ทำสมาธิไม่ถูกหลักจึงเพี้ยนไปไม่รู้ตัว : พระอาจารย์ทูล

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 25 สิงหาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    การทำสมาธิ ถ้าไม่มีความเข้าใจในการทำอาจเกิดเป็นมิจฉาสมาธิ คือความเข้าใจผิดไปได้ ทำให้เกิดวิปริตเป็น สัญญาวิปลาส เป็นวิปัสสนูปกิเลสโดยไม่รู้ตัว ดังได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆว่า การทำสมาธิที่มีจิตเพี้ยนไป เมื่อจิตวิปริตเพี้ยนไปแล้ว ความรู้เห็นที่เกิดขึ้นจากการทำสมาธิ ก็เพี้ยนไปทั้งหมด อาการอย่างนี้เกิดขึ้นเพราะการทำสมาธิไม่มีปัญญาขั้นพื้นฐาน จึงทำให้จิตเกิดความเข้าใจผิดไปได้โดยไม่รู้ตัว

    ฉะนั้นผู้เขียน (พระอาจารย์ทูล) ขอชี้แนะเกี่ยวกับการทำสมาธิไว้ในที่นี้สัก 3 ประการ เพื่อให้ท่านได้เข้าใจ


    1. การทำสมาธิให้ถูกต้องตามองค์มรรคต้องมีสัมมาทิฏฐิ คือปัญญาความเห็นชอบเป็นพื้นฐาน และทำความเข้าใจว่า หลังจากการทำสมาธิแล้ว ต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้เห็นในหลักสัจธรรมทุกครั้ง ยิ่งจะมีความตั้งใจเพื่อมรรคผลนิพพาน ก็ยิ่งมีกำลังใจในการปฏิบัติธรรม และอย่าปักใจเชื่อในความรู้ที่เกิดขึ้นจากจิตโดยไม่มีเหตุผล อาจเป็นกลลวงของกิเลสออกมาหลอกจิต เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดไปได้ ฉะนั้นจึงต้องมีปัญญาเป็นเครื่องรู้รอบอย่าเผลอตัว


    2. การทำสมาธิธรรมดา ที่ไม่มีปัญญาในองค์มรรคเป็นพื้นฐาน ผู้ทำสมาธิในขั้นนี้ อย่าตั้งใจทำสมาธิเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรม อย่าตั้งใจทำสมาธิเพื่อมรรคผลนิพพาน อย่าตั้งใจทำสมาธิ เพื่อความสิ้นสุดแห่งทุกข์ เพียงนึกคำบริกรรมดังเราทำกันอยู่ในปัจจุบัน จิตจะมีความสงบมาก สงบน้อย จิตจะมีความสุขมากสุขน้อย ก็เป็นผลที่จิตมีความสงบจากการทำสมาธิเท่านั้น ให้เป็นแบบฤๅษีเขาทำกัน ปัญหาของจิตที่เพี้ยนไปก็จะไม่เกิดขึ้น


    3. การทำสมาธิ ที่ไม่มีปัญญาในองค์มรรคเป็นพื้นฐาน มีแต่ความตั้งใจทำสมาธิอย่างเข้มแข็ง มีความจริงจังเด็ดเดี่ยวกล้าหาญในการทำสมาธิแต่อย่างเดียว โดยไม่มีปัญญาความรู้รอบความฉลาดแฝงอยู่ที่จิต มีแต่กำหนดสติทำแต่สมาธิ ตลอดไปโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาในหลักสัจธรรม เรียกว่าการทำสมาธิล้วน ๆ นั่นเอง เดินจงกรมก็เดินทำสมาธิ นั่งก็นั่งทำแต่สมาธิ ไม่มีช่องระบายทางปัญญาเลย ความตั้งใจก็เด็ดเดี่ยว เพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรม เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานในชาตินี้ ใช้สติสมาธิบีบให้กิเลสตัณหาอวิชชาให้หมดไปจากจิตอย่างจริงจัง แต่จิตไม่มีปัญญาความฉลาดขาดจากเหตุผล ไม่มีความรอบคอบในตัวเอง กิเลสสังขารจึงได้ใช้กลหลอก ให้จิตเกิดความหลงผิดอย่างไม่รู้ตัว บางทีก็เป็นรูป เป็นเสียง เป็นกลิ่น หรือเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากจิตอย่างชัดเจน

