รักษาศีล5แล้วสมาธิไม่เกิด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อ_เอกวัฒน์, 23 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. นุภาวัฒน์

    นุภาวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    774
    ค่าพลัง:
    +270


    ใช่ครับ
     
  2. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    อาการถูกแล้ว เพราะจิตกำลังสงบ ลมหายใจจะสั้นลง
    แต่ว่าวางอารมณ์หนักไป นิดนึงครับ
    มันเลยจะทรมานหน่อยๆครับ
     
  3. นุภาวัฒน์

    นุภาวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    774
    ค่าพลัง:
    +270
    ใช่ครับมันเหมือนหายใจไม่ออก พยายามเค้นลมหายใจ มันเลยแน่น
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    นี่เลย คนนี้เลย หากเป็นเรื่องแก้กรรมฐาน ก็ถามเขา คุณ xorce
     
  5. ^บัวหลวง^

    ^บัวหลวง^ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    543
    ค่าพลัง:
    +661
     
  6. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    ตามนี้เลยครัย

    ซักพักถ้าเราภาวนา คำภาวนาและลมหายใจอาจจะหายไป เราก็นึกว่าสติเราหลุด แต่จริงๆ เรากำลังเข้าฌาณอยู่ครับ พอเรากลับไปภาวนาพร้อมกับลมหายใจใหม่ ทำให้สมาธิไม่ก้าวหน้า
     
  7. นุภาวัฒน์

    นุภาวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    774
    ค่าพลัง:
    +270
    ขอบคุณครับ วันนี้วันพระ จะพยายามให้ก้าวหน้าขึ้น อนุโมทนาทุกกระทู้
     
  8. ศึกษาธรรม2551

    ศึกษาธรรม2551 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +234
    ทำกรรมฐานแล้วไม่มีสมาธิแม้จะรักษาศีล5 ใช่มั๊ยครับ

    ขอตอบ
    คุณต้องตัดความกังวลทั้ง10ด้วย ในที่นี้คือปลิโพธ10 ซึ่งได้แก่ ญาติ ตระกูล ที่อยู่อาศัย
    ยานพาหะ ทรัพย์สิน และอื่นๆ

    ในพระไตรปิฏกกล่าวว่า กุลบุตรใดจะเรียนกรรมฐานต้องตัดปลิโพธ10และรักษาศีลให้บริสุทธิ์ จึงจะสามารถเรียนได้ มิเช่นนั้นจะป็นเหตุให้จิตวิปลาสได้

    ลองไปดูที่เล่ม2ในพระวินัยดูนะครับ
     
  9. อ่อนหัดธรรม

    อ่อนหัดธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    488
    ค่าพลัง:
    +968
    ตามนี้ครับ นิวรณื ครับที่ทำให้ไม่สงบ
     
  10. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    มีสติกับลมหายใจมากๆๆจะผ่านชาน1อย่างเร็วคับไม่มีอาการแปลกปลอมสงบสบายคับ
    อยากมีสมาทิเร็วๆๆก้มีสติให้มาก คอยดูรู้ว่าหายใจเข้าออกอย่างสบายรู้ตัวตลอดมีสติไม่ต้องสนตัวอื่นนะคับไม่ใช่รู้ตัวก้รู้ไปหมดรู้ว่าขาปวดรู้ว่าคนพูดนั่นมันไม่ใช่สมาทิคับนั่นมันเอาจิตไปดุนู่นดูนี่ ไม่มีสติกับลมหายใจคับท่าจับแต่ลมรับรองผ่านฉลุยไม่ต้องรอเวลาไม่ต้องใช้เวลานานด้วย ชานไหนก้ไปถึง มีสติกับสิ่งที่เพ่งคับรับรองก้าวๆๆๆๆหน้าแน่
    สมาทิก้มีแค่ชาน4 อรูปชาน4เอง ทำหมดแล้วก้ยังหลงอยุ่ดี ได้แล้วก้วางลงนะคับ
    ได้แล้วก้ไปเสียเวลาติดอีกผมว่าไม่ได้ก้ไม่ต้องเสียใจ แต่ทำสมาทิพอมีสติ พอที่จามีสมาทิคิดเรื่องที่ต้องการได้แล้ว น้อมนำคับคิดพิจารนาว่าตัวเราทำอะไรอยุ่ มีความรู้สึกยังไงตอนนี้ รู้แล้วก้ดูว่ารู้สึกแบบนี้ตลอดไหมรึมันเปลี่ยนไปมา ท่ามันไม่เปลี่ยนแปลกนะคับถือว่าไปบังคับไปกดอารมไว้ที่อารมกลาง จะเลือกถืออารมในชานก้ได้คับแต่ผมว่าไม่ดี ยังไงเรามีแค่สมาทิขั้นต้นก้พอคับมีสมาทิแค่พอมีกำลังคิดเรื่องที่เราต้องการ สมาทิที่เรื่องอื่นไม่มายุ่งกับเรื่องที่ต้องการจะแก้พอมีสมาททิแล้วก้จะเห็นหนทาง เห็นแล้วก้จะรู้ไม่สงสัยไม่ลังเล
    เห็นแล้วก้จารู้ว่ามันก้เป็นแบบนี้แหละเปลี่ยนไปเรื่อยอย่าไปยึดมันไว้ เห็นแล้วก้จารู้ว่าทำยังไงดีที่สุด ผลที่ได้รับก้สุขใจคับ ท่ายังจับอยุ่ในอารมชานที่สูงเกินไปบางทีก้นิ่งเกินไม่เหมาะแก่การคิดพิจารนานะคับ สมาทิขั้นต้นอ่ะเหมาะที่สุดแล้ว ไม่นิ่งเกินไม่หยาบเกิน พอเห็นแล้วไม่สนใจแล้วเด่วได้เองสิ่งที่อยากได้อ่ะคับ
    ..............................................................................................
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ผมหากระทู้เดิมไม่เจอละ เป็น บทความที่ให้กำลังนักปฏิบัติดีเหมือนกัน ถ้าจะ
    หาอ่านเต็ม ก็อ่าน "เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน เล่ม 2 ตอนท้ายๆ" ( ไปขโมยอ่าน
    เอาก็พอ )

