ผมมีวิธีเเก้สําหรับคนที่นั่งสมาธิไม่ได้เเล้วครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 3 พฤศจิกายน 2009.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,653
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,019
    คือผมนั่งสมาธิได้ เเต่ผมค้นพบวิธีที่จะทําให้ผู้ที่มีปัญหาในการนั่งสมาธิไม่ได้ เช่น นั่งเเล้วปวด ชา หรืออะไรต่างๆที่ทําให้สมาธิไม่ทรงตัวจนพานทําให้ตนเองคิดว่า ตัวเองไม่มีบุญ ไม่สามารถนั่งสมาธิได้ วิธีนั้นที่ผมค้นพบคือ การเดินจงกรมครับ คือเอามือขวากุมมือซ้าย ก้าวขาซ้าย พุท ก้าวขาขวา โธ ครับ หรือจะนะมะพะธะก็ได้เเล้วเเต่เรา เหตุผลที่ทําให้ผมค้นพบว่าการเดินจงกรมนั้นสามารถทําให้กําลังสมาธิของเราทรงตัวได้เร็วนั้นเพราะ ก่อนหน้านี้ ผมจะนั่งสมาธิอย่างเดียว จนมีอยู่วันหนึ่ง ผมตัดสินใจเดินจงกรมดู พอได้เดินไปเเล้ว หลังจากนั้น เวลาที่ผมสวดมนต์ มันทําให้ผมรู้ได้เลยว่า เออ เราสวดมนต์ได้คล่องขึ้น ไม่เหนื่อยด้วย เเม้จะสวดมนต์ยาวเเค่ไหน จิตเราก็จะทรงตัวได้เร็ว จิตจะมีกําลังใจเเละพลังดีมากถ้าได้เดินจงกรมในทุกๆวัน เเละหลังจากที่เราเดินจงกรมเเล้ว เรามานั่งสมาธิต่อ จะทําให้เรานิ่งได้เร็วขึ้นกว่าเดิม บางทีนั่งปุ๊บก็นิ่งเลยครับ ที่สําคัญ การเดินจงกรมทําให้เราไม่ง่วงนอนด้วย เพราะสมัยก่อนที่ผมยังไม่เคยเดินจงกรม เวลานั่งสมาธินั้น ผมจะรู้สีกง่วงเเละเพลียมากในบางครั้ง เเต่พอหันมาเดินจงกรมเเล้ว ปัญหาง่วงนอนนี่ซาหรือเรียกว่าหายไปได้เลยครับ เพื่อนๆจะลองเอาวิธีผมไปใช้ก็ได้นะครับ คือ ก่อนผมจะนั่งกรรมฐาน ผมจะเดินจงกรมก่อนซักห้านาทีถึงสิบนาที จริงๆส่วนใหญ่ผมไม่ได้กะประมาณว่า จะเดินนานเเค่ไหน คือเดินไปซักพักให้เริ่มรู้สีกว่าเริ่มสงบละพอละ ผมก็จะไปนั่งสมาธิต่อครับ ลองนําไปใช้ดูนะครับ วิธีนี้น่าจะเเก้ปัญหาของคนที่คิดว่า เรานั่งสมาธิไม่ได้ได้อย่างเเน่นอนครับ ขอให้ทําจริงเท่านั้นเอง อนุโมทนาครับทุกท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2009
  2. aekcompany

    aekcompany เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +105
    ขออนุโมทนา สาธุด้วยครับ
    เป็นเรื่องจริงครับ การเดินจงกรมจะทำให้เราสามารถนั่งสมาธิได้นานด้วยนะครับ และสามารถทรงสมาธิได้ไวครับ ผมจะเดินประมาณครึ่งชั่วโมงถึงชั่วโมงนะครับ ต้องอดทนด้วยนะครับถึงจะได้ดีครับ ที่เขาเรียกว่า ทนได้ก็ดีได้นะครับ
     
  3. tinnakornten

    tinnakornten เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +494
    ของดีครับ รับรอง
     
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ประโยชน์ของการเดินจงกรม

    ปัญหา วิธีการบำเพ็ญสมถกรรมฐาน เพื่อทำจิตให้สงบระงับนั้น มีอยู่หลายวิธี การเดินจงกรมก็เป็นวิธีหนึ่ง อยากทราบว่าพระพุทธองค์ทรงเห็นประโยชน์อย่างไร จึงทรงแนะนำให้ภิกษุเดินจงกรม ?