    จิตที่ไม่มีความฉลาดรอบตัว จิตก็เกิดความหลงเชื่อตามความรู้นั้นๆ อย่างฝังใจ เมื่อจิตปักใจเชื่อแล้ว กิเลสสังขารก็เปลี่ยนฉากแสดงขึ้นที่จิตอย่างต่อเนื่อง มีทั้งถูกทั้งผิด ในที่สุดก็ผิดอย่างเดียว จิตจึงมีความรู้ผิด ความเห็นผิด เพี้ยนไปอย่างง่ายดาย เช่นบางท่าน ในขณะที่จิตมีความสงบเป็นสมาธิ อาจมีความรู้แฝงขึ้นมาที่จิตอย่างชัดเจน จะกำหนดถามในแง่ธรรมต่างๆ ก็มีความรู้ตอบรับอย่างเป็นจริงเป็นจัง อยากรู้อะไรก็กำหนดถามลงไปในจิต แล้วก็มีความรู้ตอบรับขึ้นมา

    แล้วก็เกิดความสำคัญในตัวเองว่า ธรรมได้เกิดขึ้นกันตัวเราแล้ว เราเป็นผู้แตกฉานในธรรม รู้รอบในธรรม เมื่อปักใจเชื่อในความรู้นี้มากเท่าไร ก็เกิดความมั่นใจในความรู้ที่เกิดขึ้น ว่าเป็นธรรมอยู่ในขั้นอริยธรรม เมื่อกำหนดจิตถามในเรื่องภูมิธรรม ก็จะมีความรู้ตอบรับทันทีว่า นี้เป็นภูมิธรรมของพระโสดา หรือภูมิธรรมของพระสกิทาคา หรือภูมิธรรมของพระอนาคา หรือภูมิธรรมของพระอรหันต์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ความรู้นี้ก็จะบอกขึ้นมาที่จิตอย่างชัดเจน จึงเกิดความสำคัญแก่ตัวเองว่า เราเป็นพระอริยเจ้าขั้นนั้นขั้นนี้ไป การแสดงออกทางกาย ทางวาจา ก็กล้าในสังคมทั่วไป

    ไม่เก้อเขินเอียงอายในตัวเองเลย และพูดธรรมะทั้งวันก็ยังได้ ถ้ามีคนถามในเรื่องการปฏิบัติธรรม หรือผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ก็จะพูดตามความเข้าใจของตัวเอง ทั้งที่ตัวเองเพี้ยนไปแล้วยังไม่รู้ตัว ถึงจะมีท่านผู้รู้ตักเตือนว่าผิดทางมรรคผลนิพพาน ก็จะไม่ยอมรับว่าตัวเองผิดแต่อย่างใด

    การภาวนาที่เพี้ยนไปในลักษณะนี้ เป็นเพราะความเห็นผิดในเบื้องต้น คือ มิจฉาทิฏฐิ พวกนี้ชอบทำแต่ความสงบ ไม่เคยใช้ปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิเลย ความผิดพลาดจึงเกิดขึ้นจากการทำสมาธิได้ง่าย ถึงจะมีความกล้าติดสินใจในการทำสมาธิ แต่ก็ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องรู้รอบในอุบายที่ถูกต้อง เช่น อยากรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมในการทำสมาธิ อยากให้กิเลสอาสวะหมดไปสิ้นไปจากการทำสมาธิ อยากหลุดพ้นไปอย่างแรงกล้าจากการทำสมาธิ ความเข้าใจอย่างนี้ จึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด

    เพราะในศาสนาพุทธไม่มีใครเป็นพระอริยเจ้าเพราะการทำสมาธิอย่างเดียวนี้เลย หรือหากท่านมีความมั่นใจว่า กิเลสตัณหาอวิชชาหมดไปสิ้นไปจากการทำสมาธิจริง ท่านจะยกเอาเรื่องของพระอริยเจ้าองค์ไหนมาเป็นหลักฐานยืนยัน

    ในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ให้พระอริยสาวกทั้งหลายออกไปประกาศสัจธรรมเพื่อให้ชาวโลกได้มีความรู้จริงตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้าจึงได้มอบอุบายในการประกาศธรรมไว้แล้วเป็นอย่างดี นั้นคือ มรรค 8 มีสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบเป็นหลักสำคัญ เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจในหลักความจริงอย่างถูกต้อง ให้ผู้ฟังมีความฉลาดรอบรู้ในเหตุผล ว่าหลักความจริงของรูปธรรม นามธรรม เป็นอย่างนี้ การดำริพิจารณาใคร่ครวญก็ให้พิจารณาตามหลักความจริง ฉะนั้นปัญญาความเห็นชอบจึงเป็นหลักใหญ่ ในการก่อขึ้นของพระพุทธศาสนา เป็นหลักความมั่นคงของพระพุทธศาสนา และเป็นหลักในการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องตรงต่อมรรคผลนิพพาน



