พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมอยากจะเชิญชวนท่านสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้าทุกท่าน ให้ใช้รูปแทนตัวเป็นรูปที่แสดงว่า เราเป็นสมาชิกชมรม และเปิดเผยตัวว่า เราก็เป็นสมาชิกท่านนึงในชมรม ส่วนรูปนั้น หากท่านใดมีความประสงค์ที่จะให้ผมทำให้ หรือให้คุณpsombat ทำให้ก็แจ้งมานะครับ ยินดีครับ

    ส่วนวิธีการนำรูปไปทำอย่างไร ไว้ผมจะนำวิธีการมาลงให้ทราบอีกครั้งครับ

    โมทนาสาธุครับ
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สำหรับ กลุ่มหรือชมรมพระวังหน้า ในเว็บพลังจิต จะเป็นคนละส่วนกันกับ ชมรมรักษ์พระวังหน้า


    กลุ่มหรือชมรมพระวังหน้า
    กลุ่มชมรม ในหมวด พระเครื่อง-วัตถุมงคล
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR vAlign=bottom><TD> </TD><TD width="100%">PaLungJit.com > กลุ่มชมรม </TD></TR><TR><TD class=navbar style="FONT-SIZE: 10pt; PADDING-TOP: 1px" colSpan=3>[​IMG] พระเครื่อง-วัตถุมงคล </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ส่วนชมรมรักษ์พระวังหน้า เกิดจากผู้ที่มีความสนใจในเรื่องของพระวังหน้า เข้ามารวมตัวกันเพื่อศึกษาในเรื่องราวต่างๆของพระวังหน้า (รายละเอียด(บางส่วน) จะมีอยู่ในกระทู้ ชมรม รักษ์พระวังหน้า ในกลุ่มหรือชมรมพระวังหน้า เว็บPaLungJit.com ) ซึ่งมีการนัดประชุมและพบปะสังสรรค์กันในเกือบทุกๆเดือนๆละ 1 ครั้ง

    โมทนาสาธุครับ
     
  3. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    ด้วยความยินดีครับ .... ผมใช้ ACDSee Pro 2.5 กับ Snagit 9 ครับ
     
  4. แหน่ง

    แหน่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    741
    ค่าพลัง:
    +768

    เดี๋ยวนี้ท่านสมบัติก้าวหน้าไปไกลมากเลยนะครับ

    ดู Logo ของท่านแล้วสุดยอดจริงๆๆๆ

    โมทนาสาธุ นะครับ

    ยังงัยผมจะค่อยๆ คืบคลานตามไปครับผม
     
  5. แหน่ง

    แหน่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    741
    ค่าพลัง:
    +768

    โมทนาสาธุ ครับ
     
  6. แหน่ง

    แหน่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    741
    ค่าพลัง:
    +768

    โมทนาสาธุ ครับ
     
  7. แหน่ง

    แหน่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    741
    ค่าพลัง:
    +768

    ทำยังงัยครับ

    สอนมั่งดิ
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมได้แก้ไขให้แล้วครับ ลองดูพระคาถา ๒ บทนี้มีความคล้ายคลึงกันมาก...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2009
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วิธีการนำรูปเป็นรูปแทนตัว



    1.ไปที่ ข้อความส่วนตัว

    [​IMG]

    2.เมื่อหน้าจอไปยัง ข้อความส่วนตัวในแฟ้ม

    [​IMG]

    3.เมื่อมาถึงหน้าจอ แก้ไขรูปแทนตัวเอง

    [​IMG]

    4.เลื่อนลงมาด้านล่าง ให้กด Browse เพื่อที่จะไปยังรูปที่ต้องการ แล้วคลิกที่รูป กด Open เพื่อนำรูปมายังเว็บพลังจิต

    [​IMG]


    5.สุดท้ายก็ให้กดที่ปุ่ม เก็บข้อมูลที่ถูกเปลี่ยน

    [​IMG]

    เพียงเท่านี้ ก็จะได้รูปแทนตัว ที่ต้องการแล้วครับ

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วิธีการนำรูปเป็นรูปแทนตัว



    1.ไปที่ ข้อความส่วนตัว

    [​IMG]

    2.เมื่อหน้าจอไปยัง ข้อความส่วนตัวในแฟ้ม

    [​IMG]

    3.เมื่อมาถึงหน้าจอ แก้ไขรูปแทนตัวเอง

    [​IMG]

    4.เลื่อนลงมาด้านล่าง ให้กด Browse เพื่อที่จะไปยังรูปที่ต้องการ แล้วคลิกที่รูป กด Open เพื่อนำรูปมายังเว็บพลังจิต

    [​IMG]


    5.สุดท้ายก็ให้กดที่ปุ่ม เก็บข้อมูลที่ถูกเปลี่ยน

    [​IMG]

    เพียงเท่านี้ ก็จะได้รูปแทนตัว ที่ต้องการแล้วครับ

    .<!-- google_ad_section_end -->
     
  11. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    ขอบคุณครับ ผมเองก็ค่อยๆคืบคลานไปเรื่อยๆเช่นกันครับ :) ว่าแต่ท่านพี่มูฯของเราหายไปไหนนา ท่าทางจะงานเข้าเนอะ ยังไงก็ขอให้รักษาสุขภาพกายกันด้วยนะครับ เพื่อที่จะได้ร่วมงานปู่ได้อย่างเต็มกำลัง คิดถึงเพื่อนสมาชิกฯทุกๆคนครับ
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ่า แล้วรูปที่ส่งให้ ดีป่าวครับ แรงป่าวครับ หุหุหุ
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    มาถึงหิ้งพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็เลยนำภาพหิ้งพระปัจเจกพุทธเจ้ามาฝากสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้ากัน บ่อยครั้งที่นึกท้อใจ เมื่อได้มาเพ่งมองดูดวงพระเนตรขององค์พระปัจเจกพุทธเจ้าที่บูชามาจากบ้านสายลม(สาขาหนึ่งของวัดท่าซุงเป็นผู้จัดสร้าง จัดสร้างด้วยเนื้อเรซิ่น) เมื่อบูชาด้วยพระคาถาปัจเจกโพธิ์ ๕-๗-๙ จบ ด้วยความศรัทธาสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวันก็จะบังเกิดผลเป็นคุณเอนกอนันต์ ผมก็ได้เสาะหาพระบรมธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้าจากเขาสามร้อยยอด และคุณหนุ่มได้มอบพระบรมธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้ามาให้ด้วย เพื่อนๆชาวรักษ์พระวังหน้า ก็คงจะได้รับโอกาสรับมอบจากคุณหนุ่ม(ผู้ใจดี)ตามเหตุปัจจัยของการไปร่วมบุญที่บ้านอาจารย์ปู่ประถมกันบ้างแล้วใช่ไม๊ครับ ผมเลยนำภาพพระบรมธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้าของเขาสามร้อยยอด และของวังหลวงที่คุณหนุ่มกรุณามอบให้ด้วยนะครับ

    ประวัติและบทสวดพระคาถาปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ ทำให้มีโภคทรัพย์มากมาย

    ประวัติพระคาถาปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ พระคาถาปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์นี้ หลวงพ่อปาน (พระครูวิหารกิจจานุการ) วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เรียนมาจากครูผึ้ง จังหวัดนครศรีธรรมราช (ท่านทำทานให้ขอทานครั้งละ ๑ บาท ซึ่งสมัยนั้นก๋วยเตี๋ยวข้าวแกงจานละห้าสตางค์เอง) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ หลวงพ่อปาน หร้อมด้วยคณะได้เดินทางไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทิศเหนือได้ไปถึงเชียงตุงของพม่า ทิศตะวันออกไปสุดภาคอีสาน และได้ขออนุญาตข้ามเขตไปในอินโดจีนของฝรั่งเศส ถึงประเทศญวน ทิศใต้ได้ไปถึงปีนังของอังกฤษ พบท่านครูผึ้ง เมื่อไปถึงนครศรีธรรมราช ในเย็นวันที่ได้ไปถึงนั่นเองขณะที่หลวงพ่อเข้าห้องจำวัดพักผ่อน โดยมีพระภิกษุอุปัฏฐากกับทายกคอยเฝ้าอยู่หน้าห้องพักนั้น ประมาณเวลา ๑๗.๐๐ น. ได้มีผู้มีอายุท่านหนึ่ง รูปร่างเพรียว ท่าทางสง่า ผิวขาว นุ่งห่มผ้าม่วงสีน้ำเงิน สวมเสื้อนอกราชประแตนกระดุมห้าเม็ด ถุงเท้าขาว รองเท้าคัชชูสีดำ สวมหมวกสักหลาด ถือไม้เท้าเลี่ยมทอง ได้มาหาพระอุปัฏฐาก ถามว่า "หลวงพ่อตื่นแล้วหรือยัง" ก็พอดีได้ยินเสียงหลวงพ่อพูดออกมาจากห้องว่า "ไม่หลับหรอก แหมนอนคอยอยู่ คิดว่าผิดนัดเสียแล้ว" แล้วหลวงพ่อก็เดินออกมาจากห้องพัก เมื่อนั่งลงแว ผู้เฒ่าผู้มาหาพูดว่า "ผมไม่ผิดนัดหรอกครับ เห็นว่าท่านเพิ่งมาใหม่ๆ กำลังเหนื่อย และมีคนมาคอยต้อนรับกันมาก ก็เลยรอเวลาไว้ก่อน ตอนเย็นนี้คิดว่าว่างจึงเข้ามาหา" ขณะที่ท่านเห็นท่านทั้งสองพูดคุยกันอยู่นั้น สร้างความสงสัยให้แก่คณะที่ได้ไปด้วยกันเป็นอันมาก เพราะไม่เคยเห็นว่าคนทั้งสองพบหน้ากันที่ไหนเลย ทำไมจึงพูดกันถึงเรื่องนัดหมาย ขณะที่คณะเกิดสงสัยนั่นเองหลวงพ่อได้พูดว่า "พวกเราสงสัยหรือ? ไม่ต้องสงสัยอะไรอีกต่อไป โยมผู้เฒ่านี้ได้ทางใน ฉันพบกับโยมตั้งแต่เดินทางมาถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และได้นัดหมายกันไว้ว่าจะมาพบกันที่นี่ ต่อไปนี้พวกเราจะพ้นความยากจนแล้ว เพราะโยมผู้นี้มีของดี แล้วหลวงพ่อก็พูดกับพ่อเฒ่านั้นว่า "โยมมีของดี ก็เอาของดีออกมาอวดพวกนี้หน่อยสิ หรือมีอะไรขัดข้อง?" ท่านผู้เฒ่าได้บอกว่า ท่านชื่อผึ้ง อายุ ๙๙ ปี ท่านครูผึ้งเล่าประวัติพระคาถา มองดูแล้วคนในคณะที่ไปกับหลวงพ่อ อายุ ๕๐ ปีเศษ เหมือนจะแก่กว่าท่านหรือเท่าๆกับท่าน เมื่ออายุท่านได้ประมาณ ๔๐ ปี ได้มีพระธุดงค์เดินทางมารูปเดียว ท่านเห็นพระรูปนั้นแล้วรู้สึกเลื่อมใสมาก จึงได้นิมนต์ให้พักอยู่เพื่อบำเพ็ญกุศล ๔ วัน ได้ปฏิบัติท่านอย่างดีเท่าที่จะทำได้ ได้เรียนกรรมฐานจากท่าน ท่านได้สอนให้เป็นอย่างดี เมื่อจะกลับท่านพูดว่า "โยม ฉันจะลากลับ ต่อไปจะไม่ได้มีโอกาสผ่านมาอีก หากโยมอยากพบอาตมา ก็ขอให้จุดธูปอาราธนาพระ แล้วอาตมาจะมาพบทางใน" แล้วท่านก็ได้มอบพระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์โปรดสัตว์บทนี้ให้ พร้อมทั้งอธิบายวิธีปฏิบัติ ท่านว่าทำเพียงเท่านี้พอเลี้ยงตัวรอด เงินทองของใช้ไม่ขาดมือ ถ้าปฏิบัติเป็นกรรมฐาน ทำให้ถึงฌานแล้วจะร่ำรวยเป็นเศรษฐี โยมเอาพระคาถาบทนี้ภาวนาเป็นกรรมฐานเถิดนะ ไม่เกิน ๒ ปี โยมจะรวยใหญ่ เงินทองจะหลั่งไหลมาเอง พระคาถาบทนี้ของพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ตระกูลอาตมาได้รำเรียนสืบต่อกันมาทุกคน ไม่มีใครจน อย่างต่ำสุดก็พอเลี้ยงตัวรอด ให้หลวงพ่อปานเรียนพระคาถา เมื่อพูดจบได้มอบพระคาถาให้หลวงพ่อเรียนแล้วบอกว่า ได้โปรดอย่าปิดบังพระคาถาบทนี้เลย ขอได้กรุณาแจกเป็นธรรมทานด้วย แล้วหลวงพ่อก็หลับตาเข้าสมาธิ ท่านครูผึ้งก็หลับตาเข้าสมาธิ ต่างคนต่างหลับตา ประมาณ ๕ นาที ก็ลืมตาขึ้นพร้อมกัน ต่างคนต่างยิ้ม เสียงท่านครูผึ้งพูดว่า "ผมดีใจด้วยที่ต่อไปเบื้องหน้าท่านจะได้ศิษย์คู่ใจ" หลวงพ่อก็หัวเราะ ตอบคำถามหลวงพ่อ หลวงพ่อถามว่า "ท่านอาจารย์ทำนานนักไหมจึงจะรู้ผล" อาจารย์ตอบว่า "ไม่นานครับ ประมาณตอนแรก ผ่านไปเริ่มรู้ผล ผลระยะแรกให้ผลในทางกินก่อน เช่นหุงข้าวตามธรรมดาคนกินในบ้านก็กินเท่าเดิม เพิ่มการใส่บาตร แต่ข้าวเหลือ ผมเคยได้ถามว่า คนหุงทำไมหุงมากนัก เขาบอกว่าหุงเท่าเดิม ผมจึงสั่งให้ลดจนเหลือครึ่งจำนวนพอดี" เงินเริ่มเพิ่ม "เมื่ออาหารเริ่มลดความหมดเปลือง รายได้ก็เพิ่มขึ้นในระยะ ๑ ปีที่ผ่านไป เรื่องการเงินเริ่มไหวตัว เงินในที่เก็บเริ่มเกินบัญชี เงินจากร้านค้านับมาว่าพอดี พอรุ่งขึ้นมาตรวจเงิน มากกว่าจำนวนทุกที ดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะทำอะไรเป็นเงินเป็นทองไปหมด เดี๋ยวนี้ผมทำอะไรไม่ไหว แต่ผมก็มีรายได้ทุกวัน ใครไป ใครมา ขากลับคนนี้ให้บ้าง คนนั้นให้บ้าง คิดเฉลี่ยผมมีรายได้วันละประมาณเกือบร้อยบาท พระคาถาบทนี้ศักดิ์สิทธิ์มากครับ" ทำเป็นกรรมฐาน หลวงพ่อได้ถามว่า "ท่านอาจารย์ทำอย่างไร" อาจารย์ตอบว่า "ผมทำเป็นกรรมฐานเลยครับ ทำจนสว่าง หลับตาลงแล้วเกิดความสว่างขึ้น ได้เห็นพระพุทธรูปบ้าง พระสงฆ์บ้าง มีอยู่องค์หนึ่งครับจีวรสวยมาก ไม่เหมือนจีวรพระธรรมดา แล้วเริ่มเห็นเงิน คราวแรกๆเป็นจำนวนน้อยๆ ต่อมาก็เห็นเป็นจำนวนมากตามลำดับ จนถึงกองใหญ่ ทำอะไรนิดทำอะไรหน่อยก็ดีไปหมด คนอื่นเขาทำขาดทุน ผมลองไปบ้างก็มีกำไรดีเสียด้วย" ของเพิ่ม "มีเองแปลกอีกครับ นอกจากเงินเพิ่มแล้วของก็เพิ่มด้วย ข้าวของที่มีอยู่หรือหามาใหม่ มีบัญชีจดไว้ครบถ้วน ครั้นไปตรวจคราวใดของเกินบัญชีทุกที" เคล็ดลับ หลวงพ่อถามว่า "มีเคล็ดลับอะไรบ้างในการนำของเข้าออก และการเก็บเงินใช้เงิน" อาจารย์ตอบว่า "มีครับ แหมผมเกือบลืมบอก ดีแล้วครับ ถามดีมาก เรื่องนำข้าวของไม่ว่าเป็นอะไร จะเป็นของกินของใช้ ของขายก็ดี ผมทำน้ำมนต์ด้วยพระคาถาบทนี้ เมื่อนำข้าวของเข้าบ้าน ผมเอาใบพลู ๓ ใบ จุ่มน้ำมนต์พรมของนั้น ๓ หน พรม ๑ หน ว่าพระคาถาหนึ่งบท" การนำเงินเข้าเก็บและการนำออกใช้ "เมื่อนำเงินเข้าเก็บ และนำเงินออกใช้ ให้ว่าพระคาถานี้เท่ากับจำนวนที่สวดบูชาพระ เช่นปกติสวด ๗ จบเมื่อเงินเข้าเก็บก็ว่าพระคาถานี้ ๗ จบนะลูก" แล้วต่อมาประมาณ ๒ ปีเศษ นายประยงค์ ได้เล่าให้หลวงพ่อเล็กฟัง มีอาการเหมือนท่านครูผึ้งทุกประการ ท่านเล่าว่าเมื่อก่อนทำพระคาถานี้ "ผมยากจน ขายของก็ยาก เดือนไหนมีกำไรถึง ๒๐๐ บาท เดือนนี้สบายแล้วครับ หลวงพ่อจะเอาเท่าไหร่ผมถวายทั้งนั้นขอให้บอกมาเถอะ หลวงพ่อออกปากผมไม่หนักใจเลย หลวงพ่อเรียกเอาเงิน ดูเหมือนผมจะยิ่งได้มากขึ้น แปลกครับ" นี่เป็นถ้อยคำของนายประยงค์ ศิษย์คนแรกในการเรียนพระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์โปรดสัตว์ของหลวงพ่อปาน ซึ่งเรียนมาจากท่านพระครูผึ้งดังกล่าว อภินิหารพระคาถาและเงินงอก นายประยงค์เล่าเรื่องอาหารรับประทานไม่หมดเปลืองเหมือนท่านพระครูเล่า ยังเล่าต่อไปอีกว่า "เรื่องยาไทยที่ห้างก็แปลก เมื่อทำยาเสร็จ แล้วก็ได้ลงบัญชีไว้ครบ ครั้นเมื่อขายไปครบตามจำนวนเงินก็ได้ตามบัญชี แต่ยานั้นยังเหลืออีก ในตอนแรกผมคิดว่าเจ้าหน้าที่นับไม่ถ้วน ต่อมาผมตรวจเองก็เป็นอย่างนั้นเสมอ" นายห้างเล่าต่อว่า "ปกติขายยาได้เงินมานำเข้าธนาคารทุกวัน เมื่อเบิกเงินเพื่อใช้จ่าย ผมยังไม่ยอมนับเงินนั้น และไม่ใช้ในวันนั้น ผมเอาเข้าที่เก็บก่อนหนึ่งคืนตามวิธี พอรุ่งขึ้นออกตามวิธี ตามที่ได้สังเกตและจำได้ เงินหนึ่งหมื่นเมื่อเก็บแล้วคืนหนึ่ง เมื่อเอาออกมานับในวันรุ่งขึ้นจะได้เกินกว่าหนึ่งพันเสมอ นี่ก็เป็นอภินิหารอย่างหนึ่ง ยังเป็นเมตตามหานิยมในตัวอีกด้วย ผมสบายใจแล้วครับ เงินก็มีใช้ บุญก็ได้ทำอย่างชนิดไม่ต้องอั้นเลย นายประยงค์บอกว่า "ผมสู้คุณย่าผมไม่ได้ ท่านเป็นผู้ภาวนาพระคาถานี้วันยังค่ำ เว้นไว้แต่เมื่อมีผู้ไปคุยกับท่านเท่านั้น ท่านภาวนาไม่ว่าท่านจะยืน เดิน นั่ง นอน ท่านไม่ยอมให้ว่างเลยครับ ผลที่ได้หรือครับ เซฟที่วางอยู่หน้าที่บูชา ๓ เซฟ เป็นเซฟเปล่าทั้งสิ้น วันหนึ่งท่านเรียกพวกเราไปหาท่าน ให้ไขเซฟดู ปรากฏว่าเต็มไปด้วยธนบัตรใบละร้อย เมื่อถามท่าน ท่านเล่าให้ฟังว่าเงินมาเองด้วยอำนาจพระคาถานี้" เราถามท่านว่ารู้ได้อย่างไร ท่านบอกว่า "เมื่อคืนนี้ย่ากำลังภาวนาพระคาถานี้อยู่ เกิดอารมณ์สบายเคลิ้มไปอย่างไม่รู้ตัวสักครู่ พอรู้สึกตัวเห็นแสงสว่างพุ่งเป็นลำเข้าไปในเซฟ มีเสียงบอกว่า "เงินมา เงินเข้าเซฟ ทำใจให้สบายไว้" ย่าเลยทำใจให้สบาย คุมสมาธิไว้ครู่หนึ่ง ต่อไปแสงนั้นก็หายไป ย่าก็เลยหลับไป เท่านี้แหละลูก พระคาถานี้ท่านดีจริงๆ อย่าทิ้งนะลูก พวกเอ็งเอาเงินไปจะทำอะไรก็ทำเถิด แต่อย่าลืมทำบุญด้วยนะ ทำมากเท่าไรยิ่งดี"

