พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ประวัติพระครูนิวาสธรรมขันธ์​ (หลวงพ่อเดิม)

    http://www.bp-th.org/webboard/index.php/topic,1780.0.html

    [​IMG]

    วัดหนองโพ​

    อำ​เภอตาคลี​ ​จังหวัดนครสวรรค์

    จาก​หนังสือ​ ​กิตติคุณหลวงพ่อเดิม

    ธนิต​ ​อยู่​โพธิ์​ ​เรียบเรียง

    ชาติภูมิ​ ​หลวงพ่อเดิมถือกำ​เนิดเมื่อวันพุธ​ ​แรม​ ๑๓ ​ค่ำ​ ​เดือน​ ๓ ​ปีวอก​ ​จุลศักราช​ ๑๒๒๒ (แรม​ ๑๓ ​ค่ำ​ ​นั่นมิ​ใช่​วันพุธ​ ​เป็น​วันศุกร์ตรง​กับ​วันที่​ ๘ ​กุมภาพันธ์​ ​พ​.​ศ​. ๒๔๐๓ ​โยมบิดาชื่อ​ ​นายเนียม​ โยมมารดาชื่อ​ ​นางภู่​ ​มีพี่น้องร่วมบิดา​ ​มารดา​ ​คือ
    ๑. ​หลวงพ่อเดิม​ ​เพราะ​เหตุที่​เป็น​บุตรชายคนแรกของบิดามารดา​ ​ปู่ย่าตายาย​จึง​ให้​ชื่อว่า​
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    พระอรหันต์เเปดทิศ
    http://palungjit.org/showthread.php?t=133646
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message --><TABLE borderColor=#ff9900 height=100 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=614 align=center border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffecd9>พระอรหันต์แปดทิศ

    ทิศบูรพา

    ...........พระอรหันต์ประจำทิศ ได้แก่ พระอัญญาโกณทัญญะ ซึ่งเป็นพระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา และเป็นพระสงฆ์
    ผู้สำเร็จพระอรหันต์องค์แรก ถ้าท่านใดอยากเป็นผู้ชนะก่อนใคร โบราณถือว่าต้องบูชาพระจันทร์ก่อน เพื่อเสริมส่งให้มีเมตตา
    มหานิยม ให้มีความสำเร็จก่อนผู้ใด
    ตามคติของพระพุทธศาสนา จัดให้พระพุทธรูปปางห้ามญาติ เป็นพระประจำวันจันทร์ (พระพุทธรูปยืน ปางห้าม
    ญาติ ยกพระหัตถ์ขวาแบอยู่ระดับหน้าอก พระหัตถ์ซ้ายห้อยอยู่ข้างตัว หรือพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร ยกพระหัตถ์ทั้ง
    สองแบอยู่ระดับอก) แล้วได้จัดให้พระปริตบทยันทุน เป็นคาถาสวดสำหรับวันจันทร์ โดยสวด 15 จบ เพื่อช่วยให้เกิดโชคลาภ
    คุ้มภัยอันตรายได้ และจะมีความเจริญปราศจากโรคาพยาธิทั้งปวง และยังจัดให้คาถาพระอิติปิโส 8 ทิศ บทกระทู้ 7 แบก
    สำหรับสวดภาวนาประจำวันจันทร์ คือ คาถา " อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา "


    ทิศอาคเนย์

    .................พระอรหันต์ประจำทิศได้แก่ พระมหากัสสป เป็นพระสาวกที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นเลิศกว่าพระอื่น ถือธุดงค
    วัตร เป็นพระสงฆ์ที่มีร่างกายเสมอเหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ มีร่างกายใหญ่โตมาก พระองค์จึงได้ประทาน
    ผ้าสังฆาฎิให้กับพระมหากัสสป ถ้าท่านใดอยากได้ความเป็นใหญ่ มีผู้คนยอมรับนับหน้าถือตาก็ควรบูชาพระอังคาร ซึ่งอยู่
    ประจำทิศอาคเนย์
    ตามคติทางพระพุทธศาสนา จัดให้พระพุทธรูปปางไสยยาสน์ (นอน) เป็นพระประจำวันอังคาร และพระปริตบทขัด
    กรณียเมตตาสูตร เป็นคาถาสวดสำหรับพระอังคาร โดยสวด 8 จบบูชา พระปางไสยาสน์ เพื่อช่วยให้เกิดโชคลาภ และคุ้มภัย
    อันตรายได้ และจะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน และยังจัดให้คาถาพระอิติปิโส 8 ทิศ บทเรียกฝนแสนห่า เป็นคาถาภาวนา
    ประจำพระอังคาร คือคาถา " ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง "


    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffecd9>ทิศทักษิณ

    ..............
    ระอรหันต์ประจำทิศ ได้แก่ พระสารีบุตร ซึ่งเป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศทางปัญญา แม้นกำเม็ดทราย 1 กำมือ ก็สามารถนับ
    ได้ ถ้าผู้ใดอยากมีปัญญาเฉลียวฉลาด มีวาจาอ่อนหวานไพเราะ บริสุทธิ์ ก็ให้บูชาพระพุธ ซึ่งชุบมาจากคชสาร
    ตามคติทางพระพุทธศาสนา จัดให้พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เป็นพระประจำวันพุธ (กลางวัน) และจัดให้สวดบทขัด
    พระปริตบทสัพพาสี เป็นคาถาสวดประจำสำหรับวันพุธ โดยสวด 17 จบ เพื่อบูชาพระปางอุ้มบาตร เพื่อช่วยให้เกิดโชคลาภ
    คุ้มภัยอันตรายได้ และจะมีความสุขสวัสดียิ่งๆ ขึ้นไป และยังจัดให้คาถาพระอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์เกลื่อนสมุทร เป็นคาถา
    ประจำพระพุธด้วย คือ " ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท "


    ทิศหรดี

    ..............พระอรหันต์ประจำทิศ คือ พระอุบาลี ซึ่งเป็นเอตทัคคะในด้านการทรงพระวินัย เปรียบอยู่ในกฏระเบียบ ซึ่งถ้าผู้ใดต้อง
    การให้บุตรหลานอยู่ในระเบียบวินัยไม่หลงมัวเมาในอบายมุข ก็ควรบูชาพระเสาร์
    ตามคติของพระพุทธศาสนา จัดให้พระพุทธรูปนั่งปางนาคปรก และจัดคาถายะโตหัง เป็นคาถาบทสวดสำหรับพระ
    เสาร์ โดยสวด 10 จบ ตามกำลังวัน บูชาพระนาคปรกเพื่อจะได้ช่วยคุ้มกันอันตรายต่างๆ ช่วยให้เกิดโชคลาภ จะมีความสุข
    ความเจริญ และเกิดความสวัสดี มีมงคลตลอดกาลนานและยังให้บทสวดพระคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์คลายจักร เป็น
    คาถาประจำพระเสาร์อีกด้วยคือ " โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ "


    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffecd9>ทิศปัจจิม

    ...............พระอรหันต์ประจำทิศ คือพระอานนท์ ซึ่งเป็นพุทธอุปัฐาก เลขาส่วนตัวของพระพุทธเจ้า ดูแลทุกอย่าง ตั้งแต่ก่อนตื่น
    นอนและหลังจำวัด แม้ว่าพระพุทธองค์ไปแสดงธรรมเทศนาที่ใด ถ้าพระอานนท์ไม่ได้ไป จะต้องกลับมาแสดงธรรมให้พระ
    อานนท์ฟังโดยเฉพาะอีกครั้ง ผู้ใดอยากให้บุตรหลาน ฉลาด รอบรู้ หูตากว้างไกลก็ควรบูชาพระพฤหัส พระพฤหัสชุบมาจาก
    ฤาษี 19 ตน ซึ่งมีความฉลาด หลักแหลม ปัญญา ดี รอบรู้
    ตามคติของพระพุทธศาสนา จัดให้พระพุทธรูปปางสมาธิ เป็นพระพุทธรูปประจำวันพฤหัส และจัดให้สวดคาถา
    บทขัดพระปริตบทปุเรนตัมโพ โดยสวด 19 จบ ตามกำลังวันบูชาพระปางสมาธิ เพื่อจะช่วยคุ้มอันตรายต่างๆ และช่วยให้
    เกิดโชคลาภด้วย มีความสุขความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป และยังให้พระสวดพระคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์ขว้างจักร
    ตรึงไตรภพ เป็นคาถาประจำวันพฤหัสบดีด้วยคือ " ภะ สัม มัม วิ สะ เท ภะ "

    ทิศพายัพ

    ..............พระอรหันต์ประจำทิศ คือ พระควัมปติ หรือพระสิวลี ซึ่งเป็นเอตทัคคะเลิศกว่าพระภิกษุทั้งหลายในเรื่องโชคลาภ ซึ่ง
    ตรงกับ นพเคราะห์คือ พระราหูซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งขุมทรัพย์ทั้งหลายทั้งปวง มีอำนาจบารมีเป็นที่เกรงกลัว ผู้ใดอยากให้บุตร
    หลานมีโชคลาภ บารมีต้องบูชาพระราหู ให้คอยปกปักรักษา
    ตามคติทางพระพุทธศาสนา ได้จัดให้พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ เป็นพระปางประจำราหู และกำหนดบทสวด บท
    กินนุ สัน ตะ ระมาโน วะ เป็นบทสวดประจำวันพุธกลางคืน ควรสวด 12 จบ ตามกำลังวัน เพื่อบูชาพระปางป่าเลไลยก์ เพื่อ
    คุ้มภัยให้สิ่งร้ายกลายเป็นดีและจะมีความสุขสวัสดี และได้จัดพระคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์พลิกแผ่นดินเป็นคาถาประจำ
    ราหู คือ " คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ "


    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffecd9>ทิศอุดร

    .............ตรงกับพระอรหันต์ประจำทิศ คือ พระโมคคัลลา ซึ่งเป็นเอตทัคคะในเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ตรงกับนพเคราะห์คือ
    พระศุกร์ ผู้ใดอยากให้มีกิจการการค้ารุ่งเรือง ซื้อง่ายขายคล่อง พูดเป็นเงินเป็นทอง มีความสุขสบายในครอบครัวก็ควรบูชา
    พระศุกร์
    ตามคติทางพระพุทธศาสนา ได้จัดให้พระพุทธรูปยืนปางทรงรำพึง พระหัตถ์ทั้งสองวางทับกันที่หน้าอก เป็นพระ
    ประจำวันศุกร์และได้จัดคาถาบทขัดธชัคคสูตร เป็นบทสวดประจำพระศุกร์ โดยสวด 21 จบ ตามกำลังวันเพื่อช่วยให้เกิดโชค
    ลาภ คุ้มกันภัยอันตรายใดๆ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน และยังได้จัดพระคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทตวาดฟ้าป่าหิมพานต์
    เป็นคาถาประจำวันศุกร์ คือ " วา โธ โน อะ มะ มะ วา "

    ทิศอีสาน

    ...............ตรงกับพระอรหันต์ คือ พระราหุล ซึ่งเป็นเอตทัคคะในเรื่องของการศึกษา ใคร่ต่อการศึกษาเรียนรู้ ตรงกับนพเคราะห์
    คือพระอาทิตย์ ซึ่งชุบมาจากราชสีห์ผู้ใดอยากให้บุตรหลานมีปัญญาเฉียบแหลม สติปัญญาเป็นเลิศ มีฤทธิ์ มียศ ชื่อเสียงก็ควร
    จะบูชาพระอาทิตย์ และจัดให้พระปริตบทโมรปริต เป็นคาถาสวดสำหรับพระอาทิตย์ ควรสวด 6 จบ ตามกำลังวัน เพื่อให้เกิด
    โชคลาภ คุ้มภัยอันตราย จะมีความเจริญรุ่งเรืองและความสุขสวัสดีตลอดกาล และยังได้จัดเอาคาถาพระอิติปิโส 8 ทิศ บท
    นารายณ์แปลงรูปเป็นคาถาภาวนาสำหรับพระอาทิตย์ด้วยคือ " อะ วิ สุ นุต สา นุ ติ "


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระมหากัจจายนะเถระ
    http://www.dhammathai.org/monk/monk33.php

