พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอบคุณทางร้านด้วยนะครับ

    ขอบคุณคุณแด๋นที่ช่วยเป็นธุระให้หลายๆเรื่องครับ

    _heart+love_
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]
    6.2 KB, ดาวน์โหลด 96 ครั้ง

    [​IMG]
    5.8 KB, ดาวน์โหลด 96 ครั้ง

    27-04-2009 07:44 PM
     
  3. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    โมทนาสาธุกับทางร้านครับ ผมก็กังวลอยู่เหมือนกันครับ
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ลางร้าย... เช็คด่วน 24 อาการก่อนมีประจำเดือน
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01lad01300452&sectionid=0115&day=2009-04-30


    [​IMG]

    เศรษฐกิจไม่ดี ข้าวยากหมากแพง ตกงานกันเป็นแถบๆ ทำเอาหลายคนเกิดอาการเครียดไม่รู้ตัว โดยเฉพาะผู้หญิงไทย ในงานสัมมนา "สตรีไทยห่างไกลวิกฤตทางอารมณ์ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันกับ 24/4" ได้มีเคล็ดลับดีๆ มาฝากกัน จัดโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ ไบเออร์ เชริง ฟาร์มา


    ภายในงานได้มีผลวิจัยของสวนดุสิตโพลมาฝาก พบว่าผู้หญิงจำนวนร้อยละ 95 ต้องประสบกับภาวะทางอารมณ์ทั้งอารมณ์ แปรปรวน หงุดหงิด เครียด ซึมเศร้า ที่มาพร้อมกับอาการทางร่างกายไม่ว่าจะเป็นตึงคัดเต้านม ปวดศีรษะ ท้องอืด อยากอาหารมากกว่าปกติทุกเดือน ซึ่งเรียกว่า "กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน" หรือ PMS (Premenstrual Syndrome) บางคนอาจมีอาการเล็กน้อยพอรำคาญแต่ยังสามารถดำเนินชีวิตปกติได้ แต่บางคนอาจต้องทนทุกข์ทรมาน ไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ จนถึงขั้นต้องพึ่งหมอ ซึ่งอาการก่อนมีประจำเดือนขั้นรุนแรงนี้เรียกว่า PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    <CENTER>ตารางบันทึกอาการ PMS-PMDD</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>

    ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล คณบดีวิทยาลัยวิทยา ศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า อาการเหล่านี้สามารถสังเกตได้ ซึ่งในคู่มือ "อารมณ์ดี 24/4" ซึ่ง 24 คืออาการหลักที่มักจะเกิดขึ้น อย่าง คัดตึงเต้านม แขน ขา บวม ปวดศีรษะ ไมเกรน ท้องอืด น้ำหนักขึ้น อยากอาหารมากกว่าปกติ นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย เป็นตะคริว หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ขาดสมาธิ เครียด วิตกกังวล นอกจากนี้ยังมี อาการอื่นๆ อ่อนเปลี้ย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง โกรธ ฉุนเฉียวง่าย ขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยทำเป็นประจำ ซึมเศร้าอย่างชัดเจน วิตกกังวลอย่างเห็นได้ชัด อารมณ์แปรปรวนอย่างเห็นได้ชัด เครียดอย่างรุนแรง ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ส่วนเลข 4 นั้น นายแพทย์สุรศักดิ์บอกว่า อาการ 24 ขั้นต้นนั้น ต้องสังเกตเป็นเวลา 4 เดือน ด้วยการจดบันทึก หากอาการเกิดขึ้นช่วงก่อนมีประจำเดือนทุกเดือน อาจเป็น PMS หากอาการรุนแรงมากจนกระทบต่อการใช้ชีวิตอาจเป็น PMDD

    "บุคคลที่มีอาการก่อนมีประจำเดือนจริงไม่ต้องตกใจ ให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิให้จิตใจสงบ พักผ่อนให้เพียงพอ บริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ เลี่ยงความเครียดในชีวิตประจำวัน แต่ผู้มีอาการก่อนมีประจำเดือนควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม"

    ประจำเดือนเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ถ้าผิดปกติต้องพบแพทย์ทันที
     
  5. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
    พี่น้องฮาเฮ อันแรกของคุณเพชร

    พระสงฆ์ยังไงศีลก็มากกว่าคุณหนุ่ม sithiphong แถมพระท่านก็คุยไพเราะเสนาะหูกว่าคุณหนุ่มแน่นอน ยังไงหากคุยกันไม่รู้เรื่องพระท่านก็คงไม่ชวนคุณๆไปสาบานกับพระประธานของโบสถ์เป็นแน่

    อันที่สอง น้องกวง
    พวกที่ค้านเรื่องพระสมเด็จวังหน้านั้น ผมว่าท่านก้อถูกของท่านแต่เราอยู่กันคนละเส้นทางอย่าได้มายุ่งเกี่ยวกันเลย ไปที่ชอบที่ชอบเถอะ

    ก๊าก ก๊าก อ่านแล้วขำดีอ่ะ
     
  6. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    หากกระเบนน่ารักแบบนี้ก็น่าให้ตีนะ ...อิ..อิ..มันน่าตีจริงๆ
    [​IMG]
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    มาคุยเรื่องสมาธิกันดีกว่า อีกไม่กี่วันก็จะเข้าเรื่องฌานแล้ว หลังจากที่ได้พานพบแบบเฉี่ยวไปมาในบทต้นๆ และครูสอนสมาธิได้เมตตาบอกเล่าให้ฟังคร่าวๆ วันนี้เลยหยิบหนังสือที่พระอาจารย์รูปหนึ่งเมตตามอบให้ผ่านน้องเอมาให้ ชื่อ"โลกุตตระ" ของหลวงปู่สรวง วัดถ้ำขวัญเมือง เนื้อหาที่อ่านทบทวนไปมา ๓ เที่ยวนี้ทำให้เข้าใจอาการของฌาน การเข้าออกฌาน ซึ่งตรงกันกับหลักสูตรครูสมาธิของหลวงพ่อวิริยังค์มากๆ ต่างกันตรงที่อันหนึ่งค่อยเป็นค่อยไป อีกอันหนึ่งฟันธงฉับๆ ที่เหมือนกันคือให้ทำถึงเพียงรูปฌานจากฌาน ๑ ถึง ฌาน ๔ เท่านั้น พี่ท่านหนึ่งที่เรียนสมาธิด้วยกัน เห็นเข้าเลยขอยืมไปถ่ายเอกสาร ก็ขออนุโมทนากับน้องเอด้วยที่กรุณานำมามอบให้...

    นำเนื้อหาบางส่วนเรื่องของฌานตามแนวทางหลวงปู่สรวงมาให้อ่านกัน

    รูปฌาน ๕ การปฏิบัติธรรมตามแบบสมถวิปัสสนานั้นขอให้ศิษย์ทุก ๆ คนพึงมีความเห็นทำความเข้าใจให้ถูกต้อง คือทุกๆคนที่จะปฎิบัติกรรมฐานได้ก่อนอื่นก็จำต้องรู้จักรักษาศีลห้าให้ได้เมื่อมีศีลแล้วก็เริ่มปฏิบัติได้การปฏิบัติเมื่อมีศีลห้าแล้ว ก็เริ่มฝึกหัดทำฌาน ( ชาน ) ซึ่งเป็นการทำสมาธิแบบหนึ่งและมีขั้นตอนวิธีการปฏิบัติเป็นขั้นๆ ไปฌาน นั้นมี ๘ องค์ แบ่งเป็น รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน๔ในที่นี้เราจะ ทำแค่รูปฌาน ๔ ก็นับว่าเพียงพอแล้วรูปฌาน ๔ นั้นมี ๔ องค์ คือ ฌานที่ ๑ วิตก วิจาร

    ฌานที่ ๒ ปิติ
    ฌานที่ ๓ ฌานสุข
    ฌานที่ ๔ เอกัคคตา อุเบกขา

    ทำไมเราต้องทำฌาน ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่าตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่าการที่เรามุ่งหวัง ไปพระนิพพานให้เข้าถึง พระนิพพานนั้น ต้องปฏิบัติตามมรรค มีองค์ ๘

    องค์ที่ ๑ สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ
    องค์ที่ ๒ สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ
    องค์ที่ ๓ สัมมาวาจา คือ วจีกรรมชอบ
    องค์ที่ ๔ สัมมากัมมันตะ คือ ทำการงานชอบ
    องค์ที่ ๕ สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ
    องค์ที่ ๖ สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ
    องค์ที่ ๗ สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ
    องค์ที่ ๘ สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งจิตมั่นชอบ

    ตั้งแต่มรรคองค์ที่ ๑ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบนั้นจะต้องเห็นชอบในอริยสัจ ๔ อันมีทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ส่วนมรรค องค์ที่ ๘ เป็นบัญญัติสัมมาสมาธิท่านบอกไว้ว่าให้มีรูปฌาน ๔ ถ้าเราไม่รู้จักฌาน ๔ เราก็ทำวิปัสสนาไม่ได้ มีความจำเป็นมาก การจะทำ สมาธิเฉย ๆ คือสมาธิแบบที่บัญญัติเหมือนกัน สมาธิมี ๓ องค์ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปณาสมาธิ ในสมาธิทั้ง ๓ ขั้นนี้ ยากที่เราจะรู้ได้ เพราะก้าวแต่ละก้าว แต่ละขั้น ตั้งแต่ขณิกสมาธิ ไปอุปจารสมาธิมันละเอียดมาก จิตละเอียดเป็นขั้น ๆ จากอุปจารสมาธิ ิเป็นอัปปณาสมาธิก็ยิ่งละเอียดที่สุด แต่เมื่อมาทำเป็นฌานแล้วมันซอยถี่เข้าเป็น ๔ ขั้น ความจริงฌานนั้นมีอยู่ ๕ ตามบัญญัตตามแผน ๕ ิ เรียกปัญจฌาน แต่ที่นิยมในตำราในพระสูตรกล่าวไว้มี ๕ ในพระอภิธรรมหรือบัญญัติไว้ในธรรมวิภาค รูปฌาน ๔ เรียกฌาน ๔ ไม่ได้เรียกฌาน ๕ คือรูปฌานที่ ๑ นั้นแยกวิตกเป็นฌาน หนึ่ง วิจารเป็นฌาน หนึ่ง วิตกก็คือความนึกคิดนั่นเอง วิจารก็คือ ความหยุด ความนึกคิดได้ เมื่อเราหยุดความนึกคิดได้ ฌาน ๑ ก็เกิดแก่จิตเรา

