ไม่ใช่นะครับที่มักกล่าวว่า “สมถะเหมือนการหลบภัย วิปัสสนาเหมือนการผจญภัย”

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 26 พฤษภาคม 2009.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    จากที่มีการพูดคุยกันในกระทู้ http://palungjit.org/posts/2130108"....org/styles/default/images/viewpost.gif[/IMG]
    แสดงว่า สภาวะที่ พี่วิสุทโธ พบนั้นเป็นสภาวะที่เรียกว่า ตายก่อนตายเหรอครับพี่ภูต
    [/quote]
    มีการพูดถึงภาวะตายก่อนตาย
    และคุณวิษณุ 12 มีข้อสงสัย ดังนี้

    ผมจึงขออนุญาตคุณวิษณุ 12 มาเปิดกระทู้ใหม่
    เพื่อจะได้ถกข้อธรรมกันให้กว้างขวางขึ้น


    [/FONT][/COLOR]
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ก่อนอื่นเราต้องมานิยามคำว่า “หลบ”กันใหม่นะครับ
    คำว่าหลบในทางโลกนั้นเป็นความหมายออกมาในทางไม่สู้ดีนัก
    เช่น หลบหนี้ หลบเลี่ยง(การงาน)ฯลฯ

    แต่ในทางธรรมนั้น ใครบ้างครับที่สามารถหลบกิเลสได้ถาวร???
    ถ้ามีกรุณาเข้ามารายงานตัวด้วยนะครับ ผมจะได้คารวะงามๆสัก๓ครั้ง ด้วยใจยินดี

    ในความเป็นจริงของการปฏิบัติกรรมฐานภาวนานั้น
    ผู้ที่ผ่านการปฏิบัติมาโดยมีครูบาอาจารย์ที่เป็นพระแท้
    ท่านย่อมสอนให้ต่อสู้กับกิเลส ให้ลงกันไปข้างใดข้างหนึ่ง
    แพ้หรือชนะโดยเด็ดขาดเท่านั้น
    ไม่มีการหลบ มีแต่การสู้จนชนะ แล้วละได้ต่างหากครับ
    ไม่ใช่ภาวนาหลุด หยุดไม่เป็น แพ้อย่างราบคาบ

    เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วในชาวพุทธทั่วทุกตัวคนว่า
    กิเลสนั้นเกิดขึ้นที่ไหน?
    มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย?
    ทำไมกิเลสของเขาจึงไม่ใช่ของเรา?

    เรื่องเหล่านี้ผมเชื่อว่าโดยพื้นฐานแล้วเป็นที่ยอมรับของทุกคน
    เพราะมันเป็นความจริง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงครับ

    ทำไมผมถึงกล้าที่จะชี้ลงไปว่า
    ไม่มีใครในโลกใบเบี้ยวๆนี้ ที่หลบกิเลสแล้วพ้นทุกข์ได้ครับ
    ไม่เชื่อลองตามดูมาเรื่อยสิครับ

    เมื่อตาเห็นรูป เกิดผัสสะขึ้น จะชอบหรือชังก็แล้วแต่
    จิตย่อมบันทึกความรู้สึกเหล่านั้นลงไว้ที่จิต
    ซึ่งมันพร้อมที่จะเป็นธรรมารมณ์ผุดขึ้นมาหลอกหลอนเราได้ทุกเมื่อที่เราเผลอตัว

    ...
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ที่คุณวิฯบอกว่า “อย่างนั้นแสดงว่า มีเข้าๆออกๆใช่ไหมครับ
    ประมาณว่า จะหลบก็ต้องไปเข้าในนั้น พอมันหายไปก็ออกมาอย่างนั้นเหรอครับ...”