    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top> ท่านพระมหากัจจายนะ เป็นบุตรของพราหมณ์ ชื่อว่า กัญจนะ กัจจานโคตร หรือกัจจายนโคตร ปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี เมื่อเจริญวัยขึ้นแล้วเรียนจบไตรเพท เมื่อบิดาเสียชีวิตแล้ว ได้รับตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา
    ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าจัณฑปัชโชตได้ทรงทราบว่า สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวสั่งสอนประชาชนอยู่ ธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนนั้น เป็นธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม มีพระประสงค์จะทูลเชิญสมเด็จพระบรมศาสดาไปประกาศพระศาสนา ยังกรุงอุชเชนี จึงตรัสสั่งกัจจายนปุโรหิตซึ่งเป็นผู้มีความรู้เรียนจบไตรเพทไปทูลเชิญเสด็จ กัจจายนปุโรหิตทูลลาจะบวชด้วย ครั้นได้รับ พระบรมราชานุญาตแล้ว จึงออกจากกรุงอุชเชนีพร้อมด้วยบริวารทั้ง ๗ คน ครั้นมาถึงที่ประทับพระบรมศาสดาแล้ว พากันเข้าไปเฝ้า พระพุทธองค์ ตรัสเทศนาสั่งสอน ในเวลาจบเทศนาทั้งหมดได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมกัน แล้วจึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ครั้นได้อุปสมบทแล้วจึงทูลเชิญอาราธนาพระบรมศาสดาเสด็จไปยังกรุงอุชเชนี ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต พระบรมศาสดา ทรงรับสั่งว่าเธอไปเองเถิด เมื่อเธอไปแล้วพระเจ้าจัณฑปัชโชตจักทรงเลื่อมใส ท่านพระมหากัจจายนะพร้อมด้วยบริวารทั้งเจ็ดองค์กราบถวายบังคมลา สมเด็จพระบรมศาสดากลับไปสู่กรุงอุชเชนี ประกาศพระพุทธศฤาสนาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวพระนครเลื่อมใสแล้วจึงกลับมาสู่สำนักของพระบรมศาสดา
    ท่านพระมหากัจจายนะ เป็นผู้ฉลาดในการอธิบายความแห่งคำย่อให้พิสดาร เช่นในครั้งหนึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตรโดยย่อมีใจความว่า "ผู้มีปัญญาไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรจะมุ่งหมายสิ่งที่ยังไม่มาถึง เพราะว่าสิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว สิ่งใดยังมาไม่ถึง สิ่งนั้นก็ยังไม่ได้ไม่ถึง ผู้ใดเห็นแจ้งธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าในที่นั้น ๆ ในกาลนั้น ๆ ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ครั้รู้ธรรมนั้นแล้ว พึงให้ธรรมนั้นเจริญเนือง ๆ ความเพียรควรทำเสียในวันนี้แล ใครเล่าจะพึงรู้ว่าความตายจักมีต่อพรุ่งนี้ เพราะว่าความผิดเพี้ยนต่อมัจจุราชที่มีเสนาใหญ่ไม่มีเลย ผู้รู้ที่เป็นคนสงบระงับ ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท อย่างนี้ชื่อว่าผู้มีราตรีเดียวเจริญ" ครั้นตรัสอย่างนี้แล้วเสด็จลุกเข้าสู่วิหารที่ประทับ ภิกษุทั้งหลายไม่ได้โอกาสที่จะทูลถามเนื้อความที่พระองค์ตรัสโดยย่อให้เข้าใจกว้างขวาง เห็นความสามารถของท่านพระมหากัจจายนะจึงได้อาราธนาขอให้ท่านอธฤบายให้ฟัง ท่านก็อธิบายให้ฟังโดยพิสดารว่า "ท่านผู้มีอายุ เราเข้าใจเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อ ตามความพิสดารว่า เมื่อบุคคลคิดว่าในกาลล่วงแล้ว ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ใจกับอารมณ์ที่เกิดกับใจของเรามีแล้วอย่างนั้น ความกำหนัดพอใจในสิ่งเหล่านั้นก็ผูกพันวิญญาณ เพราะวิญญาณอันความกำหนัดพอใจผูกพันแล้ว ผู้นั้นก็เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าไม่ตามคิดถึงเรื่องที่ล่วงแล้ว บุคคลตั้งจิตไว้เพื่อหมายจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วว่า ในกาลไกลข้างหน้า นัยน์ตากับรูป เป็นต้น ของเราจักเป็นอย่างนี้ เพราะความตั้งจิตอย่างนั้นเป็นปัจจัยผู้นั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ ผู้ที่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่ามุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะหมายได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วอย่างนั้น ก็ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ ผู้ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าไม่มุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึงแล้ว นัยน์ตากับรูปอย่างละ ๒ อันใดเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ถ้าว่าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ผูกพันวิญญาณได้แล้ว บุคคลก็เพลิดเพลินกับสิ่งนั้น ๆ ผู้เพลิดเพลินกับสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ถ้าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ไม่ผูกพันวิญญาณได้ บุคคลก็ไมาเพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ท่านผู้มีอายุเราเข้าใจเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อตามความพิสดารอย่างนี้ ถ้าท่านทั้งหลายประสงค์ก็จงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดากราบทูลถามเนื้อความนั้นเถิด พระองค์ทรงเล่าอย่างไร ก็จงจำไว้อย่างนั้นเถิด" ภิกษุเหล่านั้นลาท่านพระมหากัจจายนะกลับมา แล้วเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญพระมหากัจจายนะว่า" ภิกษุทั้งหลาย กัจจายนะเป็นคนมีปัญญา ถ้าพวกเฮถามเนื้อความนั้นกับเรา แม้เราก็คงแก้เหมือนอย่างที่กัจจายนะแก้แล้วอย่างนั้น เนื่อความแห่งธรรมที่เราแสดงแล้วโดยย่อนั้นเป็นอย่างนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงจำไว้เถิดไ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า "เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้อธิบายเนื้อความโดยย่อให้พิสดาร"
    ท่านพระมหากัจจายนะ ได้ทูลขอให้พระพุทธองค์ทรงแก้ไขพระพุทธบัญญัติบางข้อซึ่งขัดต่อภูมิประเทศ เช่นเมื่อท่านพำนักอยู่ ณ ภูเขาชื่อว่า ปวัตตะ แขวงเมืองกุรุรฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท อุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านคนหนึ่ง ชื่อว่า โสณกุฏิกัณณะมีความประสงค์จะบวชในพระธรรมวินัย แต่ก็ได้เพียงบรรพชา (บวชเป็นสามเณร) เท่านั้น โดยล่วงไปสามปีแล้วจึงได้อุปสมบท เพราะในอวันตีทักขิณาปถชนบทหาภิกษุสงฆ์เป็นคณปูรกะ (๑๐ รูปขึ้นไป) ไม่ได้ เมื่อโสณกุฏิกัณณกะได้อุปสมบทแล้วมีความปรารถนาจะไปเฝ้าพระบรมศาสดา จึงไปลาท่านพระมหากัจจายนะผู้เป็นอุปัชฌาย์ ท่านก็อนุญาต และสั่งให้ไปถวายบังคมพระบาทพระบรมศาสดาด้วยเศียรเกล้าตามคำขอของท่าน แล้วให้กราบทูลขอให้พระองค์ ทรงแก้ไขพระพุทธบัญญัติซึ่งขัดต่ออวันตีทักขิณาปถชนบท ๕ ข้อ คือ
    ๑. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีภิกษุน้อย ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยภิกษุน้อยกว่า ๑๐ รูป ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบทในปัจจันตชนบท ด้วยสงฆ์มีพระวินัยธรเป็นที่ ๕ (ด้วยสงฆ์ ๕ รูป)"
    ๒. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีพื้นที่ขรุขระไม่สม่ำเสมอ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตรองเท้าเป็นชั้น ๆ ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าเป็นชั้น ๆ ในปัจจันตชนบท"
    ๓. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท พวกมนุษย์ต้องอาบน้ำทุกวัน ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตการอาบน้ำเป็นนิตย์ ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์ในปัจจันตชนบท" (ในมัชฌิมประเทศ คือในเมือง ๑๕ วันภิกษุอาบน้ำได้ครั้งหนึ่ง)
    ๔. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีเครื่องลาด (ที่ปูนั่ง) ที่ทำด้วยหนังสัตว์ มีหนังแพะ หนังแกะ เป็นต้น บริบูรณ์ดีเหมือนมัชฌิมชนบท ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตเครื่องลาดทำด้วย หนังสัตว์ มีหนังแพะ หนังแกะ เป็นต้น ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ มีหนังแพะ หนังแกะ เป็นต้น"
    ๕. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีภิกษุน้อย มนุษย์ทั้งหลายย่อมถวายจีวรแก่ภิกษุผู้จาริกไปภายนอกสีมาด้วยคำว่า พวกข้าพเจ้าถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้ เมื่อพวกเธอกลับมาแล้ว พวกภิกษุในวัดแจ้งความให้พวกเธอทราบ พวกเธอรังเกียจไม่ยินดีรับ ด้วยเข้าใจว่าผ้าผืนนั้นเป็นนิสสัคคียะ (ผิดวินัยจำต้องสละ เพราะล่วงเวลา ๑๐ วันแล้ว) ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกการปฏิบัติในจีวรเช่นนั้น ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้ภิกษุยินดีรับจีวรที่ทายกถวาย ลับหลังนั้นได้ ผ้ายังไม่ถึงมือตราบใด จะนับว่าเธอเป็ฤนผู้มีสิทธิ์ในผ้านั้นเต็มที่ยังไม่ได้ตราบนั้น"

    ท่านพระมหากัจจายนะนั้นเป็นผู้มีรูปงาม มีผิวเหลืองดุจทอง มีเรื่องเล่าในอรรถกถาธรรมบทว่า บุตรเศรษฐีมีชื่อว่า โสเรยยะ ในโสเรยยนคร เห็นท่านแล้วนึกในใจว่า ถ้าเราได้ภรรยาที่มีรูปร่างงดงามอย่างท่านพระมหากัจจายนะจักเป็นที่พอใจยิ่ง ด้วยอำนาจอกุศลจิตเพียงเท่านี้เพศชายแห่งโสเรยยเศรษฐีบุตรนั้นกลับเป็นเพศสตรี ได้รับความอับอายเป็นอย่างยิ่งจึงหนีไปอยู่เมืองอื่นจนกระทั่งได้สามีมีบุตรด้วยกันสองคน ภายหลังได้ไปขอขมาให้ท่านพระมหากัจจายนะยกโทษแล้วเพศจึงกลับเป็นบุรุษอีกตามเดิม
    ตามความในมธุรสูตร ท่านอยู่มาถึงภายหลังแต่การปรินิพพาน แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังมีใจความว่า ครั้งหนึ่งพระมหากัจจายนอยู่ที่คุนธาวัน แขวงมธุรราชธานี พระเจ้ามธุรราชธานีอวันตีบุตรเสด็จไปหา ได้ตรัสถามว่า "พวกพราหมณ์ถือว่าพวกเขาเป็นผู้ประเสริฐ บริสุทธิ์ เกิดจากพรหม ท่านเข้าใจว่าอย่างไร" พระมหากัจจายนะทูลตอบว่า "นั้นเป็นแต่คำอ้างของเขา" ท่านชักอุทาหรณ์มาแสดงเป็นข้อ ๆ ที่วรรณะ ๔ เหล่านั้นไม่ต่างอะไรกัน ดังนี้
    ๑. ในวรรณะ ๔ เหล่า วรรณะเหล่าใดเป็นผู้มั่งคั่ง วรรณะเดียวกันและวรรณะอื่นย่อมเข้าเป็นสาวกของวรรณะนั้น
    ๒. วรรณะใดประพฤติอกุศลกรรมบถ เบื้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าสู่อบายเสมอกันหมด ไม่มีพิเศษ
    ๓. วรรณะใดประพฤติกุศลกรรมบถ เบื้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เหมือนกันหมด
    ๔. วรรณะใดทำโจรกรรม ปรทาริกกรรม (การประพฤติล่วงเมียคนอื่น) วรรณะนั้นต้องรับอาญาเหมือนกันหมด ไม่มียกเว้น
    ๕. วรรณใดออกบวช ตั้งอยู่ในศีลในธรรม วรรณะนั้นย่อมได้รับความนับถือ ได้รับบำรุงและรับคุ้มครองรักษาเสมอกันหมด

