พระเจ้าตากสินมหาราช...ทรงนำพุทธศาสนา กำหนดจริยธรรมของคนไทย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 23 ธันวาคม 2009.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    พระเจ้าตากสินมหาราช...ทรงนำพุทธศาสนา
    กำหนดจริยธรรมของคนไทย




    “บุญญสิกขา” คัดและเรียบเรียงจาก "พระเจ้าตากสิน ใช้ศาสนา กำหนดจริยธรรมของคนไทย อย่างไร"
    บทวิเคราะห์เกี่ยวกับพุทธศาสนาในประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี งานวิทยานิพนธ์ โดย คุณวนา
    <O:p</O:p


    ประโยชน์มวลกุศลทุกประการ อันจะก่อเกิดพึงมีจากสาระนี้
    ขอน้อมถวายเป็นพระกุศลเจริญญาณพระบารมี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    ตลอดจนพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ผู้เอกอัครพุทธศาสนูปภัมภกทุก ๆ พระองค์
    น้อมบูชาพระโบราณจารย์ ผู้บริหารพระพุทธศาสนา จนถึงปัจจุบันสมัย
    และยังผลสู่ลูกหลานบริวารทุกๆ ดวงจิต ทุกๆ ดวงวิญญาณ ในพระองค์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช



    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.160711/[/MUSIC]​







    <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2012
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    โดยที่ประเทศไทย ถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในสถาบันหลักของความเป็นอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงวิถีแห่งพุทธอันเป็นเหตุที่มาแห่งวิถีชีวิตคนไทย นับเนื่องแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น จะเห็นได้ว่าพุทธศาสนากับการเมืองจะแยกกันแทบไม่ออกด้วยว่า รากฐานอำนาจรัฐที่มีอยู่นั้น มีพุทธศาสนาเข้าไปจัดระบบความคิดของชนชั้นทั้งระดับบนและระดับล่าง และการที่จะทำให้สังคมเกิดระเบียบและอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยความชอบธรรมของผู้นำนั้น ขึ้นอยู่กับ “แนวคิดหลัก” ที่จะเป็นแกนกลางของระบบทั้งระบบ นั่นคือแนวความเชื่อเกี่ยวกับ ” วิถีจิตแห่งพุทธะ” เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องบุญบารมี ... ศาสนาจึงถูกมองว่าเป็นเครื่องมือสร้างสิทธิธรรมของกษัตริย์เหนือประชาชน
    <O:p</O:p


    ในตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ๑๕ ปี พระองค์ท่านทรงครองแผ่นดินโดยสถานภาพฐานะของราชอาณาจักร เริ่มต้นจากศูนย์ คือการเริ่มก่อร่างสร้างเมืองใหม่ หลังจากย่อยยับจากภัยสงคราม พระองค์ท่านทรงพยายามจะสถาปนาอุดมการณ์ของอาณาจักร จากแนวความคิดวิถีชีวิตจิตวิญญาณทางพุทธศาสนา เพื่อใช้เป็นหลักในการกำหนดจริยธรรมของคนไทย เพื่อเป็นบรรทัดฐานของการจัดระเบียบและควบคุมสังคมต่อไป ซึ่งสิ่งที่เป็นรูปธรรมชัดเจนที่สุด คือ การที่พระองค์พยายามจะสั่งสอนอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ให้ประพฤติตนอยู่ในกรอบศีล และธรรม <O:p</O:p


    ความพยายามที่จะให้อาณาประชาราษฎร์ได้รับรู้ และปฏิบัติตนให้เป็นไปตามแนวทางของพุทธศาสนา นั่นคือ ในกรอบหลักการ การทำดีได้พบกับความสุข การทำชั่วได้พบกับความทุกข์ ผู้ใดตั้งอยู่ในศีลและความเพียรพยายามในพระธรรมวินัย มากด้วยความอุตสาหะ จะพบกับหนทางสู่นิพพานในที่สุด ด้วยการ
    ๑) ออกพระราชกำหนดว่าด้วยศีลสิกขาเพื่อ การบำรุงศาสนาและกำหนดพระธรรมวินัยของพระสงฆ์