    ก็เป็นเรื่อง การปฏิบัติของคุณ ดังตฤณ นักเขียน

    ผมขออนุญาติกล่าวดัดแปลงเสียใหม่นะครับ ลืมหมดแล้ว สำนวนจริง

    ดังตฤณ : ผมปฏิบัติธรรมไม่เป็น ต้องการปฏิบัติธรรม ควรทำอย่างไรครับ

    พระ : คุณก็ไปนั่งดูลมหายใจ ทำอานาปานสติ รู้จักไหม

    ดังตฤณ : รู้จักครับ

    พระ : งั้นก็ไปทำ นั่นกุฏิว่าง ไปทำ 3 ชั่วโมง

    * * * * * *

    3 ชั่วโมงผ่านไป

    พระ : เป็นอย่างไร

    ดังตฤณ : ไม่เห็นมีอะไรเลยครับ ผมเห็นแต่ลมหายใจเข้าออก สลับไปสลับมาอยู่อย่างนั้น ไม่เห็นได้ความรู้อะไรเลย

    พระ : เธอนั่งไปตั้ง 3 ชั่วโมง เธอรู้ลมหายใจเข้า และออก วินาทีละครั้ง ทั้งหมด 60
    วินาที คูณด้วย60นาที และคูณอีก 3 ชั่วโมง เป็นจำนวนเท่าไหร่

    ดังตฤณ : เยอะครับ นับไม่ถ้วน

    พระ : เธอใช้เวลา 3 ชั่วโมง ในการตามรู้ ตามดูลมหายใจเข้าออก ของที่เธอไม่
    เคยไปสนใจดูมันเลย ได้นับจำนวนไม่ถ้วน เธอยังว่า ไม่รู้อะไรเลยอีกเหรอ

    ดังตฤณ : จริงด้วย ผมรู้ได้ตั้งเยอะ จากที่ไม่เคยสนใจมาก่อนเลย

    พระ : นอกจากลมหายใจ แล้วเธอเห็นอะไรอีก เอาหละ ไปนั่งดูต่ออีก 3 ชั่วโมง

    * * * * * *

    3 ชั่วโมงผ่านไป

    พระ : เป็นอย่างไร เห็นอะไรบ้าง

    ดังตฤณ : ก็มีอาการแน่นๆ หงุดหงิด อยากล้มเลิก ง่วงนอน กลัวถูกท่านดุ เห็นความ
    พยายาม เห็นความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติ จะเลิกเสียให้ได้ ผมแย่จริงๆ ไม่เห็นได้
    ปัญญารู้อะไรเลย

    พระ : นอกจากลมตั้งพันครั้ง เธอยังเห็นอารมณ์ของตนที่เนื่องกับการปฏิบัติ เธอ
    เคยเห็น เคยตามรู้อารมณ์เหล่านี้ที่ปรากฏในกาย ในใจตนมาก่อนหรือเปล่า

