พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    มาถึงหิ้งพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็เลยนำภาพหิ้งพระปัจเจกพุทธเจ้ามาฝากสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้ากัน บ่อยครั้งที่นึกท้อใจ เมื่อได้มาเพ่งมองดูดวงพระเนตรขององค์พระปัจเจกพุทธเจ้าที่บูชามาจากบ้านสายลม(สาขาหนึ่งของวัดท่าซุงเป็นผู้จัดสร้าง จัดสร้างด้วยเนื้อเรซิ่น) เมื่อบูชาด้วยพระคาถาปัจเจกโพธิ์ ๕-๗-๙ จบ ด้วยความศรัทธาสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวันก็จะบังเกิดผลเป็นคุณเอนกอนันต์ ผมก็ได้เสาะหาพระบรมธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้าจากเขาสามร้อยยอด และคุณหนุ่มได้มอบพระบรมธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้ามาให้ด้วย เพื่อนๆชาวรักษ์พระวังหน้า ก็คงจะได้รับโอกาสรับมอบจากคุณหนุ่ม(ผู้ใจดี)ตามเหตุปัจจัยของการไปร่วมบุญที่บ้านอาจารย์ปู่ประถมกันบ้างแล้วใช่ไม๊ครับ ผมเลยนำภาพพระบรมธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้าของเขาสามร้อยยอด และของวังหลวงที่คุณหนุ่มกรุณามอบให้ด้วยนะครับ

    ประวัติและบทสวดพระคาถาปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ ทำให้มีโภคทรัพย์มากมาย

    ประวัติพระคาถาปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ พระคาถาปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์นี้ หลวงพ่อปาน (พระครูวิหารกิจจานุการ) วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เรียนมาจากครูผึ้ง จังหวัดนครศรีธรรมราช (ท่านทำทานให้ขอทานครั้งละ ๑ บาท ซึ่งสมัยนั้นก๋วยเตี๋ยวข้าวแกงจานละห้าสตางค์เอง) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ หลวงพ่อปาน หร้อมด้วยคณะได้เดินทางไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทิศเหนือได้ไปถึงเชียงตุงของพม่า ทิศตะวันออกไปสุดภาคอีสาน และได้ขออนุญาตข้ามเขตไปในอินโดจีนของฝรั่งเศส ถึงประเทศญวน ทิศใต้ได้ไปถึงปีนังของอังกฤษ พบท่านครูผึ้ง เมื่อไปถึงนครศรีธรรมราช ในเย็นวันที่ได้ไปถึงนั่นเองขณะที่หลวงพ่อเข้าห้องจำวัดพักผ่อน โดยมีพระภิกษุอุปัฏฐากกับทายกคอยเฝ้าอยู่หน้าห้องพักนั้น ประมาณเวลา ๑๗.๐๐ น. ได้มีผู้มีอายุท่านหนึ่ง รูปร่างเพรียว ท่าทางสง่า ผิวขาว นุ่งห่มผ้าม่วงสีน้ำเงิน สวมเสื้อนอกราชประแตนกระดุมห้าเม็ด ถุงเท้าขาว รองเท้าคัชชูสีดำ สวมหมวกสักหลาด ถือไม้เท้าเลี่ยมทอง ได้มาหาพระอุปัฏฐาก ถามว่า "หลวงพ่อตื่นแล้วหรือยัง" ก็พอดีได้ยินเสียงหลวงพ่อพูดออกมาจากห้องว่า "ไม่หลับหรอก แหมนอนคอยอยู่ คิดว่าผิดนัดเสียแล้ว" แล้วหลวงพ่อก็เดินออกมาจากห้องพัก เมื่อนั่งลงแว ผู้เฒ่าผู้มาหาพูดว่า "ผมไม่ผิดนัดหรอกครับ เห็นว่าท่านเพิ่งมาใหม่ๆ กำลังเหนื่อย และมีคนมาคอยต้อนรับกันมาก ก็เลยรอเวลาไว้ก่อน ตอนเย็นนี้คิดว่าว่างจึงเข้ามาหา" ขณะที่ท่านเห็นท่านทั้งสองพูดคุยกันอยู่นั้น สร้างความสงสัยให้แก่คณะที่ได้ไปด้วยกันเป็นอันมาก เพราะไม่เคยเห็นว่าคนทั้งสองพบหน้ากันที่ไหนเลย ทำไมจึงพูดกันถึงเรื่องนัดหมาย ขณะที่คณะเกิดสงสัยนั่นเองหลวงพ่อได้พูดว่า "พวกเราสงสัยหรือ? ไม่ต้องสงสัยอะไรอีกต่อไป โยมผู้เฒ่านี้ได้ทางใน ฉันพบกับโยมตั้งแต่เดินทางมาถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และได้นัดหมายกันไว้ว่าจะมาพบกันที่นี่ ต่อไปนี้พวกเราจะพ้นความยากจนแล้ว เพราะโยมผู้นี้มีของดี แล้วหลวงพ่อก็พูดกับพ่อเฒ่านั้นว่า "โยมมีของดี ก็เอาของดีออกมาอวดพวกนี้หน่อยสิ หรือมีอะไรขัดข้อง?" ท่านผู้เฒ่าได้บอกว่า ท่านชื่อผึ้ง อายุ ๙๙ ปี ท่านครูผึ้งเล่าประวัติพระคาถา มองดูแล้วคนในคณะที่ไปกับหลวงพ่อ อายุ ๕๐ ปีเศษ เหมือนจะแก่กว่าท่านหรือเท่าๆกับท่าน เมื่ออายุท่านได้ประมาณ ๔๐ ปี ได้มีพระธุดงค์เดินทางมารูปเดียว ท่านเห็นพระรูปนั้นแล้วรู้สึกเลื่อมใสมาก จึงได้นิมนต์ให้พักอยู่เพื่อบำเพ็ญกุศล ๔ วัน ได้ปฏิบัติท่านอย่างดีเท่าที่จะทำได้ ได้เรียนกรรมฐานจากท่าน ท่านได้สอนให้เป็นอย่างดี เมื่อจะกลับท่านพูดว่า "โยม ฉันจะลากลับ ต่อไปจะไม่ได้มีโอกาสผ่านมาอีก หากโยมอยากพบอาตมา ก็ขอให้จุดธูปอาราธนาพระ แล้วอาตมาจะมาพบทางใน" แล้วท่านก็ได้มอบพระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์โปรดสัตว์บทนี้ให้ พร้อมทั้งอธิบายวิธีปฏิบัติ ท่านว่าทำเพียงเท่านี้พอเลี้ยงตัวรอด เงินทองของใช้ไม่ขาดมือ ถ้าปฏิบัติเป็นกรรมฐาน ทำให้ถึงฌานแล้วจะร่ำรวยเป็นเศรษฐี โยมเอาพระคาถาบทนี้ภาวนาเป็นกรรมฐานเถิดนะ ไม่เกิน ๒ ปี โยมจะรวยใหญ่ เงินทองจะหลั่งไหลมาเอง พระคาถาบทนี้ของพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ตระกูลอาตมาได้รำเรียนสืบต่อกันมาทุกคน ไม่มีใครจน อย่างต่ำสุดก็พอเลี้ยงตัวรอด ให้หลวงพ่อปานเรียนพระคาถา เมื่อพูดจบได้มอบพระคาถาให้หลวงพ่อเรียนแล้วบอกว่า ได้โปรดอย่าปิดบังพระคาถาบทนี้เลย ขอได้กรุณาแจกเป็นธรรมทานด้วย แล้วหลวงพ่อก็หลับตาเข้าสมาธิ ท่านครูผึ้งก็หลับตาเข้าสมาธิ ต่างคนต่างหลับตา ประมาณ ๕ นาที ก็ลืมตาขึ้นพร้อมกัน ต่างคนต่างยิ้ม เสียงท่านครูผึ้งพูดว่า "ผมดีใจด้วยที่ต่อไปเบื้องหน้าท่านจะได้ศิษย์คู่ใจ" หลวงพ่อก็หัวเราะ ตอบคำถามหลวงพ่อ หลวงพ่อถามว่า "ท่านอาจารย์ทำนานนักไหมจึงจะรู้ผล" อาจารย์ตอบว่า "ไม่นานครับ ประมาณตอนแรก ผ่านไปเริ่มรู้ผล ผลระยะแรกให้ผลในทางกินก่อน เช่นหุงข้าวตามธรรมดาคนกินในบ้านก็กินเท่าเดิม เพิ่มการใส่บาตร แต่ข้าวเหลือ ผมเคยได้ถามว่า คนหุงทำไมหุงมากนัก เขาบอกว่าหุงเท่าเดิม ผมจึงสั่งให้ลดจนเหลือครึ่งจำนวนพอดี" เงินเริ่มเพิ่ม "เมื่ออาหารเริ่มลดความหมดเปลือง รายได้ก็เพิ่มขึ้นในระยะ ๑ ปีที่ผ่านไป เรื่องการเงินเริ่มไหวตัว เงินในที่เก็บเริ่มเกินบัญชี เงินจากร้านค้านับมาว่าพอดี พอรุ่งขึ้นมาตรวจเงิน มากกว่าจำนวนทุกที ดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะทำอะไรเป็นเงินเป็นทองไปหมด เดี๋ยวนี้ผมทำอะไรไม่ไหว แต่ผมก็มีรายได้ทุกวัน ใครไป ใครมา ขากลับคนนี้ให้บ้าง คนนั้นให้บ้าง คิดเฉลี่ยผมมีรายได้วันละประมาณเกือบร้อยบาท พระคาถาบทนี้ศักดิ์สิทธิ์มากครับ" ทำเป็นกรรมฐาน หลวงพ่อได้ถามว่า "ท่านอาจารย์ทำอย่างไร" อาจารย์ตอบว่า "ผมทำเป็นกรรมฐานเลยครับ ทำจนสว่าง หลับตาลงแล้วเกิดความสว่างขึ้น ได้เห็นพระพุทธรูปบ้าง พระสงฆ์บ้าง มีอยู่องค์หนึ่งครับจีวรสวยมาก ไม่เหมือนจีวรพระธรรมดา แล้วเริ่มเห็นเงิน คราวแรกๆเป็นจำนวนน้อยๆ ต่อมาก็เห็นเป็นจำนวนมากตามลำดับ จนถึงกองใหญ่ ทำอะไรนิดทำอะไรหน่อยก็ดีไปหมด คนอื่นเขาทำขาดทุน ผมลองไปบ้างก็มีกำไรดีเสียด้วย" ของเพิ่ม "มีเองแปลกอีกครับ นอกจากเงินเพิ่มแล้วของก็เพิ่มด้วย ข้าวของที่มีอยู่หรือหามาใหม่ มีบัญชีจดไว้ครบถ้วน ครั้นไปตรวจคราวใดของเกินบัญชีทุกที" เคล็ดลับ หลวงพ่อถามว่า "มีเคล็ดลับอะไรบ้างในการนำของเข้าออก และการเก็บเงินใช้เงิน" อาจารย์ตอบว่า "มีครับ แหมผมเกือบลืมบอก ดีแล้วครับ ถามดีมาก เรื่องนำข้าวของไม่ว่าเป็นอะไร จะเป็นของกินของใช้ ของขายก็ดี ผมทำน้ำมนต์ด้วยพระคาถาบทนี้ เมื่อนำข้าวของเข้าบ้าน ผมเอาใบพลู ๓ ใบ จุ่มน้ำมนต์พรมของนั้น ๓ หน พรม ๑ หน ว่าพระคาถาหนึ่งบท" การนำเงินเข้าเก็บและการนำออกใช้ "เมื่อนำเงินเข้าเก็บ และนำเงินออกใช้ ให้ว่าพระคาถานี้เท่ากับจำนวนที่สวดบูชาพระ เช่นปกติสวด ๗ จบเมื่อเงินเข้าเก็บก็ว่าพระคาถานี้ ๗ จบนะลูก" แล้วต่อมาประมาณ ๒ ปีเศษ นายประยงค์ ได้เล่าให้หลวงพ่อเล็กฟัง มีอาการเหมือนท่านครูผึ้งทุกประการ ท่านเล่าว่าเมื่อก่อนทำพระคาถานี้ "ผมยากจน ขายของก็ยาก เดือนไหนมีกำไรถึง ๒๐๐ บาท เดือนนี้สบายแล้วครับ หลวงพ่อจะเอาเท่าไหร่ผมถวายทั้งนั้นขอให้บอกมาเถอะ หลวงพ่อออกปากผมไม่หนักใจเลย หลวงพ่อเรียกเอาเงิน ดูเหมือนผมจะยิ่งได้มากขึ้น แปลกครับ" นี่เป็นถ้อยคำของนายประยงค์ ศิษย์คนแรกในการเรียนพระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์โปรดสัตว์ของหลวงพ่อปาน ซึ่งเรียนมาจากท่านพระครูผึ้งดังกล่าว อภินิหารพระคาถาและเงินงอก นายประยงค์เล่าเรื่องอาหารรับประทานไม่หมดเปลืองเหมือนท่านพระครูเล่า ยังเล่าต่อไปอีกว่า "เรื่องยาไทยที่ห้างก็แปลก เมื่อทำยาเสร็จ แล้วก็ได้ลงบัญชีไว้ครบ ครั้นเมื่อขายไปครบตามจำนวนเงินก็ได้ตามบัญชี แต่ยานั้นยังเหลืออีก ในตอนแรกผมคิดว่าเจ้าหน้าที่นับไม่ถ้วน ต่อมาผมตรวจเองก็เป็นอย่างนั้นเสมอ" นายห้างเล่าต่อว่า "ปกติขายยาได้เงินมานำเข้าธนาคารทุกวัน เมื่อเบิกเงินเพื่อใช้จ่าย ผมยังไม่ยอมนับเงินนั้น และไม่ใช้ในวันนั้น ผมเอาเข้าที่เก็บก่อนหนึ่งคืนตามวิธี พอรุ่งขึ้นออกตามวิธี ตามที่ได้สังเกตและจำได้ เงินหนึ่งหมื่นเมื่อเก็บแล้วคืนหนึ่ง เมื่อเอาออกมานับในวันรุ่งขึ้นจะได้เกินกว่าหนึ่งพันเสมอ นี่ก็เป็นอภินิหารอย่างหนึ่ง ยังเป็นเมตตามหานิยมในตัวอีกด้วย ผมสบายใจแล้วครับ เงินก็มีใช้ บุญก็ได้ทำอย่างชนิดไม่ต้องอั้นเลย นายประยงค์บอกว่า "ผมสู้คุณย่าผมไม่ได้ ท่านเป็นผู้ภาวนาพระคาถานี้วันยังค่ำ เว้นไว้แต่เมื่อมีผู้ไปคุยกับท่านเท่านั้น ท่านภาวนาไม่ว่าท่านจะยืน เดิน นั่ง นอน ท่านไม่ยอมให้ว่างเลยครับ ผลที่ได้หรือครับ เซฟที่วางอยู่หน้าที่บูชา ๓ เซฟ เป็นเซฟเปล่าทั้งสิ้น วันหนึ่งท่านเรียกพวกเราไปหาท่าน ให้ไขเซฟดู ปรากฏว่าเต็มไปด้วยธนบัตรใบละร้อย เมื่อถามท่าน ท่านเล่าให้ฟังว่าเงินมาเองด้วยอำนาจพระคาถานี้" เราถามท่านว่ารู้ได้อย่างไร ท่านบอกว่า "เมื่อคืนนี้ย่ากำลังภาวนาพระคาถานี้อยู่ เกิดอารมณ์สบายเคลิ้มไปอย่างไม่รู้ตัวสักครู่ พอรู้สึกตัวเห็นแสงสว่างพุ่งเป็นลำเข้าไปในเซฟ มีเสียงบอกว่า "เงินมา เงินเข้าเซฟ ทำใจให้สบายไว้" ย่าเลยทำใจให้สบาย คุมสมาธิไว้ครู่หนึ่ง ต่อไปแสงนั้นก็หายไป ย่าก็เลยหลับไป เท่านี้แหละลูก พระคาถานี้ท่านดีจริงๆ อย่าทิ้งนะลูก พวกเอ็งเอาเงินไปจะทำอะไรก็ทำเถิด แต่อย่าลืมทำบุญด้วยนะ ทำมากเท่าไรยิ่งดี"

