พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ตำนาน พระแม่ธรณี ผู้กำเนิดและคำชูมนุษย์

    [​IMG]

    แม้ว่าเรื่องราวเกี่ยวกับ ‘แม่ธรณี’, ‘แม่พระธรณี’ หรือ ‘พระแม่ธรณี’ ตามแต่จะเรียกขานกันนั้น จะมิใช่คติดั้งเดิมของชาวพุทธอย่างแท้จริงก็ตาม แต่ก็ได้ปรากฏคติความเชื่อเรื่องนี้ในสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน

    แม่ธรณีเป็นใคร? เกี่ยวโยงถึงเรื่องราวในศาสนาได้อย่างไร? และเหตุใดจึงมีอิทธิพลต่อความเชื่อในวัฒนธรรมไทย?

    เรื่องนี้ อาจารย์
    ฤดีรัตน์ กายราศ</PERSONNAME> จากสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ได้ค้นคว้า และเรียบเรียง ไว้เป็นความรู้ที่น่าสนใจและเห็นภาพได้ชัดเจน ดังความส่วนหนึ่งว่า

    ปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติอันน่ามหัศจรรย์ที่บังเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่มนุษย์แต่โบราณกาลไม่สามารถทราบหรืออธิบายได้ด้วยปัญญาและเหตุผล จึงเข้าใจว่าเกิดจากฤทธิ์และอำนาจของผีสางเทวดาที่จะบันดาลให้ทั้งคุณ และโทษ ประกอบกับธรรมชาติของมนุษย์ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อช่วยให้เกิดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มครอง จึงเกิดคติความเชื่อว่า หากมีการบนบานศาลกล่าวเซ่นไหว้บูชาแล้ว ก็จะพ้นจากความทุกข์ยากลำบากเดือดร้อน

    ด้วยความเชื่อดังนี้เมื่อปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน ก็ได้เข้าไปครอบงำอยู่ในความนึกคิดและจิตใจของคนในชาติในสังคมอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ กลายเป็นมูลฐานแห่งวัฒนธรรมจารีตประเพณี เกิดเป็นพิธีรีตอง ต่างๆ ที่มนุษย์ในยุคสมัยต่อมาได้ปรับปรุงให้ประณีตงดงามขึ้น เพื่อสัมฤทธิ์ผลแห่งความเป็นสวัสดิมงคลในการดำเนินชีวิต เทวดาในวัฒนธรรมไทยก็เป็นมรดกจากสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนการทำมาหากินของคนไทยและเป็นที่น่าสังเกตว่าเทวดาที่คอยเอื้อเฟื้อดูแลทุกข์สุขของมวลมนุษย์ มักจะเป็นเทวดา ผู้หญิงเสียเป็นส่วนใหญ่

    พระธรณี ตามคติความเชื่อของชาวฮินดูให้ความเคารพ นับถือว่าแผ่นดินเป็นสิ่งค้ำจุนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลก เปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดิน จึงได้รับยกย่องว่าเป็นเทพจากธรรมชาติองค์หนึ่งเป็นเพศหญิง เรียกนามว่า ‘ธรณิธริตริ’ แปลว่าผู้ค้ำจุนพระธรณี แม้จะมิค่อยมีรูปเคารพอย่างแพร่หลายเช่นเทพองค์อื่น แต่ก็มีผู้ให้ความเคารพนับถือเป็นจำนวนมิใช่น้อย เพราะถือกันว่าพระธรณีสถิตอยู่ตามที่ต่างๆ ทุกหนทุกแห่ง จะทำการบูชาด้วย ข้าว ผลไม้ และนมด้วยการวางไว้บนก้อนหิน หรือประพรมลงบนพื้นดิน บางแห่งใช้เหล้าเป็นการสังเวยก็มี นอกจากนี้ชาวฮินดูยังมีการขอขมาลาโทษเมื่อจะวางเท้าลงบนพื้นดินก่อนจะลุกขึ้นในตอนเช้า วัวหรือควายที่มีลูกก่อนที่จะให้ลูกกินนมครั้งแรก เจ้าของจะปล่อยน้ำนมของ แม่วัวลงบนพื้นดินเสียก่อนทุกครั้งไป ถ้าเป็นพวกชาวนาก็จะขอให้พระธรณีช่วยคุ้มครองผืนนาและวัวควาย แม้ใน พระเวทก็มีการขอร้องต่อพระธรณีให้ช่วยพิทักษ์คุ้มครอง วิญญาณของคนตาย และต่อมาได้นับถือว่าเป็นเทพแห่งไร่ นาด้วย ในแคว้นปัญจาบเชื่อกันว่าพระธรณีจะนอนหลับเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ของทุกๆเดือน ชาวไร่ชาวนาจะหยุดไม่ทำงานในระยะนี้

    เทพแห่งแผ่นดินหรือพระธรณี ไม่ค่อยมีเรื่องราวประวัติความเป็นมาปรากฏมากมายดังเช่นเทพองค์อื่น หรือมีก็สับสน เช่น บางแห่งว่าพระธรณีมีโอรสกับพระนารายณ์ องค์หนึ่งคือพระอังคาร บางแห่งว่าพระอังคารเป็นโอรสของ พระศิวะกับพระธรณี หรือในคติพราหมณ์พบเพียงว่าเป็น ชายาของพระธุรวะหรือดาวเหนือ

    คติความเชื่อเรื่องพระธรณีได้เผยแพร่มาสู่ไทย ก็เนื่องจากอิทธิพลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ในพิธีกรรมต่างๆ อาทิ พิธีการก่อนไปจับช้างก็มีการกล่าว บูชาพระธรณีเช่นกัน แต่ความเชื่อถือเกี่ยวกับพระธรณีใน ไทยก็มิได้เป็นที่แพร่หลายนัก และมีความเชื่อเช่นเดียวกับทางอินเดียว่าเป็นเพศหญิง นามพระธรณี มีปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง อาทิ หนังสือเทศน์มหาชาติปฐมสมโพธิกถา ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นต้น มีนามเรียกแตก ต่างกันไปเช่น นาง
    พระธรณี พระแม่วสุนธราพสุธา</PERSONNAME> แปลในความหมายเดียวกันว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งทรัพย์สมบัติ หมายถึงแผ่นดินนั่นเอง สำหรับชาวไทยทั่วไปจะเรียกกันติดปาก ว่า แม่พระธรณีบ้าง พระแม่ธรณีบ้าง ตามความนิยม

    จากเรื่องราวของพระธรณี แสดงให้เห็นว่าเป็นเทพที่ รักสงบอยู่เงียบๆ จึงไม่ใคร่มีเรื่องราวอะไรในโลก เฝ้าแต่ เลี้ยงโลกประดุจแม่เลี้ยงลูก คอยรับรู้การทำบุญกุศลของ มนุษย์โลก ด้วยการใช้มวยผมรองรับน้ำจากการกรวดน้ำ เสมือนกับเป็นอรูปกะ คือไม่มีตัวตน แต่เมื่อมีเหตุการณ์ สำคัญเกิดขึ้นหรือมีผู้ร้องขอจึงจะปรากฏรูปขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง

    พระธรณีเป็นเทวดาผู้หญิงที่มีสรีระรูปร่างใหญ่หากแต่อ่อนช้อย งดงาม พระฉวีสีดำ พระพักตร์รูปไข่ มวยพระเกศายาวสลวยสีเขียวชอุ่มเหมือนกลุ่มเมฆ พระเนตรสีเหมือนดอกบัวสายคือสีน้ำเงิน พระชงฆ์เรียว พระพาหาดุจ งวงไอยรา นิ้วพระหัตถ์เรียวเหมือนลำเทียน มีพระทัยเยือก เย็นไม่หวั่นไหว พระพักตร์ยิ้มละไมอยู่เสมอ ภาพเขียนรูปนางพระธรณีที่ถือกันว่างดงามเป็นพิเศษ คือภาพที่ฝาผนังด้านหน้าพระประธานในพระอุโบสถวัดชมภูเวก จังหวัดนนทบุรี ส่วนภาพปั้นหล่อนางพระธรณีในศิลปะไทยที่มีปรากฏอยู่จะทำเป็นรูปหญิงสาว มีรูปร่างอวบใหญ่ ล่ำสันอย่างได้สัดส่วน มีความงามประดุจเทพธิดา นั่งในท่าคุกเข่า แต่ยกเข่าขวาขึ้นสูงกว่าเข่าซ้าย บางแห่งสร้างให้อยู่ในท่ายืน แต่ที่เหมือนกันก็คือมวยผมปล่อยยาว มือขวายกข้ามศีรษะไปจับไว้ที่โคนมวยผม ส่วนมือซ้ายจับมวยผมแสดงท่ากำลังบิดให้สายน้ำไหลออกมาจากมวยผมนั้น ส่วนเครื่อง ทรงไม่มีแบบแผนที่แน่นอนตายตัว ตามแต่จินตนาการของ ผู้สร้าง บางแห่งสวมพัสตราภรณ์เฉพาะช่วงล่าง แต่บางแห่งทั้งนุ่งผ้าจีบและห่มสไบอย่างสวยงาม ประดับเครื่องถนิมพิมพาภรณ์มีกรอบหน้าและจอนหู เป็นต้น...

    ส่วนลักษณะตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา จากตำนานเกี่ยวกับเทวดา มาร พรหม และจากพระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เรื่องปฐมสมโพธิกถา ตอนมารวิชัยปริวรรต ได้กล่าวถึงพระแม่ ธรณีที่ปรากฏขึ้นมาในช่วงที่สำคัญที่สุดของพระพุทธเจ้าคือ ก่อนการตรัสรู้ ได้เป็นพยานสำคัญในการปราบมารทั้งหลายทั้งปวง ดังความละเอียดต่อไปนี้

    “แต่ในชาติอาตมะเป็นพระยาเวสสันดรชาติเดียวนั้น ก็ได้บำเพ็ญทานบารมีถึงบริจาคนางมัทรีเป็นอวสาน พื้นพสุธาก็กัมปนาการถึง 7 ครั้ง แลกาลบัดนี้ อาตมะนั่งเหนือ อปราชิตบัลลังก์อาสน์ หมู่มารอริราชมาแวดล้อมยุทธการ เป็นไฉนแผ่นพสุธาธารจึงดุษณีภาพอยู่ฉะนี้ แลพระยามาร อ้างบริษัทแห่งตนให้เป็นกฎสักขีขานคำมุสา แลพื้นปฐพีอันปราศจากเจตนาได้สดับคำอาตมะในครั้งนี้จงรับเป็นสักขีพยานแห่งข้า แล้วเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาอันประดับด้วยจักรลักษณะอันงามดุจงวงไอยรารุ่งเรืองด้วยพระนขามีพรรณอันแดงดุจแก้วประพาฬออกจากห้องแห่งจีวร ครุวนาดุจวิชุลดาในอัมพรอันออกจากระหว่างห้องแห่งรัตวลาหก ยกพระดัชนีชี้เฉพาะพื้นมหินทรา จึงออกพระวาจา ประกาศแก่นางพระธรณีว่า ดูก่อนวนิดาดลนารี ตั้งแต่อาตมะบำเพ็ญพระสมภารบารมีมาตราบเท่าถึงอัตภาพเป็นพระเวสสันดรราช ได้เสียสละบุตรทานบริจาคแลสัตตสดกมหาทาน สมณะพราหมณาจารย์ผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะกระทำเป็นสักขี-พยานในที่นี้ก็มิได้ มีแต่พสุนธารนารีนี้แลรู้เห็นเป็นพยานอันใหญ่ยิ่ง เป็นไฉนท่านจึงนิ่งมิได้เป็นพยานอาตมาในกาล บัดนี้

    ในขณะนั้น นางพสุนธรีวนิดาก็มิอาจดำรงกายาอยู่ได้ ด้วยโพธิสมภารานุภาพยิ่งใหญ่แห่งพระมหาสัตว์ ก็อุบัติบันดาลเป็นรูปนารี ผุดขึ้นจากพื้นปฐพียืนประดิษฐานเฉพาะพระพุทธังกุรราช เหมือนดุจร้องประกาศกราบทูล พระกรุณาว่า ข้าแต่พระมหาบุรุษราช ข้าพระบาททราบซึ่งสมภารบารมีที่พระองค์สั่งสมอบรมบำเพ็ญมา แต่น้ำทักษิโณทกตกลงชุ่มอยู่ในเกศาข้าพระพุทธเจ้านี้ ก็มากกว่ามากประมาณมิได้ ข้าพระองค์จะบิดกระแสใสสินโธทกให้ตกไหลหลั่งลง จงเห็นประจักษ์แก่นัยนาในครานี้ แลนางพระธรณีก็บิดน้ำในโมลีแห่งตน อันว่ากระแสชลก็หลั่งไหลออกจากเกศโมลีแห่งนางพสุนธรี เป็นท่อธารมหามหรรณพ นองท่วมไปในประเทศที่ทั้งปวงประดุจห้องมหาสาครสมุทร พระผู้เป็นเจ้ารักขิตาจารย์จึงกล่าวสารพระคาถาอรรถาธิบายความก็เหมือนนัยกล่าวแล้วแต่หลัง

