อะไรคือธาตุมูลฐาน (Fundamental) ของสรรพสิ่ง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Chayutt, 18 สิงหาคม 2008.

  1. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    ยังไม่แน่ครับคุณ zipper เพราะพักนี้ ผมเบื่อๆไงไม่รู้
    ขี้เกียจเรียน ขี้เกียจรู้ ขี้เกียจฝึก ขี้เกียจโพสต์ ขี้เกียจอ่านไปซะหมดเลย

    จะจบหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ กระทู้นี้ ยังเหลืออีกโขเลยนะเนี่ย
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    หยุดสงสัย มันทำยากเนอะ

    เหนื่อยล้าก็หยุด พอหยุดก็สด

    พอสด ก็แทงหน่อขึ้นมาใหม่

    วนเวียน แล้วก็เวียนวน

    จนกว่าเขาจะยอมรับความเป็นจริง ตามที่เป็นจริง

    จนกว่าจะหมดแม๊ค
     
  3. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    ขี้เกียจเพราะรู้สึกว่าสิ่งที่เรารู้นั้น เพราะว่าพออ่านเรื่องนั้นเรื่องนี้ ก็รู้สึกว่าเราก็รู้แล้วและรู้ลึกกว่าด้วยหรือเปล่า

    หรือไม่งั้นก็เพราะว่าอยากจะทำอะไรใหม่ๆ ก็ได้นะ เดี๋ยวพอเจออะไรใหม่ๆ แปลกๆ ก็จะรู้สึกอยากรู้เอง

    หรือไม่ก็แต่ก่อนก็ตึงไป ตอนนี้เลยขอหย่อนบ้าง อิอิ
     
  4. LimitedZaa

    LimitedZaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +40
    จะว่าเป็นอะตอมก็ไม่ได้เต็มปากหรอกครับ เพราะอย่างลืมว่า อะตอมนั้น ก็มีส่วนประกอบย่อยออกมาอีกคือ โปรตรอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน และยังสามารถศึกษาในระดับเล็กลงไปได้อีกเรียกว่า ควาก และมีการค้นพบว่า เป็นเพียงแค่คลื่นของพลังงานรวมตัวกันเท่านั้น มูลฐานของสรรพสิ่งที่จริงก็คือ
    "ความว่างปล่าว"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2008
  5. bluephoenix

    bluephoenix Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +40
    อย่าเพิ่งหยุดนะครับ ต่อเรื่อยครับ น่าสนใจมาก

    กระดาษแผ่นหนึ่ง ให้คนอื่นดู

    ถาม - คุณเห็นอะไรบ้าง

    ตอบ - เห็นจุดตรงกลางครับ

    ถาม - เห็นจุดเท่านั้นเหรอ แล้กระดาษสีขาวล่ะ

    ตอบ - เห็นครับ

    ถาม - ทำไมเธอมองข้ามมันไปล่ะ ทั้งที่เห็นมันอยู่ เธอรับรู้ว่ามันมี แต่ทำไมไม่เคยสนใจ
    เหมือนกับ ความว่าง ในอะตอมมีทั้งที่ว่าง แล้วพลังงาน แต่คุณกัลบไม่สนใจที่ว่างนั้น
    เคยลองคิดไหมว่า มันว่างจริงเหรอ หรือ แค่มองข้ามมันไป
     
  6. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    โลกสร้างมาจากอะไร? เลปตอน (Leptons)



    <HR><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- Page content goes here --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->อนุภาคของสสารอีกชนิดหนึ่งคือเลปตอน.


    เลปตอนมีอยู่ 6 ชนิด
    - 3 ชนิดเป็นชนิดที่มีประจุไฟฟ้า
    - ส่วนอีก 3 ชนิดไม่มีประจุไฟฟ้า

    พวกมันมีลักษณะเหมือนจุดเล็กๆที่ปราศจากโครงสร้างภายใน
    เลปตอนชนิดที่เรารู้จักกันมากที่สุดคืออิเล็กตรอน (electron; e-).
    และอีก 2 ชนิดที่เป็นชนิดที่มีประจุไฟฟ้าคือ มิวออน (muon; [​IMG]) และทอร์ (tau; [​IMG]),
    ซึ่งสองชนิดหลังนี่ก็มีประจุแบบเดียวกับอิเล็กตรอน แต่ว่ามีมวลมากกว่า

    ส่วนเลปตอนอีก 3 ชนิดที่เหลือ คือ นิวตริโน (neutrinos; [​IMG]) ทั้ง 3 ตัว
    (อิเล็กตรอนนิวตริโน, มิวออนนิวตริโน และทอร์นิวตริโน)
    ซึ่งพวกมันไม่มีประจุไฟฟ้าและมีมวลน้อยนิดมาก และมิหนำซ้ำ
    ยังพบได้ยากมากอีกด้วย.