    ดังตฤน : จริงสิครับ เมื่อก่อนอารมณ์พวกนี้ก็ปรากฏในชีวิตประจำวัน ผมไม่เคย
    สนใจหยิบยกขึ้นมาดูเลยว่ามันมีอยู่ ผมเห็นก็มักจะหาอะไรมาทำแก้ไปเป็นครั้งคราว
    ไป แต่นี่ผมหาอะไรมาแก้อย่างเดิมไม่ได้ ได้แต่ต้องกลับมาดูลมหายใจให้ได้

    พระ : นั่นแหละ เธอเห็นอารมณ์ตั้งมากมาย บ้างก็เป็นนิวรณ์ บ้างก็เป็นกิเลส บ้าง
    ก็เป็นสมาธิจิต เธอเห็นสิ่งที่ไม่เคยสังเกตมาก่อนว่ามี เธอเห็นได้ตั้งเยอะ ยังถือว่า
    ไม่รู้อะไรเพิ่มอีกเหรอ

    . . .. .. .

    เดาต่อละกันครับ ว่าจะไปอย่างไร ให้เขียนมาก แหม...อาย มั่วมาตั้งเยอะ
    แต่ทำนองนี้แหละ อ่านแล้วได้กำลังใจดี
     
  12. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ก็ของมันไหล จะไปให้มันนิ่ง ^-^
     
  13. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    แนะนำให้ลองฟังพระธรรมเทศนา
    ดย หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
    วัดร่มโพธิธรรม บ้านหลัก 160 กิ่งอำเภอหนองหิน จังหวัดเลย

    บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง ที่ไม่ใช่ตัวเอง
    ไม่ใช่ตรงที่คอยติดหรือคอยหลุด
    จุดบอดของทุกคน
    ธรรมบรรลุ (ไม่ติดไม่ขัดไม่ข้องไม่คา)

    ที่มา http://www.rombodhidharma.com/Pg-04-Dharma.htm

    ขออนุโมทนา

    [​IMG]

    ณ.โอกาศนี้ ขอน้อมบารมีองค์คุณแห่ง

    พระพุทธะอรหันต์ พระมหาพุทธะอรหันต์
    พระอรหันต์ พระมหาอรหันต์
    พระโพธิสัตว์ พระมหาโพธิสัตว์
    ขอให้ทุกท่านมีส่วนในบารมีโดยทั่วกัน โส...
    ไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา
    ลุล่วงพ้นทุกข์ ตามพุทธะประสงค์ ตรงต่อพระนิพพาน นิพพานอยู่แล้ว
    ในชาติปัจจุบันกาลนี้ด้วยเทอญ


     
  14. อารมณ์สุนทรีย์

    อารมณ์สุนทรีย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    522
    ค่าพลัง:
    +1,740
    ขอขมา พระรัตนไตร
     
  15. งูขาว

    งูขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2008
    โพสต์:
    945
    ค่าพลัง:
    +1,824
    อนุโมทนา

    แสดงธรรมโดยหลวงพ่อปราโมทย์ ศิษย์สายพระป่า หลวงปู่ดูลย์ หลวงพ่อพุธ
    หลวงตามหาบัว หลวงปู่เทสก์ ฯ
    ข้าจ้าวขออนุโมทนาและขอร่วมเผยแพร่พระธรรมนี้ด้วยนะจะ
    สุดยอด ไร้ที่ติ ของจริงต้องแบบนี้

    คิดเท่าไหร่ ก็ไม่รู้
    หยุดคิด แล้วจึงรู้
     
  16. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    อนุโมทนาครับ ก๊อปมาให้ครับ

    ธรรมจาริกในศรีลังกา บทที่3
    โดย นีน่า วัน กอร์คอม <SMALL>
    </SMALL>แปลโดย พ.อ. ดร. ชินวุธ สุนทรสีมะ