    ครั้งนั้น หมู่มารเสนาทั้งหลายมิอาจดำรงกายอยู่ได้ ก็ลอยไปตามกระแสน้ำปลาตนาการไปสิ้น ส่วนคิรีเมขลคชินทรที่นั่งทรงองค์พระยาวัสวดีก็มีบาทาอันพลาดมิอาจ ตั้งกายตรงอยู่ได้ ก็ลอยตามชลธารไปตราบเท่าถึงมหาสาคร อันว่าระเบียบแห่งฉัตรธวัชจามรทั้งหลาย ก็ทักทบท่าวทำลาย ล้มลงเกลื่อนกลาดและพระยามาราธิราชได้ทัศนาการเห็นมหัศจรรย์ ดังนั้น ก็บันดาลจิตพิศวงครั่นคร้ามขามพระเดชพระคุณเป็นอันมาก พระคันถรจนาจารย์จึงกล่าวพระคาถาสรรเสริญคุณานุภาพโพธิสัตว์อรรถาธิบายความก็ซ้ำหนหลัง

    ครั้งนั้นมหาปฐพีก็ป่วนปั่นปานประหนึ่งว่าจักรแห่งนายช่างหม้อบันลือศัพท์นฤนาทหวาดไหวสะเทือนสะท้าน เบื้องบนอากาศก็นฤโฆษนาการ เสียงมหาเมฆครืนครั่นปิ่มปานจะทำลายภูผาทั้งหลาย มีสัตตภัณฑ์บรรพต เป็นต้น ก็ วิจลจลาการขานทรัพย์สำเนียงกึกก้องทั่วทั้งท้องจักรวาล ก็บันดาลโกลาหลทั่วสกลดังสะท้าน ปานดุจเสียงป่าไผ่อันไหม้ด้วยเปลวอัคคี ทั้งเทวทุนทุภีกลองสวรรค์ก็บันลือลั่นไปเอง เสียงครืนเครงดุจวีหิลาชอันสาดทิ้ง ถูกกระเบื้องอันเรืองโรจน์ร้อนในกองอัคนี การอัสนีบาตก็ประหารลงเปรี้ยงๆ เพียงพื้นแผ่นปฐพีจะพังภาคดังห่าฝน ถ่านเพลิง ตกต้องพสุธาดลดำเกิงแสงสว่าง หมู่มารทั้งหลายต่างๆตระหนกตกประหม่า กลัวพระเดชานุภาพแพ้พ่าย แตกขจัดขจายหนีไปในทิศานุทิศทั้งปวงมิได้เศษ แลพระยามาราธิราชก็กลัวพระเดชบารมี ปราศจากที่พึ่งที่พำนักซ่อน เร้นให้พ้นภัยหฤทัย ท้อระทดสลดสังเวช จึงออกพระโอษฐ์สรรเสริญพระเดชพระคุณพระมหาบุรุษราชว่า ดังอาตมาจินตนาการอันว่าผลทานศีลสรรพบารมีแห่งพระสิทธัตถกุมารนี้ ปรากฏอาจให้บังเกิดมหิทธฤทธิ์สำเร็จกิจมโนรถปรารถนาทุกประการ มีพระกมลเบิกบานแผ่ไปด้วยประสาทโสมนัส จึงทิ้งเสียซึ่งสรรพาวุธ ประนมหัตถ์ทั้ง 2,000 อัญชลีกรนมัสการ ก็กล่าวสารพระคาถาว่า นโม เต ปุริสาชญญ เป็นอาทิ อรรถาธิบายความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ปุริสาชาไนยชาติเป็นอุดมบุรุษราชในโลกนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายวันทนาการชุลีพร้อมด้วยทวารทั้ง 3 คือกาย วจี มโน ประณามประณตในบทบงกชยุคลบาท บุคคลผู้ใดในมนุษย์ โลกธาตุกับทั้งเทวโลก ที่จะปูนเปรียบประเสริฐเสมอพระองค์คงเทียมเทียบนั้นมิได้มี พระองค์ได้ตรัสเป็นพระศรีสรรเพชญ์เสร็จแจ้งจตุราริยสัจจ์ศาสดาจารย์มีพระเดชครอบงำชำนะหมู่มาร เป็นปิ่นปราชญ์ฉลาดในอนุสัยแห่งสรรพสัตวโลกจะข้ามขนนิกรเวไนย์ให้พ้นจตุรโอฆกันดารบรรลุฝั่งฟากอมฤตมหานฤพานอันเกษมสุขปราศจากสังสารทุกข์ในครั้งนี้ แลพระยาวัสวดีมารโถมนาการพระคุณพระมหาบุรุษราชด้วยจิตประสาทเลื่อมใส ผลกุศลนั้นจะตกแต่งให้ได้ตรัสแก่พระปัจเจกโพธิญาณในอนาคตกาลภายหน้า เมื่อพระยามารกล่าวสัมภาวนากถาสรรเสริญคุณพระโพธิสัตว์ แล้วก็นิวัตตนาการสู่สกลฐานเทวพิภพ”

    จึงสรุปความเชื่อทั้ง 2 ลักษณะ คือ พระแม่ธรณีเป็นอรูปกะคือไม่มีรูปกาย เช่นเดียวกับพระแม่คงคา ซึ่งชาวฮินดูจะทำการสักการะได้ทุกสถานที่ เมื่อต้องการความช่วยเหลือก็อ้างเรียกได้ทุกเวลา ส่วนความเชื่ออีกลักษณะหนึ่งที่ทางศาสนาพุทธได้เชื่อตามพุทธประวัติ ที่พระแม่ธรณีได้มีพระคุณต่อพระพุทธเจ้าก่อนการตรัสรู้ดังได้กล่าว มาแล้วนั้น พระแม่ธรณีมีรูปกายผุดขึ้นมาจากพื้นปฐพี เป็นองค์ที่มีภาพเป็นนิมิตรเป็นรูปสตรีที่ทางพุทธได้กำหนดพระนามของพระแม่ธรณี คือ ‘นางพสุนธรี’ ซึ่งเป็นองค์ตามลักษณะของรูปร่างตามพระแม่ธรณีบีบมวยผม จะประดิษฐานอยู่ใต้แท่นฐานพระพุทธเจ้า ‘ปางปราบมาร’ และเมื่อเกิดมหาปฐพีป่วนปั่น ด้วยอิทธิฤทธิ์ของพระแม่ธรณีบีบมวยผม น้ำมาท่วมท้นหมู่มาร มีทั้งฝนตกและน้ำท่วม และ ‘ปางนาคปรก’ หรือเรียกว่า ‘พระอนันตชินราช’ ซึ่งมีพญานาคได้มาแผ่ปกบังฝนและขดตัวยกชูบัลลังก์ขึ้นสูงจากน้ำที่ท่วมท้นขึ้นมาอย่างฉับพลัน จึงมีรูปภาพที่ตามผนังพระอุโบสถวัดต่างๆ ตรงข้ามกับพระประธาน พระแม่ธรณี จึงเป็นเทพผู้อุปถัมภ์พระพุทธเจ้า การบูชาจึงดูได้จากภาพ พระแม่ธรณีที่ทูนบัลลังก์พระพุทธองค์สูงเหนือเศียร เป็นต้น

    การสักการบูชาพระแม่ธรณีเมื่อศึกษาจากบทสวดทางพุทธศาสนา จึงเป็นบทที่เกี่ยวกับการ ‘ให้’ เป็นหลักใหญ่ จน มีผู้เรียบเรียงไว้สำหรับผู้สนใจได้ใช้บูชาคู่กับพุทธคุณ ซึ่งนิยมใช้บทสวด ‘พาหุง พุทธคุณคุ้มครองโลก’

    แม่พระธรณีบีบมวยผม สาธารณทานของ ‘พระราชินีนาถ’ ในรัชกาลที่ 5

    รูปปั้นแม่พระธรณีบีบมวยผม ซึ่งประดิษฐานบริเวณเชิงสะพานผ่านพิภพลีลา ถือเป็นอนุสรณ์สถานสำคัญของกรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ตามประวัติกล่าวว่า

    สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5 หรือสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ 6 และ 7 ทรงมีพระราชดำริ ให้สร้างรูปแม่ธรณีบีบมวยผมขึ้น เพื่อแจกจ่ายน้ำดื่มสะอาดบริสุทธิ์ให้ผู้คนทั่วไป เป็นสาธารณทานแก่ชาวกรุงเทพฯ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 50 พรรษาของพระองค์ เมื่อปี พ.ศ.2456 โดยมีลักษณะเป็นรูปแม่ธรณีบีบมวยผมนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบรูปแม่ธรณี ส่วนพระยาจินดารังสรรค์(พลับ)เป็นผู้ออกแบบซุ้มเรือนแก้ว กระทั่งแล้วเสร็จ และประกอบพิธีเปิดในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2460 อันเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ดังที่ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยายมราช(ปั้น สุขุม) เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2460 ความว่า...

    “พรุ่งนี้ฉันจะทำบุญวันเกิดที่นี่ตามคตินิยม ให้คุณจัดเปิดรูปนางพระธรณีท่ออุทกทาน ซึ่งฉันได้ออกทรัพย์ให้หล่อขึ้นสำเร็จตั้งไว้ ณ เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา และขออุทิศท่ออุทกทานนี้ให้เป็นสาธารณทานแก่ประชาชนผู้เพื่อนแผ่นดินใช้กินบำบัดร้อนและกระหาย เป็นความสบายตามปรารถนาทั่วกันเทอญ”

    ปัจจุบัน อนุสรณ์สถานแห่งนี้ได้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ที่มีประชาชน มาสักการบูชาอย่างไม่ขาดสาย

    (จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 81 ส.ค. 50 โดย มุทิตา)

    โดย นายทองผู้ปิดทองหลังพระ

    ?ӹҹ ?Ðၨ?óՠ?٩?Ӡ?Դᅐ?Ӫف?؉¬ ?ҡ?ŧ͡ ⍠?๪Ѩ? oknation.net
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • momt.jpe
      momt.jpe
      ขนาดไฟล์:
      32.2 KB
      เปิดดู:
      4,985
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กำเนิดแม่โพสพ เจ้าแม่แห่งข้าว
    บัณฑิต ปิยะศิลป์ - [ 4 ต.ค. 48, 14:07 น. ]



    แม่โพสพ เป็นเมล็ดข้าวประเสริฐสุด เป็นเทพีกลางท้องทุ่งนา ผู้ทรงอานุภาพศักดาเรืองฤทธิ์ ช่วยชุบชีวิตมนุษย์ให้ยืนยาง มีน้ำม่นวลผิวพรรณผ่องใส ช่วยสำรองท้องให้อิ่มหมีพีมัน อีกทั้งเสริมเพิ่มพลังกายามีเรี่ยวมีแรงขมีขมัน แบกหามตรากตรำงานหนักได้ทุกวี่ทุกวัน ก็ด้วยเมล็ดข้าวแม่โพสพนี่แหละ แม่ผู้มีบุญคุญล้ำเลิศ สงเคราะห์ลูกผู้ทุกข์โศก มิต้องอนารร้อนใจ ตราบจนชั่วชีวิต

    โอม..แม่โพศรี แม่โพสพ แม่นพดารา แม่จันทร์เทวี แม่ศรีโสภาได้เลี้ยงลูกมา ใหญ่กล้าเพียงนี้ลูกขอบวงสรวงด้วยพวงมาลี ธูปเทียนอัคคี ตามมีบูชาลูกขอนี้ไซร้ ขอยกบุญคุณ แม่โพสพ ขึ้นนบนอบเหนือเศียร

    จำเนียรการเล่ามามี เดิมทีมีฤๅษีมหากระไลย์โกฏอยู่สันโษในอรัญ บำเพ็ญพรหมขันธุ์ในกุฏิ เพลาหนึ่งเกิดอสุนีฟ้าฟาด อากาศวิปริตโกลาหล ฟ้าฝนก็ตกลงมามิหยุดหย่อน มีเมล็ดข้าวปลิวว่อนกระจาย พอฟ้าฝนหายฤๅษีก็เห็นเป็นอัศจรรย์ จึงจัดสรรนำไปปลูกริมฝั่งนทีสระน้ำ ฝนชะตลอดมา จนข้าวกล้าแตกรวง

    กาลล่วงเข้าฤดูหนาว เมล็ดข้าวก็แก่จัด พระฤๅษีก็โสมนัสยิ่งนัก ครั้นจะนำมากินก็กริ่งเกรงจะเบื่อเมา อันตัวเราก็พึ่งพบคราวนี้ คราวหนึ่งสกุลณีสกุณามาเป็นหมู่ บินจู่โจมกินข้าวสาลี ฤๅษีเห็นดังนั้นพลันรู้ว่า หมู่ปักษามิได้ตายวายชีวิต ก็คิดว่าคงเป็นอาหารอันโอชารส พระดาบสจึงเก็บพันธุ์ข้าวไว้เพาะปลูกกระจายลูกหลานเหลน ได้เป็นอาหารของมนุษย์สุดประเสริฐ โดยกำเนิดขององค์ดาบส ตราบเท่าทุกวันนี้


    [​IMG]
    บทเชิญขวัญแม่โพสพ

    ทุกวันนี้ก็ยังคงมืดมน ไม่ทราบชัดว่าผู้ใดเริ่มรจนาเรื่องราววของแม่โพสพ อาจมีเค้ามาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เมื่อ 700 ปีก่อน ดังปรากฏสำนวนว่า "ในน้ำมีปลาในนามีข้าว" อยู่เป็นหลักฐานบนหลักศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่หนึ่ง ที่เชื่อกันว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช โปรดจารึกขึ้น ยังมีข้อความพิศดารปรากฏอยู่ด้วย กล่าวว่า มีพระขพุงผี เทพยดาในเขาอันนั้น(เขาหลวง)เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ผิวไหว้บ่ดีพลีบ่ถูแ ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้ม บ่เกรงเมืองนี้หาย กาลครั้งนั้น คงมีแต่ พระขพุงผี ผู้เป็นใหญ่เท่านั้น


