พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. ทองอ้วน

    ทองอ้วน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +135
    ผมก็มีแล้วครับ 1 เล่ม รูปเยอะมากเลยครับ เนื้อหาก็ไม่เหมือนเล่มทั่วไปนะครับ ผมว่าอีกหน่อยคงต้องมีหนังสือเกี่ยวกับพระวังหน้าเล่มใหม่ๆออกมาแน่ๆ เลย คราวนี้ผมจะไม่ยอมให้พลาดอีกครับ
     
  2. nanodent

    nanodent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,730
    ค่าพลัง:
    +943
    มาอ่านไปพร้อมๆกันนะครับ...ทยอยลงเรื่อยๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.5 KB
      เปิดดู:
      64
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      103.5 KB
      เปิดดู:
      55
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      126.9 KB
      เปิดดู:
      53
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      106 KB
      เปิดดู:
      56
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      137.7 KB
      เปิดดู:
      52
    • 6.jpg
      6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      108.8 KB
      เปิดดู:
      49
    • 7.jpg
      7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      112.8 KB
      เปิดดู:
      48
    • 8.jpg
      8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      104 KB
      เปิดดู:
      62
    • 9.jpg
      9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111.4 KB
      เปิดดู:
      56
    • 10.jpg
      10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      109.8 KB
      เปิดดู:
      49
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เป็นเล่มใหญ่ ปกสีแดงและมีรูปพระสมเด็จครับ ราคาปกเล่มละ 980 บาทครับ

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ผมเองมีความตั้งใจที่จะเขียนหนังสือที่เกี่ยวกับพระวังหน้าอยู่เช่นกัน แต่ตอนนี้กำลังรวบรวมข้อมูลอยู่ อีกทั้งต้องรวบรวมพระพิมพ์ต่างๆ เท่าที่สามารถทำได้ เนื่องจากพระพิมพ์ของวังหน้าและวังหลวงมีเป็นจำนวนมาก มีมากมายหลายพิมพ์ เพียงแค่ชุด 2408 ก็มี 2 ชุดแล้ว มีทั้งชุดที่มี 44 พิมพ์ และ 8 พิมพ์ มีทั้งหน้าเดียวและสองหน้า แค่นี้ก็จำกันค่อนข้างยากแล้ว ยังมีพิมพ์อื่นๆอีกมาก และเนื้ออื่นๆอีกมากเช่นกัน

    .
     
  5. nanodent

    nanodent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,730
    ค่าพลัง:
    +943
    คุณสิทธิพงษ์โบราณว่าตีเหล็กต้องตีตอนร้อนนะครับ...เอาเลยครับผมว่ารูปเยอะเนื้อหาแน่น วิ่งฉิวเลยครับ
     
  6. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เป็นการพิมพ์ครั้งที่ ๑ เดือนมกราคม ๒๕๕๐ ครับ เล่มนี้หรือเปล่า ผมมีอยู่เล่มนึง

    ส่วนเล่ม ๒ เล่มเล้ก ก็มีเล่มนึง

    เล่มสุดท้าย ของบุญพระเครื่องจัดทำขึ้น ก็มีเล่มนึง...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010057.JPG
      P1010057.JPG
      ขนาดไฟล์:
      228.3 KB
      เปิดดู:
      81
    • P1010058.JPG
      P1010058.JPG
      ขนาดไฟล์:
      288 KB
      เปิดดู:
      71
    • P1010059.JPG
      P1010059.JPG
      ขนาดไฟล์:
      220 KB
      เปิดดู:
      80
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ทองอ้วน [​IMG]
    ผมก็มีแล้วครับ 1 เล่ม รูปเยอะมากเลยครับ เนื้อหาก็ไม่เหมือนเล่มทั่วไปนะครับ ผมว่าอีกหน่อยคงต้องมีหนังสือเกี่ยวกับพระวังหน้าเล่มใหม่ๆออกมาแน่ๆ เลย คราวนี้ผมจะไม่ยอมให้พลาดอีกครับ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ยังไม่รวมกับเรื่องของพระบรมสารีริกธาตุ ,พระบูชา เทวรูปอีก ยังมีวัตถุมงคลต่างๆ เช่น ไม้ครู ,พระขรรค์ ,กฤช , ไม้เท้า ฯลฯ อีกหลายๆอย่างมาก ซึ่งหลายๆคนที่ได้เจอผมก็คงได้เห็น บางคนอาจได้ครอบครองด้วย ก็ยังมีอีกมากจริงๆครับ

    ผมเชื่อว่า มีบางท่านที่รู้จักผม แต่ไม่ค่อยเชื่อว่าเป็นอย่างนั้น แต่สุดท้ายเมื่อได้พบ ได้เจอของจริงๆ ถึงกับมึนและงงว่า เป็นไปได้อย่างไรกัน มีหลายๆคนที่นำไปเช็คหรือตรวจสอบ ผลที่ได้มาก็ตรงกับที่ผมนำไปตรวจสอบ ผมและหลายๆท่าน เป็นคนที่ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ตรวจแล้วตรวจอีก ตรวจจนโดนหลวงปู่ดุ แต่ก็ยังไม่วายตรวจต่อ

    สิ่งต่างๆ ผมบอกว่า ต้องพิสูจน์เอง ด้วยตัวเอง แต่จะเชื่อหรือไม่ย่อมเป็นสิทธิของตนเองครับ
     
  8. bcbig_beam

    bcbig_beam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +3,246
    มาเป็นกำลังใจให้พี่สิทธิพงษ์ครับ
    โมทนาบุญด้วยทุกประการครับ
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ผมต้องรอบคอบครับ เขียนแล้วก็ต้องนำไปให้ครูบาอาจารย์ช่วยเช็คสอบอีก ผมกลัวข้อมูลผิด จะเป็นกรรมได้

    ผมแอบกระซิบนิดนึงว่า พระสมเด็จที่บางรุ่นเขาเล่นกันก็เป็นพระวังหน้า ไม่ใช่วัดระฆังครับ

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [​IMG]

    เล่มนี้ครับ ที่พึ่งได้รับมาจากลูกค้าผมครับ

    .
     