    พระคาถาของพระปัจเจกโพธิ์นี้ ท่านพระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน) ได้ไปเรียนมาจากครูผึ้ง ท่านเรียนมาแล้วได้ปฏิบัติเห็นผลมามาก ถึงคนอื่นๆ ที่ท่านให้เรียนต่อ นำเอาไปปฏิบัติตาม ก็ได้บังเกิดผลมาแล้วมากหลาย
    ผู้ที่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระคาถานี้ ต้องเป็นผู้ที่ใส่บาตรแก่พระภิกษุสงฆ์อยู่เสมอเป็นนิจ แม้แต่ ๑ องค์ขึ้นไปทุกๆ วันมิได้ขาด รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ หมั่นสวดมนต์ และว่าพระคาถานี้ ๓-๕-๗-๙ จบ เมื่อจะใส่บาตร ให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยก่อนแล้วจึงจบขันข้าว และให้ว่าพระคาถานี้ ๓-๕-๗-๙ จบ เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้วให้ระลึกถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และพระปัจเจกโพธิ์ ครูผึ้ง อาจารย์เนียร ตลอดจนพระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน) วัดบางนมโคเป็นที่สุด ขอให้จงมาโปรดข้าพเจ้าด้วย (หมายถึงผู้ที่กำลังปฏิบัติอยู่) แล้วหาน้ำที่สะอาดมากรวดน้ำ เพื่ออุทิศส่วนบุญและกุศลไปถึง ปู่-ย่า-ตา-ยาย-บิดา-มารดา และญาติมิตรสหายที่ล่วงลับไปแล้ว ตลอดถึงผู้มีพระคุณทั้งหลาย เวลาค่ำบูชาพระสวดมนต์แล้วว่าพระคาถานี้อีก ๓-๕-๗-๙ จบ และถ้าใครปฏิบัติดังนี้ทุกวันเป็นนิจ จะมีลาภและความสุขความเจริญ เพราะท่านพระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน) วัดบางนมโค จะโปรดบุคคลทั้งหลายที่ยากจนขัดสน เพื่อให้พ้นทุกข์จากความอดอยาก แต่ท่านห้ามประพฤติความชั่ว ต้องรักษาศีล ๒ ข้อ ที่สำคัญที่สุด ให้ได้แน่นอนก่อนปฏิบัติพระคาถานี้คือ
    ๑. อทินนาทาน เว้นจากการลักทรัพย์หรือหยิบฉวยสิ่งของ ที่เจ้าของเขาไม่อนุญาตมาเป็นสมบัติของตน
    ๒. เว้นจากการดื่มเสพสุรายาเมาทุกชนิด กับห้ามใช้ในทางมิจฉาชีพทุกชนิด และการพนันต่างๆ ด้วย

    ถ้าผู้ใดรักษาศีล ๕ ได้ทั้งหมดก็ยิ่งดี ผู้ใดประพฤติได้ดังนี้แล้ว จงปฏิบัติตามพระคาถาของพระปัจเจกโพธิ์ จะเห็นคุณในไม่ช้าเพียงเวลา ๖ เดือนก็ทราบได้ ถ้าใครทำนานๆ ได้หลายปีก็จะมีความสุขยิ่งขึ้นไป ทั้งชาตินี้และชาติหน้า ใครได้ปฏิบัติตามจงกระทำใจให้ผ่องแผ้ว ระลึกถึงพระรัตนตรัย และพระปัจเจกโพธิ์ให้เที่ยงแท้ (อย่าได้ระแวงหรือสงสัย) และให้สังเกตดูให้ละเอียดต่อไปนี้

    คือให้ตวงข้าวสารที่เคยรับประทาน เดือนหนึ่งหมดเปลืองเท่าไร ปฏิบัติพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์ถึงเดือนหนึ่ง จะเหลือข้าวสารเท่าไร ปฏิบัติติดต่อทุกๆ เดือนไป ข้าวสารจะหมดหรือลดน้อยลงเท่าไร ข้าวสุกหุงแล้วเหลือไว้มื้อหลัง และมื้อต่อๆ ไปจะไม่บูด และผู้ที่ตกข้าวเปลือก เมื่อจะขนเข้ายุ้งหรือพ้อม ตวงถังแรกให้ว่าพระคาถานี้ ๓-๕-๗-๙ จบ ตวงถังสุดท้ายก็ให้ว่าพระคาถานี้อีก ๓-๕-๗-๙ จบ เช่นเดียวกัน แล้วให้จดไว้ว่ามีอยู่กี่เกวียน กี่บั้น กี่ถัง ครั้นเมื่อจะขนออกจากยุ้งหรือพ้อม เพื่อการค้าหรือใช้เอง ตวงถังแรกให้ว่าพระคาถานี้ก่อน ๓-๕-๗-๙ จบ ตวงถังเมื่อจะเลิกก็ให้ว่าพระคาถานี้อีก ๓-๕-๗-๙ จบ เหมือนกัน แล้วให้จดไว้ว่ามีกี่เกวียน กี่บั้น กี่ถัง ให้สังเกตว่าข้าวเปลือกจะตวงได้มากออกไปกี่เกวียน กี่บั้น กี่ถัง ก็คงจะรู้สรรพคุณของพระคาถานี้ได้

    ผู้ที่ทำนาเมื่อจะหว่านข้าวเปลือกนาอันไหน พันธุ์ข้าวที่จะหว่านกำแรกก็ว่าพระคาถานี้ ๓-๕-๗-๙ จบ ก่อน เมื่อหว่านข้าวหมดแล้วก็ให้ว่าพระคาถานี้อีก ๓-๕-๗-๙ จบ ข้าวจะงอกงาม แมลงและสัตว์ที่เป็นอันตรายกับต้นข้าวจะไม่รบกวนต้นข้าวเลย

    ผู้ที่ทำการค้าขาย เวลาจะซื้อหรือเวลาจะขายก็ให้ว่าพระคาถานี้ ๓-๕-๗-๙ จบ ค้าขายจะมีกำไร ทรัพย์สินก็จะงอกงามผิดปกติ

    ผู้ที่ทำราชการหรือทำงานรับจ้าง ทำนา ทำสวน ค้าขาย หรือเป็นแม่ครัวหุงข้าว ต้มแกงเป็นต้น เมื่อจะทำให้ว่าพระคาถานี้ก่อน ๓-๕-๗-๙ จบ

    ผู้ใดทำได้ละเอียดเรียบร้อยดังกล่าวมาแล้วนี้ และปฏิบัติการข้างต้นอย่าให้ขาดได้ จะเห็นคุณและมีลาภมาก จะมีของสิ่งไรอยู่ ใช้ไม่ค่อยหมดเปลืองเหมือนเช่นเคย มีแต่งอกงามเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป จะทำนา ทำสวน รดน้ำพรวนดิน เพาะปลูก หรือซื้อขายสิ่งใดๆ ให้บูชาพระคาถานี้ก่อนทุกๆ ๓-๕-๗-๙ จบแรก และทุกๆ ๓-๕-๗-๙ จบหลัง

    หรือถ้าจะถามพระคาถานี้เป็นการเสี่ยงทายก็ได้ การถามควรถามครั้งละ ๑ อย่าง อย่าถามหลายๆ อย่างรวมกัน จะไม่เกิดผล ถ้าถามครั้งละอย่างจะได้ผลดี คือผู้ใดจะคิดทำอะไรดีไม่ดี ก็ให้บูชาพระคาถานี้ด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน แล้วหักไม้วัดให้ยาวเสมอคืบของตนพอดี และว่าพระคาถานี้ แล้วจงอธิษฐานว่า สิ่งที่ตนนึกตนคิดอยู่ในเวลานี้ ตนจะทำเป็นผลสำเร็จดีงามแล้ว ขอให้ไม้วัดยาวออกไปกว่าคืบ ถ้าจะไม่เกิดผล ไม่ดีไม่งาม ขอให้ไม้นี้สั้นเข้ามาไม่ถึงคืบ ได้มีผู้ปฏิบัติเห็นผลจริงแล้วมากราย

    ฉะนั้นจึงพิมพ์แจกในงานนี้ เพื่อให้เป็นสาธารณประโยชน์ทั่วไป ถ้าใครทำเห็นผลพิศดารอย่างไรก็ขอให้บอกเล่ากันต่อๆ ไป ด้วยเพื่อบุญกุศล ในครัวเรือนหนึ่ง ควรเล่าบ่นพระคาถานี้ให้ได้ทุกๆ คนในครัวเรือนนั้น แล้วผลัดกันใส่บาตร ถ้าหากว่าใส่บาตรไม่ทัน จบเอาไว้แล้วนำเอาไปถวายพระเช้าหรือเพลก็ได้ หรือจบแล้วฝากคนอื่นใส่แทนก็ได้ แต่ระวังอย่าให้ขาดหรือเว้นได้จนวันเดียว ลาภที่เกิดแล้วแต่หนหลังจะได้ไม่ถดถอยไป
    ถ้าท่านผู้ใดนำเอาพระคาถา หรือหนังสือนี้ไปเรี่ยไร หรือซื้อขายแรกเปลี่ยน จะทำพระคาถานี้ไม่สำเร็จไม่เกิดผล เพราะท่านเจ้าของไม่พึงปรารถนาในเชิงนี้ ท่านยินดีให้เป็นธรรมทานจริงๆ

    ฉะนั้น ถ้าผู้ใดต้องการอยากได้ ก็ขอให้คัดลอกเอาไปเป็นทาน อย่าได้คิดผลประโยชน์ต่อผู้ที่คัดลอกเป็นอันขาด หรือท่านผู้ใดสนใจต้องการหนังสือพระคาถานี้ ให้ขอไปยังข้าพเจ้า ยินดีให้ท่านเสมอ ไม่ยอมให้เมื่อฝากคนอื่นขอแทน ผู้ใดจะปฏิบัติพระคาถานี้เพื่อความสุขความเจริญต่อไปภายภาคหน้า ตลอดบุตร หลาน เหลน ให้วงศ์ตระกูลของท่านแล้ว โปรดทราบไว้เพื่อความสุขอันยืนยาวนาน เทอญ

    อธิบายเพิ่มเติม
    คำว่า "๓-๕-๗-๙ จบ " หมายความว่า ผู้ใดยินดีปฏิบัติพระคาถากี่จบก็ได้ เช่น จะว่า ๓ จบ ๕ จบ ๗ จบ ๙ จบ เป็นต้น แต่การว่าต้องว่าเสมอกันไป จะว่าน้อยๆ มากๆ สลับกันไปไม่ได้ จะไม่เกิดผลเลย แต่พยายามว่าจบที่น้อยไปหามากได้เป็นดี ทำให้เห็นผลเป็นระยะแล้ว จึงค่อยกระเถิบมากขึ้นเป็นลำดับ


    คาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์

    (ตั้งนะโม ๓ จบ)

    พระคาถาบทนำว่าครั้งเดียว
    พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ
    พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ ว่าดังนี้
    "วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม" (อ่านว่า สะหวา - โหม)


    ใช้สวดภาวนาเวลาตื่นนอน ๓-๕-๗-๙ จบ เวลาใส่บาตร ๑ จบ ก่อนนอน ๓-๕-๗-๙ จบ หรือเวลาว่าง จะทำให้มีโภคทรัพย์มากมาย (หรือสวด ๓, ๕, ๗, ๙ จบ ยิ่งมากยิ่งได้ผลมาก ยิ่งทำเป็นกรรมฐานได้ยิ่งดี) ใส่บาตรพระทุกวัน วันละ ๑ รูป หรือเก็บเงินไว้ที่หิ้งพระ หรือบาตรวิระทะโย เมื่อมีเวลาค่อยนำเงินไปถวายเป็นค่าภัตตาหารแก่ทางวัดก็ได้...