    พระคาถาของพระปัจเจกโพธิ์นี้ ท่านพระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน) ได้ไปเรียนมาจากครูผึ้ง ท่านเรียนมาแล้วได้ปฏิบัติเห็นผลมามาก ถึงคนอื่นๆ ที่ท่านให้เรียนต่อ นำเอาไปปฏิบัติตาม ก็ได้บังเกิดผลมาแล้วมากหลาย
    ผู้ที่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระคาถานี้ ต้องเป็นผู้ที่ใส่บาตรแก่พระภิกษุสงฆ์อยู่เสมอเป็นนิจ แม้แต่ ๑ องค์ขึ้นไปทุกๆ วันมิได้ขาด รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ หมั่นสวดมนต์ และว่าพระคาถานี้ ๓-๕-๗-๙ จบ เมื่อจะใส่บาตร ให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยก่อนแล้วจึงจบขันข้าว และให้ว่าพระคาถานี้ ๓-๕-๗-๙ จบ เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้วให้ระลึกถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และพระปัจเจกโพธิ์ ครูผึ้ง อาจารย์เนียร ตลอดจนพระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน) วัดบางนมโคเป็นที่สุด ขอให้จงมาโปรดข้าพเจ้าด้วย (หมายถึงผู้ที่กำลังปฏิบัติอยู่) แล้วหาน้ำที่สะอาดมากรวดน้ำ เพื่ออุทิศส่วนบุญและกุศลไปถึง ปู่-ย่า-ตา-ยาย-บิดา-มารดา และญาติมิตรสหายที่ล่วงลับไปแล้ว ตลอดถึงผู้มีพระคุณทั้งหลาย เวลาค่ำบูชาพระสวดมนต์แล้วว่าพระคาถานี้อีก ๓-๕-๗-๙ จบ และถ้าใครปฏิบัติดังนี้ทุกวันเป็นนิจ จะมีลาภและความสุขความเจริญ เพราะท่านพระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน) วัดบางนมโค จะโปรดบุคคลทั้งหลายที่ยากจนขัดสน เพื่อให้พ้นทุกข์จากความอดอยาก แต่ท่านห้ามประพฤติความชั่ว ต้องรักษาศีล ๒ ข้อ ที่สำคัญที่สุด ให้ได้แน่นอนก่อนปฏิบัติพระคาถานี้คือ
    ๑. อทินนาทาน เว้นจากการลักทรัพย์หรือหยิบฉวยสิ่งของ ที่เจ้าของเขาไม่อนุญาตมาเป็นสมบัติของตน
    ๒. เว้นจากการดื่มเสพสุรายาเมาทุกชนิด กับห้ามใช้ในทางมิจฉาชีพทุกชนิด และการพนันต่างๆ ด้วย

    ถ้าผู้ใดรักษาศีล ๕ ได้ทั้งหมดก็ยิ่งดี ผู้ใดประพฤติได้ดังนี้แล้ว จงปฏิบัติตามพระคาถาของพระปัจเจกโพธิ์ จะเห็นคุณในไม่ช้าเพียงเวลา ๖ เดือนก็ทราบได้ ถ้าใครทำนานๆ ได้หลายปีก็จะมีความสุขยิ่งขึ้นไป ทั้งชาตินี้และชาติหน้า ใครได้ปฏิบัติตามจงกระทำใจให้ผ่องแผ้ว ระลึกถึงพระรัตนตรัย และพระปัจเจกโพธิ์ให้เที่ยงแท้ (อย่าได้ระแวงหรือสงสัย) และให้สังเกตดูให้ละเอียดต่อไปนี้

    คือให้ตวงข้าวสารที่เคยรับประทาน เดือนหนึ่งหมดเปลืองเท่าไร ปฏิบัติพระคาถาพระปัจเจกโพธิ์ถึงเดือนหนึ่ง จะเหลือข้าวสารเท่าไร ปฏิบัติติดต่อทุกๆ เดือนไป ข้าวสารจะหมดหรือลดน้อยลงเท่าไร ข้าวสุกหุงแล้วเหลือไว้มื้อหลัง และมื้อต่อๆ ไปจะไม่บูด และผู้ที่ตกข้าวเปลือก เมื่อจะขนเข้ายุ้งหรือพ้อม ตวงถังแรกให้ว่าพระคาถานี้ ๓-๕-๗-๙ จบ ตวงถังสุดท้ายก็ให้ว่าพระคาถานี้อีก ๓-๕-๗-๙ จบ เช่นเดียวกัน แล้วให้จดไว้ว่ามีอยู่กี่เกวียน กี่บั้น กี่ถัง ครั้นเมื่อจะขนออกจากยุ้งหรือพ้อม เพื่อการค้าหรือใช้เอง ตวงถังแรกให้ว่าพระคาถานี้ก่อน ๓-๕-๗-๙ จบ ตวงถังเมื่อจะเลิกก็ให้ว่าพระคาถานี้อีก ๓-๕-๗-๙ จบ เหมือนกัน แล้วให้จดไว้ว่ามีกี่เกวียน กี่บั้น กี่ถัง ให้สังเกตว่าข้าวเปลือกจะตวงได้มากออกไปกี่เกวียน กี่บั้น กี่ถัง ก็คงจะรู้สรรพคุณของพระคาถานี้ได้

    ผู้ที่ทำนาเมื่อจะหว่านข้าวเปลือกนาอันไหน พันธุ์ข้าวที่จะหว่านกำแรกก็ว่าพระคาถานี้ ๓-๕-๗-๙ จบ ก่อน เมื่อหว่านข้าวหมดแล้วก็ให้ว่าพระคาถานี้อีก ๓-๕-๗-๙ จบ ข้าวจะงอกงาม แมลงและสัตว์ที่เป็นอันตรายกับต้นข้าวจะไม่รบกวนต้นข้าวเลย

    ผู้ที่ทำการค้าขาย เวลาจะซื้อหรือเวลาจะขายก็ให้ว่าพระคาถานี้ ๓-๕-๗-๙ จบ ค้าขายจะมีกำไร ทรัพย์สินก็จะงอกงามผิดปกติ

    ผู้ที่ทำราชการหรือทำงานรับจ้าง ทำนา ทำสวน ค้าขาย หรือเป็นแม่ครัวหุงข้าว ต้มแกงเป็นต้น เมื่อจะทำให้ว่าพระคาถานี้ก่อน ๓-๕-๗-๙ จบ

    ผู้ใดทำได้ละเอียดเรียบร้อยดังกล่าวมาแล้วนี้ และปฏิบัติการข้างต้นอย่าให้ขาดได้ จะเห็นคุณและมีลาภมาก จะมีของสิ่งไรอยู่ ใช้ไม่ค่อยหมดเปลืองเหมือนเช่นเคย มีแต่งอกงามเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป จะทำนา ทำสวน รดน้ำพรวนดิน เพาะปลูก หรือซื้อขายสิ่งใดๆ ให้บูชาพระคาถานี้ก่อนทุกๆ ๓-๕-๗-๙ จบแรก และทุกๆ ๓-๕-๗-๙ จบหลัง

    หรือถ้าจะถามพระคาถานี้เป็นการเสี่ยงทายก็ได้ การถามควรถามครั้งละ ๑ อย่าง อย่าถามหลายๆ อย่างรวมกัน จะไม่เกิดผล ถ้าถามครั้งละอย่างจะได้ผลดี คือผู้ใดจะคิดทำอะไรดีไม่ดี ก็ให้บูชาพระคาถานี้ด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน แล้วหักไม้วัดให้ยาวเสมอคืบของตนพอดี และว่าพระคาถานี้ แล้วจงอธิษฐานว่า สิ่งที่ตนนึกตนคิดอยู่ในเวลานี้ ตนจะทำเป็นผลสำเร็จดีงามแล้ว ขอให้ไม้วัดยาวออกไปกว่าคืบ ถ้าจะไม่เกิดผล ไม่ดีไม่งาม ขอให้ไม้นี้สั้นเข้ามาไม่ถึงคืบ ได้มีผู้ปฏิบัติเห็นผลจริงแล้วมากราย

    ฉะนั้นจึงพิมพ์แจกในงานนี้ เพื่อให้เป็นสาธารณประโยชน์ทั่วไป ถ้าใครทำเห็นผลพิศดารอย่างไรก็ขอให้บอกเล่ากันต่อๆ ไป ด้วยเพื่อบุญกุศล ในครัวเรือนหนึ่ง ควรเล่าบ่นพระคาถานี้ให้ได้ทุกๆ คนในครัวเรือนนั้น แล้วผลัดกันใส่บาตร ถ้าหากว่าใส่บาตรไม่ทัน จบเอาไว้แล้วนำเอาไปถวายพระเช้าหรือเพลก็ได้ หรือจบแล้วฝากคนอื่นใส่แทนก็ได้ แต่ระวังอย่าให้ขาดหรือเว้นได้จนวันเดียว ลาภที่เกิดแล้วแต่หนหลังจะได้ไม่ถดถอยไป
    ถ้าท่านผู้ใดนำเอาพระคาถา หรือหนังสือนี้ไปเรี่ยไร หรือซื้อขายแรกเปลี่ยน จะทำพระคาถานี้ไม่สำเร็จไม่เกิดผล เพราะท่านเจ้าของไม่พึงปรารถนาในเชิงนี้ ท่านยินดีให้เป็นธรรมทานจริงๆ

    ฉะนั้น ถ้าผู้ใดต้องการอยากได้ ก็ขอให้คัดลอกเอาไปเป็นทาน อย่าได้คิดผลประโยชน์ต่อผู้ที่คัดลอกเป็นอันขาด หรือท่านผู้ใดสนใจต้องการหนังสือพระคาถานี้ ให้ขอไปยังข้าพเจ้า ยินดีให้ท่านเสมอ ไม่ยอมให้เมื่อฝากคนอื่นขอแทน ผู้ใดจะปฏิบัติพระคาถานี้เพื่อความสุขความเจริญต่อไปภายภาคหน้า ตลอดบุตร หลาน เหลน ให้วงศ์ตระกูลของท่านแล้ว โปรดทราบไว้เพื่อความสุขอันยืนยาวนาน เทอญ

    อธิบายเพิ่มเติม
    คำว่า "๓-๕-๗-๙ จบ " หมายความว่า ผู้ใดยินดีปฏิบัติพระคาถากี่จบก็ได้ เช่น จะว่า ๓ จบ ๕ จบ ๗ จบ ๙ จบ เป็นต้น แต่การว่าต้องว่าเสมอกันไป จะว่าน้อยๆ มากๆ สลับกันไปไม่ได้ จะไม่เกิดผลเลย แต่พยายามว่าจบที่น้อยไปหามากได้เป็นดี ทำให้เห็นผลเป็นระยะแล้ว จึงค่อยกระเถิบมากขึ้นเป็นลำดับ


    คาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์

    (ตั้งนะโม ๓ จบ)

    พระคาถาบทนำว่าครั้งเดียว
    พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ
    พระคาถาพระปัจเจกโพธิ์โปรดสัตว์ ว่าดังนี้
    "วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม" (อ่านว่า สะหวา - โหม)


    ใช้สวดภาวนาเวลาตื่นนอน ๓-๕-๗-๙ จบ เวลาใส่บาตร ๑ จบ ก่อนนอน ๓-๕-๗-๙ จบ หรือเวลาว่าง จะทำให้มีโภคทรัพย์มากมาย (หรือสวด ๓, ๕, ๗, ๙ จบ ยิ่งมากยิ่งได้ผลมาก ยิ่งทำเป็นกรรมฐานได้ยิ่งดี) ใส่บาตรพระทุกวัน วันละ ๑ รูป หรือเก็บเงินไว้ที่หิ้งพระ หรือบาตรวิระทะโย เมื่อมีเวลาค่อยนำเงินไปถวายเป็นค่าภัตตาหารแก่ทางวัดก็ได้...