    จากหนังสือ “พ้นกระแสโลก” ของพระอาจารย์ทูล
     
  2. tinnakornten

    tinnakornten เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +494
    ในบอร์ดยังมีเลย เหอะๆ
     
  3. tamm16

    tamm16 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +466
    นั่งสมาธิแล้วเพี้ยน นี่ในบอร์ดนี้มีไหมหว่า ผมไม่เคยเห็นแหะ -*-
     
  4. Rupanama

    Rupanama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    ข้อ 3 นี้น่ะครับ เราจะทราบได้อย่างไร ว่าอย่างไหนจริง อย่าง ไหนเท็จ

    ไม่เคยประสบกับตัวเองน่ะครับ แต่เคยได้ยินคนอื่นพูดในลักษณะอย่างนี้เหมือนกันว่า

    สงสัยอะไร ก็นั่งสมาธิถามเอา ประมาณนี้ครับ
     
  5. ต้นไทร

    ต้นไทร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +666
    ขอบคุณคับผม
     
  6. datchanee

    datchanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,947
    ค่าพลัง:
    +1,276
    satu satu ka
     
  7. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,017
    ชอบกระทู้นี้มากครับ อธิบายได้อย่างตรงเผ็งเลยครับ ประมาทไม่ได้กับการปฏิบัติธรรมครับ พลาดไปนิดเดียวเเล้วยิ่งไม่ฟังผู้อื่นทัดทานด้วยเเล้ว ยิ่งไปกันใหญ่ ขอให้ทุกคนปฏิบัติอย่างมีสตินะครับ เจริญในธรรมครับทุกท่าน
     
  8. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    อนุโมทนาค่ะ
    บุคคลไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาท
     
  9. อัสติสะ

    อัสติสะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +392
    แม้ท่านจะจากไปแล้ว แต่ก็ยังระลึกถึงเสมอครับ
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ถ้ายังมีกิเลสตัณหาอยู่ จิตนั้นก็ยังมีอวิชชาเป็นเชื้อ
    จิตที่ตอบคำถามให้เราในสมาธิก็ยังเป็นจิตอวิชชา ขึ้นอยู่กับว่า
    จิตที่ตอบเราในสมาธิตอนนั้น ทรงสมาธิอยู่ถึงขึ้นปราศจากกิเลสได้ชั่วคราว
    ก็ได้คำตอบที่เป็นธรรมะที่ปราศจากกิเลส แต่ถ้าทรงสมาธิแต่มีกิเลสครอบงำ
    จิตอยู่ก็มีทางเป็นไปได้เหมือนกัน ซึ่งปุถุชนที่ไม่เคยเจริญสติไม่มีสัมปชัญญะ
    มักจะไม่รู้ตัวว่าถูกกิเลสครอบงำ ก็จะหลงได้ และไม่รู้ว่าคำตอบที่ได้มาจาก
    จิตที่มีอวิชชามีกิเลสตัณหาเป็นตัวผลักดัน

    แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์ ที่มีจิตปราศจากอวิชชา กิเลสตัณหาตั้งอยู่ไม่ได้ถาวร
    ธรรมะที่มาจากพระอรหันต์จึงเป็นของจริง จริงก็รู้ว่าจริง เท็จก็รู้ว่าเท็จ

    แต่คนที่หลงในสมาธิอยู่โดยขาดสติปัญญา จริงก็ไม่รู้ เท็จก็ไม่รู้ แต่ถามเมื่อ
    ไรก็มีคำตอบให้ได้เหมือนกัน จิตที่ตอบมาให้เป็นใครมั่งก็ไม่รู้ อาจเป็นพระ
    บ้าง เป็นมารบ้าง เป็นปีศาจบ้าง เป็นสัมภเวสีบ้าง ถูกบ้าง ผิดบ้าง ตามอำนาจ
    ของสมาธิและกิเลสตัณหาในตอนนั้น และพื้นจิตของผู้ทรงสมาธิ