    เป็นความเข้าใจที่ไขว้เขว ในหมู่ชาวพุทธที่ถูกสอนให้ท่องจำตามๆกันมาว่า
    “สมถะเหมือนการหลบภัย วิปัสสนาเหมือนการผจญภัย”
    ซึ่งเป็นนิยามที่ถูกเพิ่มเติมเสริมแต่งในภายหลัง

    ในครั้งพุทธกาลนั้นมีแต่คำว่าสมาธิกับสัมมาสมาธิเท่านั้น
    คำว่าสมถะและวิปัสสนา ถูกเพิ่มเติมเสริมแต่งให้เกิดขึ้นในภายหลัง
    เมื่อล่วงพุทธกาลมาแล้ว

    ที่นี้มาเข้าเรื่องที่เห็นว่าการเข้าสมาธิเป็นการหลบภัย
    ซึ่งในความหมายแล้วเหมือนกลัวไม่กล้าสู้หน้ากับกิเลส
    ทั้งนี้ เป็นการถูกสอนให้ท่องจำตามๆกันมาอย่างนั้น
    ซึ่งผู้ที่ท่องจำมา ก็ไม่เคยเฉลียวใจเลยว่า ถูกครอบงำมาแบบผิดๆ

    โดยความเป็นจริงแล้วถ้าใครได้เคยสมาทานการปฏิบัติกรรมฐานภาวนามาเต็มที่
    ผู้สมาทานนั้นย่อมรู้ดีว่าเป็นการต่อสู้กับอารมณ์กิเลสนั้น
    มากกว่าเป็นการหลบลี้หนี้หน้า ไม่กล้าสบตากิเลส

    การที่เราถูกอารมณ์กิเลสครอบงำนั้น
    จิตก็ย่อมจะมีอาการหวั่นไหวไม่ตั้งมั่นไปตามกิเลส
    เราจึงต้องฝึกฝนอบรมปฏิบัติกรรมฐานภาวนาด้วยความเพียรเพ่ง
    ก็เพื่อให้จิตมีพลังที่จะต่อสู้เอาชนะกิเลสที่ทำให้จิตมีอาการหวั่นไหวไม่ตั้งมั่น
    กลับมาสู่สภาพหรือสภาวะที่จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์นั้น ๆ

    การทำให้จิตที่อยู่ในสภาพหรือสภาวะกระสับกระส่ายหวั่นไหว
    ให้กลับมาสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวด้วยกำลังสติจนจิตเป็นสมาธิ
    จะต้องเพียรประคองสภาวะนั้น ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    ถ้าเผลอเมื่อไหร่ กิเลสทั้งหลายทั้งเก่าและใหม่
    ก็จะได้ช่องสบโอกาสที่จะเข้ามาครอบงำตลอดเวลาที่ขาดสติ

    ...
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ไหนใครบอกได้บ้างครับว่าหลบอย่างไร ถ้าไม่ใช่ต่อสู้กับกิเลส

    ทุกท่านที่อยู่ในที่นี้หรือที่ไหนก็ตาม บนพื้นพิภพจบแดนนี้
    ต่างก็ยอมรับกันถ้วนหน้าทั้งนั้นว่า ทุกวันนี้เท่าที่เป็นอยู่นั้น
    เราเวียนว่ายตายเกิดมานมนานนับไม่ถ้วนแล้วทั้งสิ้น
    ล้วนมีกิเลสและอุปกิเลสสั่งสมหมักดองอยู่ในจิตเต็มไปหมด
    จนไม่กล้าที่จะรับรองตนเองว่า
    จะสามารถขจัดกิเลสเหล่านั้นให้หมดไปได้ทันในชาตินี้หรือว่าไม่รู้อีกกี่ชาติ

    เมื่อรู้อยู่อย่างนี้แล้วยังจะมีใครหน้าไหนมาคุยอวดว่ามีวิธีหลบกิเลสแล้วพ้นทุกข์
    ในเมื่อกิเลสมีมากมายขนาดนั้น แล้วจะหลบลี้หนี้หน้าได้อย่างไร
    มีแต่ต้องฝึกฝนอบรมจิตโดยปฏิบัติภาวนากรรมฐาน
    ให้จิตมีพละกำลังที่จะต่อสู้เอาชนะเพื่อขจัดกิเลสและอุปกิเลสทั้งหลายเหล่านั้น
    ออกไปด้วยความเพียรเพ่ง(ตามรู้ตามดูอย่างไม่ขาดสายเข้าไปในสติปัฏฐาน ๔)

    เปรียบเสมือนเครื่องเงินที่ถูกคราบไคลสิ่งสกปรกโสมม
    ครอบงำหนาแน่นจนหม่นหมองไป
    ต้องใช้กำลังความเพียรหมั่นขจัดสิ่งสกปรกโสมมออกไปเป็นลำดับ
    เพื่อให้เครื่องเงินนั้นกลับมามีสภาพเดิมที่สะอาดหมดจดสดใสดังเดิม

