ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=20 width="85%" border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
    [​IMG]

    พระราชปุจฉาธรรม
    ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จขึ้นครองราชย์ในปีพุทธศักราช 2489 ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

    จากวันนั้นจนถึงวันนี้ กว่า 60 ปีแล้ว ที่ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรมอย่างมิเสื่อมคลาย ภาพเมื่อคราเสด็จออกผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2499 นั้น ยังตราตรึงอยู่ในความทรงจำของพสกนิกรทั่วประเทศ อันแสดงให้เห็นว่าทรงมีพระราชศรัทธาตั้งมั่นในบวรพระพุทธศาสนา ที่สำคัญคือยังทรงใฝ่พระทัยในการศึกษาธรรมจนแตกฉาน ทั้งจากตำรับตำรา และจากการสนทนาธรรมกับพระเถรานุเถระอยู่เนืองๆ

    ‘ธรรมลีลา’ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำส่วนหนึ่งของพระราชปุจฉาธรรม ที่ทรงมีกับพระเถระฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือและรู้จักกันดีในหมู่พุทธศาสนิกชน อันได้แก่ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่ดูลย์ อตุโล, หลวงพ่อเกษม เขมโก, หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย และหลวงพ่อพุธ ฐานิโย มาเสนอ ณ ที่นี้ ด้วยเห็นว่าจักเป็นประโยชน์สูงสุดแก่พุทธศาสนิกชนชาวไทย ในการน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]

    พระราชปุจฉา กับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

    ณ วัดป่าอุดมสมพร
    ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร



    พระราชปุจฉา : ทำอย่างไรประเทศชาติประชาชน จะอยู่ดีกินดี มีความสามัคคีปรองดองกัน

    หลวงปู่ฝั้น : ให้เข้าหาพระศาสนา เพราะศาสนาสอนให้ละชั่ว กระทำความดี ทำใจให้ผ่องใส

    พระราชปุจฉา : คนส่วนมากทำดี คนส่วนน้อยทำชั่ว จะทำให้คนส่วนมากเดือดร้อนไหม ทำอย่างไรจึงจะแก้ไขได้

    หลวงปู่ฝั้น : ขอถวายพระพร ทุกวันนี้คนไม่รู้ศาสนาจึงเบียดเบียนกัน ถ้าคนเรานึกถึงตนแล้วก็ไม่เบียดเบียนกัน เพราะต้องการความสุขความเจริญ คนอื่นก็เช่นกัน คนทุกวันนี้เข้าใจว่าศาสนาอยู่กับวัด อยู่ในตู้ ในหีบ ในใบลาน อยู่กับพระพุทธเจ้าประเทศอินเดียโน่น จึงไม่สนใจ บ้านเมืองจึงเดือดร้อนวุ่นวาย มองหน้ากันไม่ได้ ถ้าคนเราถือกันเป็นบิดามารดา เป็นพี่เป็นน้องกันแล้วก็สบาย ไปมาหาสู่กันได้ เพราะใจเราไม่มีเวร เวรก็ไม่มีใจ เราไม่มีกรรม กรรมก็ไม่มี ฉะนั้น ให้มีพรหมวิหารธรรม อย่างมหาบพิตรเสด็จมานี้ ทุกอย่างเรียบร้อยหมด

    (จากหนังสืออนุสรณ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร)
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]

    พระราชปุจฉา กับ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    ณ วัดบูรพาราม
    ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์



    พระราชปุจฉา : หลวงปู่ การละกิเลสนั้น ควรละกิเลสอะไรก่อน

    หลวงปู่ดูลย์ : กิเลสทั้งหมดเกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองดูที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน

    พระราชปุจฉา : ขออาราธนาหลวงปู่ให้ดำรงขันธ์อยู่เกินร้อยปี เพื่อเป็นที่เคารพนับถือของปวงชน หลวงปู่รับได้ไหม

    หลวงปู่ดูลย์ : อาตมภาพรับไม่ได้หรอก แล้วแต่สังขารเขาจะเป็นไปของเขาเอง

    (จากหนังสือหลวงปู่ฝากไว้)
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]

    พระราชปุจฉา กับ หลวงพ่อเกษม เขมโก

    ณ วัดคะตึกเชียงมั่น
    ต.หัวเวียง อ.เมือง จ.ลำปาง



    พระราชปุจฉา : หลวงพ่อประจำอยู่ที่วัดนี้หรือ

    หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร อาตมาประจำอยู่ที่สุสานไตรลักษณ์

    พระราชปุจฉา : อยากไปหาหลวงพ่อเหมือนกัน แต่หาเวลาไม่ค่อยได้ ได้ทราบว่าเข้าพบหลวงพ่อยาก

    หลวงพ่อเกษม : พระราชาเสด็จไปป่าช้าเป็นการไม่สะดวก เพราะสถานที่ไม่เรียบร้อย อาตมาภาพจึงมารอเสด็จที่นี่ ขอถวายพระพร มหาบพิตรสบายดีหรือ

    พระราชปุจฉา : สบายดี

    หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร มหาบพิตรพระชนมายุเท่าไร

    พระราชปุจฉา : ได้ ๕๐ ปี

    หลวงพ่อเกษม : อาตมาภาพได้ ๖๗ ปี

    พระราชปุจฉา : หลวงพ่ออยู่ตามป่ามีความสงบ ย่อมจะมีโอกาสปฏิบัติธรรมได้มากกว่าพระที่วัดในเมือง ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวกับการปกครองและงานอื่นๆ จะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า

    หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ เพราะอยู่ป่าไม่มีภารกิจอย่างอื่น แต่ก็ขึ้นอยู่กับศีลบริสุทธิ์ด้วย เพราะเมื่อศีลบริสุทธิ์จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน นิวรณ์ไม่ครอบงำก็ปฏิบัติได้

    พระราชปุจฉา : การปฏิบัติอย่างพระมีเวลามากย่อมจะได้ผลเร็ว ส่วนผู้ที่มีเวลาน้อยมีภารกิจมาก จะปฏิบัติอย่างหลวงพ่อก็ไม่อาจทำได้ แล้วจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร เราจะหั่นแลกช่วงเวลาช่วงเช้าให้สั้นเข้าจะได้ไหม คือ ซอยเวลาออกจากหนึ่งชั่วโมงเป็นครึ่งชั่วโมง จากครึ่งชั่วโมงเป็นสิบนาที หรือห้านาที แต่ให้ได้ผล คือ ได้รับความสุขเท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น นั่งรถยนต์จากเชียงใหม่มาลำปางก็สามารถปฏิบัติได้ หรือระหว่างที่มาอยู่ในพิธีนี้มีช่วงที่ว่างอยู่ ก็ปฏิบัติเป็นระยะไป อย่างนี้จะถูกหรือเปล่าก็ไม่ทราบ อยากจะเรียนถาม

    หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร จะปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้ ถ้าแบ่งเวลาได้

    พระราชปุจฉา : ไม่ถึงแบ่งเวลาต่างหากออกมาทีเดียว ก็อาศัยเวลาขณะที่ออกมาทำงานอย่างอื่นอยู่นั้นแหละ ได้หรือไม่ คือ ใช้สติอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ ทำงานด้วยความรอบคอบให้สติตั้งอยู่ตลอดเวลา

    หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร มหาบพิตรทรงปฏิบัติอย่างนั้นถูกแล้ว การที่มหาบพิตรเสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติงานอย่างนี้ ก็เรียกว่าได้ทรงเจริญเมตตาในพรหมวิหารอยู่

    พระราชปุจฉา : ก็คิดว่าเป็นอย่างนั้น เช่นว่ามาตัดลูกนิมิตนี้ ก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรม ด้วยขี้เกียจมาจึงมีกำลังใจมา และเมื่อได้โอกาสได้เรียนถามพระสงฆ์ว่า การปฏิบัติธรรมเป็นระยะเวลาสั้นๆ เป็นตอนๆ อย่างนี้จะได้ผลไหม อุปมาเหมือนช่างทาสีผนังโบสถ์ เขาทาทางนี้ดีแล้วพัก ทาทางโน้นดีแล้วพัก ทำอยู่อย่างนี้ก็เสร็จได้ แต่ต้องใช้เวลาหน่อย จึงอยากเรียนถามว่าปฏิบัติอย่างนี้ จะมีผลสำเร็จไหม

    หลวงพ่อเกษม : ปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้โดยอาศัยหลัก ๓ อย่าง คือ มีศีลบริสุทธิ์ ทำบุญในชาติปางก่อนไว้มาก มีบาปน้อย ขอถวายพระพร

    (จากหนังสือหลวงพ่อเกษม เขมโก)
     
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]

    พระราชปุจฉา กับ หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย

    ณ วัดเขาสุกิม
    ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี



    พระราชปุจฉา : ผู้คนเขามาวัดทำไมกัน

    หลวงพ่อสมชาย : ผู้มาวัดด้วยเหตุต่างๆ กัน บางคนเป็นคนดีอยู่แล้ว มาวัดด้วยมุ่งทำความดีให้มากขึ้น ด้วยการถือศีลภาวนา บ้างอยากรู้ทางวัดเขาทำอะไรกัน จะมาช่วยวัดด้วยความตั้งใจจริง เพราะเห็นว่าเมื่ออยู่บ้านก็ไม่มีอะไรที่จะต้องทำ บางคนก็มาด้วยเหตุที่ว่าอยู่บ้านมีแต่ปัญหา ล้วนแล้วแต่น่าเบื่อ มาวัดหาความสงบดีกว่า มาวัดทำให้สบายใจ