  11. nanodent

    nanodent เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,730
    ค่าพลัง:
    +943
    กรุวัดพระแก้วที่คนมักเข้าใจผิดคิดว่าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม...ที่จริงวังหน้าก็มีวัดชื่อวัดพระแก้วเหมือนกันดังรูป ผมเองก็เพิ่งรู้เหมือนกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วัดบวรสถานสุทธาวาส เป็นวันที่จัดพระราชพิธีพุทธาภิเษกหลวง ตั้งแต่ต้น จนถึงปี พ.ศ.2428 หลังจากนั้นก็ไปจัดพระราชพิธีพุทธาภิเษกหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

    ผมยังได้ทราบว่า พระราชพิธีพุทธาภิเษกหลวงที่วัดบวรสถานสุทธาวาสกระทำกันอย่างไร หากใครมีหนังสือวิเคราะห์พระสมเด็จและสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า ก็จะทราบดี

    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  14. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ตาลุงแกบอกช่วงนี้แขวนยาวทุกวันไม่เว้นวันหยุดครับ หุ หุ ยกเว้นตอนนอนครับ ซึ่งบางวันถ้ารู้สึกแปลกๆจะห้อย พระพิมพ์วัดป่ามะม่วงนอนครับ หลับฝันดีมากๆทุกครั้งเลย ครับ หุ หุ
     
  15. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    อ่ายินดีด้วยเช่นกันครับ :z4
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ผมจะมอบพระพิมพ์ให้ 1 องค์(ผมเลือกให้เอง ห้ามเลือกเองนะครับ) สำหรับท่านใด(ต้องเคยร่วมทำบุญกับ สนส.บ่อเงินบ่อทอง ,ร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ,ร่วมทำบุญกับสภากาชาดไทย ,มูลนิธิชัยพัฒนา ,มูลนิธิพระดาบส และสมาชิกชมรมพระวังหน้า) ที่โพสข้อความในโพสที่ 20001 หน้าที่ 1000 เป็นท่านแรกครับ
    แต่ต้องซื่อสัตย์กับเพื่อนๆด้วยนะครับ ไม่ใช่ว่าแอบไปลบโพสของตนที่เป็นโพสเก่าๆ เพื่อให้ตนเองได้เลื่อนขึ้นมา ผมต้องบอกไว้ก่อน อย่าหาว่าอย่างโน้น อย่างนี้เลยนะครับ

    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=headnews vAlign=top>"พระแม่โพสพ"...ในวันข้าวขึ้นราคา
    http://www.komchadluek.net/2008/08/13/x_phra_j001_215625.php?news_id=215625</TD></TR><TR><TD vAlign=top height=4></TD></TR><TR><TD class=dessubmmenu1><CENTER>[​IMG]</CENTER>