    ครั้นพระเจ้ามธุรราชได้สดับแล้ว ก็เกิดความเลื่อมใส แสดงพระองค์เป็นอุบาสก ถึงพระเถรเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ พระมหากัจจายนะทูลห้ามว่า อย่าถึงตัวของอาตมภาพเป็นสรณะเลย จงถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสรณะของอาตมภาพเป็นสรณะเถิด พระเจ้ามธุรราชตรัสถามว่า เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหน ท่านทูลให้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พระเจ้ามธุรราชตรัสว่า ถ้าพระองค์ทรงทราบพระผู้ทีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่ใด แม้จะไกลักเพียงใดก็ตาม พระองค์จักเสด็จไปเฝ้าให้จงได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพระองค์ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว กับพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้อนี้ชี้ให้เห็นว่าท่านพระมหากัจจายนะ อยู่มาถึงภายหลังแต่พุทธปรินิพพาน ท่านดำรงชนมายุสังขารโดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระอัญญาโกณฑัญญเถระ
    http://www.dhammathai.org/monk/monk01.php

    พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลในบ้านพราหมณ์ ซึ่งไม่ห่างไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ "โกณทัญญะ" เมื่อเจริญวัยแล้วได้เข้าศึกษาเล่าเรียน จบไตรเพทและรู้ลักษณะมนต์ คือ ตำราทายลักษณะ ในคราวที่พระมหาบุรุษประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดาได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาเลี้ยงโภชนาหารในพระราชพิธีทำนายพระลักษณะตามพระราชประเพณี ได้คัดเลือก พราหมณ์ ๘ คน ในจำนวนพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ให้เป็นผู้ทำนายลักษณะของพระมหาบุรุษ ในขณะนั้น โกณฑัญญะ พราหมณ์ยังเป็นหนุ่ม ได้รับเชิญมาในงาน และท่านก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับเลือก โกณฑัญญะพราหมณ์เป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุด ในบรรดาที่ได้รับการคัดเลือก ทั้งหมด พราหมณ์ทั้ง ๗ คน เมื่อตรวจดูลักษณะของพระมหาบุรุษแล้วทำนายไว้เป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้
    ๑. ถ้าอยู่ครองฆราวาสจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
    ๒. ถ้าเสด็จออกทรงผนวชจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลก

    ส่วนโกณฑัญญพราหมณ์นั้นมีความแน่ใจว่า พระองค์จักเสด็จออก ทรงผนวชแน่นอน จึงทำนายไว้เป็นลักษณะเดียวว่า พระองค์จักเสด็จออกทรงผนวช และจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลกแน่แท้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โกณฑัญญพราหมณ์มีความตั้งใจว่า ถ้าพระองค์เสด็จออกทรงผนวชเมื่อไร ถ้าตนเองยังมีชีวิตอยู่จะออกบวชตามเมื่อนั้น ในเวลาต่อมา เมื่อพระองค์เสด็จออกทรงผนวชแล้วและทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ (ทุกรกิริยา คือ การกระทำที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง หรือที่เรียกว่า การทรมานตนเอง เช่น อดอาหาร) โกณฑัญญพราหมณ์ได้ทราบข่าวนั้น จึงชักชวนพราหมณ์ ๔ คน คือ ๑. วัปปะ ๒. ภัททิยะ ๓. มหานามะ ๔. อัสสชิ เรียกว่า "ปัญจวัคคีย์" พราหมณ์ทั้ง ๕ คน ได้ติดตามพระองค์เพื่อคอยปรนนิบัติทุกเช้าค่ำ ด้วยหวังว่าถ้าพระองค์ได้บรรลุธรรมใดแล้ว จักได้เทศนาสั่งสอนตนเอง ให้บรรลุธรรมนั้นบ้าง
    เมื่อพระองค์ ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างเต็มที่ประมาณ ๖ ปีแล้ว พระองค์ทรงสันนิษฐานว่ามิใช่หนทางแห่งการตรัสรู้ ทรงตั้ง พระทัยว่า จะทำความเพียรทางใจ จึงทรงเลิกการกระทำทุกรกิริยานั้นเสัย ส่วนปัญจวัคคีย์ซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้าคิดว่า พระองค์ ทรงคลายความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมากเสียแล้วจึงหมดความเลื่อมใส เกิดความเบื่อหน่าย พากันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงดำริหาคนที่จะรับพระธรรมเทศนา เป็นคนแรก อันดับแรกพระองค์ทรงระลึกถึงอาจารย์ ๒ ท่าน คือ
    ๑. อาฬารดาบส กาลามโคตร
    ๒. อุททกดาบส รามบุตร

    ซึ่งพระองค์ได้อาศัยศึกษา ลัทธิของท่าน แต่ท่านทั้งสองได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว ลำดับต่อมาทรงระลึกถึงพวกปัญจวัคคีย์ ที่เคยเฝ้าปฏิบัติอุปัฏฐากพระองค์มา ครั้นทรงดำริอย่างนี้ก็เสด็จไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ขณะเดียวกันพวกปัญจวัคคีย์ได้เห็น พระองค์เสด็จมาแต่ไกล คิดว่า พระองค์เสด็จมาแสวงหาคนอุปัฏฐาก จึงได้ตกลงกันว่าพระสมณโคดมนี้คลายจากความเพียร มาเป็นผู้มักมากเสียแล้วเสด็จมาที่นี่ พวกเราไม่พึงไหว้ ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับ และอย่ารับบาตร จีวร ของพระองค์เลย จะปูอาสนะ ที่นั่งไว้เท่านั้น ถ้าพระองค์ทรงมี ความประสงค์ก็จะประทับนั่งเอง
    ครั้นเมื่อ พระองค์เสด็จเข้าไปถึงแล้ว อาศัยความเคารพที่เคยมีต่อพระองค์มาก่อน ได้บรรดาลให้ลืมกติกานัดหมาย ที่ทำกัน ไว้ทั้งหมด พากันลุกขึ้นต้อนรับและทำสามีจิกรรมดังที่เคยปฏิบัติมา แต่ก็ยังมีการแสดงกิริยากระด้างกระเดื่อง สนทนากับพระองค์ ด้วยถ้อยคำไม่เคารพ พระองค์ตรัสบอกว่าเราได้ตรัสรู้ "อมฤตธรรม" ด้วยตัวของเราเอง (อมฤตธรรม หมายถึงธรรมที่ไม่สูญหาย อยู่คู่โลกตลอดไป) ขอให้ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟังเถิด เราจักแสดงให้ฟัง เมื่อท่านทั้งหลาย ตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม ที่เรา สั่งสอนแล้ว อีกไม่ช้าจักได้บรรลุอมฤตธรรมนั้น พวกปัญจวัคคีย์ได้กล่าว คัดค้านถึงสองสามครั้งว่า พระองค์คลายจากความเพียรเสียแล้ว จักบรรลุอมฤตธรรมได้อย่างไร พระองค์จึงตรัสให้ระลึกถึงกาลหนหลังว่า ก่อนนี้เธอทั้งหลายได้ยินได้ฟังวาจาที่เราพูดมา เช่นนี้บ้างหรือ ไม่ พวกปัญจวัคคีย์ระลึกขึ้นได้ว่า พระวาจาเช่นนี้พระองค์ไม่เคยตรัสมาก่อนเลย จึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา ที่พระองค์เทศนาสั่งสอน สืบต่อไป
    พระองค์ ได้ตรัสปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณแก่ปัญจวัคคีย์ ในเวลาจบลงแห่งพระธรรม เทศนา ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแก่โกณธัญญะ (ธรรมจักษุ หมายถึง โสดาปัตติมรรค) ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา" ท่านที่ได้บรรลุปัตติมรรคเรียกว่าพระโสดาบัน เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า โกณธัญญะ ได้ดวงตาเห็น ธรรมแล้ว ทรงเปล่งพระอุทานว่า "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ" แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ เพราะอาศัยคำว่า อญฺญาสิ ที่แปลว่า ได้รู้แล้ว คำว่า อัญญา จึงนำหน้าท่านโกณฑัญญะว่า อัญญาโกณฑัญญะ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    เมื่อท่าน อัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมจึงได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ ทรงอนุญาตให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาด้วยพระวาจาว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจง ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อถึงที่สุดทุกข์โดยชอบ" การอุปสมบทของอัญญาโกณฑัญญะก็สำเร็จด้วยพระวาจาเพียงเท่านี้ เรียกการ อุปสมบทแบบนี้ว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" ซึ่งพระอัญญาโกณฑัญญะได้รับการอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นองค์แรก
    ต่อจากนั้น พระองค์ก็ทรงเทศนาให้ปัญจวัคคีย์อีก ๔ คนได้ดวงตาเห็นธรรม และได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุด้วย วิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เช่นเดียวกัน ต่อจากนั้นพระองค์ได้เทศนาเกี่ยวกับหนทางแห่งการอบรมวิปัสนาวิมุตติ อันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ชื่อว่า "อานัตตลักขณสูตร" ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ปัญจวัคคีย์ก็หลุดพ้นจากกิเลสาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปทานสำเร็จเป็น พระอรหันต์ (อุปาทาน หมายถึง ความยึดมั่นในสิ่งต่าง ๆ ด้วยอำนาจกิเลศ)
    พระอัญญา โกณฑัญญะได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า "เป็นยอดกว่าภิกษุทั้งหลายผู้รัตัญญู" แปลว่าผู้รู้ราตรี หมายถึง ท่านเป็นผู้เก่าแก่ ได้รับการอุปสมบทก่อนภิกษุรูปอื่นทั้งหมดในพระพุทธศาสนา เป็นผู้รอบรู้เหตุการณ์ต่าง ๆมาแต่ต้น เป็นผู้มี ประสบการณ์มาก
    พระอัญญา โกณฑัญญะได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศศาสนา เมื่อถึงเวลาอันสมควรท่านได้ดับขันธปรินิพพาน ก่อนที่ พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระมหากัสสปะเถระ
    http://www.dhammathai.org/monk/monk06.php

    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top> ท่านพระมหากัสสปะ เป็นบุตรกปิลพราหมณ์ กัสสปโคตร ในบ้านมหาติฏฐะ จังหวัดมคธรัฐ มีชื่อว่า ปิปผลิ เรียกตามโคตรว่ากัสสปะ พออายุครบ ๒๐ ปี ได้ทำการอาวาหมงคล (แต่งงาน) กับนางภัททกาปิลานี อายุ ๑๖ ปี เป็นบุตรีพราหมณ์โกสิยโคตร เมืองสาคละ จังหวัด มคธรัฐ พราหมณ์ผู้เป็นบิดา พร้อมกับนางพราหมณีผู้มารดา ก็ปรึกษากันหาภรรยาให้แก่บุตรของตน จึงมอบสิ่งของมีเงินและทอง เป็นต้นให้แก่พราหมณ์ ๘ คน แล้วส่งไปเพื่อให้แสวงหาหญิงที่มีลักษณะดีงาม มีฐานะเสมอกันกับสกุลของตน พราหมณ์ทั้งแปดคน รับสิ่งของทองหมั้นแล้วก็เที่ยวแสวงหาไปจนกระทั่งถึงเมืองสาคละ