    ๒) การจัดทำ สมุดภาพไตรภูมิโบราณ

    ๓) การสอดแทรกหลักธรรมคำสอนผ่าน บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์<O:p</O:p
     
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]




    การจัดระเบียบบำรุงศาสนา และกำหนดพระธรรมวินัยของพระสงฆ์
    <O:p</O:p

    ถึงแม้ว่าในรัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองจะตกอยู่ในภาวะสงครามเกือบตลอดเวลา แต่พระองค์กลับมิได้ทรงละเลยงานด้านศาสนจักร ได้ทรงมุ่งมั่นทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เหมือนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา พระราชกรณียกิจด้านฟื้นฟูพระพุทธศาสนามีดังนี้



    <O:p</O:p
    • บทสวดมนต์ พุทธชัยมงคลคาถา <O:p</O:p
    มีบันทึกโบราณบอกไว้ดังนี้
    <O:p</O:p
    "เมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเล็งเห็นว่า สงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไป จะต้องหนักหนาและยืดยาว จึงทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้น แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลาย มาสวดบทพาหุงมหากาบรรจุไว้ในองค์พระ และพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตาม พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยการเจริญพาหุงมหากา จึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"


    <O:p</O:p
    • การจัดระเบียบสังฆมณฑล <O:p</O:p
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบสังฆมณฑลทันที ภายหลังการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ครั้งที่ยกทัพไป ปราบชุมนุมเจ้าพระฝางเมื่อทรงเห็นว่าพระสงฆ์ทางฝ่ายหัวเมืองเหนือมัวหมอง ก็ได้อาราธนาพระราชาคณะ จากในกรุงไปสั่งสอน ทำให้พระสงฆ์กลับบริสุทธิ์และเป็นปกติสุขขึ้น


    <O:p</O:p
    • การรวบรวมพระไตรปิฎก <O:p</O:p
    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยังได้ทรงมุ่งมั่นในการสืบเสาะค้นหาต้นฉบับพระไตรปิฎกที่ยังเหลืออยู่หลังจาก เสียกรุง เพื่อนำมาคัดลอกจำลองไว้สำหรับการสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงต่อไป ซึ่งจะเห็นได้จาก เมื่อคราวที่เสด็จไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชในปีพุทธศักราช ๒๓๑๒ ได้มีรับสั่งให้ขอยืมคัมภีร์ พระไตรปิฎกจากนครศรีธรรมราชบรรทุกเรือเข้ามาคัดลอกในกรุงธนบุรี และในปีถัดมาในคราวที่เสด็จ ไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝางที่เมืองอุตรดิตถ์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้นำพระไตรปิฎกลงมาเพื่อใช้สอบทานกับ ต้นฉบับที่ได้จากเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสังคายนาพระไตรปิฎก ในสมัยต่อมา



    <O:p</O:p
    • การสมโภชพระแก้วมรกต <O:p</O:p
    ภายหลังจากที่รบชนะเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบางกลับมายังกรุงธนบุรีด้วย โดยให้จัดขบวนเรือพยุหยาตรามโหฬารถึง ๒๔๖ ลำ และเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปรับด้วยพระองค์เอง แล้วให้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง



    <O:p</O:p
    • การบูรณะปฏิสังขรณ์วัด <O:p</O:p
    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ เป็นจำนวนมาก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เช่น วัดอินทาราม , วัดหงส์ระตนาราม และ วัดอรุณราชวาราม



    <O:p</O:p
    • พระราชกำหนดว่าด้วยศีลสิกขา <O:p</O:p
    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายว่าด้วยวัตรปฏิบัติในทางธรรมวินัยของพระสงฆ์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๑๖ โดยถือเป็นต้นฉบับกฎหมายพระสงฆ์ฉบับแรกของไทย และทรงนำแนวคิดทางพระพุทธศาสนา มาใช้เป็นหลักในการจัดระเบียบสังคมในสมัยนั้นด้วย
    <O:p</O:p