    "ราคาข้าวที่พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยคาดว่า ราคาข้าวของไทยจะแตะตันละ ๘๐๐ ดอลลาร์ ในเดือนเมษายน และมีโอกาสขึ้นไปถึง ๑,๐๐๐ ดอลลาร์ ในปลายปี"
    ถือเป็นข่าวดีสำหรับชาวนาไทย โดยส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้รับอานิสงส์ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เมล็ดพันธุ์ เครื่องจักรกลการเกษตร ฯลฯ
    ทั้งนี้หลายคนอาจจะคิดไม่ถึงว่า "วงการจัดสร้างและให้เช่าบูชาวัตถุก็ได้รับอานิสงส์จากข้าวขึ้นราคาด้วย" วัตถุมงคลดังกล่าว คือ "พระแม่โพสพ" ซึ่งเป็น "เทพธิดาประจำข้าว" หรือ "เจ้าแม่แห่งข้าว" นั่นเอง <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    "คม ชัด ลึก" รวบรวมข้อมูลการจัดสร้าง พระแม่โพสพ ของวัดต่างๆ พบว่า วัดในแถบจังหวัดภาคกลาง โดยเฉพาะวัดที่ตั้งอยู่กลางทุ่งนาหลายสิบวัด ต่างสร้างพระแม่โพสพออกมาให้ชาวนาบูชา ปรากฏว่าได้รับความนิยมจากชาวนา ที่เช่าบูชาหมดเกือบทุกวัด
    นอกจากนี้ยังมีวัดบางแห่งจัดสร้างพระแม่โพสพ เนื้อผง และเนื้อโลหะ แบบบูชาห้อยติดตัว แต่ไม่ได้รับความนิยม ด้วยเหตุที่ว่า คนจะบูชาพระแม่โพสพไว้ที่หิ้งบูชา ไม่ใช่นำมาแขวนคอ เหมือนเทพองค์อื่นๆ เช่นเดียวกับการบูชานางกวัก
    นอกจากนี้แล้ว วัดหลายแห่งยังจัดสร้าง รูปปั้นพระแม่โพสพ ไว้ในวัด เพื่อเป็นที่สักการบูชาของชาวนาในละแวกใกล้เคียงอีกด้วย
    ในบรรดาวัดที่จัดสร้างพระแม่โพสพ รุ่นที่จัดสร้างโดย พระครูใบฎีกา ทวนทอง สุวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดท่าข้าม ต.บางตาเถร อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี หรือที่ลูกศิษย์เรียกสั้นๆ ว่า "อ.ทอง" ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังทางด้านเมตตา ถือว่า ได้รับความนิยมอยู่ในลำดับต้นๆ
    ทั้งนี้ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา อ.ทอง ได้สร้างพระแม่โพสพ ขนาดหน้าตัก ๓ นิ้ว และ ๕ นิ้ว เนื้อเรซิ่น จำนวน ๙๙๙ องค์ โดยให้บูชาอย่างต่ำราคาองค์ละ ๙๙ บาท และตามกำลังศรัทธา ปรากฏว่า หลังจากสร้างออกมาแล้ว ได้รับความนิยมจากญาติโยมจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวนาที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงกับวัด เท่าที่สอบถามผู้เช่า ร้อยทั้งร้อยเป็นชาวนา ไม่มีคนในอาชีพอื่นมาบูชาพระแม่โพสพเลย
    "อาตมาสร้างพระแม่โพสพ เพราะท่านมีคุณต่อชาวนามาก ซึ่งปกติแล้ว ชาวนาบูชาพระแม่โพสพอยู่แล้ว แต่ไม่มีรูปเคารพ รวมทั้งปีนี้ชาวนาขายข้าวได้ราคาดี เมื่อชาวนารู้ว่า ที่วัดมีการสร้างออกมา จึงแห่กันมาบูชาจนหมด บางรายบูชากันไป ๒-๓ องค์ เป็นการทำบุญเพื่อนำไปบูชาจริงๆ ไม่ใช่บูชาเพื่อเก็งกำไร เหมือนวัตถุมงคลอื่นๆ" นี่คือเหตุผล ในการจัดสร้างพระม่โพสพ ของ อ.ทอง
    ทั้งนี้ อ.ทอง ได้อธิบายถึงคติความเชื่อและคุณของพระแม่โพสพว่า ความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อแม่โพสพ เป็นความรู้สึกสำนึกถึงบุญคุณ ที่ให้อาหารเลี้ยงชีวิต และข้าวนั่นเอง คือ แม่โพสพ คนไทย จึงให้ความเคารพข้าว ไม่ใช้คำหยาบคาย หรือแช่งด่าต้นข้าว หรือเมล็ดข้าว ถ้าทำข้าวหก ก็จะก้มลงเก็บอย่างเรียบร้อย ไม่ข้าม ไม่เหยียบ ไม่ใช้เท้ากวาด ข้าวจะเก็บไว้เป็นที่เป็นทาง อย่างเรียบร้อย ไม่ทิ้งเรี่ยราด เลอะเทอะ ไม่ว่าจะเป็นข้าวเปลือก ข้าวสาร หรือข้าวสุก เมื่อรับประทานข้าว จะรับประทานอย่างเรียบร้อย ไม่ทำเลอะเทอะมูมมาม เมื่ออิ่มก็จะไหว้ขอบคุณแม่โพสพ
    ผู้ใหญ่แต่เก่าก่อน นับถือแม่โพสพมาก เมื่อแรกทำนาจนกระทั่งถึงเวลาไถคราด เก็บเกี่ยวรวงข้าวด้วยเคียวเหล็ก จะต้องประกอบพิธีเซ่นบูชาแม่โพสพทุกระยะไป เช่น ก่อนหน้าเวลาฤกษ์แรกนา จะปลูกศาลเพียงตา สูงระดับสายตาคน ณ ที่ใดที่หนึ่ง ที่กำหนดไว้เป็นที่แรกนา ตระเตรียมเครื่องสังเวยบูชาแม่โพสพให้ครบถ้วน พร้อมทั้งกล่าวคำขวัญเป็นถ้อยคำไพเราะ อ้อนวอนแม่โพสพให้คุ้มครองรักษาต้นข้าว
    ส่วนการบูชาคุณพระแม่โพสพนั้น อ.ทองบอกว่า จะใช้ผลไม้ เช่น สับปะรด กล้วย ส้ม มะพร้าวอ่อน จะสังเกตว่า ไม่มีขนม หรือหมูเห็ดเป็ดไก่ นั่นเป็นเพราะช่วง ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ เป็นช่วงข้าวตั้งท้อง พอออกพรรษาจะมีประเพณีใส่บาตร จะใช้ผลไม้ใส่บาตร เช่น ส้ม กล้วย ไม่ใส่ข้าว แล้วจะเอาชะลอมเล็กๆ ใส่ผลไม้ เอาไม้เล็กๆ ด้ายสีแดง-ขาวไปที่นา เอาเชือกขาวผูกที่ต้นข้าว เอาธงปัก และเอาชะลอมผลไม้ไปผูกที่ปลายไม้ ทำพิธีบูชา บอกกล่าวเพื่อเป็นสิริมงคล
    อ.ทวนทอง พูดไว้อย่างน่าคิดว่า “ทุกครั้งที่ใครมาบูชา ไม่เฉพาะพระแม่โพสพเท่านั้น รวมถังเก็บเงินมหาเศรษฐี ซึ่งเป็นที่นิยมสร้างกันทุกวัดด้วยว่า ต่อให้บูชาพระแม่โพสพไปร้อยๆ องค์ หากไม่บำรุงรักษาใส่ปุ๋ย ฉีดยา วิดน้ำเข้านา พระแม่โพสพก็ช่วยอะไรไม่ได้ วัตถุมงคลเป็นสิ่งเสริมกำลังใจเท่านั้น แต่เหนือสิ่งอื่นใด อยู่ที่กรรม ซึ่งหมายถึงการกระทำ อย่างคำพระที่ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั่นเอง”
    ตำนานแห่งแม่โพสพ
    "แม่โพสพ" ตามสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า "เทวดาประจำพืชพันธุ์ธัญญาหารทั้งปวง" มวลมนุษยชาติเชื่อถือ และกราบไหว้บูชามาตั้งแต่ครั้งโบราณของชาวไทย ลาว และละแวกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา บูชาเพื่อขอความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญชาติ ที่เพาะปลูกตามฤดูกาล โดยจะทำพิธีบูชาแม่โพสพ ด้วยอาหาร มี ข้าวปากหม้อ กล้วย อ้อย เป็นต้น
    แม่โพสพเป็นสตรีเพศ ร่างงาม แต่งกายด้วยผ้าผ่อนแพรพรรณสมัยโบราณ ห่มสไบเฉียง นุ่งผ้าจีบชายกรอมลงมาถึงปลายหน้าแข้ง ทรงเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ตระการตา ไว้ผมยาวสลวยประบ่า มีกระจังกรอบหน้า คล้ายมงกุฎ และจอนหูงอนชดช้อย มือข้างหนึ่งชูรวงข้าว ส่วนอีกข้างถือถุงโภคทรัพย์เต็มถุง ประทับนั่งพับเพียบ เรียบร้อย แบบแพนงเชิงอย่างไทยโบราณ
    ตำนานหนึ่งเล่าว่า มีฤาษีมหากระไลย์โกฏอยู่สันโษในอรัญ บำเพ็ญพรหมขันธุ์ในกุฏิ เพลาหนึ่งเกิดอสุนีฟ้าฟาด อากาศวิปริตโกลาหล ฟ้าฝนก็ตกลงมามิหยุดหย่อน มีเมล็ดข้าวปลิวว่อนกระจาย พอฟ้าฝนหายฤๅษีก็เห็นเป็นอัศจรรย์ จึงจัดสรรนำไปปลูกริมฝั่งนทีสระน้ำ ฝนชะตลอดมา จนข้าวกล้าแตกรวง
    กาลล่วงเข้าฤดูหนาว เมล็ดข้าวแก่จัด พระฤๅษีโสมนัสยิ่งนัก ครั้นจะนำมากินก็กริ่งเกรงจะเบื่อเมา อันตัวเราก็เพิ่งพบคราวนี้
    คราวหนึ่ง สกุลณีสกุณามาเป็นหมู่ บินจู่โจมกินข้าวสาลี ฤๅษีเห็นดังนั้นพลันรู้ว่า หมู่ปักษามิได้ตายวายชีวิต ก็คิดว่าคงเป็นอาหารอันโอชารส พระดาบสจึงเก็บพันธุ์ข้าวไว้เพาะปลูกกระจายลูกหลานเหลน ได้เป็นอาหารของมนุษย์สุดประเสริฐ โดยกำเนิดขององค์ดาบส ตราบเท่าทุกวันนี้
    ในขณะที่ ตำนานเรื่องแม่โพสพ ฉบับชาวพัทลุง ได้บอกเล่าเรื่องราวอันน่าสนใจของ เจ้าแม่แห่งข้าว เอาไว้ดังนี้ กล่าวคือ นานมาแล้ว มีเทพธิดาองค์หนึ่ง เป็นเทพธิดาแห่งข้าว อาศัยอยู่บนสวรรค์ มีความประสงค์จะให้มวลหมู่มนุษย์ทั้งหลายนี้มีข้าวกิน จึงจำแลงกายลงมาบนโลก ในร่างของหญิงชรา อันนำพาห่อผ้ามาด้วย ซึ่งในห่อผ้านี้เอง มีเมล็ดพันธุ์ข้าวอยู่
    หญิงชราเดินไปในหมู่บ้าน มีแต่ผู้คนรังเกียจ จนไปพบกระท่อมเก่าๆ หลังหนึ่ง ซึ่งมีผัวเมียผู้ใจบุญ แต่ยากไร้ซึ่งเงินทอง อาศัยให้ที่พักพิง หญิงชราซึ้งในน้ำใจของผัวเมียคู่นี้ จึงมอบห่อผ้าที่มีเมล็ดข้าวอยู่ข้างในให้ โดยบอกให้เอาเมล็ดข้าวนี้ไปโปรยลงสู่พื้นดิน
    เมื่อเมล็ดข้าวได้รับน้ำ ก็เกิดความชุ่มชื่น เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ออกรวงแล้วก็สุก และนำมากินเป็นอาหารได้ หญิงชราจึงให้ผัวเมียเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวนี้ไปแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านในหมู่บ้าน แล้วบอกว่า นี่คืออาหารที่ใช้กินต่อไปในภายภาคหน้า เมื่อพูดจบหญิงชราก็หายตัวไป
    ต่อจากนั้น เมื่อถึงเดือนหกฝนก็เริ่มตก ชาวนาจะแรกไถนา และทำพิธีอัญเชิญแม่โพสพลงมาเพื่อช่วยดูแลรักษาต้นข้าว ต้องมีพิธีเรียกขวัญข้าว การกระทำทุกอย่างนี้ เพื่อตอบแทนคุณ และบูชาแม่โพสพ ที่ให้ข้าวแก่มนุษย์กิน จวบจนปัจจุบัน
    "เรื่อง - ภาพ ไตรเทพ ไกรงู"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    แกะรอยพระแม่โพสพ
    http://lit.hum.ku.ac.th/Book/_16_7.htm