    ในพระนครนั้น มีธิดาของพราหมณ์โกสิยโคตรคนหนึ่ง ชื่อว่า ภัททกาปิลานี อายุ ๑๖ ปี รูปร่างสะสวยงดงามสมกับเป็นผู้มีบุญ พราหมณ์เหล่านั้นครั้นได้เห็นแล้ว จึงเข้าไปสู่ขอกับบิดามารดาของนาง เมื่อตกลงกันแล้วจึงมอบสิ่งของทองหมั้น กำหนดวันอาวาหมงคล และส่งข่าวให้กปิลพราหมณ์ได้ทราบ ส่วนปิปผลิมาณพเมื่อได้ทราบดังนั้น ไม่ได้มีความประสงค์ที่จะแต่งงานเลย จึงเข้าไปในห้องเขียน จดหมายบอกความประสงค์ของตนให้นางทราบ "นางผู้เจริญ จงได้สามีที่มีชาติและโคตร โภคสมบัติเสมอกับนาง อยู่ครอบครองเรือน เป็นสุขเถิด ฉันจักออกบวช ต่อไปภายหลังนางจะได้ไม่ต้อง้ดือดร้อน" ครั้นเขียนเสร็จแล้ว มอบให้คนใช้นำไปส่ง แม้นางภัททกาปิลานี ก็มีความประสงค์เช่นเดียวกัน จึงได้เขียนจดหมายเช่นนั้นให้คนใช้นำมา คนถือจดหมายทั้งสอง มาพบกันระหว่างทาง ต่างไต่ถามความ ประสงค์ของกันและกันแล้วจึงฉีกจดหมายออกอ่าน แล้วทิ้งจดหมายฉบับนั้นเสียในป่า เขียนจดหมายมีเนื้อความ แสดงความรักซึ่งกัน และกันขึ้นมาใหม่แล้วนำไปให้คนทั้งสอง

    ครั้นกาลต่อมา การอาวาหมงคลเป็นการสำเร็จเรียบร้อย โดยคนทั้งสองไม่ได้มีความประสงค์ สักแต่ว่าอยู่ร่วมกันเท่านั้น ไม่ได้ถูก ต้องกันเลย แม้จะขึ้นสู่เตียงนอนก็ไม่ได้ขึ้นทางเดียวกัน ปิปผลิมาณพขึ้นข้างขวา นางภัททกาปิลานีขึ้นข้างซ้าย เมื่อเวลานอนตั้งพวง ดอกไม้สองพวงไว้กลางที่นอน เพราะกลัวร่างกายจะถูกต้องกัน ถึงกลางวันก็ไม่ได้มีการหัวเราะยิ้มหัวต่อกันเลย เพราะฉะนั้นจึง ไม่มีบุตรหรือธิดาด้วยกัน สกุงของสามีภรรยาคู่นี้มั่มีมาก มีการงานเป็นบ่อเกิดแห่งทรัพย์มาก มีคนงานและพาหนะสำหรับใช้งานก็มาก ครั้นต่อมาบิดามารดาเสียชีวิต ปิปผลิมาณพได้ครองสมบัติ ดูแลการงาน สืบทอดจากบิดามารดา สามีและภรรยาต่างก็มีความเห็นร่วม กันว่า ผู้อยู่ครองเรือนต้องคอยนั่งรับบาปเพราะการงานที่ผู้อื่นทำไม่ดี จึงมีใจเบื่อหน่าย พร้อมใจกันจะออกบวช ได้แสวงหาผ้ากาสายะ ถือเพศเป็นบรรพชิต ออกบวชมุ่งหมายเป็นพระอรหันต์ในโลก สะพายบาตรลงจากปราสาทหลีกหนีไป ปิปผลิเดินหน้า นางภัททกาปิลานี เดินหลัง พอถึงทางแยกแห่งหนึ่งจึงแยกจากกัน ปิปผลิเดินไปทางขวา ส่วนนางภัททกาปิลานีเดินไปทางซ้าย จนบรรลุถึงสำนักของ นางภิกษุณี ภายหลังได้บวชเป็นนางภิกษุณี และได้บรรลุพระอรหัตตผล ส่วนปิปผลิเดินทางไปพบสมเด็จพระบรมศาสดา ซึ่งประทับ อยู่ที่ใต้ร่มไทร ซึ่งเรียกว่า พหุปุตตนิโครธ ในระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทาต่อกัน มีความเลื่อมใสเปล่งวาจาประกาศว่า พระศาสดาเป็นครูของตน ตนเป็นสาวกของพระศาสดา
    พระศาสดา ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ด้วยการประทานโอวาท ๓ ข้อว่า
    ๑. กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอายและความเกรงใจไว้ในภิกษุที่เป็นผู้เฒ่าและปานกลางอย่างดีที่สุด
    ๒. เราจักฟังธรรมซึ่งประกอบด้วยกุศล เราจักตั้งใจฟังธรรมนั้นแล้วพิจารณาเนื้อความ
    ๓. เราจักไม่ละสติ ที่เป็นไปในกาย คือพิจารณาเอาร่างกายเป็นอารมณ์

    ครั้นประทานโอวาท แก่พระมหากัสสปะอย่างนี้แล้วเสด็จหลีกหนีไป ท่านพระกัสสปะได้ฟังพุทธโอวาทแล้ว ก็เริ่มบำเพ็ญเพียร ในวันที่ ๘ นับจากวันที่อุปสมบทมา ก็ได้สำเร็จพระอรหัตตผล ตามปกติท่านพระมหากัสสปะนั้นถือธุดงค์ ๓ ข้อ คือ ถือทรงผ้าบังสุกุล จีวรเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และถืออยู่ป่าเป็นวัตร ด้วยเหตุนั้นพระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องว่า "เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงธุดงค์" อานิสงส์แห่งการถือธุดงค์ของท่านมีปรากฏดังนี้ คืทอ สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ทรงรับสั่ง ให้ท่านเลิกการธุดงค์ ท่านไม่ยอมเลิก แล้วแสดงคุณแห่งการถือธุดงค์ ๒ ประการ คือ
    ๑. เป็นการอยู่เป็นสุขในบัดนี้
    ๒. เพื่ออนุเคราะห์ประชุมชนในภายหลัง จักได้ถือเป็นทิฏฐานุคติ คือ ปฏิบัติตาม

    พระบรมศาสดา ก็ประทานสาธุการว่า ดีละ ดีละ เธอปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนส่วนมาก เธอจงทรงผ้าบังสุกุลจีวร เธอจงเที่ยว บิณฑบาต เธอจงอยู่ในป่าเถิด ทรงสรรเสริญว่าเป็นผู้มักน้อนสันโดษ ภิกษุทั้งหลายเรียกท่านว่า พระมกากัสสปะ นอกจากนี้ท่านยัง มีคุณความดีมีพระบรมศาสดาทรงยกย่องหลายสถาน เช่น
    ๑. ทรงรับผ้าสังฆาฏิของท่านไปทรง (ห่ม) ประทานผ้าสังฆาฎิของพระองค์ให้แก่ท่าน ตรัสว่ามีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอด้วย พระองค์ และทรงสรรเสริญว่า เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้ถือเป็นตัวอย่าง
    ๒. กัสสปะเข้าไปในตระกูล ชักกายและใจห่าง ประพฤติตนเหมือนเป็นคนใหม่ ไม่คุ้นเคย ไม่คะนองกาย วาจา ใจในตระกูล เป็นนิตย์ จิตไม่ข้องอยู่ในตระกูลเหล่านั้น เพิกเฉยแล้วตั้งจิตเป็นกลางว่า ผู้ใคร่ลาภก็จงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญก็จงได้บุญ ตนได้ลาภแล้วมีใจฉันใด ผู้อื่นก็มีใจฉันนั้น
    ๓. กัสสปะมีจิตประกอบไปด้วยเมตตากรุณา ในเวลาแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
    ๔. ทรงสั่งสอนภิกษุให้ประพฤติชอบ โดยยกเอาท่านพระมหากัสสปะเป็นตัวอย่าง

    ท่านพระมหากัสสปะ นั้นดีแต่ในการปฏิบัติ หาพอใจในการสั่งสอนภิกษุสหธรรมิกไม่ ธรรมเทศนาอันเป็นอนุสาสนีของท่านจึงไม่มี คงมีแต่ธรรมภาษิตเนื่องมาจากธัมมสากัจฉา (การสนทนากันในเรื่องธรรมะ) กับเพื่อนสาวกบ้าง กล่าวทบทวนพระพุทธดำรัสบ้าง ในขณะพระบรมศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ ดูท่านจะไม่เด่นนัก เป็นเพียงพระสาวกผู้ใหญ่รูปหนึ่งเท่านั้น มาปรากฏเป็นพระสาวก สำคัญเมื่อพระบรมศาสดาทรงปรินิพพานแล้ว คือ ในเวลานั้นท่านเป็นพระสังฆเถระ พอถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้วได้ ๗ วัน ท่านประชุมสงฆ์เล่าถึงการที่ภิกษุชื่อว่า สุภัททะ ผู้บวชเมื่อแก่ กล่าวคำมิดีมิชอบต่อพระธรรมวินัยในคราวเมื่อเดินทางจากปาวานคร ปรึกษาหารือในทางที่จะทำสังคายนา รวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้เป็นแบบฉบับ พระสงฆ์ก็ยินยอมเห็นพร้อมด้วย ท่านจึงเลือกภิกษุผู้ทำสังคายนาได้ ๕๐๐ องค์
    การทำสังคายนาในครั้งนั้น ทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ พระมหากัสสปะเป็นประธาน ได้พระอุบาลี และพระอานนท์เป็นกำลังสำคัญในการวิสัชนาพระวินัย พระธรรม (พระสูตร และพระอภิธรรม) ตามลำดับ ได้พระเจ้าอชาตศัตร ูเป็นศาสนูปถัมภก ทำอยู่ ๘ เดือนจึงสำเร็จ เรียกว่า ปฐมสังคายนา เมื่อท่านทำสังคายนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้อยู่ที่พระเวฬุวนาราม ในกรุวราชคฤห์ ไม่ประมาท ปฏิบัติธรรมเป็นนิตย์ ดำรงชนมายุสังขาร ประมาณได้ ๑๒๐ ปี ท่านก็ปรินิพพาน ณ ระหว่างกลาง กุกกุฏสัมปาตบรรพตทั้ง ๓ ลูก ในกรุงราชคฤห์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระสารีบุตรเถระ
    http://www.dhammathai.org/monk/monk32.php