    "คาถาบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า" อีกบทหนึ่งที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุงท่านได้มอบให้ลูกหลานของหลวงพ่อเอาไว้สวด หรือเรียกอีกอย่างว่า "คาถาเงินล้าน" ซึ่งหากพิจารณาตัวบทพระคาถาแล้ว จะพบว่ามีความคล้ายคลึงกัน ลองอ่านที่มาที่ไปของพระคาถาบทนี้ดูนะครับ..

    (ตั้งนะโม ๓ จบ)

    สัมปะจิตฉามิ
    นาสังสิโม
    พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายัติ
    พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุเม
    มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุเม
    มิเตพาหุหะติ
    พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ
    วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย
    พุทธัสสะ มานี มามะ
    พุทธัสสะ สวาโหม
    สัมปะติจฉามิ
    เพ็งๆ พาๆ หาๆ ฤาๆ




    หมายเหตุ : ต้องท่องทั้งหมดทุกบทด้วยใจเคารพและเป็นสมาธิ
    ให้ว่าคาถานี้ทั้งหมดทุกบทว่า 30 จบต่อวัน แต่ถ้าเป็นไปได้ควรทำให้ได้มากกว่าอายุหรือคลอไปตลอดวันด้วยใจเป็นสมาธิ ไม่มีความโลภในใจ และมีจิตเคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้ผลเร็วขึ้น เหมาะกับภาวะเศรษฐกิจ ที่กำลัง ตกต่ำ ท่านบอกว่าคนที่สวดคาถานี้เป็นประจำจะมีความคล่องตัว ใครจะตกต่ำเราไม่ตกต่ำ การทำมาหากินคล่องตัว เพราะ ฉะนั้น จงอย่าประมาท เร่งภาวนาสั่งสมความดี ช่วยงานพระศาสนา จะเป็นมงคลแก่ตนและครอบครัว
    [​IMG]
    ที่มาของคาถา วิระทะโย