    "คาถาบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า" อีกบทหนึ่งที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุงท่านได้มอบให้ลูกหลานของหลวงพ่อเอาไว้สวด หรือเรียกอีกอย่างว่า "คาถาเงินล้าน" ซึ่งหากพิจารณาตัวบทพระคาถาแล้ว จะพบว่ามีความคล้ายคลึงกัน ลองอ่านที่มาที่ไปของพระคาถาบทนี้ดูนะครับ..

    (ตั้งนะโม ๓ จบ)

    สัมปะจิตฉามิ
    นาสังสิโม
    พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายัติ
    พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุเม
    มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุเม
    มิเตพาหุหะติ
    พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ
    วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย
    พุทธัสสะ มานี มามะ
    พุทธัสสะ สวาโหม
    สัมปะติจฉามิ
    เพ็งๆ พาๆ หาๆ ฤาๆ




    หมายเหตุ : ต้องท่องทั้งหมดทุกบทด้วยใจเคารพและเป็นสมาธิ
    ให้ว่าคาถานี้ทั้งหมดทุกบทว่า 30 จบต่อวัน แต่ถ้าเป็นไปได้ควรทำให้ได้มากกว่าอายุหรือคลอไปตลอดวันด้วยใจเป็นสมาธิ ไม่มีความโลภในใจ และมีจิตเคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้ผลเร็วขึ้น เหมาะกับภาวะเศรษฐกิจ ที่กำลัง ตกต่ำ ท่านบอกว่าคนที่สวดคาถานี้เป็นประจำจะมีความคล่องตัว ใครจะตกต่ำเราไม่ตกต่ำ การทำมาหากินคล่องตัว เพราะ ฉะนั้น จงอย่าประมาท เร่งภาวนาสั่งสมความดี ช่วยงานพระศาสนา จะเป็นมงคลแก่ตนและครอบครัว
    [​IMG]
    ที่มาของคาถา วิระทะโย

    ในปัจจุบันนี้ ภาวะทางเศรษฐกิจย่ำแย่ ตามบริษัท ห้างร้านต่างๆ ต่างคน ต่างก็บ่นพึมพำ ชาวบ้าน หรือก็หนักใจ พูดกันตาม ความเป็นจริงแล้ว พระไม่อยากให้ชาวบ้านเดือดร้อน ไม่อยากให้ชาวบ้านจน ถ้าชาวบ้านจนเมื่อไรพระอดอยากเมื่อนั้นแล้ว ควรจะทำอย่างไรดีล่ะ ในที่สุด พระจำเป็นจะต้องทำหน้าที่อย่างเดียวคือ นั่งแช่ง นอนแช่ง ให้ชาวบ้านรวย นอนไปก็ว่า เรื่อย ไป เวลานี้ มีคำสั่งให้ทำอยู่สองอย่าง คือ ถ้าว่างก็ให้ว่าคาถาบทนี้ไปด้วย เพื่อช่วยสงเคราะห์ชาวบ้านเขา ให้มีกินมีใช้ ยุชาว บ้านเขาปลอดภัย ยุให้ชาวบ้านเขารวย พระเราก็จะพลอยมีกินมีใช้ไปด้วย ถ้าพระองค์ไหนแช่งให้ชาวบ้านเขาจนละซวยอด กินแน่ๆ
    [​IMG]
    เมื่อพูดถึงเรื่องจน ก็ทำให้นึกถึง คาถาวิระทะโย คาถาบทนี้ มีความสำคัญมาก พวกเราทุกคนควรจะทำ ทำให้ได้พื้นฐาน ไว้ก่อน คาถาบทนี้ ถ้าทำขึ้นน้อยๆ ถ้าเงินมันขาดมือ มันจะชดใช้กันทัน ถ้าหากทำขึ้นเต็มอัตรา เงินจะเหลือใช้ แต่ต้องทำ เป็นสมาธินะ การทำสมาธินี่ ไม่ต้องนั่งก็ได้ ถ้าว่างตอนไหน ก็นึกว่า มันเรื่อยไปขายของอยู่ ทำงานอยู่พอว่างนิดก็ว่าไปเดิน ไปนึกขึ้นได้ว่าไป คาถาวิระทะโยนี้ ถ้าใครมีความจำเป็น มากจริงๆ ถ้าทำถึง อุปจารสมาธิ ตอนนี้ เงินไม่ขาดตัวแน่ ถ้ามี - ความจำเป็นมากจริงมักจะหาได้ทัน ถ้าเข้าถึงปฐมญานตอนนี้ละขังตัวไม่ใช่พอใช้นะเหลือใช้แต่ต้องทำได้ตั้งแต่ปฐมญาน ขึ้นไปนะ
    คาถาบท นี้ มีคนใช้ได้ผลมาเยอะแล้ว คนที่ใช้ได้ผลคนแรกสุด ก็คือ นายห้างขายยาตราใบโพธิ์ ที่ว่า เป็นคนแรกเพราะ อะไรเพราะตอนนั้น หลวงพ่อปาน ท่านไปเรียนมาจาก ครูผึ้ง ซึ่งอยู่จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียนมาแล้วก็มีนายห้างขาย ยาตราใบโพธิ์สนใจ จึงขอเรียนจากหลวงพ่อปาน และทำได้ผลเป็นคนแรก
    สำหรับประวัติของครูผึ้ง สมัยนั้น แปลกดีมาก ครูผึ้งคนนี้ มีคติว่า ร้อยบาท ใครเขาจะแต่งงานไปบอกแก แกให้ หนึ่งร้อย งานโกนจุก หนึ่งร้อย บวชพระ หนึ่งร้อย แกมีคติแบบนี้ ใครไปบอกบุญแก แกขอทำบุญด้วยร้อยบาทอย่าลืมนะว่าสมัยนั้น เงินครึ่งสตางค์ หนึ่งสตางค์มีค่ามาก เงินร้อยบาทสมัยนั้นมันมากกว่าเงินเดือนของร้อยตรีอันดับหนึ่ง ถ้าใครมีเงินร้อยบาท ละก็ เริ่มรวยแล้ว แต่แกทำบุญครั้งละร้อยบาท ก็เป็นที่น่าแปลกใจเหมือนกัน
    [​IMG]
    หลวงพ่อปาน ท่านไปพบเข้า คุยกันรู้เรื่อง แต่ว่า ท่านพบของท่าน อย่างไรก็ไม่ทราบนะ วันนั้น หลวงพ่อปาน ท่านจำวัดอยู่ ฉันนั่งข้างนอก ตอนเย็นมีคนใส่เสื้อราชปะแต็น นุ่งผ้าม่วง สวมถุงเท้า ใส่รองเท้าแบบ ชั้นดีเลย ถือไม้เลี่ยม เดินเข้ามาหา หลวงพ่อปาน
    มาถึงก็ถามว่า "หลวงพ่อปานอยู่ไหม?"
    ไอ้เราก็บอกว่า "อยู่ แต่ว่ากำลังจำวัด"
    แกก็บอกว่า "ฮึ จำวัดอย่างไร ก็สั่งให้ฉันมาพบ ไปตามฉันมาที่นี่"
    แล้วกัน หลวงพ่อปาน ท่านนอนอยู่กับเรา หาว่า ท่านไปตามมาได้ เราก็แปลกใจ แต่ก็บอกแก ให้รออยู่ข้างนอกก่อน จะเข้า ไปดูให้ พอเข้าไปก็เห็นหลวงพ่อ ท่านเตรียมตัวออกมาแล้ว เลยถามท่าน
    "หลวงพ่อครับ เขาบอกว่า หลวงพ่อไปตามเขามาหาหรือ ?
    หลวงพ่อปานบอก "ฮือ แกไม่ต้องรู้หรอก"
    เอาอีกแล้ว ท่านบอกแกไม่ต้องรู้หรอกเป็นความลับ เออแปลกดี พอออกมาเจอกันแล้วท่านก็คุยถึงเรื่องประวัติ คุยไปคุยมา ครูผึ้งก็บอกว่า "คาถาบทนี้เป็นของพระธุดงค์ พระธุดงค์ท่านบอกว่า คาถาบทนี้เป็น คาถาของพระปัจเจกพุทธเจ้า ท่าน มาปักกลดอยู่หลังบ้าน 7 วัน ฉันก็เอาของไปถวายท่านทั้ง 7 วัน"
    ตามปกติครูผึ้ง ท่านรักษาศีลอยู่แล้วก่อนที่พระธุดงค์จะไป ท่าได้ให้คาถาบทนี้ และบอกว่า "ตอนเช้าทุกวัน ควรใส่บาตรทุก วัน ก่อนจะใส่บาตรก็ให้ว่าคาถาบทนี้หนึ่งจบ แล้ววิธีใส่บาตรมีอยู่ 2 อย่างถ้าไม่มีพระจะมาให้ใช้ข้าวสารตักแทนก็ได้ แต่ว่า เดี๋ยวนี้เราใช้สตางค์ใส่บาตรแทนก็ได้ เงินนั้นให้ใช้เป็นค่าอาหาร มากน้อยตามกำลัง ไม่จำเป็นต้องไปรอพระมา ถ้าเห็นว่า มันมากพอสมควร ก็เอาไปถวายพระ บอกท่านว่า เป็นค่าอาหาร แล้วท่านจะนำไปใช้เป็นค่าอาหาร หรือเอาไปใช้ก่อสร้าง ก็ เป็นเรื่องของท่านเท่านั้นก็พอ
    แล้วท่านก็บอกอีกว่า "ก่อนปลูกผัก ปลูกต้นไม้ หว่านข้าว ตำข้าว ก็ว่าคาถาบทนี้ หนึ่งจบ ตามวิธีการของท่าน เวลาบูชาพระ กลางคืนให้ว่า 3 จบ หรือ 5 จบ หรือ 7 จบก็ได้นอกจากนั้นก็ควรจะเจริญเป็นสมาธิ แต่บูชาพระกับว่าตอนใส่บาตรท่านบอก ว่า มีสภาพเป็นเบี้ยต่อไส้ หมายความว่า ถ้าจะหมดตัวจริง ๆ ก็จะหาได้ทัน
    ฉันเคยโดนมาบ่อย ๆ ในระยะต้น ๆ โดนเองจึงรู้ แต่พอจวนตัว ก็จะมีมา ทุกครั้งไป ถ้าภาวนาให้จิตเป็น ฌาน จะมีผลมาก แล้วท่านก็เล่าความเป็นมาให้ฟัง
    หลวงพ่อปานท่านถามว่า "เดิมทีเดียวน่ะ ท่านมีฐานะอย่างไร?"
    ครูผึ้งบอกว่า "ผมอันดับหนึ่งครับ"
    พอท่านพูดอย่างนั้น เราหูผึ่งเลย คิดว่าท่านเป็นมหาเศรษฐี
    ท่านบอกว่า "อันดับหนึ่งน่ะไม่ใช่เศรษฐี ฉันจนอันดับหนึ่งต่างหาก"
    คิดผิดถนัด ท่านบอกอีกว่า "กางเกงไม่ขาด ผมไม่เคยนุ่ง กับเขาเลย มันหาไม่ได้จริง ๆ ครับ กางเกง ที่ดีที่สุด มันมีอยู่ตัว เดียว เก็บไว้ใช้เวลาไปทำบุญที่วัด กลับมาก็ต้องรีบเก็บ นอกจากนั้น กลีบมันแย่งกันขึ้นเลย ร
    [​IMG]
    ท่านเล่าให้ฟังอีกเยอะ สนุก ความจริงอายุของท่านตั้ง 99 ปี แล้ว แต่ร่างกายยังแข็งแรงดีมาก ต่อมาเมื่อ ได้คาถาบทนี้ มา แล้ว ด้วยความจนบีบบังคับ ท่านก็เริ่มทำสมาธิ ตอนเริ่มทำเป็นสมาธิ พอจิตเริ่ม เข้าถึงอุปจารสมาธิ ซึ่งจะสังเกตได้ตามนี้
    ถ้าสภาพเดิม มันมืดอยู่ พอจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ ก็จะมีสภาพ เกิดแสงสว่างขึ้นบ้าง หรือ ไม่อย่างนั้น ก็จะปรากฏ แสงสีขึ้น เห็นเป็นภาพพระหรือภาพอะไรก็แวบ ๆ อันนี้แหละ คือ อุปจารสมาธิ
    นับตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา เงินมันเริ่มขังตัว การหากินคล่องขึ้น บางที ถ้าต้องการอะไร ที่มันเกินวิสัย ที่จะหาได้ แต่ว่ามัน อยากได้ เพียงไม่กี่วันหรอก อย่างดีก็ 3 -4 วัน จะมีสตางค์ พอหาซื้อของ อย่างนั้นได้ และต่อมา เมื่อทำเป็นฌาน เงินก็เริ่ม มากขึ้น
    ทีนี้เวลาที่จะนำสตางค์ไปใช้ท่านให้หยิบสตางค์อันนั้น แต่ว่าห้ามนับเงิน แล้วว่าคาถาตามจำนวนที่เราบูชาพระดึงเอาเงิน นั้นออกมา ถ้าเกินกว่าจำนวนที่เราต้องการ เวลาที่เราจะเก็บเราก็ว่า คาถาแบบนี้เหมือนกัน ถ้าทำแบบนี้ ท่าบอกว่า เงินจะ ขาดที่นั้นไม่ได้เลย
    ถ้าบางครั้ง ปริมาณเงินที่เราเก็บไว้ สมมุติว่า เป็นเงิน 1,000 บาท มันเป็นปึกเราดึงมาทั้งปึก (1,000 บาท) แต่ปรากฏว่า เงินมันมีอีก ห้ามนำไปพูดกับคนอื่น ถ้าพูดเงินจะหด ท่านห้ามอวด
    อันนี้นายห้างประยงค์เคยไปเล่าให้ฟังเหมือนกันท่านทำได้ผลตามนี้ ท่านบอกว่า ท่านเบิกเงินมาจากธนาคารเดือนละหมื่น แต่รายนี้รับรอง กลับถึงบ้าน ยังไม่ใช้เงิน ต้องนำเงินเข้าตู้เซฟก่อนว่า คาถาบทนี้ ตามแบบ เช้าตื่นขึ้นมา ก็ว่าตามแบบอีก เงินทุกปึกจะต้องเกินเสมอ เกินทุกปึก หนึ่งร้อยบ้าง สองร้อยบ้าง เกินอยู่ตลอดเวลา ลองคิดดูซิมีธนาคารที่ไหนบ้าง เขานับ เงินเกิน ท่านยืนยันว่า ไม่มีธนาคารไหน เขานับเกินหรอก
    แต่ทว่าตามปกติ ถ้าท่านทำแบบนี้ จะต้องมีเงินเกิน นายห้างประยงค์คนนี้ ก็ทำเป็นฌานเหมือนกัน เลยถาม นายห้างประ - ยงค์ว่า ท่านทำอย่างไร ท่านบอกว่า หลังจากที่ได้คาถาบทนี้จากหลวงพ่อปาน ซึ่งตอนนั้นท่าน เพิ่งกลับมาจาก นครศรีธรรม ราช หลวงพ่อปานท่านไปแวะ ที่วัดสระเกศ คณะที่ 11 ก็มีคนนำอาหาร ไปถวายท่าน เวลาท่านฉันข้าว ท่านก็เล่าความเป็น มาของคาถาบทนี้ให้ฟัง คนทุกคนฟังแล้ว ก็ไม่มีใครสนใจ มีแต่ นายห้างประยงค์คนเดียว ซึ่งอยู่ตอนหลัง มีความสนใจ พอ หลวงพ่อปานท่านว่า คาถาบทนี้ไป แกก็จดตาม
    เมื่อฉันเสร็จให้พรเสร็จ ญาติโยมทั้งหลายก็ลากลับ แต่นายห้างประยงค์ยังไม่ยอมกลับ ท่านเข้าไปหากราบๆ หลวงพ่อปาน แล้วขออนุญาตนำคาถาบทนี้ไปทำ ความจริงที่หลวงพ่อท่านพูดน่ะ ท่านจะดูว่า มีใครสนใจไหมในเมื่อคนอื่นไม่สนใจ มีแต่ นายห้างประยงค์สนใจคนเดียวท่านก็เลยบอกว่า "เออดีแล้ว ไอ้ลูกคนหัวปี"
    [​IMG]
    คำว่า ลูกคนหัวปี ก็หมายความว่า คาถาบทนี้มีคนสนใจเป็นคนแรกและก็คนเดียว ท่านบอกว่าให้เอาไปลองทำ แล้วท่านก็ บอกรายละเอียดในการทำให้ฟัง แล้วก็สั่งว่า "ถ้าเอ็งทำสองปีไม่มีผล หลวงพ่อจะไม่สอนใครเลย" ตอนนั้น ท่านให้นายห้าง ประยงค์ทดลองทำก่อน ที่ไหนได้ ผลปรากฏพอครบ 2 ปี นายห้าง ประยงค์ก็ไปวัด ไปเล่าให้ฟัง บอกว่า
    "เมื่อก่อนนี้ครับ ก่อนที่ผมจะได้คาถาบทนี้ไป ถ้าเดือนไหน ห้างผมขายของได้กำไรถึงสองร้อยบาท (สองร้อยบาทเป็นกำไร สุทธินะ) เดือนนั้นสองผัวเมียนอนไม่หลับ ดีใจ"
    ก็เลยถามท่านว่า "เวลานี้ละ เป็นอย่างไรบ้าง?"
    ท่านบอกว่า "แหม หมื่นหนึ่งยังเฉย ๆ เลยครับ"
    ต่อมาหลวงพ่อปานก็ให้นายห้างประยงค์ออกสตางค์สร้างวัดเขาสะพานนาค นายห้างประยงค์ถามว่า
    "จะเอาเงินเท่าไหรจึงจะพอครับ"
    ท่านบอก "ทำไปเรื่อย ๆ มีเงินเป็นทุนสำรองไว้ประมาณ 2 หมื่นบาท"
    หลวงพ่อปานสั่งว่า "ถ้าเอ็งจะเอาเงินไหน ไปเป็นทุนสำรอง เอ็งเอาเงินนั้นมาให้พ่อก่อนนะ"
    แล้วนายห้างประยงค์ ก็เอาเงินมาให้หลวงพ่อปาน แทนที่หลวงพ่อปาน ท่านจะเอาไว้ ท่านก็เอาเงินจำนวนนี้ มาเสกด้วยคา ถาวิระทะโยอีก 7 คืน และท่านก็สั่งให้เงินนั้นกลับไป
    ท่านสั่งว่า ถ้าเวลาที่พ่อสั่งก็เอามาให้ เอ็งเอาเงินกองนี้นะ ห้ามเอากองอื่น"
    เวลาที่ท่านสั่งให้เอาเงินมาเขาก็เอาเงินกองนั้นแหละมาให้หยิบเข้าหยิบออกอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งสร้างวัดเขาสะพานนาค เสร็จ เงินยังเหลือ 2 หมื่น
    แหม...คนแบบนี้ซวยจัด ที่ว่าซวยเพราะอะไรรู้ไหม ก็ซวยตรง...ที่ไม่รู้จักคำว่าจนไงล่ะ เงินหมดไม่เป็น
    ต่อมาเราก็ย่องไปถามท่านว่า "มันเป็นอย่างไร"
    นายห้างประยงค์บอกว่า "หลวงพ่อปานท่านสั่งไว้ว่าก่อนจะหยิบก็ต้องว่าคาถาบทนี้เท่านั้น เวลาเก็บก็ต้องว่าจำนวนเท่ากัน"
    ท่านทำตาม หลวงพ่อปาน ทั้งหมด ตอนเช้าตื่นขึ้นมา ท่านจะต้องทำเป็นสมาธิก่อน แล้วจึงใส่บาตร ก่อนไป ห้างก็สวดมนต์ ด้วยคาถาบทนี้ ยามว่างตอนนั่งรถไปทำงานท่านก็ว่า คาถาบทนี้ไป เมื่อจิตมันว่างมันก็เข้า ฌาน พอตอนเย็นกลับบ้าน อาบ น้ำเสร็จ รับประทานอาหารเสร็จ ทำสมาธิพักหนึ่งก่อน และก่อนจะนอน ถ้าไม่ปวดเมื่อยท่านก็นั่งสมาธิ ถ้าปวดเมื่อย ก็นอน ว่า จนหลับไป
    นายห้างประยงค์บอกว่า ตั้งแต่จิตเริ่มเข้าอุปจารสมาธิ จะเห็น พระพุทธเจ้าบ้าง พระสงฆ์บ้าง นับตั้งแต่ ตอนนั้น เป็นต้นมา เงินค้างเรื่อยมา ก็มีวาระแรก ที่เงินค้างมากเกินไป สองคนผัวเมียเกือบทะเลาะกัน ต่างคนต่างหาว่าเอาเงินไปซุกไว้
    เมียบอกว่า "ทำไมคุณเอาเงินมาไว้แล้วไม่บอกฉัน" นายห้างประยงค์บอก "ฉันไม่เคยเก็บเงิน เธอเป็นคนเก็บ เธอเป็นคน เอามาไว้ แล้วทำไมจึงไม่จำ"
    ไล่ไปไล่มานึกถึงผลของคาถาบทนี้ ได้คิดว่าน่ากลัวจะเป็นผลของการทำคาถาบทนี้แน่ ๆ เพราะหลวงพ่อ ปานท่านสั่งว่า ถ้า ผลมันเกิดขึ้นมาแล้วอย่าโวยวาย ต่างคนต่างนึกขึ้นมาได้ก็เลยเงียบ
    [​IMG]
    จำไว้นะทุกคน ที่ได้คาถาบทนี้ไปแล้ว ควรท่องคาถานี้ให้ชิน แล้วก็ทำเป็นสมาธิเหมือนๆ กับที่เราทำนี่แหละ ผลมันเท่ากัน ผลที่เราพึงจะได้รับก็คือ จิตเป็นสมาธิ และก็สตางค์ขังตัว คือ ไม่ขาดมือ
    หมายเหตุ คาถาวิระทะโยนี้ เป็นคาถาเริ่มแรกดั้งเดิม หรือคาถาที่หลวงพ่อปาน ท่านนำมาเผยแพร่แล้วต่อมา หลวงพ่อพระราชพรหมยานก็ได้มาต่อเติมให้เป็นคาถาเงินล้านในปัจจุบัน จึงถือว่า เป็นที่มาหรือเป็นส่วนหนึ่ง ของคาถาเงินล้านนั่นเอง ดังนั้นถ้าจะภาวนา ก็ให้ใช้คาถาเงินล้านได้เลย มีในหนังสือท้ายบท
    " คัดมาจากหนังสือธัมมวิโมกข์ "
    [​IMG]
    ที่มาของ คาถาเงินล้าน
    ก่อนที่อยู่วัดท่าซุงนะฉันอยู่กระต๊อบ เงินร้อยก็หายากสำหรับเงินทำบุญ คาถาวิระทะโย ก็ทำเรื่อยๆ ไป ต่อมาท่านก็มาหา ก็บอกว่า คาถาบทนี้นะที่เขาทำพระวัดพนัญเชิงองค์แรก มีเจ้าอาวาสองค์แรกท่านไปนั่งกรรมฐาน และเสกด้วยคาถาบทนี้ สามปี ท่านให้ดูตัวอย่างวัดพนัญเชิงเงินขาดไหมฉันก็ทำมาเรื่อย
    มาอีกปีหนึ่ง กำลังบวงสรวง ท่านบอกว่า "คาถาบทนี้ เป็นคาถาเงินแสนนะ" ก็ใช้คาถาบทนั้น มาประมาณครึ่งปี คนมา ทอดกฐินผ้าป่าได้เงินเป็นแสน นี่เห็นชัดนะ
    แล้วต่อมา อีกปีหนึ่ง ท่านบอกว่า "คาถาบทนี้เป็นคาถาเงินล้านนะ"ให้ว่าต่อเนื่องกันไปแล้วไปลง "คาถาวิระทะโย" ต่อมาก็จริง ๆ เพราะปี 27 ก็ใช้เงินล้าน เป็นเดือน ซึ่งไอ้อย่างนี้เราก็คิดไม่ออก ต้องค่อย ๆ ใจเย็น ๆ
    เวลาว่าไป อย่าไปว่าหวังเอาลาภ คือ ต้องภาวนาด้วยนะ ถ้าทางที่ดีเวลาภาวนากรรมฐาน พอจิตสบายน่ะต่อเลย เพราะเวลา กรรมฐานนี่จิตเป็นฌาณใช่ไหมเอาอย่างนี้ดีกว่า เวลาฝึกมโนมยิทธิออกไปให้ได้นั้น ออกไปเดี๋ยวเดียวก็ได้ออกไปได้ นี่จิต เป็นฌาณ 4 เข้าเขตพระนิพพาน ได้จิตสะอาดถึงที่สุด กลับลงมาด้วยคาถาบทนี้เลย มากน้อยก็ช่างให้หลับไปเลยคือ ถ้าจิต สะอาดมากผลก็เกิดเร็ว
    ก็สงสัยเหมือนกันนะ เมื่อปี 26 ท่านบอกว่าปี 27 มีอะไรบ้างก็ตุน ๆ ไว้บ้างนะ 28 จะเครียดมาก การค้าของใคร ถ้าทรงตัว ได้ก็ถือว่า ดีไว้ก่อน อันนี้ท่านบอกว่า "ถ้าลูกเราจะจนก็จนไม่เท่าเขา"
    ถ้าพูดถึงผลฉันก็นั่งดูเรื่อยๆมาว่า เอ๊ะ! เงินแสนมันจะมีมาอย่างไร ภายในปีนั้นปรากฏว่าสมัยนั้นวัดต่างๆเขายังไม่ถึงหมื่น เลย แล้วต่อมาคาถาเงินล้านก็ต้องว่าต่อ เพราะต่อไปข้างหน้าต้องใช้เงิน
    พระพุทธเจ้าบอกนี่ ต้องเชื่อต้องใจเย็นๆไม่ใช่ไปเร่งรัด ถ้าไปว่าแล้วคิดว่าเราต้องรวยนี่เสร็จ พัง ต้องว่าด้วยจิตเคารพนาน หลายปี ท่านไม่ยอมเปิดกับใคร ก่อนจะเข้าถึงดี มันต้องเครียด ไอ้ปี 28 ความจริงมัน น่าจะดี แต่ไปๆมาๆ ก็มีจุดสะดุดจุด สะดุด นี่เป็นชะตาของชาติ แต่ยังไงๆ ก็ต้องไปเจอะจุดรวยแน่
    ถ้าพวกนี้รวยนะ วัดท่าซุง ไม่เป็นไร คือว่า หนี้นี่นะ…..อย่าคิดว่ามันโจ๊ะกันได้ เมื่อปี 30 นะ มันเกิน ค่าใช้ จ่ายเดือนละ 2 ล้านเศษ อันนี้ ต้องคิด เดือนนี้ก็ตกเกือบ 3 ล้าน คือ 2 ล้าน 9 แสนเศษ
    [​IMG]
    ตอนนี้ ท่านให้ฉันเขียนโครงการ ที่จะทำให้เสร็จ ในปี 30 โครงการของท่าน จริง ๆ มีมาก ท่านย่า ก็เคยบอก ท่านบอกว่า "ท่านไม่บอกคุณตรง ๆ หรอก ท่านรู้ใจคุณ ถ้าบอกโครงการทั้งหมด คุณไม่ทำแน่"
    พระพุทธเจ้า ก็รู้คอนะ ไปๆ มาๆ ท่านให้นั่งเขียน ตามนี้นะ 12 รายการ ให้เสร็จ ภายในปี 30 เลย คิดว่า เงินที่ต้องใช้เป็น ล้านๆ รายการมากนะลูก ถ้าหากจะถามว่า 10 ล้านพอไหม ก็ต้องบอกว่า มันไม่ได้ครึ่งหลัง ที่ท่านสั่งทำหรอก