    ท่านพระสารีบุตรเถระ เดิมชื่อว่า อุปติสสะ บิดาชื่อว่าวังคันตะพราหมณ์ มารดาชื่อว่านางสารีพราหมณี บิดาเป็นนายบ้านตำบลนาลกะหรือนาลันทา เพราะเป็นบุตรของนางสารีจึงได้นามว่า สารีบุตร ท่านเกิดในตำบลบ้านนาลกะหรือนาลันทา ไม่ห่างจากกรุงราชคฤห์ เมื่อท่านเข้ามาอุปสมบทในพระธรรมวินัยแล้ว เพื่อนสพรหมจารี (ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน ในที่นี้หมายเอาภิกษุ) พากันเรียกท่านว่า พระสารีบุตร ทั้งนั้น ตระกูลพราหมณ์ของบิดาอุปติสสมาณพ เป็นตระกูลที่ร่ำรวย สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์สมบัติและบริวาร เมื่ออุปติสสมาณพเจริญวัยแล้วได้เล่าเรียนศิลปศาสตร์ มีปัญญาเฉียบแหลมเล่าเรียนได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว และได้เป็นเพื่อน ที่ชอบพอรักใคร่กันกับโกลิตมาณพ โมคคัลลานโคตร ผู้มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และเป็นบุตรแห่งตระกูลที่ร่ำรวยเหมือนกัน เพราะว่าตระกูลทั้งสองนั้นเป็นเพื่อนกัน มีการติดต่อผูกพันกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ
    อุปติสสมาณพและโกลิตมาณพ ได้ไปเที่ยวดูเขาเล่นมหรสพในกรุงราชคฤห์ด้วยกันเป็นประจำ ขณะกำลังชมดูอยู่นั้นก็เกิดความร่าเริงในเวลาถึงบทสนุก เกิดความสลดใจ ในเวลาถึงบทเศร้า ถึงตอนชอบใจก็ให้รางวัลนักแสดงด้วย วันหนึ่งมาณพ ๒ สหายนั้นชวนกันไปดูมหรสพเหมือนวันก่อน ๆ แต่ว่าไม่เกิดความสนุกสนานร่าเริงอะไรเลย คนที่กำลังแสดงอยู่นั้นอีกไม่ถึง ๑๐๐ ปีก็จะต้องตายกันไปหมด เมื่อมีความคิดตรงกันอย่างนั้น จึงได้พากันไปบวชเป็นลูกศิษย์ในสำนักของสัญชัยปริพาชก และได้เรียนความรู้จากอาจารย์จนหมดสิ้น จนอาจารย์ได้ให้ช่วยสั่งสอน ศิษย์คนอื่นในสำนักนั้นด้วย แต่สองสหายนั้นยังไม่พอใจกับความรู้เพียงนั้น จึงได้ตกลงทำกติกานัดหมายกันว่าจะออกแสวงหาโมกขธรรม คือธรรมเครื่องหลุดพ้น จากกิเลสต่าง ๆ อันได้แก่พระนิพพานอีกต่อไป และถ้าใครพบโมกขธรรมก่อนขอให้กลับมาบอกแก่กัน
    สมัยนั้น พระบรมศาสดาได้ตรัสรู้แล้ว และได้ทรงแสดงธรรมสั่งสอนมหาชนยังสถานที่ต่าง ๆ เมื่อเสด็จมาถึงกรุงราชคฤห์และประทับอยู่ ที่พระมหาเวฬุวันมหาวิหาร วันหนึ่งท่านพระอัสสชิผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในพระปัญจวัคคีย์ ผู้ที่พระบรมศาสดาทรงส่งออกไปประกาศพระศาสนา ได้กลับมาเฝ้า ในตอนเช้าท่านก็ได้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ อุปติสสปริพาชกเดินไปพบท่านในระหว่างทางก็เกิดความเลื่อมใส ในจริยาวัตรของท่าน และได้ถามถึงครูอาจารย์พร้อมกับขอร้องให้แสดงธรรมให้ฟังด้วย ท่านพระอัสสชิได้แสดงธรรมมีใจความย่อ ๆ ว่า "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุและความดับแห่งธรรมนั้น พระศาสดาทรงสั่งสอนอย่างนี้" อุปติสสปริพาชก ได้ฟังแล้วได้ดวงตาเห็นธรรมคือบรรลุโสดาบัน แล้วกลับไปบอกข่าวเพื่อนโกลิตะ และแสดงธรรมให้ฟังตามที่ได้ฟังมาจนโกลิตะได้ดวงตาเห็นธรรม เหมือนกัน จึงชวนกันไปเฝ้าพระบรมศาสดา ครั้นไปลาอาจารย์สัญชัยแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาทูลขออุปสมบท พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงอนุญาต ให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ทั้งสองคน ครั้นบวชแล้วภิกษุทั้งหลายพากันเรียกท่านว่า สารีบุตร และ โมคคัลลานะ
    หลังจาก ได้อุปสมบทแล้ว พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่เหมาะแก่อุปนิสัยของพุทธบริษัท พวกภิกษุที่ร่วมฟังธรรมนั้นได้บรรลุพระอรหัตก่อน พระโมคคัลลานะอุปสมบทแล้ว ๗ วัน จึงได้สำเร็จพระอรหันต์ ฝ่ายพระสารีบุตรอุปสมบทแล้ว ๑๕ วัน จึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ด้วยการฟังเทศนาชื่อว่า เวทนาปริคคหสูตร ที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแก่ปริพาชกชื่อว่า ทีฆนขะะ ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฎ เมืองราชคฤห์ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระสารีบุตรอุปสมบทได้ ๑๕ วันแล้ว พระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่ที่ถ้ำสุรขาตา เขาคิชฌกูฎ เมืองราชคฤห์ ปริพาชกคนหนึ่งชื่อ ทีฆนขอัคคิเวสนโคตร เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วกราบทูลความเห็นของตนว่า "ข้าแต่พระโคตมะ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ ข้าพเจ้าไม่ชอบใจหมด" พระบรมศาสดาจึงตรัสตอบว่า "ดูก่อนอัคคิเวสนะ ถ้าอย่างนั้นความเห็นอย่างนั้น ก็ต้องไม่ควรแก่ท่าน ท่านต้องไม่ชอบใจความเห็นอย่างนั้น" ครั้นตรัสดังนี้แล้วก็ทรงแสดงทิฏฐิ ๓ อย่าง ให้ปริพาชกนั้นเห็นว่าเป็นโทษ และแนวทางละทิฏฐิ ๓ อย่างนั้น ลำดับนั้นทรงแสดงอุบายเครื่องไม่ยึดมั่นอีกต่อไป ขณะนั้นพระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ (หลัง) ของพระบรมศาสดา ได้ฟังพระธรรมเทศนาที่ตรัสแก่ทีฆนขปริพาชก แล้วใช้ปัญญาพิจารณาตามพระธรรมเทศนา จิตก็หลุดพ้น จากอาสวะ ไม่ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอุปทาน ส่วนทีฆนขปริพาชกได้เพียงดวงตาเห็นธรรม หมดสิ้นความเคลือบแคลงสงสัยในพระพุทธศาสนา แล้วทูลแสดงตยเป็นอุบาสก
    ท่านพระสารีบุตร เมื่อได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ปรากฏว่าท่านเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ได้เป็นกำลังสำคัญของพระบรมศาสดาในการประกาศ พระศาสนา พร้อมกับได้รับตำแหน่งเป็นอัครสาวกเบื้องขวา พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่า "เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ้งหลายในทางมีปัญญามาก" สามารถแสดงพระธรรมจักรและอริยสัจ ๔ ได้กว้างขวางพิสดารเหมือนกับพระพุทธเจ้า
    ท่านพระสารีบุตร ยังมีคุณความดีอีกหลายประการที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง ในที่นี้จะขอกล่าวไว้เฉพาะที่สำคัญ ดังนี้
    ๑. ทรงยกย่องว่าพระสารีบุตรเป็นผู้มีความอนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิต ด้วยกัน มีตัวอย่าง เช่น เมื่อครั้งพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่เมืองเทวทหะ พวกภิกษุพากันไปเฝ้าพระบรมศาสดาพร้อมกับทูลลาจะไปชนบท พระองค์ตรัสให้ไปลาพระสารีบุตรก่อนเผื่อว่าท่านพระสารีบุตรจะได้แนะนำสั่งสอนในการไปและการประพฤติปฏิบัติตัวในชนบทนั้น จะได้อยู่กันอย่างสำราญ ไม่มีความเดือดร้อนเสียหายอะไรขึ้น
    ๒. ทรงยกย่องว่าพระสารีบุตรเป็น เป็นคู่กับพระโมคคัลลานะ คือเป็นอัครสาวกฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ตามที่ตรัสตอนหนึ่งว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายคบกับสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะเธอเป็นคนมีปัญาอนุเคราะห์เพื่อนบรรชิตทั้งหลาย สารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้วน้น สารีบุตรย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องบนที่สูงกว่านั้น" เพราะเหตุนี้เองจึงมีคำยกย่องพระสารีบุตรว่าเป็นอัครสาวกฝ่ายขวา พระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย
    ๓. มีคำเรียกเพื่อยกย่องว่าพระสารีบุตร อีกอย่างหนึ่งว่า "พระธรรมเสนาบดี" ซึ่งเป็นคู่กับพระบรมศาสดาว่า "พระธรรมราชา"
    ๔. พระสารีบุตรมีปฏิภาณในการแสดงพระธรรมเทศนา คือชี้แจงแสดงให้ผู้ฟังเข้าใจได้ชัดเจน มีตัวอย่าง คือ พระยมกะมีความคิดเห็นว่าพระขีณาสพตายแล้วดับสูญ พวกภิกษุคัดค้านว่า เห็นอย่างนั้นผิด พระยมกะไม่เชื่อ แต่พวกภิกษุไม่อาจเปลื้องเธอจากความเห็นนั้นได้ จึงเชิญพระสารีบุตรไปช่วยชี้แจงแสดงให้ฟัง เธอจึงหายความสงสัยนั้น
    ๕. พระสารีบุตรเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที ตัวอย่าง เช่น ท่านได้ฟังเทศนาจากพระอัสสชิจนได้บรรลุพระโสดาบันแล้วมาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมา ท่านนับถือพระอัสสชิ ว่าเป็นอาจารย์ ทำการเคารพกราบไหว้อยู่เสมอ พอทราบว่าพระอัสสชิอยู่ทางทิศใด ท่านก็จะทำการยกมือไหว้และนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น อีกเรื่องหนึ่งท่นเป็นผู้ช่วยเหลือให้ราธพราหมณ์ผู้ต้องการจะอุปสมบทในพระธรรมวินัย แต่ไม่มีพระรูปใดยอมบวชให้ จนในที่สุดพระสารีบุตรระลึกถึงอุปการคุณที่ราธพราหมณ์ถวายข้าว ๑ ทัพพี ในสมัยที่เข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ จึงช่วยเหลือให้ได้บวชตามความประสงค์

    อนึ่ง ท่านพระสารีบุตร นับได้ว่าเป็นกำลังสำคัญของพระบรมศาสดาในการประกาศพระศาสนาในสถานที่ต่าง ๆ ธรรมภาษิตของท่านจึงมีปรากฏอยู่มากมาย เช่น สังคีติสูตร เป็นต้น ยกเว้นพระพุทธภาษิตแล้ว ภาษิตของพระสารีบุตรมีมากกว่าของพระสาวกรูปอื่น ๆ
    พระสารีบุตรนั้น นิพพานก่อนพระบรมศาสดา ก่อนแต่จะนิพพานท่านพิจารณาเห็นว่า สมควรที่จะนิพพานในห้องที่ตนเองคลอดจากท้องมารดา เมื่อคิดเช่นนั้นจึงเข้าไปกราบทูลสมเด็จพระบรมศาสดา แล้วเดินทางไปกับพระจุนทะผู้น้องชายพร้อมด้วยบริวาร เมื่อไปถึงบ้านเดิมแล้ว ก็เกิด ปักขันทิกาพาธ คือ โรคท้องร่วง ขึ้นในคืนนั้น ในเวลาที่ท่านกำลังอาพาธอยู่นั้น ก็ได้เทศนาโปรดมารดาจนได้บรรลุโสดาปัตติผล พอเวลาใกล้รุ่งของคืนเพ็ญเดือน ๑๒ ท่านก็ดับขันธปรินิพพาน พอรุ่งขึ้นพระจุนทะผู้น้องชายก็ได้ร่วมกับญาติทำฌาปนกิจสรีระของท่าน แล้วเก็บอัฐิธาตุนำไปถวายพระบรมศาสดา ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ในเมืองสาวัตถี พระพุทธองค์โปรดให้ก่อเจดีย์ บรรจุอัฐิธาตุของพระเถระไว้ ณ พระเชตวันมหาวิหารนั้น

     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระอุบาลีเถระ
    http://www.dhammathai.org/monk/monk67.php

    พระอุบาลีเป็นบุตรของนายช่างกัลบกในนครกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อว่า อุบาลี เมื่อเจริญเติบโตแล้ว เจ้าศากยวงศ์ทั้ง ๕ พระองค์ ทรงโปรดปรานมาก จึงได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นนายภูษามาลาประจำพระองค์
    ครั้นเมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาโปรดพระประยูรญาติ ที่กรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ ไปประทับอยู่ที่อนุปิยนิคมอัมพวนารามของมัลลกษัตริย์ ครั้งนั้น ศากยกุมารทั้ง ๕ พระองค์ คือ ภัททิยะ, อนุรุทธะ, อานันทะ, ภคุ, และกิมพิละ รวมทั้งเทวทัต ซึ่งเป็นเจ้าในโกลิยวงศ์ เข้าด้วยเป็น ๖ เสด็จออกจากพระนครด้วยจาตุรงคเสนา เพื่อจะออกบวชในพระพุทธศาสนา อุบาลี ผู้เป็นนายภูษามาลาได้ติดตามออกไปด้วย พากันเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ที่อนุปิยนิคม แคว้นมัลละ ทูลขออุปสมบท แต่ก่อนจะอุปสมบทพวกเจ้าศากยะเหล่านั้นทูลขอให้พระองค์บวชอุบาลีผู้เป็นนายภูษามาลาก่อน พระองค์ก็ได้โปรดให้อุบาลีบวชก่อน เมื่ออุบาลีอุปสมบทแล้วได้ฟังพระกรรมฐานที่พระบรมศาสดาทรงสั่งสอน
    ต่อมาท่านไม่ประมาทตั้งใจบำเพ็ญความเพียร ไม่ช้าไม่นานก็ได้ บรรลุพระอรหัตตผลเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา และท่านได้ศึกษาทรงจำระวินัยปิฎกแม่นยำชำนิชำนาญมาก เป็นผู้สามารถจะทำเรื่องราวอะไรซึ่งเกี่ยวด้วยพระวินัยได้เป็นอย่างดี ในข้อนี้พึงเห็นตัวอย่างที่ท่านได้รับพระพุทธานุญาตให้เป็นผู้วินิจฉันอธิกรณ์ ๓ เรื่อง คือ ภารตัจฉกวัตถุ,อัชชุกวัตถุ, และกุมารกัสสปวัตถุ ด้วยเหตุนี้ ท่านพระอุบาลีจึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงไว้ซึ่งพระวินัย
    เมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปะกระทำสังคายนา พระธรรมวินัย สงฆ์ได้เลือกท่านให้เป็นผู้วิสัชนาในส่วนพระวินัยปิฎก เพราะท่านเป็นผู้มีความสามารถในเรื่องนี้ดี ครั้นท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระอานนทเถระ
    http://www.dhammathai.org/monk/monk68.php