    [​IMG]

    บทเชิญขวัญแม่โพสพ โบราณาจารย์ท่านว่าไว้ดังนี้ ศรี ศรี วันนี้เป็นวันเลิศลม ข้าขอเชิญขวัญแม่พระโพสพ ในนา จะเข้ามาอยู่ในยุ้งฉางวันนี้ ขวัญแม่อย่าหนีตื่นตกใจ เมื่อลมพัดสะบัดใบใม้ร่วงหล่น ขวัญแม่อย่าได้หนีจรดลเที่ยวหนี อย่าได้หลงกินนรีร่ายรำ ขวัญแม่อย่าได้ถลำในไพรพฤกษ์ แม้สัญจรอยู่ในห้วงลึกก็กลับมา ขวัญแม่อย่าได้หลงชมสิงสาราสัตว์ แม้ถูกเขี้ยวตระหวัดอย่าตกใจ แม้จะถูกไถคราด ถูกฟัดฟาดลงกลางดิน ถูกขบกินเป็นอาหารมวลมนุษย์ ขวัญแม่อย่าได้รุดหน่ายหนี จงอยู่เป็นศรีในยุ้งฉาง ขอเชิญแม่นางชมบายศรี ซึ่งมากมีทั้งคาวหวานสารพัด เจ้าของได้จัดมาสังเวยบวงสรวง ขอให้ลาภทั้งปวงเกษมสันต์ มีเงินทองอนันต์ยิ่งนัก มีความรักมั่นคงสถาพร พ้นจากความเดือดร้อนทั้งปวง ไม่มีอุปสรรคมาขัดขวางทางเดิน ขอให้มีแต่สรรเสริฐลาภยศ มีลูกปรากฏเกียรติขจร มีหมอนหนุนอุ่นใจไม่หน่ายหนี ทั้งพาชีโคกระบือมากมาย มีข้าทาสหญิงชายไว้ใช้สอย มีข้าวร้อยเกวียนเต็มยุ้งฉาง เป็นขุนนางปรากฏปรากฏยศลือชา มีลูกยาเสียแต่วันนี้ ท่านจะเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี ขอให้มีเมียสวยรวยทรัพย์ อย่าได้ยกอับหม่นหมองมีแก้วแหวนเงินทองเอนกอนันต์ มีสุขสันต์ทุกวันคืนด้วยเดชแห่งพระแม่โพสพ เป็นที่เคารพของปวงประชาได้อาศัยเลี้ยงชีวาไม่หิวโหย ได้กอบโกยซึ่งเงินทอง สิ่งใดที่คะนองทำล่วงเกิน เหมือนย่ำโดยบังเอิญไม่เจตนา ขอให้แม่โพสพอย่าได้โกรธหน้าบึ้ง ขอให้เป็นที่พึ่งของมวลมนุษย์สืบไปเทอญ ลั่นฆ้อง 3 ที โห่ร้องเอาชัย

    แม่โพสพ ตามสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตตยสถาน แปลว่า เทวดาประจำพืชพรรณธัญญาหารทั้งปวง มวลมนุษยชาติเชื่อถือและกราบไหว้บูชามาตั้งแต่ครั้งโบราณของชาวไทยและลาวและละแวกลุ่มน้ำเจ้าพระยา บูชาเพื่อขอความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญชาติที่เพาะปลูกตามฤดูกาล

    แม่โพสพเป็นสตรีเพศ ร่างงาม แต่งกายด้วยผ้าผ่อนแพรพรรณสมัยโบราณห่มสไบเฉียง นุ่งผ้าจีบชายกรอมลงมาถึงปลายหน้าแข้ง ทรงเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ตระการตา ไว้ผมยาวสลวยประบ่า มีกระจังกรอบหน้าคล้ายมงกุฎ และจอนหูงอนชดช้อย มือข้างหนึ่งชูรวงข้าว ส่วนอีกข้างถือถุงโภคทรัพย์เต็มถุง ประทับนั่งพับเพียบเรียบร้อยแบบแพนงเชิงอย่างไทยโบราณ


    [​IMG]

    คนผู้ใหญ่แต่เก่าก่อนนับถือแม่โพสพมาก มักกราบไหว้ท่านก่อนเปิบข้าวคำแรกเข้าปาก และสั่งสอนลุกหลานให้นั่งล้อมวงเปิบข้าวพร้อม ๆ กัน และต้องสำรวมกิริยามารยาทระหว่างเปิบข้าวให้เรียบร้อยอย่าให้มีเม็ดข้าวหายหกตกหล่น แม้ข้าวเหลือก้นจานสังกะสีก็ต้องกินให้หมด ห้ามเททิ้งลงถึงโสโครกให้เอาใส่ปากหม้อข้าวทับบนข้าวที่หุงมื้อต่อไป หรือไม่ก็ต้องนำไปผึ่งแดด ทำเป็นข้าวตากแห้งเอาไว้ เคยเห็นป่าย่ากินข้าวอิ่มหนำสำราญแล้ว ต้องยกมือไหว้เพื่อสำแดงความกตัญญูรู้บุญคุณข้าว จึงต้องขอบคุณท่าน เหล่าชาวนา เมื่อแรกทำนา จนกระทั่งถึงเวลาไถคราด เก็บเกี่ยวรวงข้าวด้วยเคียวเหล็ก ก็จะต้องประกอบพิธีเซ่นบูชาแม่โพสพทุกระยะไป เช่น ก่อนหน้าเวลาฤกษ์แรกนาจะปลูกศาลเพียงตา สูงระดับสายตาคนขึ้น ณ ที่ใดที่หนึ่ง ที่กำหนดไว้เป็นที่แรกนา ตระเตรียมเครื่องสังเวยบูชาแม่โพสพให้ครบถ้วน พร้อมทั้งกล่าวคำขวัญเป็นถ้อยคำไพเราะอ้อนวอนแม่โพสพให้คุ้มครองรักษาต้นข้าว ขอให้ปีนี้จงทำนาได้ผล ไม่ว่าจะเป็นนาหว่าน นาดำ เพราะแม่โพสพเป็นหญิงขวัญอ่อนง่าย ต้องทำพิธีเรียกขวัญเสมอ พอเริ่มลงมือไถพรวนดินทำนา ทอดกล้า ซึ่งต้องเอาข้าวแม่โพสพที่ไปเรียกเชิญเอามาจากนา เมื่อครั้งเก็บเกี่ยวปีผ่านมา นำเอามาปนพอเป็นกิริยา เพื่อให้ "ข้าวปลูก" มีเชื้อเป็นชีวิตจิตใจ ขอให้ลุล่วงขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อแสดงว่าข้าวเริ่มต้นทำงานแล้ว ดังนี้ ถ้าเป็นนาดำใช้เมล็ดข้างเปลือกที่คัดเลือกไว้ทำพันธุ์แล้ว เก็บไม่นานเกิน 1 ปีไปแช่น้ำหนึ่งวันแล้วพรมน้ำ 1 วัน จนได้ข้าวแตกหน่อ แตกรากออกมา นำไปหว่านในแปลงนาที่เตรียมดินดีแล้ว รอจนเจริญเติบโต หย่อนรากลงดินแตกใบจึงถอน แล้วนำ "กล้าตั้งหน่อ" เหล่านี้ไปปักดำในที่ที่ตระเตรียมไว้อีกแห่ง กล้าตะแตกใบ ลำต้นค่อย ๆ ดต สูงขึ้นทุกทีพอ 7 วัน หลังจากปักดำในนาที่มีน้ำขังไว้ ยอกใบจะสุงจนเรียกว่า ข้าวถอดหางไก่ พอ 20 วัน ใบเก่าจะหลุดกลายเป็นข้าวแตกกอ ในระยะนี้แหละ ข้าวจะสูงขึ้นเป็นปล้อง เรียกว่า ข้าวแต่ง พอลำต้นเติบโตเต็มที่ ก็จะส่งยอดใบชูสลอนเรียกว่า ข้าวซดมาน ข้าวมา หรือ ข้าวท้อง ก็เริ่มตั้งแต่ท้องอ่อน ๆ จนถึงท้องแต่งตึง ท้องใหญ่ขึ้นทุกทีจยเริ่มโผล่ให้เห็นปลายรวง ข้าวที่รวงโผล่จากกายห่อมีลักษณะคล้ายคนยิงฟัน ก็เรียกว่า ข้าวยิงฟัน ชาวอีสานเรียกว่า ข้าวยิงแข่ว (ยิงฟัน) ครั้นพอข้าวโผล่รวงพ้นจากกาบห่อหมดสิ้นทั้งแปลงเรียกว่าข้าวสุ่ม ข้าวจะเริ่มมีน้ำนมจากเมล็ดที่ปลายสุดของรวงขข้าว พอรวงข้าวโตมีน้ำหนัก เพราะมีน้ำนมแต่งตึงมาก ทำให้ปลายรวงค้อมต่ำลง

    ขณะที่ข้าวทุกเมล็ดเต่งตึงเต็มที่ ก็เริ่มแข็งตัวเป็นข้าวสารอ่อน ๆ และต่อมาเปลือกเมล็ดเริ่มมีสีเหลืองทั่วท้องทุ่งจะมีสีเหลืองอร่ามดุจดัง "ทุ่งรวงทอง" วันที่ข้าวสารอ่อนก็คือ ข้าวเม่า ชาวนาเก็บเกี่ยวส่วนหนึ่งมาตำในครกกระเดื่องได้เป็น ข้าวเม่า นิ่ม ๆ นำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ พร้อมกับกล้วยไข่สุก อุทิศส่วนกุศลให้ "ตากับยาย" บรรพบุรุษผู้เคยทำนามาก่อนถื่อว่าเป็นผู้ที่มีส่วนให้กำเนิดข้าว พอข้าวแต่ละเมล็ดบนต้นแข็งตัวเต็มที่ จะมีเปลือกสีเหลืองอร่าม ใบชั้นล่างเริ่มเหี่ยวพับลงทาบกับลำต้น ก็ถือว่า ข้าวสุก ดีแล้ว รอสักหนึ่งหรือสองสัปดาห์ก็เริ่มเกี่ยวข้าวหมดทั้งแปลงภายในวันเดียวกัน เมื่อผ่านการฝักข้าวแล้วก็จะได้ เมล็ดข้าวเปลือก นำไปสีที่โรงสีไฟ ก็ขัดผิวเปลือกภายนอกออกจนเหลือ ข้าวสาร สีขาวที่เรียกว่า ข้าวเจ้า ที่มีเมล็ดเรียวยาวงดงาม นับเป็นอาหารหลักของคนไทยทั้งชาติยกย่อง เป็นสุดยอดแห่งความโอชะ เปิบข้าวที่ไหนๆ ก็เอร็ดอร่อยสู้ข้าวไทยไม่ได้เลย

    ?Ӡ?Դၨ⾊? ਩ҡ?የ??钇
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    แกะรอยแม่โพสพ
    วรรณา นาวิกมูล


    <TABLE width=590 align=left bgColor=#fffff0><TBODY><TR><TD>ความรู้เบื้องแรกเรื่องแม่โพสพ

    ผู้เขียนเป็นคนกรุงเทพฯ เมื่อเป็นเด็กน้อยแม่สอนว่า อย่ากินข้าวเหลือนะลูก แม่โพสพจะเสียใจ อย่าเหยียบเมล็ดข้าวที่ตกอยู่บนพื้นนะลูก แม่โพสพจะโกรธ หากพลั้งเท้าเหยียบลงบนเมล็ดข้าวแล้ว ให้ลูกขอขมาแม่โพสพเสีย




    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>แม้แม่จะไม่ได้เล่าตำนานข้าวให้ฟัง แต่ชื่อแม่โพสพก็ได้ฝังใจมาแต่ครั้งนั้นว่าท่านเป็นเทวดารักษาข้าว มีพระคุณต่อเราเพราะให้ข้าวเรากิน เราจึงพึงเกรงใจและเกรงกลัว



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>เมื่อเติบใหญ่ได้เรียนวิชาก็รู้ทันว่าแม่โพสพเป็นหนึ่งในกลวิธีแปลงนามธรรมเป็นรูปธรรมที่แยบยล เช่นเดียวกันกับแม่ธรณี เช่นเดียวกับพญามารและธิดาพญามาร ฯลฯ เป็นบุคลาธิษฐาน (personification)
    สร้างขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ เพื่อให้คนเชื่อมโยงตนเองกับธรรมชาติได้ เพื่อให้คนเรียนรู้หรือรับรู้อำนาจของธรรมชาติทั้งภายนอกและภายในจิตใจของตนได้ง่ายขึ้น



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=top>ด้วยคำสอนเรื่องข้าวกับแม่โพสพของแม่ แม่สอนให้ลูกเข้าใจว่าข้าวที่ให้ชีวิตแก่เราก็มีชีวิต สอนให้ลูกเป็นคนรู้คุณ รู้อ่อนน้อมถ่อมตน และรู้ประหยัดอดออม



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>บุคลาธิษฐานปรากฏในเรื่องเล่าที่เนื่องด้วยความเชื่อต่าง ๆ มีอยู่มากมายมหาศาลมาแต่โบราณกาลในทุกกลุ่มชน



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ยิ่งเรื่องที่สัมพันธ์กับข้าวปลาอาหารอย่างเรื่องแม่โพสพนี้ด้วยแล้ว ยิ่งขาดเสียไม่ได้