    ส่วนใหญ่จะมีคำตอบที่ถูกในบางเรื่องที่ไม่สำคัญล่อให้ตายใจ
    แต่ถ้าเป็นเรื่องสำคัญ ที่ชี้เป็นชี้ตาย มักจะตอบไม่ถูก เพราะเกินปัญญาที่
    จิตอวิชชาที่ไม่บริสุทธิ์จะไปรู้ความจริงได้
     
  11. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    ขออนุโมทนาบุญธรรมทานครับ
    สาธุ
    สาธุ
    สาธุ
     
  12. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ข้อ3 เป็นแบบนี้ครับ เวลาเราจิตใจสงบในสมาธิแล้ว ไม่มีการเอนเอียง ไม่มีอารมณ์ลำเอียงในการอยากได้คำตอบอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว

    การประมวลความรู้วิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหาก็จะทำได้อย่างเป็นกลาง
    เช่นการทำข้อสอบ เราก็ต้องอ่านหนังสือมาก่อน
    เราจึงมีความรู้ในการหาคำตอบของคำถามนั้น

    อย่างปัญหาทางธรรม ก็ต้องมีความรู้ทางธรรมมาก่อน
    การวิปัสสนาจึงให้ศึกษาข้อธรรมด้วยไม่ใช่นั่งสมาธิเฉยๆ
     
  13. โป๊ยเซียนสาว

    โป๊ยเซียนสาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,543
    ค่าพลัง:
    +2,279
    สาธุ สาธุ สาธุ หลานศิษย์กราบนมัสการหลวงปู่ เจ้าค่ะ





    .
     
  14. mu-nice

    mu-nice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +650
    ;9kแล้วจะรู้ได้อย่างไรคะว่าที่ถูกต้องทำอย่างไร ต้องไปฝึกกับใครหรือต้องเรียนรู้จากที่ไหน ใครทราบช่วยบอกหน่อยค่ะ เพราะที่ฝึกมาจะเลียนแบบวิธีของในหลวง คือ พุทธเข้า 1 โธออก 1 พุทธเข้า 2 โธออก 2 ทำไปเรื่อยๆจนถึง 5 แล้วย้อนกลับถอยหลังจาก 5มา1ใหม่สลับกันไป พยายามไม่นึกเรื่องอื่นเห็นอะไรก็ปล่อยวางไม่จับเอามา เอาแต่หายใจเข้าออกอย่างเดียวไม่ทราบว่าถูกหรือเปล่าคะเพราะเพิ่งจะเริ่มลองทำดูเท่านั้นค่ะ
     
  15. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    อ้างอิง...

    การภาวนาที่เพี้ยนไปในลักษณะนี้ เป็นเพราะความเห็นผิดในเบื้องต้น คือ มิจฉาทิฏฐิ พวกนี้ชอบทำแต่ความสงบ ไม่เคยใช้ปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิเลย ความผิดพลาดจึงเกิดขึ้นจากการทำสมาธิได้ง่าย ..

    ถึงจะมีความกล้าติดสินใจในการทำสมาธิ แต่ก็ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องรู้รอบในอุบายที่ถูกต้อง เช่น อยากรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมในการทำสมาธิ อยากให้กิเลสอาสวะหมดไปสิ้นไปจากการทำสมาธิ อยากหลุดพ้นไปอย่างแรงกล้าจากการทำสมาธิ ความเข้าใจอย่างนี้ จึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด

    เพราะในศาสนาพุทธไม่มีใครเป็นพระอริยเจ้าเพราะการทำสมาธิอย่างเดียวนี้เลย หรือหากท่านมีความมั่นใจว่า กิเลสตัณหาอวิชชาหมดไปสิ้นไปจากการทำสมาธิจริง ท่านจะยกเอาเรื่องของพระอริยเจ้าองค์ไหนมาเป็นหลักฐานยืนยัน...


    พระอาจารย์ ทูล ขิปปัญโญ เป็นพระสายพระอาจารย์มั่น เท่าที่อ่านหนังสือเกี่ยวกับการเทศนาในสายนี้แล้ว พระอาจารย์ท่านนี้สอนได้กว้างมาก เข้าใจง่าย เนื้อหาดี มีมาตรฐาน จัดลำดับให้เข้าถึงเนื้อหาได้ดี เหมือนท่านเรียนจบการศึกษาทางโลกระดับปริญญา ทำนองนั้น.........พูดแล้ว เข้าใจง่าย ไม่ต้องตีความอีก...