    และหลังจากกอบกู้แผ่นดินได้แล้ว พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ แล้วจัดถวายพระเพลิงอย่างสมพระเกียรติ ทั้งยังทรงรับอุปการะบรรดา เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า พระราชโอรส ตลอดทั้งพระเจ้าหลานเธอของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทุกพระองค์ด้วยความกตัญญู<O:p</O:p
     
  4. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]


    หลักธรรมคำสอนผ่านสมุดภาพไตรภูมิโบราณ

    เป็นที่ทราบกันว่า ภาพเขียนที่งดงามประณีตในสมัยธนบุรีที่สำคัญยิ่งคือ"สมุดภาพไตรภูมิ"เป็นภาพเขียนที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช๒๓๑๙ซึ่งนับได้ว่าเป็นสมุดภาพไตรภูมิขนาดใหญ่เล่มหนึ่งของเมืองไทยเมื่อคลี่ออกจะมีความยาวถึง๓๔.๗๒เมตรเขียนด้วยสีลงในสมุดทั้งด้านโดยฝีมือช่างเขียนคนปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรีกรุงเทพฯ
    <O:p</O:p
    สาระใน สมุดภาพไตรภูมิสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเน้นพรรณนาสภาพของอบายภูมิอย่างน่าสะพรึงกลัว พรรณนาความรื่นรมย์ในสุคติภูมิ และชี้ให้เห็นถึงการกระทำอันเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์โลกทั้งหลายได้ไปเกิดในภูมิเหล่านั้นตามกฎแห่งกรรม

    <O:p</O:p
    การเสนออุดมคติ หรือจุดหมายปลายทางในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ใน ๒ รูปแบบ คือ

    ๑. คติทางโลก โดยสอนการดำรงภูมิมนุษย์ควรกระทำแต่ความดีเพื่อ
    - ได้รับผลดีตอบสนองในชาตินี้
    - ได้ไปเกิดในภพที่ดี เช่น การได้ไปเกิดในสวรรค์ หรือไปเกิดเป็นมนุษย์ในดินแดนที่น่ารื่นรมย์ หรือไปเกิดในยุคพระศรีอาริย์ เป็นต้น

    ๒. คติทางธรรม โดยมีพระนิพพานเป็นจุดหมายปลายทาง ให้สร้างสรัทธาให้เชื่อว่านิพพานเป็นความสุขนิรันดร์

    <O:p</O:p


    แนวพระราชดำริการจัดทำสมุดภาพไตรภูมิ จึงมีดังนี้

    . เพื่อส่งเสริมจริยธรรมและศีลธรรมของปวงชน ให้มีจิตใจยึดมั่นในคุณงามความดี มุ่งสร้างสันติสุขแก่สังคมตามทัศนคติและความเชื่อดั้งเดิมในขนบธรรมเนียมโบราณ (เติมเต็มขวัญกำลังใจชาวบ้านชาวเมืองอันเนื่องมาจากประสบความสูญเสีย)
    ๒. ลดการแทรกแซงของศาสนาและลัทธิอื่น จากชาวต่างชาติ ซึ่งลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาพุทธ ทำให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง สั่นคลอนความมั่นคง ช่วงหลัง จึงมีประกาศห้ามคนไทยนับถือศาสนาอื่น (ตลอดรัชสมัยเกิดมีผู้คนชาวเมืองหลากหลายชนชาติที่รวบรวมจากภัยสงคราม)
    ๓. เป็นการสร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนาให้เกิดแก่ประชาชนได้ทราบถึงสัจธรรมของคำสั่งสอนของสมเด็นพระบรมศาสดาที่เป็นไปตามเหตุผล ผู้มีปัญญาตริตรอง เมื่อเห็นแล้ว จะเกิดการรู้แจ้งและมีศรัทธาเกิดขึ้นอย่างมั่นคง (เสริมสร้างหลักคิด หลักจิตใจที่มั่นคงด้วยคุณพระรัตนตรัยและพระสัทธรรม)<O:p</O:p