    วันนั้นก็ขึ้นไปที่กระต๊อบฉัน ไปถึงกระต๊อบ ก็ปรากฏว่า สมเด็จองค์ปัจจุบัน ท่านประทับอยู่ที่นั่น และท่านพระเจ้าแม่ให้นาม ว่า "มัทรี" หรือ "พิมพา" ไปที่อเมริกา ท่านบอก "ฉันแม่คุณ เหมือนกัน ฉันเคยเป็นแม่คุณ" ถามว่าชื่ออะไร "ชื่อมัทรี" แล้วคุมมาตั้งแต่อเมริกาเวลานี้ก็ยังคุมอยู่ ก็ไปกราบเรียนถามท่านว่า คำสั่งที่สั่งให้ทำมันเกินวิสัย แค่อาคาร 300 ห้องจาก พ.ศ. นี้ไปจนถึง 30 มันก็เสร็จยากเหลือเกิน และ อีกหลายรายการ มันก็ใหญ่ทั้งนั้น ท่านแม่มัทรีก็บอกว่า

    "เอาอย่างนี้ซิลูก ขออำนาจพระพุทธานุภาพ" ก็เลยหันไป

    "ได้ ฉันต้องช่วยเธอ"

    แล้วต่อมา เดินเล่นในบริเวณกระต๊อบของฉันเล็กๆ มันมีถนนหนทางใช่ไหม ก็ปรากฏว่า เดินไปเดินมา สมเด็จองค์ปฐมก็ เสด็จมาเดินด้วย ท่านบอกว่า

    "สภาพของพระนิพพาน มันเป็นอย่างนี้นะ คนที่ถึงพระนิพพานแล้ว กิจอื่นที่ทำ ไม่มี มันเป็นอย่างนี้นะ เวลานี้ เราเดินกลาง บริเวณ พวกเราทั้งหมดลองนั่งดูซิ มันจะมีอะไรไหม"

    ที่มันเป็นที่นั่งไม่มีเลย พอนั่งปุ๊บไอ้เตียงตั่งมันเสือกมาได้อย่างไร ก็ไม่รู้ เลยคุยไปคุยมา ท่านก็เลยบอกว่า

    "งานที่ฉันสั่งต้องเสร็จทัน 30"

    ฉันไม่ยืนยันว่าคนที่ไม่เคารพฉันจะมีผล จำให้ดีนะ

    จึงขอให้ทุกคนถ้าได้รับคาถานี้ ให้ตั้งใจปฏิบัติด้วยความจริงใจด้วย ความเคารพในพระพุทธเจ้า

    ต่อนี้ไปก็อ่านคาถาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน และให้ทุกคนตั้งใจนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า คิดว่า คาถาทั้งหมดนี้ จงปรากฏ อยู่ในจิตของเรา ลาภผลต่างๆ ให้ปรากฏแก่เรา ตามที่พระองค์ทรงต้องการนะ นึกถึง ท่านนะ
    [​IMG]
    สัมปจิตฉามิ คาถาสนองกลับ
    นาสังสิโม คาถาพระพุทธกัสสป
    บทแรก "พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ" อันนี้ตัดอุปสรรค ที่ลาภจะมา แต่เขามาบอกว่า มีผลแน่นอน คือว่าแกจะไม่ยอมให้ลูกแกจน พูดง่าย ๆ ก็แล้วกัน พระพุทธเจ้า ก็ทรงยืนยันบอกว่า ให้หมด
    บทที่สอง "พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุเม" คาถาบทนี้เป็นคาถาเงินแสนของท่าน
    บทที่สาม "มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม" บทนี้เป็นคาถาปลุกพระวัดพนัญเชิง
    บทที่สี่ "มิเตพาหุหะติ" เป็นคาถาเงินล้าน
    บทที่ห้า "พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม" เป็นคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า
    บทที่หก "สัมปติฉามิ"บทนี้เป็นบทเร่งรัดบทสุดท้าย
    บทที่เจ็ด "เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ" พระปัจเจกพุทธเจ้ามาบอกหลวงพ่อ เมื่อ พ.ย.33 เป็นภาษาโบราณแต่เทียบกับ ภาษาไทย อ่านได้อย่างนี้ เป็นคาถามหาลาภ มีผลยิ่งใหญ่มาก ทั้งหมดนี้ต้องสวด เป็นบทเดียวกัน บูชาเรื่อย ๆ ไป การบูชา ถ้าบูชาเฉย ๆ มันเป็นเบี้ยต่อไส้

    อย่าลืมนะ เวลาสวดมนต์ แล้วให้สวดคาถานี้ 9 จบเท่าเดิมนะ และเวลาภาวนานอนภาวนาก็ได้ ว่าเรื่อยๆ ไปจนกระทั่งหลับ ไปเลย ตื่นขึ้นมา ต่อจากกรรมฐาน นอนก็ได้ ใจสบาย ๆ นะ บางทีเผลอ ๆ ฉันก็ต้องว่า ของฉันเรื่อย ๆ ไป คาถาเงินล้านนี่ มาให้เมื่อปีฝังลูกนิมิต ท่านบอกว่า งานข้างหน้าจะหนักมาก หลังจากนี้เป็นต้นไป เงินจะใช้มากกว่า สมัยที่สร้างโบสถ์ อย่า ลืมนะ...เวลาว่างๆ นั่งนึกก็ได้เดินไปก็ได้ ไม่ห้ามเลยนะให้มันติดใจอยู่อย่างนั้น ให้ถือว่าเป็นกรรมฐานไปในตัวเสร็จเพราะ คาถาที่พระพุทธเจ้าบอก ทุกบทก่อนจะทำ ต้องนึกถึงท่าน ถือว่าเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน

    " คัดมาจากหนังสือ "สมบัติพ่อให้" ของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง อุทัยธานี "

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    .