    ควาร์กมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มกับอนุภาคควาร์กชนิดอื่นๆ
    แต่เลปตอนมักจะอยู่แบบเดี่ยวๆ

    ถ้าจะเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆก็จะเปรียบเทียบได้ว่าเลปตอนที่มีประจุเปรียบเสมือนเสือ
    ส่วนเลปตอนที่ไม่มีประจุจะเปรียบเสมือนตัวหมัด ซึ่งถูกพบได้ยากมากนั่นเอง


    [​IMG]


    เลปตอนแต่ละตัว มันก็จะมีแอนตี้อนุภาคของมันเอง เรียกว่า
    “แอนตี้เลปตอน”(antilepton)

    แต่อย่าลืมว่าแอนตี้อิเล็กตรอนเราจะเรียกมันว่า “โพสิตรอน”(positron)


    ...........................................<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2009
  7. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    โลกสร้างมาจากอะไร? การสลายตัวของเลปตอน (Lepton Decays)


    <hr><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- Page content goes here --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->
    เลปตอนที่มีมวลมากๆ เช่น มิวออนและทอร์ จะไม่สามารถพบได้ในสสารทั่วไปเลย
    เพราะว่าเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว มันจะสลายตัวไปเร็วมาก กลายเป็นเลปตอนที่มีมวลน้อยกว่า
    บางครั้งเลปตอนที่ชื่อทอร์ ก็จะสลายตัวไปเป็นควาร์ก ,แอนตี้ควาร์ก และ
    ทอร์นิวตริโน (tau neutrino) อิเล็กตรอนและนิวตริโนทั้ง 3 ชนิดมีความเสถียร
    เราจึงพบพวกมันได้ทั่วไปรอบๆตัวเรา.

    [​IMG]

    <center></center>
    การสลายตัวของเลปตอนที่มีมวลมาก จะทำให้เกิดอนุภาคนิวตริโนที่สัมพันธ์กับตัวมันเอง 1 ชนิด
    และยังจะได้อนุภาคอื่นๆ เช่น ควาร์ก หรือ แอนตี้ควาร์ก หรือ เลปตอนชนิดอื่น หรือ
    แอนตี้นิวตริโน อีกด้วย. นักฟิสิกซ์ได้สังเกตพบว่า การสลายตัวของเลปตอนบางชนิดบางชนิดก็เป็นไปได้
    แต่บางชนิดก็เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นพวกเขาจึงได้แบ่งชนิดของเลปตอนออกเป็น 3 กลุ่ม นั่นก็คือ

    <o></o>
    - อิเล็กตรอน กับ อิเล็กตรอนนิวตริโน<o></o>
    - มิวออน กับ มิวออนนิวตริโน<o></o>
    - ทอร์ กับ ทอร์นิวตริโน<o></o>

    จำนวนของอนุภาคในแต่ละกลุ่มที่มีอยู่ก่อนและหลังการสลายตัวจะต้องมีค่าคงที่
    หมายถึงผลรวมของมันก่อนและหลังการสลายตัวจะต้องมีค่าเท่ากับ “0”
    ซึ่งเลปตอนทั้งหลาย แม้ว่าพวกมันจะชอบอยู่แบบเดี่ยวๆ แต่มันก็เป็นไปตามกฎนี้เสมอ



    ...............................................<o></o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  8. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    โลกสร้างมาจากอะไร?
    การอนุรักษ์ชนิดของเลปตอน (Lepton Type Conservation)

    <hr>​

    เลปตอนถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ อิเล็กตรอนและอิเล็กตรอนนิวตริโน,
    มิวออนและมิวออนนิวตริโน, ทอร์และทอร์นิวตริโน.