    พุทธดำรัสตอบ “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรมมี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน คือภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑ ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑ ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑ อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑ สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรมมี ๕ ประการฉะนี้แลฯ”
    จังกมสูตร ป. อํ. (๒๙)
    ตบ. ๒๒ : ๓๑ ตท. ๒๒ : ๒๘
    ตอ. G.S. III : ๒๑
     
  5. lamb of god

    lamb of god เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2009
    โพสต์:
    543
    ค่าพลัง:
    +436
    ยอดเยี่ยมเลย..
     
  6. กิ่งขวัญ

    กิ่งขวัญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +701
    ขออนุโมทนาสาธุการค่ะ รบกวนถามคำถามด้วยค่ะ คือว่าถ้านั่งสมาธิแล้วไม่มีเวทนา คือไม่ปวด ไม่เมื่อย ไม่ชา นั่งครั้งละประมาณ ครึ่ง - หนึ่ง ชั่วโมง จะนิ่งอย่างเดียว อาจมีฟุ้งซ่าน เผลอไปคิดโน่น คิดนี่ แต่พอรู้สึกตัวว่าเผลอ ก็กลับมามีสติ พุทโธต่อ แต่ก็ไม่มีนิมิตอะไรเลย รู้แต่นิ่ง ๆ สบาย ๆ อย่างเดียว ดี หรือ ไม่ดี ค่ะ และจะต้องทำอย่างไรต่อถึงจะมีการพัฒนาขึ้นบ้างค่ะ รบกวนผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
     
  7. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    โอวว นี่แหละสมาธิเซ็น
    ถ้าจะให้ดีนะครับ ตอนหายใจเข้าต้องได้ความรู้สึกว่าลมหายใจแผ่ไปทุกส่วนของร่างกาย
    แล้วก็กำหนดสติไว้ที่ลมส่วนที่จะลงไปตรงท้องอะครับ
    พอถึงจุดฮารา(เหนือสะดือขึ้นมาหน่อยนึง) ก็เพ่งจิตไปตรงนั้นเลย
    อย่าเพ่งแรงนะครับ เอาแบบผ่อนคลาย
    ถ้าได้แล้ว จะฝึกอะไรต่อยอดก็ได้เลย คุณได้รวมจุดกำลังสมาธิแล้ว

    เสร็จแล้วก็ลองกำหนดนิมิตจากสายต่างๆดู ไม่ก็ลองเพ่งกสิณดูครับ
    ปล.กสิณบางอย่างอาจทำให้คุณเห็นสัตว์จากต่างภพภูมินะครับ
    อิอิอิอิ บุญรักษาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2009
  8. กิ่งขวัญ

    กิ่งขวัญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +701
    ขอบพระคุณค่ะ ทุกครั้งที่กำหนดคำบริกรรมว่า พุทโธ ก็วางไว้ตรงท้องเหนือสะดือขี้นมาหน่อยนึง แตะเบา ๆ ไม่เพ่งแรง เหมือนที่คุณบอกเลยค่ะ แล้วจะรู้ว่าได้อย่างไรค่ะ และจะกำหนดนิมิตสายต่าง ๆ อย่างไรค่ะ และการเพ่งกสิณทำอย่างไรค่ะ และต้องไปเรียนที่ไหนค่ะ คำถามเยอะเหมือนกัน รบกวนช่วยตอบอีกทีนะค่ะ thanks a lot.
     