    ผ่านการใช้สมุดภาพไตรภูมินี้ ก่อให้เกิดศรัทธาที่มีสื่อชักนำให้เห็นคุณโทษของการกระทำใด ๆ ก็ตาม จะเป็นไปตามกฎแห่งกรรม
    ๔. เป็นการสร้างอุดมคติทางโลก ซึ่งการดำเนินชีวิตในทางโลกนั้น ยังเต็มไปด้วยกิเลสตัณหา มนุษย์จึงยังคงกระทำความดี โดยมีจุดมุ่งหมายว่าจะได้รับผลตอบสนองในทางที่ดีตามความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม โดยพิจารณาจากคน ๔ ประเภท ดังที่กล่าวไว้ในไตรภูมิ ได้แก่ ๑) คนอสุรกาย ๒) คนเปรต ๓) คนดิรัจฉาน และ ๔) คนมนุษย์

    โดยคนมนุษย์นั้นเป็นผู้ที่ได้รับยกย่องกว่าคนจำพวกอื่น เพราะเป็นผู้รู้ผิดชอบชั่วดีและละอายเกรงกลัวต่อบาป การได้เป็นมนุษย์จึงสมควรมุ่งกระทำความดีเพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทาง คือ นิพพาน ผ่านกรอบแห่งศีลและธรรม<O:p</O:p
    ๕. การเน้นเรื่องบาปบุญคุณโทษ เพื่อให้ประชาชนไม่กล้ากระทำผิด มุ่งสร้างสันติสุขให้เกิดแก่สังคม และมุ่งหวังที่จะสั่งสอนคนทั้งหลายให้เข้าใจในข้อธรรมของพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระองค์เองทรงแสดงการยอมรับกฎแห่งวาระกรรมเป็นตัวอย่าง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]


    หลักธรรมคำสอนผ่านบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์
    <O:p</O:p
    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแสดงแนวพระราชดำริผ่านบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ ถึงความชอบธรรมของการเป็นผู้มีบุญญาบารมีของพระองค์ท่าน ในอันที่จะสร้างบ้านแปลงเมืองและปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครองราชอาณาจักร นอกจากนี้ อาจเป็นไปได้ถึงพระราชศรัทธาส่วนพระองค์ที่มีต่อวรรณคดีสำคัญเรื่องนี้ จึงต้องการสื่อออกมาให้ประชาชนได้รับรู้ และเข้าใจได้โดยง่าย โดยสื่อผ่านภาพจิตรกรรมที่สวยงาม
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระราชนิพนธ์อันมีค่าที่พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้นั้นก็คือ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ความระบุไว้ว่า วันที่พระองค์ท่านทรงพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ฉบับนี้คือ วันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช ๑๑๓๒ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๑๓ ซึ่งเป็นปีที่ ๓ แห่งรัชกาลของพระองค์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ๔ เล่มสมุดไทย คือ<O:p</O:p
    เล่ม ๑ ตอนพระมงกุฎ<O:p</O:p
    เล่ม ๒ ตอนหนุมานเกี้ยววารินจนท้าวมาลีวราชมา<O:p</O:p
    เล่ม ๓ ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษา<O:p</O:p
    เล่ม ๔ ตอนทศกรรฐ์ตั้งพิธีทรายกรด พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัสตร์ จนผูกผมทศกรรฐ์กับนางมณโฑ

    <O:p</O:p
    ในรัชสมัยสั้น ๆ ของพระองค์ท่านนี้ มีกวีที่สมควรได้รับการยกย่อง ๒ ท่าน คือ
    <O:p</O:p
    ๑. นายสวน มหาดเล็ก ซึ่งแต่งโคลงสี่สุภาพ แต่งขึ้นเพื่อยกพระเกียรติและสรรเสริญ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี 85 บท เป็นสำนวนที่เรียบง่าย แต่ทรงคุณค่าด้วยเป็นหลักฐานที่คนรุ่นต่อมาได้ทราบถึงสภาพบ้านเมืองและความเป็นไปในยุคนั้น
    <O:p</O:p
    ๒. หลวงสรวิชิต (หน) ซึ่งต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยายาพระคัลง (หน) งานประพันธ์ของท่านเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย จนถึงปัจจุบัน เช่น วรรณกรรมสามก๊ก เป็นต้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    <O:p</O:p