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>แม้โดยทั่วไปบุคลาธิษฐานในความเชื่อของกลุ่มชนในสังคมเมืองจะซับซ้อนแนบเนียนกว่าในความเชื่อของกลุ่มชนในสังคมพื้นบ้าน แต่เมื่อสืบสาวแล้วก็มักจะพบว่าต้นเค้าความคิดไม่ต่างกันนัก และบ่อยครั้งมีการประสมต้นความคิดที่เคยมีเข้ากับเรื่องที่เพิ่งได้รับรู้ เกิดเป็นเรื่องเก่าสำนวนใหม่ที่แตกกิ่งก้าน เพิ่มเติมรายละเอียดเข้าไปอีกนานัปการ ดังกรณีแม่โพสพของเรา



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>แม่โพสพในวิถีไทแต่ไรมา

    การมีเทวดาเพื่อปกป้องคุ้มครองตนและทุกสรรพสิ่งรอบตนของมนุษย์เป็นเรื่องธรรมชาติ มีมาก่อนการประกาศศาสนาใดในโลก และแม้จนเมื่อศาสนาได้รับการประกาศแล้ว ตั้งมั่นแล้วหลายศาสนาก็ตามที แม้จนเมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพิสูจน์แล้วว่าที่ตั้งของสวรรค์นั้นเป็นเพียงเวิ้งอวกาศอันว่างโล่ง ดวงดาวที่วาวแวมแจ่มใสเป็นเพียงเทหวัตถุที่แขวนลอยอยู่ในอวกาศก็ตามที มนุษย์ก็ยังแอบเก็บเทวดาเอาไว้ในใจอย่างเปิดเผยบ้างอย่างซ่อนเร้นบ้าง สุดแต่ภูมิหลังและภูมิปัจจุบันจะน้อมนำ



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>จากการศึกษานิทาน-ตำนานข้าวตลอดจนพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวของกลุ่มชนในประเทศไทยและดินแดนใกล้เคียง พบว่าแม่โพสพเป็นเทวดาสามัญประจำท้องนาและยุ้งฉางของชนชาติไทซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ปลูกข้าวกินมานานนับพัน ๆ ปี กล่าวเฉพาะในประเทศไทยชาวนาทุกภาค ทั้งที่เป็นชนกลุ่มใหญ่และน้อย รู้เรื่องแม่โพสพและบูชาแม่โพสพด้วยกันทั้งนั้น จะปลูกข้าว จะเกี่ยวข้าว จะนวดข้าว จะเก็บข้าว จะกินข้าว จะขายข้าว ต้องเชิญขวัญ บอกกล่าวแม่โพสพให้จงดี การบอกกล่าวอาจว่าไปตามสะดวกปากผู้ทำพิธีในกรณีทำพิธีเองอย่างง่าย ต่างคนต่างทำในที่นาของตัวเอง ไปถึงชั้นร่ายบททำขวัญ ว่าคาถาเต็มยศในกรณีเป็นพิธีกรรมใหญ่ของชุมชน



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ได้มีผู้รวบรวมคาถาและบททำขวัญเนื่องด้วยแม่โพสพและการทำนาพิมพ์เป็นเล่มเอาไว้มากรายด้วยกัน เช่น ประชุมเชิญขวัญ ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรวบรวมจากหนังสือคำเชิญขวัญของเก่าซึ่งมีต้นฉบับอยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2461 และได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้งตลอดจนดูเหมือนจะเป็นต้นฉบับให้แก่หนังสือ ทำขวัญต่าง ๆ ที่โรงพิมพ์ราษฎร์เจริญ (โรงพิมพ์วัดเกาะ) พิมพ์ขายเมื่อ พ.ศ. 2511 มีบททำขวัญนาสำนวนพระยาไชยวิชิต (เผือก) ที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงชมไว้ในพระนิพนธ์คำนำหนังสือประชุมเชิญขวัญว่า “แต่งดีนักหนา”



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>พิธีทำขวัญต่าง ๆ และแหล่ภาคกลางภาคอิสาน รวบรวมโดย มหาทองใบ ปฏิภาโณ (2525)

    ตำราสูตรขวัญโบราณต่าง ๆ รวบรวมโดย จ.เปรียญ (2532) ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมากตั้งแต่หน้า 29 – 46 ว่าด้วยเรื่องของการทำนา มีตั้งแต่คาถาแฮกนาขวัญ คาถาเสกน้ำมนต์รดข้าวปลูก คำเสกข้าวแฮกเวลาจะปักกกแฮก (เอ่ยเรียกปู่ข้าวเอยย่าข้าวเอย…) คาถาปักแฮก คาถาถากลานข้าว สู่ขวัญข้าวขึ้นลาน สู่ขวัญข้าวขึ้นเล้า คำเรียกขวัญข้าว (เอ่ยชื่อแม่โพสพเพียงครั้งเดียวในตอนนี้ ว่าขออัญเชิญแม่โพสพ แม่ระนารา แม่พระสีดานารี สีสนไชย คัจฉะถะ จะเสด็จไปอยู่เล้าพื้นแป้นหญ้าแฝกมุงนา….) ไปจนถึงการสู่ขวัญควายและวัว



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>บททำขวัญที่มีผู้รวบรวมไว้มีเนื้อหาเป็นแบบฉบับใกล้เคียงกัน



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ผู้สนใจรายละเอียดพิธีกรรม โปรดอ่านจากบทความเรื่อง “ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม และคติชาวบ้านเกี่ยวกับข้าว” ของ ร.ศ. ดร.งามพิศ สัตย์สงวน พิมพ์รวมกับบทความจากการวิจัยวัฒนธรรมข้าวเรื่องอื่น ๆ ในหนังสือ ข้าวกับวิถีไทย และบทความเรื่อง “ผี้บื้อโย” ของ วุฒิ บุญเลิศ ในวารสาร เมืองโบราณ ฉบับเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2536



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>เมื่อพิจารณารายละเอียดในการปฏิบัติต่อแม่โพสพจะเห็นถึงความชิดเชื้อระหว่างชาวนากับแม่โพสพ และเห็นว่าความรู้สึกที่ชาวนามีต่อแม่โพสพกระเดียดไปในทางเกรงใจเพราะรักและห่วงใยมากกว่าเกรงกลัว เช่น เมื่อข้าวเริ่มจะตกรวง ชาวนาว่าข้าวตั้งท้อง ต้องรับขวัญแม่โพสพ นำเอาเครื่องเซ่นไปวางที่ศาลเพียงตาหรือใส่ชะลอมไปผูกห้อยที่คันธงกลางนา องค์ประกอบของเครื่องเซ่นนอกจาก ข้าวปลาอาหาร กล้วย อ้อย ถั่วงา ตามธรรมเนียมแล้วยังมีผลไม้รสเปรี้ยว พร้อมทั้งกระจก แป้ง หวี เสื้อผ้า เครื่องหอมอีกต่างหาก



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>เรื่องของแม่โพสพสำนวนต่าง ๆ ที่มีผู้รวบรวมไว้ เช่น ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ มีโครงเรื่องและรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง ในบทความชื่อ “แม่โพสพ เทวีแห่งข้าว” ในหนังสือ ข้าวกับวิถีไทย รศ. สุกัญญา ภัทราชัย ได้แบ่งกลุ่มตามความคล้ายคลึงของโครงเรื่องไว้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มภาคกลางและภาคใต้ กับ กลุ่มภาคเหนือและภาคอีสาน



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>จากตำนานแม่โพสพที่เล่าขานกันมาช้านานพอสรุปคุณสมบัติเด่นของแม่โพสพได้ว่า เป็นหญิงใจน้อย เมื่อรู้สึกว่ามนุษย์ประพฤติตนไม่ควรแก่ความเมตตากรุณาของตนทีไรก็จะผลุนผลันหนีหายไปทีนั้น ปล่อยให้มนุษย์อดอยากยากแค้นเสียให้เข็ด แต่เนื่องจากมีความใจดีเป็นทุนอยู่ เมื่อมีผู้ไปอ้อนวอนก็จะกลับมาเลี้ยงดูมนุษย์ให้มีข้าวกินเหมือนเดิม นิทานเรื่องแม่โพสพนี้จึงสอนว่าจงอย่าลบหลู่แม่โพสพ และหากพูด(ทำ)ผิดก็สามารถพูด(ทำ)ใหม่(ให้ถูกต้อง)ได้



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ในเทพปกรณัมกรีก เทวดาเนื่องด้วยอาหารก็เป็นหญิง ชื่อว่าดีมีเตอร์ (Demeter) หรือเรียกในฉบับละตินว่า ซีเรส (Ceres) เป็นเทวีรักษาข้าวโพด นางก็เคยทิ้งให้โลกแห้งแล้งเพาะปลูกอะไรกินไม่ได้ผลเหมือนกัน เมื่อนางโทมนัสใจเพราะออกติดตามธิดาสาวสุดที่รักที่ถูกเทพเฮเดส (Hades) แห่งบาดาลลักพาตัวไปแล้วไม่พบ ร้อนถึงจอมเทพซุส (Zeus) ต้องลงมาประนอมความให้นางได้ลูกสาวคืนกึ่งหนึ่งของเวลา ส่วนอีกกึ่งหนึ่งต้องแบ่งให้เฮเดสซึ่งเปลี่ยนสถานภาพเป็นลูกเขยของนางไปแล้ว



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>การเกิดภาวะแห้งแล้งอดอยากที่กล่าวถึงในตำนานเทพแห่งข้าวหรือธัญพืชน่าจะปรากฏในนิทานพื้นบ้านของชาติพันธุ์อื่น ๆ อีก เพราะจากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าเกิดภาวะแห้งแล้งทั่วโลกในยุคที่เป็นรอยต่อระหว่างการดำรงชีวิตแบบล่าสัตว์-เก็บหาของป่ากับแบบเกษตรกรรม เมื่อราว 30,000 – 10,000 ปีที่ผ่านมา



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>วรรณกรรมพื้นบ้านมีแม่โพสพ แม่โคสก พ่อโพสพ พ่อโพสี



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>การโยงข้าวปลาอาหารกับผู้หญิงดูเป็นเรื่องของสามัญสำนึก อย่างไรก็ตามชาวบ้านปักษ์ใต้มีเทวดาชายคู่กับเทวดาหญิงด้วย



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ในสมุดไทยอันเป็นตำราว่าด้วยพิธีกรรมในการทำนาที่ ผศ. ดร.เอี่ยม ทองดี แห่งสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บรักษาไว้ มีพ่อโพสพคู่กับแม่โพสพ ทั้งภาพวาดและลายลักษณ์ อาจารย์เอี่ยมท่านว่าในบางที่เป็น พ่อโพสีกับแม่โพสพ



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>เทวดารักษาข้าวที่เป็นชายมาจากไหน ค่อยว่ากันภายหลัง



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ขณะนี้ขอหมายเหตุไว้ก่อนชื่อที่ออกเสียงเดียวกับ โพสพ มีผู้สะกดอย่างอื่น ๆ เช่น โพสบ และโภสพ และยังมีที่ออกเสียงกับเขียนว่า โคสก ด้วย ในสมุดข่อยของอาจารย์เอี่ยมเขียนว่า ไพสบ อีกอย่าง



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ชื่อที่เพี้ยนกันไปต่าง ๆ เช่นนี้ถือว่าเป็นธรรมชาติของมุขปาฐะ



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>บุญชื่น ชัยรัตน์อธิบายไว้ในคำ แม่โคสก หน้า 5318 – 20 ของสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ ดังนี้

    <TABLE width=356 align=center><TBODY><TR><TD width=348>ธัมม์หรือคัมภีร์เรื่องแม่โคสกนี้เห็นว่าน่าจะมาจากเรื่องแม่โพสพของภาคกลาง ซึ่งจะมีการเขียน อักษร “พ” เคลื่อนไปเป็นอักษร “ค” และการใช้ “ก” สะกดนั้นพบว่ามีการกลายเป็น “บ” สะกดดังพบได้ จากการเขียน “มณฑป, มณฑก” เป็นต้น</TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>โดยสรุป โพสพ โภสพ โคสก ไพสบ เป็นเทวดาหญิงองค์เดียวกัน ส่วนพ่อโพสพ (พ่อไพสบ) พ่อโพสี จะเป็นปุคคลาธิษฐานรุ่นหลังของคนปักษ์ใต้เหมือนคนอีสานบางพื้นที่สร้างศาลแม่ย่าคู่กับศาลปู่ตาในดอนหรือป่าปู่ตาหรือไม่ คงยังต้องสอบสวนกันต่อไป



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>วรรณคดีหลวงมีพระไพศภ พระไพศพ พระไพสพ



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=top>ใน ทวาทศมาส วรรณคดีไทยแต่งสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น อายุกว่า 500 ปี มีการออกชื่อเทวดาองค์หนึ่งไว้สองครั้ง ความว่า
    <TABLE cellSpacing=10 width=300 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=right>เจ็บงำงายแก้วพราก
    ฤาเทพไพศภลวง
    ไตรฤทธิบ่เล็งแล
    จำพี่ร้อนรนหว้าย

    และ

    เสร็จส่งงไพศพสิ้น
    เพลองฉี่ใบบัววบง
    ว่าววางกระลาบุษย
    โอ้อุทรทรวงแล้ง


    </TD><TD vAlign=top>พลดดแด พี่นา
    แม่ผ้าย
    ไตรโลก นี้ฤา
    โศกศัลย



    สารสุด
    ห้วยแห้ง
    พนิกาศ
    ล่นนลิว


    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>จะสะกดเป็น ไพศภ หรือ ไพศพ ก็เป็นชื่อเทวดาที่ได้รับการพาดพิงในวาระที่กวีกำลังพรรณนาถึงความรันทดอันเกิดแต่การพลัดพรากจากนางที่รักเมื่อย่างเข้าเดือนสาม และด้วยเหตุที่กวียึดพิธีกรรมเป็นตัวตั้งในการพรรณนา พิธีที่เอ่ยถึงคือพิธีส่งพระไพศพ หรือพิธีเผาข้าว (ธานยเทาะห์ หรือ ธัญเทาะห์) ซึ่งเป็นพระราชพิธีกระทำในเดือนสาม เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการทำนาในปีใหม่