    บทที่ ๓
    ทานและศีล สามารถกระทำได้โดยปราศจากปัญญาหรือโดยปัญญา เมื่อเป็นการกระทำด้วยปัญญาก็เป็นกุศลขั้นสูงขึ้น ภาวนาหรือการอบรมจิตใจก็เป็นกุศลอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถที่จะเจริญขึ้นได้โดยปราศจากปัญญา
    ภาวนามีสองชนิด คือ สมถภาวนาหรือการอบรมจิตให้สงบ และวิปัสสนาภาวนา หรือการอบรมเจริญปัญญา ภาวนาทั้งสองนี้ต้องอาศัยปัญญา แต่ปัญญาในสมถภาวนานั้นต่างจากปัญญาในวิปัสสนาภาวนา ภาวนาทั้งสองชนิดนี้มีความมุ่งหมายและข้อปฏิบัติต่างกัน สมถภาวนามุ่งหมายให้จิตสงบ สมถภาวนาระงับกิเลสได้เพียงชั่วคราว แต่ดับกิเลสไม่ได้
    สมถภาวนาเป็นการเจริญกุศลทางหนึ่ง ผู้ที่เห็นโทษของอกุศลย่อมต้องการอบรมปัจจัยของกุศลให้มากขึ้น โอกาสที่จะให้ทานหรือรักษาศีลนั้นไม่ได้เกิดอยู่เสมอ แต่ถ้าได้เข้าใจการเจริญสมถะ ก็ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้จิตสงบแม้ในชีวิตประจำวัน
    ความสงบคืออะไร เป็นความเพลิดเพลินกับธรรมชาติ ฟังเสียงนกร้อง อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เงียบสงบกระนั้นหรือ สิ่งที่เราเรียกกันในภาษาธรรมดา ๆ ว่า “ความสงบ” นั้นไม่ใช่ความสงบที่เกิดจากสมถภาวนา ความสงบที่เกิดจาก
    สมถภาวนานั้นจะต้องเป็นกุศล เพราะว่าสมถะเป็นการอบรมจิตใจทางหนึ่ง แต่ในขณะใดที่มีความยึดมั่นถือมั่นขณะนั้นย่อมไม่สงบ บางคนอาจชอบเงียบ ๆ และถ้าไม่อบรมเจริญปัญญาก็มักจะไปทึกทักเอาควางสงบที่ไม่เป็นกุศลนั้นว่า เป็นความสงบที่เป็นกุศล บางคนอาจคิดไปว่าในขณะที่ไม่มีทั้งโสมนัสและโทมนัส มีแต่ความรู้สึกเฉย ๆ นั้นคงจะต้องมีความสงบด้วย ความรู้สึกเฉย ๆ นั้นอาจเกิดขึ้นกับกุศลจิตก็ได้ แต่ก็อาจเกิดกับอกุศลจิตได้เหมือนกัน ความรู้สึกเฉย ๆ อาจเกิดขึ้นกับโลภมูลจิต (จิตที่มีความโลภเป็นรากฐาน) และเกิดกับโมหมูลจิต (จิตที่มีความหลงเป็นมูลฐาน) ได้เสมอ ด้วยเหตุที่เป็นการยากที่จะรู้อย่างชัดแจ้งว่า ขณะใดจิตเป็นกุศล และขณะใดเป็นอกุศล การจำแนกจิตของคนเราอย่างละเอียดจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นในการเจริญสมถภาวนา ฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่าปัญญาเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
    กุศลจิตทุกดวงสงบ (ความสงบที่เกิดกับโสภณจิต (จิตที่ดีงาม) ได้แก่เจตสิกสองอย่าง คือ กายปัสสัทธิ (กายในที่นี้คือนามกาย) เป็นเจตสิกที่ทำความสงบแก่เจตสิก ๑ และจิตตปัสสัทธ เป็นเจตสิกที่ทำความสงบแก่จิต ๑) ในขณะที่เรามีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่หรือขณะที่รักษาศีล เราก็เป็นอิสระจาก
    โลภะ โทสะ และโมหะ และนั่นก็คือความสงบ ในขณะที่มีปัญญารู้ลักษณะของความสงบ ก็จะสามารถเจริญความสงบได้ยิ่งขึ้น และนั่นก็คือสมถะ
    หากผู้ใดมีปัญญารู้ลักษณะของความสงบและรู้อารมณ์ของความสงบ ย่อมเป็นปัจจัยให้จิตสงบยิ่งขึ้นได้ เราจะเห็นว่าความเข้าใจซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเจริญสมถะนั้น ไม่ใช่ความเข้าใจแต่เพียงในทางทฤษฎีเท่านั้น ผู้เจริญสมถะจะต้องเรียนรู้ลักษณะของความสงบจากการปฏิบัติ และจะต้องรู้อย่างแน่นอนด้วยว่าขณะใดจิตเป็นกุศลและขณะใดเป็นอกุศล