    ขอบคุณครับคุณเพชร
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>วธ.เปิดสายด่วน 1765 รับร้องปัญหา “เว็บหวิว”
    Quality of Life - Manager Online
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>15 ตุลาคม 2552 19:34 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> วธ.รุกคืบเปิดสายด่วน 1765 รับร้องเรียนปัญหาร้านเกม สื่อ เว็บโป๊ ลักลอบค้าโบราณวัตถุ ฯลฯ 24 ชั่วโมง พร้อมบูรณาการการทำงานร่วมกว่า 10 หน่วยงาน จัดผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ตอบปัญหาเชิงลึก

    วันนี้ (15 ต.ค.) นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า วธ.ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงคอลเซ็นเตอร์ของกระทรวง 1765 เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางให้บริการประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง ด้านการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม และรับเรื่องร้องเรียนต่างๆ เช่น ปัญหาร้านเกม สื่อ และเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม การบุกรุกทำลายโบราณสถาน รวมถึงการลักลอบจำหน่ายโบราณวัตถุ ขั้นตอนการจดทะเบียนร้านเกมและร้านคาราโอเกะ ข้อมูลเกี่ยวกับการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ที่สำคัญยังเป็นการรองรับการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติด้วย

    “สายด่วน 1765 ของ วธ.จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้ ซึ่งได้บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐต่างๆ กว่า 10 หน่วยงาน อาทิ กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ในการจัดผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์ มาเพื่อตอบปัญหาเชิงลึกด้วย สำหรับขั้นตอนการทำงาน เมื่อมีประชาชนโทรศัพท์มาสอบถามข้อมูลจะมีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ให้ข้อมูลทันที แต่หากเป็นการร้องเรียนหรือกรณีฉุกเฉิน วธ.จะเร่งประสานยัง 191 หรือสถานีตำรวจในพื้นที่ ส่วนหากเป็นเรื่องเด็ก เยาวชน หรือปัญหาครอบครัวจะประสานไปยังสายด่วน 1300 ศูนย์ประชาบดี เพื่อดำเนินการช่วยเหลือทันที” รมว.วธ.กล่าว
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรียน ท่านประธานทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อาจารย์ประถม อาจสาคร ,คณะกรรมการ และสมาชิกทุกท่าน

    ทางชมรมรักษ์พระวังหน้า จะจัดงานมุฑิตาจิตท่านอาจารย์ประถมขึ้น ในเดือนหน้า ผมในฐานะเลขานุการชมรมรักษ์พระวังหน้า ปฎิบัติหน้าที่แทนท่านประธานชมรมรักษ์พระวังหน้า ขอเชิญท่านประธานทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อาจารย์ประถม อาจสาคร ,คณะกรรมการ และสมาชิกทุกท่าน มาร่วมในงานดังกล่าว ส่วนวันที่และเวลา ผมขอแจ้งผ่านทางคุณ นายสติ (คุณปุ๊) ครับ

    ขอแสดงความนับถือ
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->sithiphong
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->เลขานุการชมรมรักษ์พระวังหน้า ปฎิบัติหน้าที่แทนประธานชมรมรักษ์พระวังหน้า

    หมายเหตุ ผมจะไม่ลงวันที่จัดงานบนบอร์ดครับ
     
  16. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    เอ่อ ... ชุดเดิมว่าสุดยอดแล้ว สำหรับชุดนนี้เด็ดจริงๆ ... งดงามไร้ที่ติครับ:cool:
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    บังอบายเบิกฟ้า ฝึกฟื้นใจเมือง
    http://iseehistory.socita.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538711113&Ntype=1#

    ฯลฯ
    ครั้น ณ วันเสาร์ เดือนห้า แรมเก้าค่ำ เพลาเช้าสองโมงเศษ ทัพหลวงมาถึงกรุงธนบุรีฟากตะวันออก พระยาสุริยอภัยจึงให้ปลูกพลับพลารับเสด็จริมสะพานท่าวัดโพธาราม แล้วให้แต่งเรือพระที่นั่งกราบข้ามมาคอยรับเสด็จ และท้าวทรงกันดาลทองมอญซึ่งเป็นใหญ่อยู่ในพระราชวังก็ลงเรือพระที่นั่งมาคอยรับเสด็จด้วย จึงเสด็จทรงช้างพระที่นั่งกรีธาพลทัพหลวงเข้ามาในกำแพงเมือง . . .


    [​IMG]


    ในทันใดนั้น จึงท้าวพระยามุขมนตรีกวีชาติ และราษฎรทั้งหลายก็พร้อมกันกราบทูลวิงวอนอันเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองพิภพเสวยสวรรยาธิปัติถวัลยราชย์ดำรงแผ่นดินสืบไป สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณีภาพ แล้วก็เสด็จพระราชดำเนินไปถวายนมัสการพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต แล้วเสด็จมาประทับแรมอยู่ ณ พลับพลาหน้าโรงพระแก้วนั้น
    พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบรัดเล





    [​IMG]



    พระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต
    พระพุทธลักษณะพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ
    ขนาดหน้าตักกว้าง ๔๘.๓ เซนติเมตร สูงแต่ฐานเฉพาะทับเกษตรถึงพระเมาลี ๒๖ เซนติเมตร
    มีเสันจีวรคาดเข่าทั้งสองข้าง พระองค์อวบอ้วน พระพักตร์กลมอูม พระขนงโก่ง หลังพระเนตรอูม
    พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์บางสลักขอบเป็นสองเส้น พระหนุเป็นปม พระรัศมีอยู่เหนือเกตุมาลาเป็นต่อม
    ปลายสังฆาฏิยาว ฐานรองรับเป็นฐานเขียง มีหน้ากระดานโค้งออกข้างนอก

    [​IMG]

    ณ วันเสาร์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ ปีขาล จุลศักราช ๑๑๔๔
    ตรงกับวันที่
    ๖ เมษายน พระพุทธศักราช ๒๓๒๕
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    ขึ้นครองพิภพเสวยสวรรยาธิปัติถวัลยราชย์
    ทรงสถาปนามหาจักรีบรมราชวงศ์ และราชธานีใหม่ในพระราชอาณาจักรสยาม​

    ราชธานีใหม่
    ครั้น ณ วันจันทร์ เดือนห้าแรมสิบห้าค่ำ จึงทรงพระกรุณาโปรดปูนบำเหน็จ พระราชทานเงินตราเสื้อผ้าแก่ข้าราชการผู้มีความชอบกับทั้งพรรคพวกข้าหลวงเดิม . . . แล้วดำรัสว่า พระราชคฤหฐานใกล้อุปขารพระอารามทั้งสองข้าง คือวัดแจ้งและวัดท้ายตลาด มิบังควรยิ่งนัก จึงดำรัสแก่พระยาธรรมาธิบดี พระยาวิจิตรนาวี ให้เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปฐาปนาพระราชนิเวศน์วังใหม่ฟากพระนครข้างตะวันออก ณ ที่บ้านพระยาราชาเศรษฐีและบ้านจีนทั้งปวง ให้พระยาราชาเศรษฐียกพวกจีนลงไปตั้งบ้านเรือนใหม่ ณ ที่สวนตั้งแต่คลองใต้วัดสามปลื้มลงไปจนถึงดลองเหนือวัดสามเพ็ง​
    (จากการตรวจสอบของ http://www.payakorn.com/moondate.php ปรากฎว่า วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปี พ.ศ.๒๓๒๕ ไม่มีในระบบปฏิทินจันทรคติ แต่ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีขาล จ.ศ.๑๑๔๔ ตรงกับวันพฤหัสบดี วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ และ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล จ.ศ.๑๑๔๔ ตรงกับวันศุกร์ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕)

    ถึง ณ วันจันทร์ เดือนหกขึ้นสี่ค่ำเพลาห้าโมงเช้า สมเด็จพระอนุชาธิราชเสด็จเดินทัพมาถึงพระนคร ขึ้นเฝ้าสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ณ ท้องพระโรง ดำรัสปรึกษาราชการแผ่นดินด้วยกันแล้ว . . .
    (ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล จ.ศ.๑๑๔๔ ตรงกับวันจันทร์ วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕)

    ยกหลักเมือง - ตั้งพระราชวังใหม่
    ครั้นถึง ณ วันอาทิตย์ เดือนหกแรมเก้าค่ำ ปีขาล จัตวาศก ศักราช ๑๑๔๔ ปี ให้ตั้งการพระราชพิธียกหลักเมือง

    (แรม ๙ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล จ.ศ.๑๑๔๔ ตรงกับวันอาทิตย์ วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๒๕)

    ถึง ณ วันจันทร์ เดือนหกแรมสิบค่ำ จับการตั้งพระราชวังใหม่ และล้อมด้วยระเนึยดก่อน ยังมิทันได้ก่อกำแพงวัง
    ฯลฯ​
    กรุงธนบุรีขณะนั้น มีกำแพงอยู่สองฟากแม่น้ำ เป็นชัยภูมิที่ไม่มั่นคงในการต่อสู้ข้าศึก ฝั่งตะวันตกนั้นแม้จะเป็นที่ดอน แต่ก็เป็นที่ท้องคุ้ง น้ำเซาะทรุดพังอยู่เสมอไม่ถาวร ส่วนฝั่งตะวันออกนั้น แม้จะเป็นที่ลุ่ม แต่ก็มีลักษณะเป็นแหลม มีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง แม้นข้าศึกยกมาประชิดติดชานพระนครก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่า นอกจากนั้น ที่ราบลุ่มอันกว้างใหญ่นอกกำแพงพระนครฝั่งตะวันออกที่เรียกว่าทะเลตม ซึ่งใช้เป็นที่ทำนาปลูกข้าวเลียงพลเมืองนั้น ยังทำให้กองทัพข้าศึกที่จะยกมาตีพระนคร เคลื่อนที่เข้ามาได้ยากลำบาก และหากพระนครเจริญวัฒนาถาวรขึ้นก็อาจขยายเขตออกไปทางฟากตะวันออกนี้ได้อีกมาก ทั้งพระราชคฤหฐาน ก็ตั้งอยู่ในอุปจาร พระอารามทั้ง ๒ ข้าง ดังพระดำรัสข้างต้น


    [​IMG]


    จึงโปรดเกล้าฯ ให้ฐาปนาพระราชนิเวศน์วังใหม่ ขึ้นที่ฝั่งตะวันออก ในบริเวณกำแพงพระนครเดิมครั้งกรุงธนบุรี
    เมื่อทรงจัดการความสงบในกรุงธนบุรีแล้ว เพียง ๕ วัน ก็โปรดให้ย้ายพระนครข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยาจากกรุงธนบุรี มาฝั่งตะวันออก สร้างกรุงเทพมหานคร ฯ
    การย้ายพระนครนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวิเคราะห์ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชดำริว่า พม่าคงมาตีเมืองไทยอีก กรุงธนบุรีสร้างป้อมปราการทั้ง ๒ ฝั่ง เอาแม่น้ำไว้กลางเมืองเหมือนอย่างเมืองพิษณุโลก มีประโยชน์ที่อาจเอาเรือรบเข้าไว้ในเมืองเวลาถูกข้าศึกมาตั้งประชิด แต่การสู้รบรักษาเมืองคนข้างในจะช่วยกันถ่ายเทรบพุ่งรักษาหน้าที่ไม่ใคร่ทันท่วงที ด้วยต้องข้ามน้ำ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เคยทรงรักษาเมืองพิษณุโลกสู้ศึกอะแซหวุ่นกี้ เมืองพิษณุโลกลำน้ำแคบ และตื้นพอทำสะพานข้ามได้ ยังลำบาก ทรงพระราชดำริเห็นว่า ที่กรุงธนฯ แม่น้ำเจ้าพระยาทั้งกว้าง และลึก จะทำสะพานข้ามไม่ได้ ถ้าข้าศึกเข้ามาได้ถึงพระนครจะไม่สามารถต่อสู้ข้าศึกรักษาพระนครได้ ข้างฝั่งตะวันออกเป็นที่ชัยภูมิเพราะเป็นหัวแหลม ถ้าสร้างเมืองแต่ฟากเดียว จะได้แม่น้ำใหญ่เป็นคูเมืองทั้งด้านตะวันตก และด้านใต้ ต้องขุดคลองเป็นคูเมืองแต่ด้านเหนือกับด้านตะวันออกเท่านั้น ถึงข้าศึกจะเข้ามาได้ถึงพระนครก็พอต่อสู้ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงโปรดให้ย้ายพระนคร มาสร้างฟากตะวันออกแต่ฝั่งเดียว น่าจะถึงได้เคยเป็นปัญหาปรึกษาหารือกันในรัฐบาลแต่ครั้งกรุงธนบุรี . . .ข้อนี้พึงเห็นได้ด้วยพอเสด็จปราบดาภิเษกแล้ว ก็ให้ลงมือสร้างพระนครใหม่ทันที และธรรมดาการสร้างเมือง ซึ่งคิดทำโดยปัจจุบันทันที ไม่ตรวจตราภูมิลำเนาให้รู้แน่ชัด และไม่คิดประมาณการ ทั้งกำลังซึ่งจะสร้างให้ตลอดก่อนนั้น ใช่วิสัยที่จะเป็นได้ จึงเห็นว่าการย้ายพระนคร มาสร้างฝั่งตะวันออกเป็นการที่ได้มีความคิดมาแต่ครั้งกรุงธนบุรีแล้ว
    การสร้างกรุงรัตนโกสินทร เป็นอันยุติว่าจะตั้งราชธานีอยู่ที่บางกอกนี้ต่อไป ไม่คิดกลับคืนไปตั้งที่กรุงศรีอยุธยาอย่างโบราณ จึงมีรับสั่งให้ขึ้นไปรื้อกำแพงกรุงเก่าเอาอิฐลงมาสร้างป้อมปราการกรุงเทพฯ และจะมิให้กรุงเก่าเป็นที่อาศัยของข้าศึกด้วยอีกประการ ๑ . . .
    ฯลฯ​

    สิงหาศน์ปรางค์รัตน์บรร เจิดหล้า

    การสร้างพระราชนิเวศน์วังใหม่ในครั้งนั้น ได้ถ่ายแบบพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยามาเกือบทุกอย่าง ได้แก่ กำหนดการสร้างกำแพงใกล้ชิดกับแม่น้ำเจ้าพระยา โดยหันหน้าวังขึ้นเหนือน้ำ เอาแม่น้ำไว้ด้านซ้ายอย่างพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา แล้วใช้กำแพงด้านข้างแม่น้ำเป็นกำแพงปราการชั้นนอก
    ทรงโปรดให้สร้างพระราชมณเทียรสถานขึ้นภายในพระราชวัง ในครั้งแรกนั้น ทรงโปรดให้สร้างด้วยเครื่องไม้ ส่วนป้อมและกำแพง พระอุโบสถ พระอารามหลวง ให้ก่ออิฐถือปูน สำหรับซุ้มประตู สร้างเครื่องไม้ยอดทรงมณฑป ประกอบลายปูนปั้น บานประตูทาสีแดงอย่างเดียวกับกรุงศรีอยุธยา