    การนั่งกัมมัฏฐาน ก่อนที่จะนั่งต้องกราบ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ต้องมีศรัทธา เชื่อมั่นใน พระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ ว่าเป็นของมีจริง เป็นของที่เราเคยเคารพศรัทธาอย่างสูง ไม่มีสิ่งใดที่เราจะเคารพยิ่งกว่าพระรัตนตรัยนี้แล้วก็กราบคุณบิดา มารดา อีกครั้งหนึ่ง กราบครูบาอาจารย์อีกครั้งหนึ่งเรียกว่า ปัญจเคารพ และเมื่อเราออกจากการนั่งสมาธิก็เช่นเดียวกัน กราบอีก ๕ ครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อว่าให้เรามีศรัทธา มีความเคารพ ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา ครูอาจารย์ บิดา มารดาของเรา ก็เป็น พระอรหันต์ของลูก พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างนั้นและก็เป็นความจริงเช่นนั้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องกราบไหว้บูชา เป็นการระลึกถึง พระคุณของท่านครูบาอาจารย์ก็เช่นเดียวกัน การที่เรามีความรู้ในปัจจุบันได้ ต้องอาศัยครูบาอาจารย์ ผู้มีความรู้สั่งสอนเรา เราจึงได้ ้ความรู้ ไม่มีใครรู้ขึ้นมาเองต้องอาศัยครูบาอาจารย์ทั้งสิ้น แม้จะทางโลกก็ตามยิ่งทางธรรมด้วยแล้วยิ่งสำคัญมาก เพราะการไม่รู้หรือ รู้ผิด ๆ แล้วมาสอนเรา ผู้เป็นศิษย์ก็ต้องรู้ผิดไปด้วย ต้องหลงไปด้วย เมื่อครูบาอาจารย์เรายังเป็นผู้หลงอยู่ เหตุไฉนจะสอนศิษย์ ให้เป็นผู้หลงไม่ได้ ก็ต้องสอนศิษย์ให้เป็นผู้หลง เมื่อครูอาจารย์ยังไม่รู้แจ้งเห็นจริง จะไปสอนศิษย์ให้รู้แจ้งเห็นจริงได้อย่างไรก็รู้ไม่ได้ ้นี่ให้ทำความเห็นอย่างนี้ให้ถูกต้อง ฉะนั้น จึงจำเป็นที่เราต้องระลึกถึงพระคุณของครูอาจารย์ด้วย เหมือนกับตัวอาจารย์นี้ไม่เคยคิดว่า ให้พวกศิษย์หรือใคร ๆ กราบไหว้ครูอาจารย์หนักหนา เพราะในความคิด ความนึกในใจของอาจารย์ไม่มีสิ่งเหล่านี้ เพราะไม่ได้ยึดถือ โลกธรรม ๘ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ก็เช่นเดียวกัน นี่เป็นโลกธรรม ๘ ฝ่ายดี ๔ ฝ่ายไม่ดี หรือฝ่ายชั่ว ๔ ก็ไม่เดือดร้อนอะไรทั้งสิ้น ในการสั่งสอนศิษย์ก็เพื่อเป็นแบบแผนให้ศิษย์มีปัญญา ถ้าศิษย์ไม่เครพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา และครูอาจารย์แล้ว จะไปเคารพอะไร เมื่อไม่ศรัทธาในการกราบไหว้บูชา

    การกราบไหว้บูชา นี้เป็นการแสดงความกตัญญู กตเวที รู้คุณด้วยและการตอบแทนบุญคุณคือการกราบ ไหว้นั้น การกราบไหว้นั้นเป็นการทำจิตใจเราไห้ผ่องใสเป็นสิริมงคล เราจึงจำเป็นต้องปฏิบัติ การนั่งก็เช่นเดียวกัน เวลานั่งกัมมัฏฐานถ้าเป็นฝ่ายอุบาสิกาจะนั่ง พับเพียบก็ได้ จะนั่งขัดสมาธิก็ได้ ฝ่ายอุบาสก หรือผู้ชายนิยมนั่งขัดสมาธิคือนั่งเอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาวางบนมือซ้ายบนตักของเรา และตั้งตัวให้ตรงอย่าให้ตัวงอ หน้าตรงอย่าก้ม ถ้านั่งหลังงอแล้วนั่งได้ไม่ทน มันจะปวดเอว ปวดหลังทำให้เรานั่งนานเป็นชั่วโมงหรือ ๔๐,๕๐ นาทีไม่ได้ ฉะนั้นกายให้ตั้งตรงเมื่อเสร็จแล้วก็เริ่มบริกรรมภาวนาคือใช้ เกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกศา ว่าเป็นอนุโลม คือว่าไปข้างหน้า ปฏิโลม คือถอยหลัง ว่าซ้ำอยู่อย่างนั้น เมื่อมีความคิดใดๆ ขึ้นมาที่จิตไม่ว่าเรื่องอะไร โดยมากจิตเรา นั้นชอบนึกชอบคิดเสมอเวลานั่งกัมมัฏฐาน จึงหาอุบายให้ว่ากัมมัฏฐาน พระพุทธองค์จึงมีอุบายให้จิต ไปยึดกัมมัฏฐาน ๕ เสีย นอกจาก กัมมัฏฐาน นั้นมีกัมมัฏฐานอื่น ๆ อีกทั้งหมดตั้ง ๔๐ อย่าง แต่จะไม่สอนเพราะถือว่ากัมมัฏฐาน ๕ เป็นสิ่งสำคัญ เหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ก็เพราะว่าตามบัญญัติเรียกว่าเป็นโกฏฐาต คือเป็นสิ่งขอที่หยาบมีอยู่ในตัวเราทั้งสิ้น สามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อ

    เมื่อว่าไป ๆ แล้วจิตมันก็ยึดกัมมัฏฐานได้ การที่จิตยึดกัมมัฏฐานได้ไม่หลง ถ้าหลงอย่าไปเที่ยวค้นหา เช่นว่า เกศา โลมา แล้วมันลืมเสียไม่รู้อะไรจำไม่ได้ อย่าเที่ยวนึก ถ้านึกแล้วเดี๋ยวสังขารขันธ์ของเรานั่นมันเอาตัวอื่นมาใส่ให้เอาเรื่องอื่นมาใส่ให้ อ้าว…เราไปกับเรื่อง อื่นเสียพักหนึ่งแล้ว ฉะนั้นอย่าไปนึกขึ้น ให้ตั้งต้นว่า เกศา โลมา ใหม่ ไม่นึกอะไร ถ้ามันเกิดนึกคิดอะไรก็ละเสีย เพราะธรรมชาติของจิต มันชอบนึกคิดอยู่นิ่งไม่ได้ เราว่าอย่างนี้ เมื่อจิตตั้งมั่นไว้ได้ดีแล้วฌาน ๑ จับได้ดี ไม่มีความนึกคิดอื่นยึดกัมมัฏฐานได้มั่นคงแล้ว จะเกิด ความรู้สึกขึ้นมา รู้สึกว่าขนลุกขนพอง หรือซาบซ่านที่ผิวกายลุกซู่ ๆ ซ่า ๆ อะไรอย่างนี้ บางทีก็รู้สึกตัวพองออกไปตัวมันยาวขึ้น บางที ตัวมันเตี้ยลง แล้วมาตัวเล็กตัวเบา ทีนี้มันก็มีการกระตุกที่มือ หรือที่เท้า นี่ฌาน ๒ เริ่มจับแล้ว

    รูปฌานที่ ๒ ที่เริ่มกระตุก เมื่อกระตุกแล้วอย่ากักไว้กดไว้ คือเราอย่าเกร็งข้อ เกร็งมือไว้ ปล่อยให้มันสั่น การที่กายโยก กายสั่นโยกคลอน ดังสนั่นหวั่นไหว นั่นแหละเป็นปิติ ฌาน ๒ ชื่อของปิติอันนี้ชื่อว่า "อุพเพงคาปิตติ" ส่วนที่รู้สึกซาบซ่านตามผิวกายเรียกว่า "ผรณาปิติ" นี้ผู้ปฏิบัติจะต้องให้มีอุปเพงคาปิติจึงจะสมบูรณ์ เพราะเหตุว่าฌาน ๒ นี้ อุปเพงคาปิติ นี้เป็นฤทธิเป็นกำลังที่เราต้องทำฌาน ก็เนื่องจากว่า ฌานนี้เมื่อได้ฌาน ๔ มันก็สู้กับทุกขเวทนาได้ คือเจ็บปวดต่างๆ หรือง่วงเหงาหาวนอนมันสู้ได้ถ้าไม่มีฌานแล้วสู้ไม่ได้ นอกจากนั้นเมื่อปฏิบัติสูงแล้ว การเหาะเหินเดินอากาศด้วยกายในกายของเราหรือที่เรียกว่า กายทิพย์ ก็อาศัยฌานนี่เหละเหาะเหินเดิน อากาศ การรู้การเห็นต่าง ๆ การได้ยินเสียง การได้กลิ่น การได้รส การมีโผฏฐัพพะการทบกายต่างๆ รู้ได้ด้วยฌานทั้งสิ้น หูทิพย ์ ตาทิพย์ หยั่งรู้ใจคน มีอิทธิฤทธิ์ระลึกชาติได้ แล้วก็มีฤทธิ์ทางใจเรียกว่า มโนมยิทธิ แล้วทำกิเลสให้หมดไปจากจิตใจได้ ก็อาศัยการฟอกจิตใจ ให้สะอาด ด้วยฌานนี่เหละ จึงจำเป็น ถ้าขาดฌานเสียมรรคตัวที่ ๘ ก็ไม่มี ฉะนั้น ใครจะไปพระนิพพานกับมรรค ๗ ตัว ๖ ตัว ๕ ตัว หรือมรรคตัวเดียวไม่ได้ทั้งสิ้นมรรคต้องครบทั้ง๘ตัว๘องค์

    รูปฌานที่ ๓ เมื่ออุเพงคาปิติขึ้นโครมๆ ดีแล้ว การสั่นมาท่าต่าง ๆ มันโยกหน้า โยกหลัง มีสติอยู่ไม่ให้ล้ม หงายไป เมื่อมีสติอยู่รักษาจิตมันก็มีสัมปชัญญะสำหรับคุมกายไว้เอง เพราะสัมปชัญญะอยู่คู่กับสติ สตินี่ เป็นสิ่งสำคัญคุมจิต สัมปชัญญะคุมกาย ธรรม ๒ ประการนี้เป็นธรรมที่มีอุปการมาก คือส่งเราให้ไปถึงพระนิพพานได้ทีเดียว ธรรมที่มีอุปการมาก คือ สติสัมปชัญญะ คนขาดสติ คนบ้าใบ้ คนสติฟั่นเฟือน ปฏิบัติไม่ได้นี่เป็นหลักสำคัญ เมื่อเราเข้าได้ฌาน ๒ ดี แล้ว เราก็กระตุกขึ้นไป จิตคิดว่า ฌาน ๓ อย่านึกถึงฌาน ๒ อีก ถ้านึกมันก็ขึ้นอีก ขึ้นโครมๆ คือจิตถอยลงมาเสีย เมื่อไปถึงฌาน ๓ แล้ว ฌาน ๓ เราจะมีความรู้สึกแต่ไม่ทุกครั้ง บางครั้งแต่ เป็นส่วนมาก เรียกว่าฌานสุข กายก็มีความสุข ฌานที่ ๓ จึงได้ชื่อว่า ฌานสุข เมื่อเราไปอยู่ในฌาน ๓ พอสมควรแล้วเราก็มีสติกำหนดที่จิต ว่า ๔ กระตุกตัวขึ้นไปอีกแล้วก็อย่าลดตัวลงมา เมื่อกระตุกตัวขึ้นไปแล้วอย่าลดลงมาให้อยู่เฉย แล้วก็ผ่อนลมหายใจให้อ่อน ว่ากัมมัฏฐาน เรื่อยไป จิตมันจะแนบขึ้นๆ แนบเข้าๆ มือจะเริ่มชาขึ้นมา เท้าก็จะเริ่มชา คือชาทั้งปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ที่ก้นของเราก็เริ่มชาขึ้นมา ไม่ใช่เหน็บชา ชานั้นไม่เจ็บไม่ปวด ริมฝีปากนี้ก็ชา แล้วลิ้นนี้ก็ชา ถ้าจับดีจะมาถึงข้อมือ แล้วถึง กลางแขน ถึงข้อศอก ถึงหัวไหล่ ตัวนี้มันจะเหยียดตรงเลย มันเกร็งเหมือนกับเกร็งอย่างนั้นเอง นั่นคือเป็นเรื่องของ ฌาน ๔