    พวกเราใช้คำว่า “อิเล็กตรอนนัมเบอร์” (electron number) “มิวออนนัมเบอร์" (muon number)
    และ "ทอร์นัมเบอร์" (tau number) เวลาพูดถึงแต่ละกลุ่มของอนุภาคเลปตอน
    อิเล็กตรอนและอิเล็กตรอนนิวตริโนจะมีอิเล็กตรอนนัมเบอร์เท่ากับ +1
    ส่วนโพสิตรอนและโพสิตรอนนิวตริโนจะมีอิเล็กตรอนนัมเบอร์เท่ากับ -1
    ส่วนอนุภาคอื่นๆจะมีจำนวนอิเล็กตรอนนัมเบอร์เท่ากับ 0
    และสำหรับมิวออนและทอร์ ก็จะใช้กฎเกณฑ์ทำนองเดียวกันนี้ด้วย
    <o></o>
    สิ่งหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวกับเลปตอน คือ เมื่อมีการสลายตัวของเลปตอนที่มีมวลมาก
    ไปเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า ค่าของอิเล็กตรอนนัมเบอร์ ,มิวออนนัมเบอร์
    และทอร์นัมเบอร์ จะถูกอนุรักษ์ไว้เสมอ<o></o>

    ตัวอย่างของการสลายตัว.<o></o>

    มิวออน 1 ตัว สลายตัวไปเป็นมิวออนนิวตริโน 1 ตัว,
    อิเล็กตรอน 1 ตัว และ อิเล็กตรอนแอนตี้นิวตริโน 1 ตัว:


    [​IMG]


    จะเห็นได้ว่า อิเล็กตรอนนัมเบอร์ ,มิวออนนัมเบอร์ และ ทอร์นัมเบอร์จะถูกสงวนไว้เสมอ
    ซึงกฎเกณฑ์เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ทำให้เราจำแนกได้ว่าทฤษฎีของการสลายตัวใดของเลปตอนที่สามารถเป็นไปได้.

    <script language="JavaScript">writeCloseOldNav();</script><o></o>
    .............................................​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  9. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    โลกสร้างมาจากอะไร? นิวตริโน (Neutrinos)


    <hr>
    [​IMG] นิวตริโน (Neutrinos) คือเลปตอนชนิดหนึ่ง อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้ว
    เพราะว่าพวกมันไม่มีประจุไฟฟ้าพวกมันจึงไม่ทำปฏิกิริยากับอนุภาคชนิดอื่นๆ
    อนุภาคนิวตริโนส่วนใหญ่ จึงผ่านตรงลงมายังพื้นโลกโดยไม่มีการทำปฏิกิริยาใดๆกับอนุภาคใดๆเลย.

    [​IMG] นิวตริโนถูกสร้างขึ้นโดยปฏิกิริยาเฉพาะบางอย่าง โดยเฉพาะปฏิกิริยาการสลายตัวของอนุภาค
    ที่จริงแล้วมันเคยถูกศึกษาอย่างระมัดระวังจากปฏิกิริยาการสลายตัวของกัมมันตภาพรังสี
    ซึ่งนักฟิสิกซ์เคยให้สมมุติฐานไว้ถึงการมีอยู่ของมัน.

    [​IMG]

    ตัวอย่างที่ 1:

    (1)ในนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสี นิวตรอนที่อยู่ในสภาพพักตัว
    ซึ่งมีโมเมนตัมเป็น 0 (zero momentum) จะเกิดการสลายตัว ได้โปรตอนกับอิเล็กตรอน.

    (2)เพราะว่ากฎของการสงวนโมเมนตัม ดังนั้นโมเมนตัมของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น
    จากการสลายตัวดังกล่าวจึงต้องมีค่า = 0 ซึ่งถ้าลำพังโปรตอนและอิเล็กตรอน
    จะไม่ทำให้ผลรวมของโมเมนตัมเป็น 0 ขึ้นมาได้.

    (3)ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องอนุมานเอาว่า มันน่าจะมีอนุภาคชนิดอื่นอีก (นอกเหนือจากแค่โปรตอนและอิเล็กตรอน)
    ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็จะทำให้โมเมนตัมของสภาวะนี้เกิดการสมดุลย์ได้พอดี.

    (4)พวกเราได้ตั้งสมมุติฐานว่า อนุภาคอื่นที่ว่านั้น ที่อาจจะถูกปลดปล่อยออกมาด้วยนั้น น่าจะเป็น
    “แอนตี้นิวตริโน”1 ตัว ซึ่งจากผลการทดลองต่างๆ ก็ได้ยืนยันแล้วว่าสมมุติฐานนั้น เป็นจริง.
    <v></v>
    [​IMG] เพราะว่าอนุภาคนิวตริโนนั้น ถูกสร้างขึ้นมาอย่างมากมาย ในช่วงต้นๆของการกำเนิดเอกภพ
    และเพราะว่าพวกมันแทบจะไม่ทำปฏิกิริยากับสิ่งใดเลย ดังนั้น จึงยังคงมีพวกมันอยู่มากมายในเอกภพนี้
    และเพราะมวลอันน้อยนิดของพวกมัน แต่ทว่ามีจำนวนมหาศาลนี้เอง จึงอาจมีส่วนทำให้พวกมัน
    มีผลกระทบต่อมวลรวมของทั้งเอกภพและรวมถึงการขยายตัวของเอกภพด้วยก็เป็นได้.
    <script language="JavaScript">writeCloseOldNav();</script><o></o>
    ..................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  10. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    โลกสร้างมาจากอะไร?
    สสารรุ่นต่างๆ (The Generations of Matter)