    <TABLE width=590 align=left bgColor=#fffff0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 align=right bgColor=#ffffff><TBODY><TR><TD></TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]วรรณา นาวิกมูล[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ความรู้เบื้องแรกเรื่องแม่โพสพ [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]

    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ผู้เขียนเป็นคนกรุงเทพฯ เมื่อเป็นเด็กน้อยแม่สอนว่า อย่ากินข้าวเหลือนะลูก แม่โพสพจะเสียใจ อย่าเหยียบเมล็ดข้าวที่ตกอยู่บนพื้นนะลูก แม่โพสพจะโกรธ หากพลั้งเท้าเหยียบลงบนเมล็ดข้าวแล้ว ให้ลูกขอขมาแม่โพสพเสีย [/FONT]

    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] แม้แม่จะไม่ได้เล่าตำนานข้าวให้ฟัง แต่ชื่อแม่โพสพก็ได้ฝังใจมาแต่ครั้งนั้นว่าท่านเป็นเทวดารักษาข้าว มีพระคุณต่อเราเพราะให้ข้าวเรากิน เราจึงพึงเกรงใจและเกรงกลัว [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เมื่อเติบใหญ่ได้เรียนวิชาก็รู้ทันว่าแม่โพสพเป็นหนึ่งในกลวิธีแปลงนามธรรมเป็นรูปธรรมที่แยบยล เช่นเดียวกันกับแม่ธรณี เช่นเดียวกับพญามารและธิดาพญามาร ฯลฯ เป็นบุคลาธิษฐาน (personification)
    สร้างขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ เพื่อให้คนเชื่อมโยงตนเองกับธรรมชาติได้ เพื่อให้คนเรียนรู้หรือรับรู้อำนาจของธรรมชาติทั้งภายนอกและภายในจิตใจของตนได้ง่ายขึ้น
    [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD vAlign=top>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ด้วยคำสอนเรื่องข้าวกับแม่โพสพของแม่ แม่สอนให้ลูกเข้าใจว่าข้าวที่ให้ชีวิตแก่เราก็มีชีวิต สอนให้ลูกเป็นคนรู้คุณ รู้อ่อนน้อมถ่อมตน และรู้ประหยัดอดออม [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]บุคลาธิษฐานปรากฏในเรื่องเล่าที่เนื่องด้วยความเชื่อต่าง ๆ มีอยู่มากมายมหาศาลมาแต่โบราณกาลในทุกกลุ่มชน [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ยิ่งเรื่องที่สัมพันธ์กับข้าวปลาอาหารอย่างเรื่องแม่โพสพนี้ด้วยแล้ว ยิ่งขาดเสียไม่ได้ [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] แม้โดยทั่วไปบุคลาธิษฐานในความเชื่อของกลุ่มชนในสังคมเมืองจะซับซ้อนแนบเนียนกว่าในความเชื่อของกลุ่มชนในสังคมพื้นบ้าน แต่เมื่อสืบสาวแล้วก็มักจะพบว่าต้นเค้าความคิดไม่ต่างกันนัก และบ่อยครั้งมีการประสมต้นความคิดที่เคยมีเข้ากับเรื่องที่เพิ่งได้รับรู้ เกิดเป็นเรื่องเก่าสำนวนใหม่ที่แตกกิ่งก้าน เพิ่มเติมรายละเอียดเข้าไปอีกนานัปการ ดังกรณีแม่โพสพของเรา[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]แม่โพสพในวิถีไทแต่ไรมา[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]