    รูปฌานที่ ๔ ที่เรียกว่าเอกัคตาอุเบกขา เอกัคตาอุเบกขาคือ ฌาน ๔ นี้ เสียงอะไรที่มากระทบเรา กระทบหู เราได้ยินไม่ใช่ไม่ได้ยิน แต่ทุกอย่างมันจะไม่รับเข้าไปเพราะใจมันวางเฉย ที่เรียกว่าอุเบกขาก็คือ ความวางเฉย นั่นเอง

    ตรงนี้ฝ่ายคณะที่เขาปฏิบัติทางวิปัสสนาเขาตำหนิติเตียนว่า ทำทางสมถะ คือทำฌานนั้นอ้า…ไป พระนิพพานไม่ได้เพราะว่าไปติดฌานเสีย นั่นเป็นความหลง เป็นโมหะของผู้ที่คิดเช่นนั้น ไม่รู้วิธีของการทำฌานแล้วทำอย่างไรถึงจะไม่ให้ติดฌาน โดยมาก ส่วนใหญ่ที่เห็นพวกปฏิบัติทางวิปัสสนาแล้วก็นั่ง เวลานั่งแล้วถึงเวลาออกก็ลืมตาออกมาเฉยๆ เมื่อเป็นเช่นนั้นถ้ามีฌานจะต้องถอยฌานออก เป็นขั้นๆ จนถึงฌาน ๑ แล้วสลัดกายพร้อมกับสติคิดที่ใจนึกว่าออก พระพุทธเจ้าพระองค์สอนไว้ดี สอนไว้สมบูรณ์ทุกอย่าง โดยให้ เข้าฌานออกฌานเป็นให้ชำนิชำนาญเป็นวสี

    การเข้าฌานนั้น เราเข้าไปตั้งแต่ฌาน ๑ ขึ้นฌาน ๒ จากฌาน ๒ ขึ้นฌาน ๓ จากฌาน ๓ ขึ้นฌาน ๔ เรียก ว่า "เข้าฌาน" และที่จะต้องรู้จักออกฌาน ด้วย การออกฌาน กำหนดที่จิตว่าถอย ๓ คือถอยจากฌาน ๔ ลงมาฌาน ๓ พอถอยลงมา ๓ คือลดตัวลงมาหน่อย ฌานก็ถอยแล้วเมื่อจิตคิดถอย ฌานมันก็ถอยลงมา อุเบกขาก็ค่อยหมดไปมาอยู่ที่ฌาน ๓ ฌานสุข แล้วก็ถอยจากฌาน ๓ อีกแหละ มาฌาน ๒ พอถอยมาถึงฌาน ๒ ปิติ อุปเพงคาปิติก็ขึ้นโครมๆกายโยกกายสั่นอีก ตรงนี้มีพวกที่ได้ฌานใหม่ๆ ติดมาก มันติดเพราะมันสนุกมันเพลิน มากรู้สึกเพลินมาก รู้สึกมีกำลังวังชาด้วย แล้วก็รู้สึก กายมันเบา อยากกระโดดโลดเต้นไปด้วยซ้ำมันกระโดดโลดเต้น แต่ว่ามันออกจะอึกทึก ไปเอาเพียงให้มันสั่น กายโยกกายสั่นกายคลอนบางทีหมุนติ้วบางทีก็เอาแขน ๒ ข้างตีปีกดังเหมือนไก่ตีปีก บางคนก็ตบมือ ๒ มือเลย มีลักษณะต่าง ๆ ปีติทั้งหมดมี ๕ ชนิดแต่ละชนิดมี ๘,๙ อย่างเรื่องของอาการของปีติทั้งหมด ๓๘,๓๙ ปีตินี่ให้พึงเข้าใจ เมื่อออกมา ฌาน ๒ แล้ว เราก็ถอยออกฌาน ๑ อีกถอยมาที่ ๑ ถอยฌาน ๑ แล้วเวลาออกฌานก็สลัดหัวคิดว่าออกคือออกจากฌาน ๑ หรือออกจากฌาน นั่นเอง การเข้าฌานตามขั้นเหมือนกับเราขึ้นบันไดเรือนขั้น ๑ ขั้น ๒ และ ๑ และก็ลงอีกเป็นแบบนี้ ถ้าใครอวดดีไม่ลงตามฌาน คือไม่ถอย ลงมาจะเจอดีไปติดฌาน ๔ มันถอยไม่ออก มันเที่ยวเดินซึมอยู่นั่นแหละ ถ้าฌาน ๔ ไม่ออกจะเป็นคนไม่พูด และบางครั้งเขาถามอะไร ก็ไม่ได้ยิน บางทีพูดอะไรคำหนึ่งและไม่พูดต่อ มันเฉยเสียให้รู้ว่าใครถึงฌาน ๔ แม้ฟ้าผ่าลงมาเปรี้ยงไม่สะดุ้งเลย แล้วในฌานนี้ทั้งหมด ผู้ได้ฌานแล้วตั้งแต่ฌาน ๒,๓,๔ ไปแล้วมีฤทธิ์มีอำนาจวาจาสิทธิ์ วาจามีสัจจะ เราจะว่าใครให้ฉิบหายป่นปี้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ถ้าว่าไปแล้วเป็นจริง ๆ เป็นไปได้เพราะตอนที่เรามีฌานทำฌานอยู่ทุกวันนั้น จิตเราเป็นพรหม กายเราเป็นมนุษย์จริงแต่จิตเป็นพรหม มีวาจาที่ศักดิ์สิทธิ์อย่าได้พูดปรักปรำใคร อย่าได้กล่าวตำหนิใครในทางที่เสีย เสียไปจริง ๆ เช่นสมมุติว่าเห็นคนขึ้นต้นไม้ เราพูดขึ้น ้เชิงเล่นว่า " เออ...ระวังนะ...มันจะตกลงมา " อย่าพูดเข้า ถ้าพูดมันตกลงมาจริง ๆ นี่สำคัญมาก ฉะนั้นเราต้องระวัง

    การทำฌานมีอานิสงส์สำหรับตัวฌานอยู่นอนก็หลับสบายไม่ฝันเลอะเทอะ ตื่นขึ้นมาก็สบายจิตใจผ่องใส ไม่เศร้าหมองหน้าตา มีสง่าราศีอิ่มเอแบด้วยเลือดฝาด ศาสตราวุธก็ไม่กินกาย ไฟก็ไม่ไหม้บ้าน แม้ยาพิษก็ทำอันตรายตนไม่ได้ และเป็นที่เอ็นดูรักใคร่ของมนุษย์ และอมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาคุ้มครองรักษา และเป็นผู้ที่มีโชคลาภ โรคภัยไม่ค่อยเบียดเบียน ถ้าใครเกิดตายลงขณะที่มีฌานไม่ไปเกิด ในอบายภูมิ ต้องไปเกิดในพรหมโลก พรหมโลก รูปพรหมมี ๑๖ ชั้น แล้วแต่กำลังที่เรามีฌานอยู่ถ้าเราอยู่ในฌานที่ ๔ เต็มที่ เวลาเราตาย ไปเกิดในชั้นที่ไม่เกินชั้นที่ ๑๑ คือวิสัญญีภพ อายุยืน ๕๐๐ กัลป์ ( ๑ กัลป์ เท่ากับ ๖,๔๒๐ ล้านปี ) ทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจารย์แสดงธรรมในเรื่องการปฏิบัติฌานที่ว่า ตาทิพย์ หูทิพย์ อาจารย์ได้รู้ได้พบ ได้เห็นมาแล้วทั้งสิ้นเป็นของมีจริง จึงยืนยันให้ศิษย์ทุก ๆ คน จงเชื่อมั่นในคำสั่งสอนที่ให้ไว้ที่นี้ คือตั้งใจปฏิบัติ เมื่อเราได้ฌานแล้ว เราจะรู้ทันทีว่า คำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าเป็นของมีจริง ทำให้เรามีศรัทธาอันแรงกล้าขึ้นทีเดียว แล้วที่เมื่อก่อน เคยดูหมิ่นว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บางคนคิดเลอะเทอะไปว่าไม่มีอะไรจริงเหล่านี้ เมื่อเราทำฌานได้ เราจะรู้คุณค่าของพระธรรม ว่าพระธรรมเป็นของมีจริง เมื่อมี พระธรรมก็ต้องมีพระพุทธเจ้าจริง เมื่อมีพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ก็ต้องมีจริงพระสงฆ์ก็อาศัยพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า นี่แหละประพฤติปฏิบัติตามจนหมาอาสวะ ตามเยี่ยงอย่างพระพุทธเจ้า

    ผู้ปฏิบัติมั่นคงอยู่ในศีลในธรรมทำฌานให้ได้ เมื่อทำฌาน ๔ ได้ดีแล้ว จึงจะเริ่มวิปัสนาคืกการขึ้นไปหา ธรรมปัญญาปัญญารู้จักกิเลส ในขณะที่ทำฌานนี้ยังไม่ต้องละกิเลสอะไร และขอเตือนสติไว้อย่างหนึ่งว่าในขณะที่เรานั่งฌานจัตอย่าได้คิดอยากได้อยากเป็นฌาน อยากเห็นอยากรู้อะไร ตัวอยากนี้เป็นตัวปัญหา เป็นภวตัญหา คือความอยากมีอยากเป็นอยากรู้อยากเห็น ถ้ามีตัญหามันก็มีกิเลส เมื่อมีกิเลส มันก็ไม่ได้ มีตัณหามันก็ไม่ได้ เราทำใจของเราเฉยๆ เป็นกลาง อย่าได้คิดอยากได้นั่นได้นี่ ถึงจะนานแสนนานที่นั่งอยู่ก็ต้องอดทน ขั้นต้น ก็ต้องมีความอดทน มันจะเจ็บปวดอะไรก็ตามอย่าคิดอย่าเกา เช่นสมมุติมันคันขณะนั่งอย่าไปเกา ถึงแม้ยุงกัดหรืออะไรก็ตามก็ต้องมี ีความอดทนถ้าจิตให้มือไปเกาหรือเคลื่อนไหว จิตก็เริ่มถอยไม่ยึดฌานเสียแล้ว นี่เป็นสิ่งสำคัญ ฉะนั้นทุกๆ คนเมื่อมีความมุ่งหมายที่จะไป พระนิพพาน หรือรู้จักพระนิพพาน เราก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนนี้แหละอย่างเคร่งครัด พระเครื่องรางต่างๆ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์นั้น อาศัยฌานทั้งสิ้น ไม่ใช่อาศัยอื่น ตัวคาถาที่เขียนเป็นอักษรขอมไว้นั้น มันไม่ได้มีอะไรขึ้นมาหรอก มันตัวหนังสือ ถ้าขลังจริงที่ตัวหนังสือ ก็ไม่จำเป็นต้องเอามานั่ง ที่เรียกว่านั่งเสก นั่งปรกอะไรนั่น ที่เขาทำๆกันนั้น แต่อาจารย์นี้ไม่สอนตามนั้น พระพุทธเจ้าได้ห้ามไว้ การเล่น เครื่องลางของขลังเล่นไสยศาสตร์ต่างๆ ผิดศีลผิดวินัยพระ เป็นอาบัติทีเดียวแหละ งั้นผู้ที่มีความมุ่งหมายที่จะไปพระนิพพาน หรือพบ พระนิพพานจงเลิกสิ่งเหล่านี้เสีย อย่าไปเล่นอย่าริเล่น เราตั้งใจให้มันเป็นแล้วจะได้ละกิเลส รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มันเกิดขณะที่เรานั่งฌานนี่แหละทุกอย่างไม่ใช่ไปหาของข้างนอก มันเกิดขึ้นมาให้เราพบให้เราเห็นให้เรารู้ เราได้ยินเสียง เราก็ทำการละ มันเรื่อยไป จึงเรียกว่าทำวิปัสสนา ส่วนวิปัสสนานั้นได้สอนไว้ ได้แสดงธรรมไว้เรื่องอิทธิบาท ๔ กับพละ ๕ ซึ่งต่อจากรูปฌาน ๔ นี้ไว้แล้ว