    ในสภาพปัจจุบันนี้มีพุทธสาวกที่เก่งเกินพระบรมครู
    เที่ยวสั่งสอนให้ยอมรับกิเลสที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องไปแทรกแซงอะไร
    ปล่อยให้กิเลสเกิดขึ้นดับไปเองโดยดูอยู่เฉยๆ

    เปรียบเสมือนปล่อยให้สิ่งสกปรกโสมม(อุปกิเลส)ทั้งหลายสั่งสมหมักหมมไปเรื่อยๆ
    โดยไม่ต้องไปขจัดหรือจัดการอะไรกับเหล่าอุปกิเลสทั้งนั้น
    จะเป็นไปได้หรือว่ากิเลสเหล่านั้นจะหายหน้าไปเองเพียงแค่ดูเฉยๆก็พอ

    เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะต้องมีองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติมาเพื่ออะไร
    ในเมื่อไม่เห็นความจำเป็นว่าต้องปฏิบัติสัมมาสมาธิเพื่อขจัดกิเลสกันอีกแล้ว
    ปฏิเสธการที่ต้องมานั่งหลังขดหลังแข็ง เพื่อฝึกฝนอบรมจิต

    ทั้งๆที่เป็นการฝึกฝนอบรมจิตให้มีพละกำลังในการต่อสู้กับกิเลส
    ที่มีมากมายรอบด้าน โดยใช้หลักอริยสัจจ์ ๔ นั้น ต้องกำหนดรู้ทุกข์(กิเลส)
    เมื่อกำหนดรู้แล้ว ต้องต่อสู้เอาชนะทุกข์(กิเลส)เหล่านั้น
    โดยการละเหตุแห่งทุกข์(กิเลส)เหล่านั้นให้ได้

    เป็นไปไม่ได้ครับ เพียงแค่ดูทุกข์(กิเลสเหล่านั้น)แล้ว
    ดูไปเรื่อยๆแล้วทุกข์(กิเลสเหล่านั้น)จะดับไปเองโดยเด็ดขาด
    ไม่ต้องไปทำอะไรกับกิเลสเหล่านั้น

    ในเมื่อดูทุกข์เฉยๆ แต่ไม่รู้จักทุกข์ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
    ไม่รู้จักต้นเหตุแห่งทุกข์ เพราะเหตุที่จิตออกไปยึดถือทุกข์(กิเลสเหล่านั้น)

    ฉะนั้น การปฏิบัติสัมมาสมาธิ เป็นการต่อสู้กับกิเลส เพื่อละเหตุแห่งความยึดถือ
    ไม่ใช่หลบครับ


    ;aa24
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อาจานวิฯครับ การเข้าๆออกๆ
    คือ การละจากสภาวะที่กระสับกระส่ายของจิต เข้าสู่สภาวะสงบตั้งมั่นของจิต
    คุณต้องมีกำลังปัญญา(วิปัสสนา)
    จากการฝึกฝนเพื่อเข้าสู่สภาวะจิตสงบตั้งมั่นนั้นอย่างรวดเร็ว

    เมื่อละได้บ่อยๆเนืองๆแล้ว อารมณ์เหล่านั้นจะไม่กลับมาให้เห็นหน้าอีกแล้ว
    เพราะกำหนดรู้แล้ว ไม่ใช่หลบนะครับ
    โปรดเข้าใจและศึกษาใหม่ด้วยนะครับ
    อย่าเชื่อเพราะเชื่อตามๆกันมาโดยไม่พิสูจน์(สมาทาน)

    ;aa24

     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อาจานวิฯครับ ผมจำได้ว่า เคยบอกไปแล้วเป็นสภาวะวิมุตติจิตชั่วคราวเท่านั้น
    ไม่ใช่กิเลสตายหรอกครับ เป็นเพียงแค่สงบลงชั่วคราว

    ทำให้จิตสัมผัสรู้ได้ว่า นี่ขนาดกิเลสดับลงชั่วคราวนั้น จิตยังโปร่งเบาขนาดนี้
    ถ้าสามารถปล่อยวางได้บ่อยๆเนืองๆจนกระทั่งปล่อยวางได้ถาวรจะขนาดไหน