  9. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    เอากสิณไฟแล้วกันนะ อิอิ จะได้เห็นผี หวังดีนะเนี่ย
    แต่มีข้อควรระวังอย่างมาก คือผู้เพ่งกสิณไฟควรมีทักษะในการระงับความโกรธสูงนะ และกสิณไฟใหความรู้สึกแปลกด้วยนะ เช่นกำลังเพ่งนิมิตอยู่ดันรู้สึกเหมือนไฟไหม้อยู่รอบ...เอาหละสิ อย่าไปกลัวครับ
    กสิณไฟให้คุณมากมาย เอาทางโลกียญาณนะ
    แน่ๆเลยคืออำนาจจิตทรงพลังดุจไฟ ยิ่งผนวกกำลังสมาธิเข้าไปนะ...*0*
    ใช้รักษาโรคได้ โดยบังคับทางลมหายใจ เทคนิคแบบเดินลมปราณอะครับ-*-
    อย่าหลงคุณของมันนะครับ

    เอาแบบง่ายๆเลย จุดเทียนขึ้นมาหนึ่งเล่ม เอาให้ดวงไฟใหญ่ๆหน่อย
    อย่าให้มีลมพัดให้เปลวไฟไหวนะครับ เพ่งไปตรงไฟที่มันนิ่งๆอะครับ
    เพ่งๆๆบริกรรมว่า เตโชกสิณังๆๆๆ... ใช้หลักอานาปานสติควบคู่ไปด้วย
    แล้วให้หลับตา ดูซิจำไฟนั้นได้รึเปล่า บริกรรมเรื่อยๆอย่าหยุด พอภาพมันเลือนๆก็ลืมตาเพ่งไฟใหม่ ทำไปจนจำเป็นอารมณ์ คราวนี้ทำที่ไหนก็ได้และครับ
    เรื่อยๆแล้วจะเห็นนิมิตครับ(ตรงนี้เชิญผู้เชี่ยวชาญมาอธิบายต่อ) พอเก่งๆแล้วก็ไม่ต้องเตโชกสิณังแล้วครับ ระวังมีตาทิพย์นะครับ 555

    แต่ที่อยากจะแนะนำคือวาโยกสิณ มันไม่มีกสิณโทษ เพราะจำอารมณ์สิ่งที่ลมพัดไปโดน เช่น ใบไม้ไหว ถ้าอยากมาแนวสุนทรีย์ก็เพ่งลมเนี่ยครับ
    ทำเหมือนกัน แค่เปลี่ยนจากไฟเป็นลม บริกรรม วาโยกสิณังๆๆๆๆๆ...
     
  10. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    โมทนาสาธุธรรมกับท่าน <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->Namushakamunibutsu<!-- google_ad_section_end --> เรื่องเตโชกสิณ.....ดีแล้วครับ

    ผมว่าเอาอันเก่าให้ดีก่อนนะครับ.....ให้มันชัด..ค่อยไปกสิณ.....

    ยังไม่ถึงที่สุดจับกสิณก็เหมือนไปเริ่มนับ ๑ ใหม่.....นับ ๕ แล้ว ไปนับ ๑ ใหม่....ผมไม่แนะนำนะ....

    เอาอานา..ให้คล่อง....แล้วต่อวิปัสสนาให้ได้ก่อน...เมื่อเสร็จกิจ....อานา..ทั้งสมถะและวิปัสสนา....จะไปเล่นอย่างอื่น....ไม่ใช่เรื่องยาก.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2009
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    อานาปาณบรรพ


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู่บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
    เธอมีสติ หายใจเข้า มีสติ หายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
    นายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้นก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ดังพรรณนามาฉะนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่
    อนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ <O:p</O:p

    จบ อานาปาณบรรพ
    <O:p</O:p


    สติปัฏฐานสูตร ๑๒/๘๔ <O:p</O:p
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ไม่เข้าใจค่อยถามนะครับ....จะแนะนำแหล่งให้....
     