    พระราชปุจฉา : ที่ว่าชาวบ้านเขาเบื่อหน่าย เขาเบื่ออะไรกัน

    หลวงพ่อสมชาย : การเบื่อหน่ายของชาวบ้านมีสองอย่าง บางคนเบื่อการงานที่จำเจ ก็หาเวลามาวัดเพื่อพักผ่อน บ้างเห็นว่าการเป็นอยู่ทางโลกนั้นถึงจะมั่งมี สามารถหาความสุขได้ทุกอย่างก็จริง ล้วนแต่เป็นความสุขชั่วคราว ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริงเหมือนความสุขทางธรรม บ้างว่าเกิดมาแล้วก็หนีความตายไม่พ้น ก่อนจะตายก็ควรทำอะไรๆ อันเป็นเหตุให้ตายดี มีความสุขก็มี

    พระราชปุจฉา : การสอนให้คนนึกถึงความตายนั้น หากสอนไม่ดีแล้ว ก็เป็นเหตุให้เกิดความเกียจคร้านในการหาเลี้ยงชีพ กลายเป็นคนจน เป็นภาระของสังคม ดังนั้นต้องระวังในเรื่องการสอน

    หลวงพ่อสมชาย : โดยปกติพระจะสอนให้เห็นโทษของความมัวเมา ก่อให้เกิดความเห็นผิดเป็นชอบ จึงต้องสอนให้เห็นในทางที่ถูกก่อน เช่น

    ก. อย่ามัวเมาในวัยว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่
    ข. อย่ามัวเมาในความไม่มีโรคมาเบียดเบียน
    ค. อย่ามัวเมาในชีวิตว่าเวลาของเรายังมีอยู่

    ด้วยเหตุนี้ จึงสอนให้ทุกคนนึกถึงความตาย ถ้าไม่สอนให้เขาเข้าใจในทางถูกก่อนแล้วกลับจะเป็นผลร้าย ดังพระราชปุจฉาโดยแท้ การเจริญมรณสตินั้น ชั้นต้นเพื่อให้รู้ว่าทุกคนหนีความตายไม่พ้น ไม่ว่าจะเป็นคนมีคนจน มีความตายเหมือนกันทั้งนั้น สำหรับผู้ทำการภาวนาเจริญกรรมฐาน เพื่อให้นิวรณ์สงบ ก็จำเป็นต้องพิจารณาเป็นอย่างๆ ไป ความตาย คือ นายเพชฌฆาต, ความตาย คือ ต้องพลัดพรากจากสมบัติทุกอย่าง ชีวิตเป็นของที่กำหนดเอง เอาว่าอายุเท่านั้นเท่านี้จะตายก็กำหนดไม่ได้ ทั้งนี้ เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่าชีวิตเป็นของน้อย จะตายเมื่อไรไม่มีใครรู้ได้ ขอถวายพระพร

    (จากเว็บไซต์วัดเขาสุกิม)
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]


    พระราชปุจฉา กับ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    ณ วัดป่าสาลวัน
    ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา


    พระราชปุจฉา : คำว่า ภาวนา และบริกรรม ต่างกันอย่างไรขอรับ คือเคยฟังพระเถระผู้ใหญ่บอกว่า การภาวนานี้ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน แม้ไม่อยู่ในสมาธิ แม้ทำอะไร ก็สามารถทำได้อยู่ได้ตลอดเวลาใช่ไหมขอรับ

    หลวงพ่อพุธ : ใช่แล้ว คำว่า ภาวนากับบริกรรม มีต่างกัน ภาวนา หมายถึง การอบรมคุณงามความดีให้เกิดขึ้น เป็นสมบัติของผู้อบรม เช่น อบรมใจให้มีความเลื่อมใสในการบำเพ็ญภาวนา ก็ได้ชื่อว่า ภาวนา แต่บริกรรมนั้น หมายถึง จิตของผู้ปฏิบัตินึกอยู่ในคำใดคำหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น พุทโธ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในคำเดียวเรียกว่า
     
  7. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285

    ศีล ที่แท้จริงได้แก่ วิรัติเจตนา หรือ ความคิดงดเว้นจากความชั่ว ซึ่งเป็นเรื่องของจิตใจ สมาธิ การทำใจให้สงบก็เป็นเรื่องของใจ และ ปัญญา การสร้างความรู้ทั่วไปให้เกิดขึ้นในใจ ก็เป็นเรื่องของจิตใจ ฉะนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงรวมอยู่ที่จิตใจ ถ้าเรารักษาใจตัวเดียวได้ ก็ชื่อว่า ปฏิบัติตามธรรมของพระพุทธเจ้าได้ทั้งหมด


    ในสมัยพุทธกาล มีภิกษุใหม่องค์หนึ่ง เกิดความท้อถอยในการปฏิบัติธรรม เพราะเหตุว่า ธรรมวินัยในพระพุทธศาสนามีมากข้อมากมาตราปฏิบัติไม่ไหว พระพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำให้รักษาจิตเป็นสำคัญ ซึ่งต่อมาไม่นานหลังจากที่พระภิกษุองค์นั้น ได้ถือปฏิบัติรักษาจิตอย่างเคร่งครัด ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ แสดงว่า หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ การรักษาจิต


    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->โรคจิตในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง กิเลส หรือ ตัวประกอบทางจิตต่างๆ ที่มาทำให้จิตเสียคุณภาพ และเสียสุขภาพ ทำใจให้เศร้าหมอง บางทีก็เรียกว่า อาสวะ แปลว่า สิ่งที่หมักหมมทับถมอยู่ในใจ บางครั้งก็เรียก อนุสัย แปลว่า สิ่งที่เกาะจับจิตใจ โรคจิตตัวที่ละเอียดที่สุด เรียกว่า อวิชชา คือ ความโง่ ความไม่รู้ความจริง ไม่รู้ในอริยสัจ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุหทัย นิโรธ และ มรรค <!--colorc--><!--/colorc-->


    คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา จำแนกโรคจิตไว้อย่างละเอียดถึง 1608 ชนิด เช่น ตัณหา ความอยาก อุปาทาน ความยึดถือ โลภะ ความโลภ โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง เป็นต้น การแบ่งประเภทของคนตามโรคจิต

    พระพุทธศาสนา จัดประเภทตามขนาดโรคจิตเป็นชั้นๆ คือ

    1. อันธพาลชน คือ คนที่มีปริมาณของโรคที่เข้มข้นมาก มีพฤติกรรมเป็นอันตรายต่อสังคม

    2. พาลชน คือ คนที่มีปริมาณของโรคเข้มข้นปานกลาง

    3. ปุถุชน คือ พวกที่มีทั้งคุณและโทษต่อสังคม

    4. กัลยาณชน คือ พวกที่มีคุณมากกว่าโทษ

    5. อริยชน ขั้นโสดาบัน คือ บุคคลที่ละโรคจิตได้เด็ดขาด ร้อยละ 25

    6. อริยชน ขั้นสกิทาคามี ละขาดได้ ร้อยละ 50

    7. อริยชน ขั้นอนาคามี ละขาดได้ ร้อยละ 75

    8. อริยชน ขั้นอรหันต์ ละขาดได้เต็มร้อย คือ ไม่มีโรคจิตเหลืออยู่อีกเลย

    การแยกโรคจิต ตามระดับความละเอียด

    1. ละเอียดที่สุด เรียกว่า อวิชชา ความไม่รู้ความจริง ความโง่ ความมืดมัวของจิตที่ไม่รู้ ใน อริยสัจ 4 คือ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ และ ไม่รู้วิธีปฏิบัติ เพื่อดับทุกข์ ส่วนความจริงที่ไม่รู้นั้นมีหลายประเภท คือ สมมติสัจจะ สภาวสัจจะ ปรมัตถสัจจะ และ อริยสัจจะ ทางพระพุทธศาสนา ต้องรู้อริยสัจจะ จึงจะกำจัดอวิชชาได้ และเป็นพระอริยเจ้า


    2. ละเอียดขนาดกลาง มี 2 ประเภท คือ ตัณหา และ อุปาทาน ประเภทแรก ตัณหา แปลว่า ความอยากได้ มี 2 อย่าง คือ ภวตัณหา คือ ได้มาแล้วอยากให้มีอยู่ กับวิภวตัณหา คือ มีแล้วเบื่อ อยากให้พ้น ประเภทที่สอง อุปาทาน แปลว่า ความยึดถือติดอยู่ในสมบัติสัจจะ สภาวสัจจะ และปรมัตถสัจจะ ติดอยู่ในเรา ในเขา และ ของเรา ของเขา


    3. หยาบขนาดกลาง ได้แก่ โรคจิต 3 ประการ ที่เรียกว่า อกุศลมูล คือเหตุแห่ง ความชั่ว มี โลภะ ความโลภอยากได้ โทสะ ความโกรธเคือง ขุ่นแค้น โมหะ ความหลงใหลมัวเมา