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยไว้ในบทพระราชนิพนธ์ พระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า “…การพิธีเผาข้าวนี้เป็นการคู่กันกับพิธีจรดพระนังคัลเพื่อให้เป็นการสวัสดิมงคลแก่ธัญญาหาร…”



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>นอกจากนี้ยังมีวรรณคดีอีกเรื่องหนึ่ง ที่กล่าวถึงพระไพศพไว้ คือ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ ชื่อว่า อธิไท้โพธิบาท ว่าด้วยอุบาทว์และการแก้อุบาทว์เทวดารักษาทิศทั้ง 8 ทิศ (เทวดารักษาทิศเป็นเทวดาคนละชุดกับเทวดาประจำทิศ) จารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่ความคิดเรื่องอุบาทว์และการแก้อุบาทว์เป็นความคิดที่มีมาแต่โบราณกาล ในที่นี้ขอคัดมาเฉพาะอุบาทว์พระไพสพซึ่งเป็นเทวดารักษาทิศอีสาน เพื่อให้เห็นว่าเหตุการณ์อาเพทที่เมื่อเกิดแล้วต้องแก้อาเพทกับพระไพสพหลายอย่างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ไร่นา จารึกตอนนี้มีใจความว่า



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD><TABLE width=300 align=center><TBODY><TR><TD>หนึ่งผ้าแพรภูษาภรณ์ ใช่ที่หนูฟอน
    และหนูมากัดอัศจรรย์
    หนึ่งผ้าแพรภูษาสรรพ์ บมิพอเพลิงพรรณ
    จะไหม้และไหม้วู่วาม
    ทำนาได้เข้ามากคาม ยิ่งนักบมิตาม
    รบอบอันชอบไร่นา
    ดินลาทึบได้เตลา มากพ้นอัตรา
    ทำนุทำเนียมโบราณ
    ธัญญาตำได้ตันทลาน มากหลายเหลือการ
    เป็นวิปริตผิดครอง
    หนึ่งอยู่พันเออนเงินทอง มักตกเนื่องนอง
    ในเรือนพันเออนมักหาย
    หนึ่งถุนเรือนโรงทั้งหลาย ใช่ที่เต่าหมาย
    แลเต่าวู่วามคลานมา
    เข้าถุนคลานขึ้นเคหา หนึ่งแมวมายา
    มาคลอดในแท่นนิทไทร
    หนึ่งเข้าสารแซ่งออกใบ หนึ่งบ่อน้ำใน
    จรเข้มาผุดอัศจรรย์
    หนึ่งเสาโรงเรือนตกมัน หนึ่งบัวสัตตบรรณ
    มางอกในบ้านบนดอน
    หนึ่งเต่าพาบน้ำมามรณ์ ในถุนซอกซอน
    หนึ่งครังประอุกทำลาย
    อุบาทว์พระไพสพหมาย แก่คนทั้งหลาย
    ฉะเพาะผู้เคราะห์ราวี
    เร่งแต่งบูชาจงดี เข้าบิ้นใบศรี
    บันจงทุกสิ่งสุปเพียญชน์
    ผลผลาปายาสธูปเทียน บุษบาบัวเผื่อน
    พิกุลไกรจำปา
    สุรภีวรรดีมลิลา แก้วแหวนนานา
    สุพรรณแพรเพริศพราย
    ภูษาลังกาภรณ์ถวาย ด้วยพระมนตร์หมาย
    ฉะเพาะพระองค์ไพสพ
    จงต้งงใจใสสุทธนบ ภักดีคำรพ
    บพิตรพระปราณี
    อุบาทว์ขาดร้ายราวี โรคาราคี
    คำนับทั้งปวงเหือดหาย
    อยู่เย็นเป็นสุขสบาย สมบูรณ์พูนกาย
    ภิรมยศรีศุภผล
    ในลักษณอักษรพระมนตร์ อาจารย์นิพนธ์
    ดงงนี้อย่าได้สงสัย ฯ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ปิดท้ายด้วยคาถา “บูชาแก้อุบาทว์พระไพสพ” ดังนี้
    <TABLE width=431 align=center><TBODY><TR><TD width=333>โอม อิสานทิสไพสพเทวตา สหคณปริวารา อาคัจฉันตุ ปริภุญชันตุ สวาหายฯ
    โอม สัพพอุปาทว สัพพทุกข สัพพโสก สัพพโรคันตราย วินาสาย สัพพศัตรู ปมุจจติ ฯ
    โอม ไพสพเทวตา สทารักขันตุ สวาห สวาหา สวาหาย ฯ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ในวรรณคดีฉบับหลวงเทวดาที่เกี่ยวข้องกับข้าวมีชื่อที่ออกเสียงเหมือนกันแต่สะกดต่างกันว่า พระไพศภ พระไพศพ พระไพสพ หรือพระไพศพณ์ เป็นเทวดาผู้ชาย แต่ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างพระไพสพกับข้าวไม่ชัดเจนเหมือนระหว่างแม่โพสพกับข้าว หรือพระไพสพองค์นี้จะเป็นที่มาของ พ่อโพสพ-โพสี ของอาจารย์เอี่ยม ก็น่าคิดอยู่เหมือนกัน



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ผ.ศ. ดร. เสาวณิต วิงวอน แห่งภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้มีความรู้ดีกว่าผู้เขียนในเรื่องเทวดาแขกและไทย ได้อธิบายให้ฟังว่าชื่อนี้คลี่คลายมาจากชื่อเทวดาประจำทิศองค์หนึ่งใน 4 องค์ที่เรียกรวมกันว่า จตุมหาราช เทวดาองค์นี้ชื่อ กุเวร หรือมีอีกชื่อหนึ่งในพากย์บาลีว่า เวสสวณ พากย์สันสกฤตว่า ไวศรวณ เขียนรักษาศัพท์แบบไทย ๆ เป็น ไพศรพณ์ (ว แผลงเป็น พ) แล้วลดรูปลงเป็น ไพศพณ์ แล้วถอดรูปการันต์ลงเหลือ ไพศพ ผู้เขียนขออนุญาตสันนิษฐานต่อเล่น ๆ ว่าอาจมีผู้เห็นว่าการสะกดพยางค์หลังว่า ศพ ดูไม่สวย จึงเปลี่ยนเป็น ศภ และ สพ เสียเพื่อเลี่ยงความหมายอวมงคล ทั้งนี้และทั้งนั้นอาจไม่มีอะไรมากไปกว่าความไม่รู้ที่มา หรือรู้ที่มาแต่เห็นว่าไหน ๆ ก็จะเป็นเทวดาในความเชื่อไทย ๆ แล้วจะสะกดชื่อรุงรังอะไรกันให้นักหนา



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>การนำเอาเรื่อง ชื่อ ความเชื่อดั้งเดิม ไปไขว้กับเรื่อง ชื่อ ความเชื่อใหม่ (ผีสางนางไม้ + ศาสนาฮินดู / พุทธศาสนา หรือ ผีสางนางไม้ + ศาสนาฮินดู + พุทธศาสนา) ไม่เป็นเรื่องแปลก มีปรากฏในกรณีอื่น ๆ อีก เช่น นิทานชาดก แต่เรื่องบางเรื่องเช่นเรื่องพระไพสพกับแม่(หรือพ่อ)โพสพ กระบวนการไขว้อาจซับซ้อน ทำนองว่ามีข้าว มีผีหรือเทวดารักษาข้าว มีเทวดาประจำทิศ มีเทวดารักษาทิศ มีการบวชเทวดาพราหมณ์เป็นเทวดาพุทธ แล้วแปลงเทวดาพุทธหลวงเป็นเทวดาพุทธพื้นบ้านอีกทีโดยไม่เพียงแต่จะสร้างชื่อให้ใกล้เคียงกับเทวดาเก่าเท่านั้นแต่ยังแปลง (ข้าม) เพศเทวดาอีกด้วย



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>จนถึงบัดนี้อาจจะมีผู้นึกสนุกวิเคราะห์ว่าไก่กับไข่ อย่างไหนเกิดก่อนกันไปแล้วก็ได้ในกรณีเทวดารักษาข้าวของเราองค์นี้ เป็นแต่ผู้เขียนยังไม่ทราบเท่านั้น ท่านผู้ใดทราบแล้วกรุณาขยายความรู้ด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>รูปและ/หรือภาพแม่โพสพ



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ตั้งแต่ได้ยินแม่ออกชื่อแม่โพสพมาจนถึงก่อน พ.ศ. 2543 ผู้เขียนไม่เคยสนใจว่าแม่โพสพมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไรเป็นพิเศษ เพราะนึกออกว่าเทวดาไทยทั้งฉบับหลวงฉบับราษฎร์หากมีผู้วาดเขียนหรือปั้นให้เห็นเป็นรูปก็คงจะใกล้เคียงตัวโขนละครอย่างในจิตรกรรมฝาผนังทุกองค์ไป อย่างเก่งก็มีสีกาย มีเครื่องทรง อาวุธทรง สัตว์ทรง แตกต่าง เวลาที่เก็บข้อมูลเรื่องพิธีรับขวัญแม่โพสพ ก็เก็บเฉพาะบททำขวัญ อย่างเก่งก็เห็นเครื่องเซ่นวักตั๊กแตนที่ชาวนานำไปปักไปวางไว้กลางนา ไม่เคยทราบมาก่อน (อย่างน่าประหลาดใจในความไม่เฉลียวของตนเอง) ว่าในหลาย ๆ พื้นที่ชาวนาตั้งรูปแม่โพสพประกอบพิธีด้วย ทั้งไม่เคยทราบว่าในยุ้งฉางของชาวบ้านในหลายพื้นที่มีการตั้งหรือแขวนรูปแม่โพสพไว้ประจำ



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>รูปที่ว่ามีทั้งรูปที่วาดขึ้น พิมพ์ขึ้น ปั้นขึ้น และหล่อขึ้น



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ครั้งแรกที่เริ่มสนใจรูปลักษณ์ของแม่โพสพก็คือเมื่อเห็น “พระโพสพ” ในจิตรกรรมฝาผนังด้านในเหนือบานประตูหน้าพระอุโบสถวัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2543 เป็นภาพวาดแบบสมัยใหม่ออกทางสมจริง (realistic) ฝีมือพระยาอนุศาสน์จิตรกร ช่างหลวงสมัยรัชกาลที่ 6 เธอนั่งอยู่ตรงกลางระหว่างพระลักษมีชายาพระนารายณ์ และพระสรัสวดีชายาพระพรหม เทวีทั้งสามนั่งคุกเข่าประนมมือสักการะพระพุทธเจ้าซึ่งแทนด้วยพระพุทธรูปประธานในประอุโบสถ ที่สนใจก็เพราะเห็นเป็นการแปลก ท่านผู้วาดภาพคงวาดให้สอดคล้องกับตำนานฉบับที่ว่าแม่โพสพเดิมเป็นชายาองค์หนึ่งของพระอินทร์ ชื่อ พระสวเทวี (เพื่อโยงชื่อโพสพเข้ากับชื่อชายาพระอินทร์ นั่นคือให้ สพ แผลงมาจาก สว ส่วน โพ อาจจะมาจากชื่อ ไพสพ ของเทวดารักษาทิศอีสาน) หาไม่แม่โพสพคงไม่มีตำแหน่งเฝ้าเทียบเท่าพระลักษมีกับพระสรัสวดีเป็นแน่นอน (พระอินทร์ หรือ สักกเทวราช เป็นเทวดาระดับล่างในศาสนาฮินดู แต่ไทยยกขึ้นเป็นเทวดาสำคัญ มีบทบาทมากกว่าเทวดาองค์ใดในพุทธประวัติ) อย่างไรก็ตามจิตรกรเรียกชื่อเธอว่า พระโพสพ แทนที่จะเป็นพระสวเทวี แต่แน่นอนว่าเธอต้องมีรวงข้าวในมือ



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>






































































































































































































































    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE width=590 align=left bgColor=#fffff0><TBODY><TR><TD align=left>...คำ บ ร ร ย า ย ภาพ...</TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#fffff0><TABLE borderColor=#999999 width=500 border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>1. พระลักษมี พระโพสพ พระสรัสวดี ฝีมือมหาเสวกตรีพระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) วาดไว้บนผนังด้านในเหนือประตูหน้าพระอุโบสถวัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
    พระยาอนุศาสน์ฯ (พ.ศ. 2414 – 2492) เป็นช่างผู้มีฝีมือในทางศิลปะเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการเขียนภาพ ได้เขียนภาพต่าง ๆ เป็นที่พอพระราชหฤทัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอันมาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล “จิตรกร” ให้เป็นเกียรติ งานฝีมือท่านมีปรากฏอยู่ในที่ต่าง ๆ หลายแห่ง เช่น ในหนังสือบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ตามพระอารามต่าง ๆ เช่นภาพในเค้าเรื่องชาดกตามพระกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระวิหารหลวง จังหวัดนครปฐม ภาพประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาภาพที่เขียนตามฝาผนังโบสถ์ในพระอาราม นอกจากใช้สีผสมน้ำปูนตามแบบโบราณแล้ว ยังมีฝีมือในการเขียนภาพสีน้ำมัน เป็นผู้สร้างฉากในการแสดงละคร เป็นผู้อำนวยการร้านถ่ายภาพ “ฉายานรสิงห์”