    การมีเทวดาเพื่อปกป้องคุ้มครองตนและทุกสรรพสิ่งรอบตนของมนุษย์เป็นเรื่องธรรมชาติ มีมาก่อนการประกาศศาสนาใดในโลก และแม้จนเมื่อศาสนาได้รับการประกาศแล้ว ตั้งมั่นแล้วหลายศาสนาก็ตามที แม้จนเมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพิสูจน์แล้วว่าที่ตั้งของสวรรค์นั้นเป็นเพียงเวิ้งอวกาศอันว่างโล่ง ดวงดาวที่วาวแวมแจ่มใสเป็นเพียงเทหวัตถุที่แขวนลอยอยู่ในอวกาศก็ตามที มนุษย์ก็ยังแอบเก็บเทวดาเอาไว้ในใจอย่างเปิดเผยบ้างอย่างซ่อนเร้นบ้าง สุดแต่ภูมิหลังและภูมิปัจจุบันจะน้อมนำ
    [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] จากการศึกษานิทาน-ตำนานข้าวตลอดจนพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวของกลุ่มชนในประเทศไทยและดินแดนใกล้เคียง พบว่าแม่โพสพเป็นเทวดาสามัญประจำท้องนาและยุ้งฉางของชนชาติไทซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ปลูกข้าวกินมานานนับพัน ๆ ปี กล่าวเฉพาะในประเทศไทยชาวนาทุกภาค ทั้งที่เป็นชนกลุ่มใหญ่และน้อย รู้เรื่องแม่โพสพและบูชาแม่โพสพด้วยกันทั้งนั้น จะปลูกข้าว จะเกี่ยวข้าว จะนวดข้าว จะเก็บข้าว จะกินข้าว จะขายข้าว ต้องเชิญขวัญ บอกกล่าวแม่โพสพให้จงดี การบอกกล่าวอาจว่าไปตามสะดวกปากผู้ทำพิธีในกรณีทำพิธีเองอย่างง่าย ต่างคนต่างทำในที่นาของตัวเอง ไปถึงชั้นร่ายบททำขวัญ ว่าคาถาเต็มยศในกรณีเป็นพิธีกรรมใหญ่ของชุมชน[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ได้มีผู้รวบรวมคาถาและบททำขวัญเนื่องด้วยแม่โพสพและการทำนาพิมพ์เป็นเล่มเอาไว้มากรายด้วยกัน เช่น ประชุมเชิญขวัญ ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรวบรวมจากหนังสือคำเชิญขวัญของเก่าซึ่งมีต้นฉบับอยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2461 และได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้งตลอดจนดูเหมือนจะเป็นต้นฉบับให้แก่หนังสือ ทำขวัญต่าง ๆ ที่โรงพิมพ์ราษฎร์เจริญ (โรงพิมพ์วัดเกาะ) พิมพ์ขายเมื่อ พ.ศ. 2511 มีบททำขวัญนาสำนวนพระยาไชยวิชิต (เผือก) ที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงชมไว้ในพระนิพนธ์คำนำหนังสือประชุมเชิญขวัญว่า “แต่งดีนักหนา”[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พิธีทำขวัญต่าง ๆ และแหล่ภาคกลางภาคอิสาน[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] รวบรวมโดย มหาทองใบ ปฏิภาโณ (2525)

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] [/FONT]ตำราสูตรขวัญโบราณต่าง ๆ รวบรวมโดย จ.เปรียญ (2532) ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมากตั้งแต่หน้า 29 – 46 ว่าด้วยเรื่องของการทำนา มีตั้งแต่คาถาแฮกนาขวัญ คาถาเสกน้ำมนต์รดข้าวปลูก คำเสกข้าวแฮกเวลาจะปักกกแฮก (เอ่ยเรียกปู่ข้าวเอยย่าข้าวเอย…) คาถาปักแฮก คาถาถากลานข้าว สู่ขวัญข้าวขึ้นลาน สู่ขวัญข้าวขึ้นเล้า คำเรียกขวัญข้าว (เอ่ยชื่อแม่โพสพเพียงครั้งเดียวในตอนนี้ ว่าขออัญเชิญแม่โพสพ แม่ระนารา แม่พระสีดานารี สีสนไชย คัจฉะถะ จะเสด็จไปอยู่เล้าพื้นแป้นหญ้าแฝกมุงนา….) ไปจนถึงการสู่ขวัญควายและวัว
    [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]บททำขวัญที่มีผู้รวบรวมไว้มีเนื้อหาเป็นแบบฉบับใกล้เคียงกัน [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ผู้สนใจรายละเอียดพิธีกรรม โปรดอ่านจากบทความเรื่อง “ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม และคติชาวบ้านเกี่ยวกับข้าว” ของ ร.ศ. ดร.งามพิศ สัตย์สงวน พิมพ์รวมกับบทความจากการวิจัยวัฒนธรรมข้าวเรื่องอื่น ๆ ในหนังสือ ข้าวกับวิถีไทย และบทความเรื่อง “ผี้บื้อโย” ของ วุฒิ บุญเลิศ ในวารสาร เมืองโบราณ ฉบับเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2536[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เมื่อพิจารณารายละเอียดในการปฏิบัติต่อแม่โพสพจะเห็นถึงความชิดเชื้อระหว่างชาวนากับแม่โพสพ และเห็นว่าความรู้สึกที่ชาวนามีต่อแม่โพสพกระเดียดไปในทางเกรงใจเพราะรักและห่วงใยมากกว่าเกรงกลัว เช่น เมื่อข้าวเริ่มจะตกรวง ชาวนาว่าข้าวตั้งท้อง ต้องรับขวัญแม่โพสพ นำเอาเครื่องเซ่นไปวางที่ศาลเพียงตาหรือใส่ชะลอมไปผูกห้อยที่คันธงกลางนา องค์ประกอบของเครื่องเซ่นนอกจาก ข้าวปลาอาหาร กล้วย อ้อย ถั่วงา ตามธรรมเนียมแล้วยังมีผลไม้รสเปรี้ยว พร้อมทั้งกระจก แป้ง หวี เสื้อผ้า เครื่องหอมอีกต่างหาก[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] เรื่องของแม่โพสพสำนวนต่าง ๆ ที่มีผู้รวบรวมไว้ เช่น ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ มีโครงเรื่องและรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง ในบทความชื่อ “แม่โพสพ เทวีแห่งข้าว” ในหนังสือ ข้าวกับวิถีไทย รศ. สุกัญญา ภัทราชัย ได้แบ่งกลุ่มตามความคล้ายคลึงของโครงเรื่องไว้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มภาคกลางและภาคใต้ กับ กลุ่มภาคเหนือและภาคอีสาน[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] จากตำนานแม่โพสพที่เล่าขานกันมาช้านานพอสรุปคุณสมบัติเด่นของแม่โพสพได้ว่า เป็นหญิงใจน้อย เมื่อรู้สึกว่ามนุษย์ประพฤติตนไม่ควรแก่ความเมตตากรุณาของตนทีไรก็จะผลุนผลันหนีหายไปทีนั้น ปล่อยให้มนุษย์อดอยากยากแค้นเสียให้เข็ด แต่เนื่องจากมีความใจดีเป็นทุนอยู่ เมื่อมีผู้ไปอ้อนวอนก็จะกลับมาเลี้ยงดูมนุษย์ให้มีข้าวกินเหมือนเดิม นิทานเรื่องแม่โพสพนี้จึงสอนว่าจงอย่าลบหลู่แม่โพสพ และหากพูด(ทำ)ผิดก็สามารถพูด(ทำ)ใหม่(ให้ถูกต้อง)ได้[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ในเทพปกรณัมกรีก เทวดาเนื่องด้วยอาหารก็เป็นหญิง ชื่อว่าดีมีเตอร์ (Demeter) หรือเรียกในฉบับละตินว่า ซีเรส (Ceres) เป็นเทวีรักษาข้าวโพด นางก็เคยทิ้งให้โลกแห้งแล้งเพาะปลูกอะไรกินไม่ได้ผลเหมือนกัน เมื่อนางโทมนัสใจเพราะออกติดตามธิดาสาวสุดที่รักที่ถูกเทพเฮเดส (Hades) แห่งบาดาลลักพาตัวไปแล้วไม่พบ ร้อนถึงจอมเทพซุส (Zeus) ต้องลงมาประนอมความให้นางได้ลูกสาวคืนกึ่งหนึ่งของเวลา ส่วนอีกกึ่งหนึ่งต้องแบ่งให้เฮเดสซึ่งเปลี่ยนสถานภาพเป็นลูกเขยของนางไปแล้ว [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] การเกิดภาวะแห้งแล้งอดอยากที่กล่าวถึงในตำนานเทพแห่งข้าวหรือธัญพืชน่าจะปรากฏในนิทานพื้นบ้านของชาติพันธุ์อื่น ๆ อีก เพราะจากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าเกิดภาวะแห้งแล้งทั่วโลกในยุคที่เป็นรอยต่อระหว่างการดำรงชีวิตแบบล่าสัตว์-เก็บหาของป่ากับแบบเกษตรกรรม เมื่อราว 30,000 – 10,000 ปีที่ผ่านมา [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    แกะรอยพระแม่โพสพ
    http://lit.hum.ku.ac.th/Book/_16_7.htm