    ในระหว่างการประชุม เราได้นำมาอภิปรายกันหลายครั้งหลายหนถึงคำว่า สมาธิ กล่าวโดยทั่วไปแล้วคนเรามักจะคิดว่า การนั่งในที่สงัดและพากเพียรอย่างเต็มที่ที่จะให้จิตตั้งมั่น เป็นการทำสมถะ เขาอาจจะพยายามอย่างมากที่จะให้จิตตั้งมั่น แต่จิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นจิตชนิดใดเล่า จิตตั้งมั่นด้วยความโกรธที่จิตเป็นสมาธิได้ยากนั้นหรือ จิตตั้งมั่นด้วยโลภะและโมหะอย่างนั้นหรือ นอกจากนั้นยังเป็นการไม่ถูกต้องด้วยเมื่อคิดว่าเป็น “สมาธิของเรา”
    เราไม่ควรลืมว่าสมาธิหรือสภาพตั้งมั่น (เอกัคคตาเจตสิก) นั้นเกิดกับจิตทุกดวง เอกัคคตาเจตสิกทำกิจตั้งมั่นในอารมณ์เดียว ขณะเห็นมีการตั้งมั่นที่สิ่งที่ปรากฎทางตา ขณะที่ขัดเคืองใจก็มีการตั้งมั่นในสิ่งที่ขัดเคืองใจนั้น เมื่อกระทำทานก็มีการตั้งมั่นในเรื่องทานนั้น เมื่อรักษาศีลก็มีการตั้งมั่นในเรื่องศีล เมื่อเจริญสมถะก็มีการตั้งมั่นในอารมณ์ของสมถะ โดยไม่จำเป็นต้องคิดถึงสมาธิเลย ถ้าหากมุ่งจดจ้องให้เกิดสมาธิแล้ว ก็ย่อมจะมีอภิชฌาและโทมนัสเกิดขึ้น
    เมื่อมีความเข้าใจถูกในจุดประสงค์ของสมถภาวนา และมีปัจจัยให้เกิดความสงบยิ่งขึ้นแล้ว สมาธิก็จะเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องพยายามจดจ้องเลย ถ้าผู้ใดสามารถเจริญความสงบขั้นสมถะได้ ก็ย่อมเป็นเพราะเหตุปัจจัยที่ได้เคยเจริญสมถะมาแล้วในอดีต
    ความสงบมีหลายขั้น ในสมัยพุทธกาลมีคนมากมายที่มีเหตุปัจจัยให้บรรลุถึงฌาน (อัปปนาสมาธิ) ในขณะที่ฌานจิตเกิดนั้นจะไม่มีการรู้กามอารมณ์ และโลภะ โทสะ และโมหะก็จะระงับไปชั่วขณะ
    เราจะเจริญสมถะในชีวิตประจำวันได้หรือไม่ ในเมื่อไม่ได้ปลีกตนออกไปอยู่ในที่วิเวกและไม่มีปัจจัยให้บรรลุฌาน ก็ยังมีความสงบได้บ้างในชีวิตประจำวัน วิสุทธิมรรค (บทที่ ๔-๑๒) ได้กล่าวถึงสมถกรรมฐาน ๔๐ ที่เป็นอารมณ์ของความสงบ
    การพิจารณาซากศพ สำหรับบางคนอาจเป็นเหตุให้เกิดความไม่สบายใจ แต่ถ้าหากพิจารณาอย่างถูกต้องก็ย่อมจะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกุศลจิตที่สงบได้ บางคนอาจตระหนักความจริงว่าร่างกายของคนเราก็ไม่ต่างอะไรกับซากศพ ที่ประกอบไปด้วยรูปซึ่งไม่รู้อะไรเลยและไม่ใช่ตัวตน รูปเกิดขึ้น แล้วก็ดับไปไม่คงทนถาวร ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ปัญญาต่างหากที่เป็นปัจจัยให้เกิดความสงบ หาใช่การจดจ้องไม่
    อานาปานสติ การระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นอีกกรรมฐานหนึ่งในสมถกรรมฐาน ๔๐ วิสุทธิมรรคได้อธิบายไว้ว่า เป็นกรรมฐานที่ยากยิ่ง เป็นกรรมฐานที่ยากที่สุดกรรมฐานหนึ่งทีเดียว จะต้องมีความเข้าใจถูกเรื่องลมหายใจเข้าออก
    หาไม่แล้วจิตจะสงบไม่ได้ สภาพธรรมที่เราเรียกว่าลมหายใจนั้นเป็น “รูป” ซึ่งมีจิตเป็นสมุฎฐาน รูปที่ร่างกายมีกรรมบ้าง มีจิตบ้าง มีอุตุบ้าง หรือมีอาหารบ้างเป็นสมุฎฐาน
    เรายึดมั่นในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สมบัติ แต่ถึงอย่างไรชีวิตของเราก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเล็ก ๆ ที่เป็นลมหายใจนี้เท่านั้น