    พระราชพิธีปราบดาภิเษก
    ถึง ณ วันจันทร์ เดือนแปดปฐมาสาธ ขึ้นค่ำหนึ่ง ให้ตั้งการพระราชพิธีปราบดาภิเษกโดยสังเขป นิมนต์พระราชาคณะสวดพระพุทธมนต์ครบสามวันแล้ว รุ่งขึ้น ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๘ ขึ้น ๔ ค่ำ เพลารุ่งแล้วสี่บาท ได้มหามงคลอุดมวิชัยนักขัตฤกษ์ พระสุริยเทพบุตรทรงกลดจำรัสดวงปราศจากเมฆผ่องพื้นนภากาศ พระบาทสมเด็จบรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็เสด็จทรงเรือพระที่นั่งบัลลังก์ศรีสักหลาดประดับด้วยเรือจำนำท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวงแห่โดยกระบวนพยุหยาตราหน้าหลังพรั่งพร้อมเสร็จ ก็เสด็จข้ามมหาคงคามา ณ ฝั่งฟากตะวันออก เสด็จขึ้นฉนวนหน้าพระราชวังใหม่ ทรงพระเสลี่ยง ตำรวจแห่หน้าหลัง เสด็จขึ้นยังพระราชมนเทียรสถาน ทรงถวายนมัสการพระรัตนตรัยด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วเถลิงสถิตเบื้องบนมงคลราชมัญจะอาศน์พระกระยาสนาน พระสงฆ์ถวายพระปริโตทกธารเบญจสุทธคงคามุทธาภิสิตวารี ชีพ่อพราหมณ์ถวายตรีสังข์หลั่งมงคลธารา อวยอาเศียรพาทพิษณุอิศวรเวทถวายชัยวัฒนาการ พระโหราลั่นฆ้องชัยให้ประโคมขานเบญจางคดุริยดนตรีแตรสังข์ประนังศัพท์สำเนียงนฤนาท พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสถิตเหนือภัทรบิฐอันกั้งบวรเศวตราชาฉัตร พระราชครูปโรหิตาจารย์ก็กราบบังคมทูลถวายไอสุริยราชสมบัติ และเครื่องเบญจพิธราชกกุธภัณฑ์ พระแสงอัษฎาวุธ อัญเชิญขึ้นปราบดาภิเษกเสวยสวรรยาธิปัติ ถว้ลยราชย์ดำรงแผ่นดินสืปไป
    ขณะเมื่อได้ราชสมบัตินั้นพระชนมายุได้สี่สิบหกพรรษา จึงพระสังฆราชราชาคณะคามวาสีอรัญวาสี และชีพเอพราหมณ์พฤฒาจารย์ทั้งหลายพร้อมกันถวายพระนามว่า

    [​IMG]


    พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี
    ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิเบดินทร์ ธรณินทราธิราช
    รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์บรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศัย
    สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หรินทราธาดาธิบดี
    ศรีวิบุลยคุณอัคนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรหันต์
    บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัยพรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรบรมาธิเบศร
    โลกเชฎฐวิสุทธิรัตนมกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูรบรมบพิตร
    พระพุทธเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุธยา
    มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมพระราชนิเวศน์มหาสถาน
    จารึกพระนามลงในแผ่นพระสุพรรณบัฏ

    วันจันทร์ เดือนแปดปฐมาสาธ ขึ้นค่ำหนึ่ง ตรงกับ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๕


    เจ้าพระยาสุรสีห์เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
    . . . แล้วตั้งผู้มีความชอบออกไปเป็นพระยาพระหลวงครองหัวเมือง
    จึงมีพระราชโองการดำรัสให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเสด็จเถลิงราชมไหสวรรย์ ณ ที่พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ว่าราชการพระนครกึ่งหนึ่ง โดยดังโบราณจารีตราชประเพณีมหากษัตราธิราชเจ้าแต่ก่อนมา และสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรก็ไปฐาปนาราชธานีขึ้นใหม่ใกล้ตามคฤหฐานที่เดิมตั้งเป็นพระราชวังหน้า . . .

    ทรงพระกรุณาโปรดตั้งพระเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่ เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอกรมพระเทพสุดาวดี และตั้งพระเชษฐภคินีพระองค์น้อย เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอกรมพระศรีสุดารักษ์ โปรดให้พระยาสุริยอภัยพระราชนัดดาผู้ใหญ่ เป็น สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ ครั้นภายหลังเห็นว่ายศศักดิ์ยังไม่สมควรแก่ความชอบที่มีมากจึงโปรดให้เลื่อนขึ้น เป็น กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ฝ่ายหลัง รับพระราชบัญชา ตั้งวังอยู่ที่สวนลิ้นจี่ในเมืองฟากตะวันตกริมคลองบางกอกน้อย ดำรัสให้หาพระอภัยสุริยาราชนัดดาลงมาแต่เมืองนครราสสีมาโปรดตั้งให้เป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์ ให้เสด็จไปอยู่ ณ วังเก่าเจ้าตาก
    อนึ่ง พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใหญ่ พระชนม์ได้สิบหกพระพรรษา ทรงพระกรุณาโปรดตั้งเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ให้เสด็จอยู่ ณ บ้านหลวง ที่วังเดิม พระราชทานเครื่องราชูปโภค มีพานพระศรีทองเป็นต้น โดยควรแก่ยศถาบรรดาศักดิ์ทุกๆ พระองค์ . . .
    ฯลฯ ​
    . . . แล้วตั้งผู้มีความชอบออกไปเป็นพระยาพระหลวงครองหัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา ปากใต้ ฝ่ายเหนือ ทั้งปวงทุกๆ เมือง

    บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
    ในปีขาล จัตวาศก (จ.ศ.๑๑๔๔ - พ.ศ.๒๓๒๕) นั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์จึงดำรัสปรึกษากันว่า . . . ควรจะจัดแจงฝ่ายพุทธจักรบำรุงพระพุทธศาสนาซึ่งทรุดโทรมเศร้าหมองนั้นให้วัฒนาการรุ่งเรืองสืบไป
    ฯลฯ
    . . . จึงทรงถวายเงินตราเป็นค่าบิณฑบาตปัจจัยแก่พระราชาคณะเปรียญทุกๆ พระอาราม เป็นนิตยภัตทุกๆ เดือนมิได้ขาด

    ครั้นทรงจัดแจงฝ่ายพระพุทธจักรเสร็จแล้ว จึงโปรดให้พระยาราชาเศรษฐีกลับออกไปครองเมืองพุทไธมาศดังเก่า แล้วทรงเห็นว่าเมืองพุทไธมาศเป็นเมืองหน้าศึกใกล้กันกับแดนเมืองญวน จึงโปรดให้พระยาทัศดาออกไปช่วยราชการป้องกันเมืองด้วย

    กัมพุชประเทศ
    เจ้าพระยายมราช เป็นเจ้าพระยาอภัยภูเบศรครองกรุงกัมพูชา
    ฝ่ายข้างกัมพุชประเทศนั้นทรงตั้งเจ้าพระยายมราชเขมรผู้มีความชอบ (ที่ได้นำกองทัพเขมรล้อมกองทัพกรมขุนอินทรพิทักษ์ไว้ ไม่ให้ทราบข่าวจลาจลที่กรุงธนบุรี) เป็นเจ้าพระยาอภัยภูเบศรครองกรุงกัมพูชา แล้วให้ส่งราชบุตร นักพระอุทัยราชาทั้งสี่องค์เข้ามา ณ กรุงฯ พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเลี้ยงนักพระองค์เองเป็นพระราชบุตรบุญธรรม นักพระองค์มินนั้นถึงแก่พิราลัย พระองค์อี พระองค์เภาหญิงทั้งสองนั้น สมเด็จพระอนุชาธิราช ขอพระราชทานไปเลี้ยงไว้เป็นพระสนม อยู่ ณ พระราชวังหน้า

    ลาวประเทศ
    เจ้านันทเสน ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต
    ฝ่ายข้างลาวประเทศนั้น เจ้าบุญสารพระเจ้าล้านช้างเก่า กลับมาแต่เมืองคำเกิดมา ณ เมืองล้านช้าง จับพระยาสุโภซึ่งรั้งเมืองอยู่นั้น ฆ่าเสีย
    พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ จึงโปรดให้เจ้านันทเสนราชบุตรนั้น กลับขึ้นไปครองกรุงศรีสัตนาคนหุตสืบไป เจ้านันทเสนจึงกราบทูลขอพระบางกลับคืนไปด้วย ครั้นขึ้นไปถึงเมืองบ่มิได้ช้า เจ้าบุญสารผู้บิดาก็ถึงแก่พิราลัย และพระเจ้าล้านช้างใหม่กระทำฌาปนกิจเสร็จแล้ว ก็บอกส่งเจ้าอินทร เจ้าพรหม และเจ้าน้องทั้งปวงนั้นลงมาถวาย ณ กรุงฯ ทรงพระกรุณาให้เลี้ยงไว้

    [​IMG]

    พระบาง

    (เจ้าศิริบุญสารฯ พาเจ้าอินทร เจ้าพรหม ราชบุตร และคนสนิทหนี ไปเมืองคำเกิด ต่อแดนญวน ตั้งแต่ ปีจอ พ.ศ.๒๓๓๑ คราว สงครามกรุงธนบุรี - กรุงศรีสัตนาคนหุต ในธนบุรีสมัยจบ (๕))

    ในปีขาล จัตวาศกนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชบุตร พระราชบุตรี พระราชนัดดา ซึ่งยังทรงพระเยาว์นั้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้า ทั้งสิ้น

    เมืองญวน
    องเชียงสือแพ้ หนีองไกเซิน
    ในปลาย พ.ศ.๒๓๒๕ พวกองไกเซินกลับตีและยึดเมืองไซง่อนได้อีก องเชียงสือเองสู้รบไม่ได้ต้องแตกฉานพ่ายหนีทิ้งเมือง พาบุตรภรรยา และขุนนางสมัครพรรคพวกลงเรือหนีมาทางทะเล ขึ้นอาศัยอยู่ ณ เกาะโดดหน้าเมืองพุทไธมาศ พระยาราชาเศรษฐี และพระยาทัศดา เจรจาเกลี้ยกล่อมได้ตัวองเชียงสือกับทั้งสมัครพรรคพวก ส่งเข้ามาถวาย ณ กรุงฯ ทรงพระกรุณาให้เลี้ยงไว้ โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ตำบลคอกกระบือ

    พระขรรค์ชัยศรี
    ในปีเถาะ เบญจศก จ.ศ.๑๑๔๕ นั้น วันศุกร์ เดือนห้าแรมเก้าค่ำ ตรงกับวันศุกร์ วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๖ เจ้าพระยาอภัยภูเบศรผู้ครองกรุงกัมพูชา ให้พระยาพระเขมรเชืญเอาพระขรรค์ชัยศรีแต่ครั้งพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์เข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย ในวันนั้นบังเกิดพายุใหญ่ ฝนตก อสุนีบาตลงศาลาลูกขุนใน

    เมืองพม่า
    ปีเถาะ เบญจศก จ.ศ.๑๑๔๕ พ.ศ.๒๓๒๖
    เมื่อปราบปรามความไม่สงบได้ราบคาบ ทั้งในเขตพม่า รามัญ และไทยใหญ่ แล้ว ทรงสร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่กรุงอมรปุระ แล้วทรงส่งกองทัพไปตีประเทศมณีปุระทางเหนือ และประเทศยะไข่ ทางตะวันตก แผ่พระราชอาณาเขตกว้างไกลไพศาลกว่ารัชกาลก่อนๆ
    พระเจ้าปดุงให้สร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันตก ไกลกรุงอังวะสามร้อยเส้น (ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร) ให้นามเมืองอมรปุระ ตั้งเป็นเมืองหลวง

    [​IMG]

    Royal palace established by king Bodawpaya at Amarapura.


    พ.ศ.๒๓๒๖ (ค.ศ.๑๗๘๓) ฝรั่งเศสได้ส่งทูตมาเจรจาขอทำสนธิสัญญาทางการค้ากับราชสำนักพม่า แต่ไม่สำเร็จ​

    ทรงพระกรุณาช่วยองเชียงสือ ปราบกบฏ
    และปีเถาะ เบญจศก จ.ศ.๑๑๔๕ (พ.ศ.๒๓๒๖) นั้น ทรงพระกรุณาให้พระยานครสวรรค์ยกกองทัพออกไปกรุงกัมพูชา ให้เกณฑ์กองทัพเขมรเข้าบรรจบด้วยยกไปรบญวนตีเมืองไซ่ง่อนคืนให้องเชียงสือ
    ฝ่ายกองทัพพระยานครสวรรค์ เกณฑ์กองทัพเขมรเข้ามาบรรจบยกทัพเรือลงไป ณ เมืองญวน เมืองไซ่ง่อนยกทัพเรือขึ้นมาต่อรบป้องกันเมืองสักแดกซึ่งเป็นเมืองขึ้น ได้รบกับกองทัพไทยเป็นสามารถ พระยานครสวรรค์มีฝีมือเข้มแข็งยกทัพเรือเข้าตีทัพญวนแตกพ่ายเป็นหลายครั้ง ได้เรือและไพร่พลญวนเครื่องศัสตราวุธปืนใหญ่น้อยเป็นอันมาก แล้วส่งคืนลงไปให้แก่กองทัพญวน
    พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ดำรัสให้หากองทัพพระยานครสวรรค์กลับคืนเข้ามา ณ กรุงฯ ทรงพระกรุณาให้เสนาบดีพิจารณาได้ความจริงจึงดำรัสให้เอาตัวพระยานครสวรรค์ไปประหารชีวิต



    ทรงพระกรุณาช่วยองเชียงสือ ปราบกบฏ ครั้งที่ ๒
    ลุศักราช ๑๑๔๖ ปีมะโรง (พ.ศ.๒๓๒๗) ถึงเดือนหก มีพระราชดำรัสให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ถือพลทหาร ๕,๐๐๐ ยกกองทัพเรือออกไปตีเมืองไซ่ง่อนคืนองเชียงสือ ให้จงได้ ให้เอาตัวองเชียงสือ ไปในกองทัพด้วย
    กองทัพเรือออกไปทางทะเลถึงเมืองพุทไธมาศเกณฑ์เอากองทัพพระยาราชาเศรษฐี พระยาทัศดาเมืองพุทไธมาศเข้าบรรจบ ไปตั้งค่ายอยู่อ่าวมะนาวริมแม่น้ำเมืองสักแดก แล้วให้องเชียงสือแต่งขุนนางญวนไปเกลี้ยกล่อมพวกญวนในแว่นแคว้นเมืองสัดแดก เมืองล่งโห้ เมืองสม่าถ่อ มาเข้าด้วยเป็นอันมาก ฝ่ายเมืองไซ่ง่อนก็แต่งทัพเรือยกมาต่อรบ ได้รบกันเป็นหลายครั้งยังไม่แพ้ชนะกัน ครั้งนั้น เป็นเทศกาลเดือนสิบสอง หน้าน้ำ น้ำนองไปทั้งทุ่ง
    วันหนึ่งทัพเรือไทยยกไปรบทัพเรือญวน แล้วถอยขึ้นมา เอาหัวเรือเข้าจอดอยู่หน้าค่าย รี้พลขึ้นบกเข้าค่าย ทิ้งเครื่องศัตราวุธปืนใหญ่น้อยไว้ในเรือ ด้วยมีความประมาท มิได้ระวังข้าศึก ครั้นน้ำขึ้นทัพเรือญวนยกตามขึ้นมาถึงหน้าค่าย ยิงปืนระดมขึ้นมาทำลายค่าย ต้องไทยในค่ายตายเป็นหลายคน ทหารไทยเสียทีจะลงเรือต่อรบมิทัน ทิ้งค่ายเสียแตกหนีมาทั้งสิ้น พลทัพไทยลุยน้ำเพียงอกบ้าง เพียงเอวบ้าง หนีข้าศึกเข้าแดนกรุงกัมพูชา กองทัพญวนมิได้ติดตาม เก็บได้เรือรบ เครื่องศัตราวุธปืนใหญ่น้อยไปทั้งสิ้น เลิกทัพกลับไป
    กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กับองเชียงสือหยุดพักพลอยู่ ณ กรุงกัมพูชา บอกข้อราชการเข้ามา ณ กรุงฯ

    กรุงเทพมหานคร
    ข้างฝ่ายกรุงเทพมหานคร สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ดำรัสให้ขุดหีบศพเจ้าตากขึ้นตั้งไว้ ณ เมรุวัดบางยี่เรือใต้ ให้มีการมหรสพ และพระราชทานพระสงฆ์บังสุกุล เสด็จไปพระราชทานเพลิงทั้งสองพระองค์



    เมืองพม่า
    พ.ศ.๒๓๒๗ เกิดปัญหาในแคว้นยะไข่ (Rakhine) พระเจ้าปดุง (โพธิพญา) จึงทรงส่งกองทัพบุกเข้าไปทั้งทางบก และทางเรือ ซึ่งชาวยะไข่ต้อนรับกองทัพพม่าเป็นอย่างดีในฐานะผู้มาแก้ปัญหา แต่กองทัพพม่ากลับยึดเอาพระมหามัยมุนี พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวยะไข่ไปประดิษฐานไว้ที่กรุงอมรปุระ (Amarapura) ทำให้ชาวยะไข่โกรธแค้นมาก


    [​IMG]

    พระมหามัยมุนี
    พระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของชาวยะไข่
    เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๗ กองทัพพระเจ้าปดุงนำไปไว้ที่กรุงอมรปุระ เมืองหลวงของพม่าในสมัยนั้น
    ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดมหามัยมุนี นครมัณฑะเลย์