    ในปัจจุบันนี้ ภาวะทางเศรษฐกิจย่ำแย่ ตามบริษัท ห้างร้านต่างๆ ต่างคน ต่างก็บ่นพึมพำ ชาวบ้าน หรือก็หนักใจ พูดกันตาม ความเป็นจริงแล้ว พระไม่อยากให้ชาวบ้านเดือดร้อน ไม่อยากให้ชาวบ้านจน ถ้าชาวบ้านจนเมื่อไรพระอดอยากเมื่อนั้นแล้ว ควรจะทำอย่างไรดีล่ะ ในที่สุด พระจำเป็นจะต้องทำหน้าที่อย่างเดียวคือ นั่งแช่ง นอนแช่ง ให้ชาวบ้านรวย นอนไปก็ว่า เรื่อย ไป เวลานี้ มีคำสั่งให้ทำอยู่สองอย่าง คือ ถ้าว่างก็ให้ว่าคาถาบทนี้ไปด้วย เพื่อช่วยสงเคราะห์ชาวบ้านเขา ให้มีกินมีใช้ ยุชาว บ้านเขาปลอดภัย ยุให้ชาวบ้านเขารวย พระเราก็จะพลอยมีกินมีใช้ไปด้วย ถ้าพระองค์ไหนแช่งให้ชาวบ้านเขาจนละซวยอด กินแน่ๆ
    [​IMG]
    เมื่อพูดถึงเรื่องจน ก็ทำให้นึกถึง คาถาวิระทะโย คาถาบทนี้ มีความสำคัญมาก พวกเราทุกคนควรจะทำ ทำให้ได้พื้นฐาน ไว้ก่อน คาถาบทนี้ ถ้าทำขึ้นน้อยๆ ถ้าเงินมันขาดมือ มันจะชดใช้กันทัน ถ้าหากทำขึ้นเต็มอัตรา เงินจะเหลือใช้ แต่ต้องทำ เป็นสมาธินะ การทำสมาธินี่ ไม่ต้องนั่งก็ได้ ถ้าว่างตอนไหน ก็นึกว่า มันเรื่อยไปขายของอยู่ ทำงานอยู่พอว่างนิดก็ว่าไปเดิน ไปนึกขึ้นได้ว่าไป คาถาวิระทะโยนี้ ถ้าใครมีความจำเป็น มากจริงๆ ถ้าทำถึง อุปจารสมาธิ ตอนนี้ เงินไม่ขาดตัวแน่ ถ้ามี - ความจำเป็นมากจริงมักจะหาได้ทัน ถ้าเข้าถึงปฐมญานตอนนี้ละขังตัวไม่ใช่พอใช้นะเหลือใช้แต่ต้องทำได้ตั้งแต่ปฐมญาน ขึ้นไปนะ
    คาถาบท นี้ มีคนใช้ได้ผลมาเยอะแล้ว คนที่ใช้ได้ผลคนแรกสุด ก็คือ นายห้างขายยาตราใบโพธิ์ ที่ว่า เป็นคนแรกเพราะ อะไรเพราะตอนนั้น หลวงพ่อปาน ท่านไปเรียนมาจาก ครูผึ้ง ซึ่งอยู่จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียนมาแล้วก็มีนายห้างขาย ยาตราใบโพธิ์สนใจ จึงขอเรียนจากหลวงพ่อปาน และทำได้ผลเป็นคนแรก
    สำหรับประวัติของครูผึ้ง สมัยนั้น แปลกดีมาก ครูผึ้งคนนี้ มีคติว่า ร้อยบาท ใครเขาจะแต่งงานไปบอกแก แกให้ หนึ่งร้อย งานโกนจุก หนึ่งร้อย บวชพระ หนึ่งร้อย แกมีคติแบบนี้ ใครไปบอกบุญแก แกขอทำบุญด้วยร้อยบาทอย่าลืมนะว่าสมัยนั้น เงินครึ่งสตางค์ หนึ่งสตางค์มีค่ามาก เงินร้อยบาทสมัยนั้นมันมากกว่าเงินเดือนของร้อยตรีอันดับหนึ่ง ถ้าใครมีเงินร้อยบาท ละก็ เริ่มรวยแล้ว แต่แกทำบุญครั้งละร้อยบาท ก็เป็นที่น่าแปลกใจเหมือนกัน
    [​IMG]
    หลวงพ่อปาน ท่านไปพบเข้า คุยกันรู้เรื่อง แต่ว่า ท่านพบของท่าน อย่างไรก็ไม่ทราบนะ วันนั้น หลวงพ่อปาน ท่านจำวัดอยู่ ฉันนั่งข้างนอก ตอนเย็นมีคนใส่เสื้อราชปะแต็น นุ่งผ้าม่วง สวมถุงเท้า ใส่รองเท้าแบบ ชั้นดีเลย ถือไม้เลี่ยม เดินเข้ามาหา หลวงพ่อปาน
    มาถึงก็ถามว่า "หลวงพ่อปานอยู่ไหม?"
    ไอ้เราก็บอกว่า "อยู่ แต่ว่ากำลังจำวัด"
    แกก็บอกว่า "ฮึ จำวัดอย่างไร ก็สั่งให้ฉันมาพบ ไปตามฉันมาที่นี่"
    แล้วกัน หลวงพ่อปาน ท่านนอนอยู่กับเรา หาว่า ท่านไปตามมาได้ เราก็แปลกใจ แต่ก็บอกแก ให้รออยู่ข้างนอกก่อน จะเข้า ไปดูให้ พอเข้าไปก็เห็นหลวงพ่อ ท่านเตรียมตัวออกมาแล้ว เลยถามท่าน
    "หลวงพ่อครับ เขาบอกว่า หลวงพ่อไปตามเขามาหาหรือ ?
    หลวงพ่อปานบอก "ฮือ แกไม่ต้องรู้หรอก"
    เอาอีกแล้ว ท่านบอกแกไม่ต้องรู้หรอกเป็นความลับ เออแปลกดี พอออกมาเจอกันแล้วท่านก็คุยถึงเรื่องประวัติ คุยไปคุยมา ครูผึ้งก็บอกว่า "คาถาบทนี้เป็นของพระธุดงค์ พระธุดงค์ท่านบอกว่า คาถาบทนี้เป็น คาถาของพระปัจเจกพุทธเจ้า ท่าน มาปักกลดอยู่หลังบ้าน 7 วัน ฉันก็เอาของไปถวายท่านทั้ง 7 วัน"
    ตามปกติครูผึ้ง ท่านรักษาศีลอยู่แล้วก่อนที่พระธุดงค์จะไป ท่าได้ให้คาถาบทนี้ และบอกว่า "ตอนเช้าทุกวัน ควรใส่บาตรทุก วัน ก่อนจะใส่บาตรก็ให้ว่าคาถาบทนี้หนึ่งจบ แล้ววิธีใส่บาตรมีอยู่ 2 อย่างถ้าไม่มีพระจะมาให้ใช้ข้าวสารตักแทนก็ได้ แต่ว่า เดี๋ยวนี้เราใช้สตางค์ใส่บาตรแทนก็ได้ เงินนั้นให้ใช้เป็นค่าอาหาร มากน้อยตามกำลัง ไม่จำเป็นต้องไปรอพระมา ถ้าเห็นว่า มันมากพอสมควร ก็เอาไปถวายพระ บอกท่านว่า เป็นค่าอาหาร แล้วท่านจะนำไปใช้เป็นค่าอาหาร หรือเอาไปใช้ก่อสร้าง ก็ เป็นเรื่องของท่านเท่านั้นก็พอ
    แล้วท่านก็บอกอีกว่า "ก่อนปลูกผัก ปลูกต้นไม้ หว่านข้าว ตำข้าว ก็ว่าคาถาบทนี้ หนึ่งจบ ตามวิธีการของท่าน เวลาบูชาพระ กลางคืนให้ว่า 3 จบ หรือ 5 จบ หรือ 7 จบก็ได้นอกจากนั้นก็ควรจะเจริญเป็นสมาธิ แต่บูชาพระกับว่าตอนใส่บาตรท่านบอก ว่า มีสภาพเป็นเบี้ยต่อไส้ หมายความว่า ถ้าจะหมดตัวจริง ๆ ก็จะหาได้ทัน
    ฉันเคยโดนมาบ่อย ๆ ในระยะต้น ๆ โดนเองจึงรู้ แต่พอจวนตัว ก็จะมีมา ทุกครั้งไป ถ้าภาวนาให้จิตเป็น ฌาน จะมีผลมาก แล้วท่านก็เล่าความเป็นมาให้ฟัง
    หลวงพ่อปานท่านถามว่า "เดิมทีเดียวน่ะ ท่านมีฐานะอย่างไร?"
    ครูผึ้งบอกว่า "ผมอันดับหนึ่งครับ"
    พอท่านพูดอย่างนั้น เราหูผึ่งเลย คิดว่าท่านเป็นมหาเศรษฐี
    ท่านบอกว่า "อันดับหนึ่งน่ะไม่ใช่เศรษฐี ฉันจนอันดับหนึ่งต่างหาก"
    คิดผิดถนัด ท่านบอกอีกว่า "กางเกงไม่ขาด ผมไม่เคยนุ่ง กับเขาเลย มันหาไม่ได้จริง ๆ ครับ กางเกง ที่ดีที่สุด มันมีอยู่ตัว เดียว เก็บไว้ใช้เวลาไปทำบุญที่วัด กลับมาก็ต้องรีบเก็บ นอกจากนั้น กลีบมันแย่งกันขึ้นเลย ร
    [​IMG]
    ท่านเล่าให้ฟังอีกเยอะ สนุก ความจริงอายุของท่านตั้ง 99 ปี แล้ว แต่ร่างกายยังแข็งแรงดีมาก ต่อมาเมื่อ ได้คาถาบทนี้ มา แล้ว ด้วยความจนบีบบังคับ ท่านก็เริ่มทำสมาธิ ตอนเริ่มทำเป็นสมาธิ พอจิตเริ่ม เข้าถึงอุปจารสมาธิ ซึ่งจะสังเกตได้ตามนี้
    ถ้าสภาพเดิม มันมืดอยู่ พอจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ ก็จะมีสภาพ เกิดแสงสว่างขึ้นบ้าง หรือ ไม่อย่างนั้น ก็จะปรากฏ แสงสีขึ้น เห็นเป็นภาพพระหรือภาพอะไรก็แวบ ๆ อันนี้แหละ คือ อุปจารสมาธิ
    นับตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา เงินมันเริ่มขังตัว การหากินคล่องขึ้น บางที ถ้าต้องการอะไร ที่มันเกินวิสัย ที่จะหาได้ แต่ว่ามัน อยากได้ เพียงไม่กี่วันหรอก อย่างดีก็ 3 -4 วัน จะมีสตางค์ พอหาซื้อของ อย่างนั้นได้ และต่อมา เมื่อทำเป็นฌาน เงินก็เริ่ม มากขึ้น
    ทีนี้เวลาที่จะนำสตางค์ไปใช้ท่านให้หยิบสตางค์อันนั้น แต่ว่าห้ามนับเงิน แล้วว่าคาถาตามจำนวนที่เราบูชาพระดึงเอาเงิน นั้นออกมา ถ้าเกินกว่าจำนวนที่เราต้องการ เวลาที่เราจะเก็บเราก็ว่า คาถาแบบนี้เหมือนกัน ถ้าทำแบบนี้ ท่าบอกว่า เงินจะ ขาดที่นั้นไม่ได้เลย
    ถ้าบางครั้ง ปริมาณเงินที่เราเก็บไว้ สมมุติว่า เป็นเงิน 1,000 บาท มันเป็นปึกเราดึงมาทั้งปึก (1,000 บาท) แต่ปรากฏว่า เงินมันมีอีก ห้ามนำไปพูดกับคนอื่น ถ้าพูดเงินจะหด ท่านห้ามอวด
    อันนี้นายห้างประยงค์เคยไปเล่าให้ฟังเหมือนกันท่านทำได้ผลตามนี้ ท่านบอกว่า ท่านเบิกเงินมาจากธนาคารเดือนละหมื่น แต่รายนี้รับรอง กลับถึงบ้าน ยังไม่ใช้เงิน ต้องนำเงินเข้าตู้เซฟก่อนว่า คาถาบทนี้ ตามแบบ เช้าตื่นขึ้นมา ก็ว่าตามแบบอีก เงินทุกปึกจะต้องเกินเสมอ เกินทุกปึก หนึ่งร้อยบ้าง สองร้อยบ้าง เกินอยู่ตลอดเวลา ลองคิดดูซิมีธนาคารที่ไหนบ้าง เขานับ เงินเกิน ท่านยืนยันว่า ไม่มีธนาคารไหน เขานับเกินหรอก
    แต่ทว่าตามปกติ ถ้าท่านทำแบบนี้ จะต้องมีเงินเกิน นายห้างประยงค์คนนี้ ก็ทำเป็นฌานเหมือนกัน เลยถาม นายห้างประ - ยงค์ว่า ท่านทำอย่างไร ท่านบอกว่า หลังจากที่ได้คาถาบทนี้จากหลวงพ่อปาน ซึ่งตอนนั้นท่าน เพิ่งกลับมาจาก นครศรีธรรม ราช หลวงพ่อปานท่านไปแวะ ที่วัดสระเกศ คณะที่ 11 ก็มีคนนำอาหาร ไปถวายท่าน เวลาท่านฉันข้าว ท่านก็เล่าความเป็น มาของคาถาบทนี้ให้ฟัง คนทุกคนฟังแล้ว ก็ไม่มีใครสนใจ มีแต่ นายห้างประยงค์คนเดียว ซึ่งอยู่ตอนหลัง มีความสนใจ พอ หลวงพ่อปานท่านว่า คาถาบทนี้ไป แกก็จดตาม
    เมื่อฉันเสร็จให้พรเสร็จ ญาติโยมทั้งหลายก็ลากลับ แต่นายห้างประยงค์ยังไม่ยอมกลับ ท่านเข้าไปหากราบๆ หลวงพ่อปาน แล้วขออนุญาตนำคาถาบทนี้ไปทำ ความจริงที่หลวงพ่อท่านพูดน่ะ ท่านจะดูว่า มีใครสนใจไหมในเมื่อคนอื่นไม่สนใจ มีแต่ นายห้างประยงค์สนใจคนเดียวท่านก็เลยบอกว่า "เออดีแล้ว ไอ้ลูกคนหัวปี"
    [​IMG]
    คำว่า ลูกคนหัวปี ก็หมายความว่า คาถาบทนี้มีคนสนใจเป็นคนแรกและก็คนเดียว ท่านบอกว่าให้เอาไปลองทำ แล้วท่านก็ บอกรายละเอียดในการทำให้ฟัง แล้วก็สั่งว่า "ถ้าเอ็งทำสองปีไม่มีผล หลวงพ่อจะไม่สอนใครเลย" ตอนนั้น ท่านให้นายห้าง ประยงค์ทดลองทำก่อน ที่ไหนได้ ผลปรากฏพอครบ 2 ปี นายห้าง ประยงค์ก็ไปวัด ไปเล่าให้ฟัง บอกว่า
    "เมื่อก่อนนี้ครับ ก่อนที่ผมจะได้คาถาบทนี้ไป ถ้าเดือนไหน ห้างผมขายของได้กำไรถึงสองร้อยบาท (สองร้อยบาทเป็นกำไร สุทธินะ) เดือนนั้นสองผัวเมียนอนไม่หลับ ดีใจ"
    ก็เลยถามท่านว่า "เวลานี้ละ เป็นอย่างไรบ้าง?"
    ท่านบอกว่า "แหม หมื่นหนึ่งยังเฉย ๆ เลยครับ"
    ต่อมาหลวงพ่อปานก็ให้นายห้างประยงค์ออกสตางค์สร้างวัดเขาสะพานนาค นายห้างประยงค์ถามว่า
    "จะเอาเงินเท่าไหรจึงจะพอครับ"
    ท่านบอก "ทำไปเรื่อย ๆ มีเงินเป็นทุนสำรองไว้ประมาณ 2 หมื่นบาท"
    หลวงพ่อปานสั่งว่า "ถ้าเอ็งจะเอาเงินไหน ไปเป็นทุนสำรอง เอ็งเอาเงินนั้นมาให้พ่อก่อนนะ"
    แล้วนายห้างประยงค์ ก็เอาเงินมาให้หลวงพ่อปาน แทนที่หลวงพ่อปาน ท่านจะเอาไว้ ท่านก็เอาเงินจำนวนนี้ มาเสกด้วยคา ถาวิระทะโยอีก 7 คืน และท่านก็สั่งให้เงินนั้นกลับไป
    ท่านสั่งว่า ถ้าเวลาที่พ่อสั่งก็เอามาให้ เอ็งเอาเงินกองนี้นะ ห้ามเอากองอื่น"
    เวลาที่ท่านสั่งให้เอาเงินมาเขาก็เอาเงินกองนั้นแหละมาให้หยิบเข้าหยิบออกอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งสร้างวัดเขาสะพานนาค เสร็จ เงินยังเหลือ 2 หมื่น
    แหม...คนแบบนี้ซวยจัด ที่ว่าซวยเพราะอะไรรู้ไหม ก็ซวยตรง...ที่ไม่รู้จักคำว่าจนไงล่ะ เงินหมดไม่เป็น
    ต่อมาเราก็ย่องไปถามท่านว่า "มันเป็นอย่างไร"
    นายห้างประยงค์บอกว่า "หลวงพ่อปานท่านสั่งไว้ว่าก่อนจะหยิบก็ต้องว่าคาถาบทนี้เท่านั้น เวลาเก็บก็ต้องว่าจำนวนเท่ากัน"
    ท่านทำตาม หลวงพ่อปาน ทั้งหมด ตอนเช้าตื่นขึ้นมา ท่านจะต้องทำเป็นสมาธิก่อน แล้วจึงใส่บาตร ก่อนไป ห้างก็สวดมนต์ ด้วยคาถาบทนี้ ยามว่างตอนนั่งรถไปทำงานท่านก็ว่า คาถาบทนี้ไป เมื่อจิตมันว่างมันก็เข้า ฌาน พอตอนเย็นกลับบ้าน อาบ น้ำเสร็จ รับประทานอาหารเสร็จ ทำสมาธิพักหนึ่งก่อน และก่อนจะนอน ถ้าไม่ปวดเมื่อยท่านก็นั่งสมาธิ ถ้าปวดเมื่อย ก็นอน ว่า จนหลับไป
    นายห้างประยงค์บอกว่า ตั้งแต่จิตเริ่มเข้าอุปจารสมาธิ จะเห็น พระพุทธเจ้าบ้าง พระสงฆ์บ้าง นับตั้งแต่ ตอนนั้น เป็นต้นมา เงินค้างเรื่อยมา ก็มีวาระแรก ที่เงินค้างมากเกินไป สองคนผัวเมียเกือบทะเลาะกัน ต่างคนต่างหาว่าเอาเงินไปซุกไว้
    เมียบอกว่า "ทำไมคุณเอาเงินมาไว้แล้วไม่บอกฉัน" นายห้างประยงค์บอก "ฉันไม่เคยเก็บเงิน เธอเป็นคนเก็บ เธอเป็นคน เอามาไว้ แล้วทำไมจึงไม่จำ"
    ไล่ไปไล่มานึกถึงผลของคาถาบทนี้ ได้คิดว่าน่ากลัวจะเป็นผลของการทำคาถาบทนี้แน่ ๆ เพราะหลวงพ่อ ปานท่านสั่งว่า ถ้า ผลมันเกิดขึ้นมาแล้วอย่าโวยวาย ต่างคนต่างนึกขึ้นมาได้ก็เลยเงียบ
    [​IMG]
    จำไว้นะทุกคน ที่ได้คาถาบทนี้ไปแล้ว ควรท่องคาถานี้ให้ชิน แล้วก็ทำเป็นสมาธิเหมือนๆ กับที่เราทำนี่แหละ ผลมันเท่ากัน ผลที่เราพึงจะได้รับก็คือ จิตเป็นสมาธิ และก็สตางค์ขังตัว คือ ไม่ขาดมือ
    หมายเหตุ คาถาวิระทะโยนี้ เป็นคาถาเริ่มแรกดั้งเดิม หรือคาถาที่หลวงพ่อปาน ท่านนำมาเผยแพร่แล้วต่อมา หลวงพ่อพระราชพรหมยานก็ได้มาต่อเติมให้เป็นคาถาเงินล้านในปัจจุบัน จึงถือว่า เป็นที่มาหรือเป็นส่วนหนึ่ง ของคาถาเงินล้านนั่นเอง ดังนั้นถ้าจะภาวนา ก็ให้ใช้คาถาเงินล้านได้เลย มีในหนังสือท้ายบท
    " คัดมาจากหนังสือธัมมวิโมกข์ "
    [​IMG]
    ที่มาของ คาถาเงินล้าน
    ก่อนที่อยู่วัดท่าซุงนะฉันอยู่กระต๊อบ เงินร้อยก็หายากสำหรับเงินทำบุญ คาถาวิระทะโย ก็ทำเรื่อยๆ ไป ต่อมาท่านก็มาหา ก็บอกว่า คาถาบทนี้นะที่เขาทำพระวัดพนัญเชิงองค์แรก มีเจ้าอาวาสองค์แรกท่านไปนั่งกรรมฐาน และเสกด้วยคาถาบทนี้ สามปี ท่านให้ดูตัวอย่างวัดพนัญเชิงเงินขาดไหมฉันก็ทำมาเรื่อย
    มาอีกปีหนึ่ง กำลังบวงสรวง ท่านบอกว่า "คาถาบทนี้ เป็นคาถาเงินแสนนะ" ก็ใช้คาถาบทนั้น มาประมาณครึ่งปี คนมา ทอดกฐินผ้าป่าได้เงินเป็นแสน นี่เห็นชัดนะ
    แล้วต่อมา อีกปีหนึ่ง ท่านบอกว่า "คาถาบทนี้เป็นคาถาเงินล้านนะ"ให้ว่าต่อเนื่องกันไปแล้วไปลง "คาถาวิระทะโย" ต่อมาก็จริง ๆ เพราะปี 27 ก็ใช้เงินล้าน เป็นเดือน ซึ่งไอ้อย่างนี้เราก็คิดไม่ออก ต้องค่อย ๆ ใจเย็น ๆ
    เวลาว่าไป อย่าไปว่าหวังเอาลาภ คือ ต้องภาวนาด้วยนะ ถ้าทางที่ดีเวลาภาวนากรรมฐาน พอจิตสบายน่ะต่อเลย เพราะเวลา กรรมฐานนี่จิตเป็นฌาณใช่ไหมเอาอย่างนี้ดีกว่า เวลาฝึกมโนมยิทธิออกไปให้ได้นั้น ออกไปเดี๋ยวเดียวก็ได้ออกไปได้ นี่จิต เป็นฌาณ 4 เข้าเขตพระนิพพาน ได้จิตสะอาดถึงที่สุด กลับลงมาด้วยคาถาบทนี้เลย มากน้อยก็ช่างให้หลับไปเลยคือ ถ้าจิต สะอาดมากผลก็เกิดเร็ว
    ก็สงสัยเหมือนกันนะ เมื่อปี 26 ท่านบอกว่าปี 27 มีอะไรบ้างก็ตุน ๆ ไว้บ้างนะ 28 จะเครียดมาก การค้าของใคร ถ้าทรงตัว ได้ก็ถือว่า ดีไว้ก่อน อันนี้ท่านบอกว่า "ถ้าลูกเราจะจนก็จนไม่เท่าเขา"
    ถ้าพูดถึงผลฉันก็นั่งดูเรื่อยๆมาว่า เอ๊ะ! เงินแสนมันจะมีมาอย่างไร ภายในปีนั้นปรากฏว่าสมัยนั้นวัดต่างๆเขายังไม่ถึงหมื่น เลย แล้วต่อมาคาถาเงินล้านก็ต้องว่าต่อ เพราะต่อไปข้างหน้าต้องใช้เงิน
    พระพุทธเจ้าบอกนี่ ต้องเชื่อต้องใจเย็นๆไม่ใช่ไปเร่งรัด ถ้าไปว่าแล้วคิดว่าเราต้องรวยนี่เสร็จ พัง ต้องว่าด้วยจิตเคารพนาน หลายปี ท่านไม่ยอมเปิดกับใคร ก่อนจะเข้าถึงดี มันต้องเครียด ไอ้ปี 28 ความจริงมัน น่าจะดี แต่ไปๆมาๆ ก็มีจุดสะดุดจุด สะดุด นี่เป็นชะตาของชาติ แต่ยังไงๆ ก็ต้องไปเจอะจุดรวยแน่
    ถ้าพวกนี้รวยนะ วัดท่าซุง ไม่เป็นไร คือว่า หนี้นี่นะ…..อย่าคิดว่ามันโจ๊ะกันได้ เมื่อปี 30 นะ มันเกิน ค่าใช้ จ่ายเดือนละ 2 ล้านเศษ อันนี้ ต้องคิด เดือนนี้ก็ตกเกือบ 3 ล้าน คือ 2 ล้าน 9 แสนเศษ
    [​IMG]
    ตอนนี้ ท่านให้ฉันเขียนโครงการ ที่จะทำให้เสร็จ ในปี 30 โครงการของท่าน จริง ๆ มีมาก ท่านย่า ก็เคยบอก ท่านบอกว่า "ท่านไม่บอกคุณตรง ๆ หรอก ท่านรู้ใจคุณ ถ้าบอกโครงการทั้งหมด คุณไม่ทำแน่"
    พระพุทธเจ้า ก็รู้คอนะ ไปๆ มาๆ ท่านให้นั่งเขียน ตามนี้นะ 12 รายการ ให้เสร็จ ภายในปี 30 เลย คิดว่า เงินที่ต้องใช้เป็น ล้านๆ รายการมากนะลูก ถ้าหากจะถามว่า 10 ล้านพอไหม ก็ต้องบอกว่า มันไม่ได้ครึ่งหลัง ที่ท่านสั่งทำหรอก