    ที่แสดงธรรมมานี้เราทุกคน จงปลูกศรัทธาให้มั่นคง มีความอดทนเป็นสิ่งสำคัญ มีสัจจะคือ มีความจริง ใจในการที่จะกระทำที่จะปฏิบัติ อย่าเป็นคนเหลวไหล หละหลวม ผัดวันประกันพรุ่ง อย่าเป็นคนเกียจคร้าน และรักษาศีลให้ดีให้เรียบร้อย ศีลขัดเกลากิเลส หยาบ ธรรมะหรือสมาธิคือขัดเกลากิเลสอย่างกลาง ที่จิตเมื่อเรารักษาศีลดี เรานั่งสมาธิก็ได้เร็วเป็นหลักอยู่ในตัวคือศีลวิสุทธิ ทิฏฐิก็คือ ปัญหานั่นเอง กล่าวโดยสรุปคือศีล สมาธิ กับ ปัญญา เป็นองค์ของมรรค ๘ ย่อลง ถ้าเราปฏิบัติตรงแล้วทุกอย่าง รักษาศีลดีแล้ว ทำสมาธิ คือฌาน เพื่อให้เกิดปัญญาจะได้รู้จักกิเลส จึงมีความจำเป็นอย่างนี้ ขอเน้นว่าจงทำตามที่สั่งสอนนี้ ขึ้นไปตามขั้นตอนสูงขึ้นเรื่อยๆ ตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

    ที่อาจารย์ปฏิบัตินี้ รู้แน่ชัด ขอยืนยันไว้กับศิษย์ทุกคน ว่าไม่มีคำสั่งสอนใดที่อาจารย์คิดขึ้นเอง ทำตามคำ สั่งสอนของพระพุทธองค์ครบถ้วนทั้งสิ้น จึงสามารถสอนพวกเราได้ ถ้าไม่รู้จริงอาจารย์ไม่กล้าสอนพวกเรา เพราะนรกเป็นของมีจริง การสอนให้ศิษย์ทำผิด ครูบาอาจารย์เป็นผู้ลงนรกศิษย์ไม่เท่าไหร่หรอก นี่เป็นหลักสำคัญ จะอวดดี อวดเก่งไม่ได้ ในการที่ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสรู้แล้วเป็นพระอรหันต์แล้ว และพระอรหันต์ต่างๆ เช่น พระสารีบุตร เอกอัครสาวก พระโมคคัลลานะ อัครสาวก พระกัสสปะเถระเป็นพระอรหันต์ ประกอบด้วย มีอภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ การเขียนตำราใดๆ ขึ้นใหม่โดยอัตโนมัติเพื่อสั่งสอน ผู้อื่น ที่คิดว่าวิเศษยิ่งกว่าคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่มีอยู่ในพระธรรมนั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำ รู้ที่ใจไม่ใช่รู้จากการพูด

    อิทธิบาท๔ เมื่อทำฌาน ๔ ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่ก็อยากรู้ว่าอาการของฌาน ๔ เป็นอย่างไร เพื่อจะตรวจสอบดูว่าการปฏิบัติของตนถึงฌาน ๔ แล้วหรือยัง ลักษณะของฌาน ๔ นั้น จิตจะตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา อุเบกขา คืออยู่ในอารมณ์ของความสงบระงับจากนิวรณ์ทั้ง ๕ ไม่ฟุ้ง ในเรื่องใดมีอารมณ์ที่เป็นกลางไม่สุขไม่ทุกข์ไม่ชอบไม่ชัง ไม่ปรุงแต่งต่อสิ่งที่มากระทบ มีสติสมบูรณ์รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มาสัมผัสได้ แม้จะ มีเสียงดัง ให้ได้ยินไม่ว่าจะเป็นเสียงใด ก็สักแต่ว่ารู้ในเสียงนั้น โดยไม่เข้าไปปรุงแต่งให้จิตกระเพื่อมไหว หรือหากมีเวทนาเกิดขึ้นกับกาย กับจิตไม่ว่า จะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนา โดยไม่ปรุงแต่งเป็นความยินดียินร้ายต่อเวทนานั้น จิตยังคงตั้งมั่นในอุเบกขาคืออารมณ์ที่ เป็นกลางเช่นนี้ จึงจะเข้าเรียกว่าเข้าถึงฌาน ๔

    เมื่อเข้าถึงฌาน ๔ อย่างแนบแน่น ก็จะมีอาการทางกายตามมา เช่นชาที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้ามา อาการชาอาจจะปรากฏบนใบหน้า ริมฝีปาก หรือแม้กระทั่งลิ้น บางคนอาจจะชาที่ใบหน้าก่อน อาการชาจะมารวมที่ปาก จนบางทีปากยื่นออกไป บางครั้งหากไม่ชาก็จะมี อาการ เกร็งแข็งไปทั้งตัวเหมือนถูกตรึงไว้ ขยับเขยื้อนไม่ได้ ต้องคลายจากสมาธิหรือใช้กำลังอย่างแรงจึงจะขยับได้ เหล่านี้ล้วนเป็นอาการ ของฌาน ๔ ทั้งสิ้น

    หากผู้ปฏิบัติทำฌาน ๔ ได้สมบูรณ์ดีแล้วจึงจะสมควรขึ้นวิปัสสนา การด่วนทำวิปัสสนาโดยยังไม่ได้ฌาน ๔ นั้น กำลังของ สมาธิ ไม่เพียงพอ แม้ว่าในช่วงทำวิปัสสนาเราไม่ได้ใช้สมาธิระดับฌาน๔ คือระดับอัปนาสมาธิ แต่เราใช้สมาธิระดับกลางคืออุปจารสมาธิ ิหรือ สมาธิในระดับฌาน ๓ แก่ๆ ก็ตามแต่ถ้าพื้นฐานของสมาธิไม่แข็งแรงดีแล้ว ก็ยากที่จะก้าวหน้าไปถึงระดับมรรคผลได้ นอกจากนี้ ยังถูกนิวรณ์ ๕ กวน และต้องเผชิญกับทุกขเวทนาจากการนั่งนาน ๆ จนทนกันแทบไม่ไหว ยิ่งไปกว่านั้นยังถูกโทสะกิเลสและกามราคะ ตีขึ้นมาอย่าง แรงด้วย ดังนั้นการได้สมาธิถึงฌาน ๔ จึงเป็นกำลังสำคัญของการทำวิปัสสนาเพื่อให้ผู้ปฏิบัติผ่านอุปสรรคดังกล่าวได้ และนำไปสู่มรรคผล ได้ง่ายกว่าการไม่ได้ฌาน ๔

    ในการทำวิปัสสนานั้นผู้ปฏิบัติที่เข้าถึงฌาน ๔ ก็ต้องถอยสมาธิจากฌาน ๔ ลงมาเล็กน้อย เพราะสมาธิในฌาน ๔ จิตจะนิ่งสงบ อยู่ท่าเดียวไม่ยอมคิดถึงเรื่องอะไร จึงต้องผ่อนสมาธิลงมาให้อยู่ในระหว่างฌาน ๔ กับฌาน ๓ ที่ต้องถอยมาอยู่ระดับนี้แม้ในตำราหรือใน พระปริยัติธรรมจะไม่ได้บัญญัติไว้ แต่จากคำสอนของครูบาอาจารย์และจากการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง เห็นว่าได้ผลดีจึงถือว่า ใช้ในทางปฏิบัติได้เพราะการปฏิบัติเป็นสิ่งละเอียดอ่อน ผู้มีประสบการณ์แล้วจึงจะรู้ว่าใช้ได้หรือไม่ได้ เมื่อเห็นว่าใช้ได้โดยวัดผลจาก การปฏิบัติก็ถือว่าเป็นหลักในการปฏิบัติได้

    การถอยจากสมาธิจากฌาน ๔ ลงมาอยู่ระหว่างฌาน ๓ ครึ่ง ไม่ได้มีเครื่องมือไปวัด แต่กะเอาประมาณเอา เพราะเรื่องของจิต เป็นนามธรรมเอาอะไรไปวัดไม่ได้ เมื่อถอยแล้วก็เลี้ยวไปทางซ้าย คือให้โยกตัวไปทางซ้ายเล็กน้อยจากนั้นด้วยกำลังของสมาธิก็จะทำให้ ตัวโยก กลับไปทางขวาแล้วโยกซ้ายขวาไปมา การที่ต้องโยกตัวไปมาเช่นนี้ก็ไม่มีบอกไว้ในพระปริยัติธรรมหรืออภิธรรมเช่นกัน แต่เป็นผล ที่ได้จาก ประสบการในการปฏิบัติ ซึ่งปฏิบัติแล้วได้ผลดี การที่พระอภิธรรมไม่ได้บัญญัติให้ทำเช่นนี้ ก็อาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความลังเล สงสัยว่า เป็นวิธีปฏิบัติที่ถูกทางหรือไม่ ปฏิบัติแล้วจะนำไปสู่มรรคผลหรือไม่

    เรื่องนี้ก็ขอให้พิเคราะห์ดูว่าในขณะปฏิบัติวิปัสสนานั้น สมาธิของผู้ปฏิบัติจะอยู่ระหว่างฌาน ๒กับฌาน ๔ สมาธิของฌาน ๒ มีปิติหล่อเลี้ยง ซึ่งเราได้ทำอุปเพงคาปีติมาแล้ว จนเกิดกายโยกไปมาหรือเกิดผรณาปีติรู้สึกขนลุกซูซ่า มีอาการซาบซ่านไปตามตัว หรือเกิดโอกกันติกาปีติ สมาธิของฌาน ๒ จะดึงลงมาให้ตัวสั่นตัวโคลง ขณะเดียวกันสมาธิของฌาน ๔ ก็จะดึงขึ้นไปให้อยู่ในอุเบกขา การดึงกันระหว่างกำลังสมาธิในฌาน ๔ และฌาน ๒ บางครั้งก็ทำให้ผู้ปฏิบัติตัวโยกเองโดยไม่ต้องสั่งให้โยกเมื่อทำวิปัสสนา