    พระราชวังใหม่ - สร้างพระมหาปราสาท
    ปีมะโรง ศักราช ๑๑๔๖ (พ.ศ.๒๓๒๗) นั้นทรงพระกรุณาให้ฐาปนามหาปราสาทในพระราชวังหลวง ครั้งนั้นน้ำทะเลขึ้นแรงเต็มขึ้นมาถึงพระนคร ครั้นถึง ณ วันศุกร์ เดือนสามขึ้นสิบเอ็ดค่ำ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะโรง จ.ศ.๑๑๔๖ ตรงกับวันศุกร์ วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๓๒๗ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ กับกรมพระราชวังหลัง และเจ้าต่างกรมทั้งปวงพร้อมกันเสด็จโดยทางชลมารคไปปิดคลองปากลัด ดำรัสให้เกณฑ์ข้าราชการขนมูลดินและอิฐหักถมทำนบกั้นน้ำ แล้วให้เกณฑ์กันขึ้นไปรื้ออิฐกำแพงกรุงเก่า บรรทุกเรือลงมาถมทำนบจนสูงเสมอฝั่ง

    ลงพระราชอาญาพระเจ้าหลานเธอ
    ครั้น วันศุกร์ เดือนสามขึ้นสิบเอ็ดค่ำ หนังสือบอกราชการทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ มาถึงพระนคร จึงดำรัสให้หากองทัพกลับเข้ามา แล้วลงพระราชอาญาจำพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ และท้าวพระยาผู้ใหญ่ ซึ่งเสียทัพกับทั้งเรือรบเรือลำเลียงและเครื่องศัตราวุธปืนใหญ่น้อยแก่ข้าศึกนั้น

    พระมหาปราสาทองค์แรก
    การพระมหาปราสาทนั้น ยกเครื่องบนสำเร็จบริบูรณ์ลงรักปิดทองแล้ว ในวันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำปีมะโรง ฉศก จุลศักราช ๑๑๔๖ ตรงกับวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๒๗ เพลาเช้าสองโมงสี่บาท ได้อุดมฤกษ์ยกยอดเอกพระมหาปราสาท ข้างต้นมีพรหมพักตร์ แล้วปักพุ่มข้าวบิณฑ์บนปลายยอดด้วย พระราชทานนามว่า พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท

    อัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ ( ตรงกับวันเสาร์ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2327(28) - http://www.payakorn.com/moondate.php ) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกตจากโรงในวังเก่าฟากตะวันตก ลงเรือพระที่นั่งกิ่ง มีเรือแห่เป็นกระบวนข้ามฟากมาเข้าพระราชวัง อัญเชิญเข้ามาประดิษฐานในพระอุโบสถพระอารามใหม่ในพระราชวังใหม่ แล้วให้นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะประชุมกระทำสังฆกรรมสวดผูกพัธสีมาในวันนั้น และการพระอารามนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงตั้งนามว่า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

    [​IMG]

    [​IMG][​IMG]








    [​IMG]


    [​IMG]
    [​IMG]

    นอกพระระเบียงด้านตะวันออกมี "พระมหาเจดีย์ฐานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ" ซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญของพระอาราม คือพระอัษฎามหาเจดีย์ ๘ องค์ ทรงพระปรางค์ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี รายอยู่เป็นระยะ มีชื่อ เรียงตามองค์ด้านทิศเหนือ มาใต้ ดังนี้ ​
    พระสัมมาสัมพุทธมหาเจดีย์(สีขาว) พระสัทธรรมปริยัติวรามหาเจดีย์ (สีน้ำเงินเข้ม) พระอริยสงฆ์สาวกมหาเจดีย์ (สีชมภู) พระอริยสาวกภิกษุณีสังฆมหาเจดีย์ (สีเขียว) พระปัจเจกโพธิสัมพุทธามหาเจดีย์ (สีม่วง) พระจักรวัติราชมหาเจดีย์ (สีน้ำเงิน) พระโพธิสัตวกฤษฎามหาเจดีย์ (สีแดง) พระศรีอริยเมตยมหาเจดีย์ (สีเหลือง)




    ปีมะเส็ง สัปตศก จ.ศ.๑๑๔๗ (พ.ศ. ๒๓๒๘)
    ทรงพระกรุณาให้ตั้งกองสักเลกไพร่หลวงสมกำลังและเลกหัวเมืองทั้งเดิมทั้งขึ้นสักเลกพลังมือทั้งสิ้น แล้วให้เกณฑ์เลกหัวเมืองขึ้น ทั้งไทย ลาว เขมรทั้งปวง กับทั้งเลกไพร่หลวงสมกำลังเกณฑ์ทำอิฐจะก่อกำแพงสร้างพระนครใหม่ ให้รื้อป้อมวิไชเยนทร์ และกำแพงเมืองเก่าฟากตะวันออกเสีย ขยายพระนครออกไปให้กว้างกว่าเก่า แล้วเกณฑ์เลกลาวเขมรหัวเมือง ให้ขุดคูคลองพระนครด้านตะวันออก ตั้งแต่วัดเชิงเลน (ปัจจุบันคือวัดบพิตรพิมุข) ขึ้นมาถึงวัดสะแก ไปถึงวัดบางลำพู (ปัจจุบันคือวัดสามพระยา) ออกบรรจบแม่น้ำทั้งสองข้าง และ วัดสะแกนั้นพระราชทานนามใหม่ว่าวัดสระเกศ . . . ขุดรากก่อกำแพงพระนครทั้งด้านแม่น้ำและด้านในคลองบรรจบกันโดยรอบ ให้ก่อเชิงเทินและป้อม ทำบรรจบคลองคูใหม่นอกเมือง ให้ทำสะพานช้าง และสะพานน้อยข้ามคลองภายในพระนครเป็นหลายตำบล แล้วให้ขุดคลองใหญ่เหนือวัดสระเกศ พระราชทานนามว่าคลองมหานาค ไว้เป็นที่สำหรับประชาชนชาวพระนครลงเรือเล่นเพลงเล่นสักวาเทศกาลน้ำเหมือนครั้งกรุงเก่า
    คูคลองพระนครด้านตะวันออก นี้พระราชทานชื่อว่า "คลองรอบกรุง"
    (คูคลองพระนครด้านตะวันออก หรือ "คลองรอบกรุง" นี้ ปากคลองด้านเหนือบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่วัดบางลำพู เรียก คลองบางลำพู ส่วนปากคลองด้านใต้บรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่วัดเชิงเลนนั้น เรียก คลองโอ่งอ่าง)



    [​IMG]

    [​IMG]

















    กำแพงพระนคร ประตู และป้อม

    [​IMG]

    กำแพงพระนครที่สร้างขึ้นนี้ ยาวประมาณ ๗,๒๐๐ เมตร กำแพงสูงประมาณ ๓.๕ เมตร มีประตูเมือง ๑๖ ประตู เป็นประตูทรงมณฑปเครื่องไม้ ทาดินแดงแบบกรุงศรีอยุธยา ประตูพฤฒิมาศ หรือ พฤฒิบาศ หรือพฤฒาบาศ อยู่ด้านตะวันออก ใกล้ป้อมมหากาฬ ประตูสำราญราษฎร์ เป็นประตูที่นำศพของราษฎรออก เรียกกันทั่วไปว่า ประตูผี
    สมัยแรกสร้างทำเป็นประตูเครื่องไม้

    ประตูเมือง (ในสมัยรัชกาลที่ ๕) เข้าใจว่าจะเป็นประตูประตูพฤฒิมาศ หรือ พฤฒิบาศ หรือพฤฒาบาศ และป้อมที่เห็นถัดไปก็น่าจะเป็นป้อมมหากาฬ เห็นภูเขาทอง วัดสระเกศฯ เป็นฉากหลัง >



    ตามแนวกำแพงพระนครด้านแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองรอบกรุง มีการสร้างป้อม จำนวน ๑๔ ป้อม มีชื่อป้อม จากด้านเหนือเวียนไปทางขวา (ตามเข็มนาฬิกา) ดังนี้
    ตามแนวกำแพงด้านคลองรอบกรุง (ด้านตะวันออก)
    ป้อมพระสุเมรุ อยู่ที่ปากคลองบางลำพูบน ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพระนคร ป้อมยุคนธร ป้อมมหาปราบ ป้อมมหากาฬ อยู่ใกล้ปากคลองมหานาคบรรจบคลองรอบกรุง ป้อมหมูทลวง ป้อมเสือทยาน ป้อมมหาไชย ป้อมจักรเพชร อยู่บริเวณปากคลองโอ่งอ่าง
    ตามแนวกำแพงด้านแม่น้ำเจ้าพระยา (ด้านตะวันตก)
    ป้อมผีเสื้อ อยู่ปากคลองคูเมืองเดิมด้านใต้ ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ป้อมมหาฤกษ์ อยู่ตรงข้ามป้อมวิไชเยนทร์ ฝั่งตะวันตก (น่าจะสร้างทับบนพื้นที่ของป้อมวิไชเยนทร์ ฝั่งตะวันออก) ป้อมมหายักษ์ อยู่ริมแม่น้ำ เยื้องวัดโพธาราม ป้อมพระจันทร์ อยู่ระหว่างพระราชวังใหม่ และ พระราชวังหน้า ป้อมพระอาทิตย์ อยู่ปากคลองคูเมืองเดิมด้านเหนือ ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ป้อมอิสินทร อยู่ระหว่างป้อมพระอาทิตย์กับป้อมพระสุเมรุ

    [​IMG]




    [​IMG]



    ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ป้อมพระสุเมรุ ที่หัวมุมถนนพระอาทิตย์ - ถนนพระสุเมรุ บางลำพู และ ป้อมมหากาฬ ที่เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เท่านั้น




    [​IMG]
    [​IMG]




    < ป้อมพระสุเมรุ
    ป้อมมหากาฬ >



    [​IMG]
    [​IMG]




    ป้อมมหากาฬ
    และกำแพงพระนคร ที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน



    กำแพงพระราชวังใหม่
    ประตูพระราชวังใหม่ชั้นนอก เมื่อแรกสร้างพระนคร เป็นประตูไม้ยอดทรงมณฑป มี ๑๗ ประตู แต่ในรัชกาลต่อๆ มา ได้ขยายกำแพงพระราชวังออกไป จึงมีการสร้างประตูขึ้นให้พอแก่การ ในปัจจุบัน ประตูพระบรมมหาราชวัง มี ดังนี้ คือ ประตูวิมานเทเวศร์ วิเศษไชยศรี มณีนพรัตน์ สวัสดิโสภา เทวาพิทักษ์ ศักดิ์ไชยสิทธ์ วิจิตรบรรจง อนงคารักษ์ พิทักษ์บวร อุดมสุดารักษ์ เทวาภิรมย์ สุนทรทิศา อ่านดูแล้วรู้สึกสะดุดๆ นะครับ แต่ประตูด้านตะวันตก คือด้านแม่น้ำเจ้าพระยา หรือด้านถนนท้ายวัง ก็คล้องจองกัน คือ สุนทรทิศา เทวาภิรมย์ อุดมสุดารักษ์


    [​IMG]
    [​IMG]





    < ประตูสวัสดิโสภา ด้านทิศตะวันออก (ถนนสมามไชย) เป็นประตูซุ้มยอดปรางค์
    ประตูวิจิตรบรรจง ด้านทิศตะวันตก (ถนนท้ายวัง - แม่น้ำเจ้าพระยา) เป็นประตูแบบหอรบ >




    รอบกำแพงพระราชวังใหม่ได้มีการสร้างป้อมหอรบ บางป้อมมีหลังคาคลุมด้วย ป้อมที่สร้างในยุคแรกได้แก่ เวียนขวานะครับ อินทรรังสรรค์ ขันธ์เขื่อนเพชร เผด็จดัสกร สิงขรขัณฑ์ อนันตคิรี มณีปราการ พิศาลสีมา มหาโลหะ
    ป้อมรอบกำแพงพระราชวังใหม่นี้ หากจะเรียกชื่อกลับหลังเป็นหน้า และ เวียนซ้าย ก็คล้องจองกันนะครับ โลหะมหา - สีมาพิศาล - ปราการมณี - คีรีอนันต - ขัณฑ์สิงขร - ดัสกรเผด็จ - เพชรเขื่อนขันธ์ - รังสรรค์อินทร

    สร้าง - เสร็จ - สมโภช
    ครั้นการฐาปนาพระนครใหม่สำเร็จบริบูรณ์แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดให้มีงานฉลองสมโภชพระนคร ให้นิมนต์พระสงฆ์ทุก๐ พระอารามทั้งในกรุงนอกกรุง ขึ้นสวดพระพุทธมนต์บนเชิงเทินทุกใบเสมาๆ ละองค์ๆ รอบพระนคร ให้ตั้งโรงทานรายรอบพระนคร พระราชทานเลี้ยงยาจกวณิพกทั้งปวง แล้วให้ตั้งต้นกัลปพฤกษ์รายรอบกำแพงเมือง ทิ้งทานต้นละชั่งทั้งสามวัน ให้มีงานมหรสพต่างๆ กับทั้งละครผู้หญิงโรงใหญ่ สมโภชวัดพระศรีรัตนศาสดารามรวมกับทั้งพระนครด้วยครบสามวันเป็นกำหนด
    ครั้นเสร็จการฉลองพระนครแล้ว จึงพระราชทานนามพระนครใหม่ เปลี่ยนแปลงจากกรุงเก่าว่า

    กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร มหินทรอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน ราชธานีบุรีรมย์
    อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมารอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ ​




    . . . แขกที่ไม่ได้รับเชิญ . . .เป็นคนหลายหมื่นหลายทัพ
    ในปีมะเส็ง สัปตศกนั้น ฝ่ายข้างพุกามประเทศ น้องพระเจ้าปดุงนั้นคิดการกบฏ พระเจ้าปดุงให้จับประหารชีวิตเสีย ในปีนั้นเอง พระเจ้าปดุงก็สามารถปราบปรามความไม่สงบได้ราบคาบ ทั้งในเขตพม่า รามัญ ไทยใหญ่ การส่งกองทัพไปตีประเทศมณีปุระทางเหนือ และประเทศยะไข่ ทางตะวันตก แผ่พระราชอาณาเขตกว้างไกลไพศาลกว่ารัชกาลก่อนๆ แล้วได้ทราบถึงกิดาการแห่งกรุงไทยว่าผลัดแผ่นดินใหม่ จึงดำริการสงครามซึ่งจะมาตีพระนครศรีอยุธยา ให้เป็นพระเกียรติยศ บ้าง เฉกเช่น พระเจ้าอลองพญา พระบิดา และพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ในกาลก่อน จึงให้เกณฑ์กองทัพพม่ามอญเมงทวายยะไข่กะแซลาวและเงี้ยวเป็นคนหลายหมื่นหลายทัพ พยุหแสนยากรใหญ่หลวงยิ่งกว่ากองทัพพม่าแต่ครั้งที่เคยปรากฏมาในพงศาวดาร . . . หมายจะตีเอาเมืองไทยให้จงได้



    ครับ . . . นับแต่อยุธยายศล่มแล้ว ก็ได้เพราะบรรพชนไทยกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเปี่ยมไปด้วย ความกล้าหาญ และเสียสละ ยอมเสี่ยง ยอมสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อกู้กรุงไกรเกรียงยศ ให้พี่น้องไทยได้อิสรภาพกลับคืนคงในแผ่นดิน จนลอยสวรรค์ ลง(ฤๅ) ได้ ก็เป็นช่วงที่เพื่อนบ้านใกล้ชิดทางทิศตะวันตก ต้องจัดระเบียบภายใน ไทยเราจึงได้มีเวลาราชธานีใหม่ในพระราชอาณาจักรสยาม ก็เมื่อต่างฝ่ายจัดการภายในเรียบร้อยแล้ว การสงครามคราวใหม่ก็เริ่มอีก ครับ คราวนี้ยกมา ๕ ทาง แต่พวกเราคุ้นกันในชื่อ สงครามเก้าทัพ . . .




    [​IMG]


    สถานการณ์ต่อไป . . . สงครามเก้าทัพ
    สถานการณ์ต่อไป . . . สงครามเก้าทัพ
    สถานการณ์ต่อไป . . . สงครามเก้าทัพ


    ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐​


    บรรณานุกรม
    - ไทยรบพม่า พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    - จดหมายเหตุการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวัง ในการฉลองพระนครครบ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕ ภาคที่ ๑ โรงพิมพ์
    ยูไนเต็ดโปรดักชั่น จำกัด กรุงเทพฯ
    - พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบรัลเล พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๕๕๑ สำนักพิมพ์โฆษิต บางแค กรุงเทพฯ
    - ประวัติศาสตร์พม่า หม่องทินอ่อง เพ็ชรี สุมิตร แปล โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มิถุนายน ๒๕๔๘
    - ข้อมูล และรูปภาพ ส่วนหนึ่งได้นำมาจาก เว็ปไซต์ ต่างๆ ทำให้เรื่องสมบูรณ์และน่าอ่านยิ่งขึ้น จึงขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ แลหากท่านที่มีข้อมูลที่แตกต่าง หรือมีข้อคิดเห็น คำแนะนำ ขอโปรดแจ้งให้ทราบเพื่อจะได้ตรวจสอบ และดำเนินการ เพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจโดยทั่วไป

     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กยศ.เตรียมฟ้องนักศึกษานับแสน เบี้ยวหนี้กู้ยืมเรียน

    ?ˆ ൃՂ?鍧 ?ѡȖ?ɒ ຕ邇˹թ?٩—??ˆ.