    วันนั้นก็ขึ้นไปที่กระต๊อบฉัน ไปถึงกระต๊อบ ก็ปรากฏว่า สมเด็จองค์ปัจจุบัน ท่านประทับอยู่ที่นั่น และท่านพระเจ้าแม่ให้นาม ว่า "มัทรี" หรือ "พิมพา" ไปที่อเมริกา ท่านบอก "ฉันแม่คุณ เหมือนกัน ฉันเคยเป็นแม่คุณ" ถามว่าชื่ออะไร "ชื่อมัทรี" แล้วคุมมาตั้งแต่อเมริกาเวลานี้ก็ยังคุมอยู่ ก็ไปกราบเรียนถามท่านว่า คำสั่งที่สั่งให้ทำมันเกินวิสัย แค่อาคาร 300 ห้องจาก พ.ศ. นี้ไปจนถึง 30 มันก็เสร็จยากเหลือเกิน และ อีกหลายรายการ มันก็ใหญ่ทั้งนั้น ท่านแม่มัทรีก็บอกว่า

    "เอาอย่างนี้ซิลูก ขออำนาจพระพุทธานุภาพ" ก็เลยหันไป

    "ได้ ฉันต้องช่วยเธอ"

    แล้วต่อมา เดินเล่นในบริเวณกระต๊อบของฉันเล็กๆ มันมีถนนหนทางใช่ไหม ก็ปรากฏว่า เดินไปเดินมา สมเด็จองค์ปฐมก็ เสด็จมาเดินด้วย ท่านบอกว่า

    "สภาพของพระนิพพาน มันเป็นอย่างนี้นะ คนที่ถึงพระนิพพานแล้ว กิจอื่นที่ทำ ไม่มี มันเป็นอย่างนี้นะ เวลานี้ เราเดินกลาง บริเวณ พวกเราทั้งหมดลองนั่งดูซิ มันจะมีอะไรไหม"

    ที่มันเป็นที่นั่งไม่มีเลย พอนั่งปุ๊บไอ้เตียงตั่งมันเสือกมาได้อย่างไร ก็ไม่รู้ เลยคุยไปคุยมา ท่านก็เลยบอกว่า

    "งานที่ฉันสั่งต้องเสร็จทัน 30"

    ฉันไม่ยืนยันว่าคนที่ไม่เคารพฉันจะมีผล จำให้ดีนะ

    จึงขอให้ทุกคนถ้าได้รับคาถานี้ ให้ตั้งใจปฏิบัติด้วยความจริงใจด้วย ความเคารพในพระพุทธเจ้า

    ต่อนี้ไปก็อ่านคาถาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน และให้ทุกคนตั้งใจนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า คิดว่า คาถาทั้งหมดนี้ จงปรากฏ อยู่ในจิตของเรา ลาภผลต่างๆ ให้ปรากฏแก่เรา ตามที่พระองค์ทรงต้องการนะ นึกถึง ท่านนะ
    [​IMG]
    สัมปจิตฉามิ คาถาสนองกลับ
    นาสังสิโม คาถาพระพุทธกัสสป
    บทแรก "พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ" อันนี้ตัดอุปสรรค ที่ลาภจะมา แต่เขามาบอกว่า มีผลแน่นอน คือว่าแกจะไม่ยอมให้ลูกแกจน พูดง่าย ๆ ก็แล้วกัน พระพุทธเจ้า ก็ทรงยืนยันบอกว่า ให้หมด
    บทที่สอง "พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุเม" คาถาบทนี้เป็นคาถาเงินแสนของท่าน
    บทที่สาม "มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม" บทนี้เป็นคาถาปลุกพระวัดพนัญเชิง
    บทที่สี่ "มิเตพาหุหะติ" เป็นคาถาเงินล้าน
    บทที่ห้า "พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม" เป็นคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า
    บทที่หก "สัมปติฉามิ"บทนี้เป็นบทเร่งรัดบทสุดท้าย
    บทที่เจ็ด "เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ" พระปัจเจกพุทธเจ้ามาบอกหลวงพ่อ เมื่อ พ.ย.33 เป็นภาษาโบราณแต่เทียบกับ ภาษาไทย อ่านได้อย่างนี้ เป็นคาถามหาลาภ มีผลยิ่งใหญ่มาก ทั้งหมดนี้ต้องสวด เป็นบทเดียวกัน บูชาเรื่อย ๆ ไป การบูชา ถ้าบูชาเฉย ๆ มันเป็นเบี้ยต่อไส้

    อย่าลืมนะ เวลาสวดมนต์ แล้วให้สวดคาถานี้ 9 จบเท่าเดิมนะ และเวลาภาวนานอนภาวนาก็ได้ ว่าเรื่อยๆ ไปจนกระทั่งหลับ ไปเลย ตื่นขึ้นมา ต่อจากกรรมฐาน นอนก็ได้ ใจสบาย ๆ นะ บางทีเผลอ ๆ ฉันก็ต้องว่า ของฉันเรื่อย ๆ ไป คาถาเงินล้านนี่ มาให้เมื่อปีฝังลูกนิมิต ท่านบอกว่า งานข้างหน้าจะหนักมาก หลังจากนี้เป็นต้นไป เงินจะใช้มากกว่า สมัยที่สร้างโบสถ์ อย่า ลืมนะ...เวลาว่างๆ นั่งนึกก็ได้เดินไปก็ได้ ไม่ห้ามเลยนะให้มันติดใจอยู่อย่างนั้น ให้ถือว่าเป็นกรรมฐานไปในตัวเสร็จเพราะ คาถาที่พระพุทธเจ้าบอก ทุกบทก่อนจะทำ ต้องนึกถึงท่าน ถือว่าเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน

    " คัดมาจากหนังสือ "สมบัติพ่อให้" ของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง อุทัยธานี "
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1011034.JPG
      P1011034.JPG
      ขนาดไฟล์:
      249.7 KB
      เปิดดู:
      83
    • P1011035.JPG
      P1011035.JPG
      ขนาดไฟล์:
      270.2 KB
      เปิดดู:
      74
    • P1011036.JPG
      P1011036.JPG
      ขนาดไฟล์:
      234.3 KB
      เปิดดู:
      69
    • P1011037.JPG
      P1011037.JPG
      ขนาดไฟล์:
      221.6 KB
      เปิดดู:
      74
    • P1011040.JPG
      P1011040.JPG
      ขนาดไฟล์:
      254.2 KB
      เปิดดู:
      83
    • P1011044.JPG
      P1011044.JPG
      ขนาดไฟล์:
      292.7 KB
      เปิดดู:
      67
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2009
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    มาถึงบาตรน้ำมนต์เบญจรงค์ บาตรน้ำมนต์ใบนี้ตั้งใจตามหาอยู่นาน เพราะทำด้วยเบญจรงค์ สมัยนี้หาผู้ทำยาก และน้อยรายมาก ผมนำน้ำสะอาดมาบรรจุ และแช่ด้วยพระสมเด็จที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหัตธาตุ และที่สำคัญแช่ด้วยพระคะแนนผงยาวาสนาองค์สีน้ำตาล เพราะเหตุว่าอยากลองพิสูจน์ดูว่า ที่ว่า"ผงยา"นั้นจริงเท็จอย่างไร ผมแช่ไว้ราว ๒ ปีกว่าแล้ว เปิดออกคราวนี้ ต้องแปลกประหลาดใจเพราะเกิดฝ้าสีขาวจับกันเป็นแผ่นสีขาวลอยบนผิวน้ำไปทั่ว ความลับของพระผงยาวาสนาจริงๆอยู่ในองค์พระ ลักษณะเนื้อของพระผงยา กับพระทั่วไปมีเนื้อหาที่ต่างกันมาก ฝ้าสีขาวที่จับเป็นแผ่นสีขาวนี้คือส่วนผสมของ"ผงยา"นี่เอง ผมได้เคย post เล่าเรื่องของน้องท่านหนึ่งหลังจากที่ได้รับพระผงยาวาสนานี้ไปนั่งสมาธิได้พบเห็นอะไร ก็ลองเปิดอ่านย้อนกลับไปดูนะครับ ผมไม่ชอบ post เรื่องราวซ้ำๆ ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1011046.JPG
      P1011046.JPG
      ขนาดไฟล์:
      259.3 KB
      เปิดดู:
      74
    • P1011047.JPG
      P1011047.JPG
      ขนาดไฟล์:
      304.8 KB
      เปิดดู:
      66
    • P1011048.JPG
      P1011048.JPG
      ขนาดไฟล์:
      329.3 KB
      เปิดดู:
      69
    • P1011049.JPG
      P1011049.JPG
      ขนาดไฟล์:
      325.6 KB
      เปิดดู:
      69
    • P1011050.JPG
      P1011050.JPG
      ขนาดไฟล์:
      302.6 KB
      เปิดดู:
      56
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    หิ้งประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐม ได้รับพระบรมสารีริกธาตุสมเด็จองค์ปฐมบรมศาสดาเมื่อราว ๑๐ กว่าปีก่อนแล้วจากการร่วมทำบุญที่วัดพระธาตุแห่งหนึ่งทางเหนือ ท่านได้มอบพระบรมสารีริกธาตุมาให้ แต่เวลานั้นไม่ทราบว่าเป็นขององค์ใด แต่มีความมั่นใจว่าซักวันหนึ่งเมื่อวาระมาถึงก็จะได้ทราบเอง จนเมื่อราว ๒ ปีก่อน ได้พบท่านผู้หนึ่งเป็นครูสอนมโนมยิทธิตามความที่เคยเล่าให้ฟังโดย post ในตั้งกระทู้ "ร่วมสร้างสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเรซิ่น" ไปบ้างแล้ว หากสนใจก็ลองย้อนกลับไปหาอ่านเอานะครับ เวลานี้จึงประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเอาไว้เหนือพระบรมสารีริกธาตุของทุกพระองค์ อาจารย์สอนมโนมยิทธิผู้นี้เคยขอพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จองค์ปฐมแล้ว ด้วยแรงสัจจะอธิษฐานจึงยังไม่สามารถอัญเชิญไปได้ จึงได้ตั้งสัจจะว่าจะไม่มอบให้ผู้ใดอีก นอกเสียจากว่าจะได้บรรจุยังพระมหาธาตุเจดีย์ ๙ แห่ง ในชีวิตบั้นปลาย...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1011041.JPG
      P1011041.JPG
      ขนาดไฟล์:
      243.3 KB
      เปิดดู:
      41
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ขออนุโมทนาบุญกับคุณหนุ่มด้วยที่ได้มอบพระเสโทธาตุ(เหงื่อ) และพระบรมสารีริกธาตุส่วนผิวหน้งให้บูชายังเคหะสถาน ผมยังจำได้ถึงวันที่คุณหนุ่มได้รับพระบรมสารีริกธาตุส่วนของพระเสโทธาตุนี้ เพราะความเหนื่อย มีบ่นเป็นบางครั้ง ที่ทำงานพระพุทธศาสนา พระท่านคงมอบให้เป็นรางวัลของความเหน็ดเหนื่อย หายเหนื่อยไหมล่ะครับ...