    ตราบใดที่เรายังหายใจเข้า หายใจออก เราก็ยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อเราผ่อนลมหายใจครั้งสุดท้ายแล้วก็เป็นอันจบสิ้นชีวิตลง เมื่อนั้นสมบัติพัสถานทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เราเล่า สิ่งต่าง ๆ ที่เรายึดมั่นจะมีประโยชน์อันใดเล่า ขณะที่สติระลึกรู้ลมหายใจด้วยปัญญานั้นจิตก็จะสงบ ท่านที่มีเหตุปัจจัยที่จะบรรลุฌานก็จะเจริญความสงบจนถึงขั้นฌานได้ แต่ถ้าเจริญอานาปานสติไม่ถูกทางแล้ว ก็ไม่ใช่สมถภาวนาเลย ถ้าหากไม่รู้จริงว่าขณะใดจิตเป็นอกุศล และกุศลแล้ว เราก็จะทึกทักสิ่งที่ไม่ใช่สมถภาวนาว่าเป็นสมถภาวนา เราชอบลมหายใจของเรา และอยากจดจ้องลมหายใจ เพราะว่าทำให้เรารู้สึกสุขใจกระนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ความสงบ แต่เป็นการยึดมั่นถือมั่น
    ลมหายใจเป็นสภาพละเอียดอ่อน และไม่ใช่ว่าทุกคนจะระลึกรู้ได้ ยากที่จะรู้ว่าเมื่อใดสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นลมหายใจ
    และเมื่อใดไม่ใช่ลมหายใจ แต่เป็นสิ่งที่เราเรียกว่า อ๊อกซิเจน เราจะรู้ลมหายใจได้ตรงที่ลมหายใจไปกระทบปลายจมูก หรือริมฝีปากบน ส่วนเวลาที่เราตามดูการเคลื่อนไหวขึ้นลงของท้องนั้นไม่ใช่สติที่ระลึกรู้ลมหายใจ หากเราไม่มีปัจจัยที่จิตจะสงบด้วยกรรมฐานนี้ก็ไม่ควรจะฝืนทำ เพราะว่าการเจริญสมถะนั้นเราควรเลือกกรรมฐานที่เป็นสัปปายะ คือกรรมฐานที่ทำให้เกิดกุศลจิตที่สงบ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับกรรมฐานที่เหมาะกับแต่ละบุคคล ด้วยเหตุนี้จึงมีสมถกรรมฐานถึง ๔๐ กรรมฐาน
    พุทธานุสติ ธรรมานุสติ และสังฆานุสติก็เป็นสมถกรรมฐานด้วยเช่นกัน เราสักการะพระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ เพราะได้รับการอบรมมาเช่นนั้น โดยไม่เข้าใจพระคุณของพระผู้มีพระภาคและพระธรรม จิตอาจจะเป็นกุศลแต่ก็ไม่ใช่ขั้นภาวนา ความเข้าใจถูกในอารมณ์กรรมฐานเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งสำหรับการภาวนา ถ้าเข้าใจพระคุณของพระพุทธองค์และพระสัทธรรมของพระองค์แล้ว ก็อาจจะเป็นปัจจัยให้จิตสงบและใสสะอาดปราศจากโลภะ โทสะ และโมหะได้หลายขณะจิต ซึ่งเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันโดยไม่จำเป็นต้องไปยังที่วิเวก ข้อสำคัญคือความเข้าใจถูก และถ้าไม่มีความเข้าใจถูกแล้วสถานที่วิเวกก็จะไม่เป็นสัปปายะเลย ถ้าใครนั่งหน้าพระพุทธรูปและภาวนาคำว่า “พุทโธ พุทโธ โดยปราศจากปัญญา กุศลจิตอาจเกิดขึ้นได้ แต่ก็ไม่ใช่กุศลขั้นภาวนา
    พรหมวิหาร อันประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา (ความพลอยยินดี) และอุเบกขา (ความวางเฉย) เป็นสมถกรรมฐาน แต่กรรมฐานเหล่านี้ก็เจริญไม่ได้ ถ้าไม่มีปัญญาที่รู้ลักษณะของคุณธรรมเหล่านี้ บางคนอาจท่องกรณีย
    เมตตสูตรในตอนเช้า แต่ถ้าเขาไม่ได้เจริญเมตตาในขณะที่อยู่กับคนอื่น ๆ แล้ว เขาจะรู้ลักษณะของเมตตาได้หรือ ถ้าผู้ใดไม่รู้ลักษณะของเมตตา เขาจะเจริญเมตตาเป็นอารมณ์ของสมถะได้อย่างไร
    เมื่ออยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ก็ควรเจริญเมตตา และควรจะศึกษาให้รู้ว่าขณะใดมีโลภะซึ่งเป็นอกุศล และขณะใดมีเมตตาซึ่งเป็นกุศล จะต้องรู้ความต่างกันของโลภะ กับ เมตตาอย่างชัดเจน
    เราอาจข้องใจว่าจะเป็นไปได้หรือที่เราจะเจริญเมตตาต่อ