    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>2. ด้านหน้าของซองใส่ “ยาเด็กจู้จี้ ตราแม่โภสพ” ระบุว่าสถานที่ผลิตคือ “ผดุงชีพ เลขที่ 14- 20 ถนนจักรพงศ์ สพานเสี้ยว กรุงเทพฯ” ไม่ได้ระบุปีที่ผลิต แต่เทียบกับอายุของสะพาน เสี้ยวที่ระบุไว้ในที่ตั้งร้าน อย่างน้อยก็ควรจะเป็นสักปีสองปีก่อนก่อนพ.ศ. 2516 อันเป็นปีที่ เปิดใช้สะพานพระปิ่นเกล้าฯ เพราะสะพานเสี้ยวเป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมจากฝั่ง บางลำภูไปสนามหลวงช่วงระหว่างสะพานผ่านภิภพลีลากับแม่น้ำเจ้าพระยาตรงวังหน้า ได้รื้อลงเมื่อจะสร้างสะพานพระปิ่นเกล้าฯ
    ร้านผดุงชีพเป็นร้านที่ผู้เขียนติดใจมากตั้งแต่สมัยเด็ก จำหน่ายของไทย ๆ หลาก หลาย ทั้งยา ของเล่น เช่นงูและสัตว์เลื้อยคลานทำจากไม้ระกำ หัวโขน เครื่องดนตรี ผักผล ไม้ปูนปลาสเตอร์ สีสันสะดุดตาน่าเพลิดเพลิน
    “แม่โภสพ” ของห้างผดุงชีพ รินน้ำจากหอยสังข์ที่ถือไว้ในมือขวาด้วย โปรดเทียบ กับแม่โพสพในยันต์เขียน ภาพที่ 3


    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>3.และ 4. ยันต์แม่โพสพ ของ ผศ. ดร. เอี่ยม ทองดี เขียนบนกระดาษขนาดประมาณ A3 และพิมพ์ ลงบนผ้าผืนเล็กขนาดครึ่ง A4 สำหรับวางบนหิ้งหรือแขวนเสายุ้ง

    [​IMG]

    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>5.และ 6. ภาพวาดพ่อโพสพ แม่โพสพ ในตำราพิธีเกี่ยวกับการทำนาเขียนลงสมุดข่อย ของ ผศ. ดร. เอี่ยม ทองดี ต่างมีปลาเป็นพาหนะทรงตามท้องเรื่องฉบับที่มีปลาเป็นสื่อให้ติดตามพบตัว แม่โพสพ

    [​IMG]

    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>7.และ 8.และ 9. ภาพวาดนางกวักและชาวนาทำพิธีทำขวัญนาลงประกอบบททำขวัญนา กับแม่ โพสพลงประกอบการทำขวัญข้าวในหนังสือ บททำขวัญ ของโรงพิมพ์วัดเกาะ ฝีมือนาย อาด อ๊อดอำไพ ช่างวาดฝีมือชั้นครูรุ่นสงครามโลกครั้งที่ 2

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>10. และ 11 แม่โพสพ จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เป็นฝีมือ
    ช่างสมัยรัชกาลที่ 3 ผู้เขียนพยายามค้นหาแต่ไม่พบคำบรรยายว่าจิตรกรมีแรงบันดาลใจ อย่างไรจึงวาดแม่โพสพลงในพื้นที่ส่วนนี้ ในขณะที่ส่วนอื่น ๆ เป็นภาพวาดเทพเจ้าสาย พราหมณ์ล้วน ๆ เช่น พระนารายณ์ปางต่าง ๆ เป็นต้น
    ภาพสำเนาจากหนังสือ พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์กับประชาชน หน้า109 ประกอบเรื่องพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ หัวข้อที่ 4 “บำรุงอาชีพ” ว่าด้วยการทำนุบำรุงการเกษตร มีคำบรรยายว่า
    ภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านตะวันตก หลังพระที่นั่งภัทรบิฐ ในพระนั่งไพศาลทักษิณ
    เป็นภาพเจ้าแม่แห่งข้าวทรงพระนามว่า “เจ้าแม่โพสพ”
    ในคำบรรยายภาคภาษาอังกฤษ ดร.ดวงทิพย์ สุรินทราธิป ใช้คำอธิบายว่าแม่โพสพเป็น the Goddess Ceres of the Orient
    แม่โพสพในพระที่นั่งไพศาลทักษิณมีลักษณะ “เป็นเทวีนางฟ้าและยืนเปลือยกายท่อนบน” สวมชฎาและสร้อยสังวาลย์เช่นเดียวกับเทวดาหรือนางกษัตริย์ในจิตรกรรมไทยประเพณี

    [​IMG]

    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>12. แม่โพสพฉบับใหม่เอี่ยม พิมพ์ลงกระดาษโปสเตอร์เนื้อค่อนข้างหนา ขนาดครึ่งหนึ่งของ แผ่นปิดมาตรฐาน แสดงแนวคิดว่าเทวดา(หรือแม้แต่พระพุทธเจ้า)เป็นชาวอินเดีย ที่ออกจะ แพร่หลายมากในสมัยหลัง รศ. ดร.เอี่ยม ทองดี ก็มีเก็บอยู่ 1 แผ่น ผู้เขียนเองได้รับจาก เพื่อน คือ ผศ. ดร.เสาวณิต วิงวอน ซึ่งเล่าว่าซื้อจากร้านค้าที่ท่าพระจันทร์เมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ 2544 นี้เอง

    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>13. ต้นฉบับภาพแม่โพสพที่ลงประกอบในหนังสือข้าว วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง ของ ผศ. ดร. เอี่ยม ทองดี เป็นขาวดำ แต่รูปจริงหล่อด้วยปูนปลาสเตอร์ระบายสี

    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>14. รูปแม่โพสพอีกรูปหนึ่งของ ผศ. ดร. เอี่ยม ทองดี สูง 8.5 นิ้ว ถือรวงข้าวและถือถุงข้าว (หรือถุงเงินถุงทอง?) เช่นเดียวกับภาพที่ 8 ผู้เขียนเชื่อว่าเป็นการผสมผสานความเชื่อ เรื่อง แม่โพสพกับนางกวัก

    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>15. รูปโลหะหล่อองค์เล็ก สูง 4.5 นิ้ว ของ ผศ. ดร. เอี่ยม ทองดี

    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>16. รูปแม่โพสพขนาดเล็ก สูงรวมฐานราว 4 – 5 นิ้ว ทุกองค์มีปูนขาวหรือดินผสมอัดเต็ม โพรงด้านในจนเสมอขอบฐาน คุณนัท กรุงสยาม นักเขียนประจำนิตยสารกรุงสยามเล่าว่า ปูนนี้ผสมน้ำว่าน แสดงว่ามีการปลูกเสกรูปแม่โพสพให้ศักดิ์สิทธิ์ตามคติการสร้างรูปบูชา ทั่วไป
    ผู้เขียนได้รับคำอธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญในวงการพระเครื่องพระบูชาไทยอีก 2-3 ท่านว่ารูปแม่โพสพที่สามารถเห็นตัวอย่างในชมรมพระเครื่องมรดกไทยที่ห้างบางลำภู งาม วงศ์วาน และที่ชมรมลักษณะเดียวกันที่วัดเทพธิดาราม ล้วนเป็นรูปหล่อรุ่นตั้งแต่ต้นรัตน โกสินทร์ลงมา มีคนจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะผู้ประกอบกิจการร้านอาหารเช่าไว้บูชาใน ฐานะเทวดาผู้บันดาลความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ให้
    แม่โพสพแต่ละองค์หล่อจากคนละพิมพ์ องค์หน้าขวาสุดนี้ทรงสไบชายคู่ สวมทับ ทรวงแบบนางละคร หน้าแฉล้มแช่มช้อย ทรวดทรงได้สัดส่วนงามเป็นพิเศษ องค์กลางเจ้า ของประดิษฐานไว้บนแท่นทองทำขึ้นใหม่ มีขนาดใหญ่กว่าองค์อื่นเล็กน้อยคือสูงราว 6 นิ้ว เป็นโลหะเคลือบขาวแล้วลงสี รวงข้าวหลุดหายไปจากมือที่ออกแบบไว้ให้มีช่องระหว่างนิ้ว กับฝ่ามือเพื่อให้สอดรวงข้าวภายหลัง รูปแม่โพสพชุดนี้ถือรวงข้าวเพียงรวงเดียว รวงข้าว โค้งเข้าบ้าง โค้งออกบ้าง รวงสั้นบ้างยาวบ้าง ต่าง ๆ กัน

    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>17. องค์นี้ถือเป็นนางเอกที่ได้กล่าวถึงไว้แล้ว มีขนาดตามที่เจ้าหน้าที่ของคุณพยัพจดมาให้คือ “หน้าตักองค์ 11 นิ้ว องค์สูง 25 นิ้ว หน้าตักฐาน12 นิ้ว ความกว้าง 12 นิ้ว”
    ยังมีรูปแม่โพสพที่งดงามเป็นพิเศษคล้ายคลึงกันกับแม่โพสพในภาพที่ 17 นี้อีกองค์หนึ่ง ผู้เขียนเห็นภาพในหนังสือพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ของ สมเกียรติ โล่ห์เพชรัตน์ หน้า 86 เสียดายที่เมื่อคุณพยัพเอามาให้ดูไม่มีกล้องไปถ่ายก๊อปปี้ไว้ ในหน้า 293 ของหนังสือเล่มเดียวกันมีคำอธิบายรูปแม่โพสพดังกล่าวว่า
    “พระแม่โพสพ เป็นงานศิลปะที่นิยมเรียกกันว่า “แบบหน้าแป้ง” ศิลปะแบบนี้มีจำนวนน้อยมาก เข้าใจว่ากรรมวิธีการเคลือบสีบนเนื้อโลหะให้สวยงามเป็นธรรมชาติคงยากมาก จึงมีจำนวนจำกัด และราคาการซื้อ-ขายในตลาดค่อนข้างสูง”
    คำอธิบายนี้น่าจะใช้ได้กับแม่โพสพในภาพที่ 17 นี้ด้วย ผู้เขียนใคร่ขอตั้งข้อสังเกตเรื่องวิธีการเรียกชื่อแม่โพสพไว้ในที่นี้ว่า ในหนังสือที่อ้างถึงเรียกว่า พระแม่โพสพ ในขณะที่โดยทั่วไปมักเรียกกันว่าแม่โพสพ ดูเสมือนว่าเป็นการปรับฐานะรูปแม่โพสพขึ้นเป็นรูปบูชาโดยการเติมคำว่า พระ เข้าข้างหน้าชื่อ และยังมีบางตำราเรียกว่า แม่พระโพสพ ซึ่งมีตำนานฉบับภาคเหนือรองรับว่ามี พระโพสพ แล้วจึงมี แม่(ของ)พระโพสพ อีกทีหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นคำอธิบายเรื่อง พ่อโพสพหรือพ่อโพสีที่ ผศ. ดร. เอี่ยม ทองดี กล่าวไว้ได้อีกทางหนึ่ง

    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>18. ด้านหลังของแม่โพสพในภาพที่ 17 แสดงทรงผมตัดสั้น (ทรงดอกกระทุ่ม?) ต่างจากแม่ โพสพรูปอื่น ๆ ที่ไว้ผมประบ่า หวีแสกบ้าง เสยบ้าง ทรงผมของแม่โพสพองค์นี้น่าจะช่วย ยืนยันยุคสมัยให้แน่นอนขึ้นได้

    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>19. ภาพสำเนาจากหนังสือ ไทยในสมัยรัฐธรรมนูญ มีคำบรรยายภาพดังนี้
    รูปปั้น ”แม่โพสพ” ซึ่งรัฐบาลได้จัดส่งไปแสดงในศาลาไทย ในการแสดง
    พิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ ณ กรุงนิวยอร์ค สหปาลีรัฐอเมริกา ปี 2482
    ขนาดน่าจะเป็นขนาดเท่าคนจริง แบบศิลปะสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม คือประกอบขึ้น ด้วยเส้นสายที่ออกไปในทางกระด้าง