    <TABLE width=590 align=left bgColor=#fffff0><TBODY><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]วรรณกรรมพื้นบ้านมีแม่โพสพ แม่โคสก พ่อโพสพ พ่อโพสี[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]การโยงข้าวปลาอาหารกับผู้หญิงดูเป็นเรื่องของสามัญสำนึก อย่างไรก็ตามชาวบ้านปักษ์ใต้มีเทวดาชายคู่กับเทวดาหญิงด้วย [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ในสมุดไทยอันเป็นตำราว่าด้วยพิธีกรรมในการทำนาที่ ผศ. ดร.เอี่ยม ทองดี แห่งสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บรักษาไว้ มีพ่อโพสพคู่กับแม่โพสพ ทั้งภาพวาดและลายลักษณ์ อาจารย์เอี่ยมท่านว่าในบางที่เป็น พ่อโพสีกับแม่โพสพ[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]เทวดารักษาข้าวที่เป็นชายมาจากไหน ค่อยว่ากันภายหลัง [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ขณะนี้ขอหมายเหตุไว้ก่อนชื่อที่ออกเสียงเดียวกับ โพสพ มีผู้สะกดอย่างอื่น ๆ เช่น โพสบ และโภสพ และยังมีที่ออกเสียงกับเขียนว่า โคสก ด้วย ในสมุดข่อยของอาจารย์เอี่ยมเขียนว่า ไพสบ อีกอย่าง[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ชื่อที่เพี้ยนกันไปต่าง ๆ เช่นนี้ถือว่าเป็นธรรมชาติของมุขปาฐะ [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]บุญชื่น ชัยรัตน์อธิบายไว้ในคำ แม่โคสก หน้า 5318 – 20 ของสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ ดังนี้

    [/FONT]<TABLE width=356 align=center><TBODY><TR><TD width=348>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ธัมม์หรือคัมภีร์เรื่องแม่โคสกนี้เห็นว่าน่าจะมาจากเรื่องแม่โพสพของภาคกลาง ซึ่งจะมีการเขียน อักษร “พ” เคลื่อนไปเป็นอักษร “ค” และการใช้ “ก” สะกดนั้นพบว่ามีการกลายเป็น “บ” สะกดดังพบได้ จากการเขียน “มณฑป, มณฑก” เป็นต้น[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] โดยสรุป โพสพ โภสพ โคสก ไพสบ เป็นเทวดาหญิงองค์เดียวกัน ส่วนพ่อโพสพ (พ่อไพสบ) พ่อโพสี จะเป็นปุคคลาธิษฐานรุ่นหลังของคนปักษ์ใต้เหมือนคนอีสานบางพื้นที่สร้างศาลแม่ย่าคู่กับศาลปู่ตาในดอนหรือป่าปู่ตาหรือไม่ คงยังต้องสอบสวนกันต่อไป [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]วรรณคดีหลวงมีพระไพศภ พระไพศพ พระไพสพ [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD vAlign=top>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ใน ทวาทศมาส วรรณคดีไทยแต่งสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น อายุกว่า 500 ปี มีการออกชื่อเทวดาองค์หนึ่งไว้สองครั้ง ความว่า[/FONT]
    <TABLE cellSpacing=10 width=300 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=right>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]เจ็บงำงายแก้วพราก
    ฤาเทพไพศภลวง
    ไตรฤทธิบ่เล็งแล
    จำพี่ร้อนรนหว้าย

    และ

    เสร็จส่งงไพศพสิ้น
    เพลองฉี่ใบบัววบง
    ว่าววางกระลาบุษย
    โอ้อุทรทรวงแล้ง
    [/FONT]</TD><TD vAlign=top>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พลดดแด พี่นา
    แม่ผ้าย
    ไตรโลก นี้ฤา
    โศกศัลย