    ในบทพระราชนิพนธ์รามเกียติ์นี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราชดำรินำวิถีแห่งพระพุทธศาสนามา กำหนดจริยธรรมของคนไทย เป็นการสะท้อนอุปนิสัยใฝ่ธรรมะของพระองค์ท่าน แสดงออกถึงความมีพระปรีชาญาณที่ทรงภูมิธรรมชั้นสูงของพระองค์ ปรากฏอยู่ในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง รามเกียรติ์ที่พระองค์ทรงพระนิพนธ์ขึ้นในรัชสมัยนี้ ซึ่งแฝงไว้ด้วยหลักธรรมอันเป็นข้อเตือนสติ ดังปรากฏในบทพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ตอนที่นางมณโฑปลอบทศกรรฐ์ ที่ผิดหวังจากท้าวมาลีวราชที่ท่านไม่ยอมเข้าข้างด้วย ความดังนี้<O:p</O:p

    พระจอมเกศแก้วของเมีย.... ...ปละอาสวะเสียอย่าหม่นไหม้
    แม้จิตไม่พิทราลัย.... ............ถีนะมิทธะภัยมีมา
    อันซึ่งความทุกข์ความร้อน..... ตัวนิวรณ์วิจิกิจฉา
    อกุศลปนปลอมเข้ามา ...........พาอุธัจจะให้เป็นไป
    ประการหนึ่งแม้นมีเหตุ ..........เวทนาพาลงหมกไหม้
    ฝ่ายซึ่งการแพ้ชนะไสร้.......... สุดแต่ได้สร้างสมมา
    ถึงกระนั้นก็อันประเวณี ..........ให้มีความเพียรจงหนักหนา
    กอปมนตร์ดลทั้งอวิญญาณ ....สัจจะสัจจาปลงไป

    การสะท้อนบุคลิกของพระองค์ผ่านบทประพันธ์ อันแสดงถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน ไม่ว่าจะเป็นคติธรรมที่แฝงมาในบทพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ ข้อคิดเตือนสติให้รู้จักสิ่งดี สิ่งไม่ดี เหล่านี้ ล้วนเป็นสื่อผ่านถึงประชาชนของพระองค์ให้ประกอบแต่คุณงามความดี เชื่อในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในยามที่บ้านเมืองกำลังอยู่ในระยะตั้งตัว การเกิดสันติสุขในสังคม ย่อมนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะด้านจิตใจ .....................!!!<O:p</O:p
     
  6. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    ซึ่งแม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังชื่นชมในพระราชอัธยาศัยนี้ เช่น มองเซนเยอร์ เลอบอง ได้บรรยายไว้ในจดหมายถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศว่า

    <O:p</O:p
    ... บรรดาคนทั้งหลายเรียกพระเจ้าตากว่า “พระเจ้าแผ่นดิน” แต่พระเจ้าตากเององค์เองว่า .. เป็นแต่เพียง ผู้รักษากรุง เท่านั้น พระเจ้าตากหาได้ทรงประพฤติเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินก่อน ๆ ไม่ และในธรรมเนียมของพระเจ้าแผ่นดินฝ่ายทิศตะวันออกที่ไม่เสด็จออกให้ราษฎรเห็นพระองค์ด้วยกลัวจะเสื่อมเสียพระเกียรติยศนั้น พระเจ้าตากไม่ทรงเห็นชอบด้วยเลย พระเจ้าตากทรงพระปรีชาสามารถยิ่งกว่าคนธรรมดา เพราะฉะนั้นจึงไม่ทรงเกรงว่าถ้าเสด็จออกให้ราษฎรพลเมืองเห็นพระองค์ และถ้าจะทรงมีรับสั่งด้วยแล้วจะทำให้เสียพระราชอำนาจลงแต่อย่างใด เพราะพระองค์มีพระราชประสงค์ทอดพระเนตรการทั้งปวงด้วยพระเนตรของพระองค์เอง และจะทรงฟังการทั้งหลายด้วยพระกรรณของพระองค์เองทั้งสิ้น ...”