    4. หยาบที่สุด มี 3 ประเภท คือ อภิชฌา ความพยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ อภิชฌา คือ ความเพ่งเล็งอยากได้ จนจิตใจมืดมัว ไม่มีเหตุผลใดๆ เหลืออยู่ ความพยาบาท ความคิดมุ่งร้ายต่อผู้อื่น มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด เช่น เห็นถูกเป็นผิด เห็นดีเป็นชั่ว เห็นจริงเป็นเท็จ เป็นต้น เป็นพฤติกรรมทางจิต เมื่อใจถูกโรคจิตเหล่านี้บ่อนทำลายแล้ว จิตก็เสียสุขภาพ เศร้าหมอง เดือดร้อน วุ่นวาย กระสับกระส่าย เมื่อจิตเช่นนี้ แสดงพฤติกรรมออกมาทางวาจา คำพูดก็จะเป็นไปเพื่อทำลาย เช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดกระแทกแดกดัน เมื่อแสดงออกมาทางกายก็จะเป็นการฆ่า ทรมาน เบียดเบียน ลัก ปล้น จี้ โกง ประพฤติผิดกามประเวณี ดื่มยาดองของเมา


    เมื่อโรคจิตแสดงพฤติกรรมออกมาทางกาย วาจา ใจ ครบทั้ง 3 แล้ว ผู้ป่วยโรคจิตก็จะได้ผล 3 ประการ คือ ผลทางใจ จะได้รับความเดือดร้อน ความโศก ความทุกข์ระทมตรมใจ ความสะดุ้งหวาดกลัว เป็นต้น ผลทางกาย จะถูกทำลายตอบ จะถูกจับ จำขัง ถูกทรมาน หมดอิสรภาพ ผลทางสังคม จะถูกคนเกลียดชัง ถูกตำหนิติเตียน เสื่อมจากลาภ ยศ สรรเสริญ ถูกตัดญาติขาดมิตร เป็นต้น


    วิธีรักษา ควบคุม และ แก้ไข

    เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพจิตเป็นปกติ ทางพระพุทธศาสนาได้แสดงวิธีจัดการกับ โรคจิตไว้หลายวิธี ตามระยะต่างๆ ของโรค คือ

    1. วิธีระงับผลทุกข์ วิธีนี้ใช้เมื่อคนตกเป็นทาสของจิตจนกระทำความชั่ว และได้รับผล คือความทุกข์แล้ว เช่น นักโทษที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำ คนอกหัก ผู้ที่ประสบภัยต่างๆ ซึ่งในขั้นนี้ ต้องใช้วิธีระงับทุกข์ เสมือนกินยาแก้ปวดบรรเทาไว้ก่อน แล้วค่อยแก้สมุฎฐานที่แท้จริง


    วิธีระงับทุกข์ทางพุทธศาสนา เป็นการแนะนำชี้แจงให้ผู้ทุกข์เกิดปัญญารู้จริงเห็นแจ้งในหลักธรรมดา เช่น นักโทษที่กำลังทนทุกข์ในเรือนจำ เราก็แนะนำว่า เขาได้ทำกรรมชั่วมาแล้ว ขณะนี้กำลังใช้กรรมชั่ว ใช้ไปทุกวันไม่ช้าก็หมดกรรม กลับเป็นอิสระได้อีก ขณะที่กำลังใช้หนี้อาจจะเป็นทุกข์ แต่ก็ดีกว่าจะต้องเป็นหนี้ตลอดไป เขาก็จะยอมรับโทษด้วยใจชื่นบาน


    ส่วนคนอกหัก เราก็สอนให้เขาเข้าใจหลักอนิจจัง ว่า โลกนี้ไม่มีอะไรแท้เที่ยง ล้วนเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา อย่าไปหลงจริงจังในสิ่งต่างๆ แม้ความทุกข์ที่กำลังเผชิญอยู่นี้ก็เป็นอนิจจัง ไม่นานก็จะลดลงและหายไปในที่สุด จงมีขันติความอดทน เขาจะได้ไม่คิดสั้นเพราะมีความหวังว่าความทุกข์จะต้องคลี่คลายหมดไปในที่สุดนั่นเอง


    อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ถูกความทุกข์ครอบงำแล้ว ยากที่จะเกิดปัญญารู้จริงเห็นแจ้ง ฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงนิยมใช้วิธีกัน มากกว่าวิธีแก้

    2. วิธีป้องกัน ในการป้องกันโรคทางกาย เราจะเลือกอยู่ในที่ถูกสุขลักษณะ เลือกคบคนที่ไม่มีโรคติดต่อ เว้นอาหารทีมีโทษ กินเฉพาะที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเพิ่มภูมิต้านทานโรค เป็นต้น


    ส่วนการป้องกันโรคทางใจ พระพุทธเจ้าสอนให้เลือกอยู่ในปฏิรูปเทศ ที่ซึ่งมีเหตุปัจจัยส่งเสริมให้เจริญในธรรม เว้นจากการคบคนพาลให้คบบัณฑิต งดเว้นจากการประพฤติชั่วทุกทางด้วยการรักษาศีล จะได้ไม่ต้องหวาดสะดุ้ง ทำให้เสียสุขภาพจิต


    3. วิธีบำรุงส่งเสริมสุขภาพจิต อาหารบำรุงใจ คือ การทำความดี เช่น การให้ทาน การบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น เรียกว่า อัตถจริยา การพูดดีต่อผู้อื่น เรียกว่า ปิยวาจา การเจริญเมตตา แผ่ไมตรีจิตและความปรารถนาดีไปยังผู้อื่น


    เมื่อกระทำความดีทางกาย วาจา ใจ แล้ว ผลที่ได้รับ คือ ความอิ่มเอิบใจ สงบสุข ร่าเริง เบิกบานแจ่มใส มีเสน่ห์ ปลอดโปร่งใจเป็นอิสระ เป็นที่รักของคนทั่วไป ฉะนั้น การทำความดีจึงเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยตรง

    4. การบริหารจิต ในการออกกำลังกายต้องเคลื่อนไหว ตรงข้ามกับ การบริหารจิต ซึ่งต้องพยายามควบคุมให้อยู่นิ่ง เพราะตามธรรมดาจิตจะวิ่งวุ่นปรุงแต่ง การทำให้จิตนิ่ง ทางพุทธศาสนา เรียก สมถะ หรือ สมาธิภาวนา ซึ่งมีหลายวิธี เช่น เอาใจไปจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก เรียก อานาปานสติ

    หรือ การใช้คำบริกรรมให้จิตสงบ การพิจารณากายเคลื่อนไหว หรือพิจารณาความรู้สึกทางจิตและคุณภาพของใจ หรือการเอาจิตไปจดจ่อกับสภาพใดสภาพหนึ่งที่เรียกว่า กสิณ เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีมีผลทำให้ จิตนิ่งได้ เป็น ขณิกสมาธิหรืออาจพัฒนานิ่งนานขึ้น เป็น อุปจาระสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ ตามลำดับ ถ้าสามารถสงบจิตได้นานตามต้องการ และมีประสบการณ์ทางจิตต่างๆ เกิดขี้นเป็นระยะๆตามที่ท่านกล่าวไว้ เรียกว่า ฌาน


    มีคำถามว่า การข่มจิตให้สงบนิ่งนานๆ มีประโยชน์อันใด คำตอบ คือ ถ้าจิตเป็นสมาธิถึงขั้นอัปปนาสมาธิแล้ว สนิมใจบางอย่างจะหายไป คือ กามฉันทะความยินดีพอใจ พยาบาท ความแค้นเคืองใจ ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาซึมเซา อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ วิจิกิจฉา ความสงสัยลังเล


    เมื่อสนิมใจทั้ง 5 ประการ นี้ ดับไป ก็เหลือแต่ใจที่สะอาด บริสุทธิ์ สงบนิ่ง มีคุณธรรม มีปัญญารู้แจ้งแจ่มชัด เปรียบเหมือน้ำนิ่งใสเป็นกระจกสะท้อนเห็นเงาหน้าได้ หรือเปรียบเหมือนคนหยุดอยู่กับที่ ย่อมเห็นอะไรได้ชัดเจนกว่าคนที่กำลังวิ่ง หรือแสงแดดเมื่อกระจายอยู่ย่อมมีพลังอ่อน แต่ถ้าใช้กระจกรวมแสงให้อยู่จุดเดียว ย่อมมีแสงสว่างมาก มีความร้อนมาก จิตใจก็เช่นกัน เมื่อรวมนิ่งเป็นสมาธิ ย่อมทำงานได้ดีเป็นพิเศษ ซึ่งสามารถนำไปใช้งานในขั้นที่ 5 ต่อไป