    ผู้ปฏิบัติเป็นจำนวนมากมักจะสงสัยว่าทำวิปัสสนาโดยตัวไม่ต้องโยกได้หรือไม่นั่งอยู่เฉยๆคอยรู้ในกาย เวทนา จิต ธรรม ได้หรือไม่ รู้แล้วละในสิ่งที่รู้ เท่านี้ก็ทำวิปัสสนาได้ เรื่องนี้ขอให้พิจารณาดูว่าขณะที่เราขึ้นไปถึงฌาน ๔ นั้น กำลังของสมาธิจะมีมาก เมื่อลดลงมา อยู่ระหว่างฌาน ๓ กับฌาน ๔ ถ้านั่งเฉยๆ ไม่ช้าสมาธิก็จะแนบแน่นขึ้น เข้าไปอยู่ในฌาน ๔ อีก จิตก็จะนิ่งอยู่ในอุเบกขา ไม่สนใจในเรื่องอื่นใด เอาแต่จะอยู่ในความสงบท่าเดียว ซึ่งสมาธิเช่นนี้นำมาทำวิปัสสนาไม่ได้ การทำวิปัสสนานั้นสติและจิตจะต้อง คล่องแคล่ว ตื่นตัว ไวต่อ ความรู้สึกที่มากระทบ เหมือนนักเทนนิสที่พร้อมจะวิ่งเข้าไปรับลูกทุกทิศทางที่ฝ่ายตรงข้ามตีมา ด้วยเหตุนี้ การโยกตัวไปมาทางซ้ายขวาจึงช่วยให้สติและจิตตื่นตัวไม่เผลอเข้าไปอยู่ในฌาน ๔ และไม่ตกอยู่ในฌาน ๒ ที่รุนแรง เพราะถ้าตัวโยก ตัวสั่นแรงเกินไปก็ทำให้วิปัสสนาไม่ได้

    เมื่อออกจากฌาน ๔ ลงมาอยู่ฌาน ๓ ครึ่ง และโยกตัวไปมาแล้วก็เจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ อันเป็นธรรมที่นำไปสู่มรรคผล นิพพาน โพธิปักขิยธรรม ๓๗ มีดังนี้

    ๑. สติปัฏฐาน ๔
    ๒. สัมมัปปธาน ๔ หรือเพียร ๔
    ๓. อิทธิบาท ๔
    ๔. พละ ๕ ซึ่งถ้าแก่กล้าเป็นอินทรีย์ ๕
    ๕.โพชฌงค์ ๗
    ๖. มรรค ๘
    หมายเหตุ สติปัฏฐาน ๔ และสัมมัปปธาน ๔ หรือเพียร ๔ ใช้ตลอดเวลาที่นั่งและไม่นั่งกรรมฐาน

    สติปัฏฐาน ๔ คือการมีสติรู้ในฐานทั้ง ๔ อันมี
    ฐานกาย ( กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
    ฐานเวทนา ( เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
    ฐานจิต ( จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
    ฐานธรรม (ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน)

    โดยรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกาย เวทนา จิต และธรรมนั้น มีธรรมชาติเป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป ไม่ใช่เป็นของสัตว์ บุคคลตัวตน เรา เขา เป็นเพียงเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติมิควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น หากมีปรากฏการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นกับกายกับจิต ก็ให้มีสติ รู้แล้วก็ละเสีย
    สัมมัปปธาน ๔ คือความเพียรเพื่อ
    ๑. ปิดกั้นมิให้อกุศลธรรมที่ยังไม่ไห้เกิดขึ้นในจิต (สังวรปธาน)
    ๒. ขจัดอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นในจิตแล้วให้หมดไป ( ปหานปธาน )
    ๓. ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้นในจิต ( ภาวนาปธาน )
    ๔. รักษาและพัฒนากุศลธรรมที่มีอยู่แล้วในจิตให้เจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้นไป( อนุรักขนาปธาน )

    ธรรมหมวดสติปัฏฐาน ๔และสัมมัปปธาน ๔ นี้ ผู้ปฏิบัติเจริญแล้วขณะที่ทำฌาน๔และเมื่อทำวิปัสสนาไม่ต้องเจริญธรรมทั้งสองหมวดนี้ เพราะใช้ตลอดเวลา

    สำหรับหมวดธรรมที่เหลือจะเจริญอย่างไร
    เมื่อขึ้นวิปัสสนาให้เริ่มเจริญ อิทธิบาท ๔ ขณะที่กายโยกไปมาทางซ้ายขวานั้น ก็ให้ภาวนาอิทธิบาท ๔ ตามไปด้วย คือท่องในใจว่า ฉันทะ : ความพอใจในผลของการปฏิบัติ วิริยะ : ความเพียรในธรรมที่ปฏิบัติอยู่ จิตตะ : ความเอาใจใส่ในธรรมที่ปฏิบัติอยู่ วิมังสา : การใช้จิตตรึกตรองในธรรมที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดละออ ท่องไปช้า ๆ ๔ เที่ยว การท่องนอกจากจะเป็นการภาวนา หรือบริกรรมในธรรมหมวดนี้แล้ว ยังเป็นการตรวจสอบดูว่าธรรมในหมวดนี้เจริญขึ้นในจิตของเราแล้วหรือยัง กล่าวคือเมื่อภาวนาไปสัก ๒ เที่ยวแล้วก็สำรวจว่าฉันทะหรือความพอใจ เรามีความพอใจต่อการปฏิบัติหรือไม่วิริยะหรือความเพียร ได้เพียรปฏิบัติมากน้อยเพียงใด จิตตะหรือใจที่จดจ่อ เราจดจ่อต่อการปฏิบัติแค่ไหนวิมังสาหรือใคร่ครวญประมวลผล เราได้ไตร่ตรองใครครวญในธรรมและผลของการปฏิบัติหรือไม่ การตรวจสอบธรรมเหล่านี้ไม่ต้องใช้เวลาตรวจสอบมาก เดี๋ยวจิตจะฟุ้งไปในความคิด

    ในขณะที่เราภาวนาอยู่กับองค์ธรรมของอิทธิบาท ๔ คือท่องฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา อยู่นั้นสติจะต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา แม้จะหลับตาแต่ก็เหมือนกับว่าสายตาของเราทอดไปในระยะปลายนิ้วของแขนที่เหยียดออกคือคะเนว่าถ้าเหยียดแขนไปตรง ๆ ปลายนิ้วสุดตรงใดก็ให้สายตาของเราพักอยู่ตรงหน้า ณ จุดนั้น ที่ต้องกำหนดจุดพักสายตาไว้ตรงนั้นก็เพราะว่าขณะที่ภาวนาอยู่นั้นอาจจะมีนิมิตเป็นภาพเกิดขึ้นที่ตรงนั้น ภาพนิมิตที่เกิดขี้นอย่าไปนึกอยากให้มันเกิด แต่ถ้ามันเกิดก็ปล่อยให้ให้เกิดตามเหตุปัจจัยของมันและมันจะเป็นภาพอะไรก็แล้วแต่ขอให้เรามีหน้าที่เพียงรู้ว่ามีสิ่งใด แล้วก็ละเสีย อย่าไปชอบอย่าไปชังเพราะถ้าชอบก็เป็นกิเลสฝ่าย ราคะ (ความรักความใคร่พอใจ) หรือ โลภะ ( ความโลภอยากได้ของเขา ) ถ้าไปชังก็เป็นกิเลสฝ่าย โทสะ ( ความโกรธ ) ถ้าเราไปหลงยึดติดก็จะเป็นกิเลสฝ่าย โมหะ ( ความหลงไม่รู้ ) นอกจากนี้การหลงยึดติดในนิมิต ก็ยังเป็น วิปัสสนูปกิเลส อีกด้วย

    นิมิตเกิดขึ้นได้ทางทวารต่าง ๆ เช่น ตาจากการนั่งเห็นรูปหรือแสงสี บางทีก็เห็นเป็นแสงจุดเล็ก ๆแล้วสว่างจ้า บางทีก็เห็นเป็นพระพุทธรูป บางทีก็เห็นเป็นภาพสวรรค์ หรือภาพต่าง ๆ นา ๆ การเห็นนิมิตทางตาแม้จะหลับตาก็ตาม จะเป็นทางนำไปสู่ทิพจักขุ ( ตาทิพย์ ) หรือจักขุญาณ (เห็นด้วยตาใน ) นอกจากนี้ก็อาจจะมีนิมิตทางเสียง โดยหูของเราอาจได้ยินเสียงสวดมนต์แว่วมาทั้ง ๆ ที่ไม่มีวัดหรือมีใครสวดมนต์อยู่แถวนั้น นิมิตที่ปรากฏทางเสียงจะนำไปสู่ ทิพยโสต ( หูภายในได้ยิน)หรือโสตญาณ ที่เรียกว่าหูทิพย์ ซึ่งทั้งหูทิพย์และตาทิพย์นี้ เป็นที่ยอมรับกันในพุทธศาสนาว่ามีจริงเป็นจริงจะปฏิเสธว่าไม่มีไม่ได้ ผู้ปฏิบัติบางคนอาจได้กลิ่นหอมหรือกลิ่นประหลาดเข้ามากระทบจมูกชั่ววูบของลมหายใจ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีต้นเหตุของกลิ่นนันให้สัมผัสนี่ก็เป็นนิมิตทางกลิ่นเหมือนกัน หรือบางคนอาจจะได้นิมิตทางลิ้น คือรู้สึกว่ารสใด รสหนึ่งเกิดขึ้นทั้ง ๆที่ไม่ได้รับประทานอะไรในขณะนั้น หรือบางคนอาจจะได้นิมิตทางโผฏฐัพพะ คือเหมือนกับมีอะไรมาถูกต้องกาย เช่น เหมือนมีตัวไรมาไต่บนใบหน้าทำให้รู้สึกคันยุกยิก แต่พอลืมตาหรือเอามือมาลูบดูกลับไม่เห็นมีอะไร

    ไม่ว่านิมิตจะเป็นอะไรเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป อย่าไปหลงไหล อย่าไปยึดติด อย่าไปชอบ อย่าไปชังขอเพียงมีสติ รู้ แล้ว ละ เสีย

    ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่มักจะเอานิสัยทางโลกเข้ามาปนกับการปฏิบัติทางธรรม นิสัยทางโลกนั้นหากประสบกับสิ่งที่ตนพอใจก็ชอบ อยากพบ อยากเห็น อยากสัมผัส อยากสัมพันธ์ อยากครอบครอง แต่ถ้าพบในสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาก็ชัง ไม่อยากพบ ไม่อยากเห็น ดังนั้นเมื่อเจอนิมิตที่ตนพอใจก็อยากเจออีกหรืออยากให้อยู่นาน ๆ เป็น กามตัณหา เพราะมี ราคะกิเลส แต่ถ้าเป็นนิมิตที่ตนไม่พอใจก็อยากผลักใสไม่อยากให้ดำรงอยู่ เป็น วิภวตัณหา ( ความอยากในสิ่งที่ไม่อยาก) เพราะมี โทสะกิเลส (ความโกรธ) ซึ่งความชอบความชังดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มพูนกิเลสเข้าไปในจิตใจ แทนที่จะเอากิเลสออกจากจิต ดังนั้นจึงต้องมีสติคอยกำกับจิตและมีปัญญาเท่าทัน อย่าไปหลงไหลอย่าไปชอบ อย่าไปชัง เพียงรู้ รู้แล็วก็ ละ ( คือว่าที่ใจ หรือให้ใจว่า ละ นี่คือวิปัสสนา )

    ความจริงถ้าเรามีอิทธิบาท ๔ ที่แก่กล้า เราก็จะไม่หลงในนิมิต กล่าวคือ ถ้ามีฉันทะหรือความพอใจต่อการปฏิบัติ รักที่จะปฏิบัติ มีวิริยะพากเพียรต่อการปฏิบัติโดยไม่เกรงกลัวต่อความเหนื่อยยาก มีจิตตะหรือมีใจจดจ่อต่อการปฏิบัติ แม้จะมีสิ่งใดเกิดขึ้นกับกายกับจิต ก็ระลึกรู้ทันท่วงทีด้วยการมีสติคอยกำกับเช่น รู้ว่ามีนิมิตเกิดขึ้นแล้วและมีวิมังสา คือใคร่ครวญไตร่ตรองในธรรมหรือในนิมิตที่เกิดขึ้นว่าเป็นของไม่เที่ยง ผ่านมาก็ผ่านไป ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ไม่ปรุงแต่งไปในทางที่ชอบที่ชัง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ ละ หรือ ปล่อยวาง ในนิมิตได้ หากทำได้เช่นนี้ตัววิมังสาก็จะเป็นตัวปัญญา