    อาจานวิฯครับ ตายก่อนตายนั้น เป็นสภาวะที่จิตสามารถปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น
    ในขันธ์๕ โดยเด็ดขาดได้ชั่วครั้งชั่วคราวนั้น
    ก็เปรียบเสมือนคนตายจริงๆที่จิตต้องละขันธ์๕เก่า
    เพื่อจิตไปหาขันธ์๕ใหม่เป็นที่อาศัยตามกำลังของกุสลากุสลนั้น

    อาจานวิฯครับ อันนี้ผมอาจจะใช้คำพูดไม่ถูกต้องนักต้องขออภัยด้วยครับ
    เป็นสภาวะตกใจก็ไม่ใช่ ดีใจก็ไม่เชิง จะว่าแปลกใจก็ไม่ตรงนัก
    ผมขอใช้คำว่า “จิตฟู”ขึ้นมา เป็นสภาวะที่จิตไหวตัวเท่านั้น

    ถ้ายังมีโลภะมูลจิตครอบงำอย่าว่าแต่จิตรวมใหญ่เลยครับ
    แค่อุปจารสมาธิยังมีไม่ได้เลยครับ

    เพียงแค่นี้ก็น่าเสียหายอย่างยิ่งอยู่แล้วครับ
    ที่จำทางเดินของจิต(มรรค)ในขณะนั้นไม่ได้ครับ

    อาจานวิฯครับ จิตรวมใหญ่หรือรวมจิตครั้งใหญ่ไม่น่าจะต่างกันครับ

    ;aa24
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    พี่ภูติ ผมถามหน่อยละกัน

    หากพี่ภูติ สามารถทำฌาณ เนวสัญญาวิญญตนะได้ พี่จะทำไหม

    หรือ

    หากพี่ภูติ สามารถทำฌาณ สัญญาเวทยิตนิโรธนได้ พี่จะทำไหม

    สภาวะทั้งสองนั้น เป็นสภาวะฌาณสมาธิที่สูงมาก สูงกว่าฌาณ
    อื่นๆ ถูกไหม ดังนั้น หากพี่ภูติจะไปถึงตรงนั้นได้ คงฝาดฟันกิเลส
    น่าดูชม

    ...ลองตอบมาก่อนละกันว่า จะทำไหม ..?
     
  8. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ วิษณุ12
    ลักษณะนั้นที่พี่ภูตกล่าวที่ว่าเรียกว่า จิตรวมใหญ่ กับคำว่า รวมจิตใหญ่ แตกต่างกันไหม
    ครับพี่ภูต

    </TD></TR></TBODY></TABLE>อาจานวิฯครับ จิตรวมใหญ่หรือรวมจิตครั้งใหญ่ไม่น่าจะต่างกันครับ


    จิตรวม กับ รวมจิต
    ผมเข้าใจว่าต่างกันครับ จิตรวม เป็นลักษณะที่พ้นเจตนา
    รวมจิตเป็นลักษณะที่เจือด้วยเจตนา.........
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อาจานนิฯครับ เป็นคำถามที่ดีมีประโยชน์ ขออนุโมทนาครับ
    คุณถามผมว่า หากสามารถทำได้จะทำมั้ย?
    ผมขอตอบตามตรงอาจจะไม่ถูกใจใครอีกหลายคน
    ด้วยครูบาอาจารย์แต่เก่าก่อนได้เคยนำ
    พระสูตรต่างๆที่มีมาในพระไตรปิฎกมาเทียบเคียงกัน(จะกล่าวต่อไป)

    ทุกๆท่านคงย่อมจำกันได้ดีว่า ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้ทรง
    ไปเรียนฌาน๗ กับท่านอาจารย์อุทกดาบส
    เรียนฌาน๘ กับท่านอาจารย์อาฬารดาบส
    เมื่อสำเร็จจากท่านทั้งสอง พระองค์ยังปรารภกับตนเองว่า
    "นี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์" เพราะอะไร???