    เคยอ่านในหนังสือของท่าน ท่านบอกว่า ปัญญามันเกิดไม่ได้จากการทำสมาธิ เราต้องหมั่นใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาในขณะที่จิตเป็นสมาธิ จึงจะเป็นความรู้ที่แท้จริง และทำบ่อย ๆ มันจึงจะเป็นความเคยชิน มิฉะนั้น จิตมันจะสงบอยู่อย่างนั้น ไม่ยอมคิด พิจารณา อะไรได้เลย ทำนองนี้ ...พอมาเจอข้อความบนกระทู้นี้เข้า...ถึงบางอ้อ

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย และ หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง ทั้งสองท่านนี้ก็เก่งด้านภาษาเหมือนกัน.....มีหลายท่านที่เก่งปฏิบัติ แต่เวลาถ่ายทอดเราต้องตีความอีก ด้วยไม่คุ้นเคยกับความหมายในภาษาท้องถิ่น ทำให้พลาดความหมายของท่าน ไม่เข้าใจ อย่างถูกต้องตามที่ท่านบรรยาย ต้องอาศัยอ่านจากหนังสือคำเทศนาที่ศิษย์ท่านทำแจก เราจึงเข้าใจ ความหมายของท่าน ปัญญาไม่มากพอที่จะเข้าใจในขณะฟังธรรมทันที.....

    อย่างนี้เรียกว่าโง่แล้วไปติท่านหรือเปล่าหนอ......อนุโมทนา ครับ.


     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    คำพระ

    "ถูกสิ เมื่อเริ่มปฏิบัติ นี่ถูกแล้ว ไม่ปฏิบัติสิ ผิดแน่นอน"

    ................

    "คืออย่างนี้ ที่ว่าปฏิบัติถูกแล้วนี่ ไม่ใช่ถูกที่สุด ถูกที่สุดนี่ทำได้ก็ อรหันต์
    ดังนั้น หากเรายังปฏิบัติอยู่ มันก็ถูกอยู่ ถูกไปเรื่อยๆ ท้อจนหยุดปฏิบัติ
    เมื่อไหร่ก็ผิด แต่ผิดแล้วก็ลุกขึ้นมาปฏิบัติใหม่ ก็ถูกอีก เราจึงทำถูกได้
    เรื่อยๆ จนกว่าจะถูกที่สุด"

    "คนเราจะรวยทรัพย์ มันต้องขยันทำเหตุ ไม่ใช่เล็งเห็นแต่จะเอาผล คนขยัน
    หากหมั่นเพียร บากบั่นไปเรื่อยๆ สักวันมันก็ต้องรวย"

    "คนเราจะรวยอริยทรัพย์ มันก็ต้องขยันทำเหตุ เหตุของการรวยอริยะทรัพย์
    คือการปฏิบัติธรรม หมั่นฟังธรรม หมั่นวางใจในผลที่ได้รับ เพื่อรักแต่การปฏิบัติ
    สักวันก็ต้องมีอริยะทรัพย์เป็นของตน"

    qsqu
     
  17. nutt2522

    nutt2522 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +70
    เกือบเพี้ยนไปแล้วมั้ยล่ะเรา
     
  18. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852

    ถ้าไม่อยากเพี้ยนให้เอารูปนาม มากำหนดพระไตรลักษณ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างปรมัตถ์ตามความจริง<WBR>สูงสุด อย่างถึงแก่นถึงแกนเป็นที่สุด ก็วางจากรูปนาม เพราะมันได้ดับไปแล้ว ในขณะที่เห็นกระแสปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการเกิดการดำเนินไป และ การดับไปของ<WBR>ชีวิต ณ ตรงนั้นเองเวทนาในจิตดับอย่างต่อเนื่อง
    พบกับความเย็นของนิพาน
    นิพพานนัง ปรมังสุขัง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง โมทนาสาธุ
     
  19. kanalove

    kanalove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    220
    ค่าพลัง:
    +386
    ขอบคุณมากมายค้า
     
  20. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    คิดว่าจริงตามเจ้าของกระทู้ครับ เพราะว่าเป็นไปได้ที่สมาธิมักทำให้คนเราหลงทาง เพราะสมาธิไม่ได้มีปัญญาเลยเป็นแต่เพียงสมาธิเท่านั้น ดังนั้นการปฏิบัติจะต้องหาหนทางให้ทราบให้ได้ว่าแบบไหนสัมมาสมาธิครับ ไม่ใช่สักแต่ทำสักแต่ปฏิบัติ สุดท้ายก็ไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไรครับ
    อนุโมทนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...