    เมื่อนับตามลำดับศากยวงศ์แล้ว ท่านก็เป็นอนุชาของพระบรมศาสดาเมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่อนุปิยนิคมแคว้นมัลละ ท่านได้ออกบวชพร้อมด้วยเจ้าศากยกุมารเหล่านี้ คือ ภัททิยะ,อนุรุทธะ,ภคุ,กิมพิละ โกลิยกุมาร อีกหนึ่งองค์ คือ เทวทัต รวมทั้งอุบาลีผู้เป็นนายภูษามาลาเป็น ๗ เมื่อพระอานนท์ได้อุปสมบทแล้ว ได้ฟังโอวาทของพระปุณณมันตานีบุตร จนได้บรรลุโสดาปัตติผล
    วันหนึ่ง พระบรมศาสดาตรัสขอให้สงฆ์เลือกหาภิกษุอุปัฏฐากพระองค์เป็นประจำ เพราะเมื่อก่อนแต่กาลนี้ ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากของพระองค์ไม่ได้กำหนดแน่นอน คงผลัดเปลี่ยนถวายการอุปัฏฐากกันไป เวลาที่ผลัดเปลี่ยนเมื่อยังไม่มีผู้รับต่อ ต้องเสด็จอยู่เพียงลำพังพระองค์เดียวได้ความลำบาก สงฆ์จึงเลือกพระอานนท์ถวาย แต่ก่อนที่ท่านจะรับเป็นพุทธอุปัฏฐาก ก็ได้ทูลขอพร ๘ ประการ คือ
    ๑. อย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์
    ๒. อย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์
    ๓. อย่าโปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
    ๔. อย่าทรงพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์
    ๕. จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับเขาไว้
    ๖. ให้ข้าพระองค์พาบริษัทซึ่งมาเฝ้าพระองค์แต่ที่ไกลเข้าเฝ้าในขณะที่มาได้ทันที
    ๗. ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้เข้าเฝ้าทูลถามได้เมื่อนั้น ไม่ใช่ของผู้มีใจไม่มั่นคง
    ๘. ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาเรื่องใดในที่ลับหลังข้าพระองค์ ขอพระองค์มาตรัสบอกธรรมเทศนาเรื่องนั้น แก่ข้าพระองค์

    พระบรมศาสดาจึงตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ เธอเห็นคุณและโทษอย่างไรจึงได้ขออย่างนี้ พระอานนท์กราบทูลว่า ถ้าข้าพระองค์จักไม่ได้พร ๔ ข้อข้างต้นก็จะมีคนพูดครหานินทาได้ว่า พระอานนท์ได้ลาภอย่างนั้น ๆ จึงบำรุงพระบรมศาสดา การบำรุงอย่างนี้จะหนักหนาอะไร ถ้าข้าพระองค์จักไม่ได้พระ ๓ ข้อเบื้องปลาย คนทั้งหลายก็จะพูดได้ว่า พระอานนท์บำรุงพระบรมศาสดาทำอะไร เพราะพระองค์ไม่ทรงอนุเคราะห์แม้ด้วยกิจเพียงเท่านี้ ถ้าข้าพระองค์จักไม่ได้พรข้อสุดท้าย จักมีผู้ถามข้าพระองค์ในที่ลับหลังพระองค์ธรรมนี้พระองค์ทรงแสดงที่ไหน ถ้าข้าพระองค์บอกไม่ได้ พวกเขาก็จะพูดติเตียนได้ว่า ท่านไม่รู้แม้แต่เรื่องเพียงเท่านี้ ท่านไม่ละพระบรมศาสดาแล้วยังเที่ยวตามเสด็จอยู่ดุจเงาตามตัวสิ้นกาลนานเพราะเหตุไร
    ครั้นพระอานนท์กราบทูลคุณและโทษของพร ๘ ประการ อย่างนี้แล้วพระบรมศาสดาก็ทรงอนุญาตให้ตามที่ขอ ตั้งแต่นั้นมาพระอานนท์ก็อุปัฏฐากพระบรมศาสดาโดยเอื้อเฟื้อ และมีความจงรักภักดีในพระองค์เป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ชีวิตก็สามารถ สละแทนพระองค์ได้ พึงเห็นตัวอย่าง เมื่อครั้งพระเจ้าอชาตศัตรูปล่อยช้างนาฬาคีรีเพื่อให้ทำอันตรายแก่พระองค์ พระอานนท์ออกยืนขวางหน้าช้างนาฬาคีรีเพื่อมิให้ทำอันตรายแก่พระองค์
    เพระเหตุที่ท่านอยู่ในที่ใกล้ชิดพระบรมศาสดา ได้ฟังธรรมที่ทรงแสดงแก่ตนเอง และผู้อื่นมีสติทรงจำไว้ได้มากเอาธุระในการศึกษาเล่าเรียนสาธยายทรงจำไว้ได้มากเอาธุระในการศึกษาเล่าเรียนสาธยายทรงจำ จึงเป็นผู้ฉลาดในการแสดงธรรมมาก ดังนั้น พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องสรรเสริญว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ๕ อย่าง คือ เป็นพหูสูต,มีสติ,มีคติ,มีความเพียร, และเป็นพุทธอุปัฏฐาก และเพราะเหตุที่ท่านเป็นพหูสูต เมื่อพระบรมศาสดาปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปะทำสังคายนาพระธรรมวินัย สงฆ์ได้เลือกท่านให้เป็นผู้วิสัชนาในส่วนพระสุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก ท่านได้บรรลุพระอรหัตตผล ก่อนวันที่จะทำสังคายนา ๑ วัน คือ เมื่อท่านได้รับคำเตือนจากพระมหากัสสปเถระ ครั้นถึงเวลาเย็นก็อุตส่าห์บำเพ็ญสมณธรรม จนได้สำเร็จพระอรหัตตผลในระหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ ซึ่งจะจัดว่าเป็นท่ายืน,เดิน,นั่ง หรือนอนท่าใดท่าหนึ่งก็ไม่ได้ เพราะอยู่ในท่าที่กำลังจะล้มตัวลงนอน
    ต่อมาเมื่อท่านพิจารณาถึงอายุสังขารเห็นว่าสมควรจะนิพพานแล้วจึงไปสู่แม่น้ำโรหิณีซึ่งมีอยู่ในระหว่างศากยวงศ์ และโกลิยวงศ์ ครั้นท่านจะนิพพานได้เหาะขึ้นสู่อากาศแล้วแสดงธรรมสั่งสอนแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ในที่สุดแห่งเทศนาได้แสดงอิทธิปาฎิหาริย์หลายอย่างแล้วตั้งสัตย์อธิษฐานว่า เมื่อนิพพานแล้วขอให้ร่างกายจงแตกออกเป็น ๒ ส่วนแล้วตกลงข้างพระญาติศากยวงศ์ส่วนหนึ่ง ข้างพระญาติโกลิยวงศ์ ส่วนหนึ่งเพื่อจะป้องกันมิให้ชนทั้ง ๒ พวกเกิดวิวาทกัน เพระเหตุแห่งอัฐิ ครั้นอธิษฐานเสร็จแล้วก็นิพพาน* ณ เบื้องบนแห่งอากาศ ท่ามกลางแม่น้ำโรหิณี สรีระร่างกายของท่านก็แตกออกเป็น ๒ ส่วน แล้วตกมายังภาคพื้น สมดังที่ท่านได้อธิษฐานไว้ทุกประการ.
    * พระอานนทเถระ เมื่อพิจารณาตามประวัติแล้ว แปลกจากพระสาวกรูปอื่นโดยกิเลสนิพพานบ้าง ขันธปรินิพพานบ้าง พระสาวกรูปอื่นบรรลุ พระอรหัตและนิพพานในอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ยืน,เดิน,นั่ง,นอน อิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่ง ส่วนท่านพระอานนท์ บรรลุพระอรหัตในระหว่าอริยาบถ ๔ ชื่อว่าต่างจากพระสาวกรูปอื่นโดยขันธปรินิพพาน
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระควัมปติชิเถระ
    http://www.dhammathai.org/monk/monk04.php

    ท่านพระควัมปติชิเถระ เป็นบุตรของเศรษฐีในเมืองพาราณสี เป็นสหายที่รักใคร่สนิทสนมกับท่านพระยสะ เมื่อยสกุลบุตรออกแล้ว ได้ทราบข่าวจึงคิดว่า ธรรมวินัยที่ยสกุลบุตรสหายของตนออกบวชนั้นจักไม่เป็นของเลวทราม ต้องเป็นของดีแน่นอน ควรที่เราจะเข้า ไปหาแล้วบวช บวชตามบ้าง เมื่อคิดอย่างนั้นแล้วจึงพร้อมด้วยสหาย ๓ คน ได้แก่ วมละ สุพาหุ ปุณณชิ ได้พากันไปหาท่านพระยสะ หลังจากนั้น ท่านพระยสะก็พาเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และทูลขอให้พระองค์ทรงสั่งสอน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส อนุปุพพิกถา และ อริยสัจ ๔ ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ควัมปติและสหายก็ได้ธรรมจักษุ คือดวงตาคือปัญญาอันเห็นธรรมได้เกิดขึ้นว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดก็มีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อท่านได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วจึงทูลขออุปสมบท ใน พระธรรม วินัย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่อมีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว ได้ฟังธรรม มีกถาที่พระองค์ ตรัสสอนในภายหลัง จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน ท่านได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ที่นับเข้าในจำพวก พระสาวกผู้ใหญ่ ในคราวที่พระพุทธเจ้าส่งสาวกออกไปประกาศพระศาสนา ท่านก็ได้รับอนุมัติให้ไปประกาศ พระศาสนาในชนบท ช่วยสั่งสอนให้กุลบุตรเกิดความเลื่อมใสได้มาก เมื่อดำรงอยู่ถึงกาลอายุขัยแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระสีวลีเถระ
    http://www.dhammathai.org/monk/monk76.php