    ญาติ ๆ ของเรา เพราะว่าจะไม่มีความผูกพันด้วยได้หรือ เราเจริญเมตตาต่อญาติได้ในเมื่อเราไม่ถือว่าเขาเป็นเครือญาติของเรา แต่ถือว่าเป็นเพื่อนมนุษย์ซึ่งเราใคร่ที่จะเมตตาและมีน้ำใจต่อเขา
    สำหรับความกรุณานั้น เราแน่ใจไหมว่าขณะใดมีความกรุณาจริง ๆ เราอาจหลงเข้าใจว่าความไม่สบายใจเป็นความกรุณาไปก็ได้ เช่น ขณะที่เห็นคนเตะสุนัขก็ไม่พอใจ
    ขณะที่เป็นความกรุณาจริง ๆ นั้นจะมีความขัดเคืองใจในขณะเดียวกันไม่ได้ กุศลจิตที่มีความกรุณานั้นปราศจาก
    โลภะและโทสะ ขณะที่เป็นเมตตาจริง ๆ กรุณาจริง ๆ หรือพรหมวิหารอื่น ความสงบด้วยพรหมวิหารเหล่านี้ก็จะเจริญยิ่งขึ้นได้ นั่นคือ ภาวนา ถ้าหากเราเข้าใจสมถภาวนาอย่างถูกต้อง ก็ย่อมจะเป็นทางเจริญกุศลที่ปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน ฉะนั้นการศึกษาสมถกรรมฐาน ซึ่งอธิบายไว้ใน “วิสุทธิมรรค” จึงมีประโยชน์ควรแก่การศึกษา เราอาจจะคิดไปว่าจะปฏิบัติได้ก็ต่อเมื่ออยู่อย่างวิเวก ในพระไตรปิฎกกล่าวว่าพระภิกษุเป็นจำนวนมากในสมัยพุทธกาลอยู่ในป่า ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องไปอยู่ป่าหรือในที่วิเวก
    ที่พระภิกษุเหล่านี้นอยู่ตามป่าก็เพราะเป็นอุปนิสัยของท่าน เป็นความพึงพอใจของท่านอย่างนั้น ท่านได้เจริญสมถะจนถึงขั้นฌานได้ ก็เพราะท่านมีเหตุปัจจัยที่จะบรรลุความสงบขั้นสูงอย่างนั้น แต่ถึงแม้ว่าผู้ใดจะไม่ได้อยู่ป่าเป็นปกติ ก็ยังอาจมีเหตุปัจจัยให้เกิดความสงบได้หลาย ๆ ขณะ ในชีวิตประจำวันทุกวันนี้คนที่จะบรรลุฌานมีไม่มาก และไม่มีใครรู้ว่าได้มีคนบรรลุได้หรือเปล่า แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะไม่บรรลุฌาน การที่จิตสงบก็มีคุณค่ากว่าอกุศลจิตทั้งหลาย
    สมถะเป็นกุศลขั้นสูง
    สมถกรรมฐานอีกอย่างหนึ่งก็คือ “กายคตาสติ” ได้แก่ “ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง…” ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ปรากฎแก่เราในวันหนึ่ง ๆ หรอกหรือ แทนที่จะมีโลภะ หรือโทสะ เราก็จะสงบได้ชั่วขณะถ้าหากเข้าใจกายคตาสติถูกต้อง เรายึดมั่นร่างกาย และคิดว่าสวยงาม แต่ถ้าเราพิจารณาร่างกายเป็นส่วน ๆ ไป เราก็อาจจะเห็นได้ว่าไม่มีความงามอะไรเลย เป็นแต่เพียงธาตุต่าง ๆ เท่านั้น เวลาเราสระผมหรือตัดเล็บก็อาจสงบได้ชั่วขณะ เมื่อพิจารณา “ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย” เราสามารถเจริญกายคตาสติได้ในชีวิตประจำวัน
    สมัยก่อนการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สมถภาวนาเป็นกุศลขั้นสูงที่สุด ตามที่ได้ทราบแล้วว่าปัญญาเป็นสิ่งที่สำคัญในการเจริญสมถะ ปัญญาขั้นสมถะ รู้ความต่างกันของกุศลจิตและอกุศลจิตอย่างชัดเจน และรู้เหตุปัจจัยที่จิตจะสงบได้ สมถะเป็นหนทางอันหนึ่งที่จะทำให้ปราศจาก
    โลภะ โทสะ และโมหะได้ชั่วขณะ แต่อย่างไรก็ตามปัญญาขั้นสมถะนั้นไม่รู้สภาพที่แท้จริงของธรรมว่าเป็นอนิจจัง
    ทุกขัง และอนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน) และดับกิเลศไม่ได้
    ฉะนั้นปัญญาขั้นสมถะจึงต่างกับปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนา ปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาเท่านั้นที่จะสามารถดับความเห็นผิดในเรื่องตัวตน และกิเลสต่าง ๆ ได้เป็นสมุจเฉท