    นอกจากนิมิตแล้วขณะที่เราภาวนอิทธิบาท ๔ คือท่องคำว่า ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา อาจจะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งนอกเหนือไปจากนิมิตเกิดขึ้นกับกายกับจิตของเรา เช่น รู้สึก ปวด เมื่อย คัน ตัวหนัก ตัวเบา ตัวร้อน ตัวเย็น หรือมีอารมณ์จรไปเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ให้รู้แล้วละเสีย ตัวรู้คือสติ ตัวละตัวปัญญา (สติ : ระลึกได้มีปัญญารู้ติดตามมา )

    การเจริญอิทธิบาท ๔ จะเพิ่มพลังของสติและปัญญา อิทธิบาท ๔ หมายถึงการเดินไปด้วยฤทธิ์หรือก้าวไปด้วยฤทธิ์ แต่จะมีฤทธิ์ใดนั้นก็จะต้องมีกำลังหรือพละควบคู่กันไปด้วย เพราะถ้ามีฤทธิ์แต่ไม่มีกำลัง ฤทธิ์นั้นก็จะไปไม่รอด หรือมีกำลังแต่ไม่มีฤทธิ์ กำลังนั้นก็ไปได้ไม่ไกลเช่นกัน ดังนั้นธรรมะทั้งสองหมวดนี้จึงเกื้อกูลกัน ด้วยเหตุนี้เมื่อเราเจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว เราต้องเจริญพละ ๕

    พละ ๕โดย วัดถ้ำขวัญเมืองเรืองรอง พละ ๕ คือธรรมที่เป็นกำลัง ถ้ามีขึ้นบริบูรณ์แล้วก็จะเป็นอินทรีย์ ๕ หรือธรรมที่เป็นใหญ่อันจะทำไปสู้ความสำเร็จ ประกอบด้วย ศรัทธา (ความเชื่อ ) วิริยะ ( ความเพียร) สติ ( ความระลึกได้ ) สมาธิ ( ความตั้งใจมั่น ) และปัญญา ( ความรู้ ) สติ อยู่กลาง คือสติทันกาล ผัสสะที่เกิดกับกายกับจิตรู้ทันทีแล้ว ละ

    ในการเจริญพละ ๕ ก็คล้ายกับอิทธิบาท ๔ คือตัวยังคงโยกซ้ายโยกขวา พร้อมกับภาวนาคำว่า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ว่าไปอย่างนี้ ๕ เที่ยว ว่าช้า ๆ ไม่ต้องย้อนหลัง เมื่อว่าไปสัก ๓ เที่ยว แล้วก็ลองตรวจสอบดูว่า ธรรมทั้ง ๕ หมวดนี้มีขึ้นในจิต เจริญขึ้นในจิตของเราแล้วหรือยัง ความหมายขององค์ธรรมทั้ง ๕ หมวดนี้มีขึ้นในจิตเจริญขึ้นในจิตของเราแล้วหรือยัง ความหมายขององค์ธรรมทั้ง ๕ มีดังนี้

    ศรัทธา: คือความเชื่อถือ เราเชื่อในกฎแห่งกรรมที่ว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วหรือไม่ เชื่อในพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือไม่กล่าวคือการเชื่อในพระพุทธเจ้าว่ามี พระปัญญาธิคุณ ( ปรีชาญาณหยั่งรู้ ) ตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เองหรือไม่ เชื่อในพระบริสุทธิคุณ ( ความหมดกิเลส) ว่าทรงมีจิตบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองหรือไม่ และเชื่อในพระกรุณาธิคุณ (ช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ถึงนิพพานด้วยการสั่งสอนธรรม) ว่าทรงเสียสละพระองค์สั่งสอนเวไนยสัตว์ ตลอดพระชนม์ชีพหลังจากทรงตรัสรู้แล้วหรือไม่ สำหรับการเชื่อในพระธรรมนั้น ไแก่เชื่อว่าธรรมของพระองค์ปฏิบัติแล้วนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้หรือไม่ ส่วนการเชื่อในพระสงฆ์นั้น ได้แก่ เชื่อว่าเป็นผู้สืบศาสนาให้ยืนยาวเป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐตวรแก่การสักการบูชาหรือไม่ หากเรามีความเชื่อในสิ่งนี้แล้วจึงจะเรียกได้ว่ามีศรัทธาในพระรัตนตรัย และถ้ามีศรัทธาเกิดขึ้นจะนำสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพราะเชื่อว่าการปฏิบัติเท่านั้นที่จะนำเราพ้นทุกข์ได้ แต่ถ้าเราขาดศรัทธา หรือมีศรัทธาไม่ลึกซึ้ง ก็ยังมีความลังเลสงสัย ไม่ทุ่มเทการปฏิบัติ มีความเกียจคร้าน ไม่เชื่อว่าปฏิบัติแล้วจะได้ผลจริง เมื่อเป็นเช่นนี้การปฏิบัติก็ไม่ได้ผล

    วิริยะ: คือความเพียร หรือสัมมัปปธาน ๔ หรือเพียร ๔ นั่นเอง ซึ่งจะต้องเพียรหนักยิ่งขึ้นที่จะปฏิบัติเพื่อให้ไปถึงจุดหมายปลายทาง ความเพียรนี้ก็เหมือนกับความเพียรในอิทธิบาท ๔ แต่ความเพียรในพละ ๕ จะมีกำลังสูงยิ่งขึ้นไปอีก เพราะสมาธิมีกำลังดีขึ้น จิตละเอียดขึ้นศรัทธาแนบแน่นขึ้นจากการเพียรปฏิบัติก็จะได้พบปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบ ทางสัมผัสทั้ง ๖ ไม่ว่าจะเป็นรูป (ตา) เสียง (หู) กลิ่น ( จมูก) รส(ลิ้น) โผฏฐัพพะ (กาย ) ธรรมารมณ์ ( ใจ) สิ่งที่กระทบนั้นจะละเอียดยิ่งขึ้นไป นิมิตที่ปรากฏก็จะละเอียดขึ้นไป ตามกำลังของสมาธิและตามความละเอียดของจิต

    สติ: ความระลึกรู้สึกหรือรู้ตัวจะมีกำลังสูงขึ้น รู้ตัวเร็วขึ้นในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับกายกับจิตสติจะคล่องแคล่วว่องไวรับรู้ผัสสะที่มากระทบ ไม่ว่าจะเป็นทวารใดทวารหนึ่ง เช่น ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส กายกระทบโผฏฐัพพะหรือสิ่งที่สัมผัสกาย ใจกระทบธรรมารมณ์หรืออารมณ์ที่จิตคิด สติก็จะรู้ได้รวดเร็ว กำลังของสติจะคอยอุปการะจิต ให้จิตมีความแหลมคมและมีกำลังที่จะรู้และละ ต่อสิ่งนั้น (ซึ่งคือตัววิปัสสนาปัญญา ) โดยไม่ปรุงแต่งไปในทางที่ชอบที่ชัง จิตจะคลายจากกามคุณ ๕ อันมีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เท่ากับว่าจิตจะละจากอุปาทานในกามคุณ ๕ นั่นเอง เมื่อสติมีกำลังเช่นนี้ปัญญาก็เกิดตามมา เป็นปัญญาที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ คือมรรคผลนิพพาน

    สมาธิ: ได้แก่ความตั้งมั่นของจิต ขณะทำวิปัสสนาต้องควรตรวจดูว่า สมาธิของเราหนักไปอยู่ในฌาน ๔ หรือน้อยไปอยู่ในฌาน๒วิธีตรวจสอบก็โดยการสังเกตนิมิต โดยดูว่านิมิตที่เราเห็นเอียงไปทางซ้าย หรือทางขวา หรืออยู่ตรงกลาง ถ้าเอียงไปทางขวา แสดงว่าสมาธิหนักไปใกล้ฌาน ๔ ถ้าเอียงไปทางซ้าย แสดงว่าสมาธิอ่อนไปอยู่ใกล้ฌาน ๒ แต่ถ้าอยู่ตรงกลางหน้าก็แสดงว่าเราใช้สมาธิกำลังพอเหมาะการปรับสมาธิให้อยู่ในภาวะสมดุลทำได้โดยการปรับแต่งการโยกของกาย ถ้าสมาธิมากไปเฉียดอยู่ในฌาน ๔ กายจะโยกช้าหรือโยกเบาแทบจะหยุด ก็ให้โยกแรงขึ้นสักหน่อย แต่ถ้าสมาธิอ่อนไปเฉียดฌาน ๒ กายจะโยกเร็วแรง ก็ให้โยกช้าเบาลง สมาธิก็จะอยู่ในภาวะที่เหมาะสม ดังนั้นวิธีโยกกายจึงเป็นประโยชน์ในการปรับระดับของสมาธิอีกทางหนึ่งด้วย การปรับระดับของสมาธิดังกล่าวไม่มีอยู่ในพระอภิธรรม ที่รู้ได้ก็จากประสบการณในการปฏิบัติ ซึ่งกว่าจะพบอาจารย์ก็เสียเวลาไป ๔ - ๕ วัน เพราะไม่มีใครบอกใครสอนมาก่อน

    ปัญญา: ได้แก่ความรู้ในธรรมที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ ภาวนาอยู่ โดยตรวจสอบดูว่าธรรมในหมวดใดองค์ใดที่เราภาวนามาแล้วยังบกพร่องอยู่ก็ให้รีบแก้ไขเสีย การรู้ดังกล่าวคือตัวปัญญาแต่ถ้ารู้แล้วยังแก้ไม่ได้แสดงว่าปัญญาในพละ ๕ ของเรายังไม่ดีพอ เมื่อยังไม่ดีพอพละ ๕ ก็ยังไม่สมบูรณ์ และกำลังไม่สมบูรณ์ก็เป็นอินทรีย์๕ ไปไม่ได้ พละ ๕ สมบูรณ์มีกำลังเมื่อใดก็จะเป็นอินทรีย์ ๕ เมื่อนั้น ( คือมีสติรู้เท่าทันต่อผัสสะที่มากระทบ ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รู้ละทันหมด)

    อินทรีย์ ๕ : คือธรรมที่เป็นใหญ่นำไปสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วยองค์ธรรมเช่นเดียวกับพละ ๕ คือมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ต่างกันที่องค์ธรรมแต่ละองค์ในอินทรีย์ ๕ มีความสมบูรณ์หรือมีกำลังสูงกว่าพละ ๕ เช่น เมื่อถึงอินทรีย์๕ ตัวสติจะว่องไวและมีกำลังยิ่งขึ้น รู้ตัวเท่าทันต่อผัสสะที่มากระทบทุกอย่าง หากมีทุกขเวทนาเกิดขึ้น เช่น เจ็บปวดจากการนั่ง สมาธิในพละ ๕ ก็สามารถสู้กับเวทนาได้แต่ถ้าพละ ๕ ไม่แข็งก็อาจจะสู้เวทนาไม่ได้ ต้องเปลี่ยนท่านั่งหรือออกจากสมาธิเสียก่อนเป็นการอ่อนแอต่อการปฏิบัติธรรม