    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>20. ปูนปั้นแม่โพสพประดับหน้าบันศาลาตรีมุขซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ในวัดศิริ วัฒนาราม อยู่ในสวนแขวงบางพรหม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ผู้เขียนเห็นเมื่อแวะเวียนเข้า ไปชมวัดโดยบังเอิญก่อนสงกรานต์ปี 2544 นี้เอง
    จากการสอบถามชาวบ้านในละแวกวัดทำให้ได้ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมอีกว่า ที่วัดศิริฯ มีประเพณีบูชาแม่โพสพ สาเหตุที่เกิดประเพณีทราบเป็นเลา ๆ ว่า แต่เดิมพื้นที่แถบนี้เป็นท้องนา ต่อมาจึงยกเป็นสวน “ท้องกระทะ” (คงหมายความว่าเป็นสวนที่มีพื้นที่ตรงกลางต่ำเป็นแอ่ง นี่นับเป็นข้อมูลแปลกสำหรับผู้ที่คิดว่าตลิ่งชันเป็นที่สวนมาแต่ดั้งเดิม) ที่ริมคลองบางพรหมฝั่งตรงกันข้ามกับวัดมีศาลไม้เล็ก ๆ ตั้งรูปแม่โพสพอยู่ริมคลองฝั่งตรงกันข้ามกับวัด (วัดนี้เป็นวัดรุ่นหลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2526 – 27 นี่เอง) เป็นที่สักการะบูชาของชาวบ้านทั่วไป ต่อมามีการย้ายศาลตั้งรูปแม่โพสพมาไว้ที่วัด และวัดจัดให้มีงานปิดทองแม่โพสพ (เหมือนงานปิดทองพระ หรือพระพุทธบาทจำลอง ฯลฯ ตามวัดทั่ว ๆ) ในช่วงเดือนมีนาคมเป็นประจำทุกปี ประเพณีนี้ได้แพร่หลายไปจนถึงวัดที่จังหวัดสมุทรปราการด้วย (แต่ผู้ให้ข้อมูลจำไม่ได้ว่าวัดที่จัดงานปิดทองแม่โพสพที่สมุทรปราการชื่อวัดอะไร)
    ศาลาตรีมุขหลังนี้เป็นอาคารถาวรที่วัดสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานรูปแม่โพสพซึ่งปัจจุบันเป็นองค์ใหม่ หล่อด้วยทองเหลือง ปิดทองจนมองไม่เห็นเค้าหน้าตา ที่ว่าเป็นองค์ใหม่ก็เนื่องจากองค์เดิมซึ่งเป็นดินปั้น ถูกโจรกรรมไปแล้ว
    ช่างปั้นปูนประดับหน้าบันมุขเอกของศาลาหลังนี้เป็นช่างมาจากเมืองเพชร ซึ่งมีชื่อเสียงด้านงานปูนปั้นมาช้านาน ในงานปิดทองแม่โพสพครั้งต่อไป (เดือนมีนาคม 2545) จะได้ฉลองศาลาใหม่หลังนี้ด้วย

    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>21. ศาลและรูปปั้นแม่โพสพ วัดศิริวัฒนาราม ตั้งอยู่ด้านหลังศาลาตรีมุขที่กำลังสร้าง
    แม่โพสพมีขนาดเท่าคนจริง

    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>รวงข้าว เป็นเครื่องระบุว่ารูปเทวดาที่เห็น ไม่ว่าจะเห็นที่ไหน สมัยใด เป็นแม่โพสพ

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ต่อมาจึงตั้งข้อสังเกตว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ที่เห็นอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมฉายาลักษณ์พระราชทานคราวเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา เป็นภาพแม่โพสพ ด้วยเป็นเทวดาหญิงถือรวงข้าวในมือ ครั้งนี้เป็นจิตรกรรมไทยประเพณี

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>หลังจากนั้นก็เริ่มสังเกตรูปนางโคสก ประกอบเรื่องเทพเจ้าเกี่ยวกับข้าวและการทำนาในหนังสือ ข้าว วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง ของ ผศ. เอี่ยม ทองดี แม้เป็นภาพขาวดำก็พออนุมานได้ว่าเป็นรูปหล่อปูนปลาสเตอร์ ระบายสี เหมือนรูปกุมารทอง สัตว์ในนักษัตร ที่หล่อออกจำหน่ายอยู่ทั่วไป อาจารย์เอี่ยมบรรยายไว้ว่า “นางมีลักษณะเป็นหญิงสาว ท่าทางอ่อนช้อยสวยงาม ภาพของนางที่สร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชาเป็นท่านั่งพับเพียบ มือขวาถือรวงข้าว มือซ้ายถือถุงข้าว แต่งกายนุ่งผ้าถุงห่มผ้าสไบเฉียงแบบหญิงในวังสมัยก่อน”

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>นางโคสกของอาจารย์เอี่ยมมีลักษณะพ้องกับนางกวัก เทวดาหญิงผู้นำโชค ซึ่งเห็นทีไรก็จะนั่งพับเพียบ เท้าแขนเป็นหนูแหวนแขนอ่อนข้างหนึ่ง อีกข้าวหนึ่งยกขึ้น “กวัก” มีถุงป้อม ๆ คะเนว่าเป็นถุงเงินถุงทองวางบนตักหรือข้างกายที่นั้น ต่างกันแต่นางโคสกไม่กวักมือเพราะมือไม่ว่าง กำรวงข้าวอยู่

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ซึ่งออกจะสอดคล้องกับผลของการ “ทำโพล” ของผู้เขียนที่ได้จากการสอบถามเพื่อนฝูงนักวิชาการสายประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยารอบ ๆ ตัว ปรากฏว่าส่วนหนึ่งนึกหน้าแม่โพสพไม่ออก พยายามนึกทีไรกลายเป็นนางกวักทีนั้น เห็นจะเป็นด้วยรูปลักษณ์ที่สร้างขึ้นแทนนามธรรมทั้งสองประการมีความแตกต่างกันน้อยมาก ซ้ำโอกาสที่ผู้คนจะเห็นรูปนางกวักตามร้านรวงตลอดถึงหาบเร่แผงลอยมีมากกว่าที่จะได้เห็นรูปแม่โพสพผู้มีท้องนาและยุ้งฉางเป็นถิ่นลำเนา ภาพนางกวักจึงติดตากว่า

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ขอพักเรื่องการไขว้แม่โพสพกับนางกวักไว้เพียงเท่านี้ก่อนที่จะแตกแขนงมากไปจนหาต้นเรื่องไม่พบ

    </TD></TR><TR><TD height=23></TD></TR><TR><TD>สถานภาพกับภาพแม่โพสพ

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD height=76>ผู้เขียนขออนุญาตยกคำพระยาอนุมานราชธน ที่ รศ.งามพิศอ้างไว้ในบทความที่กล่าวถึงแล้วในตอนต้น มาอ้างซ้ำดังนี้
    <TABLE width=300 align=center><TBODY><TR><TD>“แม่โพสพเป็นผีหรือเทวดาพื้นเมืองของเราเอง ถ้าเป็นผีหรือเทวดามาจากอินเดียก็จะต้อง
    เป็นเทวีนางฟ้าและยืนเปลือยกายท่อนบนเพื่ออวดเนื้ออย่างในภาพเขียน รูปแม่โพสพเขาทำเป็นนั่ง
    พับเพียบ แพนงเชิงอย่างไทย”
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ข้อสันนิษฐานท่านนี้แสดงไว้เมื่อ พ.ศ. 2492

    ภาพของเทวดาย่อมสัมพันธ์กันกับสถานภาพของท่าน
    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ไม่มีข้อสงสัยว่าแม่โพสพมีสถานภาพเป็น “เทวดาพื้นเมืองของเราเอง” เพราะไม่พบแม่โพสพในทำเนียบเทพเจ้าเชื้อสายฮินดูที่ไทยเรารับมาจากศาสนาพราหมณ์ </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ภาพเทวดาแม่โพสพที่คนสร้างเป็นสาวน้อยร้อยชั่ง สวมกรอบหน้า ทัดดอกไม้ซ้ายขวา “นั่งพับเพียบแพนงเชิงอย่างไทย” มีให้เห็นเป็นสามัญกว่าเทวดาแม่โพสพที่สวมชฎา “ยืนเปลือยกายท่อนบนเพื่ออวดเนื้อ”

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ตามประเพณีทางศิลปะไทย กรอบหน้ากับชฎาเป็นเครื่องแสดงความแตกต่างของสถานภาพประการหนึ่ง กล่าวคือเจ้านายหรือตัวละครที่เป็นชนชั้นสูงระดับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินเท่านั้นจึงจะสวมชฎาหรือเครื่องสวมศีรษะมียอด ส่วนกรอบหน้าเป็นของเจ้านายฝ่ายหญิงหรือนางละครที่มีฐานันดรศักดิ์ต่ำลงมา แม้ในภาพวาดของพระยาอนุศาสน์จิตรกรซึ่งยกแม่โพสพไว้ในฐานะชายาของพระอินทร์แล้วก็ตาม “พระโพสพ” ก็ยังสวมกรอบหน้าในขณะที่พระลักษมีกับพระสรัสวดีสวมชฎา

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>การแกะรอยแม่โพสพนำผู้เขียนไปสู่ความรู้ใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจเกินคาด โดยเฉพาะในเรื่องรูปของแม่โพสพ ดังที่ได้คัดเลือกมาลงพิมพ์ไว้เป็นตัวอย่างพร้อมบทความนี้

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>คุณพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย และประธานชมรมพระเครื่องมรดกไทย เล่าให้ฟังว่าเท่าที่เคยผ่านตารูปปั้นแม่โพสพเก่าที่สุดเป็นตุ๊กตาเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย ไล่ลงมาจนถึงสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ที่เห็นอยู่ส่วนใหญ่ขณะนี้เป็นรูปโลหะหล่อยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งเป็นรุ่นที่ช่างทำลวดลายที่เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ เช่น ลายดอกพิกุล ได้นูนชัด งามสะดุดตา

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ตัวอย่างที่โดดเด่นยิ่งได้แก่รูปแม่โพสพสัมฤทธิ์เคลือบสีผิวขาว ลงสีตกแต่งเสื้อผ้าเครื่องประดับ ขนาดเท่าเด็กอายุสัก 2-3 ขวบที่คุณพยัพ “เช่า” มา น่าจะเป็นรูปแม่โพสพรุ่นเก่าขนาดใหญ่ที่สุดที่มีอยู่ เครื่องหน้างาม เปลือกตาหลุบลงเล็กน้อย ใบหูยาว และช่วงไหล่อวบกว้าง ละม้ายลักษณะพระพุทธรูป แม้จะห่มสไบแต่ก็สวมแหวนมือละ 4 นิ้ว จัดเป็นแม่โพสพ “ทรงเครื่อง” ทำนองพระพุทธรูปทรงเครื่องตามความนิยมสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น นอกจากนั้นแล้วจะเป็นรูปโลหะหล่อขนาดย่อม สูงรวมฐานราว 4 – 5 นิ้ว ถ้าขนาดโตขึ้นอีกมักเป็นปูนปลาสเตอร์ระบายสีทำในสมัยหลังซึ่งก็น่าชมไปอีกแบบหนึ่ง

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>การที่มีช่างศิลปะประดิษฐ์รูปแม่โพสพขึ้นหลายหลากมากแบบแต่โบร่ำโบราณมา น่าจะเป็นเครื่องยืนยันความสำคัญของ “เทวดาพื้นเมือง” องค์นี้ต่อชีวิตของคนไทยเราได้เป็นอย่างดีอีกประการหนึ่ง และเราอาจกล่าวอย่างขำ ๆ ได้ว่าเป็นความสำคัญที่รัฐรับรองแล้วเมื่อประเทศไทยส่งรูปปั้นแม่โพสพไปตั้งไว้ในศาลาไทยในงานนิทรรศการโลก (World Exhibition) ที่กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2482 ซึ่งเป็นสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ปัจจุบันของแม่โพสพ</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยทางธุรกิจที่มุ่งเน้นการค้ากำไร ชนิดที่คนไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะชาวนาไม่อยู่ในฐานะผู้กำหนด หากแต่เป็นผู้ถูกกำหนด แม้ว่าภูมิปัญญาชาวบ้านได้ถูกเทคโนโลยีและวิธีคิดแบบฝรั่งเบียดตกคันนาไปทีละเล็กละน้อย วิกฤติต่าง ๆ ได้ก่อตัวและขยายตัวขึ้นในวิถีชีวิตไทยดังเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไปแล้ว

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>แม้ว่าในการสอนลูกไม่ให้ตักข้าวมาแล้วกินเหลือ หรือทำข้าวตกพื้นแล้วเหยียบย่ำ ผู้เขียนจะมิได้อ้างแม่โพสพ แต่ก็ได้เล่าให้ลูกฟังว่าแม่ของแม่เคยสอนไว้อย่างไร ลูกซึ่งอาจเป็นตัวแทนของเด็กในเมืองยุคปัจจุบันได้ แม้จะยังคุ้นกับนิทานแต่เมื่อฟังแล้วก็ไม่เชื่อเรื่องเทวดารักษาข้าว ก็ตามแต่

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>แม่โพสพก็ยังอยู่ในวิถีไทยทั้งอย่างที่เคยอยู่และอย่างที่ไม่เคยอยู่ได้อย่างน่าอัศจรรย์</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>อย่างที่เคยอยู่ก็คือ อย่างเป็นมิ่งเป็นขวัญของข้าวในนาในยุ้งฉาง </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>อย่างที่ไม่เคยอยู่ก็คืออย่างเป็นรูปบูชาในบ้านในเมือง</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>แม้จะเป็นแม่โพสพนอกนาแต่ก็ยังคงนัยสำคัญในฐานะผู้ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ให้มนุษย์อยู่ไม่เสื่อมคลาย
    นับเป็นพัฒนาการทางความเชื่อที่อธิบายไม่ยากในสังคมที่มีรากฐานมาจากเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนา เช่นสังคมไทย

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>ขอบคุณผู้ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลเรื่องและภาพ

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>รศ. ดร. เอี่ยม ทองดี
    คุณเอนก นาวิกมูล
    ผศ. ดร. เสาวณิต วิงวอน
    คุณพยัพ คำพันธุ์
    คุณพุทธชาด พิพัฒนกุล
    คุณนัท กรุงสยาม
    บ้านพิพิธภัณฑ์
    คุณสุภาภรณ์ ไชยภัฏ
    คุณอโณทัย เทวราชสมบูรณ์
    ตลอดจนผู้ที่ได้ให้ความรู้ด้วยน้ำใจไมตรีแต่ผู้เขียนไม่ทราบชื่อทุกท่าน

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>บรรณานุกรม———————————————————————————————————————————</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>ข้าว…วัฒนธรรมแห่งชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แปลน โมทิฟ, 2541.

    คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, สำนักงาน. ข้าวกับวิถีชีวิตไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา กรมศาสนา, 2541.