    5. การใช้พลังจิตทำลายเชื้อโรคทางจิต คือ เมื่อจิตใจใสสะอาดบริสุทธิ์ มีพลังก็นำไปใช้ในการพิจารณาความจริงของชีวิต จนเห็นแจ้งชัดใน อนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกขัง ความทุกข์ อนัตตา ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง เห็นชัดใน อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อเห็นชัดด้วยปัญญาอันยอดเยี่ยม ก็จะเกิด อาสาวักขยญาณ ทำลายอาสวะ กิเลสละเอียด คือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ ต่อจากนั้น ใจก็จะบริสุทธิ์สมบูรณ์ มีสุขภาพจิตดี พ้นทุกข์ได้ นี้คือจุดมุ่งหมายสูงสุดในทางพุทธศาสนา


    พระพุทธศาสนากล่าวว่า คนทุกคนมีโรคจิต คือ กิเลสต่างๆ เจืออยู่ในจิต ทำให้มีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อตนเอง และสังคมมากน้อยต่างกันตามภูมิคุ้มภัย คือ อำนาจใจที่ตนมี คนที่มีกำลังใจเข้มแข็ง สามารถจำกัดขอบเขตของโรคกิเลสไว้ได้ ไม่แสดงกรรมชั่ว ทางกาย วาจา ใจ ก็จะทุกข์กับชีวิตน้อย


    ในสังคมด้อยพัฒนา คนเป็นโรคทางกายมาก แต่เป็นโรคทางจิตน้อย ส่วนผู้ที่อยู่ในสังคมพัฒนาทางวัตถุมาก จะประสบปัญหาทางจิตสูง ต้องการการเยียวยาแก้ใขพระพุทธศาสนาจึงเป็นหลักที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือปฏิบัติตามคำสอนอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะเห็นผลดีมีสุขในชีวิตด้วยตนเองได้ จงหันมาเป็นจิตแพทย์เยียวยารักษาโรคจิตในตนและคนข้างเคียงกันเถิด ด้วยการใช้ธรรมะเป็นโอสถของชีวิต


    http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/v...&topic=5991


    ท่านอาจารย์พุทธทาส เคยกล่าวไว้ว่า

    คนเป็นโรคทางจิตวิญญาณกับมากขึ้นนะครับ
    ร.พ ก็รักษาไม่ได้ต้องอาศัยธรรมมะของพระพุทธองค์เท่านั้น

    แล้วยารักษาก็มีดังนี้เป็นสูตรยาของท่านอาจารย์พุทธทาส

    ต้นไม่รู้ไม่ชี้ นี้เอาเปลือก

    ต้นชั่งหัวมัน นั้นเลือกเอาแกนแข็ง

    อย่างนั้นเอง เอาแต่ราก ฤทธิมันแรง

    ไม่มีกู ของกู นี้แสวงเอาแต่ใบ

    ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็นเฟ้นเอาดอก

    ตายก่อนตาย คัดออกลูกใหญ่

    หกอย่างนี้ อย่างละชั่ง ตั้งเกรนไว้

    ดับไม่เหลือ สิ่งสุดท้าย ใช้เมล็ดมัน


    หนักหกชั่ง เท่ากับยาทั้งหลาย

    เค้ากันไปเสกคาถาที่อาถรรณ สัมพะธรรมมาอภินิเวสาย

    (อันสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น)อันเป็นธรรมชั้นหฤทัยในพุทธนาม

    จัดลงหม้อใส่นํา พอท่วมยา

    เคี่ยวไฟกล้า เหลือได้หนึ่งในสาม

    หนึ่งช้อนชา สามเวลาพยายาม

    กินเพื่อความหมดสรรพโรค เป็นโรคอุดร

    ลองใช่กันดูนะครับ
    ____________________________________

    รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง

    แต่ก็ไม่เท่า รู้จักกิเลส ของตนเอง

    ดูสิ่งต่างๆมากมาย อย่าลืมดูใจตน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2008
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    อยากลงให้อ่านกันเยอะสำหรับพระราชปุจฉา-วิสัชณาข้างบนนี้ หากพิจารณาดีๆ จับเอาประเด็นสำคัญๆ ได้อะไรเยอะทีเดียว เลยยกมาทั้งโพสท์เลยครับ


    ขอขอบคุณ.
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7689
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=maintitle vAlign=top>ศาสนาและคุณธรรม (พระราชดำรัส & พระบรมราโชวาท)

    [​IMG]
    </TD><TD class=gensmall vAlign=bottom align=right></TD></TR></TBODY></TABLE><HR> <TABLE cellSpacing=20 width="85%" border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
    "...พระพุทธศาสนาชี้ทางดำเนินชีวิตที่ปราศจากโทษ
    ช่วยให้เกิดความเจริญร่มเย็น ได้อย่างแท้จริง
    เพราะมีคำสั่งสอนที่ มีลักษณะพิเศษประเสริฐ
    ในประการอาศัย เหตุผลอันถูกต้องเที่ยงตรง
    ตามความ เป็นจริง เป็นพื้นฐาน
    เป็นประโยชน์แท้จริงแก่ทุกคน..."



    พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านใน
    การเปิดประชุมใหญ่ของสมาคมพุทธศาสนา
    ทั่วราชอาณาจักร ณ วิทยาลัยครูจันทบุรี 6 ธันวาคม 2518

    ................................................................


    "...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ
    และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
    แต่จะต้องศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติ
    ให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
    ด้วยศรัทธาและปัญญา ที่ถูกต้อง
    จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."



    พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน
    ในการเปิดประชุมใหญ่
    สมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร
    ณ จังหวัดกาฬสินธุ์ 17 ธันวาคม 2512

    ................................................................


    "...พระพุทธศาสนา แสดงความจริงของชีวิต
    แสดงทางปฏิบัติที่จะให้บรรลุความสุขสูงสุดของชีวิต
    มีวิธีการสั่งสอนที่ยึดหลักเหตุและผลว่า
    ทุกสิ่งเกิดจากเหตุ ผู้ใดประกอบเหตุอย่างไร
    เพียงใด ก็ได้ผลอย่างนั้นเพียงนั้น..."



    พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่พุทธ
    สมาคมแห่งประเทศไทย 26 พฤศจิกายน 2513

    ................................................................


    "...พระพุทธศาสนานั้น หากหมายถึงคำสั่งสอน
    ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแท้ๆ
    ย่อมมี ความแน่นอนมั่นคง
    เพราะคำสอนของพระบรมศาสดา เป็นธรรม
    คือ หลักความจริงที่คง ความจริงอยู่ตลอดกาลทุกเมื่อ
    ไม่มีแปรผัน..."



    พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้เข้าประชุม
    ใหญ่ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
    ณ ประเทศเนปาล 27 พฤศจิกายน 2529

    ................................................................


    "...พระพุทธศาสนา ถึงแม้ปัจจุบันนี้จะมีหลายนิกาย
    แต่ก็ยึดหลักธรรมอันเป็นแก่นแท้อย่างเดียวกัน
    คือ ถือว่าธรรมทั้งหลายทั้งสิ้นเกิดแต่เหตุ
    เมื่อมีเหตุ ก็ต้องมีผล ไม่มีสิ่งใดที่อยู่เหนือเหตุและผล
    นอกจากนั้นยังต่างถือว่าการแผ่เมตตาสงเคราะห์
    เกื้อหนุนกัน เป็นกรณียกิจสำคัญในการจรรโลงความสงบสุข
    ของชาวโลก..."



    พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านใน
    งานฉลอง 25 ปี ของ องค์การพุทธศาสนิก
    สัมพันธ์แห่งโลก 20 กุมภาพันธ์ 2519

    ................................................................


    "...พระพุทธศาสนา นั้น มีลักษณะพิเศษประเสริฐในการ
    ที่อาศัยเหตุผลอันเที่ยงแท้ตามเป็นจริง เป็นพื้นฐาน
    และหยิบยกขึ้นปฏิบัติเพื่อ ความสุขความเจริญ
    และความบริสุทธิ์ได้ตาม วิสัยของตน
    จึงเป็นศาสนาที่ เข้ากับหลักวิทยาศาสตร์..."



    พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านใน
    การเปิดประชุมใหญ่ของ สมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร
    ณ พุทธสถาน จังหวัดเชียงใหม่ 27 ตุลาคม 2515

    ................................................................


    "...ธรรมะในพระพุทธศาสนา มีความหมดจดบริสุทธิ์
    และ สมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยเหตุผล
    ซึ่งบุคคลสามารถจะศึกษา และปฏิบัติด้วย ปัญญา
    ความเพ่งพินิจ ให้เกิดประโยชน์
    คือความเจริญผาสุกแก่ตนได้ อย่างแท้จริง..."



    พระบรมราโชวาท พระราชทานในพิธีเปิดการ
    ประชุมใหญ่ของสมาคมพุทธศาสนาทั่ว
    ราชอาณาจักร 19 ธันวาคม 2524

    ................................................................


    "...ธรรมะในพระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่แสดง
    สัจธรรม ความแท้จริงของสภาวธรรมทุกสิ่ง
    ดังนั้น ถึง หากสังคมจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
    ก็ไม่เกินไปกว่า ที่ชาวพุทธจะพิจารณารู้เท่าทันได้
    เมื่อได้ปฏิบัติ อยู่ในธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    โดยถูกต้อง มั่นคงแล้ว ความเปลี่ยนแปลงใดๆ ในสังคม
    ก็ไม่ใช่ เหตุที่ควรวิตกอีกต่อไป..."