    [​IMG]<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงปกครองบ้านเมืองคล้ายคลึงกับพระราโชบายของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ แบบพ่อปกครองลูก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์เดียวที่ไม่ถือพระองค์ มักปรากฏพระวรกายให้พสกนิกรเห็น และมักถามสารทุกข์สุขดิบของพนกนิกรทั่วไป ทรงหาวิธีให้ไพร่บ้านพลเมืองได้ทำมาหากินโดยปกติสุข ใครดีก็ยกย่องสรรเสริญ ผู้ใดทำไม่พอพระทัย ก็ดุด่าว่ากล่าวดัง พ่อสอนลูก อาจารย์สอนศิษย์ ซึ่งสมกับโคลงยอพระเกียรติของนายสวนมหาดเล็กที่ว่า

    พระเดียวบุญลาภเลี้ยง.....................ประชากร<O:p</O:p
    เป็นบิตุรมาดร.................................ทั่งหล้า<O:p</O:p
    เป็นเจ้าและครูสอน..........................สั่งโลก<O:p</O:p
    เป็นสุขทุกทั่วหน้า...........................นิกรทั้งชายหญิง.



    [​IMG]

    <O:p</O:p

    <O:p</O:p

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ที่มาข้อมูล: <O:p</O:p
    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=286691<O:p</O:p
    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=138865<O:p</O:p
    กิวีพีเดีย.คอม
    <O:p</O:p
    ภาพประกอบ: <O:p</O:p
    สมุดภาพไตรภูมิ และ จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์รอบวัดพระแก้ว
    <O:p</O:p
    แหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์: <O:p</O:p
    พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับ พัน จันทนุมาศ (เจิม)<O:p</O:p
    จดหมายเหตุบาทหลวงฝรั่งเศสสมัยกรุงธนบุรี<O:p</O:p
    พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
  8. พอชูเดช

    พอชูเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,276
    ค่าพลัง:
    +4,339
    สาธุครับ

    -มหาโมทนากับกุศลจิต ขอให้สำเร็จตามที่ปรารถนาครับ

    สาธุ
     
  9. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีจะมีการงานศึกสงครามแทบจะมิได้ว่างเว้น ก็ตาม แต่ก็ทรงหาโอกาสฟื้นฟู และบำรุงศิลปกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านนาฏดุริยางค์ และวรรณกรรม ด้านนาฏดุริยางค์โปรดให้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างบรรยากาศที่รื่นเริงครึกครื้นเหมือนครั้งกรุงเก่านับเป็นวิธีบำรุงขวัญที่ใกล้ตัวราษฎรที่สุด พระราชทานโอกาสให้ประชาชนทั่วไป เปิดการสอนและออกโรงเล่นได้โดยอิสระ เครื่องแต่งกายไม่ว่าจะเป็นเครื่องต้นเครื่องทรงก็แต่งกันได้ตามลักษณะเรื่อง แม้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเองก็คงจะทรงสนพระทัยในกิจการด้านนี้มิใช่น้อย ด้วยมักจะโปรดให้มีละครและการละเล่นอย่างมโหฬารในงานสมโภชอยู่เนือง ๆ

    สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ไว้ ๔ เล่ม สมุดไทยแบ่งเป็นตอนไว้ ๔ ตอน คือ

    เล่ม ๑ ตอนพระมงกุฎ
    เล่ม ๒ ตอนหนุมานเกี้ยววานรินจนท้าวมาลีวราชมา
    เล่ม ๓ ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษา จนทศกรรฐ์เข้าเมือง
    เล่ม ๔ ตอนทศกรรฐ์ตั้งพิธีทรายกรด, พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัสตร์ จนผูกผมทศกรรฐ์กับนางมณโฑ