    สารสุด
    ห้วยแห้ง
    พนิกาศ
    ล่นนลิว
    [/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] จะสะกดเป็น ไพศภ หรือ ไพศพ ก็เป็นชื่อเทวดาที่ได้รับการพาดพิงในวาระที่กวีกำลังพรรณนาถึงความรันทดอันเกิดแต่การพลัดพรากจากนางที่รักเมื่อย่างเข้าเดือนสาม และด้วยเหตุที่กวียึดพิธีกรรมเป็นตัวตั้งในการพรรณนา พิธีที่เอ่ยถึงคือพิธีส่งพระไพศพ หรือพิธีเผาข้าว (ธานยเทาะห์ หรือ ธัญเทาะห์) ซึ่งเป็นพระราชพิธีกระทำในเดือนสาม เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการทำนาในปีใหม่[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยไว้ในบทพระราชนิพนธ์ พระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า “…การพิธีเผาข้าวนี้เป็นการคู่กันกับพิธีจรดพระนังคัลเพื่อให้เป็นการสวัสดิมงคลแก่ธัญญาหาร…” [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] นอกจากนี้ยังมีวรรณคดีอีกเรื่องหนึ่ง ที่กล่าวถึงพระไพศพไว้ คือ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ ชื่อว่า อธิไท้โพธิบาท ว่าด้วยอุบาทว์และการแก้อุบาทว์เทวดารักษาทิศทั้ง 8 ทิศ (เทวดารักษาทิศเป็นเทวดาคนละชุดกับเทวดาประจำทิศ) จารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่ความคิดเรื่องอุบาทว์และการแก้อุบาทว์เป็นความคิดที่มีมาแต่โบราณกาล ในที่นี้ขอคัดมาเฉพาะอุบาทว์พระไพสพซึ่งเป็นเทวดารักษาทิศอีสาน เพื่อให้เห็นว่าเหตุการณ์อาเพทที่เมื่อเกิดแล้วต้องแก้อาเพทกับพระไพสพหลายอย่างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ไร่นา จารึกตอนนี้มีใจความว่า[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD><TABLE width=300 align=center><TBODY><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] หนึ่งผ้าแพรภูษาภรณ์ ใช่ที่หนูฟอน
    และหนูมากัดอัศจรรย์
    หนึ่งผ้าแพรภูษาสรรพ์ บมิพอเพลิงพรรณ
    จะไหม้และไหม้วู่วาม
    ทำนาได้เข้ามากคาม ยิ่งนักบมิตาม
    รบอบอันชอบไร่นา
    ดินลาทึบได้เตลา มากพ้นอัตรา
    ทำนุทำเนียมโบราณ
    ธัญญาตำได้ตันทลาน มากหลายเหลือการ
    เป็นวิปริตผิดครอง
    หนึ่งอยู่พันเออนเงินทอง มักตกเนื่องนอง
    ในเรือนพันเออนมักหาย
    หนึ่งถุนเรือนโรงทั้งหลาย ใช่ที่เต่าหมาย
    แลเต่าวู่วามคลานมา
    เข้าถุนคลานขึ้นเคหา หนึ่งแมวมายา
    มาคลอดในแท่นนิทไทร
    หนึ่งเข้าสารแซ่งออกใบ หนึ่งบ่อน้ำใน
    จรเข้มาผุดอัศจรรย์
    หนึ่งเสาโรงเรือนตกมัน หนึ่งบัวสัตตบรรณ
    มางอกในบ้านบนดอน
    หนึ่งเต่าพาบน้ำมามรณ์ ในถุนซอกซอน
    หนึ่งครังประอุกทำลาย
    อุบาทว์พระไพสพหมาย แก่คนทั้งหลาย
    ฉะเพาะผู้เคราะห์ราวี
    เร่งแต่งบูชาจงดี เข้าบิ้นใบศรี
    บันจงทุกสิ่งสุปเพียญชน์
    ผลผลาปายาสธูปเทียน บุษบาบัวเผื่อน
    พิกุลไกรจำปา
    สุรภีวรรดีมลิลา แก้วแหวนนานา
    สุพรรณแพรเพริศพราย
    ภูษาลังกาภรณ์ถวาย ด้วยพระมนตร์หมาย
    ฉะเพาะพระองค์ไพสพ
    จงต้งงใจใสสุทธนบ ภักดีคำรพ
    บพิตรพระปราณี
    อุบาทว์ขาดร้ายราวี โรคาราคี
    คำนับทั้งปวงเหือดหาย
    อยู่เย็นเป็นสุขสบาย สมบูรณ์พูนกาย
    ภิรมยศรีศุภผล
    ในลักษณอักษรพระมนตร์ อาจารย์นิพนธ์
    ดงงนี้อย่าได้สงสัย ฯ
    [/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ปิดท้ายด้วยคาถา “บูชาแก้อุบาทว์พระไพสพ” ดังนี้[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    [/FONT]<TABLE width=431 align=center><TBODY><TR><TD width=333>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]โอม อิสานทิสไพสพเทวตา สหคณปริวารา อาคัจฉันตุ ปริภุญชันตุ สวาหายฯ
    โอม สัพพอุปาทว สัพพทุกข สัพพโสก สัพพโรคันตราย วินาสาย สัพพศัตรู ปมุจจติ ฯ
    โอม ไพสพเทวตา สทารักขันตุ สวาห สวาหา สวาหาย ฯ
    [/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] [/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ในวรรณคดีฉบับหลวงเทวดาที่เกี่ยวข้องกับข้าวมีชื่อที่ออกเสียงเหมือนกันแต่สะกดต่างกันว่า พระไพศภ พระไพศพ พระไพสพ หรือพระไพศพณ์ เป็นเทวดาผู้ชาย แต่ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างพระไพสพกับข้าวไม่ชัดเจนเหมือนระหว่างแม่โพสพกับข้าว หรือพระไพสพองค์นี้จะเป็นที่มาของ พ่อโพสพ-โพสี ของอาจารย์เอี่ยม ก็น่าคิดอยู่เหมือนกัน[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ผ.