    พระบรมราโชวาท พระราชทานในพิธีเปิดการประชุมใหญ่
    สมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร 14 ธันวาคม 2534

    ................................................................


    "...ทุกคนที่ถือตัวว่าเป็นชาวพุทธ
    จะต้อง สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาตามภูมิปัญญา
    ความสามารถ และโอกาสของตน ที่มีอยู่
    เพื่อให้ เกิดความรู้และความเข้าใจที่กระจ่างถูกต้อง
    พระศาสนาก็จะมั่นคง ขึ้นได้..."



    พระราชดำรัส พระราชทานแก่ที่ประชุมใหญ่ของ
    องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
    ณ ประเทศเนปาล 27 พฤศจิกายน 2529

    ................................................................


    "...ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ไม่ว่าเป็นชาติเชื้อใด
    และแม้อยู่ใน นิกายใด
    ล้วนถือทางปฏิบัติในกายวาจาใจเป็นอย่างเดียวกัน
    คือ ย่อม พยายามอยู่ทุกเมื่อที่จะรักษากายวาจาใจ
    ให้สะอาด ด้วยระเบียบปฏิบัติ อันดีงามและสุจริต
    ที่จะควบคุมประคองใจ ให้สงบ
    ด้วยความมีสติรู้ตัวอยู่ ตลอดเวลา..."



    พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านใน
    การประชุมใหญ่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
    ณ ตึกรัฐสภา 22 พฤศจิกายน 2523

    ................................................................


    "...ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ไม่ว่าเป็นชาติเชื้อใด
    และแม้อยู่ใน นิกายใด ล้วนถือทางปฏิบัติในกายวาจาใจ
    เป็นอย่าง เดียวกันคือย่อมพยายามอยู่ทุกเมื่อ
    ที่จะรักษากายวาจาใจให้ สะอาดควบคุมประคองใจ
    ให้สงบด้วยความมีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
    ชาวพุทธที่แท้อยู่ ณ ที่ใดย่อม ทำให้ที่นั่นสงบร่มเย็น
    มีแต่ความปรองดอง และสร้างสรรค์..."



    พระราชดำรัส พระราชทานในการประชุมใหญ่
    องค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
    ณ อาคารรัฐสภา 22 พฤศจิกายน 2523

    ................................................................


    "...การธำรงความเจริญมั่นคงของพระศาสนา
    จึงน่าที่จะเน้นที่การแนะนำ
    ให้เห็นประโยชน์ของการศึกษาปฏิบัติธรรมเป็นสำคัญ
    เมื่อ ประโยชน์แห่งการปฏิบัติธรรมเกิดขึ้นแล้ว
    ก็จะพึงพอใจและจะขวนขวาย ศึกษาปฏิบัติให้สูงขึ้น
    และเมื่อชาวพุทธรู้ธรรมะปฏิบัติธรรมกันอย่างถูกต้อง
    ทั่วถึงมากขึ้นพระศาสนาก็จะเจริญ มั่นคง..."



    พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญไป
    อ่านในการเปิดประชุมใหญ่ของ สมาคมพุทธ
    ศาสนาทั่วราชอาณาจักร 7 มิถุนายน 2528

    ................................................................


    "...ความจริงใจต่อผู้อื่น เป็นคุณธรรมสำคัญมาก
    สำหรับผู้ที่ ต้องการความสำเร็จและความเจริญ
    เพราะช่วยให้ สามารถขจัดปัดเป่าปัญหาได้มากมาย
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา
    อันเกิดจากความกินแหนง แคลงใจ
    และเอารัดเอาเปรียบกัน..."



    พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 11 กรกฎาคม 2534

    ................................................................​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ยังมีให้อ่านอีกเยอะครับ ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณ
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3048
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    นั่งดูบอร์ดไป เสียงเด็กเล่นหน้าบ้านตะโกนบอก พระจันทร์เต็มดวงสวยจัง หอมกลิ่นดอกพิกุลที่ปลูกไว้ข้างบ้านกว่าสิบปีมาแล้ว สูงเกือบสิบเมตร กำลังออกดอกมีกลิ่นหอมเย็น ลองออกมายืนดูพระจันทร์บ้าง อืม..พระจันทร์คืนนี้สวยจังแฮะ พรุ่งนี้วันหยุดซะด้วย เด็กๆ รวมทั้งลูกผม ยังนั่งจับกลุ่มอยู่ท้ายรถปิคอัพในหมู่บ้าน เอาผ้าห่มคลุมหัวกันน้ำค้างลงกำลังนั่งคุยกันตามประสาเด็ก แถมลมเย็นๆ พัดอ่อนๆ ด้วยอยากกลับเป็นเด็กชะมัด มาเจอบทความนี้ เค้าว่าพระจันทร์เต็มดวงทีไร หมาแมวเจ็บป่วยกันเยอะ น่าสนใจม่ะ เพราะอะไรเอ่ย..


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=806 bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD align=middle>เผื่อยังไง วันไหนพระจันทร์เต็มดวง เราจะได้ไม่ปล่อยน้องหมาน้องแมวของเราออกไปนอกบ้านเนอะffice
    <O:p
    จากการสำรวจของสถาบันวิจัยที่อังกฤษ <O:p</O:p
    พบว่าอาการเจ็บป่วย และการบาดเจ็บ ของน้องหมาและน้องแมว <O:p
    มักจะมีเปอร์เซ็นต์สูงมากในช่วงพระจันทร์เต็มดวง หรือก็คือ วันขึ้น 15 ค่ำของไทย <O:p
    ซึ่งนักวิจัยก็ไม่แน่ใจว่าเพราะอะไรกันแน่ <O:p
    แต่จากบทความที่ตีพิมพ์ลงในนิตยสารJournal of the American Veterinary Medical Association<O:p
    พบว่าในวันพระจันทร์เต็มดวงนั้น ห้องฉุกเฉินของสัตวแพทย์จะเต็มไปด้วยสัตว์บาดเจ็บ <O:p
    ซึ่งถ้านับเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว ในแมว จะสูงกว่าวันอื่นๆ 23 เปอร์เซ็นต์<O:p</O:p
    และในหมา สูงกว่าวันอื่นๆ 28 เปอร์เซ็นต์ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p>[​IMG]</O:p>

    และไม่ว่าจะสัมภาษณ์ใคร ไม่ว่าจะเป็นสัตวแพทย์ รีเซ็ปชั่น หรือพยาบาล ว่าวันไหนงานยุ่งที่สุด<O:p
    คำตอบที่ได้รับมักจะเป็น “วันพระจันทร์เต็มดวงไงละ” <O:p
    ความเชื่อนี้ไม่มีการพิสูจน์ได้ในทางวิทยาศาสตร์ก็จริง <O:p
    แต่เป็นที่รู้กันว่าดูเหมือนว่าดวงจันทร์จะมีอำนาจอะไรบางอย่าง ที่ทำให้สัตว์ต่างๆ ต้องประสบอันตราย <O:p
    หรือรู้สึกไม่ดี และดุร้ายกว่าปกติ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    และจากการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ของดวงจันทร์กันอุบัติเหตุ พบว่า... <O:p</O:p
    เรื่องนี้มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์นานมากแล้ว <O:p</O:p
    สังเกตได้ว่า เมื่อก่อน คนมักจะถูกสัตว์ต่างๆ ทำร้ายในวันพระจันทร์เต็มดวง <O:p</O:p
    ซึ่งนักวิจัยชาวอังกฤษเชื่อว่าเป็นความเชื่อมโยงระหว่างสัตว์กับพระจันทร์ <O:p</O:p
    จากหลักฐานที่พวกเขาระบุ คาดว่าสาเหตุที่น่าจะเกี่ยวข้องคือ วันพระจันทร์เต็มดวง <O:p</O:p
    มักจะมีการปาร์ตี้กันบนชายหาด ทำให้ชายหาดเกิดมลพิษกว่าวันอื่นๆ <O:p</O:p
    เมื่อสัตว์มาพบกับบรรยากาศเหล่านี้ ทำให้มันอารมณ์เสีย หงุดหงิด และอยากทำร้ายกัน <O:p</O:p
    นอกจากนี้ ในวันพระจันทร์เต็มดวง เจ้าของส่วนใหญ่มักจะออกมาเดินเล่นกับสัตว์เลี้ยง <O:p</O:p
    เพราะเป็นวันที่มีแสงสว่างสดใส แล้วก็สวยมาก เมื่อสัตว์มีโอกาสได้เจอกันมากกว่าปกติ<O:p</O:p
    ก็เลยสามารถทำร้ายกันได้มากกว่าปกตินั่นเอง... <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อืม เป็นงี้นี่เองเนอะ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    Dek-d : อตินเอง <O:p</O:p
    ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.livescience.com/animals/ <O:p</O:p

    </TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2008
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เมื่อก่อนตอนเด็ก พอเดือนหงายทีไร ใจชื้นนิดนึง แข็งใจเดินไปดูหนังกลางแปลงที่วัด ห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโล ยังจำบรรยากาศได้ดี แต่พอฉายหนังผีทีไร ต้องรอเพื่อนร่วมทางทุกทีไม่รู้เป็นไง รู้สึกขาแข็งๆ ก้าวไม่ออก ทำให้กลัวผีมาก ลองดูเรื่องนี้หน่อยปะไร..