    <hr><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- Page content goes here --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->[​IMG]

    โปรดจำไว้ว่า ทั้ง ควาร์กและเลปตอน มีอยู่อย่างละ 3 ชุดซึ่งแต่ละชุดที่มีประจุแตกต่างกันนี้
    เราเรียกว่า รุ่น ของสสาร (ประจุเท่ากับ +2/3, -1/3, 0, และ -1 แล้วแต่รุ่น). รุ่นต่างๆเหล่านี้
    ถูกแบ่งกลุ่มตามการเพิ่มขึ้นของมวล.


    สสารที่เราสามารถมองเห็นได้ทุกๆชนิดในเอกภพนี้ เกิดขึ้นจากอนุภาครุ่นที่ 1 ซึ่งได้แก่
    ควาร์กขึ้น, ควาร์กลง และอิเล็กตรอน เพราะว่าอนุภาครุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 ทั้งหมดไม่มีความเสถียร
    และมีการสลายตัวไปเป็นอนุภาครุ่นที่ 1 อย่างรวดเร็วนั่นเอง<o></o>

    แต่เดี๋ยวก่อนนะ ถ้าอนุภาครุ่นที่ 2 และ 3 สลายตัวได้อย่างรวดเร็วและถูกค้นพบได้ค่อนข้างยาก
    แล้วยังไม่ได้เป็นส่วนประกอบของสสารทั้งหลายที่อยู่รอบๆตัวเราแล้วหละก็ ทำไมพวกมันถึงยังคงมีอยู่อีกหละ?<o></o>


    เป็นคำถามที่ดี อันที่จริงแล้ว ตอนที่มิวออนถูกค้นพบใหม่ๆนั้น ก็มีนักฟิสิกส์ชื่อ I.I. Rabi เคยถามคำถามนี้มาแล้วเหมือนกัน,

    [​IMG]

    เออนั่นสิ..แล้วทำไมเราถึงต้องแบ่ง รุ่น ให้กับอนุภาคพวกนี้ด้วยนะ แล้วทำไมต้องมี 3 รุ่นด้วยหละ?

    คำตอบคือ พวกเราก็ไม่รู้ แต่ว่าเพราะพวกเรายังไม่เข้าใจ ว่าทำไมอนุภาครุ่นที่ 2 และ 3 ถึงมีอยู่
    พวกเราจึงยังไม่สามารถที่จะบัญญัติกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความน่าจะเป็นที่ว่ามันอาจจะยังมีอนุภาคอื่นๆอีก
    นอกเหนือจากควาร์กและเลปตอน ที่เรายังค้นไม่พบก็เป็นได้ หรือมิฉะนั้นก็คือ บางทีควาร์กและเลปตอน
    ก็อาจจะยังไม่ใช้อนุภาคมูลฐานของสสารต่างๆอย่างที่กำลังเข้าใจกันอยู่นี้ก็เป็นได้
    พวกมันอาจจะประกอบขึ้นมาจากอนุภาคชนิดอื่น อะไรบางอย่างที่เล็กลงไปยิ่งกว่าอีก ก็เป็นได้.


    .....................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  11. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    โลกสร้างมาจากอะไร?
    บทสรุปของสสาร (Matter Summary)

    <HR><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- Page content goes here --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->ตอนนี้เราก็ทราบกันแล้วว่า โลกสร้างมาจากอะไร นั่นคือ สร้างมาจากอนุภาคที่เล็กที่สุด ซึ่งก็คือ
    ควาร์กทั้ง 6 ชนิด และ เลปตอนทั้ง 6 ชนิดนั่นเอง.


    [​IMG]


    <CENTER></CENTER>
    แต่ว่า มันยังมีอะไรบางอย่างที่น่าสงสัยอยู่ จำได้ไหมว่าเรายังไม่เคยค้นพบควาร์กที่อยู่เป็นอนุภาคเดี่ยวๆเลย

    เราพบแต่ที่มันอยู่รวมกับอนุภาคอื่นๆที่เราเรียกกลุ่มของมันว่า
    เฮดรอน และเราก็ค้นพบว่าอนุภาคทุกๆชนิด จะมี ปฏิยานุภาค
    (antimatter particle) ของมันเองทุกๆตัวไป


    .......................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2009
  12. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772

    อะไรหละ ที่ยึดเหนี่ยวมันเอาไว้ด้วยกัน?
    แรงทั้ง 4 (The Four Interactions)


    <hr>
    ตอนนี้เราหาความคิดดีว่าโลกสร้างมาจากอะไรได้แล้วนะ คำตอบคือ “ควาร์กและเลปตอน” แต่ว่า...