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2009
  10. มรรค 8 ประการ

    มรรค 8 ประการ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    884
    ค่าพลัง:
    +2,641
    อ่านแล้วยิ่งสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าพระเจ้าตากสินมหาราช
    ขอพระบารมีพระองค์ปกป้องขอบขัณฑสีมาและเหล่าอาณาประชาราชให้อยู่เย็นเป็นสุข รอดพ้นจากอริราชศัตรูทุกศาทิศ ทั้งในประเทศและนอกประเทศ เทอญ
     
  11. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    สาธุครับ:cool::cool::cool:
     
  12. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
  13. มรรค 8 ประการ

    มรรค 8 ประการ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    884
    ค่าพลัง:
    +2,641
    เหรียญสวยมากเลยครับท่านมุ่งเต็มใจ
     
  14. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    อ้างอิง:
    <table width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset ;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ พระยา [​IMG]
    ได้มาอย่างไรครับพี่ อยากได้บ้างครับ
    </td> </tr> </tbody></table>
    รีบไปประมูลตามรายการข้างล่างเลยครับมีกำหนดไม่เกินประมาณเที่ยงพรุ่งนี้ครับ หากประมูลได้แล้วนำมาโชว์ในนี้บ้างนะครับ

    <script type="text/javascript"><!-- vBulletin.register_control("vB_QuickEdit", "776062", 'VisitorMessage'); //--> </script> [​IMG]
    <input class="inlinemod_checkbox" name="vmessagelist[775628]" id="vmessagelist_775628" value="0" title="" type="checkbox"> เมื่อวานนี้ 04:50 PM
    มหาหิน

    ประมูล สมบัติพ่อให้ 21 รายการ....
    -ราคาเริ่มต้นที่ 0 บาท
    -ประมูล ครั้งละ 1 บาท ก็มีสิทธิ์
    -ไม่มีค่าจัดส่ง
    -รายได้ทั้งหมด ใช้จ่ายในการเดินทาง และร่วมบุญปีใหม่ ด้วยกัน
    (ไม่นำเงินกลับมา นำแต่อริยทรัพย์ มาให้พวกเราเท่านั้น)
    http://palungjit.org/threads/พ��...205018.38/

    ก็เกิดความคิดที่จะให้ พี่ ๆ น้อง ๆ เพื่อน ๆ ได้ร่วมบุญกัน
    โดย รายได้ทั้งหมด จะได้นำไปสร้างบุญ สานก่ออานิสงส์
    มอบให้แก่ พวกเราทั้งหลาย..

    แม้เพียง สาธุการ ยินดี

    รายได้ทั้งหมด เป็น ค่าใช้จ่าย และร่วมบุญปีใหม่ กับคณะฯ ตามที่โพสไว้แล้ว

    ด้วยการ เปิดอิสระในการประมูล สมบัติพ่อให้ คือ....

    1. กำหนดวัน/เวลา ปิด ประมูล เวลา 12.12 น. วันที่ 29 ธ.ค.2552
    2. ไม่มี ราคาเริ่มต้น เริ่มต้นที่ 0 บาท
    3. ไม่กำหนดว่า จะต้องประมูลอย่างน้อย ครั้งละ เท่าไร 1 บาท ก็มีสิทธิ์
    4. โอนเงินบุญ และแจ้งที่อยู่ของผู้ที่ประมูลได้ ภายใน 09.09 น.
    ของ วันที่ 30 ธันวาคม 2552 เท่านั้น (โอนช้ากว่านี้ จะถือว่า สละสิทธิ์)
    5. ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับการจัดส่ง (ประมูลได้ในราคา 10 บาท ก็ส่งให้)