    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>เมื่อตอนก่อน "หนังไทยเรื่องแรก" มีการกล่าวถึงการฉายหนังของฝรั่งที่เรียกว่า ซีมาโตแครฟ โดยคำขอของคณะราษฎร ต่อมา คำขอที่ว่าถูกคลี่คลายโดยนักประวัติศาสตร์ภาพยนต์ ว่าเป็นเพียงการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ บางกอกไตมส์ ให้คนไทยไปตื่นดูนวตกรรมใหม่

    [​IMG]

    ลงชื่อว่า นาย เอส.จี.มาคอฟสกี ซึ่งไปค้นชื่อ คนฉายหนังของลูมิแอร์ที่ส่งไปเผยแพร่นวตกรรมใหม่ ก็ไม่มีชื่อ นาย เอส.จี. มาคอฟสกี อยู่ด้วย จึงเชื่อว่าเขาเป็นเพียงพ่อค้าหนังเร่ชาวยุโรป ที่ไปตามที่ต่างๆทั่วโลก
    แต่ครั้งนั้นมีคนดูถึง 600 คน ที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการและเป็นครั้งแรกที่มีการฉายหนังในประเทศไทย คือ คืนวันที่ 10 มิถุนายน 2440 และ นาย เอส.จี. มาคอฟสกี จึง เป็นคนฉายหนังเร่คนแรกที่มาฉายในประเทศไทยน่ะครับ

    กิจการหนังเร่เป็นไปด้วยความคึกคักครับ มีทั้งจากยุโรป ฝรั่งเศส อังกฤษและอเมริกา ตอนนั้นยังไม่มีโรงหนังเฉพาะ สมัยก่อนหนังจะยาวเพียงประมาณ 1 นาที ไม่มีการผูกเป็นเรื่องราวน่ะครับ อาจเป็น การแสดงระบำ กายกรรม ตลก มายากล การประดิษฐ์ พวกกล่อง เสียงหุ่นกระบอก บางครั้งก็สลับด้วยภาพนิ่ง และด้วยการที่มันเป็นหนังเงียบ จึงต้องมีการบรรเลงดนตรีระหว่างการแสดงไปด้วย ช่วงแรกๆ ก็เป็นการนำนักดนตรีของตัวเองมา หรือไม่ก็หาเอาตามท้องถิ่น เครื่องดนตรีที่เล่นก็เป็น พวกหีบชัก ไวโอลิน หรือเครื่องเป่า

    [​IMG]

    หนังเร่คณะที่ได้รับความนิยมในสมัยนั้น กลับเป็นของคนญี่ปุ่นครับ ชื่อนายวาตานาเบ้ พ.ศ. 2447 เขามาตั้งกระโจมฉายอยู่ระหว่างวัดตึก หรือ เวิ้งนาครเกษม ปัจจุบันล่ะครับ ต่อมาเขาก็มาสร้างโรงหนัง ถาวรที่ข้างๆวัดตึกนั่นเอง ถือว่าเป็นโรงหนังโรงแรกของไทยเลยก็ว่าได้ ( 2448 )

    [​IMG]

    ภาพจากเรื่อง โหน่ง-เท่งนักเลงภูเขาทอง จำลองบรรยากาศ ยุคสมัยนั้น มีโรงหนังญี่ปุ่นด้วย แต่ในภาพอาจทันสมัยไปหน่อย เพราะจากข้อมูล เป็นเพียงสังกะสีล้อมเป็นสี่เหลี่ยม และหลังคาก็มุงสังกะสี พื้นโรงเป็นดิน ตั้งม้ายาวเป็นแถวรอบๆ นอกโรงเป็นร้านค้าเล็กๆ วางด้วยลังใบเดียว จุดตะเกียงมีโป๊ะ เทียนบ้าง ใต้บ้าง (หนังมักจะฉายตอนดึก)



    " น่าแปลกไม๊ครับ ยิ่งค้นไปยิ่งสนุก แล้วทำไม หนังเร่ ( หนังขายยา ) ในยุคหลังนี้ มีข้อสังเกต 2 อย่างครับ คือเป็นหนังเงียบ และเป็นฟิล์ม 16 มม. ทั้งๆที่ เราหมดยุคหนังเงียบมาตั้งแต่ปี 2474 และเราใช้ฟิล์ม 35 มม. มาตั้งแต่หนังเรื่อง โชค 2 ชั้น แล้วครับ"


    [​IMG]

    หลวงกลการเจนจิต ผู้ถ่ายภาพเรื่อง โชคสองชั้น





    มาถึงเรื่องเสียงก่อนครับ


    อเมริกา มีหนังเสียงมาตั้งแต่ปี 2470 แล้วครับ คือเรื่อง Jazz Singer ของบริษัท ฟอกซ์
    แต่ในเมืองไทย มีการนำหนังเสียงมาฉายครั้งแรก เมื่อปี 2471 ของคณะฉายหนังจากสิงคโปร์ ดังนั้น พี่น้องตระกูลวสุวัต ( ผู้สร้าง โชคสองชั้น ) ก็หยุดสร้างหนังเงียบ หลังจากสร้างไปได้เพียง 2 เรื่อง เขาหันมาค้นคว้าเรื่องหนังเสียง เขาผลิตกล้องสำหรับถ่ายหนังเสียง และสำเร็จในปี 2474 ถึงตอนนี้พวกเขาเปลี่ยนใจจากการทำหนังสั้นแล้วครับ เขาวางแผนทำหนังเสียงเรื่องยาวเรื่องแรก และเปลี่ยนชื่อ จาก บริษัท กรุงเทพภาพยนต์บริษัท มาเป็น บริษัทภาพยนต์เสียงศรีกรุง และได้สร้างหนังพูดสำเร็จ เป็นเรื่องแรก คือเรื่อง" หลงทาง "


    [​IMG]





    ออกฉายใน เดือนเมษายน ปี 2476


    หลงทางเป็นหนังที่ถ่ายทำในระบบ Single System คือถ่ายภาพกับเสียงในกล้องตัวเดียวกันครับ ซึ่งมีปัญหาทางเทคนิค ในการถ่ายภาพและตัดต่อ ซึ่งฝรั่งได้คิดระบบถ่ายแยกกันแต่นำมา Synchonizg คือการให้มันเดินไปพร้อมกันได้ ต่อมา ศรีกรุงก็ทำได้ครับ


    [​IMG]




    น่าแปลกครับก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หนังไทยนิยมสร้างในระบบ 35 มม. เสียงในฟิล์ม หลังสงครามโลกกลับมาสร้างในระบบ 16 มม. ฟิล์มเล็กลงกว่าเดิม



    เนื่องจากช่วงหลังสงครามโลก ในปี 2492 มีหนังเรื่อง สุภาพบุรุษเสือไทย เข้าฉาย เป็นหนัง 16 มม. ครับ และประสบความสำเร็จมากเสียด้วย บริษัทต่างๆ จึงหันมาสร้างหนัง 16 มม. กัน เพราะกล้องเล็กกว่า ฟิล์มเล็กกว่า ทำให้ประหยัดขึ้นมาก และหลังช่วงสงคราม ฟิล์มก็หายาก เศรษฐกิจก็ตกต่ำทั่วไป เสียงในฟิล์มที่เคยมีก็ไม่มี ต้องใช้นักพากย์ มาพากย์แทนพระเอก-นางเอกและตัวละครทั้งหลาย ถือเป็นยุคทองของหนัง 16 มม. ได้รับความนิยมจากผู้ชมสูงมาก

    ช่วงนี้เองมังครับ ที่เกิดการฉายหนังเร่ขึ้นอีกครั้งโดยคนไทย หนังเร่ที่ไปตามต่างจังหวัดไกลๆ ที่ยังไม่มีโรงหนัง ต่อมา พวกบริษัทยาก็มีการจัดฉายหนังเร่ไปพร้อมกับการขายยาไปด้วย เช่น บริษํทโอสถสภา ถ้วยทอง เยาวราช ห้าแพะ ที่เราเรียกว่า " หนังขายยา"


    [​IMG] ลุงบุญชอบ สุทธิศักดิ์ ชายวัย 60 ปี

    ลุงเป็น คนฉายหนังกลางแปลง หรือหนังขายยา ของโอสถสภา เป็นทั้งคนพากษ์หนังและฉายหนัง รวมถึงขายยาด้วยซึ่งถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของหนังกลางแปลง ลุงบุญชอบเริ่มต้นเป็นนักพากย์ด้วยแรงบันดาลใจจากการเป็นเด็กในกองรถเร่ฉายหนัง ความที่เห็นการพากย์หนังทุกวี่วัน จึงเกิดเป็นความชอบ อาศัยครูพักลักจำ จนได้เป็นนักพากย์ทั้งหนังขายยา หนังกลางแปลง และหนังวิกหนังโรง กว่า 36 ปีที่คลุกคลีสิ่งเหล่านี้ จนกลายเป็นความผูกพัน