    อะไรหละ ที่ยึดเหนี่ยวมันเอาไว้ด้วยกัน?<o></o>

    เอกภพที่เรารู้จักและรักนี้ ดำรงอยู่ได้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กันของอนุภาคมูลฐานทั้งหลาย
    ปฏิกิริยาที่ว่านี้ รวมถึงการดึงดูดและการพลักกัน การสลายตัวและการทำลายล้างกัน.


    [​IMG]

    มีปฏิกิริยาพื้นฐานอยู่ 4 ประเภท ระหว่างอนุภาคต่างๆ และแรงทั้งหมดในโลกนี้
    สามารถนำมาจัดกลุ่มให้อยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่งของปฏิกิริยาทั้ง 4 ประเภทนี้ได้ทั้งสิ้น!

    ใช่แล้ว: แรงกระทำใดๆก็ตามที่คุณรู้จัก - เช่นแรงเสียดทาน, แรงแม่เหล็ก, แรงดึงดูด, แรงนิวเคลียร์ (nuclear decay),

    และอื่นๆอีกมากมาย ล้วนเกิดมาจากปฏิกิริยาพื้นฐานประเภทใดประเภทหนึ่งใน 4 ประเภทนี้ทั้งนั้นเลย.


    แรง (force) กับปฏิกิริยา (interaction) แตกต่างกันอย่างไร?

    มันอาจจะจำแนกให้ชัดเจนได้ค่อนข้างยาก ถ้าพูดจริงๆแล้ว “แรง”(force) คือผลกระทบที่มีต่ออนุภาคใดๆ
    ที่เกิดจากการมีอยู่ของอนุภาคอื่นๆส่วน “ปฏิกิริยา”(interaction) ของอนุภาคใดๆ
    จะหมายรวมถึงผลกระทบของแรงทุกชนิด ที่มีต่อมันด้วย แต่ก็จะรวมถึงการสลายตัว
    และการทำลายล้างของอนุภาคนั้นๆด้วย (ซึ่งเราจะมาพูดถึงเรื่องนี้กันในภายหลัง)

    เพราะเหตุนี้เอง จึงทำให้คนส่วนใหญ่สับสน แม้แต่นักฟิสิกส์เอง ก็ยังใช้ศัพท์ 2 คำนี้

    ในความหมายที่สลับที่กันไปมาเลย แม้ว่าคำว่า “ปฏิกิริยา”(interaction)
    จะดูถูกต้องมากกว่าก็ตาม แต่บางครั้ง เราก็เรียกอนุภาคที่เกิดปฏิกิริยาว่า
    “อนุภาคขนส่งแรง”(force carrier particles).

    คุณอาจจะใช้ศัพท์ 2 คำนี้สลับกันก็ได้ ไม่เป็นไร แต่คุณควรรู้ว่ามันมีความหมายที่แตกต่างกัน.

    .............................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  13. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    อะไรหละ ที่ยึดเหนี่ยวมันเอาไว้ด้วยกัน?<o></o>
    สสารทำปฏิกิริยาต่อกันได้อย่างไร?
    (How Does Matter Interact?)

    <hr>
    <!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- Page content goes here --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->[​IMG]



    มีอยู่คำถามหนึ่ง ที่เคยทำให้นักฟิสิกส์ทั้งหลายกุมขมับอยู่ตั้งหลายปี นั่นก็คือ...

    อนุภาคของสสารต่างๆทำปฏิกิริยาต่อกันได้อย่างไร?<o></o>

    ปัญหาก็คือ สสารพวกนั้นมันทำปฏิกิริยากันโดยไม่ต้องสัมผัสกันนี่สิ

    อย่างเช่น แม่เหล็ก 2 อัน มัน “รู้สึก” ถึงกันและกันได้อย่างไร?
    ทำไมมันถึง “ดูด” และ “ผลัก” กันได้?
    และทำไมดวงอาทิตย์ถึงดึงดูดโลกได้?