  13. nunattja

    nunattja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2007
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +1,035
    โมทนาด้วยค่ะ ตอนนี้ก็เริ่มเดินจงกรมมา 3 วันแล้วค่ะ รู้สึกว่า จิตเริ่มไม่ค่อยฟุ้งเท่าไหร่แล้ว เพราะว่า เราเอาจิตไปจ่อกับทุกย่างก้าวที่เดิน ให้รู้ว่าเรากำลังยก ย่าง ก้าวนะ บางครั้งก็ท่องพุทโธหรือว่านะมะพะธะไปแทน พอเราลองเดิน แล้วมานั่ง รูสึกว่าสมาธิมันดีขึ้นกว่าเก่าค่ะ จิตไม่ฟุ้งเหมือนแต่ก่อน
     
  14. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,653
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,019
    ถึงคุณ กิ่งขวัญ เเละอีกคนที่ถามเรื่องกสิณครับ คุณ กิ่งขวัญ เวลานั่งสมาธิ อย่าไปสนใจว่าจะเห็นนิมิตหรือไม่เห็นครับ ถ้าคิดอย่างนั้นจะกลายเป็นกิเลสไป กิเลสจะเป็นตัวขัดขวางให้เราไม่พัฒนาได้เเละเเย่กว่านั้นคือ อาจทําให้เราหลงไปเลยเป็นมิจฉาทิฏฐิครับ อันนี้ต้องระวังให้ดี สรุปคือไม่ว่าจะนั่งเเล้วเห็นหรือไม่เห็นอะไรก็ตาม เราก็ไม่ควรสนใจอยู่ดี ของพวกนี้ถึงเวลาเเล้วเค้าจะมาเองครับ เเต่อย่างที่บอก ถึงเค้ามาเเล้วก็ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่น เพราะถ้าหลงไปเเล้วกว่าจะกลับมาได้ค่อนข้างยากครับ ยิ่งถ้าหลงเเล้วไม่ฟังคนอื่นเตือนอีก อันนี้ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลยครับ เเต่ในความจริงกับเรื่องนิมิตนั้น ถ้าเรานั่งเเล้วเห็นครั้งเเรกๆ จิตของเราจะรู้สีกปีติ ตื่นเต้นในสิ่งที่เห็นเเน่นอนอยู่เเล้วเพราะธรรมดาจิตมนุษย์เป็นอย่างนี้ เเต่ยังไงเราต้องวางเขาลงครับ ถ้าเห็นเเล้วก็นึก เห็นหนอ เห็นหนอ ปล่อยให้เค้าผ่านไป ไม่ต้องไปยินดีหรืออะไรกับเค้า เรามีหน้าที่จับอยู่ที่ลมหายใจเเละคําภาวนาของเราพอครับ ส่วนเรื่องกสิณนั้น กสิณมีอยู่หลายประเภท เเต่วิธีที่ทุกคนทํากันได้คือ ขณะนั่งสมาธิ ให้เรานึกถึงพระพุทธรูปอยู่ตรงหน้าเราครับ นึกถึงพระพุทธรูปหรือพระสงฆ์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ท่านไหนก็ได้ที่เรานับถือ อันนี้ถือว่าเป็นกสิณได้เช่นกันครับ เวลาผมนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมอยู่ ผมก็นึกถึงภาพพระพุทธรูปสีทองอยู่ตลอดเวลา นึกได้บ้างไม่ได้บ้างก็อยู่ที่กําลังใจของเราครับ ถ้าเราเอาจริง ยังไงก็ต้องนึกได้ ขอฝากไว้เท่านี้ก่่อนครับ รอผู้รู้ท่านอื่นมาชี้เเนะต่อนะครับ ผมก็ยังต้องเรียนรู้จากเพื่อนๆพี่ๆน้องๆในนี้อีกต่อไปเช่นกันครับ เจริญในธรรมครับทุกท่าน อ้อ เรื่องนึกภาพพระพุทธรูปนั้น ให้เรานึกเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ครับ หรือให้ดีก็พยายามนึกให้ภาพพระเป็นประกายเพชร สีขาวใสได้จะดีมากครับ ถ้านึกไม่ได้ เราก็นึกถึงพระพุทธรูปสีทองไปก่อนได้ครับ เเล้วเเต่ศรัทธาครับ