    http://members.tripod.com/buddhiststudy/ch3srilanka.htm

    http://members.tripod.com/buddhiststudy/srilanka.htm

    http://members.tripod.com/buddhiststudy/onlinedhammabook.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2009
  17. krit59

    krit59 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +346
    ก้อถูกแล้วนี่ รู้แล้ว
     
  18. นุภาวัฒน์

    นุภาวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    774
    ค่าพลัง:
    +270
    ชอบจัง ขอบคุณนะครับคุณนิวรณ์ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง ผมเข้าใจแล้ว เมื่อคืนวันพระ ผมปฏิบัติสมาธิได้โล่งจริงๆ เข้าใจมากขึ้น เพราะได้ความรู้จากการตั้งกระทู้ของเจ้าของกระทู้ที่มีส่วนคล้ายกัน และได้ความรู้จากท่านทั้งหลาย ทำให้เข้าใจปฏิบัติมากขึ้น ขออนุโมทนากับทุกท่านอย่างหาที่สุดมิได้
     
  19. kikinlala

    kikinlala เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    4,939
    ค่าพลัง:
    +8,843
    ลองเข้าไปศึกษาการนั่งสมาธิที่ dmc.tv มีสอนสมาธิค่ะ ลองดูว่าจะดีขึ้นไหม
     
  20. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ท่านนิวรณ์กล่าวไว้ดีแล้ว แต่กว่าที่จะตั้งมั่น ดูรู้อยู่ที่ฐานสติจริง ๆ นี้ได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย ถ้าอ่านประวัติของหลวงพ่อดี ๆ จะเห็นว่า ท่านแน่นปึ้กเรื่องสมถะมาก่อน เต็มที่มาตั้งแต่เต็กแล้ว ท่านสั่งสมของท่านมาเยอะ ตรงนี้จึงเป็นเรื่องไม่ยากหากมีคนชี้แนะดี ๆ จนเข้าใจนะ แต่ท่านที่อินทรีย์บารมียังไม่แก่กล้า ส่วนมากจะเผลอตามอกุศลกิเลสไปได้ง่าย ก็จิตมันไม่มีกำลังพอแม้แต่จะตั้งมั่นดูเฉย ๆ เลย พอมันไหลไปก็ปลอบอก ปลอบใจตัวเองด้วยคำหวาน ๆ ว่า จิตมันบังคับไม่ได้ ปลอบที่ผลที่ปลายเหตุที่มันเกิดมันตามไม่ทันไปแล้วอยู่นั่นเอง เลยไม่ต้องเข้มแข็งเสียที แทนที่จะพยายามสร้างความเข้มแข็งให้กับจิตใจเสียก่อน เอาชนะใจตนเองตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นต้นไปก่อน หวังจุดใหญ่หวังปลายเลยมันก็ยาก เราต้องดูทางเดิน ปฏิปทาของพระอริยเจ้าก่อน ว่าท่านดำเนินมาถึงจุดนี้ท่านมาได้อย่างไร เราต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ ไม่ให้ความอยากความใจร้อนด่วนได้มาทำลายโอกาสที่จะได้สร้างความเข้มแข็งให้กับจิตใจไป ดูที่เหตุ ทำเหตุให้มั่นคง คงมั่น สม่ำเสมอเสียก่อน แล้วผลจะตามมาเองเมื่อเหตุปัจจัยถึงพร้อม คว้าผลมาปฏิบัติเลยมันก็ได้แบบลอย ๆ เพราะขาดปัญญาจริง ๆ เป็นเครื่องสนับสนุน ส่วนท่านที่มีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว ก็เห็นสมควรดังท่านว่านั้น แต่ละคนสร้างมาไม่เท่ากัน


    ก็ขออนุโมทนาในความตั้งใจดีนี้ ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่านครับ..สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2009

แชร์หน้านี้

Loading...