    เรารู้ว่าคำตอบก็คือ เกิดจาก “แรงแม่เหล็ก” (magnetism)
    และ “แรงโน้มถ่วง” (gravity) ตามลำดับ
    แต่อะไรหละคือแรงกระทำเหล่านี้?

    ในระดับมูลฐานแล้ว แรงไม่ใช่แต่เพียงสิ่งที่เกิดขึ้นกับอนุภาคต่างๆเท่านั้น
    แต่มันยังเป็นอะไรที่ถูกส่งให้ผ่านไประหว่างอนุภาคทั้ง 2 นั้นด้วย.

    .............................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  14. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    อะไรหละ ที่ยึดเหนี่ยวมันเอาไว้ด้วยกัน?
    ปรากฏการณ์ที่มองไม่เห็น (The Unseen Effect)

    <hr><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- Page content goes here --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->
    เราลองมาคิดตามสถานการณ์ตัวอย่างนี้ดูบ้างดีกว่า:

    สมมุติว่ามีคน 2 คนยืนอยู่บนบ่อน้ำแข็ง คนแรกทำท่าหดแขนเข้าแล้วผลักอะไรบางอย่างส่งออกไป
    ชั่วครู่ต่อมา อีกคนหนึ่งก็ทำท่าเหมือนว่ารับเอาอะไรบางอย่างจากคนแรกไว้ แล้วก็ผลักส่งคืนกลับมาให้คนแรก
    ซึ่งถึงแม้ว่าคุณอาจจะมองไม่เห็นลูกบาสเก็ตบอล แต่คุณก็อาจจะพอเดาได้จากท่าทางของคนทั้ง 2 คนได้

    (ไปดู VDO ได้จากลิงค์นี้นะครับ
    เพราะผมไม่รู้ว่าจะทำยังไงให้มันมาโผล่ที่นี่ได้


    แล้วก็ลองคลิ๊กที่รูปลูกบาสเก็ตบอลมุมขวาด้านล่าง VDO ดูนะครับ - Chayutt)

    <center></center><center></center>
    ตัวอย่างนี้ ทำให้เราเชื่อว่า ทุกๆปฏิกิริยาที่ส่งผลกระทบต่ออนุภาคของสสารทั้งหลาย
    ล้วนแล้วแต่เกิดจากการแลกเปลี่ยน “อนุภาคขนส่งแรง”(force carrier particles) ซึ่งกันและกันทั้งสิ้น
    ซึ่งอนุภาคขนส่งแรงที่ว่านี้ เปรียบเสมือนลูกบาสเก็ตบอลที่ถูกโยนออกไปให้แก่กันและกัน
    ท่ามกลางอนุภาคของสสารต่างๆ (ซึ่งเปรียบเหมือนผู้เล่นบาสเก็ตบอลทั้งหลาย)

    นั่นแหละที่ทำให้เราคิดว่า แท้ที่จริงแล้ว “แรง” ก็คือผลของการกระทำของอนุภาคขนส่งแรง
    ที่มีต่ออนุภาคของสสารต่างๆนั่นเอง.
    <o></o>
    ภาพเคลื่อนไหวของการโยนลูกบาสเก็ตบอลนี้ จริงๆแล้ว มันเป็นแค่ตัวอย่างหยาบๆ
    ที่สามารถอธิบายได้เฉพาะแรงผลักเท่านั้น มันยังไม่สามารถที่จะอธิบายถึงแรงดึงดูดได้.
    <o></o>
    เราพบเห็นตัวอย่างของแรงดึงดูดได้ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น แม่เหล็กและแรงโน้มถ่วง เป็นต้น
    แต่เราก็มักจะไม่คิดอะไรมาก แค่รับรู้ว่าวัตถุชิ้นหนึ่ง สามารถส่งผลกระทบต่อวัตถุอีกชิ้นหนึ่งได้เท่านั้นเอง

    แต่ถ้าต้องตอบคำถามว่า “วัตถุ 2 ชิ้นส่งผลกระทบต่อกันโดยที่ไม่สัมผัสกันได้อย่างไร?”
    เราก็จะเสนอคำตอบให้ว่า เพราะเกิดจากการแลกเปลี่ยนอนุภาคขนส่งแรงซึ่งกันและกัน อย่างที่ว่านั้น

    นักฟิสิกส์อนุภาค ได้ค้นพบว่า เราสามารถอธิบายเกี่ยวกับแรงของอนุภาคหนึ่ง
    ที่กระทำต่ออีกอนุภาคหนึ่ง ด้วยความแม่นยำอย่างน่าทึ่ง โดยการแลกเปลี่ยนอนุภาคขนส่งแรงเหล่านี้นี่เอง
    <o></o>
    มีเรื่องสำคัญอยู่เรื่องหนึ่งที่น่ารู้เกี่ยวกับอนุภาคขนส่งแรง นั่นคือ อนุภาคขนส่งแรงใดๆ
    สามารถถูกดูดซับหรือสร้างขึ้นมาจากอนุภาคของสสารที่ได้รับผลกระทบจากแรงชนิดนั้นๆเท่านั้น