    ท่านพระสีวลี เป็นเป็นโอรสของพระนางสุปปวาสา ผู้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงโกลิยะ จำเดิมแต่พระราชโอรสมาถือปฏิสนธิในครรภ์พระมารดา ทำพระมารดาให้สมบูรณ์ด้วยลาภสักการะเป็นอันมาก แต่อยู่ในครรภพระมารดาถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน จึงประสูติ เวลาประสูติก็ประสูติง่ายที่สุด เปรียบประดุจน้ำไหลออกจากหม้อ ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุภาพคือ เมื่อพระนางมีครรภ์แก่ครบกำหนดประสูติแล้ว ได้เสวยทุกขเวทนาลำบากมาก พระนางจึงให้พระสวามีบังคมทูลพระบรมศาสดา พระองค์ตรัสพระราชทานให้พรว่า พระนางสุปปวาสา ผู้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงโกลิยะ จงเป็นหญิงมีความสุขปราศจากโรคาพยาธิ ประสูติพระราชบุตรผู้หาโรคมิได้เถิด พระนางสุปปวาสาก็ได้ประสูติพระราชบุตรพร้อมกับขณะที่พระศาสดาตรัสพระราชทานพร เมื่อประสูติแล้วพระญาติได้ขนานพระนามว่า “สีวลีกุมาร” ส่วนพระนางสุปปาวาสานึกถึงเหตุการณ์ที่เป็นมาแล้ว มีความปรารถนาจะถวายมหาทานสัก ๗ วัน จึงให้พระสวามีไปอาราธนานิมนต์พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเพื่อรับภัตตาหารในบ้าน ๗ วัน พระราชสามีก็ไปตามความประสงค์ของนาง แล้วได้ถวายมหาทานตลอด ๗ วัน (สีวลีกุมารนั้น นับตั้งแต่วันที่ประสูติ ได้ถือธมกรกกรองน้ำถวายพระตลอด ๗ วัน)
    บรรลุมรรคผล
    เมื่อสีวลีกุมารเจริญวัยขึ้นแล้ว ได้ออกผนวชในสำนักของท่านพระสารีบุตร ได้บรรลุผลสมตามความปรารถนา คือ ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอเสขบุคลในพระพุทธศาสนา นัยว่าท่านได้บรรลุมรรคผลตั้งแต่เมื่อเวลาปลงผม คือ เมื่อเวลามีดโกรจรดลงศีรษะครั้งที่หนึ่งได้บรรรลุโสดาปัตติผล ครั้งที่สองได้บรรลุสกทาคามี ครั้งที่สามได้บรรลุอนาคามิผล ปลงผมเสร็จก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ตั้งต้นแต่นั้นมาท่านเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัจจัยสี่ ทั้งภิกษุทั้งหลายก็พลอยไม่ขัดข้องด้วยปัจจัยลาภเพราะอาศัยท่าน
    เอตทัคคะ
    เพราะเหตุนั้น พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายข้างผู้มีลาภมาก ท่านพระสีวลีนั้น ดำรงเบญจขันธ์อยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระมหาโมคคัลลานเถระ
    http://www.dhammathai.org/monk/monk59.php

    ท่านมหาโมคคัลลานะ เป็นบุตรพราหมณ์ผู้เป็นนายบ้านชื่อว่า โกลิตะ มารดาชื่อนางโมคคัลลี แต่เดิมชื่อว่า โกลิตะ ตามโคตรแห่งบิดา และถูกเรียกชื่อเพราะ เป็นบุตรนางโมคคัลลีว่า โมคคัลลานะ พอเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว พวกภิกษุเรียกกันว่า พระโมคคัลลานะ ทั้งนั้นท่านเกิดใน โกลิตคามไม่ห่างจากเมืองราชคฤห์ สมัยเป็นเด็กได้เป็นสหายที่รักใคร่กันกับอุปติสสมาณพ ผู้มีอายุคราวเดียวกัน และตระกูลของทั้งสองนั้นมั่งคั่ง สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์และบริวารเท่า ๆ กัน มีความคุ้นเคยสนิทสนมกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เมื่อโกลิตมาณพเจริญวัยขึ้นก็ได้ำปศึกษาเล่าเรียนศิลปะด้วยกันกับอุปติสสมาณพ แม้จะไปเที่ยวหรือไปทำธุระอะไรก็มักจะไปด้วยกันอยู่เสมอ จนกระทั่งเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาก็บวชพร้อมกัน ต่างกันแต่ว่าได้ดวงตาเห็นธรรมครั้งแรกนั้นไม่พร้อมกัน เรื่องราวต่าง ๆ ก่อนอุปสมบทคล้าย ๆ กับพระสารีบุตรตามที่ได้บรรยายมาก่อนหน้านี้
    หลังจากอุปสมบทแล้ว ๗ วัน ได้ไปทำความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แขวงมคธ เกิดความอ่อนใจนั่งโงกง่วงอยู่ พระบรมศาสดาเสด็จไปที่นั่น ทรงสั่งสอน และแสดงอุบายสำหรับระงับความง่วง ๘ ประการ คือ
    ๑. โมคคัลลานะ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไร ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอควรทำในใจถึงสัญญานั้นให้มาก จะละความง่วงนั้นได้
    ๒. หากยังละไม่ได้ เธอควรตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้ฟังและได้เรียนมาแล้วด้วยใจของเธอเอง จะละความง่วงได้
    ๓. หากยังละไม่ได้ เธอควรสาธยายธรรมตามที่ตนได้ฟังและได้เรียนมาโดยพิสดาร จะละความง่วงได้
    ๔. หากยังละไม่ได้ เธอควรยอนหูทั้งสองข้างและลูบด้วยฝ่ามือ จะละความง่วงได้
    ๕. หากยังละไม่ได้ เธอควรลุกข้นยืน ลูบนัยน์ตาด้วยน้ำ เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ จะละความง่วงได้
    ๖. หากยังละไม่ได้ เธอควรทำในใจถึงอาโลกสัญญา คือความสำคัญในแสงสว่าง ตั้งความสำคัญว่ากลางวันไว้ในใจ ให้เหมือนกันทั้งกลางวันและกลางคืน มีจิตใจแจ่มใสไม่มีอะไรห่อหุ้ม ทำจิตอันมรแสงสว่างให้เกิด จะละความง่วงได้
    ๗. หากยังละไม่ได้ เธอควรอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายว่าจะเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีจิตไม่คิดไปภายนอก จะละความง่วงได้
    ๘. หากยังละไม่ได้ เธอควรสำเร็จสีหไสยาสน์ คือนอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ ตั้งใจว่าจะลุกขึ้น พอเธอตื่นแล้วควรรีบลุกขึ้น ด้วยการตั้งใจว่าจะไม่ประกอบสุขในการนอน จะไม่ประกอบสุขในการเอนหลัง จะไม่ประกอบสุขในการเคลิ้มหลับ

    ครั้นตรัสสอนอุบาย สำหรับระงับความง่วงอย่างนี้แล้ว ทรงสั่งสอนให้สำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราจักไม่ชูงวง (คือการถือตัว) เข้าไปสู้ตระกูล จักไม่พูดคำที่เป็นเหตุให้คนเถียงกัน เข้าใจผิดต่อกัน และตรัสสอนให้ยินดีด้วยที่นั่งที่นอนอันเงียบสงัด และควรเป็นอยู่ตามลำพังสมณวิสัยไ เมื่อตรัสสอนอย่างนี้แล้ว พระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า "โดยย่อข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วนเกษมจากโยคะธรรม เป็นพรหมจารีบุคคลยิ่งกว่าผู้อื่น มีที่สุดกว่าผู้อื่น ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายไ พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า "โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไดเสดับแล้วว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เธอทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันวิเศษ ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงได้ เธอได้ประสบเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี เธอพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นด้วปัญญาเป็นเครื่องหน่าย เป็นเครื่องดับ เป็นเครื่องสละ คืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่น ถือมั่น สิ่งอะไร ๆ ในโลกไม่มีความสะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้ด้วยตนเอง และทราบชัดว่า ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะทำอย่างนี้อีกมิได้มี ว่าโดยย่อข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แหละ ภิกษุได้ชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา" ท่านพระโมคคัลลานะได้ปฏิบัติตามโอวาท ที่พระบรมศาสดาตรัสสั่งสอน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันนั้น
    ครั้นได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว พระโมคคัลลานะได้เป็นกำลังสำคัญของพระบรมศาสดาในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามที่พระองค์ทรงดำริให้สำเร็จเพราะท่านเป็นผู้มีฤทธิ์มาก จึงได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระบรมศาสดาว่า "เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางเป็นผู้มีฤทธิ์" และทรงยกย่องว่าเป็นคู่พระอัครสาวก คู่กันกับพระสารีบุตรในการอุปการะภิกษุผู้เข้ามาบวชในพระธรรมวินัย ดังกล่าวในประวัติพระสารีบุตรว่า สารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ยังบุตรให้เกิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องบน ที่สูงกว่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงมีคำยกย่องว่าพระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา พระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกฝ่ายซ้าย พระธรรมเทศนา ของพระโมคคัลลานะไม่ค่อยจะมีที่เป็นโอวาทให้แก่ภิกษุสงฆ์มีเพียงแต่อนุมานสูตร ซึ่งว่าด้วยธรรมินทำให้คนเป็นผู้ว่ายากหรือง่าย ในมัฌิมนิกายกล่าวว่า ท่านพระโมคคัลลานะเข้าใจในนวกรรมคือการก่อสร้าง เพราะฉนั้นเมื่อนางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างบุพพาราม ในเมืองสาวัตถี พระบรมศาสดารับสั่งให้ท่านเป็นนวกัมมาธิฏฐายี คือผู้ควบคุมการก่อสร้าง
    ท่านพระโมคคัลลานะ ปรินิพพานก่อนพระบรมศาสดา มีเรื่องเล่าว่า ครั้งเมื่อท่านพำนักอยู่ ณ ตำบลกาฬศิลา แคว้นมคธ พวกเดียรถีย์ปรึกษากันว่า บรรดาลาภสักการะ ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแก่พระบรมศาสดาในครั้งนั้น ก็เพราะอาศัยพระโมคคัลลานะ เพราะสามารถนำข่าวในสวรรค์และนรกมาแจ้งแก่มนุษย์ ชักนำให้ประชาชนเกิดความเลื่อมใส ถ้าพวกเรากำจัดพระโมคคัลลานะเสียได้แล้ว ลัทธิของพวกเราก็จะเจริญรุ่งเรืองขึ้น ลาภสักการะต่าง ๆ ก็จะมาหาพวกเราหมด เมื่อปรึกษากันดังนั้นแล้วจึงจ้างโจรผู้ร้ายให้ลอบฆ่าพระโมคคัลลานะ เมื่อโจรมาท่านพระโมคคัลลานะทราบเหตุนั้นจึงหนีไปเสียสองครั้ง ครั้งที่สามท่านพิจารณาเห็นว่ากรรมตามทันจึงไม่หนี พวกโจรผู้ร้ายจึงได้ทุบตีจนร่างกายแหลกเหลว ก็สำคัญว่าตายแล้ว จึงนำร่างท่าน ไปซ่อนไว้ในพุ่มไม้แห่งหนึ่งแล้วพากันหนีไป ท่านพระโมคคัลลานะยังไม่มรณะ เยียวยาอัตภาพให้หายด้วยกำลังฌานแล้วเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดา แล้วทูลลากลับปรินิพพาน ณ ที่เกิดเหตุ ในวันเดือนดับ เดือน ๑๒ หลังพระสารีบุตร ๑๕ วัน สมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จไปทำฌาปนกิจแล้วรับสั่งให้นำอัฐิธาตุ มาก่อเจดีย์บรรจุไว้ ณ ที่ใกล้ประตูวัดเวฬุวัน
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระราหุลเถระ
    http://www.dhammathai.org/monk/monk40.php