    เพื่อนๆลองพิจารณาตามความเป็นจริงเอานะครับ ผมได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากใครก็ตาม เขาจะค่อยๆตักจากภาชนะของเขา ๑-๓ องค์ แต่นี่คุณหนุ่มเขามอบพระเสโทธาตุ(เหงื่อ) และพระบรมสารีริกธาตุส่วนผิวหน้งให้ผมคะเนด้วยสายตาพระเสโทธาตุ(เหงื่อ)น่าจะร่วมพัน-สองพันองค์นะครับ หรือจะเป็นเพราะ..ผอบพระเจดีย์แก้วนี้สวยงามจนคุณหนุ่มอดใจตักบรรจุให้อย่างไม่ยั้ง..สาธุนะครับ หุ ๆ ๆ ๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1011043.JPG
      P1011043.JPG
      ขนาดไฟล์:
      244.4 KB
      เปิดดู:
      70
    • P1011042.JPG
      P1011042.JPG
      ขนาดไฟล์:
      241.2 KB
      เปิดดู:
      90
    • P1011045.JPG
      P1011045.JPG
      ขนาดไฟล์:
      261.8 KB
      เปิดดู:
      64
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วันนี้ผมได้เปิดผอบพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระพุทธกัสสป ก็พบเห็นการเสด็จของพระบรมสารีริกธาตุขององค์สีชมพูองค์หนึ่ง กำลังจะแบ่งเป็น ๒ องค์แยกจากกัน โดยมีลักษณะติดกันคล้ายเลข 8 แต่เดิมสังเกตไม่พบการเสด็จนี้..<!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1011031.JPG
      P1011031.JPG
      ขนาดไฟล์:
      238.5 KB
      เปิดดู:
      62
    • P1011032.JPG
      P1011032.JPG
      ขนาดไฟล์:
      272 KB
      เปิดดู:
      74
    • P1011033.JPG
      P1011033.JPG
      ขนาดไฟล์:
      266 KB
      เปิดดู:
      59
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]


    ผมก็คิดถึงคุณเพชรเช่นกันครับ

    สมัยก่อน พระบูชาที่เป็นพิมพ์พระเศรษฐีนวโกฐ หากันได้ไม่ยากนัก ซึ่งทางวัดไ....... ก็มีเช่นกัน และมีขนาดหน้าตัก 20" ต้องยอมรับว่า สวยงามมาก ผมกำลังจะขออนุญาตกับทางเจ้าของวัดไ..... เพื่อที่จะนำสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า เข้าไปนมัสการพระพุทธรูปกัน แล้วจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งนะครับ
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    [​IMG] [​IMG]

    พระบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์นี้ สวยงามมากครับคุณเพชร

    [​IMG]

    สำหรับพระธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้า ณ ปัจจุบัน ผมเองก็ยังพอมีอยู่อีกพอสมควร หากสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้าท่านใด มีความประสงค์ต้องการที่จะได้ไว้สักการะบูชา แจ้งผมนะครับ ไว้ในวันประชุมชมรมรักษ์พระวังหน้าในครั้งต่อไป(อาจจะเป็นเดือนธันวาคม หรือ มกราคม ศกหน้า) ผมจะนำไปมอบให้กับท่านที่ต้องการครับ

    ผมไม่ส่งพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม และพระบรมสารีริกธาตุ องค์พระปัจเจกพุทธเจ้า ทางไปรษณีย์อย่างเด็ดขาด เนื่องจากการส่งในลักษณะนี้ ในความเห็นของผมเป็นการปรามาสอย่างรุนแรง เพราะพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม และพระบรมสารีริกธาตุ องค์พระปัจเจกพุทธเจ้าจะอยู่ในกล่อง เมื่อส่งให้ที่ไปรษณีย์ พนักงานไปรษณีย์จะโยนลงในลังที่จะนำไปคัดแยก พอแยกเรียบร้อย ก็ให้พนักงานที่นำส่ง ใส่ถุงแล้ววางไว้หลังมอเตอร์ไซด์ พนักงานที่นำส่งบางคนก็ใช้เท้าข้ามรถและกล่อง กว่ากล่องที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม และพระบรมสารีริกธาตุ องค์พระปัจเจกพุทธเจ้า จะไปถึงผู้รับอีก

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG] [​IMG]

    ยินดีด้วยความเต็มใจเป็นอย่างยิ่งครับ

    [​IMG]

    ส่วนนี้เป็นส่วนบริเวณผิวหน้าอก ปอด หัวใจ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม สมณโคดมครับ
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]

    สวยมากครับคุณเพชร

    ส่วนในวันงาน "งานแสดงมุฑิตาจิตท่านอาจารย์ประถม" ผมเองจะนำบาตรน้ำมนต์หลวงปู่กรมพระยาปวเรศ ไปด้วยครับ

    และในบาตรจะมีพระพิมพ์ต่างๆ ที่ผมเห็นว่า ดีเลิศ นำไปทำน้ำมนต์ด้วยครับ
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    ผมขอขอบคุณ คุณเพชร ที่กรุณาแบ่งพระบรมฯในชุดนี้มาให้ผมครับ

    .
     
  11. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    โมทนาสาธุกับท่านรองฯเพชร เลขาฯหนุ่ม ที่ได้บูชาสิ่งอันเป็นมงคลสูงยิ่ง ซ้ำยังได้มอบภาพถ่ายให้พวกเราได้ชื่นชม นับว่าเป็นบุญตาจริงๆครับ

    สำหรับผม พรุ่งนี้จะทำสัญญาซื้อที่ดิน 1 แปลงในหมู่บ้านแห่งใหม่ในเขตเมืองแม่สอด โชคดีมากที่ได้ที่ดินผืนนี้เพราะฮวงจุ้ยดีอยู่หัวมุมบนเนิน มองเห็นทิวเขา แถมยังได้ราคาที่ถูกกว่าชาวบ้าน 2,200/ตลว. - ผมได้มา 146 ตลว.

    อันที่จริงมีความบังเอิญและนิมิตอันดีมากมายหลายประการครับ คงเป็นเพราะผมไม่ได้มองที่ตัวผมเป็นเกณฑ์ แต่ผมมองบ้านหรือทำเลที่จะประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระพิมพ์วังหน้า หรือวัตถุมงคลต่างๆที่ได้ครอบครองอยู่ ณ ขณะนี้กับที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ว่าจะต้องสมศักดิ์ศรีของสิ่งอันเป็นมงคลเหล่านั้น ส่วนสำหรับตัวเองคือ สงบ สะดวก ปลอดภัย ปฎิบัติธรรมในบ้านได้ดี - สงสัยต้องขอดูงานวัดไ... หรือบ้านคุณเพชร เป็นแม่แบบนะครับ

    ตามที่ได้พูดคุยกะท่านเลขาฯเมื่อคืน ไว้อีก ~2 ปี จะขออาราธนาพระประธานจากท่านฯ มาประดิษฐาน ณ ที่แห่งนี้ 1 องค์นะครับ และขอให้ท่านตามหา 16 ชั้นฟ้าได้โดยเร็ว!!
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เอ่อ ถ้าที่วัดไ...... ก็ยังพอมีหวังครับ แต่บ้านคุณเพชร น่าจะยากแน่เลย

    สิ่งที่สำคัญที่สุด ต้องเป็นพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม สมณโคดม เป็นที่สุด

    เนื่องจาก เราทุกๆท่าน เกิดมาในยุคสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม สมณโคดม เผยแพร่พระพุทธศาสนา ซึ่งผมเปรียบได้เหมือนกับ พ่อ แต่หากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆที่ตรัสรู้และปรินิพพานแล้ว ผมเปรียบเหมือนกับ ทวด หรือ ปู่ หรือ ลุง

    ทวด หรือ ปู่ หรือ ลุง ต้องไหว้
    พ่อ ต้องกราบครับ

    ส่วนเรื่องของ 16 ชั้นฟ้า ผมตามหาอยู่ครับ แต่ยังไม่รู้ว่า จะมีโอกาสได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ยากมากๆๆๆๆ แต่คำที่ว่า พระท่านเลือกคนนั้น ถูกต้องเสมอ ขอบคุณในกำลังใจนะครับ
     
  13. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    ..........

    เอ่อ ถ้าที่วัดไ...... ก็ยังพอมีหวังครับ แต่บ้านคุณเพชร น่าจะยากแน่เลย

    เหอๆ ลมหายใจยังมี ความหวังยังมีครับ แม้เพียง 0.99
    .....
    ทวด หรือ ปู่ หรือ ลุง ต้องไหว้
    พ่อ ต้องกราบครับ


    โมทนาสาธุครับ ก้องอยู่ในใจเสมอเลย :)
     
  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ขอกราบขอขมาพระพุทธองค์ และเพื่อนที่ติดตามกระทู้พระวังหน้าที่ผมได้กล่าวผิดพลาดไปในเรื่องส่วนผิวหนังของพระบรมสารีริกธาตุ ที่ถูกต้องคือ ส่วนของผิวพระอุระ(หน้าอก) พระปัปผาสะ(ปอด) พระหทัย(หัวใจ) เพราะกล่าวผิด จึงได้รู้ข้อมูลที่ถูกต้องจริงๆ แสดงว่าผมยังไม่ได้ post ส่วนของผิวหนังให้ชมกัน...
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    คลอดแล้ว สัญลักษณ์เรตติ้งหนัง 6 ประเภท

    ?ً?ѧ Movie ?ō?ᅩǠʑ?ő?ɳ젠õ?ԩ?˹ѧ


    [​IMG]


    คลอดแล้ว สัญลักษณ์เรตติ้งหนัง 6 ประเภท (ไทยรัฐ)

    คลอดแล้วสัญลักษณ์เรตติ้งภาพยนตร์ 6 ประเภท เริ่มดีเดย์เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม เป็นวันแรก ขณะที่ กระทรวงวัฒนธรรมเอาจริงโรงภาพยนตร์ใด ฝ่าฝืนถูกจับแน่ ...

    นายธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า จากการที่ วธ. ดำเนินการปรับปรุงสัญลักษณ์กำหนดประเภทของภาพยนตร์ตามที่คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติเสนอนั้น ขณะนี้สัญลักษณ์ได้จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมทั้งประกาศ ในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม โดยแบ่งเป็น 6 ประเภท ดังนี้

    [​IMG] 1.ภาพยนตร์เรื่องนี้ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้มีการดู ใช้สัญลักษณ์หน้ายิ้มพื้นสีเขียว อักษรย่อ ส (ส่งเสริม)

    [​IMG] 2. ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป ใช้สัญลักษณ์รูปบ้านพื้นสีเขียว อักษรย่อ ท(ทั่วไป)

    [​IMG] 3. ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป สัญลักษณ์ถูกผิด พื้นสีเหลือง อักษรย่อ น 13+

    [​IMG] 4. ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป สัญลักษณ์ถูกผิดพื้นสีเหลือง อักษรย่อ น 15+

    [​IMG] 5. ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สัญลักษณ์ถูกผิดพื้นสีเหลือง และอักษรย่อ น18+

    [​IMG] 6. ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดู สัญลักษณ์กากบาทผิด พื้นสีแดง อักษรย่อ ฉ 20-

    ส่วนเรตที่ 7 ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร ไม่มีสัญลักษณ์

    นายสมชาย เสียงหลาย เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) กล่าวว่า สวช. จะเร่งขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ โดยขึ้นสัญลักษณ์ไว้หน้าโรง และก่อนชมภาพยนตร์ทุกครั้ง

    นอกจากนี้ตนยังได้รับรายงานว่า ประชาชนส่วนหนึ่งยังสับสนว่าการเข้าชมภาพยนตร์แต่ละประเภทจะต้องตรวจบัตรประชาชน ทั้งที่จริงแล้วจะมีการตรวจบัตรประชาชนจะมีเฉพาะภาพยนตร์ประเภทที่ 6 และหากโรงภาพยนตร์ใดปล่อยให้ผู้เข้าชมที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าชม จะต้องถูกจับดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนเรตที่ 1 ถึง 5 จะเน้นการแนะนำผู้ชมให้เลือกชมภาพยนตร์ให้ตรงกับวัยเท่านั้น


    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก ไทยรัฐ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • rating.jpe
      rating.jpe
      ขนาดไฟล์:
      23.7 KB
      เปิดดู:
      233
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ลวนลามล้อเล่น! สาวออฟฟิศต้องรู้ทัน

    ˹ѧ



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>การล่วงละเมิดทางเพศในสถานที่ทำงานเป็นเรื่องที่ฝ่ายหญิงอาจเผชิญในชีวิตประจำวัน พ.ญ.เรขา กลลดาเรืองไกร จิตแพทย์แผนกประกันสังคม โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 1 มีคำแนะนำมาฝาก

    กรณีที่หญิงสาวถูกเพื่อนร่วมงานชายตีก้นเบาๆ แล้วบอกว่าหยอกล้อเล่นๆ พูดจาแนวทะลึ่งแบบที่เราไม่ชอบฟัง โอบบ่า แล้วถือโอกาสลูบไล้ต้นแขน หรือต้นขา เราควรจะรับมืออย่างไรดี ถ้าปฏิเสธหรือสะบัดออกทันทีจะส่งผลให้เกิดปัญหาในการทำงานหรือไม่ พอทำท่าไม่พอใจก็ถูกเจ้านาย รุ่นพี่หรือเพื่อนร่วมงานสวนว่า "แค่หยอกล้อกันเล่นๆ เธอก็ไม่น่าคิดมาก" คุณหมอบอกว่ามีวิธีสังเกตง่ายๆ ว่า อีกฝ่ายตั้งใจหรือไม่