    ในฌานสมาบัติ๘นั้น ซึ่งแบ่งออกเป็น รูปฌาน๔ อรูปฌาน๔ เท่านั้น
    มาในภายหลังท่านอรรถกถาจารย์ฝ่ายคันถรจนาจารย์
    ได้เพิ่มเติม ฌานที่๙เข้าไปในภายหลัง "สัญญาเวทยิตนิโรธ"

    เมื่อดูชื่อฌานแล้ว ครูบาอาจารย์ได้แจกแจงไว้ว่า
    "เพราะเวทนาสัญญาปรุงจิตให้เกิดสังขารความคิดนึก
    ก็เมื่อเวทนาสัญญาดับแล้ว สังขารก็ดับตาม
    เมื่อสังขารความคิดนึกดับแล้ว วิญญาณก็ดับตาม
    เพราะวิญญาณเกิดโดยสังขารปรุงแต่ง ดับตามกันไปหมด
    จิตก็บริสุทธิ์เอกคตํ จิตฺตํ จิตถึงซึ่งความเป็นหนึ่งเป็นจิตเดียวไม่มีอารมณ์ "

    เมื่อมาเทียบดูกับสัมมาสมาธิ ในฌานที่ ๔ นั้น ไม่แตกต่างกันเลย
    ในองค์ฌาน๔ มีดังนี้
    "ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข (เวทนา สัญญาดับ)
    มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา"

    ฉะนั้นผมเลือกที่จะเดินไปตามทางที่พระบรมครูวางไว้ครับ(สัมมาสมาธิ)

    ส่วนที่คุณว่า "หากพี่ภูติจะไปถึงตรงนั้นได้ คงฝาดฟันกิเลสน่าดูชม"
    แต่ในความเป็นจริงของผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานภาวนาแล้ว
    ผู้ที่มีความเพียรเพ่ง ที่สามารถประคองจิตให้ตั้งมั่นไม่ให้วอกแวกได้ต่อเนืองเนื่องๆ
    เมื่อถึงเวลาจิตเค้ารวมลงให้ได้สัมผัสสภาวะนั้น ได้เหมือนกัน
    แต่ไม่ใช่ทุกคนนะครับ

    ;aa24
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ถ้ายังมีโลภะมูลจิตครอบงำอย่าว่าแต่จิตรวมใหญ่เลยครับ
    แค่อุปจารสมาธิยังมีไม่ได้เลยครับ

    ตรงนี้ผมก็เข้าใจว่า หากยังมีโลภะมูลจิตครอบงำ ก็ยังเข้าอุปจารสมาธิได้
    เพราะเจือด้วยความโลภ ยึดมั่นในตน ด้วยความโลภทำสมาธิขั้นอุปจารสมาธิ เทวทัตเองก็สามารถเข้าอุปจารสมาธิด้วยความโลภแล้วแปลงกายไปหลอกภิกษุผู้อื่นได้
     
  11. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อาจานวิฯครับ ผมจำได้ว่า เคยบอกไปแล้วเป็นสภาวะวิมุตติจิตชั่วคราวเท่านั้น
    ไม่ใช่กิเลสตายหรอกครับ เป็นเพียงแค่สงบลงชั่วคราว

    ทำให้จิตสัมผัสรู้ได้ว่า นี่ขนาดกิเลสดับลงชั่วคราวนั้น จิตยังโปร่งเบาขนาดนี้
    ถ้าสามารถปล่อยวางได้บ่อยๆเนืองๆจนกระทั่งปล่อยวางได้ถาวรจะขนาดไหน

    อาจานวิฯครับ ตายก่อนตายนั้น เป็นสภาวะที่จิตสามารถปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น
    ในขันธ์๕ โดยเด็ดขาดได้ชั่วครั้งชั่วคราวนั้น
    ก็เปรียบเสมือนคนตายจริงๆที่จิตต้องละขันธ์๕เก่า
    เพื่อจิตไปหาขันธ์๕ใหม่เป็นที่อาศัยตามกำลังของกุสลากุสลนั้น

    ถ้างั้นผมคงเข้าใจผิดกับที่พี่ภูตเข้าใจแล้ว เพราะสภาวะตายก่อนตายนี่ผมเข้าใจว่าเป็นสภาวะที่เข้ารู้แจ้งนิพพานแล้ว กิเลสตัณหาดับสิ้นแล้วจึงเรียกว่าตาย ก่อนที่รูปธาตุขันธ์จะแตก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2009
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ถ้างั้นก็ต้องบอกว่า หรือใช้คำว่า ''พัก'' ใช่ไหมครับ
    ต่อไปจะได้ใช้คำว่าพักแทนหลบครับ
     