    พระราหุล เป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ กับพระนางยโสธรา (พิมพา) เป็นพระนัดดาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ เมื่อพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้แล้วเสด็จมาเทศนาโปรดพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ประทับอยู่ที่นิโครธาราม วันหนึ่งพระองค์เสด็จไปที่พระราชนิเวศน์ของพระนางยโสธราพระราชเทวีเก่าของพระองค์ พระนางได้ส่งพระราหุลกุมาร ผู้เป็นพระโอรสออกมาทูลขอพระราชสมบัติที่ควรจะได้ราหุลกุมารออกไปเฝ้าเจรจาปราศรัยแสดงความรักใคร่มีประการต่าง ๆ ครั้นเห็นพระบรมศาสดาจะเสด็จกลับ จึงร้องทูลขอราชสมบัติพลางตามเสด็จพระบรมศาสดาทรงดำริว่า ทรัพย์สมบัติทั้งหลาย ที่จะมั่นคงถาวร และประเสริฐยิ่งกว่าอริยทรัพย์นั้นไม่มี ควรที่เราจะให้อริยทรัพย์แก่ราหุลเถิด
    เมื่อพระพุทธองค์ทรงดำริอย่างนี้แล้ว จึงตรัสสั่งพระสารีบุตรว่า สารีบุตร ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้ราหุลบวชเถิด ขณะนั้นราหุลกุมารยังเยาว์อยู่มีอายุยังไม่ครบอุปสมบท พระสารีบุตรจึงทูลถามว่า จะโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชราหุลกุมารอย่างไร พระบรมศาสดาทรงปรารภเรื่องนี้ให้เป็นเหตุ จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุบวชกุลบุตรที่มีอายุยังไม่ครบอุปสมบทให้เป็นสามเณร ด้วยการให้สรณคมน์ ๓ นับได้ว่าราหุลเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา เมื่อราหุลกุมารบวชเป็นสามเณรแล้ว ตามเสด็จพระบรมศาสดา และพระอุปัชฌาย์ของตนไป ครั้นมีอายุครบแล้วก็ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ
    วันหนึ่งในขณะที่พระราหุลพักอยู่ ณ สวนมะม่วงแห่งหนึ่งในกรุงราชคฤห์ พระบรมศาสดาเสด็จไป ณ ที่นั้น ทรงแสดงราหุโลวาทสูตรซึ่งว่าด้วยภาชนะน้ำเปล่า บรรยายเปรียบเทียบด้วยคนพูดมุสาวาทเป็นต้น ตรัสสอนให้พระราหุลสำเหนียกตามเทศนานั้นแล้วเสด็จกลับไป ต่อมาอีก วันหนึ่งพระราหุลเข้าไปเฝ้า พระบรมศาสดาตรัสสอนด้วยมหาราหุโลวาท ซึ่งว่าด้วรรูปกรรมฐานธาตุ ๕ อย่างคือ ปฐวีธาตุ ธาตุดิน,อาโปธาตุ ธาตุน้ำ,เตโชธาตุ ธาตุไฟ, วาโยธาตุ ธาตุลม และอากาศธาตุ ช่องว่าง ให้ใช้ ปัญญาพิจารณาให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริงว่า สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ส่วนนั้นไม่เป็นของเรา ส่วนนั้นไม่ใช่ของตัวเราเป็นต้น ในที่สุดก็ตรัสสอนในกรรมฐานอื่น ๆ ให้เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อสุภสัญญา อนิจจสัญญา ครั้นทรงสอนจบแล้วพระราหุลมีจิตยินดีในคำสอนของพระบรมศาสดา ต่อมาพระราหุลได้ฟังพระพุทโธวาทเกี่ยวกับวิปัสสนา คล้ายกับโอวาทที่ตรัสสอนภิกษุปัญจวัคคีย์ เพียงแต่ในที่นี้ยกอายตนะภายในภายนอกเป็นต้นขึ้นแสดงแทนขันธ์ ๕ ท่านส่งจิตไปตามพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลเป็นพระอรหันต์
    พระราหุลนั้น ท่านเป็นผู้ใคร่ในการศึกษาธรรมวินัย ตามประวัติกล่าวไว้ว่า ครั้นท่านลุกขึ้นแต่เช้าก็ไปกอบทรายให้เต็มฝ่าพระหัตถ์แล้ว ตั้งความปรารถนาว่า ในเวลานี้ข้าพเจ้าพึงได้รับซึ่งโอวาทคำสอนจากสำนักของพระบรมศาสดา หรือจากสำนักของอุปัชฌาย์อาจารย์ทั้งหลายให้ได้มากประมาณเท่าเม็ดทรายในกำมือแห่งข้าพเจ้านี้ ด้วยเหตุนี้เอง พระราหุลจึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ใคร่ในการศึกษา ครั้นท่านดำรงชนมายุสังขารโดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    สำหรับสมาชิกชาววังหน้า หรือผู้ที่ศรัทธาในองค์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ,สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ที่ได้มีวาสนาและบารมีครอบครองพระวังหน้านั้น ยังมีวาสนาและบารมีได้มีพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม และพระบรมสารีริกธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้า ไว้กับตนเองเพื่อสักการะบูชา

    มนุษย์หรือคน แข่งอะไรก็แข่งได้ แต่แข่งเรื่องบุญ ,วาสนา และบารมี แข่งกันไม่ได้ พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม และพระบรมสารีริกธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่เป็นมงคลสูงที่สุด ไม่ว่าจะเป็นคนหรือมนุษย์ ,เทพเทวาทุกชั้นฟ้า ,องค์พยามัจจุราชเจ้า ,เทพเทวาทุกๆพระองค์ ,พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ ,พระอริยสงฆ์ทุกๆพระองค์ ฯลฯ ต้องบูชาและสักการะพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม และพระบรมสารีริกธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้า เสมอ

    .

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ผมขอขอบพระคุณพี่ท่านนึง ที่โทร.มาหาผม จะมอบพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม สันฐานต่างๆ ที่ผมเองไม่มี และพระธาตุพระอรหันต์ (ที่ประจำทั้ง 8 ทิศ คือ พระอัญญาโกณฑัญญเถระ ,พระมหากัสสปะเถระ ,พระสารีบุตรเถระ ,พระอุบาลีเถระ , พระอานนทเถระ ,พระควัมปติชิเถระ , พระสีวลีเถระ , พระมหาโมคคัลลานเถระ ,พระราหุลเถระ ) และพระธาตุพระมหากัจจายนะเถระ



    ขอขอบพระคุณมากครับ
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 16 คน ( เป็นสมาชิก 7 คน และ บุคคลทั่วไป 9 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, มโนนโม, ake7440+, มูริญโญ่, eakbordin, ชวภณ+, ทองอ้วน </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ---------------------------------

    เป็นอย่างไรบ้างครับคุณหมอเอก ,คุณมูรินโญ่ ,คุณชวภณ ,คุณทองอ้วน และท่านอื่นๆ เย็นวันศุกร์ไม่ไปไหนหรือครับ
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ผมตั้งใจว่า จะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้า ไปมอบให้พี่ท่านนี้เช่นกันครับ

    .
     
  16. มูริญโญ่

    มูริญโญ่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +583
    <TABLE class=tborder id=post1446271 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>sithiphong<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1446271", true); </SCRIPT>
    ผู้ร่วมสนับสนุนบริจาค

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งล่าสุด: วันนี้ 07:50 PM
    วันที่สมัคร: Dec 2005
    ข้อความ: 25,279
    ได้ให้อนุโมทนา: 13,655
    ได้รับอนุโมทนา 159,067 ครั้ง ใน 21,401 โพส
    <IF condition="">
    </IF>พลังการให้คะแนน: 14116 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1446271 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ มูริญโญ่ [​IMG]
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong
    สำหรับพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นและนำเข้าพระราชพิธีพุทธาภิเษกหลวง ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หลังปี พ.ศ.2428-2451) เป็นพระพิมพ์ที่ไม่ธรรมดาเช่นกัน เนื่องจากองค์ผู้อธิษฐานจิต มีมากมายเช่น หลวงปู่สมเด็จกรมพระยาปวเรส ,หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ,หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ,หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ,หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ,หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) เป็นต้น ซึ่งเมื่อเทียบกับในยุคปัจจุบันแล้ว นับได้ว่าหาเทียบได้ยาก

    อีกทั้งประธานฝ่ายฆาราวาส เป็นถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านจัดทำและสร้างพระราชพิธีหลวงในปี พ.ศ.2451 อย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองที่พระราชบิดา(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ครองราชย์ครบ 40 ปี และเฉลิมฉลองพระบรมรูปทรงม้าด้วย

    ---------------------------------------

    คุณ sithiphong ครับผมเรียนถามเพื่อเพิ่มความรู้สักนิดนะครับ พอดีผมยังสงสัย
    คือ ..... จากข้อความที่คุณ sithiphong โพสข้อความไว้ไม่มีชื่อของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ เลยแสดงว่าท่านไม่ได้ร่วมพิธีด้วยใช่มั้ยครับที่ผมเรียนถามเพราะว่าผมเคยอ่านประวัติท่านๆอยู่ในยุคเดียวกับหลวงปู่ศุขและหลวงพ่อเงิน ?
    ผมนำพระสมเด็จปรกโพธิ์ที่คุณ sithiphong มอบให้ผมเลี่ยมตลับพุกห้อยคอครับ ดีขึ้นหลายอย่างครับแล้วอีกไม่นานผมจะเล่าให้ฟังครับ อนาคตคงต้องนิมนต์ท่าน เข้าตลับทองครับ ส่วนปางที่ยืนปิดตาถ้าความเข้าใจผมไม่ผิดคงจะเป็นพิมพ์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ใช่มั้ยครับ ไม่ทราบจะห้อยรวมกับสมเด็จปรกโพธิ์ได้มั้ยครับ ? คือ สมเด็จปรกโพธิ์ 2 องค์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1 องค์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ท่านก็เป็นพระอภิญญาใหญ่เช่นกัน แต่เท่าที่ผมทราบมานั้น พระพิมพ์ที่องค์พระอภิญญาใหญ่ท่านอธิษฐานจิต ยังไม่เคยพบว่า มีหลวงพ่อเดิมท่านอธิษฐานจิตร่วมด้วย

    แต่เนื่องจากผมเอง เป็นคนที่ไม่ค่อยชอบพระพิมพ์ที่อยู่ในพระราชพิธีหลวง ปี พ.ศ.2451 เท่าไหร่ ก็เลยไม่ค่อยได้สนใจมากนัก ยกเว้นจะเป็นประเภทอื่นๆครับ

    ส่วนพระสมเด็จปรกโพธิ์ และหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร สามารถห้อยรวมกันได้ ไม่มีปัญหาอะไรครับ

    ขอบคุณมากๆๆๆนะครับสำหรับความมีน้ำใจของคุณsithiphong

    .
    <!-- / message --><!-- sig --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ตอนนี้ตาลุงแกปวดหัวจริงๆครับ พึ่งเสร็จภาระกิจควานหาเนื้อ...ก็โดนพี่ที่เคารพ สั่งให้ควานหาเหรียญจตุคามปี30ให้ด้วยปวดหัวจริงๆครับ ต้องหาภายใน3วัน แงๆๆๆๆๆ
     
  18. มูริญโญ่

    มูริญโญ่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +583
    คุณ nongnooo sithiphong,ทานข้าวหรือยังครับ พอดีวันนี้ผมยังอยู่ที่ทำงานยังไม่กลับ มีแข่งบอลภายในของที่ทำงานผู้ใหญ่มอบให้ผมเป็นประธานจัดการแข่งขันก็เลยกลับดึกหน่อย
    โชคดีมาชั้นเดียวจริงๆเรื่องที่จะไป อินเดียพอดีมีทริปไปออสเตรเลียในช่วงเวลาใกล้กันก็เลยได้ไปที่เดียว ถ้าห่างกันสักหลายเดือนผมได้ไปแน่ๆเลยเลยต้องสละสิทธิ์ที่นึง
    พอดีทราบหมายกำหนดการแล้วที่ผมจะไป เนปาลกับอินเดีย 2 ประเทศ ไปทั้งหมด
    สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพาน ส่วนเนปาลผมยังอ่านไม่ละเอียดไปทั้งหมด 7 วัน เดือนตุลาคมช่วงปลายเดือน แล้วจะเล่าให้ฟังนะครับ
    เสียดายเหมือนกันนะครับเรื่องออสเตรเลียเพราะยังไม่เคยไปเที่ยวที่นี่
    ส่วนที่ไปมาแล้วหลายที่ครับ
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ยินดีด้วยนะครับ

    แล้วอย่าลืมถ่ายรูปมาให้ชมกันด้วยครับ

    .
     
  20. มูริญโญ่

    มูริญโญ่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +583
    [​IMG] ครั้งก่อนที่คุณ nongnooo ถามเป็นพระแก้วมณีโชติ
    ( ถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ ) ให้พี่คนรู้จักไปแล้ว
    ส่วนองค์นี้ของพ่อ กลีบบัวหลวงพ่อเดิม พ่อรับมาเอง
    มรดกครับ พ่อเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน
    และชอบไปกราบไหว้หลวงพ่อพรหม ที่นครสวรรค์
    ส่วนแม่จะชอบไปกราบหลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
    ที่ผมรู้เพราะท่านเคยเล่าให้ฟังครับ พอดีที่บ้านพี่น้อง
    ผมไม่มีคนสนใจด้านพระเครื่องเลยอยู่กับผมทั้งหมด
     

แชร์หน้านี้

Loading...