    ก่อนพากย์แต่ละเรื่อง อ่านบทก่อน ซ้อมกับหนัง พอมีความชำนาญในเรื่องของหนังแล้ว การสอดแทรกมุก ไหวพริบปฏิภาณจะเกิดเองโดยธรรมชาติที่เรียกว่าพรสวรรค์ พากย์ไปพากย์มาผุดขึ้นมาเอง

    สำหรับนักพากย์ต้องทำได้ทุกเสียง เทคนิคไม่มีอะไรมาก รุ่นพี่บอกสอน อาศัยครูพักลักจำ มีแค่ประสบการณ์ การเข้าถึงวิญญาณตัวละครในหนัง การทำเสียง ต้องฝึกหัดทำเสียงก่อน ทำเสียงให้ได้เสียงผู้หญิง เสียงเด็ก เสียงคนแก่ พอทำได้สามารถพากย์ได้

    เสียงเปลี่ยนไปตามคีย์ เสียงคนแก่ต่ำ เสียงหนุ่มหน่อย เสียงพระเอกให้เสียงปานกลาง เสียงตลกให้เสียงสูง เสียงนางเอกต้องบีบเสียง พากย์เสียงผู้หญิงเหมือนคีย์เพลง ตั้งแต่ต่ำสุด สูง และสูงสุด ต้องหัดดัดเสียงทุกวัน จึงจะใกล้เคียง

    ส่วนมากพากย์ได้ทุกแนว คนดูยึดติดอยู่กับดารา ดาราเป็นใหญ่ โดยเฉพาะมิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ เป็นดาราคู่พระคู่นิยม ถ้า 2 คนนี่ไป เราแห่รถไป กล่าวเชิญชวน วันนี้อย่าลืมอย่าพลาด พอเพชรา คนจะตามรถร้องโห่หิ้ว สำหรับผมชอบทุกเรื่องที่ทำ เพราะทำด้วยวิญญาณ ตั้งใจทำ พยายามเข้าถึงหนัง

    ความรู้สึกเก่าๆกลับมา แต่ก่อนดูหนังกลางแปลงดูไปดูมา ฟิล์มหนังชอบขาด คนก็จะโห่ตะโกน เสียอารมณ์มากเลยนะ เราก็อยากดูว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร เชื่อว่าตอนที่หนังหยุดฉาย เป็นฉากไคลแมกซ์ พีกมากๆ แล้วก็ดับวูบไปเลย คนก็ฮือฮา ประมาณว่าบ่น จากนั้นก็จะมีเสียงสวรรค์ อันไม่พึงปรารถนาของเจ้าของหนัง ประกาศขายยา อวดอ้างสรรพคุณ ชักแม่น้ำทั้ง 5 คนดูก็รู้ถ้าซื้อยาก็จะได้ดูต่อ แบบน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า

    ส่วนใหญ่จะเป็นยาครอบจักรวาล แบบว่าเก็บรักษาเอาไว้ได้นาน เช่น ยาหม่อง หรือยาแก้ปวดอะไรทำนองนั้น บางทีก็เป็นยาสามัญประจำบ้านแต่เอามาอวดอ้างสรรพคุณให้ดูน่าเชื่อถือราคาไม่แพง 5 บาท 10 บาท ขายยาได้จำนวนเงินตามที่ต้องการแล้ว ก็จะฉายหนังต่อ

    ลุงบุญชอบยังทำหน้าที่ฉายหนังเร่อยู่นานกว่า 36 ปี และเคยเข้าไปฉายเร่ ในพม่ากว่า 6 เดือน ในยุคพลเอกชาติชาย ที่มีนโยบาย เปลี่ยนสนามรบ เป็นตลาดการค้าครับ



    [​IMG]



    สมัยก่อนใช้รถจี๊ปพวงมาลัยซ้าย มีเครื่องทำไฟติดหลังรถ หลังจากนั้นจากเครื่องทำไฟเป็นไดนาโมปั่น จ่ายกระแสไฟเพื่อฉายหนัง จากรถจี๊ปเปลี่ยนเป็นรถฮีโน่ จากหนัง 16 มม.แผ่นฟิล์มขนาดเล็ก แต่หนา เปลี่ยนมาเป็นหนัง 35 มม. ฟิล์มแผ่นใหญ่ เดินเร็ว ขาดเร็ว หนังเรื่องหนึ่งมี 2 ม้วน

    [​IMG]





    "....คืนนี้อย่าลืม อย่าพลาดนะครับ แม่นาคพระโขนง หนังย้อนยุค นำแสดงโดยสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ปรียา รุ่งเรือง พากย์สด อย่าลืม อย่าพลาดหาโอกาสมาชมกันให้ได้นะครับ"



    สุ้มเสียงดังจากข้างรถขายยาป่าวประกาศเชิญชวนผู้คนที่ผ่านไปมา ลำแสงจากเครื่องฉายหนังพุ่งตรงไปที่ผืนผ้าขนาดใหญ่สีขาว สายไหมหลากหลายสีบรรจุในถุงล่อตาล่อใจลูกเล็กเด็กแดง พ่อค้า-แม่ค้าเร่ขายถั่วแก่ผู้คนที่เดินขวักไขว่ไปมา



    หน้าผืนผ้าสำหรับฉายหนัง คนหนุ่มคนสาวใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ที่หาได้ปูนั่งหน้าจอจับจองพื้นที่เหมาะเจาะ ภาพวันคืนเก่าๆ โหมโรงก่อนเริ่มต้นฉายหนังกลางแปลง หนังเร่ หรือหนังขายยา ซึ่งนับวันจะหาชมได้ยากยิ่ง




    [​IMG]





    เมื่อเวลาผ่านไปหนังไทยระบบ 16 มม. จึงเลิกสร้าง และกลับมาสร้างหนังระบบ 35 มม. แต่เสียงก็ยังอยู่นอกฟิล์ม จนถึงยุค ของมนต์รักลูกทุ่ง ( พ.ศ. 2513 )ละครับ ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ซึ่งเป็นหนัง 35 มม. เสียงในฟิล์ม หนัง 16 มม. จึงไม่มีการสร้างอีก และเป็นหนังเสียงในฟิล์มทุกเรื่องไป หนังเร่ขายยา ค่อยๆ หายไปพร้อมกับยุคสมัย มีแต่หนังกลางแปลงตามงานวัด ช่วงแรกๆ ยังมีการพากษ์สดในหนังต่างประเทศอยู่ แต่ต่อมาก็มีการอัดเสียงพากษ์ลงในหนังแล้ว จึงไม่มีการพากษ์สดแล้วครับ เนื่องจากเป็นหนังเสียงในฟิล์มกันหมดแล้วครับ





    ขอขอบคุณ ภาพ และข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ


    ภาพและข้อมูล จาก ๖๗ ปีภาพยนตร์ไทย โดยสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ
    ภาพและข้อมูล จาก หนังสือ สตาร์พิค



















    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    http://images.google.co.th/imgres?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2008
  12. ms-bluemoon

    ms-bluemoon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2008
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +44
    โอนเงินทำบุญไปให้แล้วค่ะ เมื่อวันที่ 12/12/08 เวลา 19.17 น. เป็นจำนวน 500 บาท

    ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านค่ะ
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097

    ในนามคณะกรรมการทุนนิธิฯ ขอขอบคุณและโมทนาบุญด้วยครับ หากมีเวลา วันอาทิตย์ที่ 21/12/51 นี้ เชิญไปถวายสังฆทานอาหารให้พระสงฆ์ที่อาพาธที่ รพ.สงฆ์ด้วยกันช่วงเวลา 7.30 ด้วยครับ ไปเห็น ไปรู้ ไปดูกิจกรรมที่เราทำกัน เผื่อจะได้เพื่อนใหม่ในเส้นทางบุญเดียวกันถือว่าร่วมทำบุญรับปีใหม่ด้วย หากเคยทำบุญด้วยกันเมื่อชาติที่แล้ว ชาตินี้คงได้พบกัน...ที่ รพ.สงฆ์พร้อมกับทุกคนที่เป็นสมาชิกประจำอยู่แล้วครับ


    [​IMG]