    ตัวอย่างเช่น อิเล็กตรอนและโปรตอนซึ่งมีประจุไฟฟ้า ดังนั้น พวกมันจึงสามารถดูดซับ
    และสร้างอนุภาคขนส่งแรงแม่เหล็กไฟฟ้าได้เท่านั้น (นั่นคือ โฟตอน)
    ส่วนนิวตริโนที่ไม่มีประจุไฟฟ้า พวกมันก็จะไม่สามารถดูดซับและสร้างโฟตอนได้.


    <center>[​IMG]</center>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  15. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    อะไรหละ ที่ยึดเหนี่ยวมันเอาไว้ด้วยกัน? แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetism)

    <HR><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- Page content goes here --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->
    [​IMG]
    [​IMG]

    แรงแม่เหล็กไฟฟ้าจะทำให้สิ่งที่มีประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันผลักกัน
    และจะทำให้สิ่งที่มีประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันดึงดูดซึ่งกันและกัน

    แรงที่เรารู้จักในชีวิตประจำวันของเรามากมาย เช่น เรียงเสียดทาน
    หรือแม้แต่แรงแม่เหล็ก เกิดจากแรงแม่เหล็กไฟฟ้า
    หรือ ที่เราเรียกย่อๆว่าแรง E-M (E-M force) นี้ .

    ตัวอย่างเช่น แรงที่ทำให้เราติดอยู่กับพื้นได้ก็เกิดจากแรงแม่เหล็กไฟฟ้า
    ซึ่งทำให้อะตอมสร้างสสารที่อยู่ในเท้าของเรา และที่อยู่ในพื้นทนต่อการแยกจากกันได้.

    [​IMG][​IMG]

    อนุภาคขนส่งแรงของแรงแม่เหล็กไฟฟ้าคือ โฟตอน (photon, [​IMG]).

    โฟตอนที่มีระดับพลังงานแตกต่างกัน จะกระจายอยู่ในช่วงสเปกตรัม
    ของแรงแม่เหล็กไฟฟ้าที่แตกต่างกัน เช่น อยู่ในช่วงสเปกตรัมของรังสีเอ็กซ์ (x rays),
    แสงที่มองเห็นได้ (visible light), คลื่นวิทยุ (radio waves), และอื่นๆ เป็นต้น.

    โฟตอนเป็นอนุภาคที่ปราศจากมวลอย่างที่เราทราบกันมานานแล้ว
    และโฟตอนนี้ก็เคลื่อนที่ด้วยความเร็วแสง ( c )
    ซึ่งมีค่าประมาณ 300,000,000 เมตรต่อวินาที หรือ 186,000 ไมล์ต่อวินาทีในสูญญากาศ.


    .......................................<!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- End page content --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2009
  16. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    อะไรหละ ที่ยึดเหนี่ยวมันเอาไว้ด้วยกัน?
    อนุพันธ์ของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า (Residual E-M Force)

    <HR><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- Page content goes here --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->
    ปกติแล้วอะตอมจะมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนในปริมาณที่เท่าๆกัน
    พวกมันจึงมีประจุไฟฟ้ารวมเป็นกลางพอดี
    เพราะว่าประจุบวกของโปรตอนก็จะไปหักล้างกันพอดีกับประจุลบของอิเล็กตรอน

    แต่เพราะว่าถ้ามันเป็นกลางทางไฟฟ้าอย่างว่าแล้ว
    อะไรหละที่ทำให้พวกมันยังเกาะกลุ่มอยู่ด้วยกัน
    จนกลายเป็นโมเลกุลที่เสถียรได้?

    คำตอบอาจจะดูแปลกอยู่ซักหน่อย เพราะพวกเราค้นพบว่า ส่วนที่เป็นประจุของอะตอมหนึ่ง
    สามารถที่จะทำปฏิกิริยากับส่วนที่มีประจุ(ตรงข้าม)ของอีกอะตอมหนึ่งได้
    ทำให้อะตอมที่แตกต่างกัน เกาะกันอยู่ได้ ซึ่งปฏิกิริยานี้เราเรียกว่า อนุพันธ์ของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า
    (residual electromagnetic force).