ศ. ดร. เสาวณิต วิงวอน แห่งภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้มีความรู้ดีกว่าผู้เขียนในเรื่องเทวดาแขกและไทย ได้อธิบายให้ฟังว่าชื่อนี้คลี่คลายมาจากชื่อเทวดาประจำทิศองค์หนึ่งใน 4 องค์ที่เรียกรวมกันว่า จตุมหาราช เทวดาองค์นี้ชื่อ กุเวร หรือมีอีกชื่อหนึ่งในพากย์บาลีว่า เวสสวณ พากย์สันสกฤตว่า ไวศรวณ เขียนรักษาศัพท์แบบไทย ๆ เป็น ไพศรพณ์ (ว แผลงเป็น พ) แล้วลดรูปลงเป็น ไพศพณ์ แล้วถอดรูปการันต์ลงเหลือ ไพศพ ผู้เขียนขออนุญาตสันนิษฐานต่อเล่น ๆ ว่าอาจมีผู้เห็นว่าการสะกดพยางค์หลังว่า ศพ ดูไม่สวย จึงเปลี่ยนเป็น ศภ และ สพ เสียเพื่อเลี่ยงความหมายอวมงคล ทั้งนี้และทั้งนั้นอาจไม่มีอะไรมากไปกว่าความไม่รู้ที่มา หรือรู้ที่มาแต่เห็นว่าไหน ๆ ก็จะเป็นเทวดาในความเชื่อไทย ๆ แล้วจะสะกดชื่อรุงรังอะไรกันให้นักหนา[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] การนำเอาเรื่อง ชื่อ ความเชื่อดั้งเดิม ไปไขว้กับเรื่อง ชื่อ ความเชื่อใหม่ (ผีสางนางไม้ + ศาสนาฮินดู / พุทธศาสนา หรือ ผีสางนางไม้ + ศาสนาฮินดู + พุทธศาสนา) ไม่เป็นเรื่องแปลก มีปรากฏในกรณีอื่น ๆ อีก เช่น นิทานชาดก แต่เรื่องบางเรื่องเช่นเรื่องพระไพสพกับแม่(หรือพ่อ)โพสพ กระบวนการไขว้อาจซับซ้อน ทำนองว่ามีข้าว มีผีหรือเทวดารักษาข้าว มีเทวดาประจำทิศ มีเทวดารักษาทิศ มีการบวชเทวดาพราหมณ์เป็นเทวดาพุทธ แล้วแปลงเทวดาพุทธหลวงเป็นเทวดาพุทธพื้นบ้านอีกทีโดยไม่เพียงแต่จะสร้างชื่อให้ใกล้เคียงกับเทวดาเก่าเท่านั้นแต่ยังแปลง (ข้าม) เพศเทวดาอีกด้วย[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] จนถึงบัดนี้อาจจะมีผู้นึกสนุกวิเคราะห์ว่าไก่กับไข่ อย่างไหนเกิดก่อนกันไปแล้วก็ได้ในกรณีเทวดารักษาข้าวของเราองค์นี้ เป็นแต่ผู้เขียนยังไม่ทราบเท่านั้น ท่านผู้ใดทราบแล้วกรุณาขยายความรู้ด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]รูปและ/หรือภาพแม่โพสพ[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ตั้งแต่ได้ยินแม่ออกชื่อแม่โพสพมาจนถึงก่อน พ.ศ. 2543 ผู้เขียนไม่เคยสนใจว่าแม่โพสพมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไรเป็นพิเศษ เพราะนึกออกว่าเทวดาไทยทั้งฉบับหลวงฉบับราษฎร์หากมีผู้วาดเขียนหรือปั้นให้เห็นเป็นรูปก็คงจะใกล้เคียงตัวโขนละครอย่างในจิตรกรรมฝาผนังทุกองค์ไป อย่างเก่งก็มีสีกาย มีเครื่องทรง อาวุธทรง สัตว์ทรง แตกต่าง เวลาที่เก็บข้อมูลเรื่องพิธีรับขวัญแม่โพสพ ก็เก็บเฉพาะบททำขวัญ อย่างเก่งก็เห็นเครื่องเซ่นวักตั๊กแตนที่ชาวนานำไปปักไปวางไว้กลางนา ไม่เคยทราบมาก่อน (อย่างน่าประหลาดใจในความไม่เฉลียวของตนเอง) ว่าในหลาย ๆ พื้นที่ชาวนาตั้งรูปแม่โพสพประกอบพิธีด้วย ทั้งไม่เคยทราบว่าในยุ้งฉางของชาวบ้านในหลายพื้นที่มีการตั้งหรือแขวนรูปแม่โพสพไว้ประจำ[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] รูปที่ว่ามีทั้งรูปที่วาดขึ้น พิมพ์ขึ้น ปั้นขึ้น และหล่อขึ้น[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif] ครั้งแรกที่เริ่มสนใจรูปลักษณ์ของแม่โพสพก็คือเมื่อเห็น “พระโพสพ” ในจิตรกรรมฝาผนังด้านในเหนือบานประตูหน้าพระอุโบสถวัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2543 เป็นภาพวาดแบบสมัยใหม่ออกทางสมจริง (realistic) ฝีมือพระยาอนุศาสน์จิตรกร ช่างหลวงสมัยรัชกาลที่ 6 เธอนั่งอยู่ตรงกลางระหว่างพระลักษมีชายาพระนารายณ์ และพระสรัสวดีชายาพระพรหม เทวีทั้งสามนั่งคุกเข่าประนมมือสักการะพระพุทธเจ้าซึ่งแทนด้วยพระพุทธรูปประธานในประอุโบสถ ที่สนใจก็เพราะเห็นเป็นการแปลก ท่านผู้วาดภาพคงวาดให้สอดคล้องกับตำนานฉบับที่ว่าแม่โพสพเดิมเป็นชายาองค์หนึ่งของพระอินทร์ ชื่อ พระสวเทวี (เพื่อโยงชื่อโพสพเข้ากับชื่อชายาพระอินทร์ นั่นคือให้ สพ แผลงมาจาก สว ส่วน โพ อาจจะมาจากชื่อ ไพสพ ของเทวดารักษาทิศอีสาน) หาไม่แม่โพสพคงไม่มีตำแหน่งเฝ้าเทียบเท่าพระลักษมีกับพระสรัสวดีเป็นแน่นอน (พระอินทร์ หรือ สักกเทวราช เป็นเทวดาระดับล่างในศาสนาฮินดู แต่ไทยยกขึ้นเป็นเทวดาสำคัญ มีบทบาทมากกว่าเทวดาองค์ใดในพุทธประวัติ) อย่างไรก็ตามจิตรกรเรียกชื่อเธอว่า พระโพสพ แทนที่จะเป็นพระสวเทวี แต่แน่นอนว่าเธอต้องมีรวงข้าวในมือ[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    แกะรอยพระแม่โพสพ
    http://lit.hum.ku.ac.th/Book/_16_7.htm

    .
     
  20. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    โธ่สบายครับท่านปาทาน คืนนี้ดึกๆผมก็มาลงโพสคนเดียวไปเรื่อยๆจนถึงหน้าที่1000เองครับ อ่ะเฉียบแหลมมั้ย หุ หุ แต่โดนคนทั่วไปหรือผู้คุ้มกฎเค้าด่ารึเปล่า อีกเรื่องครับ หึ หึ
     

แชร์หน้านี้

Loading...