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เป็นความเข้าใจที่ไขว้เขว ในหมู่ชาวพุทธที่ถูกสอนให้ท่องจำตามๆกันมาว่า
    “สมถะเหมือนการหลบภัย วิปัสสนาเหมือนการผจญภัย”
    ซึ่งเป็นนิยามที่ถูกเพิ่มเติมเสริมแต่งในภายหลัง


    ในครั้งพุทธกาลนั้นมีแต่คำว่าสมาธิกับสัมมาสมาธิเท่านั้น
    คำว่าสมถะและวิปัสสนา ถูกเพิ่มเติมเสริมแต่งให้เกิดขึ้นในภายหลัง
    เมื่อล่วงพุทธกาลมาแล้ว
    เอ..พี่ภูตมีหนังสือที่พอจะหาอ่านได้ไหมผมอยากอ่านครับที่พี่ภูตอ้างอิงนั้น
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    พี่ภูตครับ การกำหนดรู้ของพี่ภูตนี่ มันเป็นเอง หรือ ตั้งใจกำหนดรู้ครับ
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    ไหนใครบอกได้บ้างครับว่าหลบอย่างไร ถ้าไม่ใช่ต่อสู้กับกิเลส... เอ..ตรงนี้ก็อยู่ที่ความเข้าใจในภาษานะครับ ว่าสื่อสารมาด้วยรูปแบบไหน บางท่านใช้คำว่าสู้ บางท่านใช้คำว่าละ บางท่านใช้คำว่า ประหาร ซึ่งโดยรวมๆ ก็คือเป็นไปเพื่อพ้นทุกข์ ผมเข้าใจอย่างนั้นอ่ะนะครับ

    ทุกท่านที่อยู่ในที่นี้หรือที่ไหนก็ตาม บนพื้นพิภพจบแดนนี้
    ต่างก็ยอมรับกันถ้วนหน้าทั้งนั้นว่า ทุกวันนี้เท่าที่เป็นอยู่นั้น
    เราเวียนว่ายตายเกิดมานมนานนับไม่ถ้วนแล้วทั้งสิ้น
    ล้วนมีกิเลสและอุปกิเลสสั่งสมหมักดองอยู่ในจิตเต็มไปหมด
    จนไม่กล้าที่จะรับรองตนเองว่า
    จะสามารถขจัดกิเลสเหล่านั้นให้หมดไปได้ทันในชาตินี้หรือว่าไม่รู้อีกกี่ชาติ

    เมื่อรู้อยู่อย่างนี้แล้วยังจะมีใครหน้าไหนมาคุยอวดว่ามีวิธีหลบกิเลสแล้วพ้นทุกข์
    ในเมื่อกิเลสมีมากมายขนาดนั้น แล้วจะหลบลี้หนี้หน้าได้อย่างไร
    มีแต่ต้องฝึกฝนอบรมจิตโดยปฏิบัติภาวนากรรมฐาน
    ให้จิตมีพละกำลังที่จะต่อสู้เอาชนะเพื่อขจัดกิเลสและอุปกิเลสทั้งหลายเหล่านั้น
    ออกไปด้วยความเพียรเพ่ง(ตามรู้ตามดูอย่างไม่ขาดสายเข้าไปในสติปัฏฐาน ๔) ....พี่ภูตครับ ตามรู้ ตามดูที่พี่ภูตว่า เป็นลักษณะยังไงครับบอกได้ไหม

    เปรียบเสมือนเครื่องเงินที่ถูกคราบไคลสิ่งสกปรกโสมม
    ครอบงำหนาแน่นจนหม่นหมองไป
    ต้องใช้กำลังความเพียรหมั่นขจัดสิ่งสกปรกโสมมออกไปเป็นลำดับ
    เพื่อให้เครื่องเงินนั้นกลับมามีสภาพเดิมที่สะอาดหมดจดสดใสดังเดิม