    ปล นี่อะครับ นึกใ้ห้ได้เเบบสองรูปที่ผมให้มานี้อะครับ นึกให้ภาพท่านเป็นเพชรระยิบระยับได้ยิ่งดี เเต่ถ้ายังนึกไม่ออก ให้นึกถึงพระสงฆ์ที่เราชอบหรือพระพุทธรูปสีทองธรรมดาตามวัดก่อนก็ได้ครับเเล้วเเต่เราครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2009
  15. Jeerachai_BK

    Jeerachai_BK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    318
    ค่าพลัง:
    +821
    สาธุ ครับ

    การศึกษาก่อนปฏิบัติสมาธิ เป็นสิ่งที่ดี เมื่อเราได้สดับรับฟังความรู้เหล่าใด เราควรพินิจพิเคราะห์ความรู้เหล่านั้น การกระทำเช่นนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีพุทธจริต

    หลังจากเรา (ผู้ซึ่งมีพุทธจริต) ได้ศึกษาและทำความเข้าใจในภาคทฤษฎีและวิธีปฏิบัติ อย่างดีแล้ว (ไม่จำเป็นต้องทั้งหมด เอาเฉพาะส่วนที่เราต้องลงมือปฏิบัติ) เราควรประพฤติแบบศรัทธาจริต คือเชื่อมั่นในคำสอนนั้น และไม่ลังเลสงสัย ขณะปฏิบัติ อย่าฟุ้งซ่านคิดโน่นคิดนี่ อย่าคาดหวังผลของสมาธิ อย่าเปรียบเทียบกับบุคคลอื่น เพราะทั้งหมดที่เรากำลังทำนี้ เกี่ยวข้องโดยตรงกับเราผู้เดียว คือเป็นการพัฒนาจิตของเรา

    ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า
    "อัตตา หิ อัตตาโน นาโถ" ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
    "อัตตา หะเว ชิตัง เสยโย" ชนะตนนั่นแหละประเสริฐกว่า
    "อัตตานัง ทะมะยันติ ปัณฑิตา" บัณฑิตย่อมฝึกตน
    "อัตตะนา โจทะยัตตานัง" จงเตือนตนด้วยตนเอง
    "นัตถิ สันติปะรัง สุขัง" ความสุขอื่นยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี
    "สุสสูสัง ละภะเต ปัญญัง" ฟังด้วยดีย่อมไ้ด้ปัญญา
    "กะยิรา เจ กะยิราเถนัง" ถ้าจะทำก็ควรทำให้จริง
    "ธัมโม สุจิณโณ สุขะมาวะหาติ" ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
    "ขันติ หิตะสุขาวะหา" ความอดทนนำสุขมาให้
    "อัปปัตโต โน จะ อุลละเป" เมื่อความสำเร็จยังไม่มาถึง ไม่พึงพูดโอ้อวด
    "สติ สัพพัตถะ ปัตถิยา" สติจำเป็นในที่ทั้งปวง

    ที่มา: พุทธศาสนสุภาษิต
     
  16. กิ่งขวัญ

    กิ่งขวัญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +701
    กราบขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ สำหรับคำสอนของทุกท่าน ดิฉันจะนำไปปฏิบัติอย่างตั้งใจ โดยส่วนตัวเวลาอ่าน comment ของคุณ Phanudet, คุณวิญญาณนิพพาน และ คุณ Jeerachai BK จะรู้สึกชื่นชมและได้รับความรู้อย่างมากอยู่แล้ว นี่กระมังที่เรียกว่าเป็นกัลยาณมิตรทางธรรม ขอบพระคุณอีกครั้งนะคะ
    ป.ล. รบกวนคุณ Phanudet แนะนำแหล่งให้ด้วยค่ะ
     