    สรุป มี 21 รายการ ก็ลอง ติดตามกันดู นะครับ

    <table id="post2785244" class="tborder" width="100%" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="thead" style="border-style: solid none solid solid; border-color: rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255); border-width: 1px 0px 1px 1px; font-weight: normal;">[​IMG] วันนี้, 10:10 PM </td> <td class="thead" style="border-style: solid solid solid none; border-color: rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color; border-width: 1px 1px 1px 0px; font-weight: normal;" align="right"> #842 </td> </tr> <tr valign="top"> <td class="alt2" style="border-style: none solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255); border-width: 0px 1px;" width="175"> <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->พรหมประกาศิต<!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_2785244", true); </script>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Jun 2006
    สถานที่: โลกที่มีแต่ความวุ่นวาย
    ข้อความ: 1,290
    Groans: 19
    Groaned at 1 Time in 1 Post
    ได้ให้อนุโมทนา: 9,391
    ได้รับอนุโมทนา 15,091 ครั้ง ใน 1,279 โพส
    พลังการให้คะแนน: 1229 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </td> <td class="alt1" id="td_post_2785244" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);"> <!-- google_ad_section_start -->ไม่มีเหลือให้เราบ้างสักองค์เลยแฮะ งั้นเริ่มใหม่เลยนะครับ

    1. เหรียญสามัคคีมีสุข - กูผู้ชนะ รมดำ พร้อมเลี่ยมพลาสติก
    [​IMG] [​IMG]ประมูลที่ราคา 500 บาท</td></tr></tbody></table>
     
  15. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
  16. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
  17. noonei789

    noonei789 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +6,958
    [​IMG]
     
  18. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
     
  19. yeen

    yeen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    678
    ค่าพลัง:
    +3,656
    นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ

    นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ

    นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ


    /|\ /|\ /|\​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2009
  20. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]





    ปีสุดท้ายของพระองค์คือ ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๒๔


    พอรุ่งขึ้นปีขาลเพียง ๖ วัน ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ พระองค์ก็ต้องเสด็จสวรรคต เพียบพร้อมด้วยความรักชาติไทยอย่างสูงสุดทรงรัก โดยหวังสันติอันยอดเยี่ยมแก่ประชากร เป็นการแสดงพระคุณอันสุดซึ้งครั้งสุดท้ายจนสุดที่จะพรรณาพระคุณให้ครบถ้วนได้.



    เป็นที่น่ายินดีว่าพระราชกิจจานุกิจของพระองค์ในปีสุดท้าย ซึ่งมืดมัวอยู่ภายใต้ละลอกแห่งบทความอันกลบเกลื่อนเป็นเวลาช้านานนั้นได้กระจ่างขึ้น โดยผลแห่งการสอบสวนค้นคว้า จนเป็นที่เข้าใจแจ้งชัดว่า



    .... ความสำคัญแห่งชาติไทยในปีฉลู พ.ศ. ๒๓๒๔ ย่อมขึ้นอยู่ที่พระราชกิจจานุกิจของพระองค์ทุกส่วน เรามองเห็นพระราชกิจจานุกิจเพียงพอ เราก็เข้าใจในความสำคัญแห่งชาติไทยได้ดีเพราะฉะนั้นความสำคัญแห่งชาติไทยกับพระราชกิจจานุกิจจึงแยกจากกันไม่ได้.ถ้าจะมองในด้านความดีพระราชกิจจานุกิจก็คือพระเดชพระคุณ ซึ่งมีอยู่แก่ชาติไทย




    คาถาบูชาพระเจ้าตากสิน


    บทที่ ๑ (เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป)
    นะโม 3 จบ<O:p</O:p

    ปู่ตาก ตะอุ อิตัง ตากสิน ราชะ โยตังอิ
    นะ โม พุทธา ยะ (๓ เที่ยว)





    บทที่ ๒ (เหมาะสำหรับเหล่านักรบ)
    นะโม ๓ จบ

    โอม สิโน ราชาเทวะ ชะยะ ตุภะวัง สัพเพศัตรู วินาส สันติ
    โอมสิโน ราชา เทวะ นะมา มิหัง(๓ เที่ยว)<O:p</O:p



    เพลงพญาโศก คือ บทเพลงที่ทรงโปรด<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...