    ในสภาพปัจจุบันนี้มีพุทธสาวกที่เก่งเกินพระบรมครู
    เที่ยวสั่งสอนให้ยอมรับกิเลสที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องไปแทรกแซงอะไร
    ปล่อยให้กิเลสเกิดขึ้นดับไปเองโดยดูอยู่เฉยๆ
    ...พี่ภูตครับ ดูอยู่เฉยๆ พี่ภูตเข้าใจว่ายังไงบ้างล่ะครับ


    เปรียบเสมือนปล่อยให้สิ่งสกปรกโสมม(อุปกิเลส)ทั้งหลายสั่งสมหมักหมมไปเรื่อยๆ
    โดยไม่ต้องไปขจัดหรือจัดการอะไรกับเหล่าอุปกิเลสทั้งนั้น
    จะเป็นไปได้หรือว่ากิเลสเหล่านั้นจะหายหน้าไปเองเพียงแค่ดูเฉยๆก็พอ .... พี่กล่าวมาไม่ผิดหรอกครับ การนั่งเฉยๆโดยที่ปล่อยมันสกปรกไปนั้นเรียกว่าขี้เกียจครับ ผมถึงถามว่า พี่ภูตเข้าใจคำว่า ดูเฉยๆอย่างไร กับคำที่ว่า ตามรู้ ตามดู

    เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะต้องมีองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติมาเพื่ออะไร
    ในเมื่อไม่เห็นความจำเป็นว่าต้องปฏิบัติสัมมาสมาธิเพื่อขจัดกิเลสกันอีกแล้ว
    ปฏิเสธการที่ต้องมานั่งหลังขดหลังแข็ง เพื่อฝึกฝนอบรมจิต

    ทั้งๆที่เป็นการฝึกฝนอบรมจิตให้มีพละกำลังในการต่อสู้กับกิเลส
    ที่มีมากมายรอบด้าน โดยใช้หลักอริยสัจจ์ ๔ นั้น ต้องกำหนดรู้ทุกข์(กิเลส)

    การกำหนดรู้ นี้ ผมฟังแล้วแปลตามภาษาไทยที่เรียนมา ก็เข้าใจว่า เราสามารถกำหนดได้เดี๋ยวนี้ เมื่อกำหนดรู้ได้เดี๋ยวนี้ แล้วจะมาปฏิบัติทำไม เมื่อกำหนดได้แล้ว
    แต่อีกทางที่เข้าใจ การกำหนดรู้ บ่อยๆ ก็เพื่อให้จดจำสภาวะได้ ที่เกิดขึ้นตามเป็นจริง แรกๆจะใช้กำหนด จนชำนิชำนาญจนเป็นเองมันจะกำหนดละของมันเองเมื่อมันกำหนดรู้ได้โดยพ้นเจตนาผมเข้าใขอย่างนั้นครับ

    เมื่อกำหนดรู้แล้ว ต้องต่อสู้เอาชนะทุกข์(กิเลส)เหล่านั้น
    โดยการละเหตุแห่งทุกข์(กิเลส)เหล่านั้นให้ได้

    เป็นไปไม่ได้ครับ เพียงแค่ดูทุกข์(กิเลสเหล่านั้น)แล้ว
    ดูไปเรื่อยๆแล้วทุกข์(กิเลสเหล่านั้น)จะดับไปเองโดยเด็ดขาด
    ไม่ต้องไปทำอะไรกับกิเลสเหล่านั้น

    ในเมื่อดูทุกข์เฉยๆ แต่ไม่รู้จักทุกข์ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
    ไม่รู้จักต้นเหตุแห่งทุกข์ เพราะเหตุที่จิตออกไปยึดถือทุกข์(กิเลสเหล่านั้น)

    การดูเฉยๆที่ครูสอนมานั้นให้ดูที่เหตุครับไม่ใช่ให้ไปดูที่ผลคือทุกข์ ให้ดู ราคะ โทษะ โมหะ ที่มันเกิดขึ้น โดยอาศัย กายเป็นเครื่องดู อาศัยเวทนาเป็นเครื่องดู อาศัยจิตเป็นเครื่องดู อาศัยธรรมเป็นเครื่องดู ชนชำนิชำนาญมันจะเห็นลงไตรลักษณ์ แล้วจะรู้ ทุกข์สัจจะ เมื่อรู้ทุกข์สัจจะแล้วมันก็ละเหตุนั้นโดยปริยายนี่ผมเข้าใจอย่างนี้