    นั่นคือถ้าอีกฝ่ายไม่ได้ตั้งใจ เขาจะรีบขอโทษแบบจริงจัง และรู้สึกผิด แต่ถ้าตั้งใจก็จะพูดกระแหนะกระแหนว่าถูกนิดถูกหน่อยไม่ได้เชียวหรือ

    วิธีสังเกตง่ายๆ มีดังนี้

    1.จับในที่ที่ไม่ควรจับ เช่น เอว ต้นขา 2.ลูบไล้ในลักษณะที่ไม่สมควร เช่น ต้นขา ไหล่ แขน ฯลฯ 3.พูดจาในแนวทะลึ่ง ลามก หรือหวานเกินเหตุ 4.อยู่ในระยะใกล้ชิดเกินไป ถ้าต้องดูเอกสารร่วมกันระยะที่เหมาะสมไม่ควรจะใกล้เกิน 1.5 ฟุต <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ถ้าเกิดสถานการณ์เหล่านี้ พ.ญ.เรขาแนะนำว่าควรหาวิธีเอาตัวรอดแบบไม่ให้เสียน้ำใจกัน เพราะถ้าอีกฝ่ายอ้างว่าแค่ล้อเล่นก็จะมองหน้ากันไม่ค่อยติด

    1. ถ้าถูกจับเอว หรือต้นขา หรือถูกลูบไล้ในที่ที่ไม่สมควร เช่น ต้นขา ไหล่ หรือแขน เรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่องแค่การหยอกล้อแน่นอน ถ้าเกิดขึ้นควรรีบดึงร่างกายออกมาให้ห่าง แล้วบอกว่าต้องรีบไปหยิบของ หรือรีบไปไหนก็ได้ที่ทำให้ออกจากที่ตรงนั้นได้ แล้วแสดงอาการปฏิเสธให้ชัดเจนเช่น พูดด้วยน้ำเสียงท่าทีจริงจังว่าไม่ชอบ

    ถ้าปฏิเสธอย่างชัดเจนไปแล้วยังถูกกระทำซ้ำๆ อีก ถือว่าเป็นปัญหา ควรปรึกษาผู้ใหญ่ หรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามไปกว่านี้ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขก็ควรดูว่าจะทนทำงานต่อไปได้หรือไม่

    2. ถ้าหัวหน้าพูดจาในแนวทะลึ่ง ลามก หรือหวานเกินปกติของเจ้านายกับลูกน้องคุยกัน ให้ดูว่าปกติคนแถวนั้นเขามีวัฒนธรรมการพูดแบบนี้หรือไม่ แล้วเจ้านายคนนี้พูดแบบนี้กับลูกน้องอื่นๆ แบบเดียวกันหรือไม่ ถ้าใช่ก็คงเป็นเรื่องปกตินิสัย ถ้าไม่ใช่ให้ระวังมากกว่าปกติ ถ้าไม่ชอบให้ลองคุยดูว่าพอจะปรับพฤติกรรมได้ไหม เพื่อให้เป็นผลดีกับทั้งสองฝ่าย <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    3. อยู่ในระยะใกล้ชิดเกินไป เช่นเดียวกับข้อ 1 ควรรีบออกจากตรงนั้นแล้วขอตัวไปทำธุระ ถ้าสาวออฟฟิศคนไหนที่มักถูกลวนลามในที่ทำงานบ่อยๆ อาจต้องระวังตัวด้วยว่าทำอะไรที่เป็นการเชิญชวนให้ท่าหรือไม่ เช่น การแต่งตัว วิธีพูดคุย หยอกล้อ ฯลฯ

    หัวหน้าหรือรุ่นพี่ที่ชอบลวนลามพนักงานสาวในที่ทำงานเป็นคนที่ใช้อำนาจหน้าที่การงานในทางที่ผิด เรียกได้ว่าเป็นผู้ชอบใช้อำนาจในทางที่ผิด ชอบฉวยโอกาสกับผู้อื่น (Abuser) เป็นคนที่ไม่มีศีลธรรม หรือมีศีลธรรมข้อ 3 (ประพฤติผิดในกาม) อยู่น้อย

    ถึงแม้ภายนอกอาจจะดูเป็นผู้ใหญ่ที่วางตัวดี เข้าวัด ทำ บุญสม่ำเสมอ ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเป็นคนดีและไม่ได้ตั้งใจ เพราะหลายคนก็เป็นประเภทมือถือสาก ปากถือศีล สาวออฟฟิศควรระวังตัวเอาไว้เป็นดีที่สุด

    ไม่ควรไว้ใจและเกรงใจจนไม่กล้าปฏิเสธตั้งแต่ช่วงแรก ควรรักษาระยะห่างระหว่างเรากับบุคคลเหล่านี้ไว้ เป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด โดยเฉพาะเจ้านายที่เคยมีข่าวแบบนี้มาก่อน ถึงจะทำตัวดีเหมือนว่าตอนนี้ไม่ได้เป็นอย่างนั้นแล้ว ก็ไม่ควรไว้ใจ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของนิสัยที่ติดตัว ยิ่งถ้าไม่มีคนอื่นรู้ ไม่มีคนอื่นว่า ก็ยิ่งลองทำ

    สาวออฟฟิศหลายคนมักวางใจเจ้านายผู้ชายที่ดูรักลูกรักภรรยา ไปไหนจะต้องคิดถึงครอบครัวก่อนเสมอ ที่โต๊ะทำงานต้องมีรูปภรรยาตั้งอยู่ แม้เขาจะดูรักครอบครัวดี แต่ความรับผิดชอบต่อครอบครัวและพฤติกรรมมักมากในกามไม่จำเป็นต้องตรงข้ามกัน เพราะคนเรามีหลายมุมที่อาจคาดไม่ถึง

    กรณีที่ไม่ระวังตัว การลวนลามที่เกินเลยถึงขนาดมีการใช้กำลังล่วงเกิน

    ครูภูวศักดิ์ สุขศิริอารี ครูมวยไชยา บ้านภูวศักดิ์ แนะนำวิธีป้องกันตัวง่ายๆ ว่า ก่อนอื่นต้องออกกำลังกายแบบต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายพร้อมอยู่เสมอ และมี 3 วิธีง่ายๆ ดังนี้

    1. ถ้าฝ่ายชายก้มเข้ามาที่ซอกคอขณะที่อยู่ตรงหน้า ให้ใช้สันมือด้านนิ้วก้อยกระแทกอย่างแรงเข้าที่บริเวณข้อต่อฐานกะโหลกแล้วรีบวิ่งหนีทันที 2. ใช้นิ้วกางออกทั้ง 4 แล้วทิ่มลูกตาของฝ่ายชายอย่างแรง 3. ตบบ้องหู กางมือทั้ง 2 ข้างออกเล็กน้อยแล้วตบบ้องหูพร้อมกันทั้ง 2 ข้างอย่างเร็วและแรง

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNeE5BPT0=&day=TWpBd09TMHhNQzB3T1E9PQ==
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม สมณโคดม บริเวณส่วนผิวหนังด้านหลัง สันฐานจะเป็นสีดำนะครับ
     
  18. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    คุณหนุ่มรู้..ทัน...มากครับ..เป็นอย่างที่เขาว่าจริงๆ สาเหตุเพราะบ้านผมรกมาก แค่เห็นก็ปวดหมับแล้ว เพิ่งจะมีเวลาจัดเอง เลยจัดห้องพระเป็นอันดับแรก..

    ผมคิดว่าดูวัดไ......เป็นต้นแบบนั่นแหละถูกต้องที่สุด แต่ไปเห็นแล้ว อาจจะสงกาสัยว่า วัดนี้เขาทำอะไรกัน หากได้ชมจนทั่วแล้ว โดยเฉพาะหากได้มีโอกาสไปกราบนมัสการหลักเมือง...ก็จะถือสิ่งมงคลอย่างมาก จะไปหาหลักเมืองนี้ที่ไหน และหากไม่ได้ไปกราบพระพุทธรูปสมัยทวารวดี เนื้อสำริดสนิมสีเขียวนี่ต้องถือว่า ยังไปไม่ถึงวัดไ....ยังอีกหลายสิ่งหลายอย่างมากครับ ทั้งบาตรน้ำมนต์หัวสิงห์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในพระราชพิธีสำคัญๆมาแล้ว แล้วจะหายสงสัยกันในเรื่องของพระวังหน้ามีจริง หรือของเล่นหน้าวังอย่างที่เขาพูดหยอกล้อเล่นกันให้เป็นบาป เพียงขอจ้อให้สนุกปากแป๊บเดียว ในทำนองหากไม่พูด ก็คงไม่มีใครรู้ว่าเขาไม่รู้ แต่ลำบากไปอีกน๊าน...นานนนนนนนนนนนยังสถานที่หนึ่งที่ผู้คนไม่อยากไป...
     
  19. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 2 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>nongnooo, dragonlord </TD></TR></TBODY></TABLE>
    หวาดดีน้อง(ลัก) นิมนต์ไปแล้วดีมั้ยครับแรงปล่าวครับ หุ หุ
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ทบทวนที่เคยโพสกันครับ
    เริ่มจากคุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->nongnooo<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2436622", true); </SCRIPT> #33754 18-09-2009, 05:45 PM

    อ่า...เปิดประเด็นให้ท่านเลขาหน่อยครับจากวิกิพีเดียครับ เงินสเตอร์ริงครับคร่าวๆ เค้ามักเรียกกันว่าเงิน925 เป็นโลหะผสมระหว่าเงิน 92.5% กับ ทองแดง 7.5% ครับ ค้นพบมาตั้งแต่ ประมาณ ศตวรรษที่13แล้วครับ
    Sterling silver

    From Wikipedia, the free encyclopedia


    Jump to: navigation, search
    <TABLE class="metadata plainlinks ambox ambox-style"><TBODY><TR><TD class=mbox-image>[​IMG]
    </TD><TD class=mbox-text>This article includes a list of references, related reading or external links, but its sources remain unclear because it lacks inline citations. Please improve this article by introducing more precise citations where appropriate. <SMALL>(June 2009)</SMALL></TD></TR></TBODY></TABLE>Sterling silver is an alloy of silver containing 92.5% by weight of silver and 7.5% by weight of other metals, usually copper. The sterling silver standard has a minimum millesimal fineness of 925.
    [​IMG] [​IMG]
    Pair of sterling silver forks


    Fine silver (99.9% pure) is generally too soft for producing large functional objects; therefore, the silver is usually alloyed with copper to give it strength, while at the same time preserving the ductility and beauty of the precious metal. Other metals can replace the copper, usually with the intent to improve various properties of the basic sterling alloy such as reducing casting porosity, eliminating firescale, and increasing resistance to tarnish. These replacement metals include germanium, zinc and platinum, as well as a variety of other additives, including silicon and boron. A number of alloys, such as Argentium sterling silver have appeared in recent years, formulated to lessen firescale or to inhibit tarnish, and this has sparked heavy competition among the various manufacturers, who are rushing to make claims of having the best formulation. However, no one alloy has emerged to replace copper as the industry standard, and alloy development is a very active area.
    <TABLE class=toc id=toc summary=Contents><TBODY><TR><TD>Contents

    [hide]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "show"; var tocHideText = "hide"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>
    [edit] Origin of the alloy metal

    Although the origin of the word "sterling" is controversial, there is general agreement that the sterling alloy originated in continental Europe, and was being used for commerce as early as the 12th century in the area that is now northern Germany.

    [edit] Origin of the word "sterling", used to refer to the silver alloy

    The word "sterling", used in reference to the 925 grade of silver, emerged in England by the 13th century. The terms "sterling" and "pound sterling" acquired their meaning in more than a century, and from convergent sources. There are three possible origins for the word "sterling"; two originate from 12th and 13th century coinage, and one is generally discounted. The word could have derived from the Old English word "stiere", meaning "strong, firm, immovable".

    [edit] Starling theory, discounted

    Although marks of birds have been used in some coins of Edward the Confessor, sterling is not likely to have been derived from starling, as the word for starling at the time was spelled stær.
    Challenge to discount: the 'ling' suffix was often used in old english as a mark of quality in connection with / following on from the prefix. This would imply that, dropping the 'a' of 'æ' in 'stær' (method sometimes used to distinguish between meanings or articles of words, or to create words for new things that have a relation to existing things) and adding the suffix 'ling' would create 'sterling' (poss. orig. 'stærling' - conjecture) meaning 'a thing of quality relating to the stær'.

    [edit] Mint mark theory

    The 1955 edition of the Oxford English Dictionary states that the early Middle English name sterling was presumably descriptive of small stars that were visible on early Norman pennies. (Old English: steorling.)