  17. ทิดทิด

    ทิดทิด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +203
    ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้
    ผมทำสมาธิ 3 อย่างแล้วครับ
    1. นั่งสมาธิ ทำบ่อยมากครับแต่ใจฟุ้งซ่านคิดว่าไม่เหมาะกับจริตก็เลยลองแบบที่สอง
    2. เดินจงกลม ก็ฟุ้งซ่านเหมือนกันแต่น้อยกว่านั่ง และไม่ง่วงด้วย แต่ต้องทำที่มีแสงสว่างพอสมควรและใช้พื้นที่มาก ดีเหมือนกันครับ แต่ลองแบบที่สามด้วยคือ
    3. เพ่งกสิณสีแดงครับ Print แผ่นวงกลมสีแดงมาเพ่ง ครับ พยายามให้ภาพติดตาตอนหลับตาให้นานที่สุด แต่ได้แค่แป๊บเดียว ทำนานเป็นชั่วโมงก็ยังไม่เห็นผลครับ
    สุดท้ายผมทำทั้งสามแบบครับแบบ 1 กับ 2 ทำบ่อยสุด คิดว่าถ้าพยายามให้มากสักวันคงจะเห็นผลครับ สู้ๆ ครับ
     
  18. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    อารมณ์ของสมาธิ คือ รู้ ตื่น เบิกบาน

    ถ้าการนั่งสมาธิของเรา นั่งสลึมสลือ ง่วง ไม่รู้แม้กระทั่งลมหายใจ เข้า - ออก อย่างนั้นอย่านั่งเลย เสียเวลาและประสาทกำลังถามหา เพราะกดดัน จิตตัวเอง

    การเดินจงกรมทำให้เรา รู้ ตื่น เบิกบาน นั่นคือ มีอารมณ์ของสมาธิ เมื่อได้อารมณ์นี้แล้ว ก็พึงเข้าสู่ที่นั่งที่เตรียมไว้ได้เลย กำหนดอารมณ์นี้ให้ได้นานเท่านาน และมั่นคงตลอดไป จักเป็นฐานของจิตที่จะนำเข้าสู่สมาธิ ฝึกให้จำได้ และชำนาญ เวลาจะใช้ก็...กำหนดจิตปุ๊บ สมาธิก็เกิดปั๊บ ....ทันที

    ถ้าเราจำอารมณ์สมาธิได้แล้ว นั่งตรงไหน ว่าง ๆ ก็กำหนดจิตเข้าสู่อารมณ์นั้นทันที ก็เป็นสมาธิได้เหมือนกัน ทำบ่อย ๆ ไม่ต้องมากหรอก จำได้หมายรู้ในการกำหนดอารมณ์ ให้คล่อง ก็เท่านั้นเอง...........สมาธิ จะว่าง่ายก็ง่ายถ้าเข้าใจ จะว่ายาก ก็ยาก ถ้าไม่เข้าใจ มันอธิบายสิ่งที่ไม่มีตัวตนออกมาเป็นภาษาพูดจึงยากหน่อย ต้องทำไป ถามไปจากผู้รู้จริง จะก้าวหน้าไปได้เร็ว..........ขอให้เจริญในธรรมจงมีแด่ผู้พากเพียรพยายาม ครับ.
     
  19. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    หนังสือ วิธีการฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ(รวบรวมอานา และสถาวะที่เกิดในขณะปฏิบัติที่มักถามกันอยู่เสมอ...กรรมฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง..การต่อไปสู่วิปัสสนาโดยใช้อานาเป็นฐาน...บุคคลตัวอย่าง)

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7

    และพระธรรมเทศนา อานาปาณบรรพ โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ....

    <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ยกการกราบนี้ขึ้นสู่แทบพระบาทพระศาสดาและครูบาอาจารย์ทั้งหลายเถอะนะครับ......ความรู้ที่ได้เป็นของท่าน....ไม่ใช่ของผม.....ผมยังไม่เหมาะสมสำหรับการกราบของผู้ใด......
     

แชร์หน้านี้

Loading...