด่งดัง ท่านอธิบายเรื่องจิต ซึ่งเป็นอจินไตยไว้เยอะมาก แต่ที่มาสะดุดใจก้คือคาถามาจักรพรรดิ์ ท่านบอกว่าเวลาท่านเสกพระท่านก็จะเอาบทนี้เสกตลอด ท่านบอกว่าคนที่กำหนดดูข้าเสก ก็จะรู้ว่ามันเป็นยังไง แถมท่านยังส่งเสริมให้คนสวดเยอะๆ ท่านว่า"ข้าลองแล้วเห็นว่าดีจริงจึงบอกพวกแก" จึงทำให้คิดว่า แค่ตัวหนังสือไม่กี่ตัวจะดีจริงรึ ตัวหนังสือก็คือตัวหนังสือ ไม่มีชีวิตจิตใจ แต่ทำไมถึงเกิดอภินิหารได้เพียงนี้ คำตอบก็คืออธิจิตของผู้ท่องบ่นมีจิตโน้มไปที่พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เช่นเดียวกันในความเห็นแย้ง และความเห็นต่าง เรื่องพระของหลวงปู่โลกอุดร ของเจ้าประคุณสมเด็จโต หลวงของพ่อต่างๆ ที่เคารพ หากเรามั่นใจว่าท่านคุ้มครองเราได้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก และที่ประทับใจในหนังสือเล่มนี้อีกอย่าง ท่านว่า เวลาเราใส่บาตรบางครั้งเห็นพระสงฆ์มีกิริยาไม่เหมาะสม หรือไม่สำรวม ท่านบอกว่าเวลาเราใส่บาตร ให้นึกว่า เรากำลังใส่บาตรให้พระพุทธเจ้า พระสงฆ์ข้างหน้าเราคือสมมติสงฆ์ที่อุปโลกให้เป็นเนื้อนาบุญเท่านั้น พอจิตกำหนดว่าใส่บาตรให้พระพุทธเจ้า จิตก็จะเกิดปีติในบุญที่ใส่บาตร ท่านว่า แค่นี้บุญก็ล้นเหลือแล้ว ยังๆ อีก ท่านว่าเวลาเราทำสังฆทาน ถ้าเราจะถวายพระแล้วคิดว่าวัดที่เราจะไปถวายนั้นคนจะเยอะ ท่านว่าให้ตั้งจิตอธิษฐานว่าจะถวายสังฆทานให้พระสงฆืจากบ้านมาเลย เตรียมตัว เตรียมจิตให้พร้อมแล้วตั้งใจอธิษฐานพบในสิ่งที่ดีก่อนที่จะถึงนิพพาน และขอให้เข้าถึงนิพพานเลย ท่านอธิบายว่า ขอให้พ้นทุกข์ ขอให้รวย หรือขอในสิ่งอื่นนั้น ก็เป็นสิ่งที่ดีที่เรานึกขึ้นนั่นเอง ดังนั้น ขอให้พบในสิ่งที่ดี จึงคลุมหมด ปีติในสังฆทานจะเกิดมากกว่าที่เรามาเบียดเสียดแย่งกันถวายในวัดหลายเท่านัก เอ้าไหนๆ ก็ไหนแล้ว มาสวดคาถาจักรพรรดิ์กันดีกว่า

    นะโมพุทธายะ พระพุทธไตรรัตนญาณ มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมมา
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะ ธา พุทธ โม นะ พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา
    อัคคีทานัง วะรังคันธัง
    สิวลี จะมหาเถรัง อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิธาตุโย อะหังวันทามิ
    สัพพะโส พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ

    สวดมนต์กันให้มากๆ เข้า ดีกว่าร้อง HAPPY BIRTH DAY หรือ JINGLE BELL เป็นไหนๆ

    ปีใหม่นี้ขอให้เจอในสิ่งดีๆ ทุกคน ตราบจนกว่าจะถึงซึ่งนิพพาน
    ขอโมทนาบุญให้ทุกท่านที่อ่านกระทุ้นี้ ขอให้กายทิพย์ของท่านจงเกิดปีติในกุศลบุญที่ได้รับรู้ความดีของหลวงปู่ดู่ และหมู่เพื่อนที่มีความเห็นตรง และเห็นต่างที่เข้ามาสากัจฉาเรื่องจิตกัน เราทุกคนต่างมุ่งหน้าหาธรรม เพียงแต่สองข้างทางยังเต็มไปด้วยซอกเล็กซอกน้อย เมื่อหลงเข้าซอกแล้วถอยมาเดินในถนนใหญ่ สักวันก็ถึงที่หมายด้วยกันทุกคน สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...