    [​IMG]

    กยส.เตรียมฟ้องนักศึกษานับแสน เบี้ยวหนี้กู้ยืมเรียน (ไทยรัฐ)

    เลขาธิการศาลยุติธรรมเผยศาลร่วมกับ กยศ. - แบงก์กรุงไทยผุดโครงการไกล่เกลี่ยลูกหนี้กองทุน กยศ. เพื่อลดปริมาณคดีในศาล หลังพบเฉพาะปีนี้ลูกหนี้เข้าข่ายถูกฟ้องร่วม 1.5 แสนคน

    นายวิรัช ชินวินิจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม แถลงวันนี้ (15 ต.ค.) ว่า ตามที่มีผู้ขอกู้ยืมเงินจากกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) จนจบการศึกษาไปทำงาน แล้วขาดการติดต่อกับกองทุนนาน 5 ปี จนถูกกองทุนเลิกสัญญาและทราบว่าจะฟ้องในปีนี้ 148,613 ราย และปีหน้าจะถูกฟ้องอีก 161,793 ราย ทำให้เกิดปัญหามีปริมาณคดีเข้าสู่ศาลจำนวนมาก และผู้ถูกฟ้องจะกลายเป็นผู้มีชนักติดหลัง กลัวจะถูกฟ้องจนไม่มีกำลังใจทำงาน ดังนั้นศาลยุติธรรม โดยสำนักงานระงับข้อพิพาทได้ร่วมมือกับ กยศ. โดยนายธาดา มาร์ติน และธนาคารกรุงไทย โดยนางศรีประภา พริ้งพงษ์ จึงจัดโครงการชื่อ ไกล่เกลี่ยผู้กู้ค้างชำระ ในศาล 36 จังหวัดขึ้น

    เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวต่อว่า โครงการไกล่เกลี่ยผู้กู้ค้างชำระในศาล 36 จังหวัด มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกผู้กู้มาเจรจาสร้างความเข้าใจว่ากู้แล้วต้องคืนเงิน เพราะจะได้เอาเงินไปให้คนรุ่นหลังได้กู้ไปเรียนบ้าง และมาไกล่เกลี่ยแล้วจะได้กลับไปทำงาน ส่วนกองทุนก็อยู่ได้ ซึ่งเรื่องนี้ นายสบโชต สุขารมย์ ประธานศาลฎีกา มีนโยบายให้ดำเนินการเต็มที่ เพราะหากไกล่เกลี่ยได้จะลดปริมาณคดีในศาล ใครได้รับหมายเรียกให้ไปที่ศาลใกล้บ้านใน 36 จังหวัดทันทีไม่มีค่าใช้จ่าย ส่วนคนที่ไม่มาติดต่อ อาจมีมาตรการบังคับคดีเอาจากเงินเดือนของผู้กู้ต่อไปได้





    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
    [​IMG]


    http://hilight.kapook.com/view/42557
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อังกฤษขาย"พัดลมไร้ใบ"

    ˹ѧʗ;ԁ?좨҇ʴ͍?䅹젺 ?ú?ءÊ ʴ?ء?荧==

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>บริษัทไดสัน เปิดตัวพัดลมไฮเทคชนิดไร้ใบ เป่าลมแรงกว่าพัดลมทั่วๆ ไปตามท้องตลาด 15 เท่า ราคาเครื่องละ 199 ปอนด์ หรือประมาณ 10,600 บาท

    เซอร์เจมส์ ไดสัน เจ้าของบริษัทไดสันและนักประดิษฐ์ชื่อดังของอังกฤษ กล่าวว่า ได้ความคิดพัฒนาพัดลมไร้ใบ รุ่น "แอร์ มัลติพลายเออร์" (Air Multiplier) ขณะกำลังคิดค้นเครื่องเป่ามือ

    โครงสร้างพัดลมดังกล่าวมี 2 ส่วน ใช้เวลาพัฒนามานานกว่า 3 ปี ประกอบด้วยส่วนฐาน ซึ่งปรับมุมได้ และส่วนเป่าลมทรงกลม ข้างในจะมีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.3 มิลลิเมตร คอยดูดและเป่าอากาศออกมาด้วยความเร็วสูงถึง 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    เซอร์ไดสัน กล่าวว่า ข้อดีของแอร์ มัลติพลายเออร์มีหลายประการ เช่น ไม่มีใบพัดจึงเหมาะกับบ้านที่มีเด็กเล็กๆ นิสัยซุกซนชอบเอามือแหย่เล่นตามอุปกรณ์ต่างๆ นอกจากนั้น ยังเป่ากระแสลมด้วยอัตราความเร็วคงที่ ให้ลมแรงกว่าพัดลมทั่วไป และไม่ต้องคอยถอดใบพัดมาล้างฝุ่น
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จังหวะรุ่งทอง อวสานดอลลาร์ ? จับทิศทางโลก ผ่านเกมการเงินธนาคารกลาง

    ˹ѧʗ;ԁ?컃ЪҪҵԸ؃?Ԩ͍?䅹젼 ൗ͹?سŨǧ˹钠?ء?Ӡ?ء?蒇

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ราคาทองคำ ทั้งทองแท่งและรูปพรรณยังคงขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาเปิดซื้อขายวันที่ 13 ตุลาคม ทองแท่งอยู่ที่ 16,450 (ซื้อ)/16,550 (ขาย) ทองรูปพรรณ 16,206.04 (ซื้อ)/16,950 (ขาย) สอดคล้องกับทิศทางของราคาในตลาดโลก ซึ่งเมื่อวันที่ 12 ต.ค. สัญญาฟิวเจอร์สทองคำงวดส่งมอบเดือนธันวาคม พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุด 1,060 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ระหว่างการซื้อขายก่อนปรับมาปิดที่ 1,057.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์

    นับจากต้นปี 2552 ถึงปัจจุบัน ราคาทองคำพุ่งทะยานขึ้นมาแล้วประมาณ 20% สถานการณ์ของตลาดทองสวนทางกับค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 2-3 สัปดาห์ ที่ผ่านมา โดยพบว่าดอลลาร์ซื้อที่ระดับประมาณ 1.47 ดอลลาร์ต่อยูโร อ่อนค่าลงนับจากเดือนมีนาคม 17% และอ่อนค่าราว 8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งช่วงนั้นดอลลาร์อยู่ที่ 1.60 ดอลลาร์ต่อยูโร

    ปรากฏการณ์ของดอลลาร์และทองคำในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งแรงกดดันมาถึงตลาดเงินในเอเชียอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะเงินเอเชียแทบทุกสกุลแข็งค่าขึ้นโดยอัตโนมัติ ตามแรงอ่อนค่าของดอลลาร์

    จากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ 9 ต.ค. เงินหยวนของจีนอยู่ที่ 6.8256 หยวนต่อดอลลาร์ เทียบกับ 6.8290 หยวนต่อดอลลาร์ของวันที่ 30 กันยายน รวมนับจากกลางปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงที่จีนนำระบบตะกร้าเงินมาใช้แทนการผูกค่าเงินไว้กับดอลลาร์สหรัฐ หยวนได้แข็งค่าขึ้นประมาณ 20%

    เช่นเดียวกับวอนของเกาหลีใต้ ที่แข็งมาอยู่ที่ 1,164.50 วอนต่อดอลลาร์ เทียบกับ 1,178.3 วอนต่อดอลลาร์ และค่าเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซีย ที่แข็งค่าขึ้นไปที่ 9,450 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ จาก 9,645 รูเปียห์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

    แรงแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของเงินเอเชีย ส่งผลให้ธนาคารกลางในภูมิภาคต้องสกัดการแข็งค่าของเงินท้องถิ่นหลายครั้งในช่วง ต้นเดือนตุลาคม อาทิ สำนักงานการเงินฮ่องกง ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าธนาคารกลางของเขตปกครองพิเศษแห่งนี้ยอมรับว่าได้แทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนทั้งสิ้น 3.88 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 500 ล้านดอลลาร์) เพื่อจำกัดการแข็งค่าของดอลลาร์ฮ่องกง

    ในเกาหลีใต้ เทรดเดอร์ค้าเงินตราคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้อาจเข้าแทรกแซงธนาคาร เพื่อหยุดการแข็งค่าของเงินวอน โดยประเมินว่าธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ใช้เงินเข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 500-1,000 ล้านดอลลาร์ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อสกัดให้วอนอยู่เหนือ 1,170 วอนต่อดอลลาร์

    ธ.กลางทั่วโลกปรับเกมบริหารทุนสำรอง

    นอกเหนือการแทรกแซงตลาดแล้ว ช่วงที่ผ่านมาธนาคารกลาง หลายแห่งทั่วโลกได้ปรับกลยุทธ์ในการบริหารทุนสำรองเงินตรา ต่างประเทศใหม่ โดยมีทั้งการลดสัดส่วนสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ในพอร์ตทุนสำรอง หันไปเพิ่มสินทรัพย์สกุลยูโรและเยนมากขึ้น

    ข้อมูลของบลูมเบิร์ก พบว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ถือครองทุนสำรองเพิ่มขึ้นราว 4.13 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาส 2 ของปีนี้ ซึ่งเป็นการเพิ่มของระดับทุนสำรองมากที่สุดนับจากปี 2546 รวม 7.3 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในจำนวนนั้น 63% ของทุนสำรองที่เพิ่มขึ้น เป็นสินทรัพย์สกุลยูโรและเยน ขณะที่สกุลดอลลาร์เพิ่มเพียง 37%

    ขณะที่ธนาคารกลางบางประเทศ อาทิ รัสเซียและจีน ได้หันมากว้านซื้อทองคำเก็บ โดยธนาคารกลางรัสเซียได้เข้าซื้อทองคำรวม 300,000 ออนซ์ ในเดือนสิงหาคม ขณะที่ธนาคารกลางจีนได้แสดงความสนใจจะเข้าซื้อทองคำทั้ง 403 ตัน ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประกาศนำออกขาย อีกทั้งจีนยังเป็นผู้ถือครองทองคำมากที่สุดอันดับ 6 ของโลก จากการจัดอันดับของ สภาทองคำโลก ด้วยปริมาณทองคำ 1,040 ตัน นับถึงกันยายนปีนี้

    นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังเรียกร้องให้ชาวจีนหันมาซื้อทองคำเก็บ เพื่อป้องกันผลกระทบในกรณีหากเกิดฟองสบู่สินเชื่อในประเทศ

    การปรับกลยุทธ์การบริหารทุนสำรองของธนาคารกลางทั่วโลก โดยเฉพาะการเปลี่ยนจากการขายทองคำ เพื่อรักษาเสถียรภาพของดอลลาร์ มาเป็นการกว้านซื้อทองคำ เป็นปัจจัยสำคัญที่ปลดล็อกทองคำ จนพุ่งทะยานพ้นระดับ 1,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และ ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์หลายครั้ง นับถึงวันจันทร์ที่ 12 ต.ค.

    แกะรอย ธปท.แทรกแซงบาท

    ค่าเงินบาทของไทย ก็หนีไม่พ้นแรงกระทบจากดอลลาร์อ่อน โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (5-9 ต.ค.) เงินบาทได้ปรับแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดยมีกรอบการเคลื่อนไหวในช่วง 33.28-33.45 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 14 เดือน

    ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดย นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงินออกมายอมรับเป็นคนแรกว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างเร็วเมื่อเทียบปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยที่ยังเปราะบางกว่าประเทศอื่น ทำให้ ธปท.ต้องเข้าดูแล ไม่ให้เงินบาทผันผวนแข็งค่าเร็วเกินไป

    และล่าสุดเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.ยอมรับเช่นกันว่า ธปท.ได้เข้าดูแลค่าเงินบาทอยู่ และค่าเงินยังเกาะกลุ่มกับภูมิภาค ค่าเงินบาทที่ผันผวนและแข็งค่าเร็วเป็นไปตามค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงและทองคำที่ขณะนี้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ตอนนี้ราคาค่อนข้างจะผันผวนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทผันผวนและแข็งค่าขึ้นในช่วงนี้

    แหล่งข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า ช่วงนี้ ธปท.เข้าดูแลค่าเงินบาท ค่อนข้างมาก ทำให้วงเงินที่ ธปท.รับผิดชอบในการดำเนินการแทรกแซงค่าเงินบาทไม่เพียงพอ ต้องขออนุมัติวงเงินในการ เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทเพิ่มเป็นระยะ ๆ จากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

    "กฎหมาย ธปท.กำหนดหน้าที่ของ กนง.ต้องบริหารนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้มีหน้าที่ในการดูแลการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท ด้วยการพิจารณาวงเงินในการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท รวมถึงการบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศด้วย" แหล่งข่าวธปท.กล่าว

    ทั้งนี้ การเข้าดูแลค่าเงินบาทของ ธปท. ส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศสูงขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุด ณ 2 ต.ค. 2552 อยู่ที่ 131,346.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะสินทรัพย์ต่างประเทศมีจำนวน 126,743.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีฐานะ forward 15,637 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้น ธปท.มีสินทรัพย์เงินตรา ต่างประเทศรวม 142,380.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากต้นปี ณ 2 ม.ค. 2552 ที่สินทรัพย์เงินตราต่างประเทศรวม 114,822.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    แม้ ธปท.ต้องมีภาระในการเข้าดูแลค่าเงินบาท โดยการเข้าซื้อเงินตราต่างประเทศ และขายเงินบาท ทำให้ต้องดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินออกผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับที่กำหนด 1.25% แต่ ธปท.ยืนยันว่า สถานการณ์ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องออกมาตรการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้ายเหมือนที่เคยออกมาตรการกันสำรอง 30% เมื่อ 18 ธ.ค. 2549

    ขณะที่ นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะคณะกรรมการนโยบายการเงิน ยอมรับว่า ธปท.เข้าแทรกแซงเงินบาทค่อนข้างมากทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นมาก แต่หาก ธปท.ต้องแทรกแซงไปเรื่อย ๆ อาจไม่เหมาะเพราะอาจเป็นข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายการเงินที่ต้องรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับที่กำหนด

    และหาก ธปท.อุ้มเงินบาทไม่ให้แข็งค่าต่อไป สินทรัพย์ของ ธปท.ก็จะเต็มไปด้วยเงินตราต่างประเทศและจะกลายเป็นบัญชีที่ดูแล้วประเทศร่ำรวย แต่เกิดจากการแทรกแซงค่าบาท ซึ่งมีต้นทุน

    เพื่อช่วยลดแรงกดดันการแข็งค่าของบาท นายพรายพลเสนอว่าต้องกระตุ้นให้ดำเนินการอย่างจริงจังใน 2 แนวทางคือ สนับสนุนให้คนไทยไปลงทุนต่างประเทศ ซึ่ง ธปท.ได้ผ่อนเกณฑ์เงินไหลออกให้แล้ว จึงเป็นโอกาสที่นักลงทุนควรไปหาผลตอบแทนที่สูงกว่า

    อีกแนวทางที่สำคัญคือ การเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการใช้จ่ายและการลงทุนมากขึ้น ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะการใช้จ่ายของรัฐบาลในโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่รัฐบาลประกาศมา ตั้งนานแล้ว ควรเร่งดำเนินการ เพราะหากมีการลงทุนก็ต้องมีการนำเข้า ทำให้การเกินดุลการค้าลดลง เงินบาทจะได้ไม่แข็งค่ามากเกินไป ผู้ส่งออกก็สบายได้ว่าจะได้มีคำสั่งซื้อมากขึ้น

    "การให้ภาครัฐเร่งใช้จ่ายลงทุนในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดี เพราะประเทศเรายังขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานอีกเยอะ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม และเรื่องพลังงานทดแทน ซึ่งภายใต้วิกฤตแบบนี้ราคาวัตถุดิบยังไม่แพง ใคร ๆ ก็อยากให้กู้ อยากขายสินค้า ถ้าไม่ทำตอนนี้อาจช้าเกินไป ทำให้เสียโอกาส ทั้ง ๆ ที่ประเทศเราอยู่ในฐานะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้"

    ˹ѧ
     

แชร์หน้านี้

Loading...