    การปฏิบัติให้ถึงมรรคผลต้องสู้กับทุกขเวทนาอย่างไม่ยอมแพ้มัน จากประสบการณที่ผ่านมาอาจารย์เคยเจ็บจนไม่รู้จะทำอย่างไร เอาผ้ารองตั้ง ๒-๓ชั้น ก็แก้ความเจ็บปวดไม่ได้ เจ็บปวดเหมือนมีหนามมีเข็มมาทิ่มแทงที่ก้น แม้เจ็บจนเหงื่อไหลน้ำตาร่วงก็เคยแต่ว่าใจมันคล้ายเสือ มันสู้ไม่ยอมแพ้ ถ้าไม่หายปวดก็จะไม่ยอมออก นั่งเป็นชั่วโมงสองชั่วโมงสามชั่วโมงนี่คือการต่อสู้กับกิเลสมารโดยมีตัวกำลังเป็นตัวฮึดขึ้นมาในใจ นั่งสู้กับมันจนดึกดื่นค่อนคืนไม่ยอมแพ้

    พละ ๕: นี้สติอยู่กลาง คือมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา เมื่อเจริญวิปัสสนาแก่กล้าแล้ว สติของเราก็จะทันต่อผัสสะ เมื่อทันหมดทุกด้านเราก็ละมันทัน มันเกิดเมื่อไรก็ละทันเมื่อนั้นทั้งกายทั้งจิตจิตของเราก็ว่าง แต่อย่าลืมว่าผัสสะที่เกิดขึ้นนั้น จะมีอะไรก็ตามที่มากระทบกายเราเพียงแผ่วเบา เช่นคล้ายกับไรไต่ก็ละเพราะการปฏิบัติธรรมในส่วนวิปัสสนานี้ การที่ผัสสะใด ๆ ก็ตามที่เราได้รับไม่ว่ากระทบกายหรือกระทบจิต ย่อมประกอบไปด้วย ตัณหา (ความอยาก) ทั้งนั้น เช่นเรานั่งกรรมฐานอยู่และลมพัดโชยมาเรารู้สึกว่าเย็นสบาย เราเกิดมีความพอใจ ก็เป็นสุขเวทนา คือเป็น กามตัณหา (ความพอใจในกาม) หรือพวก ราคะ (ความใคร่หรือชอบในสิ่งใด ๆ ) แต่เมื่อเกิดอากาศร้อนอบอ้าวเพราะไม่มีพัดลม เราเกิดความหงุดหงิดไม่พอใจ เป็นพวก วิภวตัณหา จัดเป็นฝ่ายโทสะ ถ้าเราไม่รู้ว่าผัสสะที่เกิดขึ้นนั้นว่าเป็นตัณหาตัวไหน จิตของเราก็เป็น โมหะ การปฏิบัติธรรมเพื่อละกิเลส หรือราคะ โทสะ โมหะ และการที่เรารู้จักการตัดวัฏสงสารใด ก็ต้องตัดที่ตัวตัณหาให้สิ้นไป ธรรมตัวตัณหานี้ก็อยู่ในอริยสัจ ๔ คือตัว สมุทัย ซึ่งเป็นเหตุที่ให้เกิดทุกข์ ตัณหาพาให้เกิดทุกข์ เมื่อเราดับทุกข์เสียได้ทุกข์มันก็เกิดไม่ได้ การปฏิบัติ เพื่อหวังพระนิพพานเราจะต้องมุ่งอยู่ที่ตัวอริยสัจ พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมด้วยธรรมตัวนี้ และพระอรหันต์ทั้งหลายก็ตรัสรู้เช่นเดียวกับพระพุทธองค์ เคยพบบางหมู่เหล่า มุ่งสติปัฏฐาน ๔ เพื่อให้ถึงพระนิพพาน จะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อธรรมสติปัฏฐานเป็นเพียงธรรมองค์หนึ่งของมรรคองค์ที่ ๗ เท่านั้น จะถึงพระนิพพานได้อย่างไร มรรคจะต้องสมบูรณ์ทั้ง ๘ องค์และยังจะต้องใช้ธรรมอีก ๖หมวดมาประกอบอีก รวมเป็นโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ การนำโพธิปักขิยธรรม ๓๗ มาปฏิบัตินั้น จะบริกรรมจากอิทธิบาท ๔ พละ ๕ (หรืออินทร์ ๕) โพชฌงค์ ๗ และมรรค ๘ ไปตามลำดับ ส่วนเพียร ๔ หรือสัมมัปปธาน ๔ ( มรรคองค์ที่ ๖ ) และสติปัฏฐาน ๔ ( มรรคองค์ที่ ๗ ) นั้น นำมาใช้ตอนเจริญวิปัสสนาทั้งเวลานั่งสมาธิและนอกเวลานั่งสมาธิ

    การปฏิบัติวิปัสสนาต่อจากสมถะนั้นจักขุญาณมีจำนวนมาก เพราะมีปรากฏตามปฐมเทศนาคือธรรมจักษุ ที่พระพุทธองค์แสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เพราะจักขุญาณนี้เป็นวิชชาหนึ่งใน ๘ ที่จะทำให้เกิดผลในวิชชาบุพเพนิวาสานุสติญาณ เจโตปริยญาณ และจุตูปปาตญาณ ได้ด้วย ถ้าไม่มีจักขุญาณก็เท่ากับคนตาบอด วิชชาทั้ง ๘ ในพระพุทธศาสนานั้นเกี่ยวกับญาณทั้งสิ้น การจะเข้าถึงพระนิพพานได้ก็ต้องมีวิชชาอาสวักขยญาณ มีรู้เห็นนิมิต ตามพระไตรปิฏกกล่าวไว้ว่า " พระนิพพานนั้นไม่สำเร็จด้วยความนึกคิด แต่สำเร็จด้วยความเพียรติดต่อกันไม่ขาดสาย " ปีหนึ่งนั่งกรรมฐานเพียง ๓ เดือน เฉพาะในพรรษา และนั่งเพียงครั้งละ ๑๐-๒๐ นาทีนั้นอย่าหวังเลยจะพบสัจธรรม อาจารย์เพียรมาต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพัน คือตั้งสัจจะไว้ว่าถ้าไม่รู้ก็สู้แค่ตาย พระบรมครูของเรานั่นแหละเป็นแบบที่เราสมควรจะดำเนินตามกัน

    ปัจจุบันมรธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นหลายแห่งในประเทศไทย เราพึงระมัดระวังตัวให้จงหนักถ้าหากถลำตัวเข้าไปแล้วถอนตัวได้ยากนัก ทิฏฐิ มานะ อุทัจจะ เป็นกิเลสที่สำคัญ ผู้ที่จะพ้นสามตัวนี้ได้ก็มีแต่พระอรหันต์ อย่างไรเสียก็อย่าพึ่งไปคิดว่าฉันหมดสมมุติก่อนวิมุตเป็นอันขาด เพระพระนิพพานนั้นถึงด้วยใจ ที่รู้ว่าวิมุตตินั้นเป็นอย่างไร ลักษณะไหน วิมุตติด้วยวาจาคารมนั้นเป็น " นิพพานดิบ " ( นิพพานยังมีขันธ์ ๕ ) แต่วาจาไปด้วยคารมคมคายจนบางแห่งเคยพบคำสอนเป็นธรรมซึ่งพระอรหันต์ท่านดำรงอยู่มาสอนให้ปุถุชนทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ ธรรมสำหรับพระอรหันต์ซึ่งหลุดพ้นแล้ว แต่ท่านยังครองตนเป็นมนุษย์อยู่ ที่เรียกว่า " สอุปาทิเสสนิพพาน* " มาสอนให้ปุถุชนปฏิบัติกัน ถ้าใครทำตามได้รับผลเลย ก็คงไปนิพานกันหมดแล้ว จะเป็นไปได้หรือช่วยกันคิดดูเถิด….จบเพียงเท่านี้

    * สอุปาทิเสสนิพพาน : หมายถึงนิพพานที่ยังมีอุปาทิเหลืออยู่ , ดับกิเลสแต่ยังมีขันธ์ ๕ เหลืออยู่ คือนิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สังคมเราเป็นสังคมประชาธิปไตย นั่นเป็นวิถีของการปกครองประเทศ
    แต่เรื่องของศาสนา และความเชื่อ คนละเรื่อง ต้องหัดใช้สมองคิดกันหน่อย หัดไปเปิดหู เปิดตาดู สมองอย่านำขี้เลื่อยไปใส่เลย

    การนำธรรมะมาโพสเพื่อมาเสริมความชอบธรรมให้กับตนเอง ระวังเรื่องกรรมไว้ให้มาก การโพสบนอินเตอร์เน็ต เป็นการสร้างกรรม (ทั้งกรรมดี และ กรรมชั่ว) ได้อย่างมากและรวดเร็ว เรื่องนี้ต้องลองไปศึกษาอีกเช่นกัน ผมแนะนำให้ ลองไปอ่านบทความ (ชื่ออะไรไปหาเอง) ของคุณดังตฤณ

    ขอโพสอีกนิดนะครับ พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆทุกๆท่าน
    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    ไม่ไหวครับคุณเพชร
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันนี้น้องท่านนึง ไปเที่ยวเนปาล

    ขออาราธนาพระบารมีองค์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร (คณะโสณ-อุตร) และพระบารมีสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ให้น้องท่านนี้เดินทางทั้งไปและกลับ อีกทั้งระหว่างการเดินทาง จงไร้อุปสรรคใดๆ มีความสุขในการท่องเที่ยวนะครับ

    .
     
  13. Shinray01

    Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,310
    สวัสดีครับไม่ได้เข้ามานานไปอยู่ต่างจังหวัดนานไม่ได้เข้ามาเลย *-* สวัสดีครับสบายกันดีไหมครับลืมผมหรือยัง
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ตอนนี้ ให้ระวังเรื่องของไข้หวัดเม็กซิโกกันนะครับ

    อย่าประมาท

    ผมนำเรื่องไข้หวัดเม็กซิโก ซึ่งเป็นเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวข้อง นำไปตั้งกระทู้ไว้ที่เว็บ อกาลิโก ลองไปศึกษากันนะครับ


    บอร์ดอกาลิโก > อิ่มกาย อิ่มใจ
    ศาสตร์สุขภาพแห่งการบำบัด

    กระทู้ มารู้จัก “ไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H1N1” หรือ “เชื้อไวรัสไข้หวัดหมู”
    http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=29450

    ด้วยรัก และ ห่วงใย
    จากใจ

    [​IMG]





    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สวัสดีครับ

    อย่าลืมนะครับ ที่ขอพระพี่ไปฟรี แล้วสัญญาว่า จะปฎิบัติสมาธิทุกวันครับ

    ระวังนะครับ ถ้าไม่ทำ อันตรายครับ
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมแจกพระวังหน้าฟรีได้เหมือนกันครับ

    แต่ต้องตั้งจิต ตั้งสัจจะกัน และในข้อความจะระบุด้วยว่า จะปฎิบัติธรรม นั่งสมาธิทุกวัน วันละ ... นาที