    คุณช่วย ปิยวิทย์. ทำนา (โคราช) : ประเพณี. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน 5 (2542): 1728-1736.

    จ. เปรียญ. ตำราสูตรขวัญโบราณต่าง ๆ. กรุงเทพมหานคร: อำนวยสาส์น การพิมพ์, 2532.

    จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธี 12 เดือน. พิมพ์ครั้งที่ 13. พระนคร: สำนักพิมพ์แพร่พิทยา, 2514.

    เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ พระประวัติและพระนิพนธ์บทร้อยกรอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บรรณาคาร, 2516.

    ทำขวัญต่าง ๆ. พระนคร: โรงพิมพ์ราษฎร์เจริญ, 2511.

    ไทยในสมัยรัฐธรรมนูญ ที่ระลึกในงานฉลองวันชาติและสนธิสัญญา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พานิช ศุภผล, 2482.

    บุญชื่น ชัยรัตน์. แม่โคสก. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ 10 (2542): 5318-5320.

    ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร, 2517. (พิมพ์ใน งานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริ) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 23 เมษายน 2517)

    ประชุมเชิญขวัญ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2525.
    (พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฉลองพระประธานและทำบุญอุทิศถวายแด่ พระอาจารย์ทรัพย์ ฐิติโก (ทรัพย์
    สุดสำอางค์) ณ พระอุโบสถวัดหนองตาบุญ วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม 2525).

    พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์กับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการจัดงานสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี, 2525.

    มหาทองใบ ปฏิภาโณ. พิธีทำขวัญต่าง ๆ และแหล่ภาคกลางภาคอิสาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อำนวยสาส์น, 2525.

    มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสตน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร). ใน หนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน สุนทรเวช). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บูรพาศิลป์การพิมพ์, 2524.

    วิชา ทรวงแสวง. พระแม่โพสพ : นิทาน. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง 9 (2542): 4171.

    วุฒิ บุญเลิศ . ผี้บื้อโย. เมืองโบราณ 19 (ตุลาคม-ธันวาคม 2536): 11-20.

    สมเกียรติ โล่ห์เพชรัตน์. พระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร: วัตถุโบราณ, 2540.

    อุดม หนูทอง. แม่โพสพ. สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ 7 (2529): 2873-2874.

    อุดม หนูทอง และ พ่วง บุษรารัตน์. แม่โพสพ : ตำนาน. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ 13 (2542): 6188-6189.

    เอี่ยม ทองดี. ข้าว : วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน, 2538.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>





























































































































































































































    ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เลขที่ ๕๐ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐
    โทรศัพท์ : ๐๒-๕๗๙- ๕๕๖๖-๘ ต่อ ๔๐๒ โทรสาร : ๐๒-๙๔๐-๖๙๗๙email address :lit@ku.ac.th

    --ᡐÍ¡?⾊?--
     
  5. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=540 align=center bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width=540 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=16 bgColor=#000000></TD><TD align=middle width=80 bgColor=#000000>[FONT=Arial, Helvetica, sans-serif]www.kitco.com[/FONT]</TD><TD align=middle width=369 bgColor=#000000 colSpan=5>The World Spot Price - Asia/Europe/NY markets

    </TD><TD align=right width=73 bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width=16 bgColor=#000000></TD><TD align=middle width=522 bgColor=#f3f3e4 colSpan=7>[FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif]MARKET IS OPEN[/FONT]
    [FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif](Will close in 15 hrs. 33 mins.)<!-- 1455.00-->[/FONT]
    </TD></TR><TR bgColor=#f3f3e4><TD align=middle width=16 bgColor=#000000></TD><TD align=middle width=80 bgColor=#cccc99>Metals</TD><TD align=middle width=80 bgColor=#cccc99>Date</TD><TD align=middle width=80 bgColor=#cccc99>Time (EST)</TD><TD align=middle width=68 bgColor=#cccc99>Bid</TD><TD align=middle width=68 bgColor=#cccc99>Ask</TD><TD align=middle width=146 bgColor=#cccc99 colSpan=2>Change from NY Close</TD></TR><TR bgColor=#f3f3e4><TD align=middle width=16 bgColor=#000000>[​IMG]</TD><TD align=left width=80 bgColor=#f3f3e4>GOLD</TD><TD align=middle width=80>11/27/2009</TD><TD align=middle width=80>01:43</TD><TD align=middle width=68>1171.30</TD><TD align=middle width=68>1172.30</TD><TD align=middle width=73>-20.80

    </TD><TD align=middle width=73>-1.74%

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    นำมาฝากท่านนิว กับเฮียมูครับ น่าจะปรับแล้ว ปรับวันศุกร์ตามท่านเพชรว่าไว้เลยครับ แม่นจริงๆ หุ หุ
     
  6. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    ขอบคุณ ท่านกูรู CFO น้องนู๋ ครับ ท่านเพชร แม่นยำ จริงๆ ครับ หุ หุ
    :cool:
     
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เดาสุ่มๆไปงั้นๆครับ ... ขอเดาสุ่มอีกครั้ง วันนี้ไม่ซื้อ ตั้งแต่พรุ่งนี้ไป หาซื้อยากแล้วครับ มันไปต่อนิ...เดานะ..
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ๒ วันที่ผ่านมา ผมก็มัววุ่นวายกับการปรุงสมุนไพรลดน้ำหนัก แต่ก็มีงานอื่นเข้ามาขัดลำให้เสียจังหวะไปบ้าง เลยนอนดึกหน่อย ต้มยาตั้งแต่ ๒ ทุ่มเมื่อคืน ค่อยเคี่ยวเอาหัวเชื้อออกมา จนเวลาผ่านไป ๑๖ ชม.จากน้ำ ๑๘ ถ้วย เค้นเหลือ ๖ ถ้วยเอาตอนเที่ยงวันนี้เอง จากนั้นก็เคี่ยวต่อด้วยไอน้ำไม่ให้ตัวยาหัวเชื้อนี้ถูกไอน้ำ เคียวต่อจนเหลือประมาณ ๑ ถ้วยได้ตัวยาที่เข้มข้นมากๆ ขณะ post นี้ก็กำลังเคี่ยวอยู่ อีกราว ๒ ชั่วโมงจึงจะได้หัวเชื้อล้วนเพื่อใช้ผสมกับตัวประสานร่อนเก็บผงละเอียดเอาไว้ คืนนี้จะนำมาผสมกันแล้วจึงบดเป็นผงอีกครั้งก่อนบรรจุแคปซูล ชมภาพกันก่อนครับ เห็นภาพแล้วอาจจะเกิดอยากยาขึ้นมาบ้าง...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    updateครับ หุ หุ
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width=540 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=16 bgColor=#000000> </TD><TD align=middle width=80 bgColor=#000000>[FONT=Arial, Helvetica, sans-serif]www.kitco.com[/FONT]</TD><TD align=middle width=369 bgColor=#000000 colSpan=5>The World Spot Price - Asia/Europe/NY markets
    </TD><TD align=right width=73 bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width=16 bgColor=#000000> </TD><TD align=middle width=522 bgColor=#f3f3e4 colSpan=7>[FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif]MARKET IS OPEN
    (Will close in 12 hrs. 14 mins.)<!-- 1455.00-->
    [/FONT]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3e4><TD align=middle width=16 bgColor=#000000> </TD><TD align=middle width=80 bgColor=#cccc99>Metals</TD><TD align=middle width=80 bgColor=#cccc99>Date</TD><TD align=middle width=80 bgColor=#cccc99>Time (EST)</TD><TD align=middle width=68 bgColor=#cccc99>Bid</TD><TD align=middle width=68 bgColor=#cccc99>Ask</TD><TD align=middle width=146 bgColor=#cccc99 colSpan=2>Change from NY Close</TD></TR><TR bgColor=#f3f3e4><TD align=middle width=16 bgColor=#000000>[​IMG]</TD><TD align=left width=80 bgColor=#f3f3e4> GOLD</TD><TD align=middle width=80>11/27/2009</TD><TD align=middle width=80>05:01</TD><TD align=middle width=68>1158.40</TD><TD align=middle width=68>1159.40</TD><TD align=middle width=73>-33.70
    </TD><TD align=middle width=73>-2.83%
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 14 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 11 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>psombat, :::เพชร:::, sithiphong+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    แม่นจริงๆๆๆ ... สวัสดียามเย็นครับพี่เพชร พี่หนุ่ม - มีความสุขกับการพักผ่อนนะครับทุกๆท่าน
     
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    คราวที่ไปชมสมุนไพรจันทบุรีมา ก็เลยบันทึกภาพของ"ตรีสมอ"มาให้ชมกัน ยาสมุนไพรลดน้ำหนักขนานนี้ผมได้ใช้พิกัดยาของพระเอกตัวนี้มาเพื่อใช้ในการคุมธาตุไว้ด้วย ยาขนานนี้หอมมากๆ ผบ.ทบ.เธอก็ว่าอย่างนั้น..

    คราวต่อไปว่าจะปรุงยาอายุวัฒนะ อยากจะบรรจุแม่พิมพ์พระวังหน้า ผมละอยากได้แม่พิมพ์ของพิมพ์คะแนนจิ๋วซะจริงๆ จะได้กดตัวยาสมุนไพรอายุวัฒนะไว้ รอเข้าพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้ง บรรจุใส่กล่องพกพาสะดวกไงละครับ ..อิ..อิ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010135.JPG
      P1010135.JPG
      ขนาดไฟล์:
      395.7 KB
      เปิดดู:
      91
  12. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    เอ๊ะ ทานเดี่ยวๆนี่รสชาดจะเฝื่อนๆหน่อยปล่าวครับ หุ หุ
     
  13. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    ท่านเพชร คงต้องรีบไปจดลิขสิทธิ์ "ยาอายุวัฒนะ พิมพ์คะแนนจิ๋ว" ครับ หุ หุ
    (good)
     
  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ตรีสมอใช้ลูกแก่ รสเปรี้ยวฝาด ครับ สรรพคุณถ่ายรู้ปิด หรือคุมธาตุครับ ตรีสมอมีสมอไทย สมอเทศ สมอพิเภก

    คนโบราณเป็นหมอ แล้วยังเชี่ยวชาญด้านไสยเวท หากใช้เป็นก็เป็นคุณ มีโทษมหันต์เช่นกัน โดยส่วนตัวก็ไม่เคยคิดว่าจะเดินมาบนเส้นทางนี้เลย โรคภัยในปัจจุบัน ผมคิดว่ามาจากโรคที่เกิดส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเป็นด้านกำลังใจ หากสามารถประสาน ๒ แนวทางนี้ด้วยกันได้ ก็มีโอกาสหายจากโรคภัยได้เช่นกัน ไม่ต้องอะไรมากครับ เพียงนำยาหอมมากดพิมพ์เป็นพระพิมพ์เล็กเท่าปลายนิ้วก้อยก็พอ เวลาใช้อาจจะเพียงนำไปละลายน้ำ หากเป็นยาเม็ด ก็อาจใช้พิมพ์จันทร์ลอยทรงกลมแทนเพื่อการกลืนจะได้ง่ายหน่อย เรื่องจดสิทธิบัตรนี่กำลังให้รุ่นพี่ดำเนินการอยู่ และจด GMP ควบคู่กันไปเลย ส่วนการประจุพลังในพระพิมพ์ยังทำได้ ทำไมจะทำกับยาไม่ได้..
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ่า <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->น้องรัก ไปเที่ยวภูเก็ตอยู่ตอนนี้ ยังไงฝากเที่ยวเผื่อ และทานเผื่อด้วยนะครับ

    พี่ทานอาหารทะเลได้ทุกอย่าง ทานเยอะๆเพราะว่าต้องทานเผื่อ

    และฝากกราบหลวงปู่สุภาด้วยนะครับ

    .
     
  16. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    อ่ะ น้องรักไม่กลัว ซึ-นา-มิ หรือครับ หุ หุ
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    แหม <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->น้องรักห้อยพระวังหน้า ไม่มีปัญหาอยู่แล้วครับ อิอิ
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เมื่อสักพักใหญ่นี้ ผมได้ถวายปัจจัย กับหลวงปู่เสาร์ห้า โดยมีผู้ร่วมถวายปัจจัยดังนี้
    1.ผมและ ผบทบ.ผม
    2.คุณdragonlord
    3.คุณpsombat

    และได้ถวายพระพุทธรูป 5" (ของวังหน้า) เป็นพระพุทธรูป 3 สมัย( เชียงแสน ,สุโขทัย และ อู่ทอง) จำนวน 3 องค์ ซึ่งมีผู้ร่วมถวายดังนี้

    1.ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
    2.ผม และ ผบทบ.ผม
    3.คุณdragonlord
    4.คุณpsombat

    ส่วนพระสมเด็จวังหน้า ผมและ ผบทบ.ผม ถวายไปจำนวน 100 องค์ครับ

    มาร่วมโมทนาบุญกันนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2009
  19. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    เมื่อเช้าไปบริจาคโลหิตที่สภากาชาดไทย ครับ

    ผมขอน้อมอุทิศ กุศลผลบุญ แก่กัลยาณมิตร ทุกท่าน ครับ
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรียนท่านสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้าทุกๆท่าน


    วันนี้ หรือ วันพรุ่งนี้ ผมจะส่งวาระการขอความเห็นเร่งด่วนไปยังทุกๆท่าน ขอความกรุณาตอบกลับมาที่ผมด้วย

    หากท่านใดมีข้อเสนอแนะในเรื่องต่างๆ สามารถเสนอเข้ามาได้ หรือไม่เสนอในวันประชุมชมรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...