    [​IMG]

    ดังนั้นแรงแม่เหล็กไฟฟ้า คืออะไรที่ทำให้อะตอมเกาะกันจนกลายเป็นโมเลกุลขึ้นมาได้
    และมันก็ทำให้โลกนี้ยังเกาะกันเป็นรูปเป็นร่างอยู่ได้ และยังสร้างสสารต่างๆขึ้นมา
    ให้เราได้มีปฏิสัมพันธ์ด้วยอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันอย่างที่เป็นอยู่นี่ไง น่าทึ่งไหม๊หละ?

    โครงสร้างทุกๆส่วนของโลกเป็นไปอย่างง่ายๆแบบนี้แหละ
    เพราะว่าโปรตอนและอิเล็กตรอนมีประจุที่แตกต่างกัน!

    คุณเห็นอะไรไหม๊? ตอนนี้คุณรู้ถึงความหมายของชีวิตหรือยัง!
    ชีวิตก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เรียบง่ายของแรงแม่เหล็กไฟฟ้านี่เอง!

    .......................................<!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- End page content --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2009
  17. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    อะไรหละ ที่ยึดเหนี่ยวมันเอาไว้ด้วยกัน?
    แล้วนิวเคลียสหละ? (What about the Nucleus?)
    <hr>
    <!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- Page content goes here --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->
    พวกเรามีปัญหาอีกข้อหนึ่งเกี่ยวกับอะตอมเข้าให้แล้ว !!

    เอ่อ..นั่นก็คือ อะไรที่ทำให้นิวเคลียสเกาะอยู่ด้วยกันได้?

    [​IMG]

    นิวเคลียสของอะตอมใดๆ จะประกอบไปด้วยกลุ่มของโปรตอน และนิวตรอน
    อัดแน่นเบียดเสียดกันอยู่ แต่เพราะว่านิวตรอนไม่มีประจุไฟฟ้า ส่วนโปรตอนทั้งหลายนั้น มันมีประจุบวก

    ซึ่งปกติแล้วประจุชนิดเดียวกันมันจะผลักกัน แต่ทำไมพวกมันถึงยังเกาะอยู่ด้วยกันได้?
    ทำไมนิวเคลียสจึงไม่ระเบิดออกเป็นเสี่ยงๆหละ?

    [​IMG]

    พวกเราไม่สามารถใช้เหตุผลของแรงแม่เหล็กไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว มาอธิบายถึงปรากฎการณ์นี้ได้

    แล้วมันควรจะเป็นอะไรหละ? แรงโน้มถ่วงเหรอ? ไม่มีทางเลย! เพราะแรงโน้มถ่วงนั้นอยู่ห่างไกล
    และอ่อนเกินกว่าที่จะทำอย่างนั้นได้.

    ถ้างั้น..เราจะผ่านพ้นสถานการณ์วิกฤตินี้ไปได้อย่างไร?

    .................................<!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* --><!-- End page content --><!-- *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-* -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  18. mamboo

    mamboo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +1,973
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ผู้รับรู้

    ไม่ได้มีแต่ในมนุษย์ เท่านั้นมั้ง ผู้รับรู้มีทั้งในสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต (ในควาก เลปตรอน ก็มี)

    มีอยู่แม้ในความว่างเปล่า ถ้าความว่างเปล่านั้นคือ นามว่าง (มีผู้รู้ รู้สึกถึงความว่าง)

    เพิกความว่างออก เข้าถึงมหาสุญญตา หลุดพ้นจากทุกขัง

    ในสัตว์ทุกภพภูมิ เขาก็มีผู้รู้รับรู้ความรู้สึกนะ

    แต่มนุษย์มีพิเศษกว่าภพภูมิอื่นตรงที่ มีผู้รู้อารมณ์ปรมัติถ์ เข้าถึงสภาวะมหาสุญญตาได้

    ปล.โปรดใช้วิจารณญาณ เราโม้เอาล้วนๆ จับแพะชนแกะ สงสัยเราจะมีจินตนาการมากไปหน่อย
     
  20. LimitedZaa

    LimitedZaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +40
    เท่าที่เคยเรียนมานะครับ สาเหตุที่โปรตรอนซึ่งเป็นประจุบวกอยู่รวมกันแล้วทำไม่ไม่ผลักกันออกมา เพราะว่าไอเจ้าโปรตรอนเนี่ยมันมีแรงพลังงานที่ดึงดูดกันมหาศาล(จำไม่ได้ว่าเท่าไร) เกินกว่าที่แรงแม่เหล็กจะสามารถผลักออกมาได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...