    สำหรับ ms-bluemoon

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ns904.gif
      ns904.gif
      ขนาดไฟล์:
      6.5 KB
      เปิดดู:
      754
    • 68970m9ao0.jpg
      68970m9ao0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.1 KB
      เปิดดู:
      723
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เมื่อวานได้รับแจ้งจากคุณวรารัตน์ สุนทราภา หัวหน้าหอสงฆ์ที่ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่นว่า เครื่องดูดเสมหะที่เราส่งไปช่วยรักษา ท่านรองเจ้าคณะอำเภอ บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น นั้น เครื่องถูกส่งถึง หอสงฆ์เรียบร้อยแล้ว รอเพียงการสอนแสดงให้แก่โยมอุปัฏฐากของท่านเท่านั้น พระคุณเจ้ารูปนี้ เส้นเลือดในสมองตีบ เป็นอัมพาตซีกซ้ายทั้งแถบ ต้องให้อาหารทางสายยาง จนกว่าจะมรณภาพ เครื่องดูดเสมหะของเรานี้ จะช่วยได้มากเรื่องเศษอาหารติดค้างในลำคอ ทาง รพ.ก็หวังที่จะไม่ให้ท่านทรมาน เพราะหากมีเศษอาหารติดค้าง ก็จะสำลักได้ จึงขอเครื่องจากเราส่งให้ สาธุ.. นับว่าเป็นเนื้อนาบุญของทุนนิธิฯ แท้ๆ ที่ได้ช่วยให้ท่านทนทุกข์ทรมานจากการสำลักน้อยลง แม้เพียงชั่วขณะก็ยังดี ปัจจัยอันบริสุทธิ์ที่ทุกคนส่งมานั่นล่ะคือเครื่องส่งบุญ จิตที่ยินดีในการบริจาคนั่นล่ะคือตัวบุญ เครื่องดูดเสมหะ นั่นล่ะคือเครื่องมือให้ท่านพ้นความทุกข์ เราทำบุญให้กับผู้ทรงศีล นับว่าครบแล้วในบุญกิริยาวัตถุ อย่าถาม ว่าเกิดบุญเท่าไร ไม่กล้าคิด รู้เพียงแต่ว่า เกวียนบุญที่มีพวกเราเป็นโคลากนั้น พวกเราต้องทำหน้าที่ฉุดลากให้ดีที่สุดเป็นพอ ดูเหมือนเป็นเรื่องเพ้อฝัน แต่ทุกอย่างในโลกนี้ ท่านว่าล้วนสำเร็จได้ด้วยจิต จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน จิตที่เปี่ยมด้วยเมตตา กรุณา เป็นที่ตั้ง ย่อมยังคุณประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น แม้เทพ เทวดา อินทร์ พรหม ยังต้องโมทนาและอวยชัยให้พร ผมเชื่ออย่างนั้นจริงๆ...
     
  15. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    บันทึกประวัติศาสตร์
    พระบูรพาจารย์
    [​IMG]

    เนื่องในวาระคล้ายวันมรณภาพหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตมหาเถร​
     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    วันนี้ตื่นแต่เช้าไปใส่บาตรพระมา 3 องค์ ขับรถเล่นไปเรื่อยๆ อากาศยามเช้านี้ ขับรถด้วยความสบายใจ ไปถึงร้านยายขายพระเจ้าเก่า ได้พระอย่างข้างล่างนี้คละพิมพ์กัน ได้มา 6 องค์ พระขนาด 1.5 ซม. พร้อมกล่องพลาสติก นั่งกำหนดดูท่าน แหมท่านดุมากครับ จี๊ดจ๊าดทีเดียว เอามาแบ่งให้เช่าที่ รพ.สงฆ์กันให้ได้เพียงคนละ 1 องค์ องค์ละ 300.-ทุน 60.-บาท กำไร 40.-บาท (ไว้หาพระมาให้ใหม่) ส่วนต่างอีก 200.-บาท รวม 6 องค์ 1200.-บาท เข้าทุนนิธิฯ รักษาสงฆ์อาพาธ 1000.- ที่เหลือช่วยบริจาคซื้อ server ให้เวบพลังจิตอีก 200.-บาท สนใจม่ะ...สนใจก็บอกก่อนได้จะเก็บไว้ให้ไว้ไปรับที่ รพ.สงฆ์ก็แล้วกัน




    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2008
  17. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    หลวงพ่อ ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยา วัดภัททันตะอาสภาราม ต.หนองปรือ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
    พระมหารัตนวิปัสสนาจารย์ ผู้อยู่เบื้องหลังการสำเร็จอรหันต์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ.!!??!!

    เนาว์ นรญาณ

     
  18. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285

    [​IMG]


    จิตตานุภาพ
    จิตตานุภาพ คืออานุภาพของจิต แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
    1. จิตตานุภาพบังคับตนเอง
    2. จิตตานุภาพบังคับผู้อื่น
    3. จิตตานุภาพบังคับเคราะห์ก
    รรม

    จิตตานุภาพบังคับตนเอง
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]



    อภัยทาน คืออย่างไร ?


    อภัยทาน ก็คือการยกโทษให้
    คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ


    อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ

    อันใจที่แจ่มใส กับใจที่มืดมัว ไม่อธิบายก็น่าจะทราบกันอยู่ทุกคนว่าใจแบบไหนที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นแก่เจ้าของ ใจแบบไหนที่ยังความทุกข์ให้เกิดขึ้น และใจแบบไหนที่เป็นที่ต้องการ ใจแบบไหนที่ไม่เป็นที่ต้องการเลย

    ความจริงนั้น ทุกคนที่สนใจบริหารจิต จะต้องสนใจอบรมจิตให้รู้จักอภัยในความผิดทั้งปวง ไม่ว่าผู้ใดจะทำแก่ตน แม้การให้อภัยจะเป็นการทำได้ไม่ง่ายนัก สำหรับบางคนที่ไม่เคยอบรมมาก่อน แต่ก็สามารถจะทำได้ด้วยการอบรมไปทีละเล็กละน้อย เริ่มแต่ที่ไม่ต้องฝืนใจมากนักไปก่อนในระยะแรก

    ตัวอย่างเช่น เวลาขึ้นรถประจำทางที่มีผู้โดยสารคอยขึ้รถอยู่เป็นจำนวนมาก หากจะมีผู้เบียดแย่งขึ้นหน้า ทั้งๆ ที่ยืนอยู่ข้างหลัง ถ้าเกิดโกรธขึ้นมาไม่ว่าน้อยหรือมาก ก็ให้ถือเป็นโอกาสอบรมจิตใจให้รู้จักอภัยให้เขาเสีย เพราะเรื่องเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ควรถือโกรธกันหนักหนา เป็นเรื่องเล็กน้อยเหลือเกินควรจะอภัยให้กันได้ แต่บางที่ไม่ตั้งใจคิดเอาไว้ก็จะไม่ทันให้อภัยจะเป็นเพียงโกรธแล้วจะหายโกรธไปเอง

    โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย เป็นการบริหารจิตโดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น

    ผู้ดูแลเห็นความสำคัญของจิต จึงควรมีสติทำความเพียรอบรมจิตให้คุ้นเคยต่อการให้อภัยไว้เสมอ เมื่อเกิดโทสะขึ้นในผู้ใดเพราะการปฏิบัติล้วงล้ำก้ำเกินเพียงใดก็ตาม พยายามมีสติพิจารณาหาทางให้อภัยทานเกิดขึ้นในใจให้ได้ ก่อนที่ความโกรธจะดับไปเสียเองก่อน

    ทำได้เช่นนี้จะเป็นคุณแก่ตนเองมากมายนัก ไม่เพียงแต่จะทำให้มีโทสะลดน้อยลงเท่านั้น และเมื่อปล่อยให้ความโกรธดับไปเอง ก็มักหาดับไปหมดสิ้นไม่ เถ้าถ่านคือความผูกโกรธมักจะยังเหลืออยู่ และอาจกระพือความโกรธขึ้นอีกในจิตใจได้ในโอกาสต่อไป

    ผู้อบรมจิตให้คุ้นเคยอยู่เสมอกับการให้อภัย แม้จะไม่ได้รับการขอขมา ก็ย่อมอภัยให้ได้ ในทางตรงกันข้าม ผู้ไม่เคยอบรมจิตใจให้คุ้นเคยกับการให้อภัยเลย โกรธแล้วก็ให้หายเอง แม้ได้รับการขอขมาโทษ ก็อาจจะไม่อภัยให้ได้ เป็นเรื่องของการไม่ฝึกใจให้เคยชิน

    อันใจนั้นฝึกได้ ไม่ใช่ฝึกไม่ได้ ฝึกอย่างไดก็จะเป็นอย่างนั้น ฝึกให้ดีก็จะดี ฝึกให้ร้ายก็จะร้าย...

    :: การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่
    :: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6185
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=maintitle vAlign=top> ผู้มีสติ...(หลวงพ่อชา สุภัทโท)</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    ผู้ใดมีสติอยู่ทุกเวลา
    ผู้นั้นก็จะได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา
    เพราะว่าเมื่อตามองเห็นรูปก็เป็นธรรมะ
    หูได้ยินเสียงก็เป็นธรรมะ จมูกได้กลิ่นก็เป็นธรรมะ
    ลิ้นได้รสก็เป็นธรรมะ
    ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ นึกขึ้นได้เมื่อใดเป็นธรรมะเมื่อนั้น

    ฉะนั้น ผู้มีสติจึงได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา
    ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน
    มันมีอยู่ทุกเวลาเพราะอะไร ? เพราะเรามีความรู้อยู่

    ในเวลานี้ เราจึงเรียนอยู่กลางธรรมะ
    จะเดินไปข้างหน้าก็ถูกธรรมะ จะถอยไปข้างหลังก็ถูกธรรมะ
    ท่านจึงให้มีสติถ้ามีสติแล้ว มันจะเห็นกำลังใจของตน
    เห็นจิตของตน ความรู้สึกนึกคิดของตัวเองเป็นอย่างไรก็ต้องรู้
    รู้ถึงที่แล้ว ก็รู้แจ้งแทงตลอดเมื่อมันรอบรู้อยู่เช่นนี้
    การประพฤติปฏิบัติมันก็ถูกต้องดีงามเท่านั้นแหละ

    คัดลอกจาก...
    http://www.thaitv3.com/drama/tamma/trick26.html


     

แชร์หน้านี้

Loading...