    ฉะนั้น การปฏิบัติสัมมาสมาธิ เป็นการต่อสู้กับกิเลส เพื่อละเหตุแห่งความยึดถือ
    ไม่ใช่หลบครับ ... ตรงนี้ผมก็เข้าใจอย่างนั้นครับ
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    พี่ภูตเคยประสบสภาวะที่มัน สว่างโพลงอย่างที่พี่ วิสุทโธ แล้วใช่ไหมครับ
    แล้วพี่ภูตประสบสภาวะ จิตแยกออกจากกายแล้วใช่ไหมครับ
     
  17. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ขอสมทบ ด้วยพระสูตร ให้เพียร ให้มาก
     
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    พี่ภูติเลือกจะเดินแน่นอน ผมก็มั่นใจอย่างนั้น แต่ต้องบอกก่อนนะครับว่า

    หากพี่ภูติทำได้ก็ควรทำ สิ่งที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้ไม่ใช่การหมายจะห้าม
    คนที่ทำได้ คนเก่งมีปัญญาอย่างพี่ภูติ เพราะหากทำได้ก็มีประโยชน์มาก
    หากไม่ติด

    ถามต่อนะ

    ในฌาณทั้งสอง ทั้งเนวสัญญาฯ และ สัญญาเวทยิตฯ ล้วนสัญญาดับ หลายท่านก็
    กล่าวอย่างนั้น บางท่านก็บอกว่าสัญญาไม่ได้ดับเป็นเพียงอุเบกขา คือสัญญาหมาย
    อยู่อารมณ์เดียว ไม่ได้หมายอารมณ์อื่น อารมณ์นั้นคืออะไรขอละไว้ เพราะใช้ได้
    หลายอารมณ์

    ที่สำคัญคือ สติ ... สตินั้นจะต้องอาศัยสัญญาที่ทำงานได้ เพื่อการระลึกได้ หรือ
    เพื่อให้เกิดสติ หากสัญญาทำงานไม่ได้ จมอยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งเดียว ก็ไม่เรียกว่ามัน
    ระลึกได้ หรือ ไม่เกิดสติ สรุปง่ายๆ สัญญาดับ(อันนี้ใช้ตามพี่ภูติ) ซึ่งก็แปลว่า สติ
    ดับลงด้วย

    สรุปก็คือ ฌาณทั้งสองเป็นไปเพื่อการขาดสติ

    และเมื่อขาดสติแล้ว จิตจะเอาอะไรไปเป็นองค์ธรรมระลึกนิพพานธรรม

    ฌาณทั้งสองจึงปราศจากหนทางที่จะเข้านิพพาน เพราะขาดสติทั้งคู่

    ตรงนี้พี่ภูติเห็นเป็นอย่างไร หากลำดับฌาณอันสูงสุดของสมาธิเป็น
    ไปเพื่อการขาดสติ หมดสภาพการรู้นิพพาน เรียกว่า หลบ ได้ไหม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2009
  19. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ถ้าไม่มีกิเลสแล้วมันจะเป็นยังไงอ่ะ ผมโง่มากแต่อ่านกระทู้พวกพี่แล้วตื่นเต้นไปหมด

    หิวข้าวก็ยังกินข้าว แล้วพอหิวยังไม่ได้กินก็รู้ว่าขันธ์5 เป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง

    ก็เลยเอาหล่ะ กินซะหน่อย เพื่อขันธ์5ยังประโยชน์ต่อไปเพื่อสรรพสัตว์
    (ไม่ได้คิดถึงตัวเองเลยเจงๆ)
    อุบ๊ะ นี่แหละทางสายกลาง นี่กินเพราะสมควรกิน ไม่ได้อยากจะกิน
    หรือนี่โดนกิเลสหลอกไปแล้ว

    แล้วเห็นใครคิดจะสู้กิเลสก็ล้วนใช้วิธีอดอาหาร
    ก็ไหนว่าทางสายกลางไม่ต้องทรมาน ใจที่พร้อมเกิดกายที่พร้อม มะช่ายเหรอครับ
     
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    [​IMG]

    [​IMG][​IMG][​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...