พบศิลาจารึกอักษรลาวโบราณ เก่ากว่าจารึกพ่อขุนรามฯ

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย MBNY, 10 ธันวาคม 2005.

  1. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,864
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,511
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="100%" background=themes/LerdsinSilver2004/images/column-bg.gif height="50%">
    [​IMG]

    (ภาพ: มติชน)


    นายศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการที่ปรึกษามูลนิธิเล็ก - ประไพ วิริยะพันธุ์ เปิดเผยว่าจากการเดินทางไปเมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปล.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างนั่งบนเครื่องบินสายการบินประจำชาติลาว พบ นิตยสารท่องเที่ยวเมืองลาว ฉบับที่ ๒๖ เดือนกรกฎาคม - กันยายน ๒๕๔๘ ในคอลัมน์ "มรดกลาว" นำเสนอเกี่ยวกับศิลาจารึกลาวหลักหนึ่ง ซึ่งสร้างขึ้นในปีจุลศักราช ๕๓๒ ตรงกับ พ.ศ.๑๗๑๓ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในสิมวัดวิชุน นครหลวงพระบาง ลักษณะเป็นเสาหินสูง ๑๐๓ เซนติเมตร จารึกเป็นตัวอักษรลาวโบราณ ๑๑ แถว ซึ่งหากการอ่านแปลดังกล่าวถูกต้อง ก็หมายความว่าจารึกหลักนี้ เก่าแก่กว่าศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๑๘๓๕


    "ถ้าเขาพิสูจน์ได้จริงว่าของเขาเก่า เราก็ต้องยอมรับ เพราะมันไม่มีประโยชน์ที่จะไปทะเลาะกันว่าของใครเก่าของใครใหม่ แต่มันเห็นพัฒนาการของสังคมว่า มีกลุ่มไทย-ลาวลงมาทางเขตหลวงพระบาง พูดง่ายๆ คือ ถ้ามันเป็นอักษรไทเก่าจริง เราก็เห็นเส้นทางเคลื่อนย้ายของคนไทย-ลาวที่เคลื่อนย้ายเข้ามาคือ ไม่ได้ผ่านจากยูนนานมาทางลำน้ำโขงมาเชียงแสนเชียงราย แต่มันมาจากทางตะวันออก จากแม่น้ำอู แม่น้ำดำ ตัดผ่านแม่น้ำโขงมาสุโขทัย" นายศรีศักรกล่าวในที่สุด


    (มติชน ๖ ธันวาคม ๒๕๔๘)

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="100%" bgColor=#ffffff height="50%"></TD></TR><TR><TD vAlign=top width="100%" bgColor=#ffffff height="100%"></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#999999 colSpan=4>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="2%" height=20>[​IMG]</TD><TD height=20>ผู้บันทึก: staff ... เมื่อ Wednesday 07 Dec 05 @ 08:00 </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา : วารสารเมืองโบราณ
     

แชร์หน้านี้

Loading...