    หากท่านใดที่จะขอฟรี ก็ให้แจ้งในกระทู้พระวังหน้าฯ เข้ามาได้ ไม่ต้อง pm มา


    ข้าพเจ้าใช้ชื่อในเว็บพลังจิต ชื่อ ...... ขอรับพระวังหน้าฟรีจากคุณsithiphong จำนวน ... องค์ ขอตั้งจิต ตั้งสัจจะต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ ,พระมหาโพธิสัตว์และพระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ ,เทพเทวาทั้ง 16 ชั้นฟ้า ,องค์พยามัจจุราช และนายนิริยบาล ทั้งท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ว่า ข้าพเจ้าขอปฎิบัติธรรมและนั่งสมาธิทุกวัน วันละ 5 นาที แต่หากข้าพเจ้าทำตามที่ตั้งจิต ตั้งสัจจะไม่ได้ หากข้าพเจ้าทำอะไรก็ตามต่อจากที่ทำตามที่ตั้งจิต ตั้งสัจจะไม่ได้ จงประสบแต่ความล้มเหลวตลอดกาล แต่หากข้าพเจ้าทำตามที่ตั้งจิต ตั้งสัจจะได้ ขอให้ข้าพเจ้าทำอะไรทุกๆอย่างที่เป็นสิ่งที่ดี จงประสบแต่ความสำเร็จและเจริญรุ่งเรืองตลอดกาล


    ผมขอยกเว้น พระสมเด็จ top of the top

    เนื่องจากเจตนาผม ต้องการแจกเฉพาะคณะพระวังหน้าและงานบุญใหญ่ของคณะพระวังหน้าเท่านั้น

    ส่วนจะเป็นสมาชิกคณะพระวังหน้าอย่างไร ลองไปหาอ่านดูในกระทู้พระวังหน้า เนื่องจากผมเคยบอกไปหลายครั้งแล้ว

    คณะพระวังหน้า จะเป็นคนละส่วนกับ สมาชิกชมรมพระวังหน้า(เว็บพลังจิต)ครับ<!-- google_ad_section_end -->

    ถ้าเป็นพระที่ บุทอง บุเงิน บุนาค ก็สามารถขอฟรีได้ แต่มีข้อแม้มากกว่านี้
    1.ต้องมาเป็นสมาชิกคณะพระวังหน้า
    2.ต้องแสดงบัตรประชาชนกับผม
    3.ต้องตั้งจิต ตั้งสัจจะ กันที่หิ้งพระบ้านปู่ประถม
    และ 4.ต้องตั้งจิต ตั้งสัจจะ ว่านำไปห้อยตลอดชีวิต

    .
     
  17. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    อ่าน่าสนใจนาครับ
    กลักไม้ขีด บุทองไงครับ หุ หุ
     
  18. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    54. แบบปฏิบัติธรรมหลวงพ่อดู่เป็นเช่นใด

    ในยุคปัจจุบันที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้คนเผชิญกับความทุกข์
    ความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องปากท้อง ความปลอดภัยใน
    ชีวิตและทรัพย์สิน ผู้คนต่างแสวงหาที่พึ่ง แสวงหาคำตอบของชีวิต ในขณะเดียว
    กันก็มีผู้ตั้งตนเป็นอาจารย์สอนการปฏิบัติธรรมกันมาก

    เกี่ยวกับเรื่องแบบปฏิบัตินี้ หลวงพ่อได้เล่าไว้ว่าเคยมีผู้พิมพ์แบบปฏิบัติธรรม
    มาถวายและใช้คำว่า "แบบปฏิบัติธรรมวัดสะแก" ท่านแก้ให้ว่าอย่างนี้ไม่ถูก
    ต้อง เพราะเป็นแบบของพระพุทธเจ้า ไม่ควรใช้ว่าเป็นแบบของวัดใด

    อีกครั้งหนึ่งที่เคยมีผู้ตั้งคำถามในอินเตอร์เน็ตว่า
    "แบบปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อดู่เป็นอย่างไร"

    ข้าพเจ้าหวนระลึกถึงบทสนทนาตอนหนึ่งที่หลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังเมื่อครั้งมีลูกศิษย์
    มาขอศึกษาธรรม ตามแบบของท่าน หลวงพ่อได้ตอบศิษย์ผู้นั้นไปว่า ข้าไม่ใช่
    อาจารย์หรอก อาจารย์นั่น ต้องพระพุทธเจ้า หลวงพ่อทวดนั่น ข้าเป็นลูกศิษย์ท่าน

    ข้าพเจ้ากลับมานั่งคิดทบทวนอยู่หลายครั้ง ความชัดเจนในคำตอบของ
    หลวงพ่อจึงค่อยๆ กระจ่างขึ้นเป็นลำดับ เสียงสวดมนต์ทำวัตรแว่วมาแต่ไกล ...
    โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปริโยสานะกัลยาณัง สาตถัง
    สะพยัญชะนัง เกวะละ ปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ

    แปลได้ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว มีความ
    ไพเราะงดงามในเบื้องต้น ไพเราะงดงามในท่ามกลาง ไพเราะงดงามในที่สุด
    ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือ แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์
    โดยสิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ

    สาธุ ถูกของหลวงพ่อและจริงเป็นที่สุด พระพุทธเจ้าทรงวางแบบแผน
    การปฏิบัติไว้อย่างดียิ่ง เป็นขั้นเป็นตอนและสมบูรณ์แบบที่สุด ไม่ต้องการผู้ใด
    มาแต่งมาเติมอีก กุญแจคำตอบสำหรับเรื่องนี้ได้เฉลยแล้ว

    ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
    ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ
    ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า

    ที่มา : คติธรรมจากหนังสือ 101 ปีหลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พบไวรัสไข้หวัดคอมพ์ แฝงตัวมากับอีเมลภาษาญี่ปุ่น

    http://hilight.kapook.com/view/36436


    [​IMG]


    พบไวรัสไข้หวัดคอมพ์ แฝงตัวมาอีเมลภาษาญี่ปุ่น (มติชนออนไลน์)

    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ประเทศญี่ปุ่นพบไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่มีชื่อเดียวกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในประเทศเม็กซิโก ที่กำลังแพร่ระบาดทางอินเตอร์เน็ตในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา

    สถาบันโรคติดต่อแห่งชาติญี่ปุ่น ระบุบนหน้าเว็บไซต์ว่า ไวรัสคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ แฝงมากับอีเมลภาษาญี่ปุ่นที่แนบไฟล์ชื่อ "ข้อมูลไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่" กำลังแพร่ระบาดในโลกไซเบอร์ โดยสถาบันฯ ได้รับรายงานจากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมากว่า อีเมลต้องสงสัยดังกล่าวอ้างว่าเป็นอีเมลจากทางสถาบันฯ แต่เมื่อทำการตรวจสอบด้วยซอฟต์แวร์ตรวจสอบไวรัสคอมพิวเตอร์ของสถาบันฯ กลับพบว่า เป็นโปรแกรมผิดกฎหมาย

    อย่างไรก็ตาม ไม่มีการเปิดเผยว่า ไวรัสที่แฝงมากับไฟล์เป็นไวรัสชนิดใดและจะมีอันตรายอย่างไร ทราบเพียงว่า อีเมลซึ่งส่งมาจากผู้ใช้อีเมลแอดเดรสที่ลงท้ายด้วย "@yahoo.co.jp" นั้น ส่งไฟล์ที่มีไวรัสไปให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยการสุ่มเลือก


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    [​IMG]
    ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    11 วิธี ใช้ข้าวของให้คุ้มค่า


    http://hilight.kapook.com/view/36451



    [​IMG]


    11 วิธี ใช้ข้าวของให้คุ้มค่า (สยามดารา)

    ยุคเงินเฟ้อ จะกินจะใช้ต้องรัดเข็มขัดจนเอวกิ่ว ข้าวของที่มีอยู่แล้วต้องใช้ให้คุ้มค่า ทั้งคุณผู้หญิงและคุณผู้ชาย มีข้อแนะนำดีๆ ในการใช้ข้าวของให้ลองนำไปปฏิบัติ

    [​IMG] 1.ลิปสติก บางชนิดเนื้ออ่อนเหลวจนหักได้ง่าย ทั้งที่เพิ่งซื้อมาใช้ไม่นาน นำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยจุดเทียนไขลนเนื้อลิปสติกสองส่วนที่หักเข้าด้วยกัน ทิ้งให้เย็นตัวก็จะใช้ได้ใหม่

    [​IMG] 2.มาสคาร่า ถ้าแห้งแล้วไม่ต้องรีบร้อนซื้อใหม่ ให้เติมน้ำร้อน 4-5 หยด แล้วใช้แปรงปัดขนตากวนๆ ให้ทั่วก็ใช้ได้อีกนาน

    [​IMG] 3. ยาทาเล็บ ถ้าแห้งแข็งจนใช้ไม่ได้ อย่ารีบโยนทิ้ง เติมน้ำยาล้างเล็บลงไปหน่อย หรือแช่ขวดยาทาเล็บลงในน้ำเดือดสักครู่ ก็ใช้ได้อีกหลายครั้ง

    [​IMG] 4.เก็บรักษายาทาเล็บ ทุกครั้งหลังที่เลิกใช้แล้ว ให้นำยาทาเล็บใส่ตู้เย็น เท่านี้ก็ใช้ยาทาเล็บได้หมดจนหยดสุดท้าย

    [​IMG] 5.เสื้อผ้าขึ้นรา นำเสื้อไปแช่นมเปรี้ยว พอรุ่งเช้าบิดตากแดด อาจบีบมะนาวโรยซ้ำอีกนิด แค่นี้ก็ไม่ต้องทิ้งเสื้อตัวโปรดหรือซื้อใหม่ให้เสียเงิน

    [​IMG] 6.รองเท้า ปรับรองเท้าคัชชูดำคู่เก่าให้ดูใหม่ได้ ด้วยการใช้ยาย้อมผมสีดำทาให้ทั่ว แล้วทิ้งไว้สัก 1-2 ชั่วโมง จากนั้นใช้ยาขัดรองเท้าขัดถูให้ดำเป็นเงางาม เท่านี้ก็เหมือนได้รองเท้าคู่ใหม่

    [​IMG] 7.เสื้อผ้าสีดำซีด มีวิธียืดอายุการใช้งาน คือเมื่อซักสะอาดแล้วนำไปแช่ครามซักผ้าขาว ทิ้งไว้ 5-10 นาที นำไปล้างน้ำสะอาดแล้วตาก ชุดเก่าจะดูใหม่ไปอีกระยะ

    [​IMG] 8. ถุงน่อง หลังซื้อมา อย่าเพิ่งใช้ทันทีให้ไปแช่น้ำก่อนเพื่อให้น้ำซึมซับอิ่มตัว บิดหมาดๆ นำไปแช่ในช่องทำน้ำแข็งจนเป็นน้ำแข็ง แล้วนำออกมาละลายน้ำแข็งตากให้แห้ง จะใช้งานได้นานกว่าปกติ

    [​IMG] 9.ซักผ้า หากผ้ามีกลิ่นเหม็นอับ เพียงแค่นำสารส้มมาแกว่งในน้ำ แช่ผ้าที่เหม็นอับทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนนำมาซักปกติ แล้วตากแดดหรือตากลม

    [​IMG] 10.แก้ปัญหาหน้ามัน วิธีขจัดคือนำมะนาวมาฝานเป็นเสี้ยวบางๆ แล้วแปะให้ทั่วใบหน้า แต่เว้นรอบดวงตาและปาก ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วล้างน้ำสะอาด ทำบ่อยๆ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ปัญหาหน้ามันจะทุเลาลง

    [​IMG] 11.เล็บเหลือง แก้ปัญหาได้ด้วยการใช้มะนาวซีกเล็กๆ ขัดๆ ถูๆ เล็บมือสัก 5 นาที แล้วจึงนำมาล้างน้ำสะอาด เล็บมือจะขาวและเป็นเงางามจนน่าปลื้ม




    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...