    [edit] "Easterling" theory

    An alternative explanation put forth by Walter de Pinchebek circa 1300 is that sterling silver may have been known first as "Easterling Silver". The term "Easterling Silver" is believed to have been used to refer to the grade of silver that had originally been used as the local currency in an area of Germany, known as "The Easterling".
    This "Easterling" area consisted of five towns in northern Germany that banded together in the 12th century under the name Hanseatic League. The Hanseatic League proceeded to engage in considerable commerce with England. In payment for English cattle and grain, the League used their local currency. This currency was in the form of 92.5% silver coins. England soon learned that these coins, which they referred to as "the coins of the Easterlings", were of a reliably high quality and hardness.
    King Henry II set about to adopt the alloy as the standard for English currency. He recruited metal refiners from The Easterling and put them to work making silver coins for England. The silver these refiners produced came into usage as currency by 1158 in the form of what are now known as "Tealby Pennies", and was eventually adopted as a standard alloy throughout England. The original name "Easterling Silver" later became known as simply "sterling silver".
    The original English silver penny was 22½ troy grains of fine silver (as pure as can readily be made). 22½ troy grains is equivalent to 30 so-called tower grains or one tower pennyweight. When Henry II reformed the coinage, he based the new coinage on the then international standard of the troy pound rather than the pre-conquest English standard of the tower pound. A troy pennyweight is 24 troy grains. To maintain the same amount of silver (and thus the same value) in a coin that weighed more required less silver. It required that the alloy be only 92½% pure.
    Though coin weights and silver purity varied considerably (reaching a low point before the reign of Elizabeth I, who reinstated sterling silver coinage for the first time since the early 14th century), the pound sterling was used as currency in England from the 12th century until the middle of the 20th century. Specifically this was in the silver coins of the British Empire: Britain, British colonies, and some former British colonies. This sterling coin silver is not to be confused with American "coin silver".
    Sterling silver, no longer used in circulating currency, is still used for flatware, jewellery and plate, and is a grade of silver respected for both relatively high purity and sufficient hardness to form durable objects in daily use.

    [edit] A century of dining regalia: the silver craze of 1840 to 1940

    [​IMG] [​IMG]
    19th-century Tiffany & Co. Pitcher. Circa 1871. Pitcher has paneled sides, and repousse design with shells, scrolls and flowers. Top edge is repousse arrowhead leaf design.


    From about 1840 to somewhere around 1940 in the United States and Europe, sterling silver flatware became de rigueur when setting a proper table. In fact, there was a marked increase in the number of silver companies that emerged during that period.
    The height of the silver craze was during the 50-year period from 1870 to 1920. Flatware lines during this period sometimes included up to 100 different types of pieces. In conjunction with this, the dinner went from three courses to sometimes ten or more. There was a soup course, a salad course, a fruit course, a cheese course, an antipasto course, a fish course, the main course and a pastry or dessert course.
    Individual eating implements often included forks (dinner fork, place fork, salad fork, pastry fork, shrimp or cocktail fork), spoons (teaspoon, coffee spoon, demitasse spoon, bouillon spoon, gumbo soup spoon, iced tea spoon) and knives (dinner knife, place knife, butter spreader, fruit knife, cheese knife). This was especially true during the Victorian time period, when etiquette dictated that nothing should be touched with one's fingers.
    Serving pieces were often elaborately decorated and pierced and embellished with ivory, and could include any or all of the following: carving knife and fork, salad knife and fork, cold meat fork, punch ladle, soup ladle, gravy ladle, casserole serving spoon, berry spoon, lasagna server, macaroni server, asparagus server, cucumber server, tomato server, olive spoon, cheese scoop, fish knife and fork, pastry server, petit four server, cake knife, bon bon spoon, tiny salt spoon, sugar sifter or caster and crumb remover with brush.
    Flatware sets were often accompanied by tea services, hot water pots, chocolate pots, trays and salvers, goblets, demitasse cups and saucers, liqueur cups, bouillon cups, egg cups, sterling plates, napkin rings, water and wine pitchers and coasters, candelabra and even elaborate centerpieces.
    In fact, the craze with sterling even extended to business (sterling page clips, mechanical pencils, letter openers, calling card boxes, cigarette cases), to the boudoir (sterling dresser trays, mirrors, hair and suit brushes, pill bottles, manicure sets, shoehorns, perfume bottles, powder bottles, hair clips) and even to children (cups, flatware, rattles, christening sets).
    A number of factors converged to make sterling fall out of favor around the time of World War II. The cost of labor rose (sterling pieces were all still mostly hand-made, with only the basics being done by machine). Only the wealthy could afford the large number of servants required for fancy dining with ten courses. And changes in aesthetics resulted in people desiring simpler dinnerware that was easier to clean.

    [edit] Hallmarks

    Over the years, most countries in the world have developed their own systems of hallmarking silver. The purpose of hallmark application is manifold:
    • To indicate the purity of the silver alloy used in the manufacture or hand-crafting of the piece.
    • To identify the silversmith or company that made the piece.
    • To note the date and/or location of the manufacture.
    [edit] Miscellaneous

    In addition to the uses of sterling silver mentioned above, there are some little known uses of sterling:
    • Medical instruments: Evidence of silver and/or silver-alloy surgical and medical instruments has been found in civilisations as early as Ur, Hellenistic-era Egypt and Rome, and their use continued until largely replaced in Western countries in the mid to late 20th century by cheaper, disposable plastic items. Its natural malleability is an obvious physical advantage, but it also exhibits medically-specific utility, including the fact that it is naturally aseptic, and, in respect of modern medical practices, it is resistant to antiseptics, heat sterilisation and body fluids.
    • Musical instruments: Due to sterling silver having a special sound character, some brasswind instrument manufacturers use 92.5% sterling silver as the material for making their instruments, including the flute and saxophones. For example, some leading saxophone manufactuers such as Selmer and Yanagisawa have crafted some of their saxophones from sterling silver, which they believe will make the instruments more resonant and colorful in timbre.
    [edit] Tarnish and corrosion

    As the purity of the silver decreases, the problem of corrosion or tarnishing increases.
    Chemically, silver is not very reactive — it does not react with oxygen or water at ordinary temperatures, so does not easily form a silver oxide. However, other metals in the alloy, usually copper, may react with oxygen in the air.
    The black silver sulfide (Ag<SUB>2</SUB>S) is among the most insoluble salts in aqueous solution, a property that is exploited for separating silver ions from other positive ions.
    Sodium chloride (NaCl) or common table salt is known to corrode silver-copper alloy, typically seen in silver salt shakers where corrosion appears around the holes in the top.
    <TABLE class="metadata plainlinks mbox-small" style="BORDER-RIGHT: #aaa 1px solid; BORDER-TOP: #aaa 1px solid; BORDER-LEFT: #aaa 1px solid; BORDER-BOTTOM: #aaa 1px solid; BACKGROUND-COLOR: #f9f9f9"><TBODY><TR><TD class=mbox-image>[​IMG]</TD><TD class=mbox-text>The Wikibook Do-It-Yourself has a page on the topic of Polishing silver
    </TD></TR></TBODY></TABLE>Several products have been developed for the purpose of polishing silver that serve to remove sulfur from the metal without damaging or warping it. Because harsh polishing and buffing can permanently damage and devalue a piece of antique silver, valuable items are typically hand-polished to preserve the unique patinas of older pieces. Techniques such as wheel polishing, which are typically performed by professional jewelers or silver repair companies, are reserved for extreme tarnish or corrosion. See also Tarnish, Removal.

    [edit] References

    • All About Antique Silver with International Hallmarks, 2nd printing (2007), by Diana Sanders Cinamon, AAA Publishing, San Bernardino, CA.
    • Origins: A Short Etymological Dictionary of Modern English, by lexicographer Eric Partridge.
    • The Oxford English Dictionary, by John Simpson and Edmund Weiner.
    • Silver in America, 1840–1940: A Century of Splendor, third edition (1997), by Charles L. Venable; Harry N. Abrams, Inc., New York, NY.
    • Tiffany Silver Flatware, 1845–1905: When Dining Was an Art, by William P. Hood, Jr.; 1999; published by the Antique Collectors Club Ltd., Suffolk, England.
    • The Encyclopedia of American Silver Manufacturers, revised fourth edition (1998), by Dorothy T. Rainwater and Judy Redfield; Schiffer Publishing Ltd., Atglen, PA.
    • The Book of Old Silver, English – American – Foreign, With All Available Hallmarks Including Sheffield Plate Marks, by Seymour B. Wyler; 1937; Crown Publishers, Inc., New York, NY.
    • International Hallmarks on Silver Collected by Tardy, 5th English Language reprint (2000); original publication date unknown, date of first softcover publication 1985; author unknown; publisher unknown.
    [edit] External links

    <TABLE class=navbox cellSpacing=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 2px; PADDING-LEFT: 2px; PADDING-BOTTOM: 2px; PADDING-TOP: 2px"><TABLE class="nowraplinks collapsible autocollapse" id=collapsibleTable0 style="BACKGROUND: none transparent scroll repeat 0% 0%; WIDTH: 100%" cellSpacing=0><TBODY><TR><TH class=navbox-title style="BACKGROUND: gold" colSpan=2>[hide]
    v d e
    Jewellery</TH></TR><TR style="HEIGHT: 2px"><TD></TD></TR><TR><TD class=navbox-group style="BACKGROUND: #fff288">Forms</TD><TD class="navbox-list navbox-odd" style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: 2px solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0px; TEXT-ALIGN: left">Anklet · Belt buckle · Bracelet · Brooch · Chatelaine · Crown · Cufflink · Earring · Necklace · Ring · Tiara · Tie bar · Watch (pocket)
    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 2px"><TD></TD></TR><TR><TD class=navbox-group style="BACKGROUND: #fff288">Making</TD><TD class="navbox-list navbox-even" style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: 2px solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0px; TEXT-ALIGN: left">
    <TABLE class="nowraplinks navbox-subgroup" style="WIDTH: 100%" cellSpacing=0><TBODY><TR><TD class=navbox-group style="PADDING-RIGHT: 0em; PADDING-LEFT: 0em; BACKGROUND: #fdf6b0">People
    </TD><TD class="navbox-list navbox-even" style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: 2px solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0px; TEXT-ALIGN: left">Bench jeweler · Goldsmith · Jewelry designer · Lapidary · Watchmaker
    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 2px"><TD></TD></TR><TR><TD class=navbox-group style="PADDING-RIGHT: 0em; PADDING-LEFT: 0em; BACKGROUND: #fdf6b0">Processes
    </TD><TD class="navbox-list navbox-odd" style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: 2px solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0px; TEXT-ALIGN: left">Casting (centrifugal, lost-wax, vacuum) · Enameling · Engraving · Filigree · Metal clay · Plating · Polishing · Repoussé and chasing · Soldering · Stonesetting · Wire wrapping
    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 2px"><TD></TD></TR><TR><TD class=navbox-group style="PADDING-RIGHT: 0em; PADDING-LEFT: 0em; BACKGROUND: #fdf6b0">Tools
    </TD><TD class="navbox-list navbox-even" style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: 2px solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0px; TEXT-ALIGN: left">Draw plate · File · Hammer · Mandrel · Pliers
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR style="HEIGHT: 2px"><TD></TD></TR><TR><TD class=navbox-group style="BACKGROUND: #fff288">Materials</TD><TD class="navbox-list navbox-odd" style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: 2px solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0px; TEXT-ALIGN: left">
    <TABLE class="nowraplinks navbox-subgroup" style="WIDTH: 100%" cellSpacing=0><TBODY><TR><TD class=navbox-group style="PADDING-RIGHT: 0em; PADDING-LEFT: 0em; BACKGROUND: #fdf6b0">Precious metals
    </TD><TD class="navbox-list navbox-odd" style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: 2px solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0px; TEXT-ALIGN: left">Gold · Palladium · Platinum · Rhodium · Silver
    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 2px"><TD></TD></TR><TR><TD class=navbox-group style="PADDING-RIGHT: 0em; PADDING-LEFT: 0em; BACKGROUND: #fdf6b0">Precious metal alloys
    </TD><TD class="navbox-list navbox-even" style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: 2px solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0px; TEXT-ALIGN: left">Colored gold · Crown gold · Electrum · Platinum sterling · Sterling silver · Britannia silver · Tumbaga
    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 2px"><TD></TD></TR><TR><TD class=navbox-group style="PADDING-RIGHT: 0em; PADDING-LEFT: 0em; BACKGROUND: #fdf6b0">Base metals/alloys
    </TD><TD class="navbox-list navbox-odd" style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: 2px solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0px; TEXT-ALIGN: left">Brass · Bronze · Copper · Pewter · Stainless steel · Titanium
    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 2px"><TD></TD></TR><TR><TD class=navbox-group style="PADDING-RIGHT: 0em; PADDING-LEFT: 0em; BACKGROUND: #fdf6b0">Mineral Gemstones
    </TD><TD class="navbox-list navbox-even" style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: 2px solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0px; TEXT-ALIGN: left">Aventurine · Agate · Alexandrite · Amethyst · Aquamarine · Carnelian · Citrine · Diamond · Emerald · Garnet · Jade · Jasper · Malachite · Lapis lazuli · Moonstone · Onyx · Opal · Peridot · Quartz · Ruby · Sapphire · Sodalite · Sunstone · Tanzanite · Tiger's Eye · Topaz · Tourmaline
    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 2px"><TD></TD></TR><TR><TD class=navbox-group style="PADDING-RIGHT: 0em; PADDING-LEFT: 0em; BACKGROUND: #fdf6b0">Organic Gemstones
    </TD><TD class="navbox-list navbox-odd" style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: 2px solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0px; TEXT-ALIGN: left">Amber · Copal · Coral · Jet · Pearl · Abalone
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR style="HEIGHT: 2px"><TD></TD></TR><TR><TD class=navbox-group style="BACKGROUND: #fff288">Terms</TD><TD class="navbox-list navbox-even" style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-LEFT: 2px solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0px; TEXT-ALIGN: left">Carat (mass) · Carat (purity) · Finding · Millesimal fineness
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...